โลกียสมาธิไม่จำเป็นต่อการบรรลุธรรม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ท่ามกลาง, 12 มีนาคม 2012.

  1. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    ขอบพระคุณ สำหรับกำลังใจครับท่าน :)
     
  2. ท่ามกลาง

    ท่ามกลาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +27


    ลำพังโลกียสมาธิอย่างเดียวไม่สามารถบรรลุธรรมได้ จะต้องเข้าใจสหัสนัยแห่งนิพพานเท่านั้น คือ เห็นความเป็นอนัตตาในเบญจขันธ์ หรือ แจ้งว่ากายและจิตไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา (ลองอ่านอาจสงสัยว่าทำไมในพุทธวัจน จึงมีการกล่าวถึงการทำสมาธิด้วย)

    ถ้าลำพังแค่ฌาน๔ สามารถบรรลุธรรมได้แล้ว ในครั้งพุทธกาลก่อนที่องค์พุทธะจะมาตรัสรู้ก็มีฤาษีดาบสทำสมาธิได้รูปสมาบัติและอรูปสมาบัติอยู่แล้ว แต่หามีผู้ใดพ้นทุกข์ได้จริง

    นอกจากนี้ในพุทธประวัติมีระบุไว้มากมายว่ามีสาวกเมื่อฟังสัจธรรม สามารถบรรลุธรรมต่อหน้าพระพักตร์ได้ ซึ่งพวกเขาไม่ได้เข้าฌานขณะนั่งฟังเป็นแน่ เพราะเพียงแค่ฌานที่หนึ่งก็แทบจะตัดการรบกวนจากเสียงได้แล้ว คงไม่ได้ยินธรรมะจากองค์พุทธะ

    พระพุทธเจ้าให้หลักกาลามสูตรไว้ว่าไม่ให้เชื่อครูบาอาจรย์ ไม่ให้เชื่อตำรา ไม่าให้เชื่อความคิดหลักการแห่งตน แต่ให้ลองประพฤติตามคำสอนของท่าน หากท่านบอกว่าให้ทำสมถะไปก่อนแล้วจะค่อยบรรลุเองในภายหน้า พวกฤาษีที่ทำอรูปสมาบัติได้ก็คงหัวเราะ

    แต่องค์พุทธะท่านสอนการปล่อยการวางความยึดมั่นถือมั่น ท่านทรงสอนว่าจะดับทุกข์ ให้ดับที่เหตุ นั่นคือ ไม่เจริญตัณหา ไม่ดิ้นรนตามความอยาก เมื่อจิตไม่ดิ้นรนตามความอยาก จิตก็จะตั้งมั่นเป็นสมาธิเอง และเห็นแจ้งตามความเป็นจริงว่าความยึดติดในกายและจิตเป็นทุกข์ ตัณหาเป็นเหตุแห่งทุกข์ นี่แหละสมาธิเกื้อกูลปัญญา เพราะเขาจะเห็นจริงว่า ถ้ายังดิ้นรนตามความอยาก เป็นทาสตัณหาอยู่ ก็ยังต้องทุกข์ และเมื่อไม่ดิ้นรนตามตัณหา ก็พ้นทุกข์ในปัจจุบันเดี๋ยวนั้นเลย อย่างนี้คนในครั้งพุทธกาลถึงศรัทธาคำสอนขององค์พุทธะ

    การศึกษาพระไตรปิฎก ขอให้เข้าใจว่าไม่ได้มีเฉพาะคำสอนขององค์พุทธะเท่านั้น ยังประกอบด้วยคำสอนของสาวก และมีการสอดแทรกความเห็นของผู้แปล เมื่อแปลมาเป็นภาษาไทยก็ยังมีการเลือกใช้คำที่ส่อให้เข้าใจคลาดเคลื่อนไปได้อีก องค์พุทธะทรงทราบเหตุเสื่อมนี้ จึงได้ให้หลักมหาประเทศไว้เพื่อใช้เป็นหลักวินิจฉัยธรรมว่าธรรมและวินัยนั้น ทรงจำกันมาถูกหรือไม่ และใช้เพื่อป้องกันการตึความพระสูตรไปผิดๆ

    ประการหนึ่งองค์พุทธะทรงระบุว่าคำสอนขององค์พุทธะจะไม่มีขัดแย้งกันเองเลย ท่านทรงสอนเรื่องทุกข์และการพ้นทุกข์ สอนให้กำจัดความเป็นตัวตน กำจัดเหตุแห่งทุกข์(คือ ตัณหา) เมื่อเหตุลดผลก็ลด เมื่อเหตุดับ ผลก็ดับ(นิโรธ หรือนิพพาน) พระองค์ทรงระบุว่าความสิ้นตัณหาคือนิพพาน และให้ประพฤติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาด้วยเทอญ

    เจริญพร
    พระต่อศักดิ์ วชิรญาโณ
    วัดร่มโพธิธรรม ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย 42190
    www.rombodhidharma.com
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    หลวงพี่เพิ่งบอกว่าอย่าไปเชื่อถือตำราพร้อมบอกว่า พระไตรปิฏก มีการดัดแปลง แล้วหลวงพี่ทราบได้อย่างไรว่า หนังสือที่หลวงพี่อ่านมาจากผู้เรียบเรียงเพียงคนเดียว อาจไม่มีการตรวจสอบเสียด้วยซ้ำ หรืออาจ เลือกเอาเฉพาะที่ถูกใจตนเองมารวบรวมลงเป็นเล่ม จะไม่มีการบิดเบือน หรือ ปกปิดเนื้อหา บ้างเลยเหรอ....

    ทั้งที่พุทธพจน์อยู่ตรงหน้านั้นหลวงพี่ยังกล่าวขัดแย้งได้ หรือ อาจพยายามที่จะทำให้ด้อยค่าลง เท่ากับว่าหลวงพี่ไม่ให้ความเคารพในพุทธพจน์ ก็เท่ากับหลวงพี่ไม่ให้ความเคารพในพระพุทธเจ้า....หลวงพี่อย่าลืมว่าหลวงพี่เป็นพระสงฆ์ในพระศาสนานะครับ.....ก่อนที่หลวงพี่จะขัดแย้งอะไรผมว่าหลวงพี่ควรที่จะไปศึกษาที่มาที่ผมให้ไว้ให้หมดก่อนจะดีกว่า....ถ้ากล่าวอะไรผิดไปเท่ากับว่าหลวงพี่เองนั้นหละนะ ที่เป็นส่วนหนึ่งให้พระสัจธรรมอันตธาน.....
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]


    พระไตรปิฏกเชื่อถือได้แค่ไหน...


    <O:p</O:p
    บทความทางวิชาการ โดย พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี นธ.เอก. ป.ธ.๘ , พธ.บ.(บาฬีพุทธศาสตร์) , พธ.ม.(วิปัสสนา).<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะดับขันธปรินิพพาน พระอานนท์ทูลถามพระองค์ว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หลังจากพระองค์ปรินิพพานแล้ว พระองค์จะทรงตั้งใครเป็นศาสดาแทนพระเจ้าข้า”<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าตรัสตอบเป็นภาษาบาฬีว่า “โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา” <O:p</O:p
    แปลว่า. ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใดที่เรา ได้แสดงแล้วและบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย ในเมื่อเราล่วงลับไป <O:p</O:p
    หมายความว่า พระพุทธเจ้าตรัสสั่งให้คำสั่ง สอนของพระองค์ เป็นศาสดาแทนพระองค์ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ๓ เดือน พระอรหันตสาวก ๕๐๐ รูป นำโดยพระมหากัสสปะเถระได้ร่วมกัน ประชุมทำสังคายนา คือ ดำเนินการรวบรวมพระดำรัสของ พระพุทธเจ้า จัดเป็นหมวดหมู่ คัมภีร์ที่รวบรวมพุทธพจน์ บรรจุพระธรรมวินัยนั้นไว้ เรียกว่า พระไตรปิฎก<O:p</O:p
    คัมภีร์ที่บันทึกหลักธรรมคำสั่งสอนของพุทธศาสนานั้นเรียกว่าพระไตรปิฎก ซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์ที่สำคัญที่สุดของพุทธศาสนา เพราะเป็นคัมภีร์ที่จารึกคำสอนของพระพุทธเจ้าและของพระอรหันตสาวกไว้โดยมีกระบวนการสืบทอดคำสอนของพระพุทธองค์ไว้ในรูปแบบของการสังคายนาอย่างระมัดระวังและรัดกุมที่สุด ตั้งแต่สมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่ จนถึงการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๑, , ,, , ๖ มาตามลำดับ<O:p</O:p
    หลักธรรมคำสั่งสอนทางพุทธศาสนาได้มีการสืบทอดกันมาโดยมุขปาฐะ คือ การท่อง จำสืบๆ กันมา (Oral Tradition) การท่องจำนี้ ได้กระทำมาจนถึงสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๕ ในลังกาทวีป การจารึกเป็นคัมภีร์ครั้งแรกเมื่อคราวสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐ บางตำราว่า พ.ศ. ๔๓๓ (ถ้านับเฉพาะที่ทำสังคายนาในศรีลังกาก็เป็นครั้งที่ ๒ )ในรัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย โดยมีพระรักขิตมหาเถระเป็นประธาน ทำที่อาโลกเลณสถาน ณ มตเล ชนบทหรือที่เรียกว่า มลัยชนบท สาเหตุของการจารึกพระพุทธวจนะลงในใบลาน ก็เพราะว่าถ้าจะใช้วิธีท่องจำพระพุทธวจนะต่อไป ก็อาจมีข้อวิปริตผิดพลาดได้ง่าย เพราะปัญญาในการท่องจำของกุลบุตรเสื่อมถอยลง นอกจากนั้นพระสงฆ์ยังได้รับความกระทบกระเทือนจากภัยธรรมชาติและภัยสงครามอยู่เนืองๆทำให้ไม่มีเวลาท่องจำพระพุทธวจนะ จะทำให้ช่วงการสืบต่อขาดลงได้ และในการจารึกครั้งนี้ได้จารึกอรรถกถาลงไว้ด้วย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มีผู้สงสัยว่า สมัยพุทธกาลคนไม่รู้จักการเขียนหนังสือหรืออย่างไร? จึงไม่ปรากฏว่ามีตำรับตำราจารึกไว้เป็นหลักฐาน พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณฺณวณฺโณได้ประมวลทัศนะนี้ไว้ในหนังสือภาษาศาสตร์ภาษาบาลี ไว้ว่า<O:p</O:p
    "ความจริงการเขียนหนังสือน่าจะมีมาก่อนพุทธกาลแล้ว ในพระไตรปิฎกเองก็มีข้อ ความเอ่ยถึงการขีดเขียนเป็นครั้งคราว เช่น ตอนหนึ่ง ห้ามภิกษุเล่นเกม "อักขริกา" ได้แก่ การทายอักษรในอากาศหรือบนหลังเพื่อนภิกษุ วิชาเขียนหนังสือ(เลขา) ได้รับยกย่องว่าเป็นศิลปะพิเศษอย่างหนึ่ง สิกขาบทบางข้อห้ามภิกษุณีเรียนศิลปะทางโลก หนึ่งในศิลปะเหล่านี้คือวิชาเขียนหนังสือ ในบทสนทนาภายในครอบครัว พ่อแม่ปรารภว่าจะให้บุตรเรียนวิชาอะไรดี ถ้าจะให้เรียนเขียนหนังสือ บุตรก็อาจยังชีพอยู่ได้อย่างสบาย แต่ก็อาจเจ็บนิ้วมือ ถ้าภิกษุเขียนหนังสือพรรณนาคุณของอัตตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตายเอง) ปรับทุกกฎทุกตัวอักษร ถ้ามีผู้อ่านพบข้อความนั้นเข้าเห็นดีเห็นงามด้วย แล้วฆ่าตัวตายตามนั้น ปรับอาบัติปาราชิก หลักฐานเหล่านี้แสดงว่าอักษรหรือการเขียนมีมาก่อนสมัยพระพุทธเจ้าแล้ว แต่ที่พระพุทธองค์ไม่นิยมใช้ หันมาใช้วิธีมุขปาฐะแทน น่าจะทรงเห็นประโยชน์อานิสงส์บางสิ่งบางอย่างกระมัง หรือว่าระบบการขีดเขียนยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควร ทั้งยังไม่มีอุปกรณ์การขีดการเขียนเพียงพอ ก็ยากที่จะทราบได้ แต่ข้อที่น่าคิดอยู่อย่างคือ วิธีเรียนด้วยมุขปาฐะนี้ นอกจากจะสร้างสัมพันธภาพอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้เรียนและผู้สอนแล้ว ยังเป็นการสร้างสมาธิฝึกจิตของผู้เรียนไปในตัวด้วย นักปราชญ์ยุคก่อนที่มีความคิดเช่นนี้ก็มีไม่น้อย เปลโต้เคยกล่าวไว้ว่า "การคิดอักษรขึ้นใช้ แทนการท่องจำ ทำให้มนุษย์ขาดอานุภาพแห่งความทรงจำ คือแทนที่จะจดจำจากอินทรีย์ภายใน ต้องอาศัยสัญลักษณ์นอกเข้าช่วย"<O:p</O:p
    อ้างอิง..พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณณวณโณ ภาษาศาสตร์ภาษาบาลี, ชุดวรรณไวทยากร, กรุงเทพฯไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๑๔)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในตอนต้นครั้งพุทธกาล คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิได้เรียกว่า “พระไตรปิฎก” แต่เรียกว่าพระธรรมวินัยบ้าง พระสัทธรรมบ้าง ปาพจน์บ้าง สัตถุศาสน์บ้าง พระ บาลีบ้าง สุตตะบ้าง แม้หลังพุทธปรินิพพานก็ยังไม่เรียกว่าพระไตรปิฎก คงเรียก ว่าพระธรรมวินัย เช่น การสังคายนาชำระคำสอน ครั้งที่ ๑-๔ ยังคงเรียกว่าสังคายนา พระธรรมวินัย และได้เรียกว่า “พระไตรปิฎก” เมื่อการสังคายนาครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๔๕๐ ณ ประเทศศรีลังกา โดยได้จารึกลงในใบลาน ซึ่งได้แบ่งพระธรรมวินัยเป็น ๓ หมวด จึงได้เรียกว่า “พระไตรปิฎก” ตั้งแต่บัดนั้น




    [​IMG]<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระไตรปิฎกมีความสำคัญดังนี้<O:p</O:p
    ๑. เป็นที่รวบรวมพระพุทธพจน์ คือ พระดำรัสของพระพุทธเจ้า<O:p</O:p
    ๒. เป็นที่สถิตของพระศาสดาของพุทธศาสนิกชน เพราะเป็นที่บรรจุพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ให้ เป็นศาสดาแทนพระองค์<O:p</O:p
    ๓. เป็นแหล่งต้นเดิมของคำสั่งสอนในพุทธศาสนา <O:p</O:p
    ๔.เป็นหลักฐานอ้างอิงหรือยืนยันหลักการที่กล่าว ว่า เป็นพระพุทธศาสนา<O:p</O:p
    ๕. เป็นมาตฐานตรวจสอบความเชื่อและข้อปฏิบัติ ในพระพุทธศาสนา จะวินิจฉัยสิ่งใดว่าถูกต้องหรือผิดพลาด เป็นพระพุทธศาสนาหรือไม่ ก็โดยอาศัยพระธรรมวินัยที่มีมาในพระไตรปิฎกเป็นเครื่องตัดสิน <O:p</O:p
    ๖. พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ที่น่าเชื่อถือที่สุด กว่าหนังสือใดๆ บนพื้นพิภพ ที่ยืนยันให้คนยุคปัจจุบันได้รับรู้ ว่าเมื่อ ๒๕๐๐ปีก่อน พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนอะไรไว้บ้าง <O:p</O:p
    ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก จึงเป็นกิจสำคัญยิ่งของชาวพุทธ ถือว่าเป็นการสืบต่ออายุ พระพุทธศาสนาหรือเป็นความดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนากล่าวคือ ถ้ายังมีการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกเพื่อนำไปปฏิบัติ พระพุทธศาสนาก็จะยังดำรงอยู่ แต่ถ้าไม่มีการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก แม้มีการปฏิบัติก็จะไม่เป็น ไปตามหลักการของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาก็จะ ไม่ดำรงอยู่ คือ จะเสื่อมสูญไปในที่สุด


    [​IMG]<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ถาม... เป็นไปได้หรือไม่ที่พระไตรปิฏกอาจจะถูกสาวกรุ่นหลังๆ แก้ไขเพิ่มเติม <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ตอบ “เป็นไปไม่ได้” ด้วยเหตุผลดังนี้<O:p</O:p
    ๑. พระไตรปิฎกสืบทอดกันมาด้วยภาษาบาลี ที่มีหลักไวยากรณ์เฉพาะ มีกฎตายตัวไว้เฉพาะภาษาบาลี โดยปฏิเสธกฎไวยากรณ์หลายประการของสันสกฤต เพื่อไว้ให้เป็นหลักเกณฑ์ของไวยากรณ์บาลีโดยเฉพาะ เช่น พระบาลีมี ๒วจนะเท่านั้น คือ เอกวจนะ และพหุวจนะ ไม่มีทวิวจนะ <O:p</O:p
    ...อ้างอิง ดูรายละเอียด พระอัครวงศาจารย์ , สทฺทนีติปฺปกรณํ (ปทมาลา) ฉบับภูมิพโลภิกขุ . โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ, วัดสระเกศ กรุงเทพฯ:พ.ศ. ๒๕๒๑ .หน้า ๑๕๖<O:p</O:p
    ๒. แม้บางช่วงของประวัติศาสตร์เกิดภัยต่าง ๆ ทำให้คัมภีร์พระไตรปิฎกขาดหายหรือเลอะเลือนไป แต่เมื่อสังคายนาใหม่อีกครั้งก็ได้เปรียบเทียบ ตรวจสอบดูกัพระไตรปิฎกของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จนหมดข้อสงสัย จึงทำให้เชื่อได้ว่าเป็นพระไตรปิฎกที่มีมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งโลก ตรงกับพระไตรปิฎกที่ได้รับการสังคายนาครั้งก่อน ๆ ทุกประการ<O:p</O:p
    ๓. มีข้อความในคัมภีร์รุ่นหลังกล่าวอ้างถึงข้อความคัมภีร์พระไตรปิฎก แต่เมื่อตรวจสอบในบาลีพระไตรปิฎกแล้วกลับไม่มีข้อความนั้น ทั้งที่เมื่อพิจารณาข้อความนั้นแล้วมีอรรถเข้ากันได้กับพระไตรปิฎก เช่น บาลีสังยุตตนิกาย มหาวรรคว่า “จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว อริยสจฺจานิ ฯ กตมานิ จตฺตาริ ฯ ทุกฺข อริยสจฺจ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจ ฯ อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ ตถานิ อวิตถานิ อนฺถานิ ตสฺมาอริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ” ( อ้างอิง.... ส.ม.๑๙/๑๐๙๗/๓๘๐) <O:p</O:p
    แต่คัมภีร์วิสุทธิมรรค นำไปอ้างโดยเพิ่มข้อความว่า “จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว อริยสจฺจานิ ฯ กตมานิ จตฺตาริ ฯ ทุกฺข อริยสจฺจ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจ ฯ อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ อริยา อิมานิ ปฏิวิชฺฌนฺติ ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺตีติ ฯ อปิจ อริยสฺส สจฺจานีติปิ อริยสจฺจานิ ฯ ยถาห ฯ สเทวเก โลเก ฯเปฯ มนุสฺสา ตถาคโต อริโย ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺตีติ ฯ อถวา เอเตส อภิสมฺพุทฺธตฺตา อริยภาวสิทฺธิโตปิ อริยสจฺจานิ ฯ ยถาห ฯ อิเมส โข ภิกฺขเว จตุนฺน อริยสจฺจาน ยถาภูต อภิสมฺพุทฺธตฺตา ตถาคโต อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ อริโยติ วุจฺจตีติ ฯ อปิจ โข ปน อริยานิ สจฺจานีติปิ อริยสจฺจานิ ฯ อริยานีติ ตถานิ อวิตถานิ อวิสวาทกานีติ อตฺโถ ฯ ยถาห ฯ อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ ตถานิ อวิตถานิ อนฺถานิ ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺตีติ ฯ เอวเมตฺถ นิพฺพจนโต วินิจฺฉโต เวทิตพฺโพ ฯ <O:p</O:p
    ( อ้างอิง... วิสุทฺธิ.๒/๑๔๐-๑๔๑ )(อักษรตัวหนา เป็นข้อความที่คัมภีร์วิสุทธิมรรคเพิ่มเข้ามา โดยอ้างว่านำมาจากพระไตรปิฎก)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ดังข้อมูลที่เสนอมานี้ก็หมายความว่า พระไตรปิฎกภาษาบาลีไม่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมอย่างแน่นอน เพราะทั้งที่ปรากฏข้อความที่ตกหล่นปรากฏอยู่ในคัมภีร์น่าเชื่อถือเป็นที่สุดอย่างเช่น วิสุทธิมรรค ข้อความนั้นก็มิได้ถูกบรรจุไว้ในคัมภีร์พระไตรปิฎก <O:p</O:p
    สรุปว่า คัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาบาลีย่อมเป็นไปได้ที่มีการตกหล่นบ้าง คำกล่าวอ้างที่ว่าถูกสาวกรุ่นหลังแก้ไขเพิ่มเติมย่อมเป็นไปไม่ได้เลย <O:p</O:p

    <O:p</O:p









    <HR align=left SIZE=1 width="33%">

    [1][1] บางแห่งว่า พ.ศ.๔๓๓<O:p</O:p
    [1][2] พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณณวณโณ ภาษาศาสตร์ภาษาบาลี, ชุดวรรณไวทยากร, กรุงเทพฯไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๑๔<O:p</O:p
    [1][3] ดูรายละเอียด พระอัครวงศาจารย์ , สทฺทนีติปฺปกรณํ (ปทมาลา) ฉบับภูมิพโลภิกขุ . โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ, วัดสระเกศ กรุงเทพฯ:พ.ศ. ๒๕๒๑ .หน้า ๑๕๖<O:p</O:p
    [1][4] ส.ม.(บาลี) ๑๙/๑๐๙๗/๓๘๐<O:p</O:p
    [2][5] วิสุทฺธิ.(บาลี)๒/๑๔๐-๑๔๑

    http://www.tlcthai.com/club/view_top...&post_id=11639
    <O:p</O:p
     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    อุปมา หลักกาลมสูตร....

    มีเด็กคนหนึ่งเขาศึกษากาลามสูตรมาจากพระในวัดเนื้อความมีว่าพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไม่ให้เชื่ออะไรง่ายๆ.....วันหนึ่งด้วยความซื่อตรง อาจารย์กำลังสอนหน้าชั้นเรียนเพื่อให้เด็กทุกคนอ่านออกเขียนได้ เพื่อใช้เป็นความรู้ในอนาคต เด็กคนนี้ตะโกนขึ้นในห้องโดยทันใดว่าความรู้ที่อาจารย์สอนหน้าชั้นเรียนอย่าไปเชื่อนะ เพราะอาจไม่ถูกต้อง...ถามว่าเด็กคนนี้ฉลาดไม.... เด็กคนนี้อาจฉลาดแต่เผอิญว่าขาดเฉลียว...

    กาลามสูตรนั้นสอนให้คนไม่งมงายจริงแต่ถึงกระนั้นกาลามสูตรเองก็มีความหมายในตัวเองว่าอย่างมงายมากไปในกาลามสูตร จนลืมเนื้อหาของทางสายกลาง จนทำให้ตัวเองกลายเป็นคนหัวแข็ง....อย่าได้ลืมว่า อิทธิบาท ๔ ธรรมอันเป็นบาทฐานแห่งความสำเร็จ มี ฉันทะ เป็นตัวมาก่อน. ถามว่าฉันทะจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ถ้าไม่มีศรัทธานำมาก่อน....


    อะไรก็ตามครับ...บางครั้งต้องมองถึงความพอดี(ทางสายกลาง).....ไม่ใช่สุดโต่ง...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มีนาคม 2012
  6. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    พระสาวกที่บรรลุเพราะฟังธรรม ก็เพราะมีสมาธิ/มีณาน

    ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจ รวมเข้าไว้ด้วยใจทั้งหมด
    เงี่ยโสตลงฟังธรรม สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์. (พุทธะ)

    ขอให้เจริญในธรรมครับ


     
  7. ท่ามกลาง

    ท่ามกลาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +27
    ลองอ่านเหตุเสื่อมแห่งศาสนาและทำไมต้องมีหลักมหาประเทศดูนะ

    การจะเทียบธรรมและวินัยนั้น ควรเทียบที่แก่นเบื้องต้น นั่นคือ พระสัจธรรม และอริยสัจ๔ ดังนั้นหากตีความพระสูตรผิดเพี้ยนไปจากหลักทั้งสองนี้ ก็แสดงว่าเข้าใจผิดไปเอง

    กล่าวคือ การปฏิบัติจะต้องดับที่เหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา เมื่อเหตุลดผลก็ลด เมื่อเหตุดับ ผลก็ดับ(นิโรธ) ต้องกำจัดความเป็นตัวตนลง ถ้าปฏิบัติเพื่อสนองตัณหาอยากให้จิตเป็นไปตามความต้องการแห่งตน มีอัตตาตัวตนเข้าไปคอยกระทำจิต เจริญกรรมซ้อนธาตุซ้อนขันธ์ ไม่ตรงต่อการปล่อยการวาง ก็คงไม่ใช่คำสอนขององค์พุทธะอย่างแน่นอน

    เจริญพร
    พระต่อศักดิ์ วชิรญาโณ
    วัดร่มโพธิธรรม ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย 42190
    www.rombodhidharma.com
     
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ถ้าหลวงพี่กล่าวเช่นนี้ก็แสดงว่าหลวงพี่เองเทียบยังไม่รอบคอบ เพราะว่าผมเทียบตามหลักอริยสัจ ๔ แล้ว นะครับ....มรรค ในอริยสัจ ๔ ก็คือ มรรค ๘ ถูกไม ใน มรรค ๘ นั้นตัวสำคัญอีกตัวคือ สัมมาสมาธิ....ยังไม่พอมีพุทธพจน์กล่าวไว้ชัด ผมยกมาให้ชัดเจน ไม่ใช่เพียงที่เดียวที่สมเด็จท่านกล่าวไว้นะ อันนี้ผมยกมาเพียง สามที่ ที่ผมหาเจอ ณ.ตอนนี้...แล้วหลวงพี่ไปตีอย่างไรครับ...ให้ออกจากพระพุทธเจ้าท่านได้ .....

    ผมว่าหลวงพี่เข้าใจอริยสัจ ๔ ยังไม่ครบถ้วนนะ....
     
  9. ท่ามกลาง

    ท่ามกลาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +27
    ความสงบจากสมาธิแตกต่างจากความสงบจากกิเลส เมื่อเข้าฌาน พลังจากสมาธิแบบสมถะจะกดข่มสภาวะธรรมทั้งหลายเอาไว้ จนอาจเหมือนว่าไม่มีอะไร แต่พอหมดพลังจากสมาธิแล้ว กิกเลสทั้งหลายก็ยังคงเหมือนเดิม จึงเปรียบได้ดั่ง "หินทับหญ้า"

    ผู้ที่ติดสมาธิอาจดูเหมือนเป็นคนใจเย็น แต่ถ้าจี้ให้ถูกจุด ก็จะระเบิดความโกรธออกมามากมาย(กว่าคนทั่วไปด้วยซ้า) เปรียบเสมือนเหรียญสองหน้า หากยึดติด(พอใจ)ความสงบมาก ก็จะยึดติด(ปฏิฆะ)ความไม่สงบมากเช่นกัน คงอาจเคยเห็นคนที่เวลาดีใจก็ดีใจสุดๆ หัวเราะร่า ซึ่งคนเดียวกันนี้เวลาเสียใจ ก็จะเห็นเขาร้องไห้ออกมาดังๆ เรียกว่า สุดโต่ง หรือแกว่งมาก

    แต่ผู้ที่สงบจากกิเลส สงบเพราะไม่ยึดติด จะเป็นผู้ที่ไม่ยินดียินร้ายกับทุกๆ สภาวะ เมื่อจิตดีจิตสงบก็ช่าง เพราะแจ้งว่าจิตสงบจิตดีได้ ก็ไม่สงบไม่ดีได้(อนิจจัง) จึงไม่หวั่นไหวเมื่อจิตไม่สงบไม่ดี เพราะมันก็ไม่เที่ยงเช่นกัน

    เจริญพร
    พระต่อศักดิ์ วชิรญาโณ
    วัดร่มโพธิธรรม ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย 42190
    www.rombodhidharma.com
     
  10. ท่ามกลาง

    ท่ามกลาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +27
  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646

    หลวงพี่เข้าใจคำว่า เจโตวิมุติ กับ ปัญญาวิมุติ ไมครับ....
     
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    โอเคได้ครับ...งั้นเดียวผมจะยกในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนมาเทียบกับหลวงพี่แสดง ...ว่าตกลงนี่เป็นอย่างไร...
     
  13. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]






    สัมมาสมาธิเป็นไฉน ?



    ...สัมมาสมาธิเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรสเริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นแหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ...



    สติปัฏฐานสูตร ๑๒/๘๔




    ที่มา พระไตรปิฏก ฉบับ ปฏิบัติ โดย ธรรมรักษา.
    �����ûԮ� ��Ѻ��Ժѵ� (ʵԻѯ�ҹ�ٵ�)



    อ่ะหลวงพี่ดูเอาเห็นความผิดพลาดอะไรไมครับ....
     
  14. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ
    มักใช้เป็นคำเรียกง่ายๆ สำหรับอธิจิตตสิกขา;
    ดู เอกัคคตา, อธิจิตตสิกขา
    (ข้อ ๒ ในไตรสิกขา, ข้อ ๔ ในพละ ๕, ข้อ ๖ ในโพชฌงค์ ๗)


    สมถะ ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต, ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส, การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ
    (ข้อ ๑ ในกรรมฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)


    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    ........................................................................................................

    หลวงพี่แปลความหมายเฉพาะข้างบน ไม่แคบไปเหรอครับ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2012
  15. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ตรงนี้ทำอย่างไรครับ...วิธีการทำอย่างไร....นั่งคิดเอาเหรอครับ...
     
  16. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    นิพพานนี่นั่งคิดเอาก็นิพพานเหรอครับ....ไม่ต้องทำอะไรเรานั่งคิดเอาว่าเราไม่ยึดติดอะไร....เราก็นิพพานแล้วเหรอครับ....มันง่ายขนาดนั้นเหรอครับ.....
     
  17. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ไม่ใช่ว่าผมจะเถียงองค์พระองค์เจ้านะ...พระสงฆ์นี่นะครับ...ผมทราบชัดว่าศีลท่านมากกว่าผม ผมไม่ควรที่จะไปต่อปากต่อคำท่าน....แต่พระสงฆ์นี่ถ้าทำลายพระศาสนาได้จะทำลายได้มากกว่าฆราวาส....หลายเท่าตัว.....ดูอย่างพระเกษมรูปเดียวสิ ยังก่อความวุ่นวายได้ขนาดนี้.....เกิดหลวงพี่เอาธรรมอย่างนี้ไปแสดงต่อสาธารณะชนมากขึ้น คนเชื่อมากขึ้น กระทบตรงต่อพระสัจธรรมโดยตรงนะ...อีกหน่อยความเสียหายจะมากกว่านี้...เป็นพระสงฆ์ศีลเยอะกว่าฆราวาส ฉะนั้นความระมัดระวังต้องมากกว่าฆราวาสหลายเท่าตัว...

    กรรมใดล่วงเกินขอขมากรรมนั้นด้วยนะครับ อย่างไรผมกราบเรียนหลวงพี่ช่วยพิจารณาด้วยนะครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2012
  18. ท่ามกลาง

    ท่ามกลาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +27
    [FONT=&quot]พุทธวัจน: [/FONT][FONT=&quot]มรรค[/FONT][FONT=&quot]๘[/FONT][FONT=&quot]สมบูรณ์[/FONT][FONT=&quot]เกิดขึ้นบริบูรณ์โดยทันที[/FONT] [FONT=&quot]เมื่อเห็นองค์ประกอบของผัสสะตามเป็นจริง[/FONT]

    ขอให้โยมใจเย็นๆ แล้วลองอ่านพระสูตรนี้ดูโดยละเอียด เพราะอธิบายทั้งสัมมาทิฏฐิ มรรคสมังคี และโพธิปักขิยธรรมทั้งหมด พูดถึงอวิชชา วิชชา วิมุตติ สมถะและวิปัสสนา ซึ่งทุกอย่างจะต้องไม่เนื่องด้วยตัณหา ไม่เนื่องด้วยตัวตน จึงจะจัดเป็นโลกุตตระธรรม เป็นคำสอนขององค์พุทธะ

    ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป

    เจริญพร
    พระต่อศักดิ์ วชิรญาโณ
    วัดร่มโพธิธรรม ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย 42190
    www.rombodhidharma.com
    [FONT=&quot]

    มรรค[/FONT]
    [FONT=&quot]๘[/FONT][FONT=&quot]สมบูรณ์[/FONT][FONT=&quot]เกิดขึ้นบริบูรณ์โดยทันที[/FONT]
    [FONT=&quot]เมื่อเห็นองค์ประกอบของผัสสะตามเป็นจริง[/FONT]

    [FONT=&quot]ภิกษุ ท[/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot]! [/FONT][FONT=&quot]....[/FONT][FONT=&quot]ส่วนบุคคล เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง [/FONT][FONT=&quot]จักษุ[/FONT][FONT=&quot]ตามที่เป็นจริง[/FONT][FONT=&quot]. เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง [/FONT][FONT=&quot]รูปทั้งหลาย[/FONT][FONT=&quot]ตามที่เป็นจริง[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]เมื่อรู้เมื่อเห็นซึ่ง [/FONT][FONT=&quot]จักขุวิญญาณ[/FONT][FONT=&quot]ตามที่เป็นจริง[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง [/FONT][FONT=&quot]จักขุสัมผัส[/FONT][FONT=&quot]ตามที่เป็นจริง[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]เมื่อรู้เมื่อเห็นซึ่งเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตามไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริงแล้ว [/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]เขาย่อมไม่กำหนัดในจักษุ[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]ไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]ไม่กำหนัดในจักขุวิญญาณ[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]ไม่กำหนัดในจักขุสัมผัส[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]และไม่กำหนัดในเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตามเป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม[/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot]เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว[/FONT][FONT=&quot]ไม่ลุ่มหลงแล้ว[/FONT][FONT=&quot]ตามเห็นอาทีนวะ[/FONT][FONT=&quot](โทษของสิ่งเหล่านั้น) [/FONT][FONT=&quot]อยู่เนืองๆ[/FONT][FONT=&quot],[/FONT][FONT=&quot] ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย[/FONT][FONT=&quot]ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดต่อไป[/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]และ[/FONT][FONT=&quot]ตัณหา[/FONT][FONT=&quot]อันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลินเป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ นั้นอันเขาย่อมละเสียได้[/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]ความกระวนกระวาย[/FONT][FONT=&quot](ทรถ) แม้ [/FONT][FONT=&quot]ทางกาย[/FONT][FONT=&quot]อันเขาย่อมละเสียได้[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]ความกระวนกระวาย[/FONT][FONT=&quot]แม้ [/FONT][FONT=&quot]ทางจิต[/FONT][FONT=&quot]อันเขาย่อมละเสียได้[/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]ความแผดเผา[/FONT][FONT=&quot](สนฺตาป) แม้ทางกายอันเขาย่อมละเสียได้[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]ความแผดเผา แม้ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้[/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]ความเร่าร้อน[/FONT][FONT=&quot](ปริฬาห) แม้ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]ความเร่าร้อน แม้ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้[/FONT][FONT=&quot]. บุคคลนั้นย่อม [/FONT][FONT=&quot]เสวยซึ่งความสุข[/FONT][FONT=&quot]อันเป็นไป [/FONT][FONT=&quot]ทางกาย[/FONT][FONT=&quot] ด้วย[/FONT][FONT=&quot]. ซึ่งความสุขอันเป็นไป [/FONT][FONT=&quot]ทางจิต[/FONT][FONT=&quot]ด้วย[/FONT][FONT=&quot].[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อบุคคลเป็นเช่นนั้นแล้ว [/FONT][FONT=&quot]ทิฏฐิ[/FONT][FONT=&quot]ของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ[/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]ความดำริ[/FONT][FONT=&quot]ของเขา ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ[/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]ความพยายาม[/FONT][FONT=&quot]ของเขา ย่อมเป็นสัมมาวายามะ [/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]สติ[/FONT][FONT=&quot]ของเขา ย่อมเป็นสัมมาสติ[/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]สมาธิ[/FONT][FONT=&quot]ของเขา ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ[/FONT][FONT=&quot];[/FONT][FONT=&quot] ส่วน [/FONT][FONT=&quot]กายกรรม[/FONT][FONT=&quot]วจีกรรม[/FONT][FONT=&quot]และ [/FONT][FONT=&quot]อาชีวะ[/FONT][FONT=&quot]ของเขา เป็นธรรมบริสุทธิ์อยู่ก่อนแล้วนั่นเทียว[/FONT][FONT=&quot]. ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า [/FONT][FONT=&quot]อริยอัฏฐังคิกมรรค[/FONT][FONT=&quot]นี้ ของเขานั้น ย่อม [/FONT][FONT=&quot]ถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ[/FONT][FONT=&quot].[/FONT]

    [FONT=&quot]เมื่อเขาทำอริยอัฏฐังคิกมรรค ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้[/FONT][FONT=&quot], [/FONT][FONT=&quot]สติปัฏฐาน[/FONT][FONT=&quot]แม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ [/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]สัมมัปปธาน[/FONT][FONT=&quot]แม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ [/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]อิทธิบาท[/FONT][FONT=&quot]แม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ [/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]อินทรีย์[/FONT][FONT=&quot]แม้ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ [/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]พละ[/FONT][FONT=&quot]แม้ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ [/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]โพชฌงค์[/FONT][FONT=&quot] แม้ทั้ง ๗ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ[/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot]ธรรมทั้งสองคือ[/FONT][FONT=&quot]สมถะ[/FONT][FONT=&quot]และ[/FONT][FONT=&quot]วิปัสสนา[/FONT][FONT=&quot]ของเขานั้น[/FONT][FONT=&quot]ย่อมเป็นธรรมเคียงคู่กันไป[/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot]บุคคลนั้น ย่อม [/FONT][FONT=&quot]กำหนดรู้[/FONT][FONT=&quot]ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง [/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]ย่อม[/FONT][FONT=&quot]ละ[/FONT][FONT=&quot]ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง [/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]ย่อม[/FONT][FONT=&quot]ทำให้เจริญ[/FONT][FONT=&quot]ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง[/FONT][FONT=&quot]; [/FONT][FONT=&quot]ย่อม [/FONT][FONT=&quot]ทำให้แจ้ง[/FONT][FONT=&quot]ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง[/FONT][FONT=&quot].[/FONT]

    [FONT=&quot]ภิกษุ ท[/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot]! [/FONT][FONT=&quot]ก็ [/FONT][FONT=&quot]ธรรมเหล่าไหนเล่า[/FONT][FONT=&quot]เป็นธรรมอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง[/FONT][FONT=&quot]? [/FONT][FONT=&quot]คำตอบ พึงมีว่า [/FONT][FONT=&quot]ปัญจุปาทานขันธ์[/FONT][FONT=&quot]ทั้งหลาย กล่าวคืออุปาทาน[/FONT][FONT=&quot]ขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือ สังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ[/FONT][FONT=&quot] : ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.[/FONT]

    [FONT=&quot]ภิกษุ ท[/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot]! [/FONT][FONT=&quot]ก็ [/FONT][FONT=&quot]ธรรมเหล่าไหนเล่า[/FONT][FONT=&quot]เป็นธรรมอันบุคคลพึงละด้วย[/FONT][FONT=&quot]ปัญญา[/FONT]
    [FONT=&quot]อันยิ่ง[/FONT][FONT=&quot]? [/FONT][FONT=&quot]คำตอบ พึงมีว่า [/FONT][FONT=&quot]อวิชชา[/FONT][FONT=&quot]ด้วย [/FONT][FONT=&quot]ภวตัณหา[/FONT][FONT=&quot]ด้วย [/FONT][FONT=&quot]: [/FONT][FONT=&quot]ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล[/FONT] [FONT=&quot]ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง[/FONT][FONT=&quot].[/FONT]

    [FONT=&quot]ภิกษุ ท[/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot]! [/FONT][FONT=&quot]ก็ ธ[/FONT][FONT=&quot]รรมเหล่าไหนเล่า[/FONT][FONT=&quot]เป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง[/FONT][FONT=&quot]? [/FONT][FONT=&quot]คำตอบ พึงมีว่า [/FONT][FONT=&quot]สมถะ[/FONT][FONT=&quot]ด้วย [/FONT][FONT=&quot]วิปัสสนา[/FONT][FONT=&quot]ด้วย [/FONT][FONT=&quot]: [/FONT][FONT=&quot]ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง[/FONT][FONT=&quot].[/FONT]

    [FONT=&quot]ภิกษุ ท[/FONT][FONT=&quot]. [/FONT][FONT=&quot]! [/FONT][FONT=&quot]ก็ [/FONT][FONT=&quot]ธรรมเหล่าไหนเล่า[/FONT][FONT=&quot]เป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง[/FONT][FONT=&quot]? [/FONT][FONT=&quot]คำตอบ พึงมีว่า [/FONT][FONT=&quot]วิชชา[/FONT][FONT=&quot]ด้วย [/FONT][FONT=&quot]วิมุตติ[/FONT][FONT=&quot]ด้วย [/FONT][FONT=&quot]: [/FONT][FONT=&quot]ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง[/FONT][FONT=&quot].[/FONT]

    [FONT=&quot](ในกรณีที่เกี่ยวกับ [/FONT][FONT=&quot]โสต[/FONT][FONT=&quot]ฆาน[/FONT][FONT=&quot]ชิวหา[/FONT][FONT=&quot]กาย[/FONT][FONT=&quot]มโน[/FONT][FONT=&quot]และ [/FONT][FONT=&quot]สหคตธรรมแห่งอายตนะมีโสตเป็นต้น[/FONT][FONT=&quot]ก็มีเนื้อความเหมือนกับที่กล่าวแล้วในกรณีแห่ง จักษุและสหคตธรรมของจักษุ ดังที่กล่าวข้างบนนี้ทุกประการ พึงขยายความเอาเองให้เต็มตามนั้น[/FONT][FONT=&quot]).[/FONT]

    [FONT=&quot]- อุปริ. ม. ๑๔/๕๒๓-๕๒๖/๘๒๘-๘๓๑.[/FONT]
     
  19. ท่ามกลาง

    ท่ามกลาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +27
    [FONT=&quot]สิ่งที่ต้องการจะชี้ให้เห็น คือ ลำพังโลกียธรรมไม่สามารถทำให้บรรลุธรรมได้ ผู้ที่ติดสมาธิ ติดสมถะ สามารถใช้โลกียสมาธิเป็นบาทฐานในการเข้าวิมุตติได้ โดยปล่อยวางความยึดติดในโลกียสมาธินั้น ปล่อยวางจิต โดยจิตจะเป็นอย่างไรก็ช่าง ไม่ต้องไปคอยผูกคอยแก้ให้เป็นตัณหาใหม่ๆ เป็นการยอมรับในกฏไตรลักษณ์ ยอมรับในความไม่เที่ยง(อนิจจัง) ของสรรพสิ่ง ไม่ใช่จิตดีก็พอใจ และคอยปฏิเสธจิตไม่ดี ก็จะได้แต่หลงฟูหลงแฟบตามจิตไป ไม่พ้นทุกข์อย่างแท้จริง จะต้องนอกเหนือจิต ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในจิต(ว่าเป็นเรา เป็นของเรา) ถ้ามัวแต่คอยแก้ไข คอยปรับแต่งจิตอยู่ ก็เท่ากับตอกย้ำความเป็นเจ้าของจิตเพิ่มขึ้น(สักกายทิฏฐิ) จะไม่มีโอกาสเป็นอริยบุคคลชั้นต้นด้วยซ้ำ[/FONT]

    [FONT=&quot]สำหรับผู้ที่ไม่เคยฝึกโลกียสมาธิ ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปฝึก เพียงไม่เจริญตัณหา ไม่ดิ้นรนตามความอยาก จิตก็ไม่แส่ส่ายจะตั้งมั่นเป็นสมาธิไปเอง เป็นสมาธิที่เกิดจากการปล่อยวาง จัดเป็นโลกุตตระสมาธิ เป็นสมาธิที่ไม่ได้ทำเอา จึงไม่เสื่อม มีแต่สงบไปหน้าเรื่อย เป็นการสงบจากกิเลส เป็นการหมดภาระที่คอยประคองรักษาจิต เลิกหลงเป็นเจ้าของจิต เป็นการวางของหนักลงเสียได้[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]เมื่อได้สัมผัสความแตกต่างระหว่างการแบกของหนัก(ขันธ์ห้า) และการปล่อยวางแล้ว ก็จะไม่ยอมกลับไปแบกขันธ์ ไม่ยอมเป็นทาสตัณหาอีก หรือที่เรียกว่า จางคลายสลัดคืน และจะค่อยๆ แจ้งในควมเป็นจริงที่ว่าตัวตนที่แท้จริงนั้นไม่มีอยู่แล้ว ในความที่ยึดอะไรไม่ได้เลย[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT][FONT=&quot]และนี่เป็นสาเหตุที่คนในครั้งพุทธกาลหันมาศรัทธาในองค์พุทธะ เมื่อพระองค์ทรงเตือนสติด้วยหลักกาลามสูตร ให้ทดลองพิสูจน์ด้วยตนเองดู เพียงเขาประพฤติตามคำสอนของพระองค์ ที่ไม่ให้เจริญตัณหา ไม่ดิ้นรนตามความอยาก เขาก็พ้นทุกข์ในปัจจุบันเดี๋ยวนั้นเลย เป็นที่ประจักษ์แก่ตน และเมื่อปล่อยวางไปเรื่อยๆ ทุกข์ก็น้อยลงไปเรื่อยๆ สงบจากกิเลสไปหน้าเรื่อย และพ้นทุกข์ถาวรได้จริงในที่สุด[/FONT]

    เจริญพร
    พระต่อศักดิ์ วชิรญาโณ
    วัดร่มโพธิธรรม ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย 42190
    www.rombodhidharma.com
     
  20. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    สาธุ เห็นด้วยครับ ผมเชื่อว่า เจริญสติไปเรื่อยๆ มีตัวตามรู้กำหนดไปเรื่อยๆ แถมปัญญาคอยกำกับซักหน่อย สมาธิระดับไม่ลึกจะเกิดได้เอง ซึ่งเพียงพอกับการวิปัสสนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...