ทุกชีวิต...นิพพานกันอยู่แล้ว

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เอกรินทรา, 23 พฤษภาคม 2012.

  1. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    rabbit_run_away
    จะอายทำไมกันละพ่อ อิอิ
    คนที่ผมคุยด้วยครั้งกระโนน บอกว่า ผมได้พระพุทธเจ้าที่ชื่อว่า ตรัสรู้ทับพีเดียว เป็นผู้นำทาง อะกาบ (deejai)

    วจีของผู้เข้าถึง นิพพาน อะจ๊าก :VO
     
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    การบรรลุของบุคคลต่างๆเป็นพระสูตรหนึ่งๆในหมวดสุตตันตปิฏก
    การบรรลุธรรมชั่วขณะจิต แต่ช่วงเวลาก่อนจะบรรลุ จะช้าเร็วอยู่ที่ตัวบุคคล เพราะบางท่านบรรลุช้าอาจเป็นผู้มีปัญญามากก็ได้คือต้องสะสมปัญญา

    การบรรลุธรรม จะอธิบายด้วยการเข้าถึงธรรมแบบใดก็ได้ค่ะ แต่บางคนจะชัดเจนในด้านใดมากกว่ากัน หรือเป็นเลิศในด้านใด

    เอามาจากเนื้อหาที่คุณมังคละมุนีมาโพสต์

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสบอกแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า ท่าน<WBR>พาหิยะ<WBR>ปริ<WBR>นิพ<WBR>พาน<WBR>แล้ว. ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงตรัสบอกว่า ท่านพาหิยทารุจีริยะ<WBR>บรรลุ<WBR>พระ<WBR>อรหัต<WBR>แล้ว<WBR>หรือ ท่าน<WBR>บรรลุ<WBR>พระ<WBR>อรหัต<WBR>ที่<WBR>ไหน.
    และเมื่อตรัสว่า ในเวลาที่ฟังธรรมของเรา พวกภิกษุจึงทูลถามว่า ก็พระองค์แสดงธรรมแก่ท่านในเวลาไหน.
    พระศาสดาตรัสว่า เมื่อเรากำลังบิณฑบาตยืนอยู่ระหว่างถนนวันนี้เอง. ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมที่พระองค์ยืนตรัสในระหว่างถนนนั้นมีประมาณน้อย ท่านทำคุณวิเศษให้เกิดด้วยเหตุเพียงเท่านั้นได้อย่างไร.
    พระศาสดา เมื่อทรงแสดงว่า ภิกษุทั้งหลาย เธออย่าประมาณธรรมของเราว่ามีน้อยหรือมาก แม้คาถาตั้งหลายพัน แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่ประเสริฐเลย ส่วนบทคาถาแม้บทเดียวซึ่งประกอบด้วยประโยชน์ยังประเสริฐกว่า
    จึงตรัสคาถานี้ในธรรมบทว่า
    <TABLE class=D border=0 cellSpacing=0><TBODY><TR vAlign=top><TD></TD><TD>สหสฺสมปิ เจ คาถา </TD><TD>อนตฺถปทสญฺหิตา </TD></TR><TR vAlign=top><TD></TD><TD>เอกํ คาถาปทํ เสยฺโย </TD><TD>ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ.</TD></TR></TBODY></TABLE>ถ้าคาถาแม้ตั้งพัน แต่ประกอบด้วยบทอัน
    ไม่เป็นประโยชน์ บทคาถาบทเดียวซึ่งบุคคลฟัง
    แล้ว ย่อมสงบระงับได้ยังประเสริฐกว่า ดังนี้.

    ในเนื้อหานั้นกล่าวถึงการเข้าถึงธรรมของท่านพาหิยะในหลายๆด้าน เมื่อกายและจิตระงับดีแล้ว ควรแก่ฟังธรรมแล้ว

    ....ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าพาหิยะมาถึง ทรงพระดำริว่า ชั้นแรก อินทรีย์ของท่านพาหิยะยังไม่แก่กล้า แต่ในระหว่างชั่วครู่หนึ่งจักถึงความแก่กล้า ดังนี้แล้ว รอคอยให้ท่านมีอินทรีย์แก่กล้า จึงแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จทรงบาตรยังกรุงสาวัตถีในขณะนั้น.

    ....พระองค์มีพระดำริอย่างนี้ว่า ตั้งแต่เวลาที่พาหิยะนี้เห็นเรา สรีระทั้งสิ้นอันปีติถูกต้องไม่ขาดระยะ กำลังปิติมีความรุนแรง แม้จักฟังธรรมแล้ว ก็ไม่สามารถแทงตลอดได้ จึงห้ามไว้ ตราบเท่าที่มัชฌัตตุเปกขาจะดำรงอยู่ก่อน แม้ความกระวนกระวายในกายของท่านก็มีกำลัง เพราะท่านมาสู่หนทางสิ้นระยะทาง ๑๒๐ โยชน์ แม้ท่านระงับความกระวนกระวายอยู่ก่อน เพราะเหตุนั้น จึงทรงปฏิเสธถึง ๒ ครั้ง.
    แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำอย่างนั้น เพื่อให้เกิดความเอื้อเฟื้อในการฟังธรรม.
    แต่พระองค์ถูกขอร้องถึงครั้งที่ ๓ ทรงเห็นมัชฌัตตุเปกขาเป็นเครื่องระงับความกระวนกระวาย และอันตรายชีวิตที่ปรากฏแก่ท่าน ทรงดำริว่า บัดนี้ เป็นกาลเพื่อแสดงธรรม จึงเริ่มแสดงธรรมโดยนัยมีอาทิว่า ตสฺมาติห เต ดังนี้.

    ส่วนเนื้อหาการเข้าถึงธรรม มีการแจกแจงมาก จะเข้าด้วยสติปัฏฐานสี่(สักว่า..สักว่า..)และดำเนินไปตามหลักโพธิปักขิยธรรม37 ก็ได้ หรือแยกตามปฏิจจฯก็ได้ หรือสัมมัตตะสิบก็ได้ค่ะ

    ....บทว่า สนฺตินฺทฺริยํ ได้แก่ อินทรีย์ ๕ ที่สงบระงับ เพราะปราศจากความหวั่นไหวในอินทรีย์ห้า มีจักขุนทรีย์เป็นต้น.
    บทว่า สนฺตมานสํ ได้แก่ มีใจสงบระงับ เพราะเข้าถึงภาวะที่มนินทรีย์ที่หกหมดพยศ.
    บทว่า อุตฺตมทมถสมถมนุปฺปตฺตํ ความว่า ถึงโดยลำดับ คือบรรลุความฝึกฝนและสงบอันสูงสุด กล่าวคือ ปัญญาวิมุตติและเจโตวิมุตติอันเป็นโลกุตระตั้งอยู่.
    บทว่า ทนฺตํ ความว่า ชื่อว่าฝึกกาย เพราะมีกายสมาจารบริสุทธิ์ดี และเพราะไม่มีการเล่น โดยไม่มีการคะนองมือคะนองเท้าเป็นต้น.
    บทว่า คุตฺตํ ความว่า ชื่อว่า คุ้มครองวาจา เพราะมีวจีสมาจารบริสุทธิ์ดี และเพราะไม่มีการเล่น โดยไม่มีวาจาไร้ประโยชน์เป็นต้น.
    บทว่า ยตินฺทฺริยํ ได้แก่ ชื่อว่า มีอินทรีย์สำรวมแล้ว ด้วยการประกอบฤทธิ์อันเป็นของพระอริยะ เพราะมีมโนสมาจารบริสุทธิ์ด้วยดี และด้วยอำนาจมนินทรีย์ เพราะมีความวางเฉยในการไม่ขวนขวายและการไม่พิจารณา.
    บทว่า นาคํ ความว่า ชื่อว่า ผู้ประเสริฐ เพราะเหตุเหล่านี้ คือการไม่ลุอำนาจฉันทาคติเป็นต้น กิเลสมีราคะเป็นต้น ที่ละได้แล้วไม่กลับเกิดอีก คือไม่หวนกลับมา บาปแม้อะไรก็ไม่ทำแม้โดยประการทั้งปวง และไม่ไปสู่ภพใหม่.


    ....บทว่า ทิฎฺเฐ ทิฏฺฐมตฺตํ ได้แก่ สักว่าการเห็นรูปายตนะ ด้วยจักขุวิญญาณ.
    อธิบายว่า เธอพึงศึกษาว่า จักขุวิญญาณเห็นซึ่งรูปในรูปเท่านั้น หาเห็นสภาพลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้นไม่ ฉันใด รูปที่เหลือจักเป็นเพียงอันเราเห็นด้วยวิญญาณที่เป็นไปทางจักขุทวารนั้นเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า การรู้แจ้งซึ่งรูปในรูปด้วยจักขุวิญญาณ ชื่อว่าเห็นรูปในรูปที่เห็น.
    บทว่า มตฺตา แปลว่า ประมาณ. ประมาณแห่งรูปนี้ที่เห็นแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐมัตตะ. อธิบายว่า จิตเป็นเพียงจักขุวิญญาณเป็นประมาณเท่านั้น. ท่านอธิบายไว้ว่า จักขุวิญญาณ ย่อมไม่กำหนัด ขัดเคือง หลงในรูปที่มาปรากฏฉันใด เราจักตั้งชวนจิตไว้โดยประมาณแห่งจักขุวิญญาณอย่างนี้ว่า ชวนจิตของเราจักเป็นเพียงจักขุวิญญาณเท่านั้นเพราะเว้นจากราคะเป็นต้น.
    อีกอย่างหนึ่ง รูปที่จักขุวิญญาณเห็น ชื่อว่า ทิฏฐะ. จิต ๓ ดวงคือสัมปฏิจฉนจิต สันติรณจิตและโวฏฐัพพนจิต ที่เกิดขึ้นเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า ทิฏฐมัตตะ.
    พึงทราบความในข้อนี้อย่างนี้ว่า จิต ๓ ดวงนี้ ย่อมไม่กำหนัด ขัดเคือง ลุ่มหลง ฉันใด เมื่อรูปมาปรากฏ เราก็จักให้ชวนจิตเกิดขึ้นโดยประมาณสัมปฏิจฉนจิตเป็นต้นนั้นนั่นแหละ เราจะไม่ให้ก้าวล่วงประมาณนั้นเกิดขึ้นด้วยความกำหนัดเป็นต้น ฉันนั้น. ในสุตะและมุตะก็นัยนี้เหมือนกัน.
    ก็บทว่า มุตํ พึงทราบคันธายตนะ รสายตนะและโผฏฐัพพายตนะกับด้วยวิญญาณ ซึ่งมีคันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพพายตนะนั้นเป็นอารมณ์.
    ก็ในคำว่า วิญฺญาเต วิญฺญาณมตฺตํ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
    ชื่อว่าวิญญาตะ ได้แก่ อารมณ์ที่มโนทวาราวัชชนจิตแจ้งแล้ว เมื่อรู้แจ้งอารมณ์นั้นก็เป็นอันชื่อว่ามโนทวาราวัชชนจิตรู้แจ้งแล้ว เหตุนั้นจึงชื่อว่ามีอาวัชชนจิตเป็นประมาณ.
    ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า
    อาวัชชนจิตย่อมไม่กำหนัด ขัดเคือง ลุ่มหลง ฉันใด เราจักพักจิตโดยประมาณแห่งอาวัชชนจิตเท่านั้น ไม่ยอมให้เกิดขึ้นด้วยความกำหนัดเป็นต้น ฉันนั้น.
    บทว่า เอวญฺหิ เต พาหิย สิกฺขิตพฺพํ ความว่า พาหิยะ เธอพึงศึกษาโดยคล้อยตามสิกขาทั้ง ๓ ด้วยปฏิปทานี้อย่างนี้. ดังนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงจำแนกอารมณ์อันแตกต่างโดยประเภทอารมณ์ ๖ พร้อมวิญญาณกาย ๖ อย่างย่อและตามความพอใจของพาหิยะ ด้วยวิปัสสนา โดยโกฏฐาสะทั้ง ๔ มีรูปอันตนเห็นแล้วเป็นต้นแล้ว จึงทรงแสดงญาตปริญญาและตีรณปริญญาในข้อนั้นแก่เธอ. อย่างไร? เพราะว่า ในข้อนี้รูปารมณ์เป็นอันชื่อว่าทิฏฐะ เพราะอรรถว่าอันจักขุวิญญาณพึงเห็น. ส่วนจักขุวิญญาณพร้อมวิญญาณที่เป็นไปทางจักขุทวารนั้น ชื่อว่า ทิฏฐะ เพราะอรรถว่าเห็น. แม้ทั้งสองอย่างนั้น เป็นเพียงธรรมที่เป็นไปตามปัจจัยเท่านั้น.
    ในข้อนี้ ใครๆ จะทำเองหรือให้ผู้อื่นทำก็หาได้ไม่.
    จริงอยู่ ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า จักขุวิญญาณนั้นชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะมีแล้วกลับไม่มี ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะถูกความเกิดขึ้นและดับไปบีบคั้น ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ เหตุนั้น ในข้อนั้นจะจัดเป็นโอกาสของธรรมมีความกำหนัดเป็นต้นแห่งบัณฑิตได้ที่ไหน.
    พึงทราบวินิจฉัยแม้ในสุตะเป็นต้น บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงปหานปริญญาพร้อมมูลเหตุเบื้องสูง แก่บัณฑิตผู้ตั้งอยู่ในญาตปริญญาและตีรณปริญญา จึงเริ่มคำมีอาทิว่า ยโต โข เต พาหิย ดังนี้.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต ได้แก่ ในกาลใดหรือเพราะเหตุใด.
    บทว่า เต ได้แก่ ตว แก่เธอ. บทว่า ตโต ได้แก่ ในกาลนั้นหรือ เพราะเหตุนั้น.
    บทว่า เตน ความว่า ด้วยรูปอันเธอเห็นแล้วเป็นต้น หรือด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น อันเนื่องกับรูปที่เธอเห็นแล้วเป็นต้น.
    ตรัสคำนี้ไว้ว่า พาหิยะ ในกาลใด หรือเพราะเหตุใด เพียงรูปที่เธอเห็นแล้วเป็นต้น จักมีแก่เธอผู้ปฏิบัติตามวิธีที่เรากล่าวแล้วในรูปที่เห็นแล้วเป็นต้น ด้วยการหยั่งรู้สภาพที่ไม่วิปริต ในกาลนั้นหรือเพราะเหตุนั้น เธอจักไม่มีพร้อมด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น ที่เนื่องด้วยรูปที่เธอเห็นแล้วเป็นต้น เธอจักเป็นผู้ไม่กำหนัด ขัดเคือง หรือลุ่มหลง หรือจักไม่เป็นผู้เนื่องกับรูปที่เธอเห็นแล้วเป็นต้นนั้น เพราะละราคะเป็นต้นได้แล้ว.
    บทว่า ตโต ตฺวํ พาหิย น ตตฺถ ความว่า ในกาลใดหรือเพราะเหตุใด เธอจักเป็น<WBR>ผู้<WBR>กำหนัด<WBR>เพราะ<WBR>ราคะนั้น ขัดเคืองเพราะโทสะ หรือลุ่มหลงเพราะโมหะ ใน<WBR>กาล<WBR>นั้น<WBR>หรือ<WBR>เพราะเหตุนั้น เธอจักไม่มีในรูปที่เห็นแล้วเป็นต้นนั้น หรือเมื่อรูปนั้นที่เห็นแล้ว หรือเสียงและอารมณ์ที่ทราบแล้ว เธอจักไม่เป็นผู้ข้องตั้งอยู่ด้วยตัณหามานะและทิฏฐิว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา.
    ด้วยคำเพียงเท่านี้ พระองค์ทรงให้ปหานปริญญาถึงที่สุดแล้วแสดงขีณาสวภูมิ.
    บทว่า ตโต ตฺวํ พาหิย เนวิธ น หุรํ น อุภยมนฺตเรน ความว่า พาหิยะ ในกาลใด เธอจักไม่เป็นผู้เกี่ยวเนื่องในรูปที่เห็นแล้วเป็นต้นนั้น ด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้นนั้น ในกาลนั้น เธอจักไม่มีในโลกนี้ ในโลกหน้าและในโลกทั้งสอง.
    บทว่า เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส ความว่า จริงอยู่ ในข้อนี้ มีอธิบายเพียงเท่านี้ ว่า ก็ที่สุด เขต กำหนด และความหมุนเวียนแห่งกิเลส ทุกข์และวัฏทุกข์เท่านี้.
    ก็อาจารย์เหล่าใดถือบทว่า อุภยมนฺตเรน แล้วจึงปรารถนาชื่อระหว่างภพ คำของอาจารย์เหล่านั้นผิด.
    จริงอยู่ ภาวะระหว่างภพ ท่านคัดค้านแล้วในพระอภิธรรมทีเดียว.
    ก็คำว่า อนฺตเรน เป็นการแสดงวิกัปอื่น. เพราะเหตุนั้น ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ก็วิกัปอื่น ไม่มีในโลกนี้โลกหน้าหรือทั้งสอง.
    อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อนฺตเรน เป็นการแสดงความไม่มีวิกัปอื่น. คำนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า ก็ที่ตั้งอื่นไม่มีในโลกนี้โลกหน้า ถึงระหว่างภพก็ไม่มี. .....

    ช่วงนี้อธิบายอย่างศีลสมาธิปัญญาก็ได้(อริยมรรค) และมีกล่าวแบบวิสุทธิเจ็ดด้วย
    ....ก็ท่านพาหิยะนั้นพอฟังธรรมของพระศาสดาเท่านั้น ชำระศีลให้หมดจด อาศัยสมาธิจิตตามที่ได้แล้ว เริ่มวิปัสสนาเป็นขิปปาภิญญาบุคคล ให้อาสวะทั้งปวงสิ้นไป
    ....ว่าโดยอรรถ เป็นอันทรงประกาศว่าท่านปรินิพพานด้วยการตรัสสั่งให้สร้างสถูปไว้ ก็จริง แต่ถึงกระนั้น เหล่าภิกษุผู้ไม่รู้ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น ก็จะทูลถามว่า คติของท่านเป็นอย่างไร หรือผู้ประสงค์จะ<WBR>ให้<WBR>ทำ<WBR>ให้<WBR>ปรากฏ<WBR>ชัด จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนั้น.
    บทว่า ปณฺฑิโต ความว่า ชื่อว่าบัณฑิต เพราะไป คือดำเนินไป ได้แก่เป็นไปด้วยปัญญา ชื่อว่าปัณฑะ เพราะบรรลุด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วยอรหัตมรรค.
    บทว่า ปจฺจปาที แปลว่า ดำเนินไปแล้ว.
    บทว่า ธมฺมสฺส ได้แก่ โลกุตรธรรม.
    บทว่า อนุธมฺมํ ได้แก่ ธรรมคือปฏิปทามีสีลวิสุทธิเป็นต้น.
    อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ธมฺมสฺส ได้แก่ นิพพานธรรม.
    บทว่า อนุธมฺมํ ได้แก่ ธรรมคืออริยมรรคและอริยผล.
    บทว่า น จ มํ ธมฺมาธิกรณํ ความว่า ก็เหตุแห่งการแสดงธรรม ไม่ทำเราให้ลำบาก เพราะปฏิบัติตามที่ทรงพร่ำสอน.

    ....จิตของท่านพาหิยะหลุดพ้นจากอาสวะด้วยการแสดงบทย่อนี้.
    บทว่า ตาวเทว ได้แก่ ในขณะนั้นนั่นเองไม่ใช่กาลอื่น.
    บทว่า อนุปาทาย แปลว่า ไม่ยึดมั่น.
    บทว่า อาสเวหิ ความว่า จากกามราคะเป็นต้นที่มี ชื่อว่าอาสวะ เพราะไหลไปคือเป็นไปจาก<WBR>ภวัคค<WBR>พรหม<WBR>จน<WBR>ถึง<WBR>โคตร<WBR>ภู และเป็นเหมือนเครื่องหมักดองมีสุราเป็นต้น โดยอรรถว่าหมักไว้นาน.
    บทว่า วิมุจฺจติ ความว่า หลุดพ้นคือสลัดออก (กามราคะเป็นต้น) ด้วยสมุจเฉทวิมุตติและปฏิปัสสัทธิวิมุตติ.
    ก็ท่านพาหิยะนั้นพอฟังธรรมของพระศาสดาเท่านั้น ชำระศีลให้หมดจด อาศัยสมาธิจิตตามที่ได้แล้ว เริ่มวิปัสสนาเป็นขิปปาภิญญาบุคคล ให้อาสวะทั้งปวงสิ้นไป บรรลุพระอรหัตพร้อมปฏิสัมภิทาขณะนั้นนั่นเอง. ท่านตัดกิเลสดุจกระแสน้ำในสงสาร ทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์ทรงร่างกายครั้งสุดท้าย

    .........
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2012
  3. เอกรินทรา

    เอกรินทรา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +26
    ยังคงยืนยันความเดิมครับว่า....
    แล้วทำไมพระพุทธองค์ไม่กล่าวว่า...พระสูตรบทนี้พิเศษสุดเฉพาะพาหิยะเท่านั้นล่ะ...คนอื่นหากตามพระสูตรนี้ต้องกลับไปทำตามพระสูตรอื่นๆที่คุณโพสต์มาให้ได้ก่อน...เพราะนี่เฉพาะพาหิยะเท่านั้น...ซึ่งมีบุญบารมีปัญญาเต็มที่แล้ว

    แต่ที่นี่ทำไมพระพุทธองค์กล่าวไว้เพียงแค่นี้แล้วจบล่ะ...หรือพวกคุณไปไม่เป็นแล้วไปคิดแทนพระพุทธเจ้า

    พาหิยะ เมื่อใดเธอเห็นรูปแล้ว สักว่าเห็น ได้ฟังเสียงแล้ว สักว่าฟัง ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัสทางผิวกาย ก็สักว่า ดม ลิ้มรส สัมผัส ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็สักว่าได้รู้แจ้งแล้ว เมื่อนั้น เธอจักไม่มี เมื่อใดเธอไม่มี เมื่อนั้นเธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้ ไม่ปรากฏในโลกอื่น ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์ แล
     
  4. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ก็ใคร แจ้งได้ ก็แจ้งไป เฉพาะบุคคล...ไม่ได้หมายถึงจะรู้ได้เท่ากันทุกคน ผมว่า สมาชิกทุกคนรู้ข้อนี้ดีอยู่แล้ว ไม่มีใครค้านอะไร นี่?:cool:
     
  5. เอกรินทรา

    เอกรินทรา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +26
    สาธุ...
    ดีแล้วลูกดีแล้ว...
    แต่ถ้าจะมาปรามาสสัจธรรม...
    ความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรม...ที่พระพุทธองค์กล่าวไว้ดีแล้ว...
    พ่อจะรออยู่นะลูก....
     
  6. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    อินทรีย์ต่าง ผล ย่อมต่าง

    <center>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค</center> <table align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" bgcolor="darkblue" width="100%">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>วิตถารสูตรที่ ๒ </center><center>ความต่างแห่งผลเพราะความต่างแห่งอินทรีย์ </center>
    [๘๘๔]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

    [๘๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์
    เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์
    เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
    เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
    เป็นพระอนาคามีผู้มีอสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
    เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
    เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
    เป็น
    อนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ขอพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
    เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยัง
    อ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
    เป็นพระโสดาบัน
    เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี
    เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน
    เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี.


    ดังพรรณนามาฉะนี้ ความต่างแห่งผลย่อมมีได้เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ ความต่างแห่ง บุคคลย่อมมีได้เพราะความต่างแห่งผล.
    จบ สูตรที่ ๖ ​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2012
  7. เอกรินทรา

    เอกรินทรา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +26
    จากมือผู้ให้...สู่ใจผู้รับ
    ​ในยุคแห่งการปรุงแต่งที่ละเมียดละไม  แม้แต่ผู้สนใจใฝ่ในธรรมก็ยังหลงติดกับดักแห่ง               ทิฏฐิตน  การเชื่อและศรัทธาในสิ่งที่ฝืนธรรมชาติฝืนความเป็นจริงแห่งสัจธรรม  คือ  เชื่อเพราะฟังตามกันมา  เชื่อเพราะเป็นผู้ที่มีอิทธิพลเหนือตน  เช่น พ่อแม่  ครูอาจารย์  เชื่อเพราะเห็นว่าเขาเป็นผู้ปฏิบัติธรรม  หรือเชื่อเพราะเขาว่ากัน  จะเชื่อและศรัทธาในสิ่งใดก็ตาม  ที่ฝืนธรรมชาติฝืนความเป็นจริงแห่งสัจธรรม  สิ่งนี้ก็มิใช่สิ่งที่จะช่วยหันเหออกจากการปรุงแต่งได้เลย
    ​เป็นปกติที่ผู้สนใจใฝ่ในธรรมทั้งหลาย  เที่ยวเสาะหาครูบาอาจารย์เพื่อจุดหมายสุดท้ายแห่งชีวิตคือนิพพาน  จะเจอของจริงหรือของปลอมก็สุดแท้แต่ทิฏฐิท่านที่แบกยึดอยู่  หากท่านยังแบกยึดเรื่อง สังคมและจารีตประเพณีอยู่  ท่านก็อาจจะมองหาครูบาอาจารย์  ผู้สำรวมเพรียบจริยวัตร  หากท่านยังแบกยึดในเรื่องที่เขาว่า  หรือฟังตามกันมา  ท่านก็อาจจะมองหาครูบาอาจารย์  สายนั้น  สายนี้  ตามทิฏฐิที่ท่านแบกยึดอยู่  หากท่านคือ  ผู้มีปัญญาและไม่หลงติดกับดักแห่งทิฏฐิตนอันใดเลย  ท่านจะได้เจอครูบาอาจารย์แท้
    ครูบาอาจารย์เทียม  ย่อมสอนเรื่องเปลือกกะพี้  แล้วท่านจะสอนเรื่องจุดหมายปลายทางแห่งชีวิตได้อย่างไร  ในเมื่อคำสอนนั้น  เสมือนคนตาบอดคลำช้าง  ครูบาอาจารย์แท้  ย่อมสอนเรื่องแก่น  สอนให้จบ  มิใช่ให้ไปต่อ  ท่านเจอครูบาอาจารย์แบบไหน  ก็ขึ้นอยู่กับปัญญาและทิฏฐิที่ท่านแบกยึดอยู่
    ในยุคแห่งการปรุงแต่งที่ละเมียดละไมนี้  ครูบาอาจารย์เทียมอาจจะเป็นที่กล่าวขาน  โด่งดัง  เป็นที่นับหน้าถือตา  ของผู้สนใจใฝ่ในธรรมที่แบกยึดทิฏฐิเหล่านี้  ที่แบกยึดเปลือกกะพี้เหล่านี้อยู่   ครูบาอาจารย์ท่านก็อาจจะมีลูกศิษย์ลูกหาอยู่ทั่ว  เพราะผู้ที่แบกยึดทิฏฐิและเปลือกกะพี้เหล่านี้ยังมีอยู่มาก                                                                                                                                                            
    แต่หากวันใดวันหนึ่ง  ท่านผู้แบกยึดทิฏฐิแห่งตนทั้งหลาย  ได้เจอกับครูบาอาจารย์ผู้ไม่สำรวม  ไม่เพรียบพร้อมจริยวัตร  ท่านที่ยังแบกยึดทิฏฐิแห่งตนอยู่มาก  ก็อาจจะรับไม่ได้  หรือรับได้ในระดับหนึ่ง  แต่หากท่านมีปัญญาฉุกคิดขึ้นมา  ก็จะเกิดคำถามที่คาใจท่านไปว่า  ทำไม                       ครูบาอาจารย์ท่านนี้  ซึ่งเป็นผู้ไม่สำรวม  ไม่เพรียบพร้อมจริยวัตรท่านนี้  มีลูกศิษย์ลูกหาอยู่เต็มกุฏิ  จะกี่ปีกี่เดือนก็ยังเป็นอยู่อย่างนี้  หรือเพราะครูบาอาจารย์ท่านนี้สอนเรื่องงมงาย  ลูกศิษย์ลูกหาที่ชอบความงมงายจึงมีอยู่มาก  แต่ทำไมลูกศิษย์ลูกหาจึงศรัทธา  ครูบาอาจารย์ท่านนี้อย่างแม่นมั่น  หรือว่าท่านคือ  ของจริงของแท้  ท่านสอนแต่แก่นไม่สนใจเปลือกกะพี้  ลูกศิษย์ลูกหาจึงอยู่เต็มกุฏิ  จะกี่ปีกี่เดือนก็ยังเป็นอยู่อย่างนี้  หรือลูกศิษย์ลูกหาที่ศรัทธาท่านอย่างแม่นมั่น  เพราะเขาเหล่านั้นเข้าถึงแก่นกันจริงๆ  เข้าถึงแก่นกันหมดแล้ว
    เหล่านี้คือการเอาทิฏฐิแห่งตนเข้าไปมอง  โดยลืมมองความเป็นจริงแห่งธรรมชาติแห่ง               สัจธรรม  แล้วมาวิเคราะห์วิจารณ์กันอย่างไร้แก่นสาร  เพราะท่านไม่เคยวางทิฏฐิแห่งตนลงเลย  ท่านจึงเจอแต่ครูบาอาจารย์เทียม  และเพราะครูบาอาจารย์แท้มองท่านออกตั้งแต่ต้น  ท่านจึงไม่ได้แก่นแท้อันใดกลับไปเลย  ความจริงแห่งธรรมชาติแห่งสัจธรรม  ก็ยังคงเป็นอยู่อย่างนั้น  ทุกวันทุกเวลา  ไม่มีผู้ใดหลุดพ้นในทิฏฐิธรรมแห่งตนได้เลย  นี่คือความจริง  ครูบาอาจารย์เทียมก็ยังคงเป็นครูบาอาจารย์เทียม  ครูบาอาจารย์แท้ก็ยังคงเป็นครูบาอาจารย์แท้  อยู่อย่างนั้นทุกวันทุกเวลา  
                             
     
     
  8. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ลมหายใจ สุดท้าย แห่ง ชีวิต จะเป็น เครื่องพิสูจน์ ว่าธรรมใด จะเป็นของแท้!
     
  9. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    <CENTER>พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 align=center height=50><TBODY><TR><TD>

    [166] มหาปเทส 4<SUP></SUP> (ที่อ้างอิงข้อใหญ่, หลักใหญ่สำหรับอ้างเพื่อสอบสวนเทียงเคียง หมวดที่ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป - great authorities; principal references or citations)

    1. หากมีภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์ (A monk might say: “Face to face with the Blessed One did I hear this; face to face with him did I receive this. This is the Doctrine, this is the Discipline, this is the Master's teaching.”)

    2. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีสงฆ์อยู่ พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์ (A monk might say: “In such and such a monastery resides an Order together with an elder monk, together with a leader. Face to face with that Order did I hear this; . . .)

    3. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยู่จำนวนมาก เป็นพหูสูต ถึงอาคม (คือชำนาญในพุทธพจน์ทั้ง 5 นิกาย) ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์ (A monk might say: “In such and such a monastery reside a great number of elder monks, widely learned, versed in the Collections, experts on the Doctrine, experts on the Discipline, experts on the Summaries, In the presence of those monks did I hear this; . . .)

    4. หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยู่รูปหนึ่ง เป็นพหูสูต ถึงอาคม ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์ (A monk might say: “In such and such a monastery resides an elder monk of wide learning. . . .)

    เธอทั้งหลาย ยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะ (ทั้งข้อความและถ้อยคำ) เหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตรเทียบดูในวินัย (The words of that monk are neither to be welcomed nor scorned, the words and syllables thereof are to be studied thoroughly, laid beside the Discourses and compared with the Discipline.)

    ก. ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า นี้มิใช่ดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่นอน ภิกษุนี้ (สงฆ์นั้นพระเถระเหล่านั้น พระเถระรูปนั้น) ถือไว้ผิด พึงทิ้งเสีย (If, when laid beside the Discourses and compared with the Discipline, these words and syllables lie not along with the Discourses and agree not with the Discipline then you nay come to the conclusion; Surely this is not the word of the Blessed One, and it has been wrongly grasped by that monk. Then reject it.)

    ข. ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า นี้เป็นดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่แท้ ภิกษุนี้ (สงฆ์นั้น พระเถระเหล่านั้น พระเถระรูปนั้น) รับมาด้วยดี (If . . . they lie along with the Discourses and agree with the Discipline . . . Surely this is the word of the Blessed One . . .)

    โดยสรุป คือ การยกข้ออ้างหรือหลักฐาน 4 (the four principal appeals to authority) คือ
    1. พุทธาปเทส (ยกเอาพระพุทธเจ้าขึ้นอ้าง - the appeal to the Enlightened One as authority)
    2. สังฆาปเทส (ยกเอาพระสงฆ์ขึ้นอ้าง - the appeal to a community of monks or an Order as authority)
    3. สัมพหุลัตเถราปเทส (ยกเอาพระเถระจำนวนมากขึ้นอ้าง - the appeal to a number of elders as authority)
    4. เอกเถราปเทส (ยกเอาพระเถระรูปหนึ่งขึ้นอ้าง - the appeal to a single elder as authority)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=166
     
  10. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529

    ข้ามิโต้เถียงกับเอ็งดอกนะจ๊ะ นะจ๊ะ มันไม่มีประโยชน์ ขนาดมีแต่ขยะ แต่เอ็งก็ตามอ่านมันทุกกระทู้ มิใช่หรือ? ก็เหมือนคนๆๆหนึ่งพูดว่าบึงนี้ไม่มีมังกร แต่ก็ยังโดดลงไปเพื่อหามังกรนั้นแล

    ว่าแต่เอ็งว่า ศาสนาคืออะไรล่ะ คือองค์กรที่ประกอบไปด้วยนักบวชหัวโล้น คนเดินตาม คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ พิธีกรรม เช่นการทำบุญไถ่บาป ที่ตั้งอยู่บน ซากศพของผู้รู้แจ้งคนหนึ่งเช่นนั้นหรือ? แบบที่พวกเอ็งมันชอบคิดชอบยึดถือกันไงล่ะ


    ถูกล่ะครั้งหนึ่งดอกไม้เคยบาน แต่ ทว่า เมื่อดอกไม้บาน มันก็บานพร้อมกลิ่นหอมแต่ในที่สุดดอกไม้ก็ร่วมโรยไปพร้อมกลิ่นหอมนั้น นั้นคือความจริง แล้วจะมีอะไรล่ะที่มาเป็นตัวแทนกลิ่นหอมนั้นได้? มันไม่มีดอกนะ ไอ้ที่มีน่าจะเป็นดอกไม้พลาสติกเสียมากกว่า? อาจจักฉีดน้ำหอมฝรั่งเศสลงไป แต่อย่างไรเสียของปลอมก็คือของปลอม มันปราศจากชีวิต แข็งกระด้าง และไม่เลื่อนไหล


    ศาสนาทำให้มนุษย์แบ่งแยก เมื่อใครสักคนยึดติกกับองค์กร กับคัมภีร์ ตัวบุคคล ราวกับว่ามันเป็นความจริงแท้ของเขา เขาเป็นหุ้นส่วน เขาก็แยกตางหากจากคนทั้งโลก แยกตัวเองออกเป็นคริสต์ เป็นฮินดู เป็นพุทธ เป็นบาไฮ เป็นซูฟี แล้วก็จับกลุ่มกันอยู่ตรงนั้นตรงมุมแคบๆๆของห้อง ในส่วนแคบๆๆเพียงกด้านหนึ่งของจิตสำนึก นี่คือเรื่องโง่ๆๆ

    เราทุกคนคือมนุษย์ คนที่มีเลื้อดมีเนื้อ มีหัวใจ เหมือนๆๆกัน นี่คือความจริง เมื่อเราสำนึกในความเป็นมนุษย์ชาติ ไม่ใช่ในความเป็นบุคคลที่สวมหน้ากาก ตรงนั้นเราถึงจะเห็นอีกด้านหนึ่งหลังกำแพง ที่ปราศจากการแบ่งแยก พุทธที่แท้มิใช่พุทธที่ยืนอยู่บนฐานของลัทธิ แต่ควรที่จะยืนอยู่บนจิตสำนึกของความเป็นมนุษย์ ผู้ร่วมทุกร่วมสุขด้วยกัน เป็นเรื่องสูงส่งเหนือความจำกัดคับแคบของลัทธิ

    พระพุทธองค์กล่าวว่า

    "เมื่อบุคคลตกอยู่ในความเชื่อของลัทธิใดลัทธิหนึ่ง เขาย่อมสูญเสียอิสรภาพทั้งหมด เมื่อบุคคลหลงงมงายในลัทธิ เขามักเชื่อว่าลัทธิของเขาเป็นสัจจะเพียงหนึ่งเดียว และลัทธิอื่นทั้งปวงเป็นของเหลวไหล การทะเลาะวิวาทและความขัดแย้งทั้งมวลมักเกิดขึ้นจากทัศนะอันคับแคบนี้ ความขัดแย้งจะขยายกว้างออกไปไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้เวลาอันมีค่าสูญเปล่าไป และบางคราวถึงกับนำไปสู่สงคราม การยึดติดในความคิดเป็นอุปสรรคอันใหญ่หลวงที่สุดที่ขัดขวางหนทางแห่งจิตวิญญาณ การผูกพันธนาการอยู่กับความคิดอันคับแคบ บุคคลย่อมถูกปิดกั้นไว้จนกระทั่งไม่ยอมให้ประตูแห่งสัจจะเปิดเข้ามาได้ หากเรายึดติดอยู่กับความเชื่อบางอย่าง แล้วหลงว่าเป็นสัจจะสมบูรณ์ สักวันหนึ่งเราก็จะพบว่าตนเองตกอยู่ในสภาพที่ไม่ต่างกับพ่อม่ายหนุ่มคนนี้ เมื่อใดที่คิดว่าเราเข้าถึงสัจจะแล้ว เมื่อนั้นเราจะไม่สามารถเปิดใจของเราต้อนรับสัจจะได้ แม้ว่าสัจจะจะมาเคาะเรียกอยู่ที่ประตูก็ตาม""

    ว่าแต่ศาสนาคืออะไรล่ะ

    ศาสนา คือ ชีวิต คือ ฟ้ากว้าง คือ อิสรภาพจิตวิญญาณแห่งเสรีชน คือความรัก มิใช่เพียงมุมๆๆแคบๆๆแง่มุมหนึ่ง คือสำนึกของความถูกต้อง ดีงาม เป็นกระแสธารของชีวิต ของความรัก(เมตตากรุณา) เป็นจุดที่ปราศจากผู้แสวงหา อยู่เหนือมายาภาพและความมืดมนอนธกาลที่จิตใจสร้างขึ้น เป็นจุดเริ่มของอะไร?บางอย่างที่แตกต่างออกไป ตื่นรู้ และ หยั่งรู้ในสิ่งนั้น สิ่งที่เป็นจริง

    ข้ารู้ว่าทำไมเอ็งถึงออกมาโว้ยวาย อนึ่ง เพราะที่ผ่านมาเอ็งเชื่อว่าเอ็งเป็นคนที่ดี เป็นสาวกที่ดีคนหนึ่งในพระศาสนา มีความเข้าใจในพระศาสนาดีคนหนึ่ง แต่การปรากฏตัวขึ้นของข้า คำพูดของข้าสั่นคลอนความเชื่อนั้น มันทำให้เอ็งกลัวเกินกว่าที่จะยอมรับความจริงว่า มายาภาพที่เอ็งสร้างขึ้นเกี่ยวกับตัวเอ็งนั้นไม่เป็นความจริง เปรียบเหมือนข้าได้ดึงเอาพื้นดินที่เอ็งยืนอยู่ไปเสีย เหมือนข้าไปสะกิดแผลที่เหมือนจะหายของเอ็งเข้า ดังนั้นเอ็งจึ่งต่อต้านมัน ใช่มิ ใช่มิ นี่เป็นเรื่องธรรมดา

    นะจ๊ะ นะจ๊ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 พฤษภาคม 2012
  11. dakini

    dakini สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +10
    คุณเทพอภิบาล คุณเป็นใคร? ค่ะ

    ทุกคำที่คุณพูด ขอรับฟังด้วยใจค่ะ
    มันเป็นความจริงอย่างที่สุด
    อย่างไทยอิสลามเขาก็
    มีอยู่พอสมควรที่มีการปลูกฝังความคิดแบบนี้ขึ้นถูกสอนมาให้เกลียดคนไทยพุทธ
    คนไทยพุทธก็มีอยู่พอสมควรที่มีการปลูกฝังความคิดให้
    เกลียดคนไทยอิสลาม
    ก็อย่างเรียกเขาว่าไม่ใช่คนไทย เป็นแขก เป็นมาลายู
    นั้นแหละมันก็เลยกลายเป็นปัญหามาถึงทุกวันนี้

    แต่ไม่ใช่ว่าคนเหล่านี้ไม่ใช่คนดีหรอกนะค่ะ แต่บางครั้งไอ้สำนึกควมเป้นกลุ่มก้อนนี่มันก็ทำให้อารมณ์มันไป
    เหมือนเสื้อแดง เสื้อเหลือง พี่น้องอยู่บ้านเดียวกัน
    ไม่ใช่ไม่รักกัน แต่บางครั้งอารมณ์มันไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 พฤษภาคม 2012
  12. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    แม่หนูเอ็งเคยดู The Matrix ไหมล่ะ นั้นแหละ ใช่เลย โลกเราทุกวันนี้เป็นแบบนี้เลย The Matrix ดำเนินเรื่องว่า ในวันหนึ่งมนุษย์ชาติจะเอาตัวเองไปเสียบปลั๊กเข้ากับระบบThe Matrix ซึ่งจะสร้างภาพจำลองเสมือนของโลกที่เหมือนจริง ขึ้นมา และผู้คนก็ดำรงชีวิตอยู่ในโลกใบนั้นอยู่ในโลกแห่งความฝันอันจอมปลอม ความเชื่อ เป็นแรงผลักดันให้ สิ่งนี้มีอยู่จริง

    นั้นแลมนุษย์ส่วนใหญ่ก็เป็นเช่นนี้ คนพวกนี้เลือกที่จะอยู่ในโลกที่ตัวเองอยากให้เป็นไม่ใช่โลกที่เป็นจริง และ มีความสุขจอมปลอมบนโลกใบนี้ โดยปฏิเสธที่จะตื่นขึ้นมาเพื่อรับรู้ความจริง และ อย่างช้าก็ค่อยๆๆ เหี่ยวแห้งและตายลง

    ข้าถึงไม่แปลกใจว่าทำไมการปฏิรูปสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ศาสนา วิทยาศาสตร์ ในทุกวันนี้มันถึงได้ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย และอย่างช้ามนุษย์ชาติก็กำลังพาตัวเองให้ไปยืนอยู่บนขอบเหวแห่งความเสื่อม



    เอ็งเคยสังเกตไหม? แม่หนู
    ทำไม?เราจึ่งเห็นคนที่สนใจ ทางเรื่องจิตวิญญาณจึ่งมุ่งไป ที่เรื่องเหนือธรรมชาติ เรื่องบำเพ็ญตบะ หูตาทิพย์มากกว่าที่จะมาดูชีวิตตัวเองอย่างที่เป็นจริงนะหรือ ก็เพราะคนเหล่านี้รู้ว่า ชีวิตเป็นเรื่องขมขื่น ระทมทุกข์ มีความไม่แน่นอน ไม่เที่ยง แปรเปลี่ยน มีความตาย นะสิดังนั้นเขาจึ่งพยายามที่จะหนีจากมัน ด้วยการเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในโลกสมมุติ ที่ซึ่งเขาคิดว่าเขาจะหนีจากความขมขื่น ระทมทุกข์ มีความไม่แน่นอน ไม่เที่ยง แปรเปลี่ยนทำนองนี้ไปได้ นั้นแล

    แต่ปัญหายังอยู่ที่นั้นเรา สามารถเข้าใจปัญหาได้หรือหากเราหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้ามัน ใครล่ะจะมอบความเข้าใจให้เราได้นอกจากตัวเราเอง อาจจะมีคนชี้ทาง แต่คนเดินเดินคือตัวเราเอง เราเองที่รับผิดชอบชีวิตของเราเอง เราเองที่สร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นได้ ผ่านการสังเกตตัวเองในทุกๆๆขณะ โดยปราศจากแนวคิดใดๆๆทั้งสิ้นเกี่ยวกับความจริง แนวคิดที่ดึงให้เราโน้มเอียงไปยังด้านใดด้านหนึ่ง แต่ไม่ใช่ในสิ่งที่เป็นจริง
    ข้ามิได้พูดว่าคนเหล่านั้นไม่มีตบะมีเดชจริงนะจ๊ะ แต่ข้าพูดว่า ต่อให้มีจริงมันก็ไม่ได้ช่วยให้คนเหล่านั้นพบสันติสุข พบความสงบในชีวิตได้จริงดอก ของพวกนี้มันมีได้ก็เสื่อมได้(ถ้ามีจริง) แต่จะมีประโยชน์อะไรเล่า ที่ถึงแม้เราจะมีอำนาจอันยิ่งใหญ่แต่ไม่อาจจะนำตัวเองออกมาจากโลกแห่งความหลอกลวง ความปวดร้าว ระทมทุกข์ได้



    ถ้าอยากจักมีชีวิตตายไปกับความหลอกลวง ความฝันอันจอมปลอม( อันเป็นผลพวงมาจากความคิดที่บอกเราว่าเป็นเรา) ก็ตามใจเถอะนะจ๊ะ นะจ๊ะ

    บางคนถามว่าทำไมข้า ถึงพูดวกวน คลุมเครือ เป็นความตั้งใจของข้าเองที่จักทำเช่นนั้นที่จะพูดให้วกวนที่สุด

    และ เป็นความพยายามของข้าอีกเช่นกันที่จะพูดเพื่อทำลายความคิด ถ้อยคำที่ยึดถือกันตามๆมาโดยไม่เคยตรวจสอบ โดยเฉพาะพวกความเชื่อที่ได้แต่เชื่อแต่ลึกๆๆในใจของคนที่เชื่อเขานั้นก็ยังกังขาในความเชื่อนั้น
    ข้าพูดเพื่อให้ตรวจสอบ ทบทวน สังเกตุตัวเอง และรากเหง้าของความคิด มิใช่พูดเพื่อเสนอคำตอบ หยิบยื่นข้อสรุปใดๆๆให้ทั้งสิ้น จีกมีประโยชน์อะไรที่เราจะหยิบยื่นโยนข้อสรุปของเราให้ใครสักคน เขาอาจจักยอมรับมันเพราะมันสอดคล้องกับความคิดของเขาหรือมันดูดีกว่า จริงกว่า ก็เหมือนการที่คนๆๆหนึ่งโยนรูปเคารพหนึ่งทิ้งเพื่อเอารูปเคารพใหม่มาตั้งบูชา ส่วนคนที่ไม่เชื่อก็เพราะเมื่อเขาตรวจสอบมันแล้ว เขาพบว่ามันไร้แก่นสาร ปราศจากความจริง หรือ ไม่ก็ไม่สอดคล้องกับความคิดของเขา สั่นคลอนความเชื่อเขาดังนั้นเขาจึ่งแสดงอาการต่อต้านมันเพื่อปกป้องความคิดของตนจากความคิดอื่นๆ และพึ่งพอใจ
    ก็คนเรามันมีอคติ อยู่ถึง สี่ ประการนี่นางหนู


    พระพุทธองค์ตรัสว่า "มีการถึงซึ่งความลำเอียง(อคติ)4 ประการดังนี้ 1 .ลำเอียงเพราะชอบ 2. ลำเอียงเพราะชัง 3.ลำเอียงเพราะหลง 4.ลำเอียงเพราะกลัว ถ้าใคครสักคนถึงวึ่งอคติเหล่านี้เขาผู้นั้นย่อมประสบกับความเสื่อมตามมา ดุจดั่งพระจันทร์ข้ามแรม แต่หากใจของใครสักคนปราศจากอคติเหล่านี้แล้วไซร้ เขาย่อมได้รับการสรรเสริญว่าเป็นผู้โปร่งใส เป็นกลาง แต่หากท่านยังคงมีทัศนคติที่ดำรงอยู่ในอคติทั้งสี่นี้ เราตถาคตย่อมกล่าวตำหนิว่า ท่านอย่างแรงว่าเป็นขยะ ในสังฆะ"


    นั้นแล เห็นได้ชัดว่าคนส่วนใหญ่ในโลกนี้ยังต้อง บ่มเพาะอุเบกขาในใจ ให้เกิดขึ้นอีกมากนัก อุเบกขานั้นไม่ใช่ความไม่ใยดีในสิ่งใด เย็นชาดอกนะ แต่หมายความว่า การดำรงตนอยู่อย่างปราศจากอคติเหล่านี้นั้นเอง เขาเหล่านี้ย่อมถึงพร้อมด้วยสมตชฺญาณ หรือ การรู้แจ้งในตัวตน(หรือความยึดมั่นถือมั่นว่ามีตัวตน) เพราะ อุเบกขาไม่สามารถดำรงอยู่ได้ดอกนะ ถ้ามีการแบ่งเขาแบ่งเรา พวกเราพวกเขา ความคิดเราความคิดเขา อะไรทำนองนี้ หากปราศจากความคิดพวกนี้เช่นเราดีกว่าสูงส่งกว่าต่ำต้อยกว่า ความขัดแย้งใดๆๆในโลกก็ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ อุเบกขาที่แท้ย่อมถึงพร้อมซึ่ง เมตตาธรรม กรุณาธรรม มุฑิตาธรรม คนพวกนี้พระพุทะเจ้าท่านเรียกว่าพรหม หรือ ผู้ประเสริฐนั้นแล
    ความจริงการจะคงไว้วึ่งอุเบกขาในใจได้นั้น เราต้องคำรงตนอยู่สติ สติคือการระลึกรู้ใส่ใจกับตัวเราเอง เฝ้าสังเกตุตัวเองอย่างที่เป็นจริง สังเกตุโดยไม่มีผู้สังเกตุ เป็นสภาวะที่อยู่เหนือการคิด นั้นแล


    โดยสรุปก็คือข้าพูดเพื่อคนซึ่งต้องการความเข้าใจจริงๆ ผู้ซึ่งกำลังแสวงหาสิ่งที่เป็นนิรันดร์ภาพ อันไม่มีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุด และ พร้อมที่จะก้าวเดินไปด้วยกันด้วยความมั่นใจยิ่ง และ เขาเหล่านี้จะเป็นอันตรายต่อทุกสิ่งที่ไร้แก่นสาร ทุกสิ่งที่เป็นเพียงมายาภาพ เขาจะเป็นดั่งเปลวเพลิงที่แผดเผาความยึดมั่นถือมั่นในส่งทั้งปวง ส่องแสงสอดส่องทำลายความมืดมนของโลก เป็นสายน้ำที่ชำระล้างความโศกเศร้า ความรุนแรงและทุรราชต่ำทราม เป็นพื้นดินที่โอบอุ้มเลี้ยงดูสรรพชีวิตเป็นสายลมที่พัดพาเอาคุกแห่งความคับแคบ และ โซ่ตรวนที่จองจำหัวใจของมนุษย์ เพื่อเขาทั้งหลายจะได้พบกับอิสรภาพ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 มิถุนายน 2012
  13. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ใครบอกท่านละครับ ที่ว่าคนไทยอิสลามเกลียดไทยพุทธ หรือไทยพุทธเกลียดอิสลาม ผมอยู่นราธิวาส เป็นไทยพุทธ เมียเป็นอิสลาม เพือนๆเป็นทั้งไทยพุทธและอิสลามเยอะแยะ พ่อแม่รับเหมา มีลูกน้องทั้งพุทธทั้งอิสลาม สร้างทั้งมัสยิดทั้งวัด อยู่กันมีความสุข นะครับ ไม่เคยได้ยินเรื่องที่ท่านพูดถึงเลย ผมมาเปิดบริษัทรับเหมาที่หาดใหญ่ มีเพือนและลูกน้องเป็นทั้งพุทธ อิสลาม และคริส ก็รักกันดี ทุกคนครับ
    เปลียนความรู้เสียใหม่ด้วยนะครับ จะได้มองแง่ดีขึ้น ครับ
    ส่วนเรื่องความขัดแย้งใน 3 จ. มันมีหลายมิติ เรื่องศาสนา เป็นเหตุผลที่น้อยมากครับ
    สาธุครับ
     
  14. dakini

    dakini สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +10
    ดิฉันก็จังหวัดเดียวันกับคุณนั้นแหละค่ะ
    ดิฉันก็ไม่ได้บอกทุกคนเป็นแบบนี้นะคะ
    ส่วนใหญ่ก็รักกันดี
    แต่ตัวเองก็ปฏิเสธ
    ไม่ได้ค่ะ ว่ามีเรื่องเช่นนี้ ลึกๆๆลงไปมีคนคิดแบบนี้ค่อนข้าง
    าก
    และยังรุนแรงจนกลายมาเป็นอย่างที่
    เรารู้กัน เราจะแก้ทำเป็นหลับหูหลับตาว่า
    ไม่มีเรื่องทำนองนี้เรารักกันดีไม่ได้หรอกนะค่ะ

    ความจริงก็ไม่แค่เรื่องศาสนาเท่านั้นหรอกค่ะ
    มันมีหลายมิติจริงๆ

    คุณทักมากก็ดีแล้วดิฉัน ก็จะได้แก้ว่า
    มีอยู่พอสมควรที่มีการปลูกฝังความคิดแบบนี้ขึ้นมา
    ดิฉันก็ลืมไปไปเขียนซะ เข้าใจผิดเลย
    ขอบคุณค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 พฤษภาคม 2012
  15. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +1,487
    วันนี้กระทู้นี้ไม่เล่นละครชีวิต ดราม่ากันต่อหรือครับ เงียบเชียว
     
  16. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    อ่ะแอ้ม...!! ให้มันได้อย่างนี้ซี้ ^^

    แกงส้ม
     
  17. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    ต้องไปถามป้าแกดู แกเปลี่ยนลุคใหม่

    อิอิ <-----

     
  18. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    มากไปมันก็ไม่ดี พอให้ได้สร้างรอยยิ้ม เพื่อมิตรภาพก็พอแล้ว

    ซึ่งเหตุนี้ มาจาก ว.283 ยามเมื่อสุดเสียง ((((Miss Calllllll)))) อุแว้ๆ อิอิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2012
  19. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    ตอบมาแบบนี้ หิวข้าวเลย ไปล่ะขอตัว กินข้าวดีฝ่า
     
  20. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ตกลง ฉันกลายเป็นตัวตลกงั้นรึ

    ระวังนะเฟ้ย ฉัน โหด มากมาก เลยนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...