ปัญหาเครื่องรางของขลังและพระบรมสารีริกธาตุ โดย หลวงพ่อฤาษี

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย Ninana, 3 ตุลาคม 2012.

  1. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218

    ไปเอามาจากไหน พระพุทธเจ้าห้ามพระสงฆ์แสดงธรรมด้วยภาษาอื่น มีแต่จะทรงส่งเสริมให้พระสงฆ์ทั้งหลายแสดงธรรมด้วยภาษาในท้องถิ่นของตน เพื่อความเข้าใจโดยง่าย แต่ก็ไม่ให้ทิ้งภาษาบาลี ให้รักษาพระบาลี อันเป็นตันติภาษา เป็นภาษาต้นแบบ เป็นภาษาแม่บท เอาไว้ด้วย


    จะเอาพระพุทธพจน์มาลง ก็ดูกาลเทศะด้วย พระพุทธเจ้าก็ทรงดูกาลเทศะก่อนทุกครั้ง ก่อนที่จะทรงแสดงธรรม


    สัปปุริสธรรม 7 นะ รู้จักไหม


    โยมอุรุเวลา จะใคร่ครวญพระธรรมของพระพุทธเจ้า ก็ใคร่ครวญไปสิ ไม่มีใครว่าอะไรหรอก แต่ถ้าจะนำมาเผยแพร่ ก็ให้รู้จักกาลเทศะด้วย


    โยมจะไม่เชื่อใคร ก็เป็นเรื่องของโยมสิ ไม่จำเป็นต้องยกพระธรรมชั้นสูงมาหรอก ไม่ใช่ไม่ถูกต้อง แต่ไม่ถูกกาลเทศะ


    ขี้ตอนกินข้าว กินข้าวตอนขับรถ ฯลฯ กาลเทศะ นะ รู้จักไหม
     
  2. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218

    ใครกันหนอ ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า


    กรุณาตอบด้วย
     
  3. ขอมจำแลง

    ขอมจำแลง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +1,273
    เบื่อพวกชอบ เอาของสูงมาอ้าง หักล้างสิ่งที่กิเลสตนไม่ชอบว่ะ นี่เพิ่งฟังเจอพระอ้างว่า พุทธพจน์เชื่อได้อย่างเดียวมา ... ฟังแล้วขำไม่ออก แต่สงสารลูกศิษย์ท่านจริง ๆ ท่านเองเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อชา ใคร ๆ ก็ทราบดี หลวงพ่อชา เป็นครูบาอาจารย์ระดับไหนแล้ว ... บอกท่านไม่เชื่อคำหลวงพ่อชา ... เชื่อได้แต่พุทธพจน์ของพระพุทธองค์เท่านั้น สำนักนี้ว่าไป ...อินเทรนด์กันหน่อย ...เชื่อประโยคไหน ก็ประโยคที่คิดว่าเอามาหักล้างคนอื่นได้นั่นแหละ ... เป็นไงล่ะกตัญญูม๊ากมาก เล่นยันพระอาจารย์ตนเอง... กรรมจริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2012
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะเป็นชาติ
    พราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวาย
    บังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายต่างชื่อ
    ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างสกุลกันเข้ามาบวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม
    มิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต
    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้
    กล่าวอย่างนี้ว่า มิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะ ขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้
    เล่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
    ที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง
    ยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เราอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๔๕/๒๗๙
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [๑๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุ ผู้เป็นเถระ
    มากรูปอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
    ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำ
    สั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว
    พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้า
    เมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้
    พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่านี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น
    จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียง
    ในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลง ในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำ
    ของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น จำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สามนี้ไว้ ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๑๐๒/๒๖๑
     
  6. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [๖๖๙] อัสสามันตปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้
    เป็นไฉน ฯ
    อรรถปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วย
    ปัญญา โดยการกำหนดอรรถ ธรรมปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
    ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดธรรม นิรุติปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลใดบรรลุแล้ว
    ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดนิรุติ ปฏิภาณ ปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคล
    ผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องด้วยปัญญา โดยการกำหนดปฏิภาณใครอื่นย่อมไม่สามารถจะ
    ครอบงำอรรถ ธรรม นิรุติและปฏิภาณของบุคคลผู้นั้นได้และบุคคลผู้นั้นก็เป็นผู้หนึ่งที่ใครๆ ครอบงำ
    ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงเป็นปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของกัลยาณปุถุชนห่างไกลแสนไกล
    ไม่ใกล้ไม่ชิดกับปัญญาของบุคคลที่ ๘ พระอรหันต์ เมื่อเทียบกับกัลยาณปุถุชน บุคคลที่ ๘ มีปัญญา
    ไม่ใกล้ ปัญญาของบุคคลที่ ๘ ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระโสดาบัน เมื่อ
    เทียบกับบุคคลที่ ๘ พระโสดาบันมีปัญญาไม่ใกล้ปัญญาของพระโสดาบันห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้
    ไม่ชิดกับปัญญาของพระสกทาคามี เมื่อเทียบกับพระโสดาบัน พระสกทาคามี มีปัญญาไม่ใกล้
    ปัญญาของพระสกทาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระอนาคามีเมื่อเทียบกับ
    พระสกทาคามี พระอนาคามีมีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของพระอนาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่
    ชิดกับปัญญาของพระอรหันต์ เมื่อเทียบกับพระอนาคามี พระอรหันต์มีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของ
    พระอรหันต์ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อเทียบกับพระ
    อรหันต์พระปัจเจกพุทธเจ้ามีปัญญาไม่ใกล้ เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้าและโลกพร้อมทั้ง
    เทวโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้เลิศ ทรงมีปัญญาไม่ใกล้ ทรงฉลาดใน
    ประเภทแห่งปัญญา ทรงมีญาณแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงถึงเวสารัชชญาณ ๔ ทรงพละ ๑๐
    ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะทรงเป็นบุรุษนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษนำธุระ
    ไป ทรงมีพระญาณหาที่สุดมิได้ ทรงมีพระเดชหาที่สุดมิได้ ทรงมีพระยศหาที่สุดมิได้ ทรงเป็นผู้มั่งคั่ง
    ทรงมีทรัพย์มาก ทรงมีอริยทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ ทรงเป็นผู้นำไปให้วิเศษ ทรงนำไปเนืองๆ ทรงบัญญัติ
    ทรงพินิจ ทรงเพ่ง ทรงให้หมู่สัตว์เลื่อมใส แท้จริงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงยังมรรคที่ยัง
    ไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรง
    รู้จักมรรค ทรงทราบมรรค ทรงฉลาดในมรรค ก็แหละพระสาวกทั้งหลายในบัดนี้ และที่จะมีมาใน
    ภายหลัง ย่อมเป็นผู้ดำเนินไปตามมรรค แท้จริงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเมื่อทรงทราบก็ย่อมทรง
    ทราบ เมื่อทรงเห็นก็ย่อมทรงเห็น ทรงมีจักษุ ทรงมีญาณทรงมีธรรม ทรงมีพรหม ตรัสบอก ตรัสบอกทั่ว
    ทรงนำอรรถออก ทรงประทานอมตธรรม ทรงเป็นธรรมสามี เสด็จไปอย่างนั้น บทธรรมที่พระผู้มี
    พระภาคพระองค์นั้นไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงทราบ ไม่ทรงทำให้แจ้ง ไม่ทรงถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
    มิได้มี ธรรมทั้งปวงรวมทั้งที่เป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบันย่อมมาสู่คลองในมุข คือ พระญาณ
    ของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้วโดยอาการทั้งปวง ชื่อว่าบทที่ควรแนะนำซึ่งเป็นอรรถเป็นธรรมที่ควร
    รู้ อย่างใดอย่างหนึ่งและประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ภพนี้
    ประโยชน์ภพหน้า ประโยชน์ตื้น ประโยชน์ลึก ประโยชน์ลับ ประโยชน์เปิดเผย ประโยชน์ที่
    ควรนำไป ประโยชน์ที่นำไปแล้ว ประโยชน์ไม่มีโทษ ประโยชน์ไม่มีกิเลส ประโยชน์ขาวผ่อง หรือ
    ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณ พระญาณของพระพุทธเจ้า ย่อมเป็นไปตลอดกายกรรม
    ปรมัตถประโยชน์ วจีกรรม มโนกรรมทั่วหมด พระญาณของพระพุทธเจ้ามิได้ขัดข้องในอดีต อนาคต
    ปัจจุบัน เนยยบทมีเท่าใด พระญาณก็มีเท่านั้น พระญาณมีเท่าใดเนยยบทก็มีเท่านั้น พระญาณมีเนยยบท
    เป็นที่สุดรอบ เนยยบทมีพระญาณเป็นที่สุดรอบพระญาณไม่เป็นไปเกินเนยยบท เนยยบทก็ไม่เกิน
    พระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในที่สุดรอบของกันและกัน เปรียบเหมือนผะอบสองชั้นสนิทกันดี
    ผะอบชั้นล่างไม่เกินผะอบชั้นบน ผะอบชั้นบนก็ไม่เกินผะอบชั้นล่าง ผะอบทั้งสองชั้นนั้นต่างก็ตั้ง
    อยู่ในที่สุดของกันและกัน ฉะนั้น พระพุทธญาณย่อมเป็นไปในธรรมทั้งปวงธรรมทั้งปวงเนื่องด้วย
    ความทรงคำนึง เนื่องด้วยทรงพระประสงค์ เนื่องด้วยทรงพระมนสิการ เนื่องด้วยพระจิตตุบาทของ
    พระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว พระพุทธญาณเป็นไปในสรรพสัตว์ พระพุทธเจ้าย่อมทรงทราบอัธยาศัย
    อนุสัย ความประพฤติ อธิมุติ ของสรรพสัตว์ ย่อมทรงทราบหมู่สัตว์มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญา
    จักษุ ผู้มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม
    พระองค์พึงทรงให้รู้ได้ง่าย พระองค์พึงให้รู้ได้ยาก เป็นภัพพสัตว์ เป็นอภัพพสัตว์ โลกพร้อมทั้ง
    เทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไป
    ภายในพระพุทธญาณเปรียบเหมือนปลาและเต่าทุกชนิด โดยที่สุดตลอดจนปลาติมิและปลาติมิงคละ
    ย่อมว่ายวนอยู่ภายในมหาสมุทร ฉะนั้น เปรียบเหมือนนกทุกชนิด โดยที่สุดตลอดจนนกครุฑ
    ตระกูลเวนเตยยะ ย่อมบินร่อนไปในประเทศอากาศ ฉันใดดูกรสารีบุตร แม้บรรดาสัตว์ผู้มีปัญญา
    ก็ย่อมเป็นไปในประเทศพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน พุทธญาณแผ่ไป แล่นไปสู่ปัญหาของเทวดา
    และมนุษย์แล้วตั้งอยู่บรรดากษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด
    แต่งวาทะโต้ตอบ มีปัญญาเปรียบด้วยนายขมังธนูผู้สามารถยิงขนทราย เที่ยวทำลายปัญญาและทิฐิ
    ด้วยปัญญา บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้วพากันเข้ามาหาพระตถาคต ถามปัญหาทั้งลี้ลับและ
    เปิดเผย ปัญหาเหล่านั้นพระผู้มีพระภาคตรัสบอกและทรงแก้แล้ว มีเหตุที่ทรงแสดงไขให้เห็นชัด
    ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาคความจริง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหา
    เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงเป็นผู้เลิศ มีพระปัญญาไม่ใกล้ นี้เป็นอัสสามันตปัญญา
    ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้ ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๓๒๒/๓๖๔
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    เปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า

    [๕๑๑] ดูกรราชกุมาร ครั้นอาตมภาพทราบว่าท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนา และอาศัย
    ความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ. เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ
    ก็ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี
    มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยาก
    ก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัว
    หลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ
    บางเหล่ายังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งขึ้น
    พ้นน้ำ น้ำไม่ติด ฉันใด ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ฉันนั้น
    ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี
    มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยาก
    ก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี. ดูกรราชกุมาร ครั้งนั้นอาตมภาพ
    ได้กล่าวรับท้าวสหัมบดีพรหมด้วยคาถาว่า
    ดูกรพรหม เราเปิดประตูอมตนิพพานแล้ว เพื่อสัตว์ทั้งหลาย
    ผู้มีโสต จงปล่อยศรัทธามาเถิด เราสำคัญว่าจะลำบาก จึงไม่
    กล่าวธรรมอันคล่องแคล่ว ประณีต ในมนุษย์ทั้งหลาย.
    ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงเปิดโอกาส เพื่อจะแสดง
    ธรรมแล้ว จึงอภิวาทอาตมภาพ ทำประทักษิณแล้ว หายไปในที่นั้นเอง.

    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์หน้าที่ ๓๔๙/๕๑๘
     
  8. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ๓. สารันททสูตร
    [๑๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กุฏาคารศาลา ป่ามหาวันใกล้เมือง
    เวสาลี ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาต
    ณ เมืองเวสาลี สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ คนนั่งประชุมกันอยู่ที่สารันททเจดีย์ ได้มี
    การสนทนากันว่า ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ เป็นของหาได้ยากในโลก แก้ว ๕ ประการ
    เป็นไฉน คือ ความปรากฏแห่งช้างแก้ว ๑ ความปรากฏแห่งม้าแก้ว ๑ ความปรากฏแห่งแก้ว
    มณี ๑ ความปรากฏแห่งนางแก้ว ๑ ความปรากฏแห่งคฤหบดีแก้ว ๑ ความปรากฏแห่งแก้ว ๕
    ประการนี้ เป็นของหาได้ยากในโลก ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นได้ส่งบุรุษไปคอยดักที่หนทาง
    โดยสั่งว่า พ่อผู้เจริญ เมื่อท่านเห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมา พึงมาบอกแก่พวกฉัน บุรุษ
    นั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล จึงเข้าไปหาเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น แจ้งให้ทราบว่า พระผู้
    มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นกำลังเสด็จมา ขอท่านทั้งหลายจงทราบกาลที่ควร
    ณ บัดนี้ ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
    แล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน
    พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงเอ็นดู เสด็จเข้าไปสู่สารันททเจดีย์เถิด พระผู้มีพระภาคทรง
    รับโดยดุษณีภาพ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าไปยังสารันททเจดีย์ แล้วประทับนั่งบน
    อาสนะที่ตบแต่งไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า ดูกรเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย บัดนี้ ท่าน
    ทั้งหลายประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร การสนทนาอะไรของท่านทั้งหลายยังค้างอยู่ในระหว่าง
    เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายนั่งประชุมกันอยู่
    ณ ที่นี้ ได้มีการสนทนากันว่า ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการเป็นของหาได้ยากในโลก แก้ว
    ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความปรากฏแห่งช้างแก้ว ๑ ความปรากฏแห่งม้าแก้ว ๑ ความปรากฏ
    แห่งแก้วมณี ๑ ความปรากฏแห่งนางแก้ว ๑ ความปรากฏแห่งคฤหบดีแก้ว ๑ ความปรากฏแห่ง
    แก้ว ๕ประการนี้ เป็นของหาได้ยากในโลก ฯ
    พ. ดูกรเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเป็นผู้มุ่งไปในกาม จึงได้มีการสนทนากัน
    ปรารภเฉพาะกาม
    ดูกรเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการเป็นของหาได้ยาก
    แก้ว ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
    บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ๑
    บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ๑
    บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ซึ่งผู้อื่นแสดงให้ฟังแล้วปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ๑
    กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑
    ดูกรเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการนี้แล เป็นของหาได้ยากในโลก ฯ

    จบสูตรที่ ๓

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๕๒/๔๐๗
     
  9. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    ตีความผิดแล้ว โยมอุรุเวลา


    บอกแค่นี้แหละ
     
  10. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    คุณอุรุเวลานำบาลีแปลไทยมาแสดงไว้ทำไมเหรอครับ

    ทราบหรือไม่ว่าทำไมพระพุทธเจ้าถึงไม่ให้แสดงธรรมโดยใช้ภาษาสันสกฤต
     
  11. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218

    ถูกต้องแล้ว ต้องใช้พระบาลีเป็นหลักในการศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์


    แต่ห้ามแสดงธรรมด้วยภาษาอื่นตรงไหน บอกหน่อย


    งั้นโยมอุรุเวลา คงลำบากหน่อยนะ ตอนบวช เพราะจะต้องเทศน์เป็นภาษาบาลีล้วนๆ กันละ หาคนฟังยากหน่อยนะ หรือจะรอไปบวชในยุคพระศรีอารย์ทีัเดียวเลย เพราะในยุคนั้นก็ใช้ภาษาบาลีเป็นหลัก
     
  12. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    ไปได้นะ น้ำขุ่นๆ


    รีบๆ ออกบวชซักทีเถอะน้าาา
     
  13. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะเป็นชาติ
    พราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวาย
    บังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายต่างชื่อ
    ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างสกุลกันเข้ามาบวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม
    มิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต
    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้
    กล่าวอย่างนี้ว่า มิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะ ขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้
    เล่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
    ที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง
    ยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    เราอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๔๕/๒๗๙

    จะยากตรงไหนครับ สวดบาลีต่อด้วยแปลไทย หลายวัดก็ทำกันครับ
     
  14. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
  15. ผมยังเลวอยู่มาก

    ผมยังเลวอยู่มาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +539
    อธิบายไปก็เปล่าประโยชน์ นักทฤษฎีกับนักปฏิบัติ แค่ภาพที่แสดงความเป็นตัวตนยังหันหลังไม่ฟังใคร ป่วยการกับการอธิบาย

    โมทนาคับ
     
  16. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218

    อ้อ... ไม่ใช่ให้ใช้ภาษาบาลีล้วนๆ หรอกหรือ ที่แท้ก็หลบเลี่ยงเป็นนี่นะ โยมอุรุเวลา (เขาทำกันมาตั้งนานแล้ว รู้กันมาตั้งนานแล้ว ว่าพระพุทธพจน์ ไม่ใช่จะแปลเป็นภาษาอื่นไม่ได้ แต่ให้มีพระบาลีเป็นหลักเท่านั้น)


    โยมอุรุเวลา ไปบวชได้แล้วกระมัง


    แล้วครูบาอาจารย์ที่ท่านเทศน์ ที่ท่านแสดงธรรมเป็นภาษาไทย ผิดไหม


    และ การแปลพระไตรปิฎก จากภาษาบาลี ให้เป็นภาษาไทย โดยผู้แปลก็เป็นพระสงฆ์ ท่านผิดไหม ต้องอาบัติไหม ช่วยตอบหน่อย


    ตอบให้ตรงคำถามด้วยนะ ไม่ต้องยกพระสูตรมายาวๆ หรอก พอจะรู้อยู่
     
  17. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ทรงพิจารณาสัตวโลกเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า
    [๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงกราบคำทูลอาราธนาของพรหม และทรงอาศัย
    ความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ เมื่อตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ
    ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยก็มี ที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุมากก็มี ที่มีอินทรีย์
    แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี
    ที่จะสอนให้รู้ได้ยากก็มี ที่มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ก็มี.
    มีอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม หรือดอกบุณฑริกในกอบุณฑริก
    ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้
    บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว.
    พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย บางพวก
    มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า
    บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการทราม บางพวกสอนให้รู้ได้ง่าย
    บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ ฉันนั้น
    เหมือนกัน ครั้นแล้วได้ตรัสคาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า ดังนี้:-
    เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว สัตว์เหล่าใดจะฟัง
    จงปล่อยศรัทธามาเถิด ดูกรพรหม เพราะเรา
    มีความสำคัญในความลำบาก จึงไม่แสดงธรรม
    ที่เราคล่องแคล่ว ประณีต ในหมู่มนุษย์.
    ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงประทานโอกาสเพื่อจะแสดงธรรม
    แล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้ว อันตรธานไปในที่นั้นแล.

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๑/๓๐๔
     
  18. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    เปรียบบุคคลด้วยดอกบัว ๓ เหล่า
    [๕๑๑] ดูกรราชกุมาร ครั้นอาตมภาพทราบว่าท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนา และอาศัย
    ความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ. เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ
    ก็ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี
    มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยาก
    ก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัว
    หลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ
    บางเหล่ายังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งขึ้น
    พ้นน้ำ น้ำไม่ติด ฉันใด ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ฉันนั้น
    ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี
    มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยาก
    ก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี. ดูกรราชกุมาร ครั้งนั้นอาตมภาพ
    ได้กล่าวรับท้าวสหัมบดีพรหมด้วยคาถาว่า
    ดูกรพรหม เราเปิดประตูอมตนิพพานแล้ว เพื่อสัตว์ทั้งหลาย
    ผู้มีโสต จงปล่อยศรัทธามาเถิด เราสำคัญว่าจะลำบาก จึงไม่
    กล่าวธรรมอันคล่องแคล่ว ประณีต ในมนุษย์ทั้งหลาย.
    ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงเปิดโอกาส เพื่อจะแสดง
    ธรรมแล้ว จึงอภิวาทอาตมภาพ ทำประทักษิณแล้ว หายไปในที่นั้นเอง.

    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์หน้าที่ ๓๔๙/๕๑๘
     
  19. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218

    สาธุ ถูกต้องตามพระพุทธพจน์นั้นแล


    พระเครื่อง จัดเป็น อุทเทสิกเจดีย์ หรือไม่ (ขอแบบความเห็นส่วนตัวเลยนะ ไม่ต้องยกพระสูตรมา)


    เมื่อไหร่จะบวช โยมอุรุเวลา


    บวชแล้วค่อยมาโจมตี ครูบาอาจารย์ที่ท่านเสกพระ สร้างพระ ก็ยังไม่สาย


    บวชแล้ว ไปอยู่สำนักสามแยก ที่เพชรบูรณ์ กับพระเกษม เลยนะ อย่าไปอยู่ผิดวัดละ เป็นห่วงสุขภาพ


    มาๆ รีบมาบวช
     
  20. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218

    แล้วไปเอามาจากไหน พระพุทธเจ้าห้ามพระสงฆ์แสดงธรรมด้วยภาษาอื่น


    กรุณาตอบด้วย ไปเอามาจากไหน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ตุลาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...