ไม่รู้ความหมาย เกิด-ดับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย somchai_eee, 24 มิถุนายน 2012.

  1. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    [๑๑๒] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็น
    วิปัสสนาญาณอย่างไร ฯ
    จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณา
    อารมณ์นั้นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็น
    อย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่
    พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่
    พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณา
    เห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน ย่อมคลายกำหนัด
    ไม่กำหนัด ย่อมให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณา
    เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
    ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อม
    ละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลินได้ เมื่อคลาย
    กำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละ
    ความถือมั่นได้ ฯ
    ------


    ภิกษุทั่งหลาย
    วิญญาณ เป็นสิ่ง ซึ่ง แตกสลายได้ ส่วนธรรมเป็นที่ดับไม่เหลือ เป็นที่สงบระงับ และ เป็นที่ (วิญญาณ) เข้าไปตั้งไม่ได้ ของ วิญญาณนั้น
    นั่นคือ สิ่งซึ่ง แตกสลายไม่ได้ ดังนี้แล
     
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เคยได้ยินแต่ให้พิจารณาการเกิด-ดับ ของขันธ์ 5 อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ซึ่งการพิจารณานั้น เรียกอีกอย่างว่า วิปัสสนา โดยพิจารณาการเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และการดับไป
    การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของขันธ์ 5 นั้น ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์และไม่มีตัวตนให้ยึดมั่นถือมั่น นั่นคือกฏไตรลักษณ์ที่ว่าด้วย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    เมื่อพิจารณาจนจิตมันยอมรับในกฏนี้แล้ว ปัญญาหรือตัวรู้มันก็จะโผล่ขึ้นมา เมื่อปัญญา (พุทธะ) มันโผล่ขึ้นมาแล้ว มันก็จะพิจารณาธรรมต่อไป ปัญญาหรือตัวรู้นี้ไม่มีรูป ตั้งอยู่ในกฏไตรลักษณ์เช่นเดียวกัน

    เจ้าของกระทู้ต้องการสื่ออะไรกันแน่ หรือว่าเราไม่เข้าใจไปเอง
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    หลวงปู่สิม พุทธจาโร

    การบูชาด้วยการภาวนา

    ฯลฯ

    พอจิตสงบลง.......ไม่ปล่อยให็จิตใจเลอะเทอะเปอะเปื้อน........
    ..จิตก็ใสสะอาดเที่ยงตรงคงที่....จิตปล่อยวางได้ทั้งภายนอกและภายใน
    ทั้งกิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างละเอียด...ฯลฯ

    ********

    โชติตานาเอ๋ย
    คนอะไรด้านเหลือล้น หน้าทนเหลือหลาย
    ขนาดเรื่องกรรมยังแอบอ้างว่า พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้
    ไม่จัดเรื่องกรรม ไว้ในอนัตตาธรรม
    และไม่เชื่อเรื่องกรรมว่าต้องชดใช้เที่ยงตรง
    คนแบบนี้ เรียกว่า"พวกนอกรีตแอบแฝง"
    ถามไป"ใช่หรือไม่?"ไม่เคยคิดจะตอบกลับมา
    คิดแต่จะพูดในสิ่งที่ตนเองอยากพูดเท่านั้น
    เฮ้อ!!! เวรกรรม เวรกรรม คงตามทันในชาตินี้แน่นอน

    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2012
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    โชติตานาเอ๋ย
    พวกอีแอบนอกรีต ที่ลื่นเหลือล้นจริงๆ
    ที่ลื่นเหลือล้นเพราะอะไร? ถามอะไรไปไม่คิดจะตอบ
    คิดแต่จะพูดในสิ่งที่ตนเองอยากพูดเท่านนั้น

    ที่หน้าทนเหลือหลายเพราะเหตุอะไร?
    เพราะเหตุว่า โชติตานาพูดเองชัดๆว่า
    เมื่อได้ทำกรรมชั่วไว้แล้ว แต่ไม่ยึดในกรรมชั่วนั้น ก็ไม่ต้องชดใช้กรรมชั่วที่ทำนั้น
    พอโดนไล่เลี่ยงว่าจริงหรือ? ก็ตอบไม่ได้
    แต่พยายามดันแบบด้านๆกรูไม่อายโว้ย
    ที่สุดก็ได้แต่แบ๊ะ แบ๊ะ เถียงข้าง คูๆไป
    จวนตัวกลับไปแอบอ้างว่่า พระพุทธองค์ก็ไม่เห็นว่า กรรมอยู่ในอนัตตาธรรม
    คราวนี้ยิ่งหนักเข้าไปใหญ่ เล่นอ้างพระพุทธองค์เลยที่เดียว

    คนอะไร? ตนเองนอกรีตไม่ว่าดันชักชวนคนอื่นให้นอกรีตไปด้วย
    เอาล่ะมาว่ากันที่เนื้อธรรมดีกว่า ถามไปจะตอบแบบตรงไปตรงมาหรือไม่?
    ถ้าจะตองแบบไม่้ตอบ เพียงแค่เอาแปะ แปะ กล่าวหา ก็ไปไกลๆเลยนะ

    ยกพระสูตรมาไม่เคยทำลิ้ง หรือชี้ชัดเลยว่า เป็นพระสูตรหรืออรรถกถากันแน่
    อย่าทำเนียนมั่วๆแบบนี้อีกล่ะ จำเอาไว้นะ

    จะขีดเส้นอะไรก็อย่ามั่วที่ตนเองอยากสื่อเท่านั้น
    บริบทก่อนหน้าว่าไว้ยังไง
    "จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป
    พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว
    ย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น"
    พระโยคาวจรใช่อะไรพิจารณาอารมณ์นั้น? จิตใช่หรือไม่?

    ชัดๆนะ จิตมีรูปเป็นอารมณ์ อารมณ์เกิดขึ้นที่จิตใช่หรือไม่?
    เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป อะไรที่แตกไป?
    แตกที่ไหน? แห่ง(ที่)จิตนั้นใช่หรือไม่?
    บอกที่ไหนล่ะว่า เห็นความแตกไปของจิตนั้น?

    อยากจะมั่วอะไรก็อ่านให้เข้าใจให้ดีเสียก่อน
    ที่ยกมาชัดๆไม่ต้องตีความเลย
    อารมณ์เกิดขึ้นที่จิต เพราะมีรูปเป็นอารมณ์
    เวลาอารมณ์แตกทำลายไป ก็ต้องแตกทำลายไปแห่ง(ที่)จิตนั้น ใช่หรือไม่?
    ยังจะด้านเหลือล้น ให้อารมณ์ที่เป็นรูปไปแตกที่แห่งอื่นอีกหรือ?

    บอกให้ไปขึ้นกระทู้ว่ากันเป็นเรื่องๆไปเลย
    เอาหลักฐานมาอ้างอิง และมีลิ้งให้สืบค้นได้
    จะได้เห็นถึงความเป็นมหาโจรคนนอกรีตได้ชัดเจน
    โชติตานากับไม่เอา แต่จะอีแอบแนบอยู่ที่นี่

    เจริญในธรรมทุกท่าน

    เวลาอารมณ์แตกทำลายไป ก็ต้องแตกทำลายไปแห่ง(ที่)จิตนั้น ใช่หรือไม่?
    ยังจะด้านเหลือล้น ให้อารมณ์ที่เป็นรูปไปแตกที่แห่งอื่นอีกหรือ?

    เมื่อเกิดอารมณ์ขึ้น ก็แจ้งในอารมณ์(วิญญาณ)นั้น
    วิญญาณนั้นย่อมแตกทำลายไป ใช่หรือไม่?

    บอกให้ไปขึ้นกระทู้ว่ากันเป็นเรื่องๆไปเลย
    เอาหลักฐานมาอ้างอิง และมีลิ้งให้สืบค้นได้
    จะได้เห็นถึงความเป็นมหาโจรคนนอกรีตได้ชัดเจน
    โชติตานากับไม่เอา แต่จะอีแอบแนบอยู่ที่นี่

    เจริญในธรรมทุกท่าน

    ต้องขออภัยผิดพลาดทางเทคนิค
    เกรงว่าแก้ไปแล้ว จะทำให้ข้อความยิ่งเสียหายไปใหญ่55+
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2012
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มาดู การพูดแบบอ้างอิงตำรากันเนาะ

    เท้าความเดิม จาก พระเจ้าสำนักของธรรมภูติ ที่กล่าวว่า พระมาลุงกยบุตร นั้น
    คงจะเป็นพระธรรมดา ไม่ได้มีใจรักในการปฏิบัติธรรให้ถึงที่สุดพรหมจรรย์ แต่มี
    แนวโน้มว่า จะมาถามทิฏฐิ10 เพื่อให้พระพุทธองค์พ่ายแพ้

    แท้จริงแล้ว พระมาลุงกยบุตรเป็นผู้ไม่ทอดธุระ แม้จะชราภาพ และมีใจเด็ดเดี่ยวเป็นที่สุด
    ในการประพฤติพรหมจรรย์ให้ถงที่สุด

     
  6. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    เรื่องกรรมนั่น ลองกลับไปหาที่ผมเคยพิมไว้ เเล้วทำความเข้าใจใหม่ ให้ดีๆ
    สงสัยตรงไหนก็หยิบมานี้ เอาเนื้อๆ ไม่ใช่ เล่นไป ตัดบท เเล้วไปเป็นผม เดียวก็เป็นธรรมภูต สลับกันไปมา ไม่ใช่ ทำให้ตนเองดูดีขึ้นเท่านั่น เดียวจะกลายไปเป็น มานะ ตัวตนขึ้นไปอีกจะยุ้ง
     
  7. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337



    เลิกมี ทิฏฐุปาทาน ได้เเล้ว ธรรมภูต จะอรรถกถา อะไรก็เเล้ว เเต่ก็มีความเห็นที่ดีบ้าง ไม่ใช่ความเห็นของธรรมภูตจะดีไปสะคนเดียวนิ ที่ว่าจิตเป็นของเรา มันเกินจากพระสูตร พอผมยกพระสูตร จากพระองค์ คุณก็ไม่นึกจะตอบ จะถาม หรือสงสัยอะไร เห็น เเต่ทำท่าจะเเย้งอย่างเดียว พอนำ อรรถกถา ที่มีความหมายของจิตคุณนี้ก็จะเเย้งไปอีกว่าเค้าผิด ทั่งๆ ที่คุณก็ไม่ทำ อรรถกถา ที่ไหนมาให้ผมดูบ้างละว่าเค้าพูดเรื่องจิตไว้ยังไง ไม่ใช่นึกเอง
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ทีนี้ เราก็มาดูกันต่อว่า ทำไม พระมาลุงกยบุตร จึง ตกเป็นเป้า ของ เจ้าสำนัก
    ที่สอนธรรมภูติมา ก็ทำให้ถึงกับ อึ้ง ทึ่ง เสียวสันหลังแทน ธรรมภูติ ว๊าบ ว๊าบ

    เพราะว่า

    ในบทของ "มหามาลุงโกฺยวาทสูตร" เป็นพระสูตรเดียว ที่ ยังพบว่า มีการ
    ระบุว่า มิจฉาทิฏฐิ ได้ แก่ การเห็นว่า "กายเป็นของตน จิตเป็นของตน"

    ซึ่งหาก "กายเป็นของตน จิตเป็นของตน" นี้ยังอยู่ใน ทิฏฐิของผู้ปฏิบัติ ก็มี
    ถ้อยคำรับรองว่า ไม่ใช่ผู้ที่จะตัดสังโยชน์5 ได้เลย เป็นเพียง ปุถุชน เท่านั้น

    และ จากพระสูตรนี้ ก็ยังชี้ให้เห็นว่า ปุถุชนเอง ก็ต้อง สมาทานว่า กายไม่ใช่
    เรา จิตไม่ใช่เรา เอาไว้ด้วย หากไม่สมาทานอย่างนี้แล้ว ก็เป็นอันว่า จะเป็นพวก
    ง่อยเปลี้ยเสียขา พิการ ไม่อาจจะกระทำการ ข้ามแม่น้ำ โอฆะแห่งทิฏฐิ และสัง
    สารวัฏได้เลย

    เชิญทัศนาต่อไป

    และ อาศัย อำนาจแห่งพระไตรปิฏกนี้ ท้าทายให้ ธรรมภูติ และ ชนทั้งสำนักนี้
    ให้เร่งกระทำการ ย่ำยี ชักชวน ให้เหล่าบุคคลที่เคยสนับสนุนตน ให้ออกมาราวี
    และ คว่ำพระสูตรนี้ให้จงได้ อย่าได้ ช้าอยู่ เพราะ ยิ่งนานไป หากมีบุคคลทราบ
    ความในพระสูตรนี้แล้ว ชนในสำนักของท่าน และ ผู้สนับสนุนกะโหลกกะลาทั้งหลาย
    จะมีความอยู่เป็นปรกติไม่ได้อีก เพราะสำแดงได้ว่า เป็น เดียรถีย์โดยแท้

     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อาศัย อำนาจตามพระไตรปิฏก ที่ยังปรากฏอยู่ เหลือน้อยเต็มที ในถ้อย
    คำที่หาฟังได้ยากนี้ ขอให้สาธุชน พึงสดับ พึงไต่สวน พึงรักษา

    หาก ถ้อยคำแห่งพระไตรปิฏกนี้ เป็นถ้อยคำจริง อีกทั้ง หาได้ยาก

    ก็ขอให้ยกพระสูตรนี้ขึ้นเป็นที่จดจำเอาไว้ว่า พระพุทธองค์กล่าว หรือ
    ไม่กล่าว เอาไว้อย่างไร

    หาก การกล่าวถ้อยคำใดของสาธุชน เป็นไปเพื่อ ดับความเห็นว่า
    "กายของตน จิตของตน" ปรากฏ ขอให้ท่านทั้งหลายจงตัดสินว่า

    นี้เป็น "ธรรมวาที" หรือ "อธรรมวาที"

    หากเป็น ธรรมวาทีแล้วไซร้ ก็ขอให้ จดจำไว้ นำไปใช้

    หากอีกฝ่าย ตกเป็น อธรรมวาที พระพุทธองค์ตรัสสั่งว่า ก็ขอให้
    แจกจ่ายอาหาร และ ปัจจัย อีกทั้ง ให้โอกาสเขาแสดงธรรมไปอย่าง
    เดิม แต่ ท่านจะต้องไม่จดจำถ้อยคำ อธรรมวาที ของชนเหล่านั้น อีก
    ทั้งผู้สนับสนุนพวกนี้ เป็นเด็ดขาด

    ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เขาได้มีความสุข

    ก็ มหาโจร เอง มาถามข้อธรรมกับพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ยังให้โอกาส

    ประสาอะไร กับ ภิกษุมหาโจร และ เหล่าลิ่วล้อมหาโจรเหล่านี้เล่า จะพึงได้
    ประโยชน์เล็กๆน้อยๆ จากธรรมของพระพุทธองค์ไม่ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2012
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    มหาปุณณมสูตร (ยังไม่เคยนำเสนอ)
    ...(ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง)
    [๑๒๖] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฐิจะไม่มีได้อย่างไร ฯ

    พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ
    ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ
    ด้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ
    ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง
    ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้างไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง
    ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง
    ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง
    ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง
    ไม่เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง
    ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง
    ไม่เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง
    ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง
    ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
    ดูกรภิกษุ อย่างนี้แล สักกายทิฐิจึงไม่มี ฯ

    อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้
    ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ
    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
    จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
    รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว
    กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป
    ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล ฯ

    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=1980&Z=2186&pagebreak=0

    ^
    ^
    พระสูตรนี้ สอดคล้องกับอีกหลายพระสูตรที่มีมาในพระสุตันตปิฎก
    พระสูตรก็ชัดเจนออกมาในแนวเดียวกันชัดๆโดยไม่ต้องตีความใดๆเลย

    พระพุทธพจน์ตรัสถึง ความไม่มีสักกายทิฐิได้อย่างไร? ซึ่งเป็นสังโยชน์ตัวแรกใช่มั้ยครับ???
    คือไม่เล็งเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่ามีในตน
    ไม่เล็งเห็นตนมีในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณบ้าง

    ท้ายพระสูตรก็ชัดเจน แม้โดยทางภาษาหรือทางตรรกะก็ตาม
    เมื่อจิตที่เป็นของตนเมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
    แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ
    จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นดีแล้ว

    เพื่อกันความสับสน พระพุทธพจน์ทรงตรัสเน้นย้ำซ้ำลงไปว่า
    ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล ฯ
    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เฮ้อ!!!
    โบราณว่าไว้ไม่มีผิด
    คนอะไร ผิดแล้วยังไม่รู้จักระอายต่อบาปที่ตนเองทำขึ้นมา
    ไม่แปลกใจเลยจริงๆ เพราะในบอร์ดนี้มีกันหลายคน เป็นที่รู้ๆกันอยู่
    ขนาดมีหลักฐานชัดๆ มันยังด้านพอที่จะเถียงเพื่อเอาตัวรอด
    ต้องยอมใจจริงๆ สำหรับพวกมหาโจรนอกรีตผิดพระสูตร

    ไปล่ะ อายแทนจริงๆ ไอ้พวกมหาโจรนอกรีต(ต้องขอย้ำจากใจจริง)

    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ธรรมะบ้านคุณ ยัง อาศัย ภาษา กับ ตรระ พิสูจน์ อยู่หรือ
     
  13. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
    เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ
    ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์
    ของวิญญาณ
    โดยเว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร
    ดังนี้นั้น.
    นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.


    ถ้าไม่มีผู้รู้ นามรูป จะมีมั้ย
    ถ้าไม่มี นามรูป // ผู้รู้ จะมีได้มั้ย ?

    ก็ต้องมีคนเข้าไปรู้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
    รู้ได้ทีละ1อย่าง ไม่ใช่ว่ามันเกิดขึ้นมาลอยๆ
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อนึ่ง สาธุชนทั้งหลาย พึงทราบความจากพุทธดำรัส ข้อนี้ ด้วย

    จากความดังกล่าว เป็นการชี้ในส่วนของ ผู้พ้นแล้ว หรือ พวกที่เป็น อรหันต์สาวก
    ที่บรรลุธรรมแล้ว สามารถประกาศนิพพานอันยวดยิ่ง หาประมาณมิได้ บอกแก่ผอง
    ชนได้อย่างหมดเปลือกว่า ชาติสิ้นแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย !!

    แต่...........................

    ปฏิปทา คำสอนของพระพุทธองค์ อุบายธรรมใดๆ แม้คำสอนให้ใดที่เป็น
    ไปเพื่อดับความเห็นว่า "กายเป็นของเรา จิตเป็นของเรา" นี้ ให้ถือว่าเป็น
    ยอดกว่า บุคคลที่ประกาศนิพพานอันยิ่งยวดเหล่านั้นทั้งหลาย

    และ เป็นธรรมดาอยู่เอง ที่ ปฏิปทา คำสอน แม้นอย่างนี้ จะถูกกล่าวตู่
    หรือ ทวงถามเอาว่า พวกที่กล่าว "กายเป็นของเรา จิตเป็นของเรา" อัน
    เป็นปฏิปทา อุบายการสลัดออกนี้ เหล่านี้ เขาย่อมกล่าวอย่างนี้

    นั่นเพราะ อรหันต์สาวก ไม่ใช่ผู้ฉลาดในมรรค เป็นเพียงผู้เดิมตามมรรค จึงอาจจะ
    กล่าวตู่พระพุทธองค์ ใน อุบายธรรมทั้งหลาย ที่พระพุทธบัญญัติขึ้นใช้

    ดังนั้น ท่านก็ฟังธรรมของสาวกนั้นๆ ไป อย่าได้คัดค้าน เพียงแต่ อย่าจำไปใช้

    เช่น "จิตไม่เกิดไม่ดับ" คำนี้ อย่าได้จำไปใช้ อย่าได้คัดค้านให้เสียประโยชน์
    แค่ อย่าจำไปใช้เป็นพอ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2012
  15. TPC

    TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435
    จิตไม่เกิด ไม่ดับ
    แล้วอะไรเอ่ย ที่เกิดดับอยู่กับจิต อะไรเอ่ยปรุงแต่งให้เกิดการเกิดดับ
    จิตที่ไม่ส่ายออกไปข้างนอกคืออะไร จิตที่ตามรู้กิเลสคืออะไร ลองๆพิจารณาให้เยอะๆนะครับ ทำด้วยตัวเอง เอาให้รู้ ถึงแม้จะยังทำได้ไม่ต่อเนื่องแต่ก็ย่อมเห็นเป็นแนวทางเป็นมรรคาได้ นะครับ
     
  16. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั่น

    ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมบท ๔ อย่างเหล่านี้ เป็นธรรมที่รับรู้กันว่าเลิศ รับรู้กันว่ามีมานาน รับรู้ว่าสืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน อันสมณพราหมณ์ผู้วิญํูชนไม่คัดค้าน. สี่อย่าง อย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย! สี่อย่างคือ :-
    อนภิชชา เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.
    อัพยาบาท เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.
    สัมมาสติ เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.
    สัมมาสมาธิ เป็นธรรมบทที่รับรู้กันว่าเลิศ มีมานาน สืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่คัดค้าน.
    ภิกษุทั้งหลาย! ธรรมบท ๔ อย่างเหล่านี้แล เป็นธรรมที่รับรู้กันว่าเลิศ รับรู้กันว่ามีมานาน รับรู้ว่าสืบกันมาแต่โบราณ ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย ไม่ถูกเพิกถอน จักไม่ถูกเพิกถอน อันสมณพราหมณ์ผู้วิญํูชนไม่คัดค้านแล.


    อนภิชชา = ไม่โลภ // อัพยาบาท = ไม่โกรธ // สัมมาสติ +สัมมาสมาธิ = ไม่หลง ไปกับ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส

    เเล้วอะไรคือความต่างที่พรามหณ์ไม่มีละ ก็คือ ปัญญา ในการวิปัสสนา ใช่มั้ย ในการรู้เห็นอริยสัจ4 เหตุเกิด เเละก็ ความดับไป เเล้วก็ไม่รู้ปฏจฯลฯ ธรรมที่อาศัยซึ่งกันเเละกันเกิดขึ้น เพราะ พรามหณ์เข้าใจว่า เมื่อสงบจิตตั้งมั่นดีเเล้ว ถึงจะหลุดพ้นได้ จิตประภัสสร ที่ไม่มีอุปกิเลสจรเข้ามา ไม่มีกิเลส เท่านี้ก็หลุดพ้นเเล้วไง ไม่ได้คิดว่ามันมีเหตุให้เกิด เหตุให้มีความตั้งมั่นในจิต

    ซึ่งถือเป็นระบบสมมุติ เรียกว่า สังขตธรรม คือ ธรรมที่ถูกปรุงแต่งได้ ประกอบด้วย
    1. อุปปาโท ปัญญายติ มีการเกิดปรากฏ
    2. วะโย ปัญญายติ มีการเสื่อมปรากฏ
    3. ฐิตัสสะ อัญญะฐัตตัง ปัญญายติ เมื่อตั้งอยู่ มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ
    เเต่ พระพุทธองค์ รู้สภาวะธรรม ที่ไม่มีการปรุงเเต่ง ไม่มีเหตุให้เกิด ไม่มีความดับ ไม่มีสภาวะอย่างอื่นปรากฏ ไม่มีปัจจัยในการเกิด
    ก็คือ
    ส่วนระบบวิมุตติ หรือ นิพพาน เรียกว่า อสังขตธรรม คือ ธรรมที่ถูกปรุงแต่งไม่ได้ ประกอบด้วย
    1. นะ อปุปาโท ปัญญายติ ไม่ปรากฏการเกิด
    2. นะ วะโย ปัญญายติ ไม่ปรากฏการเสื่อม
    3. นะ ฐิตัสสะ อัญญะฐัตตัง ปัญญายติ เมื่อตั้งอยู่ ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ
    [๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน? วิญญาณ ๖ หมวดนี้ คือ จักขุ
    วิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า
    วิญญาณ. ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความดับแห่ง
    วิญญาณ ย่อมมีเพราะความดับแห่งนามรูป อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
    สัมมาสมาธิ. นี้แล เป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ. สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น
    นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษ
    แห่งวิญญาณ
    การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นความสลัดออกแห่ง
    วิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณ เหตุ
    เกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่ง
    วิญญาณ โทษแห่งวิญญาณ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ อย่างนี้ๆ แล้ว ปฏิบัติ
    เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า
    ปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า
    ย่อมหลั่งลงในธรรมวินัยนี้. สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณ เหตุเกิด
    แห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ

    โทษแห่งวิญญาณ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ อย่างนี้ๆ แล้ว หลุดพ้นไป เพราะความ
    เบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
    หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
    เป็นอันเสร็จกิจแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเสร็จกิจแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
    ย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก.


     
  17. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    4. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ ได้แก่ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป - nutriment consisting of consciousness; consciousness as nutriment) เมื่อกำหนดรู้วิญญาณาหารได้แล้วก็เป็นอันกำหนดรู้นามรูปได้ด้วย.

    มัวเเต่ไปคิดถึงว่า จิตที่ไปปรุงเเต่งสังขาร อดีตบ้าง อนาคตบ้าง เเล้วก็คิดว่ามันเป็นของมัน เราไม่เกี่ยว เเล้วก็เลยไปเพลินกับมันไง
    ถ้าคุณ สำรวมอินทรียร์ สำรวมผัสสะ เเล้ว นามจะเกิดขึ้นมาได้มั้ย?
    ก็ต้องเข้าใจเหตุที่ทำให้เกิด ว่าคืออะไร เพราะมีเวทนาใช่มั้ย ถึงเกิด ตันหา(กิเลส?)


    [๒๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณาหารจะพึงเห็นได้อย่างไร เหมือน
    อย่างว่า พวกเจ้าหน้าที่จับโจรผู้กระทำผิดได้แล้วแสดงแก่พระราชาว่า ขอเดชะ
    ด้วยโจรผู้นี้กระทำผิด ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ลง
    โทษโจรผู้นี้ตามที่ทรงเห็นสมควรเถิด จึงมีพระกระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
    ไปเถอะพ่อ จงประหารมันเสียด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเช้านี้ เจ้าหน้าที่เหล่านั้นก็
    ช่วยประหารนักโทษคนนั้นด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเช้า ต่อมาเป็นเวลาเที่ยงวัน
    พระราชาทรงซักถามเจ้าหน้าที่เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เจ้านักโทษคนนั้น
    เป็นอย่างไรบ้าง เขาพากันกราบทูลว่า ขอเดชะ เขายังมีชีวิตอยู่ตามเดิม จึงมี
    พระกระแสรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถอะพ่อ จงช่วยกันประหารมันเสีย
    ด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเที่ยงวัน เจ้าหน้าที่เหล่านั้นก็ประหารนักโทษคนนั้นเสีย
    ด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเที่ยงวัน ต่อมาเป็นเวลาเย็น พระราชาทรงซักถาม
    เจ้าหน้าที่เหล่านั้นอีกอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เจ้านักโทษคนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เขา
    พากันกราบทูลว่า ขอเดชะ เขายังมีชีวิตอยู่ตามเดิม จึงมีพระกระแสรับสั่งอย่าง
    นี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถอะพ่อ จงประหารมันเสียด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเย็น
    เจ้าหน้าที่คนนั้นก็ประหารนักโทษคนนั้นด้วยหอกร้อยเล่มในเวลาเย็น ภิกษุทั้งหลาย
    เธอทั้งหลายยังเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน คือว่าเมื่อเขากำลังถูกประหารด้วยหอก
    ร้อยเล่มตลอดวันอยู่นั้น จะพึงได้เสวยแต่ทุกข์โทมนัสซึ่งมีการประหาร นั้นเป็น
    เหตุเท่านั้น มิใช่หรือ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขากำลังถูกประหารอยู่ด้วยหอกแม้เล่ม
    เดียว ก็พึงเสวยความทุกข์โทมนัสซึ่งมีการประหารนั้นเป็นเหตุ แต่จะกล่าวไปไยถึง
    เมื่อเขากำลังถูกประหารอยู่ด้วยหอกสามร้อยเล่มเล่า ข้อนี้ฉันใด เรากล่าวว่า จะพึง
    เห็นวิญญาณาหารฉันนั้นเหมือนกัน เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้วิญญาณาหารได้แล้ว
    ก็เป็นอันกำหนดรู้นามรูปได้แล้ว เมื่ออริยสาวกมากำหนดรู้นามรูปได้แล้ว เรากล่าว
    ว่า ไม่มีสิ่งใดที่อริยสาวกจะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีกแล้ว
     
  18. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    คคห. 176 นั่น ที่ผมบอก เหตุให้มีความตั้งมั่นในจิต นั่นอะ เป็น สภาวะธรรมที่มีเหตุปัจจัยเกิดขึ้นมา
    เพราะพุทธเจ้าทรงสอนว่า เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น ย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา ธรรมทั่งหลายล้วนเป็นอนัตตา คำว่าอนัตตานั่น คือสิ่งที่มีปัจจัยในการเกิดขึ้นมาเท่านั่น เเล้ว มันถึงจะกลายเป็นอนัตตาได้ ก็คือความดับ ในสมมุติบัญญัติ จะมีบอก ว่ามันจะเปลียนไปเรื่อยๆเป็น จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ดวง1เกิดขึ้น ดวง1ดับไป เป็นสภาวะธรรมที่อย่างอื่นปรากฏขึ้น คือ อุเบกขา

    พรามหณ์ เมื่อได้ฟังธรรมสัก1บท บางท่านก็จะเข้าใจเเล้วบรรลุธรรมเลย เพราะทำจิตใจสงบมาก่อนเเล้ว เลยเข้าใจง่ายขึ้น ว่าทุกอย่างนั่นมันไม่มีอะไรเที่ยงถาวร มันไม่มีอะไรเป็นของเราทั่งนั่น เป็นเพียงปัจจัยของธรรมชาติอาศัยกันเเละกันเกิดเท่านั่น
     
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เฮ้อ!!!!

    รู้สึกอายแทนจริงสำหรับนักธรรมะรุ่น

    ลื่นเหลือล้น หน้าทนเหลือหลาย ด้านจริงๆสิ

    ปรามาสพระธรรมคำสอนของพระบรมครูและพ่อแม่ครูบาอาจารย์หน้าตาเฉย.

    หลวงปู่สิม พุทธจาโร

    โลกธรรม ๘ 4 ส.ค 29 - ธรรมปฏิบัติ.mp3

    ฯลฯ

    รวมจิตใจเข้ามาภายใน...ทางพ้นทุกข์มีอยู่ที่ทางจิตในตัวเรานี่แหละ.....
    อาศัยดวงผู้รู้มีอยู่ในตัวในใจเราทุกคน....คนๆหนึ่งมีดวงใจดวงเดียวนี้แหละครองอยู่
    ....เมื่อจิตไม่เป็นดวงหนึ่งดวงเดียวอะไรวุ่นวายไปหมด....
    จิตใจจริงๆของเรานั้นมีดวงเดียวนี้เองแต่ว่าตัณหาของใจ กิเลสของใจนับไม่ถ้วนฯลฯ

    เจริญในธรรมทุกท่าน


    ปล. เย็นๆไว้ไม่ต้องวิ่งพล่าน ว่างๆจะขึ้นกระทู้เรียกเอง
    ไอ้มหาโจรคนนอกรีต ผิดพระสูตร
     
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    55+ มหาโจรคนนอกรีตผิดพระสูตร

    คิดแต่จะเอาชนะ จนไม่อ่านให้รอบคอบ

    ไอ้พวก"ปล่อยจิต" ใครหละที่มันปล่อยจิต?

    นี่แหละเรียกว่า ตรรกะและภาษา จำเอาไว้นะ

    เจริญในธรรมทุกท่าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...