สร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะรับมอบพระกรุลำพูนอายุ๕๐๐-๗๐๐ ปี

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย :::เพชร:::, 13 มีนาคม 2008.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137

    รับทราบ และโมทนาบุญถวายพระปางอุ้มบาตรเหนือบุษบกพระโมคคัลลานะกับพี่อ้อยด้วยครับ
     
  2. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ขอแนะนำผู้ที่ต้องการร่วมบุญถวายพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรอายุมากกว่า ๑๐๐ ปีเพื่อประดิษฐานเหนือบุษบกพระโมคคัลลานะอายุ ๕๐๐ ปีนี้

    ๑) สามารถจะร่วมบุญจำนวนเท่าใดก็แล้วแต่ท่าน โดยโอนเข้าบัญชีที่ post ไว้ในหน้าที่ ๑-๒
    เข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์
    สาขา สุขุมวิท ซอย 3/1
    ชื่อบัญชี คุณอภิวัฒน์ ชัฎอนันต์ เพื่อสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะ
    เลขที่บัญชี 074-2-14149-7



    ๒) ผู้ที่มีเกณฑ์พระประจำวันพุธกลางวัน (พระปางอุ้มบาตร) เป็นพระเสวยอายุในปีนี้ ควรจะร่วมบุญนี้ เพราะเหตุว่าพระพุธเป็นพระที่จะดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของท่านถึง ๑๗ ปีเลยทีเดียว

    ๓) ผู้ที่ต้องการเสริมดวงทักษาในตำแหน่งต่างๆทางโหราศาสตร์ เช่น อาจจะเป็นศรี หรือเดช หรืออายุ ฯลฯ ก็จะได้กำลังมากขึ้น

    .....................................................................

    การร่วมบุญถวายพระปางอุ้มบาตรนี้ ผมขอใช้หลักเกณฑ์นี้ครับ

    ๑) ท่านจะร่วมบุญด้วยเท่าไหร่ก็ตามแต่สมัครใจโดยจะบันทึกชื่อไว้ตามลำดับ

    ๒) เมื่อครบตามจำนวนปัจจัยที่ได้พระปางอุ้มบาตรองค์นี้แล้วก็จะปิดรายการบุญนี้ทันที

    ๓) ไม่มีวัตถุมงคลมอบให้

    ....................................................................

    รายชื่อผู้ร่วมบุญถวายพระปางอุ้มบาตรเหนือบุษบกพระโมคคัลลานะ

    ๑) คุณ :::เพชร::: ๑,๐๐๐ บาท
    ๒) คุณ nongnooo ๕๐๐ บาท
    ๓) คุณ guawn ๑๐๐ บาท
    ๔) คุณ kwok ๔๐๐ บาท
    ๕) คุณ sithiphong - ภรรยา และทั้ง ๒ ครอบครัว ๕๐๐ บาท
    ๖) คุณ newcomer ๓๐๐ บาท
    ๗) คุณ พิมพาภรณ์ ๑๐๐ บาท
    ๘) คุณ aries2947 - ภรรยา และครอบครัว ๒๐๐ บาท
    ๙) คุณ marcbangkok ๕๐๐ บาท
    ๑๐)คุณ sira ๒๐๐ บาท
    ๑๑)คุณ ตั้งจิต และครอบครัว ๒๐๐ บาท
    ๑๒)คุณ นายคัง และครอบครัว ๑,๐๐๐ บาท
    ๑๓)คุณ hongsanart ๑,๐๐๐ บาท

    รวมปัจจัย ๖,๐๐๐ บาท จำนวนปัจจัยที่ได้พระปางอุ้มบาตรองค์นี้ มีผม และคุณหนุ่มทราบกันเพียง ๒ คนเท่านั้น
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  3. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วันพุธ ปางอุ้มบาตร
    ลักษณะพระพุทธรูป
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ส้นพระบาททั้งสองชิดติดกัน พระหัตถ์ทั้งสองข้างชิดกัน พระหัตถ์ทั้งสองยกประคองบาตรราวสะเอว มีบาตรอยู่ฝ่าพระหัตถ์ในท่าประคอง

    ประวัติและความสำคัญ
    ประวัติที่เป็นเรื่องราวนั้นสืบเนื่องต่อมาจากพระพุทธรูปปางแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ กล่าวคือ เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จไปยังพระนครกบิลพัสดุ์ ครั้งแรกทรงทำอิทธิปาฎิหาริย์เหาะขึ้นไปบนอากาศให้พระประยูรญาติได้ถวายบังคมแล้วเสด็จลงมาประทับนั่งบนพระบวรพุทธอาสน์ ยังฝนโบกขรพรรษ์ให้ตกลงในท่ามกลางสมาคมพระญาติ แล้วทรงประกาศมหาเวสสันดรชาดกยกขึ้นเป็นเทศนา ครั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบแล้ว บรรดาพระญาติทั้งหลายมีพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาเป็นประธานก็ได้เบิกบานปีติปาโมทย์เปิดพระโอษฐ์แซ่ซ้องสาธุการ แล้วพระญาติทั้งหลายก็กราบทูลลาคืนยังพระราชสถานแห่งตนมิได้มีพระญาติสักองค์หนึ่งได้กราบทูลอาราธนาให้ทรงรับอาหารบิณฑบาตรในยามเช้าพรุ่งนี้ แม้แต่พระเจ้าสุทโธทนะก็เพียงแต่ทูลลามิได้ทูลอาราธนาเสวยพระกระยาหารเช้าเช่นกัน ด้วยทรงนึกไม่ถึงว่าธรรมดาพระจะต้องอาราธนาจึงจะได้มารับบิณฑบาตรในบ้านซึ่งเป็นปกติของสามัญชนธรรมดาทั่วไป พระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาทรงรู้สึกอย่างเป็นพระญาติที่สนิทว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระโอรส พระสงฆ์สาวกเหล่านั้นก็เป็นศิษย์ของพระโอรสแล้วพระโอรสจะเสด็จไปไหนเสีย เมื่อไม่มายังพระราชนิเวศน์ของพระองค์จึงไม่จำเป็นต้องทูลอาราธนา พระเจ้าสุทโธทนะทรงแน่พระทัยเป็นอย่างยิ่งว่าพระบรมศาสดาจะต้องพาพระสาวกทั้งหลายมาเสวยพระกระยาหารในพระราชนิเวศน์ของพระองค์แน่นอน จึงไม่ทรงทูลอาราธนา ยิ่งไปกว่านั้นยังกลับเห็นว่า หากออกพระกระแสรับสั่งอาราธนาก็จะกลายเป็นว่าพระบรมศาสดาเป็นคนอื่นมิใช่พระโอรส ครั้นพระเจ้าสุทโธทนะเสด็จถึงพระราชนิเวศน์จึงโปรดให้พนักงานจัดแจงตกแต่งอาหารอันประณีตเป็นพิเศษไว้พร้อมมูล เพื่อถวายพระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์สาวกทั้งมวลในวันพรุ่งนี้ ตลอดเวลาเย็นถึงเวลารุ่งเช้า เมื่อไม่ปรากฏว่ามีใครมาอาราธนาพระบรมศาสดาไปเสวยที่ใดแล้ว พระองค์ก็ทรงพิจารณาว่าพระพุทธเจ้าในปางก่อน เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระนครของพระพุทธบิดาแล้วทรงปฎิบัติอย่างไร ก็ทรงทราบด้วยพระญาณว่า พระพุทธเจ้าในปางก่อนได้เสด็จไปบิณฑบาตรตามลำดับ ครั้นพระพุทธองค์ทรงทราบอย่างนี้แล้วจึงทรงถือเอาบาตรและจีวรพาภิกษุสงฆ์เสด็จพระดำเนินไปตามท้องถนนหลวงปรากฏแก่ประชาราษฏร์ต่างได้มีโอกาสชมพระบารมี และมีความปีตียินดีประณมหัตถ์นมัสการ นับเป็นครั้งแรกที่ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ได้เห็น พระบรมศาสดาทรงอุ้มบาตรเสด็จพระพุทธลีลาโปรดประชาสัตว์เป็นการเพิ่มพูนความปีติโสมนัส พระพุทธจริยาตอนนี้เป็นเหตุให้พุทธบริษัทสร้างพระพุทธรูป เรียกว่า ปางอุ้มบาตร

    คาถาสวดบูชา
    สัพพาสีวะชาตีนัง ทิพพะมันตาทะคัง วิยะ ยันนาเสติ วิสังโฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณิณัง สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะเส ฯ
     
  4. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
  5. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    การเดินทางตามรอยพระแม่จามเทวี อาจจะไม่ได้เริ่มต้นที่เรื่องราวของพระแม่จามเทวี เนื่องด้วยเหตุผลของการจัดเส้นทางการเดินทางที่สะดวกที่สุดก่อน จึงอาจจะไม่ได้ลำดับเหตุการณ์...

    เริ่มต้นที่เวียงกุมกามก่อน...

    ความหมายของชื่อเวียงกุมกาม
    หลักฐานเก่าที่สุดที่กล่างถึงเวียงกุมกามคือ ศิลาจารึก วัดพระยืน จังหวัดพระยืน เขียนเป็น อักษรไทย สุโขทัย คำว่า กุมกามอยู่ในด้านที่ 1 บรรทัดที่ 31 เขียนว่ากูมกาม คำอ่านปัจจุบันคือ กุมกาม

    กาม หมายถึง บ้านเมือง แต่ในการศึกษาครั้งแรกก็มิได้รู้ว่าเป็นอะไร แต่สันนิฐานจากเวียงอื่น ที่ลงท้ายด้วยคำว่ากาม คือ เวียงพุกาม ซึ่งในภาษา พม่า กามแปลว่า บ้านนั่นเอง

    กุม หมายถึง รักษา เนื่องจากเป็นภาษาไทยยวนมีความหมายคล้ายกับคำว่า "คุม" ในภาษาไทย กลาง ซึ่งหมายความว่า ป้องกันรักษา คอยกำกับดูแล


    เพราะฉะนั้น เวียงกุมกาม หมายถึง รักษาบ้านเมือง


    มูลเหตุกำเนิดเวียงกุมกาม
    เวียงกุมกามกำเนินขึ้นเพราะพญามังรายทรงประสงค์จะสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่แทนที่เมือง หริภุญไชย ด้วยความไม่พอใจในเมืองหริภุญไชย คงเป็นเพราะข้อบกพร่องของตัวเวียงที่สร้างมาประมาณ 500 ปี มีขนาดเล็กคับแคบไม่สามารถขยายเวียงได้ จึงหาสถานที่สร้างเมืองหลวง ขึ้นใหม่ โดยให้เมืองหริภุญไชย มีฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางพุทธศาสนา ขณะที่เมืองหลวงแห่งใหม่จะเป็นศูนย์กลางการค้า และการเมือง พญามังรายจะเลือกสร้างในเขตแอ่งที่ราบเชียงใหม่ - ลำพูน โดยไม่กลับไปสร้างเมืองหลวงในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำกกซึ่งอยู่ทางตอนบน ทั้งนี้ในที่เวียงกุมกามเป็นที่ราบติดต่อกันไปเป็นผืนใหญ่ที่สุดในภาคเหนือจะสามารถปลูกข้าวได้อย่างกว้างขวาง และยังสามารถทำการค้นกับเมืองทางตอนใต้ได้อย่างสะดวก

    สาเหตุการย้ายเมืองหลวงจากเวียงกุมกามมาเชียงใหม่
    เชียงใหม่มีลักษณะภูมิศาสตร์ที่เหมาะกว่าเวียงกุมกามกล่าวคือตัวเวียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมตั้งอยู่ ระหว่างเชิงดอยสุเทพ และแม่น้ำปิง ที่ตั้งลาดเทจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ลักษณะชัยภูมิของการตั้งเวียงเชียงใหม่ตรงกับจารีตเดิมของชาวไทยยวนที่ชอบตั้งคือให้ภูเขาอยู่ทาง ทิศตะวันตกของเวียง(หันหลังให้เขา) หันหน้าเข้าน้ำ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้สายน้ำจากดอยสุเทพไหลลงมาหล่อเลี้ยงตัวเมืองเชียงใหม่ตลอดเวลา และในปัจจุบันหากเปรียบเทียบลักษณะ ทางกายภาพระหว่างเวียงกุมกาม และเมืองเชียงใหม่ จะพบว่าเวียงกุมกามมีข้อด้อยกว่าเชียงใหม่อย่างชัดเจน กล่าวคือ เวียงกุมกามตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มต่ำ เป็นไปได้ว่าหลังจากสร้างเวียงกุมกามแล้วประมาณ 2 - 3 ปีก็เริ่มเห็นข้อบกพร่องในจุดนี้ของเวียงกุมกาม ครั้นพบที่ตั้งของเชียงใหม่ซึ่งเหมาะสมกว่า จึงย้ายมาสร้างในที่แห่งใหม่ และการย้ายมาสร้างเชียงใหม่ มิใช่เพราะเวียงกุมกามถูกน้ำท่วมใหญ่ แล้วจึงย้ายมาสร้างเวียงเชียงใหม่ ทั้งนี้ในหลักฐานทางธรณีวิทยาบ่งชัดว่า เวียงกุมกามถูกน้ำท่วมเพียงครั้งเดียวเมืองก็ล่มสลายลงในสมัยพม่าปกครอง
    http://www.school.net.th/library/webcontest2003/100team/dlns065/history/history.html

    ลักษณะทางกายภาพเวียงกุมกาม
    ร่องรอยของเวียงกุมกามปรากฏอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีระยะห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 5 กิโลเมตร ลักษณะที่ตั้งและรูปร่างของเวียงกุมกามนั้นจากการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศและจากการสำรวจร่องรอยของคูน้ำคันดินที่เป็นกำแพงเวียงโบราณที่เหลืออยู่พบว่า เวียงกุมกามมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวประมาณ 850 เมตรไปตามแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และกว้างประมาณ 600 เมตร ตัวเมืองยาวไปตามลำน้ำปิงสายเดิมที่เคยไหลไปทางด้านทิศตะวันออกของเมือง ดังนั้นในสมัยโบราณตัวเวียงกุมกามจะตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันตก หรือฝั่งเดียวกับเมืองเชียงใหม่ แต่เนื่องจากกระแสของแม่น้ำปิงเปลี่ยนทิศทาง จึงทำให้เวียงกุมกามเปลี่ยนมาตั้งอยู่ทางฝั่งด้านตะวันออกดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงกระแสน้ำดังกล่าวคาดว่าน่าจะอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 23 การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำครั้งนั้น ทำให้เกิดน้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งใหญ่จนเวียงกุมกามล่มสลาย และวัดวาอารามจมอยู่ใต้ดินทราย จนกลายเป็นเมืองร้างไปในที่สุด

    ลักษณะภูมิประเทศ
    เป็นที่ราบจนถึงเกือบราบ พื้นที่ราบช่วงนี้จะกว้างขวางและเป็นที่ราบลุ่มต่ำน้ำท่วมถึงพื้นดิน มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นที่ราบดินตะกอนทับถมมีแหล่งน้ำสำคัญตามธรรมชาติ คือแม่น้ำปิงไหลผ่านบริเวณที่ราบ จึงมีการตั้งถิ่นฐานกันมาแต่โบราณพบการตั้งหมู่บ้านเรียงรายไปตามร่องรอยทางน้ำเก่า โดยบ้านเรือนจะสร้างในที่สูงคือ บริเวณขอบลานตะพักลำน้ำ วัดและชุมชนที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงในอดีตจะมีลักษณะการตั้งหมู่บ้านในแนว เหนือ - ใต้ตามร่องน้ำเป็นสายลงมาก สิ่งที่พบอยู่เสมอในการสำรวจชุมชนคือ ซากโบราณสถานซึ่งบางแห่งเหลือเพียงกองอิฐเท่านั้น ร่องรอยของหลักฐานทางวัตถุได้แสดงถึงความสืบเนื่องของชุมชนที่อยู่มาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน นอกจากการศึกษาที่ตั้งของเวียงกุมกามแล้วสิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนเมืองโบราณ จำเป็นต้องศึกษาร่องรอยทางน้ำเก่า เนื่องจากจะทำให้ทราบถึงการตั้งถิ่นฐาน และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จึงสมควรที่จะส่งเสริมให้มีการศึกษาค้นคว้ากันมากขึ้น

    ร่องรอยทางน้ำเก่าของแม่น้ำปิง "ปิงห่าง"
    เดิมแม่น้ำปิงไหลไปทางเวียงกุมกาม โดยรวมเวียงกุมกามไว้ฟากเดียวกับเชียงใหม่ร่องรอยปิง ห่างปรากฏเป็นแนวขนานอยู่ทางด้านตะวันตกของถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน ตั้งแต่บ้านสัน คือลงไปถึงบ้านอุโมงค์มีลักษณะลาดต่ำลงเป็นแอ่ง จึงสร้างอยู่บนพนังดินธรรมชาติของร่องปิงห่าง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีระดับสูงในแอ่งที่ราบน้ำท่วมถึง สภาพของปิงห่างแตกต่างกันมาก บางส่วนตื้นเขินมาก และบางส่วนยังมีสภาพเป็นแม่น้ำอยู่ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ร่องปิงห่างช่วงนี้มีสภาพเป็นแม่น้ำ เพราะมีการขุดลอกปิงห่างอยู่เสมอ จากการศึกษาทั้ง "ปิงห่าง" และ"ปิงเก่า" ได้พบร่องรอยสาขาทางน้ำหลายสายกระจายทั่วไปในบริเวณเวียงกุมกาม และใกล้เคียง นับว่าเป็นบริเวณทีมีีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรม จึงเป็นชุมชนที่มีความสืบเนื่อง ตั้งแต่สมัยหริภุญไชยจนถึงปัจจุบัน
    http://www.school.net.th/library/webcontest2003/100team/dlns065/local/local.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2008
  6. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    แผนผังลักษณะวัดในเวียงกุมกาม
    [​IMG]

    ลักษณะโบราณสถาน
    จากการศึกษาโบราณสถานในเวียงกุมกามสามารถแบ่งออกเป็น 7 ลักษณะใหญ่ๆได้ดังต่อไปนี้

    ลักษณะที่ 1 คือ ซุ้มประตูทางเข้าและแนวกำแพง เป็นซุ้มโขงขนาดเล็ก ตัวซุ้มมีผนังหนา 1.00 เมตร ช่องประตูกว้าง 2.80 เมตร กำแพงก่ออิฐหนา 1.00 เมตร แนวกำแพงที่พบวางตัวตามทิศตะวันตก-ทิศตะวันออก ฐานซุ้มโขงก่ออิฐเป็นฐานบัวย่อเก็จรองรับผนังกรอบประตู

    ลักษณะที่ 2 ประกอบด้วยวิหารและเจดีย์ ขุดพบด้านหน้าของวิหารตรงกับซุ้มประตู-วิหาร เหลืออยู่เฉพาะฐานก่ออิฐรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าย่อมุมขนาด 26 x 11 เมตร มีฐานชุกชีขนาดใหญ่ และคูหาขนาดเล็กอยู่ท้ายวิหาร พื้นวิหารปูอิฐ มีตอม่อทำจากหินแกรนิตสำหรับรองรับเสาวิหารอยู่เป็นระยะๆ ห่างกันช่วงละ 4 เมตรทั้งตามแนวยาว และตามขวาง ลักษณะของพื้นวิหารชี้ให้เห็นว่าวิหารหลังนี้ทำหลังคา ซ้อนลดหลั่นเป็น 2 ระดับ หลักฐานที่พบ ในการขุดแต่งยืนยันว่าโครงสร้างหลังคาเป็นไม้ มุงกระเบื้องดินเผา-เจดีย์ อยู่ด้านหลังวิหาร ฐานแยกออกจากกัน ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 9 คูณ 9 เมตร ลักษณะเป็นฐานย่อเก็จรองรับเรือนธาตุที่มีซุ้มพระ 4 ด้าน ประดับลวดลายปูนปั้น ลักษณะของลวดลายปูนปั้นที่พบในการขุดค้นเป็นลวดลายในกลุ่มเดียวกับลวดลายในกลุ่มเดียวกับลวดลายปูนปั้นที่พระเจดีย์ วัดป่าสัก เมืองเชียงแสน

    ลักษณะที่ 3 คือ เจดีย์และวิหารอยู่บนฐานก่ออิฐแยกออกจากกัน วิหารหันออกสู่ลำแม่น้ำปิงเก่า-วิหาร ผังพื้นปูรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีบันไดทางขึ้นด้านหน้า ขนาด 21.20 คูณ 15.00 เมตร สูง 2.00 - 3.00 เมตร ฐานชุกชีอยู่ติดผนังท้ายวิหาร ฐานวิหารก่อเป็นฐานบัวประดับลูกแก้วอกไก่ รองรับผนังวิหารซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นผนัง หรือฝาไม้ หลังคาโครงสร้างไม้ มุงกระเบื้อง ด้านหลังเป็นหลังคาต่างระดับเพียง 2 ชั้น ในขณะที่ด้านหน้าเป็นหลังคาต่างระดับถึง 3 ชั้น เจดีย์ ฐานล่างสุดเป็นฐานหน้ากระดาน ผังพื้นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 12.20 คูณ 12.20 เมตร สูง 60 เซนติเมตร ก่ออิฐเรียงสลับสั้นยาวไม่สอปูน ฐานหน้ากระดานชั้นที่ 2 ขนาด 8.80 คูณ 8.80 เมตร สูง 88 เซนติเมตร ก่อเรียงอิฐแบบสลับสั้น-ยาว ไม่สอปูน บานหน้ากระดานย่อเก็จ ขนาด 7.90 คูณ 7.90 เมตร

    ลักษณะที่ 4 เป็นฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหลังหนึ่งกับอาคารคล้ายวิหารโถงผังพื้นย่อมุมอีกด้านหนึ่งฐานต่อเนื่องกัน อาคารหรือวิหารหลังแรกวางตัวตามแนวทิศตะวันตก - ตะวันออกส่วนอาคารที่มีผังพื้นย่อมุมอยู่ทางหน้าวิหารวางตัวเป็นมุมฉากกับ หลังแรก พอจะสันนิษฐานได้ว่าเป็นวิหารโถง มีหลังคาชั้นเดียว ในขณะที่วิหารขวางทางท้ายนั้นเป็นวิหารโถงมีหลังคาซ้อนต่างระดับถึง 3 ชั้น และน่าจะมีมุขยื่นออกไปทางด้านหน้าด้วย โดยมีการสร้างวิหารหลังคาชั้นเดียวเชื่อมต่อในภายหลังบริเวณรอยต่อของวิหารทั้งสองหลังทำไม่ได้สัดส่วนนัก

    ลักษณะที่ 5 เป็นฐานวิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ 15.00 คูณ 7.00เมตรซึ่งสันนิษฐานว่าวิหารหลังนี้ที่ีหลังคา ต่างระดับซ้อนกัน 2 ชั้นที่ด้านข้างทางด้านทิศใต้ค่อนไปทางท้ายอาคารมีทางเดินเชื่อมกับฐานวิหารหลังคาชั้น เดียวของกลุ่มโบราณสถานลักษณะที่ 4 และที่ข้างทิศเหนือของมุขหน้ามีบันไดและทางเดินเชื่อมต่อ

    ลักษณะที่ 6 เป็นฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 4 คูณ 12 เมตร สร้างตามแนวทิศเหนือ - ใต้ หันหน้าไปทางทิศเหนือโดยประมาณ มีบันไดทางขึ้นขนาดเล็กทางด้านก่ออิฐแบบหน้ากระดานเรียบ

    ลักษณะที่ 7 เป็นฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ 5.50 คูณ 10.00 เมตร ลักษณะผังพื้นเหมือนกับฐานวิหารโถง

    วัตถุดิบการฉาบ

    เวียงกุมกามเป็นนครโบราณที่มีมานานกว่าหลายร้อยปีซึ่งในยุคสมัยนั้นผู้คนได้มีการสร้างโบราณสถานหลายๆแห่ง อาทิเช่น วัด วิหาร กำแพงเมือง กำแพงแก้ว อุโบสถเจดีย์ ฯลฯ และภูมิปัญญาของคน สมัยก่อนที่ได้นำมา แสดงให้เห็นถึงความสามารถคือ การสามารถสร้างสถานที่ต่างๆได้โดยไม่ใช้วัตถุประสานเช่นเดียวกับปัจจุบันที่ใช้กันกล่าวคือในการสร้างวิหารหรือกำแพงแก้ว จะใช้อิฐหลายๆก้อนมาเรียงต่อกันโดยที่มีวัตถุประสานในที่นี่ตามคำบอกเล่าของคนในเวียงกุมกาม จะใช้ปูนหมักเป็นวัตถุประสานระหว่างอิฐต่ออิฐ เช่นเดียวกับเราใช้ปูนเชื่อมระหว่างอิฐต่ออิฐ แต่ความพิเศษของปูนหมักคือ

    ปูนหมักจะประกอบได้ด้วยปูนขาว น้ำอ้อย หนังวัวหนังควาย (สารอินทรีย์)รากไม้หรือเปลือกไม้ 7 ชนิด (ส่วนมากจะเลือกพืชที่มีเปลือกไม้ที่ลอกและกะเทาะออกจากต้นได้ )


    กรรมวิธีการทำปูนหมัก คือการนำ หนังวัวหนังควายเคี่ยวกับน้ำอ้อยจากนั้นนำมาหมักกับปูนขาว และรากไม้ 7 ชนิด และในการฉาบพื้นผิวของวัตถุนั้น จะใช้ปูนขาวเป็นตัวฉาบ

    ปูนขาวในที่นี้ประกอบด้วย ปูนขาว หนังวัวหนังควาย เป็นหลัก
    กรรมวิธีการทำปูนขาว คือการเคี่ยวหนังวัวหนังควายแล้วนำมาผสมกับปูนขาวในสัดส่วนที่พอเหมาะจากนั้นก็นำมาฉาบวัตถุต่าง ๆ ต่อไป
    จากข้างต้นอาจจะเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่มีผลทำให้เวียงกุมกามสามารถมีโครงสร้างที่ค่อนข้างคงทน และถาวร ถึงแม้จะมีการล่มสลายโดยอุทกภัยก็ยังเหลือซากให้ศึกษาได้ นั่นเป็นสิ่งบ่งชี้ให้คนปัจจุบัน เห็นว่าคนสมัยก่อนมีภูมิปัญญาที่สามารถนำมาสร้างและรักษาสิ่งที่พวกเขาสร้างขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องใช้วิวัฒนาการเทคโนโลยีหรือวัตถุดิบที่เราใช้กันทุกวันแต่โดยการนำวัสดุ และวัตถุที่มีคุณสมบัติยึดเหนี่ยวเช่น พวกสารอินทรีย์ และน้ำอ้อยมาเป็นส่วนประกอบในการสร้างวัตถุแต่ละชนิดขึ้นมา

    วัตถุดิบการสร้างตัวเมือง
    รูปแบบของสถาปัตยกรรมของเวียงกุมกามมีแนวความคิดของล้านนาไทยซึ่งเป็นดินแดนที่รับพุทศาสนาจากลังกา อินเดีย โดยผ่านทางสุโขทัยจนกระทั่งเข้ามารวมตัวกันกระจายอยู่ทั่วไปในล้านนา โดยเฉพาะเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การปกครองและการศาสนา ดังนั้นเวียงกุมกามจึงได้รับอิทธิพลของล้านนาอยู่บ้าง ซึ่งรูปแบบศาสนสถาน ที่เกิดขึ้นเนื่องจากแนวความคิดทางด้านพุทธศิลป์ พบว่ารูปแบบของวิหารมีขนาดไม่ใหญ่โตมาก สร้างด้วยไม้ มีฐานหรือผนังก่ออิฐฉาบปูน ในแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยกเก็จด้านหน้า และหลังยังคง รักษาระเบียงของล้านนาดั้งเดิมคือ

    1. รูปแบบ โครงสร้างเป็นโครงหลักในการก่อสร้าง
    2. มีการใช้ผนังไม้ นิยมการก่อผนังไม้ผสมกับอิฐกับปูน
    3. วิหารนิยมการวางแผนผังในรูปของสี่เหลี่ยมจัตุรัส
    4. เจาะช่องหน้าต่างรูปกากบาท
    5. การวางแผนผังศาสนสถานนิยมสร้างศาลาบาตรล้อมรอบอาคารที่เป็นเจดีย์
    6. องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
    6.1 หน้าบัน มีรูปแบบม้าตั่งไหม
    6.2 ค้ำยัน นิยมแบบแกะสลักไม้อยู่ในกรอบสามเหลี่ยม
    6.3 ลวดลาย นิยมทำรูปสัตว์ประดับวิหาร

    ฉะนั้น ลักษณะสถาปัตยกรรมของเวียงกุมกามจะมีอยู่บางส่วนเท่านั้นที่จะมีศิลปะแบบล้านนา เช่นในศิลปะของสถาปัตยกรรมตอนปลายที่สร้างขึ้น ภายหลังย้ายเมืองหลวงไปที่เชียงใหม่นอกจากนี้ความเชื่อของผู้คนในเวียงกุมกามจะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ

    ที่กลุ่มชนชาวโยนกที่รับเอาอิทธิพลวัฒนธรรมพุทศาสนาของหริภุญไชยมาใหม่ๆก็เป็นได้ เนื่องจากได้ขุดพบว่าภายใต้แท่นฐานของซุ้มปราสาทหรือซุ้มโขงนั้นมีร่องรอยของกองกระดูกสัตว์ใหญ่ประเภทวัว ควาย หรือม้าถูกเผาปนเถ้าถ่าน มีประทีปดินเผา และชิ้นส่วนพระพิมพ์ดินเผาปนอยู่ในหลุมรวมกัน ดูเหมือนพิธีกรรมทำนองคล้ายยัญพิธีบางอย่างซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่เคยพบในโบราณสถานแห่งใดมาก่อนซึ่งสะท้อนให้เห็นความเชื่อที่มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างพุทธศาสนา กับความเชื่อบางประการ
    http://www.school.net.th/library/webcontest2003/100team/dlns065/arch/arch.html





    [​IMG]

    ผังเวียงกุมกาม
    จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวตามลำน้ำปิง ตัวเวียงวางแนวทแยงทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือโดยกำแพงเวียงด้านเหนือเลียบปิงห่างการวางเวียงในแนวทแยงคงช่วยการชลอของการส่งน้ำจากแม่น้ำเข้าสู่คูเวียงเพื่อมิให้น้ำไหลแรงจนทำให้คูเวียงเสียหาย ลักษณะของเวียงกุมกามดังกล่าวซึ่งตรงตามตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ "
     
  7. ศิษย์ต่างแดน

    ศิษย์ต่างแดน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,011
    ค่าพลัง:
    +3,448
    ขอร่วมบุญด้วยนะครับ 500 บาทครับ ขออนุโมทนากับพี่ๆ น้า ๆทุกท่านด้วยครับผม สาธุ
     
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ผมได้ไปเห็นสถานที่จริงแล้ว มีความเห็นว่าการขุดค้นนี้ทำได้ยากมากด้วยสาเหตุมากมายเท่าที่ลองประมวลคร่าวๆแล้ว คือ
    -ด้านของงบประมาณที่ต้องใช้อีกมากมาย
    -ด้านความรู้ของชุมชน หัวหน้าชุมชน
    -ด้านที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ในโบราณสถาน ข้อนี้สำคัญมาก เพราะเมืองทั้งเมืองอยู่ใต้พื้นดิน ซึ่งไม่มีผู้ใดพบเห็น อีกเมืองเมืองหนึ่งคือเมืองที่เราเห็นบนพื้นดิน มีบ้านช่อง มีสถานก่อสร้างใหม่ๆตามมา จะเวนคืนที่ดินเหล่านี้อย่างไร?
    -ด้านกำลังคนดูแลรักษา

    โบราณสถานมีประมาณ ๔๗ แห่ง และยังมีที่ยังไม่ได้ทำการขุดค้นอีกมากมาย ผมมีโอกาสได้ไปประมาณ ๖ แห่ง

    วัดช้างค้ำ หรือวัดกานโถม ตั้งอยู่ในเขตท้องที่หมู่ที่ 11 ตำบลท่าวังตาล วัดกานโถม

    เป็นวัดที่พญามังรายโปรดให้สร้างวัดกานโถมขึ้นในราวปี พ.ศ. 1833 ประกอบด้วยวิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันตก

    ด้านหลังมีอาคาร เชื่อมต่อออกไปมีลักษณะเป็นมณฑปหลังวิหารเป็นที่ประดิษฐานเอกสารพงศาวดารโยนก ฐานเจดีย์มีฐานกว้าง 12 เมตร สูง 18 เมตร ทำซุ้มคูหาสี่ทิศใช้พระพุทธรูปซ้อนเป็นสองชั้น ชั้นล่างไว้พระพุทธรูป 4 องค์ ชั้นบนไว้พระพุทธรูปยืนองค์หนึ่ง มีรูปอัครสาวกโมคัลลาน์ สารีบุตร และพระอินทร์ รูปนางธรณีไว้สำหรับพระพุทธรูปด้วย

    นอกจากนี้ในบริเวณวัดกานโถมยังมีต้นศรีมหาโพธิ์ที่ได้อัญเชิญเมล็ดจากเมืองลังกาในครั้งโบราณและหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ นอกจากพบพระพิมพ์ดินเผาสกุลช่างหริภุญไชยจำนวนหนึ่งแล้วยังพบจารึกหินทรายสีแดงเป็นอักษร ได้แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ อักษรมอญ อักษรที่มีลักษณะระหว่างอักษรมอญกับอักษรไทย และอักษรสุโขทัย


    และฝักขามรุ่นแรกภายในวัดกานโถม (ช้างค้ำ) มีต้นโพธิ์ที่เก่าแก่ มีพระพุทธรูปซึ่งเป็นที่เคารพสักการะและมีหอพญามังราย หรือศาลพญามังรายซึ่งเป็นที่สถิตย์ของเทพ และเป็นที่เคารพสักการะของประชากรในละแวกนั้นมาตั้งแต่โบราณ และวัดกานโถมนี้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์เข้าพรรษาอยู่ภายในวัด และมีพุทธศาสนิกชนทำบุญ และร่วมทำกิจกรรมต่างๆในวันสำคัญๆทางศาสนาอยู่เป็นประจำ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Copy of P1010069.JPG
      Copy of P1010069.JPG
      ขนาดไฟล์:
      282.4 KB
      เปิดดู:
      56
    • P1010070.JPG
      P1010070.JPG
      ขนาดไฟล์:
      868.5 KB
      เปิดดู:
      50
    • P1010072.JPG
      P1010072.JPG
      ขนาดไฟล์:
      889 KB
      เปิดดู:
      63
    • P1010071.JPG
      P1010071.JPG
      ขนาดไฟล์:
      845.8 KB
      เปิดดู:
      55
  9. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ขอแนะนำผู้ที่ต้องการร่วมบุญถวายพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรอายุมากกว่า ๑๐๐ ปีเพื่อประดิษฐานเหนือบุษบกพระโมคคัลลานะอายุ ๕๐๐ ปีนี้

    ๑) สามารถจะร่วมบุญจำนวนเท่าใดก็แล้วแต่ท่าน โดยโอนเข้าบัญชีที่ post ไว้ในหน้าที่ ๑-๒
    เข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์
    สาขา สุขุมวิท ซอย 3/1
    ชื่อบัญชี คุณอภิวัฒน์ ชัฎอนันต์ เพื่อสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะ
    เลขที่บัญชี 074-2-14149-7



    ๒) ผู้ที่มีเกณฑ์พระประจำวันพุธกลางวัน (พระปางอุ้มบาตร) เป็นพระเสวยอายุในปีนี้ ควรจะร่วมบุญนี้ เพราะเหตุว่าพระพุธเป็นพระที่จะดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของท่านถึง ๑๗ ปีเลยทีเดียว

    ๓) ผู้ที่ต้องการเสริมดวงทักษาในตำแหน่งต่างๆทางโหราศาสตร์ เช่น อาจจะเป็นศรี หรือเดช หรืออายุ ฯลฯ ก็จะได้กำลังมากขึ้น

    .....................................................................

    การร่วมบุญถวายพระปางอุ้มบาตรนี้ ผมขอใช้หลักเกณฑ์นี้ครับ

    ๑) ท่านจะร่วมบุญด้วยเท่าไหร่ก็ตามแต่สมัครใจโดยจะบันทึกชื่อไว้ตามลำดับ

    ๒) เมื่อครบตามจำนวนปัจจัยที่ได้พระปางอุ้มบาตรองค์นี้แล้วก็จะปิดรายการบุญนี้ทันที

    ๓) ไม่มีวัตถุมงคลมอบให้

    ....................................................................

    รายชื่อผู้ร่วมบุญถวายพระปางอุ้มบาตรเหนือบุษบกพระโมคคัลลานะ

    ๑) คุณ :::เพชร::: ๑,๐๐๐ บาท
    ๒) คุณ nongnooo ๕๐๐ บาท
    ๓) คุณ guawn ๑๐๐ บาท
    ๔) คุณ kwok ๔๐๐ บาท
    ๕) คุณ sithiphong - ภรรยา และทั้ง ๒ ครอบครัว ๕๐๐ บาท
    ๖) คุณ newcomer ๓๐๐ บาท
    ๗) คุณ พิมพาภรณ์ ๑๐๐ บาท
    ๘) คุณ aries2947 - ภรรยา และครอบครัว ๒๐๐ บาท
    ๙) คุณ marcbangkok ๕๐๐ บาท
    ๑๐)คุณ sira ๒๐๐ บาท
    ๑๑)คุณ ตั้งจิต และครอบครัว ๒๐๐ บาท
    ๑๒)คุณ นายคัง และครอบครัว ๑,๐๐๐ บาท
    ๑๓)คุณ hongsanart ๑,๐๐๐ บาท
    ๑๔)คุณศิษย์ต่างแดน ๕๐๐ บาท

    รวมปัจจัย ๖,๕๐๐ บาท จำนวนปัจจัยที่ได้พระปางอุ้มบาตรองค์นี้ มีผม และคุณหนุ่มทราบกันเพียง ๒ คนเท่านั้น

    <!-- / message --><!-- sig --><!-- / message --><!-- sig -->
     
  10. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    คุณหนุ่ม เรามาดูกันว่าจำนวนปัจจัยที่ร่วมกันถวายพระปางอุ้มบาตรเหนือบุษบกพระโมคคัลลานะนี้จะครบตามจำนวนเป๊ะหรือไม่ ตามวาระนะครับ...
     
  11. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วัดต่อมาที่อยู่ภายในเวียงกุมกาม..

    วัดอีค่าง
    เนื่องจากการศึกษาศิลปกรรมของลักษณะเจดีย์เป็นศิลปกรรมดั้งเดิมของล้านนาแบบเต็มตัว ดังนั้นจึงอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 ในรัชกาลของพระเจ้าเมืองแก้ว และไม่เก่าไปกว่าพุทธศักราช 2060 อยู่ติดกับแนวคูน้ำกั้นดินด้านทิศตะวันตกของเวียงอยู่ลึกลงไปในผิวดินประมาณ 2 เมตร ประกอบด้วยวิหาร และเจดีย์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน เป็นแบบล้านนาดั้งเดิมอย่างเต็มตัว ตัววิหารหันทิศไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านหลังวิหารมีอาคารเชื่อมต่อคล้ายมณฑป ส่วนเจดีย์อยู่หลังสุดบริเวณโดยรอบมีทางเดินสำหรับประทักษิณซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้วอยู่ติดกับแนวคูน้ำ - คันดินด้านทิศตะวันตกของเวียง อยู่ลึกลงไปใต้ผิวดินปัจจุบันประมาณ 2 เมตร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วัดหนานช้าง
    ตั้งตามชื่อเจ้าของที่ดิน ด้านหน้าของวัดอยู่ใกล้แม่น้ำปิง ซุ้มโขงมีลายปูนปั้นประดับเล็กน้อย ถัดจากซุ้มโขงลงไปมีทางเดินและมีวิหาร ซึ่งที่ฐานพระประธานมีลายปูนปั้น ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ฐานทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันสองชั้น เรือนธาตุได้พังเสียหายไปแล้ว เยื้องกับเจดีย์เป็นมณฑป ถัดไปเป็นอุโบสถ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วัดปู่เปี้ย
    ตั้งอยู่บริเวณที่เข้าใจว่าเป็นแนวคูน้ำคันดิน ด้านทิศตะวันตกของเวียงกุมกามอยู่ลึกลงไปจากผิวดินปัจจุบันประมาณ 2 เมตร

    ตามที่นักประวัติศาสตร์และกรมศิลปากรได้ศึกษาอายุสมัยของการสร้างองค์เจดีย์ปู่เปี้ยน่าจะอยู่ในรัชสมัยของพญาติโลกราชลงมาในราว พ.ศ 1998 - 2068 ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้ว และมีลักษณะ ของวัดประกอบด้วยดังนี้ วิหาร เจดีย์ อุโบสถ และส่วนประกอบปลีกย่อย อื่น ๆ เช่น แท่นบูชา และศาลผีเสื้อตั้งอยู่ด้านหน้า พระอุโบสถ วิหาร และอุโบสถอยู่ข้างเคียงกันต่างหันทิศไปทางทิศตะวันออก โดยเฉพาะวิหารมีร่องรอยของการก่อสร้าง ซ่อมกันมาหลายสมัย ส่วนองค์เจดีย์นั้นมีลักษณะเป็นเรือนธาตุสูง ซึ่งเป็นศิลปกรรมที่มีทั้งแบบสุโขทัย และแบบล้านนารวมกัน และรับองค์ระฆังขนาดเล็ก องค์ระฆังและส่วนยอดเป็นศิลปกรรมแบบสุโขทัย


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วัดที่ ๖ วัดนี้บูรณะได้สวยงามมาก

    วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือวัดกู่คำ
    "กู่" หมายถึง พระเจดีย์
    "คำ" หมายถึง ทองคำ
    พญามังรายทรงโปรดให้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 1831

    ประวัติความเป็นมาเริ่มที่เวียงกุมกามของพญามังรายนั้น พระองค์ให้ขุดคูเวียงหาทั้งสี่ด้าน และไขน้ำปิงเข้าสู่คูเวียง และตั้งลำเวียง(ค่าย) ไว้โดยรอบ แล้วให้ขุดหนองสระไว้ใกล้ที่ประทับในขณะที่ขุดนั้น พระองค์ทรงเยี่ยมพระแกลดูคนขุดทุกวัน หนองนั้นจึงได้ชื่อ หนองต่าง (หน้าต่าง ) พระองค์ทรงโปรดให้เอาดินที่ขุดออกจากหนองนี้ปั้นอิฐก่อเจดีย์กู่คำ คือเจดีย์เหลี่ยมไว้ในเวียงกุมกามนั้น เพื่อให้เป็นที่สักการะของประชาชนทั้งหลาย

    ลักษณะของเจดีย์นั้นมีฐานกว้าง 8 วา 1 ศอก สูง 22 วา ซึ่งเป็นแบบศิลปกรรมของลพบุรี โดยถ่ายแบบมาจากวัดจามเทวี (วัดกู่กุด) ลำพูน มีพระพุทธรูปยืนอยู่ในซุ้มพระทั้งสี่ด้าน ด้านละ 15 องค์ รวม 60 องค์ กล่าวกันว่าเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระชายา ทั้ง 60 พระองค์ ยอดเจดีย์แปลงขึ้นเป็นตุ่ม ไม่มีฉัตรเหมือนเจดีย์ทั่วๆไปคล้ายกับสถูป คนทั้งหลายจึง เรียกว่า เจดีย์กู่คำ

    ต่อมาหลวงโยนการวิจิตร ได้ทำการบูรณะโดยให้ช่างชาวพม่าเป็น ผู้ดำเนินงานลวดลายต่างๆทั้งซุ้มพระ และองค์พระจึงเหมือนศิลปกรรมพม่า และเพิ่มซุ้มองค์พระอีกด้านละ 1 องค์ จึงมีพระพุทธรูปทั้งหมด 64 องค์
     
  15. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วัดธาตุขาว
    ตั้งอยู่ริมทางหลวงสายเชียงใหม่ - ลำพูน (สายเก่า) ตรงกิโลเมตรที่ 5 ในเขตตำบลหนองหอย อำเภอเมือง

    บราณสถาน และสิ่งก่อสร้างภายในบริเวณวัดกู่ขาว ประกอบด้วย กำแพงแก้ว และซุ้มประตู อยู่ทางด้านทิศเหนือหรือด้านหลังวิหาร แนวกำแพงก่ออิฐแบบสลับสั้นยาว เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์แบบล้านนามีฐานบัวลูกแก้วซ้อนกันอยู่ 2 ชุด ย่อเก็จ มีฐานพระพุทธรูป อยู่ระหว่างเจดีย์และวิหาร วัดนี้สร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22 ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้ว

    ภายในวัดกู่ขาวมีธาตุกู่ขาว ที่เรียกกันว่าวัดธาตุขาวเนื่องมาจากแต่เดิมนั้นตัวเจดีย์ยังคงปรากฏผิวฉาบปูนสีขาวนั่นเอง โบราณสถานประกอบด้วยวิหาร เจดีย์ อุโบสถ และมณฑป โดยมีการก่อสร้างขึ้นมา 2ระยะคือ ระยะแรกก่อสร้างเพียงเจดีย์ วิหาร อุโบสถ แต่ต่อมาเกิดการชำรุดจึงต่อเติมฐานเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้น ระยะที่สองมีการก่อสร้างมณฑปสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป

    พระพุทธรูปที่เห็นทุกวันนี้ได้สร้างครอบพระพุทธรูปองค์จริงไว้ มีความศักดิ์สิทธิ์ขอสิ่งใดมักจะสัมฤทธิ์ผล เป็นที่น่าแปลกมากตรงที่พี่ที่เดินทางไปด้วยกัน ๒ ท่านมีความประสงค์จะได้งานใหม่ ในช่วงนี้จะมีสายโทรศัพท์ต่อเข้ามาเสนองานให้ทั้ง ๒ ท่านพร้อมๆกัน และที่น่าสังเกตคือ มีแผงให้บูชาเทียนประจำวันเกิด เทียนสะเดาะเคราะห์ เทียนบูชาพระราหูโดยเฉพาะ เทียนสืบชะตา เทียนรับโชค จำหน่ายเล่มละ ๑๐-๙๙ บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วัดที่ ๖ วัดนี้บูรณะได้สวยงามมาก

    วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือวัดกู่คำ
    "กู่" หมายถึง พระเจดีย์
    "คำ" หมายถึง ทองคำ
    พญามังรายทรงโปรดให้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 1831

    ประวัติความเป็นมาเริ่มที่เวียงกุมกามของพญามังรายนั้น พระองค์ให้ขุดคูเวียงหาทั้งสี่ด้าน และไขน้ำปิงเข้าสู่คูเวียง และตั้งลำเวียง(ค่าย) ไว้โดยรอบ แล้วให้ขุดหนองสระไว้ใกล้ที่ประทับในขณะที่ขุดนั้น พระองค์ทรงเยี่ยมพระแกลดูคนขุดทุกวัน หนองนั้นจึงได้ชื่อ หนองต่าง (หน้าต่าง ) พระองค์ทรงโปรดให้เอาดินที่ขุดออกจากหนองนี้ปั้นอิฐก่อเจดีย์กู่คำ คือเจดีย์เหลี่ยมไว้ในเวียงกุมกามนั้น เพื่อให้เป็นที่สักการะของประชาชนทั้งหลาย

    ลักษณะของเจดีย์นั้นมีฐานกว้าง 8 วา 1 ศอก สูง 22 วา ซึ่งเป็นแบบศิลปกรรมของลพบุรี โดยถ่ายแบบมาจากวัดจามเทวี (วัดกู่กุด) ลำพูน มีพระพุทธรูปยืนอยู่ในซุ้มพระทั้งสี่ด้าน ด้านละ 15 องค์ รวม 60 องค์ กล่าวกันว่าเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระชายา ทั้ง 60 พระองค์ ยอดเจดีย์แปลงขึ้นเป็นตุ่ม ไม่มีฉัตรเหมือนเจดีย์ทั่วๆไปคล้ายกับสถูป คนทั้งหลายจึง เรียกว่า เจดีย์กู่คำ

    ต่อมาหลวงโยนการวิจิตร ได้ทำการบูรณะโดยให้ช่างชาวพม่าเป็น ผู้ดำเนินงานลวดลายต่างๆทั้งซุ้มพระ และองค์พระจึงเหมือนศิลปกรรมพม่า และเพิ่มซุ้มองค์พระอีกด้านละ 1 องค์ จึงมีพระพุทธรูปทั้งหมด 64 องค์

    หอพญาเม็งรายมหาราช ประดิษฐานพระบรมรูปพญาเม็งรายมหาราช ซึ่งพระองค์ท่านเป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งล้านนา พระบรมรูปจัดสร้างได้สวยงามมาก

    พระพุทธรูปพระนามว่า หลวงพ่อพุทธะนวทรัพย์สิริมงคล พระประธานวิหารสมัยเวียงกุมกาม ใช้ไม้แก่นจันทน์จัดสร้างเป็นพระพุทธรูปโบราณที่อัญเชิญมาอยู่ด้านนอกซึ่งก็ไม่ทราบเหตุผลว่าเหตุใดจึงนิมนต์มาไว้ด้านนอก????

    คุณลุงสมหมายที่ปัจจุบันนี้มาเป็นมัคคทายกที่วัดเจดีย์เหลี่ยมนี้ลมหายใจได้เคยหยุด(ตาย) นิมิตได้ยินเสียงจากยมโลกว่ายังไม่ถึงฆาต พระท่านให้ช่วยบูรณะวัดนี้ จึงได้ร้องขึ้นในขณะที่แพทย์กำลังจะฉีดฟอร์มารีนแล้ว หากมีดอกาสไปที่วัดนี้ ท่านอาจจะได้พบคุณลุงสมหมายก็ได้ครับ ลองไปสอบถามเรื่องราวเหล่านี้ได้ครับ ขอบอกครับว่าคุณลุงมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง น้ำเสียงมีพลังอำนาจ และใจดีมากๆ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วัดสุดท้ายที่เวียงกุมกามนี้ คือ..


    วัดกู่ป้าด้อม
    ตั้งอยู่ในเขตบ้านท่าวังตาล ตำบลท่าวังตาล อยู่นอกเขตเวียงกุมกาม ติดกับแนวคูเมือง - กำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ สามารถเดินทางมาจากวัดปู่เปี้ย หรือตามถนนทางแยกเข้าเวียงกุมกามด้านหน้าวัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ)

    วัดกู่ป้าด้อมน่าจะก่อสร้างขึ้นในระยะที่พญามังรายประทับอยู่ที่เวียงกุมกาม ระหว่างปี พ.ศ. 1835 - 1839 วัดกู่ป้าด้อม (กู่เป็นภาษาถิ่น หมายถึง เจดีย์ ไม่ปรากฏประวัติความเป็นมาในเอกสาร และตำนานทางประวัติศาสตร์ เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกัน เนื่องจากอยู่ในเขตที่ดินของป้าด้อม ประกอบด้วย วิหารเจดีย์ และแท่นบูชาจำนวน 2 แท่น ล้อมรอบด้วยแนวกำแพงแก้ว ซึ่งปัจจุบันรับการบูรณะแล้ว เจดีย์เหลือเพียงฐานเท่านั้น มีกำแพงแก้วก่อล้อมรอบโบราณสถาน กำแพงแก้วด้านหน้าทางเข้าวิหารมีซุ้มโขง วัดแห่งนี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21-22
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    คราวนี้เราจะเริ่มตามรอยพระแม่จามเทวีกันกับวัดประจำพระองค์คือ วัด(พระแม่)จามเทวี และวัดสี่มุมเมืองแล้วนะครับ..

    บทความที่ผมนำมาประกอบภาพนี้มาจากแหล่งต่างๆที่สามารถอ้างอิงได้ ขอโมทนาบุญกับเจ้าของบทความ และเป็นเขียนแทรกในรายละเอียดลงไปบ้าง ทั้งนี้เพื่อเป็นการน้อมถวายกุศลแด่องค์อัครปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญไชยพระองค์นี้ ภาพทุกภาพที่ผมถ่ายภาพไว้นี้ขอมอบให้เป็นธรรมทาน และผมอนุญาตให้ทุกท่านสามารถนำไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาครับ..

    มาเริ่มกันที่อนุสาวรีย์พระแม่จามเทวีกันก่อนครับ

    " กษัตริย์ที่โลกลืม " พระเกียรติคุณดูหน้าพิสวงศ์ ในอดีต

    ของฝากจากท่านแม่ศรีฯ

    ด้วยปกครองอย่างเมตตาธรรม แก่ประชาราชแต่อดีต
    เลิศด้วยปัญญาล้ำเกินชาย
    นิ่มนวลงดงามดุจพระนางวิสาขา
    สง่าด้วยพระบารมีเฉิดฉาย
    อายุยืนเกินใคร ( ๑๒๐ ปี )
    บำรุงพระศาสนามากมาย ( สร้างวัดทั้งสิ้น ๑,๕๐๐ วัด )
    มุ่งหมายเนขขัมมะในบันปลาย ( บั้นปลายชีวิตออกบวชพราหมณ์ )
    เพื่อเป้าหมายบำเพ็ญ " โพธิญาน "
    แต่บัดนี้ท่านลาเข้าพระนิพพานแล้ว
    ยังห่วงลูกหลานหนักหนา
    ทรงประทาน " พระธาตุแก้ว " ฝากมา
    เพื่อบอกว่าลูกทั้งหลายจงได้ตาม
    มาที่พระนิพพานเมืองแก้ว
    จะคลาดแคล้วจากภัยวัฏฏะสงสาร
    จงปฏิบัติธรรมเสียแต่เดี๋ยวนี้ยังทันการ
    พระนิพพานนั้นอยู่แค่เอื้อมมือ

    สื่อสารจาก " ท่านแม่ศรีฯ "


    อำเภอเมืองลำพูน<O:p</O:p
    อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ตำบลในเมือง บริเวณสวนสาธารณะหนองดอก ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ ๑ กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระแม่จามเทวี องค์อัครปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย พระนางเป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรม ความสามารถ และกล้าหาญ ได้นำพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมมาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้จนมีความรุ่งเรืองสืบมาจนถึงปัจจุบัน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมาร ได้เสด็จมาทรงเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕


    ค่ำคืนของวันเปิดอนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ได้เกิดมีลำแสงคล้ายปิ่นปักผมพุ่งจากฟากฟ้า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ผมว่าถ้าเลยสิ้นเดือนนี้ น่าจะครบตามจำนวน

    ขอบอกว่า องค์ท่านสวยงามมาก หน้าของพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นศิลป สุโขทัย

    ไว้กับผมนานๆหน่อยก็ได้นะครับ ขอกราบให้เต็มที่ก่อน

    .
     
  20. hongsanart

    hongsanart เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,332
    ค่าพลัง:
    +10,468
    โอนเงินเมื่อวานนี้แล้วค่ะ (เกิดวันพุธกลางวัน-ตรงเป๊ะเลยค่ะ)

    โมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...