38.ท่องตามตำนาน ไหว้พระธาตุเมืองเหนือ

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 24 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ๓๘

    ท่องตามตำนาน ไหว้พระธาตุเมืองเหนือ


    ไม่รู้เป็นอะไร พอได้ไปเที่ยวเหนือก็จะต้องมีเหตุให้ได้ไปติดๆ กัน นี่ก็เพิ่งขึ้นไปเที่ยวจังหวัดเชียงรายกับจังหวัดเชียงใหม่เมื่อปลายปี ผ่านมา ๒ เดือน ได้ขึ้นไปเที่ยวเมืองเหนืออีกแล้ว ก่อนหน้าที่จะไปไหว้พระธาตุได้ปรึกษาพี่แอ๊ด วาสนา ว่าจะเขียนกระทู้แยกเป็นวันๆ วันละกระทู้แบบกระทู้ Pai Mini Stories แต่พอกลับจากไหว้พระธาตุมาแล้ว ปรากฎว่าจะเขียนแบบนั้นไม่ได้ เนื่องจากการไหว้พระธาตุส่วนใหญ่จะไหว้กันในวันแรก ส่วนวันที่สองกับวันที่สามจะเป็นการทำบุญผ้าป่ากับการอยู่บนรถเสียมากกว่าก็เลยแบ่งกระทู้ไม่ได้...

    ครั้งนี้เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า เผอิญไปได้แผ่นประชาสัมพันธ์จากคณะเมตตาบารมี ขอเชิญผู้สนใจร่วมสร้างบารมีต้นปี โดยร่วมเดินทางไปไหว้พระธาตุประจำปีเกิด ๙ พระธาตุ ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ จึงตกลงใจชวนคุณพ่อคุณแม่ไปทำบุญ เพราะว่าลำพังขับรถไปกันเองจะนั่งกันเมื่อย รถเก๋งคันไม่กว้าง ยืดแข้งยืดขาไม่สะดวก ซึ่งพาหนะเดินทางในครั้งนี้เป็นรถบัส V.I.P สองชั้น จำนวน ๕ คัน แต่ละคันจะมีพระวิทยากรประจำรถ และมีรถตำรวจนำขบวน

    วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ จุดนับพบอยู่ข้างโรงพยาบาลวชิระ ถนนสังคโลก สร้อยฟ้าฯ มาถึงเวลาประมาณเกือบสองทุ่ม โดยกำหนดการรถออกสามทุ่มให้ช้าได้ไม่เกิน ๑๕ นาที แต่พอถึงเวลาจริงๆ แล้ว ก็จะเกินเวลาไปตามระเบียบปฏิบัติ...


    เมื่อออกเดินทางได้สักพัก พระวิทยากรก็เริ่มบรรยายสถานที่ที่พวกเราจะไปกันและก็สวดมนต์ทำวัตรเย็น การเดินทางนี้ก็แวะปั๊มน้ำมันเป็นระยะๆ คงจะนึกภาพออกของความโกลาหลในการเข้าห้องน้ำ จอดรถทีเข้าห้องน้ำที ซื้อของที กว่าจะขึ้นรถกันครบก็ครั้งละเกือบครึ่งชั่วโมง จึงทำให้ต้องขับรถทำความเร็วกันบ้าง แต่ด้วยมีรถนำขบวนจึงค่อนข้างสะดวก รถที่วิ่งอยู่ข้างหน้าต้องหลบทางให้และติดไฟแดงไม่ค่อยเป็น... (เอ ดีหรือไม่ดีหล่ะเนี่ยะ เคยบ่นเรื่องนี้ไว้ในกระทู้ไหว้หลวงปู่ทวด วัดห้วยมงคล )


    เวลาหกโมงเช้าเศษๆของวันศุกร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ คณะของเราก็มาถึงจุดหมายแรกของการสร้างบุญบารมี สร้อยฟ้าฯ มาที่นี่ ๔ ครั้งแล้ว ก็คือ วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง ก็โม้ถึงประวัติของพระธาตุไปแล้วในกระทู้ก่อนๆ มาคราวนี้จะโม้เรื่องอะไรที่เกี่ยวกับพระธาตุลำปางหลวงดีหล่ะนี่ ??? แต่ว่าหลวงพี่ พระวิทยากร ท่านเล่าถึงเรื่องตำนานของพระธาตุลำปางหลวง...
    ดีหล่ะ นำมาลงดีกว่า ก่อนอื่นที่จะเล่าตำนาน ก็ขอเล่าถึงความเป็นมาของประเพณีการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดก่อน...


    a.jpg

    การไหว้พระธาตุประจำปีเกิดเป็นความเชื่อของชาวล้านนามาแต่โบราณ ซึ่งยึดถือเอาพระธาตุเป็นที่พึ่งและคุ้มครองตน ดังนั้นการไหว้บูชาพระธาตุทุกคืนจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ อีกทั้งยังถือกันว่าในชีวิตหนึ่งควรได้มีโอกาส ไปสักการบูชาสักครั้งให้เกิดความเป็นสิริมงคล มีอายุมั่นขวัญยืน ทั้งยังได้บุญอานิสงส์


    นอกจากนี้การไหว้พระธาตุตามปีเกิด ยังสัมพันธ์กับประเพณีการขึ้นพระธาตุทุกวันเดือนแปดเพ็ง ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนหกของภาคกลาง ในวันสำคัญนี้ชาวเหนือนิยมพากันไปนมัสการพระธาตุเจดีย์ ณ สถานที่สำคัญๆ เช่น พระธาตุดอยสุเทพที่จังหวัดเชียงใหม่ พระธาตุหริภุญชัยที่จังหวัดลำพูน พระธาตุลำปางหลวงที่จังหวัดลำปาง พระธาตุดอยกองมูที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น รวมทั้งพระเจดีย์หรือวัดทุกหนทุกแห่งที่อยู่ใกล้บ้าน


    a.jpg

    ความเชื่อแต่โบราณนั้นคนล้านนาเชื่อว่า ก่อนที่คนเราจะปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดานั้นดวงวิญญาณจะต้องมา 'ชุ' (คนเหนืออ่านว่า จุ๊ แปลว่าพัก หรือบรรจุ) อยู่ที่พระธาตุประจำตัวก่อน โดยมี 'ตัวเปิ้ง' นำมาเมื่อได้เวลา วิญญาณก็จะไปสถิตย์อยู่ที่กระหม่อมของบิดาเป็นเวลา ๗ วัน แล้วจึงเคลื่อนสู่ครรภ์มารดาแล้วก็คลอดออกมา
    จนเมื่อสิ้นอายุขัยแล้ว ดวงวิญญาณก็จะกลับไป 'ชุ' อยู่ที่พระธาตุประจำตัวของตนตามเดิมก่อนที่จะกลับไปเกิดในภพภูมิตามบุญกรรมที่ต่างทำมา




    นี่เป็นตำนานความเชื่อของชาวล้านนาเกี่ยวกับพระธาตุ ย้อนกลับมาว่ากันเรื่อง ตำนานพระธาตุลำปางหลวงกันต่อ........



    ......................................

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1381118/[/MUSIC]
    ......................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2023
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    a.jpg


    วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีเป้า ปีฉลู(วัว)

    ตำนานกล่าวว่าในสมัยพุทธกาลสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระอรหันต์๓องค์ กับพระอานนท์เถระรวมเป็น ๔พระองค์ พร้อมทั้งพระเจ้าปเสนทิตามเสด็จมาโปรดบ้านน้อยเมืองใหญ่ทั้งหลาย เมื่อเสด็จมาถึงบ้านลัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธองค์ได้ประทับ ณ ดอยม่อนน้อย (เขาเตี้ย) มีชาวบ้านชื่อลั๊วะอ้ายกอน มีความเลื่อมใสนำเอานึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้าง (ไม้ข้างหลามไม้เปราะ) มะพร้าวและมะตูมอย่างละ ๔ลูก มาน้อมถวายพระพุทธองค์รับเอาแล้วจึงส่งมอบกระบอกน้ำผึ้งนั้นแก่พระอานนท์เถระเจ้าไปกองลงบาตร แล้วพระองค์จึงได้ฉันน้ำเสร็จแล้วพระองค์จึงทิ้งกระบอกไม้นั้นตกไปทางทิศเหนือ พระองค์จึงพยากรณ์ว่า สถานที่นี้จะมีผู้มาสร้างเมืองที่มี ชื่อว่า “ลัมภะกัปปะนคร” แล้วต่อจากนั้นพระองค์ก็ยกพระหัตถ์ข้างขวาขึ้นลูบพระเศียรได้พระเกศา ๑เส้นติดพระหัตถ์มา แล้วพระองค์มอบลั๊วอ้ายกอน ลั๊วอ้ายก้อนรับพระเกศาด้วยความโสมนัสแล้วจึงนำลงบรรจุในผอบทองคำ แล้วขุดหลุมกว้าง ๕ วา ลึก ๕ วา อัญเชิญผอบเกศาลงไปประดิษฐานท่ามกลางหลุมนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสพยากรณ์ว่า เมื่อตถาคตปรินิพานแล้ว ๒๑๘ปี จักมีพระอรหันต์ ๒องค์นำพระอัฐิลำคอข้างหน้าหลัง และพระนลาฏข้างขวาของตถาคตมาบรรจุไว้ที่นี้อีก เจดีย์นี้จักปรากฏเป็นเจดีย์ทองคำชื่อว่า “ลัมภะกัปปะ” แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสร็จจาริกไปตามบ้านน้อยเมืองใหญ่ต่อไป ต่อมาเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพานไปแล้ว ๒๑๘ปี พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชแห่งชมพูทวีปได้มีศรัทธาสร้างเจดีเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๘๔,๐๐๐องค์ และพระวิหาร ๘๔,๐๐๐หลังเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและ ได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้พระเถระเจ้านำไปประดิษฐานตามที่ต่างๆ พระกุมารกัสสปะเถระเจ้ากับ พระเมฆิยะเถระเจ้าได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานไว้ที่พระเจดีย์ลัมภะกับปะนคร (วัดพระธาตุลำปางหลวง) และมีเรื่องเล่าว่ามีพระเถระชาวเชียงใหม่ ๒ รูปได้จาริกไปอยุธยาเพื่อนมัสการ พระบรมสารีริกธาตุที่เมืองอยุธยา พระเถระเจ้าเมืองอยุธยาบอกแก่พระเถระชาวเชียงใหม่ว่าทางเหนือมีมากกว่าและที่มีมากคือที่เมืองหริภุญชัยและลัมภะกัปนคร พระเถระชาวเชียงใหม่กล่าวว่า พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่มีในหริภุญชัยนั้นตูข้ารู้อยู่ ส่วนที่มีที่ลัมภะกัปปะนครนั้น ยังไม่รู้มาก่อนเลย

    a.jpg



    คำบูชา
    ยาปาตุภูตา อะตุลานุภาวาจีรัง ปะติฎฐาลัมภะ กัปปะปุเร เทเวนะ คุตตา อุตตุราภิทัยยา นะมามิ
    หันตัง วะระชินะธาตุง กุมาระกัสสะปะ นะลาตะธาตุโย เมฆิยะมะหาเถโร กะนะธาตุง
    ฐะเปติ มหาฐาเน เจติยัง ปูชิตา นะระเทเวหิ อะหังวันทามิ ธาตุโย

    a.jpg

    ลงจากพระธาตุลำปางหลวงมาได้ประมาณ ๙ โมงเช้าเศษ หาอะไรลองท้องก่อนหิวมากอยู่...


    การถ่ายรูปล็อตแรกหมดไปจึงรู้ได้ว่า คณะนี้เขามาไหว้พระธาตุจริงๆ อะไรๆ ก็จะตรงดิ่งมาที่พระธาตุก่อนแล้วคณะหลวงพี่ก็จะนำสวดมนต์และเดินเวียนไหว้พระธาตุ แต่มีเหตุติดขัดนิดหน่อยเพราะว่าวันนี้เป็นวันมาฆบูชา จึงมีคนเยอะ กลุ่มก็เลยค่อนข้างจะแตกกระจาย หลวงพี่จึงพาชมพระวิหารก่อน สักพักจึงรวมตัวกันได้ที่หน้าพระธาตุ แต่สร้อยฟ้าฯ ไม่ได้ร่วมกับคณะด้วยเพราะจะช้า จึงได้ไหว้และเดินเวียนพระธาตุก่อนเลย แล้วก็ไล่เก็บรูป ซึ่งทางคณะฯ จะมีคนเดินถ่ายรูปอยู่ไม่กี่คนจะเป็นพวกวัยรุ่น ผู้สูงวัยก็ไหว้พระไป ดังนั้น สร้อยฟ้าฯ จึงต้องรีบไหว้รีบเดินรีบถ่ายภาพ ไม่อย่างนั้นจะไม่ทันกับชาวคณะฯ


    ..................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7109_1a.jpg
      IMG_7109_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      335.4 KB
      เปิดดู:
      3,277
    • IMG_7126_1a.jpg
      IMG_7126_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      448 KB
      เปิดดู:
      3,260
    • IMG_7131_1a.jpg
      IMG_7131_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      408.8 KB
      เปิดดู:
      3,185
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2023
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    จากจังหวัดลำปางสู่จังหวัดเชียงใหม่จะต้องผ่านจังหวัดลำพูน ที่จังหวัดลำพูนนี้ก็จะมีพระธาตุประจำปีเกิดอีกหนึ่งพระธาตุที่คณะของเราจะแวะกัน และพระธาตุแห่งนี้ สร้อยฟ้าฯ เคยมาแล้วหนึ่งครั้งเมื่อคราวเขียนกระทู้ Pai Mini Stories หลายๆ คนคงพอจะเดาได้นั่นก็คือ วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร


    a.jpg

    ตอนที่คณะของเรามาถึงนี้ทางวัดกำลังมีงาน “เบิกฟ้าหริภุญชัย ๑,๓๕๔ ปี วิถีวัฒนธรรม” ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ที่บริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัย, จวนผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน, กาดขัวมุง,สวนเฉลิมพระเกียรติริมแม่น้ำกวง, พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว และบริเวณพิพิธภัณฑ์ ชุมชนเมือง ด้านหลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญชัย การจัดงานเป็นความร่วมมือของกรมส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมกับจังหวัดลำพูน เพื่อมุ่งอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ มีความโดดเด่นของมรดกวัฒนธรรมล้านนา ในงานจะมีการแสดงภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดมาแต่โบราณกาล การแสดงและสาธิตงานศิลปหัตถกรรม เช่น การทอผ้ายกดอก, การแกะสลัก, การทำร่มกระดาษ, การทำพัดใบตาล, การจำลองวิถีชีวิตกลุ่มชนชาติพื้นเมือง ไทยอง, ไทลื้อ, ไทยวน, มอญ, กะเหรี่ยง การแสดงฟ้อนรำและดนตรีพื้นบ้าน ตอนนี้คณะของเราต้องหยุดชะงักสักเล็กน้อยเพราะกำลังมีการแสดงฟ้อนของนักเรียน สร้อยฟ้าฯ เก็บภาพมาได้หน่อยเดียวเนื่องจากไทยมุงและช่างภาพคนอื่นก็ไม่สนใจเลยว่ามีใครยืนถ่ายภาพอยู่ใกล้ๆ บ้าง เรียกได้ว่า ข้าถ่ายคนเดียวไม่แบ่งพื้นที่ให้ใคร สร้อยฟ้าฯ ก็เลยเดินเข้าไปไหว้พระธาตุดีกว่า...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7174_1a.jpg
      IMG_7174_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      429.7 KB
      เปิดดู:
      3,960
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2023
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    a.jpg

    วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร เป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีเล้า ปีระกา(ไก่)


    ตำนานมูลศาสนากล่าวว่า เมื่อครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาบิณฑบาตยังชัยภูมิแห่งหนึ่งซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ของชาวเม็งเมื่อรับบิณฑบาตแล้วได้เสด็จเลียบฝั่งแม่น้ำระมิงค์ขึ้นไปทางทิศเหนือจนถึงสถานที่แห่งหนึ่ง พระพุทธองค์มีพระราชประสงค์ ที่ประทับนั่งก็ปรากฏหินก้อนหนึ่งโผล่ขึ้นมาจากพื้นดิน พระพุทธองค์ทรงวางบาตรแล้วประทับหินก้อนนั้น ในขณะเดียวกันก็มีพระยาชมพูนาคราชและพระยากาเผือกออกมาอุปฐากพระองค์ มีชาวลัวะผู้หนึ่งนำหมากสมอมาถวายพระองค์ เมื่อเสวยเสร็จแล้วทรงทิ้งเมล็ดหมากสมอลงบนพื้นดิน เมล็ดหมากสมอได้ทำปทักษิณ ๓ รอบ

    a.jpg

    พระพุทธองค์ทรงมีพุทธทำนายว่าสถานที่แห่งนี้ต่อไปในอนาคตจะเป็นที่ตั้งของ "นครหริภุญชัยบุรี" และสถานที่แห่งนี้ยังจะเป็นที่ประดิษฐาน "พระสุวรรณเจดีย์" หลังจากที่พระองค์นิพพานแล้วจะมี พระบรมสารีริกธาตุเป็นต้นว่า ธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือและธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง มาประดิษฐานอยู่ ณ ที่นี้ด้วย หลังจากทรงมีพุทธพยากรณ์แล้ว พระอรหันต์ พระยาอโศกชมพูนาคราช และพระยากาเผือกจึงพร้อมกันกราบบังคมทูลขอ พระเกศาธาตุ จากพระพุทธองค์ๆ ทรงใช้พระหัตถ์ เบื้องขวาลูบพระเศียร ประทานให้เส้นหนึ่งพระอรหันต์และพระยาทั้งสามได้นำเอาพระเกศาธาตุ บรรจุไว้ในกระบอกไม้รวกแล้ว นำไปบรรจุ ในโกศแก้วใหญ่ ๓ กำนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำใต้ที่ประทับนั้น พระพุทธองค์พร้อมด้วย พระอรหันต์ทั้งหลายจึงเสด็จกลับพาราณสี ส่วนหินที่พระพุทธองค์ประทับนั้นก็จมลงไปในแผ่นดินดังเดิมโดยชมพูนาคราชและ พระยากาเผือกได้ทำหน้าที่เฝ้าพระเกศาธาตุนั้น


    กาลเวลาล่วงมาจนถึงปีจุลศักราช ๒๓๘ พระพุทธศาสนาล่วงไปได้ ๑,๔๒๐ ปี พระยาอาทิตยราชได้ครองเมืองหริภุญชัย พระองค์โปรดให้สร้างปราสาทราชมณเฑียรเป็นที่ประทับครั้นเสร็จแล้วพระองค์ก็เข้าประทับอยู่ภายในปราสาทราชมณเฑียรแห่งนั้น อยู่มาวันหนึ่งพระองค์เสด็จไปสู่วลัญชนฐาน ปรากฏมีกาตัวหนึ่งได้บินโฉบลงมาเป็นทำนองกันไม่ให้พระองค์เข้าไปถึงฐานนั้นได้ ด้วยความกริ้วพระองค์จึงต้องย้ายไปใช้ฐานอื่น และทรงมีกระแสรับสั่งให้จับกาตัวการนั้นมาฆ่าเสีย แต่เทวดาได้ดลใจให้อำมาตย์ ผู้หนึ่งทัดทานไว้เพราะสงสัยในพฤติการณ์ของกานั่นเอง

    a.jpg

    คืนนั้นยามใกล้รุ่ง เทวดาผู้รักษาพระเกศาธาตุได้สำแดงฤทธิ์มาในพระสุบินถวายคำแนะนำให้พระองค์นำทารกมาอยู่กับกา ๗ วันและอยู่กับคน ๗ วัน เป็นเวลา ๗ ปี เมื่อถึงเวลานั้นเด็กก็จะสามารถแปลภาษากาให้คนได้รับทราบเหตุการณ์อันเป็นปริศนานั้นได้โดยชัดแจ้ง พระยาอาทิตยราชจึงทรงทราบเรื่องราวเกี่ยวกับพระเกศาธาตุโดยละเอียด พระยาอาทิตย์จึงโปรดให้เชิญพระยากาเผือกมาสู่ปราสาทแห่งพระองค์ โดยพระองค์โปรดให้จัดสถานที่สำหรับต้อนรับพระยากาเผือกอย่างสมฐานะพระยาแห่งกาทั้งปวง พระยากาเผือกจึงเล่าความเป็นมาถวายทุกประการพระยาอาทิตยราชทรงมีพระราชหฤทัยอภิรมย์ยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงตรัสสั่งให้รื้อราชมณเฑียรทั้งปวงออกไปจากสถานที่แห่งนั้นจนหมดสิ้น แล้วโปรดให้ปรับพื้นที่อันเป็นมงคลนั้นให้เรียบงามตา พระองค์โปรดให้พระสงฆ์สวดพระปริตตมงคลเพื่ออาราธนาพระบรมธาตุให้ออกมาปรากฏ พระธาตุเจ้าจึงสำแดงฤทธาภินิหารผล่ขึ้นมาพ้นแผ่นดินทั้งโกศแก้วลอยขึ้นไปในอากาศสูงเท่าต้นตาล พระบรมธาตุได้เปล่งฉัพพัณรังสีเจิดจ้าไปทั่วนครหริภุญชัยเป็นเวลา ๗ เวลา ๗ คืน แล้วจึงลอยลงมาประดิษฐานบนแผ่นดินดังเดิม พระยาอาทิตย์โปรดให้ขุดเอาโกศบรรจุพระธาตุขึ้นมา แต่ทว่ายิ่งขุดโกศนั้นก็ยิ่งจมลงไป พระองค์จึงต้องบูชาอาราธนาพระธาตุจึงได้ยอมลอยขึ้นมาสูงจากพื้นดินถึง ๓ ศอก


    พระยาอาทิตยราชโปรดให้สร้างโกศทองคำหนัก ๓,๐๐๐ คำ สูง ๓ ศอกประดับประดาไปด้วยแก้วทั้ง ๗ ประการครอบโกศพระธาตุของพระพุทธเจ้านั้น แล้วโปรดให้สร้างมณฑปปราสาทสำหรับประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้าดังข้อความที่กล่าวไว้ในตำนาน มูลศาสนา ดังนี้ " พระยาอาทิตตราชก็ให้เอาหินมาเพื่อจักก่อให้เป็นเจดีย์ ครั้นได้หินมาบริบูรณ์แล้วจึงให้หานักปราชญ์มาพิจารณาดูวันยาม ฉายาฤกษ์อันเป็นมงคล ครั้นได้ฤกษ์แล้วพระยาก็แบกหินอันเป็นมงคลนั้นมาก่อในท่ามกลาง เพื่อจักให้ก่อก่อนสำหรับเป็นที่รอง โกศธาตุพระพุทธเจ้า ทั้งหลายนั้นแลครั้นพระยาหยิบหินก้อนนั้นยอขึ้น ก็ให้ประโคมดุริยดนตรีเป็นมงคลเสียงอึงมี่นัก เป็นดังเมฆอันพัดกันในท้องฟ้าฉะนั้น ก็เป็นอันดังกึกก้องทั่วเมืองหริภุญไชยทั้งมวลนั้น พระยาก็ให้ก่อในที่หนึ่งแล้วก็ให้ก่อเป็น ๔ เสาดังปราสาทสูงได้ ๑๒ ศอก ให้เป็นประตู โค้งทั้ง ๔ ด้าน อยู่ภายนอกโกศธาตุเจดีย์นั้นแล ในเมื่อธาตุเจดีย์เสร็จพร้อมทุกอันแล้ว พระยาก็ให้ฉลองเจดีย์มีเครื่องพร้อม ทุกอัน กระทำบูชาอยู่ถ้วย ๗ วัน ๗ คืน "

    a.jpg

    ในสมัยของพระยาสรรพสิทธิ์ พระองค์โปรดให้สร้างมณฑปองค์หนึ่งสูงได้ ๒๔ ศอก ครอบมณฑปองค์เดิมที่พระยาอาทิตยราช สร้างไว้ ต่อมาเมื่อพระยามังรายมาครองเมืองลำพูน พระองค์โปรดให้ก่อเจดีย์ครอบมณฑปที่พระยาสรรพสิทธิ์สร้าง เจดีย์องค์นี้เป็น เจดีย์ทรงกลมมีความสูงถึง ๗๐ ศอกตลอดทั้งองค์เจดีย์ได้มีการหุ้มด้วยแผ่นทอง


    เมื่อพระยากือนาขึ้นปกครองเมืองเชียงใหม่พระองค์ได้ปฏิบัติตามราชประเพณีที่จะต้องทำนุบำรุงพระบรมธาตุเช่นที่พระบูรพกษัตริย์ทุกพระองค์ทรงปฏิบัติสืบต่อกันมา พระองค์ทรงตั้งสัตยอธิษฐานปล่อยช้างพลายมงคลเชือกหนึ่งชื่อ "ผู้ไชยหนองแขม" ให้ออกไปหาดินแดนถวายพระธาตุ โดยกำหนดเอาตามเส้นทางที่ช้างเชือกนี้ออกหากินได้ดินแดนถวายแก่องค์พระธาตุมากมายดังนี้ " ช้างเชือกนั้นก็กระหวัดแปรไปทิศใต้ฟากน้ำแม่ระมิงค์ด้านตะวันตกไปถึงสบล้องงัวเฒ่า เกี้ยวไปข้ามสบแม่ทาน้อยแผวแสน ข้าวน้อย (ฉางข้าวน้อย) ฟากน้ำแม่ทาฝายตะวันตกถึงหนองสร้อยและสบห้วยปลายปืน แล้วไปกิ่วปลีดอย ละคะแล้วถึงบ้านยางเพียง ไปดอยถ้าโหยดดอยเก็ดสอง ขุนแม ขุนกอง ลงไปถึงแม่ขุนยอด ไปม่อนมหากัจจายน์ ฝายเวียงทะมอฝายตะวันตก เกี้ยวขึ้นมาทาง แปหลวงมาผีปันน้ำ ถึงกิ่วขามป้อมหินฝั่งถึงขุนแม่อี่เราะแล้วไปถึงขุนแม่ลาน ลงมาแม่ออนล่องแม่ออนมาถึงสบแม่ออน แล้วกินผ่าเวียงกุมกาม กลับมาถึงป่า จรดกับปล่อยตอนแรก" ในสมัยของพระเจ้าติโลกราช พระองค์โปรดให้ก่อพระมหาเจดีย์เจ้าองค์หนึ่งโดยพระองค์ ทรงเป็นองค์ประธานร่วมกับพระมหาธังกร การก่อสร้างเริ่มขึ้นในในปีดับเปล้า (ปีฉลู) เดือน ๘ (เหนือ) ออกค่ำ (แรมหนึ่งค่ำ) วันพุธ พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๒๒ ชื่อ อุตราสาฒ จนถึงปีรวายยี (ปีขาล) จุลศักราช ๘๐๘ พระพุทธศานาล่วงแล้วได้ ๑,๙๙๐ ปี เดือนวิสาขะออก ๓ ค่ำ วันอังคาร ไทยยกสง้านับได้ ๖ เดือน จึงสำเร็จบริบูรณ์ พระเจดีย์องค์นี้ตีนฐานมนกว้าง ๑๒ วาครึ่ง สูงแต่ใจกลางขึ้นไป ๓๒ วา มีฉัตร ๗ ใบเมื่อเสร็จแล้วก็โปรดให้มีการสวด ปริตตมงคลและพุทธาภิเษกฉลองอบรมพระมหาเจดีย์องค์นี้ และจัดให้มีการมหรสพฉลอง ๗ วัน ๗ คืน

    ในปี ๒๔๗๒ เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครคนที่ ๑๐ ได้อารธนา ครูบาธรรมชัย วัดประตูป่า มาทำการรื้อทองจังโกที่หุ้มองค์พระธาตุมาแต่เดิมออก และทำการบูรณะใหม่โดยการหุ้มแผ่นทองเหลืององค์พระธาตุตลอดทั้งองค์ แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี ๒๕๐๐ในปี ๒๔๘๑ ได้มีการว่าจ้างช่างทองมาทำการหลอมไล่เอาทองคำแยกออกจากแผ่นทองจังโก เพื่อนำออกขายนำเงินมาเก็บเป็นสมบัติของพระธาตุเงินส่วนหนึ่งนั้นได้มีการนำไปซื้อที่ดินบริเวณห้องแถวตลาดสดเก่ากลางเมืองลำพูน เพื่อใช้สำหรับเก็บผลประโยชน์สำหรับมาบำรุงพระธาตุ องค์พระบรมธาตุหริภุญชัยมีรั้วทองเหลืองล้อมรอบ ๒ ชั้นทั้งสี่ด้าน รั้วดั้งเดิมนั้น พระเมืองแก้วโปรดให้นำมาจากเมืองเชียงแสนต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๒๙ พระเจ้ากาวิละได้มาบูรณะใหม่พร้อมกับให้สร้างฉัตรหลวงตั้งไว้ที่มุมทั้งสี่ของรั้วที่ล้อมองค์พระธาตุ

    a.jpg
    ในปี พ.ศ.๒๓๓๔ พระเจ้ากาวิละได้พร้อมใจกับน้องของท่านทุกคนได้ร่วมกันสร้าง หอยอประจำทิศทั้ง ๔ ด้าน และได้หล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งเพื่อประดิษฐานไว้ในวิหาร ด้านเหนือพระธาตุเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรให้ชื่อว่าพระละโว้ ภายในเขตพุทธาวาสยังมีเจดีย์อีกองค์หนึ่งก่อด้วยอิฐทรงสี่เหลี่ยมคล้ายกับเจดีย์มหาพลที่วัดจามเทวี เจดีย์องค์นี้มีชื่อเรียกว่า " เจดีย์ปทุมวดี " โดยเรียกตามพระนามของผู้สร้างคือพระนางปทุมวดีอัครมเหสี ของพระยาอาทิตยราช นอกจากนั้นเจดีย์องค์นี้ ยังมีชื่อเรียกตามตำนานอีกชื่อหนึ่งว่า " สุวรรณเจดีย์ " เนื่องจากว่าเดิมทีนั้น เจดีย์องค์นี้ หุ้มด้วยแผ่นทองทั้งองค์ ปัจจุบันคงเหลือให้เห็นบ้างที่ยอดของเจดีย์เท่านั้น เจดีย์องค์นี้ได้รับการบูรณะโดย กรมศิลปากรแล้ว ครั้งนั้นมีการขุดที่ฐาน ของเจดีย์เพื่อเสริมรากฐานให้มั่นคง ปรากกฏว่าได้ค้นพบพระพิมพ์ ที่ใต้ฐานของเจดีย์มากมายเป็นพระพิมพ์ที่เป็นศิลปะแบบหริภุญชัย มีขนาดค่อนข้างใหญ่ที่เรียกกันทั่วไปว่า พระเปิม ใกล้ๆ กันกับเจดีย์ปทุมวดีมีสถาปัตยกรรมที่สำคัญ คือวิหารพระพุทธไสยยาสน์ซึ่งอยู่ด้านตะวันออก ของเจดีย์ปทุมวดี ปัจจุบันได้รับการบูรณะเรียบร้อยแล้ว ด้านตะวันตก ของเจดีย์ปทุมวดีนั้นเป็นวิหารพระกลักเกลือ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ก่อด้วยอิฐถือปูน ที่นับว่าแปลกตา คือเป็นพระพุทธรูปที่ห่มคลุมด้วยผ้าสีแดง ชาวบ้านจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระเจ้าแดง สันนิษฐานว่าพระกลักเกลือองค์นี้คงจะสร้างขึ้นมาทดแทนองค์เดิมที่พังทลายลง ด้านใต้ของเจดีย์ปทุมวดีมีวิหารพระเจ้าพันตน ปัจจุบันได้รับการบูรณะใหม่เช่นเดียวกับวิหารพระพุทธไสยยาสน์


    คำบูชา
    สุวัณณะเจติยัง หะริภุญชะยัฐฐัง วะระโมลีธารัง อุรัฎฐิเสฎฐัง
    สะหะอังคุลิฎฐิง กัจจายะเนนา นิตะปัตตัปปะการัง สีเสนะ มัยหัง ปะระมามิธาตุง

    อะหัง วันทามิ สัพพะทา

    ..................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7179_1a.jpg
      IMG_7179_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      391.2 KB
      เปิดดู:
      2,841
    • IMG_7181_1a.jpg
      IMG_7181_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      384.3 KB
      เปิดดู:
      2,740
    • IMG_7184_1a.jpg
      IMG_7184_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      347.3 KB
      เปิดดู:
      2,661
    • IMG_7189_1a.jpg
      IMG_7189_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      353.6 KB
      เปิดดู:
      3,643
    • IMG_7195_1a.jpg
      IMG_7195_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      582 KB
      เปิดดู:
      2,959
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2023
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ได้เวลาเกือบสิบเอ็ดโมงเช้า ต่างคนก็ต่างค่อยๆ ทะยอยมาขึ้นรถ แต่มีพี่ของสร้อยฟ้าฯ คนนึงแยกตัวออกไปปฏิบัติภารกิจที่ตั้งใจมานานเหลือเกินว่าจะต้องมาไหว้พระราชานุสารีย์พระแม่เจ้าจามเทวีให้ได้ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดนัก วันนี้ได้มาไหว้อย่างที่ตั้งใจไว้แล้วเห็นว่าเป่าปี่ไปหนึ่งรอบ ๕๕๕+ ...

    คนครบแล้วคณะของเราก็ออกเดินทางมุ่งสู่จังหวัดเชียงใหม่ ใช้เวลาไม่นานนักก็เข้าสู่เขตจังหวัดเชียงใหม่ และพระธาตุต่อไปที่เราจะไปกันนั้น สร้อยฟ้าฯ ไม่เคยไปมาก่อนก็เป็นครั้งแรกที่มาไหว้ก็คือวัดพระธาตุศรีจอมทอง ตอนนี้เวลาเที่ยงแล้ว พระอาทิตย์ตรงศีรษะแดดร้อนเปรี้ยง ผู้คนมาทำบุญแน่นขนัดเลยหล่ะ สร้อยฟ้าฯ แพ้แสงแดดแรงๆ ตาจะหยีมองอะไรก็แสบตาไปหมด ยิ่งแสงแดดกระทบพระธาตุสะท้อนแสงเหลืองอร่ามงามตาแทบจะต้องหลับตาเลย อาการหวัดแดดก็เริ่ม จามไปหลายรอบฉันจะไหวไหมเนี่ยะ...


    a.jpg

    วัดพระธาตุศรีจอมทอง เป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีใจ้ ปีชวด(หนู)

    ตามตำนานเล่าว่า ดอยจอมทอง หรือ ดอยศรีจอมทองนั้น ได้แก่ที่ตั้งของวัดพระธาตุศรีจอมทองในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาดินสูงจากระดับที่พื้นราบอื่น ๆ ในบริเวณนั้น ที่ตั้งพระวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้าจอมทอง จะเป็นยอดของดอยลูกนี้ในสมัยพุทธกาล และมีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อว่า “ เมืองอังครัฏฐะ ” มีเจ้าผู้ครองเมืองนั้นามว่า พระยาอังครัฎฐะ ซึ่งเมืองนี้ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับดอยจอมทองลูกนี้ ซึ่งพระยาอังครัฎฐะนั้นได้ทราบข่าวจากพ่อค้าที่มาจากอินเดียว่า “ บัดนี้พระพุทธเจ้าได้บังเกิดในโลกแล้ว เวลานี้ประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ในประเทศอินเดีย ” จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณแล้ว จึงเสด็จสู่เมืองอังครัฏฐะพร้อมด้วยภิกษุสาวกทางอากาศ ได้มารับอาหารบิณฑบาตจาก พระยาอังครัฏฐะ และทรงแสดงธรรมโปรดพร้อมทั้งได้ตรัสพยากรณ์ไว้ว่า “ เมื่อเรานิพพาน แล้วธาตุพระเศียรเบื้องขวา( พระทักษิณโมลี ) ของเราจักมาประดิษฐานอยู่ ณ ที่ดอยจอมทองแห่งนี้ ” แล้วเสด็จกลับส่วน พระยาอังครัฏฐะเมื่อได้ทราบจากคำพยากรณ์นั้นแล้ว จึงได้สร้างสถูปไว้บนยอดดอยจอมทอง ด้วยหวังว่าจะให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุตามที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้นั้น พระยาอังครัฎฐะอยู่ครองราชย์จนสิ้นพระชนม์มายุของพระองค์

    ต่อมาภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว โทณพราหมณ์ได้จัดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่กษัตริย์ทั้ง ๘ นคร ซึ่งในครั้งนั้น มัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราทรงได้พระทักษิณโมลีธาตุไว้ พระมหากัสสปะเถระเจ้าประธานฝ่ายสงฆ์ จึงได้กราบทูลมัลลกษัตริย์ถึงพุทธพยากรณ์ที่พุทธองค์เคยตรัสไว้ มัลลกษัตริย์ทราบดังนั้นจึงถวายพระบรมธาตุแด่พระมหากัสสปะเถระ ซึ่งท่านก็ได้อัญเชิญพระบรมธาตุวางไว้บนฝ่ามือ แล้วอธิษฐานอาราธนาพระบรมธาตุให้เสด็จไปยังดอยจอมทอง เพื่อประทับอยู่ในโกศแก้วอินทนิลภายในเจดีย์ทองคำ ที่พญาอังครัฎฐะได้สร้างถวายไว้ อยู่ที่ยอดดอยจอมทอง ตามที่พระพุทธองค์ได้พยากรณ์ไว้


    กาลหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้วได้ ๒๑๘ ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ได้เสด็จไปสู่ดอยจอมทอง และทรงได้สั่งขุดคูหาให้เป็นอุโมงค์ใต้พื้นดอยจอมทอง แล้วให้สร้างสถูปทองคำไว้ภายในคูหาและยังหล่อพระพุทธรูปทั้งเงินและทอง ตั้งไว้รอบสถูปนั้นแล้ว เอาพระบรมธาตุเจ้าที่อยู่ในสถูป ที่พระยาอังครัฏฐะให้สร้างไว้บนยอดดอยนั้น เข้าไปไว้ในสถูปที่สร้างใหม่ในคูหาใต้พื้นดอยจอมทองแล้วรับสั่งให้เอาก้อนหินปิดปากถ้ำคูหาเอาไว้ แล้วทรงอธิษฐานว่า “ ต่อไปข้างหน้า ถ้ามีพระเจ้าแผ่นดินและศรัทธาประชาชน มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ขอให้พระบรมธาตุเจ้าเสด็จออกมาปรากฏแก่ผู้ชนให้ได้กราบไหว้สักการบูชา แล้วพระองค์จึงเสด็จกลับเมืองปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย


    a.jpg

    เมื่อ พ.ศ.๑๙๙๔สามีภรรยาคู่หนึ่งชื่อนายสร้อยและนางเม็ง ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ดอยจอมทองและเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง สามีภรรยาทั้งคู่ได้แผ้วถางบริเวณยอดดอยพร้อมทั้งสร้างเจดีย์และพระพุทธรูป ๒ องค์ ไว้บนดอยจอมทองซึ่งผู้คนได้พบเห็นจึงเรียกว่า ” วัดศรีจอมทอง ” การสร้างวัดยังไม่เสร็จดี นายสร้อย นางเม็ง ก็ได้ถึงแก่กรรมไปเสียก่อน ต่อมาถึง พ.ศ. ๒๐๐๙ มีชายสองคน ชื่อ สิบเงิน และ สิบถัว ได้ช่วยกันบูรณะก่อสร้างวัดศรีจอมทอง ให้เป็นรูปเป็นร่าง มีพระวิหารมุงด้วยคาหลังหนึ่ง และได้นิมนต์พระภิกษุชื่อ “สริปุตต์เถระ” มาเป็นเจ้าอาวาสและท่านเจ้าอาวาสก็ได้ปฎิสังขรณ์วิหารให้มั่นคงแข็งแรงใช้ไม้ระแนงและกระเบื้องมุงหลังคา หลังจากที่เจ้าอาวาสได้มรณภาพไป ต่อจากนั้นก็มีเจ้าอาวาสองค์ต่อๆมาได้สร้างปราสาทเฟื่องและระเบียงหน้ามุขหลังวิหาร เพื่อเป็นที่ไว้พระพุทธรูปและยังก่อกำแพงรอบพระวิหารทั้ง ๔ด้าน พร้อมทั้งสร้างกุฎิเป็นที่พักอาศัยของพระภิกษุและก็ช่วยบูรณะปฎิสังขรณ์วัดอยู่เสมอ


    กาลล่วงมาถึง พ.ศ. ๒๐๔๒ สมัยนี้มี พระธัมมปัญโญเถระเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง ได้มีตาปะขาวคนหนึ่งอาศัยอยู่ที่วัดนั้นเกิดนิมิตฝันว่า เทวดาได้มาบอกว่าใต้พื้นวิหารบนยอดดอยที่ตั้งของวัดนี้มีพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าและพระบรมธาตุนั้นจักเสด็จออกมาให้ฝูงชนได้กราบไหว้สักการะบูชาต่อไป ตาปะขาวจึงได้ไปเล่าความฝันนั้นให้แก่เจ้าอาวาสฟัง เจ้าอาวาสจึงได้ทำการอธิษฐานจิตว่า “ถ้ามีจริงดังความฝันนั้น ขอให้พระบรมธาตุจงได้เสด็จออกมา ในเมื่อข้าพเจ้ายังมีชีวิตอยู่นี้เถิด ขอข้าพเจ้าจงได้ไหว้สักการบูชาพระบรมธาตุนั้น เมื่อข้าพเจ้ายังไม่ได้เห็นและได้สักการบูชาแล้ว ขออย่าให้ข้าพเจ้าสิ้นชีวิตไปเสียก่อนเลย ” ครั้นอธิษฐานแล้ว จนล่วงมาถึงปีจุลศักราช ๘๖๑ ปีพ.ศ.๒๐๔๒ เดือน ๔ ขึ้น ๑๔ ค่ำ พระบรมธาตุเจ้าก็เสด็จออกจากพระสถูปทองคำ ซึ่งก็แสดงปฎิหาริย์เป็นมหัศจรรย์ต่างให้ปรากฏแก่คนทั้งหลาย แล้วในวันรุ่งขึ้นพระธัมมปัญโญเถระกับตาปะขาวก็ได้พบพระบรมธาตุเจ้าอยู่ในรูพระเกศโมลีของพระพุทธรูป ซึ่งตั้งประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารนั้น จึงได้เก็บรักษากันไว้โดยเงียบ ๆ และรู้กันเพียงแค่ตาปะขาวและเจ้าอาวาสเท่านั้น


    เมื่อพระบรมธาตุเสด็จออกมาจากคูหา ปรากฏแก่คนภายนอกแล้ว พระธัมมปัญโญเถระเป็นเจ้าอาวาส ได้เก็บพระธาตุรักษาไว้ในช่องพระโมลีพระพุทธรูป หลังจากนั้นก็มีพระอานันโทเป็นเจ้าอาวาสองค์ถัดมา และก็มี พระเหมปัญโญ พระญาณมงคล พระพุทะเตชะ พระอรัญวาสี พระธัมมรักขิต พระไอยกัปปกะ กาลล่วงมาถึง พ.ศ. ๒๐๕๗สมัยของพระมหาสีลปัญโญเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีจอมทอง มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อ พระมหาพุทธญาโณ ท่านไปยังเมืองพุกามและได้ตำนานพระบรมธาตุมาจากเมืองพุกาม ได้พิจารณาจากตำนานจึงคาดคะเนว่าพระบรมธาตุน่าจะตั้งอยู่ที่วัดศรีจอมทองแน่ จึงได้สั่งให้พระอานันทะ และปะขาวนักบุญทั้งหลาย ให้ไปที่วัดศรีจอมทอง และหากไปถึงวัดให้ทุกคนทำการสักการบูชาดอกไม้ธูปเทียนและให้ตั้งสัตยาธิษฐาน หากว่าพระบรมธาตุตั้งอยู่ในที่นั้นจริงดังตำนานกล่าว ขอพระบรมธาตุจงแสดงปฎิหาริย์เป็นอัศจรรย์ต่างๆให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายด้วยเทอญ เมื่อพระอานันทะได้ไปถึงวัดศรีจอมทองแล้วก็ได้ทำการเคารพสักการบูชา และตั้งสัตยาธิษฐานตามที่พระพระพุทธญาโณสั่งทุกประการ ฝ่ายพระมหาสีลปัญโญ เจ้าอาวาสเมื่อได้เห็นอาการของคนเหล่านั้นเช่นนั้นจึงได้นำเอาพระบรมธาตุ ซึ่งเก็บรักษากันต่อมานั้นออกมาแสดงให้พระอานันทะและปะขาวนักบุญทั้งหลายเหล่านั้นได้เคารพสักการบูชา แล...


    a.jpg

    ความเป็นมาแห่งพระบรมธาตุในกาลต่อมา
    พระรัตนราช (พระเมืองแก้ว) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อได้ทราบความที่ พระมหาพุทฺธญาโณว่า “ พระบรมธาตุเจ้าได้เสด็จมาประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง ภายในอาณาเขตแว่นแคว้นของพระองค์เช่นนั้นแล้ว ” ก็มีพระทัยยินดีปิติปราโมทย์เป็นกำลัง จึงรับคำสั่งแก่พระมหาพุทฺธาญาโณเถระว่า “ ขอพระคุณเจ้าจงไปจัดการเริ่มปฏิสังขรณ์ปลูกสร้างพระวิหารหลังหนึ่ง ให้เป็น ๔ มุขเหมือนวิหารวัดชัยศรีภูมิ แล้วได้ก่อปราสาทหลังหนึ่งให้เหมือนปราสาทอันมีอยู่ในพระอุโบสถวัดมหาโพธิ์หลวง(วัดเจ็ดยอด) ไว้ภายในท่ามกลางพระวิหารนั้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้า ให้เป็นอัครสถานอันประเสริฐต่อไป” ดังนี้ แล้วทรงประทานเงินหมื่นหนึ่งเพื่อเป็นค่าอุปกรณ์ในการก่อสร้าง พระเถระเจ้ารับคำพร้อมด้วยปะขาวนักบุญ และนายช่างทั้งหลายไปสู่วัดพระธาตุศรีจอมทอง แล้วร่วมกับเจ้าอาวาสเริ่มการปลูกสร้างพระวิหารและปราสาท ในปีชวดอัฏฐศก พ.ศ. ๒๐๖๐ ตามแบบที่พระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองนครสั่งนั้นทุกประการ เมื่อการปลูกสร้างพระวิหารและปราสาทสำเร็จบริบูรณ์แล้ว พระเถระจึงไปทูลถวายพระพรให้เจ้าผู้ครองนครทรงทราบ พระเมืองแก้วเจ้าผู้ครองนครมีใจยินดีมากนัก จึงรับสั่งให้สุวรรณช่างทองสร้างโกศทองคำน้ำหนักได้ ๕๖๐ คำ เพื่อเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุและพร้อมด้วยเถรานุเถระ เสนาอำมาตย์ชาวบ้านชาวเมืองออกไปทำมหกรรมฉลองเป็นมหาปางใหญ่ แล้วเชิญพระบรมธาตุเจ้าเข้าไว้ในโกศทองคำตั้งไว้ภายในปราสาทนั้นแล้ว ทรงโปรดพระราชทานวัตถุไทยทานและเครื่องแห่ไว้กับพระบรมธาตุเจ้าเป็นอันมาก และถวายข้าคนไร่นาตามเขตป่า ที่ดิน ย่านน้ำ ไว้สำหรับให้ปฏิบัติรักษาทำนุบำรุงพระบรมธาตุให้เจริญถาวรสืบต่อไปตลอด ๕๐๐๐ พระวัสสา ส่วนพระมหาสีลปัญโญเถระผู้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองได้อยู่อุปฐากรักษาทำนะบำรุงพระธาตุเจ้าได้ ๑๕พรรษาก็มรณภาพ ต่อจากนั้นพระมหาสังฆราชา ได้มาอยู่เป็นเจ้าอาวาสได้ ๓๖พรรษา ก็มรณภาพ ต่อจากนั้นพระสังฆราชาญาณมังคละมาเป็นเจ้าอาวาสได้ ๑๒พรรษา ต่อจากนั้นพระมหาสังฆราชาชวนปํญโญโสภิตชิตินทริยวโสจากวัดหัวครั้งหลวงมาอยู่เป็นเจ้าอาวาสได้ ๑๐พรรษาก็มรณภาพ และพระมหาสามิคณาจิตตะผู้เป็นศิษย์ได้อยู่เป็นเจ้าอาวาสแทนต่อมา ปีพ.ศ.๒๑๐๐ปีมะโรงเดือน๔ทายกทายิกาศรัทธาทั้งหลาย ได้ไปนิมนต์พระมหาสังฆราชาญาณมงคละอยู่แคว้นทุ่งตุ๋มมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง ในสมัยพระนางมหาเทวีเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่พร้อมด้วยพระอัครพระราชมารดา(พระแม่ราชวงศ์มังรายที่ ๑๕) มีจิตศรัทธานิมนต์พระบรมธาตุจอมทองเข้าไปในเมืองเชียงใหม่มีความเลื่อมใสยินดีในพระบรมธาตุเจ้ายิ่งนักจึงถวายไทยทานเป็นอันมาก จึงมีรับสั่งแก่เสนาบดีผู้ใหญ่ทั้ง ๔คือพระยาแสนหลวง พระยาสามล้าน พระยาจ่าบ้าน พระยาเด็กชาย ว่าต่อแต่นี้ไป บรรดาข้าพระธาตุเจ้าจอมทองให้ยกเว้นอย่าได้ใช้สอยเก็บส่วย และเกณฑ์ไปทำการบ้านเมืองเข้าอยู่อุปัฎฐากพระบรมธาตุเจ้าทุกวันคืนอย่าได้ขาดดังที่ พระรัตนราชหากได้ประธานไว้นั้นทุกประการ


    ถึงปีขาล เดือน ๓ใต้ เดือน ๕เหนือ พระยาสามล้านไชยสงครามได้มีจิตศรัทธามาใส่ช่อฟ้า บ้านลมวิหารวัดพระธาตุศรีจอมทอง และสร้างถนนจากวัดไปถึงฝั่งน้ำปิงและถวายคนไว้เป็นข้าพระรัตนตรัย ลงอาญาหาบเงินตราหินไว้เป็นหลักฐาน

    ถึงปี พ.ศ.๒๑๑๒พระเจ้ามังธาเจ้าหงสาวดี พระเจ้าแผ่นดินพม่า ได้ยกทัพมาปราบลานนาไทยเชียงใหม่ใว้ในอำนาจ ได้ริบเอาทรัพย์ของพระศาสนาไปและบ้านเมืองเชียงใหม่ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า

    ถึงพ.ศ.๒๑๘๒ พระเจ้าสุทโธธรรมราชา พระเจ้าแผ่นดินพม่าได้ตกแต่งเครื่องวัตถุไทยทาน มาถวายบูชาพระบรมธาตุเจ้าจอมทอง ตามเยี่ยงอย่างเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่หากได้เคยถวายทานมาแล้วแต่หนหลัง
    ถึง พ.ศ.๒๓๑๔ปีขาล โทศก เดือน ๕แรม ๑๑ค่ำ วันจันทร์ พระบรมธาตุเจ้าองค์ประเสริฐก็อันตรธานสูญหายไป นับแต่นั้นมาถึงปีมะแมศก จุลศักราชล่วงได้ ๑๑๓๖พ.ศ.๒๓๑๘กษัตริย์เมืองอยุธยา ยกพลโยธา มารบกับพม่าที่เมืองนครเชียงใหม่ได้ชัยชนะแล้วยกพลไปสู่นครหริภุญชัยนมัสการพระธาตุหริภุญชัยแล้ว จึงแต่งตั้งให้พระยาจ่าบ้านเป็นผู้ครองนครเชียงใหม่ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิเชียรปราการ เมืองเชียงใหม่จึงได้หลุดจากพม่ามาขึ้นกับไทยกลางส่วนใหญ่ตลอดมาจนทุกวันนี้


    ถึง พ.ศ.๒๓๒๒พระยาวิเชียรปราการ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้มาคำนึงถึงพระบรมธาตุเจ้าจอมทององค์ประเสริฐ อันได้สูญหายไปแต่ พ.ศ.๒๓๑๔นั้น จึงได้ให้นายช่างทองสร้างโกศเงินและโกศทองคำ เพื่อจะได้นำไปเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุเจ้า แล้วจึงรับสั่งอำมาตย์ทั้งหลาย ไปทำพิธีอาราธนาอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าตามโบราณประเพณีเป็นครั้งแรกก่อน พระบรมธาตุก็ยงไม่เสด็จมา และได้อาราธนาอีก ๒ครั้ง จนถึงแรม ๔ค่ำเวลาก๋องงาย(๑๙.๐๐น.)พระบรมธาตุเจ้า ก็ได้เสด็จมาปรากฏในคูหาปราสาท ตามคำอธิษฐาน จากนั้นพระยาวิเชียรปราการเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระบรมธาตุเข้าไปในเมืองเชียงใหม่ ทำการสระสรง และ ถวายทานต่างๆ นาน ๗วัน ๗คืน แล้วจึงได้อัญเชิญพระบรมธาตุเจ้ากลับคืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระธาตุศรีจอมทองตามเดิม

    หลังจากนั้นก็มีเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่อีกหลายพระองค์ได้มาบูรณะปฎิสังขรณ์วัดพระธาตุศรีจอมทอง รวมไปถึงการสร้างโกศเงินโกศทอง เพื่อบรรจุพระบรมธาตุ นอกจากนี้ยังมีการอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าไปในเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้ชาวบ้านชาวเมืองได้สักการบูชา เสร็จแล้วก็อัญเชิญกลับมาที่วัดพระธาตุศรีจอมทองตามเดิม และ ในปีพ.ศ.๒๔๖๕เจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้รับสั่งพระนายกคณานุการให้จัดการ ปฎิสังขรณ์ พระวิหารวัดพระธาตุศรีจอมทอง ถึงเดือน ๗วันเพ็ญ จึงได้พร้อมกันทำบุญถวายทานฉลองพระวิหารเป็นมหาปางอันใหญ่ พร้อมทั้งสระสรงพระบรมธาตุเจ้าด้วยสันโธทกเป็นมโหฬารยิ่งในกาลนั้นแล...



    คำบูชา
    นะโมพุทธายะ นะมามิ ติโลกะโมลี โลหะกูเฏ ปะติฎฐิตัง ปูชิตัง สัพพะโลเกหิ กิตติมันตัง มะโนหะรัง
    อะหังวันทามิ สัพพะทา อังคะวะเย ปุเรรัมเม โกวิลา รัคคะปัพพะเต สะหิเหมะคูหา คัพเภ ทักขิณะโมลี

    .........................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7232_1a.jpg
      IMG_7232_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      331.9 KB
      เปิดดู:
      2,831
    • IMG_7210_1a.jpg
      IMG_7210_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      402.4 KB
      เปิดดู:
      2,860
    • IMG_7217_1a.jpg
      IMG_7217_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      359.2 KB
      เปิดดู:
      2,637
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2023
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    หลังจากที่ไหว้พระธาตุศรีจอมทองเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นเวลาเที่ยงแก่ๆ ก็เลยพากันเดินหาข้าวกลางวันทานกัน อิ่มพออยู่ท้องกะว่าจะเดินเข้าเซเว่นตุนขนมคิดไปคิดมาก็คิดว่าเดี๋ยวรถคงจะแวะปั๊มแล้วค่อยลงไปซื้อก็ได้ ก็เลยเดินออกมาจากวัดแต่หันไปหันมาไม่เห็นรถเลย รถไปจอดที่ไหนเนี่ยะ ปรากฎว่ารถจอดที่หน้าวัดไม่ได้ก็เลยไปจอดห่างออกไปเกือบ ๕๐๐ เมตรเห็นจะได้ ต้องรีบเดินเพราะว่ากลุ่มของสร้อยฟ้าฯ เป็นกลุ่มสุดท้ายที่ขึ้นรถเลยก็ว่าได้ ด้วยหลงไม่รู้ว่ารถจอดตรงนี้ ทีแรกเห็นทางคณะฯ เขาเดินเกาะกลุ่มกันไป จะบอกสักหน่อยก็ไม่ได้ว่ารถจอดอยู่ตรงไหน...บ่นมากก็เปลืองพลังงาน

    a.jpg

    สถานที่ต่อไปที่ทางคณะฯ จะพาไปเป็นวัดประจำปีมะโรง นั่นก็คือ วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร ถึงตรงนี้ค่อนข้าง งง กับข้อมูลว่าที่บอกว่า ประจำปีเกิดปีมะโรงนี่คือ พระสิงห์ หรือว่า เจดีย์พระธาตุในวัดพระสิงห์ แต่เห็นเขาบอกว่าไหว้พระธาตุก็คงจะหมายถึงเจดีย์นั่นเองมั้ง แต่พออ่านตำนานจะเห็นว่าเจดีย์นี้สร้างขึ้นเพื่อไว้เพื่อบรรจุอัฐิของพญาคำฟูบิดาของพญาผายู แล้วจะเป็นพระธาตุยังไงหล่ะ แต่พอสืบค้นอีกทีเห็นว่าต่อมาภายหลังได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานไว้ ณ พระธาตุเจดีย์แห่งนี้


    วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร พระธาตุประจำปีเกิดปีสี ปีมะโรง(งูใหญ่)

    วัดพระสิงห์ ตั้งอยู่บน ถนนสิงหราชจรด กับ ถนนราชดำเนิน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร และยังเป็นสถาปัตยกรรมล้านนาอันงดงาม ซึ่งเป็ที่รู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี ตามคติล้านนา คนเกิดปีมะโรงต้องมาไหว้พระสิงห์ให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต


    a.jpg

    ตามเอกสารทางประวัติศาสตร์ กล่าวว่า พญาผายู โปรดให้สร้างเจดีย์ สูง ๒๓วา เพื่อบรรจุอัฐิพญาคำฟู พระบิดาของพระองค์ เมื่อปี พ.ศ.๑๘๘๘ ต่อมาในปี พ.ศ.๑๘๙๐ จึงโปรดให้สร้างวัดขึ้น และนิมนต์พระเถระอภัยจุฬาพร้อมภิกษุสงฆ์มาจำพรรษา แต่เนื่องจากหน้าวัดเป็นสถานที่ชุมนุม ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าของชาวเมือง วัดนี้จึงให้อีกชื่อว่า "วัดลีเชียง" (ลี แปลว่า ตลาด ) แต่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "กาดลี"


    a.jpg

    และตามข้อมูลอีกแหล่งกล่าวว่า พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีมะโรง (งูใหญ่) เป็นพระเจดีย์เก่าแก่สร้างในสมัยเดียวกับการตั้งวัด ศิลปะแบบล้านนา หริภุญชัย ผสมลังกา ฝีมือช่างหลวงนครเชียงใหม่ มีการตกแต่งน้อย คือ เป็นความงามที่เรียบง่าย สูงจากพื้นดินถึงยอด ๒๕ วา เป็นฐานเจดีย์เหลี่ยม ยาวด้านละ ๑๖ วา ๑ ศอก ๖ นิ้ว มีช้างประจำอยู่ทั้ง ๔ ทิศ ทิศละ ๑ เชือก พระมหาเจดีย์นี้ พญาผายู เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ โปรดให้สร้างขึ้น เมื่อพุทธศักราช ๑๘๘๘ ต่อมาได้บูรณะขึ้นมาใหม่ มีขนาดสูงใหญ่ขึ้นในสมัยครูบาศรีวิชัยราว พ.ศ. ๒๔๖๙ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหาสุมนเถระนำมาจากทวีปลังกา มีความเชื่อว่า อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตผู้เกิดปีมะโรง ได้มีโอกาสมานมัสการพระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ จะเป็นมงคลอันสูงสุด

    งั้นก็สรุปได้ว่า ไหว้ทั้ง พระพุทธสิงห์ และไหว้ทั้ง พระธาตุ จะได้ไม่พลาด.....

    a.jpg

    ในตำนานสิหิงคนิทานและพงศาวดารโยนก เล่าว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพานไป๗๐๐ ปี พระเจ้าสีหลและกษัตริย์องค์อื่นใคร่ทอดพระเนตรรูปของพระพุทธเจ้า มีแต่พญานาคที่เคยเห็นพระองค์ จึงแปลงรูปเนรมิตตนเป็นพระพุทธเจ้า พระเจ้าสีหลได้กระทำการบูชา ๗ วัน ๗ คืน และให้ช่างถ่ายแบบพระพุทธรูปไว้ ต่อมาพระร่วงแห่งสุโขทัยได้ยินกิตติศัพท์ของพระพุทธสิหิงค์ ใคร่จะได้บูชา จึงบอกกับพระเจ้าสิริธรรมแห่งเมืองนครศรีธรรมราช พระเจ้าสิริธรรมได้ส่งทูตไปขอจากลังกา อัญเชิญไปให้พระเจ้าสุโขทัย ต่อมาพระพุทธสิหิงค์ถูกอัญเชิญไปยังเมืองสำคัญจนกระทั่งราวปี พ.ศ.๑๙๘๓ เจ้ามหาพรหมได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากกำแพงเพชรมาถวายพญาแสนเมืองมาแห่งเชียงใหม่ เดิมพญาแสนเมืองจะให้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดบุปผาราม แต่เมื่อรถที่อัญเชิญมาถึงหน้าวัดลีเชียงพระ (ชื่อเดิมวัดพระสิงห์) รถเกิดติดขัดไม่สามารถชักลากไปได้ จึงให้ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ที่วัดนี้ ในปี พ.ศ.๒๐๖๓ พระเมืองแก้วได้สร้าง วิหารลายคำ เพื่อประดิษฐานพระพุทธ


    a.jpg

    อีกตำนานกล่าวว่า พระพุทธสิหิงค์ ซึ่งเป็นเป็นพระสิงห์สกุลช่างเชียงแสน ศิลปะล้านนา ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองเชียงราย ขณะนั้นเชียงรายกับเชียงใหม่เกิดการรบพุ่งกันขึ้น เชียงใหม่เป็นฝ่ายชนะ พระเจ้าแสนเมืองมา (พญาแสนเมือง พ.ศ.๑๙๓๑ - ๑๙๕๔) มานครเมืองเชียงใหม่ จึงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มายังเมืองเชียงใหม่โดยล่องเรือมาตามลำน้ำปิง เรืออัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาเทียบท่าฝั่งนครเชียงใหม่ที่ท่าวังสิงห์คำ ขณะเชิญขึ้นประดิษฐานบนบุษบกปรากฎรัศมีจากองค์พระเรืองรองเป็นลำไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไกลถึง ๒,๐๐๐ วา ต่อมาจึงได้มีการสร้างวัดขึ้น ณ ที่นั่นได้ชื่อตามเหตุอัศจรรย์ในครั้งนั้นว่า "วัดฟ้าฮ่าม" ซึ่งหมายถึงฟ้าอร่ามนั่นเอง


    แต่เดิมนั้นพระเจ้าแสนเมืองตั้งพระทัยจะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐานยังวัดบุปฝาราม(วัดสวนดอก) ซึ่งตั้งอยู่นอกเวียงออกไปทางทิศตะวันตก แต่เมื่อชักลากบุษบกไปถึงวัดลีเชียงพระก็มีอันติดขัดไม่อาจลากต่อไปได้ พระเจ้าแสนเมืองมาถือเป็นศุภมิตรจึงโปรดให้สร้างมณฑปขึ้นวัดลีเชียงและประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ ณ วัดนั้นชาวบ้านต่างพร้อมใจกันนิยมเรียกวัดนี้ว่า "วัดพระสิงห์" ตามนามของพระพุทธรูป
    พระสิงค์ ท่านผู้รู้บางท่าน ให้ข้อคิดว่า พระสิงค์ หมายถึง พระสิงหวัติกษัตริย์โบราณ ผู้สร้างเมืองโยนกนครก็มี บางที่อธิบายว่าหมายถึง พระศากยสิงห์ คือพระบาทหนึ่งของพระพุทธเจ้า


    กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนวัดพระสิงห์เป็นโบราณสถานสำคัญระดับชาติ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘กระทั่ง พ.ศ. ๒๔๘๓ จึงได้รับการสถาปนานายกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร และได้รับนามใหม่ว่าวัดพระสิงห์วรมหาวิหารมาจนถึงปัจจุบัน และประกาศกำหนดขอบเขตในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๒

    ในเทศกาลสงกานต์ของทุกปีจะมีการอัญเชิญพระสิงห์สิหิงค์ประดิษฐานบนบุษบกแห่รอบเมืองเชียงใหม่ให้ประชาชนสรงน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคลเป็นประจำทุกปี


    ภายในวัดพระสิงห์มีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่

    a.jpg

    หอไตร สร้างเป็นครึ่งตึกครึ่งไม้ ที่ตัวผนังตึกด้านนอกประดับด้วยทวยเทพปูนปั้นแต่งองค์ทรงเครื่องสวยงาม ทำเป็นรูปเทพพนมยืน บ้างก็เหาะ ประดับอยู่โดยรอบเป็นฝีมือช่างสมัยพระเมืองแก้วต่อมาในสมัยเจ้าแก้วนวรัฐได้มีการซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๗ ที่ฐานหอไตรปั้นเป็นลายลูกฟักลดบัวภายในประดับด้วยรูปสัตว์หิมพานต์ เช่น นางเงือกมีปีก คชสีห์มีปีก และกิเลน เป็นต้นโดยประจำยามที่มีลักษณะละม้ายลายสมัยราชวงค์เหม็งของจีน


    a.jpg


    พระอุโบสถ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขโถงทั้งทั้งด้านหน้าด้านหลัง ด้านข้างแลเห็นหน้าต่างขนาดใหญ่ตีเป็นช่องแบบไม้ระแนง แต่ภายในเป็นหน้าต่างจริง มีลายปูนปั้นบริเวณซุ้มประตูทางเข้า หน้าบันมีลักษณะวงโค้งสองอันเหนือทางเข้าประกบกัน เรียกว่า คิ้วโก่ง เหนือคิ้วโก่งเป็นวงกลมสองวงคล้ายดวงตา ที่เสาและส่วนอื่นๆ มีปูนปั้นนูน มีรักปั้นปิดทอง ถือเป็นลักษณะอาคารและการตกแต่งเป็นแบบศิลปะล้านนาที่วิจิตรสวยงามโดยแท้

    a.jpg


    วิหารลายคำ เป็นวิหารทรงพื้นเมืองล้านนาขนาดเล็ก ภายในประดิษฐาน "พระพุทธสิหิงค์" ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๑ นิ้ว สูงจากขอบฐานถึงยอดพระเมาลีบัวตูม ๕๑ นิ้ว บนผนังด้านหลังพระประธานมีรูปปราสาทแวดล้อมด้วยมังกรและหงส์ มีความงดงามน่าชมยิ่ง มีเสาหลวง (เสากลม) เสาระเบียง(เสาสี่เหลี่ยม) ที่ผนังวิหารมีภาพจิตรกรรมโดยรอบ ด้านเหนือเขียนเป็นเรื่องสังข์ทอง ด้านใต้เป็นเรื่องสุวรรณหงส์โดยเฉพาะเรื่องสังข์ทองพบเพียงที่นี่แห่งเดียว อีกทั้งเป็นวิหารลายคำที่พบที่นี่ได้แห่งเดียวเท่านั้น และลักษณะเด่นของภาพจิตรกรรมที่พบในล้านนา ซึ่งศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ประติมากร ชาวอิตาเลียน บิดาแห่งวงการศิลปะร่วมสมัยของไทย ได้สรุปไว้ว่า "จิตรกรรมในภาคเหนือนิยมเขียนภาพชีวิตประจำวันเป็นภาพเหมือนชีวิตจริง ถ้ามองดูภาพที่งดงามเรื่องสังข์ทองในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ เราจะรู้สึกคล้ายกับว่า เราเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นจริงตามความเป็นอยู่เมื่อ ๑๐๐ ปีก่อน"



    a.jpg

    ในระหว่างเวียนไหว้พระธาตุวัดพระสิงห์ สิ่งที่ต้องระวังเป็นอย่างมากคือ กับระเบิด ยิ่งในสนามหญ้าที่ปูอยู่ข้างๆ กับองค์พระธาตุนี่เยอะเลยหล่ะ เกือบเหยียบเหมือนกันตอนถ่ายภาพเพราะไม่ค่อยจะมองพื้น แต่ก็รอดมาอย่างหวุดหวิด ที่วัดแห่งนี้มีชาวต่างชาติมากันเยอะ สิ่งนี้ควรจะปรับปรุงเพราะเป็นสิ่งรบกวนทัศนียภาพอย่างยิ่ง

    สร้อยฟ้าฯ ได้ถวายสรงน้ำพระธาตุ โดยใช้ชักลอกขึ้นไป ลอกฝืดมากเกือบขึ้นไม่ถึง แต่ระหว่างที่กำลังชักลอกขึ้นไปนั้น ฝนก็ได้โปรยปรายลงมาเล็กน้อย เหมือนเทวดารดน้ำมนต์ให้เลย สาธุ สาธุ สาธุ


    a.jpg


    คำบูชา
    อิติปะวะระสิหิงโต อุตตะมะยะโสปิ เตโช ยัตถะ กัตถะ จิตโตโส สักกาโร อุปาโท สะกาละพุทธะ
    สาละธัง โชตะยันโตวะ ทีโป สุระนะเรหิ มะหิโต ธะระมาโนวะ พุทโธติ นะมามิ สิหิงคะพิมพัง
    สุวัณณาภิรัมมัง ลังกาชาตัง โสภาภิโสภัง สะราภิกันตัง นะมามิหัง


    ........................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7251_1a.jpg
      IMG_7251_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      330.2 KB
      เปิดดู:
      2,543
    • IMG_7252_1a.jpg
      IMG_7252_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      297.2 KB
      เปิดดู:
      2,937
    • IMG_7253_1a.jpg
      IMG_7253_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      432 KB
      เปิดดู:
      2,502
    • IMG_7256_1a.jpg
      IMG_7256_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      323.8 KB
      เปิดดู:
      2,738
    • IMG_7276_1a.jpg
      IMG_7276_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      579.4 KB
      เปิดดู:
      3,139
    • IMG_7279_1a.jpg
      IMG_7279_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      378.8 KB
      เปิดดู:
      2,570
    • IMG_7284_1a.jpg
      IMG_7284_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      450.3 KB
      เปิดดู:
      2,705
    • IMG_7303_1a.jpg
      IMG_7303_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      340.8 KB
      เปิดดู:
      2,697
    • IMG_7306_1a.jpg
      IMG_7306_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      423.3 KB
      เปิดดู:
      3,540
    • IMG_7308_1a.jpg
      IMG_7308_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      399.3 KB
      เปิดดู:
      3,053
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2023
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    สาธุ จ่ะ ขอให้สมปรารถนาในความตั้งใจนะ....
     
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ประมาณบ่ายสามโมงกว่าๆ เดินออกจากวัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร มองซ้ายมองขวา หาร้านเซเว่นปรากฎว่าไม่มี ไม่เป็นไรทางข้างหน้าคงจะมีน่ะ ขึ้นรถดีกว่า ชาวคณะฯ ต่างทะยอยกันมาแล้ว เดี๋ยวจะช้ากว่าเขาอีก วัดหน้าคงจะมีร้านค้าบ้างหล่ะ...


    วัดต่อไปที่เราจะไปกันนั้น สร้อยฟ้าฯ เคยแต่นั่งรถผ่าน มีป้ายเล็กๆ บอกชื่อวัดบนถนนแคบๆ วัดนี้เป็นวัดประจำปีเกิดปีจอ นั้นก็คือ วัดเกตการาม ซึ่งมีพระธาตุเกตแก้วจุฬามณี พระวิทยากรท่านบอกว่า ใครอยากไปไหว้ของพระธาตุเกตแก้วจุฬามณีบ้าง ถ้าใครจะไปต้องตายก่อนถึงจะไปได้ แต่คงไม่ได้ไปหมดทุกคนหรอกสร้อยฟ้าฯ ว่า ก็แล้วแต่บุญกรรมทำไว้จะมีแรงส่งไปถึงดาวดึงส์ยอดเขาพระสุเมรุ ตอนนี้ก็ไหว้พระธาตุที่มนุษย์สร้างขึ้นไปก่อน....

    วัดเกตการาม พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี พระธาตุประจำปีเกิดปีเส็ด ปีจอ(สุนัข)

    วัดเกตการาม ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในเขตย่านการค้าของชาวต่างชาติ ตามประวัติว่าสร้างโดยพญาสามฝั่งแกน เมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๑พระราชบิดาของพระเจ้าติโลกราช ผู้จัดการก่อสร้างวัดเกตุการาม คือ พระยาเมืองพระยาคำ และพระยาลือ มีบริวารทั้งหมด ๒,๐๐๐ คน ในการก่อสร้างวัดเกตุการาม (ศิลาจารึกประวัติวัดเกตุการาม อยู่ด้านทิศใต้ของวิหาร) แต่พระเจดีย์ได้พังทลายลงในปี พ.ศ. ๒๑๒๑ พระสุทโธรับสั่งให้สร้างขึ้นใหม่ให้เป็นเจดีย์ทรงลังกาแบบล้านนา นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพระวิหารใหญ่ที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ และพิพิธภัณฑ์เก็บของใช้พื้นบ้านให้ชม

    a.jpg

    ความเป็นมา ความสำคัญ คุณค่าและเอกลักษณ์ วัดเกตการามสร้างในปี พ.ศ.๑๙๗๑ สมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน (พ.ศ.๑๙๕๔ - ๑๙๘๕) พระราชบิดาของพระเจ้าติโลกราช ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ.๑๙๘๑ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย


    วัดเกตการาม มีศิลาจารึกหลักหนึ่ง ตั้งอยู่บนมุขด้านใต้ของพระวิหาร จารึกเป็นอักษรฝักขามบนหินทรายสีแดง กว้าง ๕๘ เซนติเมตร สูง ๑๗๖ เซนติเมตร หนา ๒๑ เซนติเมตร ด้านหน้าลบเลือนไปหมด เหลือแต่ดวงศิลาจารึก ด้านหลังพออ่านได้ สรุปได้ว่า ศักราช ๙๔๐ (ประมาณ มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๑๒๑) มีการบูรณะพระเกศธาตุเจดีย์ที่พังลง สันนิษฐานว่า น่าจะพังลงในปีเดียวกับยอดพระธาตุวัดเจดีย์หลวง คือ ปี พ.ศ.๒๐๘๘ ที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เชียงใหม่ มีความรุนแรงขนาด ๕.๐– ๕.๙ ริกเตอร์ พอศักราช ๙๔๓ (ประมาณ ธันวาคม - มกราคม พ.ศ.๒๑๒๔) มีงานฉลองพระเจดีย์แจ้งความกว้างความยาวของพระอาราม ถวายคนประมาณ ๑๐๐ครอบครัว เป็นข้าวัด พร้อมทั้งแจ้งชื่อหัวหน้าและสมาชิกและครอบครัวด้วย

    ยุคที่พม่าเข้ามาครองเมืองเชียงใหม่ตั้ง พระเจ้าบุเรงนองเห็นความสำคัญถึงขั้นเสด็จมาบูรณะปฏิสังขรณ์ และนำสิ่งของมาถวายแก่วัด พม่าได้ใช้นโยบายให้ประชาชนปฏิบัติไปตามจารีตเดิมของท้องถิ่น การกัลปนาหรือเจาะจงให้คนเป็นข้าวัดของวัดเกตการามการสร้างเจดีย์ก็ยังคงใช้ศิลปะแบบล้านนา อย่างไรก็ตาม ล้านนาก็ยังรับอิทธิพลบางอย่างจากพม่า เช่น เรื่องอาหารการกิน ประเพณีการสร้างรูปสิงห์ตามประตูวัดต่างๆ ส่วนวัดเกตการามเป็นวัดที่มีมาก่อนที่พม่าจะเข้ามา ทั้งยังเป็นวัดใหญ่และมีความสำคัญที่พม่ายอมรับการกัลปนาข้าวัดตามจารีตที่มีมาแต่เดิม จึงไม่มีการสร้างรูปสิงห์ที่ประตูวัด ส่วนรูปสิงห์ที่ประตูหลังวัดเกตการามนี้ พึ่งจะนำมาติดตั้งเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๔๒นี้เอง

    ตำนานกล่าวว่า เจดีย์จุฬามณี ประดิษฐานอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นสวรรค์ที่อยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ เป็นเจดีย์ที่บรรจุ เครื่องทรงและพระเมาฬีของเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งทรงสละทิ้งเมื่อคราวออกผนวช และยังเป็นที่เก็บรักษาพระเขี้ยวแก้ว ของพระพุทธองค์ หลังการถวายพระเพลิงพระบรมศพอีกด้วย เมื่อเจดีย์จุฬามณีเป็นเจดีย์ที่อยู่ไกลถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จึงมีการสมมติให้เจดีย์องค์หนึ่งในประเทศพม่า เป็นที่กราบไหว้แทน โดยมีตำนานเล่าว่าพระอินทร์เป็นผู้นำลามาแขวนไว้ริมหน้าผาให้ผู้คนบูชา คนไทยจึงเรียกเจดีย์องค์นี้ว่า "พระธาตุอินทร์แขวน" เจดีย์วัดเกตุการาม จังหวัดเชียงใหม่ ถูกกำหนดให้เป็นองค์แทนเจดีย์จุฬามณีอีกองค์หนึ่ง ซึ่งนอกจากจะเป็น การสะดวกในการเดินทาง เพื่อกราบไหว้แล้ว อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ชื่อของวัดเสียงเหมือนคำว่า "เกศ" แก้วจุฬามณี


    a.jpg

    พระเจดีย์ประธานหรือพระธาตุเกตแก้วจุฬามณี เป็นปูชนียสถานที่ใหญ่โต มีฐานกว้าง ๘๒ วา ยาว ๖๓ วา มีเจดีย์บริวาร ๔ มุม สำหรับเจดีย์บริวารนี้ เดิมมีฉัตรแบบเดียวกับของวัดพระธาตุดอยสุเทพ แต่ปัจจุบันสูญหายไป ไม่ทราบว่าใครถอดออกเมื่อใดและด้วยเหตุผลใด ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า สมัยก่อนเคยเห็นพระธาตุออกมาเที่ยว โดยจะลอยไปทางทิศใต้เพื่อไปเยี่ยมเยือนพระธาตุจอมทอง มีลักษณะเป็นดวงไฟสีอุ้มฮุ่ม (สีเขียวเข้มและเย็นแบบป่า) พระธาตุนี้เสมือนเป็นการจำลองพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมาไว้บนโลกมนุษย์ ดังนั้นการสร้างพระธาตุเกศแก้วจึงสร้างให้ยอดพระธาตุเอียงนิดหน่อย เพื่อมิให้ยอดชี้ขึ้นไปตรงกับพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์และเดิมองค์พระธาตุเป็นสีตะกั่วตัด เพิ่งมีการนำสีทองมาทาในยุคของท่านพระครูญาณาลังการ เมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง


    a.jpg

    a.jpg

    พระวิหาร
    สร้างสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ๙ ห้อง มีเสาคู่ในรองรับหลังคาหน้าจั่วและเสาคู่นอกรับแนวหลังคาปีกนกย่อเก็จ ๓ ตอน ในแนวตะวันออก - ตะวันตก หัวเสาประดับด้วยแก้วอังวะ ตัวเสามีลายทอง มีประตูทางเข้าสามทาง หลังคาทรงจั่วเรียงซ้อนกัน ๕ ชั้น (คำเมืองเรียกว่า ซด) ๒ ตับ งดงามและหาดูได้ยาก อุโบสถทรงเดียวกับพระวิหาร แต่มีขนาดเล็กกว่า



    a.jpg

    a.jpg


    สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในวัดเกตุการาม คือ ภายในพิพิธภัณฑ์วัดเกตุการาม จังหวัดเชียงใหม่ จัดแสดงเครื่องใช้ที่มีคุณค่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของล้านนาในช่วง ๒๐๐ ปีที่ผ่านมาจำนวนมาก อาทิ ตาลปัตร พัดยศของพระภิกษุในวัด เครื่องแก้วเจียรไนยจากยุโรป เครื่องเคลือบจีน โตก เครื่องเขิน ที่เจ้าหลวงและเชื้อสายของราชวงศ์ล้านนาถวายในการทำพิธีสระผมในเทศกาลตรุษ สงกรานต์ทุกปี หีบเหล็ก เครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบตะวันตก แสดงถึงอิทธิพลชาวตะวันตก ซึ่งเข้ามาทำกิจการป่าไม้ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ตลอดจนเครื่องปั้นดินเผาพื้นเมือง นอกจากนี้ยังมีรวยระกา หางหงส์ของวิหารในวัดที่ถูกนำออกไปจำหน่าย เมื่อครั้งซ่อมแซมครั้งใหญ่ ซึ่งทางร้านค้าขายของเก่าในเชียงใหม่ได้นำกลับมามอบคืนแก่พิพิธภัณฑ์ เมื่อทราบว่ามีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของวัด พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จึงมีความหมายถึงการร่วมแรงร่วมใจกันของชาวเชียงใหม่ ในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของตนอย่างแข็งขันอีกด้วย

    a.jpg

    ...................................
    คำบูชา
    ตาวะติงสายะ ปุรัมเม เกสะจุฬามะณี สะรีระปัพพะตา
    ปูชิตา สัพพะเทวานัง ตังสิระสาธาตุ อุตตะมัง อะหังวันทามิ สัพพะทา



    ...................................





    a.jpg


    ภาพพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ภาพนี้ไม่เคยเห็น อยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7320_1a.jpg
      IMG_7320_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      404.2 KB
      เปิดดู:
      3,658
    • IMG_7326_1a.jpg
      IMG_7326_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      563 KB
      เปิดดู:
      2,469
    • IMG_7328_1a.jpg
      IMG_7328_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      672.3 KB
      เปิดดู:
      2,404
    • IMG_7330_1a.jpg
      IMG_7330_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      566.8 KB
      เปิดดู:
      2,628
    • IMG_7344_1a.jpg
      IMG_7344_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      560.9 KB
      เปิดดู:
      3,373
    • IMG_7356_1a.jpg
      IMG_7356_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      472.3 KB
      เปิดดู:
      3,512
    • IMG_7362_1a.jpg
      IMG_7362_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      509.1 KB
      เปิดดู:
      2,459
    • IMG_7359_1a.jpg
      IMG_7359_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      822.5 KB
      เปิดดู:
      7,008
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2023
  9. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    ภาพสวย ๆ กับข้อมูลอีกเพียบตามแบบฉบับของสร้อยฟ้าฯ ขาเม้าส์..
    เอ๊ะ!!..หรือจะเป็นสร้อยฟ้าฯ ขาลุย..(ชอบหนีเที่ยว) ดีนะ..
    (good)

    catt3
     
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837

    โห พี่เจง แซวกันแต่เช้ามืดเลยนะ......
     
  11. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    กะจะแซวตั้งแต่เมื่อวานแล้ว..แต่รอให้ข้อมูลเยอะกว่านี้ จะได้แซวได้ถนัด ๆ อ่ะ..555+
     
  12. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    [​IMG]



    [​IMG]
    [​IMG]
    อนุโมทนา สาธุ ๆ
    กับท่านทัั้งหลายที่ได้ร่วมกันทำบุญสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ
    ไว้ใน พุทธศาสนา มาตั้งแต่อดีต ถึง ปัจจุบัน
    และได้ร่วมกันสร้างบุญกุศลต่าง ๆ ไว้ใน
    พุทธศาสนา ด้วยครับ
    การสะสมบุญ คือ การสะสมความสุข
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
    [​IMG]
     
  13. urai ay

    urai ay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    6,670
    ค่าพลัง:
    +13,551
    [​IMG]มาสาธุ สาธุ สาธุด้วย
    เมื่อวานก็นั่งรอเหมือนกัน อิอิ จะเข้ามาก็กลัวกระทู้ไม่ต่อกัน
    ก็นั่งอ่านข้อมูลไปฟังเพลงไป...เผลอหลับด้วย 555 [​IMG]
     
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    อิ อิ ยังไม่จบนะ เรื่องยังอีกเยอะอ่ะจ่ะ

    จะค่อยๆ ลงให้อ่านกันนะ....
     
  15. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    นั่นงัย!!..ขาเม้าส์ + ขาลุย (เที่ยว) ไม่ผิดอย่างที่เค้าว่าอ่าแหละ..

    -Happy Smile_
     
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    แต่กระทู้เค้าไม่มี จูจุ๊บอ่ะ...... ๕๕๕+
     
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ไหว้พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี เสร็จประมาณบ่ายสี่โมงครึ่ง เดินออกมาคอยรถ ไม่รู้รถหายไปไหน คน ๕ คันรถบัสก็ยืนออกันเต็มสองข้างถนนแคบๆ ยืนคอยอยู่นานรถไม่มาสักที สายตาเลยสาดส่องหาร้านขายของ ก็ไม่มีอีก มีแต่ร้านอาหาร ร้าน Art Gallery ตอนนี้ของกินบนรถหมดแล้ว เหลือแต่น้ำ ไม่เป็นไรทางข้างหน้าอาจจะมี ยืนคอยรถได้ไม่ต่ำกว่า ๑๕ นาที รถทั้ง ๕ คันก็ค่อยๆ ทะยอยกันมา ด้วยว่าถนนช่วงตรงนี้แคบเลยทำให้รถติด....

    วัดต่อมาที่คณะของเราจะไปกัน และเป็นพระธาตุสุดท้ายสำหรับวันนี้ที่เราจะไปไหว้กัน เป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีมะเส็ง นั่นก็คือ วัดโพธาราม มหาวิหาร หรือ วัดเจดีย์เจ็ดยอด

    วัดโพธารามมหาวิหาร พระธาตุเจ็ดยอด พระธาตุประจำปีเกิดปีไส้ ปีมะเส็ง(งูเล็ก)


    a.jpg
    เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญเดิมชื่อวัดเจดีย์เจ็ดยอด หรือ วัดเจ็ดยอด ตั้งอยู่ที่ตำบลช้างเผือกอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

    วัดเจดีย์เจ็ดยอดหรือวัดโพธารามมหาวิหารได้ชื่อว่ามีเจดีย์รูปทรงแปลกที่สุดคือมียอดตั้งอยู่บนเรือนธาตุสี่เหลี่ยมถึงเจ็ดยอดเหมือนมหาโพธิเจดีย์พุทธคยาที่ประเทศอินเดียจัดเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็นวัดโบราณที่พระเจ้าติโลกราช พระราชาธิบดี องค์ที่๒๒ แห่งพระราชวงศ์มังราย โปรดให้สร้างขึ้นตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๑๙๙๙ และจัดได้ว่าเป็นอารามที่มีความสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนาในอาณาจักรล้านนา กล่าวคือในปีพุทธศักราช ๒๐๒๐ พระเจ้าติโลกราชโปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ วัดมหาโพธารามแห่งนี้เองซึ่งวงการพระพุทธศาสนาได้ยอมรับว่าเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งใหญ่เป็นลำดับที่๘ นับจากที่ได้ทำมาแล้ว ๗ ครั้ง ในประเทศอินเดียและศรีลังกา

    นอกจากนั้นวัดเจ็ดยอดยังมีปูชนียวัตถุและโบราณสถานที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธศาสนาประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่และคุณค่าในทางศิลปกรรมประเภทพุทธศิลป์ในสมัยอาณาจักรล้านนา ที่น่าสนใจหลายแห่งที่สำคัญคือมหาวิหารเจ็ดยอด (โพธิบัลลังก์) เจดีย์บรรจุอัฐิพระเจ้าติโลกราชและสัตตมหาสถานที่ยังเหลืออยู่โดยรอบวัดเจ็ดยอด

    a.jpg

    มีเรื่องราวปรากฏเป็นตำนานวัดเจ็ดยอดเป็นภาษาพื้นเมือง ซึ่งพระมหาหมื่น วุฑฒิญาโน แห่งวัดหอธรรม เก็บรวบรวมไว้มีความตอนหนึ่งว่า สมัย “สมเด็จพระเจ้าศิริธรรมจักรวัตติโลกราช” เชียงใหม่มีฐานะเป็นเสมือนศูนย์กลางของดินแดนล้านนาในด้านเกี่ยวกับพุทธศาสนานั้น ลัทธิลังกาวงศ์กำลังเจริญรุ่งเรืองในเชียงใหม่ มีพระเถระชาวเชียงใหม่ที่ทรงภูมิความรู้ในพระไตรปิฎกและมีชื่อเสียง เช่น พระมหาญาณคัมภีร์ มหาเมธังกร พระศีลสังวะ ได้นำเอาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาประดิษฐานเผยแพร่ในเชียงใหม่และเมืองต่างๆ ในดินแดนล้านนา พระเถระเหล่านี้เมื่อกลับมาจากลังกาแล้ว ได้มาจำวัดอยู่ที่วัดพระยืนนอกเมืองหริภุญชัย ทำการบวชให้กับกุลบุตรเป็นจำนวนมาก เมื่อพระเจ้าติโลกราชได้ทรงสดับถึงกิตติคุณสีลาจารวัตรของพระเถระเหล่านั้น ก็ทรงศรัทธาเสื่อมใสเป็นอันมาก ถึงกับทรงพระราชมณเฑียรในเมืองเชียงใหม่ ต่อมาโปรดให้นิมนต์พระเถระเหล่านั้นจากวัดพระยืนมาจำวัดอยู่ที่นี่ และยังสร้างวัดอีกมากมาย อาทิ วัดป่าตาล วัดป่าแดงหลวง พระเจ้าติโลกราชได้ทรงอุปถัมภ์พระภิกษุสงฆ์ ทรงปฏิสังขรณ์และสร้างสถูป เจดีย์ เสนาสนะต่าง ๆ อีกมาก


    a.jpg
    ต่อมาพระองค์ได้เสด็จออกทรงผนวชท่ามกลางคณะสงฆ์เป็นจำนวนมาก มีมหาญาณมงคลเป็นอุปัชฌาย์ พระอดุลสถิตยาทิกรมมหาสามีเฌร เป็นพระกรรมวาจารย์ พระเจ้าติโลกราชได้สดับพระธรรมเทศนาเรื่องอานิสงส์แห่งการปลูกต้นมหาโพธิ์จากสำนักสงฆ์ลังกาวงศ์ ก็ทรงเสื่อมใสและมีรับสั่งให้พิจารณาหาสถานที่ที่เหมาะสมและได้สร้างพระอารามขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ.๑๙๙๘ ทรงได้พืชพันธุ์มหาโพธิ์จากคณะสงฆ์ที่ไปลังกาจึงโปรดให้นำมาปลูกไว้ที่อารามแห่งนั้น เป็นสาเหตุให้อารามได้รับขนานนามว่า "วัดมหาโพธาราม"

    ในปี พ.ศ.๒๐๒๐ ทำการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งใหญ่เป็นลำดับที่ ๘ นับว่าเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกในประเทศไทย ต่อมาวัดเจ็ดยอดได้กลายสภาพเป็นวัดร้าง ไม่มีภิกษุพำนักอาศัย แต่เมื่อใดไม่พบหลักฐานแน่ชัด แต่มีที่ควรสันนิษฐานว่าเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๙ หัวเมืองต่างๆ ในแคว้นล้านนา เผชิญกับยุทธภัยทั่วไปหมด ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงประกาศให้ทิ้งเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากมีกำลังไม่เพียงพอที่จะรักษาเมือง และพม่าก็ยกมารุกรานเนืองๆ พระภิกษุ สามเณรและพลเมือง จึงพากันอพยพไปอยู่ตามหัวเมืองอื่นหมดสิ้น

    ครั้นถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้าบรมราชากาวิละ ได้เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ตามพระบรมราชโองการของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๙ เมืองเชียงใหม่ได้กลับตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้น อีกครั้งหนึ่ง กระนั้นก็ดีบรรดาวัดวาอาราม ทั้งที่อยู่ภายในกำแพงเมือง และนอกเมือง ก็ยังมีสภาพเป็นวัดร้างจำนวนมาก วัดเจ็ดยอด หรือวัดมหาโพธารามเอง ก็เป็นวัดร้างมาโดยลำดับ เพิ่งมีพระภิกษุสามเณรมาจำพรรษา เมื่อไม่นานมานี้


    a.jpg
    พระธาตุเจ็ดยอด
    ปรากฏเรื่องราวสาเหตุของการสร้างวัดนี้คือ ในช่วงเวลาที่พระพุทธศาสนาจะมีอายุครบ ๒,๐๐๐ ปี พอดี พระเจ้าติโลกราช ได้โปรดให้ช่างฝีมือคนหนึ่งชื่อว่าหมื่นด้ามพร้าคต เดินทางไปยังพุทธคยาอินเดีย เพื่อไปจำลองรูปแบบของมหาวิหารที่พุทธคยาให้มาสร้างไว้ที่เชียงใหม่ที่เห็นคือ วิหารเหมือนด้ามพร้าคต


    พุทธคยาคือ สถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งใน ๔ แห่ง ที่เราเรียกว่า สังเวชยสถาน ๔ รูปแบบของวิหารแห่งนี้ก็ไม่ใหญ่โต หรือเหมือนวิหารพุทธคยาแท้จริง ก็เลยมีการถกเถียงกันว่ารูปแบบที่ช่างไปเอาต้นแบบจากอินเดียมาจริง หรือไปแค่เมืองพุกามประเทศพม่ากันแน่ เพราะในพม่าก็มีวิหารคล้ายๆ แบบนี้ ซึ่งพระเจ้าอนุรุทธิหรืออโณรทาของพม่า ก็ให้ไปจำลองมาสร้างไว้ที่เมืองพุกาม เพราะฉะนั้นพระเจ้าติโลกราชก็ให้ไปจำลองวิหารพุทธคยามาสร้างไว้ที่เชียงใหม่ ในการเปรียบเทียบทั้งที่พุทธคยา พุกาม พม่า และที่นี่ปรากฏว่าขนาดของเราเล็กสุดกว่าที่อีก ๒ แห่ง ที่เหลือที่พุกามจะใหญ่โตพอๆ กับอินเดียที่เป็นตนแบบ รูปแบบของเราจะแตกต่างออกไปบ้าง

    ลักษณะสถาปัตยกรรม มหาวิหารเจ็ดยอด (โพธิบัลลังก์) หรือ พระธาตุเจ็ดยอด ก่อด้วยศิลาแลง กว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๓๐ เมตร และสูง ๑๘.๖๕ เมตร โดยทั่วไปแบ่งออกเป็นส่วนสำคัญได้ ๓ ส่วน คือ ส่วนฐาน เป็นฐานบัว และด้านหน้ากระดานรองรับ ส่วนที่ทำเป็นคูหา ซึ่งส่วนนี้ทำเป็นลักษณะแบบอุโมงค์เพดานโค้งลึกเข้าไป ภายในสุดผนังด้านหลังของคูหา มีแท่นประดิษฐานพระพุทธรูป ผนังด้านข้าง ๒ ด้านก่อด้วยอิฐศิลาแลงหนาหลายชั้น เพื่อใช้เป็นโครงสร้างรับน้ำหนักข้างบน ระหว่างความหนาของผนังนี้ได้ทำเป็นทางเดินแคบๆ มีขั้นบันไดขึ้นสู่ชั้นบน ส่วนบน หรือหลังคาเหนือคูหาขึ้นไปประกอบด้วยยอด ๗ ยอดด้วยกัน คือ กลุ่มยอดทรงกรวยเหลี่ยมแบบยอดศีขรจำนวน ๕ ยอด มียอดสูงใหญ่อยู่กลางยอดเล็กเป็นบริวารประกอบอยู่ ๔ มุม ที่มุขด้านหน้าซึ่งยื่นออกมาทำเป็นเจดีย์ทรงกลมตั้งอยู่ด้านละองค์


    a.jpg
    ผนังทำเป็นรูปเทวดานั่งพนมมือ ซึ่งเป็นรูปแบบของประติมากรรมในศิลปะล้านนาตอนปลาย ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย หน้าเป็นรูปไข่ บ่าใหญ่ เอวเล็ก ขัดสมาธิราบ คล้ายพระพุทธรูปแต่พนมมือ เพราะฉะนั้นก็คงจะทำเป็นรูปเทวดาไม่ใช่เป็นพระพุทธรูปหรือรูปพระสาวก เพราะมีเครื่องทรงเป็นเทวดา ระหว่างเทวดาแต่ละองค์จะมีเสาเล็กๆ คั่นอยู่เป็นระยะๆ อาจจะเป็นรูปแบบที่รับจากอินเดีย เทวดาที่มาประดับหมายถึง เทวดาที่มาบูชาพระพุทธเจ้าตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้


    a.jpg
    มหาสถูปบรรจุพระอัฐิและอังคารธาตุพระญาติโลกราช วัดเจ็ดยอด
    ในสมัยพระเจ้าศรีสุธรรมติโลกราชสวรรคตแล้ว พระเจ้าชังรายัตตราช (พระเจ้ายอดเชียงราย) ผู้เป็นราชโอรส พระองค์ประสูติปีชวด มีพระชนมายุได้ ๓๑ พรรษา ได้เสวยราชสมบัติเมื่อปีมะแม พระองค์พร้อมด้วยพลนิกาย เสนาอำมาตย์อัญเชิญพระบรมศพของพระญาติโลกราช ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์ไปด้วยรางทอง และถวายพระเพลิงที่วัดโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) ครั้นถวายพระเพลิงแล้วจึงได้ก่อสร้างสถูปเจดีย์ไว้ ณ ที่นั่น เพื่อประดิษฐานพระอัฐิธาตุ แล้วพระราชารับสั่งให้สร้างวัดตโปธาราม (วัดร่ำเปิง) อยู่ทางทิศตะวันตกของสนามบินเชียงใหม่ในปัจจุบัน เมื่อปีชวด จุลศักราช ๘๕๔


    รัชสมัยต่อจากพระยอดเชียงรายคือ พระเมืองแก้ว พระองค์ได้รับพระนามว่า “พระเจ้าสิริธรรมจักรติลกปนัดดาธิราช” เมื่อครองราชย์เมืองเชียงใหม่ พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงวัดเจ็ดยอดสืบต่อมา ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา สร้างสถูปเจดีย์ ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามมากมายที่วัดเจ็ดยอด พระองค์ทรงถวายที่ดินแก่วัดสร้างอุโบสถและผูกพัทธสีมาใหม่ บูรณะหอเฑียรธรรม เมื่อแล้วเสร็จทรงโปรดให้มีการฉลองเป็นการใหญ่ และเมื่อพระเมืองแก้วเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๐๖๘ พระเมืองเกษเกล้าได้เสวยราชย์ต่อมา และทรงโปรดให้ตั้งอธิบดีสงฆ์วัดเจ็ดยอดเป็นพระสังฆราช


    มหาสถูปบรรจุพระอัฐิและอังคารธาตุพระญาติโลกราช มีลักษณะเจดีย์ทรงปราสาท มีขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นแบบอย่างสถาปัตยกรรมรูปทรงเจดีย์ ซึ่งนิยมสร้างกันมากในสมัยราชวงศ์มังราย ลักษณะโดยทั่วไปขององค์สถูปประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมย่อเก็จประกอบด้วยลวดบัวและคั่นด้วยลูกแก้วแบบฐานทรงบัลลังก์รองรับส่วนเรือนธาตุ ซึ่งทำเป็นซุ้มจระนำประกอบอยู่ทั้ง ๔ ด้าน ส่วนเหนือเรือนธาตุขึ้นไป เป็นฐานบัวคว่ำหรือบัวถลารองรับส่วนบนซึ่งทำเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา ประกอบด้วยฐานเขียงและลวดบัวซ้อนกันขึ้นไปรองรับปล้องไฉน


    a.jpg
    ที่จริงแล้วในวัดโพธาราม หรือวัดเจดีย์เจ็ดยอดนี้ยังมีสิ่งก่อสร้างและกลุ่มโบราณสถานที่น่าสนใจอีกมากมายแต่ที่ได้ถ่ายรูปมาไม่รู้เลยว่า เจดีย์ใหญ่เจดีย์น้อยหรือฐานเจดีย์นี้เขาเรียกว่าอะไร เนื่องจากป้ายสแตนเลสที่ติดอยู่ข้างหน้าแต่ละที่นั้นได้ชำรุดตัวหนังสือแต่ละป้ายอ่านไม่ออกเลยเหลือแต่แผ่นป้ายเกลี้ยงๆ ซะอย่างนั้น


    a.jpg
    สิ่งที่น่าสนใจแต่ไม่รู้ว่าอะไรคืออะไรบ้างก็มีอาทิเช่น ซุ้มประตูโขง(อันนี้เดาได้เป็นซุ้มประตูทางเข้า) มณฑปและสระมุจจลินท์,เจดีย์กู่แก้ว,มณฑปพระแก่นจันทร์แดง,อนิมิสเจดีย์,รัตนฆรเจดีย์,รัตนจงกรม,ราชายตนะเจดีย์,อชปาลนิโครธ





    คำบูชา
    ปะฐะมัง โพธิปัลลังกัง ทุติยัง อะนิมิสสะกัง ตะติยัง จังกะมะ เสฏฐัง จตุตะกัง ระตะนะฆะรัง
    ปัญจะมัง อะชะปาละนิโคธัง ฉัฏฐัง ราชะยะตะนัง สัตตะนัง มุจจะลิทัง อะหังวันทามิ ทูระโต
    (หรือจะบูชาต้นโพธิ์ตามวัดต่าง ๆ ก็ได้ คำบูชาต้นโพธิ์ "โพธิรุกเขปูชิโน")


    .............................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7384_1a.jpg
      IMG_7384_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      505.8 KB
      เปิดดู:
      3,833
    • IMG_7388_1a.jpg
      IMG_7388_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      453.4 KB
      เปิดดู:
      4,631
    • IMG_7389_1a.jpg
      IMG_7389_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      537.2 KB
      เปิดดู:
      3,956
    • IMG_7390_1a.jpg
      IMG_7390_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      288.8 KB
      เปิดดู:
      3,002
    • IMG_7397_1a.jpg
      IMG_7397_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      385.5 KB
      เปิดดู:
      2,583
    • IMG_7401_1a.jpg
      IMG_7401_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      562.7 KB
      เปิดดู:
      4,969
    • IMG_7403_1a.jpg
      IMG_7403_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      450.7 KB
      เปิดดู:
      2,349
    • IMG_7407_1a.jpg
      IMG_7407_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      409.7 KB
      เปิดดู:
      4,053
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2023
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837

    ก็เป็นการจบการเดินทางไหว้พระธาตุเมืองเหนือในวันแรก คณะของเราออกจากวัดโพธาราม มหาวิหาร หรือวัดเจดีย์เจ็ดยอด ประมาณหกโมงเย็นกว่าๆ มาลองทบทวนกันหน่อยว่าเราได้ไหว้พระธาตุในวันนี้ไปกี่แห่งและที่ใดบ้าง

    ๑. พระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง ประจำปีเกิดปีเป้า หรือปีฉลู(วัว)
    ๒. พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ประจำปีเกิดปีเล้า หรือปีระกา(ไก่)
    ๓. พระธาตุศรีจอมทอง จังหวัดเชียบใหม่ ประจำปีเกิดปีใจ้ หรือปีชวด(หนู)
    ๔. พระธาตุวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีเกิดปีสี หรือปีมะเส็ง(งูใหญ่)
    ๕. พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีเกิดปีเส็ด หรือปีจอ(สุนัข)
    ๖. พระธาตุเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีเกิดปีไส้ หรือปีมะเส็ง(งูเล็ก)


    ส่วนสถานที่ที่เราจะพักค้างคืนกันในคืนนี้คือวัดศรีโสดา พระอารามหลวง ซึ่งตั้งอยู่ทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ ถ้าใครนึกไม่ออกให้นึกถึงรูปหล่อลอยองค์ของพระครูบาศรีวิชัยที่อยู่ตรงทางก่อนขึ้นดอยสุเทพ วัดศรีโสดา ก็ตั้งอยู่บริเวณนั้นแหล่ะ มาถึงวัดศรีโสดาได้ก็หนึ่งทุ่มกว่าๆ มั้ง รถจอดได้ก็จัดแจงหิ้วกระเป๋าเดินไปยังที่พักคืนนี้จะเป็นในส่วนของอาคารเรียนในโรงเรียนสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ซึ่งอยู่ในวัดศรีโสดานั่นแหล่ะ ขนกระเป๋าขึ้นห้องเรียนก็ใช้ห้องเรียนเป็นห้องนอนหล่ะคืนนี้ รู้สึกว่ามีความติดขัดบ้างในเรื่องของห้องน้ำ เพราะอาคารเรียนไม่ใช่อาคารนอน ห้องน้ำจึงอยู่มุมตึกของแต่ละชั้น และมีอยู่ห้องเดียวของแต่ละมุมนั่นก็คือห้องน้ำมีแค่สองห้องต่อหนึ่งชั้น ระหว่างนี้ใครจะเข้าห้องน้ำอาบน้ำก็อาบกันไปก่อน ขี้เกียจแย่ง กลุ่มของสร้อยฟ้าฯ ก็เลยชวนกันลงจากวัดไปซื้อข้าวซื้อของขึ้นมาทาน

    ตอนนี้ทางเดินมืดหมดแล้วหล่ะ เดินลงเขาทางลาดชันพอสมควร ขณะเดินลงฝนก็ตกไปด้วย อากาศเย็นหน่อยๆ แต่โชคดีที่ไม่เป็นหวัด พอลงมาถึงชายเขา ก็พบกับความว่างเปล่าของร้านค้า เขาเก็บร้านกันแล้ว เหลือแต่ร้านที่ขายพวงมาลัยดาวเรืองที่ยังเปิดอยู่ จึงได้พากันเดินเข้าไปดูร้านข้างในๆ โชคดียังเหลือหนึ่งร้านที่ยังเก็บร้านไม่เสร็จ แต่ของในร้านแทบหมดแล้วก็ได้ข้าวผัดกระเพราะแบบเหนือๆ มา ๓ กล่องและผัดซีอิ้วมา ๔ กล่อง มาม่าคัพอีก ๗ กล่อง น้ำเปล่าและนมอีกหลายขวด นี่แหล่ะหวังน้ำบ่อหน้าไม่ได้เลย เดินหิ้วขึ้นมาบนห้องเรียน ตอนนี้ข้างล่างมีการเดินเวียนเทียนกันเพราะเป็นวันมาฆบูชา แต่กลุ่มของสร้อยฟ้าฯ และกลุ่มที่นอนอีกฝากของห้องไม่ไดลงไป ฝนตกปรอยๆ แต่หนาเม็ด พอทานเสร็จห้องน้ำก็ว่างพอดีก็เลยผลัดกันเข้าห้องน้ำ ขอบรรยายถึงห้องน้ำหน่อย ในห้องน้ำใหญ่จะมีโถปัสสาวะอยู่ในห้องและจะมีห้องส้วมผสมกับห้องน้ำอยู่ในห้องน้ำใหญ่อีกที่ ห้องน้ำเล็กนี้ใช้เป็นที่อาบน้ำและถ่ายหนัก ไม่มีฝักบัว ไม่มีขัน ไม่มีที่แขวนเสื้อผ้า มีก๊อกน้ำอยู่ข้างๆ โถชักโครก ความสูงของก็อกน้ำคือเตี้ยกว่าชักโครก ๕๕๕+... อาบน้ำสนุกหล่ะทีนี้ ส่วนจะอาบน้ำยังไงนั้น ก็แล้วแต่เทคนิคใครเทคนิคมัน สิ่งที่บรรยายนี้ไม่ได้ให้มองถึงความลำบากไม่เป็นนะ สิ่งไหนไม่เคยเจอก็ได้เจอ อาบน้ำเสร็จแล้วก็จัดแจงเข้านอน กลุ่มของสร้อยฟ้าฯ นอนทางด้านหน้าห้อง คือ จะมีกระดานดำ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่รู้จักกันแต่มาคณะเดียวกัน นอนด้านหลังห้อง โดยจะมีเก้าอีและโต๊ะเรียนเป็นฉากแบ่งห้องให้เป็น ๒ ส่วน


    a.jpg


    ต่อไปนี้คือ บททดสอบ
    เวลาสามทุ่มเศษ ความสงบในวัดเริ่มจะเงียบ พวกเราเริ่มจะหลับกันบ้างแล้วรวมถึงสร้อยฟ้าฯ ด้วย หลอดไฟฟลูออเรสเซนที่แยกกันระหว่างหน้าห้องเรียนกับหลังห้องเรียนปิดหมดแล้ว นั่นคือเครื่องแสดงให้เห็นว่าถึงเวลาที่หมู่ชนจะพักผ่อนหรือปฏิบัติธรรมกันโดยความสงบ แต่ แต่ แต่ ไม่เป็นเช่นนั้น กลุ่มหลังห้องเพื่อนสมาชิกเข้ามาครบกันแล้วอยู่พร้อมเพียงกันเปิดฉากคุยกันอย่างเมามันส์ เสียงดังลั่นห้อง มีแต่เรื่องนินทากันทั้งนั้น คนโน้นเป็นอย่างโน้น คนนี้เป็นอย่างนี้ ลูกของคนโน้นเป็นอย่างโน้นอย่างนั้น ยิ่งคุยเสียงยิ่งแผดดังขึ้นเรื่อยๆ จนนอนหลับไม่ลง คนที่หลับแล้วก็ต้องตื่นตามคลื่นเสียงที่มากระทบประสาท เวลาผ่านไปเป็นชั่วโมงถึงจะสงบลงได้ แต่แล้วสงครามประสาทก็เกิดขึ้นอีกตอนตีสามกว่าๆ เมื่อคนในกลุ่มหลังห้องเกิดตื่นขึ้นมาและนอนไม่หลับ แต่ดันลุกขึ้นมาเปิดไฟฝั่งหน้าห้องที่กลุ่มสร้อยฟ้าฯ หลับอยู่ ทำให้ต้องตื่นเพราะแสงไฟจากบนเพดานฉายมาตรงหน้าพอดี ดีจังไฟฝั่งตัวเองไม่เปิดแต่มาเปิดฝั่งคนอื่น จากนั้นฝั่งหลังห้องก็เริ่มคุยกันอย่างเมามันส์เหมือนเดิม ไม่มีความเกรงใจกันเลย กลุ่มของสร้อยฟ้าฯ เลยเขียนบนกระดานดำว่า เห็นแก่ตัว, เกรงใจเป็นไหม, เงียบจังจนนอนไม่หลับ แต่เสียงก็ไม่ได้เบาลง สรุปก็ไม่ได้นอนนับแต่นั้นจนสว่าง พอสว่างแล้วพวกหลังห้องจึงได้อ่านหน้ากระดานเสียงดังๆ แต่ยังไม่มีจิตสำนึกระลึกตัวอีก ยังพูดอีกว่า พวกเรามาจองทีก่อน พวกสร้อยฟ้าฯ มาทีหลัง ใครทำอย่างไรก็ได้อย่างนั้น เดี๋ยวจะเขียนบ้าง...


    เออดีจัง กลุ่มของสร้อยฟ้าฯ มากับคณะฯ นี้เป็นครั้งแรก แต่กลุ่มหลังห้องเป็นคณะแสวงบุญใส่เสื้อประกาศตัวว่าเป็นสมาชิกในคณะฯแสวงบุญนี้ นั่นแสดงว่ามาทำบุญกับคณะฯ นี้หลายครั้งแล้ว แต่ไม่เคยฝึกฝนจิตใจเลย... คนหนอคน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7409_1a.jpg
      IMG_7409_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      436.3 KB
      เปิดดู:
      1,974
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2023
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    เช้านี้วันเสาร์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ทางวัดศรีโสดาได้จัดเลี้ยงข้าวต้มให้แก่ทางคณะแต่เช้า หลวงพี่พระวิทยากรบอกว่า ตอนเช้าพวกเราจะขึ้นไปไหว้พระธาตุดอยสุเทพ ให้เวลาถึง ๙ โมงเช้าต้องรีบลงมา เพราะทางวัดศรีโสดาโดยพระเดชพระคุณ พระเทพโกศล เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ได้จัดพิธีสืบชะตาแบบล้านนาให้ที่พระอุโบสถ และพร้อมกันนี้ทางคณะฯ ได้ถวายผ้าป่าให้กับทางวัดศรีโสดาด้วยพร้อมกัน ไป รีบขึ้นไปไหว้พระธาตุดอยสุเทพกัน เดี๋ยวลงมาไม่ทันพิธี

    [​IMG]




    วัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร พระธาตุประจำปีเกิดปีเม็ด ปีมะแม(แพะ)


    เป็นที่ประดิษฐานเกศาธาตุและพระธาตุส่วนพระเศียร

    ตำนานพระธาตุดอยสุเทพ

    ตามตำนานกล่าวว่า เป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้เสด็จมายังดอยอุจฉุปัพพต เพื่อฉันภัตตาหาร พร้อมด้วยพระสาวก ณ ที่นี้มีย่าแสะแม่ลูกได้ตักบาตรถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้า พระองค์จึงมอบพระเกศาธาตุให้ประดิษฐานไว้ที่ดอยแห่งนี้

    [​IMG]


    เมื่อพระพุทธศักราช ๑๘๗๔ ปีล้วงเม็ด (มะแม ตรีศก) จุลศักราช ๖๙๓ ในแผ่นดินพระเจ้ากือนามหาราชเจ้านครเชียงใหม่ ได้มีพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ เข้ามาตั้งในรามัญประเทศ (มอญ) มีพระมหาเถระชาวมอญรูปหนึ่ง ได้ไปอุปสมบทในสิงหลบประเทศ (ประเทศลังกา) แล้วนำพระพุทธศาสนาแบบลังกา มาประดิษฐานที่เมืองมติมา (เมาะตะมะเมืองมะละแหม่งเก่า ประเทศพม่า) พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองในเมืองนั้น ท้าวพระยาเสนามาตย์และประชาราษฎรมีความเลื่อมใสในศีลาธิคุณ ของพระมหาเถรเจ้าองค์นี้อย่างยิ่ง จึงพร้อมกันอภิเษกเป็นมหาสวามีมีนามว่า "พระอุทุมพรบุบผามหาสวามี"

    ข่าวศีลาธิคุณของท่านพระมหาเถรองค์นี้ ได้แพร่หลายเลื่องลือไปทั่วทิศานุทิศ ในสมัยนั้นมีภิกษุชาวเมืองสุโขทัย ๒ รูป ชื่อพระอโนมทัสสี และพระสุมนะได้ไปเรียนพระไตรปิฎกที่กรุงศรีอยุธยา ในสำนักอาจารย์ดีๆ หลายแห่ง แล้วกลับมาอยู่ในสำนักพระมหาเถรสังฎราชบรรพตในเมืองสุโขทัย ต่อมาพระภิกษุ ๒ รูปนั้นได้ไปศึกษาเล่าเรียนสำนักพระอุทมพรบุบผามหาสวามี เมืองมติมาประเทศมอญ แล้วอุปสมบทแปลง(สวดญัตติใหม่) ในสำนักพระมหาสวามีนั้น อยู่ศึกษาและปฏิบัติธรรมวินัยในสำนักนั้น ๕ พรรษา แล้วจึงนมัสการลาพระมหาสวามี อาจารย์กลับคืนมายังเมืองสุโขทัย ผู้เป็นอุปัชฌายะท่านให้นิสัยมุตตกะแก่พระภิกษุ ๒ รูปนั้นแล้ว ภิกษุทั้ง ๒ รูป ก็กลับมายังเมืองสุโขทัย พอออกพรรษาได้ถึง ๑๐ ท่านทั้ง ๒ จึงพาอุปสัมปทาเปกข์(ผู้ใคร่จะอุปสมบท) ๘ รูป ไปอุปสมบทในสำนักท่านพระอุทุมพรบุบผามหาสวามีในเมืองมติมานั้น ท่านพระมหาสวามีได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นว่า พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองในรามัญประเทศนี้ไม่นาน ต่อไปจะรุ่งเรืองในเมืองไทย ท่านทั้งสองจงนำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ในเมืองไทยเถิด แล้วท่านพระมหาสวามี ก็ส่งพระเถระทั้งสองกับพระบวชใหม่มายังเมืองไทย บรรดาพระเถระทั้งสองรูปนั้น พระอโนมทัสสีมาอยู่เมืองศรีสัชชนาลัย เดี๋ยวนี้เรียกว่าสวรรคโลก พระสุมนเถรมาอยู่เมืองสุโขทัย พระเถรเจ้าทั้งสองรูปได้พร้อมกันกระทำวินัยกรรม เป็นต้นว่า อุปสมบทกรรม และสีมาสมมติในเมืองทั้งสองเป็นเนืองนิจ ครั้งนั้นกลางคืนวันหนึ่งพระสุมนเถรจำวัด ใกล้รุ่งเกิดนิมิตฝันอันประหลาดว่า เทวดามาบอกว่า พระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระเจ้าธรรมาโศกมหาราชให้เชิญมาบรรจุไว้ ณ พระเจดีย์เมืองปางจานั้น บัดนี้พระเจดีย์นั้นหักพังเสียแล้ว มีแต่กอดอกเข็มกอหนึ่งมีสัณฐานดังรูปม้านั่ง เป็นที่สถิตย์ของพระบรมธาตุองค์นี้ จักไปประดิษฐานยังเมืองเชียงใหม่ เป็นที่สักการะบูชาแห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายชั่วกาลนาน ขอให้ท่านไปขุดเอาพระบรมธาตุองค์นั้นไปประดิษฐานในเมืองเชียงใหม่เถิด ครั้งรุ่งขึ้นพระสุมนเถรก็นำความถวายพระพรแก่พระเจ้าธรรมราชา เจ้าเมืองสุโขทัย ไปยังเมืองศรีสัชชนาลัย แล้วถวายพระพรเรื่องความฝันนั้นแก่พระเจ้าฤาไทยให้ทรงทราบ เพื่อขออนุญาตขุดเอาพระบรมธาตุนั้น


    [​IMG]

    พระราชาทรงได้สดับข่าวนั้นก็ทรงพระปรีดาปราโมทย์ยิ่งนัก จึงพระราชทานหัตถกรรมให้คนช่วยขุดพระบรมธาตุ พระสุมนเถรเจ้าก็พาคนเหล่านั้นไปยังเมืองปางจา ให้สร้างร้านสูงพอสมควร กระทำสักการะบูชาด้วยบุบผามาลาชาติต่างๆ ครั้นเวลากลางคืนพระเถรเจ้าก็ขึ้นสู่ร้านนั้น กระทำสัตยาธิษฐานอาราธนาพระบรมธาตุ ให้แสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏ ก็ได้เห็นรัศมีพระบรมธาตุกระทำปาฏิหาริย์รุ่งโรจน์โชตนาการขึ้น ณ กอดอกเข็มนั้นเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก พระเถรเจ้าจึงได้เอาธงปักไว้เป็นสำคัญพระบรมธาตุได้แสดงปาฏิหาริย์ตลอดคืน ในวันรุ่งขึ้น พระเถรเจ้าให้ผู้ที่จะขุด สมาทานศีล ๕ ศีล ๘ ทุกๆคน แล้วจึงได้ขุดลงในที่นั้น ก็ได้พบอิฐและศิลา ครั้งขุดต่อๆ ลงไปอีก ก็ได้ผอบที่บรรจุพระบรมธาตุ ชั้นนอกเป็นผอบทองเหลือง ชั้นที่ ๒ เป็นผอบเงิน ชั้นที่ ๓ เป็นผอบทองคำชั้นที่ ๔ เป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ เป็นผอบแก้วประพาฬบระบรมธาตุนี้มีขนาดเท่าผลทับทิม (มะก๊อ) จึงเกิดสงสัยกันขึ้นว่า จะใช่พระบรมธาตุหรือ ? (เพราะคงเห็นว่าใหญ่เกินไป) พระสุมนเถรจึงว่าไม่ใช่พระบรมธาตุเป็นผอบแก้ว แล้วก็กระทำการะบูชา และตั้งสัตยาอธิษฐานจึงได้เห็นที่เปิด พระเถรเจ้าเปิดผอบแก้ว ก็เห็นพระบรมธาตุโตประมาณเท่าเม็ดถั่วเขียว(ถั่วถิม) มีวรรณะเรืองรองดังทองอุไร คนทั้งหลายจึงพากันโสรจสรงชำระพระบรมธาตุด้วยสุคนโธทก แล้วนำมายังเมืองศรีสัชชนาลัย

    พระเจ้าฤาไทยได้ทรงทราบข่าวสารนั้น จึงโปรดให้กระทำสุวรรณปราสาทหนังหนึ่ง แล้วให้คนไปอาราธนาพระบรมธาตุมา ขณะที่ราชบุรุษไปถึงนั้น พระสุมนเถรเจ้าก็กำลังทำสักการะบูชาพระบรมธาตุ จึงได้เห็นพระบรมธาตุแสดงปาฏิหาริย์ยิ่งนักโดยทั่วกัน พระเถรเจ้าก็นำพระบรมธาตุมายังเมืองศรีสัชชนาลัย พระราชาจึงเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ สุวรรณปราสาท แล้วทรงแสดงสักการะบูชาเคารพยำเกรงยิ่งนัก เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นพระบรมธาตุแสดงปาฏิหาริย์อย่างน่าอัศจรรย์ จึงทรงส่งข่าวไปถวายพระเจ้าธรรมราชา เจ้าเมืองสุโขทัย พระเจ้าธรรมราชาก็ทรงยินดีอย่างยิ่ง จึงทรงดำริว่าถ้าพระบรมธาตุแสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏแก่เราดังคนเล่าลือแล้วไซร้ เราจักสร้างเจดีย์ทองคำองค์หนึ่งในเมืองเรานี้ เป็นที่สักการะบูชาต่อไปชั่วกาลนาน แล้วจึงโปรดให้ราชบุรุษไปอาราธนาพระบรมธาตุและพระสุมนะไปสู่สุโขทัย แล้วทรงสักการะบูชาด้วยวรามิศเป็นอันมาก แต่พระบรมธาตุก็ไม่แสดงปาฏิหาริย์ให้ทอดพระเนตร ทั้งนี้นัยว่าเพราะเมืองสุโขทัยนี้ ไม่เป็นที่สถาปนาพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าองค์ประเสริฐ พระเจ้าธรรมราชาไม่เห็นพระบรมธาตุแสดงปาฏิหาริย์เช่นนั้น ก็ไม่ทรงเชื่อถือจึงนมัสการพระสุมนเถรว่า พระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าองค์นี้ขอให้พระคุณเจ้าเอาไปสักการะบูชาเถิด พระบรมธาตุจึงได้ตกอยู่กับพระสุมนเถรเจ้าตั้งแต่บัดนั้นมา พระสุมนเถรเจ้าได้เป็นครูอาจารย์สอนพระปริยัติธรรม ณ เมืองสุโขทัย และเมืองศรีสัชชนาลัยเป็นเวลานาน


    [​IMG]

    ในสมัยนั้น จุลศักราชได้ ๗๒๙ (พ.ศ. ๑๙๑๐) พระเจ้ากือนา ราชวงศ์เมงรายที่ ๖ เสวยราชสมบัติในเมืองเชียงใหม่ เป็นใหญ่ในลานนาไทยประเทศ ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม มีพระราชหฤทัยชอบศึกษาในศิลปศาสตร์ต่างๆ เป็นที่เกรงขามของท้าวพระยานานาประเทศ มีเสนามาตย์ผู้กล้าหาญเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านชาวเมืองได้รับความชื่นบานร่มเย็นเป็นสุข ท้าวเธอทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งนัก ปรารถนาจะได้ภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฏก รู้พระพุทธพจน์ สามารถกระทำสังฆกรรมใหญ่น้อยได้ทุกประการ มาไว้ในนครพิงค์เชียงใหม่ เมื่อได้ทราบสุปฎิปันนตาทิคุณแห่งพระอุทุมพรบุบผามหาสวามีเจ้า ซึ่งอยู่เมืองมติมา จึงให้ราชทูต ไปอาราธนาพระมหาสวามีเจ้า แต่พระมหาสวามีเจ้ารับนิมนต์ไม่ได้ จึงให้ภิกษุซึ่งเป็นศิษย์ ๑๕ รูปมีพระอานนท์เถร เป็นประธาน มาสู่เมืองเชียงใหม่แทนท่าน พระเจ้าถือนาก็ให้พระเถรเจ้าทั้งหลาย พำนักอยู่ ณ วัดโลกภายหลังอาราธนาให้กระทำวินัยกรรม มีอุปสมบทกรรมเป็นต้น พระเถรเจ้าทั้งหลายถวายพระพรว่า ท่านอุทุมพรบุบผามหาสวามี ผู้เป็นอุปัชญายะ ได้ให้พวกตนมาฉลองพระราชศรัทธาพระองค์แต่อย่างเดียวหาได้อนุญาตให้กระทำวินัยกรรมด้วยไม่ ที่จริงยังมีพระเถรเจ้าองค์หนึ่ง ชื่อสุมนเถร ท่านก็เป็นศิษย์แห่งพรอุทุมพรบุบผามหาสวามีเจ้าเหมือนกัน พระสุมนเถรนั้นเมื่อจะกลับคืนมาสู่เมืองสุโขทัยท่านมหาสวามีก็ยังได้สะพายบาตรไปส่ง โดยสมมติว่า ส่งพระศาสนามาตั้งในเมืองไทย บัดนี้ พระสุมนเถรเจ้าก็ยังกระทำการสอนพระปริยัติธรรมอยู่ในเมืองสุโขทัย หากว่ามหาบพิตรไปอาราธนาพระผู้เป็นเจ้าสุมนเถรมาได้ พวกตนจึงกระทำวินัยกรรมพร้อมกับพระสุมนเถรองค์นั้น ท้าวเธอจึงใช้ให้เสนาผู้หนึ่งชื่อว่า หมื่นเงินกอง กับ ผ้าขาวยอด และผ้าขาวสาย ไปอาราธนาพระสุมนเถร เมืองสุโขทัยพระสุมนเถรรับนิมนต์แล้วก็ให้ศิษย์รูปหนึ่งชื่อว่าอานันทะอยู่แทนที่วัดป่าแก้วในเมืองสุโขทัย แล้วพาสามเณรรูปหนึ่งชื่อว่า กุมารกัสสป อายุย่างเข้า ๒๐ ปี ซึ่งเป็นหลานของตนมาด้วย

    พระเจ้ากือนารู้ข่าวพระสุมนเถรมา ก็มีพระราชหฤทัยยินดีเป็นอันมาก ท้าวเธอจึงได้ยกรี้พลไปรับพระสุมนเถรถึงตำบลแสนข้าวห่อเชียงเรือ แล้วท้าวเธอก็นำพระเถรเจ้าผู้ซึ่งมีอายุได้ ๖๐ ปี มาอยู่วัดพระยืน ทิศตะวันออก เมืองลำพูน ปีกัดเล้า จุลศักราช ๗๓๑ (พ.ศ. ๑๙๑๒) และได้อาราธนาให้กระทำสังฆกรรม มีอุปสมบท และมีสีมาสมมติ เป็นต้น พระสุมนเถรก็อุปสมบทกุมารกัสสป สามเณรผู้เป็นหลานให้เป็นภิกษุ ในนทีมาแม่น้ำระมิงค์ หน้าวัดจันทสาโน พร้อมด้วยพระเถรเจ้าทั้งหลาย ๑๐ รูป ที่ท่านอุทุมพรบุบผามหาสวามีส่งมานั้น พระเจ้ากือนาทรงพระปราโมทย์เลื่อมใสในศีลาจารแห่งพระสุมนเถรเจ้านั้น จึงอภิเษกให้เป็นพระมหาสวามี ชื่อว่า "พระสุมนบุบผารัตนมหาสวามี"

    วันหนึ่ง พระมหาสวามีเจ้า เอาพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าองค์ประเสริฐนั้น มาถวายให้ท้าวเธอได้ทอดพระเนตร และถวายพระพรถึงประวัติทั้งมวล ตั้งแต่เทวดามาเข้านิมิตรในฝันนั้นแด่ท้าวเธอทุกประการ ท้าวเธอมีพระราชหฤทัยปราโมทย์เลื่อมใสอย่างยิ่ง จึงให้สรงพระบรมธาตุด้วยสุคนโธทกในไตลคำ (ถาดทองคำ) เมื่อนั้น พระบรมธาตุพระพุทธเจ้าก็กระทำปาฏิหาริย์ต่างๆ ลอยประทักษิณ ไปมาอยู่บนผิวน้ำ ในวันนั้นฝนตกชณิกวัสสกาลให้พระเจ้ากือนาทั้งเสนามาตย์ราชบริพารเห็นเป็นอัศจรรย์ พระมหาสวามีเจ้า อยู่วัดพระยืน เมืองลำพูนได้ ๒ พรรษา แล้วถึงปีกดเส็ด จุลศักราช ๗๓๒ (ปีจอ พ.ศ. ๑๙๑๓) พระเจ้ากือนาก็ได้พระราชทานป่าไม้พยอม ซึ่งเป็นสวนดอกไม้หลวงให้เป็นพระอาราม ชื่อวัดบุบผาราม (วัดสวนดอกไม้ปัจจุบัน) ครั้นสร้างเสร็จแล้ว จึงอาราธนาพระมหาสวามีมาเป็นเจ้าอาวาสในปีล้วงไก๊ จุลศักราช ๗๓๓ (ปีกุน พ.ศ. ๑๙๑๔)


    [​IMG]

    ต่อแต่นั้น พระเจ้ากือนาและพระมหาสวามีเจ้าได้พร้อมกันให้ก่อมหาเจดีย์ในวัดบุบผารามนั้น เพื่อสถาปนา พระบรมธาตุพระพุทธเจ้าองค์วิเศษ ครั้นถึงวันที่จะบรรจุพระบรมธาตุ พระเจ้ากือนาและพระมหาสวามีเจ้า ได้สรงพระบรมธาตุด้วยสุคนโธทก บูชาด้วยเครื่องสักการะเป็นอันมากพระบรมธาตุได้กระทำปาฏิหาริย์ ให้ปรากฏแก่ท้าวเธอ พระมหาสวามีเจ้าและเสนามาตย์ประชาราษฎร สมณพรหมณาจารย์ทั้งหลาย เมื่อพระมหาสวามีเจ้าเอาพระบรมธาตุออกจากนั้นในไถลคำ จึงเป็น ๒ องค์ องค์หนึ่งมีขนาดเล็กกว่าปกติอีกองค์หนึ่งยังเป็นปกติเท่าเดิม มีวรรณสัณฐานงามเสมอกันนัยหนึ่งว่า พระเจ้ากือนาและพระมหาสวามีเจ้าพร้อมกันอธิษฐาน ขอให้พระบรมธาตุแยกเป็น ๒ องค์ ด้วยอานุภาพแห่งสันยาอธิษฐานนั้น พระบรมธาตุจึงแยกออกเป็น ๒ องค์ แล้วอาราธนาองค์หนึ่งในผอบแก้วประพาฬ ผอบทอง ผอบเงิน ผอบทองเหลือง โดยลำดับสถาปนาไว้ในวัดบุบผารามสวนดอกไม้หลวง เพื่อเป็นที่ไว้สักการะบูชาแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ตราบเท่าถึงกาลบัดนี้

    ในปีล้วงไก๊ จุลศักราช ๗๓๓ นั้น พระเจ้ากือนามหาราชและพระมหาสวามีเจ้า มีความปรารถนาใคร่จะสถานปนาพระสารีริกธาตุเจ้าทั้ง ๒ องค์ ไว้ในเสฎฐสถาน จึงทรงปรึกษากันว่า เสฎฐสถานอันควรแก่การสถาปนาพระสารีริกธาตุพระพุทธเจ้าองค์วิเศษนี้ ยังไม่ปรากฏแก่เราทั้งหลาย เมื่อจะแสวงหาที่อันควรสร้างสถูปเจดีย์ จึงเชิญผอบพระสารีริกธาตุ ขึ้นสถิตเหนือเสวรตรคชาธารช้างมงคลอธิษฐานเสี่ยงช้างพระที่นั่งปล่อยไป ส่วนท้าวเธอก็รับสั่งให้ประโคมดุริยดนตรี ไปตามหลังมงคลหัตถีด้วยยศบริวารเป็นอันมาก ช้างมงคลแผดเสียง ๓ ครั้ง แล้วก็บ่ายหน้าไปสู่ประตูหัวเวียง ตรงต่ออุจฉุบรรพต (คือดอยสุเทพ) ได้ไปหยุดอยู่บนยอดเขาลูกหนึ่ง พระเจ้ากือนาและมหาสวามีเข้าพระทัยว่า ช้างมงคลจะหยุดอยู่เพียงนี้ แต่หาได้หยุดอยู่ในที่นั้นไม่ ได้เดินทางต่อขึ้นไปอีก ภูเขาที่ช้างหยุดชั่วครู่หนึ่งนี้เรียกว่า "ดอยช้างนาน" บ้าง "ดอยช้างนูน" บ้าง "ดอยหมากหนุน" บ้างตราบเท่าทุกวันนี้ ช้างมงคลตัวนี้ได้ขึ้นไปถึงยอดดอยอีกแห่งหนึ่ง พระเจ้าถือนาและพระมหาสวามีเจ้า เห็นสนามราบเรียบเป็นอันดี ปรารถนาจะสถาปนาพระบรมธาตุเจ้า ไว้บนภูเขาลูกนั้น จึงทรงปรึกษากันว่าสนามนี้ราบเรียบดีหนอ ขออาราธนาพระบรมธาตุประดิษฐาน ณ ที่สมควรเถิด แล้วจึงเริ่มจะอัญเชิญพระบรมธาตุลงมาจากมงคลหัตถี ทันใดนั้น ช้างมงคลก็ได้เดินต่อไปอีก ที่นั้นจึงเรียกกันว่า "สนามยอดดอยงาม" ภายหนังเรียกกันว่า "ดอยสามยอด" มาตราบเท่าทุกวันนี้ ช้างมงคลตัวนั้นได้เดินทางขึ้นไปโดยลำดับ จนถึงดอยวาสุเทพบรรพต จึงร้องเสียงสะเทือน ๓ ครั้ง กระทำปทักษิณ ๓ รอบ แล้วจึงคุกเข่าทั้ง ๔ ลงเหนือยอดดอยวาสุเทพบรรพตนั้น ขณะนั้น พระเจ้ากือนามีพระราชฤทัยยินดีเป็นอันมาก จึงให้ราชบุรุษทั้งหลายเปล่งเสียงสาธุการโกลาหล แล้วจึงอาราธนาพระบรมธาตุลงจากหลังช้างมงคล พอพระบรมธาตุลงจากหลังช้างเท่านั้น ช้างมงคลก็ถึงแก่ความตายในขณะนั้น แต่ตำนานโบราณว่าช้างมงคลนั้นบ่ายหน้าลงไปสู่ยอดดอยด้านตะวันตกดอยสุเทพ แล้วไปล้ม (ตาย) ณ ที่นั้น เวลาที่นี้ยังมีอนุสาวรีย์ปรากฏอยู่ เรียกว่า "กู่ช้างเผือก"


    [​IMG]

    พระเจ้ากือนามมหาราชและพระมหาสวามีรับสั่งให้ขุดยอดดอยนั้นลึก ๘ ศอก กว้าง ๑ วา ๓ ศอก แล้วเอาหินแท่นใหญ่ ๖ ศอก มากระทำเป็นหีบหินใหญ่ใส่ลงในหลุมนั้น แล้วอาราธนาพระบรมธาตุ พร้อมทั้ง ผอบตั้งไว้บนหีบหินใหญ่ใส่ลงในหลุมนั้น แล้วอาราธนาพระบรมธาตุพร้อมทั้งผอบตั้งไว้บนหีบหิน และถมด้วยหินเป็นอันมาก กระทำให้ราบเรียบเป็นอันดี แล้วจึงก่อเจดีย์หลังหนึ่ง สูง ๕ วา ทับบนพระบรมธาตุนั้น เพื่อเป็นที่สักการะบูชาแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในปีนั้นเอง บางตำนานว่า พระบรมธาตุพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ นี้ พระเจ้ากือนามหาราชได้รับไว้สักการะบูชาก่อนถึง ปี กาบไจ้ จุลศักราช ๗๔๖ (พ.ศ.๑๙๒๗) วันเพ็ญ เดือน วิสาขะมาส ตรงกับวันศุกร์ ฤกษ์ ๑๖ ตัวชื่อวิสาข ในพฤษภราศรี ท้าวเธอจึงได้อาราธนาไปสถาปนาไว้ พระบรมธาตุสุเทพนั้น ปรากฏอยู่เหนือจอมเขาหลังเมืองนครเชียงใหม่สืบมาจนทุกวันนี้

    นับตั้งแต่ พญาเมงรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ ในปีวอก ไทยว่า รวายสัน จุลศักราช ๖๕๘ (พ.ศ. ๑๘๓๙) ตราบเท่าถึงพระเจ้ากือนามหาราช และพระสุมนบุบผารัตนมหาสวามีเจ้า มาสถาปนาพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าบนวาสุเทพบรรพตนี้ ในปีล้วงไก๊ จุลศักราช ๗๓๓ นับได้ ๘๕ ปี ๕ ชั่วกษัตริย์ ปฐมราชวงศ์คือพญาเมงราย (หรือมังราย) เสวยรามสมบัติได้ ๒๕ ปี ถัดนั้น พระราชโอรสพญาเมงราย มีพระนามว่า พญามังคราม เสวยราชสมบัติได้ ๑๕ ปี ถัดนั้น พระราชโอรสพระยามังคราม พระนามว่า พระยาแสนพู เสวยรามสมบัติได้ ๘ ปี ถัดนั้น พระราชโอรสพญาแสนฟู พระนามว่า พญาคำฟู เสวยราชสมบัติได้ ๑๒ ปี ถัดนั้น พระราชโอรสพญาคำฟู พระนามว่า พญาผายู เสวยสมบัติได้ ๒๔ ปี ถัดนั้น พระราชโอรสพญาผายูพระนามว่า พญากือนา ได้เสวยราชสมบัติ ในปีมะแมไทยว่า ปีเมืองเม็ด จุลศักราช ๗๒๙ ถึงปีกุน ไทยว่า ปีล้วงไก๊ จุลศักราช ๗๓๓ (พ.ศ. ๑๙๑๔) จึงได้สถาปนาพระบรมธาตุพระพุทธเจ้า ณ บนวาสุเทพบรรพตนี้ ถึงปีเมืองเป้าจุลศักราช ๗๕๙ (พ.ศ. ๑๙๔๐) ก็สวรรคต ถัดนั้น พระราชโอรสพญากือนา พระนามว่า พญาแสนเมืองมา เสวยราชสมบัติได้ ๑๖ ปี ถัดนั้น พระราชโอรสของพญาแสนเมืองมาพระนามว่า พญาสามฝั่งแกน เสวยราชสมบัติได้ ๔๐ ปี ถัดนั้น พระราชโอรสพญาสามฝั่งแกน พระนามว่า พญาติโลกราช เสวยราชสมบัติได้ ๒๔ ปี ถัดนั้น พระราชภาคิไนยของพญาติโลกราช พระนามว่า พระยอดเชียงราย เสวยราชสมบัติได้ ๙ ปี ถัดนั้น พระราชโอรสพระยายอดเชียงรายพระนามว่า พระยาเมืองแก้ว เสวยราชสมบัติได้ ๑๓ ปี

    ท้าวพระยามหากษัตริย์ผู้เสวยราชสมบัติในนพบุรีศรีมหานครพิงค์เชียงใหม่ ทุกๆ พระองค์ ล้วนมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระบรมธาตุสุเทพ ได้เคารพสักการะบูชาตามประเพณีสืบมาเป็นลำดับ ถัดนั้น พระราชโอรสพระเมืองแก้ว พระนามว่า ท้าวอ้าย คือ พระเมืองเกษเกล้า เสวยราชสมบัติ ในปีกัดเล้าจุลศักราชได้ ๘๘๗ (พ.ศ. ๒๐๖๘) มีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระบรมธาตุสุเทพเป็นอันมาก จึงอาราธนาพระมหาญาณมงคลโพธิ ซึ่งอยู่ในวัดอโสการาม(วัดกู่ละมัก) เมืองหริภุญชัย มาฉลองพระราชศรัทธาให้เสริมพระมหาเจดีย์ใหญ่กว่าเดิม คือองค์ที่อยู่ ณ บัดนี้ ในปีเปิกเส็ดจุลศักราชได้ ๙๐๐ (พ.ศ. ๒๐๘๑) เดือน ๑๘ ขึ้น ๑๓ ค่ำ วัน พฤหัสบดี ยามกองงาย ๒ ลูกนาทีปลายบาตร์น้ำ ฤกษ์ ๑๒ ตัว ชื่ออุตตราคุณ มหาเจดีย์เจ้าองค์นี้ กว้างได้ ๖ วา สูงได้ ๑๑ วา มี ๔ มุม มีรูปไหดอกตั้งอยู่ ๔ มุม แท่นหลวงบรเพ็ด ๔ เหลี่ยม ท้องงู ๒ ชั้น แต่หนาแท่นหลวงถึงปากแท่นแก้วมีกระดูกงูชั้นเดียว แต่คอลอกถึงยอดโกสกวมลูกสะระนัยมี ๑๑ ลูก พระเมืองเกษเกล้าได้พระราชทานกาญจนทองคำ ให้สุววรณการกช่างทองคำเป็นดอกบัวทองคำ ขจิตด้วย แก้วแล้วให้ยกขึ้น ใส่บนยอดพระมหาธาตุเจดีย์ ในวันศุภฤกษ์ดิถีงามบริสุทธิ์ยิ่ง จึงเป็นที่เลื่องลือแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายว่า พระบรมธาตุวาสุเทพมาตราบเท่าทุกวันนี้

    ถัดนั้น พระราชโอรสพระเมืองเกษาเกล้าพระนามว่า ท้าวชายคำ ได้เสวยสมบัติในปีเปิกเส็ดจุลศักราช ๙๐๐ (พ.ศ. ๒๐๘๑) ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า จึงพระราชทานทองคำหนัก ๑๗๐๐ บาท ตีให้เป็นทองจังโก ติดพระบรมธาตุกับเงิน ๖๐๐๐ ให้เป็นค่าไม้สร้างวิหาร ถึงปีก่าเหม่า จุลศักราชได้ ๙๐๗ ปี (พ.ศ. ๒๐๘๘) พระมหาญาณมงคลโพธิ ได้สร้างวิหารด้านหน้าและวิหารด้านหลัง ระเบียงรอบพระธาตุถึง ๔ ด้านฝาผนังวิจิตรกรรม ลายเขียนทั้งหมด ฉลองพระศรัทธาถึงปีเมืองใส้ จุลศักราชได้ ๙๑๙ (พ.ศ. ๒๑๐๐) พระมหาญาณมงคลโพธิ เป็นประธานภายใน สร้างบันไดหลวงก่อรูปนาคลงทั้งซ้ายขวา ต่อมาได้ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้

    พระเจดีย์ที่บรรจุพระบรรมธาตุ มีเนื้อที่ด้านละ ๖ วา ๔ ด้าน รวม ๒๔ วา ลำเลียงเหล็ก (รั้วเหล็ก) ด้านละ ๗ วา ๖ ศอก ๔ ด้าน รวม ๓๐ วา เหล็กลำเลียงด้านตะวันออกมี ๑๒๐ เล่ม ด้านตะวันตก ๑๒๐ เล่ม ด้านใต้มี ๑๓๒ เล่น ด้านเหนือมี ๑๓๒ เล่ม ๕ ด้านรวม ๕๐๔ เล่ม มีปราสาททั้ง ๔ มุม ราวเทียนด้านละ ๙ วา ๔ ด้าน รวม ๓๖ วา ด้านตะวันออกมีประทีปทองเหลือง ๒๘ ดวง ด้านตะวันตก ๒๗ ดวง ด้านใต้ ๒๗ ด้านเหนือ ๒๗ ดวง มุมทั้ง ๔ ก็มี ๔ ดวง รวมทั้งหมดมี ๑๑๓ ดวง ดั่งสำหรับวางประทีป ๔ มุม รวม ๔ ตัว พระวิหารด้านหน้าและด้านหลัง มี ๗ แป ๒ ชาย ซด (มุข ) หลัง ซดหน้ามีซดละห้อง ซดหลัง ๒ ห้อง รวม ทั้งหมดเป็น ๔ ห้อง ๒ หลัง เป็น ๘ ห้อง ระเบียงตะวันออกทั้ง ๒ ข้าง มี ๗ ห้อง ตะวันตกทั้ง ๒ ข้าง มี ๗ ห้อง ด้านใต้ ๑๒ ห้อง ด้านเหนือ ๑๒ ห้อง ๔ ด้านมี ๓๘ ห้อง นับทั้งวิหารมี ๔๖ ห้อง บริเวณภายในฝาแต่ด้านเหนือถึงด้านใต้มี ๑๙ วา ๒ ศอก แต่ด้านตะวันออกถึงด้านตะวันตกมี ๒๒ วา แต่ประตูบริเวณถึงเทวดา ๒ องค์ (บัดนี้ย้ายไปไว้นอกประตูบริเวณแล้ว) มี ๙ วา นาคยาว ๖๐ วา บันไดมี ๑๗๓ ชั้น (เวลานี้มี ๓๐๑ ชั้น) ลำเลียงไม้ชั้นล่างไปทางตะวันตกและตะวันออก ๕๐ วา


    [​IMG]

    ในสมัยนั้น มีอุบาสกคนหนึ่งชื่อว่า มงคลศิลา มีศรัทธาสร้างโรงอุโบสถาคารหลังหนึ่ง อาราธนาพระสังฆราชวัดบุบผารามสวนดอกไม้หลวง เป็นประธาน มาผูกสีมา ณ โรงอุโบสถหลังนี้ อีกประการหนึ่ง เมื่อพระเมืองเกษเกล้าเสวยราชสมบัติ ได้ส่งพระภิกษุไปเรียนพระปริยัติธรรมที่เมืองอังวะ จึงแต่งราชทูตไปกับพระภิกษุผู้ไปเรียนธรรมนั้นราชทูตเข้าเฝ้ากษัตริย์กรุงอังวะ ตรัสถามว่าพวกเจ้าได้ไหว้พระธาตุเจ้าดอยสุเทพหรือเปล่า เมื่อราชทูตว่าไม่ได้ไปไหว้ท้าวเธอตรัสว่า พวกเจ้ามีบุญน้อยนัก ด้วยเหตุว่าพระบรมธาตุเจ้าของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งบรรจุไว้ในที่ใดๆ ก็ดีมีเทวดาไม่รักษา ก็จักไปรวมกันอยู่ในมหาเจดีย์ดอยสุเทพก่อน ครั้ง ๕๐๐ พระวัสสาล่วงแล้ว จึงจะไปรวมกันที่ไม้มหาโพธิ อีกประการหนึ่ง มีพระสังฆราชองค์หนึ่งอยู่เมืองหงสาวดี เมื่อภิกษุชาวเมืองหงสาวดีมาเชียงใหม่ แล้วกลับไปเฝ้าท่าน ท่านย่อมถามว่าเธอทั้งหลายได้ไปไหว้พระบรมธาตุบ้างหรือเปล่า ภิกษุใดได้ไปไหว้ก็กราบเรียนว่า ข้าพเจ้าได้ไปไหว้แล้ว พระสังฆราชาองค์นั้นยินดียิ่งนัก มีผ้าสังฆาฎิก็ดี ผ้าจีวรอื่นก็ดีย่อมให้แก่ภิกษุรูปนั้นทุกๆ รูป และกล่าวว่า บัดนี้พระบรมธาตุพระพุทธเจ้าจะไปรวมกันที่มหาเจดีย์องค์นั้น เหตุนั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายได้ไปไหว้พระบรมธาตุดอยสุเทพและกระทำสักการะบูชา ก็เป็นประดุจได้ไหว้และบูชาพระพุทธเจ้าเมื่อยังพระชนม์อยู่ ครั้งนั้นมีชายผู้หนึ่งชื่อว่า หมื่นลา ไม่ได้มาไหว้พระบรมธาตุดอยสุเทพได้ยินพระดำรัสของพระสังฆราชาเมืองหงสาวดี แต่สำนักเมืองหงสาวดีนั้น ได้ปิติโสมมัสยินดี จึงถอดกำไลมือทองคำออกให้นายช่างทองตีเป็นทองจังโก มาติดพระบรมธาตุดอยสุเทพเหตุนั้น สาธุชนผู้ใดได้ไปไหว้สักการะด้วยอามิสบูชา เป็นต้นว่า ข้าวตอกดอกไม้ สุคนธชาติของหอมก็ดีด้วยข้าวน้ำโภชนาหารก็ดี ด้วยเงินทอง แก้ว แหวน เสื้อผ้าก็ดี ชั้นที่สุดเพียงไหว้ด้วยมือสิบนิ้วก็ดี จงระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าด้วยพุทธคุณว่า อิติปิโส ภควา อรหํ สมมา สมพุทโธ เป็นต้น บ่อยๆ ย่อมชื่อว่า ได้เจริญพุทธานุสสติ กัมมัฎฐาน อาจสำเร็จมโนปณิธานความปราถนาทุปประการ

    ตำนานพระธาตุดอยสุเทพ ยุติลงเพียงเท่านี้



    คำบูชา
    สุวัณณะเจติยัง เกสาวะระมัตถะลุงคัง วะรัญญะธาตุงสุเทวะนามะทัง
    นะระเทเวหิ สัพพะปูชิตัง อะหังวันทามิ สัพพะทา


    ......................................

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1381118/[/MUSIC]​

    ......................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7420_1a.jpg
      IMG_7420_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      428 KB
      เปิดดู:
      2,020
    • IMG_7423_1a.jpg
      IMG_7423_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      409.4 KB
      เปิดดู:
      2,012
    • IMG_7424_1a.jpg
      IMG_7424_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      380.8 KB
      เปิดดู:
      1,717
    • IMG_7426_1a.jpg
      IMG_7426_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      365.1 KB
      เปิดดู:
      1,825
    • IMG_7446_1a.jpg
      IMG_7446_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      380.2 KB
      เปิดดู:
      1,998
    • IMG_7495_1a.jpg
      IMG_7495_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      411.1 KB
      เปิดดู:
      1,778
    • IMG_7480_1a.jpg
      IMG_7480_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      399.9 KB
      เปิดดู:
      1,756
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    แล้วพวกเราก็ลงจากพระธาตุดอยสุเทพ ลืมบอกไปว่า ตอนขาขึ้นไป มีพี่ในกลุ่มสร้อยฟ้าฯ เมารถด้วยหล่ะ คิ คิ หน้าซัดหน้าเซียว พี่ท่านบอกว่าเพิ่งทานน้ำฟักทองอุ่นไปเต็มท้อง พอถึงวัด อาเจียนออกมายังอุ่นๆ อยู่เลย จะขำดีไหมเนี่ยะเดี๋ยวหาว่าหัวเราะเยาะ แต่สร้อยฟ้าฯ ก็เมาเหมือนกันอ่ะ แปลกใจว่าไม่เคยเมารถ ทำไมมาคราวนี้ถึงได้เมา หรือว่านั่งหน้ารถมา แล้วก็ถ่ายรูปไปด้วยเลยเมารถก็อาจเป็นได้ แต่ไม่ถึงกับต้องพุ่งพล่านออกมาอย่างนั้น อิ อิ(เดี๋ยวพี่ท่านคงเข้ามาอ่านเจอ ๕๕๕+)


    a.jpg

    ลงจากดอยสุเทพมาถึงวัดศรีโสดาก็เป็นเวลาเกินกว่า ๙ โมงเช้าแล้วหล่ะ แต่ทางคณะก็ยังลงกันมาไม่หมด ระหว่างนี้ก็นั่งคอยกันที่เต็นท์ข้างพระอุโบสถ ทางวัดได้จัดกาแฟ โอวันตินมาเลี้ยง แต่ต้องชงเอง กำลังหิวพอดีก็ได้โอวันตินไปหนึ่งแก้ว พอได้เวลาอันควรแล้วและคนก็ค่อนข้างพร้อมแล้ว หลวงพี่ในคณะก็ประกาศให้ขึ้นไปทำพิธีสืบชะตาและถวายผ้าป่าให้กับทางวัดศรีโสดา ซึ่งในระหว่างนี้ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้เดินทางมาร่วมทำบุญด้วย

    สร้อยฟ้าฯ ไม่ได้ขึ้นไปร่วมกับเขา จึงได้ถ่ายภาพวัดศรีโสดามาฝาก แต่ขณะนี้เส้นเอ็นที่หลังเท้าซ้ายอักเสบและเท้าบวมแล้ว เดินแต่ละก้าวปวดมาก เป็นตั้งแต่เมื่อคืน ยิ่งเดินขึ้นพระธาตุและพื้นที่ที่เป็นทางลาดเอียงยิ่งทรมานมาก ต่อแต่นี้ไป ๒ วัน ต้องทนเพื่อให้ได้ไหว้พระธาตุและให้ได้ภาพมาโม้ในกระทู้นี้... ฉัน ต้อง ทน ให้ได้....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_7413_1a.jpg
      IMG_7413_1a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      509.3 KB
      เปิดดู:
      1,469
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2023

แชร์หน้านี้

Loading...