"งานปอยออกหว่า" ประเพณีออกพรรษาของชาวไทยใหญ่

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย paang, 28 ตุลาคม 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ในช่วงนี้งานบุญที่เพิ่งจะผ่านพ้นไปสดๆร้อนๆเห็นจะเป็น งานออกพรรษา พี่น้องพุทธศาสนิกชนต่างก็พร้อมใจกันจัดงานบุญกันมากมาย ซึ่งแต่ละที่แต่ละแห่งก็มีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป อย่างเช่นที่ วัดใหม่หมอกจ๋าม อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ที่ซึ่งมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 500 เมตร และในละแวกนี้เป็นสถานที่ตั้งหมู่บ้านของชาวไทยใหญ่ ได้จัดงานปอยออกหว่า หรือ งานออกพรรษา ที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

    คำว่า ปอย เป็นภาษาเหนือ หมายถึงงานบุญ ส่วนคำว่าออกหว่านั้นเป็นภาษาไทยใหญ่ หมายถึง ระหว่างออกพรรษา เพราะฉะนั้นเมื่อสองคำนี้มารวมกันจึงหมายความถึง งานบุญที่จัดขึ้นระหว่างออกพรรษา นั่นเอง

    ชาวไทยใหญ่มีความเชื่อเกี่ยวกับงานปอยออกหว่านี้ว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาอยู่บนสรวงสวรรค์ และทรงเสด็จลงโปรดสัตว์ให้สรรพสิ่งในโลกมนุษย์รวมไปถึงสัตว์ในโบราณคดี เช่น นกและสิงโต รวมไปถึงสัตว์อื่นๆอีกมากมาย และในคืนแรม 1 ค่ำสัตว์เหล่านี้จะพากันออกมาฟ้อนรำ เปรียบเสมือนเป็นการคารวะและแสดงความยินดีที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ลงมาเทศนาเพื่อโปรดสัตว์ในโลกมนุษย์

    จากอดีตจนถึงปัจจุบันชาวไทยใหญ่ยังคงมีความเชื่อในตำนานนี้ และได้สมมุตติให้มีการแสดงเลียนแบบสัตว์ต่างๆในวรรณคดี เช่น ฟ้อนกิ่งกาหล่า ซึ่งเป็นการแสดงเลียนแบบนกยูง โดยใช้ผู้แสดงที่เป็นผู้หญิง นอกจากนี้ยังมีการแสดงที่น่าสนใจคือการเต้นโต แต่คราวนี้ใช้ผู้แสดงเป็นผู้ชาย

    โดยงานปอยออกหว่าหลักๆแล้วจะมีงานอยู่ทั้งสิ้น 3 วันด้วยกัน วันแรกนั้นแต่ละบ้านจะตระเตรียมข้าวของที่จะมาทำบุญและของกินของใช้ระหว่างที่จะมานอนค้างที่วัดด้วย โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้เฒ่าผู้แก่หรือที่เรียกว่า พ่ออุ้ยแม่อุ้ย และเมื่อเตรียมของเสร็จแล้วก็จะพร้อมใจมารวมกันที่วัดเพื่อช่วยกันเตรียมของทำบุญร่วมกันต่อไป

    ส่วนวันที่สองจะถือได้ว่าเป็นงานบุญ พี่น้องชาวไทยใหญ่ที่ไม่ได้นอนที่วัดจะเดินทางมาสมทบกับพวกที่อยู่ที่วัดก่อนแล้ว ตั้งแต่จะเช้าจะมีการทำบุญต่างๆตามความเชื่อตามศาสนาพุทธและความเชื่อตามท้องถิ่น ระหว่างนี้บางคนอาจถือศีลและนุ่งขาวห่มขาวด้วย

    และวัดสุดท้ายคือวันที่สามนั้น ซึ่งเป็นคืนแรม 1 ค่ำ จะมีพิธีแห่ต้นเทียน(หรือเรียกอีกชื่อว่าต้นเกี๊ยะ เนื่องจากในสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม้เกี๊ยะคือเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง)และมีการละเล่นพื้นบ้านต่างๆมากมายท่ามกลางแสงสว่างของต้นเกี๊ยะ ชาวบ้านจากหลายหมู่บ้านจะมาร่ายรำกันดูสวยงามแปลกตาเป็นภาพที่หาชมไม่ได้ง่ายนักในพื้นราบ การร่ายรำแม้มิได้อ่อนช้อยแต่ก็ดูงดงามและน่าสนใจมิใช่น้อย

    เวลาต่อมาก็ถึงการประกวดประชันการแสดงของแต่ละหมู่บ้าน กลางเวทีซึ่งเป็นสนามหญ้าแต่กั้นด้วยไม่ไผ่ ชาวบ้านเหล่านั้นใช้เวลาที่ว่างเว้นจากการทำไร่ มาช่วยกันคิดค้นการแสดงและฝึกซ้อม อย่างเช่นการแสดงเต้นลิงน้อย ชุดที่ใช้ใส่ก็ตัดเย็บมาจากกระสอบปุ๋ยหรือวัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นบ้าน ใช้เด็กๆในหมู่บ้านแสดงเป็นลูกลิงตัวเล็กตัวน้อย เกาหัวเกาตัวไม่หยุดนิ่งดูน่ารักไปอีกแบบ นอกจากนี้ยังมีการแสดงรำผีลู เต้นกลองสะบัดชัย รำม้าโชคลาภ ฯลฯ

    เสียงดนตรีพื้นเมืองดังเป็นจังหวะเร้าใจเร้าอารมณ์ผู้ร่วมงานให้รู้สึกสนุกสนาน ถึงแม้ว่าจะไม่มีแสง สี เสียง ที่จะส่งให้การแสดงยิ่งใหญ่ตระการตา แต่ทว่ากลับแฝงไปด้วยความเรียบง่ายและการอนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมของชาวไทยใหญ่ไว้ได้อย่างครบครัน ซึ่งใครสนใจงานประเพณีอันงดงามเช่นนี้ ออกพรรษาปีหน้าขึ้นเหนือไปยลกันได้
     
  2. Attawat_Rx

    Attawat_Rx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,183
    ค่าพลัง:
    +18,402
    อืม...ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...