พุทธเจ้า 9 พระองค์

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย phuang, 19 กันยายน 2005.

  1. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%" bgColor=#ffff00>
    พระศากยมุนีพุทธเจ้า





    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    คาถาประจำองค์[​IMG]โอม.มุ.นี.มุ.นี.มา.หา.มุ.นี.เย.โซ.ฮา./

    [​IMG]

    ธิเบตเรียก ศากยะ.ถุบ.ปะ ภาษาจีน เรียก เสกเกียโมวนีฮุก อักขระประจำองค์ คือ มุ
    พระศากยะมุนีพุทธเจ้า ในมุมมองแห่งปรัชญาสาวกยานพระองค์ทรงเป็นอริยะบุคคลแห่งประวัติศาสตร์ซึ่งได้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุพระสัมมาสัม โพธิญาน ส่วนในมุมมองแห่งมหายานพระองค์เป็นยิ่งกว่าบุคคลในประวัติศาสตร์ ด้วยมหายานเชื่อว่าพระองค์ทรงบรรลุความเป็นสัมมาสัมพุทธเจ้ามานานแล้ว และด้วยพระมหากรุณาต่อสรรพสัตว์ พระองค์จึงมาเพื่อกระตุ้นเตือนให้สรรพสัตว์ที่เริ่มจะหลงระเริงไปในสังสารวัฏฏและหาหนทางหลุดพ้นไม่พบ พระองค์ทรงรับความทุกข์ยากลำบากเพื่อปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างแด่สรรพสัตว์ ธรรมะ 84000 บทที่พระองค์ทรงประทานให้แก่ชาวโลก ทุกบทสามารถนำพาสรรพสัตว์เข้าสู่วิมุติสุขได้ทั้งนั้น คงมีสักบทที่ตรงกับจริตของเรา แล้วมุ่งเน้นไปในทางนั้น การบรรลุโพธิญานเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้แน่นอน หลักธรรมทั้งปวง เป็นเครื่องมือให้เรา ได้รู้ ได้ดำเนินการ ได้รับผล แห่งอริยะสัจ4 ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นนิกายใด อยู่ที่ไหนในโลก อริยะสัจแรกคือทุกข์ ไม่มีสรรพสัตว์ใดไม่เป็นทุกข์ เทพเทวาเป็นทุกข์ด้วยความหลงในความเป็นเทพแห่งตนเมื่อถึงวันที่ต้องสิ้นสุดความเป็นเทพความทุกข์ยิ่งทวีความรุนแรง เป็นเท่าทวี ยังมีทุกข์ที่มองไม่เห็นของเทพด้วยกันคือทุกข์ซึ่งเกิดจากการไม่สามารถสู่ความหลุดพ้นได้ ด้วยว่าภพแห่งเทพเต็มเปี่ยมด้วยโลกียะสุข อสูรมีชีวิตอยู่ในบ่วงแห่งความโกรธความริษยาเทพตั้งหน้ารบราแย่งชิงโลกียะสุขจากเทพอยู่เป็นประจำ ทุกข์ของมนุษย์ถือเป็นทุกข์ที่สมบรูณ์คือรวมเอาทุกข์สรรพสัตว์อีก5ภูมิมารวมไว้ ได้ในสิ่งที่ไม่ต้องการเป็นทุกข์ ไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ แต่ก็เป็นความโชคดีประการหนึ่งของมนุษย์ ก็คือมีแต่มนุษย์เท่านั้นที่สามารถปฏิบัติเพื่อสู่ความหลุดพ้นได้ ด้วยว่ามนุษย์ได้สัมผัสทุกข์ทุกรูปแบบ คือสามารถรู้และสัมผัสกับทุกข์ได้เต็มรูปแบบ เมื่อรู้จริง ก็จะได้หนทางที่ถูกต้องจริงไปสู่ความหลุดพ้น เดรัจฉาน ทุกข์ด้วยความโง่เขลา ฆ่ากันเพื่อการดำรงชีวิต เปรต ทุกข์จากความโลภหิวกระหายอยู่ตลอดเวลาไม่มีความพอเพียง สัตว์ในนรกภูมิ ทุกข์จากการถูกทรมาน สภาวะจิตที่ต่ำ ปฏิบัติอวิชชาทั้งหลายทั้งปวงอยู่เป็นประจำ จึงต้องถูกคุมขังทรมาน อริยะสัจข้อที่2คือ เหตุแห่งทุกข์ เมื่อรู้ว่าสรรพสัตว์ทั้งปวงเป็นทุกข์ด้วยอะไร นั่นคือรู้เหตุแห่งทุกข์ สรุปเหตุแห่งทุกข์ได้ความว่าเกิดจาก 1 ความอยากได้ 2 ความอยากเป็น 3 ความไม่อยากได้ ไม่อยากเป็น 4 ความอิจฉาริษยา 5 ความเย่อหยิ่งถือตัว อริยะสัจข้อ 3 ผลของการดับทุกข์ คือ การบรรลุพุทธภาวะซึ่งเป็นความสุขอันนิรันดร อันเป็น ผลของการปฏิบัติ อริยสัจข้อที่ 4 มรรค ทางปฏิบัติ สู่การดับทุกข์
     
  2. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    พระอาทิพุทธเจ้า





    </TD></TR></TBODY></TABLE>





    คาถาประจำองค์[​IMG]อะ.ดา.มา.ดา.ตู.อา/
    [​IMG]




    พระพุทธเจ้าพระองค์แรก
    สันสกฤตเรียก สมันตรพุทธเจ้า ธิเบตเรียกกุนตูซังโป จีนเรียกโพวเฮี่ยงฮุก
    อาทิพุทธเป็นพระพุทธเจ้าที่อุบัติขึ้นมาพร้อมกับโลกประจำอยู่ชั่วนิรันดรเป็นแหล่งกำเนิดแห่งพระพุทธเจ้า ทั้งหลายทั่วจักรวาล พระองค์ทรงเป็นธรรมกายดั้งเดิม ด้วยอำนาจฌานของพระองค์ทำให้เกิดธยานิพุทธ5พระองค์ คือพระไวโรจน์พุทธ พระอักโษภยพุทธ พระรัตนสัมภาวพุทธ พระอมิตภพุทธ พระอโมฆสิทธิ ดังนั้นอาทิพุทธก็คือต้นแบบแห่งพุทธภาวะทั้งมวล
    พุทธลักษณะ อาทิพุทธในนิกายดั้งเดิมของธิเบต เป็นรูปบูชาพุทธะวรรณะสีน้ำเงิน ในปางสมาธิมุทรา ส่วนใหญ่ไม่ทรงศิราภรณ์ มาคู่กับศักดิชื่ออาทิธรรม ในนิกายใหม่เป็นรูปบูชาในปางวัชระธารา เป็นรูปพุทธะวรรณะสีน้ำเงิน ทรงศิริภรณ์ ถือวัชระในหัตถ์ซ้ายขวาไข้วเหนือพระอุรา
    อาทิพุทธเจ้าทรงเป็นธรรมกายดั้งเดิมนั่นคือพระองค์คือพุทธภาวะ ซึ่งอยู่นอกเหนือการบรรยาย จะว่าพระองค์เป็นแสงสว่างสุกสกาวก็ได้ จะว่าพระองค์เป็นความเวิ้งว่างแห่งบรรยายกาศก็ได้ พระองค์เป็นท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลก็ได้ ด้วยเหตุว่าพระองค์เป็นธรรมชาติอันเปลือยเปล่าแห่งสรรพสิ่ง ในนิกายนิงมาปะดั้งเดิมจึงได้สร้างสัญลักษณ์แห่งพระองค์ด้วยรูปอันปราศจากการปรุงแต่งใดๆ พระวรกายสีน้ำเงินดังท้องฟ้าอันเวิ้งวางสุกใส ไม่ทรงศิราภรณ์ใดๆ
    ธรรมชาติแห่งสรรพสัตว์ ด้วยมุมมองแห่งพุทธตันตระยานในหลักการแห่งตรีกาย ประกอบด้วยกายเนื้อและกายทิพย์และธรรมกาย กายเนื้อหรือนิรมานกายก็คือกายที่เห็นได้ด้วยตาซึ่งเกิดจากส่วนผสมอันกลมกลืนกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ตัวในการแสวงหาหนทางเพื่อให้เกิดธาตุรู้ ส่วนกายทิพย์หรือสัมโภคกายอันเป็นแหล่งเก็บแห่งธาตุรู้หรือเป็นตัวปัญญา การรู้ธรรมชาติแห่งนิรมานกายให้ผลเป็นพลังแห่งปัญญา ความชัดเจนแจ่มแจ้งของสัมโภคกาย อันเกิดจากการกระตุ้นของพลังแห่งปัญญา ทำให้เกิดพลังแห่งเมตตา และนี่คือคำอธิบายว่าพระโพธิสัตว์ทั้งปวงเป็นตัวแทนแห่งมหาเมตตาของ พระพุทธองค์ด้วยว่าพระโพธิสัตว์เป็นสัมโภคกายแห่งพุทธองค์ การรวมกันระหว่างพลังปัญญาและพลังเมตตา นั่นคือพุทธภาวะหรือองค์ธรรมกาย ด้วยหลักปรัชญาแห่งมหามุทรา ที่ว่าสรรพสิ่งคือสัญลักษณ์ องค์ศักติในมณฑลการปฏิบัติพุทธตันตระจึงบังเกิดขึ้น ในหนังสือพุทธศาสนาระหว่าง2500ปีที่ล่วงแล้ว ได้กล่าวถึงพุทธตันตระยานว่า การที่มีผู้กล่าวว่า พุทธตันตระเป็นสาขาหนึ่งของลัทธิไศวะหรือตันตระฮินดูนั้น เป็นบุคคลที่ไม่ได้ศึกษาพุทธตันตระฉบับเดิมจริงๆ ถึงแม้ลักษณะภายนอกจะเหมือนกัน แต่วิธีปฏิบัติและจุดประสงค์ต่างกันอย่างสิ้นเชิง พุทธตันตระเกิดก่อนฮินดูตันตระเป็นเวลาช้านาน ปรัชญาแห่งฮินดูตันตระมีว่า เมื่อรวมเข้ากับศักติแล้ว จะเพียบพร้อมไปด้วยอำนาจ เพราะการรวมกันของพระศิวะกับศักติ โลกจึงถูกสร้างขึ้น ตรงข้ามกับพุทธตันตระ ไม่ต้องการสร้างโลก ไม่ต้องการอำนาจ เพียงต้องการศูนยตาสภาวะ สภาวะที่ไม่ได้เกิดจากการสร้าง หรือเกิดจากการปรุงแต่ เป็นสภาวะธรรมชาติ มีอยู่โดยปกติก่อนการสร้างและพ้นจากการสร้างทั้งปวง

     
  3. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    พระไวโรจน์พุทธเจ้า

    [​IMG]

    โอม.นา.โม.บา.คา.วา.เต.ซาวา.ดู.คะ.เต.ปา.ริ.โศ.ดา.นะ.นา.ซา.ยะ./ตา.ถา.กะ.ตา.ยะ/ อรา.ฮะ.เต.ซานาซัม.บุด.ดา.ยะ ตายาถา./โอม.โศ.ดา.เน.โศ.ดา.เน. ซาวา.ปา.ปำ./วิ.โศ.ดา.นิ.ศุด.เด.วิ.ศุด.เด.ซาวา.คา.มา: อา.วา.นะ.นา.วิศุด.เด.โซฮา

    [​IMG]

    ธิเบตเรียก
     
  4. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    พระอักโษภยพุทธ





    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]
    [​IMG]

    ธิเบตเรียก ซัง เกีย.มิ.โยด.ปา จีนเรียกกิมกังปุกต๋งฮุก อักขระประจำองค์คือโฮุม
    พุทธลักษณะรูปพุทธปางสมาธิมารวิชัยหรือมุทราภูมิสปรรษะ พระวรกายสีน้ำเงิน รัศมีสีขาว ทรงวัชระ พาหนะช้างคู่สีเงิน ประทับอยู่ทางทิศตะวันออกของมณฑล ศักติชื่อโลจนา สัมโภคกายคือพระวัชระปาณีโพธิสัตว์ นิรมานกายคือพระโกนาคมน์พุทธ ธาตุน้ำ ตราสัญลักษณ์ คือวัชระและกระดิ่ง วัชระธิเบตเรียกดอร์เจเป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญา ความกล้า และพละ หรือความเที่ยงตรงแห่งพระนิพพาน อันถือว่าเป็นปุริสภาวะ ซึ่งก็คือมณีฟ้า ทั้งแหลมคมและแข็งแกร่ง สามารถทำลายอกุศลมูลทุกประการโดยไม่มีสิ่งใดต้านทานได้ วัชระมี5แฉกอันหมายถึงอารมณ์ทั้ง5 โทละทิฐิ ตัณหา ริษยา อวิชชา สัญลักษณ์อีกประการ กระดิ่ง แทนความเมตตากรุณา หรืออนัตตาสภาวะ อันถือเป็นอิตถีภาวะ
    ชื่อของพระองค์แปลว่าความไม่หวั่นไหว ตระกูลวัชระ พระองค์เป็นตัวแทนแห่งธรรมะอันมั่นคงแข็งแกร่ง
    ตระกูลวัชระ เป็นต้นกำเนิดแห่งปัญญาทุกกระแส สติปัญญาแห่งวัชระประดุจน้ำอันใสสงบกระจ่างในธรรมชาติ คมชัดในการสะท้อนภาพอันชัดเจน ในด้านตรงข้ามที่ตระกูลวัชระแสดงออกคือโทสะและความหยิ่งทนงถือดีในภูมิปัญญา จนกลายเป็นความคับแคบ ปรีชาฌานแห่งพุทธต้องตั้งอยู่บนสมาธิอันเปิดกว้างโล่งไพศาล
     
  5. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%" bgColor=#ff0000>
    พระรัตนสัมภวะพุทธ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]
    [​IMG]
    ธิเบตเรียก ริน.เชน.จยุง.เดน. จีนเรียก ป้อแซฮุก อักขระประจำองค์คือ ตรำ
    พุทธลักษณะปางประทานพร พระวรกายสีเหลือง ทรงจินดามณี พาหนะม้า ประทับอยู่ทางทิศใต้ ศักติชื่อมามกี สัมโภคกายคือพระรัตนปาณี นิรมานกายคือ พระกัสสปะพุทธ ธาตุดิน สัญลักษณ์จินดามณี พระองค์ทรงเป็นต้นตระกูลแห่งรัตนะ รัตนะคือสิ่งมีค่าทั้งมวล ความร่ำรวย มั่งคั่ง ความแผ่ขยายออกสู่พื้นที่ว่างเปล่า การบรรลุเกี่ยวข้องกับอุเบกขาฌาน ในด้านตรงกันข้าม คือจิตแห่งความโอ้อวด โป่งพองออกโดยไม่สามารถควบคุมขอบเขต
     
  6. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    พระอมิตาภะพุทธเจ้า





    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    คาถาประจำองค์[​IMG]โอม.อา.มิ.เด.วา.เช./

    [​IMG]

    ธิเบตเรียก โอด.ปาก.เมด. จีนเรียก ออมีทอฮุก อักขระประจำองค์คือ ฮรี
    พุทธลักษณะปางฌานหรือสมาธิเพชรทรงบาตร พระวรกายสีแดง ธาตุไฟ พาหนะนกยูง ประทับอยู่ทิศตะวันตก ศักติปานทรา สัมโภคกายคือพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ นิรมานกายคือพระศากยะมุนีพุทธเจ้า สัญลักษณ์คือดอกบัว พระองค์เป็นต้นตระกูลปัทม ตระกูลปัทมคือธรรมชาติอันบริสุทธิ์ อาสวะทั้งมวลแม้สัมผัส แม้ยึดติดกับดอกบัวแต่ก็ไม่สามารถแทรกซึมเข้าเนื้อในได้ ย่อมสลัดทิ้งได้ทุกเมื่อ ปรีชาฌานแห่งตระกูลปัทม คือ ความมุ่งมั่นความใฝ่ฝัน ความเบิกบานยินดี ความเที่ยงตรงแห่งการบรรลุพุทธ ในด้านตรงข้ามคือตันหา การล่อลวง ความต้องการเป็นเจ้าของ ความทะยานอยาก
    พระอมิตาภะพุทธเจ้าความหมายตามพระนามคือแสงสว่างสุดประมาณ ไม่มีหมด ไม่มีที่ไปไม่ถึง พระองค์ไม่ใช่ผู้สร้างสรรพสิ่ง แต่สรรพสิ่งมีพระองค์เป็นธรรมชาติ ดังนั้นพระอมิตาภะพุทธเจ้าจึงเป็นส่วนหนึ่งของสรรพสิ่ง การกินอยู่หลับนอน เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ฉะนั้นการกินอยู่หลับนอนจึงมีพระอมิตาภะพุทธเป็นองค์ประกอบด้วยเช่นกัน การที่พระองค์ทรงนกยูงเป็นพาหนะก็ด้วยว่าธรรมชาติของแต่ละสรรพสิ่งมีสิ่งที่เหมาะสมเฉพาะตัวเท่านั้น นกยูงกินสิ่งที่มีพิษเป็นอาหารทำให้ปีกหางขนสวยงามและแข็งแกร่ง แต่ถ้ามนุษย์กินสิ่งที่มีพิษเช่นนั้นก็ตายสถานเดียว ดังนั้นการดำเนินตามธรรมชาติของตนเป็นสิ่งที่ประเสริฐสุด
     
  7. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    พระอโมฆสิทธิพุทธ





    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]
    [​IMG]

    ธิเบตเรียก โดน.โยด.ดุบ.ปา. จีนเรียก ปุกคงเซ่งจิวฮุก อักขระประจำองค์คือ อา
    พุทธลักษณะปางอภัย พระวรกายสีเขียว ธาตุลม ทรงครุทเป็นพาหนะ ประทับอยู่ทางทิศเหนือ ศักติ องค์ดาราเขียว สัญลักษณ์คือวัชรไข้ว พระองค์เป็นต้นตระกูลแห่งกรรมะ ปรีชาฌานแห่งตระกูลกรรมะคือการกระทำอันสมบูรณ์พร้อม การบรรลุความสำเร็จตามธรรมชาติแห่งการกระทำ ในทางตรงข้ามคือ การเปรียบเทียบ ความริษยา ความเดือดเนื้อร้อนใจ
     
  8. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%" bgColor=#ffffff>
    พระไภษัชยคุรุไวฑูรยะประภาราชพุทธเจ้า





    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    ตา.ยา.ถา./โอม.บี.ศยา.ซิด.บี.ศยา.ซิด.มาหา.บี.ศยา.ซิด.บี.ศยา.ซิด.รา.จา.ซา.มุ.คา.เต.โซ.ฮา./

    [​IMG]
    ธิเบต เรียก ซัง.เกีย.มน.ลา จีนเรียก เอี๊ยะซือฮุก
    พระพุทธเจ้าแห่งทิศตะวันออก จอมราชันย์แห่งศาสตร์การแพทย์ พระวรกายสีน้ำเงินประดุจท้องฟ้าอันมหาศาล พระหัตถ์ขวาในท่าภาวนา พระหัตถ์ซ้ายถือบาตรยาหรือหม้อยา พระกริ่งที่สร้างกันในประเทศไทยก็คือพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ศาสตร์การแพทย์คือศาสตร์ที่พระศากยะมุนีพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นสุดยอดแห่งศาสตร์ทั้งปวง การแพทย์แห่งพุทธเน้นแนวทางในการรักษาแบบองค์รวม นั้นคือเน้นความสัมพันธ์ในการรักษาทั้ง กาย วาจา ใจไปพร้อมกัน โดยใช้สมุนไพรใบยา การภาวนามนตรา สมาธิจิต ความอ่อนแอในทางสุขอนามัยของสรรพสัตว์ซึ่งเป็นตัวขัดขวางการบำเพ็ญเพียรเพื่อสู่การหลุดพ้น เป็นเหตุให้พระไภษัชยพุทธเจ้าต้องเสด็จมาเพื่อโปรดสรรพสัตว์ พระองค์ทรงเข้าร่วมในกิจกรรมทางการแพทย์ทุกขั้นตอน พีธีกรรมในการปรุงยาพระองค์ทรงเป็นประธานและผู้ลงมือกระทำการเพื่อความมีประสิทธิภาพสูงสุดแห่งยา ในการรักษา การภาวนาพระองค์ทรงประทานคาถาในการภาวนาเพื่อความเชื่อมั่น แน่วแน่ในการสู่สุขภาพที่ดี การสมาธิ น้อมอัญเชิญพระองค์เข้าสู่ตัวเรา หลอมรวมพระองค์และเราเป็นหนึ่งเดียว ความเจ็บป่วยทั้งปวง ถูกหลอมละลายเป็นอากาศธาตุ พระองค์และเราเข้าสู่ศูนยตาสภาวะ เราออกจากสมาธิในสภาวะว่างเปล่านั่นคือ โรคภัยไข้เจ็บต่างๆมลายหายไปด้วย ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันในวงการแพทย์อย่างกว้างขวางว่า สมาธิจิตเป็นยาวิเศษชนิดหนึ่งในการบำบัดความเจ็บป่วย การรักษาในแนวทางแห่งพุทธนี้ไม่เพียงได้ความสุขทางกายเพียงประการเดียว สมาธิจิตที่ได้เป็นยานพาหนะนำพาเราเข้าสู่การหลุดพ้น สู่ความเป็นพุทธะในที่สุด บังเกิดความสุขอันนิรันดร
     
  9. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    คุรุปัทมสมภพ





    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    คาถาประจำองค์[​IMG]โอม.อา.โฮุม.เบญจา.กู.รู.เปด.มา.สิท.ธิ.โฮุม./

    [​IMG]

    คุรุปัทมสมภพ ธิเบตเรียก กูรูรินโปเช่ ชาวพุทธวัชรยานถือว่าพระองค์เป็นพุทธเจ้าองค์ที่ 2 พระองค์ทรงเป็นวัชรนิรมานกายของพระอมิตาภะพุทธเจ้า วัชรธรรมกายของพระองค์คือวัชรธรรมกายของพระพุทธเจ้าทั้งปวง พระองค์เป็นผู้นำพุทธศาสนาเข้าสู่ธิเบตและดินแดนในแถบหิมาลัย ในพระสูตรวัชรยาน ได้บันทึกไว้ ว่าพระพุทธศากยะมุนีพุทธเจ้าได้สั่งพระอานนท์เถระเจ้าไว้ว่าหลังพระองค์ปรินิพาน 8 ปี ให้พระอานนท์รับบุรุษผู้หนึ่งจากแคว้นอุทยานเป็นศิษย์ให้ถ่ายทอดธรรมทั้งสิ้นให้ ด้วยว่าท่านผู้นั้นจะเป็นผู้จรรโลงพุทธศาสนาต่อไปจนถึงยุดสุดท้าย ท่านก็คือ "องค์คุรุปัทมสมภพ"หรือกูรูรินโปเช่นั่นเอง ในช่วงเวลา800ปี ในอินเดียบางช่วงท่านก็ปรากฏขึ้น บางช่วงท่านก็หายไป จนกระทั่งก่อนจะเข้าธิเบตจากการเชื้อเชิญจากกษัตริย์ไตรซองเดสเซนตามคำแนะนำของพระศานตรักษิต ท่านเป็นคุรุผู้บรรลุแห่งมหาวิทยานาลันทา ทรงความรู้ความสามารถ อิทธิปาฏิหาริย์ในพุทธตันตระยานอย่างถ่องแท้ หลังจากที่ท่านได้เข้าธิเบตแล้ว ทำให้ประชาชนในธิเบตและในแถบเทือกเขาหิมาลัยหันมาเป็นชาวพุทธและพุทธตันตระยานจะเป็นพุทธศาสนาที่รุ่งเรือง มั่นคงไปทั่วโลกในยุดต่อไป

    ความหมายในเครื่องทรงขององค์กูรูรินโปเช่
    ขนนกยอดหมวก ที่สุดในการบรรลุแห่งยานทั้งสาม หีนยาน มหายาน วัชระยาน
    หมวกดอกบัวสามกลีบ สัญลักษณ์การบรรลุตรีกาย ธรรมกาย สัมโภคกาย นิรมาณกาย
    อาทิตย์และจันทร์บนหมวก ศูนย์รวมแห่งพลังและปัญญา
    ใบหน้าดุ การชนะอุปสรรคทั้งมวล กำราบ หมู่มาร และสิ่งชั่วร้ายทั่วสกล
    สร้อยสังวาลย์ สัญลักษณ์แห่งธรรมะอันไม่มีข้อจำกัด เพศ วัย สถานะบุคคล ปฏิบัติได้และสำเร็จได้
    เสื้อชั้นในสีขาววับๆแวมๆ วัชระยานซึ่งแนบชิดกับองค์ท่าน ไม่เปิดเผยตลอดเวลา
    เสื้อคลุมสีฟ้า มหายาน
    จีวรชั้นนอก หีนยาน ปัจเจกพุทธยาน
    คทา สัญลักษณ์แห่งพลังและปัญญา หรือปางยับยัม
    สามง่ามยอดคทา ความสามารถในการชนะ โลภ โกรธ หลง
    เปลวเพลิงบนสามง่าม เพลิงผลาญสามพิษ โลภ โกรธ หลง
    หัวกระโหลกบนคทาแห้ง ธรรมกาย
    หัวกระโหลกเริ่มแห้ง สัมโภคกาย
    หัวกระโหลกสด นิรมาณกาย
    วัชระบนคทา ความแข็งแกร่งมั่นคงแห่งการบรรลุ
    กล่อง กระดิ่ง เสียงทิพย์ปลุกสรรพสัตว์จากความหลับไหลในอวิชชา
    ถ้วยกระโหลกบรรจุน้ำอมฤต น้ำอมฤตเพื่อความสงบ ระงับ และหลุดพ้น
    วัชระในมือขวา ตัด เจาะ ทะลุ ทะลวง สู่พุทธภาวะ
    ขาซ้ายยกขึ้น ความหลุดพ้นจากวัฏฏ
    ขาขวายื่นออก การช่วยสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นทั่วสกล

    พุทธศาสนาวัชรยานได้แบ่งเป็นตันตระใหม่และตันตระเก่า
    ตันตระใหม่พระศากยมุนีพุทธเจ้าเป็นผู้สอน โดยมาในปางสัมโภคกาย ได้แบ่งเป็น เก้ายาน สามกลุ่ม
    กลุ่ม 1 คือสามยานแห่งเหตุ มี สาวกยาน(หีนยาน) ปัจเจกพุทธยาน((หีนยาน) และโพธิสัตว์ยาน(มหายาน)
    กลุ่ม 2 คือ สี่มนตรายานแห่งผล กริยาตันตระ จริยาตันตระ โยคะตันตระ
    กลุ่ม 3 คือ อนุตระตันตระ มี ตันตระพ่อ ตันตระแม่ และสหตันตระ
    ในมุมมองของวัชรยานทุกประสพการณ์ทุกอารมณ์จะไม่มีการทำลายล้างหรือจ้องที่จะบังคับตัดขาดมิให้บังเกิดขึ้น แต่จะแปรเปลี่ยนให้เป็นประสพการณ์ อารมณ์ในการบรรลุ ดังเช่นโทสะอันร้อนแรงประดุจเพลิง คอยเผาผลาญสติ ก็จะเปลี่ยนให้เป็นเพลิงอันทรงพลังแห่งพ่อ ถึงแม้ว่าแรงระเบิดเพลิงจะรุนแรงอย่างไรก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความรักลูก ต้องการให้ลูกบรรลุสู่จุดสูงสุดดีที่สุดในชีวิต กระตุ้นให้คิดค้นกลอุบายตามแรงเพลิงโทสะนั้นเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังเช่นการปฏิบัติตันตระพ่อแรงเพลิงแห่งโทสะนำพาสู่อุบายในการเสริมสร้างสติแห่งการบรรลุ ส่วนโลภะ ความอยากได้ ความต้องการ ความปารถนาในลาภ ยศ สรรเสริญ ก็แปรเปลี่ยนให้เป็นพลังรักแห่งแม่ ที่แสดงออกโดยตรงและยอมรับในทุกประสพการณ์ของลูกโดยไม่ต้องแสวงหาอุบายใดๆ ยอมรับและอยู่ร่วมกับประสพการณ์ของลูกโดยดุษฏี เพื่อความอยู่ดีมีสุขของลูก นั่นคือตันตระแม่ โลภะที่เกิดเปลี่ยนให้เป็นแรงปารถนาในการบรรลุ ประดุจดังความรัก ความปารถนา และการกระทำของแม่ ตัวผู้ปฏิบัติเป็นแม่ สติคือลูก ผลการบรรลุ คือผลสูงสุดที่ต้องการให้ลูกได้รับ โมหะความลุ่มหลง เช่นการหลงในตนเองว่าเลิศสุดกว่าผู้ใดด้วยเหตุผลนานาประการ ทำให้เกิดการสร้างอาณาเขตแห่งตนขึ้นเกิดความคับแคบในมโนทัศน์และประสพการณ์ หน้าที่อันไม่แบ่งแยกของพ่อและแม่คือการพยายามสร้างอาณาจักรอันไม่มีขีดจำกัดแก่ลูก สหตันตระ มีแง่คิดอยู่ในมุมมองที่ว่าการเปลี่ยนโมหะบ่อเกิดความคับแคบเพื่อให้เป็นพื้นที่ว่างอันกว้างใหญ่ไพศาลเป็น อาณาเขตอันไร้ขอบเขตแห่งจักรวาลซี่งเป็นที่ตั้งแห่งพุทธภาวะ ความไม่แบ่งขั้ว ไม่แบ่งเพศ ไม่มีขีดจำกัดใดๆ

    ตันตระเก่าได้มีการปฏิบัติสืบต่อกันใน นิกายณิงมาปะ สอนโดย พระธรรมกายของพระพุทธเจ้าแบ่งเป็นเก้ายาน อันมี
    ยานภายนอก 3 ยาน มี สาวกยาน ปัจเจกพุทธยาน(อันเป็นพุทธศาสนาหีนยานซี่งเน้นการปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อบรรลุอรหันต์ผล) โพธิสัตว์ยานเน้นการปฏิบัติบารมีหก เพื่อเข้าสู่ภูมิที่สิบ อันเป็นภูมิแห่งพระโพธิสัตว์ และตันติกอีก 6 ยานซึ่งเป็นวัชรยานทั้งหมด ซึ่งได้มีการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มตันตระภายนอก มี กริยาตันตระ จริยาตันตระ โยคะตันตระ กลุ่มตันตระภายใน มี มหาโยคะตันตระ อนุโยคะตันตระ อธิโยคะตันตระ กลุ่มตันตระภายใน เป็นยานพิเศษที่มีเฉพาะในนิกายณิงมา โดยเฉพาะอธิโยคะซึ่งธิเบตเรียก ซกปะเชนโป สันกฤตเรียก มหาสันติ อันถือเป็นยานหรือคำสอนสูงสุดของพุทธศาสนา การปฏิบัติอธิโยคะในหมู่ผู้มีปัญญาอันเลอเลิศและได้ปฏิบัติด้วยความวิริยะอุตสาหะ สามารถเข้าถึงพุทธภาวะในเวลาอย่างช้าสามปี ในหมู่ผู้มีปัญญาสูงสามารถบรรลุผลในเวลาหกปี ในหมู่ผู้มีปัญญาระดับทั่วไปก็สามารถบรรลุผลได้ในเวลาสิบสองปี คำสอนการปฏิบัติตันตระที่ได้ปฏิบัติกันอยู่ มาจากหลายแหล่ง เช่นจากที่มีบันทึกอยู่ในพระสูตรกันจุร์ จากที่มีอยู่ในณิงมากิวบุมซึ่งได้แยกบันทึกไว้ต่างหากอีก ยี่สิบห้าฉบับ จากพระอาจารย์ตันตระที่บรรลุมรรคผลโดยเกิดขึ้นเองในจิตของท่าน ในคำสอนทั้งหมดที่สมบูรณ์ที่สุดและแพร่หลายที่สุดเป็นคำสอนที่ถ่ายทอดโดยกูรูรินโปเช่และธรรมศักติเยเซโชเกียว ซึ่งได้ถ่ายทอดโดยตรงและได้เก็บซ่อนไว้ในสถานที่ต่างๆกันซึ่งเรียกว่าเทอร์มา เพื่อให้เปิดเผยในเวลาต่อมาโดยผู้ที่ได้ถูกกำหนดไว้ซึ่งเรียกว่าเทอร์โตน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 จนถึงปัจจุบัน

    คำสอนอธิโยคะได้จัดระดับคำสอนไว้3ระดับ คือ เซมเด ลองเดและเมกาเด ท่านคุรุศรีสิงหะยังได้แบ่งเมกาเดออกเป็นอีก4ระดับคือระดับภายนอก ระดับภายใน ระดับลับ และระดับลับสุดยอด ได้แยกการปฏิบัติออกเป็นสองลักษณะ คือเตกโชและโทเกียว เตกโชคือการฟันฝ่าทะลุทะลวงดิ่งตรงเข้าสู่พุทธภาวะและผสานจิตตนเข้ากับ สภาวะธรรมชาติแห่งจักรวาลอย่างฉับพลันทันใด เป็นการสำเร็จพุทธในชาติปัจจุบันนี้ เมื่อถึงกาลสิ้นชีพกายจะเกิดประกายแสงหลากหลายพวยพุ่งออกมาและร่างกายจะสลายเข้ากับ แสงนั้นและหายไปเหลือเพียงผม เล็บมือเล็บเท้าปรากฏการณ์นี้เรียกว่าการเกิดกายรุ้ง ซึ่งเกิดในช่วงของการแตกสลายของธาตุทั้ง 4 เพื่อเข้าสู่แสงแห่งปัญญาของสัมโภคกาย ส่วนโทเกียวคือการเดินดิ่งเข้าสู่พุทธภาวะ ผู้บรรลุเมื่อสิ้นชีพก็เกิดกายรุ้งเช่นกันแต่ กายรุ้งนั้นจะเห็นได้เฉพาะผู้บรรลุแล้วเท่านั้น วิธีปฏิบัติเมกาเดมีชื่อเรียกว่าณิงติก ได้เรียกชื่อตามพระอาจารย์ที่ค้นพบหรือถ่ายทอดเช่นเจดซุงณิงติกถ่ายทอดโดยท่ายเจดซุง คานโดณิงติกโดยท่านเปดมาเล เดเซล กามาณิงติกโดย กามาปะที่3 และรางชุงโดเจ โดเซมณิงติกโดยท่านไวโรจน ลองเชนณิงติกโดยจิกเมลิงปะและเซซุมโอเซลณิงติกโดยจัมยังเคนเซวังโป ในจำนวนณิงติกทั้งปวงที่แพร่หลายและสมบูรณ์ที่สุดคือวิมาณิงติกซึ่งท่านวิมลมิตรได้นำเข้าธิเบต คานโดณิงติกซึ่งท่านกูรูรินโปเช่นำเข้าธิเบต และได้ค้นพบ เรียบเรียงให้เป็นหมวดหมู่เป็นระเบียบโดยลองเชนรับจัมในราวศตวรรษที่13 ในศตวรรษที่17 ท่านจิกเมลิงปะได้รวมวิมาณิงติกและคานโดณิงติกเข้าด้วยกัน โดยให้ชื่อว่าลองเชนณิงติก

    กริยาตันตระ

    เป็นการปฏิบัติภายนอกเพื่อนำไปสู่การชำระล้าง โดยการปฏิบัติพิธีกรรมด้วยกายและวาจา พลังทิพย์ที่ได้คือธาตุสูงสุดแห่งความเป็นพุทธ คือปัญญาสูงสุด ซึ่งปัญญาที่ได้มายังประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นได้ ในเชิงจิตวิทยา ตัวผู้ปฏิบัติเปรียบเสมือนผู้รับใช้ในพลังแห่งพุทธนั้น การบำเพ็ญปฏิบัติด้วยความวิริยะ เพื่อรับใช้พลังนั้นด้วยด้วยมั่นใจว่าด้วยความสัมพันธ์นี้จะนำพาผู้ปฏิบัติเข้าสู่พลังทิพย์แห่งพุทธนั้น ความสำเร็จในการเข้าสู่พลังทิพย์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอนโดยใช้เวลาในการปฏิบัตินี้ 16 ชาติมนุษย์ การปฏิบัติหีนยานและมหายานที่ได้ปฏิบัติมาเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของการเริ่มต้นปฏิบัติตันตระนี้

    จริยาตันตระ

    เป็นการปฏิบัติเพิ่มเติมต่อเนื่องจากกริยาตันตระซึ่งปฏิบัติพีธีกรรมด้วยกายและวาจา จริยาตันตระเน้นการปฏิบัติสมาธิ คือการปฏิบัติจิต ควบคู่กันไปด้วย มุมมองของจริยาตันตระคือ ผู้ปฏิบัติและพลังทิพย์แห่งพุทธอยู่ในระดับเดียวกัน เปรียบเหมือนเพื่อน เหมือนพี่ เหมือนน้อง การปฏิบัติจะใช้การเพ่งนิมิตหรือการสร้างมโนทัศน์ ถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในมันดาลา ซึ่งประกอบด้วยองค์วัชรกาย องค์ยิดัม โพธิสัตว์ ธรรมบาล มโนทัศน์ในสมาธิจิตว่าตัวผู้ปฏิบัติก็คือองค์สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น เมื่อเราได้ปฏิบัติไปถึงระดับหนึ่ง เราจะพบว่าถึงแม้องค์สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือพลังทิพย์นั้นแม้จะอยู่ในระดับเดียวกับเรา แต่ก็ยังแยกต่างหากจากตัวเรา นี่คือจุดประสงค์ของการบรรลุสู่วัชรธารา การปฏิบัตินี้ด้วยความวิริยะสามารถบรรลุความเป็นพุทธในเวลา 7 ชาติมนุษย์

    โยคะตันตระ

    แบ่งออกเป็นสองส่วนคือส่วนนอกซึ่งเรียกว่าอุปโยคะตันตระและส่วนใน เรียกว่าอนุตรโยคะตันตระ อุปโยคะตันตระ ถือว่าพิธีกรรมที่ถูกต้องบริสุทธิ์และการปฏิบัติที่เคร่งคัด เป็นเพียงการช่วยเหลือไปสู่การบรรลุสู่พลังทิพย์แห่งพุทธภาวะ สิ่งสำคัญที่ต้องเพ่งคือ ในช่วงสมาธิจิตอันมั่นคงให้มองลึกเข้าไปในสมาธิจิตนั้นให้เห็นการมานะปฏิบัติเพื่อรับใช้พลังทิพย์ ได้เกิดพลังขึ้น นั่นคือพลังแห่งการปฏิบัติได้เข้าผสมรวมกับพลังทิพย์แห่งพุทธภาวะ เป็นการเข้ารวมกับปัญญาอันสูงสุด และเข้ากันโดยไม่เหลือร่องรอย คือไม่เหลือขั้วใดๆ คือการเข้าสู่การรู้แจ้งในศูนยตาสภาวะ การปฏิบัติเพื่อเข้าสู่ศูนยตาสภาวะหรือสภาวะอันไม่มีขั้ว เกิดจากการปฏิบัติมุทราทั้งสี่ คือมหามุทรา ธรรมมุทรา ซามายามุทรา กามามุทรา ขันธ์ 5 และอารมณ์ 5 ถูกแปรเปลี่ยนเป็นพระพุทธเจ้า5พระองค์หรือก็คือปัญญาอันสูงสุดทั้ง5 มหามุทราเป็นส่วนขยายความเพิ่มออกมาจากปรัชญาปารามิตา ซึ่งเน้นในการรู้แจ้งภายใน ในวัชรยานจุดเริ่มต้นของมหามุทราได้ต่อเชื่อมกับสมาธิราชาสุตตะซึ่งก็คือความหมายเบื้อง ลึกของปรัชญาปารามิตา พระอาจารย์ผู้บรรลุและเชี่ยวชาญในสายการปฏิบัติมหามุทราเรียกว่ามหาสิทธะ ส่วนใหญ่และจะไม่ใช่ภิกษุสงฆ์ แต่เป็นผู้ปฏิบัติสำเร็จมรรคผลในเบื้องลึกสุดยอดแห่งปรัชญาปารามิตา อยู่ในศูนยตาสภาวะ อยู่ในความไม่มีขั้ว พระอาจารย์ผู้มีชื่อเสียง อาทิ ซาราฮา ติโลปะ นาโรปะ มารปะ มิลาเรปะ อนุตรโยคะตันตระ ซึ่งเป็นตันตระในและถือเป็นส่วนที่คาบเกี่ยวกันระหว่างตันตระนอกและในคัมภีร์หลักของอนุตระตันตระคือ กูเฮี้ยสมัชชา คำว่ากูเฮี้ยแปลว่าไม่ได้เปิดเผย ความหมายของกูเฮี้ยสมัชชา คือกายวาจาใจของพระพุทธเจ้าในส่วนที่ไม่ได้นำเสนอต่อสมัชชาสงฆ์ปัจเจกพุทธและ ผู้ปฏิบัติทั่วไปในมหายานคำภีร์นี้ได้เปิดเผยในธิเบตตะวันออกโดยบันฑิตสัมฤทธิฌานะในศตวรรษที่ 11

    มหาโยคะ

    มหาโยคะจัดอยู่ในตันตระภายในซึ่งจัดอยู่ในช่วงของการพัฒนา ในคำสอนของพุทธศาสนาทั่วไปได้จัดความจริงออกเป็นสองประเภทคือความจริงทางโลกียะ หรือสมมุติสัจและความจริงทางโลกุตระหรือปรมัตถ์สัจ แต่ในมหาโยคะจะพูดถึงความจริงที่3 ความจริงที่3สอนให้ใช้อารมณ์ทุกอารมณ์ ทุกสภาพแวดล้อม ทุกสถานการณ์ ให้เป็นยานพาหนะนำไปสู่สมาธิซึ่งคงที่และสูงยิ่งๆขึ้นเพื่อบรรลุมรรคผลในชาตินี้ ทุกสถานการณ์ ทุกอายตนะสามารถแปรเปลี่ยนเป็นมันดาลา องค์พุทธ ยิดัม ธรรมบาล ประทับอยู่มากมาย ซึ่งหลากหลายรูปลักษณ์ กระแส เสียงและสีสัน ทั้งปวงถือเป็นการแบ่งภาคมาจากตรีกาย ในการปฏิบัติศาทนะ(พีธีกรรม มุทรา มนตรา)จะทำให้จิตของผู้ปฏิบัติใสดังเช่นกระจก เป็นมันดาลาที่ใสบริสุทธิ์ มหาโยคะเน้นในการสร้างมโนทัศน์ในสมาธิจิต

    อนุโยคะ

    อนุโยคะจัดอยู่ในช่วงของการบังเกิดผล โดยเน้นไปที่ความรู้สึกในศูนยตาของมันดาลา ภาพมันดาลาในมหาโยคะเปรียบดังภาพในมิติเดี่ยว แต่ภาพเดียวกันในมันดาลาเปรียบดังภาพหลายมิติสามารถบ่งบอกถึงอารมณ์ในศูนยตา ในอนุโยคะ รูป เสียง สัมผัส ในสรรพสิ่งที่เรารู้สึกได้ ให้มีความรู้สึกในอารมณ์แห่งศูนยตา ความรู้สึกเช่นนี้ถือเป็นลัญลักษณ์ความรู้สึกของธรรมกาย ซึ่งเรียกว่ากุนตูซังโม ภาพที่เห็นหรือสิ่งที่ปรากฏขี้นคือสัญลักษณ์ของธรรมกายเปรียบดังเพศชาย ส่วนความรู้สึกในศูนยตาของธรรมกายคือกุนตูซังโม เปรียบดังเพศหญิง การรวมกันของกุนตูซังโปและกุนตูซังโมเกิดสภาวะอิสระแห่งจักรวาลหรือพุทธภาวะ หรือสภาวะเหนือเหตุและผล การปฏิบัติอนุโยคะได้ด้วยการฝึกบังคับลมปราณต่างๆในร่างเพื่อนำพาร่างวัชรของเรา คือกุนตูซังโปเข้ารวมกับความรู้สึกแห่งศูนยตาคือกุนตูซังโม เพื่อบังเกิดผลในสภาวะอิสระแห่งจักรวาล

    อธิโยคะ

    อธิโยคะคือการแสดงออกที่สมดุลย์การเข้ากันได้อย่างดีที่ สุดของสิ่งที่ปรากฏและความรู้สึกแห่งศูนยตา ดังนั้นอธิโยคะจึงเน้นที่พุทธภาวะหรือสภาวะเหนือเหตุและผลดั้งเดิมซึ่งมีอยู่ประตัวในทุกสรรพสิ่ง สรรพสิ่งเกิดขึ้นพร้อมกับปัญญาดั้งเดิม ปัญญาดั้งเดิมนำพาเข้าสู่สภาวะอิสระแห่งจักรวาลดั้งเดิมนั่นคือพุทธภาวะ สภาวะอิสระแห่งจักรวาลจึงเป็นสภาวะอันปราศจากรูปแบบ ปราศจากมิติ การแตกแยกหรือการรวมกลุ่มใดๆ และสภาวะนั้นก็ไม่จำเป็นต้องสร้างให้เกิดขึ้นเพราะว่ามันมีอยู่แล้ว ด้วยสภาวะจิตอิสระแห่งพุทธนั้น แม้แต่กายหยาบก็สามารถนำพาเข้าเอกภาวะนั้นได้ด้วย และกายนั้นก็ไม่ต้องถูกยึดติดด้วยเหตุผลใดๆหรือมิติใดๆ

    ในคำสอนอธิโยคะ ซึ่งถือเป็นคำสอนสูงสุดของทุกยานที่มีอยู่ มีคำสอน หกล้านสี่แสนประโยด ซึ่งเปิดเผยและถ่ายทอดสู่โลกมนุษย์โดยวัชรสัตโต โดยการับโดเจเป็นผู้รับมอบ ซึ่งถือเป็นส่วนน้อยนิดที่ที่ได้ถ่ายทอดออกมา ยังมีอีกมากมายมหาศาลที่ไม่ได้ถ่ายทอดออกมา อธิโยคะมาจากองค์ธรรมกายสมันตรภัทร(กุนตูซังโป)ถ่ายทอดสู่วัชรสัตโตองค์สัมโภคกาย ถ่ายทอดต่อยังการับโดเจองค์นิรมานกายซึ่งเป็นมนุษย์คนแรกที่ได้รับถ่ายทอด จากนั้นสู่มัญชูศรีมิตตา ซึ่งมัญชูศรีมิตตาได้นำคำสอนหกล้านสี่แสนประโยคไปจัดกลุ่มเป็นเซมเด ลองเด เมกาเด และถ่ายทอดให้ศรีสิงหะ ศรีสิงหะได้แบ่งเมกาเดออกเป็นสี่ระดับ ระดับนอก ระดับใน ระดับลับ และระดับลับสุดยอดและได้ถ่ายทอดสู่ ฌานะสุตตะ กูรูรินโปเช่ และไวโรจนะ ฌานะสุตตะได้ถ่ายทอดให้วิมลมิตร และวิมลมิตรยังได้รับการถ่ายทอดจากการับโดเจโดยตรงในมิติแห่งนิมิตร ไวโรจนะ วิมลมิตร และกูรูรินโปเช่ได้นำคำสอนทั้งหมดเข้าสู่ธิเบตและได้ตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้

    คำว่าตันตระคือการต่อเนื่องซึ่งมีและไม่มีจุดเริ่มต้นและจุด ที่จบในขณะเดียวกันดังเช่นการดำเนินไปบนเส้นรอบวง ด้วยว่าทุกจุดเป็นจุดเริ่มและจบได้ด้วยกันทั้งนั้น ในวัชระยาน สภาวะอิสระแห่งพุทธได้เกิดขึ้นพร้อมกับจักรวาล เกิดขึ้นด้วยศูนยตาสภาวะ การดำเนินไป การวิวัฒนาการ แห่งสรรพสิ่ง ดำเนินไปบนเส้นรอบวง ทุกจุดบนเส้นรอบวงไม่ใช่จุดเริ่มต้นและไม่ใช่จุดจบ เช่นกันทุกจุดบนเส้นรอบวงก็เป็นได้ทั้งจุดเริ่มต้นและจุดจบ ดังนั้น ทุกจุดจึงสามารถเป็นจุดแห่งสภาวะอิสระดังเดิมได้ทั้งนั้น ฉะนั้นการเดินทางของพุทธตันตระคือการเดินไปมองไปเพื่อให้จำให้ได้ว่านี่คือจุดเริ่มต้นของเราอธิโยคะ ก็คือการชี้ตรงลงไปเลยว่าจุดนี้คือจุดแห่งสภาวะอิสระดั้งเดิมแห่งเรา และเราจะอยู่ในจุดนี้จุดที่อิสระจากการควบคุมใดๆจุดที่อยู่นอกเหนือจากมิติ เหตุและผลใดๆทั้งปวง
     

แชร์หน้านี้

Loading...