อยากทราบอารมณ์ของฌาณ4

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นทีบุญ, 28 มิถุนายน 2011.

  1. นทีบุญ

    นทีบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    939
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +796
    ตามหัวข้อเลยจ่ะ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าถึง ฌาณ 4

    อารมณ์ของฌาณ 4 นั้นเป็นอย่างไร??

    ขอบพระคุณล่วงหน้าจ่ะ
     
  2. ขมิ้นชัน

    ขมิ้นชัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +141
    ตามอง..เห็นเหมือนไม่เห็น
    หูฟัง..ได้ยินเหมือนไม่ได้ยิน
    ลิ้นเหมือนไม่ได้รับรส จมูกเหมือนไม่ได้กลิ่น
    อันเนื่องจากจิตอยูในอาณาเขตกาย ไม่รับรู้ภายนอก
    ใจจับอยู่ที่จุดๆเดียวในฐานสมาธิจิตไม่ไหวกระเพื่อม ลมหายใจจึงไม่รู้สึก ทั้งที่หายใจอยู่
    ความคิดความตรึกจึงไม่มีในห้วงขณะแป๊บๆนั้น คิดว่าเช่นนี้นะครับ
    สังเกตุอาการได้อีกอย่างว่า ในขณะแป๊บๆนั้นถึงแม้ร่างกายไม่รับรู้สัมผัส
    แต่สติเกิดอยู่เป็นอารมย์หนึ่งเดียวตั้งมั่นอยู่ในขณะนั้น
    ส่วนปลีกย่อยอื่นๆอาจไม่เหมือนกันในแต่ละท่าน เท่าที่เจอ คือช่วงที่เปลี่ยนสภาวะ
    จะรู้สึกเหมือนเราผ่านม่านอะไรซักอย่างที่มืดปนสว่าง เหมือนห้วงอวกาศที่ไม่มีสิ้นสุดเคลื่อนเข้ามาช้าๆทะลุตัวเรา ในความมืดนั้นมีจุดเล็กๆเหมือนจุดดาวเล็กๆเต็มไปหมด หรือบางครั้งรู้สึกดิ่งลงช้าๆ ลงไปในมหาสมุทรที่ไม่มีก้น มืดๆปนสว่างเหมือนห้วงอวกาศที่มีจุดดาวเล็กๆดังกล่าว ไปทีละม่านๆ จนหยุดดิ่งนิ่ง แป๊บเดียวก็ขึ้นมา ความคิดทำงานต่อ สภาวะหยุดดิ่งนิ่งเป็นอารมย์เดียวนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2011
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    จริงๆแล้วพูดเหมือนมันยากมากจนเอื้อมไม่ถึง...อะไรขนาดนั้นนะครับ.....ความจริงแล้วไม่ได้ยากอะไรมากหลอกนะ.....ไม่มีอะไรยากสำหรับผู้มีความเพียรนะครับ.....เดี๋ยวผมจะเอาวิธีการสอบอารมณ์ด้วยตัวเองตามที่ครูบาอาจารย์ท่านเคยแนะนำไว้ให้นะครับ....อย่างไรถ้าปฏิบัติแล้วก็สอบอารมณ์ตัวเองดูนะครับ....
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    [​IMG]



    ฌาน ๔ นำไปสู่นิพพานได้



    ปัญหา ลำพังการทำสมาธิจนได้ฌานจะสามารถนำไปสู่นิพพานได้หรือไม่ ?


    พุทธดำรัสตอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศตะวันออก หลั่งไปสู่ทิศตะวันออกบ่าไปสู่ทิศตะวันออกฉันใด ภิกษุเจริญพอกพูนซึ่งฌาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพานโน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพานฉันนั้น....

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔อันภิกษุพึงเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปเพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ (คือ รูป ราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะอวิชชา) เหล่านี้แล”<O:p</O:p




    ฌานสังยุต มหา. สํ. (๑๓๐๑-๑๓๐๔ )


    ตบ. ๑๙ : ๓๙๒-๓๙๓ ตท. ๑๙ :๓๖๐-๓๖๑


    ตอ. K.S. ๕ : ๓๗๒



    <O:p</O:p<!-- google_ad_section_end -->
    _________________________________________________​


    [​IMG]


    <TABLE style="WIDTH: 26%; mso-cellspacing: 1.5pt; mso-yfti-tbllook: 1184" class=MsoNormalTable border=1 cellPadding=0 width="26%"><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM: #f0f0f0; BORDER-LEFT: #f0f0f0; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0.75pt; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-TOP: #f0f0f0; BORDER-RIGHT: #f0f0f0; PADDING-TOP: 0.75pt">
    อัปปนาสมาธิหรือฌาน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    ต่อไปนี้จะพูดหรือแนะนำใน อัปปนาสมาธิคำว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิใหญ่ มีอารมณ์
    มั่นคง เข้าถึงระดับฌานตั้งแต่ฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่ แต่ก่อนที่จะพูดถึง อัปปนาสมาธิ ขอย้อน
    มาอธิบายถึงอุปจารสมาธิเล็กน้อยก่อน การที่พูดมาแล้วเป็นการพูดในเรื่องของนิมิตโดยตรง
    ท่านที่ไม่นิยมนิมิตจะไม่เข้าใจ

    อุปจารสมาธิระดับสุดท้าย
    เมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิขั้นสุดท้าย ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สนใจในนิมิต หรือสร้างนิมิตให้เกิดขึ้น
    ไม่ได้ ให้สังเกตอารมณ์ใจดังนี้ อารมณ์นี้มีเหมือนกันทั้งท่านที่ถือนิมิตหรือไม่ถือนิมิต คือจะมี
    ความรู้สึกว่ามีอารมณ์ตั้งมั่นทรงตัวดี มีความชุ่มชื่นไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ มีอารมณ์เป็นสุข
    เยือกเย็นมาก ซึ่งไม่เคยพบมาเลยในชีวิต และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กำหนดอารมณ์ไว้อย่างไร
    อารมณ์ไม่เคลื่อนจากที่ตั้งอยู่ได้นาน ตอนนี้เป็น ฌาน อารมณ์ที่สังเกตได้คือ
    ๑.รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกคำภาวนาทรงตัว ไม่ลืมไม่เผลอไม่ฟุ้งไปสู่เรื่องอื่น
    นอกเหนือจากที่คิดจะภาวนา มีอารมณ์เต็มเปี่ยมด้วยกำลังใจไม่อิ่มไม่เบื่อไม่อยากลุกออกจากที่
    มีความสุขหรรษาเป็นพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีความสุขใดในชีวิตที่เคยพบมาก่อนเลยมีอารมณ์ตั้งมั่นดิ่ง
    อยู่ในที่เดียวเป็นพิเศษ (ข้อห้านี้เป็นฌาน)หูได้ยินเสียงทุกอย่างชัดเจนมากที่เข้ามากระทบ
    ประสาทหู เสียงคนหรือเสียงสัตว์ธรรมดาไม่ใช่เสียงทิพย์ แม้แต่เสียงเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดัง
    มาก ตอนนี้ได้ยินทุกอย่างชัดเจนตามปกติแต่ไม่รำคาญในเสียงนั้นเลยคงภาวนาหรือกำหนดรู้ลม
    หายใจเข้าออกได้เป็นปกติเหมือนไม่มีเสียงรบกวนลมหายใจจะเบากว่าเวลาปกติจนสังเกตได้ชัด
    อาการอย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือฌานที่หนึ่ง
    ๒.เมื่อจิตเป็นสมาธิในฌานที่สองมีความรู้สึกดังนี้คือจะรู้สึกว่าคำภาวนาหายไป
    บางท่านหรือหลายท่านควรจะพูดว่า มากท่านก็คงไม่ผิดเมื่ออารมณ์เข้าถึงฌานที่สองใหม่ๆ
    อารมณ์ยังไม่ชิน เมื่อขณะที่จิตทรงอยู่ในฌานนี้ จะมีความอิ่มเอิบสุขสบาย จะเผลอตัว เมื่อจิต
    มีสมาธิลดลง เพราะกำลังจิตถอยสมาธิ จะลดลงอยู่ที่อุปจารสมาธิตอนนี้อารมณ์คิด คือความ
    รู้สึกก็เกิดขึ้น เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานจะไม่สามารถคิดอะไรได้ เพราะเอกัคคตารมณ์คืออารมณ์
    เป็นหนึ่งไม่มีอารมณ์คิดจะทรงตัวเฉยอยู่และไม่มีคำภาวนา คำภาวนานี้ตั้งแต่ฌานที่สองถึงฌาน
    ที่สี่จะไม่มีคำภาวนาเมื่อรู้สึกตัวว่าไม่ได้ภาวนาก็จะคิดว่าตนเองหลับไปหรือเผลอไป ความจริง
    ไม่ใช่ ซึ่งเป็นอาการของฌานที่สอง
    ๓.เมื่อจิตมีสมาธิเข้าถึงฌานที่สามตอนนี้จะรู้สึกว่า ลมหายใจเบาลงมาเกือบไม่รู้สึก
    ว่าหายใจ แต่ความจริงยังรู้สึกถนัดอยู่แต่เบามากนั่นเอง อาการทางร่างกายจะรู้สึกเหมือนเกร็งไป
    ทั้งร่าง แต่ความจริงร่างกายเป็นปกติ แต่ที่มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอาการของสมาธิ เสียงภายนอก
    ที่เข้ามากระทบหูเกือบไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยได้ยินแต่เบามาก จิตทรงอารมณ์เป็นหนึ่งสงัดดีมาก
    เป็นพิเศษ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่สาม
    ๔.อาการของฌานที่สี่เมื่อจิตเข้าถึงฌานที่สี่ ฌานสี่นี้มีสองขั้นคือ หยาบ กับ ละเอียด
    สำหรับฌานหนึ่ง สอง สาม นั้น แต่ละฌานมีสามชั้นคือ หยาบ กลาง ละเอียด ที่ไม่อธิบายไว้ ก็
    เพราะกลัวจะเฝือ เพราะเมื่อฝึกได้ใหม่ยังไม่มีกำลังใจที่แน่นอน ประเดี๋ยวได้ประเดี๋ยวสลายตัว
    อธิบายละเอียดเข้าแทนที่จะเป็นผลดี จะกลายเป็นอาหารผสมยาพิษไปจุกจิกใจเข้าเลยเลิกดีกว่า
    เป็นอันว่ารู้กันว่าเป็นฌานชั้นที่สี่ก็พอ ฌานอื่นๆ พอรู้ว่าถึงฌานก็พอ จงอย่าลืมว่าเมื่อถึง
    ฌานแล้วเวลาไม่นานก็พลัดจากฌาน คืออารมณ์ลดลงมาที่อารมณ์ปกติ ให้คิดว่าเราถึงฌานได้แล้ว
    จะอยู่นานหรือไม่นานก็ช่างเป็นอันว่าเราเข้าถึงธงชัยแล้วก็ดีถมไป วันนี้ฌานสลายตัววันหน้าเวลา
    หน้ายังมีอีก เมื่อเรายังไม่ตายเพียงใด เราก็เล่นเพลิดเพลินในฌานให้อารมณ์เป็นสุข เพื่อเพราะ
    กำลังสมาธิไว้เป็นกำลังช่วยตัดกิเลสในโอกาสหน้าต่อไป
    เลอะเทอะมาเสียนาน ตอนนี้เข้าตอนฌานสี่กันเถอะ เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่หยาบตอนนั้นจะมี
    ความรู้สึกว่า ลมหายใจหายไป ไม่รู้สึกว่าหายใจแต่ที่จริงแล้วลมหายใจยังมีตามปกติแต่ทว่าจิต
    ไม่รับทราบว่าร่างกายทำอะไร หายใจหรือไม่ จิตใจย่อมไม่รับรู้ตามท่านพูดว่าจิตกับประสาทแยก
    กันเด็ดขาด แต่ตอนฌานสี่หยาบนี้จิตแยกออกจากประสาทจริงแต่ยังไปไม่ไกลนัก ฉะนั้นเมื่อมี
    เสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก
    เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายใน
    กำลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่า
    เสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียด
    เป็นอย่างนี้
    ที่นำอาการของฌานมากล่าวไว้ที่นี้ก็เพราะว่าการปฏิบัติในหมวดสุกขวิปัสสโก ก็ทรงฌาน
    เหมือนหมวดอื่นเหมือนกัน เพื่อนักปฏิบัติจะได้ทราบอาการเอาไว้ เพราะมีผู้มาถามเรื่องอาการ
    ของฌานนี้นับรายไม่ถ้วน บางรายถามแล้วถามอีกถามบ่อยๆ ชักสงสัยว่าทำจริงหรือเปล่า เพราะ
    ผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป<O:p></O:p>
    **************************************************<O:p</O:p

    เข้าศึกษาได้ตั่งแต่เริ่มต้น...ทั้งหมด....ได้ที่นี่....หนังสือเล่มนี้เนื้อหาเพียงพอสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง....รวบรวมวิธี...และอาการทางสมาธิ...ทั้งหมด....ควรศึกษาให้เข้าใจสัก 1 รอบ(ไม่ยาวนัก)แล้วปฏิบัติได้เลย....คำถามทางสมาธิส่วนใหญ่ที่ถามในบอร์ดมักอยู่ที่นี่.......

    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ( ฤาษีลิงดำ )...

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7 <O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มิถุนายน 2011
  5. Darkever

    Darkever เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2011
    โพสต์:
    450
    ค่าพลัง:
    +333
    ไม่มีลมหายใจ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่มีกาย จิตแน่ว
     
  6. CsT

    CsT สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +16
    หูได้ยิน แต่ก็ไม่ได้ยิน
    กายสัมผัส แต่ก็ไม่สัมผัส
    ลมหายใจ แต่ก็ไม่หายใจ
    รู้สึก แต่ก็ไม่รู้สึก
    สมาธิรวมเป็นจุดเดียว

    เราไม่จำเป็นต้องคิดมากหรอกครับ ถ้าอ่านมาก หามาก มันจะเป็นสัญญาจำเปล่าๆ
    แต่ถ้าหากปฏิบัติเอง และถึงจริงๆ จิตของเราจะบอกเราเอง และจิตจะไม่โกหกเราครับ

    ถ้าหากติดในการปฏิบัติหรือสงสัย ผมแนะนำครูบาอาจารย์ให้ครับ เพราะพึ่งไปบวชและปฏิบัติอย่างเคร่งที่นี้มา

    หลวงตาก๊อต ฐิตวังโส วัดป่าโนนใจดี ต.บุง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ
    ลูกศิษย์หลวงปู่ขาล ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่าครับ
    ท่านพูดไม่มาก ไม่รับกิจนิมนต์ เน้นปฏิบัติอย่างเดียวครับ

    ผมยังไม่เก่งนะครับ บอกไว้ก่อนเลย แต่ครั้งหนึ่งเคยถึงจุดนี้เฉยๆ
    แต่ตอนนี้ไม่มีเวลาเร่งปฏิบัติเท่าไร พยายามรักษาพุทโทและลมหายใจ
    และหาเวลาไปปฏิบัติที่วัดอยุ่คับ
     
  7. หมูดิน1

    หมูดิน1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +863
    [​IMG]

    ทำใจไห้ว่าง จากอกุศลทั้งปวง

    และปฏิบัติตาม คำสอนหลวงพ่อฤษี

    ทำไห้ได้ ก็จะรู้เองครับผม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2011
  8. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    อารมย์ไม่รู้จะบอกอย่างไรแต่กิริยาที่เกิดขึ้นคือ ดวงจิตกับกายจะแยกกันอย่างเด็ดขาดชั่วคราว ณ ขณะนั้น..
    อนุโมทนาครับ...
     
  9. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    เอ! เมื่อกิ้เราเจอกันที่ห้องเซทนี่หน่าไวจัง 5555
     
  10. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    อาจอมยุทธ์ สองแปะ ไปไวมาไวไร้ร่องรอย..
    อนุโมทนาครับ...
     
  11. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    1.ปฐมณาน นิวรณ์ 5 ดับ ปิติและสุขจึงเกิดขึ้น ปิติสุขเกิดขึ้นทุกข์กายทุกข์ใจจึงดับลง

    (นิวรณ์ 5 คือ1.ความอยากใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส 2.ความโกรธพยาบาท 3.ความลังเลสงสัยในธรรม 4.ความเกียจคร้านโงกง่วง 5.ความหงุดหงิดฟุ้งซ่านรำคาญ)

    2.ทุติยณาน ความนึกคิดดับไปเพราะเอกคัตาจิตเกิดขึ้น จึงเสวยปิติสุขอันละเอียดยิ่งขึ้น

    3.ตติยณาน ปิติดับไป จึงเสวยแต่ความสุขล้วนๆ

    (ปิติ เป็น กายสังขาร หยาบกว่า สุข สุข เป็นจิตสังขาร อุปมาเหมือนคนผู้กระหายถูกความร้อนคือทุกข์ครอบงำ แล้วได้พบเห็นน้ำตกที่น่ารื่นรมณ์ การเห็นน้ำตกเปรียบได้กับปิติ
    สุขเปรียบได้กับการลงเล่นน้ำและดื่มน้ำดับกระหาย)

    4.จตุถณาน สุขดับไป จิตมีแต่เพียงเอกคัตาจิต มีลักษณะตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเหมือนภูเขาศิลาทึบไม่ไหวด้วยลมพายุ

    ผิดพลาดยังไงก็ขออภัยด้วยนะครับ

    ขอให้เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 มิถุนายน 2011
  12. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,188
    ค่าพลัง:
    +20,865
    ฌานเป็นปัจจัตตัง ครับ

    ทำเอง รู้เอง เห็นเอง อธิบายได้ยาก เพราะเป็น ภาษาจิต ครับ
     
  13. Red people

    Red people เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +153
  14. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
  15. peerakul

    peerakul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    9,427
    ค่าพลัง:
    +33,493
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
     
  16. ขมิ้นชัน

    ขมิ้นชัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +141
    ขออนุญาตยกตัวอย่างในชีวิตประจำวันนะครับ
    การได้ยิน เมื่อเราได้ยินเสียงที่ไม่ต้องการ เช่นเสียงบ่นด่าของคนรอบข้างพูดกรอกหูเรา เราสามารกำหนดจิตให้รวมศูนย์ที่ฐานสมาธิ ให้ไม่สนใจถ้อยคำน่ารังเกียจเหล่านั้นได้ การรับฟังเป็นลักษณะฟังไม่รู้เรื่อง ผลเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา จับใจความไม่ได้ จึงเรียกได้ว่าได้ยินเหมือนไม่ได้ยิน
    การมองเห็น เมื่อเจอรูปที่กระทบใจด้วยตัณหา เพื่อไม่ให้จิตคิดปรุงต่อ สติกำหนดให้จิตกลับมาเข้าฐาน ตาที่มองอยู่ก็เกิดการมองอย่างไร้ความหมาย การปรุงต่อจึงเกิดได้ยาก
    เรียกได้ว่า เห็นเหมือนไม่เห็น
    การตัดวงจรปฏิจจสมุปบาทในปัจจุบันขณะ เป็นมาด้วย วิธีการนี้ สังเกตุได้ว่าหากทำสมถะสมาธิบ่อยๆ จิตจะมีสติรับรู้สัมผัสได้เร็วมากขึ้น ทำให้ใช้ฌานได้ดีคล่องตัวมากขึ้นครับ
     
  17. ซาตานคลั่ง

    ซาตานคลั่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    496
    ค่าพลัง:
    +1,449

    ถ้ารู้สึกว่าไม่มีลมหายใจ ก็เป็นฌาณสี่ ถ้ายังรู้สึกว่ายังมีลมหายใจอยู่ก็เป็นฌาณใดฌาณหนึ่ง ไม่ใช่ฌาณสี่


    เพิ่มเติม....ลืมบอกไป ว่าเป็นคำแนะนำจากหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ครูบาร์อาจารย์ที่ผมศรัทธา(เพราะผมฝึกตามที่ท่านแนะนำแล้วทำได้จริง)
    จะเชื่อหรือไม่เชื่อว่าเป็นคำแนะนำจากหลวงพ่อก็ลองไปตามเว็บนี้
    http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=957
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มิถุนายน 2011
  18. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    ผมยังไม่ได้หรอกนะแต่จากที่พระอาจารย์ผมบอกมันมีจุดสังเกตคือถ้ายังมีความ
    คิดได้นี่ไม่ถึงฌาณ 4 ถ้าฌาณระดับที่คิดได้นี่คิดปุ๊บมันจะมีคำตอบตอบกลับมา
    ทันที ถ้าเราเพ่งไปที่ส่วนไหนในกายมันจะเห็นส่วนนั้น ปอกเข้าไปดูให้มันเหลือ
    แต่กระดูกก็ได้ ปีติมันขนาดที่ว่าจะเหาะได้
     
  19. ขมิ้นชัน

    ขมิ้นชัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +141
    ............เป็นถึงพระอาจารย์ ผมไม่สงสัยซักนิดเดียว ครับพี่บลู
     
  20. ธรรมภัฎ

    ธรรมภัฎ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2009
    โพสต์:
    463
    ค่าพลัง:
    +734
    มันชาทั้งตัว ลิ้นมันไปจุกที่เพดาน อันนี้ทางกาย ส่วนใจน่ะ นิ่ง แ สว่างจ้า หรือมืดแต่นิ่ง บางครั้งก็เหมือนมันสว่าง แต่ก็ไม่ใช่ เพราะมันก็มีมืด แต่เป็นมืดที่เราเห็นได้ข้างในนั้น

    เจริญธรรม
     

แชร์หน้านี้

Loading...