สัมมาสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 20 กรกฎาคม 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ?temp_hash=890554dab5678e6cee59d0a42193fccd.jpg

    สัมมาสมาธิในพุทธศาสนา

    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    วัดบวรนิเวศวิหาร


    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความขาดนิดหน่อย
    อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ


    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

    สมาธิเป็นข้อปฏิบัติที่ตรัสแสดงไว้ต่อจากศีล และสืบไปปัญญา ดังที่เราทั้งหลายได้ฟังและได้พูดกันอยู่เสมอว่า ศีล สมาธิ ปัญญา และศีลสมาธิปัญญานี้ก็อาจขยายออกไปเป็นมรรคมีองค์ ๘ และมรรคมีองค์ ๘ นั้นก็เป็นอริยสัจจ์ข้อที่ ๔ ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ ซึ่งเป็นคำสั่งสอนหลักแห่งพระพุทธศาสนา อันได้ (แก่) อริยสัจจ์คือทุกข์ คือทุกขสมุทัยเหตุเกิดทุกข์ คือทุกขนิโรธความดับทุกข์ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือเรียกสั้นว่ามรรค มรรคคือทางที่มีองค์ ๘

    อริยสัจจ์ทั้ง ๔ นี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้ครั้งแรกในปฐมเทศนา คือในเทศน์ครั้งแรกของพระองค์ที่ทรงแสดงแก่ฤษี ๕ ท่าน ซึ่งเรียกกันว่าพระเบญจวัคคีย์

    โดยที่ได้ตรัสประกาศทางปฏิบัติของพระองค์ตั้งแต่ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ คือยังมิได้ตรัสรู้ ว่าได้ทรงละทางที่เป็นสุดโต่งทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค ความประกอบตนพัวพันไว้ในทางกาม สดชื่นอยู่ในกาม และ อัตตกิลมถานุโยค ความประกอบตนทรมาณตนให้ลำบาก ทรงปฏิบัติในทางอันเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นทางกลาง คือไม่ข้องแวะเกี่ยวข้องกับทางทั้งสองที่ทรงละนั้น

    และก็ได้ตรัสแสดงต่อไปว่าก็คือมรรคมีองค์ ๘ และเมื่อได้ทรงปฏิบัติในมรรคมีองค์ ๘ สมบูรณ์บริบูรณ์แล้ว ก็ทรงได้ญาณคือความหยั่งรู้ผุดขึ้นในธรรมะที่มิได้เคยทรงสะดับมาแต่ก่อน ว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ นี้ทุกขนิโรธความดับทุกข์ นี้มรรคคือทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

    และทรงได้พระญาณคือความหยั่งรู้อีกด้วยว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ควรละ นิโรธความดับทุกข์ควรกระทำให้แจ้ง และมรรคทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ควรปฏิบัติทำให้มีขึ้น ให้บริบูรณ์ และทรงได้ญาณคือความหยั่งรู้อีกด้วยว่า ทุกข์ได้ทรงกำหนดรู้แล้ว สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ทรงละได้แล้ว นิโรธคือความดับทุกข์ทรงกระทำให้แจ้งได้แล้ว มรรคคือทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ทรงปฏิบัติให้มีบริบูรณ์แล้ว ดั่งนี้ เพราะฉะนั้นจึงได้ทรงปฏิณญาพระองค์ว่าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ คือความตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว พูดสั้นๆ ว่าได้ตรัสรู้เป็นพุทโธ คือเป็นผู้ตรัสรู้แล้วดั่งนี้

    เพราะฉะนั้น อริยสัจจ์ทั้ง ๔ นี้จึงเป็นธรรมะหลักในพุทธศาสนา ได้ตรัสแสดงประกาศความตรัสรู้ของพระองค์ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ และความตรัสรู้ของพระองค์นี้จึงจำแนกออกได้ ในทางที่จะต้องพูดอธิบายกัน

    ว่าประกอบด้วยญาณคือความหยั่งรู้ทั้ง ๓ คือ

    ๑ สัจญาณ ความรู้ในสัจจะคือของจริงหรือความจริง

    ๒ กิจญาณ ความรู้ในกิจคือหน้าที่ซึ่งพึงกระทำในสัจจะคือของจริงนั้น

    ๓ กตญาณ ความรู้ว่าได้ทำกิจที่พึงทำนั้นเสร็จแล้ว ดั่งนี้

    สัจญาณความรู้ในสัจจะคือจริงของแท้นั้น ก็คือรู้ว่านี้ทุกข์ นี้สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ นี้นิโรธความดับทุกข์ นี้มรรคคือทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ กล่าวให้เข้าใจง่ายก็คือได้ตรัสรู้ว่านี้เป็นทุกข์จริง นี้เป็นสมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์จริง นี้คือเป็นนิโรธคือความดับทุกข์จริง นี้เป็นมรรคคือทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์จริง คือรู้สัจจะความจริงในทั้ง ๔ ข้อนี้ ว่าแต่ละข้อเป็นดั่งนั้นจริง

    และคำว่า นี้ ก็หมายถึงภายใน ก็คือตรัสรู้ภายในที่กายและจิตนี้เอง เพราะฉะนั้น จึงได้ทรงแสดงไว้ในที่อื่นในภายหลัง ว่าทรงบัญญัติทั้ง ๔ ข้อนี้ ในกายที่ยาววามีสัญญามีใจครองนี้ ดั่งนี้ นี้เป็นสัจญาณ

    กิจญาณรู้ในกิจคือหน้าที่ที่พึงกระทำในทั้ง ๔ ข้อนั้นก็คือ ข้อทุกข์มีหน้าที่ซึ่งจะพึงปฏิบัติกำหนดรู้ คือให้รู้ว่าเป็นทุกข์จริง สมุทัย ( เริ่ม ๓๒/๒ ) มีหน้าที่พึงปฏิบัติก็คือทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น คือปฏิบัติให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น ไม่ใช่ละ แต่ว่าทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น ดั่งนี้เป็นกิจญาณ

    กตญาณนั้นก็คือว่ารู้ว่าได้ทำกิจทั้งปวงเหล่านี้เสร็จแล้ว ทุกข์ก็ได้กำหนดรู้แล้ว คือเห็นทุกข์แล้ว ว่านี้เป็นทุกข์จริง สมุทัยคือตัณหากิเลสอกุศลทุจริตบาปทั้งหลาย ละได้แล้ว ละได้หมดสิ้นเชิงแล้ว ตลอดจนถึงอาสวะอนุสัยที่นอนจมอยู่ในจิตเป็นตัวจิตสันดาน ละได้หมดเป็น ขีณาสวะ เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ไม่ใช่ละได้แต่ชั้นหยาบ หรือในภายนอก แต่ละได้หมดตลอดจนถึงในก้นบึ้งของจิตใจ มีจิตที่บริสุทธิ์ตลอดหมด ไม่มีอาสวะกิเลสหลงเหลืออยู่

    ฉะนั้นนิโรธคือความดับทุกข์จึงกระทำให้แจ้ง ให้แจ้งได้ รู้ตนเอง รู้พระองค์เองว่าดับกิเลสดับทุกข์ได้หมดแล้ว มรรคคือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ก็ปฏิบัติได้สมบูรณ์แล้ว ไม่มีบกพร่อง เต็มที่ ก็เป็นกตญาณ

    เพราะฉะนั้น ในธรรมจักรซึ่งเป็นปฐมเทศนาของพระองค์ จึงได้ใช้คำว่ามีวนรอบสาม มีอาการสิบสอง คือพระญาณความหยั่งรู้นี้วนไปสามรอบในอริยสัจจ์ทั้งสี่ และเมื่อนับจำนวนทั้งหมด สามสี่ก็เป็นสิบสอง ที่ว่าวนไปสามรอบนั้น

    รอบที่ ๑ ก็คือรู้โดยสัจญาณ คือรู้ว่านี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

    รอบที่ ๒ ก็คือโดยกิจญาณ รู้ว่าทุกข์ควรกำหนดรู้ สมุทัยควรละ นิโรธควรกระทำให้แจ้ง มรรคควรปฏิบัติให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น

    รอบที่ ๓ รู้โดยกตญาณ คือรู้ว่าได้กำหนดรู้ทุกข์แล้ว ละสมุทัยได้แล้ว กระทำให้แจ้งนิโรธได้แล้ว ปฏิบัติในมรรคสมบูรณ์แล้ว

    ดั่งนี้ เรียกว่าวนไปสามรอบในอริยสัจจ์ทั้งสี่ โดยสัจญาณรอบ ๑ โดยกิจญาณรอบ ๑ โดยกตญาณรอบ ๑ สามสี่ก็เป็นสิบสอง มีอาการ ๑๒

    และการที่ตรัสแสดงไว้ดั่งนี้ก็เป็นสิ่งจำเป็น ในฐานะที่ทรงเป็นพระผู้ทรงจำแนกแจกธรรม เพื่อให้ผู้ฟังมีความเข้าใจ ก็ต้องแยกต้องจำแนกออกไปดั่งนี้ แต่ว่าก็มิได้หมายความว่าจะรู้ ๑๒ หน และญาณคือความหยั่งรู้นี้ก็มี ๑๒ ญาณ แต่หมายความว่ามีญาณคือความหยั่งรู้เดียว ๑ เท่านั้นไม่ใช่ ๑๒ ญาณ มีญาณอันเดียวญาณอันหนึ่งเท่านั้น ที่รู้โดยสัจจะ โดยกิจจะ และโดยกัตตะ คือทำสำเร็จรวมอยู่ในญาณอันเดียวกันทั้งหมด และรู้พร้อมในขณะเดียวกัน

    ไม่ใช่ ๑๒ ขณะ ไม่ใช่ ๑๒ ญาณ แต่เป็นญาณคือความหยั่งรู้อันเดียว หากว่าจะเทียบทางวัตถุที่พอจะทำให้ได้คิดว่ารู้หลายลักษณะ ขณะเดียวกันนี้เป็นไปได้หรือ ก็ลองนึกดูถึงความรู้บางอย่างที่ได้จากลูกตา เช่นลูกตาที่ดูนาฬิกา ก็เห็นหน้าปัทม์นาฬิกานั้นขณะเดียว เห็นขีดหรือเลขที่บอกชั่วโมงบอกนาที เห็นเข็มชี้บอกชั่วโมง เข็มชี้บอกนาที เข็มชี้บอกวินาทีพร้อมกัน แล้วก็รู้เวลา ว่าเป็นเวลาเท่านั้นเท่านี้ ที่เป็นตัวความรู้ แต่ว่าตาที่มองเห็นนั้นต้องเห็นทั้งหมดในขณะเดียวกัน จึงรู้เวลาอันถูกต้อง ไม่ใช่รู้ทีละอย่าง แต่รู้ในขณะเดียวกัน เห็นทั้งหมดในขณะเดียวกัน อยู่ในสายตาที่เห็นทีเดียว จึงรู้เวลาได้ เพราะฉะนั้น ญาณคือความหยั่งรู้ที่เป็นอันเดียวนี้ เป็นความรู้ที่มีได้ แต่เมื่อจะจำแนกตัวความรู้นี้ว่ารู้ยังไง ก็จะต้องพูดใช้ภาษา จำแนกแจกแจงออกไปเป็นยังโง้นเป็นยังงี้มากมาย

    เพราะฉะนั้น ธรรมะที่มีมากมาย จนถึงที่ตรัสหรือที่เรียกกันว่าแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ก็เพราะเหตุนี้ แต่ว่าในความตรัสรู้จริงๆ นั้น รวมอยู่เป็นอันเดียวกัน แว๊บเดียวกัน คือขณะจิตเดียว ญาณอันเดียวเท่านั้น แต่ว่ารวมอยู่หมด ผุดขึ้นแก่พระพุทธเจ้า จึงได้ทรงเป็นพุทโธคือเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว และก็ได้ทรงแสดงสั่งสอนประกาศความตรัสรู้ของพระองค์ในปฐมเทศนา

    เพราะฉะนั้นปฐมเทศนาจึงเป็นหลักสำคัญในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ตรัสแสดงอริยสัจจ์เป็นหลักของพุทธศาสนา และก็ได้มีตรัสแสดงไว้ในที่ต่างๆ ในคราวต่างๆ แก่บุคคลต่างๆ โดยปริยายคือทางแสดงที่เป็นอย่างนั้นบ้าง ที่เป็นอย่างนี้บ้าง อย่างโน้นบ้าง แต่ว่าก็สรุปลงอยู่ในอริยสัจจ์ ๔ นี้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจึงได้มีพระพุทธภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่าเปรียบเหมือนอย่างรอยเท้าช้าง

    ที่ใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์ทั้งปวง รอยเท้าสัตว์ทั้งปวงรวมลงในรอยเท้าช้างได้ ธรรมะที่ทรงสั่งสอนทั้งหมดก็รวมลงในอริสัจจ์ทั้ง ๔ นี้ได้ อริยสัจจ์ทั้ง ๔ นี้จึงเป็นธรรมะหมวดใหญ่ เป็นที่รวมของธรรมะที่ทรงสั่งสอนไว้ทั้งหมด ดั่งนี้

    ฉะนั้นแม้ในมหาสติปัฏฐานสูตร ก็จบลงด้วยอริยสัจจ์ทั้ง ๔ และในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ นี้ ก็มีมรรคเป็นข้อสุดท้าย คือมรรคมีองค์ ๘ และมรรคมีองค์ ๘ นี้ ก็มีสัมมาทิฏฐิเป็นที่ ๑ สัมมาสังกัปปะความดำริชอบเป็นที่ ๒ ทั้งสองนี้ก็นับว่าเป็นปัญญาสิกขา สัมมาวาจาเจรจาชอบเป็นที่ ๓ สัมมากัมมันตะการงานชอบเป็นที่ ๔ สัมมาอาชีวะเลี้ยงชีวิตชอบเป็นที่ ๕ สามข้อนี้ก็เป็นสีลสิกขา สัมมาวายามะเพียรชอบเป็นข้อที่ ๖ สัมมาสติ สติระลึกชอบเป็นข้อที่ ๗ สัมมาสมาธิตั้งใจชอบเป็นข้อที่ ๘ ทั้งสามข้อนี้เป็นจิตตสิกขาหรือสมาธิ เพราะฉะนั้นก็รวมเข้าเป็นศีลสมาธิปัญญานั้นเอง แต่ในมรรคมีองค์ ๘ นี้ แสดงปัญญาเป็นที่หนึ่ง ศีลเป็นที่สอง สมาธิเป็นที่สาม ซึ่งมีสัมมาสมาธิสมาธิชอบเป็นข้อสุดท้าย

    เพราะฉะนั้น สัมมาสมาธิจึงเป็นข้อสำคัญ เพราะจิตที่เป็นสมาธินั้นคือจิตที่ตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ในทางที่ถูกที่ชอบ ย่อมเป็นที่รองรับของกุศลธรรมทั้งหลายได้ด้วย พึงพิจารณาเทียบกันดูว่าเหมือนอย่างมือแบของบุคคล เมื่อบุคคลแบมือ และวางของอะไรลงไปในมือ ถ้ามือสะบัดแกว่ง ของที่มีอยู่ในมือนั้นก็ตั้งอยู่ไม่ได้ ก็จะต้องตกหล่นไป แต่ถ้ามือสงบนิ่ง ของที่ตั้งอยู่ในมือนั้นก็ตั้งอยู่ได้ ฉันใดก็ดี จิตที่ดิ้นรนกวัดแกว่งกระสับกระส่าย กุศลธรรมทั้งหลายก็ตั้งอยู่ในจิตไม่ได้ แต่ว่าจิตที่สงบแน่วแน่กุศลธรรมทั้งหลายจึงตั้งอยู่ในจิตได้ นี้ว่าในฝ่ายดี แม้ในฝ่ายชั่วก็เหมือนกัน ถ้าจิตไม่ตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำ แม้ความชั่วเองก็ไม่ตั้งอยู่ในจิต

    ต่อเมื่อจิตตั้งใจแน่วแน่ว่าจะทำ ความชั่วเองจึงตั้งอยู่ในจิตได้ เพราะฉะนั้นแม้ในการกระทำความชั่วทั้งหลาย ก็ต้องมีสมาธิในการทำ แต่ว่านั่นท่านแสดงว่าเป็นมิจฉาสมาธิ สมาธิที่ผิด ส่วนสัมมาสมาธิ สมาธิที่ถูกต้องนั้น ต้องตั้งอยู่ในทางดี กระทำความดี

    เพราะฉะนั้น จึงมีพระสูตรที่แสดงว่า สัมมาสมาธินั้นเป็นตัวหลักซึ่งประกอบด้วยบริขาร คือข้อปฏิบัติอันเป็นเครื่องประกอบเข้ามาอีก ๗ ข้อ ก็คือมรรคมีองค์ ๘ เจ็ดข้อข้างต้นนั้นเอง ตั้งแต่สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ จนถึงสัมมาสติ สติตั้งระลึกชอบ ทั้ง ๗ ข้อนี้ตรัสเรียกว่าเป็นบริขาร คือเครื่องประกอบ เครื่องที่จะต้องใช้สอยของสมาธิ ก็เหมือนอย่างบริขารเครื่องใช้สอยสำหรับพระภิกษุสามเณรเช่นบาตรจีวรเป็นต้น เรียกกันว่าบริขาร หรือสมณบริขาร

    แม้สัมมาสมาธิก็ต้องมีบริขาร ก็คือมรรคมีองค์ ๘ เจ็ดข้อข้างต้นนี้เอง ซึ่งเมื่อพิจารณาดูแล้วก็จะเห็นความว่า สัมมาสมาธิในพุทธศาสนานั้น จะต้องประกอบด้วยมรรคอีก ๗ ข้อเข้ามาด้วย พูดง่ายๆ ก็คือว่าจะต้องเป็นความตั้งจิตมั่นอยู่ในทางที่ชอบ ที่จะกระทำความดีความชอบต่างๆ ที่จะให้เกิดปัญญาที่ชอบ ให้เกิดความประพฤติที่ชอบ จึงจะต้องมีปัญญาที่ชอบ ต้องมีความประพฤติที่ชอบ จะต้องมีสติที่ชอบ ความเพียรที่ชอบประกอบเข้ามา จึงจะเป็นสัมมาสมาธิในพุทธศาสนา คือเป็นสมาธิอันถูกต้อง

    ถ้าหากว่าไม่มีองค์ประกอบอีก ๗ ข้อเข้ามาประกอบด้วยแล้ว ก็จะเป็นมิจฉาสมาธิ
    สมาธิในทางที่ผิดได้ เหมือนอย่างสมาธิของผู้ที่กระทำความชั่วทั้งหลาย ของโจรทั้งหลาย ซึ่งผู้กระทำความชั่วทั้งปวงนั้นต้องมีสมาธิ แต่ว่าเป็นมิจฉาสมาธิ และแม้ว่าจะเป็นความดี ไม่ใช่ความชั่ว ความดีก็ยังเป็นชั้นๆ เป็นชั้นกามาพจรหยั่งลงในกาม ชั้นรูปาพจรหยั่งลงในรูปคือขั้นที่ได้สมาธิมีรูปเป็นอารมณ์ ชั้นอรูปาพจรคือสมาธิที่มีอรูปเป็นอารมณ์ ก็ยังเป็นขั้นๆ ขึ้นไปอีกเหมือนกัน

    รวมความก็คือว่าสมาธิในขั้นทั้งปวงที่กล่าวมานี้ ก็ยังเป็นโลกิยะสมาธิ ต่อเมื่อพ้นจาก กามาพจร รูปาพจร อรูปาวจร จึงจะเป็น โลกุตรสมาธิ เป็นสมาธิอันประกอบด้วยมรรคอีก ๗ ข้อ เป็น ๘ กำจัดกิเลสอันเป็นเครื่องผูกพันใจ อันเรียกว่าสัญโยชน์ได้ตั้งแต่ ๓ ขึ้นไป ดั่งนี้ จึงจะก้าวขึ้นเป็นโลกุตรสมาธิซึ่งเป็นสมาธิขั้นสูง

    แต่ว่าผู้ปฏิบัตินั้นเมื่อปฏิบัติในทางที่เป็นกุศล ที่เป็นสัมมาสมาธิไปโดยลำดับ ประกอบด้วยมรรคมีองค์ ๗ อีกๆ ๗ ข้อ รวมเป็น ๘ ด้วยกันไปโดยลำดับ ก็ใช้ได้ และในทางของการปฏิบัติก็ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นขั้นๆ ขึ้นไป คือหยาบไปหาละเอียดไปโดยลำดับ แล้วก็เป็นไปเอง เหมือนอย่างขึ้นบันไดไปทีละขั้น ก็ถึงขั้นสูงสุดขึ้นเอง ในทีแรกก็ต้องก้าวขึ้นขั้นต่ำก่อน จะไม่ก้าวขึ้นขั้นต่ำไปให้ขึ้นขั้นสูงสุดทีเดียวนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้

    เพราะฉะนั้นความสำคัญจึงอยู่ที่ว่า แม้ในการปฏิบัติเบื้องต้นที่เป็นสมาธิในพุทธศาสนานั้น ต้องเป็นสัมมาสมาธิ และจะเป็นสัมมาสมาธิได้ ก็ต้องประกอบด้วยมรรคอีก ๗ ข้อข้างต้น คือต้องมีทั้งปัญญา ต้องมีทั้งศีล และต้องมีทั้งสมาธิมาประกอบกัน ตามควรแก่ทางปฏิบัติ เมื่อเป็นดั่งนี้จึงจะเป็นสัมมาสมาธิ สมาธิอันถูกต้องในพุทธศาสนา

    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดทำความสงบสืบต่อไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    117387017_3041347259321742_1631925028374987068_n-jpg.jpg
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    พระพุทธเจ้าทรงประกาศธรรมบรรยายชื่อว่ามหาจัตตารีสกะ แปลว่าธรรมหมวดใหญ่ ๔๐ ประการ แบ่งเป็น ฝ่ายกุศล ๒๐ ประการ และฝ่ายอกุศล ๒๐ ประการ
    *************
    [๑๔๒] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า
    สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร
    คือ สัมมาทิฏฐิ ย่อมทำลายมิจฉาทิฏฐิได้ และบาปอกุศลธรรมเป็นอเนกอันมีมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็เป็นอันถูกสัมมาทิฏฐินั้นทำลายแล้ว กุศลธรรมเป็นอเนกอันมีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
    สัมมาสังกัปปะ ย่อมทำลายมิจฉาสังกัปปะได้ ...
    สัมมาวาจา ย่อมทำลายมิจฉาวาจาได้ ...
    สัมมากัมมันตะ ย่อมทำลายมิจฉากัมมันตะได้ ...
    สัมมาอาชีวะ ย่อมทำลายมิจฉาอาชีวะได้ ...
    สัมมาวายามะ ย่อมทำลายมิจฉาวายามะได้ ...
    สัมมาสติ ย่อมทำลายมิจฉาสติได้ ...
    สัมมาสมาธิ ย่อมทำลายมิจฉาสมาธิได้ ...
    สัมมาญาณะ ย่อมทำลายมิจฉาญาณะได้ ...
    สัมมาวิมุตติ ย่อมทำลายมิจฉาวิมุตติได้ และบาปอกุศลธรรมเป็นอเนก อันมีมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็เป็นอันถูกสัมมาวิมุตตินั้นทำลายแล้ว กุศลธรรมเป็นอเนกอันมีสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่
    ภิกษุทั้งหลาย เราจึงประกาศธรรมบรรยายชื่อว่ามหาจัตตารีสกะฝ่ายกุศล ๒๐ ประการ ฝ่ายอกุศล ๒๐ ประการ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกยังประกาศไม่ได้ไว้ ด้วยประการฉะนี้
    …ฯลฯ...
    .....................
    ข้อความบางตอนใน มหาจัตตารีสกสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=17
    อรรถกถามหาจัตตารีสกสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=252
    หมายเหตุ คำว่า มหาจัตตารีสกะ แปลว่า ธรรมหมวดใหญ่ ๔๐ ประการ หมายถึงธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ประการ และธรรมฝ่ายอกุศล ๒๐ประการ

    ธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ประการ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ สัมมาญาณะและสัมมาวิมุตติ รวม ๑๐ ประการ หรือเรียกว่า สัมมัตตธรรม ๑๐ และกุศลธรรมอเนกประการที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยสัมมัตตธรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัยอีก ๑๐ ประการ จึงรวมเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ประการ

    ธรรมฝ่ายอกุศล ๒๐ ประการ คือ องค์แห่งมิจฉามรรค ๘ ประการ มิจฉาญาณะและมิจฉาวิมุตติ รวม ๑๐ ประการ หรือเรียกว่า มิจฉัตตธรรม ๑๐ และอกุศลธรรมอเนกประการที่เกิดขึ้นเพราะอาศัย มิจฉัตตธรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัย อีก ๑๐ ประการ จึงรวมเป็นธรรมฝ่ายอกุศล ๒๐ ประการ

    SwqrLzVCxog9XA2ya-zJrGwPXAuQLjzQ0DDV7k8bLJrF&_nc_ohc=I98uML6_InwAX8hiahf&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
    ทีฆนิกาย มหาวรรค
    [​IMG]
    [​IMG]
    สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
    เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ
    วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี
    อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
    ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
    เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
    โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมา-
    *สมาธิ ฯ

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๖๗๒๑ - ๖๗๒๙. หน้าที่ ๒๗๖.
    http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=6721&Z=6729&pagebreak=0
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐
    http://84000.org/tipitaka/read/?index_10
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,256
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...