วิธีดูพระหลวงปู่ศุขที่ไม่ใช่ความรู้สึกตัดสิน

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย พระพันตา, 8 กรกฎาคม 2016.

  1. พระพันตา

    พระพันตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    323
    ค่าพลัง:
    +331
  2. พระพันตา

    พระพันตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    323
    ค่าพลัง:
    +331
    เห็นพวกอ้างเป็นเซียนชอบชี้ตำหนิแต่พวกไม่เคยบอกวิธีดูพระที่เข้าใจง่ายอย่างอ.ปรีชาบอกให้เห็นภาพชัดเจน ดูตำหนิหาให้ตายก็ไม่เจอนอกจากซื้อกับพวกนี้ ส่วนที่อ.ปรีชาอธิบายเป็นหลักการพิจารณาที่เป็นรูปธรรมแบบวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ใช้ความรู้สึกตัดสินความแท้ความเก๊
     
  3. phasongern

    phasongern สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +22
    ด้วยความเคารพทุกท่านครับ ก่อนอื่นผมต้องพูดว่า " ปัญญาอ่อน " ผมก็ปัญญาอ่อน ที่ดูหรืออ่านหนังสือของคนขายพระเพื่อดูเรื่องราวการเป็นมาของพระการชี้ตำหนิของเซียนพระว่าจะต้องตรงตามนี้ทุกประการเนื้อหาต้องตรงผิดจากนี้ถือว่าเก๊ไม่ตรงตามนิยม คนที่ปัญญาอ่อนก็จะบ้าตามหนังสือเล่มที่อ่านดูนั้นๆ ถ้าอ่านดูเพื่อเป็นแนวทางศึกษาเพื่อต่อยอดความรู้ก็เป็นเรื่องดี ทีนี้มาพูดเรื่องการชี้ตำหนิพระ ถ้าเป็นพระหล่อโบราณไม่ว่าจะเป็นรูปหล่อลอยองค์โดยการขึ้นรูปปั้นหุ่นเทียนแล้วพอกด้วยดินพร้อมมูลขี้วัวหรือขี้ควาย หรือหล่อประกบซึ่งกระทำการหล่อที่วัดโดยช่างฝีมือชาวบ้าน เมื่อเริ่มดำเนินการหล่อพระหลังจากที่ได้ต้มเคี่ยวโลหะจนได้ที่โดยช่างชาวบ้านสมัยนั้นเครื่่องไม้เครื่องมือจึงไม่ทันสมัยเหมือนช่างที่กรุงเทพ เมื่อดำเนินการหล่อโดยหยอดเนื้อโลหะที่ต้มเคี่ยวตามช่องตามรูขององค์พระซึ่งเป็นหุ่นเทียนก็ดี แบบประกบก็ดี เมื่อน้ำโลหะวิ่งไหลเข้าไปในองค์พระก็ไหลไปเรื่อยๆ ไปตามอากาศภายในไหลลื่นบ้างไม่ลื่นบ้างเนื่องจากเป็นการทำโดยคนไม่ได้ใช้เครื่องจักรเหมือนหล่อปั้ม เมื่อแกะแม่พิมพ์ออกพระจึงดูไม่ค่อยจะสวยงาม เกิดฟองอากาศและเม็ดนูนคมๆ ขึ้นตามองค์พระมากน้อยขึ้นอยู่กับการหล่อและแม่พิมพ์แต่ละองค์ และพระที่ได้จากการหล่อโบราณโดยช่างฝีมือชาวบ้านที่หล่อที่วัด เนื้อจะไม่แน่นตึง ซึ่งอันนี้จะมาชี้ชัดวัดตำหนิกันไม่ได้ ไม่เหมือนพระหล่อปั้ม
    โดยช่างหล่อที่กรุงเทพ ซึ่งแกะพิมพ์และปั้มออกมาจึงมีตำหนิที่ชี้ชัดได้. อนึ่ง การหล่อแบบโบราณที่วัดโดยช่างฝีมือชาวบ้านสมัยก่อนชาวบ้านล้วนมีจิตศรัทธาในการนำโลหะไม่ว่าจะเป็น ทองคำ เงิน นาค ทองเหลือง ทองแดง ฯ ล้วนแต่ศรัทธาด้วยใจบริสุทธิ์ ไม่มีพุทธพาณิชย์เหมือนในสมัยนี้ พระที่หล่อแบบโบราณเมื่อส่องดูบางองค์จะเห็นโลหะมวลเบาดังที่กล่าวข้างต้นลอยติดเป็นจ้ำๆอยู่ตามผิวชั้นบนองค์พระ ทำให้เกิดดูเป็นศิลปะที่งดงาม. ฉนั้นหลักการพิจารณาองค์พระหล่อแบบโบราณโดยช่างฝีมือชาวบ้านจึงต้องดูเนื้อหาสาระมวลสารโลหะ และที่สำคัญต้องเห็นต้องอยู่ตั้งแต่กระบวนการหล่อพระจนเสร็จครับ ถ้ามัวมานั่งอ่านหนังสือแล้วไปวิจารณ์พระคนอื่นโดยขาดความเข้าใจประวัติศาสตร์ก็จบครับ อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวครับ ขอบคุณครับ
     
  4. watgeang_e

    watgeang_e เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    459
    ค่าพลัง:
    +449
    ขออนุญาติลงรูปพระเนื้อตะกั่วชินตามที่อาจารย์ปรีชากล่าวถึงตามคลิบคงเป็นตัวอย่างได้ดีพอสมควร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. Xchaiwat

    Xchaiwat สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2021
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +6
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...