อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ?temp_hash=ae323f98d8415475009cb20b9baa9b3b.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    -5x64Pt9BWZq5k5fLd64ivhhx5H1ZLXQ4CM5u4rN9Bq-&_nc_ohc=1RDqYpBBd6cAX-emuJS&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    hlrce7mgddeih5wnrjuyqcn765n3xqkybdpwb9kwp1hz1k25kassrz75i3wlds7ghhsd-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    วิโมกข์ ความหลุดพ้นจากกิเลส มี ๓ ประเภทคือ
    ๑. สุญญตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตา แล้วถอนความยึดมั่นได้ มองเห็นความว่าง
    ๒. อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจัง แล้วถอนนิมิตได้
    ๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกข์ แล้วถอนความปรารถนาได้


    สุญญตวิโมกข์ ความหลุดพ้นโดยว่างจาก ราคะ โทสะ โมหะ
    หมายถึง มองเห็นความว่าง หมดความยึดมั่น คือพิจารณาเห็นนามรูปโดยความเป็นอนัตตา
    พูดสั้นๆ ว่า หลุดพ้นเพราะเห็นอนัตตา
    (ข้อ ๑ ในวิโมกข์ ๓)


    อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต
    คือ หลุดพ้นด้วยพิจารณาเห็นนามรูปเป็นอนิจจะ แล้วถอนนิมิตได้
    (ข้อ ๒ ในวิโมกข์ ๓)


    อรหัตตวิโมกข์ ความพ้นจากกิเลสด้วยอรหัต หรือเพราะสำเร็จอรหัต
    คือ หลุดพ้นขั้นละกิเลสได้สิ้นเชิงและเด็ดขาด สำเร็จเป็นพระอรหันต์

    อัปปณิหิตวิโมกข์ ความหลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา
    คือ พิจารณาเห็นนามรูปเป็นทุกข์ แล้วถอนความปรารถนาเสียได้
    (ข้อ ๓ ในวิโมกข์ ๓)
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    original_2995.jpg
    "ตั้งสติให้มันเป็นมหาสตินั่น เอาให้มันเข้าอัปปนาสมาธิ เข้าลึกแท้ๆ แล้วมันก็หลับโลดแล้ว มันเข้าภวังจิต ต้องถอนออกมาแล้วถอนมันอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ให้มันอยู่ระหว่างกลาง ให้มันเข้าถึงก็ถอนออกมา มันจะมีความรู้ดอก เบิ่งหัวใจเจ้าของนั่น อย่าไปลดละ ทำอยู่นั่นล่ะ ให้จิตอยู่ที่จิต ใจมันอยู่ใจเท่านั้น อันนี่มันบ่มีสติ ให้มีสติ สติให้มันเป็นมหาสติ มันทันๆ อยู่นั่นจึงค่อยสิเห็น สิเกิดดอก มันเกิดไปเองดอก อันนั่นมันเป็นอัตโนมัติ

    สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่นเด๊ บ่เอียงเอนแล้ว คือหลักเขื่อนเขาปักไว้ได้ มีแล้ว ลมมาก็บ่เอนเอียง สมถะ แปลว่า สงบ แยกไปแล้วก็เป็นการบริกรรมนั่นแล้ว"

    พระธรรมเทศนาหลวงปู่ลี กุสลธโร วัดภูผาแดง จ.อุดรธานี
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    HYtZYwmR44wZjnInI_IaOcm65a5XQM8YsMifU1HPj3JUzmIB4ixFcPpOAvh-E_IBr-ehLUhD&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    องค์ธรรม ๗ ประการมีสัมมาทิฏฐิ เป็นหัวหน้าแวดล้อมซึ่งสัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ ผู้มีสัมมาสมาธิพอเหมาะ (บริบูรณ์ครบถ้วนไม่ขาดไม่เกิน) ก็จะมีสัมมาญาณญาณะและสัมมาวิมุตติด้วย
    ************
    [๑๔๑] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
    สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
    คือ ผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาวายามะ สัมมาสติก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสติ สัมมาสมาธิก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติก็มีพอเหมาะ

    ภิกษุทั้งหลาย พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ (แม้ในบรรดาองค์เหล่านั้น บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกไปปราศแล้ว ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนาโดยสัมมาญาณะ) ด้วยประการฉะนี้

    [๑๔๒] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
    สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
    คือ สัมมาทิฏฐิ ย่อมทำลายมิจฉาทิฏฐิได้ และบาปอกุศลธรรมเป็นอเนกอันมีมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็เป็นอันถูกสัมมาทิฏฐินั้นทำลายแล้ว กุศลธรรมเป็นอเนกอันมีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
    สัมมาสังกัปปะ ย่อมทำลายมิจฉาสังกัปปะได้ ...
    สัมมาวาจา ย่อมทำลายมิจฉาวาจาได้ ...
    สัมมากัมมันตะ ย่อมทำลายมิจฉากัมมันตะได้ ...
    สัมมาอาชีวะ ย่อมทำลายมิจฉาอาชีวะได้ ...
    สัมมาวายามะ ย่อมทำลายมิจฉาวายามะได้ ...
    สัมมาสติ ย่อมทำลายมิจฉาสติได้ ...
    สัมมาสมาธิ ย่อมทำลายมิจฉาสมาธิได้ ...
    สัมมาญาณะ ย่อมทำลายมิจฉาญาณะได้ ...
    สัมมาวิมุตติ ย่อมทำลายมิจฉาวิมุตติได้ และบาปอกุศลธรรมเป็นอเนก อันมีมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็เป็นอันถูกสัมมาวิมุตตินั้นทำลายแล้ว กุศลธรรมเป็นอเนกอันมีสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่

    ภิกษุทั้งหลาย เราจึงประกาศธรรมบรรยายชื่อว่ามหาจัตตารีสกะฝ่ายกุศล ๒๐ ประการ ฝ่ายอกุศล ๒๐ ประการ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกยังประกาศไม่ได้ไว้ ด้วยประการฉะนี้
    …ฯลฯ...
    .....................
    ข้อความบางตอนใน มหาจัตตารีสกสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=17

    อรรถกถามหาจัตตารีสกสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=252

    d8-wmhri1ppxtpkfw8iq3kxt_z50kvo7dbjn1ffr-_nc_ohc-7x0bohcgtaiax-4igux-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    2019-01-31_023514.jpg
    พระไตรปิฎกศึกษา
    อนุสสติ ๑๐ อย่าง เป็นเหตุให้เกิดสติ


    (มีสติด้วยเหตุอีก ๑๐ อย่าง คือ)
    ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงพุทธคุณ
    ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมคุณ
    ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงสังฆคุณ
    ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงศีลที่ตนรักษา
    ๕. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
    ๖. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา
    ๗. ชื่อว่ามีสติ เพราะตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
    ๘. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา
    ๙. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกทั่วไปในกาย(ให้เห็นว่าไม่งาม)
    ๑๐. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับ(กิเลสและความทุกข์) คือนิพพาน
    …….
    ข้อความบางตอนใน กามสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=1

    พระสารีบุตรเถระแสดงวิปัสสนาโดยเปรียบด้วยโครงกระดูกเป็นต้น และเปรียบด้วยกองไฟเป็นที่สุดอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงอุปจารสมาธิ จึงกล่าวคำว่า พุทฺธานุสฺสตึ ภาเวนฺโต เป็นต้น.
    บรรดาบทเหล่านั้น สตินั่นแหละ ชื่อว่าอนุสสติ เพราะเกิดขึ้นบ่อยๆ.
    อนึ่ง ชื่อว่าอนุสสติ เพราะอรรถว่าสติที่สมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา เพราะเป็นไปในฐานะที่ควรให้เป็นไปนั่นเอง ดังนี้ก็มี.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระพุทธเจ้า ชื่อว่าพุทธานุสสติ. คำว่า พุทธานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระพุทธคุณ, มีความเป็นพระอรหันต์เป็นต้นเป็นอารมณ์ซึ่งพุทธานุสสตินั้น.
    บทว่า ภาเวนฺโต ได้แก่ เจริญอยู่คือเพิ่มพูนอยู่.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระธรรม ชื่อว่าธรรมานุสสติ, คำว่า ธรรมานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระธรรมคุณ, มีความเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระสงฆ์ ชื่อว่าสังฆนุสสติ. คำว่า สังฆานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระสังฆคุณ, มีความเป็นผู้ปฏิบัติดีเป็นต้นเป็นอารมณ์.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภศีล ชื่อว่าสีลานุสสติ. คำว่า สีลานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีศีลคุณ, มีความไม่ขาดเป็นต้นของตนเป็นอารมณ์.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภจาคะ ชื่อว่าจาคานุสสติ. คำว่า จาคานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีจาคคุณ, มีความเป็นผู้มีจาคะอันสละแล้วของตนเป็นต้น เป็นอารมณ์.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภเทวดา ชื่อว่าเทวตานุสสติ. คำว่า เทวตานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีคุณมีศรัทธาของตนเป็นต้น ตั้งเทวดาทั้งหลายไว้ในฐานะพยานเป็นอารมณ์.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภลมหายใจเข้าออก ชื่อว่าอานาปานัสสติ. คำว่า อานาปานัสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีนิมิตแห่งลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความตาย ชื่อว่ามรณานุสสติ. คำว่า มรณานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีความตายกล่าวคือความแตกแห่งชีวิตินทรีย์ที่นับเนื่องในภพหนึ่งเป็นอารมณ์.
    สติที่ไป, คือเป็นไปในสรีระที่นับว่ากาย เพราะเป็นความเจริญ คือเป็นบ่อเกิดของสิ่งปฏิกูลทั้งหลายมีผมเป็นต้นที่น่าเกลียด ชื่อว่า กายคตาสติ.
    เมื่อควรจะกล่าวว่า กายคตสติ ท่านกล่าวว่า กายคตาสติ เพราะไม่รัสสะ แม้ในที่นี้ท่านก็กล่าวคำนี้เป็นกายคตาสติ เหมือนกัน. คำว่า กายคตาสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีนิมิตปฏิกูลในส่วนของร่างกายมีผมเป็นต้นเป็นอารมณ์.
    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความสงบ ชื่อว่าอุปสมานุสสติ คำว่า อุปสมานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระนิพพานอันเป็นที่เข้าไปสงบทุกข์ทั้งปวงเป็นอารมณ์.
    ผู้เจริญปฐมฌานอันประกอบด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุขและจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญทุติยฌานอันประกอบด้วยปิติ สุขและจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญตติยฌานอันประกอบด้วยสุขและจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญจตุตถฌานอันประกอบด้วยอุเบกขาและจิตเตกัคคตา ฯลฯ แม้ผู้เจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย.
    พระสารีบุตรเถระแสดงการละกามโดยการข่มไว้ด้วยประการฉะนี้.
    ……..
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถากามสุตตนิทเทสhttp://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไว้ไม่รุ่งเรือง
    ...........
    ข้อความบางตอนใน ปฏิจฉันนสูตร อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php…

    พระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก ชื่อว่าสิ่งที่เปิดเผยโดยทั่วไป.
    ........
    ข้อความบางตอนในอรรถกถา อรรถกถาปฏิจฉันนสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=571

    8sidkzusm990zavbplm0fuwzx45uct-8sp17m9epdf0uotwfxbitkvrlbcr8bgcrm2qt-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    อ่านใจตนเอง [ฉบับย่อ]
    โดย ท่าน ก.เขาสวนหลวง


    ชัยชนะของผู้ไม่มีตัวตน

    จงหมั่นฝึกให้เป็นผู้มีการเสียสละปล่อยวาง รู้จักฝึกให้มีชัยชนะเหนือทุกข์ เหนือกิเลสอยู่รื่อยๆ ด้วยการไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวในตน เพราะถ้าไม่หมั่นกดหัวกู ตัวกูลงไปบ้างก็จะเดือดร้อนกันจริงๆ เพราะไม่ว่าใคร ก็มีตัวกูด้วยกันทั้งนี้น แต่ต้องรู้จักข่มขี่ทรมาน ละพยศร้ายของตัวกู

    การทำดีทำถูก ให้มันดีมันถูกไปตามธรรมชาติ ไม่ยึดว่าตัวเราดี ตัวเราถูก การยึดถือตัวเราดีนี้ ก่อให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นขึ้นมามากมาย ถ้าตัวดี ตัวเด่นยังตระหง่านอยู่ มันหาเรื่องเก่ง ถ้าไม่ข่มขี่ตัวนี้ลงไปก็ยังเดินไม่ถูกทาง

    ที่หลงยึดมั่นถือมั่นเป็นความโง่ ถ้ามีความรู้ถูกต้องขึ้นมา จะเห็นโลกโดยความเป็นของว่าง

    เรื่องดีๆ ชั่วๆ ตัวเรา ตัวเขา ล้วนเป็นของหลอกๆ ถึงเราจะไปหมายอะไรข้างหน้า หรือหมายยึดมั่นในเรื่องอดีตที่ผ่านมาแล้ว และมาจับปรุงในขณะปัจจุบัน ก็เป็นเรื่องลมๆ แล้งๆ เหมือนกัน ไม่มีอะไรเป็นตัวจริงเลย ทำไป พูดไป คิดไป ดับเรื่อยไป ไม่มีอะไรเหลือ ถ้าไปยึดมั่นถือมั่นก็ทุกข์ไปเปล่าๆ

    การยกหูชูหาง การต้องการอะไรเพื่อตน ก็เรื่องของกิเลสทั้งนั้น วุ่นวายไปตามอำนาจของความยึดมั่นถือมั่น การทำด้วยความมีตัวตนเข้ามาเกี่ยวข้องมันทั้งเหนื่อย ทั้งหนัก ทั้งร้อน ทั้งวุ่น

    ถ้าทำด้วยจิตที่ว่างจากตัวตน จะได้ความเบา ได้ความสบาย ได้ความเย็น ได้ความสุขหลายอย่าง เป็นการใช้หนึ้ธรรมชาติไปในตัว และไม่ต้องการอะไรตอบแทน

    ถ้ารู้สึกตัวขึ้นมาได้ จิตใจจะเป็นอิสระ ว่างจากสิ่งรบกวนได้เรื่อยๆ แม้จะมีเครื่องกระทบ ก็ไม่เอาใจใส่ คงเฉยและปล่อยวางออกไปได้ ในที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะ
     
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ผู้ไม่มีศรัทธาและผู้มีศรัทธา
    ………………….
    [๒๐๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
    อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
    คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีสุตะน้อย เป็นผู้เกียจคร้าน หลงลืมสติ มีปัญญาทราม บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ

    อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
    คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่มีศรัทธาและชักชวนผู้อื่นให้ไม่มีศรัทธา ตนเองเป็นผู้ไม่มีหิริและชักชวนผู้อื่นให้ไม่มีหิริ ตนเองเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะและชักชวนผู้อื่นให้ไม่มีโอตตัปปะ ตนเองเป็นผู้มีสุตะน้อยและชักชวนผู้อื่นให้มีสุตะน้อย ตนเองเป็นผู้เกียจคร้านและชักชวนผู้อื่นให้เกียจคร้าน ตนเองหลงลืมสติและชักชวนผู้อื่นให้หลงลืมสติ ตนเองมีปัญญาทรามและชักชวนผู้อื่นให้มีปัญญาทราม บุคคลนี้เรียกว่าอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นอย่างไร
    คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ เป็นพหูสูต ปรารภความเพียร มีสติ มีปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ

    สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
    คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีศรัทธาและชักชวนผู้อื่นให้มีศรัทธา ตนเองเป็นผู้มีหิริและชักชวนผู้อื่นให้มีหิริ ตนเองเป็นผู้มีโอตตัปปะและชักชวนผู้อื่น ให้มีโอตตัปปะ ตนเองเป็นพหูสูตและชักชวนผู้อื่นให้เป็นพหูสูต ตนเองมีสติตั้งมั่นและชักชวนผู้อื่นให้มีสติตั้งมั่น ตนเองเป็นผู้มีปัญญาและชักชวนผู้อื่นให้มีปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ
    ……………..
    อัสสัทธสูตร อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=137

    w7-k8nxmz4p19sgu9otrozk773chnkdu4fnhvqriqm94pjpriqg7kalocizlip6mcoc2-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    -aqmopfy7g5ohl48lu4u3ojqeg7wjzschpqzpiaor5iocvdzaefhxfypkokh2gfsqr4q-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
    บรรลุธรรมโดยไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้า

    ถาม :
    แต่ก่อนผมสงสัยครับว่าพระสารีบุตร ท่านฟังธรรมจากพระอัสชิเถระแล้วบรรลุเป็นพระโสดาบัน โดยที่ไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้าเลยได้อย่างไร ?

    ธรรมที่พระอัสชิเถระ ท่านสอนว่า "ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ พระตถาคตกล่าวเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้"

    หลังจากฟังจบแล้ว พระสารีบุตรเป็นบรรลุเป็นพระโสดาบันทันที แล้วท่านก็เอาไปบอกพระโมคคัลลานะ ท่านก็บรรลุเป็นพระโสดาบันทันที

    ผมสงสัยมาหลายเดือนมาก ผมเลยพิจารณาเลยสรุปได้ว่า ทุกอย่างในโลกนี้ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน และทุกอย่างในโลกนี้ ก็มีสภาพเปลี่ยนแปลงเสื่อมสลาย และในที่สุดก็ไม่มีใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง

    เลยไปตรงกับคำสั่งสอนของพระที่ว่า "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" เลยอยากทราบว่า ท่านพิจารณาประมาณนี้เปล่าครับเลยได้เป็นพระโสดาบัน ?

    ตอบ : ไม่ได้ถามท่านเสียด้วย ต้องบอกว่าคนถามฟุ้งซ่านได้ดีมาก ความจริงต้องแยกเป็นสองประเด็น ประเด็นแรกก็คือไม่ได้พบพระพุทธเจ้าแล้วบรรลุมรรคผลได้อย่างไร ?

    ไม่มีกติกาข้อไหนที่ต้องพบพระพุทธเจ้าแล้วถึงบรรลุมรรคผล เพราะว่าหลักธรรมของพระองค์ท่านเป็นสากล เป็นอกาลิโก ผู้ใดที่เข้าใจ มั่นใจว่าตนเองทำได้ ตัดสินใจทำทันที

    บุคคลนั้นย่อมได้มรรคผลไปตามวาสนาบารมีของตน


    ส่วนประเด็นที่สองก็ที่ว่าไปแล้ว ในเมื่อท่านฟังเข้าใจ มั่นใจว่าตนเองทำได้ ตัดสินใจว่าจะทำ ท่านก็ย่อมได้รับมรรคผลของท่านไป
    ............................................
    ๖๐ ปี พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ วัดท่าขนุน)
    เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๙
    ที่มา : www.watthakhanun.com
     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    พระไตรปิฎกศึกษา

    เทศนา ๒ อย่าง คือ สมมติเทศนา (เทศนาเกี่ยวกับสมมติ) และปรมัตถเทศนา (เทศนาเกี่ยวกับปรมัตถ์)

    *************
    เทศนา ๒

    พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า มี ๒ อย่าง คือ สมมติเทศนา (เทศนาเกี่ยวกับสมมติ) ๑ ปรมัตถเทศนา (เทศนาเกี่ยวกับปรมัตถ์) ๑.

    ในจำนวนเทศนาทั้ง ๒ อย่างนั้น สมมติเทศนา มีรูปความอย่างนี้ว่า บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทพ มารเป็นต้น.

    ส่วนปรมัตถเทศนา มีรูปความอย่างนี้ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐานเป็นต้น.

    ในจำนวนเทศนาทั้ง ๒ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสมมติเทศนาแก่เหล่าพุทธเวไนยผู้ที่ฟังพระธรรมเทศนาว่าด้วยเรื่องสมมติแล้ว เข้าใจเนื้อความทะลุปรุโปร่ง สามารถละโมหะบรรลุคุณวิเศษได้

    ส่วนคนเหล่าใดฟังพระธรรมเทศนาว่าด้วยเรื่องปรมัตถ์แล้ว เข้าใจเนื้อความทะลุปรุโปร่ง สามารถละโมหะบรรลุคุณวิเศษได้ พระองค์ก็ทรงแสดงปรมัตถเทศนาให้เขาฟัง.


    เปรียบเทียบความ

    ในการทรงแสดงพระธรรมเทศนาทั้ง ๒ อย่างนั้นมีข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้. อุปมาเหมือนอาจารย์ผู้บรรยายไตรเพท รู้ภาษาถิ่น เมื่อพูดภาษาทมิฬ นักเรียนพวกใดเข้าใจความหมาย ก็จะบอกเขาเหล่านั้นด้วยภาษาทมิฬ. แต่ถ้าพวกใดเข้าใจความหมายด้วยภาษาใดภาษาหนึ่งในจำนวนภาษาทั้งหลายมีภาษาอันธกะเป็นต้น ก็จะบอกเขาเหล่านั้นด้วยภาษานั้น. เมื่อเป็นเช่นนั้น มาณพน้อย (นักเรียน) เหล่านั้นได้อาศัยอาจารย์ผู้ฉลาดหลักแหลม จะเรียนศิลปะได้เร็วทีเดียวฉันใด.

    ในข้ออุปไมยนั้นก็ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทราบว่าเหมือนอาจารย์ พระไตรปิฎกที่อยู่ในภาวะที่จะต้องทรงสอนเหมือนไตรเพท พระปรีชาฉลาดในสมมติและปรมัตถ์ เหมือนความฉลาดในภาษาถิ่น เวไนยสัตว์ผู้สามารถแทงตลอดด้วยสมมติเทศนาและปรมัตถเทศนา เหมือนมาณพน้อย (นักเรียน) ผู้พูดภาษาถิ่นต่างๆ พระธรรมเทศนาว่าด้วยสมมติและปรมัตถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนการบอก (ไตรเพท) ด้วยภาษาทมิฬเป็นต้นของอาจารย์.
    และในการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสมมติเทศนาและปรมัตถเทศนานี้ พระโบราณาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า :-

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าผู้สอนทั้งหลายได้ตรัสสัจจะไว้ ๒ อย่าง คือ สมมติสัจจะ ๑ ปรมัตถสัจจะ ๑
    ไม่มีสัจจะอย่างที่ ๓ พระพุทธดำรัสเกี่ยวกับสมมติ (สังเกต)
    ชื่อว่าเป็นสัจจะ เพราะเหตุที่เป็นสมมติของโลก
    ส่วนพระพุทธดำรัสเกี่ยวกับปรมัตถ์ ชื่อว่าเป็นสัจจะ
    เพราะเหตุที่เป็นความจริงของธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น
    สำหรับพระโลกนาถศาสดา ผู้ทรงฉลาดในโวหารเทศนา
    ตรัสถึงสมมติ มุสาวาทจึงไม่เกิดขึ้น (ไม่เป็นการกล่าวเท็จ) ดังนี้.

    เหตุตรัสบุคคลกถา ๘ ประการ

    อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสบุคคลกถา (ถ้อยคำระบุบุคคล) ด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ
    ๑. เพื่อทรงแสดงถึงหิริและโอตตัปปะ
    ๒. เพื่อทรงแสดงถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน
    ๓. เพื่อทรงแสดงถึงการกระทำของคนโดยเฉพาะตัว
    ๔. เพื่อทรงแสดงถึงอนันตริยกรรม
    ๕. เพื่อทรงแสดงถึงพรหมวิหารธรรม
    ๖. เพื่อทรงแสดงถึงบุพเพนิวาสานุสสติญาณ
    ๗. เพื่อทรงแสดงถึงทักขิณาวิสุทธิ
    ๘. เพื่อไม่ทรงละทิ้งสมมติของโลก.

    ขยายความเหตุ ๘ ประการ

    เมื่อพระองค์ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลายละอายแก่ใจอยู่ เกรงกลัวบาปอยู่ มหาชนจะไม่เข้าใจ พากันพิศวงงงงวย โต้แย้งว่า นี้อะไรกัน ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลายละอายแก่ใจ เกรงกลัวต่อบาปด้วยหรือ? ดังนี้

    แต่เมื่อพระองค์ตรัสว่า บุรุษ กษัตริย์ พราหมณ์ เทพ มาร (ละอายแก่ใจ เกรงกลัวต่อบาป) ดังนี้. มหาชนจะเข้าใจ ไม่พิศวงงงงวย ไม่โต้แย้ง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงหิริและโอตตัปปะ.

    แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของตนดังนี้ ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน.

    แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า มหาวิหารมีพระเวฬุวันเป็นต้น ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลายสร้างไว้ดังนี้ ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงการกระทำของคนโดยเฉพาะตัว.

    แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลายปลงชีวิตมารดา บิดา พระอรหันต์ ทำโลหิตุปบาทกรรม (ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต) (และ) ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ดังนี้. ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงอนันตริยกรรม.

    แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลายย่อมเมตตา (รักใคร่สัตว์ทั้งหลาย) ดังนี้ ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงพรหมวิหารธรรม.

    แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลายระลึกชาติที่เคยอยู่ก่อนของเราได้ ดังนี้ ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงการระลึกชาติที่อยู่มาก่อนได้.

    แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลายรับทานดังนี้ มหาชนจะไม่เข้าใจ พากันพิศวงงงงวย โต้แย้งว่า นี้อะไรกัน ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลายรับทานด้วยหรือ? ดังนี้.

    แต่เมื่อตรัสว่า บุคคลผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมรับทานดังนี้ มหาชนก็เข้าใจ ไม่พิศวงงงงวย ไม่โต้แย้ง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงความบริสุทธิ์แห่งทักษิณาทาน.

    เพราะว่า ธรรมดาพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายจะไม่ทรงละทิ้งสมมติของโลก ทรงดำรงอยู่ในถ้อยคำของชาวโลก ในภาษาของชาวโลก ในการเจรจาของชาวโลกนั้นแหละทรงแสดงธรรม เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถาไว้เพื่อไม่ละทิ้งสมมติของโลกเสีย.

    ฉะนั้น ท่านองค์นี้ (พระสารีบุตรเถระ) เมื่อจะไม่ให้ขัดแย้งกับพระธรรมเทศนาพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ดำรงอยู่ในสมมติของโลก แล้วกล่าวคำมีอาทิว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคล ๔ ประเภทเหล่านี้ ดังนี้ เพราะเหตุเป็นผู้ฉลาดในสำนวนโลก เพราะฉะนั้น บุคคลในที่นี้โปรดทราบตามสมมติเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงปรมัตถ์.

    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาอนังคณสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…

    ศึกษาเพิ่มเติมใน อนังคณสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=5

    ดูเทียบกับ อรรถกถาเอกปุคคลวรรคที่ ๑๓ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=139

    wD8rEKh1PSQwc8LiOZkwppMNcbpNpV7iOyGwVaxT9XMq&_nc_ohc=6XECaB3wB8YAX9lHtNi&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    พระสุตตันตปิฎก เรียกว่าโวหารเทศนา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้ฉลาดในโวหาร (บัญญัติศัพท์) ทรงแสดงมากไปด้วยโวหาร.
    ****************
    ว่าโดยเทศนา

    จริงอยู่ บรรดาปิฎกทั้ง ๓ นี้ พระวินัยปิฎก เรียกว่าอาณาเทศนา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ควรแก่การใช้อำนาจ (อาณา) ทรงแสดงมากไปด้วยอาณา (อำนาจ).

    พระสุตตันตปิฎก เรียกว่าโวหารเทศนา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้ฉลาดในโวหาร (บัญญัติศัพท์) ทรงแสดงมากไปด้วยโวหาร.

    พระอภิธรรมปิฎก เรียกว่าปรมัตถเทศนา เพราะความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ฉลาดในปรมัตถธรรม ทรงแสดงมากไปด้วยปรมัตถธรรม.
    …………
    ข้อความบางตอนใน อารัมภกถา อรรถกถาธรรมสังคณี ชื่ออัฏฐสาลินี
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…

    jQiTt_1_SB6BfSjQkPuZe-2sKbWtuJjCKY_5yol-cHCI&_nc_ohc=K6DCOb-uBlgAX-phhio&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    เพราะฉะนั้น บัญญัติเห็นปานนี้ จึงชื่อว่า
    วิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ
    เพราะบัญญัติอวิชชมานะ (สิ่งที่ไม่มีอยู่)
    ร่วมกับวิชชมานะ (สิ่งที่มีอยู่)...
    ………….
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาปุคคลปัญญัติปกรณ์ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36.2&i=1
    j15OPAdQ5-fRb-DbmGmjXz7v13maC2QGejw9BrfElzNP&_nc_ohc=c-W1sLQcZaAAX-X-zY9&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ?temp_hash=61b69edbbb4c66fb201a91b810fdcf5a.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    -aqkkeoqghfq1brktxlixbhfz9o77w_m-i8nh46sgsl1eotlwnpsbsluw91nkyc6-wxc-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg

    ท่านพระอาจารย์มั่นเทศนาธรรมให้ฟังว่า

    " ฟังให้ดีนะท่านเจี๊ยะ ปฏิภาคนิมิตนั้นอาศัยผู้ที่มีวาสนาจึงจะบังเกิดขึ้นได้...

    อุคคหนิมิตนั้นเป็นของไม่ถาวร
    ต้องพิจารณาให้ชำนาญแล้วเป็นปฏิภาคนิมิต

    เมื่อชำนาญทางปฏิภาค ทวนกระแสเข้ามาเป็นตน
    ปฏิภาคนั้น เป็นส่วนวิปัสสนา

    สำหรับอุปจารสมาธิ
    สามารถรู้วาระจิตของผู้อื่นได้ สามารถแก้นิวรณ์ได้
    แต่โมหะคลุมจิต

    ถ้าเจริญวิปัสสนาถึงขั้นอัปปนาสมาธิแล้ว
    จะต้องทำความรู้ให้เต็มเสียก่อน จิตจึงจะไม่หวั่นไหว

    การที่จะสอนการดำเนินสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน โดยเฉพาะเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นมิได้

    เพราะว่าจริตของคนมันต่างกัน แล้วแต่ความสะดวกไหวพริบของใคร
    เพราะการดำเนินจิต มีหลายแง่หลายมุมแล้วแต่ความสะดวก

    นิมิตทั้งหลายเกิดด้วยปีติสมาธิอย่างเดียว...
    ที่แสดงตามนิมิตออกมาทั้งหลายนั้น กรุณาท่านอย่าหลงตามนิมิต...

    ให้พยายามทวนกระแสจิตเข้าสู่จิตเดิม เพราะนิมิตทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง หลงเชื่อนิมิตประเดี๋ยวก็เป็นบ้า

    การที่จะแก้บ้านิมิตนั้น ต้องทวนกระแสจิตเข้าสู่จิตเดิม
    ถ้าทำได้อย่างนั้น
    อย่างบางทีเรานั่งภาวนาอยู่กลางป่าเขา มีเสือมานั่งเฝ้าเราผู้บำเพ็ญพรตอยู่กลางป่าเพียงลำพัง เสือนั้นเป็นเทพมิตเสียโดยมาก ถ้าเป็นเสือจริงมันเอาเราไปกินแล้ว"

    ท่านพระอาจารย์มั่นท่านเมตตาพูดธรรมะให้ฟังเพียงสั้นๆ เท่านี้ ก็เกิดความกินใจเป็นอย่างยิ่ง นึกถึงธรรมะคำสอนและองค์ท่านเมื่อไหร่ น้ำตามันจะปริ่มไหลเพราะความถึงใจทุกที น้ำตานี้จึงเป็นน้ำตาที่มีคุณค่ามากนะ

    +++++
    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969
    ทรงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อตรัสรู้
    …………
    [๑๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดเกิดความรำพึงอย่างนี้ว่า “เราเป็นผู้พ้นแล้วหนอจากทุกกรกิริยานั้น เราเป็นผู้พ้นดีแล้วหนอจากทุกกรกิริยาอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์นั้น เราเป็นผู้บรรลุโพธิญาณแล้ว”

    ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้ทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคด้วยใจ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

    มาณพทั้งหลายบริสุทธิ์ได้
    ด้วยการบำเพ็ญตบะใด
    ท่านหลีกจากการบำเพ็ญตบะนั้นแล้ว
    เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ สำคัญว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
    ท่านพลาดจากทางแห่งความบริสุทธิ์แล้ว

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า

    เรารู้แล้วว่าตบะอื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    ตบะทั้งปวงหาอำนวยประโยชน์ให้ไม่
    ดุจไม้พายหรือไม้ถ่อ ไม่อำนวยประโยชน์บนบก ฉะนั้น
    จึงเจริญมรรค คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อตรัสรู้
    เป็นผู้บรรลุความบริสุทธิ์อย่างยอดเยี่ยมแล้ว
    มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว

    ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
    ............
    ตโปกัมมสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕
    https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=137

    ครั้นทรงละตบะอย่างอื่นๆ นั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงทางที่เกิดเป็นพระพุทธเจ้า จึงตรัสว่า สีลํ เป็นต้น.

    ในคำว่า สีลํ เป็นต้นนั้น ทรงถือเอาสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ด้วยคำว่า สีลํ. ทรงถือเอาสัมมาวายามะ สัมมาสติและสัมมาสมาธิ ด้วยสมาธิ. ทรงถือเอาสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ด้วยปัญญา.

    บทว่า มคฺคํ โพธาย ภาวยํ ได้แก่ ทรงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เพื่อตรัสรู้.

    ก็ในคำนี้ บทว่า โพธาย ได้แก่ เพื่อมรรค เหมือนอย่างว่า คนทั้งหลายต้มข้าวต้มอย่างเดียว ก็เพื่อข้าวต้ม ปิ้งขนมอย่างเดียว ก็เพื่อขนม ไม่ทำกิจไรๆ อย่างอื่นฉันใด บุคคลเจริญมรรคอย่างเดียว ก็เพื่อมรรคฉันนั้น.

    ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มคฺคํ โพธาย ภาวยํ ดังนี้.

    บทว่า ปรมํ สุทฺธึ ได้แก่ พระอรหัต.

    บทว่า นีหโต ได้แก่ ท่านถูกเราตถาคตขจัดออกไป คือทำให้พ่ายแพ้ไปแล้ว.
    …………
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาตโปกรรมสูตร https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=416
    #ศีล #สมาธิ #ปัญญา

    c31eYX3qtzJ73inOJrdTi5VHkEguGP150kLByEiYJcri&_nc_ohc=Jz7gTxDYnc4AX9Z2H0m&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...