พระเครื่องสายป่ากรรมฐานและทั่วไทย

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ChintopTM, 17 มกราคม 2021.

  1. ChintopTM

    ChintopTM เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    2,681
    ค่าพลัง:
    +1,084

    IMG_0149 (1).JPG

    นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา
    ความนอบน้อมของข้าฯจงมีแด่ท่านผู้พ้นแล้วทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้าฯจงมีแด่วิมุตติธรรม

    พระเครื่องสายกรรมฐานและทั่วไปให้บูชาในราคาเบาๆครับ แบ่งๆกันนำไปใช้ครับ

    บวกค่าจัดส่งครั้งละ50บาท/ครั้งนะครับ

    ชื่อบัญชี:นายวุฒิชัย ต่อฤทธิ์
    เลขที่บัญชี: 739-0-14103-9
    ธนาคาร: กรุงเทพ
    สาขา: เทสโก้โลตัสท่าบ่อ
     
  2. ChintopTM

    ChintopTM เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    2,681
    ค่าพลัง:
    +1,084
    รายการที่ 1
    ล็อกเก็ต 150 ปี ชาตกาล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต รุ่นแรก สร้างเพียง 205 องค์ เสกนาน 2 ปี


    FB_IMG_1610877203513.jpg

    มวลสารที่อุดด้านหลังLocket และอุดใต้ฐาน
    รูปเหมือนลอยองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    รุ่น 150 ปี ชาตกาล และฉลองการได้รับการ
    ยกย่องจากองค์การ UNESCO ให้เป็นบุคคล
    สำคัญของโลก
    วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ
    รายละเอียดของมวลสาร
    - ไม้กุฏิหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล จากวัดดอนธาตุ
    - ไม้กุฏิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จากวัดป่าบ้านหนองผือ
    วัดป่าบ้านโคก และวัดป่ากลางโนนภู่
    - ทรายเสก หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดป่าหมู่ใหม่ เชียงใหม่
    - ผงตะไบพระกริ่งชินบัญชร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่
    ปี17
    - ผงพระธาตุพระสิวลี
    - แป้งเสกหลวงปู่บุดดา ถาวโร
    - แป้งเสกหลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    - แป้งเจิมหลวงปู่หลอด ปโมทิโต
    - แป้งเจิมหลวงปู่มหาโส กัสสโป
    - ผงโสฬสมหาพรหม หลวงตาบุญหนา ธัมมทินโน
    - ผงพระสมเด็จ 9 อรหันต์โลกทิพย์
    - ผงเสกของครูบาธรรมชัย
    - ผงพลอยเสกหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่
    - ผง 300 อาจารย์
    - ผงพระกรุต่างๆ
    - ผงพระลงกรุหลวงปู่ทิม อิสริโก
    - ดินพระธาตุพนม
    - ดินสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย
    - ผงว่านเสกของหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
    - ผงดอกบัวบูชาพระแก้วมรกต
    - ผงตะไบพระกริ่งสิตธัตโถ ปี2508
    - ผงวัตถุมงคลวัดไผ่ล้อม ระยอง ปี2514
    - พลอยเสกหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
    - พลอยเสกหลวงอุตตมะ
    - มวลสารวัตถุมงคลของหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
    - มวลสารวัตถุมงคลของหลวงปู่หลอด ปโมทิโต
    - มวลสารวัตถุมงคลของหลวงปู่มหาโส กัสสโป
    - มวลสารวัตถุมงคล รุ่น 9 มงคล หลวงปู่เหรียญ
    วรลาโภ
    - มวลสารวัตถุมงคลของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    70 อัฐิเกศาอังคาร ที่นำมาเป็นมวลสาร
    - เส้นพระเกศา สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ(อยู่)
    - เส้นพระเกศา สมเด็จพระพระญาณสังวร(เจริญ)
    - เส้นพระเกศา สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ(อยู่)
    - ผงอังคารหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    - เกศา สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี(ทองเจือ)
    - เกศา สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(อ้วน ติสโส)
    - เกศา พระอุบาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจันโท)
    - อังคาร พระพรหมมุนี(บู่ สุจิณโณ)
    - เกศา พระธรรมเจดีย์(จูม)วัดโพธิสมภรณ์
    - อังคารหลวงปู่จันทร์ เขมิโย
    - เกศา เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์
    - เกศา อังคาร หลวงปู่หลอด ปโมทิโต
    - อังคารหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    - เกศา อังคาร หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    - เกศา หลวงปู่มหาโส กัสสโป
    - เกศา อังคาร หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ
    - เกศา หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
    - เกศา ท่านพ่อลี ธัมมธโร
    - เกศา อังคาร หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโม
    - เกศา หลวงปู่ขาว อนาลโย
    - เกศา หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
    - เกศา อังคาร หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    - เกศา อังคาร หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม
    - เกศา อังคาร หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
    - เกศา หลวงปู่แว่น ธนปาโร
    - เกศา หลวงปู่จันทา ถาวโร
    - เกศา หลวงปู่หลวง กตปุญโญ
    - เกศา หลวงปู่วัน อุตตโม
    - เกศา หลวงปู่มหาปราโมทย์ ปาโมชโช
    - เกศา อังคาร หลวงพ่อคูณ สุเมโธ
    - เกศา อังคาร หลวงปู่สาม อกิญจโน
    - เกศา หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    - เกศา อังคาร หลวงตาบุญหนา ธัมมทินโน
    - อังคาร หลวงพ่อทองพูล สิริกาโม
    - เกศา หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
    - อังคาร หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต
    - เกศา หลวงปู่บุดดา ถาวโร
    - เกศา หลวงปู่ลือ ปุญโญ
    - เกศา อังคาร หลวงปู่คำ ยสกุลปุตโต
    - เกศา อังคาร หลวงตาพวง สุขินทริโย
    - เกศา หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ
    - อังคาร หลวงปู่ผาง ปริปุณโณ
    - เกศา หลวงปู่ต้น สุทธิกาโม
    - เกศา หลวงพ่ออุ่นหล้า ฐิตธัมโม
    - เกศา หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
    - เกศา อังคาร หลวงปู่อุ่น ชาคโร
    - เกศา อังคาร หลวงปู่มหาเขียน ฐิตสีโล
    - เกศา อังคาร หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
    - อังคาร หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
    - อังคาร หลวงปู่คำพอง ติสสโส
    - เกศา หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    - เกศา พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
    - เกศา อังคาร หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    - เกศา หลวงตาแตงอ่อน กัลป์ญาณธัมโม
    - เกศา อังคาร หลวงปู่บุญ ชินวังโส
    - เกศา หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป
    - เกศา หลวงปู่ลี กุสสโล
    - เกศา หลวงปู่มหาเจิม ปัญญาพโล
    - เกศา อังคาร หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล
    - เกศา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    - เกศา หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม
    - เกศา หลวงปู่สมหมาย จิตตปาโล
    - เกศา หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ
    - เกศา หลวงปู่ก้าน จิตตธัมโม
    - เกศา หลวงปู่แปลง สุนทโร
    - เกศา หลวงปู่หา สุภโร
    - เกศา หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ
    - เกศา หลวงปู่เสถียร คุณวโร
    - เกศา หลวงปู่ทองสุข ฐิตปุญโญ
    - เกศา หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล
    และมวลสารอัฐิเกศาอังคาร 150พ่อแม่ครูบาอาจารย์
    จากวัตถุมงคล รุ่น 150ปี สิริจันโท ปี2549 ที่ชำรุด
    (พระสมเด็จ และพระปิดตานวโกฏิฯ)
    จำนวนการจัดสร้าง Locket และรูปเหมือนลอย
    องค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต รุ่น 150 ปี ชาตกาล และ
    ฉลองการได้รับการยกย่องจากองค์การ UNESCO
    ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยศูนย์อบรมภาวนา
    สิริจันโท วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ
    Locket รูปเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต รุ่น 150 ปี
    ชาตกาล
    - ตัวอย่าง 2ชิ้นประกบ สร้าง 1องค์
    - ด้านหลังฝังพระปิดตา+ปฐวีธาตุ หลวงปู่สังข์ และตะกรุด
    เงินหลวงปู่หา สร้าง 209 องค์

    รายนามพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่อธิษฐานจิตLocket หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต รุ่น 150 ปี ชาตกาล และฉลองการได้รับการยกย่องจากองค์การ UNESCO ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยศูนย์อบรมภาวนาสิริจันโท วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ
    (ปลุกเสก2ปี)
    - พระเทพมงคลญาณ(หลวงพ่อสน อนาลโย) วัดพุทธบูชา กรุงเทพฯ
    - หลวงปู่ทองสุข ฐิตปุญโญ วัดป่าวุฑฒาราม จ.หนองบัวลำภู
    - หลวงพ่ออำนวย ภูริสุนฺทโรวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กทม
    - หลวงปู่สมหมาย จิตฺตปาโล วัดป่าอนาลโย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
    - หลวงปู่อร่าม ชินวังโส วัดป่าถ้ำแกลบ บ้านท่าวังแคน ต.ศรีสองรัก อ.เมืองเลย จ.เลย
    - หลวงปู่ประสาร สุมโน วัดป่าหนองไคร้ อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร
    - หลวงพ่อบุญเรือง กิตติปุญโญ วัดพุมุด อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี
    - หลวงพ่อโสภณ โอภาโส วัดบึงลัฏฐิวัน อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
    - หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต สำนักสงฆ์สวนทิพย์ นนทบุรี
    - หลวงปู่หา สุภโร วัดสักวัน (ภูกุ้มข้าว) อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์
    - หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนมประชาคม ต.บงใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    - พระวิชัยมุนี (พระอาจารย์ไพฑูรย์ เมตฺตจิตฺโต) วัดสำราญนิเวศ จ.อำนาจเจริญ
    - หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร วัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ
    - หลวงปู่อุดม ญาณรโต วัดป่าสถิตย์ธรรมวนาาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ
    - หลวงปู่กวง โกสโล วัดป่านาบุญ ต.แม่แตง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    - หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ วัดป่าอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    - พระบูรพาคณาจารย์ (เจ้าคุณน้อม วรนินฺโน) วัดบ้านโง้ง จ.ปราจีนบุรี
    - พระอาจารย์เชาวรัตน์ วัดท่าวังหิน จ.สกลนคร
    - หลวงปู่ดำ(บุญจันทร์) สีลคุโณ วัดป่ามณีศรีโคตมวงษ์ อ.กู่แก้ว จ.อุดรธานี
    - หลวงปู่ศรี สิริธโร วัดป่าโนนทองอินทร์ อ.กู่แก้ว จ.อุดรธานี
    - หลวงตาเลื่อน โอภาโส วัดพระธาตุฝุ่น สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    - หลวงปู่แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    - พระราชวรคุณ(หลวงพ่อสมศักดิ์ ปณฺฑิโต) วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
    - หลวงปู่เสถียร คุณวโร วัดถ้ําพระภูวัว อ.เซกา จ.บึงกาฬ
    - หลวงพ่อวิชัย เขมิโย วัดถ้ำผาจม อ.แม่สาย จ.เชียงราย
    - หลวงพ่อสวาท ปัญญาธโร วัดโป่งจันทร์ จ.จันทบุรี
    - หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต วัดเขาตาเงาะอุดมพร อ.หนองบัวระเหว จ. ชัยภูมิ
    - หลวงพ่อสมบูรณ์ กันตสีโล วัดป่าสมบูรณ์ธรรม อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก
    - หลวงพ่อสมหมาย อัตตมโน วัดป่าสันติกาวาส บ้านหนองตูม อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี
    - หลวงพ่อมงคล สิริมังคโล วัดป่าโป่งกระทิง ต.บ้านบึง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี
    - หลวงปู่เอียน ฐิตวิริโย วัดป่าโคกหม่อน บ้านเฉนียง ต.เฉนียง อ.เมือง จ.สุรินทร์
    - หลวงปู่อินตอง สุภวโร วัดป่าวีระธรรม บ้านไฮหย่อง ต.อุ่มเหม้า อ.พังโคน จ.สกลนคร
    - หลวงปู่ทองสุก อุตฺตรปญฺโญ วัดอนาลโยทิพยาราม(ดอยบุษราคัม) อ.เมือง จ.พะเยา
    - พระอาจารย์เยื้อน ขันติพโล วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร อ.บัวเชด จ.สุรินทร์
    - หลวงปู่ณรงค์ วฑฺฒโณ วัดป่าสิริปุญญาราม ต.หนองงิ้ว อ.วังสะพุง จ.เลย
    - พระอาจารย์หนูพิน ฐานุตฺตโม วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    - พระอาจารย์กองเหรียญ โกวิโท วัดป่าหนองปลิง ต.ไชยมงคล อ.เมือง จ.นครราชสีมา
    - หลวงพ่อสวาท ถาวโร (พระครูธรรมกิตติคุณ) วัดอ่าวหมู ต.บางกะไชย อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี
    - หลวงพ่อสิน ภัททาจาโร วัดละหารใหญ่ ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
    - หลวงพ่อรัตน์ อตฺตสาโร วัดป่าหวาย ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
    - หลวงปู่นรสิงห์ กิตฺติสาโร วัดบ้านเหล่าเจริญ อ.เฝ้าไร่ จ.หนองคาย
    - หลวงพ่ออนันต์ วิสุทโธ (พระครูวิสุทธิ์สมุทรคุณ) วัดบางพลีน้อย ต.บางพลีน้อย อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
    - หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา
    - พระอาจารย์วราห์ ปุญฺญวโร พระครูวิศิษฎ์พิทยาคม (วราห์ปุญฺญวโร)วัดโพธิทอง แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
    - หลวงพ่อทองพูน ธมฺมทินฺโน วัดเขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
    - หลวงพ่อสุวัฒน์ คมฺภีรปุญฺโญ วัดถ้ำเขาปรางค์ อ.ชับาดาล จ.ลพบุรี
    - หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต วัดถ้ำคูหาวารี อ.วังสะพุง จ.เลย
    - หลวงพ่อทองแดง วรปัญโญ วัดดอยพระเจ้าตนหลวง ต.สะลวง อ.แม่ริม จ. เชียงใหม่
    - หลวงพ่อบุญส่ง ฐิตสาโร วัดสันติวนาราม อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี
    - หลวงพ่อไม อินทสิริ วัดป่าเขาภูหลวง อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
    - พระอาจารย์สามดง จันทโชโต วัดอรัญพรหมาราม ต.ไม้แดง อ.ประทาย จ.นครราชสีมา
    - พระอาจารย์มหาสามเรือน ปุญเญสโก วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
    - หลวงปู่คำ นิสโสโก วัดป่าไทยพัฒนา อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
    - หลวงพ่อคูณ อัคคธัมโม วัดป่าโพธิ์สุวรรณ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    - หลวงพ่ออุทัย ธัมมวโร วัดภูย่าอู่ ต.คำด้วง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
    - หลวงพ่อสวัสดิ์ ปิยธัมโม วัดป่าคูขาด ต.หนองเรือ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม
    - หลวงปู่บุญจันทร์ จันทสีโล วัดป่ากิ่วดู่ ต.แม่คะ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
    - หลวงพ่อเสงี่ยม สมาจาโร วัดป่าดาลเทพมงคล อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ
    - พระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม วัดป่าหนองไผ่ อ.เมือง จ.สกลนคร
    - หลวงปู่เลิศ ถาวโร วัดมุตโตทัย อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี
    - หลวงพ่อคำ กาญจนวัณโณ วัดถ้ำบูชา ต.บ้านต้อง อ.เซกา จ.บึงกาฬ
    - หลวงพ่อคำสด อรุโณ วัดป่าบ้านเพิ่ม อ.นายูง จ.อุดรธานี
    - พระอาจารย์จันมี อนาลโย วัดป่าแก้งใหม่ อ.สังคม จ.หนองคาย
    - หลวงพ่อคำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    - พระอาจารย์พยุง ชวนปญฺโญ วัดป่าภูริทัตตถิราวาส (วัดป่าบ้านหนองผือ) ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    - หลวงพ่อแก้ว สุจิณโณ วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า บ้านทิดไท ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    - หลวงพ่อหลอ นาถกโร วัดถ้ำพวง อ.ส่องดาว จ.สกลนคร
    - หลวงตาแยง สุขกาโม วัดภูทอก (วัดเจติยาคีรีวิหาร) บ้านคำแคน ต.นาแสง อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ
    - พระอาจารย์บุญมี ธัมมรโต วัดป่าศรัทธาถวาย (ถ้ำเต่า) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    - พระครูจิตตภาวนาญาณ (หลวงพ่อชาลี ถิรธมฺโม) วัดป่าภูก้อน ต.บ้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี
    - หลวงปู่อ้ม สุขกาโม วัดภูผาผึ้ง อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร
    - หลวงพ่อบุญทัน ฐิตสีโล วัดเขาเจริญธรรม อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์
    - หลวงปู่ลี ถาวโร วัดป่าหนองทับเรือ อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
    - พระอาจารย์เติมศักดิ์ ยุตฺตธัมโม ( หลวงพ่อตุ๊ )วัดป่าศรีสว่างแดนดิน อ.สว่างแดนดิน
    - หลวงพ่อสุจิน สุจิณโณ วัดหนองนำ้เชียว อ.แม่สอด จ.ตาก
    - หลวงพ่อขันตี ญาณวโร วัดป่าม่วงไข่ ต.สานตม อ.ภูเรือ จ.เลย
    - หลวงพ่อสมศรี อัตตสิริ วัดป่าเวฬุวนาราม อ.วังสะพุง จ.เลย
    - หลวงพ่อไสว วํสวโร วัดถ้ำผาบิ้ง บ้านนาแก ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย
    - หลวงตาน้อย กันตธัมโม วัดภูงาม (วัดป่าสิงหนาทบรรพต) ณ วัดภูงาม ตำบลชัยพร อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
    - หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) บ้านป่ากุง ต.ศรีสมเด็จ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
    - พระอาจารย์เชาว์ ชวนปัญโญ วัดป่าบ้านมูเซอสามหมื่นทุ่ง อ.แม่สอด จ.ตาก
    - พระครูสมุห์คำนวณ ปริสุทฺโธ วัดแก้วเจริญ ต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
    - หลวงปู่สุพีร์ สุสญฺญโม (พระครูสังวรวีรธรรม) วัดถ้ำซับมืด ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    - หลวงปู่ทิวา อาภากโร ศูนย์ปฏิบัติธรรมเสริมรังสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    - สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (หลวงปู่พิจิตร ฐิตวณฺโณ) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ
    - สมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร))ทรงเมตตาอธิษฐานจิตให้ส่วนพระองค์
    - พระอาจารย์พเยาว์ โชติวโร วัดป่าศิลาวาส บ้านดินทรายอ่อน (เหนือ) ต.หัวนา อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
    - หลวงปู่วิเลิศ เขมิโย วัดป่าสุวรรณาราม บ้านคำไผ่ ต.ศรีชมภู อ.พรเจริญ จ.หนองคาย
    - พระอาจารย์เจน ปัณฑิโต วัดป่าสระแก้ว อ. ศรีเทพ จ. เพชรบูรณ์
    - หลวงปู่ก้าน จิตตธัมโม วัดถ้ำเป็ด ต.ปทุมวาปี อ.ส่องดาว จ.สกลนคร
    - หลวงพ่อบุญกู้ อนุวฑฺฒโน วัดพระศรีมหาธาตุ แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
    - หลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม วัดกระดึงทอง ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์
    - หลวงพ่อสุพจน์ ฐิตพฺพโต วัดห้วงพัฒนา ต.แสนตุ้ง อ.เขาสมิง จ.ตราด
    - พระอาจารย์สนิท จิรสนิทโธ วัดป่าคีรีเขต (วิเศษนิยม) ต.เขาวงกต อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี
    - หลวงปู่บุญมา สุชีโว วัดป่าสุขเกษม อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
    - ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร วัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง รัฐฉาน ประเทศพม่า
    - หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดอนาลโยทิพยาราม(พเยาว์) ที่สำนักสงฆ์เทพนิมิตสุดเขตสยาม เชียงราย
    - หลวงพ่อแป๊ะ ธัมมทินโน(ลพ.รวย) วัดสว่างอารมณ์(แคแถว) จ.นครปฐม
    - พระอาจารย์มหาสุรศักดิ์ อติสักโข(พระภาวนาวิสุทธิโสภณ) วัดประดู่ พระอารามหลวง จ.สมุทรสงคราม
    - หลวงพ่อทองรวย ยสินธโร วัดป่าบ้านด่าน จ. ยโสธร
    - พระอาจารย์ติ๊ก ฌานุตตโม(พระอาจารย์อุทัย) วัดป่าห้วยลาด ต.สานตม อ.ภูเรือ จ.เลย
    - หลวงพ่อคูณ ติกขวีโร วัดป่าอุดมวารี ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย
    - พระอาจารย์ทองพูน กาญจโนวัดป่าภูกระแต จ.หนองบัวลำภู
    - หลวงพ่อมณฑล ชยวฑฺโฒ วัดพุทธมณฑลอรัญญิกาวาส อ.ทองผาภูมิจ.กาญจนบุรี
    - หลวงปู่สมัย ธัมมโฆสโก วัดบุญญานุสรณ์ บ้านหนองวัวซอ ต.หนองวัวซอ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    - หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ วัดป่าภูมิพิทักษ์ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    - หลวงพ่อปฐม ธัมมธีโร วัดป่าศรีวิลัย อ.ส่องดาว จ.สกลนคร
    - หลวงปู่ตาล วรธัมโม วัดป่าดอนตาล อ.ส่องดาว จ.สกลนคร
    - หลวงพ่ออุทัย สิริธโร วัดเขาใหญ่เจริญธรรม ญาณสัมปันโน ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    - พระอาจารย์กองแพง วิโรจโน วัดป่าสันติวัน สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    - หลวงพ่อสัมภาษ โกวิโท(พระญาณสิทธาจารย์) วัดกุดเรือคำ ต.กุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
    - หลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร วัดป่าถ้ำพระเทพนิมิต (ถ้ำตาลเลียน) ต.ตาลเลียน อ.กุดจับ อุดรธานี
    - พระอาจารย์ประสาทศิลป์ อภิวัณโณ วัดป่าหนองแวง จังหวัดอุดรธานี
    - หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดสุนทราราม อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร
    - หลวงพ่อพัลลภ ปุญญวัลลาโภ(พระราชญาณเวที) วัดราชผาติการาม กรุงเทพฯ
    - พระอาจารย์สังวาลย์ วัดป่าประดู่ จ.นครราชสีมา
    - พระอาจารย์เปลี่ยน สุธีโร วัดป่าบ้านคำบอน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    - หลวงปู่บุญพิน กตปุญฺโญ วัดผาเทพนิมิตร อ. นิคมน้ําอูน จ.สกลนคร
    - พระอาจารย์ทองสูณ ธมฺมวํโส วัดป่าบ้านหนองทุ่ม บ.หนองทุ่ม ต.สว่างแดนดิน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    - พระอาจารย์ประสงค์ สุสันโต วัดป่าตำลึงทอง จ.จันทบุรี
    - หลวงพ่อสำรวย ตายโน วัดภูริทัตวนาราม รัฐแคลิฟอร์เนีย USA.
    - หลวงปู่ชนะ อุตตมลาโภ วัดป่าโนนหมากอื๋อ อ.เมือง จ.มหาสารคาม
    -
    *****และนำเข้าพิธีพุทธาพิเษกที่กรมพลาธิการทหารบก ณ วันที่23 พย.61 โดยมีพพระคณาจารย์นั่งปรกปลุกเสกดังนี้้ หลวงปู่นรสิงห์ กิตฺติสาโร หลวงปู่ทองสุข ฐิตปุญโญ หลวงพ่อเจริญ ราหุโล หลวงพ่ออนันต์ วัดบางพลีน้อย หลวงพ่อวิชัย เขมิโย พระอาจารย์เยื้อน พระอาจารย์ชำนาญ วัดบางกุฏิทอง .หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก พระอาจารย์ วราห์ปุญฺญวโร วัดโพธิทอง หลวงพ่อแป๊ะ วัดสว่างอารมย์ ครูบามงคล วัดศรีเบญจคาลัย พระครูปืน วัดลาดชะโด หลวงพ่ออุ่นใจ วัดถนนโค้ง
    *****เข้าพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ที่อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์.วันที่25ธค.61 โดยมี สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (หลวงปู่พิจิตร ฐิตวณฺโณ) หลวงปู่ทิวา อาภากโร หลวงปู่สุพีร์ สุสญฺญโม หลวงพ่ออุทัย(เขาใหญ่) หลวงปู่เหลือง หลวงพ่อบุญกู้ เจ้าคุณโพธิ์ฯ หลวงปู่อินตอง หลวงปู่ทองสุข หลวงปู่ดำ หลวงพ่อไม หลวงปู่ศรี เป็นต้นเจริญพระพุทธมนต์
    *****เข้าพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ที่กฟผ.วันที่26ธค.61 โดยมีหลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม หลวงปู่เจริญ ราหุโล หลวงพ่อเจริญ(ถ้ำปากเปียง) หลวงพ่อสนธิ์ วัดพุทะบูชา หลวงปู่ศรี สิรินธโร หลวงปู่ดำ หลวงพ่ออุทัย(เขาใหญ่) หลวงพ่อทองคำ หลวงพ่อหลอ หลวงพ่อสาคร หลวงปู่สมหมาย จิตตปาโล หลวงพ่อบุญส่ง หลวงพ่อไม พระอาจารย์แก้ว สุจิณโณ พระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม พระอาจารย์พยุง ชวนปญฺโญ หลวงพ่อบุญทัน พระอาจารย์สนิท(จันทบุรี) พระอาจารย์บุญมี(ถ้ำเต่า) เป็นต้นเจริญพระพุทธมนต์
    *****เข้าพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ที่โรงเรียนถนอมบุตร วันที่28ธค.61 โดยมี เจ้าคุณโพธิ์ฯ หลวงพ่ออำนวย หลวงพ่อสุจินต์ หลวงพ่อบุญส่ง หลวงพ่อวิชัย ถ้ำผาจม เป็นต้นเจริญพระพุทธมนต์
    *****เข้าพิธีเจริญพระพุทธมนต์ข้ามปี ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราช เป็นองค์ประธาน(31 ธค.61-1มค.62)
    *****เข้าพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย วันที่ 4 มค.62 โดยมีหลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม หลวงปู่เจริญ ราหุโล หลวงปู่แปลง หลวงพ่อสนธิ์ หลวงปู่อ้ม หลวงพ่ออุทัย หลวงปู่สมหมาย หลวงพ่อชาลี หลวงพ่อหลอ หลวงพ่ออุทัย(ภูย่าอู่)หลวงพ่ออำนวย หลวงพ่อคำสด หลวงพ่อคูณ(เชียงราย) พระอาจารย์ติ๊ก พระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม พระอาจารย์พยุง ชวนปญฺโญ หลวงพ่อบุญทัน พระอาจารย์สนิท(จันทบุรี) พระอาจารย์บุญมี(ถ้ำเต่า) หลวงปู่จื่อ หลวงปู่ณรงค์ หลวงตาสมหมาย หลวงพ่อไม เป็นต้นเจริญพระพุทธมนต์
    ****เข้าพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ณ หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (หัวหมาก) วันเสาร์ที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยมีหลวงปู่สนธ์ อนาลโย ลวงปู่บุญกู้ อนุวัฒฑโณ หลวงพ่ออำนวย ภูริสุนทโร หลวงปู่สมหมาย จิตตปาโล หลวงปู่สวาท ปัญญาธโร หลวงพ่อโสภณ โอภาโส หลวงปู่คูณ อัคคธัมโม หลวงปู่คำ นิสโสโก วัดป่าไทยพัฒนา หลวงพ่อสมปอง ธัมมปาโล หลวงพ่อเลื่อน โอภาโส วัดพระธาตุฝุ่น อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร หลวงพ่อหนูพิน ฐานุตโย พระอาจารย์เมธา สุเมโธ พระอาจารย์ชายแดน สีลสุทโธ หลวงปู่ชนะ อุตตมลาโภ หลวงพ่อสุบรรณ์ สิริธโร หลวงพ่อสามดง จันทโชโต หลวงปู่ดาด สิริปุญโญ พระวัชัยมุนี วัดสำราญนิวาส พระอาจารย์เชาว์ ชวนปัญโญ หลวงพ่อสมเกียรติ ชิตมาโร หลวงพ่อทองพูน กาญจโน หลวงพ่อพเยาว์ โชติวโร วัดป่าศิลาวาส จ.หนองบัวลำภู พระอาจารย์ประพันธ์ อนาวิโล หลวงพ่อหนูสิน สันตจิตโต หลวงพ่อน้อม วรนินโน หลวงพ่อวิชัย เขมิโย หลวงพ่อบุญทัน ฐิตสีโล เป็นต้นเจริญพระพุทธมนต์
    *****เข้าพิธีพุทธาพิเษก ณ พระวิหารวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วันที่ 20 มิย.62 โดยมีสมเด็จพระสังฆราช เป็นองค์ประธาน หลวงพ่อสนธิ์ วัดพุทธบูชา หลวงพ่ออุทัย(เขาใหญ่) หลวงพ่อสาคร วัดป่ามณีกาญจ์น หลวงพ่อชำนาญ หลวงพ่อสมชาย วัดปริวาส นั่งปรกอธิษฐานจิต
    *****เข้าพิธีพุทธาพิเษก ณ พระอุโบสถละหารไร่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง วันที่ 16 ตค.62 โดยมีหลวงพ่อสิน ภัททาจาโร วัดละหารใหญ่ เป็นประธานนั่งปรกอธิษฐานจิต
    *****เข้าพิธีบูรพาจารย์ที่วัดหนองผือคืนวันที่10พย.62 โดยมีพระอาจารย์พยุง ชวนปญฺโญ หลวงพ่อสำรวย ตายโน วัดภูริทัตวนาราม รัฐแคลิฟอร์เนีย USA.เป็นต้นเจริญพระพุทธมนต์
    *****เข้าพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ณ วัดโป่งจันทร์ ต.คลองพูล อ.เขาคิชฌกุฏ จ.จันทบุรี วันที่ 20-21พย.62
    *****ได้นำเข้าพิธีเจริญพระพุทธมนต์สวดมนต์รับสักกราชใหม่ ในคืน วันอังคาร ที่ 31ธันวาคม พ.ศ.2562 จรดข้ามสู่ วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ณ พระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร โดยมี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสัง
    ฆปริณายก เสด็จเป็นองค์ประธาน
    *****ได้นำเข้าพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2563 โดยมี....หลวงปู่เจริญ ราหุโล หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม หลวงพ่อสนธิ์ หลวงพ่อทองคำ กาญจนวัณโณ หลวงปู่อินตอง หลวงตาทองอินทร์ กตปุญฺโญ หลวงปู่สมหมาย หลวงพ่อบุญเรือง หลวงพ่อชาลี หลวงพ่ออุทัย(ภูย่าอู่) หลวงพ่อสวาท หลวงพ่อวง หลวงพ่ออำนวย หลวงพ่อวิชัย หลวงพ่อคูณ (เชียงราย)... หลวงพ่อคำสด พระอาจารย์ติ๊ก พระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม พระอาจารย์พยุง หลวงพ่อสนิท พระอาจารย์พยุงค์ หลวงปู่ณรงค์ หลวงพ่อสามดง เป็นต้นเจริญพระพุทธมนต์
    *****ได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษก พระพุทธนิรันตราย ณ พระอุโบสถวัดพุทธบูชา บางมด กทม ใน วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ.2563 โดยมีหลวงปู่เจริญ ราหุโล หลวงปู่บุญมา หลวงพ่อสนธิ์ หลวงปู่สมหมาย หลวงพ่อวง หลวงตาเลื่อน หลวงพ่ออำนวย หลวงพ่อสำรวย พระราชญาณเวที วัดราชผาติการาม พระอาจารย์ประพันธ์นั่งปรกอธิษฐานจิต
    *****ได้นำเข้าพิธีเจริญพระพุทธมนต์อายุวัฒนมงคล 100 ปี พระพรหมมงคลญาณ หรือหลวงพ่ออวิริยังค์ สิรินฺธโร ณ วัดธรรมมงคล โดยพ่อแม่ครูบาอาจารย์ 345 รูป (สำหรับรายนามจะนำมาให้ทราบในโอกาสหน้า) ในวันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ.2563
    *****ได้นำเข้าพิธีเจริญพระพุทธมนต์งานสมโภชน์ 150ปี ชาตกาล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ณ วัดบรมนิวาส โดยมี
    - หลวงปู่แปลง สุนฺทโร วัดป่าอุดมสมพร
    จ.สกลฯ
    - พระครูจิตภาวนานุศิษฐ์ (หลวงปู่สมหมาย)
    วัดป่าปฐมชัย จ.นครปฐม
    - พระราชญาณเวที วัดราชผาติการาม กทม.
    - พระวิมลเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุพจน์ ฐิตพฺพโต)
    วัดห้วงพัฒนา จ.ตราด
    - พระวิมลศีลาจาร (หลวงพ่ออำนวย ภูริสุนฺทโร)
    วัดบรมนิวาส กทม.
    - หลวงพ่อสุจินต์ สุจิณโณ วัดหนองน้ำเขียว
    อ.แม่สอด จ.ตาก
    - พระอาจารย์รุ้ง รุจฺจโน วัดหนองบำหรุ
    จ.อุทัยธานี
    - หลวงตาเลื่อน โอภาโส วัดพระธาตุฝุ่น จ.สกลฯ
    - หลวงพ่อหนูพิน ฐานุตตโม วัดป่าโนนศรีทอง
    จ.อุดรฯ
    - หลวงปู่ปั่น สมาหิโต วัดป่าศิริดำรงวนาราม
    จ.สกลฯ
    - พระอาจารย์สังวาล วัดป่าประดู่ จ.นครราชสีมา
    - พระกิตติวิมลเมธี วัดบุปผาราม กทม.
    ร่วมเจริญพระพุทธมนต์ เป็นต้น
    และได้รับเมตตาอธิษฐานจิตจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์อีก 12รูปเป็นกรณีพิเศษ คือ
    1.สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธฯ
    2.หลวงปู่หา สุภโร วัดสักกะวัน
    3.หลวงปู่ทองสุข ฐิตปุญโญ วัดป่าวฑฒาราม
    4.หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีหพนมฯ
    5.หลวงพ่อไพบูลย์ สุมงฺคโล วัดเทพนิมิตสุดเขต
    แดนสยาม
    6.หลวงปู่ก้าน จิตฺตธัมโม วัดถ้ำเป็ด
    7.หลวงตาสมหมาย อัตตมโน วัดป่าไชยวาน
    8.หลวงปู่แปลง สุนฺทโร วัดป่าอุดมสมพร
    9.หลวงปู่สมหมาย จิตตปาโล วัดป่าปฐมชัย
    10.หลวงพ่อสุพจน์ ฐิตพฺพโต วัดห้วงพัฒนา
    11.หลวงพ่ออุทัย ธัมมวโร วัดป่าภูย่าอู่
    12.หลวงพ่อสุจิณต์ สุจิณโณ วัดหนองน้ำเขียว

    องค์ที่ 1 บูชา 1,000 บาท ปิดรายการ
    1610876766369.jpg 1610876764137.jpg 1610876770205.jpg


    องค์ที่ 2 บูชา 900 บาท
    1610878234839.jpg 1610878236463.jpg 1610878241720.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มกราคม 2021
  3. ChintopTM

    ChintopTM เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    2,681
    ค่าพลัง:
    +1,084
    รายการที่ 2
    ตะกรุดจันทรคราส หลวงปู่ไม อินทสิริ วัดป่าเขาภูหลวง เนื้อทองฝาบาตร ขนาด 4.5 นิ้ว หลวงปู่จารเต็มแผ่น สร้างน้อย ตอกโค๊ดกำกับ (มีประสบการณ์)
    บูชา 500 บาท
    ปิดรายการ


    FB_IMG_1610690543356.jpg

    กายเราก็เปื้อนได้ ใจเราก็เปื้อนได้ กายเปื้อน เราล้างออกได้ แต่ใจเปื้อน เราล้างออกยาก ถ้าไม่รู้จักอุบายของการล้างใจ หากเราไม่รู้จักละมลทินใจ ก็จะมีความหนาเหมือนเราไม่อาบน้ำ ร่างกายก็จะยิ่งพอกขี้ไคลมากขึ้น ขี้ไคลในใจนี้ไม่มีผงซักฟอก หรือสบู่ชนิดใดล้างออกได้ ต้องเอาธรรมมาล้างชำระใจของเราเอง
    หลวงปู่ไม อินทสิริ วัดป่าเขาภูหลวง วังน้ำเขียว นครราชสีมา

    ประวัติโดยย่อ :
    หลวงปู่ไม อินทสิริ เกิดเมื่อปี 2490 เป็นชาวอุดรธานีโดยกำเนิด มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน หลวงปู่อยากบวชเรียนตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 4 แต่บิดาไม่ให้บวช ขอให้ช่วยงานบ้านไปก่อน เพราะน้องยังเล็ก พออายุได้ราว 10 – 11 ปี ได้ไปอยู่หนองบัวลำภู อุบลราชธานี ตอนเช้าจะนำควายไปเลี้ยงตามทุ่งนา ท่านชอบนั่งหลับตาเป็นนิสัย มักจะเห็นสวรรค์เป็นหอปราสาทและเห็นท้าวสักกะเทวราช (พระอินทร์) ใส่โจงกระเบน เหาะลงมาสอนท่านสวดมนต์คาถา จนท่านสามารถท่องจำได้
    จนอายุ 16-17 ปี ก็ยังเห็นพระอินทร์อยู่ ท่านจะมาสอนธรรมะ บอกคาถาป้องกันตัว อยู่ยงคงกระพันและคาถาเจ็บไข้ได้ป่วย เวลาที่พระอินทร์กลับ ท่านจะสั่งว่าเวลามีเรื่องอะไรให้นึกถึง “พ่อ” (ท่านเรียกตัวเองว่า พ่อ) แล้วท่านจะลงมาช่วย เมื่ออายุได้ 12-13 ปี ท่านทำงานบ้านทุกอย่างและรับจ้างทุกอย่างจนเก็บเงินซื้อควายได้ 2 ตัวตอนอายุ 13 ปี ท่านเป็นคนที่ไม่กระตือรือร้นในการแต่งตัว ใส่เสื้อผ้าแบบไหนก็ได้ ไม่ชอบเที่ยวดูหนังหรือร้องรำทำเพลง แต่รำกลอนเป็น เพราะบิดาสอนให้ สามารถตอบปัญหาทางด้านประวัติศาสตร์ ธรรมะ ภาษาไทย บาลี มคธ ได้ดี

    ต่อมาเมื่ออายุ 14 ปี บิดาได้เสียชีวิตลง ก่อนเสียชีวิต บิดาสั่งว่าให้เลี้ยงน้องให้โตก่อนแล้วบวชให้ด้วย พร้อมกำชับว่าถ้ามารดาจะมีสามีใหม่ก็อย่าห้าม ซึ่งต่อมามารดาก็แต่งงานใหม่จริง ๆ พ่อเลี้ยงเป็นนักเลงเล่นการพนัน ชอบขโมยสิ่งของไปเล่นการพนัน อยู่มาวันหนึ่ง พ่อเลี้ยงขว้างไม้ถูกส้นเท้าน้องชายเป็นแผล ตอนนั้นหลวงปู่ไมอายุ 15 ปี จึงคิดจะทำร้ายพ่อเลี้ยง แต่ก็คิดอีกว่าถ้าฆ่าพ่อเลี้ยงแล้วจะหนีอย่างไร จึงหักห้ามจิตใจไว้ ต่อมาทางญาติพี่น้องบ้านเก่าที่ จ.อุดรธานี พากันไปรับมาที่บ้านเกิดเพื่อไปสร้างฐานะใหม่ พ่อเลี้ยงก็ตามไปรังควาญอีก ยังเล่นการพนันเหมือนเดิม บรรดาพี่ ๆ น้อง ๆ จึงตั้งใจจะทำร้ายพ่อเลี้ยง ปรากฏว่าพ่อเลี้ยงได้หลบหนีไปก่อน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาโดยไม่กลับมาอีก



    ต่อมาอายุ 18 ย่าง 19 ปี ในปี 2509 ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดศิริวัฒนา อ.กู่แก้ว อุดรธานี ตามความประสงค์ของคุณลุง เนื่องจากที่วัดแห่งนี้ไม่มีพระเณรมาบวช เมื่อบวชได้ 1 เดือน 20 วัน ก็สามารถปฏิบัติจนรู้ธรรม เห็นธรรม สู้เป็น สู้ตาย ไม่หลับไม่นอนหลายวันหลายคืน ปฏิบัติจริงจัง ปฏิบัติแบบเอาเป็นเอาตาย พอจิตเข้าถึงธรรมแล้ว จิตยึดมั่นอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านปฏิบัติไม่ท้อถอย อดทน ต่อสู้ งานวัดไม่ว่าวัดไหนมีงานก่อสร้างศาลาการเปรียญ ก็จะตั้งใจช่วยงานอย่างเต็มที่ บวชเป็นสามเณรอยู่ 2 พรรษา

    ต่อมาปี 2511 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา เมื่ออุปสมบทแล้วได้มีโอกาสศึกษาธรรมกับพ่อแม่ครูอาจารย์สายกรรมฐานที่เป็นศิษย์องค์สำคัญของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อาทิ หลวงปู่ศรี อุจจโย หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นต้น ปัจจุบันหลวงปู่ไมได้มาสร้างวัดป่าเขาภูหลวง ตั้งอยู่ที่ ต.ระเริง อ.วังน้ำเขียว นครราชสีมา และพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้เรื่อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน



    นับตั้งแต่หลวงปู่ไม ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ในบวรพระพุทธศาสนา ท่านก็ได้ดำเนินเจริญตามรอยธรรมพ่อแม่ครูอาจารย์ ในการประพฤติปฏิบัติธรรมและรักษาพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด ท่านจึงเป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป สมกับเป็นสงฆ์สาวกของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง เป็นเนื้อนาบุญอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธศาสนา เป็นสมณะผู้มุ่งสู่มรรคผลนิพพาน อุดมด้วยธรรมทานอย่างสิ้นสงสัย

    หลวงปู่ไม อินทสิริ เป็นพระเถระที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบอีกองค์หนึ่ง ที่ให้ความเคารพศรัทธาพระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ในงานสวดลักขีและแสดงมุทิตาจิต ณ วัดธรรมมงคล พระโขนง หลวงปู่ไมมักจะเดินทางมาร่วมแสดงมุทิตาจิตน้อมถวายแด่พระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์ พร้อมออกโรงทานถวายเป็นพุทธบูชาอยู่เสมอ

    1610876803714.jpg 1610876805762.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2021
  4. ChintopTM

    ChintopTM เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    2,681
    ค่าพลัง:
    +1,084
    รายการที่ 3
    พระผงชานหมาก รุ่นแรก หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี เนื้อชานหมากผสมเกศา ศิษยานุศิษย์เก็บกันเงียบ พบเห็นน้อยครับ เห็นพ
    บูชา 300 บาท


    FB_IMG_1610879336398.jpg
    ๏ อัตโนประวัติ

    “หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป” หรือ “พระอุดมญาณโมลี” เป็นพระมหาเถระสายพระป่ากรรมฐานศิษย์ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตมหาเถระ แม่ทัพธรรมแห่งอีสานฝ่ายวิปัสสนาธุระ, เป็นพระผู้มากด้วยเมตตาที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา และเป็นแบบอย่างอันงดงามของพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และประชาชนชาวอีสานมาอย่างยาวนาน ด้วยยึดหลักธรรมแห่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง มีพลังเกื้อหนุนจากธรรมะของครูบาอาจารย์ที่คอยสนับสนุนตลอดมา ปฏิปทาอันงดงามของหลวงปู่จึงเป็นครูของชีวิตที่คณะศิษยานุศิษย์ภาคภูมิใจ ยิ่ง

    หลวงปู่จันทร์ศรี มีนามเดิมว่า จันทร์ศรี แสนมงคล เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2454 ตรงกับวันอังคาร แรม 3 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน ณ บ้านโนนทัน ต.โนนทัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายบุญสาร และนางหลุน แสนมงคล ก่อนที่โยมมารดาจะตั้งครรภ์ ในคืนวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 นั้น ฝันเห็นพระ 9 รูป มายืนอยู่ที่ประตูหน้าบ้าน พอรุ่งขึ้นตรงวันขึ้น 15 ค่ำ เพ็ญเดือน 3 ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา ได้เห็นพระกัมมัฏฐาน 9 รูปมาบิณฑบาตยืนอยู่หน้าบ้าน จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงรีบจัดภัตตาหารใส่ภาชนะ ไปนั่งคุกเข่าประนมมือตรงหน้าพระเถระผู้เป็นหัวหน้า ยกมือไหว้ แล้วใส่บาตรจนครบทั้ง 9 รูป แล้วนั่งพับเพียบประนมมือกล่าวขอพรว่า “ดิฉันปรารถนาอยากได้ลูกชายสัก 1 คน จะให้บวชเหมือนพระคุณเจ้าเจ้าค่ะ”

    พระเถระก็กล่าวอนุโมทนา หลังจากนั้นอีก 1 เดือน นางหลุน แสนมงคล ก็ได้ตั้งครรภ์ และต่อมาก็คลอดบุตรชายรูปงามในวันอังคารที่ 10 ตุลาคม พุทธศักราช 2454


    หลวงปู่จันทร์ศรี ขณะที่ สิริอายุได้ 98 พรรษา 78 (เมื่อปี พ.ศ.2552) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี, ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต) และที่ปรึกษามหาเถรสมาคม (มส.)


    ๏ การบรรพชาและอุปสมบท

    ด.ช.จันทร์ศรี แสนมงคล มีแววบวชเรียนตั้งแต่เมื่อครั้งเยาว์วัย ด้วยโยมบิดา-โยมมารดาได้พาไปใส่บาตรพระทุกวัน จนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา ในบางครั้ง ด.ช.จันทร์ศรี จะนำเด็กรุ่นราวคราวเดียวกันทั้งชายและหญิง 7-8 คน ออกไปเล่นหน้าบ้าน โดยตนเองจะเล่นรับบทเป็นพระภิกษุเป็นประจำ

    อายุได้ 8 ขวบ โยมบิดาเสียชีวิตลง จนอายุได้ 10 ปี โยมมารดาจึงนำไปฝากไว้กับเจ้าอธิการเป๊ะ ธัมมเมตติโก เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี, เจ้าคณะตำบลโนนทัน และเป็นครูสอนนักเรียนโรงเรียนประชาบาล โดยรับไว้เป็นลูกศิษย์ใกล้ชิด อยู่รับใช้ได้เพียง 1 เดือน เจ้าอธิการเป๊ะนำเด็กชายเข้าเรียนภาษาไทย ตั้งแต่ชั้น ประถม ก.กา จนจบชั้นประถมบริบูรณ์ เจ้าอธิการเป๊ะเห็นว่ามีความสนใจในทางสมณเพศ จึงได้ให้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2468 ณ วัดโพธิ์ศรี บ้านศิลา ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น

    ระหว่างปี พ.ศ.2468-2470 สามเณรจันทร์ศรี หมั่นท่องทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ สวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน และพระสูตรต่างๆ จนชำนาญ อีกทั้งได้ศึกษาอักษรธรรม อักษรขอม อักษรเขมร จนอ่านออกเขียนได้คล่องแคล่ว แล้วมาฝึกหัดเทศน์มหาชาติชาดกทำนองภาษาพื้นเมืองของภาคอีสาน แล้วอยู่ปฏิบัติธรรมถึง 3 ปี

    จากนั้นได้ร่วมเดินทางกับ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ และพระอาจารย์ลี สิรินฺธโร ออกไปแสวงหาความสงัดวิเวกตามป่าเขา และพักตามป่าช้าในหมู่บ้านต่างๆ เพื่อเข้ากรรมฐานและศึกษาอสุภสัญญา ปฏิบัติธุดงควัตร 13 ตามแบบพระบูรพาจารย์สายพระป่ากรรมฐานอย่างเคร่งครัด


    ครั้นต่อมาได้ขึ้นไปแสวงหาวิโมกขธรรมบนภูเก้า อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู เลยขึ้นไปที่ถ้ำผาปู่ จ.เลย วัดป่าอรัญญิกาวาส อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี พักที่วัดหินหมากเป้ง และได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขงไปนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว พักที่โบสถ์วัดจันทน์ 7 วัน แล้วกลับมาหนองคายแล้วเข้าอุดรธานี

    ครั้นเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมาวัดศรีจันทร์ (วัดศรีจันทราวาส) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2474 โดยมี พระครูพิศาลอรัญญเขต (จันทร์ เขมิโย ป.ธ. ๓) เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดขอนแก่น และเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ (วัดศรีจันทราวาส) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญญาพโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีพระอาจารย์กรรมฐานจำนวน 25 รูปนั่งเป็นพระอันดับ ท่านได้รับนามฉายาว่า “จนฺททีโป” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า “ผู้มีแสงสว่างเจิดจ้าดั่งจันทร์เพ็ญ”

    อุปสมบทได้เพียง 7 วัน ท่านก็ได้ติดตาม พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี พระกรรมฐานผู้เคร่งวัตรปฏิบัติแห่งวัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย และ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ศิษย์สายกรรมฐานท่านพระอาจารย์มั่น เจ้าสำนักวัดป่านิโครธาราม ต.หมากหญ้า อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี เดินรุกขมูลคืออยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร ซึ่งเป็นหนึ่งในธุดงควัตร 13 ตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนกระทั่งถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2475 ก่อนกราบลาหลวงปู่เทสก์เพื่อขอไปศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรมต่อในกรุงเทพฯ


    ๏ การศึกษาพระปริยัติธรรมและงานด้านการศึกษา

    พ.ศ.2474 สอบได้นักธรรมชั้นตรีได้ในสนามหลวง คณะจังหวัดขอนแก่น

    พ.ศ.2475 สอบนักธรรมชั้นโทได้ในสนามหลวง คณะจังหวัดขอนแก่น

    พ.ศ.2477 สอบนักธรรมชั้นเอกได้ในสนามหลวง สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ

    พ.ศ.2480 สอบเปรียญธรรม 3 ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ

    พ.ศ.2485 สอบเปรียญธรรม 4 ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ

    พ.ศ.2484 เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) สมเด็จพระสังฆราชเจ้าวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ทรงมีบัญชาให้ไปเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและบาลี ณ สำนักเรียนวัดป่าสุทธาวาส ต.พระธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร

    ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ.2484 ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตมหาเถระ ได้ไปพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร เป็นเวลา 15 วัน ทำให้หลวงปู่จันทร์ศรีได้มีโอกาสใกล้ชิดกับท่านพระอาจารย์มั่นชั่วระยะเวลา หนึ่ง ถือเป็นกำไรแห่งชีวิตอันล้ำค่า

    พ.ศ.2475 ท่านได้กลับมาอยู่จำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อศึกษาเปรียญธรรม 5 ประโยค

    พ.ศ.2486 เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) ทรงมีบัญชาให้ไปเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและบาลี เปรียญธรรม 3-4 ประโยค ณ สำนักเรียนวัดธรรมนิมิตร ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม เป็นเวลานานถึง 10 ปี

    ๏ ตำแหน่งงานปกครองคณะสงฆ์

    หลังจากจบเปรียญธรรม 4 ประโยคแล้ว ท่านได้ช่วยเหลืองานพระศาสนา โดยเมื่อปี พ.ศ.2486 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดธรรมนิมิตร ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม

    ต่อมาวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2497 เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) ก็ทรงมีพระบัญชาให้มาอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี เพื่อทำศาสนกิจคณะสงฆ์ เนื่องจาก พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) มีอายุเข้าปูนชรา โดยแต่งตั้งให้เป็นรองเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ และในปีเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี (ธรรมยุต) อีกตำแหน่งหนึ่ง

    พ.ศ.2498 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ และในปีเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี (ธรรมยุต) อีกตำแหน่งหนึ่ง

    พ.ศ.2505 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ วัดราษฎร์

    พ.ศ.2507 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และในปีเดียวกันท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ พระอารามหลวงชั้นตรี

    พ.ศ.2519 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองเจ้าคณะภาค (ธรรมยุต) และรักษาการเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี

    พ.ศ.2522 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะจังหวัดหนองคายและจังหวัดสกลนคร

    พ.ศ.2531 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต) และเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต)

    รวมทั้ง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษามหาเถรสมาคม (มส.)


    หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป ( พระอุดมญาณโมลี )พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)
    ถ่ายภาพอยู่ด้านหน้า “พระบรมธาตุธรรมเจดีย์” วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี

    ๏ ลำดับสมณศักดิ์

    พ.ศ.2475 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่ พระครูสิริสารสุธี

    พ.ศ.2498 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสิริสารสุธี

    พ.ศ.2505 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเมธาจารย์

    พ.ศ.2517 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธาจารย์

    วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2533 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมบัณฑิต

    วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2544 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองหิรัญบัฏ หรือรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระอุดมญาณโมลี นับเป็นพระมหาเถระฝ่ายธรรมยุตรูปแรกที่อยู่ส่วนภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้รับการสถาปนาเป็นพระราชาคณะชั้น “รองสมเด็จพระราชาคณะ”

    รวมทั้ง ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต)


    ๏ งานด้านสาธารณสงเคราะห์

    ท่านได้ให้ทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนที่มีฐานะยากจน เรียนดี และมีความประพฤติดี ปีละ 40 ทุน ทุนละ 1,000 บาท ให้รางวัลแก่พระภิกษุ-สามเณรที่สามารถสอบไล่ได้บาลีชั้นประโยค 1-2-เปรียญธรรม 3 ประโยค เป็นประจำทุกปี รูปละ 500 บาท ส่วนครูรูปละ 1,000 บาท

    นอกจากนี้ยังรับภาระหน้าที่สำคัญๆ ในคณะสงฆ์อีกมากมาย อาทิ เป็นกรรมการชำระพระไตรปิฎก (พระสูตร), เป็นพระอนุกรรมการคณะธรรมยุต, เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง, เป็นพระธรรมทูตประจำจังหวัดอุดรธานี, เป็นประธานมูลนิธิวัดโพธิสมภรณ์, เป็นรองประธานกรรมการบริหารศูนย์บาลีศึกษาอีสาน (ธรรมยุต), เป็นผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดโพธิสมภรณ์

    FB_IMG_1610879442327.jpg

    ๏ ปฏิปทาและข้อวัตร

    แม้จะมีพรรษายุกาลมาก แต่ยังคงปฏิบัติกิจของสงฆ์และปฏิบัติธรรมอย่างคร่ำเคร่ง บิณฑบาตโปรดเวไนยสัตว์อย่างต่อเนื่อง จนศิษยานุศิษย์ขอร้องให้หยุดบิณฑบาต เนื่องจากเคยโดนวัยรุ่นซิ่งรถจักรยานยนต์ชนมาแล้ว ข้อวัตรนี้ชาวอุดรธานีทราบชัดดี และที่สำคัญท่านเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรชาวอุดรธานีอย่างแท้จริง ไม่เคยขาดงานนิมนต์ ไม่ว่าจะไกลหรือใกล้ ไม่เคยทอดธุระ ซึ่งท่านยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเสมอที่ว่า

    “กยิรา เจ กยิราเถนํ” แปลว่า “ถ้าจะทำการใด ให้ทำการนั้นจริงๆ ทุกสิ่งทุกอย่างถ้ามีความขยันหมั่นเพียร สิ่งนั้นต้องสำเร็จตามความตั้งใจจริง”

    นับได้ว่าหลวงปู่เป็นพระมหาเถระที่ประชาชนชาวจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดใกล้ เคียง ให้ความเคารพศรัทธามาก ไม่น้อยกว่าพระบูรพาจารย์สายพระป่ากรรมฐานแต่เก่าก่อน ทุกวันนี้หลวงปู่จันทร์ศรีท่านยังมีความจำเป็นเลิศ แม้อายุย่างเข้าวัยชรา แต่ยังจำเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีตได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะเมื่อเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง หลวงปู่จะบอกชื่อคน วันเวลา ได้อย่างละเอียดเป็นที่น่าอัศจรรย์

    สิ่งสำคัญในชีวิตหลวงปู่ คือการมีโอกาสได้ปฏิบัติใกล้ชิดกับพระเถระผู้ใหญ่ อาทิ เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ, สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพฯ, ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตมหาเถระ, พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นต้น

    ดังนั้น หลวงปู่จึงมีความรอบรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งในเมือง ในราชสำนัก ในสำนักพระกรรมฐาน และธรรมเนียมชาวบ้านเป็นอย่างดี หลวงปู่จันทร์ศรีเป็นหลวงปู่ใจดีของลูกหลานญาติโยม โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ไม่ยึดติดลาภสักการะ และไม่ยึดติดในบริวาร ชีวิตของหลวงปู่สมถะเรียบง่าย เป็นอยู่อย่างสามัญ แม้ท่านจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการปกครองคณะสงฆ์ แต่หลวงปู่ก็ไม่ทิ้งการปฏิบัติกัมมัฏฐาน

    1610876558240.jpg 1610876563003.jpg 1610876570674.jpg 1610876574541.jpg
     
  5. sumobaimon

    sumobaimon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    1,278
    ค่าพลัง:
    +1,528
    ขอจองรายการนี้ครับ
     
  6. ChintopTM

    ChintopTM เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    2,681
    ค่าพลัง:
    +1,084
    รายการที่ 4
    ตะกรุดโทนจารมือ รุ่นจงเจริญ (รุ่นสุดท้ายก่อนท่านละสังขาร) เนื้อทองแดง ขนาด 5 นิ้ว สร้างน้อย 1 ใน 108 ดอก หมายเลข 1
    บูชา 1,000 บาท
    ปิดรายการ



    FB_IMG_1610880521888.jpg
    สำหรับหลวงปู่ลี กุสลธโร เป็นพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระ ศิษย์ของพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) ที่หลวงตามหาบัวให้สมญาว่า "ลี รวยธรรม" เป็นหนึ่งในกองทัพธรรมออกช่วย ตั้งโครงการผ้าป่าช่วยชาติ เพื่อบูชาคุณครูอาจารย์ หลังสิ้นหลวงตามหาบัว ท่านได้เริ่มก่อสร้างพุทธมหาเจดีย์ ณ วัดป่าเกสรศีลคุณธรรมเจดีย์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แทนองค์พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน)

    หลวงปู่ลี กุสลธโร เกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2465 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปีจอ ที่บ้านเก่า ตำบลบ้านเก่า อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นบุตรของนายปุ่น และนางโพธิ์ สาลีเชียงพิณ มีพี่น้องร่วมกัน 9 คน สมัยเป็นเด็กพ่อแม่ก็พาทำบุญเหมือนชาวบ้านทั่วๆไป อายุได้ 12 ปี เรียนจบชั้น ป.3 พออายุได้ 20 กว่าปี ได้แต่งงานกับนางสาวตี ภรรยาตั้งท้องแล้วคลอดลูกออกมาตาย ท่านอยู่กินกับภรรยาได้ 2 ปี 6 เดือน

    อุปสมบทที่ วัดศรีโพนเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2493 โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายานามว่า "กุสลธโร" แปลว่า "พระผู้ทรงไว้ซึ่งความดี" โดยบวชเณรเมื่อครั้งงานเผาศพหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระที่มักน้อย สันโดษ ถือความเคารพครูบาอาจารย์เป็นสิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด.
    1610876827386.jpg 1610876832761.jpg 1610876834367.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2021
  7. ChintopTM

    ChintopTM เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    2,681
    ค่าพลัง:
    +1,084
    รับทราบครับผม
     
  8. sumobaimon

    sumobaimon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    1,278
    ค่าพลัง:
    +1,528
    จองรายการนี้ด้วยครับ
     
  9. ChintopTM

    ChintopTM เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    2,681
    ค่าพลัง:
    +1,084
    รายการที่ 5
    ตะกรุดจารมือ หลวงปู่คำแปลง ปุณณชิ วัดป่าพรไพรวัลย์ จ.หนองบัวลำภู เนื้อทองแดง สร้าง 99 ดอก ตอกโค๊ด หมายเลข 56 อธิษฐานนาน 1 เดือน ซองเดิมๆจากวัด
    บูชา 350 บาท


    fy103.jpg
    ชีวประวัติและปฏิปทาคำสอน
    หลวงปู่คำแปลง ปุณฺณชิ
    (อัพเดทล่าสุด)
    --------------------------------
    เนื่องในวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๒ เดือน
    หน้าที่กำลังจะมาถึงนี้ หลวงปู่คำแปลง ท่านจะมี
    อายุครบ ๘๐ ปี (๖๐ พรรษา) แอดมินจึงขอนำ
    ข้อมูลชีวประวัติ ของหลวงปู่คำแปลง มาให้
    ลูกศิษย์ของหลวงปู่ทุกท่านได้ศึกษากันอีก
    ครั้งครับ แอดมินเคยได้นำชีวประวัติของหลวงปู่
    มาโพสท์ลงไปแล้วรอบนึงครับ ในตอนแรกๆ
    ที่สร้างเพจ จึงขอนำมาลงอีกครั้งพร้อมทั้ง
    อัพเดทข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับหลวงปู่
    เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาสำหรับลูกศิษย์
    ใหม่ที่อาจจะยังไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับ
    หลวงปู่ครับ

    ------------------



    #ชาติตระกูล

    หลวงปู่คำแปลง ปุณฺณชิ นามเดิมชื่อนายคำแปลง
    จ้อยจีด เกิดวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีเถาะ
    ตรงกับวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๔๘๒ เกิดบ้านเลขที่ ๑๔ หมู่ ๙ บ้านท่าสะอาด ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนครบิดาชื่อนายผิว จ้อยจีด มารดาชื่อนางคำแหง สุทธิประภา บิดาเป็นผู้ใหญ่บ้านท่าสะอาด เป็นผู้มีอัทธยาศัยดี ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และเป็นผู้ใหญ่บ้านที่อุปถัมภ์ช่วยงานวัดวาอารามต่างๆ บิดา มารดา ของหลวงปู่เป็นผู้มีเมตตามาก ถ้าใครไม่มีนา ไม่มีข้าวกินก็ให้มารับจ้างทำนา รับรับจ้างทั่วไป แล้วก็ให้ข้าวไปซึ่งบิดา มารดา ของหลวงปู่เป็นที่ยอมรับนับหน้าถือตาของบุคคลทั่วไปในสมัยนั้น จนทุกคนรู้จักผู้ใหญผิว

    #หลวงปู่มีพี่น้องทั้งหมด ๘ คน คือ

    ๑. นางจอมแพง จ้อยจีด ( เสียชีวิตแล้ว )
    ๒. หลวงปู่คำแปลง ปุณฺณชิ
    ๓. นางบุญตา เสียชีวิตแล้ว
    ๔. นายคำสาง จ้อยจีด
    ๕. นายทองหลาง จ้อยจีด ( เสียชีวิตแล้ว )
    ๖. นางบุญมา ป่าจันทร์
    ๗. นางโสภา พวกพิทักษ์
    ๘. นายอนันต์ จ่อยจีด

    #ชีวิตหลังจบการศึกษา

    หลวงปู่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ๔ ( ป.๔ )
    จากโรงเรียนบ้านท่าสะอาด ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน
    จ.สกลนคร หลังจากจบการศึกษาหลวงปู่คำแปลง
    ก็ได้ออกมาประกอบอาชีพช่วยบิดามารดาตามปกติ
    ซึ่งบิดามารดาหลวงปู่คำแปลง มีไร่มีนาเยอะในสมัยนั้นจนสามารถให้คนที่เขาฐานะยากจนในแถบนั้นมาทำนาแล้วเอาข้าวไปไว้ทานได้โดยไม่ต้องเช่านาทำมาหากิน

    นอกจากมีไร่มีนาเยอะแล้วยังมีควายเยอะมาก
    ในช่วงหลังจบป.๔ หลวงปู่คำแปลงได้ช่วยงานบิดามารดาอย่างเต็มที่และยังมีหน้าที่ในการควบคุมคน
    งานนำข้าวใส่เกวียนเอาไปขายในตลาอ.สว่างแดนดิน ช่วงแรกก็ไปกับบิดา แต่หลังจากนั้น หลวงปู่คำแปลงก็ไปเองกับลูกน้อง ร้านรับซื้อข้าวกับรู้จักและยอมรับในตัวหลวงปู่ว่าสามารถทำหน้าที่แทนบิดาได้

    #ชีวิตก่อนบรรพชา

    หลังจากจบการศึกษาแล้ว หลวงปู่คำแปลง
    ก็ช่วยงานบิดามารดา จนถึงอายุ ๑๗ ปี ก็ได้ขึ้นทะเบียนทหารกองเกินเสร็จเรียบร้อย หลวงปู่
    คำแปลง ก็ออกจากบ้าน ไปรับจ้างเป็นลูกเรือ
    แบกน้ำมัน ขนของส่งตามแม่น้ำโขง ไปส่งของ
    ตามเมืองต่างๆ จนถึงส่งของในเมืองเวียงจันทร์ ประเทศลาว เมื่อขนของเสร็จอาหารที่ชอบทาน
    และทานบ่อยช่วงเป็นลูกเรือ คือ ได้ทานแต่เฝ๋อ ( ก๋วยเตี๋ยว ) ของประเทศลาว ของประเทศไทย
    บ้าง และช่วงทำงานได้เดินทางล่องตามแม่น้ำโขง
    จากสะหวันนะเขตมาจนถึงเวียงจันทร์

    #ติดคุกที่ประเทศลาว

    ในช่วงเป็นลูกเรืออยู่นั้น มีเหตุการณ์หนึ่งเกิด
    ขึ้นช่วงขนของในลาว คือ ตำรวจประเทศลาว
    มาตรวจและจับลูกเรือไทย ๘ คน รวมหลวงปู่
    คำแปลงด้วยโดยตำรวจประเทศลาว ว่า มีคน
    ไทยไปอาศัยในเรือประเทศลาว เรือชื่อ
    "ศรีปากเซ ๓" ในครั้งนั้น หลวงปู่คำแปลงติดคุก
    อยู่ในคุกลาวตั่งแต่ ๐๙.๐๐ น.จนถึง ๑๕.๐๐ น.
    จึงได้มีนายเรือชื่อ เฮียเล็ก มาประกันตัวออก
    จากคุกประเทศลาว

    หลังจากนั้นหลวงปู่คำแปลง ก็กลับไปทำงาน
    เป็นลูกเรือและเดินทางส่งของไปเรื่อยๆ จนถึง
    สะหวันนะเขต ของประเทศลาวในช่วงไปรับจ้างขนของในเรือนั้นโยมพ่อของหลวงปู่คำแปลงได้
    ไปตามหาและจะเยี่ยมหลวงปู่คำแปลง

    #ปฐมเหตุแห่งการบวช

    โดยในครั้งนั้นโยมพ่อของหลวงปู่คำแปลง
    ได้ไปหาหลวงปู่คำแปลงที่บ้านของนายเวส
    สุทธิประภา ซึ่งเป็นญาติทางโยมแม่ของหลวงปู่
    ที่บ้านสมสะอาด อ.บ้านว่าน จ.มุกดาหาร (สมัยนั้น
    เป็นอำเภอมุกดาหาร) เมื่อไปถึงปรากฏว่าไม่เจอ
    หลวงปู่ เนื่องจากหลวงปู่ลงเรือไปรับจ้างขนของที่
    สะหวันนะเขต โยมพ่อจึงได้ฝากข้อความถึงหลวงปู่
    ให้ทราบว่าให้กลับบ้านเกิด เพื่อมาบวชในงานทำบุญอุทิศส่วนกุศล ( บุญแจกข้าว ) ให้กับปู่ของหลวงปู่

    เมื่อหลวงปู่ได้ทราบข่าวว่าโยมพ่อมาหาที่มุกดาหาร ก็ได้เบิกค่าแรงจากนายจ้างได้ค่าแรง
    ทั้งหมด ๓,๘๐๐ บาท และได้เดินทางกลับมาที่
    บ้านเกิด จ.สกลนคร

    ในช่วงทำงานเป็นลูกเรือทั้งหมด ๒ ปี ด้วยความ
    อดทนและประหยัดของหลวงปู่ หลวงปู่สามารถมี
    เงินเก็บถึง ๓,๘๐๐ บาท ( ในสมัยนั้นเมื่อปี พ.ศ.
    ๒๕๐๑ ถือว่าเยอะมากๆเพราะสมัยนั้นหาเงิน
    ยากมาก ) เมื่อกลับถึงบ้านเกิด หลวงปู่มอบเงิน
    ให้โยมพ่อ ๓,๔๐๐ บาทเพื่อให้พ่อไปซื้อวัวใหญ่
    ๒ ตัว ( ๑ คู่ ) ชื่อว่าวัวบักเขียวใหญ่ พร้อมกับล้อ
    เกวียน หลังจากกลับถึงบ้านเกิดได้๒-๓ วัน โยมพ่อก็ได้นำหลวงปู่เข้านาค เพื่อเตรียมตัวในการบวช

    #บรรพชา

    หลวงปู่คำแปลง ปุณฺณชิ ได้บรรพชาเป็น
    สามเณรเมื่อ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๑ อายุได้ ๑๙ ปี
    ณ วัดตาลนิมิต บ้านบึงโน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน
    จ.สกลนคร พระอุปัชฌาย์ คือ พระครูอดุลย์สังฆกิจ
    ( พระมหาเถื่อน อุชุกโร )หลังจากบรรพชา หลวงปู่ก็ได้ปฏิบัติศีลาจารวัตรโดยเคร่งครัดและปรนนิบัติ
    พระอุปัชฌาย์ และครูบาอาจารย์อย่างเต็มที่อาทิ
    เช่น หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม
    ( สมัยอยู่วัดตาลนิมิตร )


    ในช่วงบรรพชาเป็นสามเณร นอกจากได้ศึกษา
    ทางปฏิบัติจากพ่อแม่ครูอาจารย์สายกรรมฐานแล้ว
    ยังได้เรียนนักธรรมตรี ที่สำนักเรียนวัดสีชมพู
    บ้านบึงโน กับ หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม ตลอดจนเข้า
    พรรษาและได้จำพรรษาและปรนนิบัติพระอาจารย์ต่างๆ หลายรูป อาทิเช่น พระอาจารย์สมภาร
    ปญฺญาวโร, พระอาจารย์อุดม ญาณรโต เมื่อถึงเวลาสอบนักธรรมตรีจะต้องเดินทางด้วยการเดินเท้าไปสอบที่สำนักสอบวัดกุดเรือคำ บ้านกุดเรือคำ
    ต.กุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร จนสอบ
    ได้นักธรรมชั้นตรี

    #อุปสมบท

    หลวงปู่คำแปลง ปุณฺณชิ ได้อุปสมบท เมื่อ
    อายุ ๒๐ ปี วันที่ ๒๐ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๒
    เวลา ๑๑.๔๕ ณ วัดสีชมพู ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร โดยมีท่านพระครูพุฒิวราคม ( พระอธิการพุฒิ ยโส )แห่งวัดคามวาสี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ลี ฐิตธมฺโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านพระอาจารย์สุภาพ ธัมมปุญฺโญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า "ปุณฺณชิ" แปลว่า ผู้เต็มบริบูรณ์ ( ปุณ ธาตุ ในความเต็ม,บริบูรณ์ )

    หลังจากอุปสมบทแล้วก็ได้ศึกษาข้อปฏิบัติ
    อย่างเคร่งครัดทั้งต่อพระธรรมและวินัย ต่อเพื่อน
    พระสงฆ์ ต่อครูบาอาจารย์ อีกทั้งได้ศึกษา
    นักธรรมโทที่สำนักเรียนวัดศรีชมพู บ้านบึงโน
    อ.สว่างแดนดินจ.สกลนคร จนสอบได้นักธรรมโท
    จนกระทั้งได้รับความไว้วางใจจาก หลวงปู่ลี
    ฐิตธมฺโม ให้เป็นครูสอนนักธรรมตรี ในพรรษา
    นั้นด้วย

    300_243.jpg
    #ลำดับการจำพรรษาของหลวงปู่คำแปลง ปุณฺณชิ

    พ.ศ. ๒๕๐๑ ขณะเป็นสามเณร ( ๑ ปี )
    วัดสีชมพู ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน
    จ.สกลนคร

    พรรษาที่ ๑ พ.ศ.๒๕๐๒ วัดสีชมพู ต.โคกสี
    อ.สว่างแดน จ.สกลนคร

    พรรษาที่ ๒ พ.ศ.๒๔๐๓ วัดป่าสุทธาวาส ต.ธาตุเชิงชุม
    อ.เมือง จ.สกลนคร

    พรรษาที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๐๔ วัดมหาวัน บ.หนองกุง
    อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น

    พรรษาที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๐๕ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน
    กรุงเทพฯ

    พรรษาที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๐๖ วัดวชิราลงกรณ์ ต.หนองน้ำ
    แดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

    พรรษาที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๐๗ วัดดอยแม่ปั๋ง ต.แม่ปั๋ง
    อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

    พรรษาที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๐๘ วัดป่าห้วยน้ำริน ต.ขี่เหล็ก
    อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

    พรรษาที่ ๘ พ.ศ. ๒๕๐๙ วัดป่าบ้านช่องแล
    จ.เชียงใหม่

    พรรษาที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๑๐ บ้านยาง แม่หลอด ต.สบเปิง
    อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    พรรษาที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๑๑ สำนักสงฆ์ดอยปุย อ.เมือง
    จ.เชียงใหม่

    พรรษาที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๑๒ วัดเขาตานก ต.เขาวัว
    อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

    พรรษาที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๑๓ วัดอ่าวหมู ( ชัยมงคล )
    ต.อ่าวหมู อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี

    พรรษาที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๕๑๔ วัดอรัญญวิเวก ต.อินทขิล
    อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    พรรษาที่ ๑๔ พ.ศ. ๒๕๑๕ วัดผาจรุย ต.ป่าแงะ
    อ.ป่าแดด จ.เชียงราย

    พรรษาที่ ๑๕ พ.ศ. ๒๕๑๖ หมู่บ้านชาวอีก้อ
    จ.เชียงใหม่

    พรรษาที่ ๑๖ พ.ศ. ๒๕๑๗ วัดถ้ำบูชา อ.เซกา
    จ.หนองคาย

    พรรษาที่ ๑๗ พ.ศ. ๒๕๑๘ วัดป่าสานตม อ.ภูเรือ
    จ.เลย

    พรรษาที่ ๑๘ พ.ศ. ๒๕๑๙ วัดป่าโป่งลิง อ.วานรนิวาส
    จ.สกลนคร

    พรรษาที่ ๑๙ พ.ศ. ๒๕๒๐ วัดป่าโป่งลิง อ.วานรนิวาส
    จ.สกลนคร

    พรรษาที่ ๒๐ พ.ศ. ๒๕๒๑ วัดถ้ำผาสิงห์ อ.วังสะพุง
    จ.เลย

    พรรษาที่ ๒๑ พ.ศ. ๒๕๒๒ วัดถ้ำผาสิงห์ อ.วังสะพุง
    จ.เลย

    พรรษาที่ ๒๒ พ.ศ. ๒๕๒๓ วัดสิริปุญญาราม
    อ.วังสะพุง จ.เลย

    พรรษาที่ ๒๓ พ.ศ. ๒๕๒๔ ป่าสักบ้านดงน้อย
    อ.วังสะพุง จ.เลย

    พรรษาที่ ๒๔ พ.ศ. ๒๕๒๕ ป่าสักบ้านดงน้อย
    อ.วังสะพุง จ.เลย

    พรรษาที่ ๒๕-๓๖ พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๓๗
    วัดถ้ำผาหมากฮ้อ อ.วังสะพุง จ.เลย

    พรรษาที่ ๓๗ พ.ศ. ๒๕๓๘ วัดถ้ำพญาช้างเผือก
    อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ

    พรรษาที่ ๓๘-๔๗ พ.ศ. ๒๕๓๙-๒๕๔๘
    วัดถ้ำผาหมากฮ้อ อ.วังสะพุง จ.เลย

    พรรษาที่ ๔๘-๕๐ พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๑
    วัดป่าพรไพรวัลย์ อ.นากลาง
    จ.หนองบัวลำภู

    พรรษาที่ ๕๑ พ.ศ. ๒๕๕๒ วัดเขาท่ากระดาน
    อ.สวี จ.ชุมพร

    พรรษาที่ ๕๒-๕๙ พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๖๒
    วัดป่าพรไพรวัลย์ อ.นากลาง
    จ.หนองบัวลำภู

    พรรษาที่ ๖๐ พ.ศ. ๒๕๖๒ (๑๔ ก.ค. ๖๒) - ปัจจุบัน
    อยู่จำพรรษา วัดหนองบัวคำแสน
    อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู

    #ปฏิปทาและคำสอนของหลวงปู่คำแปลง

    ท่านเป็นพระที่เรียบง่าย มีความเด็ดขาดในตัว
    เคร่งครัดในพระธรรมวินัย หลวงปู่ท่านจะตื่นแต่เช้า
    มืดขึ้นมา ท่องทบทวนบทสวดปาฏิโมกข์อยู่เป็น
    ประจำก่อนที่ท่านจะออกรับบิณฑบาตร ท่านมัก
    จะสอนลูกศิษย์อยู่เสมอว่า

    "เป็นชาวพุทธอย่าขี่เกียจสวดมนต์ไหว้พระ
    มันสู้สัตว์เดรัจฉานบางประเภทไม่ได้
    อย่านอนฟรีๆ"

    "ให้หมั่นสวดภาวนาอิติปิโส ( พุทธคุณ
    ธรรมคุณ สังฆคุณ ) อยู่เป็นประจำ เพราะ
    เป็นของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทุกๆ
    พระองค์ ต้องมาสวดบทนี้"

    "อธิฐานถึงบุญที่เราได้ทำแล้ว มาใช้ในยามเกิด
    อุปสรรคในชีวิตหรือตามความต้องการของเรา
    เพราะบุญที่เราทำแล้วมันเป็นสมบัติทิพย์
    ในโลกทิพย์ ถ้าหากเรายังไม่ตาย เรายัง
    ไม่ถึงโลกทิพย์ เราก็อาราธนามาใช้ใน
    เมืองมนุษย์"

    "การทำความดี ต้องทำตอนเป็นมนุษย์
    นรกมีจริง บาปบุญมีจริง"

    "อธิษฐานศีลก่อนนอน สำหรับคนที่ไม่สามารถ
    รักษาศีลได้ตลอดทั้งวัน"



    #หลวงปู่ชอบแจกพระ

    ท่านชอบแจกวัตถุมงคล แก่ผู้ที่มากราบไหว้
    หรือทำบุญกับท่าน หลวงปู่ท่านเคยเล่าให้แอดมิน
    ฟังว่า มีลูกศิษย์ของหลวงปู่ท่านหนึ่งเป็นชาว
    กรุงเทพฯ ฐานะมีอันจะกิน มาทำบุญกับหลวงปู่
    ประจำ เพื่อนของลูกศิษย์ท่านนั้น ได้มาสอบถาม
    ว่า มีพระดีๆที่ไหนแนะนำให้ไปกราบไหว้ทำบุญ
    บ้าง ลูกศิษย์ท่านนั้นจึงตอบเพื่อนของเขาไปว่า
    หลวงปู่คำแปลง ปุณฺณชิ จ.หนองบัวลำภู
    เพื่อนของเขาจึงได้พิมพ์ชื่อหลวงปู่คำแปลง
    ปุณฺณชิ ค้นหาใน goolgle เพื่อค้นหาประวัติ
    แต่เขาไปเจอโพสท์ขายพระ วัตถุมงคล ของ
    หลวงปู่คำแปลง จึงได้มาบอกกับลูกศิษย์หลวงปู่
    ผู้ที่แนะนำว่า

    "ไม่ไปหาแล้วพระองค์นี้ ขายพระ"

    ท่านได้เล่าให้แอดมินฟังแบบขำๆ ท่านบอกว่า
    ตั้งแต่บวชมา จนอายุได้ ๘๐ ปี เฮาบ่เคยขายพระ
    จักเทือ มีแต่แจกอย่างเดียว พูดเสร็จท่านก็หัวเราะ

    ---------------------------

    จึงขอจบชีวประวัติและปฏิปทาคำสอนของ
    หลวงปู่คำแปลง ( แบบย่อ ) ไว้แต่เพียงเท่านี้ครับ
    หากผิดพลาดประการใดผมแอดมินเพจ
    ต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วยครับ..


    ***คัดลอกข้อมูลบางส่วนจากหนังสือชีวประวัติ
    หลวงปู่คำแปลง ปุณฺณชิ

    Cr. ปัญญา บัวใหญ่รักษา

    1610876624617.jpg 1610876627191.jpg
     
  10. ChintopTM

    ChintopTM เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    2,681
    ค่าพลัง:
    +1,084
    รับทราบครับผม
     
  11. ChintopTM

    ChintopTM เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    2,681
    ค่าพลัง:
    +1,084
    รายการที่ 6
    ทันตธาตุ หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดป่าภูผาแดง จ.อุดรธานี เนื้อสัมฤทธิ์พิเศษ 1 ใน 100 องค์ หายาก ตอกโค๊ดกำกับ พร้อมซองเดิมๆครับ
    บูชา 350 บาท


    FB_IMG_1610880573568.jpg 1610876583098.jpg 1610876585292.jpg 1610876587398.jpg
     
  12. ChintopTM

    ChintopTM เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    2,681
    ค่าพลัง:
    +1,084
    รายการที่ 7
    พระร่วง หลวงปู่ไม อินทสิริ วัดป่าภูเขาหลวง เนื้อว่านผสมผงเหล็กน้ำพี้ ฝังข้าวตอกพระร่วง สภาพสวย ออกในงานฉลองโบสถ์วัดป่าบ้านม่วง
    บูชา 150 บาท


    te86.jpg 1610876836531.jpg 1610876844083.jpg
     
  13. ChintopTM

    ChintopTM เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    2,681
    ค่าพลัง:
    +1,084
    รายการที่ 8
    ล็อกเก็ตหลังเหรียญทิ้งทวน หลวงปู่อร่าม ชินวังโส วัดป่าถ้ำแกลบ จ.เลย ฉากเขียว บรรจุเกศาธาตุ ปิดเหรียญเจดีย์ สร้างเพียง 500 เหรียญ เป็นรุ่นสุดท้ายก่อนหลวงปู่ละสังขาร
    บูชา 450 บาท


    563000001045701.jpeg
    หลวงปู่อร่าม มีนามเดิมชื่อ อร่าม ศรีคำมี เกิดเมื่อวันที่ 10 พ.ค.2470 ที่บ้านท่ามะนาว ต.นาอ้อ อ.เมืองเลย จ.เลย ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา
    สมัยเป็นเด็ก ชอบไปวัดกับโยมแม่ ท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยเรียบร้อย ไม่เคยก่อปัญหาให้กับครอบครัว เมื่ออายุ 3 ขวบ บิดาของท่านเสียชีวิต
    อายุ 7 ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดในหมู่บ้าน
    ย่างวัยหนุ่ม เข้าทำงานที่แขวงการทาง อายุ 35 ปี แต่งงานมีครอบครัวอยู่ที่บ้านหนองเสือคราง ต.หนองบัว อ.ภูเรือ จ.เลย
    แต่แล้วเมื่อลูกสาวอายุ 5 ขวบ เจ็บป่วยหนักและเสียชีวิต ทำให้ท่านปลงอนิจจังกับชีวิต เกิดความเบื่อหน่าย จึงออกบวชขณะอายุ 48 ปี ที่วัดศรีอภัยวัน บ้านนาอ้อ ต.นาอ้อ อ.เมือง โดยมีหลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ เจ้าอาวาสวัดศรีสุทธาวาส อ.เมืองเลย เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูญาณธราภิรัติ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระถนัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายานาม ชินวังโส
    หลังอุปสมบทจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีอภัยวัน ท่านอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ท่อน ญาณธโร เป็นเวลา 5 พรรษา
    จากนั้นหลวงปู่อร่าม ลาไปจำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ กับหลวงปู่คำดี ปภาโส เป็นเวลา 2 พรรษา ก่อนเดินธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดป่านาศรีเทียน อ.ด่านซ้าย จ.เลย
    ต่อมาท่านไปกราบหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ซึ่งหลวงปู่อ่อนเมตตาสั่งสอนข้อปฏิบัติให้ ตลอดจนถึงการเร่งความเพียรในการภาวนา
    อยู่รับใช้อุปัฏฐากหลวงปู่อ่อน ที่วัดป่านิโคธาราม ระหว่างนั้นหลวงปู่อร่ามก็ขออนุญาตออกธุดงค์ เพียงลำพัง ท่านธุดงค์มาที่บ้านน้ำสวยโพนสว่าง อ.เมือง จ.เลย ออกไปที่วัดถ้ำแกลบ ปฏิบัติธรรมภาวนาอยู่ในถ้ำ
    ต่อมาชาวบ้านท่าวังแคน ต.ศรีสองรัก อ.เมืองเลย มีความเลื่อมใสศรัทธา จึงสร้างกุฏิชั่วคราวที่ถ้ำแกลบ เป็นกุฏิทำจากไม้ไผ่ให้หลวงปู่อร่าม
    ผ่านไปไม่นาน มีชาวบ้านถวายที่ดินให้เพื่อสร้างวัดขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า "วัดถ้ำแกลบ"
    หลวงปู่อร่าม ชินวังโส เป็นพระเถระที่ชอบความสงบ มักน้อย สันโดษ ปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ยึดถือแนวทางปฏิบัติมาจากหลวงปู่อ่อน นับเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่งของจังหวัดเลย
    หลวงปู่อร่าม เป็นพระสายป่า (ธ) ยึดถือแนวทางปฏิบัติมาจากหลวงปู่อ่อน
    1610876772135.jpg 1610876773680.jpg
     
  14. ChintopTM

    ChintopTM เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    2,681
    ค่าพลัง:
    +1,084
    รายการที่ 9
    พระสมเด็จหยกแม่น้ำโขงแกะ หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดป่าภูผาแดง จ.อุดรธานี หายากสุดๆ หมุนเวียนแทบไม่มีครับ แบ่งบูชาราคาเบาๆครับ สภาพสวย หลวงปู่เมตตาเต็มที่ครับ
    บูชา 800 บาท



    FB_IMG_1610880521888.jpg 1610876612402.jpg 1610876615211.jpg
     
  15. ChintopTM

    ChintopTM เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    2,681
    ค่าพลัง:
    +1,084
    รายการที่ 10
    ล็อกเก็ตรุ่นสุดท้าย พิมพ์เล็ก หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ที่พักสงฆ์สวนทิพย์ จ.นนทบุรี บรรจุเกศาองค์หลวงปู่ ปั๊มลายมือหลวงปู่บุญฤทธิ์
    บูชา 100 บาท

    493C7EE6AE4C4774B122D4C6C1094764_1000.jpg

    สำหรับหลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต มีชื่อเดิมว่า นายบุญฤทธิ์ จันทรสมบูรณ์ เกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เดือนก.พ. ณ ตำบลท่าอิฐ อ.พิชัยดาบหัก จ.อุตรดิตถ์ เป็นลูกชายของ หลวงพินิจจินเภท และคุณแส
    หลวงปู่บุญฤทธิ์ จบปริญญาจากต่างประเทศ
    ต่อมาเข้ารับข้าราชการ แต่ด้วยความเลื่อมใสปฏิปทาพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จึงลาออกจากราชการ แล้วออกบวชและปฏิบัติธรรมถวายชีวิตต่อพระศาสนา ออกธุดงค์อยู่ตามป่าตามเขาโดยตลอด เป็นศิษย์สำคัญองค์หนึ่งของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม โดยมีความสามารถพูดภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสได้อย่างคล่องแคล่ว นำพุทธศาสนาออกไปเผยแผ่ในต่างประเทศ จาริกอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลานาน และมีศิษย์เป็นชาวต่างชาติอยู่ในหลายประเทศ

    1610876850208.jpg 1610876852089.jpg 1610876847438.jpg
     
  16. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    8,286
    ค่าพลัง:
    +6,448
    ขอจองครับ
     
  17. ChintopTM

    ChintopTM เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    2,681
    ค่าพลัง:
    +1,084
    ติดจองแล้วครับพี่ โอกาสหน้านะครับ
     
  18. ChintopTM

    ChintopTM เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    2,681
    ค่าพลัง:
    +1,084
    รายการที่ 11
    พระผงโต๊ะหมู่ รุ่นแรก หลวงปู่ชม โอภาโส วัดสามัคคี อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เนื้อยาวาสนาจินดามณี ฝังตะกรุดเงิน บรรจุขาวสารดำ โรยเกศาหลวงปู่

    บูชาองค์ละ 300 บาท


    พระครูอมรธรรมโมภาส(หลวงปู่ชม โอภาโส) วัดสามัคคี อ.เมือง จ.หนองคายศิษย์เอกรูปสุดท้ายของหลวงปู่พิบูลย์ ท่านเป็นคนบ้านแดง จ.อุดรธานี โดยกำเนิด ซึ่งในบ้านแดงเป็นที่ตั้งของวัดพระแท่น ที่หลวงปู่พิบูลย์(พระอภิญญาอาคมขลังแห่งอุดรธานี)ได้มาสร้างวัดอยู่ช่วยสงเคราะห์ญาติโยมนี่เอง ตอนเป็นเด็กหลวงปูชมท่านมีโอกาสรับใช้ครูบาอาจารย์หลายรูป ไม่ว่าจะเป็นหลวงปู่พิบูลย์ หลวงปู่ฤาษีผมยาว หลวงปู่โชติ


    12239457_1203480556332963_3466072284602301088_o%2B%255B800x600%255D.jpg

    ท่านมีโอกาสได้เรียนคาถาจากหลวงปู่ผมยาวโดยการเรียนแบบครูลักพักจำนั่นเองหรือที่ชาวอีสานเรียกว่ามนต์ลอดป่อง หลวงปู่ฤาษีผมยาวครูบาอาจารย์ของหลวงปู่ชม ท่านครองวัตรแบบฤาษี ท่านได้สำเร็จครูธรรมโดยถือวิรัชไม่พูดเป็นเวลา11ปี ที่ท่านเป็นหลวงปู่ฤาษีผมยาวนั้นก็เพราะว่ามีดกรรไกรตัดผมไม่สามารถตัดผมท่านขาดได้(ท่านเก่งเรื่องธาตุ) ท่านเหมือนคนบ้าบอมักจะทำอะไรแปลกๆอยู่เสมอ ท่านเคยทำตะกรุดผูกขานดเอาไว้ ทำให้คนที่ชอบยิงนกไม่สามารถยิงนกได้ ท่านเมตตาหลวงปู่ชมมาก กาลต่อมาศพหลวงปู่ผมยาวเผาไม่ไหม้ จึงเป็นธุระของหลวงปู่ชมได้มาแก้เคล็ดบางประการจึงได้ทำการเผาศพได้ ปัจจุบันผมและกระดูกขากรรไกรนั้นหลวงปู่ชมเป็นคนรักษาไว้เท่าทุกวันนี้
    IMG_6352.jpg

    ท่านบรรพชาและอุปสมบทที่วัดพระแท่นตามคำสั่งของหลวงปู่พิบูลย์ได้มีโอกาสรับใช้ครูบาอาจารย์อย่างใกล้ชิด เมื่อครั้งที่หลวงปู่พิบูลย์ถูกกักบริเวณที่วัดโพธิ์สมภรณ์ ท่านต้องไปๆมาๆต่อมาเมื่อหลวงปู่พิบูลย์มรณภาพท่านเป็นผู้นำชาวบ้านในการขอศพหลวงปู่พิบูลย์คืน และท่านได้จัดสร้างเหรียญห้าเหลี่ยมหลวงปู่พิบูลย์รุ่นแรก ปี2507 ซึ่งมีประสบการณ์มากมายทำให้ในปัจจุบันราคาสูงมาก

    IMG_4909%2B%255B640x480%255D.jpg

    ต่อมาพอเสร็จธุระหลวงป่พิบูลย์แล้ว หลวงปู่ชมท่านก็ได้ออกธุดงค์ไปต่างสถานที่ต่างๆในลาว และได้จำพรรษาที่ภูเขาควายเป็นเวลา5พรรษา เกจิอาจารย์หลายรูปและทหารในเมืองลาวต่างรู้จักกิติศัพท์หลวงปู่ชมดีหลวงปู่คำตัน วรราช วัดพระพุทธบาทภูเขาควาย เกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองลาวสหธรรมิกหลวงปู่ชม ท่านชื่นชมหลวงปู่ว่า ในสมัยก่อนพี่น้องทหารลาวเขายิงปืนใหญ่ใส่กัน หลวงปู่ชมท่านไม่กลัวเดินนำหน้าเฉยเลย เป็นที่เลื่องลือกันในเมืองลาว

    IMG_4966_LR%2B%255B800x600%255D.jpg

    มีช่วงหนึ่งบิดา มารดาท่านให้ท่านสึกออกมามีครอบครัว ท่านได้ลูกสาวคนหนึ่งและได้สูญเสียภรรยาไปทำให้ท่านเข้าถึงสัจจะธรรมชีวิต และขอให้พี่น้องเลี้ยงลูกให้และก็บวชอีกครั้ง
    ต่อมาท่านได้ธุดงค์มาจำพรรษาที่วัดธาตุ จังหวัดหนองคาย และการปลีกวิเวกมาทำสมาธิที่ดอนแห่งหนึ่งไม่ไกลจากวัด มีสถูปเจดีย์เก่าเห็นว่าเคยรุ่งเรืองในอดีต ท่านจึงสร้างวัดขึ้นโดยใช้ชื่อว่าวัดสามัคคี
    IMG_5031_LR%2B%255B800x600%255D.jpg
    หลังจากลาวแตกลูกศิษย์จากลาวต่างอพยพมาหาท่านมากมาย แม้แต่ผู้นำและม้งบางกลุ่ม แสดงว่าท่านมีชื่อในลาวนานแล้ว(ถ้าวิชาอาคมท่านไม่แน่จริง คนลาวคนไม่เคารพนับถือขนาดนี้ เพราะลาวยุคนั้นเป็นยุคขมังเวทย์เช่นกัน
    หลวงปู่ชม ท่านเป็นพระที่มีพลังจิตสูงมาก มีคนเอาไซมาให้ท่านเสก ท่านให้วางไว้ข้างหน้า และท่านชวนคุยเรื่องอื่น และท่านก็บอกเสร็จแล้ว ไม่เห็นท่านเสก แต่พอเอาให้คนที่เขาเชี่ยวชาญด้านพลังจิตตรวจดูปรากฏว่า ของหลวงปู่มีพลังมากซึ่งหาเกจิเทียบท่านยากในปัจจุบัน มีครั้งหนึ่งนายอธิวัฒน์ ลูกศิษย์คุ้มบ้านสามัคคี ได้เอาวัตถุมงคลให้คนที่เขาปฏิบัติกรรมฐานตรวจดูหลายคน ซึ่งพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าแรงมาก ตอนจับเห็นขนลุกไปหลายคนแล้ว เอาหลวงพ่อดังๆองค์อื่นให้ตรวจเขาก็ว่าดีๆ แต่ของหลวงปู่ชมเขาต่างไม่มีคำพูด พูดได้แค่ว่าขนลุก มีคนหนึ่งชื่อคุณชินพร สุขสถิตย์ ศิษย์เอกหลวงปู่ทิมตื่นเต้นมากเมื่อดูพระหลวงปู่ชม พูดว่า”แค่มองก็ขนลุกแล้ว”คุณชินพรจึงนิมนต์ท่านไปนั้งปรกอธิฐานจิตวัตถุมงคลกับหลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู วัดในเกิดหลวงปู่คำบุ ครบ91พรรษา

    DSC00893%2B%255B800x600%255D.jpg

    หลวงปู่ชมมีชื่อเสียงมานานแล้ว ท่านอาจนับเป็นพระเกจิเบอร์1 แห่งเมืองหนองคายก็ว่าได้ บารมีธรรมท่านสูงมาก เรื่องปราบผีปราบปอบ ผีที่ไหนที่ว่าเฮี้ยนๆ นิมนต์หลวงปู่ชมไปเสร็จทุกราย นอกจากนั้นท่านยังรักษาคนที่ใกล้ตาย หมอรักษาไม่หายมาแล้ว ท่านสามารถทำนายทายทักคนได้อย่างแม่นยำ รู้วาระจิตคน คนที่มีสายสิญจและชานหมากหลวงปู่ชมมีประสบการณ์เรื่องฉีดยาไม่เข้า เผาศพของขลังไม่ไหม้เป็นเรื่องปกติ ทำให้มีคนศรัทธาท่านมาก เวลามีพิธีพุทธาภิเษกที่อยู่แถบอีสาณตอนบน มักจะมีคนมานิมนต์ท่านอยู่เสมอ หลวงปู่ชมเป็นพระเกจิที่หลวงปู่เณรคำ จังหวัดนครพนม เครพนับถือมาก

    IMG_5161%2B%255B640x480%255D.jpg

    หลวงปู่ชมท่านได้บวชฤาษีให้ตนหนึ่ง ฤาษีตนนี้ดังมากอยู่ในจังหวัดหนองบัวลำภูเป็นอาจารย์ให้เกจิรุ่นใหม่หลายองค์ ต่อมาเมื่อฤาษีมีเครือข่ายกัน ยังสรุปไม่ได้ว่าประเพณีบวชฤาษีเป็นเช่นไร ในวงการฤาษีจึงเอาวิธีบวชฤาษีหลวงปู่ชมมาใช้กันคือ การยกเทียนพันน้ำมันหมื่น ทำให้ประเพณีการบวชฤาษีที่เขาใช้ในปัจจุบัน มาจากหลวงปู่ชมก็ไม่ผิด
    1610876808227.jpg 1610876810093.jpg 1610876812180.jpg 1610876824559.jpg 1610876822697.jpg 1610876814540.jpg
     
  19. ChintopTM

    ChintopTM เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2019
    โพสต์:
    2,681
    ค่าพลัง:
    +1,084
    รับทราบครับผม
     
  20. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    8,286
    ค่าพลัง:
    +6,448
    ขอจองครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...