อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    5gA4BA6RpKuhk8JiZGenQSrCsf8CsDWYadVmPG4GHuUH&_nc_ohc=fFmIewZXQT0AX_ocvDK&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    พระนิพพานเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่จำกัดกาล ควรเข้าถึงด้วยข้อปฏิบัติ
    ************
    [๕๖] ครั้งนั้น ชานุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ชานุสโสณิพราหมณ์ซึ่งนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
    ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่า “พระนิพพานเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง พระนิพพานเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง”
    ข้าแต่ท่านพระโคดม ด้วยเหตุเพียงไรหนอ พระนิพพานจึงชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ บุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละราคะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระนิพพานชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นอย่างนี้แล
    บุคคลผู้มีโทสะ ฯลฯ บุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง เมื่อละโมหะได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่เสวยทุกขโทมนัสทางใจ พระนิพพานชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง เป็นอย่างนี้แล
    ในกาลใด บุคคลนี้เสวยธรรมเป็นที่สิ้นราคะอันไม่มีส่วนเหลือ เสวยธรรมเป็นที่สิ้นโทสะอันไม่มีส่วนเหลือ เสวยธรรมเป็นที่สิ้นโมหะอันไม่มีส่วนเหลือ ในกาลนั้น พระนิพพานชื่อว่าเป็นสภาวธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
    ชานุสโสณิพราหมณ์นั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
    ...........
    นิพพุตสูตร อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=100
    นิพพุตสูตร ภาษาบาลี http://www.84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=20&A=4194
    พึงทราบวินิจฉัยในนิพพุตสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า อกาลิกํ ความว่า ไม่ใช่จะพึงบรรลุในเวลาอื่น.
    บทว่า โอปนยิกํ ได้แก่ ควรเข้าถึงด้วยข้อปฏิบัติ.
    ..................
    อรรถกถานิพพุตสูตร(ไทย) http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=495
    ปญฺจเม อกาลิกนฺติ น กาลนฺตเร ปตฺตพฺพํ.
    โอปนยิกนฺติ ปฏิปตฺติยา อุปคนฺตพฺพํ.
    .................
    อรรถกถานิพพุตสูตร(บาลี) http://www.84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15...
    JAu1RsLO0ZZwoUqjsg9pw6sC6eZXkQ6tBePXnooeV2Lc&_nc_ohc=dGfNBN5uNbUAX_PA8sG&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    zm9ZXQqYKcd7urvRWZHE91vmirVsdV1Kujow3oGN0qzJ&_nc_ohc=ahehFZC-9eYAX8Z6e_6&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    jtCSo9obMXt3yw_VsbFXdd8WuJjAoiZ52YcFeeOr9fKoH7tKt_K1RzPASCPE0DGjw5Mo3ZOf&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    Iz8JtMfffIW_RSdaqRMZsn5kmUu4DeOfCKEQTJe6yNx4&_nc_ohc=CAISbPs5xNMAX_pcYrk&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    POA7djkLpKyL69mke1w3xnQiXc3yDknU3Y9N4Xwfq-lt&_nc_ohc=B23az7DhWtsAX_j0h3Y&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=a9ddf9d9b71f25740cf32930cf17a375.jpg


    พระไตรปิฎกศึกษา
    อนุสสติ ๑๐ อย่าง เป็นเหตุให้เกิดสติ


    (มีสติด้วยเหตุอีก ๑๐ อย่าง คือ)
    ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงพุทธคุณ
    ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมคุณ
    ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงสังฆคุณ
    ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงศีลที่ตนรักษา
    ๕. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
    ๖. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา
    ๗. ชื่อว่ามีสติ เพราะตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
    ๘. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา
    ๙. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกทั่วไปในกาย(ให้เห็นว่าไม่งาม)
    ๑๐. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับ(กิเลสและความทุกข์) คือนิพพาน
    …….
    ข้อความบางตอนใน กามสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=1

    พระสารีบุตรเถระแสดงวิปัสสนาโดยเปรียบด้วยโครงกระดูกเป็นต้น และเปรียบด้วยกองไฟเป็นที่สุดอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงอุปจารสมาธิ จึงกล่าวคำว่า พุทฺธานุสฺสตึ ภาเวนฺโต เป็นต้น.
    บรรดาบทเหล่านั้น สตินั่นแหละ ชื่อว่าอนุสสติ เพราะเกิดขึ้นบ่อยๆ.
    อนึ่ง ชื่อว่าอนุสสติ เพราะอรรถว่าสติที่สมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา เพราะเป็นไปในฐานะที่ควรให้เป็นไปนั่นเอง ดังนี้ก็มี.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระพุทธเจ้า ชื่อว่าพุทธานุสสติ. คำว่า พุทธานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระพุทธคุณ, มีความเป็นพระอรหันต์เป็นต้นเป็นอารมณ์ซึ่งพุทธานุสสตินั้น.
    บทว่า ภาเวนฺโต ได้แก่ เจริญอยู่คือเพิ่มพูนอยู่.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระธรรม ชื่อว่าธรรมานุสสติ, คำว่า ธรรมานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระธรรมคุณ, มีความเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระสงฆ์ ชื่อว่าสังฆนุสสติ. คำว่า สังฆานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระสังฆคุณ, มีความเป็นผู้ปฏิบัติดีเป็นต้นเป็นอารมณ์.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภศีล ชื่อว่าสีลานุสสติ. คำว่า สีลานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีศีลคุณ, มีความไม่ขาดเป็นต้นของตนเป็นอารมณ์.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภจาคะ ชื่อว่าจาคานุสสติ. คำว่า จาคานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีจาคคุณ, มีความเป็นผู้มีจาคะอันสละแล้วของตนเป็นต้น เป็นอารมณ์.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภเทวดา ชื่อว่าเทวตานุสสติ. คำว่า เทวตานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีคุณมีศรัทธาของตนเป็นต้น ตั้งเทวดาทั้งหลายไว้ในฐานะพยานเป็นอารมณ์.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภลมหายใจเข้าออก ชื่อว่าอานาปานัสสติ. คำว่า อานาปานัสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีนิมิตแห่งลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความตาย ชื่อว่ามรณานุสสติ. คำว่า มรณานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีความตายกล่าวคือความแตกแห่งชีวิตินทรีย์ที่นับเนื่องในภพหนึ่งเป็นอารมณ์.
    สติที่ไป, คือเป็นไปในสรีระที่นับว่ากาย เพราะเป็นความเจริญ คือเป็นบ่อเกิดของสิ่งปฏิกูลทั้งหลายมีผมเป็นต้นที่น่าเกลียด ชื่อว่า กายคตาสติ.
    เมื่อควรจะกล่าวว่า กายคตสติ ท่านกล่าวว่า กายคตาสติ เพราะไม่รัสสะ แม้ในที่นี้ท่านก็กล่าวคำนี้เป็นกายคตาสติ เหมือนกัน. คำว่า กายคตาสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีนิมิตปฏิกูลในส่วนของร่างกายมีผมเป็นต้นเป็นอารมณ์.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความสงบ ชื่อว่าอุปสมานุสสติ คำว่า อุปสมานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระนิพพานอันเป็นที่เข้าไปสงบทุกข์ทั้งปวงเป็นอารมณ์.
    ผู้เจริญปฐมฌานอันประกอบด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุขและจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญทุติยฌานอันประกอบด้วยปิติ สุขและจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญตติยฌานอันประกอบด้วยสุขและจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญจตุตถฌานอันประกอบด้วยอุเบกขาและจิตเตกัคคตา ฯลฯ แม้ผู้เจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย.
    พระสารีบุตรเถระแสดงการละกามโดยการข่มไว้ด้วยประการฉะนี้.
    ……..
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถากามสุตตนิทเทสhttp://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ผู้ชอบการพูดคุย
    **********
    “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ
    ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้
    ๑. เป็นผู้ชอบการงาน ยินดีในการงาน หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการงาน
    ๒. เป็นผู้ชอบการพูดคุย ยินดีในการพูดคุย หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
    ๓. เป็นผู้ชอบการนอนหลับ ยินดีในการนอนหลับ หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
    ธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เป็นเสขะ”
    ………………
    ข้อความบางตอนใน ปริหานสูตร ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=194
    บทว่า ภสฺสาราโม ความว่า ภิกษุใดยังวันและคืนให้ล่วงไปด้วยสามารถแห่งการกล่าวถึงราชกถาเป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามไว้แล้ว ภิกษุนี้เป็นผู้พูดไม่รู้จบ เพราะฉะนั้น ภิกษุนี้จึงชื่อว่า ภสฺสาราโม (ยินดีในการพูด).
    ส่วนภิกษุใดพูดธรรม วิสัชนาปัญหา เวลากลางคืนบ้าง กลางวันบ้าง ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้พูดน้อย พูดมีสิ้นสุด.
    เพราะเหตุไร
    เพราะว่า เธอดำเนินตามวิธีที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วทีเดียวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สำหรับภิกษุทั้งหลายที่ประชุมกันแล้วมีกิจที่จะต้องกระทำ ๒ อย่าง คือกล่าวธรรมหรือนิ่งแบบพระอริยะ.
    ……..
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาปริหานสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=257
    iYL3LbGhVmvAWlOxbBpqQq4QmiEclHw8LlGdnhO0x3gk&_nc_ohc=WhDcTcIsOisAX_IYtpj&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    วิโมกข์ ความหลุดพ้นจากกิเลส มี ๓ ประเภทคือ
    ๑. สุญญตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตา แล้วถอนความยึดมั่นได้ มองเห็นความว่าง
    ๒. อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจัง แล้วถอนนิมิตได้
    ๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกข์ แล้วถอนความปรารถนาได้


    สุญญตวิโมกข์ ความหลุดพ้นโดยว่างจาก ราคะ โทสะ โมหะ
    หมายถึง มองเห็นความว่าง หมดความยึดมั่น คือพิจารณาเห็นนามรูปโดยความเป็นอนัตตา
    พูดสั้นๆ ว่า หลุดพ้นเพราะเห็นอนัตตา
    (ข้อ ๑ ในวิโมกข์ ๓)


    อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต
    คือ หลุดพ้นด้วยพิจารณาเห็นนามรูปเป็นอนิจจะ แล้วถอนนิมิตได้
    (ข้อ ๒ ในวิโมกข์ ๓)


    อรหัตตวิโมกข์ ความพ้นจากกิเลสด้วยอรหัต หรือเพราะสำเร็จอรหัต
    คือ หลุดพ้นขั้นละกิเลสได้สิ้นเชิงและเด็ดขาด สำเร็จเป็นพระอรหันต์

    อัปปณิหิตวิโมกข์ ความหลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา
    คือ พิจารณาเห็นนามรูปเป็นทุกข์ แล้วถอนความปรารถนาเสียได้
    (ข้อ ๓ ในวิโมกข์ ๓)
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=361cd2fd592db2b3a3b647bb39b615c8.jpg

    เป็นไปได้ที่ผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ จะทำให้แจ้งนิพพานได้
    *************
    [๖๘] ภิกษุทั้งหลาย
    ๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ประกอบความชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ชอบคณะ ยินดีในคณะ ประกอบความยินดีในคณะ จักยินดีในปวิเวก ตามลำพังได้
    ๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ยินดีในปวิเวกตามลำพังจักถือเอานิมิตแห่งจิตได้
    ๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ถือเอานิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้
    ๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้
    ๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญสัมมาสมาธิ๖- ให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ได้
    ๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ยังละสังโยชน์ไม่ได้แล้ว จักทำให้แจ้งนิพพานได้

    ภิกษุทั้งหลาย
    ๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ประกอบความชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ชอบคณะไม่ยินดีในคณะ ไม่ประกอบความยินดีในคณะ จักยินดีในปวิเวกตามลำพังได้
    ๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ยินดีในปวิเวกตามลำพัง จักถือเอานิมิตแห่งจิตได้
    ๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ถือเอานิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้
    ๔. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้
    ๕. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้บำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ได้
    ๖. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ละสังโยชน์ได้แล้ว จักทำให้แจ้งนิพพานได้
    .............
    สังคณิการามสูตร อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=319

    พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรหรืออารามสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า สงฺคณิการาโม ความว่า รื่นเริงใจด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ส่วนภิกษุชื่อว่าคณารามะ เพราะยินดีในคณะ มีคณะศึกษาพระสูตรเป็นต้น หรือในคณะ กล่าวคือบริษัทของตน.
    บทว่า ปวิเวเก ได้แก่ กายวิเวก.
    บทว่า จิตฺตสฺส นิมิตฺตํ ความว่า นิมิตของสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต คืออาการของสมาธิและวิปัสสนา.
    บทว่า สมฺมาทิฏฺฐึ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิในวิปัสสนา.
    บทว่า สมาธึ ได้แก่ มรรคสมาธิและผลสมาธิ.
    บทว่า สํโยชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐ อย่าง.
    บทว่า นิพฺพานํ ได้แก่ ปรินิพพานที่หาปัจจัยมิได้.
    อรรถกถาฐานสูตรหรืออารามสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=339
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ธมฺมาราโม ธมฺมรโต
    ธมฺเม ฐิโต ธมฺมวินิจฺฉยญฺญู
    เนวาจเร ธมฺมสนฺโทสวาทํ
    ตจฺเฉหิ นีเยถ สุภาสิเตหิ ฯ
    https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=25&A=8045
    [๓๓๐] ควรเป็นผู้พอใจธรรม ยินดีในธรรม
    ดำรงอยู่ในธรรม รู้จักพิจารณาธรรม
    ไม่ควรกล่าววาจาที่ประทุษร้ายธรรม
    ควรให้เวลาสิ้นไปกับสุภาษิตที่แท้
    ..............
    ข้อความบางตอนใน กิงสีลสูตร ขุททกนิกาย สุตตนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=248
    ....................
    ก็คำว่า ธรรม ในบททั้งปวงในคาถานี้ ได้แก่สมถะและวิปัสสนา.
    ก็คำว่า อาราโม และ คำว่า รติ มีเนื้อความอันเดียวกัน ความยินดีรื่นรมย์ในธรรมของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า ธมฺมาราโม ผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี.
    บุคคลยินดีแล้วในธรรม ชื่อว่า ธมฺมรโต หาใช่ยินดีสิ่งอื่นไม่.
    บุคคลชื่อว่าตั้งอยู่แล้วในธรรม ก็เพราะปฏิบัติธรรม บุคคลย่อมรู้ซึ่งการวินิจฉัยธรรมว่านี้เป็นอุทยญาณ นี้เป็นวยญาณ เพราะเหตุนั้น บุคคลนี้จึงชื่อว่า ธมฺมวินิจฺฉยญฺญู ผู้รู้ซึ่งการวินิจฉัยธรรม.
    บุคคลพึงเป็นบุคคลเห็นปานนี้ เมื่อเป็นบุคคลเช่นนี้ได้แล้ว ดิรัจฉานกถามีการพูดถึงพระราชาเป็นต้นนี้ใด มีอยู่ คำที่เป็นดิรัจฉานกถานั้นย่อมประทุษร้ายต่อธรรม คือสมถะและวิปัสสนา เพราะให้เกิดความยินดีในรูปเป็นต้นในภายนอกแก่ตรุณวิปัสสกบุคคล ฉะนั้น ดิรัจฉานกถานั้นท่านจึงเรียกว่าวาทะที่เป็นอันตรายต่อธรรม บุคคลไม่พึงประพฤติวาทะที่ทำอันตรายต่อธรรมนั้นเลย โดยที่แท้เมื่อจะซ่องเสพสัปปายะทั้งหลายมีอาวาสสัปปายะและโคจรสัปปายะเป็นต้น ก็พึงแนะนำด้วยคำที่เป็นสุภาษิตที่แท้จริง วาจาทั้งหลายที่ปฏิสังยุตด้วยสมถะและวิปัสสนา ชื่อว่าวาจาที่แท้จริงในพระคาถานี้.
    บุคคลพึงแนะนำคือว่าพึงชักนำ ได้แก่พึงยังกาลเวลาให้สิ้นไปด้วยคำที่เป็นสุภาษิตทั้งหลายเห็นปานนั้น.
    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงกระทำอุปกิเลสให้ปรากฏแก่ภิกษุผู้เจริญสมถะและวิปัสสนา ซึ่งพระองค์ตรัสไว้โดยย่ออย่างยิ่งในคำนี้ว่า ธมฺมสนฺโทสวาทํ ดังนี้ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า หสฺสํ จ ชปฺปํ พร้อมกับอุปกิเลสแม้อื่นจากนั้น.
    ……………..
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถากิงสีลสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=326
    ..........
    หมายเหตุ พระสารีบุตรทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า บุคคลจะบรรลุประโยชน์สูงสุด ต้องประพฤติเช่นไร พระผู้มีพระภาคทรงตอบว่า ต้องประพฤติธรรม คือ ความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ไม่ริษยา เข้าไปหาผู้รู้ แล้วฟังคำสอนโดยเคารพ พร้อมทั้งน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติ ผู้ประพฤติเช่นนี้ได้ก็จะบรรลุประโยชน์สูงสุดได้
    #ปฏิบัติ #ประพฤติ #ประโยชน์สูงสุด #นิพพาน #สมถะ #วิปัสสนา
    5ivTGIj2FeKsvPP4_9x-flEtvbrTU0ebouL0LaCsAER9&_nc_ohc=rmMLMrZW6BEAX-ScfR-&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    odxryhbn4qbr7yjhppjqimrjztmmjsgow22u0znfeg-mcvycey5fremwvrmtl50pklkq-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    "...นักปฏิบัติสมัยนี้ ไม่ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า
    ว่าการปฏิบัติต้องมีขั้นมีตอน และต้องครบกันทั้ง
    ศีล สมาธิ ปัญญา..
    จะเอาแต่ปัญญ

    พระอัญญาโกญฑัญญะ ท่านฟังธรรมบรรลุธรรม
    เพราะท่านมีทุนเดิมคือ ศีล สมาธิที่มากพอแล้ว
    ไม่ใช่ไม่มีหรือไม่ต้องใช้


    ...ขอให้ภาวนา อย่าได้ขี้เกียจภาวนา ภาวนาจนจิตสงบ
    จิตรวมลง เหมือนเส้นด้ายพุ่งเข้ารูเข็มเสีย
    ก่อน แล้วจึงหมุนสู่ขั้นปัญญา

    ...สมาธิก็เหมือนการรวบรวมทรัพย์ เมื่อมีทรัพย์
    มากเพียงพอแล้ว ก็เอาทรัพย์ออกไปใช้ คือเอา
    ปัญญาออกไปฆ่ากิเลส เข้าใจมั๊ย..."

    โอวาทธรรม
    หลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร
    วัดถ้ำสหายจันทร์นิมิต อุดรธานี
    Ol2hSwQfV4zED8rjI-F6bP6DpeJ5Xsevt-ZLpC5HqQNM&_nc_ohc=o4DmJ7AuiJ4AX-GFG18&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ศีล5 เป็นอริยทรัพย์...โดยครูบาเจ้าศรีวิชัย


    มนุษย์ผู้ใดถือศีล 5 ได้มั่นคงแล้ว ผู้นั้นได้เป็นอุบาสกอุบาสิกาในพุทธศาสนา เป็นผู้มีปัญญา เกิดมามิเสียชาติ เป็นผู้ฉลาดนำความสุข มาใส่ตัว ประเสริฐกว่าทรัพย์สมบัติทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้ทั้งมวล แก้วมณีโชติของพระยาจักพรรดิ์ ผู้เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ทั้งปวง และเครื่องของขัตติยนารีทั้งหลาย มีแก้วแหวนเงิน (ทอง) คำ เป็นต้น เป็นของบำรุงตัณหากามคุณ เหมือนดั่งน้ำผึ้งแช่ยาพิษ สำหรับนำความทุกข์มาใส่ตัว โดยไม่มีประโยชน์สิ่งใดเลย
    แม่น้ำคงคา ยมมุนา อจิรวดี มหิ มหาสรภู ซึ่งเป็นแม่น้ำใหญ่ทั้ง 5 แม่น้ำ แม้นจักเอามาอาบให้หมดสิ้นทั้ง 5 แม่นี้ ก็ไม่อาจจะล้างบาป คือ ความเดือดร้อนภายในให้หายได้ และฝนลูกเห็บ แม้นจะตกมาร้อยห่าให้เย็นและหนาวสักปานใดก็ดี ก็ไม่อาจจะเย็นเข้าไปถึงภายในให้หายความทุกขเวทนาได้..
    ..ศีล 5 เป็นอริยทรัพย์ เป็นต้นของความบริสุทธิ์ เป็นน้ำทิพย์สำหรับล้างบาป คือ ความเดือดร้อนภายในให้หายได้ เป็น
    บันไดแก้ว สำหรับก่ายขึ้นไปอยู่สวรรค์ สมดั่งพระบาลีว่า
    "สีเลนะ สุคติงยันติ" ศีลให้เป็นที่จำเริญไปด้วยความสุข
    "สีเลนะ โภคะสัมปทา" ศีลให้เป็นที่จำเริญไปด้วยโภคทรัพย์ทั้งมวล
    "สีเลนะ นิพพุติงยันติ" ศีลทำประโยชน์ให้มีความสุขไป
    ตราบถึงนิพพาน อันเป็นความสุขอย่างยิ่งได้แท้จริง
    "ตัสสมา สีลัง วิโสทะเย" เหตุนั้นศีลเป็นของดีวิเศษยิ่งนัก
    หาอันใดจักเปรียบไม่ได้.
    สมดั่งพุทธภาษิตว่า..
    "อัพพยา ปัชชัง สุขัง โลเก" ความไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน เป็นความสุขในโลก
    พระธรรมคำสั่งสอนคือ ศีล 5 เป็นธงไชยเฉลิมโลก
    ถ้ามนุษย์ทั้งหลายพากันถือศีล 5 ได้ทั้งโลก
    มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีในโลกก็มีความสุข
    ธรรมก็มีความจำเริญ โลกกับธรรมถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน ดังนี้แล้ว แผ่นดินโลกก็จักได้กลายเป็นแผ่นดินเมืองสวรรค์ (แผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง) ...
    -------------------------
    ที่มา : อานิสงส์ของศีล ครูบาเจ้าศรีวิชัย
    nuZFG-1iL84dKQGZw_D8r4hybvMWUJsOufZppPxvtzFD&_nc_ohc=AA4e4o6lNHMAX_UCY58&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=4534b6a51422b50bb44bdfe40bca7879.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    พิจารณาจิตของตนว่าเป็นอย่างไร
    ************
    ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุมีการพิจารณาที่เป็นอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายว่า “เราเป็นผู้มีอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)อยู่โดยมากหรือหนอ หรือไม่มีอภิชฌา เราเป็นผู้มีจิตพยาบาทอยู่โดยมากหรือหนอ หรือมีจิตไม่พยาบาท เราเป็นผู้มีถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)กลุ้มรุมอยู่โดยมากหรือหนอ หรือปราศจากถีนมิทธะ เราเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านอยู่โดยมากหรือหนอ หรือไม่มีจิตฟุ้งซ่าน เราเป็นผู้มีความสงสัยอยู่โดยมากหรือหนอ หรือข้ามพ้นความสงสัยแล้ว เราเป็นผู้มักโกรธอยู่โดยมากหรือหนอ หรือไม่มักโกรธ เราเป็นผู้มีจิตเศร้าหมองอยู่โดยมากหรือหนอหรือมีจิตไม่เศร้าหมอง เราเป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายอยู่โดยมากหรือหนอ หรือมีกายไม่กระสับกระส่าย เราเป็นผู้เกียจคร้านอยู่โดยมากหรือหนอ หรือปรารภความเพียร เราเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมากหรือหนอ หรือมีจิตตั้งมั่น”
    เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษที่ยังหนุ่มสาว มีปกติชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกเงาอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง หรือในภาชนะน้ำที่ใส ถ้าเห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้นก็พยายามขจัดธุลีหรือจุดดำนั้นเสีย หากไม่เห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็ดีใจ ภูมิใจด้วยเหตุนั้นเองว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ’
    ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้มีอภิชฌาอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตพยาบาทอยู่โดยมาก เป็นผู้มีถีนมิทธะกลุ้มรุมอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านอยู่โดยมาก เป็นผู้มีความสงสัยอยู่โดยมาก เป็นผู้มักโกรธอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตเศร้าหมอง
    อยู่โดยมาก เป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายอยู่โดยมาก เป็นผู้เกียจคร้านอยู่โดยมากเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมาก’ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น
    ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าที่ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะที่ถูกไฟไหม้ พึงทำความพอใจความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่งเพื่อดับไฟที่ไหม้ผ้าหรือไฟที่ไหม้ศีรษะนั้น
    ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาทอยู่โดยมาก เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่โดยมาก เป็นผู้ไม่มีจิตฟุ้งซ่านอยู่โดยมาก เป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัยแล้วอยู่โดยมาก เป็นผู้ไม่โกรธ
    อยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตไม่เศร้าหมองอยู่โดยมาก เป็นผู้มีกายไม่กระสับกระส่ายอยู่โดยมาก เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก’ ภิกษุนั้นควรตั้งมั่นอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้วทำความเพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป
    .................
    ข้อความบางตอนใน สจิตตสูตร อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=49
    หมายเหตุ พระผู้มีพระภาคตรัสสอนให้ภิกษุพิจารณาวาระจิตของตนว่า ขณะนี้มีกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งในกิเลส ๑๐ อย่าง คือ (๑) มีอภิชฌา (๒) มีจิตพยาบาท (๓) มีถีนมิทธะ (๔) มีจิตฟุ้งซ่าน (๕) มีความสงสัย (๖) มักโกรธ (๗) มีจิตเศร้าหมอง (๘) มีกายกระสับกระส่าย (๙) เกียจคร้าน และ (๑๐) มีจิตไม่ตั้งมั่น ครอบงำจิตอยู่หรือไม่ ถ้ามี ให้เพียรละกิเลสนั้น ๆ ให้ได้ ถ้าไม่มี ให้รักษาสถานะเช่นนั้นของจิตต่อไป และเพียรเจริญภาวนาให้บรรลุธรรมที่สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป
    U_4-KabT9CLhp6eKYkwApUxRttzTwVwumFP3tX-q0u26&_nc_ohc=ZOmSm4IDq2QAX8fFVzA&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ถ้าปรารถนาจะเกิดในหมู่เทพชั้นประณีต ต้องปฏิบัติหน้าที่คฤหัสถ์ให้ครบทั้ง ๙ ข้อ
    **********
    เทวดาจำนวนมากอีกพวกหนึ่งเข้ามาหาเรา แล้วกล่าวดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรพชิตทั้งหลายเข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ทั้งหลายผู้เคยเป็นมนุษย์ข้าพระองค์เหล่านั้นได้ลุกรับ กราบไหว้ ให้อาสนะ แบ่งปันของให้ตามความสามารถตามกำลัง นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม เงี่ยโสตฟังธรรม ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ได้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ได้ และรู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’ ข้าพระองค์เหล่านั้นทำหน้าที่บริบูรณ์แล้ว ไม่มีความร้อนใจ ไม่เดือดร้อนใจในภายหลัง จึงเกิดในหมู่เทพชั้นประณีต’
    ………….
    ข้อความบางตอนใน เทวตาสูตร ว่าด้วยผลแห่งการต้อนรับของเทวดา อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=182
    XMmthi8668zhcLuSMj0aTD2NbVu-H6DNG0PIC2Ajf8-L&_nc_ohc=2pBHeBiCR14AX8tFxzS&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...