ธรรมะโอสถ (ยารักษาภายในจิตใจ สำหรับผู้เจ็บป่วย)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โด่งวัดถ้ำ, 1 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. โด่งวัดถ้ำ

    โด่งวัดถ้ำ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +0
    ธรรมะโอสถ

    ยารักษาภายในจิตใจ สำหรับผู้เจ็บป่วย<O[​IMG]
    บทธรรมะสำหรับพิจารณาธาตุขันธ์ มีเพียงรูป และนาม<O[​IMG]
    ทุกสิ่งทุกอย่าง ต่างก็เปลี่ยนแปลงหมุนเวียนแปรเปลี่ยนไป<O[​IMG]



    <O[​IMG]


    (โด่งวัดถ้ำ)<O[​IMG]

    <O[​IMG]



    <O[​IMG]
    หัวข้อธรรมะต่างๆที่พระพุทธเจ้าได้ทรงกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกนั้น ประดุจดั่งยาทิพย์ที่รักษาได้ทุกโรค มีคำกล่าวว่า
     
  2. โด่งวัดถ้ำ

    โด่งวัดถ้ำ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +0
    สูงวัยคือความเสื่อม<O[​IMG]
    บางครั้งเราเรียกคนแก่ว่าผู้สูงวัย คำว่าวัย แปลว่าอะไร? วัยนี่แปลว่าเสื่อม ผู้สูงวัยก็คือมีความเสื่อมมาก พอแก่แล้วร่างกาย หู ตา มันเสื่อมไปหมด ผมที่เคยดำ ก็กลับขาว ตาที่เคยยาว ก็สั้น ฟันที่เคยมั่น ก็คลอน ผิวที่เคยนุ่มนวล ก็เหี่ยวย่น ที่เต่งตึงก็ยานโตงเตง อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา<O[​IMG]

    สูงวัย คือมันมีความเสื่อเกิดขึ้นแก่อวัยวะร่างกาย มีความแก่ มีความเจ็บ แล้วในที่สุดก็มีความตายเป็นธรรมดา ไม่มีใครจะหลีกเลี่ยงได้ แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็น มหาบุรุษเป็นยอดของเหล่ามนุษย์ทั้งหลายท่านสิ้นแล้วซึ่งกิเลส ไม่มีอะไรจะมาเผาลนจิตใจได้ เกิดเป็นกษัตริย์และสละสิ้นแล้วทุกอย่าง มากด้วยเดช เดชะ อิทธิฤทธิ์ บุญฤทธิ์ เป็นผู้มีฤทธิ์มาก ท่านก็ยังต้องตาย<O[​IMG]
    <O[​IMG]
    ทุกคนต้องตายเสมอกัน<O[​IMG]
    พูดถึงความตาย ไม่มีใครจะสามารถชนะความตายได้ พญามัจจุราชให้ความเที่ยงธรรมเสมอกันหมด ไม่ว่าจะเป็นคนรวย คนจน คนสูง คนต่ำ ต้องอยู่ภายใต้อำนาจของพญามัจจุราชเหมือนกันหมด คือตายเหมือนกัน
    มีความแตกต่างกันอยู่ที่ว่า บางคนเค้าตายด้วยความไม่เป็นสุข ตายไปกับจิตใจหวั่นไหวเต็มไปด้วยความหวาดกลัวบ้าง อาลัยอาวรณ์บ้าง จิตใจไม่สงบคิดเห็นแต่เรื่องที่ไม่ดี สิ่งที่ได้เคยกระทำมาครั้งในอดีต ถ้าหากดำเนินชีวิตด้วยความดีเมื่อถึงเวลาตาย เขาจะตายด้วยความสงบ ตายอย่างเป็นสุข คุณธรรมความดีที่เราได้สร้างไว้ในโลกนี้มันไม่สูญไป มันยังแทนตัวเองอยู่เราตายไปแล้วก็จริง แต่ว่าสิ่งของที่เราสร้างไว้ อาคาร ศาลา โรงพยาบาล วัดวาอาราม หรือผลงาน เช่นความรู้ที่เราถ่ายทอดเอาไว้นี้จะไม่สูญไป มันเป็นสิ่งแทนตัวเราได้ คือเอาความดี แทนตัวเรา ตัวตายไป แต่คุณงามความดีที่มีประโยชน์ต่อคนอื่นยังอยู่ แล้วคนๆนี้ พระพุทธเจ้าบอกว่า จะไม่ตายไปจากใจของคน สมมติเราเคยช่วยเหลือใคร เราเคยทำความดีกับใครเอาไว้ เขาไม่ลืมหรอก เราก็ไม่ได้ตายไปจากใจของเขาใช่ไหม?<O[​IMG]
    เพราะฉะนั้นตอนที่เรายังแข็งแรงอยู่ ยังทำอะไรได้ต้องรู้จักช่วยคนอื่น ถ้าเราช่วยคนอื่นไว้พอถึงช่วงเวลาที่เราตกทุกข์ได้ยาก เราเจ็บป่วยช่วยตัวเองไม่ได้ลูกหลานหรือคนที่เราเคยช่วยเหลืออุปถัมภ์ไว้ เขาจะช่วยเหลือเรา ความดีนี้รักษาคนทำ ถ้าคนใดไม่เคยมีความดี ไม่เคยทำความดีไว้เลย ก็ไม่มีใครดูแล กลายเป็นคนอนาถา ไม่มีที่พึ่ง ถึงได้มีคำกล่าวไว้ว่า ขึ้นชื่อว่าความดี ทำเข้าไปเถอะ ทำไปแล้วไม่เสียหลายหรอก<O[​IMG]
    <O[​IMG]
    ผู้ชนะความตาย<O[​IMG]
    คนบางคน มีปัญหาชีวิตมากมายนัก มีโรคภัยไข้เจ็บรุมเร้า อีกไม่นานก็จะต้องตาย แต่ไม่ทุกข์ พระพุทธเจ้าเรียกคนอย่างนี้ว่า “ผู้ชนะความตาย ชนะความแก่ ชนะความเจ็บ” เพราะว่าคนปกติ เวลาต้องแก่ เจ็บ ตาย นี้จะทุกข์ ทุกข์ใจเพราะไม่ได้ดังใจ เช่นอยากจะทำโน้นทำนี่ก็ทำไม่ไหว <O[​IMG]
    เจ็บป่วย ไม่มีแรง หรือแก่ หรือตาย ต้องพลัดพรากจากกันไป บางคนก็กลัวเจ็บ กลัวตายหวั่นไหว <O[​IMG]
    แต่สำหรับคนที่ฝึกจิตมาดีแล้ว คนที่ทำความดีมาเพียงพอแล้วมันอิ่มใจ มันรู้สึกพอ ชีวิตนี้ใช้คุ้มค่าแล้วไม่ต่อรองไม่เรียกร้องอะไรแล้ว ยิ่งถ้ารู้จักทำจิตทำใจให้สงบ ศึกษาธรรมะ ให้มีความรู้เข้าใจถูกต้องในข้อธรรมะ จะเกิดปัญญา และผู้มีปัญญาจะชนะความตาย<O[​IMG]
    การชนะความตายนี้ไม่ใช่กินยาทิพย์แล้วจะมีชีวิตเป็นอมตะ อยู่ได้เป็นพัน เป็นหมื่นปี ไม่ใช่แบบนี้นะ ร่างกายมันก็อยู่ของมันเท่าที่มันเป็นเช่นนั้นเอง เจ็ดสิบแปดสิบปี ร้อยปี แต่ว่าจิตใจแช่มชื่นอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าร่างกายมันเจ็บป่วยแก่ตายไป แต่จิตใจมันไม่เจ็บไม่ป่วยไม่แก่ไม่ตายไปด้วย พระพุทธเจ้าท่านก็ชนะความตายอย่างนี้เอง คือท่านไม่มีทุกข์ ไม่มีกิเลสแล้ว จิตใจของท่านอยู่เหนือร่างกายแล้ว อันนี้เราควรจะฝึกเหมือนกัน เพราะถ้าหากว่าไม่ศึกษาธรรมะไว้ ก็จะช่วยตัวเองไม่ได้ในเวลา เจ็บ เวลาแก่ เวลาตาย เรียกว่าซ้อมตายก่อนที่จะตายจริง<O[​IMG]
     
  3. โด่งวัดถ้ำ

    โด่งวัดถ้ำ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +0
    ให้มองเห็นความไม่ใช่ตัวตน (อนัตตา)
    เห็นความเป็นอนัตตา ไม่มีสิ่งที่ควรถือว่าเป็นตัวตน ไม่ควรยึดถือว่าร่างกายนี้เป็นของเรา บ้านหลังนี้เป็นของเรา ลูกเป็นลูกเรา เมียเป็นเมียเรา หากว่าเราตายไปแล้วทุกสิ่งที่กล่าวมานั้น ก็จะไม่ใช่ของเราอีกต่อไป ให้คิดพิจารณาว่า สิ่งทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล มันจึงไม่มีใครเกิด ไม่มีใครแก่ ไม่มีใครตาย มีแต่สังขารทั้งหลายที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมันเท่านั้น
    <O[​IMG]
    สังขารมันปรุงแต่งไปเอง เราก็ไปสมมติว่าอาการเหล่านั้นว่าเป็นความเกิดบ้าง เป็นความแก่บ้าง เป็นความตายบ้าง ทั้งๆที่มันคือความเป็นเช่นนั้นเอง เป็นอยู่อย่างนั้นเอง ถ้าหลงในสมมตินี้ก็จะต้องเป็นทุกข์เพราะความเกิด แก่ เจ็บ ตาย
    <O[​IMG]
    เป็นเรื่องของธรรมชาติ<O[​IMG]
    เมื่อได้ศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้ว เห็นตามความจริงแล้ว ก็จะเห็นว่าไม่มีใครๆ ไม่มีสัตว์ บุคคลใด มีแต่สังขารล้วนๆ เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ เรียกว่าเห็นความเป็นเช่นนั้นเองของสิ่งที่เป็นสังขาร คือ มีเหตุ มีปัจจัย ปรุงแต่งไปตามธรรมชาติ <O[​IMG]
    ที่นี้มาดูพวกที่ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เป็นธรรมะประเภทไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง พวกนี้ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นผลของอะไร มีแต่สภาพความเป็นเช่นนั้นเองของธรรมะส่วนนี้ซึ่งเรียกว่า “วิสังขาร” เป็นที่ดับแห่งสังขารทั้งปวง เราเรียกกันด้วยภาษาธรรมดาๆ ว่า “พระนิพพาน” ธรรมะชนิดนี้อยู่เหนือเหตุปัจจัย ว่างจากการปรุงแต่ง จึงว่างจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย<O[​IMG]
    <O[​IMG]
    ว่างจากการปรุงแต่ง<O[​IMG]
    แม้ว่าสังขารทั้งหลายจะมีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ถ้าเรามองเห็น “วิสังขาร” หรือหากเราว่างจากการปรุงแต่งแล้ว สิ่งที่มีการปรุงแต่งก็จะหมดความหมายไปเอง เพราะมันว่างจากสิ่งที่เป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล แม้นเราพิจารณาดูดีๆ จะเห็นว่า ในทุกๆที่ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตน ที่เกิดเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาก็เพราะเราเข้าใจเอาเอง เราสมมติกันเอง เพราะความไม่รู้<O[​IMG]
    เมื่อได้ศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้ว จึงได้รู้ว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นไปตามเหตุปัจจัย มีอาการต่างๆ ถูกเอาสมมติมายึดถือให้เป็นเกิด แก่ เจ็บ ตาย แล้วก็เข้าใจว่าตัวเองเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นเจ้าของผู้กระทำการเกิด แก่ เจ็บ ตาย <O[​IMG]
    ถ้าเข้าใจถึงพระธรรมย่อมไม่เกิดความรู้สึกว่ามีอะไรที่เป็นตัวเป็นตน เราจะเข้าใจเองว่าอย่าไปยึดเลย สังขารก็ไม่ใช่ของเรา ไม่มีอะไรเป็นของเราเลย สภาวะใดๆจะเกิดมันก็ต้องเกิด เราไปห้ามไม่ได้ มันต้องเป็นไป เป็นเพียงกิริยาแห่งการเปลี่ยนแปลงของสังขารเท่านั้น
    <O[​IMG]
    ว่าด้วยเรื่อง “กรรม”<O[​IMG]
    สังขารล้วนเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติอยู่ตลอดเวลาเราเรียกว่ากิริยา แต่หากว่าจิตมันไปเอากิริยานั้นมาเป็นของตนมันก็กลายเป็นกรรม กรรมคือการกระทำของเราที่เราได้กระทำมาแบ่งได้เป็นกรรมดี กรรมชั่ว สิ่งที่เคยยึดถือ เคยกระทำมาไม่ว่าจะเป็นเมื่อครั้งอดีตชาติ หรือปัจจุบันชาติ ก็ถือว่าเป็นกรรม ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดคำกล่าวที่ว่า “เรามีกรรมเป็นของตน” หรือจะกล่าวได้ว่า ตนเป็นผู้สร้างกรรม กรรมในอดีตส่งผลปัจจุบัน กรรมในปัจจุบันส่งผลในอนาคต <O[​IMG]
    นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายจะไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องราวในอดีตและเรื่องราวในอนาคต แต่จะอยู่กับปัจจุบันเป็นหลัก เพราะอดีตเป็นเรื่องที่ล่วงผ่านมาแล้ว เราไม่สามารถไปแก้ไข ไปจัดการกับอดีตได้ ส่วนอนาคตเป็นเรื่องที่ยังมาไม่ถึง การที่เราเพ่งจิตใจไปอยู่กับอดีต หรืออนาคตจึงไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใดเลย พาลจะทำให้จิตใจฟุ้งซ่านเสียเปล่าๆ<O[​IMG]
    จะเป็นกรรมอันใดก็ดีที่ทำให้เราต้องมานอนเป็นผู้เจ็บป่วยอยู่อย่างนี้ เราไม่ต้องไปใช้สมองคิดให้กลุ้มใจเสียเปล่า ให้วางจิตอยู่กับปัจจุบัน เพียรพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของสังขาร ว่าเป็นกิริยาที่ต้องเป็นไป ที่ผ่านมาสังขารมันก็ตั้งอยู่ได้ เป็นเรื่องของมันเองเป็นแบบนั้นเองต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง แล้วก็ต้องเสื่อมสลายไป เป็นสิ่งที่เราไปกะเกณฑ์ไม่ได้ จะหายก็ดี จะตายก็ดี เป็นเรื่องของสังขาร <O[​IMG]
    <O[​IMG]
    พุทธานุสติ<O[​IMG]
    ยังไงก็ต้องตายอยู่แล้ว ตายวันนี้ หรือพรุ่งนี้ ก็คือตายเหมือนกัน หนีไม่พ้น แต่ก่อนที่เราจะตาย ขอทำจิตใจให้สบายๆ ดีกว่านอนกลุ้มใจ วิตกทุกข์ร้อนจนตาย แล้วทำยังไงจิตใจของเราจะสบายละ อาการเจ็บป่วยของร่างกายก็ทรมานจะแย่อยู่แล้ว ก่อนอื่นให้เราคิดถึงพระพุทธเจ้า กำหนดภาพพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ หรือที่เรียกว่า “พุทธานุสติ” วิธีกำหนดภาพให้ลืมตาคิดถึงหน้าแม่เราทำได้ไหม น่าจะทำได้กันทุกคน ทีนี้ให้หลับตาลงภาพแม่ต้องยังอยู่นะ ให้จำอารมณ์จิตขณะนี้ไว้ นี่เป็นการกำหนดภาพแบบง่ายๆ
     
  4. โด่งวัดถ้ำ

    โด่งวัดถ้ำ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +0
    เมื่อกำหนดภาพแม่ขณะที่ลืมตาและหลับตาได้แล้ว ทีนี้ให้เราเปลี่ยนจากภาพของแม่เป็นภาพพระพุทธเจ้า (หรือพระพุทธรูป ,พระอริยะสงฆ์ที่เราเคารพนับถือ) พิจารณามองดูภาพพระที่เรากำหนดแบบสบายๆ ไม่ต้องเพ่ง ดูสบายๆ มองดูไปเรื่อยๆ จิตจะรวมเป็นสมาธิโดยปริยาย
    ที่กล่าวมานี้คือการทำกรรมฐานแบบหนึ่ง เมื่อเราทำบ่อยๆ จะเกิดกำลังสมาธิ เมื่ออยู่ในสมาธิก็ให้น้อมนำข้อธรรมะ มาพิจารณาไตรลักษณ์ เรื่องสังขารไม่เที่ยง มีเกิดขึ้น มีตั้งอยู่ มีดับไป เมื่อนั้นเมล็ดพันธ์แห่งปัญญาก็จะเกิดขึ้นในจิตเรา <O[​IMG]

    <O[​IMG]
    ไร้ทุกข์เมื่อเข้าถึงสัจจะธรรม<O[​IMG]
    เจ็บหนอ โอ๊ย เจ็บหนอ...ถึงแม้เราจะร้องเท่าใด ความเจ็บปวดก็มิได้หายไปแต่อย่างใด มิสู้เราเอาชนะความเจ็บปวดด้วยการทำสมาธิ วิปัสสนา (พิจารณาไตรลักษณ์) จะยังประโยชน์แก่จิตเราได้มากกว่าการนอนรอความตาย เมื่อเจ็บมากๆ ลองทำให้มันดับไปเลยซิ จิตที่เห็นธรรมะแล้วไม่มีอะไรเป็นตัวตนแล้ว แม้แต่การแตกดับแห่งสังขารนี้ก็เป็นเพียงกิริยาของธรรมชาติที่ต้องเป็นไป สามารถพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมะได้ นั้นคือปัญญาที่เกิดขึ้นจากการทำสมาธิ <O[​IMG]
    ไร้รูป ไร้นาม สรุปรวมที่ ทั้งสังขารและวิสังขารก็เป็นเช่นนี้เอง จิตปล่อยว่าง วางหรือว่างจากความยึดถือใดๆ แม้เจ็บป่วยก็สามารถปฏิบัติได้เฉกเช่นคนปกติทุกประการ เพื่อถึงซึ่งเป้าหมายของพระพุทธศาสนาคือ “นิพพาน” เป็นที่สุด<O[​IMG]
    <O[​IMG]

    พุทธศาสนสุภาษิต<O[​IMG]
    ๑. น มิยฺยมานสฺส ภวนฺติ ตาณา “เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน”<O[​IMG]
    ๒. ภูตํ เสสํ ทยิตพฺพํ “เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ควรเกื้อกูลกัน”<O[​IMG]
    ๓. อปฺปกญฺจิทํ ชีวิตมาหุ ธีรา “ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้สั้นนัก”<O[​IMG]
    ๔. มจฺจุนา ปิหิโต โลโก “โลกถูกความตายครอบเอาไว้”<O[​IMG]
    ๕. สายเมเก น ทิสฺสนฺติ “เห็นอยู่เมื่อเช้า สายก็ตาย”<O[​IMG]
    ๖. ทหรา จ วุฑฺฒา จ สรีรเภทา “ทั้งหนุ่มและแก่ ล้วนแตกดับทุกคน”<O[​IMG]
    ๗. วโย รตฺตินฺทิวากฺขโย “วัยสิ้นไปตามคืนและวัน”<O[​IMG]
    ๘. อายุ ขียติ มัจฺจานํ “อายุของคนย่อมหมดสิ้นไป”<O[​IMG]
    ๙. น จาปิ วิตฺเตน ชรํ วหนฺติ “ทรัพย์สมบัติซื้อความแก่ไม่ได้”<O[​IMG]
    ๑๐. วินาภาเว อสํสเย “สักวันหนึ่งก็จะต้องพรากจากกันไป”<O[​IMG]
    ๑๑. นตฺถิ ชาตสฺส อมรณํ “ผู้ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายเป็นไม่มี”<O[​IMG]
    ๑๒. ปาปญฺจ เม นตฺถิ กตํ กุหิญฺจิ ตสฺมา น สงฺเก มรณาคมายํ <O[​IMG]
    “ข้าพเจ้าไม่มีความชั่วซึ่งทำไว้ ณ ที่ใหนๆ เลย ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงไม่หวั่นเกรงความตายที่จะมาถึง”<O[​IMG]
     
  5. Chart072

    Chart072 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +258
    อนุโมทนาอย่างยิ่งจริงๆ ธรรมบทนี้สำคัญมาก ควรพิจารณาเนืองๆ ผมเองห็ใช้ธรรมขัอนี้อยู่ ทำให้จิตใจเบาสบาย ไม่ยึดติดร่างกายทรัพย์สินศฤงคาร มันจะตายเมื่อใด ก็เรื่องของมัน เมื่อมีลมหายใจอยู่ เราก็ไม่ประมาท เร่งรัดความดีสร้างสมบุญกุศล เจริญพุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ มรณานุสติ และอุปสมนุสติ เป็นอารมณ์อยู่เสมอ ใจจะเป็นสุขมาก แม้ร่างกายเจ็บป่วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...