สุญญาตา หมายถึงอะไร

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย to2504, 30 พฤษภาคม 2008.

  1. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    รบกวนถามค่ะ สุญญาตา แท้จริงแล้วหมายถึงอะไรคะ

    ** อนุโมทนาค่ะ **
     
  2. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 1

    พระสุตตันตปิฎก

    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

    เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๒

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    สุญญตวรรค

    ๑. จูฬสุญญตสูตร

    [๓๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับ มาอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา
    มิคารมารดา ในวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์
    ออกจากสถานทีหลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่ง
    เรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่สักยนิคมชื่อนครกะ ในสักกชนบท
    ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้สดับ ไค้รับพระดำรัสนี้เฉพาะพระพักตร์พระผู้มี-
    พระภาคเจ้าว่า ดูก่อนอานนท์ บัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ อันข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว
    ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ.






    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 2

    [๓๓๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งว่า ดูก่อนอานนท์ แน่นอน นั่นเธอ
    สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ดูก่อนอานนท์
    ทั่งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม เปรียบเหมือนปราสาท
    ของมิคารมารดาหลังนี้ ว่างเปล่าจากช้าง โค ม้า และลา ว่างเปล่าจากทอง
    และเงิน ว่างจากการชุมนุมของสตรีและบุรุษ มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะ
    ภิกษุสงฆ์เท่านั้น ฉันใด ดูก่อนอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจ
    สัญญาว่าบ้าน ไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์ ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าป่า
    จิตของเธอยู่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าป่า เธอจึง
    รู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าบ้าน ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญา
    ว่าบ้าน และชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์เลย มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย
    คือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญา
    ว่าบ้าน สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์ และรู้ชัดว่ามีในว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียว
    เฉพาะสัญญาว่าบ้านเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น
    ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่
    ว่ามี ดูก่อนอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง
    ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น .
    ว่าด้วยปฐวีสัญญา
    [๓๓๕] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญา
    ว่ามนุษย์ไม่ใส่ใจสัญญาว่าป่า ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดิน จิต
    ของเธอยู่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าแผ่นดิน
    เปรียบเหมือนหนังโคที่เขาขึงดีแล้วด้วยหลักตั้งร้อย เป็นของปราศจากรอยย่น






    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 3

    ฉันใด ดูก่อนอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจแผ่นดินนี้ ซึ่งจะ
    มีชั้นเชิง มีแม่น้ำลำธาร มีที่เต็มด้วยตอหนาม มีภูเขาและพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ
    ทั้งหมด ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดิน จิตของเธอย่อมแล่นไป
    เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าแผ่นดิน เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    ในสัญญาว่าแผ่นดินนี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์
    และชนิดที่อาศัยสัญญาว่าป่า มีอยู่ก็แค่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะ
    เดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดินเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญา
    ว่ามนุษย์ สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าป่า และรู้ชัดว่า มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียว
    เฉพาะสัญญาว่าแผ่นดินเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่าง
    นั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งทีเหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยัง
    มีอยู่ว่ามี ดูก่อนอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความ
    เป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น .
    [๓๓๖] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่าป่า
    ไม่ใส่ใจสัญญาว่าแผ่นดิน ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญา
    จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในอากาสานัญจายตน-
    สัญญา เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในอากาสานัญจายตนสัญญานี้ ไม่มีความ
    กระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าป่าและชนิดที่อาศัยสัญญาว่าแผ่นดิน มีอยู่
    ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญา
    เท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าป่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่า
    แผ่นดิน และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญา
    เท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ. เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ใน
    สัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูก่อนอานนท์






    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 4

    แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด
    บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น.
    [๓๓๗] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่า
    แผ่นดิน ไม่ใส่ใจอากาสานัญจายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะวิญญาณัญ-
    จายตนสัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ใน
    วิญญาณัญจายตนสัญญา เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในวิญญาณัญจายตนสัญญานี้
    ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาลัยสัญญาว่าแผ่นดิน และชนิดที่อาศัยอากา-
    สานัญจายตนสัญญา มีอยู่ก็แค่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะ
    วิญญาณัญจายตนสัญญาเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าแผ่นดิน
    สัญญานี้ว่างจากอากาสานัญจายตนสัญญาและรู้ชัดว่า มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียว
    เฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญาเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็น
    ความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้น
    อันยังมีอยู่ ว่ามี ดูก่อนอานนที่แม้อย่างนี้ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความ
    เป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ของภิกษุนั้น.
    ว่าด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา
    [๓๓๘] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากาสานัญ
    จายตนสัญญา ไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะอากิญ-
    จัญญายตนสัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่
    ในอากิญจัญญายตนสัญญา เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในอากิญจัญญายตนสัญญานี้
    ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยอากาสานัญจายตนสัญญาและชนิดที่อาศัย
    วิญญาณัญจายตนสัญญา มีอยู่ก็แค่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะ
    อากิญจัญญายตนสัญญาเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากอากาสานัญจายตน-






    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 5

    สัญญา สัญญานี้ว่างจากวิญญาณัญจายตนสัญญา และรู้ชัดว่ามี ไม่ว่างอยู่ก็คือ
    สิ่งเดียวเฉพาะอากิญจัญญายคนสัญญาเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณา
    เห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ใน
    สัญญานั้นอัน ยังมีอยู่ว่ามี ดูก่อนอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง
    ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาดบริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น.
    [๓๓๙] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจวิญญาณัญ-
    จายตนสัญญา ไม่ใส่ใจอากิญจัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะ
    เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และ
    นึกน้อมอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในเนว
    สัญญานาสัญญายตนสัญญานี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยวิญญาณัญ-
    จายตนสัญญาและชนิดที่อาศัยอากิญจัญญายตนสัญญา มีอยู่ก็แค่เพียงความ
    กระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาเท่านั้น เธอรู้
    ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากวิญญาณัญจายตนสัญญา สัญญานี้ว่างจากอากิญจัญญายตน
    สัญญาและรู้ชัดว่ามี ไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา
    เท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ใน
    สัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูก่อนอานนท์
    แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด
    บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น .
    [๓๔๐] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญ-
    ญายตนสัญญา ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะ
    เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อม
    อยู่ในเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในเจโตสมาธินี้ ไม่มีความ






    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 6

    กระวนกระวายชนิดที่อาศัยอากิญจัญญายตนสัญญาและชนิดที่อาศัยเนวสัญญา
    นาสัญญายตนสัญญา มีอยู่แค่เพียงความกระวนกระวายคือความเกิดแห่งอายตนะ
    ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากอากิญ-
    จัญญายตนสัญญา สัญญานี้ว่างจากเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาและรู้ชัดว่ามี
    ไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย
    ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโต
    สมาธินั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี ดูก่อน
    อานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่
    เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น.
    ว่าด้วยอนิมิตตเจโตสมาธิ
    [๓๔๑] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญ-
    จัญญายตนสัญญา ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียว
    เฉพาะเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และ
    นึกน้อมอยู่ในเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า เจโตสมาธิอันไม่มี
    นิมิตนี้แล ยังมีปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้ ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจ
    ได้นั้น ไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้
    จักย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิต
    หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
    อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำไค้ทำเสร็จแล้ว กิจอันเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
    เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าในญาณนี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยกามาสวะ
    ชนิดที่อาศัยภวาสวะและชนิดที่อาศัยอวิชชาสวะ มีอยู่ก็แค่เพียงความกระวน
    กระวาย คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย






    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 7

    เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากกามาสวะ สัญญานี้ว่างจากภวาสวะ สัญญานี้ว่าง
    จากอวิชชาสวะ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกาย
    นี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่าง
    นั้น ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้น
    อันยังมีอยู่ ว่ามี ดูก่อนอานนท์ แม้อย่างนี้เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตาม
    ความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น.
    ว่าด้วยสุญญตาวิหาร
    [๓๔๒] ดูก่อนอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลไม่ว่าพวก
    ใด ๆ ที่เข้าถึงสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็ได้เข้าถึง
    สุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคต
    กาลไม่ว่าพวกใด ๆ ที่จะเข้าถึงสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมด
    นั้น ก็จักเข้าถึงสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือ
    พราหมณ์ในบัดนี้ ไม่ว่าพวกใด ๆ ที่เข้าถึงสุญญตสมาบัติอัน บริสุทธิ์ เยี่ยมยอด
    อยู่ ทั้งหมดนั้นย่อมเข้าถึงสุญญตสมาบัติอัน บริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ ดูก่อน
    อานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราจักเข้าถึง
    สุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชม
    ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
    จบ จูฬสุญญตสูตรที่ ๑


    ที่มา:

     
  3. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ขอบคุณครับ
     
  4. jinnivan

    jinnivan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +250
    ตาม ปรัชญาปรมิตาสูตร ของมหายานนะครับ
    ผู้ (ประกอบ) อยู่ด้วยโลกุตรปัญญาอันลึกซึ้งได้มองเห็นว่า โดยธรรมชาติแท้แล้วขันธ์ทั้งห้านั้นว่างเปล่า,(และด้วยเหตุที่เห็นเช่นนั้น จึง) ได้ก้าวล่วงพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้


    สารีบุตร!
    รูปไม่ต่างไปจากความว่าง,ความว่างก็ไม่ต่างไปจากรูป.
    รูปคือความว่างนั่นเอง,(และ) ความว่างก็คือรูปนั่นเอง.


    เวทนา, สัญญา, ก็เป็นดังนี้ด้วย
    สังขาร, และวิญญาณก็เป็นดังนี้ด้วย.


    สารีบุตร!
    ธรรมทั้งหลาย (สิ่งทั้งหลายทั้งปวง)มีธรรมชาติแห่งความว่าง (กล่าวคือ):
    พวกมันไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง,พวกมันไม่ได้สะอาดและไม่ได้สกปรก,


    ดังนั้น, ในความว่างจึงไม่มีรูป,ไม่มีเวทนาหรือสัญญา,ไม่มีสังขารหรือวิญญาณ;
    ไม่มีตาหรือหู, ไม่มีจมูกหรือลิ้น,ไม่มีกายหรือจิต (ใจ);
    ไม่มีรูปหรือเสียง, ไม่มีกลิ่นหรือรส,ไม่มีโผฎฐัพพะ (สิ่งที่มาถูกต้องกาย) หรือธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดกับใจ).
    ไม่มีโลกแห่ง (ผัสสะ คือ) อายตนะ (ภายใน)
    (อายตนะภายนอก) หรือวิญญาณ.
    ไม่มีอวิชชา,และไม่มีความดับลงแห่งอวิชชา;
    ไม่มี (กระแสแห่งเหตุปัจจัยที่นำไปสู่)ความแก่และความตาย,และไม่มีความดับลงซึ่งความแก่และความตาย.
    ไม่มีความทุกข์และไม่มีต้นเหตุ (แห่งควาทุกข์);
    ไม่มีความดับลง (แห่งความทุกข์)และไม่มีมรรค (ทางให้ถึงซึ่งความดับลงแห่งความทุกข์).
    ไม่มีการประจักษ์แจ้งและไม่มีการลุถึง,เพราะไม่มีอะไรที่จะต้องถูกลุถึง.


    พระโพธิสัตว์ผู้วางใจในโลกุตรปัญญา,
    จะมีจิตที่เป็นอิสระจากอุปสรรคสิ่งกีดกั้นนานา (และ) เพราะจิตของพระองค์เป็นอิสระจากอุปสรรคสิ่งกีดกั้นนานา,พระองค์จึงไม่มีความกลัวใด ๆ;
    (สามารถ) ก้าวล่วงพ้นไปจากมายาหรือสิ่งลวงตาทั้งมวลได้,
    (และ) ลุถึงพระนิพพานได้ในที่สุด.
    พระพุทธะในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต ทั้งหมดผู้ทรงวางใจในโลกุตรปัญญา
    ได้ประจักษ์แจ้งแล้วซึ่งภาวะอันตื่นขึ้นนั้น,(อันเป็นภาวะ) ที่สมบูรณ์และไม่มีใดอื่นยิ่งกว่า.


    ดังนั้น, จงรู้ไว้เถิดว่า โลกุตรปัญญา
    เป็นมหามนตร์อันศักดิ์สิทธิ์,
    เป็นมนตร์แห่งความรู้อันยิ่งใหญ่,
    เป็นมนตร์อันไม่มีมนตร์อื่นยิ่งกว่า,
    เป็นมนตร์อันไม่มีมนตร์อ่นใดมาเทียบได้,
    ซึ่งจะตัดเสียซึ่งความทุกข์ทั้งปวง.
    นี่เป็นสัจจะ(ความจริง),
    (และ) เป็นอิสระจากความเท็จ (ทั้งมวล).
     
  5. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    [​IMG][​IMG]

    " ไฉนจึงเป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่า บุคคลเช่นนั้นไม่ยึดมั่นอยู่กับ
    ความคิดเนื่องด้วยตัวตน บุคคล สัตวะ และชีวะ เขาไม่ยึดมั่น
    อยู่กับความคิดเกี่ยวกับธรรมและอธรรม ไม่ยึดมั่นว่านี่คือรูป
    ลักษณะ นั่นมิใช่รูปลักษณะ เช่นนั้นเพราะเหตุใด ก็เพราะว่า
    ถ้าบุคคลยึดมั่นอยู่กับความคิดเกี่ยวกับธรรม จิตบุคคลนั้นก็ยัง
    ผูกพันอยู่กับตัวตน บุคคล สัตวะ และชีวะ ถ้าเขายึดมั่นอยู่กับ
    ความคิดว่าไม่มีธรรม จิตของเขาก็ยังผูกพันอยู่กับตัวตน บุคคล
    สัตวะ และชีวะอยู่ "


    รูปลักษณะในที่นี้หมายถึงมโนทัศน์ เมื่อเราเกิดมโนทัศน์เกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง ภาพลักษณ์
    ของสิ่งนั้นจะปรากฏอยู่ในมโนทัศน์ เช่นเมื่อเรามีมโนทัศน์เกี่ยวกับโต๊ะ เรานึกเห็นภาพลักษณ์
    ของโต๊ะ แต่เราต้องจำไว้ว่ามโนทัศน์ของเราไม่ใช่สิ่งนั้น เป็นเพียงความจำได้หมายรู้ของเรา
    ซึ่งจริง ๆ แล้วอาจจะแตกต่างจากโต๊ะมาก อย่างเช่นปลวกอาจมองโต๊ะว่าเป็นงานเลี้ยงสนุก
    นักฟิสิกส์อาจมองว่าเป็นมวลของอนุภาคซึ่งเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ส่วนพวกเราซึ่งอยู่บน
    เส้นทางการปฏิบัติพุทธธรรมนั้น เคยผ่านการฝึกมองอย่างลึกซึ้ง เราอาจมีทัศนะที่ผิดน้อยกว่า
    และความจำได้หมายรู้ของเราอาจเกือบ ๆ สมบูรณ์ใกล้เคียงความจริงมากกว่า แต่ก็ยังเป็น
    ความจำได้หมายรู้อยู่นั่นเอง


    โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว พุทธศาสนานิยามคำ ธรรม ว่าคือ ปรากกฏการณ์ใด ๆ ที่สามารถทรงลักษณะ
    เฉพาะตัวของมันไว้ ไม่ทำให้เข้าใจผิดไปว่าเป็นปรากฏการณ์อื่น ความโกรธ ความเศร้าหมอง
    ความวิตกกังวล หรือปรากฏการณ์ทางจิตทั้งหลาย เรียกว่า จิตธรรม โต๊ะ เก้าอี้ บ้าน ยอดเขา
    แม่น้ำ และปรากฏการณ์ทางกายภาพทั้งหลายเรียกว่า รูปธรรม ปรากฏการณ์ซึ่งไม่เป็นทั้ง
    ปรากฏการณ์กายภาพหรือปรากกการร์ทางจิต เช่น การได้ การเสีย ความเป็น ความไม่เป็น
    จัดว่าเป็น จิตวิประยุกตสังสการธรรม ปรากฏการณ์ซึ่งไม่ปรุงแต่งด้วยเหุปัจจัยใดเรียกว่า
    อสังสกฤตธรรม ( หรือภาษาบาลีเรียกว่า อสังขตธรรม )


    พุทธศาสนาสำนักสรวาสติวาทินกล่าวว่า อวกาศเป็น อสังขตธรรม เพราะมีธรรมชาติอันไม่เกิด
    ไม่ตาย ไม่มีรูปปรุงแต่ง แต่นี่เป็นเพียงวิธียกตัวอย่างของพวกเขา แท้จริงแล้วอวกาศก็ประกอบ
    ด้วยสิ่งต่าง ๆ เช่น กาลเวลา และวิญญาณ ดังนั้นอวกาศจึงมิใช่ธรรมไร้ปัจจัยปรุงแต่งอย่างแท้
    จริง สำนักสรวาสติวาทินเรียก " ความเป็นเช่นนั้น " ว่า เป็นธรรมไม่มีปัจจัยปรุงแต่งเหมือนกัน
    แต่ถ้ามองอย่างลึกซึ้งเราก็จะเห็นว่า มโนทัศน์ของ " ความเป็นเช่นนั้น " มีเพราะเรามีมโนทัศน์
    ของ " ความไม่เป็นเช่นนั้น " ถ้าเราคิดว่าความเป็นเช่นนั้นแตกต่างจากธรรมอื่น ๆ ทั้งหมด
    มโนทัศน์ความเป็นเช่นนั้นของเราก็เกิดจากมโนทัศน์ความไม่เป็นเช่นนั้นนั่นเอง เมื่อมีข้างบน
    ย่อมมีข้างล่าง เมื่อมีข้างในย่อมมีข้างนอก เมื่อมีความถาวรย่อมมีความไม่ถาวร ตามกฏแห่ง
    ความสัมพันแล้ว ทัศนะทั้งหลายของเราถูกนิยามด้วยสิ่งตรงข้ามเสมอ


    แต่ในวิภาษวิธีแห่งปรัชญาปารมิตา เราจำเป็นต้องพูดสิ่งตรงข้าม " เพราะสิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งที่มันเป็น
    มันจึงเป็นอย่างที่มันเป็น " เมื่อเรามองเข้าไปในธรรมแล้วเห็นทุกสิ่งที่ไม่ใช่ธรรม นั่นคือเราเริ่ม
    เห็นธรรมแล้ว ดังนั้นเราจึงต้องไม่ยึดมั่นผูกพันอยู่กับธรรมมโนทัศน์ ( มโนทัศน์ว่ามีธรรม )
    หรือแม้กับอธรรมมโนทัศน์ ( มโนทัศน์ว่าไม่มีธรรม )


    อาตมายกตัวอย่างความคิดเกี่ยวกับอธรรม ( ความเชื่อว่าไม่มีธรรม ) มาอธิบาย ก็เพื่อช่วยให้
    พวกเราก้าวพ้นจากความคิดเกี่ยวกับธรรม แต่ก็อย่าไปยึดมั่นอยู่กับอธรรมมโนทัศน์ เมื่อเห็น
    ดอกกุหลาบ เรารู้ว่าดอกกุหลาบคือธรรม การจะเลี่ยงไม่ให้หลงยึดอยู่กับมโนทัศน์ " กุหลาบ "
    เราต้องจำไว้เสมอว่า กุหลาบดอกนี้ไม่อาจมีชีวิตอยู่เดี่ยว ๆ ได้ มันไม่ได้เป็นชีวิตอิสระ
    หากแค่มีธาตุซึ่งไม่ใช่ดอกกุหลาบมาประกอบอยู่ด้วยกัน เรารู้ว่าดอกกุหลาบไม่ใช่ธรรม
    ที่แยกตัวออกมาโดด ๆ แต่เมื่อเราละทิ้งมโนทัศน์ที่ว่าดอกกุหลาบสามารถอยู่ได้อย่างอิสระ
    แล้ว เราก็อาจไปหลงยึดความคิดว่าไม่มีดอกกุหลาบได้อีก เราจึงต้องเป็นอิสระจากอธรรม
    มโนทัศน์ด้วย


    วิภาษวิธีแห่งปรัชญาปารมิตา มีอยู่ 3 ขั้นตอน

    ( 1 ) ดอกกุหลาบ
    ( 2 ) ไม่ใช่ดอกกุหลาบ
    ( 3 ) นั่นคือดอกกุหลาบ


    ดอกกุหลาบ ในขั้นที่สามแตกต่างจาก ดอกกุหลาบ ในขั้นแรกอย่างมาก คำพูดว่า
    " ว่างจากความว่าง " ( สุญญตา ) ในคำสอนของปรัชญาปารมิตาสูตรมุ่งหมายที่จะช่วยเรา
    ให้พ้นจากมโนทัศนืของความว่าง ก่อนปฏิบัติจิตภาวนา เราเห็นภูเขาว่าเป็นภูเขา
    พอเริ่มปฏิบัติ เราเห็นภูเขาว่าไม่ใช่ภูเขาอีกแล้ว เมื่อปฏิบัติไปสักระยะหนึ่ง เราจะเห็น
    ภูเขากลับเป็นภูเขาอีก แต่ตอนนี้ภูเขาเป็นอิสระยิ่ง จิตเรายังอยู่กับภูเขาแต่ไม่ผูกพันธ์
    กับสิ่งใด ภูเขาในขั้นที่สามไม่เหมือนกับภูเขาในขั้นแรก ในขั้นที่สามภูเขาเปิดเผยตัว
    อย่างอิสระ เราเรียกภาวะนี้ว่า " ความเป็นที่แท้จริง " ซึ่งพ้นไปจากความเป็นและไม่เป็น
    ภูเขายังอยู่ตรงนั้นเผยตัวอย่างพิเศษยิ่ง แต่ไม่ใช่ในฐานะเป็นมายา เมื่อพระพุทธเจ้า
    เห็นดอกกุหลาบ ดอกกุหลาบที่พระองค์ทรงเห็นคือความอัศจรรย์ เป็นดอกกุหลาบ
    ซึ่งเป็นอยู่แท้จริง แต่ดอกกุหลาบที่เธอกับอาตมาเห็นอาจเป็นตัวตนดอกกุหลาในความ
    นึกคิด คำว่าความว่างในวรรณกรรมปรัชญาปารมิตานั้นลึกซึ้งยิ่งนัก พ้นไปจากโลกมายา
    แห่งความเป็นและความไม่เป็น ใช่และไม่ใช่ เรียกว่า " ความว่างที่แท้ " ความว่างที่แท้
    ไม่ใช่ความว่าง ความว่างที่แท้คือความเป็นที่แท้จริง


    เมื่อเราอยู่ในโลกแห่งทวิลักษณ์ เราจึงติดอยู่ในเงื่อนไขปัจจัยปรุงแต่ง เมื่อเพื่ออาตมา
    กล่าวว่า " เพื่อนของผมเสียชีวิต " แล้วเราร้องไห้ เราเป็นทาสอยู่ในโลกของการมา
    และการไป โลกแห่งปัจจัยปรุงแต่งย่อมเต็มไปด้วยทัศนะผิด ๆ ด้วยการฝึกมองให้
    ลึกซึ้งเข้าไปในธรรมชาติของสรรพสิ่งเท่านั้น เราจึงจะเป็นอิสระจากมโนทัศน์ของ
    ไป-มา มีอยู่-ไม่มีอยู่ เกิด-ตาย หนึ่งเดียว - มากมาย ข้างบน-ข้างล่าง เหล่านี้ล้วน
    หายไป เมื่อเราเป็นอิสระแล้ว โลกนี้ก็ยังมีอยู่ในตัวเราและรอบตัวเรา แต่ตอนนี้โลก
    นั้นได้กลายเป็นโลกของความว่างที่แท้ไปแล้ว หลักการณ์เกี่ยวกับรูปลักษณะเปรียบได้
    กับยอดของต้นไม้ ส่วนโลกของความเป็นที่แท้จริงคือราก หลักการณ์เกี่ยวกับรูปลักษณะ
    เป็นมูลฐานของมโนทัศน์เกี่ยวกับตัวตน ดังนั้นเราจึงต้องฝ่าทั้งตาข่ายธรรมและตาข่าย
    อธรรม ไปให้พ้นจากความสำคัญมั่นหมายและความไม่สำคัญมั่นหมาย


    " ฉะนั้นบุคคลจึงไม่พึงยึดถือผูกพันอยู่กับธรรมหรือคิดว่าหรือคิดว่าธรรม
    เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ นี่คือนัยยะความหมายเมื่อตถาคตกล่าวว่า ' ภิกษุทั้งหลาย
    เธอทั้งหลายพึงกำหนดรู้ ว่า ธรรมที่เราตรัสแสดงมีอุปมาดังพ่วงแพ '
    แม้สิ่งที่ตถาคตสอนก็ต้องละเสีย จักกล่าวไปใยถึงสิ่งที่ไม่ได้กล่าวเทศนา "


    ประโยคแรกหมายความว่า เราไม่ควรยึดถืออยู่กับความเป็นความไม่เป็น เพราะทั้งเป็น
    และไม่เป็นล้วนเป็นมายา เมื่อเราไม่ยึดมั่นอยู่กับความคิดผิด ๆ เหล่านี้ เราก็จะลุถึงฝั่ง
    อันอัศจรรย์ของโลกแห่งความว่างที่แท้จริง


    ตรงนี้ วัชรสูตร ได้กล่าวย้ำสิ่งที่กล่าวไว้ใน " อลคัททูปสูตร " ( สูตรที่เปรียบการศึกษา
    เหมือนงูพิษ ) พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในพระสูตรหลังนี้ว่า คำสอนของพระองคืเปรียบ
    เหมือนลำแพที่เราต้องสละเมื่อข้ามไปถึงฝั่งแล้ว คำว่า " นัยยะความหมาย " พบเฉพาะ
    พระสูตรภาษาสันสกฤต ไม่พบในฉบับภาษาจีน เมื่อพระพุทธองค์ประทานพระธรรมเทศนา
    เป็นไปได้ว่าผู้ฟังอาจยึดมั่นอยู่กับคำสอนทั้ง ๆ ที่ไม่จำเป็นและไม่เหมาะที่จะทำอย่างนั้น
    การฟังพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเหมือนกับการจับงูพิษ ถ้าเธอไม่รู้วิธี เธออาจจับ
    ส่วนหางก่อน งูก็จะแว้งกัดเอาได้ ถ้าเธอรู้วิธีจับงู เธอต้องใช้ไม้ง่ามตรึงตัวมันไว้ แล้วจึง
    จับคอมัน อย่างนี้แล้วงูก็ไม่อาจกัดเธอได้ คำสอนของพระพุทธเจ้าก็ทำนองเดียวกัน
    ถ้าไม่ชำนาญพอเธออาจเจ็บตัว เธอต้องระวังอย่าไปยึดติดออยู่กับคำสอน ความคิดเกี่ยว
    กับความว่าง ความไม่เที่ยง ความไม่มีตัวตน ล้วนเกื้อกูลให้ประโยชน์ แต่ถ้าเธอนำมาใช้
    อย่างไม่เข้าใจลึกซึ้งแจ่มแจ้ง เธออาจเกิดทุกข์และทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนได้ด้วย


    คัดบางส่วนจาก เพชรตัดทำลายมายา
    ของท่าน ติช นัท ฮัน
     
  6. บุคคลทั่วไป 1 คน

    บุคคลทั่วไป 1 คน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +7
    สุญญตาคือภูเขาลูกใหญ่ที่ขวางกั้นผู้ปฏิบัติธรรมจากธรรม
    สุญญตาทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมยึดติดอยู่กับการละ เกิดเป็นภูเขาลูกใหญ่กว่าเดิม
    ไร้การยึดติดในการยึดการละ จึงทลายภูเขาสุญญตาได้
     
  7. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    วิปัสสนูปกิเลส


    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1>
    <!-- / icon and title --><!-- message -->วิปัสสนูปกิเลสเป็นผลของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างการเจริญวิปัสสนา มีอาการมากมายหลายอย่างเช่น เกิด ความรอบรู้แตกฉานในธรรม อย่างมาก แม้ครูบาอาจารย์จะกล่าวจะสอนอะไรก็รู้ไปหมด จนรับอะไรไม่ได้เลย เพราะสำคัญว่าตนรู้อยู่แล้ว หรือตนบรรลุพระอรหันต์แล้ว เกิด ความมุ่งมั่นพากเพียร จนลืมความพอดีที่ร่างกายจิตใจจะรับได้ เกิด ความเห็นผิด ต่างๆ เช่นเห็นว่าไม่มีสิ่งใดควรยึดถือสักอย่างเดียว ทั้งๆ ที่กำลัง ยึดถือความไม่ยึดถือ แต่ไม่รู้ตัว หรือปฏิเสธความจริงของสมมุติสัจจะ กระทั่งพระพุทธเจ้าก็ไม่มี พ่อแม่ครูบาอาจารย์ก็ไม่มี เพราะล้วนแต่เป็นเพียงธาตุขันธ์เท่านั้น และเกิด การตั้งสติแข็งกล้าเกินไป จนเกิดความผิดธรรมชาติ เป็นต้น

    เครื่องป้องกันการเกิดวิปัสสนูปกิเลสไม่มีสิ่งใดดีกว่าความช่างสังเกต ช่างพิจารณาอย่างรอบคอบแยบคาย หรือโยนิโสมนสิการ เช่น ต้องเข้าใจลักษณะการดำเนินของจิต ทราบว่าจิตของตนดำเนินวิปัสสนา หรือพลิกเข้าสู่ภูมิของสมถะแล้ว หากเป็นความรู้ความเห็นในภูมิของสมถะ อันนั้นย่อมไม่ใช่การบรรลุธรรม

    ต้องถือหลักว่า ปรากฏการณ์ทั้งปวงที่เกิดขึ้น เป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ ให้สักแต่ว่ารู้ ไม่ใช่สิ่งที่ควรยึดถือ หากทำใจเช่นนี้ สิ่งที่ปรากฏนั้นจะไม่มีอิทธิพลครอบงำจิตใจของตนได้

    คัดลอกมาจากกระทู้ นิพพิทา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2008
  8. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อืมมม ลึกซึ้งครับ.

    " เพราะสิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งที่มันเป็น
    มันจึงเป็นอย่างที่มันเป็น "
     
  9. ขุนพล.

    ขุนพล. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +162
    แงว แงว นั้นลึ้กซึ้ง กับบางคน ทำให้บางคนหัวเราะออกมาได้
    ด้วยโดนจับได้ 55
     
  10. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    แง้ว... แง้ว...
     
  11. ขุนพล.

    ขุนพล. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +162
    เฮ้อ ไปไหนเขาก็ไม่ต้อนรับ
    เวปไหนก็แฮ้งค์ เวปไหนก็เด้ง โดนถีบออกมา โอ้ยยย
    สงสัยต้องดูอย่างเดียว ม่ายพูด ม่ายพิมพ์
     
  12. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    ไปห้องทำคิดกันเถอะค่ะ
     
  13. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253


    มาดูวรรคนี้ จะเห็นว่า เจโตวิมุตติ ซึ่ง เป็นขั้นตอนที่ยืนยันการหลุดพ้นนั้น
    พระพุทธองค์ตรัสชัดว่า ไม่ต้องอาศัย
    อากิญจัญญายตนสัญญา เนวสัญญานา
    สัญญายตนสัญญาซึ่งภาวะ เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา (ก็คือภาวะที่ข่ม
    เวทนา ตัดเวทนา ทำให้อารมณ์ระงับ แต่ก็ไม่ได้เกี่ยวกับ เจโตวิมุตติ )

    คนที่ทำสมาธิเพื่อตัดเวทนา จึงควรไตร่ตรอง

    - - - - - -

    นอกจากนี้ ยังระบุชัดเจนว่า เจโตวิมุตติ เป็น ภาวะสมาธิที่ไม่อาศัยนิมิต นั้น
    แปลว่า ไม่อาศัยวิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เป็นองค์ของสมาธิ เพราะถ้ามีสิ่งเหล่า
    นี้ก็จะนำไปสู่ภาวะสมาธิที่มีนิมิต

    เมื่อไม่มีนิมิตใดๆ มาเป็นเครื่องล่อให้เห็น จึงเห็น สภาวะธรรมที่เกิดแต่ปัจจัย
    ของ กามอาสวะ อาสวะ และ อวิชชาอาสวะ ซึ่งการเห็นสามสิ่งนี้ด้วยภาวะไตร
    ลักษณ์ จึงทำให้เข้าเจ้า เหตุ และ ผล ซึ่ง สามสภาวะนี้ ไม่มีใครสร้างได้ มัน
    จะมีอาสวะ มันก็เกิดเอง ดังนั้น จึงได้แต่ ดู ไม่ต้องทำอะไรเลย แค่ดู และ รู้
    สึกไปตามสภาวะที่มันเกิดขึ้น แล้วดับไป ไม่มีสาระแก่นสารอะไร จนจิตมันเข้า
    ใจ ก็จะเข้าสู่ภาวะเจโตวิมุตติไปเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2008
  14. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    หยุด หมายมั่น หยุดแปล ในสรรพสิ่ง นั้นแหละสุญญตา
    แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ให้หยุดหมายมั่นตลอดเวลา
    แต่ให้ รู้ว่า เมื่อไรควร ไม่ควร

    อายตนะแห่งพระนิพพาน นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกเลย
    สรรพสิ่งแวดล้อมจะเป็นอย่างไร ก็ช่างมัน แต่จิตนี้ กระจ่างอยู่แจ้งอยู่ ไม่ติดกับ สภาวะอะไร
    ไม่ได้ หยุดสภาวะทั้งปวง สภาวะนั้นมีแล้วดับไป โดยที่ใจ ไม่ข้อง

    ก็ที่อ่านมาข้างต้น ทั้งพระสูตร ทั้งของ ติช ฮัทนันทฺ์ นั้นก็ยอดเยี่ยมอยุ่แล้ว

    แต่ เราอย่าไปจำว่าเราต้องเป็นแบบนี้ แต่ให้เรา ดำเนินตามภูมิของเราไปเรื่อยๆ ก่อน เพราะว่า

    ตามที่บอก คือ เมื่อแรกนั้นเห็น เป็น ดอกกุหลาบ และ พอดำเนินไป เราจะไม่เห็นเป็นดอกกุหลาบ
    แต่พอ ถึงจุดก็จะกลับเป็น ดอกกุหลาบเเช่นเดิม ดังนั้นสภาวะธรรมนั้นจะไม่ต้องเปรียบ แต่ต้องเห็นเองเป็น ปัจจัตตัง
     
  15. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    และพระสูตรนี้ หลังจากกล่าว ถึง เจโตวิมุตติ จนกระทั้งรับรองว่า เจโตวิมุตติ
    นั้นพาจบการศึกษา ทำให้อยู่พรหมจรรย์ แล้วพระพุทธองค์ก็กล่าวปิดท้าย
    ด้วย สุญญตาวิหาร

    ก็ต้องเข้าใจว่า พระพุทธองค์นั้น มีวิธีแสดงธรรมโดยลำดับ ดังนั้น ภาวะ
    เจโตวิมุตติ ที่ทำจนถึงที่สุดแล้ว จบแล้ว ไม่มีอะไรต้องศึกษาอีกแล้ว ภิกษุ
    เหล่านั้น จึงอยู่ ใน สุญญตาวิหาร

    ดังนั้น สุญญตาวิหาร ไม่ใช่เรื่องที่จะไปอยู่ ก่อนจบการศึกษา ไม่ใช่เรื่อง
    ที่ระหว่างปฏิบัติ ยังไม่เสร็จกิจ จะยก ว่า ว่าง มาเป็นเครื่องเชิดชูว่าได้
    อยู่ในภาวะที่เลิศแล้ว ภาวะว่างที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติ จึง เป็น วิปัสสนู
    กิเลสทั้งหมด

    ถามว่า แล้วมีภาวะว่างอะไรบ้างที่เป็นตัวอย่างของ วิปัสสนูกิเลส ก็อ่าน
    ย้อนลงไปในภาวะที่พระพุทธองค์กล่าวถึง ก่อนเจโตวิมมุติ นั้นเอง ก็ปรา
    กฏว่า มี วิญญาณัญจายตนสัญญา อากิญจัญญายตนสัญญา เนวสัญญานา
    สัญญายตนสัญญา ซึ่งพระพุทธองค์ได้ชี้ว่า ภาวะว่างนั้น ไม่ใช่ไม่มีอะไร
    หากแต่เป็นภาวะที่มีสัญญาชนิดต่างๆ อยู่ จึงไม่ใช่ว่างที่แท้ ว่างที่แท้ ที่
    ทำให้จบกิจ คือ ว่างโดยเจโตวิมุตติที่ไม่มีนิมิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2008
  16. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    " แงว แงว " สองคำนี้สุดยอดของความเข้าถึง :cool:

    เราเห็นภูเขาว่าไม่ใช่ภูเขาอีกแล้ว เมื่อปฏิบัติไปสักระยะหนึ่ง เราจะเห็น
    ภูเขากลับเป็นภูเขาอีก แต่ตอนนี้ภูเขาเป็นอิสระยิ่ง จิตเรายังอยู่กับภูเขาแต่ไม่ผูกพันธ์
    กับสิ่งใด ภูเขาในขั้นที่สามไม่เหมือนกับภูเขาในขั้นแรก ในขั้นที่สามภูเขาเปิดเผยตัว
    อย่างอิสระ
     
  17. ติดปีก

    ติดปีก สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    236
    ค่าพลัง:
    +14
    ลองรับฟัง ศูนยตาในมูลมาธยมิกการิกา


    คำว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2008
  18. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    และถ้าอ่าน ภาวะการเข้าสู่ภาวะเจโตวิมุตติ ต้องตรวจดูอะไรบ้าง พระพุทธ
    องค์ให้ตรวจดูว่า ต้องไม่มี วิญญาณัญจายตนสัญญา อากิญจัญญายตนสัญญา
    เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ประกฏอยู่เลยในการปฏิบัติ ถ้ามี ก็แปลว่าใช้
    ไม่ได้

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2008
  19. ขุนพล.

    ขุนพล. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +162
    แงว แงว ระวังนะคร้าบ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • onion41[1].gif
      onion41[1].gif
      ขนาดไฟล์:
      33.6 KB
      เปิดดู:
      80
  20. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    แล้ว ในเจโตวิมุตติ มีอะไร

    ซึ่งภาวะที่ มีอยานตนะ 6 ครบบริบูรณ์ ทำงานอยู่ เห็นอยู่ นั้นคือ ภูมิไหน ก็ภูมิของมนุษย์
    ธรรมดาๆ นี่เอง ไม่ต้องไปอาศัยภูมิของพรหม เพื่อเข้าสู่เจโตวิมุตติ แต่อย่างใด และเพราะ
    อยานตนะทั้ง 6 ทำงานอยู่ พวกสัญญาของชั้นพรหมจึงไม่ปรากฏ เมื่อความว่างที่ไม่ใช่ไม่
    ปรากฏอยู่ ก็จะปรากฏความว่างที่ใช่ ที่ตรง และใช้ได้สำหรับการศึกษา และทำให้จบกิจ
    การศึกษา ดังที่ไฮไลท์สีแดง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...