หัวใจสำคัญของการปฏิบัติอยู่ที่นี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย กลายแก้ว, 10 ตุลาคม 2013.

  1. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    [๓๓๗] อันตคาหิกทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๕๐ เป็นไฉน ฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการเท่าไร ฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ ฯ

    [๓๓๘] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕เป็นไฉน ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นโลกและเป็นของเที่ยงทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุวัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นทิฐิที่ถือเอาที่สุดว่าโลกเที่ยงที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ สัญญาเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ สังขารเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ วิญญาณเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ ทิฐินั้นถือเอาที่สุด เช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิทิฐิไม่ใช่วัตถุ ... นี้เป็นทิฐิที่ถือเอาที่สุดว่าโลกเที่ยงที่ ๕ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉา-*ทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยงย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๓๙] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕เป็นไฉน ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยงทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ นี้เป็นทิฐิที่ถือเอาที่สุดว่าโลกไม่เที่ยงที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯลฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง วิญญาณเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อนตคาหิกทิฐิ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉา-*ทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยงย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๐] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕เป็นไฉน ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความเห็นอย่างนี้ว่าโลกนี้มีที่สุดกลม ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่าโลกมีที่สุด ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่งทิฐิและวัตถุ นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่าโลกมีที่สุดที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเหลืองแผ่ไป ทำสีแดงแผ่ไป ทำสีขาวแผ่ไป ทำแสงสว่างแผ่ไป สู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความคิดอย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุดกลม ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่าโลกมีที่สุดทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๑] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕เป็นไฉน ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้ ดังนี้ จึงมีความสำคัญว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลกเครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่าโลกไม่มีที่สุดที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเหลือง ทำสีแดง ทำสีขาว ทำแสงสว่างแผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่า โลกไม่มีที่สุด ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลกทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๒] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นชีพและสรีระ ชีพอันใดสรีระก็อันนั้น ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้สังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิคือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นชีพและเป็นสรีระ สัญญาเป็นชีพและเป็นสรีระ สังขารเป็นชีพและเป็นสรีระ วิญญาณเป็นชีพและเป็นสรีระชีพอันใด สรีระก็อันนั้น ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๓] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพรูปนั้นเป็นสรีระ ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ...นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพสัญญาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ สังขารเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ วิญญาณเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ วิญญาณนั้นเป็นสรีระ ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่าชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๔] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่การแตกแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้าง เกิดบ้างทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุวัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้าง เกิดบ้าง ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๕] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีกย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศไป สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีกที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละสังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมไม่เป็นอีก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๖] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มีย่อมไม่เป็นอีกก็มี ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ... นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ทิฐินี้ถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๗] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้อันตคาหิกทิฐิย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕๐ เหล่านี้

    [๓๔๘] ปุพพันตานุทิฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต) ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นไฉน ฯ สัสสตทิฐิ (ทิฐิว่าตนและโลกเที่ยง) ๔ เอกัจจสัสสติกาทิฐิ (ทิฐิว่าตนและโลกเที่ยงเป็นบางอย่าง) ๔ อันตานันติกาทิฐิ (ทิฐิว่าโลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้) ๔ อมราวิกเขปิกาทิฐิ (ทิฐิซัดส่ายไม่ตายตัว) ๔ อธิจจสมุปปันนิกาทิฐิ(ทิฐิว่าตนและโลกเกิดขึ้นลอยๆ) ๒ ปุพพันตานุทิฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๙] อปรันตานุทิฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต) ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๔๔ เป็นไฉน ฯ สัญญีวาททิฐิ (ทิฐิว่าตนเมื่อตายแล้วมีสัญญา) ๑๗ อสัญญีวาททิฐิ (ทิฐิว่าตนเมื่อตายแล้วไม่มีสัญญา) ๘ เนวสัญญีนาสัญญีวาททิฐิ (ทิฐิว่าตนเมื่อตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ๘ อุจเฉทวาททิฐิ (ทิฐิว่าสัตว์ตายแล้วขาดสูญ) ๗ ทิฐิธรรมนิพพานวาททิฐิ (ทิฐิว่านิพพานเป็นปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์) ๕ อปรันตานุทิฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๔๔ เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๐] สังโยชนิกาทิฐิ (ทิฐิเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นไฉน ฯ ทิฐิ คือ ทิฐิที่ไป ทิฐิที่รกชัฏ ฯลฯ ทิฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ สังโยชนิกาทิฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๑] ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา ย่อมถือผิด ด้วยอาการ๑๘ เป็นไฉน ฯ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ตาเป็นเรา ทิฐิมิใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ...นี้เป็นทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเราที่ ๑ มานวินิพันธาทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯเหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฐิ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า หูเป็นเรา ฯลฯจมูกเป็นเรา ฯลฯ ลิ้นเป็นเรา ฯลฯ กายเป็นเรา ฯลฯ ใจเป็นเรา ฯลฯธรรมารมณ์เป็นเรา ฯลฯ จักขุวิญญาณเป็นเรา ฯลฯ มโนวิญญาณเป็นเรา ฯลฯความลูบคลำความถือผิดว่าเป็นเรา ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเราที่ ๘ มานวินิพันธาทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๒] ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ย่อมถือผิด ด้วยอาการ๑๘ เป็นไฉน ฯ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ตาของเรา ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ...นี้เป็นทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเราที่ ๑ มานวินิพันธาทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯเหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า หูของเรา ฯลฯจมูกของเรา ฯลฯ ลิ้นของเรา ฯลฯ กายของเรา ฯลฯ ใจของเรา ฯลฯธรรมารมณ์ของเรา ฯลฯ จักขุวิญญาณของเรา ฯลฯ มโนวิญญาณของเรา ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ของเรา ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ที่ ๘ มานวินิพันธาทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฐิ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๓] ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๒๐เป็นไฉน ฯ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ... ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง ฯลฯ เห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง ฯลฯ ปุถุชนมองเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสอง เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่บุคคลเห็นเปลวไฟ และแสงสว่างไม่เป็นสองฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็นตน ฯลฯ นี้เป็นทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน ย่อมถือผิด ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๔] ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ย่อมถือผิด ด้วยอาการ ๘เป็นไฉน ฯ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตนและโลกเที่ยง เป็นทิฐิ อันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุมิใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกที่ ๑ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯเหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตนและโลกไม่เที่ยง ฯลฯ ตนและโลกเที่ยงก็มี ไม่เที่ยงก็มี ตนและโลกเที่ยงก็หามิได้ ไม่เที่ยงก็หามิได้ ตนและโลกมีที่สุด ตนและโลกไม่มีที่สุด ตนและโลกมีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็มี ตนและโลกมีที่สุดก็หามิได้ ไม่มีที่สุดก็หามิได้ เป็นทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกที่ ๘ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๘เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๕] ความถือผิดด้วยความติดอยู่ เป็นภวทิฐิ ความถือผิดด้วยความแล่นเลยไป เป็นวิภวทิฐิ อัสสาททิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นภวทิฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฐิเท่าไร อัตตานุทิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฐิเท่าไร ฯลฯ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก มีความถือผิดด้วยอาการ ๘ เป็นภวทิฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฐิเท่าไร ฯ อัสสาททิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นภวทิฐิก็มี เป็นวิภวทิฐิก็มีอัตตานุทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฐิ ๕ มิจฉาทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด สักกายทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฐิ ๕ สัสสตทิฐิอันมีสักกายเป็นวัตถุมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เป็นภวทิฐิทั้งหมด อุจเฉททิฐิอันมีสักกายเป็นวัตถุมีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยงมีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่าโลกมีที่สุด มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฐิก็มี เป็นวิภวทิฐิก็มี ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฐิก็มี เป็นวิภวทิฐิก็มี ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นมีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฐิทั้งหมดทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฐิก็มีเป็นวิภวทิฐิก็มี อปรันตานุทิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๔๔ เป็นภวทิฐิก็มีเป็นวิภวทิฐิก็มี สังโยชนิกาทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นภวทิฐิก็มี เป็นวิภวทิฐิก็มี ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฐิ ๕ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก มีความถือผิดด้วยอาการ ๘ เป็นภวทิฐิก็มี เป็นวิภวทิฐิก็มี ทิฐิทั้งหมดเป็นอัตตานุทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิ เป็นสักกายทิฐิ เป็นอันตคาหิกทิฐิ เป็นสังโยชนิกาทิฐิ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตนเป็นภวทิฐิ เป็นวิภวทิฐิชนเหล่าใดยึดถือทิฐิ ๒ อย่างนี้ ญาณในนิโรธย่อมไม่มีแก่ชนเหล่านั้น สัตว์โลกนี้ยึดถือในทิฐิใด ก็เป็นผู้มีสัญญาวิปริตเพราะทิฐินั้น ฯ

    [๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ถูกทิฐิ ๒ อย่างกลุ้มรุมแล้ว พวกหนึ่งย่อมติดอยู่ พวกหนึ่งย่อมแล่นไป ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมติดอยู่อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ชอบภพ ยินดีในภพ บันเทิงอยู่ในภพ จิตของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในธรรมที่เราแสดงเพื่อความดับภพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมติดอยู่อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมแล่นไปอย่างไร ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมอึดอัด ระอา เกลียดชังภพ ย่อมยินดีความปราศจากภพว่า ชาวเราเอ๋ย ได้ยินว่าเมื่อใด ตนแต่กายแตกไปแล้วย่อมขาดสูญย่อมพินาศ เมื่อนั้น ตนเบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก เพราะฉะนั้นความไม่เกิดนี้ละเอียด ประณีต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมแล่นไปอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง ครั้นแล้วย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับความเป็นสัตว์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่ อย่างนี้แล ฯ ถ้าภิกษุใด เห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง และก้าวล่วง ความเป็นสัตว์แล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมตามที่เป็นจริง เพื่อความหมดสิ้นแห่งภวตัณหา ภิกษุนั้น กำหนดรู้ ความ เป็นสัตว์แล้ว ผู้ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อม ไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะความไม่มีแห่งความเป็นสัตว์ ดังนี้ ฯ

    [๓๕๗] บุคคล ๓ จำพวกมีทิฐิวิบัติ บุคคล ๓ จำพวกมีทิฐิสมบัติ ฯ บุคคล ๓ จำพวกเหล่าไหนมีทิฐิวิบัติ เดียรถีย์ ๑ สาวกเดียรถีย์ ๑บุคคลผู้มีทิฐิผิด ๑ บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้มีทิฐิวิบัติ ฯ บุคคล ๓ จำพวกเหล่าไหนมีทิฐิสมบัติ พระตถาคต ๑ สาวกพระตถาคต ๑ บุคคลผู้มีทิฐิชอบ ๑ บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้มีทิฐิสมบัติ ฯ นรชนใด เป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธ มีความลบหลู่ลามก มีทิฐิวิบัติ เจ้าเล่ห์ พึงรู้จักนรชนนั้นว่าเป็นคนเลว นรชนใด เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่คุณท่าน มีทิฐิ- สมบัติ มีปัญญา พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นผู้ประเสริฐ ดังนี้ ฯ

    [๓๕๘] ทิฐิวิบัติ ๓ ทิฐิสมบัติ ๓ ฯ ทิฐิวิบัติ ๓ เป็นไฉน ความเห็นวิบัติว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิวิบัติ ๓ เหล่านี้ ฯ ทิฐิสมบัติ ๓ เป็นไฉน ความเห็นอันถูกต้องว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ทิฐิสมบัติ ๓ เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๙] ทิฐิอะไรว่า นั่นของเรา เป็นทิฐิเท่าไร ทิฐิเหล่านั้น ตามถือส่วนสุดอะไร ทิฐิอะไรว่า นั่นเป็นเรา เป็นทิฐิเท่าไร ทิฐิเหล่านั้น ตามถือส่วนสุดอะไร ทิฐิอะไรว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา เป็นทิฐิเท่าไร ทิฐิเหล่านั้นตามถือส่วนสุดอะไร ฯ ความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีตว่า นั่นของเรา เป็นทิฐิ ๑๘ ทิฐิเหล่านั้นตามถือขันธ์ส่วนอดีต ความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคตว่า นั่นเป็นเรา เป็นทิฐิ ๔๔ทิฐิเหล่านั้นตามถือขันธ์ส่วนอนาคต อัตตานุทิฐิมีวัตถุ ๒๐ ว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา เป็นสักกายทิฐิ มีวัตถุ ๒๐ ทิฐิ ๖๒ โดยมีสักกายทิฐิเป็นประธานทิฐิเหล่านั้น ตามถือขันธ์ทั้งส่วนอดีตและส่วนอนาคต ฯ

    [๓๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงความเชื่อแน่ในเราชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในธรรมนี้บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในภพสุทธาวาส ในธรรมนี้ ฯ บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้คือ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ๑ โกลังโกละโสดาบัน ๑ เอกพิชีโสดาบัน ๑พระสกทาคามี ๑ พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑ เชื่อแน่ในธรรมนี้ ฯ บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ บุคคล๕ จำพวกนี้ คือ อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ สสังขารปรินิพพายีอนาคามี-*บุคคล ๑ อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีอนาคามีบุคคล ๑ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงความเชื่อแน่ในเราบุคคลเหล่านั้นทั้งหมด ถึงพร้อมด้วยทิฐิ บุคคล ๕ จำพวกนี้เชื่อแน่ในธรรมนี้บุคคล ๕ จำพวกนี้เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ ฯ

    [๓๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสในเราอย่างแน่นแฟ้น บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้นรวม ๕จำพวกนี้ เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในภพชั้นสุทธาวาสในธรรมนี้ ฯ บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้ คือสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ๑ ... พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑ เชื่อแน่ในธรรมนี้ ฯ บุคคล ๕ จำพวกนี้ คือ อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ ... อุทธัง-*โสโตอกนิฏฐคามีบุคคล ๑ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสในเราอย่างแน่นแฟ้นบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้นรวมเป็น ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ฉะนี้แล ฯ
     
  2. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    read and then observe again and again, I mean pijarana or vipassana again and again.
    arnumothana satu.
     
  3. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,363
    นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน)

    =================

    ก็อธิมุติคือความเอนเอียงไหลไปของใจ ที่เป็นปกติของใจที่เป็นไปอย่างนั้น อันเครื่องมือที่จะเข้าไปรู้ อธิมุติ ได้ดีที่สุดจึงหมายถึง วิปัสสนานั่นหมายถึงการมีปัญญาวิมุตติหรือเจโตวิมุติเป็นเครื่องมือนั่นเองครับ สาธุ

    อธิมุติอันปราณีต หรืออันเป็นฝ่ายกุศล ก็อาศัยร่วมอยู่กับฝ่ายกุศล
    อธิมุติอันไม่ปราณีต หรืออันเป็นฝ่ายอกุศล ก็อาศัยร่วมอยู่กับฝ่ายอกุศล เป็นปกติธรรมดาเช่นนี้เสมอครับ
    เป็นธรมมดาของโลกธรรมสาธุ

     
  4. วงกลมจุด

    วงกลมจุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,305
    ค่าพลัง:
    +2,253
    มีสิ่งไหน ก็ให้สิ่งนั้น
    รู้สิ่งไหน ก็บอกสิ่งนั้น
    เข้าใจสิ่งไหน ก็ถนัดสิ่งนั้น
    ไม่ยึดสิ่งไหน ก็มีปัญญาในสิ่งนั้่น
     
  5. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,363
    =================

    อนุโมทนา สาธุครับ
     
  6. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    พระองค์สอนว่า อย่าเอาความฝันมาทำให้เป็นจริง ในแง่ของกิเลสกามราคะทั้งหลาย ถ้าเพื่อความหลุดพ้นแล้ว ไม่ควรสร้างทิฐิทั้งหลายขึ้น สิ่งที่คิดเอา เชื่อเพราะความคิดเชื่อเพราะการนึกล้วนเป็นทิฐิ มองสิ่งใดก็มองโดยละเอียดแยบคาย เพื่อให้สติปัญญาได้พิจารณาอย่างเต็มที่ หากไม่สามารถทำได้ก็กลับมาที่เดิมคือ ความเป็นกลางของจิต หรือ สมาธิ หรือ อะไรก็ตามที่ไม่เกี่ยวกับเรื่อง ฤทธิ์เดชอะไรนั้น แต่ถ้าอยากก็ปกติเพราะมันควรจะเป็นเช่นนั้น เสมอ นี่คือ สัจธรรม เรียกว่า โลกียะวิสัย มันไม่เคยหยุดนิ่งตั้งอยู่ได้ตลอดไป แต่สมาธิ สติ สามารถอยู่ได้และอยู่ได้ตลอด ไม่ว่าเราจะเรียกอย่างไร พุทธสติ ก็ดี มหาสติ ก็ดี ล้วนเป็นสิ่งเดียวกัน และอยู่ได้ทำให้อยู่ได้ตลอดเวลา ถ้าพิจารณาถึง ต่างกันกับโลกียะวิสัยโดยสิ้นเชิง มันไม่คงตัว มันเข้าๆออกๆ มันติดๆดับๆ มันมีบ้างไม่มีบ้าง สรุป มันชอบทำให้ไขว่แขวเสมอ และมันมีไว้เพื่อสอนให้เราเข้าใจสัจธรรมบางอย่าง ไม่ใช่มีไว้เพื่อยึดติดและทำได้เพียงแค่ลูบๆคลำ นี่ก็สัจธรรมเหมือนกัน มีก็ดีไม่มีก็ดี เพราะ ความเจริญของธรรมหรือความเสื่อมของธรรม ไม่ได้อาศัยสิ่งนั้นเลย อาศัย สติ ปัญญา สมาธิ เพื่อรู้จิตรู้ใจตนเองมากกว่า พระพุทธองค์กล่าวเรื่องอธิมุติเพื่อชี้ว่า ธรรมดาการอยู่ร่วมกันย่อมมีวาสนา มีความล้ายคลึงกัน ซึ่งย่อมแตกต่างกันไปตามวาระ ปัญหาคือ เมื่อไหร่เราทราบดีว่าเราคืออะไรควรปฏิบัติตนอย่างไร ก็ไม่ได้ต่างกับการอยู่ร่วมกับพระอริยะเจ้าหรือ ถ้าสูงสุดแล้ว ก็อยู่ร่วมกับพระศาสดา ถ้าหากเรายังไม่รู้ด้นเดาเอา ก็ตอบไม่ได้ว่าเราจะอยู่ร่วมกับอะไร เพราะนั่นเป็นเรื่องของเราเองที่เราต้องทำให้รู้ และไม่หลงไปกับกิเลสมากมายที่หลอกเรา โดยเฉพาะหลอกให้เป็นนั่นหลอกให้เป็นนี่ บางทีภาพที่เห็นและนิมิตต่างๆ มันก็เกิดขึ้นได้หากสติปัญญา มันมีน้อย มันก็มักถูกลากไปกับกิเลสที่มักหลอกให้เห็นว่า นี่ฉันเป็นผู้ยิ่งใหญ่มาเกิดนะ โอฉันมีบารมีมากเหลือเกิน บ้างอะไรๆ บ้าง ซึ่งนี่ล้วนเป็นกรรมของเขาทั้งหลาย มีอยู่ไม่กี่ทางที่ทำได้ คือ พิจารณา ความรู้ที่เกิดขึ้นนั้นอย่างถี่ถ้วนถึงองค์ประกอบ ทุกๆอณูจิตเลยทีเดียวว่า เหตุใดถึงเกิดขึ้นได้ เป็นเพราะกิเลสหรือเป็นเพราะอะไร หรือไม่งั้นก็เสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ผุ้เข้าถึงธรรมอย่างแจ่มแจ้ง มันก็เท่านี้แหละนะ
     
  7. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    ฝังใจอะไรมากไปอะป่าวคับ กับเจโตวิมุติ กับ สุขวิปัสโกวิมุติ อย่าไปฝังใจกับเรื่องไม่เป็นเรื่องมากคับ เขาจำแนกไว้เพียงเพื่อให้รู้คับว่ามีได้เป็นได้ ความสำคัญคือ ทั้งสองสิ่งล้วนเป็นกลางและบริสุทธิ์ ไม่ได้บัญญัติเพื่อให้ลุ่มหลง เพราะอาศัยเหตุวาสนาบารมีที่สั่งสมกันมาแตกต่างกัน จึงเกิดได้มีได้ทั้งสองสิ่ง มีก็ดีไม่มีก็ดี เพราะความสำคัญไม่อยู่ที่มีหรือไม่มี มีบางทีก็นานกว่าจะเข้าถึงพระสัทธรรม ไม่มียังดีกว่าไม่ติดค้างในสิ่งต่างๆเหล่านั้น
     
  8. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,363
    ความอยากนิพพานก็เป็นอย่างนี้แหละ

    พอมันไม่มีเราก็พยายามทำให้มันมี พอมันมีเราก็พยายามรักษาให้มันเกิดเป็นปรกติ พอมันเกิดเป็นปรกติเราก็ปล่อยวางมันลงไป ปล่อยมันไปแม้จะเป็นพระนิพพาน ไม่เหลืออะไร กลายเป็นความไม่มีอะไรครับ สาธุ
     
  9. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    อย่ารีบร้อนตัดรอนอย่างนั้นสิ กิเลสมันมีกลวิธีมากมายที่จะทำให้เราไขว่แขวไป เคยได้ยินคำว่าสับขาหลอกไหม ประมาณนั้นเลย มันมักจะทำให้เราเข้าใจว่า ต้องตัดตรงนี้ปล่อยว่าตรงนี้ นั่นแหละๆ นั่น นิพพานชัวร์ อันนี้ผมขอแนะนำว่า อย่าไปให้มันพาคิดว่าไม่มีอะไร หรืออย่าให้มันพาคิดไปว่า ว่างเปล่า กลายเป็นความไม่มี เพราะทั้งหมดมันมาจากการที่ กิเลสมันพาให้เราคิด เหมือนมันรู้ว่า อยากนิพพานนักใช่ไหม... ได้จัดให้ มันซ้อนอยู่มันซ่อนอยู่ แล้วมันก็เอามมาจัดฉากสับขาหลอก ให้หลงงมงาย เห็นว่านิพพานเป็นนั่นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้บ้าง เป็นเมืองบ้างเป็นหมู่เป็นพวกบ้าง สารพัดที่มันจะสับขาหลอกเราได้ อันนี้ผมไม่ฟันธงเพราะ การมีช่องว่างให้กิเลสเข้ามาสร้างความปั่นป่วนปิดกั้นความจริงนั้นมันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร บางทีไม่สนแล้วเรื่องนี่ มันก็เอาเรื่องอื่นมาอีก มันไม่จบง่ายๆหรอก เพียงแต่การที่เราพึงมีสติรู้ดูไปก่อนนั้นเพื่อที่จะหาทางหาโอกาสเข้าถึง วิถีแห่งกิเลสและทำลายลงพลันไง พูดมันง่ายนะ แต่ทำจริงค่อนข้างยากเพราะการจะเข้าถึงมันไม่ง่าย ทำไมเหรอ เพราะว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เราสนใจเรื่องนี้ จริงๆ เราพยายามพิจารณามัน สิ่งแรกที่จะเจอคือ ตัวอื่นที่ไม่ใช่เรื่องที่เราสนใจพิจารณาจะแวปเข้ามาทันที ถ้าเราสติดี ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเราสติไม่ดี ไม่ทันมัน เราก็หลงไปกับมันกว่าจะกลับมาได้ก็สักพักนึง นั่นแหละเขาเรียกว่า ฤทธิ์กลวิธีของกิเลส ทำให้เสียความตั้งใจ แต่หลังจากนี้ไม่รู้เพราะไม่เล่าจะดีกว่า เนื่องจาก รู้เพียงว่า กิเลสชอบสับขาหลอกเป็นประจำเช่นกัน แต่จิตที่ฝึกมามากหรือพอสมควร เช่น สามารถเข้าฌานได้ เป็นต้น ก็อาจดีหน่อย มันรู้ว่าถ้าไหลไปไม่ดีแน่ มันแวปเข้าฌาน เลย อันนี้รับรองไม่มีอะไรมา
    กวนใจได้เลย อันนี้ก็เรื่องจริง มันหลบเข้าไปในที่ๆ ไม่มีสิ่งใดรบกวนได้จึงเรียกว่า ฌาน อย่าไปสนเลย ทำสติให้กล้าดีกว่า เพราะมันคนละอันกันกับฌานที่ว่า นั่น ขณะพิจารณา ท่านจึงบอกว่า อย่าไปชี้นำมัน ให้มีสติรู้ตื่นพร้อมทั่ว แล้วพิจารณาไปเรื่อยๆ ให้สังเกตว่า จุดไหนที่ เมื่อความคิดจอนมาแล้วเราเห็น ขณะที่เรามีสติพร้อมทั้งหมดหรือ ทุกอายตนะรับรู้ได้แต่ไม่จับยึดไว้ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง อันนี้พระอริยะเจ้าสอนผมมา ผมรู้สึกดีกับสิ่งนี้จึงแนะนำต่อ และที่น่าแปลกคือ เมื่อไหร่ก็ตามที่มันไหลไปกับความคิดเกิดเป็นอารมณ์ยินดียินร้ายขึ้น ถ้าสติมันรับไม่ไหว หรือกลับมาไม่ได้ ข้อดีของคนที่ฝึกสมาธิ มีฌาน คือ มันจะหลบเข้าสู่ฌานทันที นี่เป็นระบบป้องกันอาการหลุดโลก หรือบางคนอาจเป็นบ้าได้ หลงเป็นนั่นเป็นนี่ ผมถึงเคยบอกว่า บางทีการฝึกสมาธิจนเป็นฌานก็มีประโยชน์นะ มีประโยชน์มากกว่าเรื่อง ฤทธิ์ที่คนเรานิยมกันอีก แต่ถ้่จะน้อมใจมาก็คงทำได้กระมังแต่ ไม่สน นี่จึงจะบอกว่า ลองฝึกค่อยๆ ฝึกดูสิ ถ้ามันสู้ไม่ได้จริง ก็ มาฝึกสมาธิทำให้เป็นฌาน จริงๆ ให้ได้ก่อน ปกติ ถ้าเป็นฌานจริงๆ มันจะลึกลงไปเรื่อยๆๆๆ แล้ว หายไปในที่สุด ไม่ติดค้างอยู่ที่ใด แต่เริ่มต้นมันก็ อาจจะยังไม่คุ้นชิน ตกใจกลัว ปลื้มใจ ใจพอง ตื่นเต้นไม่เคยเห็น ล้วนเป็นเหตุให้ค้างอยู่อย่างนั้น เขาถึงบอกว่า ทำบ่อยๆ เห็นบ่อย เดี้ยวก็ชิน พอชินแล้วมันไม่สนแล้ว อะไรเป็นอะไร มันนิ่งลึกๆๆลงไปเรื่อยๆ นั่นแหละเขาเรียกว่า ที่พักของจิตอย่างแท้จริง เอาไว้ใช้ตอน สติมันแพ้กิเลสราบคาบ เพื่อป้องกันเหตุอันไม่คาดฝัน เราเลยต้องฝึกสติสร้างสมาธิเข้าไว้ยังไงละท่าน...พอเข้าใจไหม
     
  10. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,363
    ก็เพราะกิเลสมันมีกลวิธีมากมายที่จะทำให้เราไขว่แขวไปนั่นเอง

    ดังนั้นหากผู้ใด มีดวงตาเห็นทางสว่าง อันเป็นหนทางคือมรรคผลอันถูกต้องดีงาม ประดุจผู้พบเห็นทางสายเอก อันเป็นทางสายหลักแล้ว ผู้นั้นย่อมเดินไปสู่เป้าหมายได้สำเร็จไม่เป็นอื่นครับ
     
  11. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,363
    ================

    สมาธิฌาณที่ใช้ในการเดินมรรค หรือเดินทางจึงอุปมาดั่งเช่นเสื้อเกราะที่สามารถป้องกันอันตรายได้ ควบคุมคุ้มกันได้

    สมาธิญาณ ที่ใช้ในการเดินมรรค จึงอุปมาดั่งเช่น พระขรรค์ที่ทั้งยาวและแหลมคม สามารถตัดทำลายหมู่มารได้ทั้งใกล้และไกลไม่ให้เหลือสิ้นซากหรือไม่ให้มาทำร้ายตนได้นั่นเองครับ สาธุ
     
  12. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    ผมไม่อาจบอกได้คั๊บ ว่าการเดินมรรคหรือเห็นทางสว่างของแต่ละคนเหมือนหรือต่างกัน ผมบอกได้เพียงว่า หากยังเห็นหรือเมื่อพิจารณาแล้วยังเห็นและเหตุของการเกิดขึ้นนั้นยังมี แปลว่า ยังไม่พบ (ไม่ใช่ไม่มี) แต่หากไม่พิจารณา ดีๆ เชื่อว่า ก็คงเป็นไปตามนั้น เพราะทางสายหลักมันเป็นทางที่แบบมาตรฐาน หรือ สแตนดาด ใครรู้ก็ได้แต่ใครเห็นได้หรือนั้นอีกเรื่องหนึ่ง การที่จะทำได้มันไม่ใช่ทำได้เพราะรู้จากตำราหรือตัวหนังสือ หรือเห็นเพียงความสว่างว่างอยู่แล้วจึงเข้าใจว่านั่นคือการเดินมรรค หรือ เรียกว่า มรรควิถี จิตหรือใจที่มีสติปัญญา พิจารณาเกิดวิปัสสนาญาณ อย่างแจ่มแจ้งในธรรม ไม่ใช่ สว่างแจ่มแจ้ง ด้วยอะไรก็ตาม ที่คิดขึ้นเพราะอำนาจอย่างอื่นที่ไม่ใช่อำนาจ ของการเข้าถึงพระสัทธรรมด้วยใจตน อย่างที่บอก ถ้ายังไม่เห็น ที่มาที่ไป การจรไปจรมา แล้วมันมาจากไหน อะไรเป็นต้นเหตุของการเกิดขึ้นมีได้ของ สภาวะนั้นๆ ยังไม่สามารถจะกล่าวได้ว่า เกิดมรรควิถี หรือเดินมรรค มันคนละอย่างกับการเห็นด้วยสติปัญญา นะคั๊บ ตรงนี้ต้องพิสูจน์ดูด้วยตนเองว่า จริงไหม อาทิเช่น มีอาการ เผลอขณะทำสิ่งใดก็ตาม หรือ .... อาจจะใจลอยไปไหนไกลๆๆ .... แล้วเรียก กลับมาๆๆๆ อะไรทำนองนั้น ถ้ายังมีก็ยังไม่ใช่ แต่ช่างเถอะเพราะสิ่งนั้นนานๆจะเห็น แต่ถ้าอยากเห็นจริงก็ลองนั่งเฉยๆ เปิดอายตนะรับรู้ให้หมด มีสติเฉพาะหน้า พิจารณาคือ สติรู้ตลอด แล้วจะเห็นว่า อะไรมันวิ่งเข้ามาในความคิดบ้าง ไม่ได้ไปห้ามให้มันคิดนะ ปล่อยปกติเพียงแต่ให้สติรู้ทั่วทุกอายตนะ ตาที่เคยเห็นก็ให้มันเห็น หูที่เคยได้ยินก็ให้มันได้ยิน กลิ่นที่มันเคยได้ก็ให้มันได้ รสสัมผัสที่รับรู้ก็ให้มันรับรู้ ผิวสัมผัสที่เคยรู้สึกก็ให้มันรู้สึก นั่งพิจารณาไป ถ้ายังมีสิ่งที่เรียกว่า การเกิดขึ้นภาพความคิดยังผุดอยู่แสดงว่า ยังไม่พบต้นตอของมันคั๊บ และมันก็ปกติคั๊บ ที่ยังไม่พบ ไม่ใช่ไปกดทับมันนะเห็นแต่ความว่างความสว่างแล้วบอกว่ามันไม่มี มันจะไปมีได้ยังไง ก็ไปทำให้มันไม่มีซะอย่างนั้น หนำซ้ำไม่ได้เกิดเพราะอำนาจของจิตเราอีก เป็นอำนาจของกิเลสสมาธิ มิจฉาสมาธิ ที่สร้างนิมิตนั้นๆขึ้นมากหลอกลวง มันจึงเห็นว่า ว่างไม่มีอะไรเลย โอนิพพาน ช่างสุขจริงหนอ ไม่เชื่อลองทำอย่างที่บอกดูสิ ถ้ายังมีอยู่กอนุโมทนา ถ้าไม่มีแล้ว ก็อนุโมทนา เหมือนกัน สรุปกล่าวมาถึงตอนนี้แล้ว มีแต่เพียงคำว่า
    อนุโมทนาสาธุ เจริญในธรรมนะคั๊บ
     
  13. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    อย่างที่บอก สมาธิฌาน ไม่ใช่สิ่งที่คุณเข้าใจ เพราะในความเป็นจริงมันไม่ใช่อย่างนั้นเลย และอีกอย่าง สมาธิญาณ มันคือ ผลขอสมาธิที่จะใช้คุ้มครองจิต มันไม่ได้มีไว้เพื่อประหัสประหารกิเลสเลย หมู่มารและหมู่กิเลสไม่ได้ถูกทำลายเพราะสมาธิคั๊บ และสมาธิเป็นเพียงเครื่องประกอบหนึ่งของการเกิดมรรควิถี แต่ นะมีแต่ จะต้องเข้าถึงสิ่งที่ควรรู้เสียก่อน มันจึงจะรู้ว่า จะใช้สำหรับอะไร แต่ไม่ใช่กำจัดกิเลสแน่นอนคั๊บ เสื้อเกราะก็ใช่ซึ่งนั่นคือหน้าที่ แต่ถ้าหากอยากรู้อยากเห็นจริงๆ และเพื่อจะเข้าถึง สภาพธรรมตามความเป็นจริงโดยไม่มีใครเป็นผู้กำหนด ก็ต้องลองดู เพียงแค่ชั่ว เสี้ยววินาทีก็ยังดี จะได้รู้ว่า แท้จริงแล้วอะไรที่ยังคงซ่อนอยู่บ้าง หรือมันมีอยู่มากมาย โดยที่เราไม่รู้และไม่เคยรู้มากก่อน กิเลสทั้งหลาย ที่จรมา.....
    อนุโมทนาสาธุอีกครั้ง ผมคงไม่มีอะไรจะมาอธิบายแล้วถือว่าแชร์ประสบการณ์ทางธรรมแล้วกันคั๊บ
     
  14. วงกลมจุด

    วงกลมจุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,305
    ค่าพลัง:
    +2,253
    ตอบได้ดีมากเลยนะจ๊ะ เป็นทั้งเสื้อเกราะ เป็นทั้งพระขรรค์แก้ว อุปมาดั่ง แสงสว่างที่มีเพื่อให้ความมืดหายไป แต่ความมืดหาได้หายไปจริงๆ หรือถูกทำลายไม่ นั่นเพราะ ถ้าไม่มีความมืด แสงสว่างจะอาศัยอะไร แสดงตัวตนได้ และถ้าไม่มีแสงสว่าง อาจจะไม่มีใครรู้ว่าความมืดคืออะไร ก็เป็นได้ นะจ๊ะ
     
  15. วงกลมจุด

    วงกลมจุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,305
    ค่าพลัง:
    +2,253
    เสื้อเกราะ อุปมาดั่ง เสบียงที่เติมพลังได้ตลอด(คือความไม่มีอัตตาตัวตน คือความจริง)
    พระขรรค์ อุปมาดั่ง ปัญญาที่ใช้สะสางปัญหาหรือความไม่รู้ ให้ หายไป นะจ๊ะ(ทำลายทุกอัตตา ทำลายทุกความไม่จริง)
    นะจ๊ะๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2013
  16. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,363
    ================

    เพื่อเป็นธรรมทานรบกวนช่วยอธิบายให้หน่อยว่า
    1สมาธิฌาณคืออะไรเป็นอย่างไร
    2สมาธิญาณคืออะไรเป็นอย่างไร
    3แล้วสมาธิฌาณ และ สมาธิญาณ แตกต่างกันอย่างไร และเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร
    4ความหลุดพ้นทุกข์ อะไรคือเหตุปัจจัยที่แท้จริงระหว่างสมาธิฌาณและสมาธิญาณ ครับ สาธุ
     
  17. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,363
    ===================

    ขออนุโมทนาครับ ปัญญาท่านช่างเฉียบคมยิ่งนักครับ สาธุ
     
  18. วงกลมจุด

    วงกลมจุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,305
    ค่าพลัง:
    +2,253
    ไม่เอาน่า ผมก็ โม้ๆ ไป วันวัน เท่านั้นเองนะจ๊ะ
    ไม่ได้ยกพระสูตร อะไรมาได้เหมือนคนอื่น ผมจะมีปัญญาดั่งที่ท่านว่าได้ยังไงจ๊ะ ผมจำเขามาพูด เท่านั้นเอง นะจ๊ะ
     
  19. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    สำหรับผมปัญญาไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ และไม่ได้เกิดจากการฟังและการอ่านและโดยเฉพาะการคิดแบบด้นเดาเอาเองว่านี่คือ ปัญญา ในทางที่พระศาสดาทรงสอน เพราะว่า ปัญญา มันมาทีหลังสิ่งหนึ่งเสมอ ถ้ายังไม่มีสิ่งนั้น ผมถึงบอกว่าให้ท่านๆทั้งหลายลองทำอย่างที่บอกดูสิ ว่า ขณะที่ เราทรงสภาวะรู้ในทุกอายตนะ ไม่ให้เคลื่อนไหว แต่ต้องรู้ชัดนะ ว่าอะไรมันจะเกิดขึ้นบ้าง ถ้าเห็นจริงก็ควรต้องเห็นบางอย่างก่อน ไม่ใช่อยู่ๆมาบอกว่า เกิดปัญญา หรือ โอ ปัญญาเกิดแล้ว มันจะเกิดแบบลอยๆได้ยังไง นี่เป็นศาสนาแห่งการรู้แจ้ง นะไม่ใช่ศาสนาแห่งการท่องจำหรือเอาคำในตำรา มาเปิดไปเปิดมา แล้วหาว่าคำนั้นคืออะไร คำนี้หมายถึงอะไร ไม่ว่าจะหมายถึงอะไร ก็หาอ่านเอาได้ และใช้พิจารณาได้ ที่ผ่านมาผมก็ใบ้ให้ตั้งมากมาย เกือบไปแล้วคือ ถ้าโพสต์เมื่อกี้ออกไป มีเรื่องไม่ดีอีกเป็นแน่ เพราะเมื่อกี่ผมพยายามจะเอาและชี้ความหมายที่เป็น ข้อสงสัยให้เห็น ระหว่างสมาธิฌาน กับสมาธิญาณ สำหรับผม เห็นว่า ส่วนหนึ่งเป็น ผลที่ได้ ส่วนหนึ่ง เป็น การทำให้ได้ด้วยเหตุปัจจัยอะไรบ้าง ส่วนอันไหนขอให้คุณและท่านทั้งหลาย พึงปฏิบัติเอาและขอความกรุณา พิจารณาด้วยสติ เพราะมีอยู่อันหนึ่ง ที่เน้นว่าสติ สำคัญมาก ส่วนทำไมก็ลองพิจารณาดูว่า ทำไม อย่างที่ผมให้ลองดู ปัญญา ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ อย่างแน่นอน อย่างที่คุณทั้งสองเป็น เขาเรียกว่า ปัญญา ที่เกิดขึ้นลอยๆ ไม่มีที่มาที่ไป ทางผมเขาเรียกว่า กิเลสหลอกลวงไว้ อย่ากังวลเลยว่า ทำไมผมถึงไม่พูดสิ่งนั้น ถึงผมพูดไปก็ไม่ต่างกับสิ่งที่หลายๆคน ที่เข้าถึงจริงทราบ หรือ เปิดอ่านตำราเอาก็เห็นว่าจะรู้ได้ แต่เนื่องด้วย มันเป็นเรื่องไม่ควรจะพูดเท่าไหร่ ผมจึงสรุปให้เพียงเท่านั้น สั้นๆก็พอ คนที่ควรรู้ผลนั้นคือคนที่พึงปฏิบัติและพิจารณาเท่านั้น และที่สำคัญ บางส่วนผมก็กล่าวไว้ในตอนต้นก่อนหน้านี้แล้ว เพียงแต่ คุณตั้งคำถามโดยยังไม่ได้อ่านทั้งหมดเท่านั้น
    อนุโมทนา นะคั๊บ
     
  20. วงกลมจุด

    วงกลมจุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,305
    ค่าพลัง:
    +2,253
    จ้า ผมคงไม่เคยปฏิบัตินะจ๊ะ ผมคงไม่เคยพิจารณามาหรอกนะจ๊ะ ผมคงไม่เคยวิปัสนามาก่อนหรอกนะจ๊ะ ผมคงไม่เคยนั่งสมาธิมาหรอกนะจ๊ะ ทั้งหมด ผมก็ไม่แน่ใจสักเท่าไหร่ นะจ๊ะ แต่ที่ผมแน่ใจอยู่อย่างหนึ่งก็คือ ผมไม่ได้ อ่านตำรา อ่านพระไตรปิฏก มากเหมือนท่านกระมังนะจ๊ะ เล่มเดียวผมก็คง ไม่เคยอ่านจนจบกระมัง นะจ๊ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...