เรื่องเด่น ลักขณูปณิชฌาณ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 20 มิถุนายน 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ฌานลาภีบุคคลเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน

    ๑. พอเอ่ยคำว่า ฌาน ก็มักจะนึกถึง รูปาวจรจิต แท้จริงคำว่า ฌาน แปลว่า การเพ่งอารมณ์ และการเพ่งอารมณ์ก็มี ๒ ประการ ซึ่งอัฏฐสาลินีอรรถกถา แสดงว่า

    ฌานนฺติ ทุวิธํ ฌานํ อารมฺมณูปนิชฺฌานํ ลกฺขณูปนิชฺฌานนฺติ

    อันว่า ฌาน นั้นมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน อย่างหนึ่ง และลักขณูปนิชฌาน อีกอย่างหนึ่ง

    ตตฺถ อฏฺฐ สมาปตฺติโย ปฐวีกสิณาทิอารมฺมณํ อุปนิชฺฌายนฺตีติ อารมฺมณูปนิชฺฌานนฺติ สงฺขยํ คตา

    ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ จัดเข้าใน อารัมมณูปนิชฌาน เพราะเป็นผู้เข้าไปเพ่งซึ่งอารมณ์ มีปฐวีกสิณ เป็นต้น

    วิปสฺสนามคฺคผลานิ ปน ลกฺขณูปนิชฺฌานํ นาม

    แต่ว่า วิปัสสนาญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ทั้ง ๓ นี้ ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน

    ตตฺถ วิปสฺสนาอนิจฺจาทิลกฺขณสฺส อุปนิชฺฌานโต ลกฺขณูปนิชฺฌาน

    ที่ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปกำหนดรู้แจ้งไตรลักษณ์
    มีอนิจจลักษณะ เป็นต้น


    วิปสฺสนาย กตกิจฺจสฺส มคฺเคน อิชฺฌนโต มคฺโต ลกฺขณูปนิชฺฌาน

    มัคคญาณที่ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเป็นผู้ทำให้กิจที่รู้แจ้งไตรลักษณ์ของวิปัสสนาญาณสำเร็จลง

    ผลํ ปน นิโรธสจฺจํ ตถลกฺขณํ อุปนิชฺฌายตีติ ลกฺขณูปนิชฌานํ นาม

    ส่วนผลญาณ ที่ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปรู้แจ้งลักษณะอันแท้จริงของนิโรธสัจจ

    ๒. มีอธิบายความแตกต่างกันระหว่าง อารัมมณูปนิชฌาน กับลักขณูปนิชฌาน เพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้ คือ

    กล่าวโดยอารมณ์ อารัมมณูปนิชฌาน มีสมถกัมมัฏฐาน เช่น ปฐวีกสิณ คือ บัญญัติ เป็นต้น เป็นอารมณ์ ส่วนลักขณูปนิชฌานนั้น วิปัสสนาญาณ มีวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ รูป นาม ไตรลักษณ์ สังขตธรรม เป็นอารมณ์ มัคคญาณ ผลญาณ มีอสังขตธรรม คือนิพพาน เป็นอารมณ์

    กล่าวโดยองค์ธรรม อารัมมณูปนิชฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา ที่ประกอบกับมหัคคตฌานทั้ง ๙ เป็นองค์ธรรม ส่วน ลักขณูปนิชฌาน ก็มี วิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา ที่ประกอบกับมหากุสลจิต มัคคจิต ผลจิต เป็นองค์ธรรม

    ๓. ผู้บรรลุ มัคค ผล นิพพาน นั้นมีอยู่ ๒ จำพวกด้วยกัน คือ สุกขวิปัสสกจำพวกหนึ่ง และฌานลาภีบุคคลอีกจำพวกหนึ่ง

    สุกขวิปัสสกบุคคล นั้น เป็นผู้มีวิปัสสนาญาณอันแห้งแล้งจากโลกียฌาน คือ พระอริยบุคคลจำพวกนี้ไม่ได้เจริญสมถภาวนาจนเกิดฌานจิตมาแต่ก่อนเลย เริ่มเจริญวิปัสสนาภาวนาอย่างเดียวจนเป็นพระอริยบุคคล

    ส่วน ฌานลาภีบุคคล นั้น หมายถึงผู้ที่ได้เจริญสมถภาวนาจนเกิดฌานจิต มีปฐมญานเป็นต้นมาก่อนแล้ว เป็นฌานลาภีบุคคลมาแล้ว จึงได้มาเจริญวิปัสสนาภาวนาอีก จนเป็นพระอริยบุคคล

    ๔. ที่จะกล่าวต่อไปนี้ ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ได้ฌานแล้ว มาเจริญวิปัสสนาภาวนาอย่างไร จึงได้เป็นพระอริยบุคคล

    ๕. ฌานลาภีบุคคล ที่บำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนาภาวนา จนเกิดมัคคจิต ผลจิตนั้น มีวิธีที่เจริญภาวนาเป็น ๓ วิธี คือ

    ก. ปาทกฌานวาท หมายถึง ถือการเข้าฌานที่เป็นบาทเบื้องต้นแห่งการเจริญภาวนานั้นเป็นสำคัญ

    ข. สัมมสิตฌานวาท หมายถึง ถือการพิจารณาฌานเป็นสำคัญ

    ค. ปุคคลัชฌาสยวาท หมายถึง ถือความประสงค์ของฌานลาภีผู้เจริญภาวนานั้นเป็นสำคัญ

    ๖. ปาทกฌานวาท คือ ก่อนที่ฌานลาภีบุคคลจะเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น ได้เข้าฌานก่อน จะเป็นฌานชั้นใดก็แล้วแต่ ทั้งนี้เพื่อให้สมาธิมีกำลังดีขึ้น ฌานที่เข้าก่อนนี้เรียกว่า ปาทกฌาน เมื่อออกจากปาทกฌาน ก็พิจารณารูปนามต่อไปจนแจ้งไตรลักษณ์ และบรรลุถึงมัคคถึงผล ข้อที่สำคัญที่ปาทกฌาน ถ้าเข้าปฐมฌานเป็นปาทกฌาน มัคคจิตผลจิตที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกนี้ก็เรียกว่า ปฐมฌานโสดาปัตติมัคค ปฐมฌานโสดาปัตติผล สำเร็จเป็นปฐมฌานโสดาบันบุคคล

    ถ้าเข้าทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน หรือ ปัญจมฌาน เป็นปาทกฌาน มัคคจิตที่เกิดขึ้นเป็นปฐมมัคค ก็เรียกไปตามขั้นของฌาน เช่น ทุติยฌานโสดาปัตติมัคค ตติยฌานโสดาปัตติมัคค เป็นต้น ทำนองเดียวกับปฐมฌานโสดาปัตติมัคคจิตนั้น

    แม้มัคคจิตผลจิตเบื้องสูง คือ สกทาคามิมัคค-ผล อนาคามิมัคค-ผล อรหัตตมัคค-ผล ก็เป็นไปในทำนองเดียวกับปฐมมัคคจิตดังกล่าวแล้วนี้แหละ

    ข้อสำคัญถือฌานที่เป็นปาทกฌานนั้นเป็นใหญ่ เมื่อออกจากปาทกฌานแล้ว จะพิจารณาองค์ฌานโดยความจริง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาก็ได้ หรือจะพิจารณาสังขารธรรม รูปนามที่นอกจากองค์ฌาน โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ได้ เพราะถือฌานที่เป็นบาทเบื้องต้นนั้นเป็นใหญ่เป็นสำคัญ

    ๗. สัมมสิตฌานวาท คือ ฌานลาภีบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาภาวนานั้น พิจารณาฌานที่ตนเคยได้มาแล้ว จะเป็นฌานชั้นใดก็ตาม พิจารณาฌานนั้น โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะเข้าฌานก่อนก็ได้ หรือจะไม่เข้าฌานก่อนก็ได้ ไม่ถือการเข้าฌานเป็นสำคัญ แต่ถือการพิจารณาฌานนั้นเป็นใหญ่ เช่น เข้าปัญจมฌาน ครั้นเวลาที่พิจารณาโดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้น มาพิจารณาปฐมฌาน มัคคจิตที่เกิดขึ้นก็เป็นปฐมฌานมัคคจิต หาใช่ปัญจมฌานมัคคจิตไม่ โดยทำนองเดียวกัน เวลาเข้านั้น เข้าทุติยฌาน แต่เวลาพิจารณากลับไปพิจารณาจตุตถฌาน มัคคจิตที่เกิดขึ้นก็เป็น จตุตถฌานมัคคจิต

    ๘. บุคคลัชฌาสยวาท มุ่งหมายถึง ความปรารภ ความประสงค์ ความปรารถนา ของฌานลาภีบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาภาวนานั้นเป็นใหญ่เป็นสำคัญ เช่น ปรารภตติยฌานมัคคจิค ก็จะต้องเจริญภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่างนี้ คือ

    ก. ต้องเข้าตติยฌาน ซึ่งเป็นชั้นที่ตรงตามความประสงค์ของตน เมื่อออกจากตติยฌานแล้ว จะพิจารณารูปนามที่เป็นกามธรรม โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ได้

    ข. จะไม่เข้า ตติยฌาน ก็ได้ แต่ต้องพิจารณาองค์ฌานของตติยฌาน โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงจะตรงกับชั้นที่ตนปรารถนา

    พิจารณาไปจนมัคคจิตเกิด มัคคจิตนั้นก็เป็น ตติยฌานมัคคจิต

    ๙. คัมภีรวิสุทธิมัคค ได้กล่าวถึงเรื่อง อริยมัคค ประกอบด้วยกำลัง ๒ ประการไว้ว่า

    ที่นี้จะจำแนกในพละสมาโยคะ คือ พระอริยมัคค อันประกอบด้วยกำลัง ๒ ประการ จึงออกจาก นิมิต และปวัตติได้

    กำลัง ๒ ประการนั้น คือ พระสมถพละ ๑ และพระวิปัสสนาพละ ๑ สมถพละนั้นคือ สมาธิ วิปัสสนาพละนั้นคือ ปัญญา

    ขณะเมื่อพระโลกุตตรมัคคญาณบังเกิดนั้น พระสมถะกับพระวิปัสสนา มีกำลังเสมอกัน จะยิ่งหย่อนกว่ากันอย่างโลกียภาวนา หาบมิได้

    แท้จริงกาลเมื่อพระโยคาวจรเจ้า จำเริญโลกียสมาบัติทั้ง ๘ นั้น ยิ่งด้วยกำลังพระสมถะ กาลเมื่อพิจารณาสังขารธรรมด้วยอนิจจานุปัสสนา เป็นอาทินั้น ยิ่งด้วยกำลังพระวิปัสสนา ครั้นถึงขณะเมื่อพระอริยมัคคญาณบังเกิดนั้น กำลัง ๒ ประการ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นเอกรสะ มีกิจเสมอกัน เหตุสภาวบมิได้ล่วงซึ่งกัน เหตุดังนั้น อันว่ากิริยาอันประกอบด้วย พละทั้ง ๒ ประการ ก็มีในพระอริยมัคคญาณทั้ง ๔ ด้วยประการฉะนี้

    ๑๐. ขอย้อนกลับมากล่าวถึงสุกขวิปัสสกบุคคล ผู้มีวิปัสสนาญาณอันแห้งแล้งจากโลกียฌาน เป็นผู้ที่ไม่เคยได้เจริญสมถภาวนาจนบรรลุถึงฌานธรรมเลย บุคคลจำพวกนี้เวลาเจริญวิปัสสนาภาวนา จึงไม่สามารถกำหนดเพ่งฌานได้ ได้แต่กำหนดเพ่งรูปนามที่เป็นกามธรรมเพียงอย่างเดียว ถึงกระนั้นเมื่อมัคคจิตเกิดขึ้น ก็ย่อม บริบูรณ์ และพร้อมมูล ด้วยองค์ฌานทั้ง ๕ เหตุนี้จึงจัดว่าเป็น ปฐมฌานโสดาปัตติมัคคจิตเสมอไป

    สกทาคามิมัคค อนาคามิมัคค อรหัตตมัคค ของสุกขวิปัสสกบุคคล ก็จัดเข้าเป็นปฐมฌานด้วยกันทั้งสิ้น

    ดังมีหลักฐานใน อัฏฐสาลินีอรรถกถา แสดงไว้ว่า

    วิปสฺสนานิยาเมน สุกฺขวิปสฺสกสฺส อุปฺปนฺนมคฺโคปิ ปฐมชฺฌานิโก โหติ ฯ

    ตามธรรมเนียมของวิปัสสนา มีหลักอยู่ว่า มัคคที่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนาภาวนาล้วน ๆ ก็ย่อมประกอบด้วยปฐมฌาน


    เตวิชชบุคคล หมายถึง พระอรหันต์ผู้มีวิชา ๓ คือ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพพจักขุญาณ และ อาสวักขยญาณ

    ฉฬาภิญญาบุคคล หมายถึง พระอรหันต์ ผู้มีอภิญญา หรือ วิชา ๖ คือ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพพจักขุญาณ อาสวักขยญาณ เจโตปริยญาณ ทิพพโสตญาณ และอิทธิวิธญาณ

    อุภโตภาควิมุตติบุคคล หมายถึง พระอรหันต์ ผู้เป็นฌานลาภีบุคคลด้วย คือ มีฌานด้วย บ้างก็เรียกว่า เจโตวิมุตติบุคคล

    ปัญญาวิมุตติบุคคล หมายถึง สุกขวิปัสสกพระอรหันต์ คือ พระอรหันต์ผู้แห้งแล้งจากฌาน ผู้ไม่ได้ฌาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 143.jpg
      143.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.3 KB
      เปิดดู:
      407
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,447
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,447
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,447
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,447
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,447
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ลักขณูปนิชฌาน กับ ฐีติภูตัง

    ฌานมีอยู่ ๒ อย่าง อารัมมณูปนิชฌาน จิตสงบ นิ่ง รู้อยู่ในสิ่ง ๆ เดียว หรือรู้เฉพาะในจิตอย่างเดียว แล้วก็สงบนิ่งละเอียดไป จนกระทั่งถึงจุดร่างกายตัวตนหาย เหลือแต่จิตดวงเดียว นิ่ง สว่างไสวอยู่เท่านั้น อันนี้เป็นอารัมณูปนิชฌาน เป็นสมาธิในฌานสมาบัติ และอีกอันหนึ่ง ลักขณูปนิชฌาน พอจิตสงบนิ่งลงไปนิดหน่อย มันมีวิตก วิตกก็คือความคิด เมื่อความคิดเกิดขึ้น สติก็ทำหน้าที่ตามรู้ ไปทุกระยะ ถ้าหากสมาธิมีความเข้มข้น สติสัมปชัญญะเข้มแข็ง ความคิดมันก็เกิดเร็วขึ้น ๆ ๆ จนรั้งไม่อยู่ ในช่วงแรก ๆ ความคิดเกิดขึ้น ถ้าจิตไปยึดความคิดมันก็มีความยินดีมีความยินร้าย บางทีก็มีสุขมีทุกข์ บางทีก็หัวเราะไปร้องไห้ไปในจิตในใจ ผู้ปฏิบัติ ถ้าไม่เข้าใจผิด ปล่อยไปตามครรลองของมัน เราเอาสติตามรู้ไป พอไปถึงจุด ๆ หนึ่ง จิตมันจะหยุดนิ่งพั๊บลงไป สว่างไสว ร่างกายตัวตนหาย เหลือแต่จิตนิ่งสว่างไสวอยู่ดวงเดียวเท่านั้น สภาวะอันเป็นอารมณ์ และกิเลสทั้งหลาย มันจะมาวนเวียนรอบจิต อยู่ตลอดเวลา พอมาถึงความสว่างของจิต มันจะตกไปๆ เหมือนแมลงบินเข้ากองไฟ อันนี้ความหมายของโอวาทของหลวงปู่เสาร์เป็นอย่างนี้

    มันก็ไปตรงกับ ฐีติภูตัง ของ หลวงปู่มั่น พอจิตอยู่นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน สภาวะทั้งหลายอันเป็นสภาวธรรม นะมีปรากฏการณ์ เกิดขึ้นดับไป จิตก็รู้ นิ่ง เฉย เป็นกลางโดยเที่ยงธรรม ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์นั้น ๆ เพราะความยินดีไม่มี ความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ไม่มี จิตคิดขึ้นมารู้แล้วปล่อยวาง ๆ ไม่ยึดอะไรเป็นปัญหา ให้ตัวเองเดือดร้อน อันนี้หลวงปู่มั่นท่านเรียกว่า ฐีติภูตัง ฐีติ จิตตั้งมั่น นิ่ง เด่น สว่างไสว ภูตัง สภาวธรรมทั้งหลายปรากฏการณ์ให้จิตรู้อยู่ตลอดเวลา แต่จิตดำรงอยู่ในความเป็นอิสระโดยเที่ยงธรรม ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์นั้น ๆ

    ท่านผู้ฟังทั้งหลาย เราได้ยินคำว่า สัพเพ สังขารา อนิจจา สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ถ้าจิตของเรายังไม่มีสติสัมปชัญญะมั่นคง พอรับรู้อารมณ์อันใดมันหวั่นไหว เกิดความยินดี เกิดความยินร้าย อันนี้เรียกว่า สังขารา อนิจจา สังขารไม่เที่ยง แต่ถ้าจิตไปถึงจุดที่เรียกว่า ฐีติภูตัง อันนั้นมันเป็น วิสังขาร พึงทำความเข้าใจคำว่า สังขาร กับ วิสังขาร ตามนัยที่กล่าวมานี้ จิตรับรู้อารมณ์ ถ้าหวั่นไหว เกิดความยินดี ยินร้าย อันนั้นเรียกว่า สังขารา อนิจจา สังขารไม่เที่ยง แต่ถ้าหากว่าจิตนิ่งเฉย สว่างไสว อารมณ์อันเป็นปรากฏการณ์ หรือสภาวะที่เป็น ปรากฎการณ์ ให้จิตรู้เห็นตลอดเวลา แต่จิตไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์นั้น ๆ มีแต่ดำรงอยู่ในความเป็นกลางโดยเที่ยงธรรม ในลักษณะอย่างนี้ เรียกว่า วิสังขาร เพราะอารมณ์ไม่สามารถที่จะปรุงแต่งจิตได้ ฐีติภูตัง เป็นภาษารู้ของนักปฏิบัติ ซึ่งอาจจะไม่มีในตำรับตำรา ทีนี้ถ้าหากเรา จะหาตำรามาเป็นเครื่องยืนยัน เราจะเอาอะไรมา มันมีปรากฏอยู่ในสูตร ๆ หนึ่ง สูตรนั้นเริ่มต้นว่า อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อุนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง, ฐิตา วะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตตา ธัมมะ นิยามะตา ธัมมัฏฐิตตา เพราะความที่จิตตั้งมั่น นิ่ง เด่น สว่างไสว ธัมมะ นิยามะตา เพราะความที่สภาวธรรม ปรากฏการณ์ ให้จิตรู้ อยู่ตลอดเวลา อันนี้มีหลักฐานในธัมมนิยามสูตร

    ทีนี้ในส่วน อารัมมณูปนิชฌาน ลักขณูปนิชฌาน มีหลักฐานปรากฏอยู่ในคัมภีร์ธรรมบท ในเรื่อง ราธพราหมณ์ ตอนแก้อรรถกถา ในนั้นท่านอธิบายไว้ว่า คำว่า ฌาน มี ๒ อย่าง อารัมมณูปนิชฌาน จิตรู้ในอารมณ์เดียว ลักขณูปนิชฌาน จิตสงบแล้วมีความรู้ผุดขึ้น ๆ อย่างกับน้ำพุ พอไปถึงจุด ๆ หนึ่ง นิ่งกิ๊กลงไป สว่างไสว สภาวะทั้งหลายวนรอบจิตอยู่แล้ว ไม่สามารถไปประทุษร้ายความปกติของจิตได้ อันนี้หลักฐานปรากฏมีชัดเจน เป็นความหมายของโอวาทของพระอาจารย์เสาร์และพระอาจารย์มั่น

    โอวาทพระบูรพาจารย์

    พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)

    วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

    แสดงธรรมเนื่องในวันบูรพาจารย์ ณ วัดป่าสาลวัน

    เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๐

    4fSNXJbeZ1uEPo0uRMqSjkJlYQms4pRCSUjH3Wo1rUJKp15FUxGExYI9Tv2IX2NomE2Nyh7J&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,447
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,447
    หลีกเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ
    ************
    ธรรม ๑๑ ประการย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ คือ

    ความทำวัตถุให้สละสลวย ๑
    ความปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน ๑
    ความฉลาดในนิมิต ๑
    ความยกจิตในสมัย ๑
    ความข่มจิตในสมัย ๑
    ความทำจิตให้ร่าเริงในสมัย ๑
    ความเพ่งดูจิตอยู่เฉยๆ ในสมัย ๑
    หลีกเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ ๑
    คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ ๑
    พิจารณาวิโมกข์ ๑
    น้อมจิตไปในสมาธินั้น ๑.
    ....ฯลฯ...
    การหลีกเว้นไกลบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ยังไม่ถึงอุปจาระหรืออัปปนา ชื่อว่าหลีกเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ.
    ………….
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาอาหารสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=522

    ดูเพิ่มใน อาหารสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=123

    8022166_o-jpg-_nc_cat-107-_nc_sid-110474-_nc_ohc-1qxsko-gxjsax_bzfhd-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,447



    http://pratripitaka.com

    เรื่องพระสัปปทาสเถระ (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๑๑๒] ผู้มีความเพียรมั่นคง A แม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้เกียจคร้าน ไม่มีความเพียร ที่มีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี เชิงอรรถ A มีความเพียรมั่นคง หมายถึงบำเพ็ญเพียรอย่างหนักแน่น สามารถจะให้เกิดฌาน ๒ ประการ คือ (๑) อารัมมณูปนิชฌาน(การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔) (๒) ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล)
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,447
    อารัมมณูปนิชฌาน ลักขณูปณิชฌาณ และ สติปัฏฐาน๔


    บทว่า ฌานํ ความว่า ชื่อว่าฌานมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌานและลักขณูปนิชฌาน. ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ ชื่อว่าอารัมมณูปนิชฌาน. ก็สมาบัติ ๘ เหล่านั้น เรียกว่าอารัมมณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์มีปฐวีกสิณเป็นต้น.
    วิปัสสนา มรรค และผล ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน.
    ก็วิปัสสนาชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่งลักษณะของสังขารด้วยอำนาจไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยงเป็นต้น. ก็มรรคท่านเรียกว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะกิจในการเข้าไปเพ่งลักษณะแห่งวิปัสสนา ย่อมสำเร็จด้วยมรรค. ผลท่านเรียกว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่งพระนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ (ว่างเปล่า) อนิมิตตะ (ไม่มีนิมิต) และอัปปณิหิตะ (ไม่มีที่ตั้ง).
    ก็บรรดาฌาน ๒ อย่างนั้น ในอรรถนี้ประสงค์เอาอารัมมณูปนิชฌาน.
    บทว่า โก ปน วาโท เย น พหุลีกโรนฺติ ความว่า ไม่มีคำที่จะพึงกล่าวในชนผู้กระทำปฐมฌานนั้นให้มาก.
    คำที่เหลือในสูตรนี้ พีงเข้าใจโดยนัยดังกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแล.
    แม้ในบทว่า ทุติยํ ดังนี้เป็นต้นไป ก็พึงทราบเนื้อความโดยนัยมีอาทิว่า เป็นที่ ๒ ความลำดับแห่งการนับ ดังนี้.
    บทว่า เมตฺตํ ได้แก่ แผ่ประโยชน์เกื้อกูลไปในสรรพสัตว์ทั้งหลาย.
    บทว่า เจโตวิมุตฺตึ ได้แก่ ความหลุดพ้นด้วยจิต.
    เมตตาที่ถึงอัปปนาเท่านั้น ท่านประสงค์เอาในที่นี้. แม้ในกรุณาเป็นต้นก็มีนัยนี้นั่นแล. ก็พรหมวิหาร ๔ เหล่านี้เป็นวัฏฏะ เป็นบาทแห่งวัฏฏะ เป็นบาทแห่งวิปัสสนา เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นบาทแห่งอภิญญา หรือเป็นบาทแห่งนิโรธ. แต่ไม่เป็นโลกุตระ.
    ถามว่า เพราะเหตุไร.
    ตอบว่า เพราะยังมีสัตว์เป็นอารมณ์.
    บทว่า กาเย กายานุปสฺสี ความว่า ผู้พิจารณาเห็นด้วยปัญญาซึ่งกายนั้นแล ในกาย ๑๘ ประการนี้คือ อานาปานบรรพ ๑ อิริยาปถบรรพ ๑ จตุสัมปชัญญบรรพ ๑ ปฏิกูลมนสิการบรรพ ๑ ธาตุมนสิการบรรพ ๑ นวสีวถิกาบรรพ ๙ กสิณมีนีลกสิณเป็นต้น ๔ เนื่องด้วยบริกรรมภายใน.
    บทว่า วิหรติ แปลว่า เป็นอยู่ คือเป็นไปอยู่. ด้วยบทว่า วิหรติ นี้ ย่อมเป็นอันกล่าวถึงอิริยาบถของภิกษุผู้เจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานด้วยกาย ๑๘ อย่างนี้ด้วย.
    บทว่า อาตาปี ได้แก่ มีความเพียร ด้วยความเพียรเป็นเครื่องเจริญสติปัฏฐานมีประการดังกล่าวแล้วนั้นนั่นแล.
    บทว่า สมฺปชาโน ได้แก่ รู้อยู่โดยชอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ด้วยกาย ๑๘ อย่าง.
    บทว่า สติมา ผู้ประกอบด้วยสติอันควบคุมการพิจารณาเห็นกายด้วยกาย ๑๘ อย่าง
    บทว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ มีอธิบายว่า ภิกษุนำออกคือข่มตัณหาอันเป็นไปในกามคุณ ๕ และโทมนัสอันประกอบด้วยปฏิฆะในโลก กล่าวคือกายนั้นนั่นแหละ เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
    ด้วยประการเพียงเท่านี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวการพิจารณารูปล้วนๆ ด้วยกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน.
    บทว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี ความว่า ก็ในคำเป็นต้นว่า บรรดาเวทนาทั้งหลายมีสุขเวทนาเป็นต้น ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนา ๙ อย่างดังที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า๒-
    เมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่าเรากำลังเสวยสุขเวทนา เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่าเรากำลังเสวยทุกขเวทนา เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา (เวทนาที่ไม่สุขไม่ทุกข์) ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
    เมื่อเสวยสุขเวทนาอิงอามิส หรือสุขเวทนาปราศจากอามิส ทุกขเวทนาอิงอามิสหรือทุกขเวทนาปราศจากอามิส อทุกขมสุขเวทนาอิงอามิสหรืออทุกขมสุขเวทนาปราศจากอามิส ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยอทุกขมเวทนาปราศจากอามิส ดังนี้.
    ____________________________
    ๒- ที. มหา. เล่ม ๑๐/ข้อ ๒๘๘ อภิ. วิ. เล่ม ๓๕/ข้อ ๔๔๑ ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๑๓๙

    พึงทราบเนื้อความในเรื่องนี้ด้วยอำนาจของวิริยะ ปัญญาและสติ ซึ่งเป็นตัวกำกับการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานโดยประการ ๙ อย่าง.
    ก็ในบทว่า โลเก นี้ พึงทราบว่า ได้แก่เวทนา.
    แม้ในจิตและธรรมเป็นต้นก็มีนัยนี้แหละ.
    แต่บทว่า จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี ในสูตรนี้ มีความหมายว่า พิจารณาเห็นด้วยอนุปัสสนาอัน พิจารณาอย่างนี้ ในจิต ๑๖ ประเภทที่ท่านขยายความไว้ว่า หรือย่อมรู้ชัดจิตมีราคะว่าเป็นจิตมีราคะ ดังนี้.
    บทว่า ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี ความว่า พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยอนุปัสสนาอันเป็นตัวพิจารณา ในธรรมที่กล่าวไว้ ๕ ประการ ด้วยโกฏฐาส คือส่วนอย่างนี้ คือนิวรณ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ อายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละ ๖ โพชฌงค์ ๗ อริยสัจ ๔ .
    ก็ในการพิจารณาเห็นธรรมนี้ ท่านกล่าวการพิจารณานามล้วนๆ ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน และจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน. กล่าวถึงการพิจารณาทั้งรูปและนามในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน. พึงทราบว่าสติปัฏฐานแม้ทั้ง ๔ นี้ ท่านกล่าวทั้งโลกิยะและโลกุตระคละกันไป.
    บทว่า อนุปฺปนฺนานํ ได้แก่ ที่ยังไม่เกิด.
    บทว่า ปาปกานํ ได้แก่ ต่ำทราม.
    บทว่า อกุสลานํ ธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมมีโลภะเป็นต้นอันเกิดจากความไม่ฉลาด.
    บทว่า อนุปฺปาทาย คือ เพื่อต้องการไม่เกิด.
    บทว่า ฉนฺทํ ชเนติ ความว่า ย่อมให้เกิดกุศลฉันทะในความเป็นผู้ใคร่จะทำ.
    บทว่า วายมติ ได้แก่ กระทำความเพียรเป็นเครื่องประกอบ คือความบากบั่น.
    บทว่า วีริยํ อารภติ ได้แก่ กระทำความเพียรทางกายและทางใจ.
    บทว่า จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ได้แก่ ยกจิตขึ้นด้วยความเพียรอันเกิดร่วมกันนั้นนั่นแหละ.
    บทว่า ปทหติ ได้แก่ กระทำความเพียรอันเป็นปธานะ.
    บทว่า อุปฺปนฺนานํ ได้แก่ เกิดแล้ว คือบังเกิดแล้ว.
    บทว่า กุสลานํ ธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมมีอโลภะเป็นต้นอันเกิดจากความฉลาด.
    บทว่า ฐิติยา แปลว่า เพื่อความตั้งอยู่.
    บทว่า อสมฺโมสาย แปลว่า เพื่อความไม่เลือนหาย.
    บทว่า ภิยฺโยภาวาย แปลว่า เพื่อความมีบ่อยๆ.
    บทว่า วิปุลาย แปลว่า เพื่อความไพบูลย์.
    บทว่า ภาวนาย แปลว่า เพื่อความเจริญ.
    บทว่า ปาริปูริยา แปลว่า เพื่อความบริบูรณ์.
    การขยายความเฉพาะบทเดียวสำหรับสัมมัปปธาน ๔ เพียงเท่านี้ก่อน.
    ก็ชื่อว่ากถาว่าด้วยสัมมัปปธานนี้มี ๒ อย่าง คือ เป็นโลกิยะ ๑ เป็นโลกุตระ ๑. ในกถา ๒ อย่างนั้น สัมมัปปธานกถาอันเป็นโลกิยะมีอยู่ในเบื้องต้นแห่งกถาทั้งปวง.
    กถาว่าด้วยสัมมัปปธานอันเป็นโลกิยะนั้น พึงทราบได้เฉพาะในขณะมรรคเป็นโลกิยะโดยปริยายแห่งกัสสปสังยุต.
    สมจริงดังที่ท่านพระมหากัสสปกล่าวไว้ในกัสสปสังยุตนั้นว่า
    ผู้มีอายุ สัมมัปปธาน (ความเพียรชอบ) ๔ เหล่านี้
    สัมมัปปธาน ๔ อย่างเป็นไฉน.
    ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมกระทำความ
    เพียรอยู่ว่า อกุศลธรรมอันลามก ยังไม่เกิดขึ้นแก่
    เรา เมื่อเกิดขึ้นพึงเป็นไปเพื่อความฉิบหาย, ย่อม
    กระทำความพากเพียรอยู่ว่า อกุศลธรรมอันลามก
    ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อยังละไม่ได้ พึงเป็นไปเพื่อ
    ความฉิบหาย, ย่อมกระทำความพากเพียรอยู่ว่า
    กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อยังไม่เกิดขึ้น
    พึงเป็นไปเพื่อความฉิบหาย, ย่อมกระทำความพาก
    เพียรอยู่ว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ
    ไป พึงเป็นไปเพื่อความฉิบหาย ดังนี้.
    ____________________________
    ๓- สํ. นิ. เล่ม ๑๖/ข้อ ๔๖๘

    ก็ในอธิการนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายมีโลภะเป็นต้น พึงทราบว่าอกุศลธรรมอันลามก.
    บทว่า อนุปฺปนฺนา เม กุสลา ธมฺมา ได้แก่ สมถวิปัสสนาและมรรค.
    สมถวิปัสสนาและมรรค ชื่อว่ากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว. แต่มรรคนั้นเกิดขึ้นคราวเดียวแล้วดับไป ชื่อว่าย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย. เพราะมรรคนั้นให้ปัจจัยแก่ผล (ก่อน) แล้วก็ดับไป. อีกอย่างหนึ่ง แม้ในตอนต้นก็กล่าวไว้ว่า พึงถือเอาเฉพาะสมถวิปัสสนาเท่านั้น ชื่อว่ากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว แต่คำที่กล่าวนั้นไม่ควร. กถาว่าด้วยสัมมัปปธานอันเป็นโลกิยะ พึงทราบโดยปริยายแห่งกัสสปสังยุตในตอนต้นๆ แห่งสูตรทั้งปวง.
    ก็ในขณะโลกุตรมรรค ความเพียรอย่างเดียวนี้เท่านั้นได้ชื่อ ๔ ชื่อ เนื่องด้วยทำกิจ ๔ อย่างให้สำเร็จ.
    ในบทว่า อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ นี้ ในบาลีแห่งกัสสปสังยุตนั้น พึงทราบความตามนัยที่กล่าวในบทว่า อนุปฺปนฺโน เจว กามฉนฺโท (กามฉันทะยังไม่เกิดขึ้น) ดังนี้เป็นต้น.
    ในบทว่า อุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ นี้ อุปปันนะมี ๔ อย่าง คือ วัตตมานุปปันนะ ภุตวาวิคตุปปันนะ โอกาสกตุปปันนะ ภูมิลัทธุปปันนะ.
    ในอุปปันนะ ๔ อย่างนั้น ข้อที่กิเลสมี (และ) พร้อมพรั่งด้วยการถือมั่น นี้ชื่อว่าวัตตมานุปปันนะ.
    ก็เมื่อกรรมเป็นไปอยู่ เสวยรสอารมณ์แล้ว วิบากดับไป ชื่อว่าภุตวาวิคตุปปันนะ. กรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไป ก็ชื่อว่าภุตวาวิคตุปปันนะ. แม้ทั้งสองความหมายนั้นก็นับว่า ภุตวาวิคตุปปันนะ.
    กุศลกรรมห้ามวิบากของกรรมอื่นเสีย ให้โอกาสแก่วิบากของตน. วิบากที่เกิดขึ้นในโอกาสที่ได้อย่างนี้ เรียกว่าอุปปันนะ จำเดิมแต่ได้โอกาสนี้ ชื่อว่าโอกาสกตุปปันนะ.
    ก็เบญจขันธ์ ชื่อว่าภูมิของวิปัสสนา. เบญจขันธ์เหล่านั้นเป็นขันธ์ต่างโดยอดีตขันธ์เป็นต้น. ส่วนกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในเบญจขันธ์เหล่านั้น ไม่ควรกล่าวว่าเป็นอดีตหรืออนาคต. เพราะกิเลสแม้นอนเนื่องอยู่ในอดีตขันธ์ก็ยังละไม่ได้ แม้ที่นอนเนื่องอยู่ในอนาคตขันธ์ก็ยังละไม่ได้ แม้ที่นอนเนื่องอยู่ในปัจจุบันขันธ์ก็ยังละไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ข้อที่ยังละกิเลสอันนอนเนื่องในขันธ์ต่างๆ ไม่ได้นี้ ชื่อว่าภูมิลัทธุปปันนะ. เพราะเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า กิเลสทั้งหลายที่ยังถอนไม่ได้ในภูมินั้นๆ ย่อมนับว่า ชื่อว่าภูมิลัทธุปปันนะ.
    อุปปันนะ ๔ ประการ อีกอย่างหนึ่ง คือ สมุทาจารุปปันนะ อารัมมณาธิคหิตุปปันนะ อวิกขัมภิตุปปันนะ อสมุคฆาฏิตุปปันนะ.
    ในอุปปันนะ ๔ อย่างนั้น อุปปันนะที่เป็นไปทันทีทันใด ชื่อว่าสมุทาจารุปปันนะ.
    ไม่ควรกล่าวว่า กิเลสจักไม่เกิดขึ้น. ในขณะที่ลืมตาขึ้นครั้งหนึ่ง แล้วระลึกถึงอารมณ์ที่ถือเป็นนิมิต. เพราะเหตุไร. เพราะกิเลสยึดติดอารมณ์.
    ถามว่า เหมือนอะไร.
    ตอบว่า เหมือนบุคคลเอาขวานฟันต้นไม้ที่มียาง พูดไม่ได้ว่าในที่ที่ถูกขวานฟันแล้ว ยางจักไม่ไหล. นี้ชื่อว่าอารัมมณาธิคหิตุปปันนะ.
    ก็กิเลสที่ไม่ได้ข่มไว้ด้วยสมาบัติ ไม่ควรกล่าวว่าจักไม่เกิดในที่ชื่อนี้.
    ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะไม่ได้ข่มไว้.
    ถามว่า เหมือนอะไร. ตอบว่า เหมือนคนเอาขวานตัดต้นไม้ที่มียาง ไม่ควรกล่าวว่า ยางจะไม่ไหลในที่ชื่อนี้. อันนี้ชื่อว่าอวิกขัมภิตุปปันนะ.
    ก็กิเลสที่ยังไม่ได้ถอนขึ้นด้วยมรรค ย่อมเกิดแม้แก่ผู้บังเกิดในภวัคคพรหม เพราะเหตุนั้น พึงขยายความให้พิสดารโดยนัยก่อนนั่นแล. อันนี้ชื่อว่าอสมุคฆาฏิตุปปันนะ.
    ในอุปปันนะเหล่านั้น อุปปันนะ ๔ อย่าง คือ วัตตมานุปปันนะ ภุตวาวิคตุปปันนะ โอกาสกตุปปันนะ สมุทาจารุปปันนะ ไม่เป็นอุปปันนะที่มรรคจะพึงฆ่า.
    อุปปันนะที่มรรคจะพึงฆ่าได้มี ๔ อย่าง คือ ภูมิลัทธุปปันนะ อารัมมณาธิคหิตุปปันนะ อวิกขัมภิตุปปันนะ อสมุคฆาฏิตุปปันนะ. เพราะมรรคเกิดขึ้นย่อมละกิเลสเหล่านี้. มรรคนั้นละกิเลสเหล่าใด กิเลสเหล่านั้นไม่ควรจะกล่าวว่าเป็นอดีต อนาคตหรือปัจจุบัน.
    สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
    หากละกิเลสอันเป็นอดีตได้ไซร้ ถ้าอย่างนั้น
    ก็ย่อมยังกิเลสที่สิ้นไปแล้วให้สิ้นไปได้ ดับกิเลสที่ดับ
    แล้วให้ดับได้ ยังกิเลสที่ถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ให้ถึงการ
    ตั้งอยู่ไม่ได้ ละกิเลสที่ล่วงไปแล้วซึ่งไม่มีอยู่ได้.
    หากละกิเลสอันเป็นอนาคตได้ไซร้ ถ้าอย่าง
    นั้น ก็ย่อมละกิเลสที่ยังไม่เกิด ย่อมละกิเลสที่ยังไม่
    บังเกิด ยังไม่เกิดขึ้นแล้ว ยังไม่ปรากฏได้ ย่อมละ
    กิเลสที่ยังไม่มาถึงซึ่งไม่มีอยู่ได้.
    หากละกิเลสอันเป็นปัจจุบันได้ไซร้ ถ้าอย่าง
    นั้น คนผู้กำหนัดย่อมละราคะได้ คนผู้ประทุษร้าย
    ย่อมละโทสะได้ คนผู้หลงย่อมละโมหะได้ คนผู้เย่อ
    หยิ่งย่อมละมานะได้ คนผู้ยึดมั่นความเห็นผิดย่อม
    ละทิฏฐิได้ คนผู้ตัดสินใจไม่ได้ย่อมละวิจิกิจฉาได้
    คนผู้มีเรี่ยวแรงย่อมละอนุสัยได้
    ธรรมดำกับธรรมขาว ก็ย่อมจะเป็นธรรมคู่
    กำกับกันเป็นไป. การบำเพ็ญมรรคก็ย่อมเป็นไป
    กับสังกิเลส ฯลฯ. ถ้าอย่างนั้น การบำเพ็ญมรรค
    ย่อมไม่มี, การทำผลให้แจ้งย่อมไม่มี, การละกิเลส
    ย่อมไม่มี, การตรัสรู้ธรรมย่อมไม่มี.
    การบำเพ็ญมรรค มีอยู่ ฯลฯ การตรัสรู้ธรรม
    มีอยู่. ถามว่า เปรียบเหมือนอะไร. ตอบว่า เปรียบ
    เหมือนต้นไม้รุ่นๆ ฯลฯ เป็นไม้ที่ยังไม่ปรากฏ (ผล)
    ย่อมไม่ปรากฏ (ผล) เลย.
    ____________________________
    ๔- ขุ. ปฏิ. ข้อ ๓๑/ข้อ ๖๙๙-๗๐๐

    ต้นไม้ที่ยังไม่เกิดผล (มีที่) มาในพระบาลี แต่ควรแสดงต้นไม้ที่เกิดผลด้วย. เปรียบเหมือนต้นมะม่วงรุ่นที่มีผล พวกมนุษย์จะบริโภคผลของมัน จึง (เขย่า) ให้ผลที่เหลือหล่นลง แล้วเอาใส่ในกระเช้าให้เต็ม.
    ภายหลัง บุรุษอีกคนเอาขวานตัดต้นมะม่วงนั้น. ผลอันเป็นอดีตของมะม่วงต้นนั้น ย่อมเป็นผลที่บุรุษคนนั้นทำให้เสียหายไม่ได้ ผลที่เป็นปัจจุบันและอนาคตก็ทำให้เสียหายไม่ได้ เพราะผลที่เป็นอดีต พวกมนุษย์ก็บริโภคไปแล้ว ผลที่เป็นอนาคตก็ยังไม่เกิด จึงไม่อาจทำให้เสียหาย. ก็ในสมัยที่ต้นมะม่วงนั้นถูกเขาตัด ผลมะม่วงยังไม่มี เพราะเหตุนั้น ผลที่เป็นปัจจุบันจึงไม่ถูกทำให้เสียไป. ก็ถ้าต้นมะม่วงยังไม่ถูกตัด ผลของมันอาศัยรสของดินและรสของน้ำเกิดขึ้นในภายหลังนั้น ย่อมถูกทำให้เสียหาย. เพราะผลเหล่านั้นที่ยังไม่เกิดก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิด และที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏไม่ได้ฉันใด
    มรรคก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมละกิเลสอันต่างด้วยกิเลสอันเป็นอดีตเป็นต้นก็หามิได้ จะไม่ละก็หามิได้. การเกิดขึ้นแห่งกิเลสเหล่าใด จะพึงมีได้ในเมื่อมรรคยังไม่กำหนดรู้ขันธ์ทั้งหลาย (แต่) เพราะมรรคเกิดขึ้นกำหนดรู้ขันธ์ทั้งหลายได้แล้ว กิเลสเหล่านั้นที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิด ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิด ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ.
    พึงขยายเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้งด้วยยา สำหรับให้หญิงแม่ลูกอ่อนไม่คลอดบุตรอีกต่อไป หรือแม้สำหรับระงับโรคของคนเจ็บป่วย. ไม่ควรกล่าวว่า กิเลสทั้งหลายที่มรรคละได้นั้นเป็นอดีต อนาคตหรือปัจจุบัน ด้วยประการอย่างนี้.
    อนึ่ง มรรคจะไม่ละกิเลสทั้งหลายก็หาไม่. แต่ท่านหมายเอากิเลสที่มรรคละได้เหล่านั้น จึงกล่าวว่า อุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ ดังนี้เป็นต้น. ก็มรรคจะละแต่กิเลสเท่านั้นก็หามิได้ แม้อุปาทินนขันธ์ที่เกิดขึ้นก็ละได้ เพราะละกิเลสทั้งหลายได้เด็ดขาดแล้ว.
    สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า (ขันธ์ทั้งหลายเหล่าใด คือ) นามและรูปพึงเกิดขึ้นในสังสารอันกำหนดที่สุดเบื้องต้นและเบื้องปลายไม่ได้ เว้น ๗ ภพ โดยดับอภิสังขารวิญญาณด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ ขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นย่อมดับที่นามรูปนี้ ดังนี้ ความพิสดารแล้ว.
    มรรคย่อมออกจากอุปาทินนขันธ์ และอนุปาทินนขันธ์ ด้วยประการฉะนี้.
    ก็ว่าด้วยภพทั้งปวง โสดาปัตติมรรคย่อมออกจากอบายภพ. สกทาคามิมรรคย่อมออกจากส่วนหนึ่งของสุคติภพ. อนาคามิมรรคย่อมออกจากสุคติกามภพ. อรหัตมรรคย่อมออกจากรูปภพและอรูปภพ. บางอาจารย์กล่าวว่า พระอรหัตมรรคย่อมออกจากภพทั้งปวง ดังนี้ก็มี.
    ถามว่า ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น ในขณะแห่งมรรคจะมีการอบรมเพื่อยังธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นได้อย่างไร หรือจะมีการอบรมเพื่อให้ธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดำรงอยู่ได้อย่างไร.
    ตอบว่า ด้วยการที่มรรคดำเนินไปไม่ขาดสายนั่นแหละ, ก็มรรคที่กำลังดำเนินไปอยู่ เรียกชื่อว่าอนุปปันนะ เพราะไม่เคยเกิดขึ้นในกาลก่อน. เหมือนอย่างว่า คนผู้ไปยังที่ที่ไม่เคยไปและได้เสวยอารมณ์ที่ยังไม่เคยเสวย มักจะกล่าวว่า พวกเราได้ไปยังที่ที่ไม่ได้เคยไปแล้วหามิได้ เสวยอารมณ์ที่ไม่ได้เคยเสวยแล้วหามิได้ ดังนี้ฉันใด. ความดำเนินไปของมรรคนี้นั่นแหละ ชื่อว่าตั้งอยู่ เพราะเหตุนั้นจะกล่าวว่า ในภาวะแห่งการตั้งอยู่ ดังนี้ก็ควร.
    ความเพียรในขณะโลกุตรมรรคนี้ของภิกษุนั้น ย่อมได้ชื่อ ๔ ชื่อมีอาทิว่า อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ อกุสลานํ ธมฺมานํ อนุปาทาย ดังนี้ฉันนั้นเหมือนกัน.
    กถาว่าด้วยความเพียรชอบในขณะโลกุตรมรรคเพียงเท่านี้. ก็ในพระสูตรนี้ ท่านกล่าวความเพียรชอบอันเป็นโลกิยะและโลกุตระคละกันไป.
    บรรดาอิทธิบาททั้งหลาย สมาธิที่อาศัยฉันทะดำเนินไป ชื่อว่าฉันทสมาธิ.
    บทว่า ปธานสงฺขารสมนฺนาคตํ ความว่า บาทแห่งความสำเร็จที่แสดงไว้แล้วด้วยธรรมเหล่านั้น หรือบาทอันเป็นความสำเร็จชื่อว่าอิทธิบาท.
    แม้ในบทที่เหลือ ก็มีนัยนี้นั่นแล.
    ในที่นี้มีความสังเขปเพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดารมีมาแล้วในอิทธิบาทวิภังค์นั่นแล.
    ก็เนื้อความ (แห่งอิทธิบาทนั้น) แสดงไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.
    ในวิสุทธิมรรคนั้น แสดงไว้ว่า ในกาลใด ภิกษุนี้อาศัยธุระอย่างหนึ่งในฉันทอิทธิบาทเป็นต้น เจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต แม้สมถะก็เหมือนกัน อิทธิบาทที่ภิกษุนั้นอาศัยเจริญวิปัสสนา ในกาลนั้น เป็นโลกิยะในเบื้องต้น เป็นโลกุตระในเบื้องปลาย แม้อิทธิบาทที่เหลือก็อย่างนั้นดังนี้. ในพระสูตรแม้นี้ก็ตรัสอิทธิบาทอันเป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ.
    ก็ศรัทธาในบทว่า สทฺธินฺทฺริยํ ภาเวติ ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะกระทำความเป็นใหญ่ในศรัทธาธุระของตน. แม้ในวิริยินทรีย์เป็นต้นก็นัยนี้แหละ.
    ก็ในบทว่า ภาเวติ นี้ พระโยคาวจรผู้เริ่มบำเพ็ญเพียร ชำระสัทธินทรีย์ให้หมดจดด้วยเหตุ ๓ ประการ ชื่อว่าเจริญสัทธินทรีย์. แม้ในวิริยินทรีย์เป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
    สมจริงดังที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า๕-
    สัทธินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่านี้
    แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ผู้เสพ คบ เข้าไปนั่ง
    ใกล้บุคคลผู้มีศรัทธา ผู้พิจารณาพระสูตรอันน่าเลื่อมใส.
    วิริยินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่านี้
    แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน ผู้เสพ คบ เข้าไปนั่ง
    ใกล้บุคคลผู้ปรารภความเพียร ผู้พิจารณาสัมมัปปธาน
    (ความเพียรชอบ).
    สตินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่านี้
    แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม ผู้เสพ คบ เข้าไปนั่ง
    ใกล้บุคคลผู้มีสติปรากฏ ผู้พิจารณาสติปัฏฐาน.
    สมาธินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่า
    นี้แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ผู้เสพ คบ เข้าไป
    นั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ผู้พิจารณาฌานและวิโมกข์.
    ปัญญินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่า
    นี้แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้ไม่มีปัญญา ผู้เสพ คบ เข้าไป
    นั่งใกล้บุคคลผู้มีปัญญา ผู้พิจารณาญาณจริยาอันลึกซึ้ง.
    ____________________________
    ๕- ขุ. ปฏิ. ข้อ ๓๑/ข้อ ๔๒๓

    ก็บทว่า คมฺภีรญาณจริยํ ปจฺจเวกฺขโต ในพระบาลีนั้น มีความว่า ผู้พิจารณาลำดับขันธ์๖- ลำดับอินทรีย์ พละ และโพชฌงค์ ลำดับมรรคและลำดับผลอันละเอียดสุขุม. ก็พระโยคาวจรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐาน ไม่กระทำความยึดมั่นด้วยอำนาจแห่งเหตุละ ๓ๆ เหล่านี้ เริ่มตั้งความยึดมั่นในศรัทธาธุระเป็นต้น อบรมให้เจริญขึ้น ในที่สุดละขาดได้ ย่อมถือเอาพระอรหัต. พระโยคาวจรนั้น ชื่อว่าเจริญอินทรีย์เหล่านี้จนกระทั่งพระอรหัตมรรค. เมื่อบรรลุพระอรหัตผลแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เจริญอินทรีย์.
    ____________________________
    ๖- ฎีกาแก้ว่า ความที่ขันธ์ทั้งหลายเป็นต่างๆ กันโดยสภาวะ ชาติและภูมิเป็นต้น.

    ท่านกล่าวอินทรีย์แม้ทั้ง ๕ นี้เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระด้วยประการฉะนี้.
    ในสัทธาพละเป็นต้น ศรัทธานั่นแหละเป็นพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัทธาพละ.
    แม้ในวิริยพละเป็นต้นก็มีนัยเหมือนสัทธาพละนั่นแล.
    ก็ศรัทธาในอธิการว่าด้วยพละนี้ ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยความไม่เชื่อ, ความเพียรย่อมไม่หวั่นไหวด้วยความเกียจคร้าน, สติย่อมไม่หวั่นไหวด้วยความหลงลืมสติ, สมาธิย่อมไม่หวั่นไหวด้วยความฟุ้งซ่าน, ปัญญาย่อมไม่หวั่นไหวด้วยอวิชชา เพราะเหตุนั้น พละแม้ทั้งหมดเรียกว่าพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว.
    ก็การประกอบความเพียรในการเจริญภาวนาในพละนี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในการเจริญอินทรีย์นั่นแล. ท่านกล่าวพละ ๕ นี้เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ.


    อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาตปสาทกรธัมมาทิบาลี
    https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&&i=207&p=2

    หน้าต่างที่ ๒ / ๖.



    อรรถกถาอปรอัจฉราสังฆาตวรรค๑-
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,447
    . จิตตวิสุทธิ
    http://abhidhamonline.org/visudhi.htm

    หมายถึง จิตที่มีความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส จิตตวิสุทธิว่าโดยอรรถ ได้แก่ สมาธิวิสุทธิ จิตตวิสุทธิหรือสมาธิวิสุทธิ ต้องเป็นไปเพื่ออานิสงส์ที่เป็นปัจจัยแก่การพ้นทุกข์เท่านั้น สมาธินี้จึงชื่อว่าบริสุทธิ์ ถ้าทำสมาธิเพื่อจะได้มีความสุข ต้องการให้จิตสงบ ความเข้าใจเช่นนี้ สมาธินั้นก็ไม่บริสุทธิ์ เพราะไม่ต้องการพ้นทุกข์
    (ขุ. ปฏิ. ญาณกถา ๓ /๗๒)



    หน้าที่ของสมาธิในสติปัฏฐานนั้น คือ การทำลายอภิชฌาและโทมนัส หรือทำลายความยินดี-ยินร้ายที่อยู่ในจิตใจ ซึ่งศีลไม่สามารถทำลายความรู้สึกนึกคิดได้ ศีลเพียงแต่กันไม่ให้แสดงออกทางกาย ทางวาจาเท่านั้น นิวรณ์ธรรมเกิดขึ้นในระดับจิตใจขณะที่คิดนึกถึงเรื่องราวที่เป็นอดีตหรืออนาคต ถ้าขณะใดจิตตั้งมั่นในอารมณ์ปัจจุบันแล้ว นิวรณ์จะเกิดไม่ได้เลย

    สมาธิมีอยู่ ๓ ขั้น คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ขณิกสมาธิเป็นได้ทั่วไปในอารมณ์ทั้ง ๖ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ขณะย้ายอารมณ์ไปตามทวารทั้ง ๖ ด้วยเหตุใดก็ตาม ขณิกสมาธิจะติดตามไปด้วยเสมอ ขณิกสมาธิดังกล่าวนี้จึงเป็นปัจจัยหรือเป็นบาทฐานให้แก่วิปัสสนา เพราะการเปลี่ยนอารมณ์ที่เป็นไปตามเหตุผลนั้นเอง ที่เป็นเหตุให้เห็นถึงความเกิดขึ้นและดับไปของอารมณ์และของจิตได้ถ้าหากไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์แล้ว ยากที่จะเข้าใจถึงสภาวะของความเกิด ความดับ ของจิตได้

    (วิสุทธิ. อ. ภาค ๒ / ๒๙)

    ความเกิดของจิตในอารมณ์หนึ่ง ๆ นั้น รวดเร็วมากจนไม่ทันเห็นความดับของจิตได้ จึงคิดว่าอารมณ์มีอยู่ ดังนั้น สมาธิที่แน่วแน่จึงไม่เป็นบาทแก่วิปัสสนา และไม่เป็นเหตุให้เห็นความเกิดขึ้นและความดับไปของจิตและอารมณ์ ความสามารถในการรู้ทุกข์ในจิตหรือในอารมณ์นั้น ไม่อาจรู้ได้ด้วยสมาธิ แต่จะรู้ได้ด้วยปัญญา จิตที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของสติปัฏฐาน จึงเป็นบาทให้เห็นความเกิดขึ้นและดับไปของอารมณ์ได้ ผู้บำเพ็ญเพียรจะโดยสมถะก็ดี หรือวิปัสสนาก็ดี สิ่งสำคัญอยู่ที่อารมณ์ที่ใช้ในการพิจารณา จึงต้องศึกษาเรื่องอารมณ์ว่าอารมณ์อย่างไร จึงจะเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนา และอารมณ์อย่างไรเป็นปัจจัยแก่สมถะ

    สมาธิที่เป็นจิตตวิสุทธิ จะต้องเป็นไปในอารมณ์ของสติปัฏฐาน เพราะทำลายกิเลส คือ อภิชฌาและโทมนัส ถ้าสมาธิไม่มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์แล้ว จะทำให้เกิดความสงบ มีความสุข มีความพอใจในความสงบหรือความสุขนั้น ความพอใจเป็นกิเลสอย่างหนึ่งอาศัยสมาธิเกิดขึ้น สมาธิเช่นนี้จึงไม่สามารถทำลายอารมณ์วิปลาสได้

    สำหรับการเจริญวิปัสสนาของผู้ที่ได้ฌานแล้ว มีวิธีทำอย่างไร (อัฏฐสาลินี อ. ๑ / ๓๕๕) ที่เรามักได้ยินกันว่า ยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา นั้นหมายความว่า ในองค์ฌานทั้ง ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข และเอกัคคตา ผู้ที่ได้ฌานมักจะติดในสุข และเพลิดเพลินในสุข ความสุขนี้เกิดจากปิติเป็นเหตุ ฉะนั้น การยกองค์ฌานจึงอาศัยการเพ่งปิติซึ่งเป็นองค์ฌานและเป็นนามธรรมนั่นเอง ธรรมชาติของปิตินั้นจะเพ่งหรือไม่เพ่งก็มีการเกิดดับ แม้จิตที่เป็นสมาธิก็มีการเกิดดับ ปิติซึ่งอาศัยจิตที่ได้ฌานแล้ว ยิ่งเกิดดับรวดเร็วมาก ปิตินั่นแหละจะแสดงความเกิดดับให้ปรากฏแก่ผู้เพ่งพิจารณา เมื่อเห็นว่าปิติมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว จิตก็จะดำเนินไปในอารมณ์ของวิปัสสนาด้วยอำนาจของการเพ่งลักษณะของปิติ (ไม่ใช่เพ่งอารมณ์บัญญัติ) วิปลาสก็จับในอารมณ์นั้นไม่ได้

    ดังนั้น ถ้าฌานใดที่เพ่งลักษณะ หรือสมาธิใดที่พิจารณาลักษณะที่กำลังเปลี่ยนแปลง (ลักขณูปนิชฌาน) สมาธินั้นชื่อว่าเป็นบาทของวิปัสสนา และเรียกสมาธินั้นว่า จิตตวิสุทธิ ส่วนสมาธิใดที่เพ่งอารมณ์บัญญัติ (อารัมมณูปนิชฌาน) ไม่เพ่งลักษณะ ไม่จัดว่าเป็นจิตตวิสุทธิ
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,447
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,447
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,447
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...