ดูจิตติดเฉยโง่ "อัญญาณุเบกขา"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 1 กรกฎาคม 2013.

  1. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ตอบ

    คนที่ตามรู้ ตามดู " รู้เฉยๆ " นั้นก็จอมปลอม จ๊ะ
     
  2. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496

    ถ้าเกิดวิปัสสนาญาณอย่างครบถ้วน บุคคลนั้นๆจะประจักษ์ชัดแจ้งด้วยจิตเอง
    ว่าขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวตนของเขา ไม่ใช่ของของเขา
    เมื่อจิตประจักษ์ชัดแจ้งเช่นนั้น จิตจะปล่อยวางขันธ์๕ ด้วยจิตเอง

    การจะมาถึงจุดนี้ได้นั้นก็จะต้องผ่านสภาวธรรมต่างๆมาเป็นลำดับๆ
    ผู้ปฏิบัติจะรู้ได้เอง
     
  3. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..........ปล่อยวาง ขันธิ์5 แล้วอยู่แบบใหน รู้สึกแบบใหน สำหรับคุณ(ลองคิดเล่นเล่น)
     
  4. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ขันธ์๕ มันก็ทำงานตามปกติของมัน
    ความรู้สึก นึำกคิดก็เกิด ตามปกติของขันธ์๕

    แต่การเห็น จะเห็นว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นอนัตตา เป็นสิ่งจอมปลอม
    เห็นด้วยจิต ออกมาจากจิต เมื่อมีผัสสะ เกิดเวทนาจิตจึงไม่เข้าไปยึดไปถือเอา
    เพราะจิตมันรู้แล้ว มันไม่เอาแล้ว มันก็แค่อาศัยขันธ์๕ ไปถึงวันที่ขันธ์๕ แตกดับเท่านั้น
    มันก็ต้องดูแลขันธ์๕ซึ่งเป็นที่อาศัยของมันตามเหตุปัจจัยเท่านั้น

    .............

    การเกิดวิปัสสนาญาณก็คือการหยั่งรู้ความเป็นจริงของขันธ์๕
    แต่ละบุคคลอาจจะเกิดแล้วเห็นไม่เหมือนกัน อาจจะเห็นละเอียด
    หยาบแตกต่างกันไป ตามอินทรีย์ภาวนา ตามเหตุปัจจัยที่แต่ละบุคคล
    บางคนอาจเห็นเพียงส่วนเดียว บางคนเห็นครบถ้วนในครั้งเดียว
    บางคนเห็นแบบหยาบๆ บางคนเห็นแบบละเอียด ฯลฯ
    แต่การเห็นเหล่านี้ก็ทำให้เขาประจักษ์ได้มากน้อยตามการเห็น
    ถ้าเห็นได้ครบถ้วนก็ถอดถอนขันธ์๕ ได้ทั้งหมด

    การเห็นขันธ์๕ ก็จะเห็นได้หลายระดับ
    ในระดับที่ละเอียดมากๆคือคือเห็นเป็นอณูมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
    และเป็นอิสระต่อกัน แต่ละอณูมีช่องว่าง ฯลฯ บอกแค่นี้ก่อนนะคะ

    ในระดับที่หยาบมากๆ ที่มองเห็นเป็นตัวตน ก็คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย

    การเห็นจะเห็นในระดับระเอียดสุดหรือหยาบๆ ก็ทำให้จิตประจักษ์ได้เหมือนกัน


    ถ้าเป็นประโยชน์จะมาเล่าให้ฟังในภายหลังแล้วกันค่ะ
     
  5. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ขันธ์๕มันก็ทำงานตามหน้าที่ของมัน
    มันเหมือนโรงงานที่เป็นเครื่องจักรที่เชื่อมต่อกันทั้งระบบ
    เมื่อป้อนวัตถุดิบเข้าไป เครื่องจักรแต่ละตัวก็จะทำหน้าที่ของตนตามหน้าที่
    แล้วส่งต่อกันเป็นทอดๆไปจนจบกระบวนการ

    อันนี้ ขันธ์๕ ค่ะ คัดลอกมาบางส่วนจาก

    ธรรมบรรยาย…จิตบรรลุนิพพาน
    โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
    จิตบรรลุนิพพาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ) - สมเด็จพระญาณสังวรฯ - สัจจธรรมแห่งชีวิต - Wunjun Group


    ขันธ์โลก โลกคือขันธ์ ที่ตรัสไว้เป็น ๕

    รูปขันธ์ กองรูป คือสิ่งที่แข้นแข็งอันมีอยู่ในกายนี้ สิ่งที่เอิบอาบเหลวไหลอันมีอยู่ในกายนี้
    สิ่งที่อบอุ่นอันมีอยู่ในกายนี้ สิ่งที่พัดไหวอันมีอยู่ในกายนี้ ก็คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
    อันรวมกันเข้าเป็นก้อนรูปกายอันนี้ ที่ทุกคนมีอยู่นี้เองเป็นรูปขันธ์ กองรูป

    เวทนาขันธ์ กองเวทนา ก็คือ ความรู้เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นกลางๆไม่ทุกข์ไม่สุข
    ทางกายทางใจ ที่ทุกคนมีอยู่นี้เอง

    สัญญาขันธ์ กองสัญญา คือความจำได้หมายรู้ จำรูป จำเสียง จำกลิ่น จำรส จำโผฏฐัพพะ จำธรรมะ
    คือเรื่องราวทางใจ ที่ใจคิดนึก ดำริ หมกมุ่นถึงทุกอย่าง ความจำได้หมายรู้นี้รวมเป็นสัญญาขันธ์กองสัญญา

    สังขารขันธ์ กองสังขาร ก็คือความคิดปรุง หรือความปรุงคิด รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะสิ่งที่กายถูกต้อง
    และเรื่องราวที่ใจคิดนึกรู้ต่างๆ ปรุงคิดหรือคิดปรุง ดีบ้างไม่ดีบ้าง เป็นกลางๆบ้าง รวมเข้าก็เป็นสังขารขันธ์
    กองสังขาร ซึ่งคำว่าสังขารในขันธ์ ๕ นี้หมายถึงความคิดปรุงหรือความปรุงคิดทางจิตใจ

    วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ คือความรู้ทางตาในเมื่อตากับรูปประจวบกัน ที่เราเรียกว่าเห็น
    ความรู้ทางหูเมื่อหูกับเสียงประจวบกัน ที่เราเรียกว่าได้ยิน
    ความรู้ทางจมูกในเมื่อจมูกกับกลิ่นได้ประจวบกัน ที่เราเรียกว่าทราบกลิ่น หรือดม
    ความรู้ทางลิ้นในเมื่อลิ้นกับรสประจวบกัน ที่เราเรียกว่าลิ้มรส หรือทราบรส
    ความรู้ทางกายในเมื่อกายและสิ่งที่ถูกต้องกายมาประจวบกัน ที่เราเรียกว่าถูกต้องหรือทราบสิ่งที่กายถูกต้อง
    ความรู้ในเมื่อมโนคือใจกับธรรมะคือเรื่องราวมาประจวบกัน ที่เราเรียกว่ารู้บ้างคิดบ้างก็รวมเป็นวิญญาณขันธ์
    กองวิญญาณ คือ ความรู้ทางอายตนะ เมื่ออายตนะภายในและภายนอกที่คู่กัน มาประจวบกัน
    ดังกล่าวนี้ก็คือ โลก ขันธ์โลก โลกคือขันธ์ ย่อเข้าก็เป็นนามรูป
     
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .....................ไวพจน์ของนิพพานคือ...ความสิ้นไปของ ราคะ ความสิ้นไปของโทสะ ความสิ้นไปของโมหะ....คุณว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไรกับการภาวนา...เกี่ยวข้องกันอย่างไรกับ มุมของ ขันธิ์5กายใจ รูปนาม นี้..
     
  7. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    เกี่ยวข้องกัน คือ

    อันนี้เป็นกระบวนการของขันธ์๕
    นาม-รูป>สฬายตนะ>ผัสสะ>เวทนา>ตัณหา>อุปาทาน>ภพ>ชาติ>ชรา-มรณะ>อวิชชา>สังขาร>วิญญาณ>
    [อายตนะภายนอก+สฬายตนะ(อายตนะภายใน) > เกิดวิญญาณ = ผัสสะ]

    เมื่อเกิดผัสสะ บุคคลนั้นๆจะรู้ตั้งแต่เกิดผัสสะ ถ้าไหลไปอย่างมากก็ถึงแค่ถึงเวทนาก็จะหยุด
    เพราะจิตรู้อริยสัจแล้ว จึงไม่มีอุปทานในขันธ์ จึงไม่เข้าไปยึดเอาขันธ์ใดๆมาปรุงแต่งว่าเป็นตน เป็นของตน
    ราคะ โทสะ โมหะ จึงเกิดไม่ได้ (=ความสิ้นไปของ ราคะ โทสะ โมหะ) ภพชาติก็ดับ
    กระบวนการปฏิจสมุปบาทก็ดับ

    ก็คือกรรมใหม่จะไม่เกิดแล้ว แต่กรรมเก่าที่มีก็ชดใช้ไป

    บุคคลนั้นๆก็ยังต้องมีวิหารธรรมเป็นเครื่องอยู่ ยังต้องสำรวมอินทรีย์
    เพื่อความมีสติสัมปชัญญะและความอยู่เป็นสุขในทิฐธรรม
     
  8. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

    ๖. ฉฉักกสูตร (๑๔๘)

    [๘๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ-
    *อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
    ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มี-
    *พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย อัน
    ไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศ
    พรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คือ ธรรมหมวดหก ๖ หมวด พวกเธอจงฟัง
    ธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า
    ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

    [๘๑๑] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า พวกเธอพึงทราบอายตนะภายใน ๖
    อายตนะภายนอก ๖ หมวดวิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖ หมวดเวทนา ๖
    หมวดตัณหา ๖ ฯ


    [๘๑๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัย
    อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือจักษุ อายตนะคือโสตะ อายตนะคือฆานะ
    อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึง
    ทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก
    หมวดที่ ๑ ฯ

    [๘๑๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เรา
    อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือรูป อายตนะคือเสียง อายตนะคือกลิ่น
    อายตนะคือรส อายตนะคือโผฏฐัพพะ อายตนะคือธรรมารมณ์ ข้อที่เรากล่าว
    ดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว นี้
    ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๒ ฯ

    [๘๑๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัย
    อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักษุวิญญาณ อาศัยโสตะ
    และเสียง จึงเกิดโสตวิญญาณ อาศัยฆานะและกลิ่น จึงเกิดฆานวิญญาณ อาศัย
    ชิวหาและรส จึงเกิดชิวหาวิญญาณ อาศัยกายและโผฏฐัพพะ จึงเกิดกายวิญญาณ
    อาศัยมโนและธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ
    หมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัยวิญญาณดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวด
    ที่ ๓ ฯ

    [๘๑๕] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัย
    อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของ
    ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ความประจวบของ
    ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ความประจวบของ
    ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ความประจวบของ
    ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ความประจวบ
    ของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความ
    ประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖
    นั่น เราอาศัยผัสสะดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๔ ฯ

    [๘๑๖] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดเวทนา ๖ นั่น เราอาศัย
    อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของ
    ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ...
    อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ...
    อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ...
    อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ...
    อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓
    เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวด
    เวทนา ๖ นั่น เราอาศัยเวทนาดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๕ ฯ

    [๘๑๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา ๖ นั่น เราอาศัย
    อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของ
    ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็น
    ปัจจัย จึงมีตัณหา
    อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ...
    อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ...
    อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ...
    อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ...
    อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓
    เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา ๖ นั่น เราอาศัยตัณหาดังนี้ กล่าวแล้ว
    นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๖ ฯ

    (ต่อ)
     
  9. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    [๘๑๘] ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า จักษุเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุ
    ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้
    ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะ
    ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึง
    เป็นอนัตตา

    ผู้ใดกล่าวว่า รูปเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร รูปย่อมปรากฏแม้ความ
    เกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้น
    ต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่
    กล่าวว่า รูปเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึง
    เป็นอนัตตา

    ผู้ใดกล่าวว่า จักษุวิญญาณเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุวิญญาณ
    ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ
    เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น
    คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุวิญญาณเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึง
    เป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา

    ผู้ใดกล่าวว่า จักษุสัมผัสเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุสัมผัสย่อม
    ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ
    เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นแลเสื่อมไป เพราะฉะนั้น
    คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุสัมผัสเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึง
    เป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็น
    อนัตตา

    ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร เวทนาย่อมปรากฏ
    แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
    สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำ
    ของผู้ที่กล่าวว่าเวทนาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็น
    อนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา
    เวทนาจึงเป็นอนัตตา

    ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ตัณหาย่อมปรากฏแม้
    ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่ง
    นั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของ
    ผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา
    รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึง
    เป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา ฯ

    [๘๑๙] ผู้ใดกล่าวว่า โสตะเป็นอัตตา ...
    ผู้ใดกล่าวว่า ฆานะเป็นอัตตา ...
    ผู้ใดกล่าวว่า ชิวหาเป็นอัตตา ...
    ผู้ใดกล่าวว่า กายเป็นอัตตา ...
    ผู้ใดกล่าวว่า มโนเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนย่อมปรากฏแม้
    ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่ง
    นั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของ
    ผู้ที่กล่าวว่า มโนเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา

    ผู้ใดกล่าวว่า ธรรมารมณ์เป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ธรรมารมณ์ย่อม
    ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
    สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำ
    ของผู้ที่กล่าวว่าธรรมารมณ์เป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึง
    เป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา ฯ

    ผู้ใดกล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนวิญญาณ
    ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ
    เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น
    คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้
    มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา

    ผู้ใดกล่าวว่า มโนสัมผัสเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนสัมผัสย่อม
    ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ
    เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะ
    ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนสัมผัสเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้
    มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโน-
    *สัมผัสจึงเป็นอนัตตา

    ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร เวทนาย่อมปรากฏ
    แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
    สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำ
    ของผู้ที่กล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็น
    อนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็น
    อนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา

    ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ตัณหาย่อมปรากฏ
    แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
    สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำ
    ของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็น
    อนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็น
    อนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา ฯ

    (ต่อ)
     
  10. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    [๘๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความตั้งขึ้นแห่งสักกายะ
    ดังต่อไปนี้แล บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็น
    รูปว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุวิญญาณว่า นั่นของเรา
    นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตา
    ของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า
    นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นโสตะว่า นั่นของเรา ... เล็งเห็น
    ฆานะว่า นั่นของเรา ... เล็งเห็นชิวหาว่า นั่นของเรา ... เล็งเห็นกายว่า นั่นของ
    เรา ... เล็งเห็นมโนว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นธรรมารมณ์
    ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นมโนวิญญาณว่า นั่นของเรา
    นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นมโนสัมผัสว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตา
    ของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหา
    ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ

    [๘๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความดับสักกายะ ดังต่อ
    ไปนี้แล บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
    เล็งเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุวิญญาณ
    ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า นั่น
    ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
    ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่
    ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นโสตะว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ... เล็งเห็นฆานะว่า นั่นไม่ใช่
    ของเรา ... เล็งเห็นชิวหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ... เล็งเห็นกายว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
    ... เล็งเห็นมโนว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็น
    ธรรมารมณ์ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นมโน-
    *วิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นมโนสัมผัส
    ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่
    ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่
    ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ฯ

    [๘๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ
    ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ
    เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา
    ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงมีราคานุสัยนอน
    เนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไห้ คร่ำครวญ
    ทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนา
    ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัด
    ออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา ยังไม่บรรเทาปฏิฆานุ-
    *สัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทำวิช-
    *ชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย และจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้
    นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตะและเสียง เกิดโสตวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและรส เกิดชิวหาวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ
    ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ
    เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา
    ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงมีราคานุสัย
    นอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไห้ คร่ำครวญ
    ทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนา
    ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออก
    แห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา ยังไม่บรรเทาปฏิฆา-
    *นุสัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทำ
    วิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน
    ได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ

    [๘๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ
    ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ
    เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา
    ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงไม่มี
    ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก
    ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่อง
    อยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป
    คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัย
    นอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา
    บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยัง
    วิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ใน
    ปัจจุบันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตะและเสียง เกิดโสตวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและรส เกิดชิวหาวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ
    ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ
    เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา
    ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงไม่มี
    ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก
    ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่อง
    อยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป
    คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัย
    นอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา
    บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยัง
    วิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุ-
    *บันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    (ต่อ)
     
  11. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    [๘๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
    เบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุวิญญาณ
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
    ตัณหา
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ...
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ...
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ...
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ...
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ย่อมเบื่อหน่าย
    แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
    จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว และทราบชัดว่า
    ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความ
    เป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้
    อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล ฯ
    จบ ฉฉักกสูตร ที่ ๖


    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� �
    Wunjun Group
     
  12. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496

    อายตนะภายนอก+สฬายตนะ(อายตนะภายใน) > เกิดวิญญาณ = ผัสสะ

    เมื่อเกิดวิญญาณ ถ้าจิตยังมีอุปทานในขันธ์๕อยู่ จิตก็จะเข้าไปเกาะวิญญาณ
    จะ = วิญญาณ + จิต(สัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้นมีตัณหาเป็นเครื่องผูก)
    ก็จะ = สิ่งจะถูกเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง (เป็นจิตสังขาร)
    กระบวนการปฏิจสมุปบาทก็เกิด

    (โปรดใช้วิจารณญาณ)
     
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    หลานรัก...
    หัดหยุดให้เป็น เลิกคิดเองเออเองลงบ้างก็ดีนะ
    มักชอบอ้าง"สัมมาทิฐิ"มาบังหน้ากัน สำหรับนักตำรานิยม

    "ทิฐิ"ที่จะเป็น"สัมมา" ได้นั้น ต้องรู้จริงเห็นจริง ไม่ใช่"เข้าใจว่า"สักหน่อย
    การ"เข้าใจว่า" คือคิดเองเออเองขึ้นมาเอง หรือเชื่อตามตำราไว้ก่อน

    ส่วน"สัมมาทิฐิ" คือการเห็นชอบนั้น
    ต้อง"รู้เห็นตามความเป็นจริง"เท่านั้น จึงเห็นชอบได้
    ยังไม่ลงมือปฏิบัติ เพื่อเห็นจริงนั้น ก็แค่มีความเห็นที่คิดว่าถูกเท่านั้น

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
    เมื่อพวกเธอมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง(สัมมาทิฐิ)ดังนี้

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ู^
    ^
    จากนิวรณ์สอนน้อง
    ธรรมภูตสงสัยในนิวรณ์ ว่าแอบซ่อนอยู่ตรงไหนอีก?

    ดูซ้อน ดูยังไง?
    ขึ้นไปตรงๆ ตรงไหน? เอาชัดๆอย่ามั่วนะ
    แล้วหยุดยังไง"ภาวนาแบบ นึกๆ คิดๆ"?

    เอาเท่านี้ก่อนนะนู๋นิฯ คนดีของทำมาปู็ดๆๆๆ
    เจริญในธรรมทุกๆท่าน

     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    http://www.fungdham.com
    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
    สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

    016 ผู้ประมาทเหมือนคนตายแล้ว - พระอริยะ

    ....คือไม่ว่าจะทำอย่างไร ทำแต่สิ่งที่ถูกต้อง.....จนเลิกได้ละได้หมด
    ท่านให้ชื่อว่าสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า..........
    ชื่อว่าพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ถ้าต่ำกว่านี้ลงไป
    ยังไม่จัดเป็นสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า
    เป็นเพียงสมมุติให้เป็นพระเป็นสงฆ์เป็นนักบวชตามประเพณีทั้งนั้น
    คือว่าแก่นของนักบวชมันยังไม่มีในใจ ให้เราทุกดวงใจตั้งใจขึ้นมา
    เวลานั่งภาวนา นั่งฟังธรรม นั่งปฏิบัติธรรม.......
    คำว่าพระโสดาขึ้นไป ไม่มีการตกต่ำ.....ส่วนสามัญชน....

    ****************
    Gamm BuddhaBucha ผ่าน ธรรมโอสถ

    "สมมุติสงฆ์"
    พระธรรมเทศนาหลวงปู่สิม พุทธาจาโร
    สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

    www.youtube.com/watch?v=S2ULY7gddTc]

    หลวงปู่สิม-สมมุติสงฆ์ - YouTube

    เจริญในการฟังธรรมของพระแท้ที่เป็นสาวกพระพุทธเจ้า
     
  16. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    จิตจะรู้หรือไม่รู้อย่างไรใจมันก็คิดอยู่ดี เพราะจิตมันเป็นจิต แต่ใจมันอาศัยความที่ว่าจิตเป็นสิ่งรองรับเพราะความไม่รู้ เวลาที่ทุกข์ก็ว่าจิตทุกข์ แต่ความรู้สึกหรือสิ่งที่ใจคิดคือทุกข์ใจ เพราะอาศัยสิ่งอื่นๆที่ไม่ใช่จิตเป็นตัวขยาย กลายเป็นว่า จิตพาให้ทุกข์ทั้งๆที่จิตเองก็ไม่ได้มีอำนาจจะพาให้ทุกข์หรือสุขได้เลย แต่ใจหรือความคิดต่างหากที่พาไปแล้วไปโทษใส่จิตว่าจิตนั้นพาไป สรุปคือ คิดเอาว่าเป็นแบบนั้นเป็นแบบนี้ตามแต่อยากจะเอาอะไรมาเป็นเครื่องช่วยหรือปัจจัยในการคิด และก็โทษว่าเพราะจิตนั้นพาไปทั้งๆที่จิตมันก็ไม่ได้ไปไหนเลยแต่ไม่สามารถรู้ได้ว่า มันไม่ได้ไปไหนแต่ความคิดที่ยึดติดต่างหากมันพาไปโดยอาศัยความจอมปลอมของทุกข์สิ่งเป็นเครื่องชักจูง
     
  17. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    พี่นิวรณ์เค้าให้ละความเพลิน วางในสิ่งที่ได้ประจักษ์นั้นๆค่ะพี่ธรรมภูต

     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ูู^
    ^
    ผมถึงได้สงสัยขึ้นมาว่า

    เอ่ะดูซ้อนยังไง จึงละความเพลินได้?

    ที่ว่าดูซ้อนขึ้นไปหนะ ขึ้นไปตรงไหน?

    ส่วนพระสูตรนั้น พระพุทธองค์แนะนำ ถึงผลของการรู้หลุดพ้นไม่สำคัญมั่นหมายแล้ว

    ส่วนที่ถามนู๋นิฯไป การต้องรู้ว่า แล้วประพฤติ ปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้อง

    ละความมั่นหมายนั้นได้ คือละการ"ภาวนาแบบ นึกๆ คิดๆ"(มั่นหมาย)

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  19. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ปล่อยวางครั้งแรก เป็นการปล่อยวางสิ่งที่เป็นอนัตตา สิ่งที่เกิด-ดับ (ปล่อยวางสิ่งที่ประจักษ์ ปล่อยวางขันธ์๕)
    ปล่อยวางครั้งหลัง เป็นการปล่อยวางสิ่งที่ไม่เกิด ไม่ดับ (ปล่อยวางผล ปล่อยวางนิพพาน)
     
  20. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ปล่อยวางยังไงครับ....กริยาใดถึงเรียกว่า ปล่อยวาง...หรือ เป็นความรู้แจ้ง..
     

แชร์หน้านี้

Loading...