ลักษณะ ผลที่เริ่มเกิดจากการมีสติที่ถูกต้อง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปราบเทวดา, 12 มิถุนายน 2017.

  1. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    เกร็ดธรรม

    หลวงปู่พุธ ฐานิโย
    วัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

    การกำหนดรู้
    โดยที่เราตั้งใจกำหนดรู้ลงที่จิต ทำจิตให้ว่างอยู่ชั่วขณะหนึ่ง
    โดยธรรมดาของจิตเมื่อเราตั้งใจกำหนดลง เราจะเกิดความว่าง
    ในเมื่อเกิดความว่างเกิดขึ้นมาแล้ว
    เราก็กำหนดดูที่ความว่าง
    ในเมื่อจิตว่างอยู่ซักพักหนึ่งความคิดย่อมเกิดขึ้น
    เมื่อความคิดเกิดขึ้น ทำสติตามรู้ความคิดนั้น

    เพียงแต่สักว่ารู้ อย่าไปช่วยมันคิด
    ความคิดอะไรเกิดขึ้นกำหนดรู้ ความคิดอะไรเกิดขึ้นกำหนดรู้

    ยกตัวอย่างเช่น
    คิดถึงสีแดง ก็เพียงแต่ว่า รู้ว่าสีแดง ไม่ต้องไปคิดว่า สีแดงคืออะไร
    ถ้าหากว่าจิตมันคิดไปโดยอัตโนมัติของมัน
    เราทำสติตามรู้ทุกระยะอย่าเผลอ

    ในทำนองนี้จะเป็นอุบายทำให้จิตของเรารู้เท่าทันอารมณ์
    สติตัวนี้จะกลายเป็นมหาสติ
    ถ้าสติกลายเป็นมหาสติ จะสามารถ ประคับประคองจิต
    ให้ดำรงอยู่ในสภาพปกติ ไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ได้ง่าย
    เมื่อสติตัวเป็นมหาสติแล้ว
    เพิ่มพลังขึ้น
    ด้วยการฝึกฝนอบรมกลายเป็นสตินทรี
    เมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสตินทรีแล้ว
    พอกระทบอะไรปั๊ป
    จิตจะค้นคว้าพิจารณาไปเองโดยอัตโนมัติโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ
    ทีนี้เมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสตินทรีเป็นใหญ่ในอารมณ์ทั้งปวง
    ซึ่งมีลักษณะ คล้ายๆกับว่า
    จิตของเราสามารถเหนี่ยวเอาอารมณ์
    มาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้

    หรือ เอากิเลสมาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้
    เพราะสติตัวนี้เป็นใหญ่ ย่อมมีอำนาจเหนืออารมณ์
    และสามารถใช้อารมณ์ให้เกิดประโยชน์ได้
    เมื่อเป็นเช่นนั้น สติตัวนี้จะกลายเป็น สตินทรี อ่าจะกลายเป็น สติวินะโย
    ในเมื่อสติตัวนี้เป็นกลายเป็นสติวินะโย
    สมาธิ สติ ปัญญา ของผู้ปฏิบัติ มีสมรรถภาพดียิ่งขึ้น

    อีกชั่วโมง เป็นสติสัมปชัญญะ เป็นสายสัมพันธ์ สืบต่อกันตลอดเวลา
    แม้หลับลงไปแล้ว จะรู้สึกว่าตัวเองนอนไม่หลับเพราะสติไม่ขาดตอน

    สติตัวรู้หรือสติตัวรู้สึกสำนึกหรือสติอันเป็นตัวการซึ่งเป็นสติวินะโยเนี๊ยะ
    มันจะคอยจดจ้องอยู่ที่จิตตลอดเวลา
    พออะไรเข้ามาปั๊บ
    มันจะฉกออกไปเหมือนกับงูเห่าฉกเหยื่อ อย่างงั้นล่ะ
    ถ้าสิ่งใดที่มันยังไม่รู้แจ้งเห็นจริง
    มันจะยึดเอามาแล้วก็พิจารณาค้นคว้า จนรู้ความจริง
    ถ้ามันรู้แล้วพอสัมผัสรู้ปั๊บมันก็มานิ่ง

    เวลาเราจะทำงานทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใด

    สติตัวนี้มันจะคล้ายๆกับว่าเป็นตัวรู้ปรากฎอยู่ในท่ามกลางแห่ง ทรวง อก

    ส่วนที่ส่งกระแสออกไปทำงาน
    มันก็ทำงานของมันอยู่ตลอดเวลา

    ในเมื่อเป็นเช่นนั้น
    เราสามารถที่จะเอาพลังแห่งสมาธิไปใช้ในงานทุกประเภทได้


    การทำสมาธิอันใด
    ทำให้ท่านเบื่อต่อโลก ต่อครอบครัวมันยังไม่ถูกต้องดอก
    ถ้าทำสมาธิ มีสติปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงดีแล้ว
    ต้องสามารถเอาพลังของสมาธิไปสนับสนุนงานการที่เราทำอยู่ได้
     
  2. pitra

    pitra สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2017
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +31
     
  3. pitra

    pitra สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2017
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +31
    นั่งสมาธิเหมือนไปไม่ถึงไหน ถามว่านั่งได้นานมั้ย ได้นานค่ะ สองสามชั่วโมงก็นั่งได้ มีสมาธิเร็วมั้ย เร็วค่ะ ก่อนนั้น ภาวนาพุทโธ แล้วก็มาพิจารณาสังขารตน แป๊บเดียว จิตก็เหมอนไม่เอาภาวนา นิ่งหายไป ทิ้งภาวนาเร็วเกินไป อย่างสวด อิติปิโส 108 หรือ บทพระจักรพรรดิ์ ตากที่สวดมีเสียง ออกเสียงดัง พอสมาธิเริ่มดี เสียงมันเบา แล้วนิ่ง ไม่เอาภาวนาเลย หายไปทั้งเสียง ทั้งลม นึกได้ว่าหายก็มาสวดต่อ เป็นตลอด
    เมื่อเกอดความว่าง ก็ดูตามที่บอก เมื่อ มันคิด ดิฉันก็รู้ว่ามันคิด แต่ตามดูความคิด มันยังไม่ได้ เจอปุ๊บว่าคิด ก็รีบหยุดมัน แบบอัตโนมัติ
    ดิฉันหาฐานจิตไม่เจอหรือยังไง ตรงไหนมันก็ไม่ชอบ เอามันวิงไปจับทุกที่แล้ว พอวางที่ลิ้นปี่ หรือที่ท้อง ตัวก็งอ หลังงอ หน้าก้ม แต่ไม่ปวด เอาไว้หน้าผาก ดีหน่อยเพราะนั่งได้ตรงได้นาน แต่มันปวดหน่วงระหว่างคิ้ว
    เอายังงัยดีคะทำยังงัยดี ต่อยังงัย
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เวลา ปฏิบัติธรรม ลงมือทำแล้ว โน้นก็เห็นแล้ว นั่นก็สัมผัสแล้ว
    แต่แล้วก็มานั่ง งง ว่า ทำไงต่อ !?

    อะไรแบบนี้ ต้องหมั่นสดับธรรมให้มากๆ

    ฟังเพื่ออะไร อย่ารีบร้อนย้อนแย้งว่า ฟังมาหมดแล้ว .....

    อาการของนักปฏิบัติเวลา ทำมาหมดแล้ว โน้นเจอแล้ว สถาวะนั้นเห็นหมดแล้ว
    แต่แล้วก็มานั่ง งง ว่า ทำไงต่อ !?

    อะไรแบบนี้ ให้ทำจิตให้ ร่ม ร่ม เย็นๆ อย่ารีบร้อน รอกระแทกปากคนสอน

    พึงกำหนดรู้ว่า " ขาดการสดับธรรม "

    ยอมรับ ยอมจำนน เข้ามาตรงนี้ให้ได้ก่อน ยอมรับเข้ามาได้ไหมว่า "ขาดการสดับ"

    ถ้ายอมรับได้ ....อาจจะ บรรลุธรรม ทันทีเลยก็ได้ แต่ถ้าไม่

    ทำใจเย็นๆ แล้วพึงฟังธรรม

    กิเลส มีหยาบ กลาง ละเอียด

    กิเลสหยาบๆ โลภ โกรธ หลง อาจจะปรารภว่า รู้หมดแล้ว เห็นหมดแล้ว

    กิเลสกลางๆ นิวรณ์5 ก็อาจจะปรารภว่า ทำสมาธิจิตรวมแล้ว นิวรณ์หาย
    หมดแล้ว เห็นหมดแล้ว

    นะ

    พึงหมั่นสดับตรงนี้ให้ดีๆ

    กิเลสละเอียด

    กิเลสละเอียด คือ ติดดี ติดว่าทำมาหมดแล้ว ที่พระท่านโน้นแสดงธรรม
    พระท่านนี้แสดงธรรม ทำมาหมดแล้ว แต่มัน ติด แล้วไงต่อ ก็นี่แหละ ติดดี

    กิเลสละเอียด พูดภาษาโบราณ จะต้อง กำจัดนิวรณ์ เสร็จแล้วก็ต้อง "ทำปัญญาให้ทุรพล"

    เน้นนะว่า ภาษาพระไตรปิฏก คือ " ทำปัญญาให้ทุรพล "

    พูดภาษา วิปัสสนาสมัยปัจจุบัน คือ ปรับปัญญาอินทรีย์ไม่ให้ ล้ำหน้า ก้ำเกิน อินทรีย์อื่น

    อาการปัญญาล้ำหน้า สังเกตเลย มันจะ มี อาการฝุ้งธรรม ( ทำมาหมดแล้ว สมถะ วิปัสสนา
    เห็นหมดแล้ว) มี กุกกุจจะ(รำคาญใจ ไม่เห็นสำเร็จอะไรสักที)

    ให้ตามเห็น อาการปัญญาล้ำหน้า ทำ ปัญญาให้ทุรพล(อ่อนกำลังลง)

    กิเลสอย่างละเอียด กำหนดรู้เข้ามาเลย คือ ปฏิปทาทุกชนิด ที่กำลังประกอบอยู่ นั่นแหละ

    อ้าว !!

    อย่า อ้าว ให้ไปลอง กำหนดรู้ ทุกอย่าง แม้นกระทั่ง การแจ้ง การเห็น เหล่านี้
    จะเป็นสิ่งที่ ตบแต่ขันธ์ทั้งหมด แต่อาจจะเรียกไปว่า สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์

    กำหนดรู้ ทุกกองขันธ์ ทั้งหมด ให้เห็นความเกิด ความดับ [ ทำมาหมดแล้ว
    แต่ติดว่าไงต่อ ปัญญามันล้ำหน้า ให้กำหนดรู้เข้ามา อุปทานขันธ์ เป็นทุกขสัจจ ]

    แล้ว วิมุตติขันธ์ ถึงจะปรากฏ พ้นขันธ์5ทั้งปวง ไม่ใช่การตบแต่งขันธ์ ไม่มีการเสวย
    ไม่มีที่ตั้ง ไม่มีการนิมิตหมาย ว่า รู้อะไร แจ้งอะไร [ ระวังการ ฟังธรรมด้วย ตรรกศาตร์
    พอกล่าวมาถึง ไม่มีนิมิตหมาย ไม่มีการรู้อะไร บรรลุอะไร หากเอา ตรรกศาตร์จับ แทน
    การลงมือปฏิบัติ มันจะเกิดอาการ อยากกระทืบปาก คนสอน ร่ำไป ]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2017
  5. pitra

    pitra สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2017
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +31
    หม๋ ดิฉันยังไม่ได้ปฏิบัติมาหมดทุกอย่างหรอกค่ะ เพียงแค่เริ่มต้นเท่านั้น และก็พยยามอ่าน พยายามฟัง พยายามทำตามที่แต่ละท่านแนะนำ ประสบการณ์ครูบาอาจารย์ก็มที่ตั้งเอาทางจิต พอติดขัดสงสัยก็ยากจะทราบเป็นธรรมดาของคนที่ปัญญากับสมาธิยังน้อยอยู่ และยิ่งอยู่ต่างประเทศ จะหาพระ หาครู ผู้รู้ลึกที่จะพาฎิบัติจริง ๆ นั่น ก็ยาก ส่วนฆราาส ก็ดิ้นรนปากท้อง หันหน้าคุยกัน ไม่มีใครเอ่ยถึงธรรมเลยค่ะ ก็เลยหันหน้าพึ่งเว็บพลังจิต
     
  6. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    นั่งสมาธิเหมือนไปไม่ถึงไหน

    ที่เหมือนไปไม่ถึงไหน นี่ คุณ pitra ต้องการจะให้ไปถึงไหนเหรอครับ
     
  7. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    ว่างแบบสภาวะจากบทความตอนเริ่มต้น
    เป็นความว่างสำหรับการเดินปัญญา
    สำหรับผู้ปฎิบัติที่ไม่จำเป็นต้องใช้สมาธิระดับสูงครับ ปฎิบัติทางด้านปัญญา
    แต่มันยังมีตัวกระทำให้ว่างอยู่นะครับ
    แต่เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำได้บ่อยๆจะได้ผล
    เช่นกันครับ คล้ายๆสถาวะความเป็นกลาง
    ของจิตครับ.
    แต่ที่เหลือที่พัฒนาต่อเป็นมหาสตินั้น
    เป็นเทคนิคคอลเทอมของท่านล้วนๆครับ

    แต่ต้องรู้เท่าทันอารมย์บ่อยๆ
    จริงๆก่อน และไม่แทรกแซงมันด้วย
    จริงๆนะครับ ถึงจะพัฒนาเป็นมหาสติได้
    นะครับ ไม่ใช่แค่ครั้งเดียวจะได้นะครับ

    ปล คุณ P ปัจจุบัน น่าจะเห็นกิริยาของจิต
    ชัดเจนขึ้นแล้วเนาะ โดยเฉพาะที่
    บริเวนลิ้นปี่
    ฐานของจิต ทางกิริยาในที่นี้ให้ดูว่า
    ถ้าจิตแยกกับกายได้เด็ดขาดชั่วคราว
    และไม่ออกไปท่องเที่ยวข้างนอก
    มันอยู่ตรงไหนในกายนั่นหละฐานมันครับ

    บริเวนอื่นของกายที่กำหนดให้จิตไปได้
    เป็นการย้ายเฉยๆครับ
    อาจ เรียกว่าฐานเหมือนกัน
    แต่เพื่อเป็นอุบายให้จิตสงบในเบื้องต้นครับ
    เหมาะสำหรับใช้ฝึกผู้มีอายุเยอะหน่อยครับ
    หรือฝึกสมาธิตอนอายุมากแล้วครับ
    เพราะจะไม่เห็นฐานของจิต
    แบบที่ส่วนตัวเขียน
    อธิบาย(เรื่องปกติ)นั่นเอง
     
  8. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ตรงนี้ "สำคัญ" ณ ขณะที่ นิ่งอยู่นั้น มันก็ รู้ตนเองดีอยู่ด้วย จะเรียกว่า "นิ่งอยู่รู้อยู่" ก็ได้ ใช่หรือไม่ ถ้าหากใช่ ก็ต้องถือว่า "มาได้ถูกทาง" แล้ว

    +++ ถูกแล้ว เป็นจุดที่ "วางลม วางคำบริกรรม" กลายเป็น "นิ่งอยู่ เฉยอยู่ รู้อยู่" ตรงนี้ คือ "อัปนาสมาธิ ในระดับ ฌาน 4 ตัวจริง"
    +++ ตรงนี้ "ไม่ควรทำ" และตรงนี้ "ไม่ใช่วิปัสสนา" การกลับมาสวดต่อ มีค่าเท่ากับ "ย้อนกลับมาเริ่มใหม่ เพราะไม่รู้ว่า จะไปต่ออย่างไร"

    +++ อาการ "นิ่งอยู่ เฉยอยู่ รู้อยู่" ตรงนี้เป็น "ฐานจิต ในระดับ ธรรมานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน" วิธีปฏิบัติจะกล่าวไว้ข้างล่าง
    +++ ใช่ "ยังไม่รู้จักฐานจิต" ฐานจิตจริง ๆ เป็นสิ่งที่ "หยุดนิ่งอยู่กับที่" หากเริ่มทำการ ค้นหา เมื่อไรก็ตาม "ไอ้ตัวที่ กำลังค้นนั่นแหละ คือ ฐานจิตที่กำลัง หลุกหลิกอยู่"

    +++ ในขณะที่ "นิ่งอยู่ เฉยอยู่ รู้อยู่" ไม่มีหลุกหลิก ณ ขณะนั้น ๆ ตัวมันเองนั่นแหละ คือ "ฐาน" และในขณะที่มันกำลัง หลุกหลิกค้นหา ณ ขณะนั้น ๆ ตัวมัน คือ "กรรม"

    +++ ณ ขณะ "นิ่งอยู่ รู้อยู่" เป็น "ฐาน" ณ ขณะ ที่มัน "ขยับตัว" เมื่อไร เมื่อนั้นแหละ เป็น "กรรม"

    +++ เมื่อการฝึกของคุณ สามารถเข้าสู่ในบริเวณนี้ได้เมื่อไร เมื่อนั้นจึง ย่อมเรียกได้ว่าเป็นการ "ฝึก กรรม-ฐาน" ตามความเป็นจริงของขั้นตอนในการฝึกได้แล้ว

    +++ ขณะใด "เป็นกรรม" ขณะใด "เป็นฐาน" เป็น หัวใจสำคัญในการฝึก "กรรม-ฐาน" จิตขยับตัว "เป็นกรรม" จะมีอาการ "เกิด/ดับ" ทันทีที่ "รู้อยู่ เฉยอยู่ (ฐาน)"

    +++ ยามใดที่ "ตาม" จิตที่ขยับตัว ยามนั้นย่อม ตกจากฐาน เข้าสู่ ทะเลกรรม ให้รีบ "หยุดจิต แล้ว ตั้งฐาน แล้วกลับสู่ฐาน" ทันที


    +++ ให้สังเกตุว่า หากสามารถอยู่ใน "ฐาน" ได้ตั้งแต่ 2-3 นาทีขึ้นไป ณ ขณะนั้้น ๆ "จิตไม่ขยับตัว" ความจำ+ความรู้สึก ไม่ปรากฏ มีแต่ "รู้" อย่างเดียว ณ ขณะนั้น ๆ เรียกว่า "สัญญาเวทยิธินิโรธ (นิโรธสมาบัติ)"

    +++ ให้สังเกตุว่า หากสามารถอยู่ใน "ฐาน" ได้ตั้งแต่ 2-3 นาทีขึ้นไป หากจิตมีการ "ขยับตัว" ตรงนั้นจะเเป็น "เกิด/ดับ อัตโนมัติ ท่ามกลาง รู้อยู่" มันมาจาก ความจำ ก็จริงอยู่แต่มันยังไม่ทันเป็นความจำมันก็ดับไป จะเรียกว่า "เป็นความจำก็ได้ ไม่ใช่ตวามจำก็ได้" ตรงนี้เป็น "เนวสัญญา"


    +++ การฝึกของคุณ ควรอยู่กับ "นิ่งอยู่ เฉยอยู่ รู้อยู่" โดยเน้นตรง "รู้อยู่" ให้เป็น "ฐานหลัก" แล้วค่อย ๆ สำเหนียกรู้ว่า "ก่อนที่จะเกิดการ ขยับตัวทางจิตนั้น มีสภาวะใด ก่อกำเนิดมาก่อนหน้า" ตรงนี้ละเอียดมาก

    +++ และให้สำเหนียกรู้ด้วยว่า "สภาวะที่ก่อกำเนิดมานั้น มีสภาพคล้าย กลุ่มละอองหมอก ที่พอกำเนิดขึ้นมาแล้ว ทำให้อาการ รู้อยู่นั้น กลายเป็น ไม่รู้ หรือไม่" หากสามารถสำเหนียกรู้ตรงนี้ได้ ก็ถือได้ว่า สามารถ เห็น อวิชชา ได้
    +++ คุณ "เลยตรงนี้ไปแล้ว" ไม่ต้องหวลกลับมา ตั้งฐานตาม กาย+เวทนากาย อีก ให้ตั้งฐานที่ จิต+เวทนาจิต ไปเลย "จิตตา+ธรรมา นุปัสสนามหาสติปัฏฐาน" ตามที่กล่าวไว้ตามข้างบนนี้

    +++ ให้เจริญในธรรมขึ้นไปเรื่อย ๆ นะครับ
     
  9. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ยัง ปุพเพ ตัง วิโสเสอิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2020

แชร์หน้านี้

Loading...