ฮือฮา!พายุสุริยะสร้างแสงเหนือรูป 'นกฟีนิกซ์' แต่ยังไม่ชัดทำระบบสื่อสารเจ๊ง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ตันติปาละ, 25 มกราคม 2012.

  1. ตันติปาละ

    ตันติปาละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    4,421
    ค่าพลัง:
    +4,649
    [​IMG]



    พายุสุริยะซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 เป็นต้นมา ที่กำลังเคลื่อนตัวพุ่งเข้าโจมตีชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้เกิดปรากฏการณ์แสงเหนือ หรือ "ออโรรา" ขึ้นหลายจุดในซีกโลกเหนือ โดยเฉพาะมีผู้พบเห็นแสงเหนือที่มีรูปร่างคล้ายกับ "นกฟีนิกซ์" ที่ประเทศนอร์เวย์ แต่ยังไม่มีรายงานว่าเกิดความเสียหายแก่ดาวเทียม ระบบนำร่องจีพีเอส รวมถึงระบบการสื่อสารโทรคมนาคมบนโลกของเราแล้วหรือไม่...

    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อ 25 ม.ค. ว่า พายุสุริยะซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 เป็นต้นมา ที่กำลังเคลื่อนตัวพุ่งเข้าโจมตีชั้นบรรยากาศของโลกอยู่ในขณะนี้ ทำให้เกิดปรากฏการณ์แสงเหนือ หรือ "ออโรรา" ขึ้นหลายจุดในซีกโลกเหนือ โดยเฉพาะมีผู้พบเห็นแสงเหนือที่มีรูปร่างคล้ายกับ "นกฟีนิกซ์" กำลังโบยบินที่ประเทศนอร์เวย์ ใกล้ขั้วโลกเหนือ

    รายงานของสื่อต่างประเทศหลายสำนักระบุว่า อิทธิพลของพายุสุริยะ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในรอบเกือบ 7 ปี เริ่มส่งผลต่อหลายพื้นที่บนโลกแล้ว โดยเฉพาะในซีกโลกเหนือ หลังจากมีผู้พบเห็นการเกิดแสงเหนือบนท้องฟ้าทั้งที่ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา สกอตแลนด์ และอีกหลายส่วนของสหราชอาณาจักร แต่ที่สร้างความฮือฮาที่สุดคือที่ นอร์เวย์ ซึ่งมีผู้พบเห็นแสงเหนือที่มีรูปร่างคล้ายกับนกฟีนิกซ์กำลังโบยบิน

    อย่างไรก็ดี จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีรายงานที่ระบุว่า พายุสุริยะซึ่งเป็นอนุภาคโปรตอนที่เกิดจากการระเบิดของพื้นผิวดวงอาทิตย์ และเคลื่อนตัวมายังโลกด้วยความเร็วกว่า 93 ล้านไมล์ต่อชั่วโมงในครั้งนี้ ได้สร้างความเสียหายแก่ดาวเทียม ระบบนำร่องจีพีเอส รวมถึงระบบการสื่อสารโทรคมนาคมบนโลกของเราแล้วหรือไม่ แต่หลายฝ่ายยังคงเตือนให้มีการเฝ้าระวังอิทธิพลของพายุสุริยะลูกนี้อย่าง ใกล้ชิดต่อไปอีกอย่างน้อย 48 ชั่วโมง

    ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานบริหารอวกาศ และการบินแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ องค์การนาซา ระบุว่า การเคลื่อนตัวของพายุสุริยะมายังโลกในลักษณะเช่นนี้ จะยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ จนถึงปี ค.ศ. 2013.


    ขอบคุณข่าวจาก: ไทยรัฐออนไลน์
     
  2. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    สวยดีเหมือนกันนะครับ ในรูป
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เกิดฝนฟ้าคะนอง ลมแรง ฟ้าแลบ และมีฝนตกใน กทม. ซะงั้น
    มืดคลึ้มทีเดียวเชียว
     
  4. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ฝนตกแบบว่าช่วยกันคลื่นความร้อน หรือคลื่นอืื่นๆ ของพายุสุริยะเอาไว้หรือเปล่า 5555
     
  5. white sky

    white sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +118
    เชียงใหม่แดดเปรี้ยงมาเป็นเดือนแล้ว อยากได้ฝนบ้างไม่งั้นหมอกควันมาอีกแน่ แต่เท่าที่สังเกตุท้องฟ้าตอนกลางคืนช่วงนี้มันสว่างมาก ๆ ฟ้ามันไม่มืดเหมือนกลางคืนแต่มันออกฟ้า ๆ เหมือนช่วงเช้าตรู่
     
  6. suatop

    suatop สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2012
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +2
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    คงกันไม่ทันแล้วล่ะ เพราะคลื่นความร้อนมันมาถึงก่อนพายุสุริยะ อีกมั้ง
    มันร้อนมาก่อนหน้านี้หลายวันแล้วล่ะ
    กทม.ร้อนมากๆ มาหลายวันแล้ว แต่ไม่คิดว่าจะเกิดฝนฟ้าคะนอง
    เลยค่อนข้างแปลกใจ --"
    แต่ก็ดี เย็นชุมฉ่ำในทันใด ^.^
     
  8. sinyorrae

    sinyorrae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2010
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +424
    ตอนแรกนึกว่ารูปประเทศไทย
     
  9. Siani_3D

    Siani_3D เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +607
    เริ่มร้อนๆหนาวๆ ปวดคอ ปวดหัว ปวดตา แถมฝนดันตกอีก
    เริ่มแล้วซินะ....ไข้จับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2012
  10. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,711
    <IFRAME style="POSITION: absolute; WIDTH: 10px; HEIGHT: 10px; TOP: -9999em" id=twttrHubFrame tabIndex=0 src="http://platform.twitter.com/widgets/hub.1326407570.html" frameBorder=0 allowTransparency scrolling=no></IFRAME><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>“แสงเหนือ” สวยๆ จากพายุสุริยะครั้งรุนแรง</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=40><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>25 มกราคม 2555 13:32 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="https://plus.google.com/_/apps-static/_/js/widget/gcm_ppb,googleapis_client,plusone/rt=j/ver=SVU_4hfG-8U.th./sv=1/am=!KW4lzGmbF_KIhSW8Og/d=1/" async="true"></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://platform.twitter.com/widgets.js"></SCRIPT><IFRAME style="WIDTH: 110px; HEIGHT: 20px" class="twitter-share-button twitter-count-horizontal" title="Twitter Tweet Button" src="http://platform.twitter.com/widgets/tweet_button.1326407570.html#_=1327538983734&_version=2&count=horizontal&enableNewSizing=false&id=twitter-widget-0&lang=en&original_referer=http%3A%2F%2Fwww.manager.co.th%2FScience%2FViewNews.aspx%3FNewsID%3D9550000011141&size=m&text=%E2%80%9C%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E2%80%9D%20%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%86%20%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87&url=http%3A%2F%2Fwww.manager.co.th%2FScience%2FViewNews.aspx%3FNewsID%3D9550000011141&via=ASTVScience" frameBorder=0 allowTransparency scrolling=no></IFRAME>

    <SCRIPT type=text/javascript src="https://apis.google.com/js/plusone.js" gapi_processed="true"> {lang: 'th'}</SCRIPT>



    <TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><IFRAME style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 450px; HEIGHT: 35px; OVERFLOW: hidden; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" src="http://www.facebook.com/plugins/like.php?href=http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrshort.aspx?NewsID=9550000011141&layout=standard&show_faces=false&width=450&action=like&colorscheme=light&height=35" frameBorder=0 allowTransparency scrolling=no></IFRAME></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600><TBODY><TR><TD vAlign=top width=600 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ปรากฏการณ์แสงออโรราเมื่อคืนวันที่ 24 ม.ค.2012 เหนือท้องฟ้าตอนเหนือของนอร์เวย์ (ภาพประกอบทั้งหมดจากเอเอฟพี)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>พายุสุริยะครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 6 ปี ทำให้เกิด “แสงเหนือ” ที่สวยงามเหนือท้องฟ้าทางขั้วโลกเหนือ และแม้แต่นักดาราศาสตร์ผู้มากประสบการณ์ยังตะลึงงันในความสวยของการแต้มสีสันบนฟากฟ้าจากปรากฏการณ์รรมชาติครั้งนี้

    “มันน่าทึ่งจริงๆ ผมเคยเห็นแสงออโรราครั้งแรกเมื่อ 40 ปีก่อน และครั้งนี้เป็นครั้งที่เยี่ยมที่สุด” จอห์น เมสัน (John Mason) นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ซึ่งล่องเรือสำราญเพื่อไปชมปรากฏการณ์แสงเหนือหรือออโรรา (aurora) ร้องด้วยอาการตื่นเต้น พร้อมกับให้ความเห้นแก่ทางเอพี โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในวันอังคารที่ 24 ม.ค.2012 ตามเวลาท้องถิ่นของนอร์เวย์

    ทางด้านองค์การมหาสมุทรและบรรยากาศสหรัฐฯ (National Oceanic and Atmospheric Administration) หรือโนอา (NOAA) เผยว่า จนถึงตอนนี้ทางองค์การยังไม่ได้ยินปัญหาใดๆ จากการพายุสุริยะที่กระตุ้นให้เกิดแสงออโรราในครั้งนี้ ซึ่งเกิดปรากฏการณ์ลงใต้ถึงแคว้นเวลส์ของอังกฤษ แต่สภาพอากาศก็ไม่เอื้ออำนวยต่อการชมปรากฏการณ์สวยๆ นี้

    ดีก บีเซคเกอร์ (Doug Biesecker) จากศูนย์พยากรณ์สภาพอวกาศสหรัฐฯ (U.S. Space Weather Prediction Center) กล่าวว่า แสงออโรราที่ปรากฏในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของพายุสุริยะที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายปี แต่ดูเหมือนว่าดวงอาทิตย์กำลังเข้าสู่ช่วงมีกิจกรรมมากขึ้นในอีก 2-3 เดือนและอีกหลายปีข้างหน้า

    “สำหรับผมแล้วนี่เป็นสัญญาณปลุก ดวงอาทิตย์กำลังเตือนเราว่าช่วงช่วงสูงสุดของดวงอาทิตยืกำลังใกล้เข้ามาแล้ว สิ่งที่แย่กว่ากำลังรอเราอยู่ เราหวังว่าพวกคุณทั้งหลายจะแสดงความสนใจ แต่ผมอยากจะบอกว่าเราจะผ่านมันไปได้โดยง่าย” บีเซคเกอร์กล่าว

    แม้ว่าอนุภาคจากพายุสุริยะซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเกือบเที่ยงคืนวันอาทิตย์ที่ 22 ม.ค.2012 ตามเวลามาตรฐานตะวันออกจะเพิ่งมาถึงโลกเมื่อวันอังคารตามเวลามาตรฐานเดียวกัน และทำให้เกิดแสงเหนือดังกล่าวนี้ขึ้น แต่ก็มีรายงานว่าเกิดแสงเหนือก่อนหน้านี้ลงต่ำถึงไอร์แลนด์และอังกฤษ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีโอกาสเกิดแสงออโรราได้น้อย แต่บีเซคเกอร์กล่าวแสงดังกล่าวนั้นเกิดจากลมสุริยะปกติ ไม่ใช่ผลจากพายุสุริยะเดียวกันนี้แต่อย่างใด

    แสงออโรราปรากฏขึ้นเมื่อลมสุริยะที่ส่งอนุภาคแม่เหล็กออกมาปะทะเข้ากับสนามแม่เหล็กโลก แล้วไปกระตุ้นอิเล็กตรอนของออกซิเจนและไนโตรเจนในชั้นบรรยากาศ ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าการปะทุของดวงอาทิตย์จะเข้มข้นมากขึ้นกว่านี้เมื่อดวงอาทิตย์เข้าสู่ช่วงคุกรุ่นตามรอบวัฏจักร 11 ปี ซึ่งคาดว่าเกิดกิจกรรมสูงสุดในปี 2013 หากแต่ในช่วง 2-3 ปีมานี้ดวงอาทิตย์ค่อนข้างจะเงียบสงบมากกว่าปกติ และทำให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มคาดเดาว่าดวงอาทิตย์อาจจะเข้าสู่วัฏจักรเงียบกว่าปกติ ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นประมาณศตวรรษละ 1 ครั้ง



    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=399><TBODY><TR><TD vAlign=top width=399 align=middle>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    --------------------
    Science - Manager Online
     
  11. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,711
    <IFRAME height=315 src="http://www.youtube.com/embed/lHRLlwyE728" frameBorder=0 width=560 allowfullscreen></IFRAME>


    Solar Storm Makes for European Light Show
     
  12. อัสนี

    อัสนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,401
    ค่าพลัง:
    +3,566
    ความสวยที่เป็นอันตราย แสงเหนือเกิดขึ้นทีไรมักจะมีปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับภัยธรรมชาติบนโลกทุกครั้ง ....
     
  13. iivv

    iivv เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +201
    ไช่ครับ ถูกต้องทีเียวเชียว
     
  14. ANAN JANG

    ANAN JANG เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +175
    รอดูอีก2-3วันว่าจะมีภัยธรรมชาติใดๆตามมาไหม
     
  15. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,711
    <IFRAME style="POSITION: absolute; WIDTH: 10px; HEIGHT: 10px; TOP: -9999em" id=twttrHubFrame tabIndex=0 src="http://platform.twitter.com/widgets/hub.1326407570.html" frameBorder=0 allowTransparency scrolling=no></IFRAME>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>พายุสุริยะถล่มโลกรุนแรงสุดในรอบ 6 ปี</TD><TD vAlign=baseline width=102 align=right>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=40><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>24 มกราคม 2555 15:35 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="https://plus.google.com/_/apps-static/_/js/widget/gcm_ppb,googleapis_client,plusone/rt=j/ver=HEV36ByUIHk.th./sv=1/am=!B1ibRDb03dOIZCLhng/d=1/" async="true"></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://platform.twitter.com/widgets.js"></SCRIPT><IFRAME style="WIDTH: 110px; HEIGHT: 20px" class="twitter-share-button twitter-count-horizontal" title="Twitter Tweet Button" src="http://platform.twitter.com/widgets/tweet_button.1326407570.html#_=1327546414281&_version=2&count=horizontal&enableNewSizing=false&id=twitter-widget-0&lang=en&original_referer=http%3A%2F%2Fwww.manager.co.th%2FScience%2FViewNews.aspx%3FNewsID%3D9550000010648&size=m&text=%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%206%20%E0%B8%9B%E0%B8%B5&url=http%3A%2F%2Fwww.manager.co.th%2FScience%2FViewNews.aspx%3FNewsID%3D9550000010648&via=ASTVScience" frameBorder=0 allowTransparency scrolling=no></IFRAME>

    Share152
    <SCRIPT type=text/javascript src="https://apis.google.com/js/plusone.js" gapi_processed="true"> {lang: 'th'}</SCRIPT><IFRAME style="POSITION: static; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; MARGIN: 0px; WIDTH: 90px; BORDER-TOP-STYLE: none; HEIGHT: 20px; VISIBILITY: visible; BORDER-LEFT-STYLE: none; TOP: 0px; LEFT: 0px" id=I1_1327546418625 title=+1 tabIndex=-1 marginHeight=0 src="https://plusone.google.com/_/+1/fastbutton?url=http%3A%2F%2Fwww.manager.co.th%2FScience%2FViewNews.aspx%3FNewsID%3D9550000010648&size=medium&count=true&annotation=&hl=th&jsh=m%3B%2F_%2Fapps-static%2F_%2Fjs%2Fwidget%2F__features__%2Frt%3Dj%2Fver%3DHEV36ByUIHk.th.%2Fsv%3D1%2Fam%3D!B1ibRDb03dOIZCLhng%2Fd%3D1%2F#id=I1_1327546418625&parent=http%3A%2F%2Fwww.manager.co.th&rpctoken=39804038&_methods=onPlusOne%2C_ready%2C_close%2C_open%2C_resizeMe" frameBorder=0 width="100%" allowTransparency name=I1_1327546418625 marginWidth=0 scrolling=no></IFRAME>


    <TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><IFRAME style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 450px; HEIGHT: 35px; OVERFLOW: hidden; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" src="http://www.facebook.com/plugins/like.php?href=http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrshort.aspx?NewsID=9550000010648&layout=standard&show_faces=false&width=450&action=like&colorscheme=light&height=35" frameBorder=0 allowTransparency scrolling=no></IFRAME></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600><TBODY><TR><TD vAlign=top width=600 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ภาพดวงอาทิตย์ปะทุเมื่อคืนวันอาทิตย์ตามเวลามาตรฐานตะวันออก (นาซา/เอพี)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>เมื่อใกล้เที่ยงวันจันทร์ที่ผ่านมา ดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะได้ยิงกระสุนอนุภาคมีประจุพุ่งตรงมายังโลก เหตุการณ์ดังกล่าวคือปรากฏการณ์พายุสุริยะที่รุนแรงที่สุดในรอบ 6 ปี ซึ่งสิ่งที่น่าห่วงที่สุดคือการทำงานของดาวเทียมในวงโคจรและมนุษย์อวกาศที่อยู่นอกโลก

    จากรายงานขององค์การมหาสมุทรและบรรยากาศสหรัฐฯ (National Oceanic and Atmospheric Administration) หรือโนอา (NOAA) นั้น เอพีระบุว่าเกิดการปะทุ (flare) บนดวงอาทิตย์ เมื่อเวลา 23.00 น.ของวันอาทิตย์ตามเวลามาตรฐานตะวันออก (หรือเวลา 11.00 น. ของวันที่ 23 ม.ค.2012 ตามเวลาประเทศไทย) ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อโลก 3 เรื่อง โดยประเด็นสำคัญสุดคือการแผ่รังสีจากอนุภาคมีประจุ

    ดัก บีเซคเกอร์ (Doug Biesecker) นักฟิสิกส์ประจำศูนย์สภาพอวกาศ (space weather center) ของโนอาระบุว่า การแผ่รังสีจากอนุภาคมีประจุนี้เป็นปัญหาใหญ่ในการรบกวนการทำงานของดาวเทียมและยังส่งผลกระทบต่อมนุษย์อวกาศที่อยู่ในวงโคจร โดยปราฏการณ์ดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุของปัญหาในการสื่อสารแก่เครื่องบินที่สัญจรในแถบขั้วโลก

    การแผ่รังสีจากการปะทุครั้งนี้มาถึงโลกในอีกชั่วโมงถัดมาและยังคงมีรังสีแผ่มาอย่างต่อไปจนถึงวันพุธตามเวลามาตรฐานตะวันออก (ต่างจากไทย 12 ชั่วโมง) แม้ว่าระดับรังสีที่แผ่มานี้จะถือว่ารุนแรงแต่ก็เคยมีพายุอื่นๆ ที่รุนแรงกว่า ซึ่งบีเซคเกิอร์กล่าวว่าความรุนแรงของพายุสุริยะตามมาตรฐานโนอานั้นแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ รุนแรง (severe) และ รุนแรงที่สุด (extreme) อย่างไรก็ดี พายุสุริยะครั้งนี้ก็ยังคงแผ่รังสีออกมารุนแรงที่สุดนับแต่เดือน พ.ค.2005

    การแผ่รังสีในรูปของอนุภาคโปรตอนจากดวงอาทิตย์นั้นพุ่งมาด้วยความเร็ว 150 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งบีเซคเกอร์กล่าวว่า อวกาศระหว่างโลกไปถึงดาวพฤหัสบดีนั้นเต็มไปด้วยโปรตอน และเราไม่อาจกำจัดอนุภาคเหล่านี้ไปด้วยความเร็วระดับพายุสุริยะได้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมอนุภาคที่ดวงอาทิตย์ส่งมาจึงส่งผลกระทบต่อโลกอยู่หลายวัน

    ทางด้าน ร็อบ นาไวแอส (Rob Navias) โฆษกขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) กล่าวว่า แพทย์ประจำเที่ยวบินอวกาศและและผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปรากฏการณ์จากดวงอาทิตย์ของนาซาได้ประเมินผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการปะทุของดวงอาทิตย์ และตัดสินว่ามนุษย์อวกาศ 6 คนที่ประจำอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station) ไม่จำเป็นต้องทำการใดเพื่อป้องกันตัวเองจากรังสี

    แอนต์ติ พัลก์กิเนน (Antti Pulkkinen) นักฟิสิกส์ของศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ด (Goddard Space Flight Center) ในมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์แอนด์คาธอลิก (Maryland and Catholic University) กล่าวว่าการปะทุของดวงอาทิตย์เกิดขึ้นเป็นจังหวะ 3 จังหวะต่อเนื่องกัน ครั้งแรกคือการแผ่รังสีของอนุภาคแม่เหล็กไฟฟ้า ตามมาด้วยการแผ่รังสีในรูปอนุภาคโปรตอน

    สุดท้ายเป็นการพ่นมวลโคโรนา (coronal mass ejection) หรือซีเอ็มอี (CME) ซึ่งเป็นพลาสมาจากดวงอาทิตย์เอง ซึ่งปกติความเร็วของการแผ่รังสีอยู่ที่ 1.6-3.2 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ครั้งนี้ความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และพลาสมานี้เองก็สร้างปัญหาบนโลกได้อย่างมาก เช่น ทำให้สายส่งไฟฟ้าไม่ทำงาน ซึ่งเมื่อปี 1989 พายุสุริยะได้เป็นสาเหตุให้เกิดไฟดับครั้งใหญ่ที่เมืองควิเบก (Quebec) ของแคนาดา และยังทำให้เกิดปรากฏการณ์แสงเหนือ (northern light) หรืออโรรา (aurora) ลงใต้มากกว่าปกติ

    บีเซคเกอร์กล่าวว่า การพ่นมวลโคโรนานี้เหมือนจะมีความรุนแรงระดับกลางๆ ที่มีโอกาสจะรุนแรง โดยความเสียหายเลวร้ายที่สุดของพายุสุริยะนี้จะเกิดขึ้นบริเวณตอนเหนือของโลก แต่ปรากฏการณืครั้งนี้ต่างไปจากเหตุการณ์เมื่อเดือน ต.ค.ปีที่ผ่านมา ซึ่งครั้งนั้นเกิดพายุสุริยะแปลกประหลาดที่ทำให้เกิดแสงออโรราลงใต้มาไกลถึงอลาบลามาของสหรัฐฯ แต่หนนี้เขากล่าวว่าจะไม่เกิดแสงเหนือลงใตมาไกลเช่นนั้นแล้ว โดยบางส่วนของรัฐนิวอิงแลนด์ ตอนเหนือของนิวยอร์ก ตอนเหนือของมิชิแกน มอนทานา และฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกจะเกิดปรากฏการณ์แสงออโรราให้เห็น

    ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ดวงอาทิตย์ของเราค่อนข้างเงียบสงบ และดูเหมือนจะเงียบสงบเกินไป ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะเหตุการ์ณปกติตามวัฏจักร 11 ปีของกิจกรรมบนดวงอาทิตย์ และเมื่อปีที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ก็เริ่มครุ่นคิดว่าดวงอาทิตย์อาจจะเข้าสู่วัฏจักรสงบนิ่งอย่างผิดปกติซึ่งอาจจะเกิดประมาณศตวรรษละครั้ง แต่ตอนนี้บีเซคเกอร์กล่าวว่าไม่การเงียบผิดปกติเช่นนั้นแล้ว

    บีเซคเกอร์บอกด้วยว่าตอนนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังจับตาดูดวงอาทิตย์ด้วยดาวเทียมดวงใหม่ของนาซาที่ถูกส่งขึ้นไปเมื่อปี 2010 ระหว่างที่ดวงอาทิตย์กำลังสงบ ซึ่งเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นยิ่ง เพราะเราไม่ได้เห็นเหตุการณ์ปะทุของดวงอาทิตย์มาหลายปีแล้ว ดังนั้น เหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องพิเศษ





    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600><TBODY><TR><TD vAlign=top width=600 align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ภาพดวงอาทิตย์ที่บันทึกด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศโซลาร์ไดนามิกส์ (Solar Dynamics Observatory) ของนาซา และมีการปรับแต่งสีตามหลักวิชาการ เมื่อวันที่ 23 ม.ค.2012 ตาเวลามาตรฐานตะวันออก (นาซา/เอพี) </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    -----------
    Science - Manager Online
     
  16. Numtrn

    Numtrn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,408
    ค่าพลัง:
    +1,571
    ฮ่า ฮ่า ฮ่า ......

    ข้ารู้ ข้าเห็น ข้ามั่วได้แม่นโคตร !!!!

    ฮ่า ฮ่า ฮ่า !!


    http://palungjit.org/threads/%E0%B9%83%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2-2012-a.319630/



    จะเกิดแสงสว่างหลากสี เขียวเหลืองชมพูม่วง เป็นทางยาวบนท้องฟ้าในยามคำคืนและจะเห็นได้ชัดเจน ในแถบเหนือ


    แก้ไข/ ฮ่า ฮ่า ฮ่า ....เป็น ...๕ ๕ ๕...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มกราคม 2012
  17. abha12345

    abha12345 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2009
    โพสต์:
    165
    ค่าพลัง:
    +125
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=hJMGuseHZd8]Real-time Magnetosphere Simulation 21/1/2012 - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Le9_sTqtUko]Real-time Magnetosphere Simulation 22/1/2012 - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=qZdefBg_4-c]Real-time Magnetosphere Simulation 23/1/2012 - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=rX-V63GBQC4]Real-time Magnetosphere Simulation 24/1/2012 - YouTube[/ame]

    ณเวลานี้ตามหัว ตอบกระทู้

    [​IMG]
     
  18. heroparttime

    heroparttime สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2012
    โพสต์:
    76
    ค่าพลัง:
    +18
    สวยดีครับ..
    <table width="477" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><colgroup><col width="477"></colgroup><tbody><tr height="17"> <td class="xl24" style="height:12.75pt; width:358pt" width="477" align="left" height="17">งาน parttime</td> </tr></tbody></table>
     
  19. suttatika

    suttatika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +258
    "เมื่อพลังงานมหึมานั้นมาถึงแล้วก็จะถ่ายเทพลังงานนั้นลงสู่พื้นผิวและใต้พื้นโลก".......ก็ติดตามกันต่อไปครับ....
     
  20. Numtrn

    Numtrn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,408
    ค่าพลัง:
    +1,571
    ระบบสื่อสาร เจ๊งเป็นที่เรียบร้อย

    ประมาณ เที่ยงคืน internet ของ 3BB ล่ม ทั่วกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล ล่มไปชั้วโมงหนึ่งได้มั้ง

    แล้วก็กลับมาเป็นปรกติ
     

แชร์หน้านี้

Loading...