**ร้านศิวิไลพระเครื่อง** วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เกจิคณาจารย์ภาคเหนือ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิวิไล, 25 พฤษภาคม 2013.

  1. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,918
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8127

    เหรียญเงินหลวงปู่มงคล คันธวงศ์ (ครูบาศรียูร) วัดมงคล(ทุ่งแป้ง) อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่


    สร้างเมื่อปี 2539 เป็นเหรียญรุ่นแรก (ชื่อรุ่นทศพร) และเป็นเหรียญรุ่นสุดท้ายที่หลวงปู่ปลุกเสก คนในพื้นที่กล่าวถึงประสบการณ์ต่างๆนาๆด้านแคล้วคลาด และด้านเมตตามหานิยม คนในพื้นที่หวงแหนกันมาก

    ราคา 5500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    5.jpg

    55.jpg
    555.jpg

    Clip_16.jpg

    ครูบาศรียูร วัดทุ่งแป้ง ศิษย์ในครูบาเจ้าศรีวิชัยรุ่นเดียวกับครูบาคำหล้า สังวโร ครั้งเป็นพระเคยช่วยครูบาเจ้าจารธรรมในใบลาน ครูบาเจ้าจึงมอบเหล็กจารให้เป็นที่ระลึก ปัจจุบันตกอยู่ที่ครูบาดอนผู้เปนศิษย์เอก ครูบาศรียูรเป็นพระที่สันโดด อยู่อย่างสมถะ ไม่สร้างวัตถุมงคล ไม่ชอบความโด่งความดัง ฉันมื้อเดียว ตีสองทุกวันต้องตื่นมานั่งสมาธิวิปัสนากรรมฐาน ท่านเปนศิษย์ผู้น้องครูบาอิน อินโท เคยมีลูกศิษย์ถามครูบาอินว่าแถวนี้มีครูบาอาจารย์องค์ไหนให้กราบบ้าง ครูบาอินแนะนำว่าครูบาศรียูร วัดทุ่งแป้ง เหมือนเราทุกอย่าง

    Clip_56.jpg
    Clip_54.jpg
    Clip_55.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2021
  2. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,918
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8128

    พระกริ่งไชยวงค์ รุ่นแรก ครูบาชัยวงค์ ปี 27 เนื้อนวะ หมายเลข 562

    ปลุกเสกพิธีตานใช้ตานแทนปี 1 มกราคม 2527 สุดยอดชนวนมวลสารเเละคณาจารย์ร่วมปลุกเสกหลายองค์ อีก 1 ในตำนานของครูบาชัยวงค์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม สวยเดิม ๆ ครับ

    ราคา 4900 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    4.jpg 444.jpg 4444.jpg 44444.jpg

    9.jpg
     
  3. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,918
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8129

    ผ้ายันต์ กงจักรสีแดง หลวงพ่อดาบส สุมโน

    ผ้ายันต์กงจักรพระคุณเจ้าดาบส สุมโน พระผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ ท่านลงอักขระด้วยมือของพระคุณเจ้าฯเอง เห็นเป็น รอยจารดินสอเบาๆ ครับ
    สภาพสวยสมบุรณ์
    พุทธคุณนั้นโดดเด่นในด้านโชคลาภ ทำมาค้าขายดี ร่ำรวยเงินทอง และเมตตามหานิยม ผืนเล็กกระทัดรัดพกพาง่าย น่าใช้มากๆครับ


    บูชาแล้วครับ

    ผ้ายันต์กงจักร ลพ.ดาบส a 1350.jpg ผ้ายันต์กงจักร ลพ.ดาบส b.jpg ผ้ายันต์กงจักร ลพ.ดาบส c.jpg

    Clip_14.jpg Clip_30.jpg

    หลวงพ่อดาบส ท่านเป็นพระอริยะเจ้า เป็นพระบุญฤทธิ์ และ อิทธิฤทธิ์ เป็นพระสุปฏิปันโนที่ควรแก่การสักการะ กราบไหว้ เมื่อท่านมรณภาพแล้วขนาดหัวใจของท่าน ยังเผาไม่ไหม้ แถมยังแปรสภาพเป็นพระธาตุ สีเขียวมรกตครูบาอาจารย์หลายท่าน ให้ความยกย่อง บางท่านให้ศิษย์ไปกราบไว้ ไปทำบุญ ไปเรียนวิชากับท่าน
    “หลวงพ่อดาบส สุมโน
    ” เดิมชื่อ “สง่า” นามสกุล “เจริญจิตต์”
    เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ กัน ยายน ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ พ.ศ.๒๔๖๗ ปีชวด ตำบลบางกระไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
    เป็นลูกคนที่ ๖ ในจำนวนทั้งหมด ๘ คน
    บิดาชื่อ “นายเถียน” มารดาชื่อ “นางเวียง”
    ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๔ ขณะอายุได้ ๗ ปี มารดาก็ถึงแก่กรรมและต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๘ อายุได้ ๑๑ ปี “เด็กชายสง่า” ก็ต้องสูญเสียบิดาบังเกิดเกล้าไปอีกคน จึงอยู่ภายใต้การดูแลของ “คุณป้า” และเริ่มเรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาที่ ๑ โรงเรียนวัดบางกระไชย จบชั้นประถมปีที่ ๔ เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๘
    ครั้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ อายุได้ ๑๘ ปี “คุณป้า” ได้นำ “เด็กชายสง่า” ไปบรรพชาที่ “วัดจันทนาราม จังหวัดจันทบุรี” เพื่อเรียนปริยัติธรรมซึ่งต่อมาสามารถ สอบได้ทั้ง “นักธรรมตรี” และ “นักธรรมโท”
    ในปี พ.ศ.๒๔๘๗ อายุครบ ๒๐ ปี “สามเณรสง่า” จึงอุปสมบทเป็น “พระภิกษุ” โดยมีท่าน “เจ้าคุณอมรโมลี” เป็นอุปัชฌาย์ได้ฉายาว่า “สุมโน” กระทั่งปี พ.ศ.๒๔๘๙ อันเป็นพรรษาที่ ๔ “พระภิกษุสง่า สุมโน” ได้กราบลา “พระอุปัชฌาย์” เพื่อเดินทางไปศึกษา “ภาษาบาลี” กับท่าน “เจ้าคุณรัชมงคลมุณี” วัดหนองบัว จังหวัดระยอง ต่อมาในปี
    พ.ศ.๒๔๙๐ ด้วยจิตที่มุ่งมั่นจะปฏิบัติธรรม แสวงหาธรรม จึงออกเดินธุดงค์ไป “จังหวัดเชียงใหม่” ตามเส้นทาง “อำเภอดอยสะเก็ด” สู่ “ถ้ำเชียงดาว” อำเภอเชียงดาวได้ธุดงค์พลัดเข้ามาสู่เขตพื้นที่ของ “อำเภอพร้าว” ในปี ๒๔๙๐ ถึง ๒๔๙๔ จึงพำนักและปฏิบัติธรรมใน “ป่าช้า” ของตำบลเวียง อำเภอพร้าว หรือ “วัดป่าเลไลย์” เป็นเวลาถึง ๔ ปี
    ปี พ.ศ.๒๔๙๔ “พระภิกษุสง่า สุมโน” เดินทางมาพำนักที่ “วัดเจดีย์หลวง” จัง หวัดเชียงใหม่ โดยปฏิบัติธรรมกับ “เจ้าคุณวินัยโกศล” (จันทร์ กุสโล) หรือ “พระพุทธพจนวราภรณ์” แล้วจึงออกจาก “วัดเจดีย์หลวง” ธุดงค์ไปตามเส้นทางสู่ “อำเภอดอยสะเก็ด” อีกครั้งพร้อมลัดเลาะไปตามป่าเขาถึง “ดอยพระเจ้าหล่าย” วันนั้นเป็น วันอาทิตย์ที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๔ ตรงกับแรม ๖ ค่ำ เดือนยี่เวลา ๑๗.๐๐ น. “พระภิกษุสง่า สุมโน” จึงตั้งสัจจะอธิษฐาน ณ ดอยพระเจ้าหล่าย ขอสละเพศบรรพชิตขอลาสิกขาบทจากการเป็น “พระภิกษุสงฆ์” โดยหันมาถือการครองเพศเป็น “ดาบส” ที่มีเพียง ผ้าอังสะและผ้าสบง เพียงสองผืนหุ้มห่อร่างกายไว ้จากนั้นจึงครองเพศเป็น “ดาบส” และปฏิบัติธรรมอยู่บน “ดอยพระเจ้าหล่าย” โดยมิได้ฉันทั้งอาหาร และน้ำถึง “๓ วัน ๓ คืน” จากนั้นจึงเดินทางลงจากดอยเพื่อธุดงค์ไปจังหวัด ต่างๆ ทั้ง แพร่ ลำปาง น่าน ยะลา ชุมพร และท้ายสุดปฏิบัติธรรมที่ “อาศรมไผ่มรกต” ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย จนมรณภาพ เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๔ สิริอายุได้ ๗๖ ปี
    “หลวงพ่อดาบส สุมโน” นับเป็น “ผู้บำเพ็ญเพียร” ด้วยศีลาจารวัตร บริสุทธิ์ผุดผ่องจนได้พบแสงสว่างแห่งธรรมเจิดจ้า และธรรม ที่ท่านแสดงให้บรรดาศิษย์ได้ยังความสุข ความสงบ ความร่มเย็น ให้เกิดขึ้นในจิตใจของผู้ที่เคยฟังธรรมจากท่านจึงนับได้ว่าท่านเป็น “ประทีปธรรม” แห่งภาคเหนือที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ และในจิตใจ ของประชาชนตลอดไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2021
  4. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,918
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8130

    ตะกรุดยันต์ก่าสะท้อนเนื้อเงิน ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล

    จัดเป็นเครื่องรางสายเหนือ ที่ได้รับความนิยมมานาน เชื่อกันว่า มีอิทธิคุณช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้ายและไม่ดีต่างๆ ให้สะท้อนกลับออกไป ไม่สามารถส่งผลร้ายแก่ผู้ที่พกบูชาติดตัวได้ ทั้งนี้เรามักจะออกเสียง "ก่า" เป็น "กา" จนกลายเป็น "ตะกรุดกาสะท้อน"

    ยันต์ก่าสะท้อนเป็นยันต์ที่ได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้นิยมยันต์ล้านนาทั้งหลาย คำว่า “ก่า” เป็นภาษาล้านนา แปลว่า ป้องกัน, ไม่ให้เกิดขึ้น คุณวิเศษของยันต์ก่าสะท้อนนั้น สามารถป้องกันอันตรายต่างๆ ทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็น มนต์ดำ คุณไสย คุณผี คุณคน ที่กระทำย่ำยีมาใส่เรานั้น ตะกรุดนี้จะสะท้อนสิ่งเหล่านั้นกลับไปยังผู้ทำของทำคุณไสยใส่เราได้ตามกฎแห่งกรรม

    อย่างไรก็ตาม ยันต์ก่าสะท้อนมีหลายชนิดหลายแบบแตกต่างกันไป เช่น ยันต์ก่าสะท้อนที่ทำจากหนังลูกวัวเกิดแล้วตายคาอวัยวะเพศ ส่วนมากจะหุ้มหรือพอกยันต์ด้วยครั่ง ยันต์ก่าสะท้อนชนิดนี้สามารถป้องกันอันตรายได้หมด เป็นมหาอุด ปืนยิงไม่ออก หลวงปู่ครูบาเจ้าชุ่ม วัดวังมุย เคยสร้างไว้ ตอนนี้หายากมากแล้ว

    ในส่วนของยันต์ก่าสะท้อนที่ใช้ครั่งพอกนี้ มีคุณวิเศษมากหลายประการ ที่ใช้ครั่งพอกเพราะว่า หากมีผู้ใดประสงค์ร้ายกับเรา ทำคุณไสยใส่เรา ครั่งที่พอกยันต์ก่าสะท้อนจะแตก หากเรานำครั่งที่แตกนั้นไปเผาไฟ ของที่ผู้ประสงค์ร้ายทำใส่เราจะสะท้อนกลับไปหาตัวผู้นั้นเอง นี่คือที่มาของคำว่า ก่าสะท้อน คือทั้งป้องกัน และสะท้อนนั่นเอง

    (พระครูพิศิษฏ์สังฆการ) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูล เกจิอาจารย์ผู้เรืองเวทย์แห่งแผ่นดินล้านนา มีปาฏิหารย์เกิดขึ้นมากมาย ตอนพระราชทานเพลิงศพ สรีระสังขารของท่านครูบาผัดไม่ไหม้ไฟ จนครูบาน้อยต้องสวดถอนสรรพวิชาต่างๆ สรีระครูบาผัดถึงไหม้ไฟ โดยเริ่มไหม้จากปลายเท้าขึ้นไปเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้มาร่วมงาน ครูบาผัดท่านเป็นอาจารย์ของครูบาน้อย สอนสรรพวิชาต่างๆ ตลอดจนวัตรปฏิบัติของสงฆ์แก่ครูบาน้อย ตำนานตะกรุดก่าสะท้อนอันโด่งดังของสำนักนี้ ลงคาถาตำราล้านนาโบราณตำรับวัดศรีดอนมูล ซึ่งสืบทอดตำรามาจากครูบาสม วัดป่าแดด อาจารย์ใหญ่สายสารภี เกจิอาจารย์ร่วมสมัยกับครูบาเจ้าศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนา ยันต์นี้จะลงคาถาจารใน แผ่นทองแดง แล้วพอกด้วยครั่ง สอดด้วยฝ้ายสายสิญจน์ ลักษณะรูปทรง เป็นเอกลักษณ์ของสำนักวัดศรีดอนมูล วัตถุมงคลที่เป็นสัญลักษณ์คู่กับวัดศรีดอนมูลต้องตะกรุดยันต์ก่าสะท้อน ซึ่งถ้าเป็นของครูบาผัด อดีตเจ้าอาวาส ดอกนี้ จะเป็นตำนานยันต์ก่าสะท้อนทรงคุณค่าเป็นตะกรุดที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มานานแล้วไปทั่วประเทศ จนทุกวันนี้ โดยมีผู้ที่รอดตายจากการเกิดอุบัติเหตุ หลายราย และเชื่อว่า มาจากปาฏิหาริย์ การสำแดงเดชฤทธิ์ ของตะกรุดกาสะท้อน ของวัดศรีดอนมูล

    ดอกนี้เยื้อเงินแจกกรรมการ หายาก สวยสมบูรณ์ แท้ดูง่ายมากครับ


    บูชาแล้วครับ

    ตะกรุดเงินครูบาผัด a 4.5.jpg ตะกรุดครูบาผัด b.jpg ตะกรุดครูบาผัด c.jpg ตะกรุดครูบาผัด d.jpg ตะกรุดครูบาผัด e.jpg

    Clip_17.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2021
  5. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,918
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8131

    ลูกอมปิดตามหาอุดครูบาผัด วัดศรีดอนมูลฝังตะกรุด

    ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล พระอริยะสงฆ์แห่งเชียงใหม่ ศพท่านเผาไม่ไหม้


    ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์และพระสุปัฎิปันโนที่มีลูกศิษย์เคารพศรัทธาท่านเป็น จำนวนมาก พระเวทย์คาถาอคมของท่านขลังเป็นอย่างยิ่ง เมื่อคราวประชุมเพลิงโดยการสร้างนกหัสดีลิงค์ตามคติโบราณล้านนาความร้อนจาก เปลวไฟนับร้อยนับพันองศาหาได้ระคายทำอันตรายกายสังขารท่านแม้แต่น้อย...จนใน ที่สุดครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล ศิษย์เอกของท่านต้องนำน้ำขมิ้นส้มป่อยมาทำการพิธีคลายอาคมพระเวทย์ของท่านครูบาผัด พิธีการส่งท่านสู่สรวงสวรรค์โดยมีนกหัสดีลิงค์เป็นพาหนะจึงสำเร็จลง ได้....วัตถุมงคลที่โด่งดังและมีประสบการณ์ของท่านครูบาผัดของคือตะกรุดกาสะท้อนและลูกอมราหูมหาอุตม์ โดยทั่วไปที่เห็นมีตะกรุดอยู่ด้านนอกจะเป็นลูกอมแบบธรรมดาส่วนลูกอมราหูที่มีตะกรุดที่ฝังและติดอยู่กับลูกอมทุกลูกนี้คือตะกรุด"มหาอำนาจ"เรียกว่าครบเครื่องทั้งด้านหนุนดวงชะตา กลับร้ายกลายเป็นดี เป็นมหาอุด มหาอำนาจ กันคุณไสย ชงักนัก.

    ลูกอมปิดตามหาอุด ยอดลูกอมราหูมหาอุตม์ มหาอำนาจ วาสนา ค้ำชะตา

    #ลูกนี้สวยเดิมๆครับ


    ราคา 1550 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    ลูกอมครูบาผัด a 1550.jpg ลูกอมครูบาผัด b.jpg ลูกอมครูบาผัด c.jpg ลูกอมครูบาผัด d.jpg ลูกอมครูบาผัด e.jpg

    Clip_17.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2021
  6. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,918
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8132

    ปรอทกรอ (ลูกบ่าปล่อย) ลูกบ่าปล่อย เปียกทอง ตัวเมีย


    ทางภาคกลางจะเรียกปรอทกรอ มีความเชื่อว่าปรอทกรอคือสุดยอดเครื่องรางที่หายากหนึ่งซึ่งจะฝังตามเมือง หลวงเก่า หรือวัดหลวงที่สำคัญของเมือง คนสมัยก่อนว่ากันว่าปรอทกรอจะนำความร่มเย็น เป็นสุขมาให้ และป้องกันสิ่งอัปมงคลทั้งปวง เตือนเมื่อมีภัยปรอทกรอ เป็นยุทโธปกรณ์ใช้ในการทำสงครามสมัยโบราณ สร้างไว้ให้สำหรับผู้นำทับระดับนายกอง หรือหัวหมู่ เวลานอนจะเอาปรอทกรอวางไว้บนดินแล้วนอนเอาหูแนบปรอทกรอไว้ ข้าศึกขี่ม้าหรือช้างเข้ามาใกล้ ปรอทกรอจะสั่นได้ยินเสียง จะได้รู้ตัวก่อน ... และใช้ทางด้านมหานิยม ในสมัยก่อนนั้นมักจะฝังไว้ตามจุดสำคัญของเมืองเช่น กลางเมือง หรือตาม วัดสำคัญๆเมืองใหญ่หรือวัดหลวง เพื่อช่วยด้านมหานิยมให้คนติด อยู่รวมกันมากจนกลายเป็นเมืองใหญ่ หรือวัดใหญ่คนเข้ามาทำบุญกันเยอะ ซึ่งวัดในสมัยโบราณนั้น เป็นจุดศูนย์ร่วมทางด้านจิตใจของเมืองถือเป็นจุดที่สำคัญมาก ยังมีการฝังเอาไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ ผึ้งมาทำรังเพื่อเอาน้ำผึ้ง และยังมีการนำมาฝั่งใส่ตามตลาด ร้านค้าทีเปิดใหม่ ต่างๆ เพื่อด้านมหานิยมเรียกคน หรือลูกค้าเข้าร้าน ให้เป็นจุดศูนย์รวม และพกติดตัวเพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ อีกด้วย ถือเป็นสุดยอดเครื่องรางที่หาชมได้ยากของเมืองเหนือบ้านเราครับ

    ปรอทกรอ a ตัวเมีย.jpg ปรอทกรอ c.jpg ปรอทกรอ d.jpg ปรอทกรอ e.jpg ปรอทกรอ b.jpg
    ปรอทกรอ f.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2021
  7. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,918
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8133

    พระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยพิมพ์พระรอดปลายแหลม

    พิมพ์มาตรฐานจิ๋วแต่แจ๋วครับ

    พระเกศาครูบาศรีวิชัย สร้างขึ้นสร้างจากผงดอกบูชาพระที่ชาวบ้านมาทำบุญกับครูบาเจ้าศรีวิชัย เผาให้เป็นผงสมุก ผสมกับผงใบลานคลุกรัก ผสมเกศา ปั้นและนำไปกดพิมพ์แจกจ่ายให้แก่บรรดาผู้เลื่อมใสศรัทธาในองค์ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้สักการะบูชาเป็นสิริมงคล
    ของดีเบาๆน่าใช้ครับ


    บูชาแล้วครับ

    พระเกศาครูบาศรีวิชัย พิมพ์พระรอดปลายแหลม 500 a.jpg พระเกศาครูบาศรีวิชัย พิมพ์พระรอดปลายแหลม 500 b.jpg พระเกศาครูบาศรีวิชัย พิมพ์พระรอดปลายแหลม 500 c.jpg Clip_40.jpg



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2021
  8. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,918
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8134

    พระเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยพิมพ์พระรอด ลงรักเก่าเดิมๆ เห็นเส้นเกศาลอย

    พิมพ์มาตรฐานจิ๋วแต่แจ๋วครับ

    พระเกศาครูบาศรีวิชัย สร้างขึ้นสร้างจากผงดอกบูชาพระที่ชาวบ้านมาทำบุญกับครูบาเจ้าศรีวิชัย เผาให้เป็นผงสมุก ผสมกับผงใบลานคลุกรัก ผสมเกศา ปั้นและนำไปกดพิมพ์แจกจ่ายให้แก่บรรดาผู้เลื่อมใสศรัทธาในองค์ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้สักการะบูชาเป็นสิริมงคล
    ของดีเบาๆน่าใช้ครับ


    ราคา 1999 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    พระเกศาครูบาพิมพ์พระรอด a.jpg พระเกศาครูบาพิมพ์พระรอด b.jpg พระเกศาครูบาพิมพ์พระรอด c.jpg พระเกศาครูบาพิมพ์พระรอด d.jpg พระเกศาครูบาพิมพ์พระรอด e.jpg


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2021
  9. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,918
    ค่าพลัง:
    +1,340
    ครูบาศรีวิชัยสร้างทาง เนื้อแร่ไมก้า พิมพ์ใหญ่กนกนูน ลงรักปิดทองเก่า


    พระครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่น “สร้างทางแร่ไมก้า” เป็นพระครูบารุ่นเดียวที่มีพยานบุคคลคนเฒ่าคนแก่เล่าว่า ไปร่วม สร้างทางขึ้นดอยสุเทพ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗-๒๔๗๘ ได้รับแจกมา สำหรับผู้ศรัทธาท่านครูบา พระรุ่นนี้น่าใช้มาก

    องค์นี้ลงรักปิดทองเก่าคลาสสิคมากครับ

    พระครูบาแร่ไมห้า 7.5 a.jpg พระครูบาแร่ไมห้า 7.5 b.jpg พระครูบาแร่ไมห้า 7.5 c.jpg พระครูบาแร่ไมห้า 7.5 d.jpg
     
  10. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,918
    ค่าพลัง:
    +1,340
    พระรูปเหมือนครูบาศรีวิชัยสร้างทาง เนื้อดินแร่ไมก้า พิมพ์ใหญ่กนกนูน สวยผิวเดิมๆ พร้อมบัตรรับรองพระแท้

    พระครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่น “สร้างทางแร่ไมก้า” เป็นพระครูบารุ่นเดียวที่มีพยานบุคคลคนเฒ่าคนแก่เล่าว่า ไปร่วม สร้างทางขึ้นดอยสุเทพ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗-๒๔๗๘ ได้รับแจกมา สำหรับผู้ศรัทธาท่านครูบา พระรุ่นนี้น่าใช้มากครับ


    Clip_11.jpg Clip_14.jpg Clip_12.jpg Clip_13.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2021
  11. suratept

    suratept เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    867
    ค่าพลัง:
    +1,924

    จองครับ
     
  12. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,918
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รับทราบการจองขอบคุณครับ
     
  13. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,918
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8135

    เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัยปี2482 บล็อกสามชาย สระอูแหลมพร้อมบัตรรับรองพระแท้


    จัดสร้างโดยคณะศิษย์ เพื่อรำลึกถึงพระคุณของครูบาและเพื่อร่วมทำบุญในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพของครูบาที่จะมีขึ้นวัดจามเทวี ลำพูน ในวันที่21มีนาคม2489 โดยให้ร้านอมราภรณ์ ตึกดิน แกะพิมพ์ (แล้วนำเข้าร่วมพิธีปลุกเสกที่วัดราชบพิตร ปี2482(16 ธันวาคม)พิธีใหญ่ครั้งที่5ของวัดราชบพิตร
    พร้อมกับวัตถุมงคลของสมเด็จพระสังฆราชพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ โดยพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นหลายองค์ ณ วัดราชบพิธ กรุงเทพฯ เพื่อหาทุนใช้จ่ายงานศพครูบาศรีวิไชย พื่อเป็นอนุสรณ์คุณงามความดีของนักบุญแห่งลานนาในวันพระราชทานเพลิงศพครูบาศรีวิชัย
    พระคณาจารย์ที่ร่วมพิธีปลุกเสกมีดังนี้
    1พระธรรมเจดีย์วัดสระเกศ
    2หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง อยุธยา
    3พระธรรมทานาจารย์วัดระฆัง
    4หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ไชยชุมพล กาญจนบุรี
    5หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา ปราจีนบุรี
    6หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง นนทบุรี
    7หลวงพ่อโศก วักปากคลอง เพชรบุรี
    8หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง ราชบุรี
    9หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา
    10หลวงพ่อเลียบ วัดเลา พระนคร
    11หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร
    12หลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม สมุทรสงคราม
    13หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี
    14หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง นครปฐม
    15หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ อยุธยา
    16หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี
    17หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี
    18หลวงพ่อจง วักหน้าต่างนอก อยุธยา
    19หลวงพ่อจันทร์ วัดคลองระนง นครสวรรค์(มาแทนหลวงพ่อเดิม)
    20หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน ชุมพร
    21พระปลัดมา วัดราชบูรณะ พระนคร
    สุดยอดเหรียญยอดนิยมของท่านครูบาศรีวิชัยครับ

    เหรียญนี้สภาพใช่ยังน่ารัก รับประกันความแท้ พร้อมบัตรรับรองพระแท้ ครับ


    ราคา 36500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_4.jpg Clip_7.jpg Clip_5.jpg Clip_6.jpg Clip_3.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2021
  14. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,918
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8136

    เหรียญอาร์ม หลวงพ่อโสธร กรมตำรวจ80ปี เป็นรุ่นประวัติศาสตร์ รุ่น อุด
    บล็อกนิยม อุดปืน+สิบตรี


    เหรียญสุดยอดประสบการณ์ 2 อุดปืน สิบตรี เหรียญดีน่าใช้
    สภาพนอนกล่องเดิม ๆ ครับ


    ราคา 3999 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    po.jpg hg.jpg oo.jpg hgp.jpg
     
  15. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,918
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8137

    เหรียญรุ่นแรกครูบาวัง วัดบ้านเด่น ปี 06 มีหู อัลปาก้าชุบ สวยๆ

    เหรียญรุ่นแรกสร้างในปีพ.ศ.2506 ลักษณะเหรียญปั๊มกลมมีหู ซึ่งถือเป็นรุ่นแรกพร้อมกับเหรียญรูปไข่,รูปหล่ออุ้มพลอย,รูปหล่อรมดำ,เหรียญใบโพธิ์เล็ก,เหรียญกลมมีหู จิ๊กโก๋
    เหรียญรุ่นแรกยอดนิยม ที่ได้จัดสร้างขึ้น ของหลวงพ่อครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มกลม
    ด้านหน้าเหรียญ ขอบเหรียญเป็นจุดไข่ปลาล้อมรอบ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนครูบาวังครึ่งองค์หันหน้าตรง มีอักขระล้านนา (ตั๋วเมือง) ว่า "เตนะ ศัตรู อุ่งนะยะ ปารามะ สวาหุม อมจิต คนทั้งหลาย จิตติจิตตั๋ง อาคัจฉาหิปิ" และ "ยังมะมะ นะมะพะทะ"
    มีอักขระล้านนา(ตั๋วเมือง) ตามแนวขอบเหรียญจากไหล่ขวาของหลวงพ่อไปจรดไหล่ซ้าย และที่เหนือศีรษะ อักขระล้านนาที่ปรากฏมี่ใจความว่า #เตนะศัตรูอุ่งนะเย ปารามะสวาหุม อมจิตคนทั้งหลาย จิตติ จิตตั๋ง อาคัจฉาหิปิ คาถาอ่านต่อเนื่องที่อยู่บนศีรษะ ยังมะมะ
    ด้านข้างศีรษะซ้ายขวา จะเป็นหัวใจแม่ธาตุ นะมะพะทะ (ดินน้ำลมไฟ)
    ด้านหลังเหรียญ ระบุชื่อ หลวงพ่อครูบาวัง ในแนวนอนตรงกลางเหรียญ ที่ขอบเหรียญมีเม็ดไข่ปลากลมอยู่โดยรอบ เขียนคำว่า ครั้งที่๑พ.ศ.๒๕๐๖ วัดบ้านเด่น จังหวัดตาก คาถาที่ระบุบนพื้นเหรียญด้านหน้า เป็นคาถาเรียกจิตคน ซึ่งเป็นคาถาสุดยอดคาถาหนึ่งของหลวงพ่อครูบาวัง คาถานี้โดดเด่นในด้านเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ เป็นที่สะดุดตาแก่ผู้คนที่พบเห็นและยังครอบคลุมในด้านแคล้วคลาด คงกะพัน มหาอำนาจ มหาอุด ค้าขายโชคลาภให้ความร่ำรวย
    วัตถุมงคลของเทพเจ้าแห่งความเมตตาและมหาเสน่ห์ที่มีอดีตนายกรัฐมนตรี,ผบ.ทหารบก,นักร้องชื่อดัง(คุณชาย เมืองสิงห์)ระดับศิลปินแห่งชาติเป็นลูกศิษย์พร้อมกับเจอประสบการณ์ด้วยตนเองครับ
    หลวงพ่อครูบาวังวัดบ้านเด่นพุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหาเสน่ห์โดยเฉพาะผู้ที่เป็นลูกน้องแล้วอยากให้เจ้านายรักใคร่หรือเป็นที่รักของเพื่อนร่วมงานหากใครโดนเจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานเขม่นอยู่ขอบอกว่าโดนครับท่านบูชาท่านจะได้ประจักษ์จากศัตรูจะกลายเป็นมิตรในไม่ช้า ด้านคงกระพันก็มีให้เห็นมาแล้ว,พุทธคุณมีผู้ใช้แล้วพบเจอประสบการณ์ต่างๆมากมาย
    เหรียญยอดนิยมของท่านครูบาวัง เหรียญดังยอดนิยมเป็นอย่างมากในท้องถิ่นจังหวัดตากครับ


    คุณ j999 บูชาแล้วครับ

    oi.jpg gf.jpg Clip_4.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2021
  16. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,918
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8138

    เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัยปี 2517 เนื้อนวะเศียรหนาม เจ็ดแตก บ จุด นิยม


    จัดสร้างเมื่อปี 2517 โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ ยุคล เป็นองค์ประธาน และคุณนิตย์ พงษ์ลัดดา เป็นผู้ดำเนินการสร้าง ช่างผู้บรรจงแกะแม่พิมพ์ คือ ช่างยิ้ม ยอดเมือง ช่างผู้มากด้วยฝีมือเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป พระเถราจารย์ผู้ร่วมพิธีพุทธาภิเษก ล้วนแต่เป็นพระอริยะสงฆ์ ดังมีรายนามดังต่อไปนี้ อาทิเช่น
    1.ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า
    2.ครูบาอินทจักร์ วัดน้ำบ่อหลวง
    3.ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล
    4.ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย
    5.หลวงพ่อสิม พุทธาจาโร วัดสันติธรรม ( หรือที่รู้จักว่าปัจจุบัน คือ หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง )
    6.ครูบาชัยวงศ์ษา วัดพระบาทห้วยต้ม
    7.ครูบาทึม วัดจามเทวี
    8.ครูบาสุรินทร์ วัดศรีเตี้ย
    9.ครูบาสิงห์ชัย วัดป่าซางงาม
    10.ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย เจ้าอาวาสวัดบ้านปาง และท่านเจ้าคุณพระเทพสารเวที เจ้าคณะภาคเหนือธรรมยุต เป็นประธานฝ่ายสงฆ์นั่งปรกในพิธี เริ่มพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗ เวลา 21.19 น. ณ.วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน
    จำนวนการจัดสร้าง มีรายละเอียดดังนี้
    1.เนื้อทองคำ จำนวน 9 เหรียญ
    2.เนื้อเงิน จำนวน 579 เหรียญ
    3.เนื้อนวะโลหะ จำนวน 3,559 เหรียญ
    4.เนื้อทองแดง จำนวน 5,625 เหรียญ
    5.ล็อคเก็ตลงหิน จำนวน 227 อ้นเท่ากับจำนวน ศีล 227 ข้อ
    รายละเอียดการตอกโค๊ดเหรียญมีดังนี้
    -เหรียญทองคำและเงิน เป็นเหรียญไม่มีหู เหรียญทองคำไม่มีการตอกโค้ต เหรียญเงิน และล็อคเก็ตมีการตอกโค้ตตัว "ศ" และ "ช"
    -เหรียญนวะโลหะตอกตัว "ศ"
    -เหรียญทองแดงตอกตัว "จ"
    เหรียญยอดนิยมของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยครับ

    #รับประกันความแท้ตลอดชีพครับ

    บูชาแล้วครับ

    Clip_10.jpg Clip_11.jpg Clip_12.jpg Clip_13.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2021
  17. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,918
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8139

    เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ครูบาชัยวงศ์วัดพุทธะบาทห้วยต้ม
    บล็อคข้าวตม ปี 2509

    สุดยอดเหรียญยอดนิยมขิงหลวงพ่อ เบาๆน่าใช้มากๆครับ

    บูชาแล้วครับ

    Clip_5.jpg Clip_6.jpg Clip_7.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2021
  18. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,918
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8140

    เหรียญตานใช้ตานแทน ครูบาชัยวงค์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ปี 35 เนื้อทองแดง สวยๆ

    จัดสร้างขึ้นเป็นที่ระลึกในพิธีสำคัญ เป็นพิธีชำระหนี้เจ้ากรรมนายเวร ขออโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวร (ตานใช้ตานแทน) เน้นทางการต่ออายุ เสริมดวงชะตา จะช่วยให้กรรมนั้นๆ ผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ จากเบาจนไม่มีผล
    ปลุกเสกในพิธีชำระหนี้สงฆ์ตานใช้ตานแทน ปี 2535
    มีเกจิคณาจารย์ ร่วมปลุกเสกดังนี้
    1 . หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข
    2 . หลวงปู่ดาบส สุมโณ สำนักสงฆ์ไผ่มรกต เชียงราย
    3 . ครูบาชัยวงศา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ ลำพูน
    4 . หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    5 . หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง
    6 . ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง
    7 . ครูบาน้อย วัดบ้านปง
    8 . ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี
    อักขระ ยันต์ด้านหลังของเหรียญทำน้ำมนต์ตาน ใช้ตานแทนนี้ เป็นอักขระยันต์พระโมคคัลลานะ เป็นเหรียญที่อยู่คู่กับเหรียญทำน้ำมนต์ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำวัดท่าซุง มีอานุภาพ คลายกฏแห่งกรรมเช่นเดียวกับเหรียญทำน้ำมนต์ หลวงพ่อฤาษีลิงดำวัดท่าซุง พระดีน่าใช้ สวยเดิมๆ ราคาเบา ๆ "ต่ออายุ เสริมดวงชะตา จะช่วยให้กรรมนั้นๆ ผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ จากเบาจนไม่มีผล"
    สวยเดิมๆน่าใช้มากครับ


    บูชาแล้วครับ


    Clip_17.jpg Clip_18.jpg Clip_19.jpg Clip_20.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มิถุนายน 2021
  19. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,918
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8141

    เหรียญรุ่นแรกครูบาคำเหมย วัดศรีดงเย็นปี 2519 นิยม


    ครูบาคำเหมย เป็นพระเกจิ ผู้ ทรงอภิญญา อาคม อีกรูปหนึ่ง ของ อ.ฝาง - ไชยปราการ ที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่น ชาวบ้าน ในตำบล และในอำเภอ นั้นต่างให้ความเคารพนับถือในบารมี ธรรม และ คุณงามความดีของท่าน ในการสร้างถาวรวัตถุไว้มากมาย เหรียญดังเเห่งเมืองฝางไยปราการ
    เป็นเหรียญประสบการณ์ ที่คนเมืองฝาง แม่อาย ไชยปราการ รู้ดีคับ เหรียญครูบาคำเหมยท่าน เด่นทางด้าน แคล้วคลาด ข่ามคง เมตตามหานิยม เอาชนิดที่ว่า แมลงวันไม่ได้กินเลือดเลยทีเดียวก็ว่าได้ครับ


    ราคา 2750 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    dss.jpg ii.jpg e[.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2021
  20. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    15,918
    ค่าพลัง:
    +1,340
    รายการที่ 8142

    เหรียญรุ่นแรกครูบาตั๋น ปัญโญ สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิน เนื้อทองแดง ตอกโค๊ต


    พระอรหันต์ นักปฎิบัติ ได้รับการยกย่องจาก ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง ครูบาบุญปั๋น วัดร้องคุ้ม พระธรรมังคลาจารย์ (ทอง สิริมังคโล) ว่าเป็นพระผู้ปฎิบัติดี

    หลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ แห่งสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น ท่านเป็นพระมหาเถระ ที่มีอายุกาลพรรษามากที่สุด อันดับต้นๆ ของภาคเหนือ ปัจจุบันชื่อเสียงของท่านนั้น เริ่มเป็นที่รู้จักของคนหมู่มาก ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ วัตถุมงคลที่ได้ผ่านการอธิฐานจิตจากหลวงปู่นั้น ล้วนมีประสบการณ์ เป็นที่ประจักรในหลายๆด้าน ทั้งเมตตา ปกป้องคุ้มครอง และประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปราถนาในหลายๆด้าน ท่านได้รับการยกย่องในเรื่องปฏิบัติภาวนา สมถะ และมีศีลธรรม กัมมัฏฐาน เป็นที่เด่นชัด ในเรื่องของความเป็นพระดีพระแท้ เคร่งครัดปฏิบัติตามแนวทางวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างท่องแท้ ได้รับการยกย่องจากพระคณาจารย์ชื่อดังของทางภาคเหนือ หลายต่อหลายท่านคร่าวๆ เช่น หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง( พระที่ได้รับการยกย่องจากพระเกจิอาจารย์มากมายในความเก่งกล้าในเรื่องวิชาคาถาอาคม ถึงขนาดที่หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม สั่งให้ลูกศิษย์มาขอเรียนต่อวิชากับครูบาอิน ) หากหลวงปู่ครูบาอินไม่อยู่แล้วฮื้อไปหาครูบาตั๋นวัดดอยเน่อ , หลวงปู่ครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม ( พระอรหันต์ต๋นเมตตาแห่งวัดร้องขุ้ม เจ้าตำหรับเทียนเศรษฐีล้มลุกอันโด่งดัง ) , หลวงปู่บุญจันทร์ วัดถ้ำผาผึ้ง ( พระกัมมัฏฐานศิษย์สายพระอาจารย์มั่น ) ทั้ง ๓ รูป ได้บอกกล่าวกับศิษย์เอาไว้ ปัจจุบันท่านทั้ง 3 ได้ละสังขารไปแล้ว อัฐิธาตุของพระคณาจารย์ทุกท่านได้แปรสภาพกลายเป็นพระธาตุทุกรูป และ ยังมีสหายธรรมอีกหลายรูปเช่น หลวงปู่ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม , หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี ( ท่านเคยกล่าวเอาไว้ว่าเฮานิอยู่อย่างตุ๊ตั๋นบะได้เน่อ ) , หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน . หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง , พระครูขันตยภรณ์ สุสานไตรลักษ์ และ พระคณาจารย์อีกหลายท่านที่ไม่ได้เอ้ยนาม ทุกรูปล้วนเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั้งหลาย หลวงปู่ครูบาตั๋นท่านเป็นพระ ที่มีจริยาวัตรอันงดงาม ปฏิบัติตนอยู่ในศีล ในธรรม ปฏิบัติตนตามคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเคร่งครัด ท่านเป็นพระมหาเถระที่อยู่อย่างสมถะ เรียบง่าย ไม่ยึดติด ไม่ฝักใฝ่ ในตำแหน่ง หรือยศถาบรรดาศักดิ์ใดๆ ทั้งสิ้น คงมุ่งเน้นแต่แนวทางปฏิบัติ ตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ เพื่อความหลุดพ้นเท่านั้น วัตรปฏิบัติของท่านเน้น ปฏิบัติทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน ถือภาวนาพุธโธเป็นหลัก หลีกเร้นความวุ่นวาย จะเห็นได้ว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านไม่ยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง วัดต้นสังกัดของท่าน ทั้งๆที่ท่าน มีความอาวุโส และความพร้อมในทุกด้าน แต่แล้วท่านกลับเลือกที่จะย้ายขึ้นมาอยู่ที่ สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นแทน ถ้าจะเปรียบเทียบความสะดวกสบาย ของสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น ในสมัยก่อนนั้นย่อมสู้ที่วัดศรีแดนเมืองไม่ได้แน่นอน จุดประสงค์ในการเผยแพร่เถระประวัติในครั้งนี้ เพื่อเป็นการบูชาคุณ หลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ พระมหาเถระที่มีอายุกาลพรรษาสูงที่สุดในดินแดนล้านนาในปัจจุบัน และเพื่อเป็นการเผยแพร่บารมีธรรมของหลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ไม่ให้หายสาบสูญ และให้คงอยู่บนดินแดนล้านนาสืบไป

    สวยเดิมๆไม่ผ่านการใช้ครับ

    เนื้อทองแดง ตอกโค๊ตหายากมาก

    ราคา 1550 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900


    qwp.jpg kk.jpg u;p.jpg Clip_3.jpg
    clip_53-jpg.jpg clip_47-jpg.jpg clip_48-jpg.jpg clip_49-jpg.jpg clip_50-jpg.jpg clip_51-jpg.jpg clip_52-jpg.jpg

    เถระประวัติ

    หลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ มีนามเดิมว่า ตั๋น นามสกุล คำมูล โยมบิดาชื่อ พ่ออุ้ยหม่อนปั๋น คำมูล โยมมารดาชื่อ แม่อุ้ยหม่อนคำเอ้ย คำมูล ท่านเกิดเมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ ๒๗ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ตรงกับวันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๐ จุลศักราช ๑๒๗๖ ปี ขาล (เสือ) ไทภาษาว่าปี กัดเป้า ณ.หมู่บ้านแสนคำ หมูที่ ๑๐ ตำบลทุ่งปี๊ อำเภอสันป่าตอง ( ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแม่วาง ) จังหวัดชียงใหม่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน จำนวน ๖ คน
    ๑. แม่อุ้ยมูล คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
    ๒. แม่อุ้ยมา คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
    ๓. พ่ออุ้ยคำ คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
    ๔. หลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ ( เจ้าของเถระประวัติ )
    ๕. พ่ออุ้ยทา คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
    ๖. พ่ออุ้ยทอง คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
    ปัจจุบันบรรดาพี่น้องทั้งหมดของหลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ ได้ถึงแก่กรรมไปแล้วทุกท่าน
    ฝากตัวเป็นเด็กวัด
    พ่ออุ้ยหม่อนปั๋น แม่อุ้ยหม่อนคำเอ้ย คำมูล ท่านเป็นคนขยัน หมั่นแพ่วถาง ครอบครัวของท่านจึงมีที่ดินที่นาทำกินเป็นจำนวนมาก และถือได้ว่าเป็นครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย เป็นอันดับ หนึ่งของ ตำบลทุ่งปี๊ ท่านมีอาชีพเกษตรกรรม ดำเนินชีวิตด้วยการทำไร่ ทำนา เลี้ยงบุตร ธิดาตามประสาชาวบ้านทั่วไป เมื่อครั้งยังเยาว์วัยนั้น เด็กชาย ตั๋น คำมูล ได้ใช้ชีวิตเหมือน เด็กชาวบ้านทั่วไป ช่วยบิดาทำไร่ ทำนา พ่ออุ้ยหม่อนปั๋น โยมบิดา ท่านชอบทำบุญเข้าวัด ทุกคราวที่ไปวัดท่านก็จะพา เด็กชาย ตั๋น คำมูล ติดตามไปด้วยทำให้ เด็กชาย ตั๋น คำมูล มีจิตใจฝักใฝ่ในทางบุญ บวกกับ บุญวาสนาที่ได้เคยสั่งสมมาแต่เมื่อชาติที่แล้วทำให้ สนใจศึกษาหลักธรรม คำสอน เด็กชาย ตั๋น คำมูล จึงขอลาบิดา มารดา เข้ามาฝากตัว เป็นศิษย์วัดที่ วัดมะกับตองหลวง สมัยนั้น ท่านครูบาปัญญา เป็นเจ้าอาวาส วัดมะกับตองหลวง เด็กชาย ตั๋น คำมูลก็ได้คอยศึกษาเล่าเรียน ปัดกวาดเช็ดถู มิได้ขาด เมื่อ เป็นศิษย์ วัดมะกับตองหลวงได้ ประมาณปีเศษ เด็กชาย ตั๋น คำมูล ได้ไปเที่ยวเล่นที่วัดศรีแดนเมือง เพื่อนเด็กวัดรุ่นเดียวกัน ก็เลยชักชวนเด็กชายตั๋น คำมูลมาเป็นศิษย์วัด ที่วัดศรีแดนเมือง ตำบล ยางคราม อำเภอ จอมทอง ( ปัจจุบันอยู่ อำเภอดอยหล่อ ) จังหวัดเชียงใหม่ สมัยนั้น พระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ เป็นเจ้าอาวาส เด็กชาย ตั๋น คำมูล ก็ลาเจ้าอาวาสวัดมะกับตองหลวงมา อยู่ที่วัดศรีแดนเมือง ตอนนั้น เด็กชาย ตั๋น คำมูล อายุได้ ๑๓ ปี ฝากตัวเป็นศิษย์วัด กับพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ เจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง ท่านพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ ได้อบรมสั่งสอน เด็กวัดทั้งหลายให้มีระเบียบวินัย เด็กชาย ตั๋น คำมูล คอยปฏิบัติรับใช้ ด้วยความอ่อนน้อมเชื่อฟัง จึงเป็นที่รักของ พระอธิการสุพันธ์ (จันทร์) สุวันโณ ประกอบกับอุปนิสัยของ เด็กชายตั๋น คำมูล นั้นมีความอดทน อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เผื่อแผ่แก่เพื่อนฝูงเด็กวัดด้วยกัน และ ชอบหาความสงบ อยู่ลำพังเพียงผู้เดียว เป็นเด็กที่ซื่อตรงต่อหน้าที่ และ ก็ยังได้เรียนอักขระพื้นเมืองไทยล้านนาไปด้วย แต่ก็เรียนไปด้วยความยากลำบากยิ่งเพราะ ความจำไม่ค่อยดี ก็เลยเป็นที่ล้อเรียนของเพื่อนเด็กวัดด้วยกัน แต่เด็ก ชายตั๋น คำมูล ก็มีจิตเป็นสมาธิตั้งมั่น อาศัยจิตตั้งมั่นนี้ ในการจดจำร่ำเรียน และยังติดตามพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ ไปจาริกธุดงค์ เหนือจดใต้ ไปบูรณะวิหาร และก่อสร้างมณฑปยังวัดจอมแจ้ง อำเภอ แม่วาง ( สมัยนั้นยังไม่เป็นวัด )ร่วมกับครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ( ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ อาจาร์สอนกัมมัฏฐานหลวงปู่ครูบาตั๋นท่านเดินธุดงค์มาจาก บ้านป่าเหียง กองงาม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นพระกัมมัฏฐานสายป่าซางล้านนาขนานแท้ ยุคเดียวกับครูบาเจ้าศรีวิไชยนักบุญแห่งล้านนา พระคณาจารย์ที่ถือปฎิบัติสายนี้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมีดังนี้ ครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง , ครูบาพรหมจักร วัดพระบาทตากผ้า , หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง เป็นต้น ต่อมาท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดจอมแจ้ง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒ –๒๔๘๔ ท่านเป็นพระที่เคร่งในศีลในธรรมเน้นปฏิบัติ ทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน อย่างเด็ดเดี่ยว ) เด็กชาย ตั๋น คำมูล ได้ปฏิบัติรับใช้ท่านพระ คุณเจ้าทั้งสอง มิได้ขาด และ ยังคอยศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติมอยู่ตลอด เวลา ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ท่านได้เห็นความขยันหมั่นเพียรความ อดทน มีมานะ ของ เด็กชาย ตั๋น คำมูล ประกอบกับท่านก็ยังไม่มี ศิษย์คอย อุปัฏฐากรับใช้ ท่านจึงได้ขอเอาเด็กชาย ตั๋น คำมูล ที่ติดตามอุปัฏฐากมากับ พระอธิการสุพันธ์( จันทร์ ) สุวันโณ ให้อยู่กับท่านเสียที่ วัดจอมแจ้ง บ้านนาทราย อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เด็กชาย ตั๋น คำมูล จึงได้มาเป็นศิษย์คอยดูแลอุปัฏฐาก ถวายตัวรับใช้ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    บรรพชาเป็นสามเณร
    พอล่วงมาถึงเวลาอันควรแล้วที่เด็กชาย ตั๋น คำมูล ควรแก่การบรรพชาบวชเป็นสามเณร พระอธิการสุพันธ์ (จันทร์) สุวันโณ ท่านก็ได้เดินทางไปหาท่าน ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ที่วัดจอมแจ้ง ( อำเภอแม่วาง) เพื่อเอาความนี้ไปปรึกษากับ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พระคุณเจ้าทั้งสองเมื่อปรึกษากันก็ได้เห็นว่า เด็กชาย ตั๋น คำมูล ได้รับการศึกษาอักขระวิธี ท่องจำบท สวดมนต์ทำวัตร ท่องบทสวดมนต์ ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน และบทสวดมนต์ ตำนานมงคลสูตร มหาสมัยสูตร สามารถอ่านเขียนอักขระล้านนา และภาษาไทยได้ จึงได้ปรึกษากันว่า เด็กชาย ตั๋น คำมูล มีภูมิความรู้พอที่จะบรรพชาเป็นสามเณรได้ ในขณะนั้นเด็กชาย ตั๋นมีอายุได้ ๑๕ ปี การบวชสมัยนั้น ก็ทำกันง่ายๆ คือการบวชห่อหมาก ห่อพลูเท่านั้น มีภิกษุ ๕ รูปโดยมี พระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวัน เสาร์ ที่ ๑๑ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๗๒ เวลา ๑๑.๑๕ น. ตรงกับวันแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๒ จุลศักราช ๑๒๙๑ เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว สามเณร ตั๋น คำมูล ได้ศึกษาเล่าเรียนภูมิธรรมความรู้ทาง พระพุทธศาสนาวิปัสสนา กัมมัฏฐาน และ อักษรไทยล้านนา ที่สำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรู ( ปัจจุบันนี้เป็นสำนักสงฆ์ป่าน้ำฮู หมู่ที่ ๒ บ้านหนองเย็น ตำบลทุ่งปี้ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ) ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ท่านเป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ และ มีพระภิกษุอีก ๔ รูป ประกอบด้วย ๑. ท่านครูบาบุญตัน สุวัณโณ ( เจ้าอาวาสวัดจอมแจ้ง)๒. ตุ๊ลุงอ้าย วัดโทกหัวหมา เขตจอมทอง ๓. ตุ๊ลุงมา เมืองฝาง ๔. พระปัญญาโม่ง วัดจอมแจ้ง สามเณรอีก ๔ รูป ๑. สามเณรตั๋น คำมูล ( ครูบาตั๋น ปัญโญ ) แม่อาวหน้อย ๒. สามเณรคำ จันทร์แดง ( พระครูขันตยาภรณ์ ) วัดดอยแก้วหนองเย็น ๓. สามเณรคำไฮ ลูกลุงเหมา บ้านปง ๔. สามเณรขาว ( น้อยขาวบ้านต้อ ) ลูกลุงมาเปี้ย ฆราวาสมี ๕ คน ๑. พ่อแก้ว จันทร์แดง ๒. พ่อน้อยกันทะ พรหมแสน ๓. พ่อลุงเหมาบ้านปง ๔. พ่อแก่แก้ว บ้านปงสนุก ๕. พ่อลุงมาเปี้ย เจ้าหน้าที่โรงครัว ได้ศึกษาพระ กัมมัฏฐาน ฝ่ายวิปัสสนาธุระ เป็นเวลา ๓ พรรษา และร่วมจาริกธุดงค์แสวงบุญไปในเขตแดนต่างๆ กับท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ และ ท่านได้เห็นว่า สามเณรตั๋น คำมูล ได้ปฏิบัติตัวตามพระธรรมคำสอน ฝึกวิปัสสนาธรรม กัมมัฏฐาน ทั้ง สมถะ มีศีลหมดใส จึงสมควรแก่เวลาที่สามเณรตั๋น คำมูล จะออกจาริกธุดงค์ไปยังเขตแดนต่างๆ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมด้วย น้อยพรหมมินทร์ บ้านหนองบอน น้อยกันทะ พรหมเสน บ้านหนองเย็น และ พระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ วัดศรีแดนเมือง ได้นำพระภิกษุสามเณร จำนวน ๒๓ รูป รวมถึง สามเณรตั๋น คำมูล ร่วมเดินจาริกธุดงค์ ลัดเลาะป่าเขา ดอยสูง มีสัตว์น้อยใหญ่ แรด กวาง ฟาน กระทิง และช้าง เดินเลาะเข้าไปในป่า เพื่อไปศึกษาคัดลอก พระธรรมคัมภีร์ ครั้งนั้นเมื่อต้อง พักแรมกลางป่า สามเณรตั๋น คำมูล และ สามเณรอีกรูปได้นำ ถ้วย ชาม บาตร และช้อน ที่ฉันเสร็จไปล้าง และด้วยความที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ สามเณรตั๋นและ สามเณรอีกรูป ก็ได้นำช้อน เอามาลอยเป็นเรือเล่น พอครูบาเจ้า บุญเป็ง อภิวงศ์เห็นเข้าท่านก็ได้บอกให้สามเณรทั้งสองว่า ไม่ควรเล่น มันไม่ดี มันจะเกิดอาเภท สามเณรทั้งสอง ก็หยุดเล่น พอตอนพลบค่ำก็เป็นจริง ดั่งคำที่ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ท่านได้กล่าว ตกดึกก็ได้ยินเสียงคำรามของเสือ ดังใกล้เข้ามาที่พักเรื่อย ๆ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ก็ได้ให้สามเณรทุกรูปมาสวด บทสวดกะระณียะเมตตะสุตตัง ( บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ) พอสวดได้สักพักเสียงคำราม ของเสือก็เริ่มไกลออกไป จนไม่ได้ยิน แต่ไม่มีใครกล้าออกมา พอรุ่งเช้าก็ออกมาดู เห็นรอยเท้าเสือรอบๆบริเวณที่พักเต็มไปหมด หลังจากนั้นทั้งคณะก็เดินทางลัดเลาะ ป่าเขามาถึงวัดแม่อวม พระบาทเมืองกาง ล่องมาถึงวัดพระธาตุศรีจอมทอง เพื่อกราบนมัสการพระธาตุศรีจอม ทอง เมื่อกราบนมัสการเสร็จ แล้วจึงเดินทางกลับมายังสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรูจนเวลาล่วงมาได้ ๑ พรรษา ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมด้วยพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ สามเณรตั๋น คำมูล พ่อหนาน ปัญญา ( เมื่อก่อนท่านเป็นพระภิกษุ ) ศิษย์วัดอีกหนึ่งคน ท่านเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ร่วมจาริกธุดงค์ไปยังเขตแดนต่างๆ เดินขึ้นเหนือ ผ่านเมืองเชียงใหม่ ค่ำที่ไหนก็นอนพักที่นั้น เดินทางผ่านแม่ริม แม่แตง แม่สา ป่ากล้วย แม่นะ ป่าบง แม่ก๊ะ เชียงดาว เดินผ่านดอยห้วยหนอง พักรอนแรมไปตามเทือกเขา ลำห้วย ลุถึงถ้ำตับเตา ก็ได้พักให้หายปวดเหมื่อย เมื่อหายปวดเหมื่อยแล้ว ก็เดินทางต่อผ่าน แม่ออน บ้านห้วยห้อม วัดแม่สุญหลวง วัดแม่แหลง กราบนมัสการครูบาเต๋จา แล้วธุดงค์ต่อไปบ้านอ่าย บ้านคาย บ้านแพะ บ้านสันป่าเหียง และเลยไปจนถึงพระธาตุสบฝาง ครูบาเจ้าวัดแม่แหลงท่านมีความศรัทธา จึง ได้ขอกราบอาราธนานิมนต์ให้ คณะครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ให้พำนักจำพรรษาพร้อมจัดหา คนคอยอุปัฏฐากรับใช้ ระหว่างที่พำนักอยู่ท่านได้ปฏิบัติธรรม และ อบรมสั่งสอนชาวบ้านให้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามพระธรรมคำสอน ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ และคณะอยู่ปฏิบัติธรรมที่ วัดแม่แหลงได้ประมาณเดือนเศษ พ่อแสนตาและศรัทธาญาติโยมบ้านท่าตอนได้มาฟังพระธรรมคำสอน ของท่านก็เกิดความเลื่อมใส ศรัทธาจึงขอกราบอาราธนานิมนต์ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมกับคณะอยู่จำพรรษาอยู่บนดอยบ้านท่าตอน พร้อมด้วยคณะวัดแม่แหลงก็อยู่ร่วมจำพรรษาด้วย ระหว่างจำพรรษา สามเณรตั๋น คำมูล ก็ได้หมั่นศึกษาหาความรู้อยู่มิได้ขาด พอเวลาล่วงมาถึงออกพรรษาแล้ว ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ก็เห็นว่าถึงเวลาอันควรแล้ว จึงขอลาศรัทธาญาติโยมชาวบ้านท่าตอน พาคณะเดินทางจาริกธุดงค์ต่อไปโดยอาศัยแพ ขึ้นเหนือจากท่าตอน พอค่ำที่ไหนก็นอนที่นั้นบางครั้งยังอาศัยหลับนอน บนแพ ที่ลอยยู่กลางแม่น้ำกก ล่องแพมาได้ ๒ วันก็มาถึงจังหวัดเชียงราย ขึ้นท่าน้ำเดินทางต่อ โดยทั้งคณะได้อาศัยรถยนต์ ไปอำเภอเชียงแสน
    ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ก็ได้พาสามเณรและศิษย์ ไปกราบคาราวะ พระสถูปเจ้าองค์คำ และเลยต่อไปบ้าน แม่คาว วัดกอกอก บ้านสัน วัดแม่คำ ไปจนถึงบ้านป่ากว๋าว และ ได้ขึ้นไปกราบนมัสการพระบรมธาตุดอยตุง เดือนยี่ แรม ๑ ค่ำ คณะครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ เดินทางโดยอาศัยรถยนต์ เพื่อไปกราบนมัสการพระเจ้าตนหลวงทุ่งเอี้ยง เมืองพะเยา นอนพักที่นั้นหนึ่งคืน พอตอนเช้าจึงออกเดินทางต่อไป อำเภองาว จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน แล้วจึงได้ขึ้นรถไฟเดินทางผ่าน เมืองลำปาง ลำพูน กราบนมัสการพระธาตุหริภุญชัย แล้วเดินทางผ่านสารภี มาถึงเมืองเชียงใหม่แล้ว ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมด้วยคณะ ก็เดินทางไปยัง วัดพระสิงห์วรวิหาร ซึ่งในขณะนั้นครูบาเจ้าศรีวิชัย ท่านเป็นประธาน( นั่งหนัก ) รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์วรวิหาร เมื่อครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้รู้ว่า ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมคณะเดินทางมายังวัดพระสิงห์วรวิหาร ครูบาเจ้าศรีวิชัยก็ได้ให้ศิษย์วัดกราบอาราธนานิมนต์ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ให้พำนักอยู่ที่วัดพระสิงห์วรวิหาร ๑ คืน พอรุ่งเช้าครูบาเจ้าศรีวิชัย ท่านก็ได้นิมนต์ใส่บาตร ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ แล้ว พระคุณเจ้าทั้งสองพร้อมคณะ ก็ร่วมฉันเช้าเมื่อฉันเสร็จ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมทั้งคณะก็ได้ขอกราบลาครูบาเจ้าศรีวิชัย เดินทางกลับมายังสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรูตามเดิม จากนั้นมา สามเณรตั๋น คำมูล อยู่อุปัฏฐากรับใช้ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ มาเป็นเวลา ๔ พรรษา ยังมีจิตใจเที่ยงมั่นในพระธรรมคำสอน ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครองอยู่ในผ้าเหลือง อยู่ตลอด เวลา มีศีลหมดใส จนอายุครบอุปสมบท
    อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
    เมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว สามเณรตั๋น คำมูล ก็ได้มีจิตใจประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ศึกษาค้นคว้าท่องบ่นจำพระวินัย ประพฤติเสขิยาวัตร จริยวัตร ความเป็นสามเณรเป็นอันดีงาม และเป็นที่รักใคร่ จนกระทั่งเจริญอายุครบ ๒๐ ปี ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ และ หลวงพ่ออ้ายอินทนนท์ ก็ได้จัดงานอุปสมบท ให้เมื่อวันที่ ๘ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ พัทธสีมา วัดศรีแดนเมือง ได้รับฉายาว่า “ ปัญญาภิกขุ ” ( แต่ภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็น “ ปัญโญภิกขุ ” เนื่องจากสมัยก่อนท่านมักจะโดนล้อว่า ฉายาปัญญาภิกขุนั้น ไม่เหมาะกับท่าน เพราะท่านเป็นคนที่ ความจำไม่ค่อยดี ท่านเลยเปลี่ยนจาก ปัญญา มาเป็น ปัญโญ ) มีพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ ( เจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง ) เป็นพระอุปัชฌา พระอุ้ย คัมภีโร ( วัดมะกับตองหลวง ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมา โพธิโก ( วัดศรีแดนเมือง ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ บวชเป็น พระ ภิกษุขึ้นอยู่กับวัดศรีแดนเมือง หลังจากนั้นก็ได้คอยติดตามอุปัฏฐากรับใช้ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ไปเข้าปริวาสกรรมตามที่ต่างๆ และยังออกธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ที่ห้วยลึก ๑ พรรษา ห้วยน้ำขาว ๑ พรรษา ดงป่าเฝ่า ๑ พรรษา น้ำออกรู ๒ พรรษา และเนื่องจากปีนั้นได้เกิดไฟป่าเผาไหม้ มายังบนดอย ทางทิศตะวันตก ของสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรู ประกอบกับมีลมแรงกระหน่ำ ได้พัดเอาลูกไฟก้อนมหึมานั้นลงมาใส่กุฏิของ ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ทำให้กุฏิของท่านนั้นไฟไหม้วอด ไปทั้งหลัง ข้าวของในกุฏิ มีมากมายหลายชนิด มีทั้ง พระพุทธรูป และ ของใช้ต่างๆ ถูกไฟเผาไหม้ วอดวาย เสียหายทั้งหมด ไม่มีอะไรเหลือเลย หลังจากนั้นท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ก็ได้มุ่งหน้าออกเดินธุดงค์ไปยังวัดจอมแจ้ง และท่านได้อยู่จำพรรษาที่นั้น ๑ พรรษา โดยมี พระตั๋น ปัญโญ คอยอุปัฏฐากรับใช้เรื่อยมา หลังจากนั้น ไม่นาน ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ไ ด้เกิดอาพาส ท่านก็เลยออกธุดงค์ต่อไปยังวัดท่าโป่ง ๑๗๓ หมู่ ๓ ตำบล บ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ และ หลังจากท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดท่าโป่ง ได้ไม่นาน ก็ได้มรณะภาพลง และเป็นที่น่าเศร้าใจยิ่งนักแก่บรรดาลูกศิษย์และญาติโยมทั้งหลาย สุดท้ายจึงได้ตามกันไปจัดงานพิธีฌาปนกิจ ถวายเพลิงท่านครูบาเสียตามประเพณี ณ สุสานแห่งนั้น ปัจจุบันนี้อัฐิของ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ได้บรรจุอยู่ที่ วัดดอยหยุด หมู่ ๒ ตำบลดอนเปา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ( สมัยก่อนดอยหยุด เป็นสำนักปฏิบัติธรรมอยู่ในเขตของวัดท่าโป่ง แต่ปัจจุบันนี้มีการแบ่ง แยกเขตจากเดิม สถานปฏิบัติธรรมดอยหยุด อยู่ตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง โดยได้แยกออกมาเป็นเขตของอำเภอแม่วางในปัจจุบัน ) ส่วนสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรู ก็เลยไม่มีใครเป็นตัวตั้งตัวตีสืบทอดอยู่ต่อไป ภายหลังจากการจัดงานฌาปนกิจให้แก่ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ เรียบร้อยแล้ว พระตั๋น ปัญโญ จึงได้กลับมาจำพรรษา ยังวัดศรีแดนเมืองตามเดิม อันเป็นวัดประจำภูมิลำเนาของ ท่านตลอดมา และ ศรัทธาญาติโยม ก็ได้สร้างกุฏิไม้ถวายท่าน ท่านก็ได้อยู่จำพรรษา ที่ วัดศรีแดนเมืองตลอดมา ด้วยความที่ท่านเป็นพระที่รักสงบ ท่านก็ไปปฏิบัติธรรมบนสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นบ้าง ( สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น หรือที่ชาวบ้านท้องที่เรียกว่า วัดดอยปู่ต้นสมัยก่อน มีพระธุดงค์รูปหนึ่ง ท่าน ชื่อว่าครูบาวงศ์ ได้เดินธุดงค์มาจากทางเชียงใหม่ และได้มาพักปฏิบัติธรรมอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น และ ท่านก็ได้มามรณะภาพลงที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น แห่งนี้ แสดงว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เคยมีพระสงฆ์อยู่ปฏิบัติธรรมมาก่อน เป็นระยะเวลาร่วม ๑๐๐ กว่าปีมาแล้ว ) หลังจากนั้นท่านพระอธิการสุพันธ์ ( จันทร์ ) สุวันโณ ท่านก็ได้ขึ้นมาบูรณะวิหาร สร้างศาลาปฏิบัติธรรม และ อยู่ปฏิบัติธรรม ที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น เป็นครั้งเป็นคราว ส่วนพระตั๋น ปัณโญ อยู่จำพรรษาที่วัดศรีแดนเมือง ได้ไม่นาน ก็ได้ย้ายขึ้น มาอยู่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น ศรัทธาญาติโยมก็ได้ช่วยกัน ลื้อกุฏิหลังเก่าของท่านที่วัดศรีแดนเมืองขึ้นมา สร้างถวายให้ท่านที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น และมีสามเณรขึ้น มาอยู่กับท่านด้วยในครั้งนั้น และเมื่อสามเณรได้ลาสิกขาบทออกไป ศรัทธาญาติโยมได้เห็นว่าท่านไม่มีคนคอยอุปัฏฐากรับใช้ ศรัทธาญาติโยมจึงได้มานิมนต์ท่านให้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีแดนเมืองตามเดิม และเมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง ว่างลง ด้วยบุคลิกของท่านเป็นผู้ที่สมถะ ไม่ฝักใฝ่ ในลาภยศ หรือ ตำแหน่งใดๆ ท่านมีจิตแน่วแน่ไปในทางปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเพียงอย่างเดียว ท่านจึงได้ย้ายขึ้นมาอยู่ที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นอีกครั้ง โดยไม่ยอมรับตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง ในปีพ.ศ. ๒๕๑๐ และศรัทธาก็ได้ทำการลื้อกุฏิไม้หลังเดิม ขึ้นมาสร้างบนสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นอีกครั้ง และท่านก็ได้ทำการบูรณะวิหารหลังเดิม ในปีพ.ศ. ๒๕๒๑ เมื่อเวลาผ่านไปกุฏิไม้หลังเก่า เริ่มมีสภาพชำรุด ทรุดโทรม จึงมีศรัทธาญาติโยมนำโดย คุณ เจนจิตร ดาวเจริญ และ คณะรับเป็นเจ้าภาพจัดสร้างกุฏิหลังใหม่ให้ท่าน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ และ ในปีที่ พ.ศ. ๒๕๔๗ หลวงปู่ครูบาตั๋น กับ ศรัทธาญาติโยม ก็ได้ทำการลื้อศาลาการเปรียญ และสร้างขึ้นมาใหม่ในวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อเอาไว้ใช้ปฏิบัติศาสนากิจ บำเพ็ญเพียร ปฏิบัติธรรม และจัดงานต่างๆใน วันสำคัญ ตลอดระยะเวลากว่า ๕๐ ปี หลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ ท่านได้อยู่จำพรรษา และ ปฏิบัติธรรม อยู่บนสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น และ คอยอบรมสั่งสอนศรัทธาญาติโยมที่มาทำบุญกับท่าน ตลอดมาจวบจนทุกวันนี้
    วัตรปฏิบัติของสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรู
    เวลา ๐๔.๐๐ น. ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ จะตีระฆังเงี่ยง ตุ๊ลุงตัน สุวัณโณ จะตีกรก ( ตีเกราะ ) ตุ๊ลุงมา ตุ๊ลุงอ้ายและลุงมาเปี้ย ก็ตีเกราะเหมือนกัน สำหรับสามเณรน้อยทั้ง ๔ รูป ก็ตีเกราะด้วยเช่นกัน แล้วจึงออกไปชำระร่างกายตนเอง ที่ตีเกราะกันนั้นเพื่อที่จะให้บุคคลในที่นั้นๆ ตื่นขึ้น เฉพาะที่พักของเณรก็มีเกราะอยู่ใบหนึ่งสำหรับตีกัน แต่พวกเณรมี ๔ รูป ต้องเปลี่ยนกันตีเกราะคนละวันเวียนกันไป ทำกันอยู่อย่างนี้ตลอดพรรษา เสร็จแล้วทั้งพระและ เณร ก็พากันไปสวดมนต์ที่กุฏิของ ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์พร้อมกัน สวดมนต์เสร็จแล้ว ต้องลงไปนั่งที่โคนต้นไม้คนละต้น เพื่ออธิฐานรุกขมูลลิกังคะธุดงค์ หากเป็นวันพระวันศีล ท่านครูบาจะให้ขึ้นทำวัตรเอกา ( ฉันมื้อเดียว ) เพิ่มเติม และ วัตรเนสัชชิกังคะ ให้ถืออิริยาบถ ๓ มี นั่ง ยืน เดิน เท่านั้น วันนั้น ห้ามนอนไปจนกว่าจะถึง ๒๔.๐๐ น. จาก นั้นจึงนอนได้ แต่ละวันนั้นเมื่อตื่นมาแล้ว ก็ต้องปฏิบัติกิจประจำวัน ตอนเช้าหลังออกจากรุกขมูล ก็ให้ไปช่วยทำอาหารซึ่งมีลุงมาเปี้ยเป็นหัวหน้า เสร็จแล้วเตรียมใส่บาตร แล้วจึงฉันภัตตาหารได้ การฉันก็ฉันแบบเอกา คือฉันหนเดียวทั้งพระทั้งเณร ฉันเสร็จแล้วสวดบท ทายะ-กานัง อนุโมทามิ ฯ จากนั้นก็พักผ่อนตามอัธยาศัยได้ บางวันมีมะพร้าวอ่อน กล้วยสุก และผลไม้ อื่นๆ ที่โยมนำมาถวาย ท่านครูบาจะให้ปลงวัตรเอกาแล้วมาฉันได้อีก ข้อนี้ไม่บังคับ หรือ หากวันใด มีการขุดดิน ขนดิน ตัดฟืน ปลูกผัก หรือมีงานหนักๆ ท่านครูบาจะให้ปลงเอกาด้วย ตอนเย็นประมาณบ่าย ๓ โมง จะพากันไปหาผักต่างๆ จากลำห้วยหรือในป่ามาไว้ทำอาหารพรุ่งนี้เช้า เวลา ๑๗.๓๐ น. สรงน้ำเสร็จแล้วไปนั่งโคนต้นไม้เจริญกัมมัฏฐานภาวนา เวลา ๑๙.๐๐ น. ท่านครูบาจะตีระฆังเงี่ยงและเกราะจากนั้นก็จะไปรวมกันสวดมนต์ที่ กุฏิของท่านครูบา เสร็จแล้วท่านครูบาก็จะ ให้โอวาทแล้วก็เลิก เวลา ๒๑.๐๐ น. ไปไหว้พระที่กุฏิของท่านครูบาพร้อมกัน แล้วกลับไปพักผ่อนหลับนอน วนเวียนกันอยู่อย่างนี้ นี่เป็นระเบียบข้อวัตรปฏิบัติของสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรูใน

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2021

แชร์หน้านี้

Loading...