นั่งสมาธิแล้วกระตุก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Improvise, 8 กรกฎาคม 2009.

  1. Improvise

    Improvise สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +2
    ผมลองนั่งสมาธิดูอ่ะครับ นั่งไปสักพักก็เริ่มรู้สึกเบาๆ เหมือนจะหลุดยังไงก็ไม่ทราบ มีอยู่ช่วงหนึ่งที่มันเคลิ้มๆ พอผมเริ่มที่จะดึงสติกลับมา ตัวผมก็กระตุก(เหมือนเวลาฝันว่าลื่นบนพื้นไม้หรือตกบันได)

    อาการอย่างที่ว่ามาเนี่ยคืออะไรอ่ะครับ????
     
  2. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,309
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    น่าจะเป็นอาการของปีติครับ เเต่ยังไงก็ตาม ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับเราระหว่างนั่งสมาธิ ไม่ต้องไปสนใจเขาครับ เรามีหน้าที่จับที่ลมหายใจพอครับ เอามาให้ จขกท มาฟังเเล้วกันครับ จะได้กระจ่าง อนุโมทนาครับ จขกท ขอให้ปฏิบัติต่อไปนะครับ คุณมาถูกทางเเล้วครับ

    อาการของปีติ<!-- google_ad_section_end -->

    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1">
    โดย: ศจ.อุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง
    <fieldset class="fieldset"> <legend>ไฟล์แนบข้อความ</legend> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="3"> <tbody><tr> <td width="20"><input id="play_8721" onclick="document.all.music.url=document.all.play_8721.value;" name="Music" value="attachment.php?attachmentid=8721" type="RADIO">ฟัง</td> <td>[​IMG]</td> <td>035 อาการของปีติ.mp3 (2.48 MB, 2145 views)</td></tr> </tbody></table> </fieldset>
    <!-- google_ad_section_start -->อาการของปีติ โดย ศจ.อุบาสิกา คุณรัญจวน อินทรกำแหง

    อาการของปีติ - Buddhism Audio
     
  3. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    แน่ใจนะครับว่าไม่ใช่สัปหงก อะครับ คือมีความรู้สึกเหมือนคนกำลังจะหลับเลยครับ สงสัยคงจะเหนื่อยกับงาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2009
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    เก่งแล้วครับ ที่ระลึกรู้สภาวะได้ว่า ตอนนั้นมันเคลิ้มๆ เคลิ้มก็ให้รู้ว่าเคลิ้ม

    เคลิ้มไปมากๆ จะพบว่ามีภาพ มีเสียงดัง มีอะไรปรากฏแบบวับๆแวมๆ แต่ก็ชัดขึ้น

    แต่คุณก็พอดูออกว่ามันเป็นสภาวะ เคลิ้มๆ ปนอยู่

    สภาวะเคลิ้มตัวนี้ เป็น โมหะมูลจิต เป็นจิตชนิดอกุศล เมื่อทำไปนานๆเข้า บ่อยๆ
    เข้าคุณจะเริ่มเห็นว่ามันเป็นสภาวะอกุศลจิต

    ตอนที่ระลึกรู้ได้ว่า สภาวะแบบนี้เป็นอกุศลจิต ตอนที่ระลึกรู้นั้นกำลังพอดี แต่ที่คุณ
    ไปทำให้มันไม่พอดี คือ ไปดึงจิตกลับมา ที่คุณใช้คำว่า "พอผมเริ่มที่จะดึงสติกลับมา"
    ตรงนี้ไม่ใช่การดึงสติ สติมันเกิดขึ้นแล้วตอนที่คุณระลึกรู้ว่าสภาวะเคลิ้มๆนี้เป็นอกุศล
    แต่เนื่องจากคุณไม่หยุดที่รู้ ทำให้เกิดการสร้างเจตนา ก่ออกุศลจิตอีกชนิดหนึ่งเข้าไป
    แทรกแซงการเห็น การใส่เจตนานั้นแรงมาก กระทันหันมาก ทำให้เกิดการดึงจิตออกมา
    แรงเกินไปจนหลุดกลับมาอยู่กับโลกปรกติ

    ตอนที่เราไปเผลอดึงจิตกลับมาสู่สภาวะโลกปรกติ และ แรงเกินไป จะทำให้เกิดการกระตุก
    เฮือกขึ้น บางครั้งก็สะดุ้งทั้งตัว แต่โดยส่วนมากมันจะกระตุกที่แขนขา

    การกระตุกแบบนี้ หากเกิดขึ้นในขณะที่ร่างกายมันผักผ่อน(นอน)ลงไปแล้ว แล้วเผอิญร่าง
    กายมันไม่อยู่ในสภาพพร้อมที่จะขยับ(อาธิ แขนขาชา หรือถูกกดทับ) ก็จะเริ่มเข้าสู่สภาวะ
    การโดนผีอำ

    แต่ถ้าเราเริ่มกิจปฏิบัตินี้ด้วยความจงใจทำสมาธิ เราจะรู้ทันสภาวะว่าไม่ได้โดนผีอำอะไร
    แล้วรู้ตัว รู้ตนอยู่ว่ากำลังทำสมาธิ ก็จะแค่ๆ กระตุกเฮือกเฉยๆ ซึ่งหลังจากกระตุกแล้วก็
    อาจจะประคองการทำสมาธิต่อ หรือไม่ก็ลุกเลิกนั่งไป

    * * * *

    ก็ไม่ต้องทำอะไรมากครับ มันจะเป็นไปเรื่อยๆ ในยามที่เราเพลีย หรือ ทำสมาธิแบบ
    จงใจทำมากเกินไป ในขณะที่จิตมันไม่พร้อม กายไม่พร้อม เราก็จะเผลอเคลิ้มลงไป
    พอเคลิ้มลงไปแล้ว ไปดึงกลับแรงเกินไปก็จะกระตุกแบบนี้ทุกครั้ง

    แต่เมื่อไหร่ที่เราเริ่มรู้ทัน การก่ออกุศลจิตครั้งที่สอง ที่จงใจดึงจิตกลับแรงเกินไปได้
    เราจะค่อยๆระลึกสภาวะของกาย แล้วค่อยๆ จัดท่าจัดทางไปอย่างราบเรียบ ค่อยเป็น
    ค่อยไปได้ ตรงนี้ให้สังเกตที่ช่วงอกให้ดี จะพบแรงดันบางอย่างที่ละเอียดกว่าการเต้น
    ของหัวใจ หากระลึกรู้ สัมผัสได้ในความรู้สึกแรงดันยิบๆ ในอกนั้นได้ให้ระลึกรู้สภาวะนั้น
    ไปเรื่อยๆ ตัวนี้จะช่วยระงับ ตัณหามูลจิต (ตัวการที่ดึงจิตกลับแรงเกินไป) ได้ จะทำให้
    เราสามารถทำสมาธิได้ปราณีตขึ้น

    และเมื่อเห็นสภาวะยิบๆ ในอกนั้นแล้ว แล้วเราปล่อยวาง ไม่ฉวย ไม่สงสัย ไม่เพ่งจ้อง
    ไปจับแต่สภาวะนั้น ก็จะถอยออกมาเห็น จิตผู้รู้ ที่ตั้งมั่นรู้อยู่ได้

    หากเห็นจิตผู้รู้ กำลังทำกิจตั้งมั่นรู้อยู่ แล้วเราปล่อยวาง ไม่ฉวย ไม่สงสัย ไม่เพ่งจ้อง
    ไปจับจิตผู้รู้อีก ก็จะถอยออกมาตั้งมั่นรู้ในแบบสัมมาสมาธิ จะเกิดความสว่างโพรง(ไม่ใช่
    แสงสว่าง)แบบคนที่ตื่น สดชื่น เหมือนคนพึ่งฟื้นจากการหลับมายาวนาน เรียกว่า จิตตื่น

    เมื่อเกิดสภาวะจิตตื่นแล้ว เราก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นต่อการเห็นนี้ จะทำให้จิตระลึกเห็นสภาวะ
    จิตตั้งมั่น และ จิตที่สัดส่าย แยกกันทำงานอยู่ ตรงนี้จะสามารถเจริญปัญญาได้

    * * * *

    ระลึกรู้สภาวะไปตามที่มันเป็น ไม่ดึง ไม่เพ่ง ไม่จ้อง ไม่ยึดมั่นถือมั่น กำจัดอภิชญา โทนัส
    ที่เกิดขึ้นได้ ก็จะพบสภาวะธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แม้แต่ จิตผู้รู้ ก็ปรากฏไตร
    ลักษณ์ให้เห็นพอๆ กันกับ อกุศลมูลจิต ดูไปเรื่อยๆ แล้วจะพบว่า เวลาออกมาใช้ชีวิตประจำ
    วัน จะพบสังขารธรรมที่เรียกว่า กิเลส ในตัวเราผุดให้รู้มากมาย เมื่อกระทบผัสสะ วิหารธรรม
    ที่จิตไปเกาะ ไปอาศัยจะเป็นกรรมฐานที่ทำบ่อย แต่หากระลึกลงไปที่สภาวะเห็นการไหวยิบๆ
    ที่กลางอกได้ ให้ระลึกตัวนั้นแทนไปเลย จะมีประโยชน์กว่าการไปเกาะวิหารธรรมชนิดอื่นๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2009
  5. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    ถามเรื่องโมหะหน่อยครับ
    ถ้านั่งแล้วเหมือนฝัน หรือ สติตัดไปเลยเหมือนหลับ กับสติเบาบางแล้วเคลิ้มๆวนๆอยู่แบบนั้น โดยไม่ตัดตื่น อันนี้เขาเรียกโมหะสมาธิหมดเลยมัยครับ

    ทำไมนั่งแล้ว เข้าไปจดจ่อ แล้วสติถอนออกมา รู้ความสงบ แล้วเข้าไป จดจ่อ แล้วก็ถอนออก มา รู้ความสงบ เป็นอยู่แบบนี้ ความสงบก็ไล่ขึ้นไป สมาธิแบบนี้ถูกหรือผิดนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2009
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ของคุณเดินทาง ถ้าไม่ใช่ ไปทำสมาธิในขณะที่กายและใจยังเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า

    แต่เป็น การภาวนาที่ทำเมื่อไหร่ก็เป็น ทำเมื่อไหร่ก็ปรากฏ ก็อาจจะเป็นไปได้ที่จะเกิด
    แบบนี้

    ภาพรวมนั้น แบบนี้เรียกว่า ติดอยู่ในโอภาส โอภาสตัวนี้ไม่ใช่แสงสว่าง แต่เป็น
    ความตื่นรู้ของจิต จิตจะระลึกรู้อะไรก็ไปรู้ได้ แต่ก็ไม่ได้รู้เกินขอบเขตผัสสะอายตนะ
    ภายนอก จะมีสมาธิก็ถือว่าไม่มีเพราะองค์ฌาณทั้ง5ไม่ปรากฏ จะถือว่าทำวิปัสสนา
    ก็ไม่ใช่เพราะไม่เห็นสภาพไตรลักษณ์อะไรโดยจิต แต่จะเห็นแบบเปรียบเทียบเชิงตรรก
    หรือวนอยู่ที่สัมมสนญาณเท่านั้น

    เมื่อเทียบพระสูตร ก็เห็นมีธรรมบรรยายที่ใกล้เคียง คือ ธรรมะของพระอานนท์ที่มักยก
    ขึ้นกล่าวในเรื่อง มรรคของผู้บรรลุธรรมมี 4 ลักษณะ คือ สมาธินำปัญญา 1 ปัญญา
    นำสมาธิ 2 ปัญญาสมาธิควบกันไป 3 และ ไม่มีสมาธิและปัญญา แต่เป็นสภาวะของ
    จิตติดอยู่ในโอภาส ธัมมุธธัจจะ (ธรรมะ+อุธธัจจะ) ซึ่งลักษณะธรรมในวรรคข้างต้น
    ก็ตรงกับแบบที่ 4

    การเดินมรรคแบบที่ 4 นี้ อรรถาจารย์ชั้นก่อนกล่าวว่า จะเกิดเฉพาะผู้เป็นอนาคามีเท่านั้น
    โดย ธัมมุธธัจจะ นั้นท่านบรรยายว่าคือ อุธธัจจสังโยชน์

    แต่เท่าที่เคยสดับ พระบางท่านก็บอกว่าไม่ใช่ของอนาคามี แต่เป็นของผู้ใฝ่ธรรมที่ยกวิปัสสนา
    ญาณไม่สำเร็จ เกือบๆจะสำเร็จ แต่ไปติด อุปกิเลสทั้ง 10 เสียก่อน โดยอุปกิเลส 10
    หรือ วปัสสนูกิเลส 10 นี่ก็คือ ตัวโอภาส ครั้นเมื่อติดแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนจิตเริ่มระลึก
    รู้เกิดสติจดจำได้ว่า นี่คือนิวรณ์ นี่คืออกุศลจิต จิตจะดับอุธธัจจะได้ทั้งหมด แล้วเกิดการ
    ตั้งมั่นรู้(สัมมสมาธิ) ได้ภายหลัง และขณะเกิดสัมมาสมาธิ ธรรมเอกผุด หากเคยสดับ
    ธรรมะมาก็จะระลึกรู้ได้ว่านี่คือสัมมาสมาธิ ก็จะน้อมไปเห็นพระไตรลักษณ์แล้วจิตจะรวมจน
    เป็นฌาณครั้งแรกในชีวิตและเกิดการตัดสินธรรมไปเลย ...แต่ค่อนข้างจะทำนายอะไรไม่
    ได้เลย สมาธิอินทรีย์และสตินทรีย์อ่อนไปหมด ดูยาก

    โดยส่วนตัว สภาวะธรรมนี้จะปรากฏได้สำหรับนักภาวนาดูจิต ดูกาย ดูเวทนา ที่ดูผ่านๆ
    แยกไม่ออกว่าเป็นขันธ์5 คือ แยกจิตกับกองขันธ์ไม่ได้ เช่น เมื่อดูจิต จิตก็กระโดดถลำไป
    ดูที่จิต เมื่อดูกายจิตก็ถลำไปอยู่ที่กาย เมื่อดูเวทนาจิตก็พุ่งไปเกาะอาการเวทนา แทน
    ที่จะตั้งมั่นรู้อยู่ที่ฐาน เมื่อจิตอยู่ที่ฐานไม่ได้ ก็ไม่สามารถแยกรูป นาม ออกจากกันได้
    ทำให้ติด ธัมมุธธัจจะ ฝุ้งไปในธรรม รู้อยู่อย่างนั้น แต่ก็ไม่แช่ ถอนออกมาได้ แต่ก็ไม่ตั้งมั่น
    ที่ตั้งมั่นไม่ได้เพราะทำสมาธิไม่ได้ อีกทั้งเจริญสติวิปัสสนาก็ไม่ได้ .......

    แล้วจะแก้อย่างไร หากเป็นแบบนี้ หากเป็นตามที่พระอานนท์กล่าวรับรองว่าเกิดเอโกธิ
    ภาวะได้ ก็คงไม่ต้องแก้อะไรก็ภาวนาเห็นไปแบบนั้น โดยระลึกรู้ทบทวนทุกครั้งที่หยุด
    กรรมฐานว่า ทั้งหลายทั้งปวงนั้นเป็น ธัมมุธธัจจะ ไหนๆฝุ้งแล้ว ก็ฝุ้งเพิ่มไปอีกหน่อย แล้ว
    ก็คอยระลึกดู อภิชญา โทมนัสที่จะเกิดขึ้น เมื่อกำจัดอภิชญา โทมนัสลงได้ ซึ่งจะทำให้จิต
    คุ้นเคยกับความไม่ยึดมั่นถือมั่นไปเรื่อยๆ ภาวนาเรื่อยๆ ไม่หยุดภาวนา แม้จะไม่เห็นอะไร

    keyword ก็คือ ความไม่ยึดมั่นถือมั่น เพราะความไม่ยึดมั่นถือมั่นนั้นจะทำให้รู้ถ้วนรูปนาม
    รู้ที่สิ้นสุดของโลกได้เหมือนกัน

    * * * *

    ในกรณีที่ต้องการฝืนทำสมาธิให้ได้ หรือ ทำวิปัสสนาให้ได้ คือ กลับมาเป็นแบบที่ 1-3
    ก็ต้องใช้สมาธิประเภทเคลื่อนไหว ก่อกำลังกาย สุขอนามัย เข้ามาช่วย เช่น รำไทเก๊ก เดิน
    จงกรมฯ ไปเสริมอิทธิบาท4 ให้มากๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2009
  7. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ไม่รู้ถามใคร ถ้าเป็นผมตอบ จะตอบว่ากำลังไม่พอ ทำให้จะตกภวังค์ ก็แค่นั้น^-^
     
  8. ANGKOR

    ANGKOR สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +19
    นั่งสมาธิแล้วเคลิ้ม ๆ นั่นน่ะ สมาธิไม่เกิด แล้วปัญญาก็จะไม่ได้เอานะครับ

    อาจต้องเพิ่มความจดจ่อเข้าไปในจุดที่เพ่งสตินั้นให้ต่อเนื่องไม่ขาดสายครับ

    สมาธิที่ดี จะมีกำลังมากครับ เห็นหลายสิ่งที่ไม่สามารถเห็นได้ในขณะที่ไม่มีสมาธิ

    เช่นเห็นการเกิดดับของจิตสังขาร ขันธ์ห้า

    พยายามเข้าครับ ตอนนี้ยังไม่ได้ ก็ถือว่าเข้าใกล้กว่าตอนที่ยังไม่ได้ทำนะครับ


    อนุโมทนาด้วยนะขอรับ
     
  9. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    ธัมมุธธัจจะ ไหนๆฝุ้งแล้ว ก็ฝุ้งเพิ่มไปอีกหน่อย แล้ว
    ก็คอยระลึกดู อภิชญา โทมนัสที่จะเกิดขึ้น เมื่อกำจัดอภิชญา โทมนัสลงได้ ซึ่งจะทำให้จิต
    คุ้นเคยกับความไม่ยึดมั่นถือมั่นไปเรื่อยๆ ภาวนาเรื่อยๆ ไม่หยุดภาวนา แม้จะไม่เห็นอะไร

    keyword ก็คือ ความไม่ยึดมั่นถือมั่น เพราะความไม่ยึดมั่นถือมั่นนั้นจะทำให้รู้ถ้วนรูปนาม
    รู้ที่สิ้นสุดของโลกได้เหมือนกัน

    * * * *

    ในกรณีที่ต้องการฝืนทำสมาธิให้ได้ หรือ ทำวิปัสสนาให้ได้ คือ กลับมาเป็นแบบที่ 1-3
    ก็ต้องใช้สมาธิประเภทเคลื่อนไหว ก่อกำลังกาย สุขอนามัย เข้ามาช่วย เช่น รำไทเก๊ก เดิน
    จงกรมฯ ไปเสริมอิทธิบาท4 ให้มากๆ<!-- google_ad_section_end -->

    อนุโมทนาครับ
    ขอบคุณครับ
     
  10. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    น้ำนั่งแป๊บเดียวก็จะหลับซะแร้ว
     
  11. Improvise

    Improvise สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +2
    ขอบคุณสำหรับทุกคห.ครับ....

    อีกอย่างหนึ่ง ถ้าผมนั่งแบบทำใจว่าง แล้วรู้สึกว่าหล่นวูบ มันคืออะไรครับ....?
     
  12. Amoxcycol

    Amoxcycol Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +65
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465

    อันนี้ ก็คล้ายๆกัน แต่เป็นการสุดโต่งไปอีกด้าน

    การที่เราดึงจิตกลับมาแรงไป สุดโต่งมาด้านบังคับกาย บังคับใจ มันก็ดีดแรงจนกระตุก

    แต่พอเราปล่อยไหลเกินไป ไม่คอยระลึกรู้กาย รู้ใจ ที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันเลย
    มันก็คล้อยไปสุดโต่งอีกด้านหนึ่ง คือ ด้านหลงไป

    การปฏบัตินั้น จะดีดกลับไปกลับมาในสุดโต่งสองด้านนี้ไปตลอดสาย จนกว่า
    จะพบทางสายกลาง

    สุดโต่งด้าน บังคับกายบังคับใจคือ อัตตกลิมัตถานุโยค

    สุดโต่งด้าน หลงไปตามกิเลส ไหลไป คือ กามสุขขัลกลิมัตถานุโยค

    สุดโต่งทั้งสองด้านนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นทางที่ไม่ควรเสพอยู่นาน

    ทางสายกลาง ก็อยู่ตรงที่รู้ รู้สึกตัว รู้สึกกาย รู้สึกใจ รู้ลงเป็นปัจจุบัน
    น้อมเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสิ่งที่ปรากฏ(ตามความเป็นจริง)

    การตั้งจิตมั่นมีกำลังในการพิจารณาจึงเป็นเรื่องควรเจริญด้วยปัญญา
    อันยิ่ง ไม่เพียร(บังคับเกินไป) ไม่พัก(ไหลเกินไป) ก็จะข้ามโอฆะได้

    คำว่าเกินไป ก็คือ เกิดบ้าง เผลอบ้างนั้นแหละ เพียงแต่ไม่ เกิดบ้าง
    เผลอบ้างยาวจนลืมภาวนา รักษาจิต
     
  14. Improvise

    Improvise สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +2
    รู้ตัวครับ มิได้ไหลไปไหน....

    หลังจากที่รู้สึกหล่นวูบ แล้วก็รู้สึกว่าเบาสบายอ่ะครับ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2009
  15. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    อนุโมทนา..สาธุ

    ที่ทำอยู่ก็ถูกต้องแล้วครับ...สิ่งสำคัญคือ ฝึกให้ชำนาญยิ่งขึ้นครับ

    ขออนุญาติแนะนำเพิ่มเติมถือว่า..แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันครับ..

    ที่คุณรู้สึกหล่นวูบ แล้วก็รู้สึกว่าเบาสบาย....<!-- google_ad_section_end --> นั่นคือ อาการของจิตรวม

    แต่ที่สำคัญคือ..ตอนที่รู้สึกหล่นวูบนั้น

    คือ สิ่งที่ต้องสังเกตุทางเข้าและทางออกของสมาธิก่อนที่รู้สึกหล่นวูบนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สุด...

    และการรู้สึกหล่นวูบนั้น เปรียบเสมือนเราขับรถเหยียบมิดคันเร่ง...ในขณะลงเขา

    จึงยากแก่การควบคุม จะทำให้จำทางเข้า-ออกของสมาธิไม่ได้...ต้องไปฝึกให้ชำนาญ

    เพราะผมเองก็เคยเจอปัญหาเช่นนี้..จนได้รับการแก้ไขจากครูบาอาจารย์จึงเข้าใจครับ

    ขอให้เจริญในธรรม
     
  16. inoon

    inoon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +634
    เป็นเหมือนกันค่ะนั่งๆครั้งเเรกอยู่เหมือนคนมากระชากศรีษะ
    ไปข้างหลังตอนเเรกก็นึกว่าเราเหนื่อยแล้วเคลิ้มหลับเเต่พอรู้ก็กลับ
    มานั่งใหม่ พอครั้งที่สองเป็นอีกค่ะเหมือนครั้งเเรกๆๆ แล้วหลายๆครั้งก็เป็น ช่วยให้คำเเนะนำหน่อยค่ะ
     
  17. Rupanama

    Rupanama สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    เหมือนว่าจะเป็นปิติน่ะครับ
    ตอนไปเข้ากรรมฐาน2-3 วันแรกก็จะเป็นอย่างนี้ครับ แขนเหมือนสะปัดไปข้างหน้า
    บางครับ เหมือน สัปปะหงก แต่ตัวยังนั้งตรงอยู่เลย
     
  18. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    สติอ่อนค่ะ...
     
  19. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    เรียนคุณ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->inoon<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_2402123", true); </SCRIPT> ครับ...

    นั่งสมาธิแล้ว เหมือนมีคนมากระชากศรีษะไปข้างหลัง บางครั้งเหมือนคล้ายจะเคลิ้มหลับ

    เเต่พอรู้ตัวก็กลับมานั่งตัวตรงใหม่...อาการนี้ คือ อาการตกภวังค์ของสมาธิ
    วิธีแก้คือ...เจริญสติกับคำบริกรรม พุทโธ

    เกิดจากจิตเริ่มเข้าสู่ความสงบ จิตจะดิ่งลงสู่ฐานของใจ แต่เนื่องจากขาดการควบคุมของกำลังสติที่มีกำลังอ่อน ทำให้ขาดสติควบคุมกาย จึงทำให้ร่างกายโอนเอน
    เหมือนกระชากไปข้างหลัง...หากไม่แก้ไขจะทำให้ควบคุมร่างกายไม่ได้ จึงต้องเจริญสติ รู้กาย โดยการใช้คำบริกรรม พุทโธ เพราะถ้าเรากำหนดคำบริกรรมเป็นการกำหนดรู้ในการเจริญสติ จะทำให้จิตมีสติเป็นเครื่องกำกับของใจ ทำให้เมื่อจิตสงบจะไม่ตกลงสู่ภวังค์โดยไม่รู้ตัว...

    สิ่งสำคัญกรรมฐาน อาณาปาณสติ ที่ใช้การดูลมหายใจ เข้า-ออก มักจะเจอปัญหานี้ เพราะลมเป็นสิ่งละเอียดอ่อน หากเผลอสติมักจะตกภวังค์..

    ดังนั้นการดูลมหายใจ จึงต้องอาศัยดูลมหายใจที่ฐานของลมที่ชัดเจนที่สุด
    จุดเดียวเป็นพื้นฐาน จนเมื่อเกิดความชำนาญ จึงจะสามารถใช้การกำหนดลมหายใจในลักษณะต่างๆ ไป เช่น การดูลมหยาบลมละเอียด หรือกระจายลมไปยังจุดต่างๆของร่างกาย อันนี้ว่ากันตามจริตนิสัยวาสนาครับ

     
  20. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    ลักษณะเดียวกัน คือ อาการตกภวังค์ของสมาธิ
    วิธีแก้คือ...เจริญสติกับคำบริกรรม พุทโธ

    เกิดจากจิตเริ่มเข้าสู่ความสงบ จิตจะดิ่งลงสู่ฐานของใจ แต่เนื่องจากขาดการควบคุมของกำลังสติที่มีกำลังอ่อน ทำให้ขาดสติควบคุมกาย จึงทำให้ร่างกายโอนเอนเหมือนสัปหงก...อาการคล้ายเคลิ้มหลับแต่รู้ตัวมีสติหลังตรง หากไม่แก้ไขจะทำให้ควบคุมร่างกายไม่ได้ จึงต้องเจริญสติ รู้กาย โดยการใช้คำบริกรรม พุทโธ เพราะถ้าเรากำหนดคำบริกรรมเป็นการกำหนดรู้ในการเจริญสติ จะทำให้จิตมีสติเป็นเครื่องกำกับของใจ ทำให้เมื่อจิตสงบจะไม่ตกลงสู่ภวังค์โดยไม่รู้ตัว...

    การที่จิตเข้าสู่ความสงบ จะตัดวิตก วิจารณ์ จิตจะเข้าสู่สภาวะปิติ สุข ของสมาธิ

    ช่วงนี้ถ้ากำลังสติอ่อนมักจะตกภวังค์ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...