เทคนิคภาวนา " เวลานี้จิตข้ามันไม่สงบมีแต่ความคิด "

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปราบเทวดา, 24 เมษายน 2017.

  1. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    (ช่วงที่ ๔ )

    วิปัสนาก็คือความคิด ปัญญาก็คือความคิด
    ความคิดอันใดที่เกิดขึ้นมาแล้ว มีสติรู้พร้อมอยู่ เรียกว่าปัญญาในสมาธิ
    ถ้าหากว่าเราไม่เข้าใจผิด
    ปล่อยให้จิตดวงนี้เค้าคิดไป คิดไป คิดไป
    โดยพาทำ ความรู้สึกในทีว่า
    เธอจะคิดไปถึงไหนฉันจะตามดูเธอ
    เธอจะคิด เรื่องบาป เรื่องบุญ เรื่องกุศล เรื่องอกุศล ปล่อยไปเลยอย่าไปห้าม
    แต่ว่า
    ให้มีสติกำหนดตามรู้ไป
    เค้าจะคิดไปเหนือไปใต้เรื่องโลก เรื่องธรรม เรื่องบาป เรื่องบุญ เรื่องกุศล อกุศลอะไรต่างๆ
    ซึ่งสุดแท้แต่เค้าจะคิดขึ้นมา ปล่อยให้คิดไปเลย
    อย่าไปเข้าใจว่าจิตฟุ้งซ่าน

    ทีนี้ถ้าเราปล่อยให้คิดไป คิดไป
    เราจะรู้สึกเพลิดเพลินในความคิดของตัวเอง
    แล้วจะเกิดมีอาการ กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ
    กายเบา กายสงบ ก็ได้กายวิเวก
    จิตเบา จิตสงบ ก็ได้จิตตะวิเวก
    ในเมื่อจิตสงบนิ่งเป็นสมาธิ ก็ได้อุปธิวิเวก
    เพราะสมาธิจิตเป็นกลางไม่มีความยินดียินร้าย
    ไม่มีอาการของกิเลสเกิดขึ้น
    จึงได้ชื่อว่า
    ได้ อุปธิวิเวก

    ทีนี้
    ถ้าหากว่าเราไม่ไปขัดขวางปล่อยให้เค้าคิดไป
    อะอืมๆๆ
    ความคิดที่คิดขึ้นมาเองนั้นเป็นวิตก สติที่รู้พร้อมอยู่เป็นวิจาร
    แล้วก็เกิดปิติสุข เอกัคคตา
    จิตกำหนดรู้ความคิดที่เกิดดับอยู่โดยอัตโนมัติ
    ปราศจากสัญญาเจตนาใดๆที่เราจะไปตั้งอกตั้งใจให้มันเป็นอย่างนั้น

    แต่จิตเค้าคิดไปเองโดยอัตโนมัติ

    คิดถึงขนาดที่ว่าเรารั้งไม่อยู่
    ถ้าขืนไปขัดขวางแล้วเกิดปวดหัวมัวเกล้าขึ้นมาทันที

    เพราะ

    ไปฝืนธรรมชาติของสมาธิและปัญญาที่เกิดขึ้นมาเอง

    ขอให้นึกถึงโอวาทของหลวงปู่เสาร์ที่ว่า

    อะอืมๆ

    " เวลานี้จิตข้ามันไม่สงบมีแต่ความคิด "

    เมื่อไปถามท่านจริงๆท่านก็ให้คำตอบว่า

    “ ถ้าหากมันเอาแต่นิ่งมันก็ไม่ก้าวหน้า ” ท่านว่าอย่างนี้

    ทีนี้ ..เราลองมาพิจารณาถึงหลัก หลักไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา

    สีละปริภาวิโต สมาธิ มหัปผโล โหติ มหานิสังโส เป็นต้น

    ศีลอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา ปัญญาอบรมจิต

    ในหลักมีอยู่เนี๊ยะ
    ในเมื่อศีลบริสุทธิ์สะอาด บำเพ็ญสมาธิ
    สมาธิก็เป็นสัมมาสมาธิ
    ในเมื่อสมาธิมีศีลเป็นหลักประกันความปลอดภัย
    ความคิดอ่านที่เกิดขึ้นก็เป็นสัมมาทิฐิ เพราะมีสติรู้พร้อมอยู่
    นี่ขอให้นักปฏิบัติทั้งหลายพึงทำความเข้าใจในตอนนี้ให้ชัดเจน
    แล้วก็สังเกตไปเรื่อยๆเราจะรู้เอง


    อะอืมๆๆ

    ทีนี้ในเมื่อเราปล่อยให้จิตของเราคิดไปตามอำเภอใจ
    พอคิดไป คิดไป ก็รู้สึกเพลิดเพลินไปกับความคิด
    แล้วปิติและความสุขก็บังเกิดขึ้น ในเมื่อปิติสุขบังเกิดขึ้น
    ความคิดยิ่งเพิ่มความเร็วขึ้นเป็นทวีคูณ
    บางทีแทบจะกำหนดดูไม่ทัน
    แต่จะด้วยประการใดก็ตามในช่วงนี้เราไม่ได้ตั้งใจจะดูจะรู้ จะเห็นอะไรทั้งนั้นแหล่ะ
    แต่ว่าจิตเค๊าจะปฏิบัติตัวไปเองโดยอัตโนมัติ

    เค๊าจะรู้เค๊าก็รู้เอง

    เค๊าจะเห็นเค๊าก็เห็นเอง

    เค๊าจะตัดสินอะไรของเค๊าเค๊าก็ตัดสินของเค๊าเอง

    ทีนี้พอคิดไปสุดช่วงแล้วพอจิตหยุดกึ้กลงไป
    ไปสงบนิ่งสว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน เข้าไปสู่อัปปนาสมาธิเป็นสมถะอย่างเคย

    ทีนี้พอจิตไปยับยั้งอยู่ชั่วขณะหนึ่งแล้วถอนออกมา
    พอมารู้สึกว่ามีกายเท่านั้นเอง
    จิตดวงนี้จะมาพิจารณาทบทวนสิ่งที่เป็นอยู่ในสมาธิอันละเอียดนั้น
    แล้วจะได้ความรู้ขึ้นมาว่า

    ความคิดเป็นอาหารของจิต
    ความคิดเป็นการบริหารจิต
    ความคิดเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียด
    ความคิดเป็นสภาวะเป็นเครื่องหมาย
    ให้เรากำหนดรู้ว่า
    อะไรไม่เที่ยง
    เป็นทุกข์
    เป็นอนัตตา

    ความคิดนี้แหละเป็นสภาวะที่มายั่วยุให้เราเกิดกิเลสและอารมณ์
    ทำให้เกิดความยินดี
    ทำให้เกิดความยินร้าย อิตฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์

    ความยินดีก็กามตัณหา
    ความยินร้ายก็วิภวตัณหา
    ในเมื่อจิตไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้นก็กลายเป็นภวตัณหา
    ก็มองเห็นตัวกิเลสได้ชัดเจน

    ทีนี้
    เมื่อมองเห็นตัวกิเลสได้ชัดเจนแล้ว
    ในเมื่อจิตดวงนี้มีกามตัณหา ภวตัณหา วิภาวตัณหาอยู่พร้อม
    ความสุขความทุกข์ ก็ย่อมบังเกิดขึ้นสลับกันไป
    ผู้มีสติสัมปชัญญะ สามารถกำหนดรู้สุขและทุกข์ เกิดขึ้น ดับไป เกิดขึ้น ดับไป
    สลับกันไปอยู่อย่างนั้น
    ในที่สุด ในเมื่อสติปัญญาแก่กล้า
    ก็จะมองเห็นและรู้ว่า
    รู้ทุกข์ อย่างชัดแจ้งว่านี่คือทุกข์อริยสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
    เมื่อรู้แล้ว ว่านี่คือทุกข์
    แล้วจิตดวงนี้เค้าจะสาวหาเหตุของเค้าเอง
    ว่าทุกข์นี่มันเกิดมาจากไหน
    แล้วก็จะรู้ต่อไปว่าทุกข์นี้มันเกิดมาเพราะตัณหา
    กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

    แล้วจิตดวงนี้ก็จะกำหนดรู้ทุกข์ต่อไป
    เมื่อสติสัมปชัญญะมีพลังเข็มแข็งขึ้น
    กลายเป็นปัญญารู้แจ้งเห็นจริงเกิดเป็นตัววิชชา

    ก็จะรู้ว่า

    นี่คือทุกข์อริยสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
    นี่คือทุกข์ที่เกิดขึ้นดับไปไม่หยุดยั้ง

    นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด
    นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ

    ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น
    ทุกข์เท่านั้นดับไป

    แล้วก็จะเกิดญาณหยั่งรู้ว่า

    ยังกิญจิสะมุทะยะธัมมัง สัพพันตังนิโรธะธัมมันติ
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา

    แล้วก็ได้ดวงตาเห็นธรรม

    เพราะรู้อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ในขณะจิตเดียวเท่านั้น

    นี่ถ้าเราปล่อยให้จิตของเราเป็นไปตามที่ ตามพลังของสมาธิและสติปัญญา
    โดยเราไม่บังคับ หรือไม่ไปรบกวนเค๊า

    หน้าที่ของเราเพียงแค่ว่าทำสติกำหนดตามรู้ไปเท่านั้น
    แล้วเราจะได้รู้แจ้งเห็นจริงในสภาวะธรรมตามความเป็นจริง

    จิตที่มีความคิดเกิดขึ้นมาเอง
    จะเป็นเรื่องอะไรก็ได้
    แต่มีสติสัมปชัญญะกำหนดตามรู้ อยู่ตลอดเวลา

    อันนี้คือจิตเดินวิปัสสนา

    เพราะ

    ความคิดและอารมณ์ที่เกิดขึ้นดับไปนั้น
    เป็นเครื่องหมายให้จิตสามารถกำหนดรู้ว่า
    อะไร ไม่เที่ยง
    เป็นทุกข์
    เป็นอนัตตา

    เพราะฉะนั้น

    ในขณะใดที่จิตนิ่งอยู่ว่างๆ ไม่มีความรู้ ความคิดอ่านเกิดขึ้น
    ท่านเรียกว่าเป็นสมถะ เป็นสมาธิขั้น สมถะ ไม่เกิดความรู้
    และเป็นสมาธิในฌานสมาบัติ
    แม้จะเป็นสมาธิในฌานสมาบัติ แต่ก็เป็นฐานสร้างพลังจิตให้มีความมั่นคง
    และให้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์

    อะอืมๆๆ

    เพราะฉะนั้นนักภาวนาแม้ว่าจิตของเราจะไปสงบนิ่ง อยู่เฉยๆ
    ก็อย่าไปตกอก ตกใจ อย่าไปกลัวว่าจิตมันจะไม่ก้าวขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนา

    แม้ว่าเรานั่งสมาธิทีไรมันก็นิ่ง ทีไรมันก็นิ่ง นิ่ง อยู่อย่างนั้น
    เราก็ไม่มีความรู้

    ทีนี้ถ้าจะฝึกให้มันมีความรู้
    เมื่อจิตออกจากสมาธิมาแล้ว

    เรื่องของชีวิตประจำวันคือการ ยืน เดิน นั่ง นอน
    รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด ให้มีสติกำหนดตามรู้อยู่ตลอดเวลา
    นี่เป็นอุบายวิธีที่ทำจิตให้เจริญก้าวหน้าในทางสติปัญญา

    แม้ว่าในสมาธิเราอาจจะไม่มีความรู้ก็ตาม
    แต่อย่าไปถือว่าสมาธิเราต้องทำเฉพาะในขณะที่นั่งหลับตาบริกรรมภาวนาเท่านั้น
    ถ้าเราเข้าใจว่าเพียงแค่นั้น
    มันก็อยู่เพียงแค่นั้น
    แต่ถ้าเราเข้าใจว่า

    เราทำสมาธิได้ทุกอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด
    เป็นอารมณ์จิต
    เป็นสิ่งรู้ของจิต
    เป็นสิ่งระลึกของสติ

    ในเมื่อเรามีสติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่กับสิ่งเหล่านี้
    ทุกขณะจิต
    ทุกลมหายใจ

    มันก็เป็นการเจริญสมาธิ สมถะและวิปัสสนาไปในตัว
    ในเมื่อจิตของเราเข้าไปสู่สมาธิส่วนละเอียด
    ที่เรามาฝึกสติให้มารู้อยู่ในเรื่องชีวิตประจำวันในปัจจุบันเนี๊ยะ
    มันจะเป็นพลังเข้าไปหนุนจิต
    ในเมื่อเข้าสมาธิแล้ว บันดาลให้เกิดความคิดและความรู้
    แล้วจิตก็จะได้เดินวิปัสสนาไป
    นี่ขอให้ท่านทั้งหลายพึงสังเกตดูให้ดี
    อันนี้เป็นหลักของการภาวนา พุทโธ ตามแบบพระไตรสรณคมณ์ย่อ


    อ่านต่อที่นี่
    http://palungjit.org/threads/ศีลเป็นคุณธรรมของมนุษย์-หลวงปู่พุธ-ฐานิโย.279665/
     
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,040
    เป็นเทคนิคคอลเทอมครับ
    ทำได้ปฎิบัติได้จะโปรมากครับแต่
    ทางปฎิบัติทำได้ยากอยู่ครับ
    เพราะต้องมีกำลังสติทางธรรมเกิดขึ้นจริงๆนะครับ
    เพราะผู้ปฎิบัติ จะไม่ค่อยรู้ตัว(ตามไม่ทันความคิด)
    ว่ามีความคิดตัวเองไม่ว่าที่เกิดจากตัวจิตหรือ
    ความคิดที่เกิดจากฝ่ายอารมย์ที่เป็นนามธรรม
    หรือเกิดจากขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรม
    ว่ามันได้เจ้าไปปรุ่งร่วมครับ
    เป็นเหตุให้เข้าใจ
    ว่าความคิดพวกนี้เป็นสติเป็นปัญญาแล้ว
    เผลอไปพิจารณาได้ครับ
    ซึ่งตรงนี้ เป็นเหตุให้การนกพัฒนาคุณภาพ
    ทางจิตไม่ดีขึ้นครับ. ต้องระวังนะครับ
    ไม่งั้นจะหลงตัวเองได้ อย่างไม่น่าเชื่อ
    แม้ว่าจะปฎิบัติมานานก็ตาม
    เพราะจะยึดในสิ่งที่ตนคิดว่าใช่
    โดยที่ขาดการนอมรับฟังความเห็นต่าง
    ความเข้าใจทางนามธรรมไม่ดี
    ตีความอะไรจะไม่พ้นการแทรกความคิดตัวเอง. นอกจากนั้นทางปฎิบัติ จะหลงตัวเองมากว่าตนเก่ง ตนเองแน่ เพราะไปยึดมั่น
    ในสมาธิที่ตนเคยเข้าถึง ทั้งๆที่เวลาปกติ
    ไม่มีความสามารถนำกำลังสมาธินั้นๆ
    ที่ตนเข้าถึงมาทำอะไร หรือใช้งาน
    ทางจิตอะไรที่เป็นที่ประจักษ์ค่อผู้อื่นอื่นๆได้เลย ก็จะยังหลงตัวเองได้อย่างไม่น่าเชื่อครับ

    ดังนั้นหากเราปฎิบัติแล้ว ให้ลองตรวจสอบ
    ตัวเองดูว่า ความเข้าใจทางด้านนามธรรม
    เราดีขึ้นไหม ในทุกๆกิริยาที่เราเจอที่เราสัมผัส หรือ ความเข้าใจทางด้านสภาวะ
    การปฎิบัติจากการเห็นภาษาเราดีขึ้นไหม
    ตลอดจน จิตเรามีการพัฒนามีความสามารถ
    ทำอะไรได้พิเศษในเวลาเสี้ยววินาทีในเวลา
    ลืมตาปกติจากผลของสมถะที่เรา
    มั่นใจว่าตัวเอง
    เข้าถึงระดับนั้นๆได้หรือไหม
    แม้ทำไม่ได้ ท่านยังหลงตัวเอง
    อยู่หรือไม่ ถ้าทำไม่ได้ และเชื่อ
    ตามที่บอกมา. ให้พึ่งระลึกว่า
    จิตตนไม่ทันความคิดจากจิต
    ไม่ทันขันธ์ ๕ นามธรรมอยู่คับ
    ยิ่งคิดว่าตัวมีสมาธิระดับโน้นนั่นนี่
    แต่ไร้ความสามารถทางจิตทำอะไรได้
    แบบตาเปล่าๆ และพิสูจน์ไม่ได้ด้วย
    ประกันได้ว่า ยังไม่ทันพวกนี้
    และหลงตัวอยู่อย่างแน่นอนครับ

    ปล เล่าให้ฟังเฉยๆนะครับ
     
  3. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762



    "ว่ามีความคิดตัวเองไม่ว่าที่เกิดจากตัวจิตหรือ"


    "ความคิดที่เกิดจากฝ่ายอารมย์ที่เป็นนามธรรม
    หรือเกิดจากขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรม"

    มันคืออะไรครับ มันมีนอกเหนือ ไปจาก จิต กับ เจตสิก หรืออีกครับ
     
  4. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,040
    มันเป็นความคิดที่มาจากภายนอกครับ
    คุณ ปราบ มันจะมาอยู่ข้างๆตัวจิตครับ
    คือมาจากภายนอกแล้วมาใกล้จิตมากๆ
    แต่ไม่ได้เกิดจากตัวจิตนะครับ
    ถ้าไม่สังเกตุจริงๆจะเข้าใจว่าเกิดจากจิตครับ

    เอกลักษณ์ทางกิริยาคือ
    ลักษณะมันมักจะเป็นสัญญาในอดีตทั้งนั้น
    ที่อยู่ดีๆมันจะชอบผุดมาเป็นเรื่องๆ
    เป็นท่อนๆ และบังคับเรื่องที่ขึ้นมาไม่ได้
    และมาแบบไม่เลือกเวลาครับและ
    พอเราไปมองปุ๊บแล้วมันจะดับทันที
    ส่วนตัวเรียกว่า ความคิดที่ผุดขึ้นมาโดย
    ไม่ได้ตั้งใจ เห็นได้ในกำลังสมาธิระดับสูง
    และแยกได้ในสมาธิไม่เกินปฐมญานได้

    และถ้าเห็นตอนมันจะรวมกับจิตได้
    มันจะแยกเป็นส่วนๆได้ จะคล้ายๆ
    ที่เห็นความคิดตอนที่กำลังผุดจากตัวจิต
    มันจะแยกได้เองธรรมขาติคล้ายๆกัน
    เพียงแต่มันแยกเป็นเกลียวๆ
    คล้ายเกลียวลวด
    ไม่ได้แยกเลยเหมือนที่แยกความคิดกับจิตครับซึ่ง ถ้าตามรู้ในแต่ละส่วนได้ จะเรียกว่ารอบรู้ในกองสังขารนั่นหละครับ

    ส่วนตัวว่า คุณปราบเคยมีประสบการณ์
    ตอนนี้มันก็อยู่ข้างๆจิตนั่นหละครับ
    เพียงแต่คุณปราบ
    จะเรียกเป็นภาษาโลก
    ว่าอะไรเท่านั้นเองครับ
    สังเกตุดูได้นะครับตอนลืมตาปกตินี่หละครับ
    ตอนที่ติตคุณปราบมัน
    หมุนตรงลิ้นปี่ ไอ้ตัวที่มันแปลกๆตรง
    ด้านขวาติดกับจิตที่หมุนๆแต่ไม่ใช่จิตคุณนั่นหละครับ คือที่ส่วนตัวพยายามอธิบายครับ(^_^)[/QUOTE]
     
  5. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ยินดีด้วยครับที่เจอ "มโนจิตตะสังขารขันธ์" แล้ว
    +++ ตรงนี้เป็นตัว "สัญญาขันธ์" ตัวจริง
    +++ ใน "จิตปกติ" ก็แยกได้เช่นกัน
    +++ "น้ำกลิ้งบนใบบัว ไม่เกลือกกลั้วระคนกัน" เป็นอย่างนั้นเอง (สำนวนของ หลวงตามหาบัว)
    +++ คุณ นพ ลอง "รู้" ตรง ๆ ไปที่จุด touch down ของปลายเกลียวลวดให้ดี ๆ ก็จะรู้ในสภาวะหนึ่งได้
    +++ เป็นสภาวะที่พระพุทธองค์ ทรงตรัสเอาไว้ว่า "ธรรมะของเรา เป็น อณู"
    +++ หรือตรงที่หลวงปู่มั่นกล่าวว่า "ทิฐิภูตัง อวิชชาปัจจยาสังขารา"
    +++ แดนเกิดของ "อวิชชา" นั่นเอง
    +++ ตรงนี้ สำหรับคุณ นพ เป็นเรื่อง "ไม่เหลือวิสัย" และไม่ยากจนเกินไป
    +++ การใช้ภาษาตรงนี้ "ผู้อื่นที่อ่านอยู่" ที่จะตามได้ ต้องเคยมีประสพการณ์ในการ "อยู่-ย้าย" ในตัวฌานมาก่อน (หรือ "อยู่-ย้าย ไป-มา" ในสภาวะที่ต่างกัน)

    +++ ยินดีด้วยครับ ที่คุณนพ ผ่านเข้ามาได้ในบริเวณนี้แล้ว ไม่นาน "การฝึกทั้งหลาย" ก็จะสามารถ "จบตัวลงได้ ด้วยตัวมันเอง" นะครับ
     
  6. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    [/QUOTE]


    "มันเป็นความคิดที่มาจากภายนอกครับ"
    มันมาจากไหนละครับ อ่านแล้วก็งง งง ฮา

    จิต เจตสิก รูป นิพพาน

    จิตก็คือจิต เป็นสภาพรู้

    เจตสิก (ธรรมที่ประกอบกับจิต, สภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิต, อาการและคุณสมบัติต่างๆ ของจิต )

    สัญญา เวทนาตกแต่ง เรียก จิตสังขาร พวกนี้ ล้วนเป็น เจตสิก

    ส่วน
    "มันเป็นความคิดที่มาจากภายนอกครับ"


    มันคืออารายครับ มาจากไหน
    แล้วมันอยู่ข้างๆจิตได้ไงครับ
     
  7. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    เห็นความคิดผุดจากตัวจิต
    มีแยกคล้ายเกลียวลวดด้วย
    :D:D:D

    จิต เจตสิก เป็นนามธรรม ไม่มีรูปมีร่างอะไรทั้งนั้นหละครับ
    จะเห็นมันเกิดดับ ก็ต้องดูตามความจริง เช่น คิดปรุงขึ้นมา ตัวเรื่องราวความคิดนั้นแหละเกิด พอหยุดคิดเรื่องนั้นก็ดับ
    ทีนี้ ส่วนของรูป ก็ดูได้ เช่น เปล่งเสียงออกมา พอเสียงดัง นั่นแหละเสียงนั้นเกิด พอหยุดเปล่งเสียง เสียงนั้นก็ดับไป

    มีแต่ธรรมเมาทั้งนั้นเลย ห้องนี้
     
  8. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ชอบธรรมโค้กพี่บิ๊ก เหรอครับ ถึงจะไม่เมา
     
  9. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    เป็นยังไงครับ ธรรมโค๊กพี่บิ๊ก :eek:
    เจริญสติอย่างเดียว ไปถึงไหนแล้วหละครับ:D:D
     
  10. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,040

    "มันเป็นความคิดที่มาจากภายนอกครับ"
    มันมาจากไหนละครับ อ่านแล้วก็งง งง ฮา

    จิต เจตสิก รูป นิพพาน

    จิตก็คือจิต เป็นสภาพรู้

    เจตสิก (ธรรมที่ประกอบกับจิต, สภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิต, อาการและคุณสมบัติต่างๆ ของจิต )

    สัญญา เวทนาตกแต่ง เรียก จิตสังขาร พวกนี้ ล้วนเป็น เจตสิก

    ส่วน
    "มันเป็นความคิดที่มาจากภายนอกครับ"


    มันคืออารายครับ มาจากไหน
    แล้วมันอยู่ข้างๆจิตได้ไงครับ[/QUOTE]

    จะเห็นได้ชัดมากๆ เหมือนตาเห็นครับ
    ถ้าสมถะถึงระดับสูงคือฌาน ๔ และสามารถ
    ควบคุมจิตให้อยู่ในร่างกายได้ด้วยนะคับ
    ประมานครั้งที่ ๓ ถึง ๔ ครับคุณปราบ.
    สายป่าบางท่านเรียกตัวนี้ว่า
    วิบากกรรมครับ หรือวิบาก
    ซึ่งวิบากคือ กะแสหรือสิ่ง
    ที่จรเข้ามานั่นหละคับ
    แต่ไม่เห็นไม่เป็นไรครับ
    แต่อย่างที่บอกมันแยกได้แม้กำลัง
    สมาธิไม่มาก แต่กรณีใคร
    ถ้าอายุเกิน ๕๐ ขึ้นไป
    ถ้าไม่เห็นถือปกตินะคับ
    ถือว่าเล่าให้ฟังแล้วกันครับ

    ส่วน ตรงนี้ คุณธรรมชาติ
    ก็ทราบดีครับ
    ส่วนของคุณปราบ มันมีอยู่แล้วครับ
    เป็นเหตุให้คุณอ่าน ของ ลพ.ท่านนี้
    แล้วคุณ เกท นั่นหละครับ
    เพียงแต่ยังสังเกตุไม่เห็นคับ

    ดีที่คุณธรรมชาติอ่านเข้าใจ
    และส่วนตัวพอเข้าใจเจตนาครับ
    ตามวาระคับ เรื่องแบบนี้
    ส่วนตัวเห็นแค่หยาบๆ
    จึงเขียนได้แค่นี้
    เหมือนท่านที่สอนท่านบอกว่าผมเห็น
    แค่ส่วนหยาบๆนั่นหละคับ
    ได้แค่ไหนแค่นั้นครับคุณธรรมชาติ(^_^)
    แต่ดีนะที่ผมรู้ตัว
    และไม่หลงตัวเอง ๕๕๕
     
  11. ขาจอน

    ขาจอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +470
    "มโนจิตตะสังขารขันธ์"

    ขอแจ้งข้อกล่าวหา
    ผมค้นเท่าไรก็ไม่พบคำนี้ในพระไตรปิฏกครับ
    เจอแต่ มโนสังขาร จิตสังขาร จิตตสังขาร ซึ่งไม่ใช่ความหมายที่กำลังยกกัน
    จะไขว้ไปวิบากจิต ๓๖ อเหตุวิบาก ๑๕ มหาวิบาก ๘ มหัคคตวิบาก ๙
    ผลจิต ๔ รวมเป็น ๓๖
    ไม่มีอันไหนบอกว่าเกิดข้างๆจิต มาจากภายนอก สักอัน

    โปรดชี้แจงด้วยว่าข้างจิตคืออะไร ? บัญญัติมาจากไหน ?
    ถ้ามีก็แนบลิงค์พระไตรปิฏกให้เกล้ากระผมอ่านด้วย
    จะเป็นพระคุณมาก

    ปล. จิตตสังขาร คืออะไร ท่านว่าคือ สัญญา และ เวทนา ... เต็มๆกดลิงค์
    http://etipitaka.com/read/thai/12/389/?keywords=จิตตสังขาร
     
  12. Xtrem

    Xtrem เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +275

    จะเห็นได้ชัดมากๆ เหมือนตาเห็นครับ
    ถ้าสมถะถึงระดับสูงคือฌาน ๔ และสามารถ
    ควบคุมจิตให้อยู่ในร่างกายได้ด้วยนะคับ
    ประมานครั้งที่ ๓ ถึง ๔ ครับคุณปราบ.
    สายป่าบางท่านเรียกตัวนี้ว่า
    วิบากกรรมครับ หรือวิบาก
    ซึ่งวิบากคือ กะแสหรือสิ่ง
    ที่จรเข้ามานั่นหละคับ
    แต่ไม่เห็นไม่เป็นไรครับ
    แต่อย่างที่บอกมันแยกได้แม้กำลัง
    สมาธิไม่มาก แต่กรณีใคร
    ถ้าอายุเกิน ๕๐ ขึ้นไป
    ถ้าไม่เห็นถือปกตินะคับ
    ถือว่าเล่าให้ฟังแล้วกันครับ

    ส่วน ตรงนี้ คุณธรรมชาติ
    ก็ทราบดีครับ
    ส่วนของคุณปราบ มันมีอยู่แล้วครับ
    เป็นเหตุให้คุณอ่าน ของ ลพ.ท่านนี้
    แล้วคุณ เกท นั่นหละครับ
    เพียงแต่ยังสังเกตุไม่เห็นคับ

    ดีที่คุณธรรมชาติอ่านเข้าใจ
    และส่วนตัวพอเข้าใจเจตนาครับ
    ตามวาระคับ เรื่องแบบนี้
    ส่วนตัวเห็นแค่หยาบๆ
    จึงเขียนได้แค่นี้
    เหมือนท่านที่สอนท่านบอกว่าผมเห็น
    แค่ส่วนหยาบๆนั่นหละคับ
    ได้แค่ไหนแค่นั้นครับคุณธรรมชาติ(^_^)
    แต่ดีนะที่ผมรู้ตัว
    และไม่หลงตัวเอง ๕๕๕
    [/QUOTE]

    เห็นด้วยกับที่คุณนพ กล่าวนะครับ เหตุเพราะ จิตนี้สร้าง วิบาก คือ กุศลวิบากจิต อกุศลวิบากจิต และวิบากนี้ส่งผลกับจิตเองด้วย มันจึงดูเหมือนมีสิ่งภายนอกมากระทำกับจิต แบบที่เราไม่มีเจตนาเข้าไปทำ ความคิดภายนอกแท้จริงแล้วน่าจะเป็นวิบากเก่าของจิต ที่สั่งสมไว้ ดั่งที่มีกล่าวถึงความวิจิตรของจิต 6 ประการ หนึ่งในนั้นคือการสั่งสมวิบาก
    หรือที่คุณ ปราบบอกว่าคือตัวมโนสัญญา
    ผุดขึ้นมาเองโดยไม่มีผู้กระทำ แต่แท้จริงคือ ตัววิบากเก่าของจิตนั้นเอง อันนี้ผมเองก็ยังไม่เห็นชัดเจนทีเดียว อย่าพึ่งเชื่ออะไร ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ และขอบคุณ คุณปราบที่นำธรรมนี้มาเผยให้รู้กัน เป็นประโยชน์มากครับ
     
  13. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,426
    ค่าพลัง:
    +35,040
    สั้นๆนะคับ ตอบแทนเลย
    แค่กรณีข้างๆจิตนะครับ
    พอดีอ่านเห็นคำนี้ข้างบน
    ส่วนศัพท์แสงส่วนตัว
    คงไม่มีความรู้ครับ ขออภัยด้วยครับ
    เนื่องจากที่ฝึกได้ ส่วนใหญ่ไม่ได้
    อ่านตำราเอาครับ ปฎิบัติเอาครับ
    พอดีท่านที่สอนผมเก่งครับ
    ส่วนตัวแค่ปึกๆโง่ๆ ครับ

    คำว่าข้างๆจิต คงไม่มีในตำราหรอกครับ
    แต่ เห็นท่านเรียกว่า วิบาก ครับ แค่คำนี้ครับ
    วิบาก ทางกิริยาคือ กะแสที่จรเข้ามา
    หรือเรื่องราวที่วนเวียนมาเรื่อยๆครับ
    ปัญหาคือ เราเห็นกะแสที่ว่าไหมหละครับ

    ถ้าจิตพอแยกรูปแยกนามได้บ้างจริงๆ
    มันต้องเห็นแน่ๆได้ล้านเปอร์เซนต์ครับ
    นอกจากจะปฎิบัติไม่ได้
    หรืออายุมาก ๕๐ อัพถึงจะไม่เห็นครับ



    กะแสที่อยู่ข้างๆจิตพระป่าบางท่านเรียก
    วิบากกรรม รู้แค่นี้ครับ
    และ ที่ส่วนตัวพูดมาจาก
    การปฎิบัติครับ คงหาอ่านในตำรา
    ไม่ได้ตรงๆหรอกครับ

    คือบอกแล้วว่าต้องกำลังระดับฌาน ๔
    และต้องประมานครั้งที่ ๓ ถึง ๔
    ถึงจะเห็นได้แบบตาเห็น
    แต่มันแยกได้ในกำลังสมาธิไม่มากก็ได้
    ยังจะมาถามอีก ว่าอยู่ตรงไหนของตำรา
    อยากรู้ ปฎิบัติให้เข้าถึงซิครับ
    จะได้ไม่สงสัยครับ


    ถามว่าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา
    ที่มาแย้งข้าพเจ้าเนี่ย คุณทำได้หรือยัง
    ถ้ายังก็ควรเงียบๆซะ คือถ้าคนที่ทำได้จริงๆ
    ทำได้แล้วจะไม่สงสัย
    อะไรเลยยยยยยยยยยยยยยย



    แท้จริง มันมีอะไรมากกว่านี้ อีก
    แต่คนที่เคยเข้าถึงได้เท่านั้นจะรู้ครับ
    คุณทำไม่ได้ พูดให้ตายชาตินี้
    ก็ไม่เข้าใจครับ

    และถ้าอ่านตำรามาและ
    ถ้าสงสัย มาๆ จะแสดงให้ดู
    ปัญหาคือ มีความสามารถทางจิต
    รับรู้ได้ไหมหละ.

    ไม่ได้มาเรียนนักธรรมตรี โท เอก
    ไม่ได้จะไปสอบเอาวุฒิ ถ้าคิดว่าพูดศัพท์แสง
    แล้วมันหล่อ มันเทห์ สาวๆกรี๊ดกร๊าด
    ตุ๊ด เกย์ กรี๊ดสลบ มันทำให้ตรู
    ทรงภูมิมาก มัน เรื่องของท่าน


    ดังนั้น ถ้าทำไม่ได้ อย่าเอาตำรามาแย้ง
    สำหรับข้าพเจ้า จะแย้งไปแย้งสาย
    ทฤษฎีด้วยกันได้เลยครับ

    และไหนๆถ้ามาแบบขี้โม้ทับถม
    ถากถาง. เอาไหม กรรมฐานกองไหนก็ได้
    ๔๐ กองเอาที่ว่าตัวเจ๋งสุดเลย
    แล้วมาวัดกันเลย แสดงกันเบบลืมตาเห็นๆ
    หาคนกลางที่มีความสามารถรับรู้ได้มา
    แล้วมาพิสูจน์กันครับ ถ้าเก่งอย่างที่โม้จะกลัวอะไร ไม่ใช่พระซักหน่อย เป็นแค่ฆารวาส
    ทำเป็นอ้างเวลาโดนท้า ขำมาก
    (คิดว่าคนปฏิบัติมาบ้างอ่านแล้วดูไม่ออกหรือ
    ว่าใครทำได้ไม่ได้จริง โม้อยู่ได้)


    ถ้าสังเกตุนะ จะบอกว่าที่เห็นนะแค่หยาบๆ
    (เรื่องจริงถ้าทำได้บ้างจะรู้ได้เอง)
    รู้ไหมเพราะอะไร กะจะไว้ดัก
    นักปฎิบัติที่มาโม้ทับซักหน่อย
    แต่ดีว่ายังไม่มี มีแต่พวกคิดเอา
    เสียเวลาให้ข้าวหมาเฉยๆ


    ปล ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ นะครับ

    สมมุติมีคนด่าคุณว่า ไอ้ควาย
    ถ้าคุณโกรธ เพราะอะไรครับ
    เพราะหูคุณได้ยิน
    คำว่าไอ้ควายใช่ไหมอันดับแรก
    แล้วคุณมองเห็นคนที่ด่า
    คุณว่าไอ้ควายด้วยใช่ไหม
    การที่คุณได้ยิน เพราะคำว่าไอ้ควาย
    มันมาเป็นเสียง คุณรู้ว่าควายเป็นอย่างไร
    จากสัญญาความจำได้ใช่ไหม
    และคุณโกรธ เพราะคุณเอาตัวเองไปเปรียบ
    กับควายมัน. ทั่งๆที่ควาย
    มันอยู่เฉยๆไม่รู้อะไรกับคุณเลย
    เลยทำให้คุณ
    ปรุงไปว่าตนเองไม่ใช่ควาย คิดว่าตนเหนือกว่าควาย
    ตรูเป็นคนนะ
    เลยทำให้รูสึกโกรธนั่นหละครับ
    นี่คือตัวอย่างของกะแสที่มาจากภายนอก
    แล้วเราดึงเข้ามาปรุงนั่นหละครับ
    สติทางธรรมทำหน้าที่ควบคุมตรงนี้
    ปัญญาที่มากพอจะตัดการปรุ่งแต่งได้ครับ

    แต่ถ้าคุณตั้งใจนึกถึงควาย แล้วคิดไปว่า
    มันน่าจะสีดำ สีขาว สีแดงมีไหม
    มีเขาสั้นดีกว่า หรือเขายาวนี่คือ
    จิตรวมกับความคิด พวกลักษณะต่างๆ
    ของควายคือ ความคิดที่เกิดจากจิตครับ
    ซึ่งมันเปลี่ยนได้แล้วแต่คุณจะคิดให้มันเป็นครับ ถ้าสติมากพอเห็นตอนมันจะขึ้น
    จากจิตได้ มันจะดีดออกจากจิตได้
    แม้กำลังสมาธิไม่มากครับ ดังนั้นสติทางธรรมต้องมีพอตัวครับ

    แต่ถ้าอยู่ดีๆ คุณไม่ได้นึกอะไร
    แล้วดันมีเรื่องของควายผุดขึ้นมาเฉยๆ
    อาจจะเป็นควาย ๑๐ ปีก่อนหรือ
    ควายเมื่อวาน ควายปีก่อนได้หมด
    และมันผุดขึ้นมาว่าควายเป็นอย่างนี้
    โดยที่คุณไปเปลี่ยนไม่ได้ตามใจคุณ
    เหมือนไอ้ควาย
    ที่คุณตั้งใจนึกขึ้นมา. นี่หละครับ
    คือ ขันธ์ ๕ นามธรรม หรือความคิด
    ที่ผุดขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ
    หรือ วิบาก ที่ว่ามันอยู่ข้างๆจิต
    ถ้าสติทางธรรมเราน้อย
    หรือเราแยกรูปแยกนามไม่ได้
    เราจะคิดว่ามันเป็นตัวเดียวกับจิต
    หรือเป็นควายตัวเดียวกัน
    กับที่เราตั้งใจนึกครับ
    ซึ่งควายเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ตัว
    เดียงกันครับ ตรงนี้ต้องสังเกตุ
    ดีๆจากสติทางธรรมเราถึงจะ
    พอทราบครับ


    ที่พูดมาแม้เข้าใจได้
    นี่ยังไม่ได้เริ่มเดินปัญญเลยนะครับ
    แค่แยกได้เฉยๆ ทางปฏิบัติ
    พึ่งจะตั้งท่าเริ่มคลานนะครับ
    ยังคลานไม่เป็นนะครับ

    อ่านไว้จะได้ไม่หลงตัวเอง
    หลงสภาวะตัวเองครับ
    ถ้าไม่เข้าใจ ก็อย่าคิดว่าตัวรู้
    ตัวเจ๋ง ตัวแน่กว่าใคร
    อายพี่ควาย ตามตัวอย่างบ้างครับ


     
  14. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    คุยกับคุณ แนวคิดคุณเหมือนพี่บิ๊ก น่ะครับ ผมเลยเรียกธรรมโค้กพี่บิ๊ก

    ใจเย็น เรียบๆ ซ้อฟๆ ควบคุมตัวเองพอได้


    สำหรับการเจริญสติ ก้ไปเรื่อยๆครับ ฝึกไปเรื่อยๆ

    ถึงแล้วจะบอก ฮาๆ
     
  15. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762

    จะเห็นได้ชัดมากๆ เหมือนตาเห็นครับ
    ถ้าสมถะถึงระดับสูงคือฌาน ๔ และสามารถ
    ควบคุมจิตให้อยู่ในร่างกายได้ด้วยนะคับ
    ประมานครั้งที่ ๓ ถึง ๔ ครับคุณปราบ.
    สายป่าบางท่านเรียกตัวนี้ว่า
    วิบากกรรมครับ หรือวิบาก
    ซึ่งวิบากคือ กะแสหรือสิ่ง
    ที่จรเข้ามานั่นหละคับ
    แต่ไม่เห็นไม่เป็นไรครับ
    แต่อย่างที่บอกมันแยกได้แม้กำลัง
    สมาธิไม่มาก แต่กรณีใคร
    ถ้าอายุเกิน ๕๐ ขึ้นไป
    ถ้าไม่เห็นถือปกตินะคับ
    ถือว่าเล่าให้ฟังแล้วกันครับ

    ส่วน ตรงนี้ คุณธรรมชาติ
    ก็ทราบดีครับ
    ส่วนของคุณปราบ มันมีอยู่แล้วครับ
    เป็นเหตุให้คุณอ่าน ของ ลพ.ท่านนี้
    แล้วคุณ เกท นั่นหละครับ
    เพียงแต่ยังสังเกตุไม่เห็นคับ

    ดีที่คุณธรรมชาติอ่านเข้าใจ
    และส่วนตัวพอเข้าใจเจตนาครับ
    ตามวาระคับ เรื่องแบบนี้
    ส่วนตัวเห็นแค่หยาบๆ
    จึงเขียนได้แค่นี้
    เหมือนท่านที่สอนท่านบอกว่าผมเห็น
    แค่ส่วนหยาบๆนั่นหละคับ
    ได้แค่ไหนแค่นั้นครับคุณธรรมชาติ(^_^)
    แต่ดีนะที่ผมรู้ตัว
    และไม่หลงตัวเอง ๕๕๕
    [/QUOTE]

    ผมเองไม่ได้ฝึกมาตามสายพระป่าหรอกครับ
    จะว่าไปก็ เรียกสายเที่ยวละกันครับ

    พอดี ชอบ คำอธิบาย วิธีการสอน ของหลวงปู่พุธ เฉยๆครับ
    เห็นว่า เป็นสิ่งที่ดี ที่เด็กรุ่นใหม่ อ่านแล้วจะเข้าใจ วิธีทำได้ง่าย
    ก็เลย เสนอต่อ เผื่อใครจะมีแวว ได้พัฒนาต่อไป



    สำหรับ วิบากจิต ผมก็เข้าใจคนละอย่างกะที่คุณนพ เล่าให้ฟัง
    ฟังหลวงปู่พุธ ท่านมา ก็ไม่มีเรียก วิบากกรรม
    ก็ถือ ซะว่า เป็น การเรียกเป็นเฉพาะกลุ่ม


    แต่ถ้าจะปรับลงโวหาร

    มันก็ไม่พ้น เป็นเจตสิกอย่างนึง

    หรือจะเรียกว่า อนุสัย


    ถ้าในกรณี กระแส หรือสิ่งที่จรมา

    อันนี้ ผมก็ ว่ามันไม่ได้เกียวอะไรกับ จิต เจตสิก
    มันเป็นแต่ สิ่งภายนอก มากระทบ
    พอกระทบแล้วมันจึงจะเกิด เจตสิก

    ไม่ว่าจะเป็น อย่างรูปหยาบๆ เช่น โดนเคกกะบาล

    อย่างละเอียดแบบหยาบหน่อย ก็ คำนินทา คำชมเชย ต่อหน้า
    อย่างละเอียดแบบละเอียดหน่อย ก็ คำนินทา คำชมเชย การคิดถึง ลับหลัง

    พวกนี้พอกระทบแล้ว
    ทำมาดาต้องมีสะดุ้ง เหมือนขับรถอยู่ดีดี มีอะไรมากระแทกข้างๆรถ

    ถ้า มาแรงหน่อยก็ มีเซ
    ถ้า สติไม่ดี มันก้จะไหลหลงไปเรื่อย

    ถ้าสติดีหน่อย มันจะรู้สึกได้
    เรียกว่าเป็นในส่วนภาวนาที่ว่า " จิตไม่ตั่งมั่นรู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น "

    แต่ถ้า คนขาดสติ มันจะกลายเป็นอนุสัยดองไปเรื่อย


    ซึ่งพวกนี้
    ส่วนตัว เข้าใจว่า ไม่เกี่ยวกับอายุ
    การภาวนา เมื่อ สภาพความพร้อมที่เจ็ดขวบขึ้นไป

    เมื่อผ่านการเจริญสติปัญญา
    มันจะรับรู้ได้เหมือนกันหมดครับ
    ในส่วนของ
    ปัญญาที่เครื่องนำออก
    ไปจนกระทั่ง หมดจด บริสุทธิ์ เท่ากัน เหลือแต่เพียงวาสนาเฉพาะ

    อีกอย่างนึง
    ฌาน 4 ในส่วน สมถะ
    ผมเข้าใจว่า ไม่มีทางได้เห็น แยกรุปแยก นามที่เป็นการเริ่มเดินปัญญา

    แต่หากออกจากฌาน 4 ในส่วนสมถะ ปั๊ปเมื่อไร
    จุดเริ่มถึงจะเริ่มเดินปัญญาก็ต่อเมื่อ

    ฝึกทำสติตามรู้ สิ่งที่ จะเข้ามา ซึ่งมันก็คือ ความคิด
    ถ้าจะเรียก ภาษาตามเขา ก้เรียก เจตสิกอย่างนึง
    ในบางที หลวงปู่พุธ จะเรียกว่า อารมณ์จิต

    ส่วนนี้หลวงปุ่พุธ มีอธิบายไว้อยุ่ครับ
    ท่านว่า เป็น การเดินวิปัสนา สืบเนื่องต่อจากสมถะ


    แต่สำหรับคนที่ ตั้งสมถะไม่ได้ถึงฌาน สี่
    ทำได้แต่ สงบๆ หากเจริญสติ ในชีวิตประจำวัน อย่างต่อเนื่อง
    ก็แยกรูปแยกนามได้ เดินปัญญาได้เช่นกันครับ

    คำว่า
    ความเริ่มเป็นอัตโนมัติ ของสติ
    เป็นแต่เพียงจุดเริ่มเดินทาง ภาคปัญญา


    สำหรับ ท่านที่มีวาสนา แสดงฤทธิ์ได้
    อันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

    แต่ท่านได้เป็น สติ สมาธิในโลกียะ

    ถ้า สัมมาสติ สัมมาสมาธิเกิดขึ้นเมื่อใด
    มีแต่กิเลสถูกกะเทาะออกเรื่อยๆ
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    คุยกับ ขาจอน

    "เปลือกส้ม กับ เนื้อส้ม" ติ๊ง!

    "หลวงตากระโดดโหยง เพราะกิ่งไม้หงิกงอเหมือนงู" ติ๊ง!

    "อานนท์ เพราะเหตุนี้แหละ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งนามรูป ก้คือ วิญญาน" ติ๊ง!

    คุยกับขาจอน

    จากบรรทัดสุดท้าย ขาจอน จะพึงทราบว่า
    สำนวนภาษานี้ ไม่สงวนรักษาบางอย่างว่า
    เที่ยง แยกออกไปเปนสองให้เหมือนๆ กับ
    ที่มีการกล่าวแล้วไปเน้นโทษธรรมคู่ ปรักปรำ
    ธรรมข้าง

    ธรรมข้างๆ ไม่ผิด

    สำนวนสุดท้าย ระบุชัด ที่มีข้างๆ ก้เพราะ
    "วิญญาน" นั่นเองไม่เที่ยง นักปฏิบัติที่ไม่
    กอปปี้เอาเหมือน จะต้อง ฝาด ตัว วิญญานได้
    ไม่ใช่ไปตะครุบเงา แล้วบอกว่า แยกได้ แยกเปน
    แต่กลับไม่เหน วิญญานนั่นแหละไม่เที่ยง
     
  17. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    มีข้อชวนพิจารณาอันหนึ่งครับ ลองพิจารณาดู ไม่ได้มีเจตนาว่าร้ายใคร

    จริงๆ ขันธ์ ๕ เป็นของกลางๆ ครับ แม้จะเกิดมีขึ้นไปตามอำนาจของวิบากกรรมของแต่ละบุคคลก็ตามที เหตุเพราะขันธ์ ๕ จะมีแค่ทำไปตามหน้าที่เท่านั้น อาศัยมีเหตุปัจจัยอย่างไรขันธ์ ๕ ก็จะทำงานไปตามหน้าที่อย่างนั้น มีรับจำคิดรู้เป็นอาการไปตามเหตุปัจจัย อะไรผ่านเข้ามากระทบก็สามารถที่จะรับรู้โดยผ่านมาทางผัสสะได้หมด

    การผัสสะ ทางตาเห็นรูป หูกระทบเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส เป็นของหยาบรู้ง่าย แต่ทางใจ การรับรู้ธรรมารมณ์ ค่อนข้างต้องใช้การมีสติ มีสมาธิ มีความสงบพอ และควรจะสงบได้เป็นปกติบ่อยๆ อยู่แล้ว บางคนอาจจะเรียกว่า มีจิตว่างพอ (ช่างมันไปก่อนนะครับคำว่าจิตว่างเนี่ย) จิตเป็นกลางๆ พอ ไม่ฟุ้งซ่าน ยินดียินร้าย ขี้ลังเลสงสัย ก็น่าจะพอจับสังเกตได้ เพราะจริงๆ มันเป็นเรื่องธรรมชาติปกติที่จะต้องรับรู้ได้อยู่แล้ว คนที่สัมผัสทางใจไม่ดี ไม่เป็น ไม่ค่อยสังเกต เวลาใครเขาพูดเรื่องสัมผัสที่ ๖ อาจจะมองว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์พันลึกไปเสียฉิบ ซึ่งจริงๆ เจ้าตัวเองก็ควรจะต้องทำได้สัมผัสได้ เพราะว่า ก็มีใจเหมือนกันทุกคน พื้นฐานของคนที่ไม่มั่นใจในผัสสะที่ ๖ จึงควรฝึกขึ้นมาก่อน ไม่งั้นมันจะเอาอะไรไปรอบรู้กองสังขาร ทันความหลงปรุงแต่ง ออกจากทุกข์ได้จริง

    หยาบ กลาง ละเอียด ฝึกฝนสติ สมาธิช่วยกัน ให้มันสงบมีสติตั้งมั่น ผู้ใดมีจิตตั้งมั่น ผู้นั้นย่อมรู้ตามความเป็นจริงได้ ฝึกไปเถอะ อย่าไปตั้งจิตปฏิเสธ อย่าไปเห็นเป็นเรื่องฤทธิเดชไปเสีย ของธรรมดาที่ควรจะต้องรับรู้ได้ในทุกสัมผัสทุกอายตนะ ทุกข์มันมาได้ทุกทาง ทั้งหกทางนั่นแหละครับ ต้องตามให้ทัน

    ตอนท่านสามเณรอรหันต์ (ใครจำได้บ้าง) ท่านสอนท่านพระโปฐิละเถระ (ใบลานเปล่า) อย่างไร ถ้าจำไม่ผิดท่านสามเณรท่านสอนเ โดยการเปรียบกับการจับเหี้ย มีรูอยู่ ๖ รู เหี้ยนั้นสามารถหนีเข้ารูได้ ๖ รู ท่านให้ปิดเสีย ๕ รู เหลือไว้รูหนึ่ง หรือก็คือ อายตนะทางใจนั่นเอง ลองศึกษาดูครับ
     
  18. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ฝากถึงคนที่ชอบอวดครับ

    คนที่รู้และปฏิบัติได้ เขาเอาไว้กำจัดกิเลสตนเองครับ
    ไม่ใช่เอามาท้าอวดแข่งกัน ว่า กรรมฐาน 40 กอง มาแข่งกัน
    ธรรมะไม่ใช่ไก่ชนนะครับ จะได้มาท้าตีกัน
    อย่าว่าแต่ กรรมฐาน 40 กองเลยครับ วิปัสสนาญาณก็มีคนได้จริงครับ แต่เขาไม่เอามาแข่งกัน มันเป็นเรื่องของกิเลส

    และในความจริงก็ไม่มีใครทำได้ทั้งหมด 40 กองหรอกครับ นอกจากพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ ดังนั้นพวกที่ท้าแข่งกรรมฐาน 40 กองคือ พวกที่เอาตำรามาพูดครับ

    ท้าสาบานบ้าง ท้าแข่งบ้าง พวกนี้มันมีนิสัยคือ ท้าพนัน มาจากกิเลสอัตตามานะอย่างหยาบ นักพนันบางคนยอมเสียเงินเป็นล้านๆ เพียงเพื่ออวดหน้าอวดตาว่า กล้าได้กล้าเสีย บางคนถึงกับยอมตายแต่ไม่ยอมเสียหน้า ตัวโง่แท้ๆเลยครับ
     
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เชย ระเบิด ระเบ้อ

    สภาวะธรรม ที่ออกรส ท้าแข่งกัน หรือ ข่มกัน

    เปนสภาวะธรรมปรกติที่จะเกิด

    นักภาวนาจะมี เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

    จับสองพวกนี้ มานั่งเสวนากัน จะเกิดการข่ม
    กัน เปนเรื่องปรกติ ห้ามไม่ได้

    เจโตสมาธิ เขาย่อมพูดได้แค่ ส่วนเจโตสมาธิ
    จะให้เขาพูด อภิธรรม เปนเรื่องไม่ใช่วิสัยจะทำได้

    ปัญญาวิมุตติ ก้ย่อมกล่าวแต่ อภิธรรม(ศัพท์เรียบ
    ง่ายตามแบบแผน) จะให้ปัญญาวิมุตติคิด
    ค้นบัญญัติโพล้งๆออกไป ก้ไม่ใช่วิสัย

    ดังนั้น สองกลุ่มนี้ ย่อมใช้วจีสังขาร อันเปน
    เรื่อง วิบาก ไม่เหมือนกัน จะไปห้ามวิบาก
    ไม่ให้เกิด ก้เม้มปากแล้วนั่งลงกันหมด

    สรุปคือ อย่าเข้าใจผิดคิดว่า มีการแข่งกัน
    แบ่งแยกกัน

    แต่กระนั้น ก้ ควรฟัง จดจำให้ดี ธรรมวาที
    อธรรมวาที ก้ล้วนไม่ใช่ รสส้ม ติ๊ง!
    (ธรรมกอปปี้จนเหมือน กับ ธรรมแท้
    ต้องแยกแยะให้ได้)
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ปล.

    ความงดงามของบุคคลในธรรมวินัยนี้ จะเกิด
    เมื่อเจโตสมาธิบรรยายด้วยอภิธรรม เมื่อปัญญา
    วิมุตติกล่าวเรื่องสมาธิธรรม
     

แชร์หน้านี้

Loading...