**ร้านศิวิไลพระเครื่อง** วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เกจิคณาจารย์ภาคเหนือ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิวิไล, 25 พฤษภาคม 2013.

  1. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,489
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 6671

    เหรียญ รุ่นแรกครูบาอินทวงศ์ วัดอินทขิล อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ปี2511 เนื้อทองแดงผิวไฟ


    ครูบาอินทวงศ์ท่านเป็นสหธรรมกับครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นอาจารย์ท่านหนึ่งของครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้านับถือ และเป็นอาจารย์ผู้ประสิทธิวิชาให้กับ ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย(พระครูบวรสุขบท ชาตะสุโข) เป็นเหรียญประสบการณ์อีกเหรียญหนึ่ของป่าซาง


    คุณ j999 บูชาแล้วครับ

    เหรียญครูบาอินทขิล a.jpg เหรียญครูบาอินทขิล b.jpg เหรียญครูบาอินทขิล c.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ธันวาคม 2020
  2. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,489
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 6672

    รูปหล่อ รุ่นแรกครูบาบุญปั๋น ธัมมปัญโญ วัดร้องขุ้ม ปี 2533 ก้นอุดเกศาเทียนชัย


    ครูบาเจ้าบุญปั๋น ธมมปัญโญ วัดร้องขุ้ม สันป่าตอง เชียงใหม่ เป็นพระอริยะสงฆ์รูปสำคัญของเชียงใหม่ ศีลาจริยวัตรงดงาม มีเมตตาสูงมาก
    ……………………………………………………………เจ้าตำราวิชาเทียนเศรษฐีล้มลุกอันโด่งดัง...
    วิชา"เศรษฐีล้มลุก"นี้ ถือว่าเป็นวิชาคู่บุญบารมีครูบาเจ้าบุญปั๋น วัดร้องขุ้มก็ว่าได้ มีอานุภาพส่งเสริม"แก้ดวง หนุนดวง" และ"ส่งเสริมโชคลาภ"ให้บังเกิดขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ ผู้ใดมีบูชาไว้ ไม่มีจน เป็นเศรษฐี ไม่มีวันล้ม เพราะล้มแล้วก็ลุก
    ครูบาเจ้าบุญปั๋น ธัมมปัญโญ พระอริยเจ้าผู้ทรงคุณอันประเสริฐสุดแห่งวัดร้องขุ้ม เชียงใหม่นี้ จัดเป็นของดีที่หาได้ยากยิ่ง ส่วนมาก จะตกแก่ศิษยานุศิษย์และผู้ที่มีวาสนาในยุคต้นๆเสียโดยมาก ยากจะหลุดรอดมาถึง"คนนอก"ในภายหลังของดีราคาเบา ๆ น่าใช้
    จัดสร้างในปี ปี 2533 หล่อด้วยเนื้อทองเหลือง รมดำ ก้นอุดเทียนชัยเกศา
    เมื่อครูบาเจ้าบุญปั๋น ได้ทำพิธีอธิษฐานจิต
    ครูบาท่านได้มอบให้ทางวัดออกให้บูชารุ่นนี้ชาวบ้านที่เคารพนับถือ ท่านครูบาเจ้าบุญปั๋น ต่างกล่าวตรงกันว่า บูชาติดตัวแล้วเป็นเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย


    คุณ j999 บูชาแล้วครับ

    รูปหล่อครูบาบุญปั๋น 1.3 a.jpg รูปหล่อครูบาบุญปั๋น 1.3 b.jpg รูปหล่อครูบาบุญปั๋น 1.3 c.jpg รูปหล่อครูบาบุญปั๋น 1.3 d.jpg รูปหล่อครูบาบุญปั๋น 1.3 e.jpg Clip_334.jpg Clip_335.jpg Clip_336.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ธันวาคม 2020
  3. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,983
    ค่าพลัง:
    +5,390
    ขอจองครับ
     
  4. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,983
    ค่าพลัง:
    +5,390
    ขอจองครับ
     
  5. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,489
    ค่าพลัง:
    +1,345

    รับทราบการจองขอบพระคุณครับ
     
  6. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,489
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 6673

    เหรียญบาตรน้ำมนต์ ด้านหน้าพระพุทธญาณเรศวร์ (พระประธานในพระอุโบสถวัดญาณสังวราราม) ด้านหลังลายเซ็นพระนาม สมเด็จพระญาณสังวร ปี ๒๕๒๓ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 ซ.ม. เหรียญดีสุดยอด พิธีเยี่ยม ในหลวงทรงเททอง

    พระพุทธรูปองค์นี้ มีขนาดประมาณองค์พระพุทธชินสีห์ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร คือ หน้าพระเพลา 5 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว เป็นเหรียญปั๊มรูปพระพุทธปฏิมากร อันมีพระนามว่า "พระพุทธญาณนเรศวร์" อันเป็นพระพุทธรูปประจำวัดญาณสังวราราม อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เหรียญรุ่นนี้ เป็นเหรียญดีอีกหนึ่งเหรียญของสมเด็จพระญาณสังวร พระสังฆราช วัดบวรนิเวศ สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ซึ่งการสร้างในครั้งนั้นเพื่อเป็นที่ระลึกในการที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2523 ณ บริเวณมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถเก่า คณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร


    จากนั้น อัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดญาณสังวราราม ซึ่งพระอุโบสถมีขนาดกว้าง 13.30 เมตร ยาว 21.00 เมตร โดยดัดแปลงจากแบบพระอุโบสถเก่าคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2523
    เหรียญพระพุทธญาณนเรศวร์ จึงเป็นเหรียญอันมีความสำคัญมิใช่น้อย ด้านหน้า เป็นรูปองค์พระพุทธปฏิมากร "พระพุทธญาณนเรศวร์" และอักษรข้อความว่า "ที่ระลึก พ.ศ.2523 วัดญาณสังราราม" ด้านหลัง เป็นลายเซ็นว่า "สมเด็จพระญาณสังวร" เป็นเหรียญที่สร้างและประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ก่อนนำไปออกที่วัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี
    นอกเหนือจากสมเด็จพระญาณสังวรแล้ว ยังมีพระเกจิอาจารย์ปลุกเสกร่วมอีก คือ
    พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว จังหวัดปัตตานี
    หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    พระอาจารย์ดุลย์ วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์
    พระอาจารย์สิม วัดถ้ำผาป่อง จ.เชียงใหม่
    หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง จังหวัดสมุทรสาคร
    หลวงพ่อทอง วัดท่าเสา จังหวัดกาญจนบุรี
    หลวงพ่อพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
    หลวงพ่อสำเนียง วัดสุวรรณาราม กรุงเทพฯ
    พระราชโมลี (สำรอง) วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
    หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม จังหวัดสมุทรสาคร
    หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี
    หลวงพ่อมุม วัดนาสัก จังหวัดชุมพร


    เหรียญดีน่าใช้มากๆครับ

    คุณ อาทิตย์03 บูชาแล้วครับ

    Clip_346.jpg Clip_347.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2020
  7. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,489
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 6674

    เหรียญพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน กลมเล็ก 05 เนื้ออัลปาก้าชุบนิเกิล สวยๆ


    เหรียญเล็กน่าใช้มาก ๆ ครับ


    บูชาแล้วครับ

    Clip_344.jpg Clip_345.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ธันวาคม 2020
  8. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,489
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 6675

    เหรียญพระพุทธชินราช มั่นในธรรม ลาภผลพูนทวี หลังดวงพระฤกษ์ พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธภิเษก พ.ศ. 2515 ณ วิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก

    พิธีมหาพุทธภิเษก เป็นเวลา 2 วันเต็ม นับจากวันที่ 19 – 20 ม.ค. 2515 พระคณาจารย์บริกรรมปลุกเสก 109 รูป ดำเนินการ ณ วิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2515 โดยพุทธสมาคมพิษณุโลก เพื่อนำวัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นเข้าพิธีปลุกเสก วัตถุมงคลในรุ่นนี้มี
    พระพุทธชินราชจำลอง ,พระชัยวัฒน์ ,พระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ ,พระพิมพ์ และเหรียญมหาจักรพรรดิ์ ฯลฯ
    พิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่มาก ยากแก่การดำเนินการในทุกขั้นตอน ซึ่งตามประวัติ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" นี้ ครั้งแรกได้กระทำพิธีในสมัยรัชกาลที่ 1 และได้มีการกระทำพิธีนี้อีก เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2515 ในสมัยรัชกาลที่ 9 หลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำพิธีฯ นี้อีกเลย ในพิธีนี้ พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม. และ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ซึ่งเป็นเจ้าพิธีได้กำหนด และควบคุมดำเนินการประกอบพิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" ครบถ้วนตามแบบฉบับของโบราณกาลพิธีทุกประการ
    คณะกรรมการพิธีฯสมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย
    ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เป็นประธานในพิธีจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย
    พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี เป็นประธานบริกรรมปลุกเสกกรรมการฝ่ายเจ้าพิธี :พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส
    อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร
    อาจารย์มาโนช มาโสภาศกรรมการอุปถัมป์ฝ่ายสงฆ์ :พระสุวรรณวิสุทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก
    พระพิษณุบูราจารย์ เจ้าอาวาส วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ จ.พิษณุโลก ฯลฯกรรมการอุปถัมภ์ฝ่ายฆราวาส :นายพ่วง สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย
    พล.ท.สำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาคที่ ๓
    สมาคมนักเรียนเก่าพิษณุโลกพิทยาคม ฯลฯกรรมการดำเนินงาน :คณะกรรมการพุทธสมาคม จ.พิษณุโลกกรรมการที่ปรึกษา :นายประชุม กาญจนวัฒน์
    นายสุฉันท์ โพธิสุวรรณ ฯลฯ
    พิธีมหาพุทธภิเษก เป็นเวลา 2 วันเต็ม นับจากวันที่ 19 – 20 ม.ค. 2515
    พระคณาจารย์บริกรรมปลุกเสก 109 รูปรายนามพระคณาจารย์ที่ร่วมบริกรรมปลุกเสก อาทิ1. หลวงพ่อทอง (พระครูวิริยะโสภิต) วัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี2. หลวงพ่อเงิน (พระราชธรรมมาภรณ์) วัดดอนยาหอม จ.นครปฐม3. หลวงพ่อนาค (พระครูจันทรโสภณ) วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพฯ4. หลวงพ่อแดง (พระครูญาณวิลาศ) วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี5. หลวงพ่อหอม (พระครูภาวนาณุโยค) วัดชากหมากป่าเรไร จ.ระยอง6. หลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทอง จ.บุรีรัมย์7. หลวงพ่อสด (พระครูวิจิตนชัยการ) วัดหางน้ำ จ.ชัยนาท8. หลวงพ่อชื่น (พระครูนนทกิจวิมล) วัดตำหนักเหนือ จ.นนทบุรี9. หลวงพ่อบุญ (พระครูประดิษฐ์นวการ) วัดวังมะนาว จ.ราชบุร10. หลวงปู่ทองอยู่ (พระครูสุตาธิการี) วัดใหม่หนองพระองค์ จ.สมุทรสาคร11. หลวงพ่อกรับ (พระครูธรรมสาคร) วัดโกรกกราก จ.สมุทรสาคร12. หลวงพ่อเจริญ (พระครูปัญญาโชติ) วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี13. หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จ.ลพบุรี14. หลวงพ่อชื่น วัดคุ้งท่าเลา จ.ลพบุรี15. พระครูสนิทวิทยการ วัดท่าโขลง จ.ลพบุรี16. พระครูปิยะธรรมโสภิณ (หลวงพ่อคำ) วัดบำรุงธรรม จ.สระบุรี17. พระครูกิตพิจารณ์ (หลวงพ่อผัน) วัดราฎร์เจริญ จ.สระบุรี18. พระครูพุทธฉายาภิบาล วัดพระพุทธฉาย จ.สระบุรี19. พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (หลวงพ่อมุ่ย) วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี20. พระวินัยรักขิตาวันมุนี (หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี21. พระวิบูลเมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี22. หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี23. หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จ.นนทบุรี24. หลวงพ่อเผือก วัดสาลีโข จ.นนทบุรี25. พระครูประกาศสมาธิคุณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ฯกรุงเทพฯ27. พระเทพโสภณ (สมเด็จพระมหาธีราจารย์) (นิยม ฐานิสฺสโร) วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ28. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม29. พระครูสาธุกิจวิมล (หลวงพ่อเล็ก) วัดหนองดินแดง จ.นครปฐม30. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ จ.กาญจนบุรี31. พระครูอุดมสิทธาจารย์ (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี32. พระครูจันทสโรภาส (หลวงพ่อเที่ยง) วัดม่วงชุม จ.กาญจนบุรี33. พระครูโกวิทยาสมุทคุณ (หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม34. พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี35. พระอาจารย์ผ่อง (จินดา) วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส กรุงเทพฯ36. พระครูศรีปริยานุรักษี วัดพันอ้น จ.เชียงใหม่37. พระครูวิรุฬห์ธรรมโกวิทย์ วัดเจดีย์สถาน จ.เชียงใหม่38. พระครูมงคลคุณาธร วัดหม้อตองคำ จ.เชียงใหม่39. หลวงพ่อบุญมี วัดท่าสต๋อย จ.เชียงใหม่40. หลวงพ่อแสน วัดท่าแหน จ.ลำปาง41. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน จ.ลำปาง42. หลวงพ่อชุบ วัดเกาะวาลุการาม จ.ลำปาง43. หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง44. หลวงพ่อเงิน วัดเขาสาก จ.ลำปาง45. หลวงพ่อบุญสม วัดหัวข่วง จ.ลำปาง46. พระวิบูลวชิรธรรม วัดท่าพุทรา จ.กำแพงเพชร47. หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร จ.นครสวรรค์48. หลวงพ่อพรหม ถาวโร วัดช่องแค จ.นครสวรรค์49. หลวงพ่อโอด (พระครูนิสัยจริยคุณ) วัดจันเสน จ.นครสวรรค์50. หลวงพ่อคัด วัดท่าโบสถ์ จ.ชัยนาท51. หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม จ.ชัยนาท52. หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรี53. หลวงพ่อดวง วัดทอง จ.สิงห์บุรี54. พระครูอาทรสิกขการ (หลวงพ่อโต๊ะ) วัดเกศไชโย จ.อ่างทอง55. พระครูสันทัดธรรมคุณ (หลวงพ่อออด) วัดท่าช้าง จ.อยุธยา56. พระครูประภาสธรรมคุณ (หลวงพ่อแจ่ม) วัดวังแดง จ.อยุธยา57. พระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ จ.อยุธยา58. พระครูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา59. พระครูสาธรพัฒนกิจ (หลวงพ่อลมูล) วัดเสด็จ จ.ปทุมธานี60. พระครูวิเศษมงคลกิจ (หลวงพ่อมิ่ง) วัดกก กรุงเทพฯ61. พระครูอนุกูลวิทยา (หลวงพ่อเส็ง) วัดน้อยนางหงษ์ กรุงเทพฯ62. พระครูพิริยกิจติ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ63. พระครูภาวณาภิรมย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ64. พระครูโสภณกัลป์ยานุวัฒน์ (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณ์ กรุงเทพฯ65. พระครูพินิจสมาจารย์ (หลวงพ่อโด่) วัดนามะตูม จ.ชลบุรี66. หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง67. พระครูวชิรรังษี วัดมฤคทายวัน จ.ประจวบคีรีขันธ์68. พระครูวชิรคุณาญาณ วัดในกลาง จ.ประจวบคีรีขันธ์69. หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์70. พระครูอุดมศีลจารย์ (พ่อท่านเย็น) วัดโคกสะท้อน จ.พัทลุง71. พระครูพิศาลพัฒนกิจ (พ่อท่านพระครูปลัดบุญรอด) วัดประดู่พัฒนาราม จ.พัทลุง72. พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง73. หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน จ.พัทลุง74. หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร75. หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น76. หลวงปู่จันทร์ วัดสำราญ จ.อุบลราชธานี77. หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิยม จ.กาฬสินธุ์78. หลวงพ่อครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก79. หลวงพ่อครูบาตัน วัดเชียงทอง จ.ตาก80. หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง จ.สุโขทัย81. หลวงพ่อปี้ วัดด่านลานหอย จ.สุโขทัย82. พระครูคีรีมาสธรรมคุณ วัดวาลุการาม จ.สุโขทัย83. พระครูพิลาศธรรมคุณ วัดธรรมปัญญาราม จ.สุโขทัย84. พระครูไกรลาศสมานคุณ วัดกงไกรลาศ จ.สุโขทัย85. พระอาจารย์พวง วัดสว่างอารมณ์ จ.สุโขทัย86. พระอาจารย์ฉลอง วัดสว่างอารมณ์ จ.สุโขทัย87. พระครูพินิจธรรมภาณ วัดวังแดง จ.พิจิตร88. พระครูธรรมมานิสิทธิ์ วัดบ้านไร่ จ.พิจิตร89. พระอาจารย์ชัย วัดกลาง จ.อุตรดิตถ์90. หลวงพ่อบุญ วัดน้ำใส จ.อุตรดิตถ์91. หลวงพ่อจันทร์ วัดหาดสองแคว จ.อุตรดิตถ์92. พระพิษณุบุราจารย์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก93. พระสมุห์ละมัย (พระวรญาณมุนีวัดอรัญญิก) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก94. พระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สัมปันโน) วัดสระแก้วปทุมทอง จ.พิษณุโลก95. พระครูอภัยจริยาภรณ์ วัดใหม่อภัยยาราม จ.พิษณุโลก96. พระครูวินัยธรสุเทพ วัดแสงดาว จ.พิษณุโลก97. พระอาจารย์ถนอม วัดนางพญา จ.พิษณุโลก98. พระครูประภาสธรรมมาภรณ์ (หลวงปู่แขก) วัดสุนทรประดิษฐ์ จ.พิษณุโลก99. พระครูศรีรัตนาภรณ์ (หลวงพ่อไช่) วัดศรีรัตนาราม จ.พิษณุโลก100. หลวงพ่อเปรื่อง วัดคูหาสวรรค์ จ.พิษณุโลก101. พระอาจารย์พิมพ์ วัดคูหาสวรรค์ จ.พิษณุโลก102. หลวงพ่อเฉลิม วัดโพธิญาณ จ.พิษณุโลก103. หลวงพ่อเปรื้อง วัดโพธิญาณ จ.พิษณุโลก104. พระอาจารย์ชุ่ม วัดกรมธรรม์ จ.พิษณุโลก105. พระอาจารย์โต วัดสมอแข จ.พิษณุโลก106. พระครูประพันธ์ (หลวงพ่อพัน) วัดบางสะพาน จ.พิษณุโลก107. พระครูวิจารณ์ศุภกิจ (อาจารย์ทองม้วน) วัดวังทอง จ.พิษณุโลก108. พระอาจารย์นวล วัดนิมิตธรรมาราม จ.พิษณุโลก109. พระอาจารย์ธงชัย วัดวชิรธรรมราชา จ.พิษณุโลกและจากจังหวัดต่างๆทั่วประเทศรวม 109 รูป
    พุทธคุณของพระชุดนี้ กล่าวขวัญกันมากโดยเฉพาะด้านแคล้วคลาด สำหรับน้ำพระพุทธมนต์ที่แช่พระกริ่งเข้าพิธี ใช้น้ำที่วัดตูม เป็นน้ำที่ออกจากพระเศียรพระพุทธรูปที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยใช้ในพิธีชุบพระแสงและเครื่องศัตราวุธ รวมกับน้ำในบ่อน้ำพระพุทธมนต์ วัดพระพายหลวง (บ่อพระร่วง) เมืองเก่าสุโขทัย
    เรื่องจริงที่หลวงพ่อกวยไปร่วมพิธีมหาจักรพรรดิ ปี2515
    พิธีปลุกเสกเวลากลางคืน เมื่อปลุกเสกเสร็จ หลวงพ่อ หลวงปู่บางองค์ วัดอยู่ไม่ไกลก็กลับ บางองค์ก็ค้างที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แต่หลวงพ่อกวยไม่กลับและไม่ได้ค้างที่กุฏิที่วัด หลวงพ่อยังคงนั่งเฉยอยู่ เมื่อท่านเจ้าอาวาสนิมนต์ให้ท่านเข้าไปจำวัดในกุฏิหลวงพ่อกวยก็ไม่ไปท่านว่าอยากจะนั่งอยู่อีกสักครู่ เมื่อพระที่มาปลุกเสกกลับกันหมดแล้ว เหลืออยู่แต่ศิษย์กับคนดูแลวิหารและวัตถุมงคล
    หลวงพ่อได้หยิบสายสิญย์ขึ้นมายกมือขึ้นประนม หลวงพ่อนั่งปลุกเสกต่อยาว และนานจากกลางดึกถึงสว่าง เมื่อหลวงพ่อออกจากสมาธิถึงกับเดินออกมาไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่ที่ดูแลได้เห็นสิ่งอัศจรรย์หลายอย่าง จึงยกกล่องวัตถุมงคลจำนวนมากมายยกมาตั้งต่อหน้าหลวงพ่อเต็มไปหมด คือ ให้หลวงพ่อท่านปลุกเสกให้ เมื่อหลวงพ่อออกจากสมาธิ ต้องยกกล่องวัตถุมงคลออกหลบจึงจะเดินออกมาได้ พระในพิธีจักรพรรดิ์ ปี 2515 จึงเป็นพระที่มีประสบการณ์มากมายน่าใช้ครับ


    ราคา 850 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_352.jpg Clip_353.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2020
  9. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,489
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 6676

    เหรียญหลวงพ่อบุญจันทร์ วัดถ้ำผาผึ้ง เนื้อนวะ ปี 35


    ชีวประวัติ ท่าน น่าสนใจมากๆ ครับ ท่าน เป็น คน เมืองพล จ ขอนแก่น ชีวิต ของท่านต้องประสบกับหลายๆเหตุ การณ์ ที่น่าเศร้า ใจ ไม่ว่า จะเป็นการ เสียชีวิต ของโยมมารดา ที่ ถูก ฆ่า ตัด คอ ต่อหน้าต่อตา และ โรคภัย ไข้เจ็บ มากมาย กระนั้น แม้ ท่าน ไม่สามารถ พูดได้ ก็ยัง เขียน ให้ เณร สอนญาติโยม ท่านเป็นพระ ที่ มีความเพียร มากๆครับ หลังจาก ท่าน ละสังขาร อัฐิ ของท่าน ก็ กลายเป็นพระธาตุ


    เหรียญประสบการณ์ของหลวงพ่อบุญจันทร์ครับ
    ถือว่าเป็นเหรียญ ที่ หายาก อีกเหรียญ หนึ่ง ในตำนาน ของพระล้านนา และ พระ สายป่า กัมฐาน ครับ

    เหรียญนี้นวะลายเสือสวยมากครับ

    ราคา 1350 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_350.jpg Clip_351.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2020
  10. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,489
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 6677

    เหรียญรุ่นแรกครูบาสุรินทร์ วัดหลวงศรีเตี้ย ปี 21


    พระเกจิคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคม เจ้าตำหรับน้ำมันมนต์ อันโด่งดัง

    พุทธคุณเด่นด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัย เมตตามหานิยม ประสบการณ์มากมายผิวสวยเดิมๆครับ


    บูชาแล้วครับ

    Clip_339.jpg Clip_340.jpg Clip_341.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2020
  11. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,489
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 6678

    เหรียญฮิบปี้ ครูบาพรหมมา พระครูพรหมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน ปี 2512 เนื้อฝาบาตร

    เหรียญครูบาพรหมา รุ่นอายุ 6 รอบ หรือเหรียญฮิปปี้ จัดสร้างในปี 2512 เหรียญรูปไข่เฉพาะเนื้อฝาบาตรเพียงอย่างเดียว ประมาณการสร้าง 2000 เหรียญ โดยคณะกรรมการวัดและลูกศิษย์ ในงานทำบุญอายุ ของครูบาพรหมาท่านครบ 72 ปี ( 6 รอบ ) ที่วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน สวยผิวเดิมๆครับ

    ราคา 2999 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_357.jpg Clip_358.jpg Clip_356.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2020
  12. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,489
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 6679

    เหรียญรุ่นแรกพระครูอินทนนท์ (ครูบาเสาร์ ) วัดบ้านก้อง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เนื้อทองแดง


    ครูบาเสาร์ท่านเป็นพระสหธรรมกับครูบาขาวปี และท่านยังเป็นศิษย์ของครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่งที่ศีลาจารวัตรงดงาม ได้ก้าวผ่านห้วงกิเลส ด้วยปฏิบัติบูชาเหนือการบูชาสูงสุด พร้อมด้วยพลังมนตรา สายเข้มขลังของอำเภอป่าซาง เป็นเหรียญมีประสบการณ์อีกเหรียญหนึ่งของอำเภอป่าซาง พุทธคุณ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด คุ้มครองภยันตรายทั้งปวง เป็นเหรียญที่น่าสะสมอีกหนึ่งเหรียญ


    ราคา 2999 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_361.jpg Clip_362.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2020
  13. อาทิตย์03

    อาทิตย์03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2015
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +773
    จองครับ
     
  14. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,489
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รับทราบการจองครับ ขอบพระคุณครับพี่
    Clip_2.jpg
     
  15. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,489
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 6680

    ม้าเสพนางรุ่นแรก หลวงพ่อเสน่ห์ วัดเชียงขาง จารครบสูตรสวยเดิมๆ


    หลวงพ่อเสน่ห์ วัดเชียงขาง เป็นผู้เปิดตำนานโบราณไทยใหญ่ ทั้งสายเขมร กะเหรี่ยง และล้านนา -สร้างและเสกวัตถุมงคลออกมาทีไรลูกศิษย์และผู้ศรัทธาแย่งกันบูชาหมดไปอย่างรวดเร็ว

    “ม้าเสพนางมหาเสน่ห์”

    **มวลสาร**

    -ว่าน 108 โดยเฉพาะว่านดอกทองกวินในป่าช้า ว่านนางครวญ ว่านจูงนาง และว่านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นยังมีผงอาถรรพ์ของภูติพรายเพื่อเร่งให้เห็นผลรวดเร็วอีกด้วย

    ม้าเสพนาง เมตตามหานิยมแบบพิสดาร คือ เทวดาก็รัก คนก็รัก (หลวงพ่อท่านบอก) ซึ่ง หลวงพ่อสร้างตามตำราข่ามล้านนาโบราณ ปลุกเสกใน ฤกษ์วันเพ็ญเดือนยี่เป็ง พระจันทร์เต็มดวง ตามตำราโบราณถือว่าพระจันทร์ มีฤทธิ์ด้าน มหาเสน่ห์ การปลุกเสกใน ฤกษ์นี้จึง เป็นฤกษ์มหาเสน่ห์จันทร์ มวลสารทำจากว่านดอกทองกวินในป่าช้า ว่านนี้ต่างจากว่านดอกทอง ที่นิยมนำมาทำเป็นมวลสารสร้าง พระเครื่องรางต่างๆ โดยที่ว่านดอกทองกวินนั้นจะมีอยู่แต่เฉพาะในป่าช้า หายากมาก และต้องมีวิชาไป พลีมา เพราะแรงมาก มีสรรพคุณทางด้านราคะล้วนๆ อยู่ในฝั่งพม่า และยังมี ว่านนางครวญ ว่านจูงนาง ดอกรักซ้อน ซึ่งเป็นมหาเสน่ห์งงงวย และว่านเสน่ห์ต่าง108 ชนิดผงมหาภูติมหาพราย ซึ่งเป็นมวลสารที่สร้างขุนแผนอุ้มนางรุ่นแรก ผสมด้วยน้ำมันเมตตา สูตรของท่านเอง

    **สุดยอดเมตตามหาเสน่ห์ (มีเสน่ห์ต่อเพศตรงข้ามดียิ่งนัก) สวยเดิมๆพร้อมผ้ายันต์ จารเต็มครบสูตร


    คุณ พื้นทราย บูชาแล้วครับ

    Clip_3.jpg Clip_4.jpg Clip.jpg Clip_2.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2020
  16. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,489
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 6681
     
  17. พื้นทราย

    พื้นทราย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2015
    โพสต์:
    755
    ค่าพลัง:
    +639
    ขอจองครับ
     
  18. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,489
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รับทราบการจองครับ ขอบพระคุณครับพี่
     
  19. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,489
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 6681

    พระบูชาพระเจ้าพรหมมหาราช

    พระเจ้าพรหมมหาราช

    พระเจ้าพรหมมหาราช(พระพรหมกุมาร) เป็นโอรสของพระเจ้าพังคราช พระองค์เสด็จขึ้นเถลิง

    ถวัลยราชสมบัติ ณ ราชธานีชัยปราการ แห่งราชอาณาจักรลานนาไทย ในขณะที่ทรงเจริญพระชนมายุ

    ได้ 31 พรรษา ในปีพุทธศักราช 1665

    พระราชกรณียกิจ

    พระพรหมอุปราชแห่งอาณาจักรโยนกนคร เชียงแสน ทรงทำการกอบกู้เอกราชขยายอาณาเขต

    เยี่ยงวีระขัตยะชาตินักรบอยู่เป็นเวลาประมาณ 3 ปีเศษ จึงทรงสร้างราชธานีขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ทรงขนาน

    นามนครใหม่นี้ว่า “ชัยปราการ” ราชธานี และทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ ขนานนามอาณาจักร

    ของพระองค์ว่า ไทยลานนาหรือลานนาไทย มีเมืองเชลียง(สวรรคโลก) เป็นเมืองหน้าด่านทางใต้

    ประชิดอาณาเขตขอม และทรงสถาปนาเมืองหริภุญไชย ซึ่งเคยเป็นของละว้าและขอมมาก่อน

    เป็นหัวเมืองเอก

    พระององค์เป็นมหาราชผู้ระเสริฐ พระองค์ได้ทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น กว่าแต่ก่อน

    ทุกๆ ด้านเป็นอันมากในการปกปักษ์รักษาบ้านเมืองให้อยู่รอด มีความมั่นคงแข็งแรงพอที่จะต่อสู้กับ

    อริราชศัตรู พระองค์ทรงเสริมสร้างป้อมคูประตูหอรบ ขยายอาณาเขตให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

    คุณธรรมความดีอันเป็นพื้นฐานแห่งมหาบารมีบุญญาธิการของพระองค์ จ้าบรรเจิดซาบซึ้งสิง

    อยู่ในจิตใจชาวไทยลานนา และไทยในทุกแว่นแคว้นแห่งดินแดนสุวรรณภูมิ พระองค์จึงทรงได้รับ

    สมัญญานามจากดวงใจอันเบิกบานผ่องใส เต็มไปด้วยความจงรักภักดีของชาวไทยในยุคนั้น และยุค

    ต่อมาว่า“องค์ปฐมมหาราชไทย”

    พระเจ้าพรหมมหาราช ปฐมมหาราชชาติไทยในมหาอาณาจักรลานนา เสด็จสวรรคาลัยในปี

    พุทธศักราช 1720 สิริรวมพระชนม์มายุได้ 80 พรรษา


    บูชาแล้วครับ

    พระบูชาพระเจ้าพรหม 5.5 a.jpg พระบูชาพระเจ้าพรหม 5.5 b.jpg พระบูชาพระเจ้าพรหม 5.5 c.jpg พระบูชาพระเจ้าพรหม 5.5 d.jpg พระบูชาพระเจ้าพรหม 5.5 e.jpg พระบูชาพระเจ้าพรหม 5.5 f.jpg พระบูชาพระเจ้าพรหม 5.5 g.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2022
  20. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,489
    ค่าพลัง:
    +1,345
    รายการที่ 6683

    พระบูชาครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง ปี 2524 ขนาด 5 นิ้ว

    จัดสร้างปี 2524 โดยคุณหมอสมสุข คงอุไร จัดสร้างน้อยมาก จำนวนเพียง 250 องค์เท่านั้น ออกแบบการปั้นหุ่นโดย อ.กนก บุญโพธิแก้ว งดงามและเหมือนท่านมาก


    ก้นดินไทย อุดผงแก้วสามดวงหลวงพ่อพรหมวัดช่องแค ตอกโค๊ต .ผิวหิ้งแห้งๆสวยเดิมๆครับ

    ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง)ถือเป็นพระเกจิล้านนาอีกท่านหนึ่งที่เป็นทั้งนักพัฒนา นักเทศน์ และยังมีฝีมือทางด้านศิลปะ ขณะครูบาขันแก้ว พรรษาที่ ๘ อายุ ๓๐ ปีตรงกับพ.ศ. ๒๔๗๑ ครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาจาริกธุดงค์มาบูรณะพระเจดีย์ และพระวิหารที่ “ดอยห้างบาตร” ครูบาศรีวิชัยได้เห็นฝีมือความสามารถทางช่างและอินทรีย์ที่ผ่องใสจากการปฏิบัติธรรม จึงได้มอบหมายให้ดูแลการบูรณะพระเจดีย์และพระวิหารแทน ก่อนที่ครูบาศรีวิชัยจะได้จาริกธุดงค์ต่อไป ได้ให้พรครูบาขันแก้ว อุตตโม ว่า
    “ให้ตุ๊น้องจงปฏิบัติธรรมจนไม่หวั่น ไหวในโลกธรรม ๘”
    พระครูอุดมขันติธรรม (ครูบาขันแก้วอุตตโม) อดีตเจ้าอาวาส วัดสันป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) เกิดเมื่อวันอังคาร ที่ ๑๔ พ.ย.๒๔๔๒ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำเดือน ๑๒ (เดือนยี่เหนือ) ปีกุนที่ ต.ห้วยยาบ อ.เมือง จ.ลำพูน มีนามเดิมว่า ขันแก้ว นามสกุล อิกำเหนิด บิดาชื่อ นายอินตา อิกำเหนิด มารดาชื่อ นางสม อิกำเหนิด ท่านครูบามีพี่น้องเกิดท้องเดียวกัน ๕ คน เป็นน้องหญิง ๓ คน น้องชาย ๑ คน คือ
    ๑. พระครูอุดมขันติธรรม(ครูบาขันแก้ว อุตตโม)
    ๒. ด.ญ.อุ่น อิกำเหนิด (ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเยาว์)
    ๓. นางบัวเขียว อิกำเหนิด (ถึงแก่กรรม)
    ๔. นายก๋อง อิกำเหนิด (ถึงแก่กรรมแต่มีบุตรหลานสืบสกุลอยู่ในปัจจุบันนี้)
    ๕. นางทา อิกำเหนิด (ถึงแก่กรรม)
    โยมปู่ครูบาขันแก้ว ได้อพยพครอบครัวมาจาก ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูนมาอยู่ ต.ห้วยไซก่อน แล้วจึงได้อพยพย้ายครอบครัวลงมาอยู่ที่ ต.ห้วยยาบ ตั้งรกรากใกล้กับวัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง) ซึ่งเป็นวัดร้าง และได้เป็นหัวหน้าบูรณะ ซ่อมแซมก่อสร้างจนเป็นวัดขึ้นมาตราบจนทุกวันนี้
    พระครูอุดมขันติธรรม (ครูบาขันแก้ว อุตตโม) ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๓ ปี ณ วัดป่ายาง อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุ ๒๑ ปี ณ วัดต้นปิน ต.บ้านธิ อ.เมือง จ.ลำพูน โดยมีพระอธิการแก้ว (ครูบาอินทจักโก) วัดป่าลานเป็นพระอุปัชณาย์ ได้ฉายาว่า “อุตตโม” พรรษาที่ ๔ อายุได้ ๒๕ ปี ได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ จ.ลำพูนให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดป่ายาง เมื่อพ.ศ.๒๔๖๘
    พรรษาที่ ๖ อายุได้ ๒๗ ปี ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลห้วยยาบและเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะตำบลบ้านธิอีกตำแหน่ง ปกครองดูแลวัดทั้ง ๒ ตำบลถึง ๖๘ วัด พรรษาที่ ๓๒ อายุได้ ๕๓ ปี ได้รับสมณศักดิ์พระครูชั้นประทวนและในพรรษานี้ได้ไปบำเพ็ญมหากุศล มหาวิบากญาณรัมปยุต ๑๓ และมหากิริยาจิตเข้า “อภิสัญญาณโรธ”กับครูบาชุ่มโพธิโก ณ “ดอยห้างบาตร” เมื่อบำเพ็ญทุกข์กิริยาเพื่อให้เกิด “วิปัสสนาญาณ” ได้ “ธรรมจักษุ” (ดวงตาเห็นธรรม) ๗ วัน ๗ คืน ใน ๔ อิริยาบถ พรรษาที่ ๔๙ อายุได้ ๗๐ ปี ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูอุดมขันติธรรม”
    ในปีพ.ศ.๒๕๒๑ และปีพ.ศ.๒๕๒๓ ครูบาขันแก้วได้เมตตาต่อคณะศิษย์วัดมีพรหมโพธิโก แสดงมหากิริยาจิต กำหนด “สุขวิปัสสก” ด้วยโสมนัสสหคตังญาณ สมปยุตตัง อสังขาริกัง ให้เกิด ”ปัญญาวิมุตติ” ได้”ธรรมจักษ์” ประหารกิเลสด้วย “สมุทจเฉทประหาร” และกำหนดมหากิริยาจิตแสดง “นิพพานัสส รจังฉิกิริยา” (การทำให้แจ้งในพระนิพพาน) ด้วยอารมณ์การได้ “มงกฎพระเจ้า” ดวงตาของครูบาขันแก้ว อุตตโม ได้เปลี่ยนสีจากสีเนื้อลูกลำไย เป็น “สีฟ้าเข้มทั้งดวงตา” แสดงถึงกิริยาของผู้หมดกิเลสเป็นการเปิดภูมิปัญญาในโลกุตรภูมิ เบื้องต้นและโลกุตระภูมิสูงสุด พระเมตตาคุณที่ได้แสดงมหากิริยาจิตในการโปรดสัตว์ทั้งสองครั้งนี้ ยากที่จะลืมเลือนได้
    หลวงปู่ขันแก้ว เป็นเพื่อนรักของหลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย และก็ได้มาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในการบำเพ็ญกุศลช่วยงานศพอยู่ทุกคืนน่าจะนิมนต์มาท่านมาร่วมด้วย จะเคยปลุกเสกหรือไม่เคยปลุกเสกไม่สำคัญ คณะกรรมการวัดก็เลยนิมนต์ หลวงปู่ครูบาขันแก้ว มาร่วมพิธีด้วยแสดงความมหัศจรรย์นั่งเคี้ยวเมี่ยงในงานพุทธาภิเษก
    พิธีปลุกเสกได้เริ่มในตอนกลางคืนวันที่ 18 ก.พ. 2520 เวลา19.50น หลวงปู่ขันแก้ว ได้นั่งอยู่ในตำแหน่งที่หันหน้าเข้าหาพระประธาน หลวงปู่อีก3 องค์คือ หลวงปู่อินทรจักร วัดน้ำบ่อหลวง ท่านเจ้าคุณญาณ วัดมหาวัน หลวงปู่ท่านเจ้าคุณพระธรรมโมลี วัดพระธาตุหริภุญไชย นั่งหลับตาแผ่อำนาจจิตปลุกเสก แต่หลวงปู่ขันแก้วกับนั่งลืมตาเคี้ยวเมี่ยงอยู่เบิกตากว้างมองดูเฉยๆๆ ชาวบ้านวัดวังมุ่ยเริ่มมีปฎิกริยาพึมพำพูดกันว่าใครหนอนิมนต์ตุ๊เจ้าที่ปลุกเสกไม่เป็นมาร่วมพีธี ทำเอาเจ้าคณะตำบลประตูป่าเข้ามาพูดกับคุณพ่อสมสุขว่า โยมหมอใครไปนิมนต์ตุ๊ลุงองค์นี้มา พวกที่ชมและชาวบ้านในพีธีบ่นว่าไปเอาพระที่ไหนมา ดูซินั่งลืมตาเคี้ยวเมี่ยงไม่เห็นปลุกเสกอะไรเลย คุณพ่อบอกว่าผมนิมนต์มาเองขอให้รอดูประเดี๋ยว
    คุณพ่อยังนึกอยู่ว่านั่งเบิกตาอย่างนี้เคยเห็นที่ไหน หลวงปู่ขันแก้วนั่งลืมตาอยู่เกือบ15 นาที่ ประกายตากร้าวแข็ง ส่วนองค์อื่นท่านนั่งหลับตาตามความถนัดของท่าน ส่งกระแสจิตออกมาปลุกเสก หลวงปู่ขันแก้ว ปลุกเสกด้วย เมตตาเจโตวิมุติ หลวงปู่เริ่มเปลี่ยนอิริยาบถ โดยนั่งห้อยเท้า ตาของท่านเริ่มเป็นประกายกล้า ขณะนั้นช่างภาพก็ถ่ายรูปในอิริยาบถนั้น ทันที่ที่แสงไฟแฟลชสว่างจ้านัยน์ตาของหลวงปู่ขันแก้วก็มิได้กระพริบ ช่างภาพอีกหลายคนก็เข้าไปถ่ายแสงไฟสว่างจ้าแต่นัยต์ตาของหลวงปู่ก็อยู่อย่างปกติคือลืมตาอย่างนั้นไม่กระพริบเลย หลังจากนั้นช่างภาพหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นก็เข้าไปถ่ายซึ่งไฟแฟล็ชแรงกว่ามากก็เข้าไปถ่ายผลปรากฎ ตาของหลวงปู่ขันแก้วก็ไม่กระพริบเป็นเวลานาน คนธรรมดาไม่สามารถทำได้อย่างแน่ เปิดภูมิปัญญาโลกุตระด้วยมหากริยาจิต
    คุณพ่อเข้าใจทันที ที่นึกว่าเคยเห็นที่ไหนก็นึกออกว่าเคยเห็น หลวงปู่พรหม ถาวโร แห่งวัดช่องแค ท่านปลุกเสก พระแสงแฟล็ช ถ่ายรูปไม่ทำให้ นัยน์ตา ท่านกระพริบและท่านก็นั่งลืมตาปลุกเสกความจริงแล้วหลวงปู่ขันแก้วไม่ได้มีเจตนาจะแสดงอภินิหารหรืออวดเป็นเพียงการนั่งปลุกเสกของผู้สำเร็จอานาปานสติกรรมฐาน คือสมาธิแบบลืมตาและนั่งหายใจออก หายใจเข้าจนได้ดวงตาเห็นธรรมและใจหมดอาสวะกิเลสเป็นแบบสมาธิที่ถูกต้องของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหลักฐานแสดงในอานาปาสติสูตรจากหนังสืองานพระศพของหลวงปู่ขันแก้วที่คุณพ่อสมสุข
    พระอริยะสงฆ์ผู้ที่จารึกว่า พระผู้อุดมด้วยวิชชา และวิมุตฺติ มีไว้บูชาติดตัว ติดบ้านร่มเย็นเป็นสุข กันภัยที่จะเกิดขึ้นทั้งปวงครับ


    ราคา 25500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    พระบูชาครูบาขันแก้ว a.jpg
    พระบูชาครูบาขันแก้ว b.jpg พระบูชาครูบาขันแก้ว c.jpg พระบูชาครูบาขันแก้ว d.jpg พระบูชาครูบาขันแก้ว e.jpg พระบูชาครูบาขันแก้ว f.jpg Clip_367.jpg Clip_368.jpg

    Clip_367.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กันยายน 2020

แชร์หน้านี้

Loading...