อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    สาเหตุที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสูญ


    เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเลือนหาย เพื่อความเสื่อมสูญไป
    แห่งสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการอะไรบ้าง คือ
    ๑. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา
    ๒. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระธรรม
    ๓. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระสงฆ์
    ๔. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในสิกขา
    ๕. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในสมาธิ
    เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความเลือนหาย เพื่อความเสื่อมสูญไป
    แห่งสัทธรรม
    ........
    ข้อความบางตอนใน สัทธัมมัปปฏิรูปกสูตร ว่าด้วยสัทธรรมปฏิรูป
    สังยุตตนิกาย นิทานวรรค พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=151
    ส่วนผู้ไม่ยังสิกขา ๓ ให้บริบูรณ์ เป็นผู้ชื่อว่าไม่มีความเคารพในสิกขา.
    ผู้ไม่ยังสมาบัติ ๘ ให้เกิด หรือไม่ทำความเพียร เพื่อความเกิดสมาบัติเหล่านั้น ชื่อว่าไม่มีความเคารพในสมาธิ.
    .........
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาสัทธรรมปฏิรูปกสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=531
    Ncnwi4wW6MrQWXDyVAEzZNs95wk9tg6473fLqRD4_Tr9&_nc_ohc=ie-GpfDwIZsAX9UqGiF&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก


    ๑. เป็นผู้มีความปรารถนาที่เป็นบาป ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาที่เป็นบาป
    ๒. เป็นผู้ยกตน ข่มผู้อื่น
    ๓. เป็นผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำแล้ว
    ๔. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธเพราะความโกรธเป็นเหตุ
    ๕. เป็นผู้มักโกรธ ระแวงจัดเพราะความโกรธเป็นเหตุ
    ๖. เป็นผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ความโกรธ
    ๗. ถูกโจทแล้วกลับโต้เถียงโจทก์
    ๘. ถูกโจทแล้วกลับรุกรานโจทก์
    ๙. ถูกโจทแล้วกลับปรักปรำโจทก์
    ๑๐. ถูกโจทแล้วกลับพูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความประสงค์ร้าย และความไม่เชื่อฟังให้ปรากฏ
    ๑๑. ถูกโจทแล้วไม่ยอมอธิบายพฤติกรรม(ของตน)
    ๑๒. เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ
    ๑๓. เป็นผู้ริษยา ตระหนี่
    ๑๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา
    ๑๕. เป็นผู้กระด้าง มักดูหมิ่นผู้อื่น
    ๑๖. เป็นผู้ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ถือรั้น สลัดได้ยาก
    สรุปความบางตอนจาก อนุมานสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=15
    wpcjq0piqupu7ihcztvcvwpmq8froepzlhjj5-ns-_nc_ohc-qfuu3oocabsax-jclg_-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ภิกษุผู้ประกอบอธิจิตพึงกำหนดไว้ในใจซึ่งนิมิต ๓ คือ สมาธินิมิต ๑ ปัคคาหนิมิต ๑ อุเบกขานิมิต ๑ ตลอดกาล ตามกาล

    ถ้าภิกษุกำหนดไว้ในใจเฉพาะสมาธินิมิตโดยส่วนเดียว จะเป็นเหตุให้จิตเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน

    ถ้าภิกษุพึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะปัคคาหนิมิตโดยส่วนเดียว จะเป็นเหตุให้จิตเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน

    ถ้าภิกษุพึงกำหนดไว้ในใจเฉพาะอุเบกขานิมิตโดยส่วนเดียว จะเป็นเหตุให้จิตไม่ตั้งมั่นเพื่อความสิ้นอาสวะ

    เมื่อภิกษุกำหนดไว้ในใจซึ่งนิมิต ๓ คือ สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต ตลอดกาล ตามกาล จิตนั้นย่อมอ่อนควรแก่การงาน ผุดผ่อง ไม่เสียหาย แน่วแน่เป็นอย่างดีเพื่อความสิ้นอาสวะ

    สมุคคสูตร

    สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต คืออะไร
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    สมุคคสูตร

    ทรงแสดงว่าภิกษุผู้บำเพ็ญสมาธิ พึงใส่ใจนิมิต ( เครื่องหมายในจิตใจ ) ๓ อย่าง โดยกาลอันสมควร ได้แก่

    สมาธินิมิต (เครื่องหมาย คือ สมาธิหรือความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง )
    ปัคคาหนิมิต ( เครื่องหมาย คือ ความเพียร )
    อุเบกขานิมิต ( เครื่องหมาย คือ ความวางเฉย ).

    ถ้าใส่ใจแต่สมาธินิมิตอย่างเดียว จิตก็จะน้อมไปเพื่อความเกียจคร้านได้,
    ถ้าใส่ใจแต่ปัคคาหนิมิตอย่างเดียว จิตก็น้อมไปเพื่อความฟุ้งซ่านได้.
    ถ้าใส่ใจแต่อุเบกขานิมิตอย่างเดียว จิตก็ไม่พึงตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อสิ้นอาสวะได้ .

    ต่อเมื่อใส่ใจนิมิตทั้งสามโดยกาลอันสมควร จิตจึงอ่อน ควรแก่การงาน ผ่องใสตั้งมั่นโดยชอบเพื่อสิ้นอาสวะ เปรียบเหมือนช่างทองที่หลอมทองเงิน ย่อมสูบ ( เป่าลม ) โดยกาลอันสมควร, พรมน้ำโดยกาลอันสมควร, วางเฉยโดยกาลอันสมควร.

    อ้างอิง
    พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
    http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/12.4.html
    อ่านรายละเอียดได้ที่
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๖๗๓๓ - ๖๗๘๓. หน้าที่ ๒๘๗ - ๒๘๙.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20...
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=542
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    gTYkuZe3A0jdSAeGj36FKRGaFAx6dHWWdPl-dpEtKnEX&_nc_ohc=w2Y8_WwGhhkAX_rIsTi&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    อชฺฌุเปกฺขนตา = ความเพ่งดูจิตอยู่เฉยๆ
    ************
    ธรรม ๑๑ ประการย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ คือ

    ความทำวัตถุให้สละสลวย ๑
    ความปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน ๑
    ความฉลาดในนิมิต ๑
    ความยกจิตในสมัย ๑
    ความข่มจิตในสมัย ๑
    ความทำจิตให้ร่าเริงในสมัย ๑
    ความเพ่งดูจิตอยู่เฉยๆ ในสมัย ๑
    หลีกเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ ๑
    คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ ๑
    พิจารณาวิโมกข์ ๑
    น้อมจิตไปในสมาธินั้น ๑.
    ....ฯลฯ...
    ชื่อว่า ความเพ่งดูจิตอยู่เฉยๆ ในสมัย ได้แก่ ในสมัยใด จิตอาศัยความปฏิบัติชอบ เป็นจิตไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่มีอัสสาทะ เป็นไปสม่ำเสมอในอารมณ์ ดำเนินไปสู่วิถีแห่งสมถะ. ในสมัยนั้น เธอไม่ต้องขวนขวายในการยก การข่มและการทำให้มันร่าเริง ดุจสารถีเมื่อม้าทั้งหลายวิ่งไปเรียบร้อย ก็ไม่ขวนขวายฉะนั้น นี้เรียกว่าความเพ่งดูจิตอยู่เฉยๆ ในสมัย.
    ………….
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาอาหารสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=522

    ดูเพิ่มใน อาหารสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=123

    #ดูจิต #เพ่งดูจิต #สมาธิ #สมาธิสัมโพชฌงค์


    ?temp_hash=c152c8d3513d8fc01c28185cb6933b1f.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    รูปฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ และอรูปฌาน ๓ คือประตูอมตธรรม
    ***********
    อัฏฐกนาครสูตร มีเนื้อหาโดยสรุปว่า คหบดีชาวอัฏฐกนครชื่อทสมะ เรียนถามท่านพระอานนท์ว่า ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุ โดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่หรือไม่
    คหบดีถามถึงธรรมอันเป็นเอกเพียงข้อเดียว แต่ท่านพระอานนท์ ตอบถึง ๑๑ ข้อ คือ
    รูปฌาน ๔ ได้แก่
    ๑. ปฐมฌาน
    ๒. ทุติยฌาน
    ๓. ตติยฌาน
    ๔. จตุตถฌาน
    อัปปมัญญา ๔ ได้แก่
    ๑. เมตตา
    ๒. กรุณา
    ๓. มุทิตา
    ๔. อุเบกขา
    อรูปฌาน ๓ ได้แก่
    ๑. อากาสานัญจายตนฌาน
    ๒. วิญญาณัญจายตนฌาน
    ๓. อากิญจัญญายตนฌาน
    .............
    สรุปความจาก อัฏฐกนาครสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=2
    อรรถกถาอัฏฐกนาครสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=18


    ?temp_hash=1c1b1bdfa465a2025ef6cb8dd133db3d.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [๑๙]
    ท่านพระอานนท์ตอบว่า “คหบดี ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
    และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่ปฐมฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม๑- นั้นแล้ว ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ๒- เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๓-
    (สังโยชน์เ
    บื้องต่ำ) ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก
    คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้นเป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียรอุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว (๑)


    @เชิงอรรถ :
    @๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงสมถะและวิปัสสนา (ม.ม.อ. ๒/๑๙/๑๐)
    @๒ โอปปาติกะ ในที่นี้หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ(ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้
    @เช่น เทวดาและสัตว์นรกเป็นต้น (เทียบ ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙) แต่ในที่นี้หมายถึงพระอนาคามีที่เกิดใน
    @สุทธาวาส (ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์) ๕ ชั้น มีชั้นอวิหาเป็นต้น แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้นนั้นๆ ปรินิพพาน
    @สิ้นกิเลสในสุทธาวาสนั่นเอง ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗-๘๘/๒๔๒-๒๔๓)
    @๓ โอรัมภาคิยสังโยชน์ หมายถึงสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ [คือ (๑) สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นอัตตา
    @(๒) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (๓) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลและวัตร (๔) กามราคะ ความติดใจ
    @ในกามคุณ (๕) ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ อันเป็นเหตุให้เกิดในกามภพ] (ม.มู.อ. ๒/๒๔๕/๒๒)
    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๐}
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    [๒๐] คหบดี อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุ
    ทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่ทุติยฌานนี้แล
    ก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
    ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ’ (๒)
    อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุ
    นั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่ตติยฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ฯลฯ และ
    เป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๓)
    อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
    ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่
    จตุตถฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจาก
    โยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๔)
    อัปปมัญญา ๔
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ...
    ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว
    ทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ๑- ไม่มีขอบเขต
    ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้เมตตา-
    เจโตวิมุตตินี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง

    [๒๐]@เชิงอรรถ :
    @๑ มหัคคตะ หมายถึงอารมณ์ที่ถึงความเป็นใหญ่ชั้นรูปาวจรและชั้นอรูปาวจร เพราะมีผลที่สามารถข่มกิเกสได้
    @และหมายถึงฉันทะ วิริยะ จิตตะ และปัญญาอันยิ่งใหญ่ (อภิ.สงฺ.อ. ๑๒/๙๒)
    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๑}




    มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรมนั้นแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุ
    ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๕)
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีกรุณาจิต ฯลฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีมุทิตาจิต ฯลฯ
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ...
    ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุก
    หมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต
    ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้อุเบกขา-
    เจโตวิมุตตินี้ก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง
    มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรมนั้นแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุ
    ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๖-๗-๘)
    อรูปฌาน ๓
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศ
    หาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา
    โดยประการทั้งปวง ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้อากาสานัญจายตนฌาน
    นี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไป
    เป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรมนั้นแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดน
    เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๙)
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
    วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ ภิกษุนั้นย่อม
    เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้วิญญาณัญจายตนฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    ที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ใน
    ธรรมนั้นแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
    ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๑๐)
    {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๒๒}
    อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
    อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัด
    ดังนี้ว่า ‘แม้อากิญจัญญายตนฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูก
    ปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม
    นั้นแล้ว ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่บรรลุความสิ้นไป
    แห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป
    ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจาก
    โลกนั้นอีก
    คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น
    เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่บรรลุธรรมเป็น
    แดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท
    มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว'' (๑๑)
    [๒๑]
    ครั้งนั้นแล ทสมคหบดีชาวอัฏฐกนครนิมนต์ภิกษุสงฆ์ชาวเมืองปาตลีบุตร
    และเชิญชาวเมืองเวสาลีให้ประชุมกัน แล้วอังคาสภิกษุสงฆ์นั้นให้อิ่มหนำสำราญด้วย
    ของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยตนเอง นิมนต์ภิกษุให้ครองผ้ารูปละ ๑ คู่ นิมนต์
    ท่านพระอานนท์ให้ครองไตรจีวร และได้ให้สร้างวิหาร ๕๐๐ หลังถวายท่านพระ
    อานนท์ ดังนี้แล
    อัฏฐกนาครสูตรที่ ๒ จบ
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    พิจารณา โดยแยบคาย จะเห็นว่า
    การบำเพ็ญฌาณที่เป็นไปเพื่อสิ้นอาสวะ
    ที่พระพุทธองค์และพระสาวกกล่าวตรงกันนั้น.....

    ต้องมีการพิจารณา ให้แจ้งว่า ฌาณยังต้องปรุงแต่ง เป็นสังขตธรรมอยู่ และด้วยกำลังของฌาณรวมกับปัญญาที่
    แจ้งชัดด้วยการเห็นสภาวะแล้วว่าฌาณมีการปรุงแต่ง ทำให้สังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง5 ถูกทำลายลง แม้ต้องตายไปก็จะเกิดในภพใหม่( เทวดา หรือ พรหม ที่เป็นอริยะชั้นอนาคามี )และจะนิพพานในภพนั้น ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=10c31e91f9abbdd8612aab49abcd1d30.jpg



    เมื่อจิตเป็นสมาธิ จึงรู้ชัดว่ากายนี้ไม่เที่ยง
    ***************
    [๔๗๒] อริยปัญญาขันธ์ ที่ท่านพระโคดมตรัสสรรเสริญและทรงให้ประชาชนสมาทานตั้งมั่นอยู่เป็นอย่างไร ท่านอานนท์”
    ท่านพระอานนท์ตอบว่า “เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘กายของเรานี้คุมกันเป็นรูปร่าง ประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากบิดามารดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา วิญญาณของเราอาศัยและเนื่องอยู่ในกายนี้’
    เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงดงามตามธรรมชาติ มีแปดเหลี่ยม ที่เจียระไนดีแล้ว สุกใสเป็นประกายได้สัดส่วน มีด้ายสีเขียว เหลือง แดง ขาวหรือสีนวลร้อยอยู่ข้างใน คนตาถึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณารู้ว่า ‘แก้วไพฑูรย์อัน
    งดงามตามธรรมชาติ มีแปดเหลี่ยม ที่เจียระไนดีแล้ว สุกใสเป็นประกายได้สัดส่วนมีด้ายสีเขียว เหลือง แดง ขาวหรือสีนวลร้อยอยู่ข้างใน’
    ฉันใด เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘กายของเรานี้คุมกันเป็นรูปร่าง ประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจากบิดามารดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตก กระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา วิญญาณของเราอาศัยและเนื่องอยู่ในกายนี้’ ฉันนั้น
    ข้อนี้จัดเป็นปัญญาอย่างหนึ่งของภิกษุ
    .....................
    ข้อความบางตอนใน สุภสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=10
    ดูเพิ่มในอรรถกถาสุภสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=314
    หมายเหตุ สุภสูตรนี้มีเนื้อหาโดยสรุปว่า พระสูตรนี้เป็นการสนทนาระหว่างท่านพระอานนท์กับสุภมาณพ ช่วงเวลาหลังจากพระผู้มีพระภาคปรินิพพานไปแล้วไม่นาน
    สุภมาณพ เรียนถามท่านพระอานนท์ว่า พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญธรรมอะไร ทรงชักชวนให้ประชาชนตั้งมั่นอยู่ในธรรมอะไร ท่านพระอานนท์ตอบว่าทรงสรรเสริญขันธ์ ๓ และทรงชักชวนให้ประชาชนตั้งมั่นอยู่ในขันธ์ ๓
    สุภมาณพเรียนถามว่าขันธ์ ๓ คืออะไร ท่านพระอานนท์ตอบว่าขันธ์ ๓ คือ สีลขันธ์ (กองศีล) สมาธิขันธ์ (กองสมาธิ) และปัญญาขันธ์ (กองปัญญา) และอธิบายความอย่างเดียวกับ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พระเจ้าอชาตศัตรู ดังปรากฏในสามัญญผลสูตรทุกประการ
    ในคำว่า "เมื่อจิตเป็นสมาธิ" หมายถึง ลักษณะของจิตเป็นสมาธิที่ใช้เป็นฐานให้เกิดปัญญา มีลักษณะ ๘ ประการ คือ (๑) บริสุทธิ์ (๒) ผุดผ่อง (๓) ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน (๔) ปราศจากความเศร้าหมอง (๕) อ่อน (๖) เหมาะแก่การใช้งาน (๗) ตั้งมั่น (๘) ไม่หวั่นไหว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=ac470fb3218cc7617f735881f3c6f60f.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ตั้งกายให้ตรงคือให้กระดูกสันหลัง ๑๘ ท่อน จดที่สุดต่อที่สุด
    **************************************
    [๔๕๗] ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร อริยสติสัมปชัญญะ และอริยสันโดษอย่างนี้แล้ว พักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า
    ข้อความบางตอนใน สุภสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=10
    และอรรถกถาสุภสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=314
    **************
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    ข้อความบางตอนใน พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑
    วิ.มหา.(ไทย) ๑/๑๖๕/๑๓๗ มจร. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=1&siri=22
    .....................
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปลฺลงฺกํ ได้แก่ การนั่งพับชาทั้ง ๒ โดยรอบ (คือนั่งขัดสมาธิ).
    บทว่า อาภุชิตฺวา แปลว่า คู้เข้าไว้.
    ข้อว่า อุชุํ กายํ ปณิธาย มีความว่า ตั้งร่างกายส่วนบนให้ตรง คือให้กระดูกสันหลัง ๑๘ ท่อน จดที่สุดต่อที่สุด.
    จริงอยู่ เมื่อภิกษุนั่งด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว หนัง เนื้อ และเส้นเอ็น ย่อมไม่หงิกงอ.
    เวลานั้น เวทนาทั้งหลายที่จะพึงเกิดขึ้นแก่เธอในขณะ ๆ เพราะความหงิกงอแห่งหนัง เนื้อ และเอ็นเหล่านั้นเป็นปัจจัยนั่นแล ย่อมไม่เกิดขึ้น. เมื่อเวทนาเหล่านั้นไม่เกิดขึ้น จิตก็มีอารมณ์เป็นอันเดียว, กรรมฐานไม่ตกไป ย่อมเข้าถึงความเจริญรุ่งเรือง.
    ข้อความบางตอนใน ตติยปาราชิกวรรณนา อรรถกถาวินัยปิฎก มหาวิภังค์
    วิ.มหา.อ.(ไทย) ๒/๓๓๗-๓๓๘ มมร.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=176
    2jqQLbCCVrDgZbNz5IdnuUw67mcLeYFm_kfTOPySTXaI&_nc_ohc=4EDHlhe-eLcAX-U--yJ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    Mae9bNONBmA2pXbE5tk2rsWIlDAodMaToz7ytQRheet1&_nc_ohc=vVLaRIbRDkMAX-HJM99&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไว้ไม่รุ่งเรือง
    ...........
    ข้อความบางตอนใน ปฏิจฉันนสูตร อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php…

    พระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก ชื่อว่าสิ่งที่เปิดเผยโดยทั่วไป.
    ........
    ข้อความบางตอนในอรรถกถา อรรถกถาปฏิจฉันนสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=571
     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา จักไม่มีความเคารพในสมาธิ

    ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ มีความเคารพในสิกขา ก็ชื่อว่ามีความเคารพในสมาธิด้วย พระพุทธเจ้าข้า
    .................
    ข้อความบางตอนใน สักกัจจสูตร ว่าด้วยความเคารพ อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=67

    หมายเหตุ สักกัจจสูตร พระสูตรนี้มีเนื้อความโดยย่อว่า ท่านพระสารีบุตรเกิดความคิดว่า ภิกษุสักการะเคารพอาศัยอะไร จึงละอกุศล เจริญกุศลได้ ท่านคิดได้ว่าภิกษุสักการะเคารพธรรม ๗ ประการ คือ (๑)พระศาสดา (๒) พระธรรม (๓) พระสงฆ์ (๔) สิกขา (๕) สมาธิ (๖) ความไม่ประมาท และ (๗) ปฏิสันถาร จึงละอกุศล เจริญกุศลได้
    หลังจากนั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเล่าเรื่องที่ตนคิดให้ฟัง พระบรมศาสดาตรัสรับรองว่าท่านพระสารีบุตรคิดถูกแล้ว
    จากนั้นท่านพระสารีบุตร จึงได้อธิบายโดยพิสดารว่าธรรม ๗ ประการนั้นมีความสัมพันธ์กันเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน เช่น ความสัมพันธ์กันระหว่าง พระศาสดา กับ พระธรรม ท่านพระสารีบุตรได้อธิบายโดยพิสดารไว้ ๓ นัย คือ
    ๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา จักมีความเคารพในพระธรรม ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา ก็ชื่อว่าไม่มีความเคารพในพระธรรมด้วย
    ๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา จักไม่มีความเคารพในพระธรรม ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา ก็ชื่อว่ามีความเคารพในพระธรรมด้วย
    ๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา จักมีความเคารพในพระธรรมด้วย ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา ก็ชื่อว่ามีความเคารพในพระธรรมด้วย

    ?temp_hash=23be1e4480002f8411f53f0dc85b38f1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    #ปฏิสัมภิทา ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕ ประการ
    ***************
    ปฏิสัมภิทาย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕ ประการ เป็นไฉน? ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ ด้วยอธิคม, ด้วยปริยัติ, ด้วยสวนะ, ด้วยปริปุจฉา, ด้วยปุพพโยคะ.
    ในเหตุ ๕ ประการเหล่านั้น การบรรลุพระอรหัต ชื่อว่าอธิคม. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้บรรลุพระอรหัต ย่อมผ่องใส.
    พระพุทธพจน์ ชื่อว่าปริยัติ. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้เรียนพระพุทธพจน์นั้น ย่อมผ่องใส.
    การฟังพระสัทธรรม ชื่อว่าสวนะ. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้สนใจเรียนธรรมโดยเคารพ ย่อมผ่องใส.
    กถาเป็นเครื่องวินิจฉัย คัณฐีบทและอรรถบท ในพระบาลีและอรรถกถาเป็นต้น ชื่อว่าปริปุจฉา. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้ที่สอบสวนอรรถในพระพุทธพจน์ทั้งหลายมีพระบาลีเป็นต้นที่ตนเรียนแล้ว ย่อมผ่องใส.
    การบำเพ็ญเพียรในวิปัสสนากรรมฐานอยู่เนืองๆ จนกระทั่งถึงสังขารุเปกขาญาณอันเป็นที่ใกล้อนุโลมญาณและโคตรภูญาณ เพราะความที่การบำเพ็ญวิปัสสนานั้น อันพระโยคาวจรเคยปฏิบัติแล้วปฏิบัติเล่ามาในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ชื่อว่าปุพพโยคะ. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้บำเพ็ญเพียรมาแล้วในปางก่อน ย่อมผ่องใส.
    ปฏิสัมภิทาย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕ ประการเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้.
    ก็ในบรรดาเหตุทั้ง ๕ เหล่านี้ เหตุ ๓ เหล่านี้ คือ ปริยัติ, สวนะ, ปริปุจฉา เป็นเหตุมีกำลังเพื่อความแตกฉานแล.
    ปุพพโยคะเป็นปัจจัยมีกำลังเพื่อการบรรลุพระอรหัต.
    ถามว่า หมวด ๓ แห่งเหตุมีปริยัติเป็นต้น ย่อมมีเพื่อความแตกฉาน ไม่มีเพื่อความบรรลุหรือ?
    ตอบว่า มี, แต่ไม่ใช่อย่างนั้น. เพราะปริยัติ, สวนะและปริปุจฉา จะมีในปางก่อนหรือไม่ก็ตาม แต่เว้นการพิจารณาสังขารธรรมด้วยการบำเพ็ญเพียรในปางก่อน และการพิจารณาสังขารในปัจจุบันเสียแล้ว ชื่อว่าปฏิสัมภิทา ก็มีไม่ได้. เหตุและปัจจัยทั้ง ๒ นี้รวมกันช่วยอุปถัมภ์ปฏิสัมภิทา กระทำให้ผ่องใสได้ด้วยประการฉะนี้.
    ...........
    ข้อความบางตอนในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=0&p=1
    csZJPz8XGkUr6ocyKbwGYjuJiLf4d8idUeaWQCEOODJR&_nc_ohc=aAJ3S9M_QIsAX9X7Juw&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    พระพาหิยเถระบรรลุเร็วเพราะเคยสะสมการเจริญอานาปานสติ
    *************
    ภิกษุในศาสนานี้ขวนขวายอานาปานสติ นั่งเหนืออาสนะหนึ่ง ยังอาสวะทั้งหมดให้สิ้นไปแล้วบรรลุพระอรหัต.
    เมื่อไม่สามารถอย่างนั้นก็เป็นสมสีสี (สิ้นชีวิตพร้อมทั้งสิ้นกิเลส) ในเวลาตาย.
    เมื่อไม่สามารถอย่างนั้นก็บังเกิดในเทวโลก ครั้นฟังธรรมของเทพบุตรผู้เป็นธรรมกถึกแล้วได้บรรลุพระอรหัต.
    พลาดไปจากนั้นเมื่อยังไม่เกิดพุทธุปบาทกาล ย่อมทำให้แจ้งปัจเจกโพธิ.
    เมื่อยังไม่ทำให้แจ้งปัจเจกโพธินั้น ย่อมเป็นขิปปาภิญญา (รู้ได้เร็ว) เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดุจพระพาหิยเถระเป็นต้นฉะนั้น ย่อมมีผลมากด้วยประการฉะนี้.
    .............
    ข่อความบางตอนในอรรถกถามหาราหุโลวาทสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=133
    J9cKAFrmZKjXL_AWseOqMf037mVTkNJv1KlmwFgY70c9&_nc_ohc=T5FSHwH6NGkAX8hkD1H&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    C8NsCJkB_vnZjpVeg7RV3TujzGCBo067v0dK8XqaphoP&_nc_ohc=kDEzxk0yESYAX9037m5&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    vHWQjEUaTMs1v9Un42qAQg-0FjnKEAO6XHBDmCXkbe-K&_nc_ohc=XK3T-5TL_kYAX_APHC5&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    AkeQc_PWN5hN6xdeGDNarboi-GImMDcm6Tysgv8_x4YU&_nc_ohc=bXOSU_oBp8MAX_FdxL6&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...