เมื่อความทุกข์มาเยื่อน.. ทำไงดี???

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก", 19 มกราคม 2009.

  1. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    ..๐ ปล่อย ๐.. หรือ... ปล่อยวาง... <o></o>
    <o></o>
    คือ การที่จิตใจเรา ละวางความขุ่นข้องในจิต.. หรือจะเรียกว่า ความทุกข์..
    ซึ่งคือความอึดอัดในจิต ขุ่นข้องหมองใจ
    ความทนได้ยาก..

    ซึ่งจริงๆแล้ว ขึ้นชื่อว่า "ทุกข์" ไม่มีใคร อยากได้ อยากมี เพียงแต่ไม่รู้..ไม่เข้าใจ
    ธรรมชาติ ของจิต
    <o></o>

    ... [​IMG]
    การฝึกปล่อยวาง ความทุกข์ใจ [​IMG] ...<o> </o>
    คือการเรียนรู้ลักษณะพื้นฐาน ลักษณะธรรมชาติของจิตหรือ ตัวคิด ของเองเรานี่แหละ... ธรรมชาติของจิต...มีลักษณะชอบเกาะ ชอบเกี่ยว (เกาะอยู่กะอดีต และ อนาคต) จิตมีลักษณะบังคับไม่ได้ แต่สิ่งที่จะเข้าไปจัดการได้ คือสติ... การฝึกสติ .. เราสามารถฝึกได้ ตลอดทั้งวัน .. ลองสักเกตุดูนะคับ เวลาที่เราเผลอตัว (ทางพระเรียกหลง คือโมหะ) พอเราเผลอตัว..จิตเราก็จะชัดส่าย..วิ่งไปโน่น...อดีต.. ไม่ก็ไปคำนึงถึง อนาคต.. จิตไม่ได้อยู่กะปัจจุบัน... แต่พอมี สติคือความรู้ตัวเกิดขึ้น..จิตที่ชัดส่าย ก็จะมารู้ปัจจุบัน .. <o></o>

    .... ว่า"เอ๊ะ!เราไปคิดถึง เขา..ทำไม?..คิดเรื่องนั้น เรื่องนี้ทำไม
    ??... <o></o>
    <o></o>
    ...
    [​IMG]นี่คับ พอความรู้สึกตัวเกิดขึ้น... ถ้าเราสังเกตุดู ก็จะเห็นว่า เรื่องที่คิดฟุ้งซ่าน นั้นหายไป... มาอยู่กะปัจจุบัน ตรง "เอ๊ะ!" ตรงนี้แทน... นี่แหละคับ "สติ" นี่แหละคับ ธรรมชาติของจิต เป็นอย่างนี้.. พอเรามี..สติ..รู้ตัวขึ้นมา แต่ไม่สามารถออกจากวังวนของอารมณ์ได้ ก็ต้องให้อุบายพาตัวเองออกจากวังวนของความคิดนั้นซะ... คือหางานให้จิตและกายทำ ...เช่น ไปออกกำลังกาย ไปช็อปปิ้ง ทำงานให้เยอะไว้ อย่าอยู่คนเดียว อย่าปล่อยตัวเองให้ว่าง เพราะถ้าว่างเกินไป จิตจะเข้าไปจมแช่ ...อยู่ในอารมณ์ที่เศร้าหมองนั้น.. การจมแช่ในอารมณ์นี่แหละ คือจิตที่ทำร้ายตัวเอง ... เพียงแต่ทุกขณะที่ หันไปทำอย่างอื่น... ก็ต้อง สำรวจอาการของจิต.. ว่ามันเบาขึ้น มันสบายขึ้น เวลาที่ไม่ไปคิดถึง เรื่องเศร้าๆนั้น <o>

    </o> ..[​IMG]
    พอเห็นอย่างนี้..จิต..ก็จะจดจำด้วยตัวของเขาเอง..จิตจะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง.. ว่าอะไรคือ สิ่งดี..อะไรคือสิ่งไม่ดี (มีความเห็นที่ถูก..เรียกมีวิชา.. ไม่ใช่วิชาในทางโลกนะ ..) <o></o>
    <o></o>
    ....[​IMG]
    ยกตัวอย่างเช่น ...เรารู้จัก มีด..เคยใช้มีด ทำอะไรสารพัด เราก็คิดว่าเรา รู้จักมีด ครบทุกชนิด.. ต่อเมื่อ เราไปเจอกระจกแตก..บาดมือ..เลือดออก..."เจ็บ" จิตเราก็จะบันทึกลงไปในความจำเอง..ว่า นี่กระจกแตก ก็สามารถ ใช้แทนมีดได้นะ ต่อไปเราเจอกระจกก็จะ ระวังเอง...มันเป็นธรรมชาติ ของมันอย่างนั้นเอง... ขอเพียง เราทำการฝึก.. ....สติ....เอาไว้ <o></o>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2009
  2. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    ..๐ ปล่อย ๐.. หรือ... ปล่อยวาง...

    <label for="rb_iconid_16">[​IMG] </label>โดยธรรมขาติของจิตคนเราทุกคนคุณเชื่อไหม??
    "วาง" กันเป็นทุกคน ถ้าพูดถึงคำว่าวาง..ก็มักจะนึกถึง คำพระสอนให้ "วาง"
    แต่โดยธรรมชาติ "วาง" ของพระ คือ "ทำใจ"ของชาวบ้านนั้นเอง
    เพียงแต่ แตกต่างที่วิธีการ...
    คนเราวางกันเป็นทุกคน..แต่ทำไม? ไม่เจอ"ความว่าง"
    เหมือนคำพระสอนเลย..เมื่อวาง แล้วจะวาง
    ก็เพราะ เราวางกันเป็น..แต่วางกันไม่เป็น..
    เพราะ พอวางจากสิ่งนี้ก็คว้าสิ่งใหม่ทันที
    เพราะจิต ชอบเกาะ ชอบยึด เกาะเกี่ยวเรื่อยไป
    อดีตบ้าง..อนาคตบ้าง..ปัจจุบันไม่เคยรู้สึก

    เมื่อมีสติ ตามรู้ทันกับอารมณ์ที่เกิด-ดับ ก็จะเห็นความว่างที่ว่า..
    เพราะ"ความว่าง" ก็คือรอยต่อของดวงจิตที่ เกิด-ดับ
    ระหว่างที่จิตนึ่งดับไป ก่อนจะเกิดจิตรับรู้ดวงไหม่ขึ้นมา
    จะมีจุด ที่ หยุดนิดนึ่ง..นั่นแหละ "ความว่าง"
    เมื่อสัมผัสได้ถึงความว่าง ก็จะเห็นถึงความสุข
    ที่ไม่ต้องมีอาศัยเหตุจากภายนอก
    หมั่นเจริญสติ ดูนะคับ เพื่อให้ทันกับอารมณ์ที่ เกิด-ดับ
    เพื่อจะได้พบ กับความสุข ที่เหนือคำบรรยาย
    สาธุ.
     
  3. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    ความทุกข์ แท้จริง คืออะไร

    <label for="rb_iconid_16">[​IMG]</label> ความทุกข์จริงๆแล้วเกิดจาก จิตเราใจเรายอมรับการเปลี่ยนแปลง
    ที่เกิดขึ้นไม่ได้ หรือ ไม่เป็นดังที่คาดหวัง

    เรารับการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้ ก็ทุกข์...

    ทุกอย่างในโลกเป็น อนิจจัง คือเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
    ...เพราะทุกอย่างในโลก เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ...
    จึงเป็นอนัตตา คือไม่มีตัวตนที่แน่นอน
    เรารับการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้ ก็ทุกข์...


    ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแล้ว...ยอมรับความเปลี่ยนแปลงนั้นได้
    จิตก็ไม่ทุกข์ กลับจะเห็นว่า...มันก็เป็นของมันเช่นนั้นเอง

    ยกตัวอย่างเช่น .. เมื่อเราแต่งงาน ..แล้วเกิดการอย่าร้างขึ้น
    ..สังคมเรียกว่า.. "เป็นหม่าย"..

    จิต ย่อมเป็นทุกข์ เกิดความเศร้าเสียใจ เพราะ

    รับไม่ได้กับการเปลี่ยนแปลงนั้น

    เมื่อจิตย่อมรับกับ สภาวะที่...ไม่มีเขา... อยู่ด้วยแล้ว ..

    เมื่อย่อมรับได้ จิตก็เบา สบาย...ความทุกข์ ลดลง..

    แต่ สภาวะ "เป็นหม่าย" ก็ยังคงอยู่ ไม่ได้หายไปไหน


    แต่ จิตรับการเปลี่ยนแปลงได้ ความทุกข์ก็ลดลง..

    นี่ ธรรมะ จึงคือ..ธรรมชาติ เราจะรู้จักหรือไม่..ธรรมะก็มีอยู่

    ...เกิดขึ้น..ตั้งอยู่...แล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา....

    สาธุ..<label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label>​
     
  4. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,470
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,012
    ขอบคุณครับ
     
  5. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    ...อยากทำได้ก็ลงมือทำสิคับ.. พุทธศาสนา และการปฏิบัติจริงๆแล้วไม่มีไรยาก...ความยากอยู่ที่เริ่มต้นไหม่ๆ อ่ะจ๊ะ..

    ...ก็เหมือนเราเริ่มหัด"ขับรถ" แรกๆก็วุ่นาวยไปหมด ไหนจะ คันเร่งไหนจะ ครัช เกียรอีก พวงมาลัยอีก ซึ่งถ้าเรา "ขับเป็นแล้ว" ก็สบายๆนะ ของทุกอย่างในโลกนี้ก็เป็นเช่นนี้แหละ เป็นธรรมดา ดั่งนั้นปัญหาส่วนใหญ่ จึงอยู่ที่ว่า "ลงมือกันหรือยัง" เท่านั้นเอง

    ...ส่วนถ้าจะถามว่าเริ่มอย่างไร คงต้องถามก่อนว่า ณ.ปัจจุบันนี้ ปฏิบัติหรือยัง และได้ทำอย่างไรไปแต่ไหนแล้ว อ่ะคับถ้ามีไรพอช่วยได้ก็ยินดีคับ..
     
  6. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    ไป๋เหยี่ยนเซียน says:อธิบาย เรื่อง การจับลม ในชีวิตประจำวัน อีกทีนะ

    นัท
     
  7. Noppadol.Ve

    Noppadol.Ve เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +245
    ขออนุโมทนาสาธุด้วยครับ
    นับว่าคุณนัทฯ มีจิตเป็นกุศลและมีความพยายามดีมาก ที่จะถ่ายทอดความรู้ดี ๆ แก่สมาชิก
    ผมก็กำลังมีความทุกข์อยู่พอดี จะได้นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์
    ขอบคุณครับ
     
  8. ดอกสร้อย

    ดอกสร้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,839
    ค่าพลัง:
    +4,890
    ถึงจะขับเป็น แม้จะวังอย่างไร ก็ยังโดนอยู่ดี ขนาดจอดอยู่เฉย ๆ ยังโดนเลย ถ้าจะถามเรื่องปฏิบัติ ก็ได้เริ่มปฏิบัติบางแล้ว บางอย่างเหมือนจะง่าย ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าทุกข์เกิดจากจิตที่ปรุงแต่ง แต่ก็ยังจะคิด
    ขอบคุณมากค่ะ

     
  9. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    ..สาธุคับ <label for="rb_iconid_31">[​IMG] </label>อย่างที่ได้ขึ้นหัวเรื่องไว้แหละคับ ลองพิจารณดูตับ

    จะว่ายากก็เหมือนยาก จะว่าง่ายก็ง่ายนะคับ..มัันเหมือนแค่พลิกนิดเดียวเอง

    สำคัญ..ขอให้นึกว่า..เมื่อความทุกข์มาเยือน นั้นคือโอกาสที่จะได้พิจารณาธรรม

    ขอให้พลิกวิกฤต เป็นโอกาสให้ได้นะคับ
    <label for="rb_iconid_31">[​IMG]..สาธุ..</label>
     
  10. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    สาธุคับ.<label for="rb_iconid_31">[​IMG]</label>.อนุโมทนาด้วยคับที่ได้เริ่มปฏิบัติบ้างแล้ว..ทางปฏิบัติทุกสายทุกทาง.สุดท้ายก็ลงที่จุดเดียวกัน คือการเจริญสติ..ส่วนรูปแบบ จะพุทโธ จะยุบหนอพองหนอ จะเคลือนไหวมือ จะเจริญอิริยาบท4 .. สุดท้ายก็รวมลงที่การเจริญวิปัสนากรรมฐาน..หัวใจของการเจริญวิปัสนา คือ ต้องเห็นการเกิดดับ (คือเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)..ต้องเห็นนะคับ เมืื่อเห็นก็จะวางเอง...

    ...มีข้อสังเกตุนิดนึง คำว่าสติ .. ดูอย่างไรว่าสติที่เป็นสัมมาสติ กับสติแบบชาวบ้าน(สติที่จมแช่ในอารมณ์) สังเกตุดูคับ สติที่เป็นสัมมาสติ เมื่อเกิดขึ้น เขาจะตัดกิเลสขาดทันทีเลยนะคับ..ดังตัวอย่างที่ผมยกให้อ่านกันแล้ว..และไม่ต้องนึกน้อยใจไปนะคับ ว่า "เราระวังแล้วก็ยังโดนอีก"..บางอย่างก็อยู่ที่บุพกรรมด้วย เวลาวิบากกรรมส่งผลเราับังคับไม่ได้.. ทำได้สองอย่าง คือ 1.ทำใจ..(คือวาง)
    2.ขออโหสิ..

    อาการของสติที่จะเท่าทันอารมณ์ที่มากระทบคือเท่าทันกับกิเลสที่จรเช้ามา..
    สติเรา ไปทันตอนไหน ก็ขึ้นอยู่กับการฝึก สติของเรา ว่าเราสั่งสมไว้แค่ไหนแล้ว
    เช่น..
    <label for="rb_iconid_16">[​IMG]</label> 1.ผู้ที่ยังไม่ได้ปฏิบัติธรรม สนใจธรรมเลย สติจะทันกิเลสก็ตอนมัน ดับ ไปแล้ว คือ ทุกข์ดับไปแล้ว เราถึงมารู้สึกตัวว่า ไม่น่าเลย
    <label for="rb_iconid_16">[​IMG]</label> 2.ผู้เริ่มปฏิบัติบางแล้วมีสติที่ฝึกมาบางแล้ว ตัวสติเขาก็จะทันกับกิเลสตอน ตัญหาเกิด หรือ ขณะตอน เวทนาเกิด..ซึ่งทันตอนนี้ก็เหนื่อยหน่อย เหมือนตื่นมากลางมรสุมกะลังโหมกระหน่ำ..
    <label for="rb_iconid_16">[​IMG]</label> 3.เมื่อฝึกจนสติมีความว่องไวขึ้นมาอีก ก็จะเริ่มทันกับอารมณ์ต่างๆ ที่กำลังปรุ่งแต่ง... นี่ก็เริ่มเบาขึ้นแล้ว ถ้าสติเราไวทันกันได้ตอนนี้
    <label for="rb_iconid_16">[​IMG]</label> 4.จะหยุดการปรุ่งแต่งได้ สติต้องไวทันกับสิ่งที่มากระทบ สติต้องทันตั้งแต่ สัญญาเกิด เลย... คือกระทบรู้..วาง...จิตก็จะเบาสบาย ทุกอย่างจะ สักแต่ว่า..เห็น สักแต่ว่าได้ยินเสียง สักแต่ว่า...เท่านั้นเอง เกิดปุ๊บก็รู้ปลายแล้ว..กิเลสก็ดับเองเลย ไม่กระทบจิตอีก..

    เราบังคับให้เขาเกิดไม่ได้นะ..สติที่เป็นสัมมาสติเนี้ย สติที่ตัดกิเลสเนี้ย..เราทำได้แค่ฝึกเขา คือเพียรทำบ่อยๆ..ทำความรู้สึกตัวให้มาก.แล้วเขาจะพัฒนาของเขาเอง...อย่างที่บอก เมื่อสติที่ฝึกดีแล้ว..เขาจะรู้ของเขาเอง ไม่ต้องกำหนด
    ...ขอให้พยายามต่อไปนะคับ...สงสัยไรก็ถามได้..ถ้าไม่เกินปัญญาความรู้ผมก็จะตอบให้คับ... สาธุคับ <label for="rb_iconid_31">[​IMG]

    </label>
     
  11. ดอกสร้อย

    ดอกสร้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,839
    ค่าพลัง:
    +4,890
    อธิบายได้จัดเจนมาก ตอนนี้คงอยู่ที่ข้อ 2 นี่แหละค่ะ คงต้องใช้ความพยายามมากหน่อยค่ะ

    2.ผู้เริ่มปฏิบัติบางแล้วมีสติที่ฝึกมาบางแล้ว ตัวสติเขาก็จะทันกับกิเลสตอน ตัญหาเกิด หรือ ขณะตอน เวทนาเกิด..ซึ่งทันตอนนี้ก็เหนื่อยหน่อย เหมือนตื่นมากลางมรสุมกะลังโหมกระหน่ำ..
    ขอบคุณมากสำหรับธรรมทานในครั้งนี้ ขอบคุณจริง ๆ
     
  12. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
    สาธุคับ..อนุโมทนาด้วยคับ..เป็นกำลังใจให้คับ
    ...คับ เมื่อเดินจิตถูก..เจริญสติเป็น..เมื่อจิตที่ฝึกดีแล้ว เขาจะดำเนินของเขาเอง..เราแค่ตามรู้เขาไปเรื่อยๆ.. เพื่อเรียนรู้ทุกข์ ..
    ...เมื่อสติ ที่เป็นสัมมาสติแท้ๆเกิด..คุณจะสัมผัสได้จริงๆ ถึง คำที่ว่า สติเขาจะเข้าไปดับกิเลสนั้นจริงๆ...เราจะรู้สึกว่าสติเราไวขึ้นเรื่อยๆคับ..เป็นสิ่งบอกถึงความก้าวหน้าในการปฏิบัติด้วย...
     
  13. Markdaddy

    Markdaddy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +171
    อนุโมทนาสาธุครับ อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีครับ ขอบคุณครับ
     
  14. ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก"

    ๐นัท๐"เอหิปัสสิโก" สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +21
  15. ppotonuch

    ppotonuch สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ^ ^ รู้สึกดีคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...