มีเรื่องอยากถามทุกท่านเกี่ยวกับกสิณครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Jera, 23 สิงหาคม 2010.

  1. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    คือผมเริ่มทำกสิณ

    อยากถามทุกท่านครับ

    ทำไม ผมเพ่งเทียน มันติดตานานกว่า นานกว่ากสิณเเบบอื่น

    เเล้ว ผมเพ่งน้ำมันติดตาเเป๊ปเดียวเเล้วก็หาย


    ทำไมมัน ไม่นานเท่ากันครับ


    เเล้วทำไมการเพ่งเทียนจึงเป็นกสิณโทษครับ
    เเต่ทำไม อาจารย์บูรพาใช้การเพ่งเทียน เป็นการทำกสิณไฟ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2010
  2. kjkjkj

    kjkjkj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +139
    แสงของเปลวเทียน เมื่อแยกกับสเปกตรัมก็จะออกมาึ 7สี ซึ่งเซลรับแสงของมนุษย์จะไวต่อแสงสีแดง และ เขียว น้ำเงิน

    และการจ้องมองแสงสีเหล่านี้นานๆ เซลรับแสงจะส่งสัญญาณภาพไปยังสมอง ทำให้สมองจดจำแสงสว่างของเทียนได้ชัดและนาน

    น้ำ นั้น ไม่มีสี และหักเหแสงบางส่วนด้วย ตาจึงจำลักษณะสีของน้ำได้ไม่ดีเท่าจำสีของเปลวไฟ

    การเพ่งกสิณไฟทุกชนิด เป็นโทษ เพราะการเพ่งธาตุไฟ นอกจากตาจะจำสีของเปลวไฟแล้ว ยังจะจดจำลักษณะของพลังงานความร้อนเข้าไปในสมองอีกด้วย ยกตัวอย่าง เช่น การเห็นภาพสวรรค์ เราก็มีความสุข การเห็นภาพนรก เราก็มีความทุกข์
    นี้คือ จิตและอารมณ์ เมื่อรวมเป็นหนึ่งเดียวกับธาตุไฟ จะจำธาตุไฟ ยึดติดในธาตุไฟนั้น อย่างเหนียวแน่นจน เป็นเอกคตา
    เมื่อฝึกกสิณไฟ จะควบคุม สติ และอารมณ์ ไม่ค่อยอยู่ จะขี้โกรธโมโหง่าย ไม่พอใจอะไรก็จะแสดงออกมาทางอารมณ์ทันที ฝึกไปมากๆควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ถึงขั้นบ้า วิกลจริต หรือเสียสติได้ นี้โทษของกสิณไฟ อยู่ที่ อารมณ์ไฟ ต้องควบคุมอารมณ์ไฟให้อยู่
    โบราณอาจารย์ ท่านเลยสอนให้คนที่เพ่งกสิณไฟนั้น เมื่อฝึกเพ่งกสิณไฟเสร็จ ให้เพ่งกสิณน้ำเป็นการชำระจิตใจธาตุไฟและอารมณ์ของธาตุไฟ ด้วยธาตุน้ำ

    มีวิชากสิณไฟโบราณทางพราหมณ์ วิชาจุดไฟสุริยะเทพ ซึ่งเป็นกสิณไฟของพวกฤษีสมัยก่อนพุทธกาล

    เกจิอาจารย์ชื่อดังต่างๆ ถนัดวิชาเพ่งไม่เหมือนกัน วิธีเพ่งแตกต่างกัน ต่างสำนัก และการใช้เทียนหนึ่งเล่มมาจุด เพ่งกสิณไฟ ก็สะดวก และรวดเร็ว

    สมัยกรมหลวงชุมพร ท่านฝึกวิชากสิณไฟนี้ ท่านเพ่งเทียนพรรษาเล่มใหญ่ ตลอดคืนจนเทียนหมดเล่ม












    NCK2046
     
  3. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    ขอบคุณมากครับ ความรู้ดี
     
  4. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    ไม่ทราบว่า ท่านมีอีเมล รึเปล่าครับ
     
  5. kjkjkj

    kjkjkj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +139
    แค่นี้ก็เพียงพอแล้วครับ มือใหม่หากไม่อยากมีอารมณ์แปรปรวน ก็แนะนำให้ฝึกอาโลกสิณ แสงสว่าง จะไม่มีผลข้างเคียงจากอารมณ์ยึดติดธาตุไฟ และตาก็จะไม่แสบมากเวลาเพ่งนานๆ
    คนที่จะเพ่งกสิณไฟนิต้องรู้ดวยนะครับ สายตาจะเสียเร็วมาก ต้องถนอมดวงตาให้มากๆด้วย หากปวดสายตาเวลาเพ่งก้ให้หยุดพักผ่อน ระยะห่างจากกองไฟก็เป็นสิ่งสำคัญ
     
  6. kjkjkj

    kjkjkj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +139
    ความร้อนจากไฟที่เราใช้เพ่งก้ต้องอยู่ในระยะที่เหมาะสมนะครับ ไม่งั้นความร้อนและแสงจากเปลวไฟ จะเผาทำลายดวงตา และสายตาในระยะยาวด้วย
     
  7. kjkjkj

    kjkjkj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +139
    อย่าฝืนฝึกกสิณไฟจนตาบอด หรือแสบตานะครับ ให้อานาปาณสติบ้าง
     
  8. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    เเละถ้า สีเทียนเปลี่ยนเป็น้ำเงินเข้มหล่ะครับ
     
  9. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291

    รู้สึกว่า จะฝึกผิดวิธี กสินนี่ ต้องเป็นภาพติดใจ ไม่ใช่ภาพติดตา คือเรามองภาพกสิน ให้พอจำได้ แล้วหลับตานึก คือเอาใจนึก เหมือนนึกถึงบ้าน นีกถึงวัด ทำนองนี้ นะ
    การฝึกกสิน ด้วยการเพ่งเทียน ไม่ใช่กสินโทษ ขอให้ศึกษา จากครูบาอาจารย์ ที่เชื่อถือได้ แม้นหลวงพ่อฤาษี ฯ ท่านก็สอนแนวนี้
     
  10. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    กสิณต้องนึกครับ ที่ผมฝึกก็นึกให้มันขึ้นมาเหมือนกันครับ บ้างที่มันก็หายก็ต้องเอามันขึ้นมาใหม่
     
  11. ศนิวาร

    ศนิวาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7,337
    ค่าพลัง:
    +17,635
    สีใดก็ตามที่ไม่ใช่สีของกสิณนั้น ๆ แล้วมีปรากฏปนอยู่ด้วย ท่านว่าเป็นกสิณโทษทั้งสิ้น ซึ่งตำหนิในกสิณนั้น ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นบอกว่า เป็น กสิณโทษ

    การเพ่งเทียนเป็นกสิณโทษเพราะ เปลวไฟไม่บริสุทธิ์ คือมีใส้เทียนปรากฏอยู่ด้วยทำให้มีตำหนิ ไม่ใช่เปลวไฟบริสุทธิ์ อีกอย่างเมื่อผู้มองภาพกสิณก็จะเห็นลำเทียนด้วย ก็เป็นกสิณโทษเช่นกัน
     
  12. ซาตานคลั่ง

    ซาตานคลั่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    496
    ค่าพลัง:
    +1,449
    เพ่ง แปลว่า จำ ไม่ได้แปลว่าจ้อง

    พรหมาผู้เพ่งมนต์ จึงแปลว่า พรหมาผู้จำมนต์ ไม่ใช่พรหมาผู้จ้องมนต์

    การฝึกกสิณจึงมีขั้นตอนง่ายๆคือ รู้->จำ->นึกถึง

    นึกถึงเข้าไว้ ที่เหลือให้ความสำคัญกับอานาปานุสติ คือคิดถึงกสิณไปด้วยรู้ลมหายใจไปด้วย อาจจะยากหน่อย เพราะถ้ามันง่ายคงไม่ต้องฝึก ทำปุีบได้ปั๊บ

    กสิณไฟก็ไม่ได้เป็นกสิณโทษอะไรแต่อย่างใด มันอาจจะง่ายหรือยากก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้ฝึกเหมาะกับกสิณนั้นๆหรือเปล่า

    คุณควรจะฝึกรับรู้ลมหายใจเข้าออกให้คล่องเสียก่อน เพราะตอนนี้คุณยังฝืนร่างกายอยู่ไม่น้อย คือมีการพยายามบังคับกระบังลมให้สม่ำเสมอทั้งๆที่บ่อยครั้งคุณต้องการที่จะถอนหายใจเฮือกใหญ่เพื่อคลายเคลียด ยิ่งฝืนมากเท่าไหร่คุณยิ่งรู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณไหล่ลงไปถึงหน้าอกและกระบังลม


    คุณรู้ตัวหรือไม่ว่าตอนนี้อารมณ์และลมหายใจของคุณยังหยาบมาก อย่าพึ่งไปอยากให้คำภาวนาหายไป เพราะตอนนี้แม้แต่คำภาวนาสักสองสามรอบก็ยังทำให้คุณหงุดหงิดไม่อยากภาวนา
    คุณควรจะเริ่มจากการเดินเล่นให้หายเคลียด ชมนกชมไม้(ป่าคอนกรีต)ไปเรื่อยอย่างที่คุณเคยทำ สัมผัสสายลมเอื่อยๆตามที่คุณเคยทำแล้วสบายใจ เมื่อรู้สึกอารมณ์ดีขึ้นแล้ว ลองใช้คำภาวนา"วาโยกสินัง"
    คนอาจจะตกใจที่คำภาวนาหายไปพร้อมๆกับลมหายใจ ว่าจะทำอย่างไรดี หายใจแรงๆเพื่อรับรู้ลมหายใจดีมั้ย???
    อย่าทำอย่างนั้น รู้แค่ว่ามันหยุดหายใจ ซึ่งสักพักมันก็กลับมาหายใจของมันเองและคุณจะรู้สึกสงบนิ่งอย่างไม่น่าเชื่อ

    ลองดู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2010
  13. เป็ดเซ็ง

    เป็ดเซ็ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +858
    การเพ่ง คือมองเพื่อจำ การจำคือ จำสีของไฟ ในส่วนที่ทึบหนา บริสุทธิ์ มิได้จำไส้เทียน หรือแท่งเทียน ถ้ายังเห็นไส้เทียน หรือแท่งเทียน นั่นเป็นภาพติดตา ไม่ได้ ติดใจ และกสินโทษ เคยอ่านเจอ ในเฉพาะ ใน ปฐวีกสิน ส่วนกสินไฟ ยังไม่เคยเจอ ... หากแสดงข้อมูลได้ ก็ขอขอบคุณ ล่วงหน้า เพื่อประโยชน์ ในการปฏิบัติ และผลของกสิณโทษ ขอเฉพาะในวิสุทธิมรรค นะครับ

    *************​
    แลกุลบุตรที่หาอุปนิสัยหนหลังมิได้นั้น พึงกระทำดวงกสิณด้วยดินแดงอันบริสุทธิ์ มีสีงาประดุจดังว่าพระอาทิตย์เมื่อแรกอุทัย <!-- หัวข้อ 2-->กระทำให้ปราศจากสิณโทษ ๔ ประการ คืออย่าให้เอาดินเขียวเจือประการ ๑ อย่าเอาดินเหลืองเจือประการ ๑ อย่าเอาดินแดงเจือสีต่างมาเจือประการ ๑ อย่าเอาดินขาวเจือประการ ๑ พึงอ้อมหนีไปให้พ้นจากกสิณโทษ ๔ ปรการ ดังนี้ เมื่อกระทำดวงกสิณนั้น อย่ากระทำในท่ามกลางวิหารอันเป็นที่สัญจรแห่งบุคคลมีสามเณรเป็นต้น พึงกระทำในเงื้อมแลบรรณศาลาอันเป็นที่ลับที่กำบังในสุดแห่งวิหาร

    วิสุทธิมรรค
     
  14. kjkjkj

    kjkjkj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +139
    สีน้ำเงินเข้ม ในกสิณที่คุณเพ่งตอนหลับตานั้น เป็นสีของอาสวกิเลส ตระกูล ราคะจริตครับ เมื่อเพ่งไปนานๆสีของกสิณจะสว่างขึ้นบริสุทธิ์ขึ้น ตามจิตใจและอารมณ์ เพ่งโดยการนึกคำภาวนาใดๆก็ได้ เช่น พุท โธ เป็นต้น ผ่านรูปกสิณนั้นเข้าไปเรื่อย สีกสิณจะสว่างขึ้น และเมื่อเพ่งไปซักพักกสิณจะเริ่มหายไป หากอยากได้ภาพติดตาอีกก็เพ่งใหม่ แต่ให้พิจารณา ว่า

    กสิณเอง ก็ไม่พ้นกฏพระไตรลักษ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นธรรมดา

    หากเพ่งไปกลางกสิณ จนจิตใจสงบ นึกมโนภาพว่าเราและกสิณเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน มองผ่านทะลุกสิณ จะเห็นของทิพย์ต่างๆ แลวิญญาณ เทวดาได้แล้ว ผีสางต่างๆได้

    นี้เรียกว่า วิชาทิพย์จักษุ ตาทิพย์ โดยใช้กสิณไฟ
     
  15. kjkjkj

    kjkjkj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +139
    อยากทำความเข้าใจกับทุกคนในเวปนะครับ ผมไม่ได้มีเจตนาล่วงเกิน แต่วิชาสมาธิต่างๆนั้น
    ไม่ใช่ว่าจะมีแต่วิชาของหลวงพ่อฤษี ท่านเดียว เกจิอาจารย์ ในประเทศไทยนั้นมีมากมายและเยอะมากวิชาต่างๆการฝึก จึงแตกต่างออกไป หากใส่ความว่าเที่ยวกล่าวหาว่า แบบนี้ผิดวิธีและแบบนี้ไม่ถูกโดยตัวท่านเองก็ไม่ฝึกวิชากสิณอยู่ ผมว่ามันก็ไม่สมควร หากปฏิบัติเห็นผลแล้ว จึงเอาความรู้ หรือประสบการณ์เหล่านั้นมาอธิบาย จึงจะควรกว่า ดังหลักธรรม กาลามสูตร

    อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆกันมา

    อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆกันมา

    อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ

    อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา

    อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา

    อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา

    อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล

    อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน

    อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้

    อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นอาจารย์ของเรา

    เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล

    ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ

    ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

    เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้น

    จะเชื่อดีหรือไม่ ลองพิจารณากันดูครับ
     
  16. ศนิวาร

    ศนิวาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7,337
    ค่าพลัง:
    +17,635
    ในพระคัมภีร์วิสุทธิมรรคท่านอธิบายไว้แต่กสิณโทษในหมวดปฐวีกสิณก็จริง แต่โดยรวมแล้วก็น่าจะหมายถึงลักษณะการปนเปื้อนของกสิณในหมวดอื่น ๆ ด้วย และการปนเปื้อนนี้ก็เป็น กสิณโทษ เช่น เราเพ่งโอทตกสิณ(สีขาว)แต่กลับได้นิมิตกสิณเป็นสีแดง(โลหิตกสิณ) ก็นับเป็นกสิณโทษเช่นกันมิใช่หรือ เพราะองค์ภาวนาบริกรรมกับนิมิตผิดกัน

    ก็เช่นเดียวกันเวลาเรามองเทียน จิตย่อมกำหนดรู้หมายจำเอาทั้งเปลวเทียน ไส้เทียน ลำเทียน ซึ่งเป็นกสิณโทษ เราก็ต้องกำหนดจิตขจัดกสิณโทษเหล่านั้นให้เหลือแต่เปลวที่เป็นแสงไฟบริสุทธิ์เท่านั้นจึงจะถูกต้อง

    สรุปก็คือ กสิณโทษ จะเป็นนิวรณ์รังควาญจิตไม่ให้เข้าสู่สมาธิในระดับที่สูงขึ้นเพราะทำให้จิตซัดส่าย ท่านจึงบอกว่าเวลาทำอุปกรณ์กสิณ พึงเลี่ยงอย่าให้เป็น กสิณโทษ จิตจึงจะเป็นสมาธิไว
     
  17. เป็ดเซ็ง

    เป็ดเซ็ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +858
    อย่าใช้คำว่า น่าจะหมายถึง ซิ เพราะนั่นเราคิดเอง ควรดูครูบาอาจารย์ ที่ท่านสอน และคำภาวนา เป็นเครื่องโยงจิต นะ พิจารณาให้ละเอียด ในสมัยพุทธกาล เรื่องลูกชาย นายช่างทอง เขาพิจารณา อะไร วางยังไง วางที่ใหน (ดอกบัวสีแดงที่มีก้าน ปักกับมูลทราย)

    การทำสมาธิ ให้จิตสู่ฌาณ มีกสินอย่งเดียว เหรอ ? ในกสิน ๑๐ มีการแสดงฤทธิ์ ได้ตามปฏิภาคนิมิตของกสิณกองนั้น ๆ หากแสดงได้ไม่ตรง หรือแสดงไม่ได้ อันนี้ใช่ กสินโทษ หรือเปล่า ?

    อานุภาพกสิณ๑๐<O:p

    กสิณ ๑๐ ประการนี้เป็นปัจจัยให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ตามนัยที่กล่าวมาแล้ว ในฉฬภิญโญเมื่อบำเพ็ญปฏิบัติในกสิณกองใดกองหนึ่งสำเร็จถึงจตุตถฌานแล้วก็ควรฝึกตามอำนาจที่กสิณกองนั้น ๆ มีอยู่ให้ชำนาญ ถ้าท่านปฏิบัติถึงฌาน ๔แล้วแต่มิได้ฝึกอธิษฐานต่าง ๆ ตามแบบท่านว่าผู้นั้นยังไม่จัดว่าเป็นผู้เข้าถึงกสิณ อำนาจฤทธิ์ในกสิณต่างๆ มีดังนี้<O:p


    ปฐวีกสิณมีฤทธิ์ดังนี้ เช่นนิรมิตคน ๆเดียวให้เป็นคนมากได้ ให้คนมากเป็นคน ๆ เดียวได้ ทำน้ำและอากาศให้แข็งได้

    อาโปกสิณสามารถนิรมิตของแข็งให้อ่อนได้ เช่นอธิษฐานสถานที่เป็นดินหรือหินที่
    กันดารน้ำให้เกิดบ่อน้ำอธิษฐานหินดินเหล็กให้อ่อนอธิษฐานในสถานที่ฝนแล้งให้เกิดฝนอย่างนี้เป็นต้น

    เตโชกสิณอธิษฐานให้เกิดเป็นเพลิงเผาผลาญหรือให้เกิดแสงสว่างได้ ทำแสงสว่างให้
    เกิดแก่จักษุญาณสามารถเห็นภาพต่าง ๆในที่ไกลได้คล้ายตาทิพย์ทำให้เกิดความร้อน ในทุกสถานที่ได้

    วาโยกสิณอธิษฐานจิตให้ตัวลอยตามลมหรืออธิษฐานให้ตัวเบา เหาะไปในอากาศก็ได้สถานที่ใดไม่มีลม อธิษฐานให้มีลมได้

    นีลกสิณสามารถทำให้เกิดสีเขียว หรือทำสถานที่สว่างให้มืดครึ้มได้

    ปีตกสิณสามารถนิรมิตสีเหลืองหรือสีทองให้เกิดได้

    โลหิตกสิณสามารถนิรมิตสีแดงให้เกิดได้ตามความประสงค์

    โอทาตกสิณสามารถนิรมิตสีขาวให้ปรากฏ และทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้เป็น
    กรรมฐานที่อำนวยประโยชน์ในทิพยจักษุญาณ เช่นเดียวกับเตโชกสิณ

    อาโลกกสิณนิรมิตรูปให้มีรัศมีสว่างไสวได้ทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้เป็น
    กรรมฐานสร้างทิพยจักษุญาณโดยตรง

    อากาสกสิณ สามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่ปกปิดไว้ได้ เหมือนของนั้นวางอยู่ในที่แจ้ง สถานที่ใดเป็นที่อับด้วยอากาศ สามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่ง มีอากาศสมบูรณ์เพียงพอแก่ ความต้องการได้

    คำสอน พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
     
  18. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    เเล้วกสิณโทษ ให้ผลเช่นไรหรือครับ
     
  19. เป็ดเซ็ง

    เป็ดเซ็ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +858
    kjkjkj
    อยากทำความเข้าใจกับทุกคนในเวปนะครับ ผมไม่ได้มีเจตนาล่วงเกิน แต่วิชาสมาธิต่างๆนั้น
    ไม่ใช่ว่าจะมีแต่วิชาของหลวงพ่อฤษี ท่านเดียว เกจิอาจารย์ ในประเทศไทยนั้นมีมากมาย และเยอะมาก วิชาต่างๆการฝึก จึงแตกต่างออกไป

    ถ้าจริง ขอเกจิอาจารย์ ที่ท่านว่า สัก ๕ ท่านซิ เอาแบบทุกคน ยอมรับ นะ และที่ว่าแตกต่าง แตกต่างยังไง อธิบายให้คนอื่นเข้าใจ ด้วยนะ

    การกินข้าว ก็ต้องเอาข้าวใส่ปาก จะเป็นอย่างอื่นไปได้ยังไง ท่านเชื่อ วิสุทธิมรรค มั้ย รับรองผมไม่เอา กาลามสูตร มาหักล้างแน่ เพราะไม่ใช่

    หากใส่ความว่าเที่ยวกล่าวหาว่า แบบนี้ผิดวิธีและแบบนี้ไม่ถูก โดยตัวท่านเองก็ไม่ฝึกวิชากสิณอยู่ ผมว่ามันก็ไม่สมควร หากปฏิบัติเห็นผลแล้ว จึงเอาความรู้ หรือประสบการณ์เหล่านั้นมาอธิบาย

    ท่านรู้ได้ไง ว่าใครฝึก ใครไม่ฝึก การอธิบาย ต้องอิงปริยัติ ไม่ใช่อิงตัวเอง ถ้าเกิดตัวเองปฏิบัติผิด แล้วมาอธิบาย แล้วจะถูกได้ยังไง

    จึงจะควรกว่า ดังหลักธรรม กาลามสูตร

    อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆกันมา

    อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆกันมา

    อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ

    อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา

    อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา

    อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา

    อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล

    อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน

    อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้

    อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นอาจารย์ของเรา

    เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล

    ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ

    ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

    เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้น

    จะเชื่อดีหรือไม่ ลองพิจารณากันดูครับ

    ถามว่า กาลามสูตร พระพุทธเจ้าสอนใคร จุดมุ่งหมายคือ อะไร
    ถามว่า ถ้ามีคนมาถาม เรื่อง ศิลห้า เรื่องกรรมฐาน หรือคนหลงทาง ที่เข้ามาถามทาง แล้วมีคนบอก ซึ่งเป็นคำถามง่าย ๆ .ถ้าท่านเอา กาลามสูตร มาอ้างโดยไม่ดูเหตุการณ์ จะถูกต้องไหม

    จะเชื่อดีหรือไม่ ลองพิจารณากันดูครับ (คัดลอก มาเฉย ๆ รู้ว่าไม่ควร)
    **********​
    กาลามสูตร แปลว่า พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล (เรียกว่า เกสปุตสูตร ก็มี<SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP>) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็น
     
  20. เป็ดเซ็ง

    เป็ดเซ็ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +858
    ท่านเอามาจากใหน ? ทำไม ออกนอก ปริยัติ ?
     

แชร์หน้านี้

Loading...