หลังการพิจารณาธรรมหรือวิปัสสนา ไม่ทราบว่าท่านพิจารณากันยังงัยค่ะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อาวัณ, 12 ตุลาคม 2016.

  1. อาวัณ

    อาวัณ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +22
    .....พอดีฟังครูบาอาจารย์ท่านเทศนาหลายท่าน ท่านให้พิจารณาธรรมตามความเป็นจริง ให้เห็นชัดแจ้งในธรรมแต่ครูบาอาจารย์บางองค์แสดงธรรมแบบที่เรียก ว่าฟังดูยาก เช่น ให้เห็นนิมิตบาง เห็นตัวกิเลสบาง พิจารณาให้แตกกระจาย หรือแม้แต่ถึงขนาดให้เอาสติธรรมนี้ จ่อเข้าไปฟาดฟันกิเลสขาดสะบั้นไปต่อหน้า ต่อตา อะไรเหล่านี้ ซึ่งดิฉันฟังแล้วรู้สึกยากและไม่เข้าใจว่า ต้องพิจารณายังงัยเอาญาณ ระดับไหนอะไรแบบนี้ละคะ

    พอดีอายุจะเข้าวัยเกษียรแล้วแต่พึ่งจะมารองปฎิบัติศึกษา และฟังธรรมอย่างจริงจัง เลยไม่สามารถเข้าใจแนวปฎิบัติได้ จึงมาขอความรู้ จากท่านสมาชิก ช่วยอธิบายวิธีพิจารณาให้ดิฉันเป็นแนวทางปฎิบัติที่ถูกต้องด้วยคะ ขอบคุณมากค่ะ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ต้องบอกด้วยครับว่า

    ใช้กรรมฐานใด ที่ถนัดที่สุด เวลาเหนกายใจ
    ไม่เที่ยง เปนทุกข์ ไม่ใช่ตน ของตน

    เอาที่ตนทำแล้วจิตเกิดความสุขที่ได้ประกอบ

    จึงจะบอกได้ว่า ควรใช้ พยัญชนะ บัญญัติ
    อุบายคำว่าอะไรในการ ยกจิตขึ้นวิปัสสนา
     
  3. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    พิจารณาอยู่กับปัจจุบันนั่นหละครับ
    เพื่อให้จิตเค้าเห็นและเกิดการยอมรับ
    ตามความเป็นจริงนั่นเองครับ..
    ยกตัวอย่างนะครับ เช่น เมื่อมือไปโดนน้ำร้อน เราก็ต้องรู้สึกร้อน
    ไม่ว่าเราจะเกิดเป็นชนชาติเชื้อชาติใด ก็จะรู้สึกว่าร้อนเหมือนกัน
    แม้ว่าจะพูดด้วยภาษาที่แตกต่างกันก็ตามครับ
    และจะไปบังคับหรือพยายามให้มันหายร้อน
    เลย ณ เวลานั้นก็ไม่ได้ครับ

    หรือ เพื่อร่วมงานนิสัยแย่ๆขี้อิจฉา
    ชอบนินทาว่าร้าย ชอบยุ่งเรื่องส่วนตัว
    เรื่องภายในครอบครัวคนอื่นๆ ชอบแอบแทงข้างหลัง
    ชอบยกหางตัวเอง เอาดีเข้าตัว
    เอาชั่วเข้าคนอื่นๆ ชอบเสนอหน้าเอาผลงาน
    งานไม่ค่อยทำ ไม่ค่อยมีผลงาน
    ใช้แต่ปากทำงาน แต่ก้าวหน้าเหลือเกิน

    เราก็แค่รู้ว่า คนนี้คนนั้น นิสัยอย่างโน้นนี่นั้น
    และในโลกนี้ มันจะมีบุคคลแบบนี้เป็นปกติ
    ซึ่งเราก็ไม่สามารถที่จะไปเปลี่ยนแปลง
    หรือ ไม่จำเป็นจะต้อง
    ไปพยายามเปลี่ยนแปลงนิสัยเค้าอย่างนี้เป็นต้น


    หรือ ร่างกายที่แข็งแรงเมื่อก่อน เด่วนี้จะเดินก็ไม่คล่อง
    แขนก็ไม่ค่อยมีแรงเหมือนเมื่อก่อน ประมาณนี้

    คือตัวอย่างรวมๆแล้วก็คือให้จิตเห็นว่าธรรมชาติของมัน
    เป็นอย่างนี้ และยอมรับมันซะ
    และอยู่ร่วมกับมันได้อย่างแยบยลนั่นหละครับ

    จิตมันถึงจะคลายจากความยึดมั่นถือมั่นจาก
    การพยายามที่จะต้องทำให้หายร้อนได้เลย
    คลายจากความยึดมั่นถือมั่นว่าคนโน้นนั่นนี่
    นิสัยจะต้องเป็นอย่างที่เราคิด
    คลายจากความยึดมั่นถือมั่นว่า ร่างกายเราน่าจะ
    เป็นปกติเหมือนสมัยก่อนครับ

    ถ้าจิตยอมรับธรรมชาติตรงนี้ได้
    ต่อไปมันก็จะรู้เองว่า การติดลาภ ยศ สุข สรรเสริญ
    มันไม่มีอะไรแน่นอน มันมีขึ้นมีลง
    มันไม่ได้ทำให้จิตคลายตัว สบายตัว เบาตัว

    นี่คือ การรู้เห็นตามความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน
    ด้วยสภาวะที่เป็นกลางนั่นหละครับ
    ถึงจะเกิดเป็นปัญญาทางธรรมขึ้นมาจน
    จิตคลายความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องต่างๆได้...

    ตำรา คำสอน มีไว้เป็นแนวทางเป็นรูปธรรมมองเห็นได้ อ่านได้
    แต่ไปยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ครับ
    เพราะถ้ายึดก็คือ ผิดตั้งแต่ไปยึดแล้วครับ
    และเราจะมองอย่างอื่นๆที่เห็นต่างผิดหมด และจิตจะเกิดการ
    แบ่งแยกได้อย่างที่เราคาดไม่ถึง ถ้าไม่เป็นอย่างตำราที่เรายึดครับ
    ดังนั้นควรมีความเป็นกลางตรงนี้เองไว้ร่วมด้วยครับ


    และถ้าไปยึดแม้ถูกก็จะถูกในระดับของสมมุติเท่านั้น
    แต่การปฏิบัติเราว่ากันในเรื่องของส่วนนามธรรม
    คลายส่วนนามธรรมต่างๆตรงนี้ ที่จะเผลอไปยึด
    สิ่งต่างๆจากภายนอกเข้ามาจนกลายเป็นกิเลส
    กลายเป็นตัวเอง ซึ่งจิตต้องเห็นก่อน รู้เท่าทันก่อน
    แล้วมารู้เห็นตามเป็นจริง ณ สภาวะปัจจุบัน
    มันถึงจะค่อยๆคลายได้เองตามลำดับในเวลาต่อมาครับ

    ปล ''ดีอย่างเดียวเลย หรือ ไม่ดีอย่างเดียวเลย
    จิตจะไม่เห็นความแตกต่างครับ
    ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่มีดีอย่างเดียวและไม่มีเลวอย่างเดียวครับ....
    และไม่มีใครเลวกว่าใคร
    และไม่มีใครดีกว่าใคร
    ที่ดีในเรื่องนี้ก็เลวในเรื่องนั้น
    ที่เลวในเรื่องนั้นก็ดีในเรื่องโน้น
    ต้องไม่เอาทั้งเลวทั้งดี...
    ถ้ามันจะดีก็ให้มันดีขึ้นได้ของมันเองครับ'' (^_^)
    พอเข้าใจนัยยะข้างบนนี้ได้นะครับ
    ให้จิตเข้าใจธรรมชาติเป็นไปโดยธรรมชาติอย่างนี้นะครับ
    ค่อยๆเป็นค่อยๆไปครับ (^_^)
     
  4. ชายหนุ่ม

    ชายหนุ่ม สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2016
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +3
    คือแบบนี้ครับ คุณป้า ทีอาจารย์ ครูบาอาจารย์ มีแนวทางการปฎิธรรม

    หลากหลาย ก็เนื่องจากว่า จริต หรือนิสัย คนเรา ไม่เหมือนกัน

    บางคนชอบกินเค็ม บางคนหนักไปทางหวาน บางคนกินขมๆบอกชอบ.

    มากมาย

    ก็ต้องมาดูที่ ตัวเราว่า ฟํงธรรมแนวไหน แล้วรู้สึกว่า ทำได้ง่าย มีความพอใจ

    หรือฉันทะ เราก็ยึกแนวทางนั้นอะครับ

    บางคนชอบเจริญสติ ทำอะไรก็ให้มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม

    บางคนชอบ พิจรณา ความไม่เทียง ของโลก ยึดมั้นถือมั่นอะไรไม่ได้

    บงาคนก็เน้น จับลมเข้าออก ให้เป็นสมาธิ เอาเป็นกำลังในการ พิจราณา

    ทุกข์

    อนิจจัง คือความไม่เที่ยงของโลก

    ทุกขัง พอเราเข้าไปฝืน อยากไห้มันเป็นอยู่แบบนั้น ทุกข์เลย

    เพราะไปฝืนกฏธรรมชาติ

    สุดท้ายอนันตา มันว่างเปล่า มันเป็นโลกสมมติ ดูเหมืนอว่าจะเป็นจริง เป้นจัง

    แต่สุดท้าย ตายเรียบ

    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า มนุษย์ เกิดเท่าไหร่ ตายเท่านั้น

    ยึดมั้น ถือมั่น อะไรไม่ได้เลย โลกใบนี้

    ปล่อย ละ วาง
     
  5. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ถือศิล
    ปฎิบัติธรรม
    สติปัฎฐานน่าจะเหมาะพวกเหตุและผล
    วิปัสสนา
    ฟาดฟันกับอารมณ์ตัวเองคะ
    พิจารณา
    อย่าไปคิดหาเลยยานเยินอะไรนั้น
    เอาเหตุและผลไม่หน้าไม่หลัง
    ดูอารมณ์ณปัจุบันเป็นที่ต้อง
    โกรธก็ตามดูอารมณ์
    รักก็ตามดูอารมณ์
    อยู่ในจิตปัจจุบัน
    นั่งตรงนี้
    อยู่ตรงนี้
    เห็นตัวเองคือสุดยอดแล้วกับการเห็นคะ
     
  6. zhayun

    zhayun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +425
    เจ้าของกระทู้ เพิ่งเริ่มปฏิบัติใหม่ ก็ค่อยๆปฏิบัติไปทีละขั้นดีกว่าครับ

    อย่าเพิ่งไปเร่งรีบว่าจะต้องทำให้ได้อย่างที่ฟังมา เพราะมันจะเครียดจนเกินไป

    ท่านลองฟังพระสงฆ์ที่เทศน์สอนหลายๆองค์ ว่าท่านชอบฟังพระองค์ไหนเทศน์สอนเป็นพิเศษ

    แล้วก็ลองเอามาปฏิบัติดู ถ้าพระองค์ไหนเทศน์ได้ตรงใจท่าน และเมื่อปฏฺิบัติไปแล้วผลการปฏิบัติของท่านก้าวหน้า ท่านก็เอาคำสอนของพระองค์นั้นมาเป็นหลักในการปฏิบัติทุกๆวัน



    โดยส่วนตัวผมชอบฟังคำสอน ที่หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง เทศน์สอน เป็นพิเศษ

    ถ้าท่านสนใจ ก็ลองหาอ่านหาฟังดูได้ครับ

    พระที่ดีๆ มีเยอะ อย่างเช่น

    พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

    หลวงพ่อเฟื่อง โชติโก

    ทั้งหมดที่กล่าวมาก็เป็น พระอริยะเจ้าทั้งสิ้น และก็มีพระอริยะสงฆ์ดีๆอีกมาก

    ท่านก็ลองหาอ่านหาฟังดูได้ครับ



    ผมขอยก คำสอนที่ หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง แนะนำ ดังนี้

    เวลาจะปฏิบัติ ท่านแนะนำให้เริ่ม ดังนี้

    1. อย่าไปสนใจในเรื่องของผู้อื่น คนอื่นจะเป็นอย่างไรชั่งเขา ให้เราสนใจแต่การปฏิบัติอย่างเดียว

    2. ให้ระลึกถึง ศีล ที่รักษา จะเป็น ศีล 5 หรือ ศีล 8 ก็ได้
    ว่าเราจะรักษาศีล เช่น ศีล5
    เราจะไม่ฆ่าสัตว์
    เราจะไม่ลักทรัพย์
    เราจะไม่ประพฤติผิดในกาม
    เราจะไม่พูดปด ไม่พูดสอดเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดคำหยาบ
    เราจะไม่ดื่มสุรา และของมึนเมา

    โดยศึลทั้ง 5 ข้อ เราจะไม่ทำด้วยตัวเอง เราจะไม่ยุยงให้ผู้อื่นทำ และเราจะไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นทำแล้ว

    3. ให้ระลึก ว่า เราจะ ระงับ นิวรณ์
    นิวรณ์ คือ ตัวกั้นความดี คือ ตัวที่ทำปัญญาให้ทราม
    นิวรณ์ มี 5 ข้อ
    1. ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
    2. ความโกรธ พยาบาท
    3. ความง่วง
    4. ความฟุ้งซ่าน
    5. ความสงสัยในผลการปฏิบัติ

    วิธีระงับนิวรณ์อย่างง่ายที่สุด ก็คือ ไม่ต้องไปสนใจมัน สนใจในการภาวนาอย่างเดียว

    4. แผ่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ไปทั้ง 4 ทิศ
    ว่าเราจะไม่เป็นศัตรู กับผู้ใด ทั้งหมด



    จากนั้นก็ให้เริ่ม พิจารณาใน วิปัสสนา ก่อน ว่า ร่างกายที่เราอาศัยอยู่
    มันไม่เที่ยง มันสกปรก มันเป็นทุกข์ และสุดท้ายร่างกายนี้ก็ต้องสลายตัว เป็นอนัตตาไปในที่สุด

    ให้ท่านพิจารณาว่า ตั้งแต่เกิดมาแล้วจำความได้ ร่างกายนี้มันเที่ยงไหม
    ถ้าร่างกายนี้เที่ยงเกิดมาเป็นทารกยังไง ตอนนี้ก็ต้องเป็นทารกอย่างนั้น

    แต่นี่ ความเป็นทารก ความเป็นเด็ก ความเป็นวัยรุ่น ความเป็นสาว มันก็สลายตัวไปหมดแล้ว
    ก็เพราะร่างกายนี้มันไม่เที่ยง และร่างกายนี้ก็แก่แล้ว ไม่นานร่างกายนี้ก็ต้องตายในที่สุด แล้วเรายังจะพอใจในร่างกายนี้อยู่หรือ



    และร่างกายนี้มันสกปรกไหม ที่ต้องล้างหน้า ที่ต้องแปรงฟัน ที่ต้องอาบน้ำ
    ก็เพราะร่างกายนี้มันสกปรก

    เวลาฉี่ เวลาขี้ เวลาเม็นมา เหม็นไหม สกปรกไหม
    แล้วสิ่งสกปรกออกมาจากร่างกายนี้ ก็เพราะร่างกายนี้มันสกปรกมาก
    แล้วเรายังจะพอใจในร่างกายที่สกปรกนี้อีกไหม



    แล้วร่างกายนี้เป็นทุกข์ไหม เวลาหิว เวลาปวดฉี่ เวลาปวดขี้ เวลาป่วย อากาศร้อนไป อากาศเย็นไป เป็นทุกข์ไหม
    แล้วเรายังจะพอใจในร่างกายที่เต็มไปด้วยทุกข์แบบนี้อีกหรือ



    สุดท้ายร่างกายนี้ก็ต้องตาย เป็นศพ และสลายตัวไปในที่สุด
    ส่วนที่เป็นธาตุลม ก็ออกไปรวมกับธาตุลม
    ส่วนที่เป็นธาตุน้ำ ก็ค่อยๆระเหยไปรวมกับธาตุน้ำ
    ส่วนที่เป็นธาตุไฟ ก็ออกไปรวมกับธาตุไฟ
    ส่วนที่เป็นธาตุดิน ก็พังและค่อยๆสลายตัวอยู่ที่ตรงนั้น



    ก็เพราะว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในกายนี้ กายนี้ไม่มีในเรา
    เราคือจิต คือธาตุรู้ ที่เรียกว่า อทิสมานกาย ที่มาอาศัยในร่างกายนี้ แค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น

    ร่างกายนี้เปรียบเหมือนบ้านเช่าที่เรามาอาศัยแค่เพียงชั่วตราว
    เมื่อร่างกายนี้พัง เราก็ต้องออกจากกายนี้ เพราะกายนี้ไม่ใช่ของเรา

    ถ้าหากร่างกายนี้พังเมื่อไร เราก็ไม่ขอเกิดอีก เพราะความเกิดมีแต่ความทุกข์
    เราขอเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ถ้าร่างกายพังในวันนี้ เราก็ขอเข้าพระนิพพานเท่านั้น



    จากนั้นก็ ภาวนาใน สมถะ จะเป็นรู้ลมเข้าออกก็ได้ หรือภาวนาพุทโธพร้อมระลึกลมเข้าออกก็ได้
    หรือจะภาวนาอย่างไรก็ได้ที่ท่านพอใจ


    และทำอย่างนี้สลับกันไป พิจารณา ถ้าฟุ้งซ่าน ก็ไปจับลม
    จับลมแล้วจิตอยากคิด ก็ให้พิจารณาไป ทำอย่างนี้สลับกันไปจนกว่าจะหมดเวลาที่เราตั้งไว้

    การตั้งเวลาไว้ ก็ไม่ต้องไปบังคับว่าจะต้อง 30นาที หรือ 1 ชั่วโมง
    เพราะนั่นไว้สำหรับผู้ทรงฌาน

    การตั้งเวลา ก็เอาเวลาที่ท่านพอใจ เช่นทำๆไป เกิดฟุ้งซ่านมากๆ ก็เลิก
    ไปพักให้หายฟุ้งก่อน แล้วก็ปฏิบัติใหม่

    หรือกำหนดรู้ความฟุ้ง มันอยากจะคิดอะไรก็ปล่อย เราก็กำหนดรู้ไป
    หลวงพ่อท่านบอกไม่เกินครึ่งชั่วโมง จิตจะหายฟุ้งเอง แล้วจิตจะเป็นสมาธิมากขึ้น



    นี่ก็เป็นคำสอนที่ พลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง เทศน์สอนครับ

    เจ้าของกระทู้ก็ค่อยๆ ปฏิบัติให้ครบ ทั้ง ทาน ศีล สมาธิ และวิปัสสนา นะครับ

    ทำไปทุกๆวัน ทำวันละนิด วันละหน่อย เดี๋ยวสักวันก็เต็มเองครับ
     
  7. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,689
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    ตามใน link ข้างล่างได้เลยครับพี่อาวัณ บทที่ 10 วิปัสสนากรรมฐาน download บทนี้มาอ่านได้เลยครับ ถ้าจะให้ดีก็อ่านทั้ง 10 บทเลยจะดีมาก ๆ เพราะทั้ง 10 บทนี้ เป็นแก่นหลักของธรรมะแล้วครับ ตามนี้ครับ ขอให้โชคดีครับ อนุโมทนาครับ

    http://palungjit.org/threads/downlo...ียนดีมาก-ๆ-เป็นแก่นหลักของธรรมะโดยตรง.561649/
     
  8. อาวัณ

    อาวัณ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +22
    กราบขอบพระคุณในความกรุณา ของทุกๆท่านนะคะ ดิฉันอ่านทุกๆโพสที่เพื่อนสมาชิกได้โพสกัน รู้สึกว่าแนวทางที่เพื่อนๆสมาชิกแนะนำจะเป็นไปในแนวทางเหมือนกันหมด(ในเรื่องการฟังธรรมพิจารณาธรรม) เพียงแต่สำนวนการใช่ภาษาอาจจะแตกต่างกันบางแต่โดยสรุป ก็คือแนวทางเดี่ยวกันทั้งสิ้น เท่าที่ดิฉันอ่านและได้คิดตามดู

    ขอบพระคุณและอนุโมทนาอีกครั้งนะคะ สำหรับทุกๆท่าน หน้าภาคภูมิใจนะคะ ที่เว็ปพลังจิตเป็นแหล่งความรู้สำหรับผู้แสวงหาโอกาสทางธรรม ทั้งเนื้อหาและผู้รู้ พร้อมจะตอบและให้ความรู้เสมอ....

    ดิฉันเคยอ่านหลายกระทู้เพื่อศึกษาทั้งที่สมาชิกโพสเนื้อหา หรือ ตั้งกระทู้ถาม(แต่ดิฉันไม่เคยแสดงความคิดเห็นด้วยเพราะไม่มีความรู้ทางธรรมเลย เลยได้แต่อ่าน) แม้ว่าหลายๆกระทู้จะมีการถกเถียงกันบาง แต่ก็พยามอ่านเหมือนกันว่าสุดท้ายจะจบที่อะไร(ซึ่งบางกระทู้ก็ไม่มีบทสรุปเลย) แต่ก็ดีคะ บางที่เล็กๆน้อยๆก็เป็นความรู้ได้...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2016
  9. Silverwind

    Silverwind สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2016
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +20
    สำนวนการตอบแบบนี้.. พี่สามารถเรียนรู้ธรรมะได้ทุกที่ทุกเวลาครับ
     
  10. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ เป็นคำถามที่ดีและง่าย ๆ นะ แต่คำตอบนี่ มันจะไม่ง่ายเอาหนะซิ

    +++ คำว่า "ธรรม" หลัก ๆ ก็คือ "สัจจธรรม" ซึ่งก็คือ "ความเป็นจริง" นั่นเอง

    +++ ตรงนี้ "สอดคล้อง" กันทั้งหมดกับ ประโยคต่อไปข้างล่างนี้

    +++ ปัญหาของคุณ อยู่ที่คำว่า "พิจารณา" นั่นเอง

    +++ ในทาง "ปฏิบัติด้วยการ เดินจิต" คำว่า "พิจารณา" นั้นเป็น "ผลลัพธ์" สุดท้าย ก่อนถึง "วิมังสา" ในอิทธิบาท 4

    +++ ให้คุณลองตรวจสอบดูว่า "อาการที่จิตทำงาน" เป็นแบบนี้คือ "เพ่ง พิศ พินิจ พิจารณา" หรือไม่

    +++ 1. เพ่ง = เพ่งดู อันเป็นอาการ "สนใจ" (สภาวะธรรมหนึ่งใดก็ได้) เป็นอาการของ "ฉันทะ"
    +++ 2. พิศ = แลดูโดยถี่ถ้วน เป็นอาการที่ "จิตทำการสแกน" (ต่อสภาวะนั้น ๆ) จัดเป็น "วิตก-วิจารณ์ ของ ฌาน 1" เป็นอาการของ "วิริยะ"
    +++ 3. พินิจ = ตรวจตราอย่างตั้งใจ "จิตตัดสภาวะรอบข้างออก จดจ่อในสภาวะเดียว" จัดเป็น "อัปณาสมาธิ อารมณ์เดียว" เป็นอาการของ "จิตตะ"
    +++ 4. พิจารณา = ทบทวนกระบวนการจาก 1-3 ใหม่ จนกว่าจะ "รู้แจ้ง สิ้นสงสัย" ตรงนี้เป็น "วิมังสา"

    +++ ดังนั้นคำว่า "พิจารณา" ของครูบาอาจารย์นั้น ท่านชี้มาที่ "อิทธิบาท 4" นั่นเอง

    +++ ตรงนี้ท่าน "ชี้แจง" มาในข้อที่ 4 "พิจารณาให้แตกกระจาย" คือ พิจารณา จนกว่าจะ "รู้แจ้ง สิ้นสงสัย" จนกลายเป็น "วิมังสา" นั่นเอง

    +++ ตรงนี้เป็น "สำนวนการบรรยายของท่าน" แต่ อาการฟาดฟันจริง ๆ นั้น อยู่ในข้อ 1-3

    +++ ส่วนที่จะเข้าไปฟาดฟัน "กิเลส" นั้น ต้องฝึกจนถึง "จิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน" เสียก่อนจึงเห็นได้

    +++ และคำว่า กิเลส ในที่นี้หมาบถึง "สิ่งลวงจิต หรือ สิ่งที่ปิดบังจิตอยู่" จึงทำให้ "เห็นความเป็นจริง ไม่ได้"

    +++ นั่นแหละ คือ "ฟาดฟันกับ สิ่งที่ปิดบัง ความเป็นจริง (สัจจธรรม)" นั่นเอง

    +++ สำหรับคำว่า "ญาณ" ให้วางเอาไว้ก่อน เพราะ "ญาณ เป็นผลลัพธ์ จากการเอาสิ่งที่ปิดบังความเป็นจริง ออกไปได้แล้ว"

    +++ อาการตรงนี้จะ "ไม่มี" อาการ เพ่ง พิศ พินิจ ปนอยู่อีกต่อไป มันจะกลายไปเป็น "อยู่กับรู้" (ญาณ) ที่หลวงปู่ดูลย์ เคยกล่าวเอาไว้แล้ว นั่นเอง

    +++ อธิบาย "วิธี" พิจารณา ตามที่ "คุณขอมา" ไว้แล้ว นะครับ
     
  11. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    สั้นๆ ก็ใช้ แค่ระดับ สมาธิ จิตที่เป็นสมาธิ เป็น พื้นฐาน ครับ แล้ว วิปัสสนา ในสมาธิ นั้นเอง ไม่อย่างนั้น ถ้าไม่มีสมาธิเป็นพื้นฐานของจิต ก็จะเป็น วิปัสสนึก นึกเอาเอง

    ต้องมีฐาน ฐานของจิตที่เป็นสมาธิ เป็นฐานของการปฏิบัติ ครับ กรรมฐาน การกระทำที่เป็นฐาน ของ จิต ให้จิตเป็นสมาธิ ครับ

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2016
  12. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    มาให้กำลังใจครับ...
     
  13. ไม่มีเพศ

    ไม่มีเพศ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    134
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +66
    ท่านเศ้ากับท่านซาพูดมีเหตุผล ท่านชายหนุ่มด้วย ขออนุโมทนาคับ
     
  14. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ควรทำจิตให้สงบเป็นสมาธิก่อนอันดับแรกนะคับ ธรรมะที่นำมาพิจารณา ด้วยเหตุด้วยผล หรือพิจารณาธรรมอันไหนสักข้อให้เกิดปัญญา หรือพิจารณาขันธ์5ที่เป็นสังขารธรรม จนรู้จริงว่ามันไม่เที่ยงนั้น ต้องอาศัยความสงบสมาธิเสียก่อน เพราะสิ่งนี้ทำให้เย็นกายเย็นใจ สบายกายใจ สบายอารมณ์ หากจะนำอะไรมาพิจารณาจะสามารถพิจารณาได้อย่างตรงไปตรงมาได้ง่ายมาก สามารถอยู่กับสิ่งเหล่านี้ได้นานๆ
     
  15. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    .....การปฏิบัติธรรมมี สองอย่าง

    .....หนึ่ง เพื่อ อานิสงค์แห่งขันธ์ คือเพื่อให้ เป็นไปเพื่อสุคติที่ดี ให้มีการเวียนว่ายตายเกิด ในที่ดี มีรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติที่ดี

    ....สอง เพื่อ อานิสงค์แห่งการเข้าสู่นิพพาน หรือออกจากวัฏสงสาร


    ....ถ้าต้องการมี อานิสงค์แห่งขันธ์ ก็ มี ไตรสรณะคม บวกกับ กุศลกรรมบท สิบ

    ....ถ้าต้องการ อานิสงค์แห่งการเข้าสู่นิพพาน ก็ทำ วิปัสสนาสิครับ
     
  16. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    .....เรื่องวิปัสสนา เป็นเรื่องถกเถียงกัน แบบไม่มีใครลงใคร

    .....ใช่ว่าแต่คุณเท่านั้น มาอ่าน มาศึกษา เหล่าท่านเซียน ผมก็มาอ่าน โพสข้างบนโน้น มันยากที่จะเข้าใจ สิ่งที่ท่านเหล่านั้น อธิบาย

    .....สายทางแห่งวิปัสสนา มีแค่ทางเดียวเท่านั้น เพียงแต่มี วิธีการเดิน หลายวิธีต่างๆ กัน

    ....แต่ก็นั้นแหละ สายทางแห่งวิปัสสนา มีแค่ทางเดียวก็จริง แต่มีคนเข้าใจและไปคนละทิศละทาง ยากจะตัดสินว่าสายไดคือสายที่ถูกต้อง


    ....ผมจะลองอธิบาย การทำวิปัสสนาตามแนวความเข้าใจของผมนะครับ

    .....อันดับแรก ต้องเข้าใจหลักการก่อน เขาเรียกว่า ศึกษาด้วยการฟัง เข้าใจ ด้วยใจนี้แหละ เหมือนเราอ่านหนังสือ ทำความเข้าใจ คำสอนก่อน

    .....ศึกษาเรื่อง ขันธ์ห้า ตามด้วย อริยะสัจสี่ อย่าเพื่งรีบร้อน มันไม่สำเร็จง่ายๆ หรอก ศึกษา เรื่อง จิตเจตสิค รูป นิพพาน ศึกษาให้เข้าใจ ฟัง พระไตรปิฏก ดาวน์โหลด มาฟังส่วนที่เป็น พระสุตันตะ สักสามรอบ

    .....การเข้าใจด้วยใจนี้ท่านเรียกว่า จินตามยะปัญญา

    .....ไม่รู้ว่า อยากฟังผมหรือเปล่า พรุ่งนี้จะมาคุยใหม่ ดึกละ
     
  17. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    ต้องเข้าใจหลักใหญ่มันก่อนว่าทุกข์เกิดจากการยึดมั่น การยึดถือว่าเป็นตัวเราของเรา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากความไม่รู้ของจิตที่ปรุงแต่งไป ยึดมั่นในสิ่งที่ชอบและสิ่งที่ไม่ชอบ วิปัสสนาคือการที่เราเห็นการปรุงแต่งเหล่านี้ตามความเป็นจริง เช่นเมื่อเรามีความรู้สึกพอใจเกิดขึ้นเราก็ไม่ปรุงแต่งต่อจนกลายเป็นตัณหา เพราะเรารู้ว่าเวทนาไม่เที่ยง เมื่อเราอยู่กับปัจจุบันเราจะเห็นมันผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เราก็จะไม่ยึดมั่นกับความรู้สึกที่เกิดขึ้น
     
  18. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    . .ผมเป็นนักเรียนธรรมะคนหนึ่ง อาจจะปฏิบัติ ไม่ถึงใหน จะลองขอเล่า หลักการทำวิปัสสนาสักหน่อยนะครับ เผื่อ มีคนฟัง ค้านได้นะครับ จะได้รู้ว่าเราเข้าใจถูกหรือเปล่า

    ........การทำวิปัสสนา นั้น อันดับแรก อย่างน้อยต้องรู้ และเข้าใจอย่างดี เรื่อง อริยสัจ 4 ก่อน

    .......ผมจะเล่าเรื่อง ตามที่ผมเข้าใจ อริยสัจ สี่ดังนี้ อริยสัจ 4 ประกอบด้วย ทุกข์ สมุททัย นิโรธ มรรค

    .....ทุกข์ การที่่ขันธ์ห้า(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ไม่เที่ยง ทนสภาพเดิมไม่ได้ จึงเรียกว่าทุกข์ สิ่งไดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ รูปเป็นทุกข์ ใจก็เป็นทุกข์ เพราะเปลี่ยนไปมาอยู่ตลอด ใจอยู่ในวิญญาณขันธ์
    ......สมุทัย เหตุเกิดแห่งทุกข์ เพราะ การที่เรายึดหมั้นถึอหมั้นในขันธ์ห้า ด้วยกิเลสสังโยชน์ สิบเส้น กิเลสสังโยชน์ยึด เอาอะไรกับอะไร ถ้าเราศึกษาพระอภิธรรม ท่านจะกล่าวว่า ถ้าแยกมนุษย์ออกมา จะได้ สี่อย่างคือ จิต เจตสิค รูป นิพพาน
    ......จิต เจตสิค รูป ก็คือขันธ์ห้า ส่วนนิพพาน ก็เป็นนามธรรมอันหนึ่ง ซึ่งยึดกับขันธ์ห้า ด้วยกิเลสสังโยชน์ สิบเส้น

    .....นิโรธ คือการสิ้นทุกข์ คือการที่ตัดกิเลสสังโยชน์สิบเส้น ได้ เมื่อ ขันธ์ห้า เป็นทุกข์ เราก็ไม่ทุกข์ แล้วเราเป็นใคร ก็นิพพานธาตุนั้นไง

    .....มรรคมีองค์แปด คือ ทางแห่งการดับทุกข์ คือวิธี ตัดกิเลสสังโยชน์

    ....ผมคงอธิบายคร่าวๆ ต้องไปฟังในพระสูตรครับของจริง


    ......การทำวิปัสสนา คืออะไร

    ......การตัดกิเลสสังโยชน์นั้น มีหลักการอยู่ว่า จะต้องให้เกิดการเห็น ความเป็นไตรลักษณ์ด้วยญาณ หรือที่เรียกว่า วิปัสสนาญาณ

    ......การทำมรรคมีองค์แปดให้บริบุรณ์ ก็คือการปฏิบัติธรรม เพื่อก้าวไปสู่การทำวิปัสสนา

    .....ในพระสูตร กล่าวว่า การทำ อานาปานสติ ให้บริบุรณ์ เท่ากับทำให้ สติปัฏฐานสี่บริบุรณ์ การทำสติปัฏฐานสี่บริบุรณ์ ก็เท่ากับทำให้มรรคมีองค์แปดบริบุรณ์

    .....การทำสติปัฏฐานสี่ เป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งแยก เป็น กาย เวทนา จิต ธรรม

    ....การฝึกจะฝึก กายานุปัสสนาสติปัฏฐานก่อน เสมอ

    ....การฝึก กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คนส่วนใหญ่ ก็จะนิยม อานาปานสติ และ การเดินจงกรม

    ....อานาปานสติ คือการสร้างสติ กับความรู้สึก ลมผ่านกายส่วนปลายจมูก ลมเข้าก็รู้ ลมออกก็รู้
    .....อานาปานสติ จะต้องสร้างสติ แล้วตามด้วยสัมปชัญญะเสมอ ถ้ามีแต่สติ ไม่มีสัมปชัญญะถือว่าผิดวิธี

    .....สติ คือจิต ที่ระลึกรู้ ลักษณะลมว่านี้ลมเข้า นี่ลมออก
    .....สัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว อันนี้ จะรู้สึกอย่างเดียวเท่านั้น เป็นสึ่งที่อธิบายยาก ใครแยกไม่ออก ก็อย่าหวังว่าจะเป็นวิปัสสนา

    .....สติคือจิต สัมปชัญญะ คือ การรับรู้ของตัวญาณ

    .....ผมพูดยาวไปละ ท่อนต่อไปผมจะอธิบายการน้อมจิต เพื่อให้เกิดญาณ เพื่อให้เกิด วิปัสสนาญาณ และจะอธิบายว่ามันตัด สังโยชน์ได้อย่างไร
     
  19. somkiatfem

    somkiatfem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2016
    โพสต์:
    324
    ค่าพลัง:
    +195
    ใครอยากลองผ่านอารมณ์ความตาย ให้ไปลอง วิ่งกลางฝนตรงที่ฟ้าผ่า ดูครับ เเล้วคิดในใจเลยว่า ถ้าฟ้าจะมาผ่าเราก็ยินดี จะได้ไปนิพพานสักที ดูสิว่า อรมณ์วางเฉยต่อความตายที่อาจจะเข้ามาตอนไหนก็ได้ ในช่วงนาทีอันใกล้นี้ ใจเรามันโปร่งไหม มันสั้นไหวในความกลัวไหม ให้ใจนึกถึงนิพพาน เเละ พระเอาไว้ ครับ

    ลองดูครับ เเล้วจะพบอารมณ์ที่ ไม่เคยเจอมาก่อนเเน่นอน(ฟ้าผ่า)

    อารมณ์นี้ก็คล้ายๆ การประจัน กับความตาย เหมือนคนเอาปืนมาจ่อหน้า หรือ รอโดนประหาร ถ้าฟ้าผ่ามาจริงก็ไปสบาย ไวดีครับไม่ได้ฆ่าตัวตายด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2016
  20. Silverwind

    Silverwind สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2016
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +20
    คนประกอบ อกุศล ย่อมกลัวตายเป็นธรรมดา
    อนึ่งจิตละสังขารเสีย หากแต่ขันธ์ติดข้องอยู่
    จำต้องนำวนเวียนในภพภูมิ 31ไม่มีประมาณ

    จงเป็นผู้พร้อมประกอบกุศลกรรม ด้วยเป็นพรประเสริฐ
    สูงสุดที่มนุษย์พึงได้รับเพื่อการประคองตนในวัฏฏสงสาร

    จงเป็นผู้พร้อมด้วย วิชชา และ จรณะ ในการประกอบกิจ
    อันพึงเกษมเฉพาะตน หยั่งรู้การเกิดดับแห่งจิต หยั่งรู้ที่ไป
    ในวงเวียนวัฏฏสงสาร รู้ในผลแห่งกรรม รู้การรับผลกรรม

    เหตุใด !? เป็นแก่นแห่งการตรัสรู้ธรรม ไม่ใช่เพราะ ทุกข์ ฤ
    การบรรลุธรรม เป็นเพียงสภาวะที่ส่องให้เห็นทุกข์ในขันธ์

    เมื่อปัญญาเกิดในภพน้อยพึงทราบดังนั้นว่ามีแล้วในภพน้อย
    เมื่อปัญญาเกิดในภพใหญ่พึงทราบดังนั้นว่ามีแล้วในภพใหญ่
    ปัญญาในภพทั้งหลายก็เช่นนี้เป็นเครื่องนำออกเสมอกัน ^_^
     

แชร์หน้านี้

Loading...