!!เปิดกรุ!! วัตถุมงคลพระเกจิ-ธาตุกายสิทธิ์-หลากหลายสำนัก"หลักร้อย-ไม่ด้อยพุทธคุณ"

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย อริยธาตุ, 17 ตุลาคม 2022.

  1. Nantana

    Nantana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +212
    พระนางพญาซุ้มคู่ (พิมพ์เล็ก จิ๋วแต่แจ๋ว) เนื้อดินผสมผง (พบน้อย) หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ชัยนาท
    ดำเนินการให้แล้วค่ะ
    รายละเอียดปรากฏ pm. ค่ะ
     
  2. อริยธาตุ

    อริยธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,368
    ค่าพลัง:
    +2,522
    สมเด็จหลวงปู่ลำภู วัดใหม่อมตรส “พิมพ์เส้นด้าย” ฝังกรุต้นโพธิ์ ปี 2502 เป็น 1 ใน 10 อันดับพระสมเด็จ ที่มีมวลสารของพระเครื่อง “สมเด็จพระพุฒาจารย์โต” ผสมอยู่เป็นจำนวนมาก ด้วยที่ท่านเป็นผู้ดูแล พระสมเด็จบางขุนพรหมที่ชำรุดแตกหักอยู่เป็นจำนวนมากในครั้งเปิดกรุปี 2500 ซึ่งกล่าวกันว่าท่านใช้มวลสารพระสมเด็จกรุเก่า 1 องค์ ต่อการกดพิมพ์พระใหม่ 1 องค์ โดยจะเพิ่มแค่ส่วนผสมที่ทำให้เนื้อพระเกาะตัวเท่านั้น เรียกได้ว่าเนื้อพระสมเด็จแท้ๆเลย ปัจจุบันพระสมเด็จของท่าน ไม่ว่าจะเป็นหลังเรียบ ยันต์หมึกแดง หรือยันต์จม ทุกพิมพ์เป็นที่เสาะแสวงหากันมากมาย "พระสมเด็จ ปี 2502" ของหลวงปู่ลำภูด้านพุทธคุณว่ากันว่าครอบจักรวาล โดยเฉพาะเรื่องแคล้วคลาดปลอดภัย ป้องกันเสนียดจัญไร เพิ่มพูนเรื่องของเมตตามหานิยม อุดมไปด้วยลาภผลพูนทวีมั่งมีศรีสุข

    พระพิมพ์สมเด็จบางขุนพรหมปี 2502 เป็นพระพิมพ์สมเด็จที่หลวงปู่ลำภู สร้างเพื่อแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหาที่มาแสดงมุทิตาจิต ในวาระที่หลวงปู่ท่านได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัตร หลวงปู่ลำภูท่านไม่ได้สร้างพระพิมพ์สมเด็จบางขุนพรหมเป็นครั้งแรก แต่ท่านได้สร้างพระพิมพ์แซยิดเนื้อผงเอาไว้เมื่อปี 2501 เพื่อเป็นการบูชาครูบาอาจารย์ของท่านคือ หลวงปู่ภู วัดอินทร์ พระพิมพ์แซยิด ของหลวงปู่ลำภู พิมพ์ทรงจะคล้ายกับพิมพ์แซยิดของหลวงปู่ภู มาก ที่เห็นแตกต่างกันชัดเจนก็คือ ตรงฐาน ตลอดระยะเวลา 30-40ปี ที่จำพรรษาอยู่ที่ “วัดใหม่อมตรส” หลวงปู่ลำภู ได้รู้เห็นการตกพระสมเด็จ การลักลอบขุดเจาะพระเจดีย์ เพื่อเอาพระสมเด็จบางขุนพรหมขึ้นมา โดยเฉพาะเมื่อคราวทำการเปิดกรุ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2500 หลวงปู่ลำภู ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองประธานฝ่ายสงฆ์ เพื่อทำการเปิดกรุ ซึ่งในครั้งนั้นหลวงปู่ลำภู ท่านได้รวบรวมผงเก่าจากเศษหักๆของพระสมเด็จเพื่อเก็บเอาไว้ผสมกับผงใหม่ จึงเป็นที่มาของ พระพิมพ์สมเด็จ บางขุนพรหม ปี 02 ในการสร้างพระพิมพ์สมเด็จครั้งนั้น มีจำนวนมากพอสมควรแต่เมื่อเหลือจากที่ได้แจกแก่ลูกศิษย์แล้ว หลวงปู่ลำภู ท่านได้นำเอาไปฝังกรุเอาไว้ที่โคนต้นโพธิ์หน้ากุฏิเก่า และบรรจุเอาไว้ก้นกระถางต้นชวนชม ซึ่งมีอยู่หลายกระถาง แต่ละกระถางจะมีพระพิมพ์สมเด็จบรรจุมากน้อยบ้าง และได้นำเอาพระสมเด็จขึ้นมาจากโคนต้นโพธิ์และในกระถาง เพราะว่าต้องรื้อกุฏิไม้หลังเก่า เพื่อสร้างกุฏิเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กหลังใหม่ราว พ.ศ.2523-2524 พระสมเด็จหลวงปู่ลำภูรุ่นแรก จึงมีคราบกรุจับอยู่ด้วย ด้านหลังจะไม่มียันต์ พระพิมพ์สมเด็จที่เอามาจากกรุนี้ หลวงปู่จะใส่กระป๋องพลาสติกเอาไว้ในกุฏิ เก็บเอาไว้เฉยๆแต่พอจะแจกท่านก็จะเอารุ่นที่2 ที่มียันต์หมึกแดงด้านหลังมาแจก ตามข้อเท็จจริงแล้ว หลวงปู่ลำภู ท่านจะสร้างพระพิมพ์เป็นครั้งแรก ตั้งแต่ปี2501 ท่านได้นำเอาพิมพ์แซยิด ของหลวงปู่ภู มาเป็นแบบอย่าง ซึ่งสร้างได้เพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นก็เลิกสร้างพิมพ์แซยิดนี้ไป เพราะลูกศิษย์ลูกหาได้ทักท้วงอยากให้สร้าง เพื่อเป็นการสืบทอดทางศาสนา ทางวัดบางขุนพรหม จึงเป็นการถือกำเนิด พระพิมพ์สมเด็จบางขุนพรหมปี02 และมีจำนวนการสร้างทั้งหมด 6 พิมพ์ คือ 1.พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม(แบบพิมพ์มาตรฐาน 2.พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม (พิมพ์ต้อ) 3.พิมพ์ใหญ่เกศจรดซุ้ม (ฐานล่างมีจุด) 4.พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม (ฐานล่างไม่มีจุด)
    5.พิมพ์เส้นด้าย 6.พิมพ์สังฆาฏิ(แบบมีหู) 7.พิมพ์อกครุฑ // องค์นี้เป็นพิมพ์เส้นด้าย คราบกรุดูง่ายๆ ใช้เเทนพระสมเด็จบางขุนพรหมได้อย่างสบายๆเลยทีเดียว

    XXXบูชาแล้วXXX


    โอนบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ (ออมทรัพย์)
    หมายเลขบัญชี 403 - 454907- 0
    ชื่อบัญชี อุกกฤษฏ์ แก้วอำนวย
    โทร : 097 931 9199
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • jpg1.jpg
      jpg1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      246.5 KB
      เปิดดู:
      96
    • jpg7.jpg
      jpg7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      220.7 KB
      เปิดดู:
      90
    • jpg10.jpg
      jpg10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      214.8 KB
      เปิดดู:
      94
  3. อริยธาตุ

    อริยธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,368
    ค่าพลัง:
    +2,522
    พระผงซุ้มสามเหลี่ยม รูปเหมือน รุ่นแรก หลวงพ่อบุญมา วัดอุทยานนที (วัด สมถะ) ชลบุรี ปี 2518 หลวงพ่อบุญมา ปุณณโก หรือ พระครูโสภณกิจจาทร วัดอุทยานนที หรือวัดสมถะ อ.เมือง จ.ชลบุรี ท่านเป็นศิษย์ “หลวงพ่อครีพ” ซึ่งเป็นผู้สร้างพระปิดตาโยงก้น เนื้อผงคลุกรัก ซึ่งเป็น ๑ ใน ๕ เสือ พระชุดเบญจภาคีปิดตาของเมืองชลบุรี นอกจากนี้ ท่านยังเป็นอาจารย์ของ “หลวงพ่อฟู” วัดบางสมัคร ฉะเชิงเทรา พระเครื่องของหลวงพ่อบุญมา มีลงในหนังสือพระดีศรีเมืองชล

    หลวงพ่อบุญมา เป็นพระเก่งพระดีรูปหนึ่ง ท่านสืบสายวิชาของ "หลวงพ่อครีพ" ผู้เป็นบูรพาจารย์ เด็กในเมืองชลฯ คนไหนโยเยเลี้ยงยาก พ่อแม่ยกไปผูกข้อไม้ข้อมือให้เป็นลูก(บุญธรรม) หลวงพ่อมา ทั้งนั้น แล้วก็กลับกลายเป็นเลี้ยงง่าย โตไว กินจุ ก็นับว่าแปลกดี เพราะ หลวงพ่อมา นั้น นอกจากจะมีบารมีทางแก้เด็กเลี้ยงยากแล้ว เรื่องการปลุกเสกพระเครื่องของท่าน ก็ใช่จะน้อยหน้าใคร ดังที่กล่าวแล้วว่า ท่านเป็นหน่อเนื้อเชื้อไข สืบสายมาจากวิชาของ "หลวงพ่อครีพ" องค์ปรมาจารย์ ผู้รังสรรค์พระปิดตาที่ลือลั่นทั่วแผ่นดิน เช่าหากันในอัตราหลายแสนบาท จนถึงหลักล้านเลยทีเดียว

    ซุ้มกอ “พิมพ์ใหญ่มีกนก” กรุวัดพิกุล เมืองกำแพงเพชร เซียนพระรุ่นเก่า ส่วนหนึ่งมีประสบการณ์ขั้น ซื้อพระจากปากกรุ และพบว่ามีพิมพ์คล้ายๆกันอีกหลายกรุ จึงมักเรียกชื่อกรุตามหลัง เช่น ซุ้มกอกรุวัดพิกุล ซุ้มกอกรุฤาษี ฯลฯ คนรุ่นใหม่ หลายคนไม่รู้ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต วัดระฆัง ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ท่านได้อ่านศิลาจารึกหลักที่ 3 ที่วัดเสด็จ จึงรู้ว่ามีโบราณสถาน และพระบรมธาตุ อยู่ทางทิศเหนือฝั่งนครชุม เป็นที่มาของการพบวัดพระบรมธาตุ และพระเจดีย์สามองค์ ที่พระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์สุโขทัย สร้างไว้เมื่อ พ.ศ.1900 ต่อมา เมื่อมีการบูรณะวัดพระบรมธาตุ มีการเปิดกรุที่องค์พระเจดีย์ พบพระเครื่องและวัตถุโบราณล้ำค่ามากมาย พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มีลายกนก พบบ้างแต่จำนวนน้อย กรุนี้ถูกหมายตาเรื่อยมา จึงมีการขุดพบพระเครื่องอีกหลายครั้ง พ.ศ.2490 - พ.ศ.2511 พบบ้างไม่มาก มีผู้จดจำได้แม่นยำว่า พ.ศ.2505 พ.ศ.2509 มีการขุดพบพระซุ้มกอ อีกหลายกรุ กรุวัดพิกุล กรุฤาษี กรุนาตาคำ กรุตาพุ่ม กรุวัดน้อยบ้านไร่ พระพิมพ์ซุ้มกอ ผู้รู้บอกว่า เป็นศิลปะสุโขทัยยุคต้น (แบบวัดตะกวน หรือสุโขทัยผสมลังกา) เห็นพ้องต้องกันว่า งดงามอลังการกว่า พระกรุทุ่งเศรษฐีทั้งปวง เชื่อกันว่าทรงไว้ซึ่งพระพุทธคุณด้านแคล้วคลาดจากภยันตราย "มีกูไม่มีจน"

    เหรียญปั๊มฝ่ามือ เนื้อทองฝาบาตร ตอกโค๊ดหลวงปู่ปัญญา วัดหนองผักหนาม จ.ชลบุรี “รุ่นวาสนาดี ทรัพย์ล้นเหลือ” รุ่นแรก ครบ 9 รอบ อายุ 108 ปี ปี2555 "มีไว้รวย มีไว้ดี มีไว้ไม่ตกอับ”

    “หลวงปู่ปัญญา ปัญญธโร" วัดหนองผักหนาม เป็นพระสงฆ์ 5 แผ่นดิน ท่านเกิดปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่อุบลราชธานี ท่าน ได้มีโอกาสพบหลวงปู่พรหมมา แห่งภูเขาควาย จากนั้นพากันเดินธุดงค์ตัดป่าข้ามแม่น้ำโขงไปนครจำปาสัก ไปเรียนวิชากับสำเร็จลุน ก่อนขึ้นภูเขาควายไปเรียนวิชา เตโชกสิณกับฤๅษีทรงอภิญญาสมาบัติ
    เป็นที่ทราบกันดีว่าหลวงปู่ปัญญาท่านมีสุดยอดวิชาอยู่อย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้คนต่างร่ำรวย โชคดี มีลาภยศ มากันมากต่อมากแล้ว นั่นก็คือวิชาต่อเส้นลายมือวาสนา ผู้ที่ได้รับการต่อเส้นลายมือวาสนาจากหลวงปู่ปัญญาไม่เคยพบกับคำว่าตกต่ำ ยากจน เลย แม้กระทั่งวัตถุมงคลที่มีรูปลายมือเส้นวาสนาของท่านก็สามารถใช้แทนดุจเดียวกับการต่อเส้นวาสนาได้เลยทีเดียว จึงเป็นเหตุผลหลักอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้วัตถุมงคลที่มีรูปเส้นลายมือวาสนาของท่านมีผู้บูชามากและมีประสบการณ์มากรวมถึงสนนราคาที่สูงขึ้นในทุกๆรุ่น

    ในปี 2555 นี้เป็นปีที่หลวงปู่ปัญญามีอายุสมมงคลครับ 9 รอบ 108 ปี ถือเป็นวาระที่มงคลยิ่งท่านจึงได้เมตตาจัดสร้าง "เหรียญลายมือ รุ่นวาสนาทรัพย์ล้นเหลือ" ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในคราวที่ท่านมีอายุ 108 ปี ความพิเศษของเหรียญลายมือรุ่นนี้นอกจากความเป็นรุ่นแรกในลักษณะเฉพาะตัวของหลวงปู่ปัญญาแล้วอาจกล่าวได้ว่าอาจเป็นครั้งแรกของเหรียญพระเกจิอาจารย์ที่สร้างในลักษณะนี้คือ ทรงเหรียญเป็นรูปฝ่ามือมีรูปหลวงปู่อยู่ตรงกลาง
    วาระการปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่น “วาสนาทรัพย์ล้นเหลือ” ประกอบด้วยพิธี 3 วาระคือ

    วาระที่ 1 วันที่ 3 พฤษภาคม 2555 อันเป็นวันไหว้ครูของหลวงปู่ปัญญา มีการจัดพิธีปลุกเสกนำฤกษ์และทำลายแม่พิมพ์ด้วยหลวงปู่ปัญญาเอง

    วาระที่ 2 วันที่ 4 มิถุนายน 2555 ทำพิธีปรกปลุกเสกเดี่ยวแบบเงียบๆ แต่เข้มขลังด้วยหลวงปู่ปัญญาเอง ณ กุฏิของท่าน

    วาระที่ 3 วันที่ 12 กรกฎาคม 2555 จัดพิธีมหาพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ สมโภชปิดท้าย ณ วัดหนองผักหนามโดยหลวงปู่ปัญญาและพระเกจิอาจารย์สหธรรมิก เหรียญลายมือรุ่นแรกพิมพ์นี้ จัดสร้างเพียงครั้งเดียวเท่านั้นเพื่อฝากผลงานประติมากรรมและสายวิชาของหลวงปู่ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวให้คนรุ่นหลังได้รับทราบและเล่นหาโดยจัดสร้างเนื้อละไม่มาก

    XXXบูชาแล้วXXX


    โอนบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ (ออมทรัพย์)
    หมายเลขบัญชี 403 - 454907- 0
    ชื่อบัญชี อุกกฤษฏ์ แก้วอำนวย
    โทร : 097 931 9199
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • jpg2.jpg
      jpg2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      177.3 KB
      เปิดดู:
      69
    • jpg3.jpg
      jpg3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      232.5 KB
      เปิดดู:
      76
    • jpg5.jpg
      jpg5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      247.4 KB
      เปิดดู:
      74
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2024
  4. อริยธาตุ

    อริยธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,368
    ค่าพลัง:
    +2,522
    พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ เนื้อตะกั่วถ้ำชา วัดใหม่อมตรส (บางขุนพรหม) ปี 2543 “รุ่นอุดมมงคล” พบน้อย หายาก เนื่องจากพระสมเด็จบางขุนพรหมปี 2543 ส่วนใหญ่ที่พบเจอทั่วไปนั้นจะเป็นเนื้อผง เนื้อตะกั่วจะพบเจอได้น้อยกว่ามาก แม้ราคายังไม่แพงลิบลิ่วแค่หลักร้อย แต่อนาคตทะลุหลักพันแน่นอน มีพระเกจิ คณาจารย์ดังๆ ร่วมปลุกเสกในพิธีหลายท่านมากมาย ถ้าเจอราคาไม่แพงมาก ควรเช่าเก็บไว้ได้เลยทันที

    เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปว่า สังฆประวัติของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ล้วนแต่มีเนื้อหาสาระที่น่าศึกษา และน่ายึดถือเป็นแบบอย่างแห่งการประพฤติปฏิบัติ พระคณาจารย์ และท่านผู้รู้ทั้งหลายเชื่อว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้มีความเจริญในอิทธิคุณด้านต่างๆ ได้แก่

    ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์
    ๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ ทายใจได้เป็นอัศจรรย์
    ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนมีผลจริงเป็นอัศจรรย์

    หากได้ศึกษาประวัติและปฏิปทาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ คงจะได้ทราบกันดีว่า พระพิมพ์สมเด็จที่ประสิทธิ์ด้วยพระคาถาชินบัญชรมีอานุภาพ อภินิหาร เป็นเดช อำนาจ เมตตา มหาลาภ และรักษาโรคภัยไขเจ็บให้หายได้ ป้องกันอันตรายทั้งปวง จึงเป็นที่นิยมนับถือและมีความเลื่อมใสศรัทธาอยู่ในจิตใจของประชาชนตลอดมา

    ทาง “วัดใหม่อมตรส” ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกในวันพฤหัสบดี ที่ 28 ธันวาคม 2543 (วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ฤกษ์พุทธาภิเษก เป็นราชาฤกษ์ ดังเช่น พระสมเด็จ ที่ได้ชื่อว่าเป็นราชาของพระเครื่องทั้งปวง พระเกจิคณาจารย์ในพิธีมี สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม เป็นประธานจุดเทียนชัย ,สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ เป็นประธานดับเทียนชัย พระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม นครปฐม, หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม กาญจนุรี, หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดเม้าสุขา ชลบุรี, หลวงปู่ทิม วัดพระขาว อยุธยา, หลวงพ่อรวย วัดตะโก อยุธยา, หลวงพ่อแย้ม วัดตะเคียน นนทบุรี, หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน ลพบุรี, หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย นนทบุรี, หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม เป็นต้น

    สำหรับ “เนื้อตะกั่วถ้ำชา” นี้พบว่ามีการสร้างมานานแล้ว โดยมีหลักฐานตั้งแต่สมัยเปิด “กรุบางขุนพรหม” เมื่อปี 2500 ณ พระเจดีย์ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โตสร้างไว้ จึงมีการสร้างพระสมเด็จเนื้อตะกั่วถ้ำชาย้อนยุคขึ้น โดยนำแผ่นตะกั่วที่จารพระยันต์สำคัญมากมาย เคี่ยวหลอมรวมชนวนมงคลอยู่ ณ มณฑลพิธีรอบพระเจดีย์สมเด็จฯโต จึงเชื่อแน่ว่านี่จะเป็นพระสมเด็จเนื้อโลหะอีกรุ่นหนึ่ง ที่สร้างจาก "ตะกั่ว" โลหะธาตุที่สามารถซึมซับรับพลังได้ดีที่สุดตามที่ “หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี” ได้เคยบอกกล่าวเอาไว้

    "พระสมเด็จรุ่นอุดมมงคล ปี 2543" นับเป็นพระเครื่องที่มีมวลสารดี พิธีเยี่ยมรุ่นหนึ่ง มีหลากหลายพิมพ์ทรง ประกอบด้วย พิมพ์ใหญ่เกศทะลุซุ้ม, พิมพ์เส้นด้าย, พิมพ์ทรงเจดีย์ ,พิมพ์รูปเหมือน, พิมพ์คะแนน, ซึ่งทุกพิมพ์จะโรยผงเก่า และยังมีพระสมเด็จเนื้อตะกั่วถ้ำชา อีกด้วย

    XXXบูชาแล้วXXX


    โอนบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ (ออมทรัพย์)
    หมายเลขบัญชี 403 - 454907- 0
    ชื่อบัญชี อุกกฤษฏ์ แก้วอำนวย
    โทร : 097 931 9199
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • jpg1.jpg
      jpg1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      249 KB
      เปิดดู:
      86
    • jpg3.jpg
      jpg3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      294.6 KB
      เปิดดู:
      87
    • jpg5.jpg
      jpg5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      258.5 KB
      เปิดดู:
      92
  5. อริยธาตุ

    อริยธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,368
    ค่าพลัง:
    +2,522
    เหรียญพระธาตุพนม บล็อกเจดีย์เหลี่ยม มีเข็ม (นิยม) ตัวตัดที่ 2 ปี 2518 เนื้อทองแดงผิวโทนสีรุ้ง หาชมได้ยาก สภาพสวยเดิมๆ เหรียญที่ระลึกในงานพระราชพิธีสมโภช พระบรมสารีริกธาตุ จ.นครพนม วันที่11 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2518 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้จัดงานพระราชพิธีสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุอื่นๆ อีก 115 องค์ อัญเชิญประดิษฐานในพลับพลาพิธี ซึ่งจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่รวม 7 วัน 7 คืน ในระหว่างวันที่ 26 ธ.ค.2518-1 ม.ค.2519 ถือเป็นงานสมโภชระดับชาติ ที่มีพิธีทางพระพุทธศาสนาและพิธีทางบ้านเมืองไปพร้อมกัน วันที่ 26 ธันวาคม 2518 ประมุขฝ่ายสงฆ์ นำโดยสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ 17 รูป เฝ้าฯ รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯทรงสรงพระกรัณฑ์พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ ก่อนเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรซากปรักหักพังขององค์พระธาตุพนม ก่อนเริ่มพระราชพิธี 3 วัน จังหวัดนครพนม โดยนายพิศาล มูลศาสตรสาทร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้จัดสร้างเหรียญที่ระลึก "เหรียญสมโภชพระธาตุพนม" กำหนดสร้าง 50,000 เหรียญ แต่บล็อกพิมพ์เกิดแตกเสียก่อน จึงสร้างได้เพียง 37,427 เหรียญ ในจำนวนนี้มีเนื้อเงิน 99 เหรียญ เหรียญพระธาตุพนมเนื้อทองแดงเจดีย์กลม 500 เหรียญ ที่เหลือเป็นเนื้อทองแดงเจดีย์รูปทรง 8 เหลี่ยม เหรียญสมโภชพระธาตุพนม นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกที่ลานต้นศรีมหาโพธิ์ภายในวัด ปลุกเสกโดยคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมจากสำนักต่างๆ จำนวน 9 รูป หนึ่งในนั้นมีพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระเกจิชื่อดังร่วมในพิธีแผ่เมตตาจิต วัตถุประสงค์ตั้งใจจะแจก "เหรียญสมโภชพระธาตุพนม" ในงานพระราชพิธีดังกล่าว แต่ภายหลังได้รับความนิยมสูง จึงเปลี่ยนให้เช่าบูชา เพื่อนำปัจจัยมาบูรณะองค์พระธาตุพนม ต่อมาได้สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2522

    XXXบูชาแล้วXXX


    โอนบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ (ออมทรัพย์)
    หมายเลขบัญชี 403 - 454907- 0
    ชื่อบัญชี อุกกฤษฏ์ แก้วอำนวย
    โทร : 097 931 9199
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • jpg5.jpg
      jpg5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      248.2 KB
      เปิดดู:
      85
    • jpg7.jpg
      jpg7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      235.8 KB
      เปิดดู:
      77
    • jpg95.jpg
      jpg95.jpg
      ขนาดไฟล์:
      76 KB
      เปิดดู:
      79
    • jpg99.jpg
      jpg99.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47.3 KB
      เปิดดู:
      67
    • jpg1.jpg
      jpg1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      263.1 KB
      เปิดดู:
      96
    • jpg3.jpg
      jpg3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      179.8 KB
      เปิดดู:
      88
  6. อริยธาตุ

    อริยธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,368
    ค่าพลัง:
    +2,522
    พระเนื้อดิน “พิมพ์ขาโต๊ะ” หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน สุพรรณบุรี พระหนาสวย เก่าทันยุค พิมพ์เล็กหายาก เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในสมัยที่ “หลวงพ่อโหน่ง” ยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างวัตถุมงคลเอาไว้อย่างมากมาย และค่อนข้างมีหลายวัตถุมงคลที่ยังคงเป็นที่นิยมกันอย่างเสมอมา ซึ่งวัตถุมงคลที่ค่อนข้างได้รับความนิยมสูง ก็ได้แก่ พระพิมพ์ดินเผา ซึ่งเอกลักษณ์ของพระพิมพ์ดินเผานั้น จะมีลักษณะหยาบ และละเอียดปะปนกันออกไป มีทั้งพระเครื่อง พระหมู่บูชา ท่านได้จัดสร้างด้วยกันหลากหลายพิมพ์ ได้แก่ พระพิมพ์ขุนแผน ,พระพิมพ์ลีลา ,พระพิมพ์ซุ้มกอ , พระพิมพ์งบน้ำอ้อย , พระพิมพ์กลีบบัว , พระพิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ , พระพิมพ์นาคปรก, พระพิมพ์พระปิดตา, พระพิมพ์ปรุหนัง, พระพิมพ์กำแพงศอก, พระพิมพ์ปางไสยาสน์ และพระในพิมพ์อื่นๆอีกมากมาย ที่เราอาจจะยังไม่ได้กล่าวถึง แต่พระที่มักจะมีผู้คนกล่าวถึง และยังคงได้รับความนิยมอยู่เสมอมา ก็คือพระซุ้มกอ ตามที่ได้กล่าวเอาไว้เบื้องต้น ซึ่งพระพิมพ์นี้ จะมีทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ ซึ่งสภาพและค่านิยมก็ค่อนข้างจะแตกต่างกันออกไป เหตุที่ค่อนข้างได้รับความนิยมสูง เนื่องจากมีพุทธคุณที่ค่อนข้างสูงและมีความโดดเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดปลอดภัยรวมไปถึงทางด้านเมตตามหานิยมเป็นส่วนใหญ่ โดยเชื่อกันว่าหากใครได้มีเอาไว้ในบูชาครอบครอง จะยิ่งช่วยส่งเสริมลาภยศ ทำให้มีผู้คนสรรเสริญ และมีความแคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยทั้งปวงได้ แต่ในปัจจุบันก็ไม่ได้เป็นพระที่หาชมกันได้ง่ายๆนัก

    สมเด็จหินพระธาตุ เขาสามร้อยยอด (ถ้ำมัน) จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นพระที่แกะสร้างไว้ในยุคแรกๆ งานแฮนด์เมด ลุงขจร ผู้เปิดตำนานความศักดิ์สิทธิ์หินพระธาตุ หินพระธาตุเขาสามร้อยยอด จากคำบอกเล่าของ “ลุงไล้” ชาวจังหวัดประจวบฯ เล่าให้ฟังว่า หินพระธาตุนี้ เริ่มเป็นที่รู้จักเพราะ เก้ง ธรรมดา ตัวเดียว มีนายพรานพบเห็นเก้ง ในเขตเขาสามร้อยยอดนี่แหละ จึงทำการขึ้นนกสับไกปืนขึ้นเล็งเตรียมที่จะยิง เมื่อได้จังหวะดีก็เหนี่ยวไกออกไป เสียงแชะ ปรากฏว่าลูกกระสุนปืนด้าน ยิงไม่ออก เก้งรู้ตัวจึงวิ่งหนีไป นายพรานตามมาทันได้จังหวะ ก็ลองยิงซ้ำอีกครั้ง เสียงดังแชะ อีกเช่นเคย ลองยิงเป็นครั้งที่ สาม และสี่ก็เป็นเหมือนเดิม จึงลองหันปากกระบอกปืนไปยังทิศทางอื่น ปรากฏว่าปืนสามารถยิงได้เป็นปกติตามเดิม นายพรานนึกแปลกใจ จึงค่อยๆตามอีเก้งตัวนั้น พบว่าเก้งตัวนั้น เลียน้ำจากโขดหินอันหนึ่งที่มีลักษณะแปลกตา โขดหินที่ว่า มีลักษณะคล้ายไข่ไก่ ไข่เป็ด ขนาดเขื่อง ฝังตัวอยู่ภายในก้อนหินทั้งแท่ง ตั้งแต่นั้นมาเรื่องราวของหินพระธาตุเขาสามร้อยยอดก็เริ่มแพร่สะพัด ระยะแรกเป็นที่รู้กันในเฉพาะกลุ่มพรานป่า ที่นิยมมาแงะเอาหินเขาสามร้อยยอดพกติดตัวป้องกันภัย โดยพลังอำนาจที่ร่ำลือกันมากที่สุดคือ อำนาจทางด้านมหาอุด คงกระพันนั่นเอง
    หินพระธาตุ เขาสามร้อยยอด พุทธคุณสูง
    สามารถสรุปได้ 9 ประการด้วยกัน คือ
    1.ดีทางร่มเย็นเป็นสุข
    2.ช่วยในการเจริญสมาธิภาวนา
    3.เป็นเมตตามหานิยม
    4.ดีทางคุ้มครอง เป็นแคล้วคลาด
    5.ดีทางโชคลาภ
    6.ดีทางสมบูรณ์ด้วยสุขภาพพลานามัย
    7.ดีทางเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานประสบความสำเร็จในชีวิต
    8.หินพระธาตุเขาสามร้อยยอด เป็นหินแห่งญาณทัศนะ
    9.ค้ำชูดวงชะตาไม่ให้ตกต่ำ


    พระปิดตาหลังกงจักร เนื้อผงคลุกรัก ฝังตะกรุด (รุ่นล้อพิมพ์พ่อท่านครน วัดบางแซะ) หลวงพ่อดำ วัดใหม่นภาราม นราธิวาส ปี ๒๕๓๘ “พระเกจิสายใต้เส้นเกศาที่ตัดออกแล้ว ก็ยังงอกยาวได้อีก หลวงพ่อดำ จนฺทสโร อดีตเจ้าอาวาส “วัดใหม่นภาราม” ผู้ที่สืบทอดวิชาการสร้างไม้ครู และพระปิตตา(พระควัมบดี) มาจากหลวงพ่อครน วัดบางแซะ ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อครน วัดบางแซะ รัฐกลันตัน (มาเลเซีย) ผู้สร้างพระปิดตาที่มีชื่อเสียงและพุทธคุณไม่น้อยไปกว่าสายเขาอ้อพัทลุง โดยเฉพาะชาวมาเลเซียและสิงคโปร์ที่นับถือศาสนาพุทธให้ความนิยมมาก วัตถุมงคลของหลวงพ่อดำเด่นทางเมตตามหานิยม และคงกระพัน โด่งดังไปทั่วเมืองไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย ว่ากันว่าขลังชนิดยิงไม่ออก แคล้วคลาดจากอันตรายนานัปประการ เป็นมหาลาภ มหาโภคทรัพย์ พลิกฟื้นดวงชะตาได้อย่างน่าอัศจรรย์ แม้แต่ผู้ครองรัฐของมาเลเซียยังแขวนพระปิตตา และถือไม้ครูของท่านด้วยความศรัทธา เนื่องจากเคยมีการทดสอบพระปิดตาของท่านในมาเลเซียต่อหน้ากันมาแล้ว ผลคือ “มหาอุด ยิงไม่ออก” เป็นที่กล่าวขานทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศที่อยู่ในเหตุการณ์ , ครูบาอาจารย์ของท่านนอกจากหลวงพ่อครนแล้ว ท่านยังได้ไปศึกษาเพิ่มเติมกับหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลีอีกด้วย พระปิดตาหลวงพ่อดำ องค์ลักษณะคล้ายพระปิดตาหลวงพ่อครน สายตรงพระปิดตาสายใต้คงรู้จักกันดี จัดว่าหาดูได้ยากแล้ว เพราะพระส่วนใหญ่ของท่านได้รับความนิยมจากชาวมาเลเซียสูงมาก จึงทำให้ในพื้นที่ไม่ค่อยจะได้พบเจอ พระปิดตาของท่านเป็นพระที่มีประสบการณ์มากมาย เช่นที่จังหวัดนราธิวาส มีนายทหารถูกซุ่มโจมตีด้วยอาวุธปืนสงคราม แต่ปลอดภัยจากอันตรายมาได้ มีเพียงผิวหนังเป็นลอยจ้ำๆเท่านั้นเอง.

    XXXบูชาแล้วXXX

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • jpg3.jpg
      jpg3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      239.5 KB
      เปิดดู:
      83
    • jpg5.jpg
      jpg5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      214.3 KB
      เปิดดู:
      87
    • jpg7.jpg
      jpg7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      223.2 KB
      เปิดดู:
      79
    • jpg8.jpg
      jpg8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      219.5 KB
      เปิดดู:
      82
    • jpg10.jpg
      jpg10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      203.5 KB
      เปิดดู:
      73
    • jpg1.jpg
      jpg1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      183.8 KB
      เปิดดู:
      87
  7. อริยธาตุ

    อริยธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,368
    ค่าพลัง:
    +2,522
    พระกริ่งเจ้าฟ้านเรศ เนื้อชนวน (ก้านช่อนำฤกษ์) โค๊ดสองตัว จารในพิธีหลวงตาม้า วัดพุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะ) จ.เชียงใหม่ สภาพเดิม สร้างปี 2550 รูปลักษณ์พระพุทธรูปทรงเครื่องมหาจักรพรรดิ พระอริยาบถนั่งขัดสมาธิเพชร ในพระหัตถ์มีมณีแก้ว ใต้ฐานตอกโค้ดกำกับ อุดผงสำคัญ เช่น ผงมหาจักรพรรดิ ของ “หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ” และอุดผงอิฐที่พระสถูปเมืองหาง เป็นสถานที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระกริ่งเจ้าฟ้านเรศ หมายถึง “สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นเจ้า วีรกษัตริย์ไทยผู้เกรียงไกร” ผู้ทรงกอบกู้เอกราชแห่งชาติไทย ให้ลูกหลานได้อยู่สุขสบายจนตราบเท่าทุกวันนี้ ชนวนโลหะที่นำมาใช้ในการหล่อพระกริ่งในครั้งนี้ เพื่อให้เป็นสิริมงคลอย่างสูงสุด ทางผู้สร้างจึงได้พยายามรวบรวมแผ่นยันต์ และวัตถุมงคล อีกทั้งมีผู้ร่วมมอบชนวนสำคัญต่างๆดังนี้

    (๑.) แผ่นยันต์ที่ผ่านการอธิษฐานจิตจากครูบาอาจารย์หลายๆท่าน
    ๑. หลวงปู่หลอด วัดใหม่เสนานิคม กรุงเทพฯ
    ๒. หลวงพ่อมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ ชัยนาท
    ๓. พระครูวิจิตร (จวบ) วัดพลับ กรุงเทพฯ
    ๔. หลวงปู่ปลื้ม วัดสวนหงษ์ สุพรรณบุรี
    ๕. ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี เชียงใหม่
    ๖. หลวงปู่แป้น วัดไทรงาม สุพรรณบุรี
    ๗. ครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม เชียงใหม่
    ๘.หลวงพ่อสังวาลย์ วัดทุ่งสามัคคีธรรม สุพรรณบุรี
    ๙. ครูบาขัน สุสานไตรลักษณ์ แม่วาง เชียงใหม่
    ๑๐. พระครูภาวนาวรคุณ วัดเขาพระ สระบุรี
    ๑๑. ครูบาตั๋น สำนักสงฆ์ดอยม่อนปู่อิ่น เชียงใหม่
    ๑๒. หลวงปู่นาค วัดหนองโป่ง สระบุรี
    ๑๓. ครูบาคำตั๋น วัดสันทรายหลวง เชียงใหม่
    ๑๔. หลวงปู่เจียม วัดอินทราวาสุการาม สุรินทร์
    ๑๕. ครูบาเผือก วัดไชยสถาน เชียงใหม่
    ๑๖. หลวงปู่ถม วัดเชิงท่า ลพบุรี
    ๑๗. ครูบาอิ่นคำ วัดข้าวแท่นหลวง เชียงใหม่
    ๑๘. ครูบาหล้า วัดป่าลาน เชียงใหม่
    ๑๙. ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่
    ๒๐. หลวงพ่อดาบส อาศรมไผ่มรกต เชียงราย
    ๒๑. ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน
    ๒๒. ครูบาคำปัน วัดพระธาตุผาหนาม ลำพูน
    ๒๓. ครูบาอินตา วัดห้วยไช ลำพูน
    ๒๔. หลวงปู่สี วัดพระฉาย (เขาชะโงก) นครนายก
    ๒๕. หลวงปู่ผาง วัดป่าบ้านนายม มุกดาหาร
    ๒๖. หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน ศรีสะเกษ
    ๒๗. พระอาจารย์จ่อย วัดป่าหนองล่ม สระแก้ว
    ๒๘. หลวงพ่อธรรมยุต วัดหนองแท่นพระ ปราจีนบุรี
    ๒๙. หลวงปู่ทองมี วัดนิคมวนาราม ยโสธร
    ๓๐. หลวงปู่ทองสี วัดสุทธิมงคล ยโสธร
    ๓๑. หลวงปู่สอ วัดป่าหนองแสง ยโสธร
    ๓๒. หลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพต หนองคาย
    ๓๓. หลวงปู่ตี๋ วัดหลวงราชาวาส อุทัยธานี
    ๓๔. หลวงน้าสายหยุด วัดสะแก อยุธยา
    ๓๕. หลวงปู่กอง วัดสระมณฑล อยุธยา
    ๓๖. หลวงพ่อรวย วัดตระโก อยุธยา
    ๓๗. หลวงปู่ชม วัดนางใน อ่างทอง
    ๓๘. หลวงปู่ศรี วัดป่ากุง ร้อยเอ็ด
    ๓๙. หลวงปู่บุญมี วัดสระประสานสุข อุบลราชธานี
    ๔๐. หลวงปู่จันทา วัดป่าเขาน้อย พิจิตร

    (๒ .) แผ่นยันต์ที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านได้เมตตามอบให้เพื่อนำเป็นชนวน
    ๑. หลวงพ่อพูน (๑ แผ่น) วัดบ้านแพน อยุธยา
    ๒. หลวงพ่อหวล (๓ แผ่น) วัดพุทไธศวรรย์ อยุธยา
    ๓. หลวงพ่อเอียด (๑ แผ่น) วัดไผ่ล้อม อยุธยา
    ๔. หลวงพ่อหมื่นอุดม (๑ แผ่น) วัดตูม อยุธยา
    ๕. หลวงพ่อเพิ่ม (๑ แผ่น) วัดป้อมแก้ว อยุธยา
    ๖. หลวงพ่อพุฒ (๓ แผ่น) วัดขนอนเหนือ อยุธยา
    ๗. หลวงพ่ออุดม (๑ แผ่น) วัดพิชัยสงคราม อยุธยา
    ๘. พระอาจารย์ธรรมนูญ (๓ แผ่น) วัดมณีชลขัณฑ์ ลพบุรี
    ๙. พระครูวินัยธรนิพนธ์ (๓ แผ่น) วัดกล้วย อยุธยา
    ๑๐. หลวงปู่บุญ (๓ แผ่น) วัดหัวเขา ลพบุรี
    ๑๑. เจ้าคุณไวทย์ (๓ แผ่น) วัดพนัญเชิง อยุธยา
    ๑๒. หลวงพ่อเพี้ยน (๓ แผ่น) วัดเกริ่นกฐิน ลพบุรี
    ๑๓. หลวงปู่ชื้น (๑ แผ่น) วัดญาณเสน อยุธยา
    ๑๔. หลวงปู่เทพ (๑ แผ่น) วัดป่าเทพเนรมิต ลพบุรี
    ๑๕. หลวงปู่ทิม (๑ แผ่น) วัดพระขาว อยุธยา
    ๑๖. หลวงปู่นนท์ (๑ แผ่น) วัดเหนือวน ราชบุรี
    ๑๗. หลวงปู่สวัสดิ์ (๑ แผ่น) วัดศาลาปูน อยุธยา
    ๑๘. หลวงพ่อน้อย (๑ แผ่น) วัดไผ่ท่าโพธิ์ใต้ พิจิตร
    ๑๙. หลวงพ่ออุตตมะ (๔ แผ่น) วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี
    ๒๐. หลวงตาพวง (๒ แผ่น) วัดศรีธรรมาราม ยโสธร
    ๒๑. ครูบาเที่ยงธรรม (๓ แผ่น) วัดเวฬุวัน ศรีสะเกษ
    ๒๒. หลวงปู่สรวง (๑ แผ่น) วัดศรีฐานใน ยโสธร
    ๒๓. หลวงพ่อสุทัศน์ (๑ แผ่น) วัดกระโจมทอง นนทบุรี
    ๒๔. หลวงพ่อดุล (๓ แผ่น) สำนัดสงฆ์คงคำโคกทม บุรีรัมย์
    ๒๕. หลวงปู่ชื่น (๒ แผ่น) วัดตาอี บุรีรัมย์
    ๒๖. หลวงพ่อสิริ (๓ แผ่น) วัดตาล นนทบุรี
    ๒๗. หลวงปู่สินธุ์ (๓ แผ่น) วัดสะพานสูง นนทบุรี
    ๒๘. หลวงปู่ธีร์ (3 แผ่น) วัดจันทราวาส บุรีรัมย์
    ๒๙. หลวงปู่จันทร์แรม (๑ แผ่น) วัดเกาะแก้วธุดงคสถาน บุรีรัมย์
    ๓๐. หลวงปู่ฤทธิ์ (๒ แผ่น) วัดชลประทานราชดำริ บุรีรัมย์
    ๓๑. หลวงปู่เหลือง (๑ แผ่น) วัดกระดึงทอง บุรีรัมย์
    ๓๒. หลวงปู่จุ่ม (๑ แผ่น) วัดป่ารักษ์น้ำ ธุดงคสถาน บุรีรัมย์
    ๓๓. หลวงพ่อสิริ (๑ แผ่น) ศูนย์ฟื้นฟู ผู้ติดยาเสพติด ชัยภูมิ
    ๓๔. อาจารย์ศุภรัตน์ แสงจันทร์ (๑ แผ่น) บ้านพุทธฉัตร อยุธยา
    ๓๕. หลวงปู่คำพันธ์ (๑ แผ่น) วัดธาตุมหาชัย นครพนม
    ๓๖. หลวงปู่พวง (๑๒ แผ่น) วัดป่าปูลู อุดรธานี
    ๓๗. หลวงปู่จันทร์โสม (๑ แผ่น) วัดป่านาสีดา อุดรธานี
    ๓๘. หลวงปู่หรุ่ม (๑ แผ่น) วัดบางจักร อ่างทอง
    ๓๙. หลวงปู่ชุป (๔ แผ่น) วัดหนองเต่าทอง สุพรรณบุรี
    ๔๐. ครูบาอินทร (๔ แผ่น) วัดสันป่ายางหลวง ลำพูน
    ๔๑. ครูบาอินตา (๔ แผ่น) วัดวังทอง ลำพูน
    ๔๒. ครูบาสุข (๑ แผ่น) วัดป่าซางน้อย ลำพูน
    ๔๓. ครูบากฤษดา (๖ แผ่น) วัดสันพระเจ้าแดง ลำพูน
    ๔๔. ครูบาอริยชาติ (๘๖ แผ่น) วัดวังมุย ลำพูน
    ๔๕. หลวงพ่อบุญรัตน์ (๑ แผ่น) วัดโขงขาว เชียงใหม่
    ๔๖. ครูบาน้อย (๓ แผ่น) วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่
    ๔๗. ครูบาดวงดี (๔ แผ่น) วัดบ้านฟ่อน เชียงใหม่
    ๔๘. ครูบาอิน (๑ แผ่น) วัดทุ่งปุย เชียงใหม่
    ๔๙. ครูบาเทือง (๒ แผ่น) วัดบ้านเด่น เชียงใหม่
    ๕๐. หลวงตาม้า (๓ แผ่น) วัดพุทธพรหมปัญโญ เชียงใหม่
    ๕๑. ครูบาจันทร์ (๑ แผ่น) วัดสันเจดีย์ริมปิง เชียงใหม่
    ๕๒. หลวงพ่อแดง (๓ แผ่น) วัดแม่ฮ่องไคร้ เชียงใหม่
    ๕๓. หลวงปู่ลี (๒ แผ่น) วัดเอี่ยมวนาราม อุบลราชธานี
    ๕๔. หลวงปู่สังข์ (๓ แผ่น) วัดบ้านท่าช้างใหญ่ อุบลราชธานี
    ๕๕. หลวงปู่สวน (๓ แผ่น) วัดนาอุดม อุบลราชธานี
    ๕๖. พระโพธินันทมุนี (๒ แผ่น) วัดบูรพาราม สุรินทร์
    ๕๗. หลวงปู่ธรรมรังษี (๓ แผ่น) วัดพระพุทธบาทเขาพนมดิน สุรินทร์
    ๕๘. หลวงปู่หงส์ (๒ แผ่น) วัดเพชรบุรี สุรินทร์
    ๕๙. หลวงพ่อประวิทย์ (๑ แผ่น) วัดหนองจระเข้ ปราจีนบุรี
    ๖๐. หลวงปู่วาส (๓ แผ่น) วัดสะพานสูง นนทบุรี
    ๖๑. หลวงพ่อสง่า (๓ แผ่น) วัดเขมาภริตาราม นนทบุรี
    ๖๒. หลวงพ่อประสิทธิ์ (๒ แผ่น) วัดไทรน้อย นนทบุรี
    ๖๓. หลวงปู่แยง (๑ แผ่น) วัดภูทอก หนองคาย
    ๖๔. หลวงพ่อคำ (๑ แผ่น) วัดถ้ำบูชาภูวัว หนองคาย
    ๖๕. หลวงปู่เคน (๑ แผ่น) วัดป่าประชานิยม มหาสารคาม
    ๖๖. หลวงพ่อจำเนียร (๑ แผ่น) วัดถ้ำเสือ กระบี่
    ๖๗. หลวงปู่ผ่าน (๔ แผ่น) วัดประทีปปุญญาราม สกลนคร
    ๖๘. หลวงปู่บุญมา (๒ แผ่น) วัดป่าสีห์พนม สกลนคร
    ๖๙. หลวงปู่แปลง (๒ แผ่น) วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
    ๗๐. หลวงปู่บุญพิณ (๓ แผ่น) วัดป่าเทพนิมิตร สกลนคร
    ๗๑. หลวงพ่อเจียม (๓ แผ่น) วัดเทพวิสุทธาราม สกลนคร
    ๗๒. หลวงปู่สุภา (๓ แผ่น) สำนักสงฆ์เทพขจรจิต ภูเก็ต
    ๗๓. หลวงปู่ท่อน (๑ แผ่น) วัดป่าศรีอภัยวัน เลย
    ๗๔. หลวงปู่หลุย (๓ แผ่น) วัดราชโยธา กรุงเทพฯ
    ๗๕. พระครูสถิตย์ (๑ แผ่น) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
    ๗๖. หลวงพ่อน้ำมนต์เดือด (๑ แผ่น) ว่าป่าสมเด็จ มุกดาหาร
    ๗๗. หลวงพ่อคำ (๑ แผ่น) วัดท่ายาง นครศรีธรรมราช
    ๗๘. หลวงพ่อชำนาญ (๔ แผ่น) วัดบางกุฏีทอง ปทุมธานี
    ๗๙. หลวงปู่เมตตา (๓ แผ่น) วัดโพธิ์เลื่อน ปทุมธานี
    ๘๐. พระอาจารย์ประกอบ (๓ แผ่น) วัดป่ามหาชัย สมุทรสาคร
    ๘๑. หลวงปู่บ๊ก (๑ แผ่น) วัดเนินพยอม อุทัยธานี
    ๘๒. หลวงพ่อวิชัย (๓ แผ่น) วัดถ้ำผาจม เชียงราย
    ๘๓. พระครูสมุห์อวยพร (๒ แผ่น) วัดดอนยายหอม นครปฐม
    ๘๔. หลวงปู่ผูก (๑ แผ่น) วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
    ๘๕. หลวงปู่จ่าง (๓ แผ่น) วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี
    ๘๖. หลวงปู่อุ้น (๓ แผ่น) วัดตาลกง เพชรบุรี
    ๘๗. หลวงปู่จันทร์หอม (๕ แผ่น) วัดสว่างวนาราม อุบลราชธานี
    ๘๘. หลวงปู่พร้า (๓ แผ่น) วัดโคกดอกไม้ ชัยนาท
    ๘๙. หลวงพ่อแดง (๓ แผ่น) วัดห้วยฉลองราษฎร์ อุตรดิตถ์
    ๙๐. หลวงพ่อทองคำ (๑ แผ่น) วัดท่าทอง อุตรดิตถ์
    ๙๑. หลวงพ่อวัดป่าพุทธคยา (๑ แผ่น) อินเดีย


    (๓.) ห่วงเหรียญและเหรียญคณาจารย์
    ๑. เหรียญหลวงปู่เหรียญ วัดอรัญบรรพต หนองคาย
    ๒. เหรียญหลวงปู่ทวด รุ่นต่างๆ วัดช้างให้และวัดอื่นๆ ปัตตานี
    ๓. เหรียญสมเด็จองค์ปฐมต้น โครงการโพธิจิต
    ๔. เหรียญหลวงพ่อสงวน วัดทุ่งทองทิพย์ กาญจนบุรี
    ๕. เหรียญพระนิพานหลวงปู่บุญศรี วัดศรีสุทธาวาส นครสวรรค์
    ๖. เหรียญหลวงพ่ออินทร์ ปี ๒๕๐๔
    ๗. เหรียญพระครูสิริกันทรลักษณ์ ปี ๒๕๒๑ วัดศรีขุนหาญ ศรีสะเกษ
    ๘. เหรียญหลวงพ่อรุ่ง วัดป่าน้ำจืด
    ๙. เหรียญบาทขวัญถุง ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม ลำพูน
    ๑๐. เหรียญหลวงปู่มี ปี ๒๕๒๕ วัดสิงห์
    ๑๑. เหรียญ 10 บาทขวัญถุงครูบาอริยชาติ วัดพระธาตุดงสีมา เชียงราย
    ๑๒. แหนบ-เหรียญหลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลังยันต์เกราะเพชร วัดท่าซุง
    ๑๓. เหรียญหลวงพ่อบุญเย็น สำนักสงฆ์พระเจ้าพรหมมหาราช เชียงใหม่
    ๑๔. เหรียญหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวกการาม กาญจนบุรี
    ๑๕. เหรียญหลวงพ่อสิน วัดบุณยประดิษฐ์
    ๑๖. เหรียญหลวงพ่อวิชัย วัดถ้ำผาจม เชียงราย
    ๑๗. เหรียญหลวงพ่อผล วัดดักคะนน ชัยนาท
    ๑๘. เหรียญหลวงปู่ธูป วัดวังอ่าง
    ๑๙. เหรียญหลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย นครพนม
    ๒๐. เหรียญหลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง อยุธยา
    ๒๑. เหรียญหลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
    ๒๒. เหรียญหลวงปู่ทอง วัดบ้านกลึง นครราชสีมา
    ๒๓. เหรียญรุ่นสุดท้ายหลวงพ่อโอภาสีและรุ่นหลัง อาศรมบางมด กรุงเทพฯ
    ๒๔. เหรียญหลวงพ่อบุญช่วย วัดไผ่แก้ว ฉะเชิงเทรา
    ๒๕. เหรียญพระคณาจารย์ตั๊กฮี ปี ๒๕๓๔ วัดเซี่ยนฮุดยี่ ชลบุรี
    ๒๖. เหรียญหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ วัดแปลงกะดิน ชลบุรี
    ๒๗. เหรียญพรหม ๔ หน้า หลวงพ่อคอน วัดชัยพฤกษ์มาลา กรุงเทพฯ
    ๒๘. เหรียญหลวงปู่ปาน วัดหนองปลาไหล
    ๒๙. เหรียญอนุสรณ์ ๘๐ ปี หลวงพ่อเดิม วัดหนองบัว นครสวรรค์
    ๓๐. เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่พวง วัดป่าปูลู อุดรธานี
    ๓๑. รูปหล่อพระพุทธชินราชรุ่น ๒ หลวงตามหาบัวอธิษฐานจิต วัดป่ากู่ทอง
    ๓๒. เหรียญ ร.๙ สภากาชาดไทย
    ๓๓. เหรียญพระสัมพุทธสิรี สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัส กรุงเทพฯ
    ๓๔. เหรียญหลวงปู่ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
    ๓๕. พระปิดตาเนื้อตะกั่วหลังเฮง หลวงพ่อดำ วัดสันติธรรม สนระแก้ว
    ๓๖. เหรียญหลวงพ่อสุด ปี ๒๕๑๗ วัดกาหลง สมุทรสาคร
    ๓๗. เหรียญสมเด็จพระญาณสังวร ปี ๒๕๓๕ วัดพิชัยญาติการราม กรุงเทพฯ
    ๓๘. เหรียญพระชัยหลังช้าง
    ๓๙. เหรียญพระวันรัต วัดสังเวชวิทยาราม
    ๔๐. เหรียญหลวงพ่อธรรมงาม
    ๔๑. เหรียญหลวพ่อโตชินะราช ปี ๒๕๑๗ วัดบัวปากท่า นครปฐม
    ๔๒. เหรียญหลวงพ่อม่วง วัดยางงาม ราชบุรี
    ๔๓. เหรียญหลวงพ่อผาง ปี ๒๕๑๒ วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ ขอนแก่น
    ๔๔. เหรียญหลวงพ่อดี วัดพระรูป สุพรรณบุรี
    ๔๕. เหรียญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ปี ๒๕๒๘
    ๔๖. เหรียญ ๙ มหาราช ๙ สังฆราช วัดบางมุกนาก พิจิตร
    ๔๗. เหรียญหลวงปู่วงษ์ วัดโกรกแก้ววงพระจันทร์ ฉะเชิงเทรา
    ๔๘. เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
    ๔๙. เหรียญหลวงปู่ฤทธิ์ วัดชลประทานราชดำริ บุรีรัมย์


    ชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่ได้นำมาร่วมหล่อพระกริ่งนี้ มีมากมายเหลือคณานับได้ ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถระบุรายละเอียดได้จนครบ ยังมีอีกมากที่ไม่ได้กล่าวรายละเอียดปลีกย่อยลงไป กระแสพลังของพระกริ่งมีมากนัก ผู้ที่มีบุญวาสนาได้ครอบครอง จงเก็บรักษาไว้ให้เป็นมรดกตกทอดต่อไป

    XXXบูชาแล้วXXX
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • jpg1.jpg
      jpg1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      221.9 KB
      เปิดดู:
      72
    • jpg3.jpg
      jpg3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      235.1 KB
      เปิดดู:
      71
    • jpg5.jpg
      jpg5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      234.6 KB
      เปิดดู:
      63
    • jpg7.jpg
      jpg7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      258.8 KB
      เปิดดู:
      68
    • jpg9.jpg
      jpg9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      234.3 KB
      เปิดดู:
      60
    • jpg9000.jpg
      jpg9000.jpg
      ขนาดไฟล์:
      74.7 KB
      เปิดดู:
      72
  8. อริยธาตุ

    อริยธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,368
    ค่าพลัง:
    +2,522
    เหรียญในหลวงรัชกาลที่ 9 / หลังพระมหากษัตริย์ 8 รัชกาล สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2525 จัดสร้างโดยมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช ครั้งที่ 6 วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2525 เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง สภาพน่ารัก แท้ดูง่าย เหรียญดี พิธีใหญ่ น่าสะสม และปัจจุบันนิยมหายาก จัดเป็นเหรียญดัง เหรียญพิธีดี อีกเหรียญหนึ่ง ในนามคณะสงฆ์ได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น สืบเนื่องในวาระสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2525 เป็นเหรียญดี เพราะพิธีการจัดสร้างเปี่ยมด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งเจตนาการจัดสร้าง เพื่อนำรายได้จากการบริจาคบูชานั้น ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2525 โดยมี พระมหาวีระ ถาวะโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง) เป็นประธานปลุกเสก ณ อุโบสถ วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพฯ

    เหรียญที่ระลึก สมโภชกรงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ปี เป็นเหรียญที่ได้รับ ความนิยมจาก ท่านนักสะสมพระเครื่อง ในการเก็บสะสมเพื่อสักการบูชาพอสมควร เท่าที่พบเห็นจัดสร้างด้วย เนื้อโลหะทองแดงกะไหล่ทอง นอกจากนี้แล้วในการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ในคราวเดียวกัน ยังได้มีการจัดสร้าง เหรียญที่ระลึกขึ้นมาอีกหลายรูปแบบ แต่ที่ได้รับความนิยมได้แก่ เหรียญที่ระลึกสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี เหรียญนวมหาราช ขึ่งเป็นเหรียญที่มิความสวยงามแปลกตาอีกเหรียญหนึ่ง

    ลักษณะเหรียญ เป็นเหรียญรูปไข่ มีห่วงหูเหรียญในตัว ด้านหน้า-ด้านหลัง ยกชอบเหรียญโดยรอบเล็กน้อย ขนาดความกว้าง ประมาณ ๒๔.๐๐ มิลิเมตร ขนาดความสูงประมาณ ๔๐.๐๐ มิลลิเมตร ขอบเหรียญตัดขอบเรียบ ด้านหน้า เป็นพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องบรมราชภูษิตาภรณ์ และฉลองพระองค์ครุย ผินพระพักตร์ตรงครึ่งพระองค์ ด้านข้างซ้าย-ขวา ปรากฏตราพระราช สัญลักษณ์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และตราพระราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาล ปรากฏอักษรภาษาไทย ๑ บรรทัด และอักษรภาษาอังกฤษ ๒ บรรทัด ล้อโค้งตามพระบรมรูป ข้อความว่า “สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ในรัชกาลที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๒๕ และ “RATTANAKOSIN BICEN-TENNIAL 1982 กับ “KING BHUMIBOL ADULYADET RAMA IX” ด้านหลัง เป็นพระบรมรูป บูรพามหากษัตริยาธิราชเจ้า ๘ พระองค์ คือ รัชกาลที่ ๑ ถึง รัชกาลที่ ๘ ปรากฏอักษรภาษาไทย ผสมกับอักษรภาษาอังกฤษ โค้งล้อไปตามขอบเหรียญ ข้อความว่า “พระมหากษัตริย์ ๘ รัชกาล พ.ศ. ๒๓๒๕ KING RAMA 1 TO KING RAMA 8”


    ตะกรุดลูกคั่น ปลาตะเพียน โบราณ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ความยาวเส้นรอบวง 61 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 27 เซนติเมตร ใช้คล้องคอเด็กได้ แขวนหน้ารถ แขวนหน้าร้าน ใส่ในที่เก็บเงินทอน เพราะเชื่อกันว่า หากมีปลาตะเพียนอาศัยในที่ใด ที่นั้นจะอุดมสมบูรณ์ พืชผลไร่นา เจริญรุ่งเรืองดี ส่วนปลาตะเพียนที่เป็นเครื่องรางของขลัง ก็จะทำให้มั่งมี เงินทองไหลมาดั่งน้ำไม่ขาดสาย คณาจารย์โบราณหลายท่านจึงมี วิชา ปลาตะเพียนเรียกทรัพย์ เอาไว้ให้ญาติโยม ศรัทธาบูชาทำมาค้าขายให้เจริญรุ่งเรืองกัน (ตะกรุดชิ้นนี้ ถือเป็นตะกรุดยุคเก่า ที่พระเกจิอาจารย์ในอดีต นำมาอธิษฐานจิตและแจกจ่ายให้ศิษย์ ซึ่งตะกรุดนั้นจะต้องมีรอยจารทุกดอก ตัวตะกรุดมีรอยตัด อยู่ที่ว่าพระเกจิยุคนั้นๆเป็นท่านใดจาร ลูกคั่นลายละเอียด ปลาก็มีลายละเอียด คมชัดเป็นของดีมีอาจารย์แน่นอน )

    หลวงปู่พระครูเทพโลกอุดร “พิมพ์ปิดตาพุทธซ้อนซุ้มเรือนแก้ว” หรือ พิมพ์ปิดตาปาฏิหาริย์ เนื้อผงพุทธคุณ มีรักมีชาด กรุวังหน้า เป็นพระพิมพ์หายากพิมพ์หนึ่ง สภาพสวย พระเครื่อง - พระบูชา ของหลวงปู่ใหญ่นี้ สันนิษฐานว่าศิษย์ผู้หนึ่งของท่าน คือ สมเด็จวังหน้า สมเด็จพระบวรราชเจ้ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (บุญมา) พระอนุชาธิราชของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์ แห่งจักรีวงค์ เป็นผู้สร้างถวายบรมครูพระเทพโลกอุดร โดยช่างสิบหมู่ โดยพิจารณาจากความประณีตและความสวยงามขององค์ พระเครื่องชุดนี้ ปรากฏขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๓ เนื่องจากเจดีย์เก่าในบริเวณวัดพระแก้ววังหน้า หรือวัดบวรสุทธาวาส ใกล้โรงละครแห่งชาติ องค์หนึ่งได้เกิดชำรุดหักพังลง ทำให้พระพิมพ์ไหลหล่นลงมาเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านซึ่งอยู่บริเวณนั้นมาพบเข้าก็พากันมาเก็บไปเป็นส่วนตนก็มาก ส่วนที่เหลือได้เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเป็นกรุแรกที่ได้พบพระของหลวงปู่ใหญ่ พระครูเทพโลกอุดร และเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๒๐ ที่จังหวัดชัยภูมิ ในป่าเขตติดต่อสามจังหวัด ได้มีการขุดดินเพื่อนำมาสร้างทาง ขณะที่ขุดลึกลงไปประมาณ ๒ เมตร ได้พบพระพิมพ์องค์เล็กๆปนออกมากับดินด้วย หลังจากตรวจสอบแล้ว ไม่เคยพบเห็นพระพิมพ์แบบนี้มาก่อน นายช่างที่คุมงานจึงนึกว่าเป็นพระที่เค้าทำไว้แก้บนในสมัยโบราณ จึงไม่ได้สนใจ ตกดึกมาได้ฝันไปว่ามีพระแก่ มาหาและบอกว่า พระที่พบในดินนั้นเป็นพระของหลวงปู่ใหญ่พระครูเทพโลกอุดร ซึ่งศิษย์และผู้ที่เลื่อมใสในตัวหลวงปู่ใหญ่ ได้สร้างไว้แล้วบรรจุลงในเจดีย์๓องค์ ให้นายช่างนั้นทำการขุดลงไปอีก และขยายวงกว้างกว่าเดิมก็จะพบองค์เจดีย์ แล้วพระแก่ก็ยังบอกอีกว่าหลวงปู่ใหญ่ก็คืออาจารย์ของท่านเอง ข้างในเจดีย์นั้น บรรจุพระพิมพ์ - พระบูชา ของหลวงปู่ใหญ่ไว้ ให้นำไปบำเพ็ญประโยชน์ ต่อพระพุทธศาสนา นับเป็นการค้นพบ กรุที่สองของหลวงปู่ใหญ่พระครูเทพโลกอุดร

    XXXบูชาแล้วXXX
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • jpg3.jpg
      jpg3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      195.6 KB
      เปิดดู:
      71
    • jpg11.jpg
      jpg11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      295.2 KB
      เปิดดู:
      66
    • jpg5.jpg
      jpg5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      207.7 KB
      เปิดดู:
      71
    • jpg9.jpg
      jpg9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      213 KB
      เปิดดู:
      70
    • jpg1.jpg
      jpg1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      300.2 KB
      เปิดดู:
      74
    • jpg7.jpg
      jpg7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      193.6 KB
      เปิดดู:
      72
  9. อริยธาตุ

    อริยธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,368
    ค่าพลัง:
    +2,522
    พระสมเด็จ (หลังนางกวัก) หลวงพ่อพาน สุขกาโม วัดโป่งกะสัง ประจวบคีรีขันธ์ (สมเด็จนางกวัก หลวงพ่อพาน มีพิมพ์หลักๆคือ สมเด็จนางกวัก หลังยันต์ 4 ตัว กับสมเด็จนางกวัก ยันต์ 3 ตัว) จัดสร้างปี 2537 โดยใช้ผง ปี 2494 และผงปี 2511 ที่แตกหักมาเป็นมวลสารในการจัดสร้าง โดยด้านหน้าถอดพิมพ์มาจาก “พิมพ์สมเด็จ 100 ปี” ด้านหลังเป็นรูปนางกวัก พระรุ่นนี้บางองค์จะมีคราบปลวก บางองค์ก็ไม่มี เพราะพระรุ่นนี้บางส่วนที่เหลือจากการแจก หลวงพ่อจะนำพระที่เหลือมาเก็บไว้ในลังไม้ ต่อมาลังไม้ถูกปลวกกิน พระบางส่วนจึงมีคราบปลวกติดอยู่มาก (สำหรับพุทธคุณ เด่นด้านโภคทรัพย์ แคล้วคลาดปลอดภัย รุ่นนี้มีประสบการณ์มากไม่แพ้รุ่นอื่นๆของท่าน ปัจจุบันนี้หายากแล้ว)

    หลวงพ่อพานท่านเป็นพระแท้ ขลัง และดังเงียบอยู่ในอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคึรึขันธ์ คนถิ่นอื่นจะไม่ค่อยรู้จักท่านเท่าใดนัก (แต่ปัจจุบันเป็นเพราะสื่อมากมาย เลยทำให้คนรู้จักท่านกันเยอะขึ้น) ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2539 สิริรวมอายุได้ 84 ปี สรีระสังขารของท่านไม่เน่าเปื่อย ทางวัดได้เก็บรักษาไว้ในหีบไม้เพื่อให้ญาติโยมลูกศิษย์ได้กราบไหว้


    หลวงพ่อพาน สุขกาโม ท่านเป็นพระพี่น้องกับหลวงพ่อเพลิน (พระครูนันทศีลาวัตร) วัดหนองไม้เหลือง อดีตพระเกจิชื่อดังของเมืองเพชรบุรี หลวงพ่อพานท่านเป็นพระที่หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ยกย่องเสมอว่าท่านเก่งจริง ขลังจริง วัตถุมงคลที่หลวงพ่อพานสร้าง และมีประสบการณคือเหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2519 และเหรียญรุ่นต่างๆ ที่ขึ้นชื่อเลยคือตะกรุดโทนของท่าน

    XXXบูชาแล้วXXX
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • jpg1.jpg
      jpg1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      149.1 KB
      เปิดดู:
      65
    • jpg3.jpg
      jpg3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      267.1 KB
      เปิดดู:
      51
    • jpg7.jpg
      jpg7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      251.5 KB
      เปิดดู:
      53
    • jpgaabbcc999.jpg
      jpgaabbcc999.jpg
      ขนาดไฟล์:
      44.9 KB
      เปิดดู:
      52
    • jpg9.jpg
      jpg9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      228.6 KB
      เปิดดู:
      50
    • jpg5.jpg
      jpg5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      235.5 KB
      เปิดดู:
      54
  10. อริยธาตุ

    อริยธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,368
    ค่าพลัง:
    +2,522
    พระลือโขง (พระนางจามเทวีซุ้มเรือนแก้ว) กรุสันกู่เหล็ก จังหวัดลำพูน พระลือโขง หรือ “พระจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว” กรุวัดกู่เหล็ก จังหวัดลำพูน เป็นพระเนื้อดินผสมว่าน ยุคเดียวกับพระรอดกรุวัดมหาวัน แต่หายากกว่า เพราะมีการพบเจอจำนวนไม่มาก องค์พระมีขนาดเขื่อง และมีพุทธศิลป์ที่งดงามมาก เป็นศิลปแบบหริภุญไชย พระชุดนี้แตกกรุเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒ พระกรุนี้มีสองสี คือเนื้อสีเหลือง และเนื้อสีเขียว (พระที่นำมาให้ชมในวันนี้ เป็นพระเนื้อโซนเขียว เนื้อดินละเอียด ร่องรอยว่านหลุด ก้นมีรอยหยิบและลายมือ ถึงแม้จะมีสภาพที่ยังไม่ค่อยสวยสมบูรณ์นัก มีสัมผัสมือ ผ่านการใช้ แต่ก็ยังคงความงามไว้ให้เห็น เส้นซุ้มโค้ง คม ชัด ลึก ทุกสัดส่วน พระลือโขงชุดนี้ เชื่อกันว่าเด่นทาง เมตตามหานิยม โชคลาภ จัดเป็นพระที่หาชมยากองค์หนึ่งทีเดียว)

    พระลือโขง (พระนางจามเทวีซุ้มเรือนแก้ว) กรุสันกู่เหล็ก จังหวัดลำพูน พุทธลักษณ์งดงาม เป็นเลิศด้านศิลปะของงานช่าง กล่าวกันว่าหายากยิ่งกว่า “พระรอด” กรุวัดมหาวัน เสียอีก

    “พระจามเทวีเรือนแก้ว" หรือ พระลือโขงนั้น เป็นพระเครื่องของลำพูน ที่เชื่อกันว่าได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบพุกาม จึงมีความงดงามมาก แต่เดิมนั้นพระพิมพ์นี้ยังไม่สู้จะเป็นที่รู้จักของนักนิยมอย่างกว้างเท่าไรนัก เพราะพระลือโขงพบ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ หลังจากพระรอด พระคง พระบาง และพระเครื่องลำพูนพิมพ์อื่นๆ หลังจากการพบพระเครื่องดังกล่าว อีก ๕ ปี คือ ใน พ.ศ. ๒๕๑๖ เชียร ธีรศานต์ นักพระเครื่องอาวุโส ได้ตีพิมพ์ผลงานเกี่ยวกับพระลำพูน เรื่อง พระเครื่องสกุลลำพูน ชุดนพคุณ และได้ถวายนามพระเครื่องพิมพ์นี้ ว่า “จามเทวีเรือนแก้ว”

    คราบสนิมเหล็กเกิดขึ้นเนื่องจากในเจดีย์ ใกล้กับ วัดประตูลี้ ที่พบพระเครื่องพิมพ์นี้ ตรงกลางเป็นเหล็ก ชาวบ้านท้องถิ่นจึงเรียกว่า กู่เหล็ก มาแต่เดิม พระเครื่องที่บรรจุอยู่ภายในเป็นเวลานับร้อยๆปีจึงปรากฏสนิมเหล็กอยู่บนผิว เรื่องคราบสนิมเหล็กของพระพิมพ์นี้ นักนิยมพระลำพูนบางท่านกล่าวว่า พระลือโขงองค์ใดไม่ปรากฏคราบสนิมให้ตั้งข้อสงสัยในความแท้จริง ซึ่งผู้เขียน ( ตักศิลา ) เห็นว่าไม่น่าจะจริง เพราะเท่าที่ได้มีโอกาสพบพระพิมพ์นี้มาจำนวนหนึ่ง มีบางองค์ที่ไม่ปรากฏคราบสนิมก็มี เนื้อของพระจามเทวีเรือนแก้ว มีทั้งประเภทเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด

    XXXบูชาแล้วXXX
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • jpg8.jpg
      jpg8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      248.9 KB
      เปิดดู:
      48
    • jpg12.jpg
      jpg12.jpg
      ขนาดไฟล์:
      220.9 KB
      เปิดดู:
      41
    • jpg3.jpg
      jpg3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      253.9 KB
      เปิดดู:
      50
    • jpg10.jpg
      jpg10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      197.9 KB
      เปิดดู:
      47
    • jpg1.jpg
      jpg1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      240 KB
      เปิดดู:
      47
    • jpg5.jpg
      jpg5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      224.4 KB
      เปิดดู:
      40
  11. อริยธาตุ

    อริยธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,368
    ค่าพลัง:
    +2,522
    พระหลวงปู่ภู “พิมพ์พระปิดตาสี่เหลี่ยมหน้าเดียว” พระครูธรรมานุกูล (ภู จันทเกสโร) ประมาณปี 2460-2476 พระครูธรรมานุกูล (ภู จันทเกสโร) วัดอินทรวิหาร จ.กรุงเทพมหานคร สมณศักดิ์ พระครูธรรมานุกูล ศึกษาวิชากับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆษิตาราม ศิษยานุศิษย์ พระอินทสมาจารย์ (เงิน) วัดอินทรวิหาร สหธรรมิก หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต) วัดพระเชตุพน และ พระอุปัชฌาย์ (ม.ร.ว.อ้น) วัดบางจาก พุทธคุณ ด้านคงกระพันชาตรี เมตตา และมหาอุด (พระผงหลวงปู่ภู จัดเป็นพระเครื่องในสกุลสูง พุทธคุณโดดเด่นมากในด้านเมตาตามหานิยม มีเนื้อหาที่ดีเยี่ยมใกล้เคียงกับวัดระฆังมาก องค์นี้เนื้อจัด มวลสาร คมชัดลึก ตำหนิครบครัน ผิวเดิม ไม่เคยผ่านการใช้ )

    พระครูธรรมานุกูล นามเดิมชื่อว่า ภู เกิดที่หมู่บ้านตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก ในปี พ.ศ. ๒๓๗๓ ตรงกับปีขาลโดยบิดามีนามว่า นายคง โยมมารดามีนามว่า นางอยู่ พออายุได้ ๙ขวบ บิดามารดาได้พาไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดท่าคอย ได้ศึกษาเล่าเรียกอักขระสมัย (ภาษาขอม) และหนังสือไทย กับท่านอาจารย์ วัดท่าแคจนกระทั่งอายุได้ ๒๑ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ณ พัทธสีมา วัดท่าคอย โดยมี พระอาจารย์อ้น วัดท่าคอย เป็นพระอุปัชฌาย์พระอาจารย์คำ วัดท่าแค เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์คำ วัดท่าแค เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มา วัดน้ำหัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายานามทางพระว่า "จนฺทสโร" เมื่อบวชแล้วได้จำพรรษาอยู่ สำนักวัดท่าแคชั่วระยะหนึ่งก็ได้ออกเดินธุดงค์ จากจังหวัดตากมาพร้อมกับพระพี่ชาย คือ หลวงปู่ใหญ่ สำหรับวัดท่าแค ในสมัยที่หลวงปู่ภูจำพรรษาอยู่ นั้นยังเป็นวัดเล็กๆ เข้าใจว่าโบสถ์ยังไม่ได้สร้างท่านจึงได้มาอุปสมบท ที่วัดท่าคอยแล้วกลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเดิมอีก ปัจจุบันวัดท่าแคนี้ตั้งอยู่ตรงเชิงสะพานกิตติขจรฝั่งตัวจังหวัดตากตำบล เชียงเงิน อำเภอเมือง ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดชนะสงคราม ในสมัยที่หลวงปู่ภูเดิมธุดงค์มากรุงเทพฯ ครั้งแรก ท่านได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ได้มาปักกลดอยู่ ณ บริเวณที่ตั้งวังบางขุนพรหม (ธนาคารแห่งประเทศไทย) สมัยนั้นพื้นที่บริเวณนั้นยังเป็นป่ารกร้างว่างเปล่าและเปลี่ยวมาก มีแต่ต้นรังต้นตาลที่ขึ้นระเกะระกะไปหมด นอกจากนี้ยังมีทางเกวียนทางเท้าเป็นช่องเล็กๆ พอเดินไปได้เท่านั้น ท่านได้มาปักกลดอยู่บริเวณชายแม่น้ำเจ้าพระยา พอตกกลางคืนได้นิมิตฝันไปว่า ได้มีคนนำเอาตราแผ่นดินมามอบถวายให้ท่าน ๓ ดวง เมื่อท่านตื่นขึ้นมาก็ได้พิจารณาถึงนิมิตนั้นพอจะทราบว่า ท่านเองจะมีอายุยืนยาวถึง ๑๐๓ ปีเศษ การเดินธุดงค์ของหลวงปู่นับตั้งแต่เดินทางออกมาจากวัดท่าแคเข้าจำพรรษาที่วัดในกรุงเทพฯ สันนิษฐานจากคำบอกเล่าของท่านที่ได้เล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสระเกศฯ ได้ช่วยชีวิตรักษาคนป่วย เป็นอหิวาตกโรคไว้ ๖ คนซึ่งยุคนั้นถือว่าอหิวาตกโรคร้ายแรงมาก ยังไม่มียาจะรักษาถ้าใครเป็นมีหวังตายลูกเดียว และในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ซึ่งเป็นปีที่อหิวาตกโรคระบาดหนัก จนเป็นที่กล่าวขวัญเรียกกันจนติดปากว่า "ปีระกาห่าใหญ่" ต่อมาท่านได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดสามปลื้ม ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดจักรวรรดิ์ราชาวาสและได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) ตามลำดับ กาลต่อมาได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอินทาราม ซึ่งในสมัยนั้นยังใช้ชื่อวัดบางขุนพรหมนอก ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ และได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๔ ส่วนสมณศักดิ์ที่หลวงปู่ได้รับไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้รับตำแหน่งในปีใด เข้าใจว่าได้รับก่อนปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เพราะตามหลักฐาน ศิลาจารึกเกี่ยวกับการสร้าง พระศรีอริยเมตไตรย์ มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า ถึง พ.ศ. ๒๔๖๓ ท่านพระครูธรรมานุกูล (ภู) ผู้ชราภาพอายุ ๙๑ ปี พรรษาที่ ๗๐ ได้ยกเป็นกิตติมศักดิ์อยู่ในวัดอินทรวิหาร ท่านจึงได้มอบฉันทะ ให้พระครูสังฆบริบาล ปฏิสังขรณ์ต่อมาจนสำเร็จ ท่านได้มรณภาพลงเมื่อ วันเสาร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ตรงกับวันขึ้น ๑๓ ค่ำเดือน ๖ ปีระกา เวลา ๐๑.๑๕ น. รวมสิริอายุได้ ๑๐๔ ปี ๘๓ พรรษา นับว่าท่านได้ยกเป็นพระครูกิตติมศักดิ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๓

    XXXบูชาแล้วXXX


    โอนบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ (ออมทรัพย์)
    หมายเลขบัญชี 403 - 454907- 0
    ชื่อบัญชี อุกกฤษฏ์ แก้วอำนวย
    โทร : 097 931 9199
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • jpg01.jpg
      jpg01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      243.3 KB
      เปิดดู:
      49
    • jpg07.jpg
      jpg07.jpg
      ขนาดไฟล์:
      308.8 KB
      เปิดดู:
      52
    • jpg06.jpg
      jpg06.jpg
      ขนาดไฟล์:
      305.5 KB
      เปิดดู:
      50
    • jpg90.jpg
      jpg90.jpg
      ขนาดไฟล์:
      39.7 KB
      เปิดดู:
      59
    • jpg03.jpg
      jpg03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      239.5 KB
      เปิดดู:
      52
    • jpg05.jpg
      jpg05.jpg
      ขนาดไฟล์:
      264.1 KB
      เปิดดู:
      46
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2024
  12. pasit_99

    pasit_99 การเวียนว่ายตายเกิดนั้นน่ากลัว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,674
    ค่าพลัง:
    +3,472
    จองครับ
     
  13. อริยธาตุ

    อริยธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,368
    ค่าพลัง:
    +2,522
    รับทราบแจ้งจอง
    ขอบคุณครับ
     
  14. อริยธาตุ

    อริยธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,368
    ค่าพลัง:
    +2,522
    แหวนปลอกมีด หลวงปู่ดู่ วัดสะแก รุ่นสาม ปี 2532 ยันต์ (นะ) จม เนื้อโลหะผสมทองเหลือง จารเต็ม แหวนปลอกมีด "เนื้อโลหะผสมทองเหลือง" เป็นแหวนชุดที่ได้มีการจัดสร้างขึ้น และได้รับเมตตาอธิษฐานจิตจากหลวงปู่ท่าน ในปี 2532 ถือเป็นแหวนปลอกมีดรุ่นที่ 3 ที่ทางวัดได้มีการจัดสร้างให้บูชา ซึ่งเนื้อโลหะผสมนี้ จะมีจำนวนการจัดสร้างรวมกันทั้งโลหะผสมทองเหลือง และโลหะผสมทองแดง จำนวนรวมกันหนึ่งหมื่นวง ซึ่งรูปแบบของแหวนนั้น จะเป็นแหวนที่ด้านในใต้ท้องแหวนจะมียันต์นะล้อม (ม้วนๆกลมๆ) และจะได้รับการลงเหล็กจารจากหลวงลุงดำ พระลูกศิษย์ในองค์หลวงปู่ดู่ท่าน สองจุดข้างยันต์ และได้มีการตอกโค๊ด โดยจะแบ่งโค๊ดที่ตอกเป็นสองลักษณะ คือ โค๊ดตัว นะ จม และ นะ ลอย (นะ เบ้าเหลี่ยม) ซึ่งในการเล่นหานั้น แหวนที่ตอกชุด นะ ลอย (นะ เบ้าเหลี่ยม) จะมีราคาเช่าหาที่สูงกว่า เนื่องจากทำออกมาจำนวนน้อยกว่า

    (แหวนปลอกมีดปี 2532 สร้างเป็นเนื้อทองคำทั้งสิ้น 108 วง ,เนื้อเงิน 3,000 วง ,เนื้อโลหะผสมทองแดง 5,000 วง, เนื้อโลหะผสมทองเหลือง 5,000 วง ปัจจุบันแหวนปลอกมีดเป็นที่นิยมในหมู่ลูกศิษย์มาก เนื่องจากแหวนหน้าพระพุทธนั้นมีราคาขยับขึ้นไปสูงมาก ทำให้ผู้ที่บูชาไปนั้น เกรงว่าแหวนจะเสียหาย หากนำมาสวมใส่ เวลาจะอาราธนาใช้แหวน จะใช้แหวนปลอกมีดแทน โดยเฉพาะสภาพที่ใช้มาบ้างนั้น จะอาราธนาใช้ได้โดยไม่ต้องมีความกังวลมาก อีกทั้งราคาก็จะเบากว่า ) แหวนรุ่นนี้เน้นพุทธคุณโชคลาภ และคงกระพันเป็นหลัก)


    พระสมเด็จปรกโพธิ์ หลวงพ่อซำปอกง หลังยันต์ กรุวัดนครชื่นชุ่ม จ.นครปฐม เนื้อผงพระพุทธคุณ สร้างปี 2509 พระชุดนี้ได้มีบรรจุไว้กรุวัดนครชื่นชุ่มด้วย มีมากถึง 17 พิมพ์ มีส่วนผสมของพระกรุวัดบางขุนพรหมที่แตกหักในกรุ และผงพระพุทธคุณต่างๆมากมาย มีพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่มาก โดยมีคณาจารย์ร่วมปลุกเสกมากมาย อาธิเช่น หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จ.นครปฐม,หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม,หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม จ.นครปฐม ,หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง จ.สมุทรสาคร แตกกรุเมื่อประมาณปี 2536 ใต้ฐานพระประธาน โดยมีการพบหลายสิบพิมพ์ ส่วนมากเป็นพิมพ์สมเด็จฯ และพิมพ์ประจำวัน มีทั้งหลังเรียบ และหลังยันต์ ส่วนมากมีคราบดินกรุแห้งๆเกาะที่ผิวเกือบทุกองค์!!!

    (พระสมเด็จ กรุวัดนครชื่นชุ่ม ปี ๒๕๐๙ ผสมผงเก่ากรุบางขุนพรหม หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อน้อยวัดธรรมศาลา, หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ ปลุกเสก ซึ่งมีประวัติการสร้างบันทึกไว้อย่างชัดเจนถือเป็นที่สุดของพิธีและมวลสาร นาน ๆ พบเห็นสภาพสวยสมบูรณ์ แชมป์ ๆ แบบนี้กันสักองค์ กับของดีที่ถูกมองข้ามกันไปอย่างน่าเสียดาย (องค์นี้พิมพ์สมเด็จฯปรกโพธิ์ หลังยันต์ สภาพสวย มีหน้าตา จมูก ปาก คราบกรุน้อย เห็นพิมพ์ และเนื้อหาชัดเจน คม ชัดลึก สภาพแบบนี้ค่อนข้างหาชมได้ยากยิ่งนัก นาน ๆ จะมีมาให้เห็นกันสักองค์ เนื้อหาเก่า ของดีที่ซ่อนเร้น เชื้อสายสมเด็จฯอีกรุ่นหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เกจิอาจารย์ ระดับแนวหน้าของเมืองนคปฐมปลุกเสกเพียบ พระแบบนี้แหล่ะ ที่ควรสะสมไว้พึ่งพาพุทธคุณได้ในราคาไม่ลำบาก)


    พระสังกัจจายน์ เนื้อดิน กรุลานดอกไม้ จ.สุโขทัย พระกรุลานดอกไม้ สุโขทัย เป็นพระเครื่องขนาดเล็ก ที่มีศิลป์ของสุโขทัย และมีเนื้อหาที่ละเอียดเนียน คล้ายกับพระของจังหวัดกำแพงเพชร หลายๆพิมพ์ที่มีความคล้ายคลึงกัน จะถูกนิมนต์ไปอยู่ที่กำแพงฯเสียหมด (พระกรุลานดอกไม้ จ.สุโขทัย เป็นพระเครื่องที่แตกกรุออกมาเมื่อประมาณปี 2520 เนื่องจากทำการปรับพื้นที่ เพื่อสร้างลานอุทยานเผาเทียนเล่นไฟในปัจจุบัน ว่ากันว่ามีการพบพระขึ้นมาเป็นจำนวนมากประมาณ 2 คันรถกระบะ มีมากกว่า 3-40 พิมพ์ที่แตกต่างกัน แต่กำลังจะสูญหายย้ายกรุไปหมด เนื่องจากเนื้อหาละเอียดเนียนสวย หลายๆพิมพ์ของกรุนี้ จะถูกขายไปเป็นพระของกรุกำแพงเพชรด้วยสนนราคาที่สูง ส่วนพิมพ์ทั่วๆไปที่พบกันมาก ตอนนี้ราคายังถูกอยู่ แต่ด้วยเนื้อหา-อายุ และพิมพ์ที่สวยงามแล้วอีกหน่อยอนาคตไกลแน่นอน)

    พระกรุนี้โดยมากการตัดปีกจะใช้วิธีคลึงเอา จึงมีสัณฐานไม่แน่นอน เล็กบ้างใหญ่บ้าง (โดยรวมแล้วจะเป็นพระเล็ก) แต่ศิลป์นั้นสวยจริงๆ เมื่อเทียบกับพระที่มีขนาดเล็กแบบนี้ หลายๆองค์ปรากฏรายละเอียด มีหน้ามีตา สวยทั้งเนื้อทั้งพิมพ์ น่าเก็บจริงๆ ลักษณะเนื้อพระ เป็นพระกรุเนื้อดินที่มีเนื้อหาเนียนละเอียด ผ่านการกรองอย่างดี ไม่มีกรวดทรายเลยสักเม็ด ผิวมีตั้งแต่แบบแห้งแกร่ง จนถึงละเอียดนุ่มแบบกำแพง มีความมันจัด
    สีของพระ จะมีทั้งเหลืองพิกุล น้ำตาลอ่อน น้ำตาลเข้ม สีส้มหรือแดงหม้อใหม่ แดงเข้ม เขียว ไปจนถึงดำ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่เผา เหมือนกับพระเนื้อดินเผาปกติทั่วไป คราบไคล และสิ่งที่อยู่บนผิว หน้าของพระหลายๆองค์ จะมีรอยว่านหลุด ซึ่งเป็นปกติของพระเก่า ที่มวลสารส่วนประกอบภายในที่เป็นอินทรีย์สาร เช่นว่านต่างๆจะยุบตัวหายไป(บางทีก็เกิดจากการเผา) ทำให้เกิดโพรงในองค์พระ นานเข้าโพรงนั้นจะยุบตัว ทำให้เป็นร่องบนผิวพระ พระสภาพเดิมๆจะมีคราบน้ำว่านติดอยู่ตามซอก หรือลายนิ้วมือด้านหลัง สีน้ำตาลเข้มอมเขียว หรือสีแดงเข้ม มีเหมือนกันที่ลงรัก แต่ก็พบน้อยมาก องค์ไหนที่แห้งๆไม่ผ่านการจับต้อง ส่องแล้วจะเห็นคราบมุกระยิบระยับ นั่นก็คือแคลเซียมในอากาศภายในกรุนั่นเอง

    XXXบูชาแล้วXXX
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • jpg11.jpg
      jpg11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      162 KB
      เปิดดู:
      48
    • jpg33.jpg
      jpg33.jpg
      ขนาดไฟล์:
      205.2 KB
      เปิดดู:
      51
    • jpg55.jpg
      jpg55.jpg
      ขนาดไฟล์:
      202.5 KB
      เปิดดู:
      46
    • jpg88.jpg
      jpg88.jpg
      ขนาดไฟล์:
      255.4 KB
      เปิดดู:
      45
    • jpg99.jpg
      jpg99.jpg
      ขนาดไฟล์:
      39.4 KB
      เปิดดู:
      51
    • jpg77.jpg
      jpg77.jpg
      ขนาดไฟล์:
      242.5 KB
      เปิดดู:
      51
  15. pasit_99

    pasit_99 การเวียนว่ายตายเกิดนั้นน่ากลัว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,674
    ค่าพลัง:
    +3,472
    โอนแล้วครับ
     
  16. อริยธาตุ

    อริยธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,368
    ค่าพลัง:
    +2,522
    พระธรรมขันธ์ วัดปากน้ำ รุ่น4 หลัง ภ.กรรมการ พิมพ์สามเหลี่ยม ปี 2514 (สภาพยังสวย น่ารัก พาราแบ่งบูชาพุทธคุณ)พระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ มีส่วนผสมหลายอย่างจะกล่าวพอเป็นสังเขปดังนี้

    1.ปูนขาว ที่ทำจากเปลือกหอย
    2.กล้วยน้ำว้า
    3.ดอกไม้ต่างๆ โดยเฉพาะดอกมะลิ
    4.ผงพระของขวัญรุ่น 1 รุ่น 2 และรุ่น 3
    5.อัญมณีบางส่วน
    6.เส้นเกศาของหลวงพ่อ (โดยเฉพาะพิมพ์พิเศษ หลังตัว ภ.สำเภา)
    7.น้ำมันตั้งอิ๊ว
    8.ส่วนผสมอันเป็นมงคลและอื่นๆ พระธรรมขันธ์รุ่น4 ที่สร้างในครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2514 รุ่นนี้พุทธคุณหายห่วง มีประสบการณ์มากมาย เคยขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ทั้งหัวเขียว-หัวชมพูมาแล้ว เท่าที่พอจำได้ก็เรื่องตำรวจสุทธิสารดวลปืนกับคนร้าย แล้วถูกยิงไม่ระคายผิวเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว เป็นเรื่องฮือฮากันอยู่นาน

    พระผงพระธรรมขันธ์รุ่น4 ที่จัดสร้างในครั้งแรก แม้ตามประวัติ จะมีการสร้างถึง 800.000 องค์แต่ในปัจจุบันราคาเช่าหาเริ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน ตามปูมประวัติที่ทางวัดปากน้ำได้บันทึกไว้ เกี่ยวกับการดำเนินการจัดสร้างพระผงของวัดปากน้ำ รุ่น 4 หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่ารุ่น“พระธรรมขันธ์”นั้น ปรากฏบันทึกไว้หนังสือ : "พระของขวัญ วัดปากน้ำ" ที่จัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2539 ซึ่งรวบรวมโดย พระมหาสมควร แสนมหาเกษม บันทึกการจัดสร้างพระรุ่นนี้ไว้ว่า

    "โดยมีพระเดชพระคุณพระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าอาวาสเป็นประธาน และได้มอบหมายให้พระภาวนาโกศลเถร (วีระ คณุตฺตโม) อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระดำเนินการจัดสร้างพระผงธรรมขันธ์รุ่น 4 ขึ้นมามีจำนวน 800,000 องค์ โดยได้เริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2514 เป็นต้นมา และได้เริ่มนำออกให้เช่าบูชาเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2515 และได้จำหน่ายหมดในปี พ.ศ. 2527 พระรุ่น 4 นี้มีชื่อเรียกว่า “พระธรรมขันธ์"
    มีคำชี้แจงตอนหนึ่ง ของพระเดชพระคุณพระภาวนาโกศลเถร ในสมัยดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูภาวนาภิรมเป็นคำชี้แจงที่พิมพ์ห่ออยู่กับพระธรรมขันธ์ ซึ่งมีใจความตอนหนึ่งว่า


    (เนื่องด้วยพระของขวัญของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีหลวงพ่อวัดปากน้ำทั้ง 3 รุ่นได้แจกหมดไปแล้วเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ทางวัดจึงได้จัดทำพระผงขึ้นใหม่ เรียกว่า “พระธรรมขันธ์วัดปากน้ำภาษีเจริญ” โดยนำผงพระของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำทั้ง 3 รุ่น คือรุ่น 1 รุ่น 2 รุ่น 3 ผสมรวมกันเพื่อทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์และนำเข้าพิธีโดยผู้ทรงคุณวุฒิได้วิชาธรรมกายทำพิธีตลอดไตรมาสสามเดือนในพรรษาและได้เริ่มแจกในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2515 อันเป็นวันออกพรรษา เมื่อท่านทั้งหลายได้รับไปแล้ว จงเก็บรักษาไว้ให้ดี เมื่อมีอุปสรรคอันใดเกิดขึ้น จงตั้งจิตอธิษฐานเอาเถิด)

    XXXบูชาแล้วXXX


    โอนบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ (ออมทรัพย์)
    หมายเลขบัญชี 403 - 454907- 0
    ชื่อบัญชี อุกกฤษฏ์ แก้วอำนวย
    โทร : 097 931 9199
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • jpg01.jpg
      jpg01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      208.4 KB
      เปิดดู:
      57
    • jpg03.jpg
      jpg03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      232.3 KB
      เปิดดู:
      46
    • jpg05.jpg
      jpg05.jpg
      ขนาดไฟล์:
      204 KB
      เปิดดู:
      46
    • jpg07.jpg
      jpg07.jpg
      ขนาดไฟล์:
      214 KB
      เปิดดู:
      48
    • jpg08.jpg
      jpg08.jpg
      ขนาดไฟล์:
      249.2 KB
      เปิดดู:
      47
    • jpg9999.jpg
      jpg9999.jpg
      ขนาดไฟล์:
      48 KB
      เปิดดู:
      47
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2024
  17. minute

    minute เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2011
    โพสต์:
    370
    ค่าพลัง:
    +368
    บูชารายการ พระธรรมขันธ์ วัดปากน้ำ รุ่น4 หลัง ภ.กรรมการ พิมพ์สามเหลี่ยม ปี 2514
     
  18. อริยธาตุ

    อริยธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,368
    ค่าพลัง:
    +2,522
    รับทราบแจ้งจอง
    ขอบคุณครับ
     
  19. อริยธาตุ

    อริยธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,368
    ค่าพลัง:
    +2,522
    พระกริ่ง “วัดแหลมฟ้าผ่า” สมุทรปราการ ปี2484 ท่านอาจารย์เอี่ยมได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น เหรียญรูปท่าน พ.ศ.2477 และเหรียญพระพุทธ ปี พ.ศ.2494 นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ไว้ในปี พ.ศ.2484 อีกด้วย และนับได้ว่าเป็นพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ที่มีความเกี่ยวโยงกับพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ฯ เนื่องจากท่านก็เป็นศิษยานุศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราชแพมาก่อน และสนิทสนมกับท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์)

    ในปี พ.ศ.2484 ท่านอาจารย์เอี่ยม ท่านคิดจะสร้างความเจริญให้แก่ “วัดแหลมฟ้าผ่า” ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ข้าราชการและประชาชนอยากได้วัตถุมงคลเพื่อไว้คุ้มครองตัว ท่านจึงได้สร้างพระกริ่งรุ่นนี้ขึ้นมา โดยอาราธนาท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) มาเป็นองค์ประธานพิธีในการสร้าง ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ยังได้นำเอาชนวนพระกริ่งเก่าๆ มาผสมลงในเบ้าหลอมโลหะที่ใช้เทพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์อีกด้วย

    พระกริ่งวัดแหลมฟ้าผ่านี้สร้างจำนวนประมาณ 300 องค์ และพระชัยวัฒน์อีกจำนวนประมาณ 1,000 องค์ พระกริ่งเป็นแบบเทตัน แล้วเจาะก้นบรรจุเม็ดกริ่ง อุดเล็กกว่าแท่งดินสอเล็กน้อย มีพระกริ่งบางองค์ไม่ได้บรรจุเม็ดกริ่งก็มี และบางองค์เหลือก้านชนวนไว้เล็กน้อย เข้าใจว่าน่าจะเอาไว้เพื่อปักบนเชิงเทียนบูชาบนโต๊ะหมู่ พระกริ่งทั้งหมดเททองที่ “วัดแหลมฟ้าผ่า” ส่วนพระชัยวัฒน์ นั้นแยกเป็นสองวรรณะ คือส่วนที่เททองที่ “วัดแหลมฟ้าผ่า” จะออกวรรณะเหลืองอมขาว ไม่ขึ้นประกายเงิน ส่วนที่นำมาเททองต่อที่วัดสุทัศน์ฯ จะออกวรรณะเหลืองอมขาวกว่า และมีพรายเงินคลุมที่องค์พระ ส่วนแบบพิมพ์ของพระกริ่งนั้น ได้พิมพ์มาจากพระกริ่งฉลองชนม์ พ.ศ.2483 โดยการย่อส่วนให้เล็กลงมา พิมพ์ของพระกริ่งมีอยู่สองแบบคือ พิมพ์เส้นสังฆาฏิเป็นเม็ดไข่ปลา (จำนวนน้อยกว่า) และพิมพ์เส้นสังฆาฏิแบบเส้น พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ทั้งหมดได้นำมาทำพิธีฉลองที่วัดสุทัศน์ฯ

    XXXบูชาแล้วXXX
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • jpg3.jpg
      jpg3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      173.1 KB
      เปิดดู:
      48
    • jpg5.jpg
      jpg5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      172.7 KB
      เปิดดู:
      47
    • jpg7.jpg
      jpg7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      192.6 KB
      เปิดดู:
      50
    • jpg11.jpg
      jpg11.jpg
      ขนาดไฟล์:
      198.2 KB
      เปิดดู:
      42
    • jpg1.jpg
      jpg1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      203 KB
      เปิดดู:
      42
    • jpg9.jpg
      jpg9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      172.7 KB
      เปิดดู:
      41
  20. อริยธาตุ

    อริยธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,368
    ค่าพลัง:
    +2,522
    “พระอุปคุต หลังยันต์” เนื้อชินเขียว กรุวัดวังบัว จ.เพชรบุรี พิมพ์เล็ก นิยมระอุปคุต กรุวัดวังบัว จ.เพชรบุรี แตกกรุมาประมาณ ๒๕๑๐ กว่าๆ กรุเก่ามาตรฐานวงการนิยม มีขึ้นทั้งหน้าเดียวหลังยันต์ (แบบองค์นี้) และ สองหน้า เป็นเอกลักษณ์ของกรุนี้ มีพบทั้งพิมพ์มเหศวร...พุทธชินราช...พระร่วงนั่ง...นาคปรก...นางพญา...ลีลา และ อุปคุตฯลฯ พิมพ์เล็ก (นิยม) เนื้อชินอุทุมพร สภาพสุดคลาสสิค ผิวเดิม ไม่ผ่านการล้าง การใช้ หายากน่าเก็บน่าใช้

    พระอุปคุตหลังยันต์ เนื้อชินเขียว กรุวัดวังบัว ตำบลลาดโพธิ์ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี พระบรรจุกรุเก่า แตกกรุที่วัดวังบัวชัดเจน แต่ปัจจุบันก็มีบางท่านนำไปขายเป็นของพิษณุโลกก็มี กรุวังบัวเป็นกรุเก่า กรุมาตรฐานวงการนิยมประกวดเช่นกัน กรุวัดวังบัว จ.เพชรบุรี เป็นพระกรุเนื้อชินเขียวอีกกรุหนึ่ง ที่เป็นวัดเก่าแก่ สร้างตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ราว ปี ๒๓๒๕ มีอายุยาวนานกว่า ๒๐๐ กว่าปี ตามประวัติกล่าวว่า สมัยก่อนมีคนพะเยามาเที่ยวเมืองเพชรบุรี และได้นำพระชุดนี้กลับไปจำนวนหนึ่ง ปรากฏว่าเมื่อนำไปบูชาแล้วเกิดประสบการณ์มากมาย เลยเที่ยวสืบหากัน พระเนื้อชินเขียว ถือเป็นพระกรุที่เก่าแก่เทียบได้กับพระเนื้อชินเงิน และพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ถึงจะเป็นพระยุคเก่า และยังเป็นพระกรุ แต่นักเล่นก็ไม่ค่อยให้ความสนใจสักเท่าไร แถมราคาในการเล่นหาก็ไม่แพงอย่างที่คิด โดยเฉพาะนักเล่นรุ่นใหม่ๆ แทบจะไม่ให้ความสนใจเลย อาจเป็นเพราะหายาก และดูไม่เป็น แต่ก็ยังมีกลุ่มนักเล่นรุ่นเก่าๆ ที่ยังให้ความสนใจ และเก็บสะสมอยู่จำนวนหนึ่ง แต่ก็จะเลือกเก็บพระเนื้อชินเขียวที่ได้รับความสนใจอยู่ในวงการ

    การเรียก "พระอุปคุตเถระ" หรือ "พระเถรอุปคุต" ใน บางท้องถิ่นล้านนา เชื่อว่า พระอุปคุตจะตะแหลง (แปลงร่าง) เป็น สามเณรน้อย ขึ้นมาบิณฑบาตใน วันเป็งปุ๊ด หรือ เพ็ญพุธ (วันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธพอดี) เริ่มตั้งแต่ตีหนึ่งของวันพุธ ผู้คนจึงมักเห็นสามเณรน้อยเดินบิณฑบาตไปตามถนน ทางสี่แพร่งสามแพร่ง ตลอดจนถนนหนทางตามริมน้ำท่าน้ำต่างๆ จนกระทั่ง ตี๋นฟ้ายก หรือแสงเงินแสงทองออกมา จึงเนรมิตกายหายไป เชื่อกันว่า หากผู้ใดมีบุญบารมีได้ใส่บาตรพระอุปคุต มักทำให้ร่ำรวยเงินทอง ปราศจากภัยทั้งปวง มีสมาธิจิตดี ไม่หลงลืม ชีวิตเป็นสุข ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้สร้าง พระอุปคุต ปางต่างๆ ที่นิยมกันมากได้แก่ ปางล้วงบาตร หมายถึง กิ๋นบ่เสี้ยง หรือกินไม่หมด ให้คุณทางทรัพย์สินเนืองนอง มากมาย ร่ำรวย พระอุปคุต ผู้เป็นพระอรหันตสาวก ที่ทรงมหิทธานุภาพ ชอบความวิเวกวังเวง และอยู่ตามลำพังผู้เดียว ไม่ชอบเกี่ยวข้องกับผู้อื่น เป็นพระอรหันต์หลังสมัยพุทธกาล เพราะไม่พบประวัติของท่านในพระไตรปิฎก แต่ปรากฏอยู่ใน จารึกพระเจ้าอโศก ซึ่งเขียนขึ้น เมื่อร้อยกว่าปีหลังพุทธปรินิพพาน และยังปรากฏอยู่ใน พระปฐมสมโพธิกถา ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส โดยอยู่ปริจเฉทที่ ๒๘ ที่มีชื่อว่า มารพันธ-ปริวรรต คติความเชื่อเกี่ยวกับพุทธคุณ ของผู้ที่บูชา พระอุปคุต เชื่อว่า มีพุทธโดดเด่นด้านโชคลาภ และคุ้มกันภัยภิบัติอันตรายทั้งปวง วิธีสวดขอลาภ ให้จุดธูปเทียนบูชา พร้อมกับดอกไม้หอม เครื่องหอม น้ำหอมต่างๆ เทหยดใส่ในขันน้ำมนต์ ณ ที่บูชาพระ ในร้านค้าขาย หรืออาคารสำนักงาน แล้วอธิษฐานขอให้กลิ่นควันธูปเทียน ลมพัดไปทางไหน ขอให้ดลใจผู้คนเข้ามาอุดหนุนตลอด ขอให้ดำเนินกิจการด้วยความราบรื่น มีความสำเร็จสมปรารถนาทุกประการ เมื่ออธิษฐานจุดธูปเทียนบูชาแล้ว ให้สวดนะโม ๓ จบ และสวดคำบูชาขอลาภพระอุปคุต ๑ จบ แล้วทำน้ำมนต์สวดด้วยคำบูชาขอลาภพระมหาอุปคุต อีก ๑ จบ เสร็จแล้ว เอาน้ำมนต์ประพรมร้านค้า และสินค้าในร้านค้า หรือทำธุรกิจ ให้เอาน้ำมนต์ประพรมภายในสำนักงาน และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ในการทำธุรกิจนั้นทั้งหมด

    XXXบูชาแล้วXXX


    โอนบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ (ออมทรัพย์)
    หมายเลขบัญชี 403 - 454907- 0
    ชื่อบัญชี อุกกฤษฏ์ แก้วอำนวย
    โทร : 097 931 9199
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • jpg1.jpg
      jpg1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      206 KB
      เปิดดู:
      41
    • jpg3.jpg
      jpg3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      162.6 KB
      เปิดดู:
      54
    • jpg5.jpg
      jpg5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      177.6 KB
      เปิดดู:
      47
    • jpg7.jpg
      jpg7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      297.8 KB
      เปิดดู:
      54
    • jpg999.jpg
      jpg999.jpg
      ขนาดไฟล์:
      43.7 KB
      เปิดดู:
      48
    • jpg8.jpg
      jpg8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      252 KB
      เปิดดู:
      51
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2024

แชร์หน้านี้

Loading...