มุ่งเต็มใจ เมื่อได้พุทธภูมิแล้วจักช่วยให้ผู้อื่นได้ด้วย

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย มุ่งเต็มใจ, 18 มกราคม 2011.

  1. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    ใช้ปัญญาช่วยชีวิตชายแก่

    [​IMG]
    สมัยนั้น มีพราหมณ์ชราคนหนึ่งเที่ยวขอเงิน ได้เงินมา ๑,๐๐๐ กหาปณะ ก็ไปฝากไว้กับเพื่อน ครั้นเวลาไปขอเงินคืน พราหมณ์ผู้เป็นเพื่อนใช้เงินที่ฝากไว้หมดแล้วจึงยกลูกสาวมาให้เป็นภริยา นางพราหมณีนั้นยังสาวได้เป็นชู้กับพราหมณ์หนุ่มคนหนึ่ง ต่อมา นางอยากได้คนใช้ จึงเตรียมข้าวตูจนเต็มถุง แล้วมอบให้พราหมณ์สามีออกไปเที่ยวขอเงิน


    พราหมณ์ชราเที่ยวขอเงินระหว่างทาง โดยหวังว่าจะได้นำเงินไปว่าจ้างคนใช้ให้ภรรยาได้เป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย โดยหารู้ไม่ว่าน้องนางได้นอกใจตัวเอง ช่วงบ่าย เมื่อเดินขอทานจนเหนื่อยแล้ว พราหมณ์ได้พักกินข้าวตูใต้ต้นไม้ริมธารแห่งหนึ่ง กินอิ่มแล้วก็ลงไปดื่มน้ำ ล้างหน้าล้างตาด้วยความชุ่มฉ่ำใจ จากนั้นก็รีบออกเดินทางกลับบ้านเพื่อไปหาภรรยาสาว


    ระหว่างทาง เทวดาองค์หนึ่งได้บอกพราหมณ์ว่า “พราหมณ์เอ๋ย ถ้าวันนี้ท่านพักระหว่างทาง ท่านจะต้องตาย แต่ถ้าท่านไปถึงบ้าน ภรรยาของท่านจะต้องตาย” พราหมณ์ชราฟังแล้วก็ตกใจ ครั้นจะถามต่อว่าอะไรเป็นสาเหตุให้ตัวเองต้องตาย เทวดาก็หายวับไปเสียก่อน จึงได้แต่เดินร้องไห้คร่ำครวญกลัวตาย ไปจนถึงประตูนครพาราณสี วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ เป็นวันที่เสนกบัณฑิตแสดงธรรม มหาชนจึงพากันไปฟังธรรม พราหมณ์ชราเห็นเข้าก็เดินตามไป แต่เนื่องจากกลัวตาย จึงได้แต่ยืนร้องไห้อยู่ข้างนอก


    [​IMG]
    เสนกบัณฑิตมองเห็นพราหมณ์ชรายืนร้องไห้อยู่ จึงเรียกเข้ามาถาม ท่านรู้ด้วยปัญญาที่เฉียบแหลม สามารถไตร่ตรองต้นสายปลายเหตุได้ชัดเจนว่า “ตอนที่พราหมณ์ทานข้าวเสร็จ ไม่ได้มัดปากถุงเอาไว้ เดินลงไปดื่มน้ำ จึงไม่ทราบว่างูเข้าไปอยู่ในถุงกระสอบ ถ้าพราหมณ์พักระหว่างทาง ก็จักแก้ปากกระสอบแล้วสอดมือเข้าไปเอาข้าวตูออกมารับประทาน เมื่อเป็นเช่นนั้น งูพิษก็จะกัดมือเขาให้เสียชีวิตทันที แต่ถ้าพราหมณ์ไปถึงบ้าน มอบถุงกระสอบมรณะให้ภรรยา พอนางล้วงมือไปแก้ปากถุงเพื่อสำรวจของที่พราหมณ์ได้มา อสรพิษร้ายก็จะฉกกัดนางให้สิ้นใจตายทันที”


    เสนกบัณฑิตบอกพราหมณ์ให้วางกระสอบลงแล้วเอาไม้เคาะ พราหมณ์สงสัยว่าเสนกะจะค้นกระสอบตัวเองทำไม แต่ก็ทำตามด้วยความงุนงง ทันทีที่ปากกระสอบถูกเปิดออก งูเห่าหม้อตัวใหญ่ก็เลื้อยออกจากปากกระสอบชูคอเห่าฟู่ๆ ทำเอามหาชนตกอกตกใจกันใหญ่ จากนั้นก็แซ่ซร้องสาธุการในปัญญาอันเฉียบแหลมของพระโพธิสัตว์ เสนกบัณฑิตได้บอกให้ช่วยกันจับงูพิษไปปล่อย ส่วนพราหมณ์ก็ปีติดีใจที่ตัวเองรอดตายแล้ว


    เสนกบัณฑิตบอกพราหมณ์ว่า “ท่านพราหมณ์เอ๋ย ภรรยาของท่านยังสาว เขาคงกำลังเป็นชู้กับชายอื่น จึงส่งท่านไปขอทาน ถ้าหากท่านไปถึงบ้าน นางจะให้เงินที่ท่านหามาได้ด้วยความยากลำบากแก่ชายชู้” พราหมณ์ชรารีบเดินทางกลับบ้านเพื่อจะไปดูให้แน่ชัดว่า เมียเป็นชู้จริงหรือ ครั้นพิสูจน์ทราบดังนั้นแล้ว จึงเลิกกับนางเด็ดขาด แล้วมาขออยู่ประพฤติธรรมกับเสนกบัณฑิตจนตลอดอายุขัย
     
  2. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    ทางมาแห่งปัญญา

    [​IMG]

    ทางมาแห่งปัญญา
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้เรามีความเคารพอ่อนน้อมใน ๗ อย่าง ได้แก่ เคารพในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ การศึกษา การทำสมาธิ ความไม่ประมาท และปฏิสันถาร เพราะสิ่งที่ควรเคารพทั้ง ๗ ประการนี้ เป็นประธานของทางมาแห่งคุณธรรม เมื่อเราสามารถตรองจนตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งที่ควรเคารพอย่างยิ่งนี้ ต่อไปเราก็จะสามารถตรองถึงความดีของคนอื่น และสิ่งอื่นได้ชัดเจน ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น เราย่อมจะกลายเป็นผู้รู้จริง และทำได้จริง ผู้ที่จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ได้รับการยกย่องนับถือจากคนอื่นตลอดไป จะต้องเป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่ในหัวใจ

    ดังนั้น นักสร้างบารมีทั้งหลายต้องเป็นผู้มากด้วยความเคารพ มองแต่คุณงามความดีของผู้อื่น และน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติ ไม่คอยจับผิด ไม่ถือทิฐิมานะ มีความอ่อนน้อมถ่อมตนในทุกสถาน คนที่อ่อนโยนไม่ใช่คนอ่อนแอ และคนที่แข็งแกร่งไม่ใช่แข็งกระด้าง ถ้าหมั่นแสวงหาปัญญาผ่านความเคารพอ่อนน้อมถ่อนตนเป็นประจำแล้ว ต่อไปตัวเราก็จะกลายเป็นที่รวมแห่งคุณธรรมความดี ใครมีความรู้ดีๆ ก็อยากถ่ายทอดโดยไม่ปิดบังอำพราง เหมือนมหาสมุทรเป็นที่รวมของแม่น้ำทุกสายที่ไหลมาจากทั่วสารทิศ เมื่อปัญญาบารมีเต็มเปี่ยมจะทำให้ตัวเรามีดวงปัญญาสว่างไสวดุจดวงตะวันทอแสง ขจัดอวิชชาให้หมดสิ้นจากใจได้ในที่สุด

    “ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐที่สุด เหมือนดวงจันทร์ประเสริฐกว่าหมู่ดาว”
     
  3. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ขอถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา พระพุทธเจ้าในพุทธศาสนา นิกายเถรวาทและมหายาน ส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ของ คุณประโยชน์ ส่งกลิ่น มหาวิทยาลัยมหิดล มีคัมภีร์พุทธศาสนาเป็นจำนวนมากที่แสดงถึงจำนวนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ว่า มีมากมายยิ่งนัก จนถึงกับมีคำพูดที่ได้ยินกันอยู่เป็นประจำว่า มีมากกว่าเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง ๔ ซึ่งแสดงว่ามีเป็นจำนวนมากมายมหาศาล แต่พระพุทธเจ้าที่มีพระนามและพระประวัติปรากฏอยู่ในคัมภีร์ทางศาสนานั้นมีอยู่ไม่มากนัก สำหรับในบทนี้ จะได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้าที่มีพระนามและพระประวัติปรากฏอยู่ในคัมภีร์อันพอที่จะสืบค้นได้ ทั้งพระพุทธเจ้าในอดีต ในปัจจุบัน และที่จะมาตรัสรู้ในอนาคต เพื่อที่จะได้ทำให้มองเห็นภาพว่า พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์นั้นมีสภาวะแห่งการเกิดขึ้นมาอย่างไร ช่วงระยะเวลาแห่งการเกิดขึ้นห่างกันมากน้อยแค่ไหน และแต่ละพระองค์มีลักษณะที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร เป็นลำดับไป
     
  4. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    พระพุทธเจ้าในอดีต

    ๑. พระพุทธเจ้าในอดีต เรื่องราวอันเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าในอดีต มีกล่าวไว้ในคัมภีร์พุทธศาสนาหลายคัมภีร์ ทั้งที่เป็นพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และหนังสือที่ท่านผู้เป็นปราชญ์ในแต่ละยุคได้รจนาไว้ ด้วยอ้างถึงพระสูตร ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ซึ่งพระโคตมพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ ทรงเป็นสัพพัญญู สมบูรณ์ด้วยทศพลญาณอันไม่ติดขัด ได้ทรงแสดงเรื่องเกี่ยวพระพุทธเจ้าในอดีตเหล่านี้ได้ด้วยพระโอษฐ์ของพระองค์เองแก่พระประยูรญาติ หมู่ภิกษุสงฆ์สาวก เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ณ นิโครธารามมหาวิหารใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ พระสาวกทั้งหลายได้ทรงจำถ่ายทอดโดยการท่องในยุคแรก และจดจารึก เป็นตำราคัมภีร์ในภายหลัง จนสืบต่อมาถึงปัจจุบันนี้ อนึ่ง เนื่องด้วยพระโคตมพุทธเจ้า ยังไม่ได้รับพุทธพยากรณ์ในอดีตพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์แรก คือ พระตัณหังกรพุทธเจ้า พระเมธังกรพุทธเจ้า และพระสรณังกรพุทธเจ้าแห่งสารมัณฑกัป เรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์นี้จึงมีเพียงเล็กน้อย ส่วนพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์ที่มาภายหลังนั้น ได้ให้พุทธพยากรณ์แก่พระโคตมพุทธเจ้าไว้ทุกพระองค์ จึงมีประวัติเรื่องราวแสดงไว้มากกว่า ซึ่งพระประวัติของพระพุทธเจ้า แต่พระองค์นั้นมี แต่จะขอนำเฉพาะรายชื่อของพระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหมด ๒๗ พระองค์ ดังต่อไปนี้
    ๑. พระตัณหังกรพุทธเจ้า
    ๒. พระเมธังกรพุทธเจ้า
    ๓. พระสรณังกรพุทธเจ้า
    ๔. พระทีปังกรพุทธเจ้า
    ๕. พระโกญทัญญพุทธเจ้า
    ๖. พระมังคลพุทธเจ้า
    ๗. พระสุมนพุทธเจ้า
    ๘. พระเรวตพุทธเจ้า
    ๙. พระโสภิตพุทธเจ้า
    ๑๐. พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
    ๑๑. พระปทุมพุทธเจ้า
    ๑๒. พระนารทพุทธจ้า
    ๑๓. พระปทุมุตตรพุทธเจ้า
    ๑๔. พระสุเมธพุทธเจ้า
    ๑๕. พระสุชาตพุทธเจ้า
    ๑๖. พระปิยทัสสีพุทธเจ้า
    ๑๗. พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า
    ๑๘. พระธัมทัสสีพุทธเจ้า
    ๑๙. พระสิทธัตถพุทธเจ้า
    ๒๐. พระติสสพุทธเจ้า
    ๒๑. พระปุสสพุทธเจ้า
    ๒๒. พระวิปัสสีพุทธเจ้า
    ๒๓. พระสิขีพุทธเจ้า
    ๒๔. พระเวสสภูพุทธเจ้า
    ๒๕. พระกกุสันธพุทธเจ้า
    ๒๖. พระโกนาคมนพุทธเจ้า
    ๒๗. พระกัสสปพุทธเจ้า


    พระพุทธเจ้าทั้ง ๒๗ พระองค์ ดังที่ได้นำเสนอมาแล้วนั้น ถือว่าเป็นพระพุทธเจ้าในอดีต ด้วยเหตุว่าทรงอุบัติขึ้นก่อนพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

    และเมื่อยกเว้นพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์แรกแล้ว พระพุทธเจ้าในอดีตเหล่านี้ ได้ให้พุทธพยากรณ์แก่พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ทั้งสิ้น

    และการที่เรียกพระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ทั้งที่ได้ดับขันธปรินิพพานไปนานแล้วนั้น ก็ด้วยเหตุว่าแม้พระองค์จะปรินิพพานไปนานแล้วแต่พระศาสนาคือพระธรรมคำสอนยังดำรงอยู่ ในคัมภีร์สารัตถะสังคหะ แสดงไว้ว่า ตราบใดที่พระสารีริกธาตุมีประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดยังปรากฏอยู่ ตราบนั้นชื่อว่าพระพุทธเจ้ายังทรงดำรงอยู่

    ต่อเมื่อใดอันตรธาน ๕ ประการ มีปริยัตติอันตรธานเป็นเบื้องต้น และมีธาตุอันตรธานเป็นเบื้องปลายได้เกิดขึ้นแล้วจึงจะชื่อว่าหมดยุคแห่งพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
     
  5. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน และพระพุทธเจ้าในอนาคต

    พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ
    ๑.พระโคตมพุทธเจ้า

    พระพุทธเจ้าในอนาคต มีจำนวน ๑๐ พระองค์
    ๑. พระศรีอาริยเมตไตรย
    ๒. พระรามะพุทธเจ้า
    ๓. พระธรรมราชพุทธเจ้า
    ๔. พระธรรมสามีพุทธเจ้า
    ๕. พระนารทพุทธเจ้า
    ๖. พระรังสีมุนีพุทธเจ้า
    ๗. พระเทวเทพพุทธเจ้า
    ๘. พระนรสีหพุทธเจ้า
    ๙. พระติสสพุทธเจ้า
    ๑๐. พระสุมังคลพุทธเจ้า
     
  6. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    พระพุทธเจ้าในพระพุทธศาสนามหายาน

    พระพุทธเจ้าในพระพุทธศาสนามหายาน
    พระพุทธศาสนามหายาน ได้เกิดขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๖-๗ อันเป็นผลของการรวมตัวกันของนิกายต่างๆ ในฝ่ายมหาสังฆิกะ ตั้งเป็นลัทธินิกายใหม่

    เพื่อจะปรับปรุงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ทันสมัยทันเหตุการณ์ สามารถที่จะแข่งขันกับศาสนาพราหมณ์และฮินดู ซึ่งเริ่มกลับมาเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้ง


    การปรับปรุงคำสอนของมหายานนั้น เป็นไปในสองแนว คือ

    แนวคิดที่ให้คนทุกคนปรารถนาพุทธภูมิ บำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ โดยมีพระบรมโพธิสัตว์เป็นที่พึ่ง

    และแนวแห่งการอธิบายพุทธธรรมโดยวิธีทางตรรกวิทยาและปรัชญา อันลึกซึ้งไพศาล
     
  7. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    ความหมายของพระพุทธเจ้า

    ความหมายของพระพุทธเจ้า

    ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามหายานได้กล่าวถึงยาน ๓ ประการเพื่อมุ่งสู่ความหลุดพ้น อันได้แก่ สาวกยาน ปัจเจกยาน และ โพธิสัตวยาน

    โดยที่ สาวกยาน หมายถึง ยานของพระสาวกที่มุ่งสู่อรหัตภูมิ ซึ่งรู้แจ้งในอริยสัจ ๔

    ปัจเจกยาน หมายถึง ยานของพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้รู้แจ้งด้วยตนเอง แต่ไม่อาจแสดงธรรมสั่งสอนผู้อื่นได้

    โพธิสัตวยาน หมายถึง ยานของพระโพธิสัตว์ผู้มีน้ำใจกว้างขวาง ประกอบด้วย พระมหากรุณาในสรรพสัตว์ ก้าวล่วงอรหัตภูมิ จึงกล่าวได้ว่าโพธิสัตวยานเป็นการสร้างเหตุอันมีพุทธภูมิเป็นผล


    หรือกล่าวได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในนิกายมหายานนั้นคือพระโพธิสัตว์ที่ได้สร้างบารมีมาด้วยการช่วยสัตว์ให้พ้นจากความทุกข์นั่นเอง

    มหายานในยุคหลังได้แสดงไว้ว่ามีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ถือกำเนิดมาจากองค์อาทิพุทธะซึ่งเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ประถม และพระโพธิสัตว์ก็ดี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ลงมาตรัสรู้ในโลกมนุษย์ก็ดี ย่อมเกิดจากพระอาทิพุทธเจ้าทั้งสิ้น
     
  8. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    ประเภทของพระพุทธเจ้า

    ประเภทของพระพุทธเจ้า

    พระพุทธศาสนามหายานได้แบ่งประเภทของพระพุทธเจ้ามหายานออกเป็น ๓ ประเภทคือ


    พระอาทิพุทธเจ้า พระฌานิพุทธเจ้า และ พระมานุษิพุทธเจ้า

    พระอาทิพุทธเจ้า นั้นหมายถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ประถม เป็นผู้ให้กำเนิดพระพุทธเจ้าอื่นๆ รวมทั้งพระโพธิสัตว์และสรรพสิ่งต่างๆ เป็นผู้เกิดเองไม่มีเบื้องต้นและเบื้องปลาย

    พระฌานิพุทธเจ้า เกิดขึ้นจากอำนาจฌานของพระอาทิพุทธเจ้า เป็นอุปปาติกะ ไม่ต้องมีบิดามารดาผู้ให้กำเนิด พระฌานิพุทธเจ้าไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เสด็จลงมาตรัสรู้ในโลกมนุษย์ แต่สถิตอยู่ในแดนพุทธเกษตร

    พระมานุษิพุทธเจ้า คือ พระพุทธเจ้าที่เสด็จมาตรัสรู้ในโลกมนุษย์ ถ้าหากมองให้ลึกลงไปแล้วพบว่า พระอาทิพุทธเจ้า พระฌานิพุทธเจ้า และพระมานุษิพุทธเจ้า ล้วนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะต่างถือกำเนิดจากอาทิพุทธเจ้าทั้งสิ้น เพียงแต่เป็นการแปลงรูปให้เหมาะกับการสั่งสอนสัตว์โลกเท่านั้
     
  9. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    ตรีกาย

    ตรีกาย

    ในพระพุทธศาสนาดั้งเดิมกล่าวถึงกายของพระพุทธเจ้าว่ามี ๒ คือ นิรมานกายและพระธรรมกาย


    แต่เมื่อเวลาผ่านไป มหายานได้พัฒนากายที่ ๓ ขึ้นมา เรียกว่า สัมโภคกาย ซึ่งเป็นกายทิพย์

    ๑. นิรมาณกาย คือ กายที่ยังตกอยู่ในไตรลักษณ์ของพระพุทธเจ้า คือความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนมนุษย์ทั่วไป มหายานเชื่อว่า พระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้ในโลกในสภาวะนิรมาณกายนี้ เพราะถูกเนรมิตจากสัมโภคกาย

    ๒. สัมโภคกาย คือกายที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า ซึ่งไม่มีการแตกดับ อยู่ในสภาวะที่เป็นทิพย์ อยู่ชั่วนิรันดร์กาล

    ๓. ธรรมกาย มหายานหมายถึง สภาวะอันเป็นอมตะ เป็นสิ่งไร้รูป ไม่อาจรับรู้ด้วยอำนาจสัมผัส ไม่มีเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด

    กายทั้ง ๓ ของพระพุทธเจ้า ตามหลักสอนของมหายาน จึงมีความเป็นอันเดียวกัน แตกต่างกันเพียงสภาวะของการแสดงออก โดยนิรมาณกายนั้นเป็นการนิรมิตตน มาจากสัมโภคกาย และสัมโภคกายเป็นการนิรมิตตนมาจากธรรมกาย ถือว่าเป็นสภาวะอมตะนิรันดร และไม่อยู่ในการอธิบายใดๆ ทางโลกียวิสัย
     
  10. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    บารมีย่อมขัดเกลาสัตว์อื่น ให้หมดจดจากมลทินคือกิเลส
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2014
  11. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    ปกิณณกกถาบารมี

    ปกิณณกกถาบารมี



    เพื่อความฉลาดหลายประการ ในโพธิสมภารของกุลบุตรทั้งหลาย ผู้ตั้งอยู่ในฐานะนั้น มีความอุตสาหะในการปฏิบัติ เพื่อไปสู่มหาโพธิญาณ จึงควรกล่าวปกิณณกกถาในบารมีทั้งปวง



    ปัญหาในบารมี ๑๖ ข้อ



    ๑. บารมีนั้นคืออะไร ? ๒. บารมีเพราะอรรถว่ากระไร ?



    ๓. บารมีมีกี่อย่าง ? ๔. ลำดับของบารมีเป็นอย่างไร ?



    ๕. อะไรเป็นลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐาน ? ๖. อะไรเป็นปัจจัย ?



    ๗. อะไรเป็นความเศร้าหมอง ? ๘. อะไรเป็นความผ่องแผ้ว ?



    ๙. อะไรเป็นปฏิปักษ์ ? ๑๐. อะไรเป็นข้อปฏิบัติ ?



    ๑๑. อะไรเป็นการจำแนก ? ๑๒. อะไรเป็นการสงเคราะห์ ?



    ๑๓. อะไรเป็นอุบายให้สำเร็จ ? ๑๔. ให้สำเร็จโดยกาลไหน ?



    ๑๕. อะไรเป็นอานิสงส์ ? ๑๖. และอะไรเป็นผลของบารมีเหล่านั้น ?
     
  12. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    คำตอบมีดังต่อไปนี้:-

    ๑. บารมีนั้นคืออะไร ?

    ๑. บารมีคือ คุณธรรมทั้งหลาย มีทานเป็นต้น กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา อันตัณหา มานะ และทิฏฐิไม่เข้าไปกำจัด. * * * * * * * * * * *



    ๒. บารมีเพราะอรรถว่ากระไร ?



    ๒.๑ พระมหาสัตว์ พระโพธิสัตว์เป็นผู้ยอดยิ่ง เพราะสูงกว่าสัตว์ ด้วยการประกอบคุณวิเศษ มีทานและศีลเป็นต้น ความเป็น(ภาวะ) หรือการกระทำของพระโพธิสัตว์เหล่านั้นเป็นบารมี มีการบำเพ็ญทานเป็นต้น.



    ๒.๒ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปรมะ เพราะอรรถว่าบำเพ็ญ ชื่อว่า โพธิสัตตะเพราะอรรถว่าเป็นผู้บำเพ็ญ และเป็นผู้รักษาคุณทั้งหลายมีทานเป็นต้น. คุณดังกล่าวมานี้ เป็นบารมีของผู้บำเพ็ญ. ภาวะก็ดี, กรรมก็ดี เป็นบารมีของผู้บำเพ็ญ. มีการบำเพ็ญทานเป็นต้น.



    ๒.๓ อีกอย่างหนึ่ง บารมีย่อมผูกสัตว์อื่นไว้ในตน ด้วยการประกอบคุณวิเศษ. หรือ

    บารมีย่อมขัดเกลาสัตว์อื่น ให้หมดจดจากมลทินคือกิเลส. หรือ

    บารมีย่อมถึงนิพพานอันประเสริฐที่สุด ด้วยคุณวิเศษ หรือ

    บารมีย่อมกำหนดรู้โลกอื่น ดุจรู้โลกนี้ ด้วยคุณวิเศษคือญาณ อันเป็นการกำหนดแล้ว หรือ

    บารมีย่อมตักตวงคุณมีศีลเป็นต้นอื่น ไว้ในสันดานของตนเป็นอย่างยิ่ง. หรือ

    บารมีย่อมทำลายปฏิปักษ์อื่น จากธรรมกายอันเป็นอัตตา หรือหมู่โจรคือกิเลส อันทำความพินาศแก่ตนนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ปรมะ. สัตว์ใดประกอบด้วยปรมะดังกล่าวมานี้ สัตว์นั้นชื่อว่า มหาสัตว์. หรือ

    บารมีย่อมขัดเกลา คือย่อมบริสุทธิ์ในฝั่งคือ พระนิพพาน และยังสัตว์ทั้งหลายให้หมดจด. หรือ

    บารมีย่อมผูก ย่อมประกอบสัตว์ทั้งหลายไว้ในนิพพานนั้น. หรือ

    บารมีย่อมไป ย่อมถึง ย่อมบรรลุถึงพระนิพพานนั้น. หรือ บารมีย่อมกำหนดรู้ ซึ่งพระนิพพานนั้นตามความเป็นจริง. หรือ

    บารมีย่อมตักตวง ซัดสัตว์ไว้ในพระนิพพานนั้น. หรือ

    บารมีย่อมกำจัดข้าศึกคือกิเลส ของสัตว์ทั้งหลายไว้ในพระนิพพานนั้น.ฉะนั้น จึงชื่อว่า บารมี.



    บุรุษใดบำเพ็ญบารมีดังกล่าวมานี้ บุรุษนั้นชื่อว่า มหาบุรุษ.

    ความเป็น หรือการกระทำของมหาบุรุษนั้น ชื่อว่า ความเป็นผู้มีบารมี. มีการบำเพ็ญทานเป็นต้น พึงทราบอรรถแห่งศัพท์ว่า บารมี โดยนัยดังกล่าวนี้แล.

    * * * * * * * * * * *
     
  13. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    บารมีโดยย่อมี ๑๐ อย่าง.

    ๓. บารมีมีกี่อย่าง ? ๓. โดยย่อมี ๑๐ อย่าง.

    บารมีเหล่านั้น ปรากฏโดยสรุปในบาลี.

    สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า:- ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นทานบารมี เป็นข้อแรก อันเป็นทางใหญ่ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณ อันยิ่งใหญ่ทั้งหลายแต่ปางก่อน ได้อบรมสั่งสมมาแล้ว.

    ดังที่พระสารีบุตร ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันทำให้เป็นพระพุทธเจ้า มีเท่าไร ?

    พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ธรรมอันทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามี ๑๐ ประการแล. ธรรม ๑๐ ประการ คืออะไรบ้าง ?

    ดูก่อนสารีบุตร ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐานะเมตตา อุเบกขา เป็นธรรมทำให้เป็นพระพุทธเจ้า.

    ดูก่อนสารีบุตร ธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้แล เป็นพุทธการกธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้แล้ว



    พระสุคตครั้นตรัสพุทธพจน์นี้ พระศาสดาตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า:-

    บารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐานะ เมตตา และอุเบกขา

    แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่ามี ๖ อย่าง. ท่านกล่าวดังนั้น ด้วยการสงเคราะห์บารมีเหล่านั้น. การสงเคราะห์นั้นจักมีแจ้งข้างหน้า.

    * * * * * * * * * * *
     
  14. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    ลำดับของบารมีเหล่านั้นเป็นอย่างไร ?

    ๔. ลำดับของบารมีเหล่านั้นเป็นอย่างไร ?


    ๔.๑ บทว่า กโม(ลำดับ) ในบทว่า โก ตาสํ กโม นี้เป็นลำดับแห่งเทศนา. อนึ่งลำดับนั้น เป็นเหตุแห่งการสมาทานครั้งแรก. การสมาทานเป็นเหตุแห่งการค้นคว้า.ด้วยประการฉะนี้ จึงเป็นอันแสดงโดยอาการค้นคว้า และสมาทานในเบื้องต้น.

    ในบารมีเหล่านั้น ทานมีอุปการะมากแก่ศีล และทำได้ง่าย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวทานนั้นไว้ในเบื้องต้น.

    ทาน อันศีลกำหนด จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวศีลในลำดับของทาน.

    ศีล อันเนกขัมมะกำหนด…

    เนกขัมมะ อันปัญญากำหนด…

    ปัญญา อันวิริยะกำหนด…

    วิริยะ อันขันติกำหนด…

    ขันติ อันสัจจะกำหนด…

    สัจจะ อันอธิษฐานกำหนด…

    อธิษฐาน อันเมตตากำหนด…

    เมตตา อันอุเบกขากำหนด จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวอุเบกขา ในลำดับแห่งเมตตา.

    แต่พึงทราบว่า อุเบกขาอันกรุณากำหนด และกรุณาอันอุเบกขากำหนด. พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย มีมหากรุณา จึงเป็นผู้มีอุเบกขาในสัตว์ทั้งหลาย อย่างไร ?


    อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้วางเฉยตลอดอย่างใดอย่างหนึ่งในกาลที่ควรวางเฉย แต่ไม่วางเฉยในที่ทั้งปวง และโดยประการทั้งปวง.

    ส่วนอาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ไม่วางเฉยในสัตว์ทั้งหลายแต่วางเฉยในความไม่เหมาะสมที่สัตว์กระทำ.
     
  15. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    ลำดับของบารมีเหล่านั้นเป็นอย่างไร ?อีกนัยหนึ่ง

    ๔.๒ อีกนัยหนึ่ง ท่านกล่าว ทาน ในเบื้องต้น -เพราะเป็นสิ่งทั่วไปแก่สรรพสัตว์ โดยเป็นไปแม้ในชนเป็นอันมาก -เพราะมีผลน้อย -และเพราะทำได้ง่าย.



    ท่านกล่าว ศีล ในลำดับของทาน -เพราะความบริสุทธิ์ ของผู้ให้และผู้รับด้วยศีล -เพราะกล่าวถึงการอนุเคราะห์ผู้อื่น แล้วกล่าวถึงความไม่เบียดเบียนผู้อื่น -เพราะกล่าวถึงธรรมที่ควรทำ แล้วกล่าวธรรมที่ไม่ควรทำ -เพราะกล่าวถึงเหตุแห่งโภคสมบัติ แล้วจึงกล่าวถึงเหตุแห่งภวสมบัติ.



    ท่านกล่าว เนกขัมมะ ในลำดับของศีล เพราะความสำเร็จศีลสมบัติ ด้วยเนกขัมมะ -เพราะกล่าวถึงกายสุจริตและวจีสุจริต แล้วจึงกล่าวถึงมโนสุจริต -เพราะศีลบริสุทธิ์ ให้สำเร็จฌานโดยง่าย -เพราะกล่าวถึงความบริสุทธิ์ในความขวนขวาย(ปโยคะ) ด้วยการละโทษของกรรม แล้วกล่าวถึงความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัย ด้วยการละโทษของกิเลส -และเพราะกล่าวถึงการละความก้าวล่วง(วีติกกมะ) แล้วกล่าวถึงการละความครอบงำจิต (ปริยุฏฐาน).



    ท่านกล่าว ปัญญา ในลำดับเนกขัมมะ -เพราะความสำเร็จ ความบริสุทธิ์แห่งเนกขัมมะ ด้วยปัญญา -เพราะกล่าวถึงความมีปัญญา ด้วยความมีฌาน. จริงอยู่ ปัญญามีสมาธิเป็นปทัฏฐาน และสมาธิ มีปัญญาเป็นปัจจุปัฏฐาน. -เพราะกล่าวถึงสมถะนิมิต แล้วจึงกล่าวถึงอุเบกขานิมิต -เพราะกล่าวถึงความฉลาดในอุบายอันทำประโยชน์แก่ผู้อื่น ด้วยการตั้งใจทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น.



    ท่านกล่าว วิริยะ ในลำดับของปัญญา -เพราะความสำเร็จกิจแห่งปัญญา โดยการปรารภความเพียร -เพราะกล่าวถึงสัตตสุญญตาธัมมนิชฌานักขันติ(ปัญญาที่สามารถไตร่ตรองสภาวะธรรมอันเหมาะสมคือความสูญของสัตว์) แล้วจึงกล่าวถึงความอัศจรรย์ ของการปรารภเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ -เพราะกล่าวถึงอุเบกขานิมิต แล้วจึงกล่าวถึงปัคคหนิมิต คือนิมิตในการประคับประคองจิต -และเพราะกล่าวถึงความใคร่ครวญก่อนทำ แล้วจึงกล่าวถึงความเพียรเพราะความเพียรของผู้ใคร่ครวญแล้วทำ ย่อมนำมาซึ่งผลวิเศษ.



    ท่านกล่าว ขันติ ในลำดับของความเพียร -เพราะความสำเร็จแห่งความอดกลั้น ด้วยความเพียร. จริงอยู่ คนมีความเพียรย่อมครอบงำทุกข์ ที่สัตว์และสังขารนำเข้าไป เพราะปรารภความเพียรแล้ว. -เพราะความความอดกลั้น เป็นอลังการของเพียร จริงอยู่ ความอดกลั้นของผู้มีความเพียรย่อมงาม -เพราะกล่าวถึงปัคคหนิมิต แล้วจึงกล่าวถึงสมถนิมิต -เพราะกล่าวถึงการละอุทธัจจะและโทสะ ด้วยความเพียรยิ่ง จริงอยู่อุทธัจจะและโทสะละได้ ด้วยปัญญาที่สามารถไตร่ตรองสภาวะธรรมอัน เหมาะสม(ธัมมนิชฌานักขันติยา). -เพราะกล่าวถึงการทำความเพียรติดต่อ ของผู้มีความเพียร. จริงอยู่ ผู้หนักด้วยขันติเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ทำความเพียรติดต่อ -เพราะกล่าวถึงความไม่มีตัณหาเพื่อทำตอบ ในการปรารภทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ของผู้ไม่ประมาท. จริงอยู่ เมื่อความเพ่งธรรมตามความเป็นจริงมีอยู่ตัณหาย่อมไม่มี. -และเพราะกล่าวถึงความอดกลั้นทุกข์ที่ผู้อื่นทำ ในการปรารภประโยชน์เพื่อผู้อื่น.



    ท่านกล่าว สัจจะ ในลำดับของขันติ -เพราะขันติตั้งอยู่ได้นาน ด้วยสัจจะ -เพราะกล่าวถึงความอดทนต่อความเสียหายของผู้ทำความเสียหาย แล้วกล่าวถึงความไม่ผิดพลาดในการทำอุปการะนั้น. -และเพราะกล่าวถึงสัตตสุญญตาธัมมนิชฌานักขันติ(ปัญญาที่สามารถไตร่ตรองสภาวะธรรมอันเหมาะสมคือความสูญของสัตว์) แล้วกล่าวถึงสัจจะอันเป็นญาณเพิ่มพูนขันตินั้น.



    ท่านกล่าว อธิษฐาน ในลำดับของสัจจะ -เพราะความสำเร็จแห่งสัจจะ ด้วยอธิษฐาน เพราะการงดเว้นย่อมสำเร็จแก่ผู้ตั้งใจไม่หวั่นไหว. -เพราะกล่าวคำไม่ผิดความจริง แล้วกล่าวถึงความเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ในการกล่าวคำไม่ผิดความจริงนั้น จริงอยู่ ผู้วางใจได้ไม่หวั่นไหว(สัจจสันธะ)ประพฤติตามสมควรแก่ปฏิญญาในทานเป็นต้น -เพราะกล่าวญาณสัจจะแล้ว จึงกล่าวถึงการเพ่งความเป็นไปในสัมภาระทั้งหลาย จริงอยู่ ผู้มีญาณตามเป็นจริง ย่อมอธิษฐานโพธิสมภารทั้งหลาย และยังโพธิสมภารนั้นให้สำเร็จ -เพราะไม่หวั่นไหว ด้วยปฏิปักษ์ทั้งหลาย.



    ท่านกล่าว เมตตา ในลำดับแห่งอธิษฐาน -เพราะความสำเร็จแห่งอธิษฐาน ด้วยการสมาทานทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นด้วยเมตตา -เพราะกล่าวถึงอธิษฐาน แล้วจึงกล่าวถึงการนำประโยชน์เข้าไป เพราะผู้ดำรงมั่นในโพธิสมภาร เป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา. -และเพราะผู้มีอธิษฐานไม่หวั่นไหว ยังสมาทานให้เจริญ ด้วยการไม่ทำลายสมาทาน. ท่านกล่าว อุเบกขา ในลำดับแห่งเมตตา -เพราะความบริสุทธิ์แห่งเมตตา ด้วยอุเบกขา -เพราะกล่าวถึงการนำประโยชน์ในสัตว์ทั้งหลาย แล้วจึงกล่าวถึงความไม่สนใจโทษผิดของผู้นั้น -เพราะกล่าวถึงเมตตาภาวนา แล้วกล่าวถึงความเจริญอันเป็นผลของเมตตาภาวนานั้น -และเพราะกล่าวถึงความเป็นคุณน่าอัศจรรย์ว่า ผู้วางเฉย แม้ใคร่ประโยชน์ในสัตว์ พึงทราบลำดับแห่งบารมีทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยประการ ฉะนี้แล.

    * * * * * * * * * * *
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2014
  16. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    อะไรเป็นลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐานของบารมี

    ๕. ในบทว่า อะไรเป็นลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐานของบารมี

    ๕. พึงทราบความดังต่อไปนี้.

    โดยความไม่ต่างกัน บารมีแม้ทั้งหมด มีการอนุเคราะห์ผู้อื่นเป็นลักษณะ มีการทำอุปการะแก่ผู้อื่นเป็นรส. หรือมีความไม่หวั่นไหวเป็นรส.

    มีการแสวงหาสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นปัจจุปัฏฐาน หรือ มีความเป็นพระพุทธเจ้าเป็นปัจจุปัฎฐาน

    มีพระมหากรุณาเป็นปทัฏฐาน. หรือ มีความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณาเป็นปทัฏฐาน.


    แต่โดยความแตกต่างกัน เจตนาบริจาคเครื่องอุปกรณ์ของตน กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา เป็นทานบารมี.

    กายสุจริต วจีสุจริต กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณาโดยใจความ เจตนาเป็นต้น ที่เว้นสิ่งไม่ควรทำ และทำสิ่งที่ควรทำ เป็นศีลบารมี.

    จิตเกิดขึ้นเพื่อจะออกจากกามภพ มีการเห็นโทษเป็นอันดับแรก กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา เป็นเนกขัมมะบารมี.

    ความเข้าใจถึงลักษณะวิเศษอันเสมอกันแห่งธรรมทั้งหลาย กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา เป็นปัญญาบารมี.

    การปรารภถึงประโยชน์ของผู้อื่น ด้วยกายและจิต กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา เป็นวิริยะบารมี.

    การอดกลั้นโทษของสัตว์และสังขาร กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา การตั้งอยู่ในอโทสะ จิตเกิดขึ้นเป็นไปในอาการของอโทสะนั้น เป็นขันติบารมี.

    การพูดไม่ผิดมีวิรัติเจตนาเป็นต้น กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา เป็นสัจบารมี.

    การตั้งใจสมาทานไม่หวั่นไหว กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา จิตเกิดขึ้นเป็นไป ในอาการแห่งความตั้งใจสมาทานไม่หวั่นไหวนั้น เป็นอธิษฐานบารมี.

    การนำประโยชน์สุขให้แก่โลก กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา โดยอรรถคือ ความไม่พยาบาท เป็นเมตตาบารมี.

    กำจัดความรัก และความเกลียด กำหนดด้วยความเป็นผู้ฉลาดในอุบายแห่งกรุณา. ความเป็นไปเสมอ ในสัตว์และสังขารทั้งหลาย ทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา เป็นอุเบกขาบารมี.
     
  17. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    ลักขณาทิจตุกะของบารมี ๑๐, ทานบารมี

    ทานบารมี มีการบริจาค เป็นลักษณะ

    มีการกำจัดโลภในไทยธรรม เป็นรส.

    มีความไม่ติดข้อง เป็นปัจจุปัฏฐาน. หรือ มีภวสมบัติและวิภวสมบัติ เป็นปัจจุปัฏฐาน.

    มีวัตถุอันควรบริจาค เป็นปทัฏฐาน.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2014
  18. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    ลักขณาทิจตุกะของบารมี ๑๐, ศีลบารมี

    ศีลบารมี มีการละเว้น(สีลน) เป็นลักษณะ.

    ท่านอธิบายว่า มีการสมาทานเป็นลักษณะ และมีการตั้งมั่น เป็นลักษณะ.

    มีการกำจัดความเป็นผู้ทุศีล เป็นรส. หรือมีความไม่มีโทษ เป็นรส.

    มีความสะอาด เป็นปัจจุปัฏฐาน.

    มีหิริ โอตตัปปะ เป็นปทัฏฐาน.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2014
  19. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    ลักขณาทิจตุกะของบารมี ๑๐, เนกขัมมะบารมี

    เนกขัมมะบารมี มีการออกจากกามและจากภพ เป็นลักษณะ.

    มีการประกาศโทษของกามและภพนั้น เป็นรส.

    มีความหันหลังจากกามและภพนั้น เป็นปัจจุปัฏฐาน.

    มีความสังเวช เป็นปทัฏฐาน.

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2014
  20. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    ลักขณาทิจตุกะของบารมี ๑๐ ,ปัญญาบารมี

    ปัญญาบารมี มีการรู้แจ้งแทงตลอดตามสภาวะธรรม เป็นลักษณะ. หรือการรู้แจ้งแทงตลอดไม่พลาด เป็นลักษณะ ดุจการซัดธนูและยิงด้วยลูกศรของคนฉลาด.

    มีแสงสว่างตามวิสัย เป็นรส ดุจประทีป.

    มีความไม่หลง เป็นปัจจุปัฏฐาน. ดุจคนนำทางไปในป่า.

    มีสมาธิเป็นปทัฏฐาน. หรือมีอริยสัจ ๔ เป็นปทัฏฐาน.
     

แชร์หน้านี้

Loading...