ท่านฝึกละสังโยชน์ ๓ เพื่อเตรียมตัวเป็นโสดาบันอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์โง๋, 11 เมษายน 2017.

  1. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    เห็นโทษด้วยปัญญากับบรรลุสุขที่ละเอียดขึ้น จากสุขของร่างกาย คือ กาม สุขของความคิด เช่นความสำเร็จต่างๆ และสุขของจิต จิตเวลาเจอกับสภาวะไม่เที่ยง จำกัด ขาดอิสระ หรือกิเลศจิตจะเศร้าหมอง เวลาที่ละกิเลศเครื่องเศร้าหมองได้จะเป็นจิตเกษม จิตไม่โศก
     
  2. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ถ้ากำลังปฏิบัติอยู่ ก็คงจะต้องทิ้งเรื่องทฤษฎีไป แล้วมองที่ปัจจุบันธรรมครับ
    แต่ถ้ากำลังจะศึกษาเพื่อจดจำ ก็คงต้องอ่าน
    แต่คุณ tboon กล่าวถึงการปฏิบัติว่า ให้ทำความเห็นว่า ไม่ได้มีจิตแต่แรก
    ผมก็กล่าวไปว่า การทำความเห็นเช่นนั้น ไม่เป็นปัจจุบันธรรม
    ก็คงจะต้องย้อนกลับมาพิจารณาหละครับ ว่าเรากำลังสนทนาเรื่องอะไร
    แต่เอาเถอะครับ ความเห็นคงไม่ตรงกัน ก็พิจารณากันไปตามอัธยาศัยครับ
     
  3. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ถ้าจะให้เห็นภาพง่ายขึ้นก็แบ่งเป็นระดับแบบนี้ก็น่าจะเห็นได้ง่ายดีเหมือนกันนะครับ คือ ระดับศีล สมาธิ ปัญญา คือ ถ้ารักษาศีลได้ปัญหาทางสมมุติ การกระทบกระทั่งกันก็มีน้อยลง พอศีลดี สมาธิก็เลยดีขึ้นตาม สุขก็มากขึ้น ละเอียดประณีตขึ้น พอละกิเลสได้ด้วยปัญญา ก็พ้นทุกข์ไปเลย
     
  4. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ลองเอาเรื่องทิฏฐิ ๖๒ มาจับน่าจะพอเห็นภาพชัดขึ้นนะครับ ถ้าจะถามว่า ความเห็นถูกในเบื้องต้นมีความสำคัญต่อการภาวนาไหม อันนี้ก็น่าสนใจเหมือนกัน คงต้องสังเกตเอาเองครับ คงแล้วแต่ว่ายืนอยู่จุดไหน ยังจำเป็นต้องใช้ความรู้จากภายนอกช่วยประคับประคองหรือไม่ อะไรประมาณนั้นนะครับ
     
  5. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    ครับต้องให้เกิดภาวนามยปัญญา
     
  6. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    สิ่งที่ผมอธิบายไปนั้นมาจากหลักการตามพระสูตรดังนี้

    ชื่อพระสูตร อัสสุตวตาสูตร พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 8 สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

    [๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
    ภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง
    คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อ
    นั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตาย
    ก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ
    จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น แต่ตถาคตเรียก
    ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
    ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้
    เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือ
    ไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
    ดังนี้ ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลาย
    กำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ

    สรุปสั้นๆหมายความว่า คนทั่วไปพิจารณาร่างกาย แต่ตถาคตนั้นเรียกว่า จิตไปเลย เพราะว่า จิตนี้ คนทั่วไปรวบรัดเอาเป็นตัวเป็นตนมาแต่ไหนแต่ไร จึงยึดไว้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 เมษายน 2017
  7. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    อ๋อ..คุณรโชหรณัง ต้องการจะบอกว่า การปล่อยวางระดับจิต คือ เห็นว่าจิตไม่ใช่เรา อย่างนี้ใช่ไหมครับ
     
  8. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ไม่ใช่เห็นว่าจิตไม่ใช่เราเท่านั้นครับ แต่เป็นการวางตัวรู้ไป ดับจิตดวงนั้นไปได้ทันที
    ก็จิตนี้เวลา รู้ก็รู้ได้ทันที ทำไมจะปล่อยไปทันทีไม่ได้
    เช่น เวลา นิวรณ์เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นได้ทันที เวลาดับไปก็ดับไปได้ทันที ขึ้นอยู่กับความสามารถทางจิตครับ
     
  9. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    อ๋อ หมายถึง ตัดฉับๆๆ ไปเลย ที่หมายถึง เป็นการวางระดับจิต ตัดได้เองหรือว่าเรามีความพยายาม (แม้เพียงสักนิดเดียว) ในการตัดนั้นหรือครับ
     
  10. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    คงใช่ครับ ตัดฉับๆไปเลย แต่ความรู้สึกผมไม่ใช่ตัด แต่เป็นการปล่อย
    เพราะธรรมชาติของจิตนั้นเกาะอยู่กับการรู้สิ่งนั้น เมื่อปล่อยไปสิ่งนั้นย่อมดับลง จึงใช้คำว่า ดับ หรือ ปล่อย
     
  11. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ก็ขอยกข้อความตนเองมาอีกครั้ง เพื่อขยายความพระสูตร

    การจะเข้าใจสักกายทิฎฐินั้น ก็ต้องพิจารณาจากคนทั่วไปว่า คิดถึงตัวตนอย่างไร
    เดิมทีคนทั่วไป ไม่ว่าฝรั่ง แขก จีน ไทย ลาว ย่อมมีความ เจ็บ ความปวด ทุกข์กาย ทุกข์ใจ ทุกคนนั้นคิดว่า ตัวตนรูปกาย (body) นั้นมีอาการดังกล่าว ดังเช่น ฝรั่งคิดว่าสมองเป็นผู้สั่งการ แบบนี้คือ เป็นสักกายทิฎฐิ หรือ มองว่าสิ่งต่างๆเกิดขึ้นกับร่างกายนี้

    ผู้ที่ละสักกายทิฎฐิ ก็ต้องมีความเห็นใหม่ เปลี่ยนไปจากเดิม คือ สรรพทุกข์ สรรพโศก นั้นไม่ใช่กายนี้ แต่เป็นอาการของจิตที่แสดงอาการ และอาการนั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
    ซึ่งทัศนคตินี้ จะต้องเกิดขึ้นเมื่อมี มหาสติ มหาปัญญา เห็นจิตของตนแล้ว ดังที่หลวงปู่ดูลย์กล่าวว่า จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง คือ มรรค

    พระสูตร

    [๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
    ภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง
    คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อ
    นั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตาย
    ก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ
    จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น แต่ตถาคตเรียก
    ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
    ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้
    เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือ
    ไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
    ดังนี้ ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลาย
    กำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ
     
  12. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ถ้าแบบนั้น ผมขอถามเพิ่มเติมนิดเดียว ใครเป็นผู้ปล่อยจิตนั้นอีกที มีไหมครับ
     
  13. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ถามดีน่าคิดนะครับ
    ใครเป็นผู้ปล่อยจิต ตอบว่า ก็จิตนั้นแหละครับที่ปล่อยจิต
    เว้นแต่จะไปถึงพระนิพพาน
     
  14. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    อย่างงั้นแปลว่าปล่อยตัวเองนะครับเนี่ย อัตตามันยอมปล่อยความมีอัตตาออกไป ที่ถามนี่ไล่เลียงกันดูเฉยๆแหละครับ
     
  15. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    เวลาคุณ tboon จับของแล้วปล่อย ตัวตนคุณ tboon ยังมีอยู่
    แต่มีสติก็คลายมือออก เรียกว่าปล่อย
     
  16. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ผมว่า ตัวตนมันอยู่ตรงผู้สั่งการนี่แหละ ยังไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก เพราะเชื้อคือตัวเหตุมันยังมีไง
     
  17. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกายอัน เป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดย ความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน
    (ไทย) นิทาน. สํ. ๑๖ / ๙๓ / ๒๓๑ .

    [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ

    [๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคายด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารเพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูปเพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

    อนึ่ง เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

    [๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลายย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัดเพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้นเมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้วย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๑

    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖
    สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค หน้าที่ ๙๕.
     
  18. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ลองเอาวิปลาส ๔ ข้อที่ว่า ไม่ใช่ตัวตน แต่สำคัญว่าเป็นตัวตน เอามาจับอีกที ถ้าจิตเกิดดับตามเหตุปัจจัย หมดเหตุปัจจัยจิตไม่เกิด เหมือนเปลวไฟที่ดับไปเพราะหมดเชื้อ เปลวไฟหายไปไหน ข้อนี้มีพระสูตรอยู่นะครับ
     
  19. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    เปลวไฟหมดเชื้อ กล่าวถึงพระอรหันต์ครับ
    แต่ การที่เรารู้ตัวว่ามีตัวมีตน มีกิเลส นั้นไม่ได้เป็นการ สำคัญตนว่าเป็นตน
     
  20. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ดึกแล้วครับ เอาไว้ค่อยสนทนาตามกาล ตามโอกาสอำนวยแล้วกันครับ
    หากมีข้อจะถกกัน ผมก็จะหาคำตอบมาแสดงเท่าที่สติปัญญาจะอำนวยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...