ไม่รู้ความหมาย เกิด-ดับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย somchai_eee, 24 มิถุนายน 2012.

  1. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ในภาษา ธรรม
    /ธรรม หมายถึง หน้าที่ / เกิด หมายถึง ทำ หน้าที / ดับ หมายถึง หยุด ทำหน้าที
    <O:p>เรียกว่า วิญญาณ เมื่อทำหน้าที่ รับรู้ / เรียกว่า จิต เมื่อทำหน้าที นึกคิด /เรียกว่า มโน เมื่อทำหน้าที่ รู้สึก</O:p>
    <O:p>ไม่มีผู้ใดเป็น วิญญาณ จิต และมโน มีเพียงเหตุและปัจจัย ทำให้เกิดขึ้น และ ดับไป</O:p>
    <O:p>จะเข้าใจ คำว่า จิต เกิด-ดับ จิต หลุดพ้น</O:p>
    <O:p></O:p>
    ****
    เพิ่มเติม เดียวจะหาว่า อวดเก่ง อิอิ
    สิ่งที่ผมเขียนนี้ ผมฟังมาจากพระอาจารณ์ นะครับ
    ผมฟังมาหลายพระอาจารณ์แล้ว แต่เห็นว่า ความหมายนี้ ทำให้เวลาวิปัสสนา แล้ว หมดความสงสัยใดๆ อีก เลยอยากมา เผยแผ่ ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2012
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เฮ้อ!!!

    เหมือนเดิม ยังชอบบัญญัติเองตามชอบใจ

    >เรียกว่า วิญญาณ เมื่อทำหน้าที่ รับรู้ เรียกว่า จิต

    ถามหน่อยว่า ถ้าไม่มีจิตที่เป็นธาตุรู้ จะเกิดการรับรู้จนแจ้ง(วิญญาณ)
    ในอารมณ์ตรงหน้าหรือ?

    อย่าบัญญํติขึ้นเอง
    ในสิ่งที่พระพุทธองค์มิได้ทรงบัญญัติไว้.

    เกิดคือหน้าที่ ดับคือหยุดหน้าที่
    เพิ่งรู้เหมือนกันว่ามีอย่างนี้ในทางปฏิบัติด้วย

    แบบนี้คนข่มขืนคนอื่นจนท้อง ก็ไม่ผิดนะสิ
    เพราะเด็กที่ต้องเกิดมานั้น เป็นหน้าที่55+

    คิดไปได้
    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖
    [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น
    ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกายอันเป็นที่ประชุม
    แห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น
    ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๓๙๖/๔๑๘
    อชิตปัญหาที่ ๑
    [๔๒๕] อชิตมาณพทูลถามปัญหาว่า
    โลกคือหมู่สัตว์อันอะไรหุ้มห่อไว้ โลกย่อมไม่แจ่มแจ้งเพราะอะไร
    พระองค์ตรัสอะไรว่า เป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ อะไรเป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า ดูกรอชิตะ
    โลกอันอวิชชาหุ้มห่อไว้ โลกไม่แจ่มแจ้งเพราะความตระหนี่(เพราะความประมาท)
    เรากล่าวตัณหา ว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลกไว้ ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น ฯ
    อ. กระแสทั้งหลายย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง อะไรเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย
    ขอพระองค์จงตรัสบอกเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสทั้งหลายอันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยธรรมอะไร ฯ
    พ. ดูกรอชิตะ สติเป็นเครื่องกั้นกระแสในโลก เรากล่าวสติว่าเป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย
    กระแสเหล่านั้นอันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยปัญญา ฯ
    อ. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ปัญญา สติ และนามรูป ธรรมทั้งหมดนี้ย่อมดับไป ณ ที่ไหน
    พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสบอกปัญหาข้อนี้แก่ข้าพระองค์เถิด ฯ
    พ. ดูกรอชิตะ เราจะบอกปัญหาที่ท่านได้ถามแล้วแก่ท่าน นามและรูปย่อมดับไปไม่มีส่วนเหลือ ณ ที่ใด
    สติและปัญญานี้ย่อมดับไป ณ ที่นั้นเพราะความดับแห่งวิญญาณ ฯ

    อ. ชนเหล่าใดผู้มีธรรมอันพิจารณาเห็นแล้ว และชนเหล่าใดผู้ยังต้องศึกษาอยู่เป็นอันมากมีอยู่ในโลกนี้
    ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์ผู้มีปัญญารักษาตน อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว
    ขอจงตรัสบอกความเป็นไปของชนเหล่านั้นแก่ข้าพระองค์เถิด ฯ
    พ. ภิกษุไม่กำหนัดยินดีในกามทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง มีสติ พึงเว้นรอบ ฯ
    จบอชิตมาณวกปัญหาที่ ๑
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    จิต มโน วิญญาณ ไปนิพพานไม่ได้ครับ
     
  6. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    หยุดแล้วจะเข้าใจเองครับ ไม่ต้องปรุงแต่งครับ เพราะการปรุงแต่งมีแต่หลอกครับ

    จะมองไม่เห็นความจริงเลยหากยังปรุงแต่งอยู่ครับ เห็นอย่างไร ก็รับรู้ไปอย่างนั้น

    ไม่ต้องไปปรุงแต่งเพิ่มขึ้นมาครับ เกิด-ดับ เป็นเรื่องที่มีอยู่เป็นปกติครับ ไม่ต้องรู้ความหมายครับ

    แต่ต้องเข้าใจ และ เห็นเป็นเรื่องธรรมดาครับ เพราะไม่มีใครไปกำหนดได้ครับ

    สาธุครับ
     
  7. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    เรียกว่า จิต เมื่อทำหน้าที่ นึกคิด อ่านให้เคลี่ยๆ นะครับ

    เอาสมมุติสัจจะ มาพูดถึง ปรมัตถสัจจะ แล้วจะเอาความหมายในปรมัตถสัจจะ ไปใช้ใน สมมุติโลก
    ถ้าท่าน.... ขนาดนั้น ก็ทำไปเถิด
     
  8. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413

    สิ่งใดปรุงแต่ง สิ่งใดไม่ปรุงแต่ง เล่า หากไม่รู้สิ่งปรุงแต่ง แล้วจะรู้สิ่งไม่ปรุงแต่งได้อย่างไร
    สิ่งที่ท่านว่าไม่ปรุงแต่งนั้น มันปรุงแต่งความไม่ปรุงแต่งของท่านไปเรียบร้อยแล้ว
    กระบวนการขันธ์5 เกิดขึ้นได้เสมอ เมื่อหยั่งลงสู่ รูปนาม
    ท่านจะดับสังขาร ได้ก็ต่อเมื่อเข้าสู่ อรหันต์มรรค ผล แล้วเท่านั้น
    การเข้าไปขัดการทำงานของกระบวนการขันธ์5 ในช่วง ผัสสะก่อนเกิดเวทนานั้น มี2 ใน คือ การลดละเจตนา แล้วละ นมสิการ ในจิตนั้น และอีกในคือ จิตเอาธรรมมาพิจารณาแทน (เบี่ยงเบนสภาวะ)ก่อนจะเกิด เวทนา

    ส่วนท่านบอกว่า ท่านหยุด การปรุ่งแต่ง นั้น เป็นเช่นไร เล่าให้ฟังหน่อยซิครับ
     
  9. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    คุณจะรู้ความหมายไปเพื่ออะไรครับ รู้ความหมายที่มีแล้วได้อะไรครับ

    อยากจะรู้ แต่รู้แล้วได้อะไร สิ่งที่พยายามอยู่อะไรเป็นเหตุครับ

    รู้ทั้งหมดแต่ไม่เข้าใจ จะได้ประโยชน์อะไรครับ

    สาธุครับ
     
  10. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ท่าน มังคละมุนี โปรดชี้แนะด้วย ผมรู้ว่าท่าน แตกฉานใน พระไตรปิฏก ได้ระดับหนึ่ง แล้ว
     
  11. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413

    เพราะความไม่รู้ นี้แหละครับ ท่านมันเลย เป็นเช่นนี้ อวิชชานั้น ใหญ่หลวงนัก
    แล้วท่านอธิบายสิ่งที่ท่าน กล่าวให้ฟังหน่อยซิครับ การไม่ปรุงแต่งของท่านนั้น นะครับ

    รู้แต่ไม่เข้าใจ นั้น เข้าเรียกว่า ไม่รู้ เผลอ อันตรายกว่าไม่รู้ เสียเลยยังดีกว่า อีกครับ
    แต่ดูเหมือนเข้าใจ แต่ไม่เข้าถึง

    แล้วพระไตรปิฏก เขาเอาไว้ทำไม มันไม่มีความหมาย อยู่ในนั้นหรือ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2012
  12. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    เอามาให้ ดู เฉยๆ

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
    กฏฐาสวาร
    .

    .
    .
    [๘๘] จิต ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
    จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด
    นี้ชื่อว่า จิต ๑ มีในสมัยนั้น. .
    .
    .
    .
    [๙๒] วิญญาณขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
    จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด
    นี้ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น.

    [๙๓] มนายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
    จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด
    นี้ชื่อว่า มนายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น.

    [๙๔] มนินทรีย์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
    จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด
    นี้ชื่อว่า มนินทรีย์ ๑ มีในสมัยนั้น.

    [๙๕] มโนวิญญาณธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
    จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด
    นี้ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2021
  13. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ช่วยอธิบาย ด้วยซิครับ งง
     
  14. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    เมื่อความอยากรู้เกิดขึ้น มนุษย์ก็แสวงหาความรู้ เพื่อมาทดแทน

    เป็นไปตามความอยากที่มี หากแต่หยุดความเป็นจริงจะเกิดให้รับรู้ และ เข้าใจ

    โดยไม่ต้องแสวงหา ดั่งบุคคลที่ร่ำเรียนมามาก แต่ไม่เคยทดลองกระทำ

    จะแตกต่างจากคนที่กระทำอยู่เป็นประจำ แต่ไม่เคยได้ร่ำเรียน

    ผู้ที่ร่ำเรียนมามาก ย่อมนึกคิดปรุงแต่งได้มากมาย แต่แก้ไขปัญหาไม่ค่อยได้

    ผู้ที่กระทำมามากมาย ย่อมรู้ถึงวิธีทำโดยไม่ต้องนึกคิดให้มากมาย

    หรือ สถานที่ในหมู่บ้านของตนเอง ย่อมไม่ต้องนึกคิดถึงเส้นทางให้มากมาย

    แต่หากเป็นสถานที่หมู่บ้านอื่น ย่อมต้องนึกคิดมากมายถึงเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย

    แต่หากได้อยู่เป็นระยะเวลาที่นาน ก็จะจดจำเส้นทางได้ และ ไม่ต้องนึกคิดถึงเส้นทางให้มากนัก

    สาธุครับ
     
  15. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    จิตมีหลายชื่อ เพราะมีอรรถความหมายที่แตกต่างกันตามประเภทของจิต

    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 375

    ในนิทเทสแห่งจิต ที่ชื่อว่า จิต เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติวิจิตร
    ชื่อว่า มโน เพราะกำหนดรู้อารมณ์. มโนนั่นแหละชื่อว่า มานัส จริงอยู่
    ในคาถาว่า อนฺตลิกฺขจโร ปาโส ยฺวายํ จรติ มานโส เตน ตํ
    พาธยิสฺสามิ น เม สมณ มโนรมา (บ่วงใดมีใจไปได้ในอากาศ กำลัง
    เที่ยวไป ข้าพระองค์จักคล้องพระองค์ไว้ด้วยบ่วงนั้น สมณะท่านไม่พ้นเรา) นี้
    ตรัสเรียกธรรมคือราคะที่สัมปยุตด้วยใจว่า มานัส. พระอรหัต ก็ตรัสว่า มานัส
    ดังในพระคาถานี้ว่า
    กถญฺหิ ภควา ตุยฺหํ สาวโก สาสเน รโต
    อปตฺตมานโส เสโข กาลํ กยิรา ชเนสุตา.
    ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปรากฏ
    ในหมู่ชน สาวกของพระองค์ยินดีในพระ-
    ศาสนา ยังไม่บรรลุพระอรหัตเป็นพระเสข
    บุคคล เพราะเหตุไรเล่า จึงทำกาละเสีย.
    แต่ในนิทเทสนี้ มโนนั่นเองชื่อว่า มานัส เพราะท่านทำบทให้เจริญ
    ด้วยพยัญชนะ. คำว่า หทัย อธิบายว่า อก ท่านเรียกว่า หทัย ในคำนี้ว่า
    เราจักขว้างจิตของท่านไป หรือจักผ่าหทัยของท่านเสีย. จิตเรียกว่า หทัย
    ในประโยคนี้ว่า หทยา หทยํ มญฺเ อญฺาย ตจฺฉติ (บุตรช่างทำรถ
    ย่อมถากไม้เหมือนจะรู้ใจด้วยใจ) หทัยวัตถุเรียกว่า หทัย ในคำนี้ว่า วกฺกํ หทยํ
    (ม้าม หัวใจ) แต่ในนิทเทสนี้ จิตเท่านั้นเรียกว่า หทัย เพราะอรรถว่า
    อยู่ภายใน. จิตนั้นแหละชื่อว่า ปัณฑระ เพราะอรรถว่า บริสุทธิ์. คำว่า
    ปัณฑระ นี้ หมายเอาภวังคจิต เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    จิตนี้ประภัสสร แต่จิตนั้นแลเศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา ดังนี้ อนึ่ง
    แม้กุศลก็ตรัสเรียกว่า ปัณฑระเหมือนกัน เพราะออกจากจิตนั้น เหมือน
    แม่น้ำคงคาไหลมาจากแม่น้ำคงคา และแม่น้ำโคธาวรีไหลมาจากแม่น้ำโคธวรี
    ฉะนั้น.
    ...

    ธรรมชาติที่ชื่อว่า วิญญาณ เพราะย่อมรู้แจ้ง ขันธ์คือวิญญาณนั่นแหละ
    เรียกว่า วิญญาณขันธ์ พึงทราบเนื้อความแห่งวิญญาณขันธ์นั้น ด้วยอำนาจ
    ความเป็นกองเป็นต้น.
    จริงอยู่ ขันธ์พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยความเป็นกอง ในพระ-
    บาลีนี้ว่า น้ำในมหาสมุทร ย่อมนับว่าเป็นกองน้ำใหญ่แท้ ดังนี้. ขันธ์ตรัสไว้
    โดยอรรถว่าคุณ ดังในประโยคมีอาทิว่า คุณคือศีล คุณคือสมาธิดังนี้. ขันธ์
    ตรัสไว้โดยอรรถว่าเป็นเพียงบัญญัติ ดังในประโยคนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
    ได้ทรงเห็นแล้วแลซึ่งท่อนไม้ใหญ่ ดังนี้. แต่ในวิญญาณขันธ์นี้ ตรัสขันธ์ด้วย
    รุฬหีศัพท์ (คือตามที่เข้าใจกัน) เพราะว่า ส่วนแห่งวิญญาณขันธ์ เรียกว่า
    วิญญาณดวงหนึ่ง เพราะอรรถว่าเป็นกอง เพราะฉะนั้น วิญญาณแม้ดวงเดียว
    หนึ่งเป็นส่วนหนึ่งแห่งวิญญาณขันธ์ ท่านก็เรียกว่า วิญญาณขันธ์ ตามที่รู้กัน
    เหมือนคนตัดส่วนหนึ่งแห่งต้นไม้ ท่านก็เรียกว่า ตัดต้นไม้ฉะนั้น.
    คำว่า ตชฺชมโนวิญฺาณธาตุ ได้แก่ มโนวิญญาณธาตุอันสมควร
    แก่ธรรม มีผัสสะเป็นต้น เหล่านั้น. จริงอยู่ ในบทนี้จิตดวงเดียวเท่านั้น ท่าน
    กล่าวชื่อไว้ ๓ อย่าง คือ ชื่อว่า มโน เพราะอรรถว่ากำหนดอารมณ์ ชื่อว่า
    วิญญาณ เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง ชื่อว่าธาตุ เพราะอรรถว่าเป็นสภาวะ หรือ
    เพราะอรรถว่ามิใช่สัตว์. ฯลฯ

    จิตมีหลายชือเพราะ... [ธรรมสังคณี]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2012
  16. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    แล้วท่านคิดว่า คนในนี้เขา ไม่ปฏิบัติกันนั้น หรือครับ
    การจะไปที่ไหนสักแห่งที่ไม่เคยไป บางคนก็ย่อมมีการหลงทาง ระหว่างมาบ้าง หรือ ไปผิดทิศทาง บ้าง มันธรรมดา แต่ใครเล่า จะบอกได้ว่า ทิศทางใดถูกต้องเพราะแผนที่ ที่พระองค์ให้ไว้ แต่ละคนก็ตีความไปตามความคิด ปรุงแต่งของตน

    หากใครไปถึง ที่พระองค์ ชี้ไว้แล้ว ท่านคงเป็นพระอรหันต์ และคงไม่มีการหยังลง แห่ง นันทิ ที่จะเข้ามาเล่น อินเตอร์เน็ต ในนี้ หรอก กระมัง

    แล้วเมื่อไหรจะเล่า เรื่องการไม่ปรุงแต่งของท่านสักกะทีละครับ
     
  17. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผมคงสื่อได้ไม่ดีพอ คุณเลยยังไม่เข้าใจ ผมไม่ได้บอกว่าใครในที่นี้ไม่ปฎิบัติครับ

    แต่ที่ผมบอกกล่าวคือ ผู้ที่ปฎิบัติแต่นึกคิดไปไกลกว่าที่ตนเป็นอยู่คือ การปรุงแต่ง

    เป้นไปตามความอยาก อยู่ใต้อำนาจของความอยาก ไม่ว่าจะสถานที่ใด

    หากเข้าไปอยู่ ไปอาศัย หรือ แม้แต่ไปในสถานที่นั้นบ่อยๆ ย่อมเป็นธรรมดาที่จะจดจำได้

    การปฎิบัติก็เช่นกัน ปฎิบัติไปเรื่อยๆโดยไม่ได้อยากรู้อะไร แล้วความเข้าใจจะเกิดขึ้นเองครับ

    ว่าการปฎิบัตินี้ ปฎิบัติไปเพื่ออะไร ยิ่งอยากรู้ ยิ่งแสวงหา ยิ่งดิ้นรน เป็นไปตามกิเลส ตัณหา อุปทาน

    แล้วที่จะปฎิบัติเพื่อลดละ กิเลส ตัณหา อุปทาน อยู่ในส่วนไหน มาปฎิบัติแต่ทำตรงกันข้าม

    ด้วยความอยากรู้ อยากจะไปให้ถึงที่สุดของการรู้ทั้งหมดในศาสตร์นี้ แต่กลับลืม

    ต้นตอที่เข้ามาปฎิบัติ ลืมจุดยืนที่เคยตั้งเป้าหมายเอาไว้ มุ่งเข้าสู่ความอยาก

    ผมอธิบายได้แค่นี้ครับ "หยุด" เท่านั้นที่จะทำให้การปฎิบัติเป้นสิ่งที่ควรเป็นครับ

    "ความว่างเปล่าจากการปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง" เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก

    ต้องปฎิบัติด้วยความมุ่งมั่น จึงจะได้พบเจอ ทุกอย่างอยู่ใน"จิต"ครับ

    สาธุครับ
     
  18. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    เอาแบบเข้าใจง่ายๆ
    อุปมา : 3 สภาวะ ใน 1 ธรรม<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    /พ่อบ้าน จ่ายตลาด เรียก วิญญาณ<o:p></o:p>
    จากนั้น พ่อบ้าน ก็กลายเป็น พ่อครัว ทำอาหาร เรียกว่า จิต<o:p></o:p>
    แล้วพ่อครัว ก็กลายมาเป็น /คุณ..ท่าน..ฉัน.. กินอาหาร เรียกว่า มโน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    /เครื่องมือช่วยทำอาหาร เรียกว่า เจตสิก
    แต่ พ่อบ้าน พ่อครัว คุณ ท่าน เรา นั้น อนัตตา
     
  19. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    หยุด นั้นทำอย่างไร แล้วท่าน หยุด แล้ว หรือยัง
     
  20. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    หากการบอกกล่าวทำให้คุณรำคาญ ต้องขอโทษมา ณ ที่นี้ครับ

    การอธิบายที่ผมอธิบายนี้ เมื่อไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ผมขอตัวครับ

    ผมหยุดที่จะอยากรู้แล้วครับ เพราะผมรู้แล้วว่าปฎิบัติไปเพื่ออะไร

    สาธุครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...