หลวงพ่อจรัญสอนบำเพ็ญจิตภาวนาด้วยสติปัฏฐานสี่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Arwritz, 26 มีนาคม 2009.

  1. Arwritz

    Arwritz สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +14
    [​IMG]
    * เอามาธรรมะดีๆมาฝากค่ะ ^^


    บำเพ็ญจิตภาวนาด้วยสติปัฏฐานสี่
    หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม
    จากหนังสือกรรมกำหนด พระธรรมเทศนาหลักธรรมะฉบับรวมเล่ม


    บำเพ็ญจิตภาวนาด้วยสติปัฏฐานสี่
    ที่เราได้มาสวดมนต์ภาวนา รับกรรมฐาน เพื่อบำเพ็ญศีล ที่รับศีลแล้วยังเป็นประโยชน์คือตัวกรรมฐาน บำเพ็ญจิตภาวนา ในทางสติปัฏฐานสี่ของพระพุทธเจ้าของเรานั้น วิธีปฏิบัติเบื้องต้นของการปฏิบัตินี้ ยึดแนวหลักสติเป็นตัวสำคัญ
    สติปัฏฐานสี่ก็มี ๔ ข้อ สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมใหม่ ยังไม่เข้าใจในปริยัติและข้อปฏิบัตินี้ก็ตาม จงท่องจำหมายนี้ไว้ก่อนว่า...
    กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ข้อที่หนึ่ง กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายความว่ากระไร
    ท่านจะแปลศัพท์ว่า การมีกายนี้ก็สักแต่ว่ากาย ไม่มีตัวบุคคล เรา เขา เป็นกายานุปัสสนา เป็นต้น แต่โดยวิธีปฏิบัติแล้วนี่กาย...สติเอาจิตเพ่งดูกาย ยืน เดิน นั่ง นอน เหลียวซ้ายแลขวา จะคู้เหยียดเบียดขา ต้องติดตามดูผลคือใช้สตินี้เองดูร่างกายสังขารต่างๆ เป็นต้น นี้เรารู้ไว้เป็นเบื้องต้นก่อนข้อที่หนึ่ง
    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ข้อที่สอง เวทนานุปัสสนาฯ เราจะได้ทราบว่าเวทนาคืออะไร เวทนา แปลว่า ทนไม่ได้ บัญชาการไม่ได้ต้องเป็นตามสภาพนี้ เพราะเป็นไปตามธรรมชาตินี้คืออะไร

    เวทนามีอยู่ ๓ ประการ ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอุเบกขาเวทนา ทั้ง ๓ ประการนี้ จุดมุ่งหมายก็ต้องการที่จะให้สติไปพิจารณาเวทนานั้นๆ เช่น ดีใจก็ดีเรียกว่าสุขกาย สุขทางกายสุขทางใจเรียกว่าสุขเวทนา ทุกข์กายทุกข์ใจเรียกว่าทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนาก็เรียกว่าไม่สุขไม่ทุกข์ จิตใจที่มักจะเลื่อนลอยหาที่เกาะไม่ได้เรียกว่าอุเบกขาเวทนา

    วิธีปฏิบัติก็ต้องใช้สติกำหนดคือตั้งสติรำลึกได้ เป็นต้นว่าดีใจก็กำหนด กำหนดอย่างไร? กำหนดที่ลิ้นปี่หายใจยาวๆจากจมูกถึงสะดือให้ได้ หายใจขึ้นลงยาวๆ จากจมูกถึงสะดือให้ได้ หายใจขึ้นลงยาวๆ กำหนดว่า ดีใจ...หนอ ดีใจ...หนอ


    ทำไมต้องปฏิบัติเช่นนี้ล่ะ เพราะคำว่าดีใจและสุขกายสุขใจนั้นเดี๋ยวก็ทุกข์อีก ความสุขที่เจือไปด้วยความทุกข์อย่างนี้ เพื่อความไม่ประมาทในชีวิตของเราจะต้องรู้เบื้องหน้ารู้ในปัจจุบันในการกำหนดจึงต้องกำหนดที่ลิ้นปี่ บางคนบอกให้กำหนดที่หัวใจ...ถูกที่ไหน...หัวใจอยู่ที่ไหนประการใด อันนี้ผู้ปฏิบัติไม่ต้องรับรู้วิชาการ ทิ้งให้หมด ปฏิบัติตรงนี้ให้ได้ ลิ้นปี่มันเป็นหัวขั้วแบตเตอรี่ชาร์ตไฟเข้าหม้อทุกคนไปแปรภาพ การปฏิบัตินี้ไม่ใช่การวิจัย ไม่ใช่ประเมินผล แต่เป็นการให้ผุดขึ้นมาเองโดยปกติธรรมดา ให้มันใสสะอาด ผุดขึ้นมาได้รู้จริง รู้จัง รู้ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ รู้ขึ้นมาเอง

    คำว่า รู้เองทำยาก รู้วิชาการทำง่าย อ่านหนังสือท่องได้ก็ได้ แต่รู้เองให้มันใสสะอาดขึ้นมานี่รู้ยาก ทำยังไงจะรู้ได้ง่าย ก็จะต้องปฏิบัติขึ้นมา ดีใจเสียใจมีแต่ความสุขกายสุขใจอย่างประมาทเลินเล่อ จะต้องตั้งสติทุกอิริยาบถตามกำหนด
    กำหนดจิตเป็นวิธีปฏิบัติเพื่อตั้งสติ
    กำหนดจิตนี้ก็มีความหมายว่าให้เราตั้งสติ เป็นวิธีปฏิบัติสัมปชัญญะมีความรู้ตัวอยู่ตลอดปัจจุบัน อย่างนี้เป็นต้น อดีตไม่เอา อนาคตไม่เอา ให้เอาปัจจุบันที่มันเกิดขึ้นอย่างไรให้ปฏิบัติอย่างนั้น อย่างนี้โดยข้อปฏิบัติง่ายๆ ถ้าเสียใจ...มีความทุกข์กายทุกข์ใจ มีสองอย่างทุกข์ทางกายกับทุกข์ทางใจ แต่อะไรมันไม่อยู่ที่จิตใจเลย มันอยู่ที่ข้อนี้ จึงต้องกำหนดที่ลิ้นปี่ เสียใจหนอ... เสียใจหนอ... หายใจลึกๆ ยาวๆ เสียใจเรื่องอะไร เป็นการป้องข้อมูลไว้ให้ถูกต้อง

    ถ้าสตินี้ระลึกได้ก็หมายตัวแจงงาน หมายเหตุที่มาของทุกข์ ตัวสัมปชัญญะเป็นตัวบอกให้รู้ให้มีความเข้าใจ เรียกว่า ปัญญา รู้เท่าทันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้เอง เราจึงต้องกำหนดที่เวทนานี้ ปวดเมื่อยเป็นเวทนาทางด้านกาย แต่จิตไปเกาะอุปาทานยึดมั่นมันก็ปวดใจไปด้วย เช่นว่า เราเสียใจร่างกายไม่ดี สุขภาพไม่ดี เป็นโรคภัยไข้เจ็บ จิตมันก็เกาะที่เจ็บนั้น จึงต้องให้กำหนดด้วยความไม่ประมาท ด้วยการใช้วิธีฝึกปฏิบัติ ต้องกำหนดเวทนานั้นๆ ปวดหัวเข่าปวดที่ไหนก็ตามต้องตามกำหนด


    ตัวกำหนดนี้เป็นตัวปฏิบัติ เป็นตัวระลึกเอาจิตไปสู่จุดนั้น เป็นอุปาทานยึดมั่นก่อน เพราะเราจะก้าวขึ้นบันไดก็ต้องเกาะยึด เราจะก้าวต่อไปก็ต้องปล่อย นี่อุปาทาน อย่างใหม่ๆเรียกว่า สมถะ สมถะยึดก่อนแล้วก็จะปล่อยไปก็เป็นวิปัสสนา เป็นต้น นี่เราจะทราบจริงถึงจะเป็นวิปัสสนาขึ้นมาแต่ภายหลัง

    เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจตามนี้ ต้องกำหนด ส่วนใหญ่ไม่ค่อยกำหนดกันจึงไม่รู้เรื่องราวอะไรอย่างนี้เป็นต้น มีความหมายอย่างนั้น


    เกิดเวทนาที่ไหน ต้องแก้ที่นั่น
    มีความสุขทางไหนก็ตามเดี๋ยวก็จะทุกข์อีก ที่มันแก้ไม่ได้ก็เพราะอย่างนี้ เกิดทีไหนก็ต้องแก้ที่นั่นไม่ใช่ไปแก้ที่อื่น หาเหตุที่มาของมันคือสติ สติเป็นตัวกำหนด เป็นตัวหาเหตุ เป็นตัวแจงเบี้ย บอกให้รู้ถึงมาถึงผล ตัวสัมปชัญญะรู้ทั่วนอกรู้ในนั่นแหละคือตัวปัญญา ความรู้มันเกิดขึ้น ตัวสมาธินี้ก็หมายความจับจุดนั้นให้ได้ เช่น เวทนา...ปวดเมื่อย เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติมาก จึงต้องให้กำหนด มิใช่ว่าหมายความว่ากำหนดแล้วมันจะหายปวดหามิได้ แต่ต้องการจะใช้สติไปใช้ควบคุมดวงจิตที่มันปวด เพราะปวดนี่เราไปยึดมันจิตก็ไปปวดด้วย ก็เลยทำให้เกิดความทุกข์ใจขึ้นมาเพราะอุปาทานไปยึดขึ้นมาอย่างนี้เป็นต้น จุดมุ่งหมายก็ต้องการให้สติไปดูไปควบคุมจิตว่ามันปวดมาก แค่ไหนประการใด มันมีความหมายอย่างนั้น


    อุเบกขาเวทนา
    อุเบกขาเวทนา...ไม่สุข ไม่ทุกข์ ใจก็ลอย หาที่เกาะก็ไม่ได้ เหม่อมองเห็นคนเป็นสองคนไปแล้ว จึงต้องกำหนดอุเบกขาเวทนา

    กำหนดที่ไหน? กำหนดที่ลิ้นปี่ หายใจยาวๆลึกๆสบายๆ แล้วก็ตั้งสติระลึกก่อน กำหนดรู้หนอ... รู้หนอ... รู้หนอ... ถ้าเราสร้างคอมพิวเตอร์ขึ้นมาได้ครบ อย่างนี้เรียกว่าป้อนข้อมูลมัน รู้หนอ... รู้หนอ... เดี๋ยวสติก็ไปรวมยึดมั่นในจิต จิตก็แจ่มใสแล้วความทุกข์นั้นก็จะหายไป แล้วอุเบกขาเวทนาไม่สุขไม่ทุกข์นั้น ส่วนใหญ่จะประมาทพลาดพลั้งได้ จึงต้องมีสติทุกอิริยาบถดังกล่าวนี้เป็นต้น

    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ข้อที่สาม จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ต้องท่องให้ได้ ทำไมจึงต้องเรียกว่าจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ฐานของจิตต้องยึดในฐานทัพนี้ จิตเป็นธรรมชาติ จิตคิดอ่านอารมณ์ รับรู้อารมณ์ให้ได้ เหมือนเทปบันทึกเสียง...เปิดที่ไหนปัญหาเกิดขึ้น ผู้พัฒนาจิตต้องรู้จุดเกิดของจิต

    จิตเกิดทางไหน? ก็ทางอินทรีย์ ทางอายตนะ ธาตุอินทรีย์นี้เอง มีความจะพูดเป็นภาษาไทยให้ชัด ตาเห็นรูปเกิดจิตที่ตา หูได้ยินเสียงเกิดจิตที่หูเพราะมันสัมผัส จมูกได้กลิ่นเกิดจิตที่จมูก ลิ้นรับรสเกิดจิตที่ลิ้น กายสัมผัสร้อนหรือหนาวอ่อนหรือแข็งที่ร่างกายเกิดจิตทางกาย ก็เรียกว่าจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน


    วิธีปฏิบัติทำอย่างไร? ที่มาของจิตรู้แล้วมันเกิดทางตา ตาเห็น...เห็นอะไรก็ตั้งสติไว้ จับจุดไว้ที่หน้าผากดึงอารมณ์มา แต่อย่าขาดอย่าเกิน กดข่มให้มันถูกเหมือนเรากดเครื่องคิดเลข บวกลบคูณหาร...มีครบ กดปุ่มให้มันถูกเดี๋ยวมันก็จะออกมา เครื่องคอมพิวเตอร์มันตีออกมาอย่างนี้ เห็นหนอ...เห็นหนอ... เห็นอะไร? เห็นรูป รูปอยู่ที่ไหน? สภาพรูปเป็นอย่างไร? รูปนั้นเป็นของผันแปรกลับกลอกหลอกลวงได้ เคลื่อนย้ายได้ทุกประการ เรียกว่า รูป เป็นเรื่องสมมติและเป็นเรื่องทำลายได้ เกิดขึ้น...ตั้งอยู่...แปรปรวน...ดับไป คือรูป ต้องกำหนด นักปฏิบัติจะทิ้งข้อนี้ไม่ได้

    ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นธรรมชาติของจิต เกิดที่ตา เกิดแล้วกำหนด ไม่ใช่ว่าเราแส่ไปหากำหนดข้างนอก ตาเหาะไปที่ไหนมันเห็นอะไรก็กำหนดเลย เห็นหนอ... ทำไมต้องกำหนดด้วย เพราะจิตมันเกิด ตาสัมผัสรูป...เกิดจิต ในเมื่อเกิดขึ้นแล้วเห็นของเหล่านั้น เรายังไม่มีปัญญา เราชอบไหม? ชอบก็คือโลภะ ไม่ชอบเป็นโทสะ เราไม่ใช้สติเลยกลายเป็นคนโมหะรู้ไม่จริง รู้แต่ตาเนื้อไม่รู้ตาใน คือดูด้วยปัญญาไม่ได้เลยดูด้วยโมหะ คนเรามันจึงได้เลอะเทอะเปรอะเปื้อนไปดังที่กล่าวแล้ว...ต้องใช้สติ
    ต้องกำหนดจิตในทุกอิริยาบถ
    นี่ข้อจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นธรรมชาติของจิตต้องพัฒนาตรงนี้ ต้องกำหนดที่อิริยาบถ

    หูได้ยินเสียง หูกับเสียงอย่างไร ไกลแค่ไหนอย่างไร ไม่ต้องไปประเมินผล ไม่ต้องวิจัย ห้าม !! ห้ามเพราะเหตุใด เพราะมันจะเป็นวิปัสสนึก...นึกขึ้นมาก็วิจัยตามวิชาการมันจะไม่ได้ผล เราก็ตั้งสติไว้ที่หู ฟัง...เสียงหนอ... เราฟังเฉยๆไม่ได้ ต้องกำหนดด้วย ถ้าเราไม่กำหนดเราจะขาดสติ ตัวกำหนดเป็นตัวฝึกสติ ให้มีสติอยู่ที่หูจะได้รู้ว่าเสียงอะไร เสียงหนอ...
    ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นี่ข้อที่สี่ ธรรมเป็นกุศล ธรรมเป็นอกุศล กุศลแปลว่าความดี อกุศลแปลว่าความชั่ว ทำตัวให้ทะลายไปตามอกุศลกรรม กายกรรมสาม วจีกรรมสี่ มโนกรรมสาม หลักกรรมบถสิบนี่คือ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน กายกรรมสามก็คือกรรมทางกาย ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในประเวณี วจีกรรมสี่คือ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ พูดคำหยาบ คนที่มีสติจะไม่พูดเท็จ จะไม่พูดเพ้อเจ้อ พูดเท็จพูดส่อเสียดใครแต่ประการใด จะพูดแต่ความจริงเสมอ และจะเป็นคนขยันหมั่นเพียร นี่คือคนมีสติปัญญา

    คนไร้สติปัญญาจะเกียจคร้าน หน้าที่ไม่รับผิดชอบ นับประสาอะไรจะไปรับผิดชอบส่วนรวมได้เล่า แค่ตัวเองยังรับผิดชอบไม่ได้จะไปรับผิดชอบครอบครัว บางคนเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้วยังรับผิดชอบอะไรไม่ได้ แล้วจะไปมีครอบครัว พอมีครอบครัวก็ละเลยเพราะต่างคนต่างรับผิดชอบไม่ได้ หนักเข้าไม่ช้าก็แตกกัน แล้วก็ฟ้องหย่าเป็นคดีกันไปก็หลายคู่สำหรับคนยุคใหม่สมัยนี้


    เพราะฉะนั้น การเจริญพระกรรมฐานนั้นจะทำให้เกิดสันติภาพ ทำให้เกิดสันติสุข ทำให้มีความสุขความเจริญ... สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มีแล้ว การเจริญกรรมฐานต้องการให้จิตสงบปรารภธรรม ไม่ต้องการให้จิตหละหลวม เหลาะแหละ เหลวไหลแต่ประการใด คนเราจึงมีนิสัยไม่เหมือนกัน นิสัยไปคนละแบบอย่าง นับประสาอะไรกับตัวเองเล่า ไม้ไผ่ต่างปล้อง พี่น้องต่างใจ ท้องเดียวกันยังเหมือนกันไม่ได้เลย

    อาตมาพูดอยู่เสมอว่า คู่แฝดกันแท้ๆ คนโตไม่เอาไหนเลย คนเป็นดอกเตอร์ คลอดออกมาห่างกันแค่ ๕ นาที คนโตเป็นฮีตเตอร์ไปเลย ไม่เอาเหนือเอาใต้อะไร ขนาดออกห่างกันแค่ ๕ นาที ไม่ต้องไปดูหมอหรอกว่าเกิดวันเดือนปีเดียวกัน เพราะว่ามันไม่ใช่ มันเป็นกฎแห่งกรรมจากการกระทำของบุคคลนั้น มันจึงเหมือนกันไม่ได้ เพราะเกิดจากการกระทำดีและการกระทำชั่ว การเอาตัวรอดได้หรือเอาตัวไม่รอด

    เพราะฉะนั้น การเจริญกรรมฐานจึงไม่ค่อยมีใครอยากทำ ความดีนี่ทำได้ยากมาก ความชั่วไหลไปได้ตามสบาย ความดีนั้นเป็นอุปสรรค ความดีเด่นเห็นชัดและเห็นใจแสนจะยากไร้มากมาย มันมีอุปสรรคขัดขวางไม่อยากให้ทำ ดังนั้นการเจริญกรรมฐานจึงเป็นของยาก ไม่ใช่ของทำได้ง่ายเลย ถ้าท่านทั้งหลายมีความเพียร มีสติดี มีขันติความอดทนต่อสู้กับเหตุการณ์นี้ได้ ท่านจะผ่านได้
    กรรมฐานคือหน้าที่การงานรับผิดชอบ

    เมื่อผ่านกรรมฐานแล้วท่านจะรู้ได้ว่า นี่มันงานหนักไหม คนเรานี่งานหนัก หนักด้วยงานนี่คือกรรมฐาน กรรมฐานคือหน้าที่การงานรับผิดชอบ เป็นการรับผิดชอบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้าท่านทำได้อย่างที่อาตมากล่าวสั้นๆนี่ รับรองท่านจะมีขันติธรรม ด้วยสมาธิเป็นร่มใหญ่ ภายในย่อมร่มเย็นเป็นสุข มีความสุขความเจริญตลอดไป ไม่มีอะไรที่จะออกมาแหนงแคลงใจต่อจิตใจแต่ประการใด กรรมฐานมีเท่านี้ มากกว่านี้ท่านจะไม่รู้เรื่อง ทำให้ได้เป็นขั้นตอน

    การเดินจงกรม ยืนเดินนั่งนอน จะเหลียวซ้ายแลขวา หรือจะคู้เหยียดเบียดขาตั้งสติไว้ ไม่ว่าจะมีกี่ระยะ พองหนอมีกี่ระยะ ยุบหนอมีกี่ระยะ ท่านจะรู้ได้ว่ามันมีกี่ระยะ มันขัดข้องแต่ประการใด ถ้าเราทำได้จะรู้เลยว่ากำหนดพองกับยุบอันเดียวกันไหม? จิตกำหนดเป็นดวงเดียวกันไหม? ประการใด...มันดับไหม? จิตมันรู้ไหม?


    ท่านผู้ปฏิบัติทั้งหลายถ้าตั้งใจจริงๆแล้วจะจับได้ ขวา...ย่างหนอ ซ้าย....ย่างหนอ เป็นอันเดียวกันไหม จิตที่กำหนดขวาย่างกับซ้ายย่างเป็นดวงเดียวกันไหม จิตที่กำหนดขวาย่างกับพองหนอเป็นดวงเดียวกันไหม ท่านจะรู้ทันทีสำหรับผู้สนใจปฏิบัติ ถ้าไม่สนใจปฏิบัติทำไปก็โง่ๆเง่าๆตามไป ใครถามไปวัดไหนมา ไปวัดพองยุบมา จากนั้นก็ไม่ได้อะไรเกิดขึ้นเลย เมื่อไม่ได้อะไรเกิดขึ้น แล้วท่านจะได้อะไรหรือ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มีนาคม 2009
  2. Arwritz

    Arwritz สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +14
    วิธีกำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง

    [​IMG]

    วิธีกำหนดยืนหนอ ๕ ครั้ง
    หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม
    จากหนังสือกรรมกำหนด พระธรรมเทศนาหลักธรรมะฉบับรวมเล่ม


    ยืนหนอ ๕ ครั้ง ขอให้คณะอาจารย์แนะแนวให้ถูกด้วย ให้ยืนหนอ ๕ครั้งนี่ทุกคนไม่เข้าใจ ตั้งแต่มนุษย์เกิดจากพลับพลาของมารดาแล้วมีมาครบ เกศา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ , ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกศา

    วิธีกำหนดทำอย่างไร? ปัญหาเกิดขึ้น ต้องให้ผู้ปฏิบัติยืนตรง ยังไม่ต้องชิดเท้าเดี๋ยวท่านจะล้มลงไป ยืนธรรมดา หรือจะเอามือไขว้หลังก็ได้ ยืนตรงๆ วาดมโนภาพว่าเรายืนรูปร่างอย่างนี้ เป็นมโนภาพ ผ่าศูนย์กลาง...ผ่าศูนย์กลางเลย ผ่าศูนย์กลางลงไปถึงปลายเท้า ก็เริ่มต้นว่า

    ยืน...จากศีรษะมาหยุดที่สะดือ ยืน...ถึงสะดือแล้วสติตามทันไหม นี่ขั้นต้น อ๋อ! สติตามไม่ทัน ยืนใหม่ ยืน...สติตามจิตไปถึงสะดือใหม่?...ถึง เมื่อถึงแล้วก็...หนอ...จากสะดือไปปลายเท้า นี่วิธีจังหวะที่แน่นอน สติก็ตามจิตลงไปถึงปลายเท้าได้จังหวะ ไม่ใช่หลับตาแล้ว ยืนหนอ...ยืนหนอ...ยืนหนอ... ไม่ได้เรื่องเลย

    ผ่าศูนย์กลางเก้าสิบองศานะ นี่ก็คือเบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงไป เบื้องบนตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมาอย่างนี้ แต่วิธีปฏิบัติทำอย่างไร สอนกันไม่ถูกจุดนั้นเลย

    ยืน...มโนภาพ จิตก็ผ่านจากกระหม่อมลงไป สติตามสติควบคุมจิต ยืน...ถึงสะดือแล้ว อ๋อ! สติตามทัน วรรคสอง...หนอ...ลงปลายเท้าได้จังหวะพอดีเลย ลองดูนะ

    แล้วก็สำรวมปลายเท้าขึ้นมาบนศีรษะวรรคสอง ยืน...ดูเท้าทั้งสองทางด้านกายานุปัสสนาฯ ยืน...ถึงสะดือจุดศูนย์กลาง สติตามทันไหม?...ทัน หนอ...จากสะดือขึ้นมาถึงกระหม่อม นี่ได้จังหวะ ถ้าทำอะไรผิดจังหวะใช้ไม่ได้ ไม่ได้ผล

    บางคนก็หลับตา ยืนหนอ...ยืนหนอ...ยืนหนอ...อะไรยืน ปากพูดปากกำหนด จิตไม่รู้สติไม่มีอย่างนี้ใช้ไม่ได้ ไม่ได้ผลเลยหมื่นเปอร์เซ็นต์ ขอเจริญพร

    วรรคสอง ยืน...ถึงสะดือแล้ว อ๋อ! สติตามไม่ทันซะแล้ว จิตมันไวมาก เอาใหม่...กำหนดใหม่สิทำได้ไหม? ...ได้ เปลี่ยนแปลงได้ ไม่เป็นไร สำรวมใหม่จากปลายเท้าถึงสะดือ ยืน...ขึ้นมาเอาจิตขึ้นมาทบทวน เรียกว่า โอ้โลมปฏิโลม เป็นต้น

    สำรวมถึงสะดือแล้วผ่าศูนย์กลางขึ้นมา ผ่าลิ้นปี่ขึ้นมา ยืน...หนอ ถ้าท่านมีสมาธิดีนะ...สติดีนะ มันจะซ่านไปทั้งตัว กายานุปัสสนาฯ จะมีสติครบทั้งกาย ต้องรู้จุดมุ่งหมายของมันด้วย แล้วเอาไปสอนกันให้ถูกต้อง ปัญญาเกิด รู้จักคำว่า กายานุปัสสนาฯเป็นอย่างไร มันจะแจ้งสติมีครบในด้านกายในกายมี กายภายในคืออารมณ์ กายภายนอกคือสภาวะการเป็นรูป สภาวะอันเป็นนามธรรมก็อยู่ภายในตัวกำหนด จะซ่านออกมามีสมาธิภาวนาเห็นชัดในรูปแบบ ออกมาในรูปร่างของมันคือรูปธรรมนามธรรมชัดอย่างนี้

    ครั้งที่ห้า สำรวมที่กระหม่อม มโนภาพ สติ...แจ๋วแล้วห้าครั้ง สติก็ตามจิตอาศัยจำได้โดยเจตสิกที่ลิ้นปี่ ตัวอยากเป็นตัวเจตสิก จิตเป็นตัวที่ดำเนินงานคิดอ่านอารมณ์ต่างๆได้อยู่ที่จิต มันก็ลงไปอีก หนอ...ถึงปลายเท้า ลืมตาไว้ดูปลายเท้าต่อไป สำรวมที่ปลายเท้าแล้วกำหนด ขวา...ย่าง...หนอ เป็นต้น ขวาคืออะไรสติระลึกก่อน นี่ขวา ซ้าย...ย่าง เป็นตัวสัมปชัญญะรู้ว่าย่างยาวสั้นเท่าไหร่ หนอลงพื้นพอดี นี่เห็นชัดไหม ทำให้ได้จังหวะ ถ้าไม่ได้จังหวะเหมือนเราขึ้นบันไดผิดจังหวะตกบันไดนะ ไม่ได้ผล ที่กล่าวนี้สำคัญมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มีนาคม 2009
  3. Arwritz

    Arwritz สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +14
    รู้กฎแห่งกรรมได้ตรงเวทนา

    [​IMG]

    รู้กฎแห่งกรรมได้ตรงเวทนา
    หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม
    จากหนังสือกรรมกำหนด พระธรรมเทศนาหลักธรรมะฉบับรวมเล่ม


    เวทนารู้ไหม? บางคนปวดศีรษะจะแตก เช่น หมอชลอ เป็นต้น ปวด ๗ วัน ๗ คืนไม่หาย ก็บอกว่าไม่ต้องกินยา...กำหนดไป กำหนดโป้งออกไปเลย กรรมมาแล้วระลึกชาติชีวิตได้ เป็นลูกมอญ จังหวัดราชบุรี ตัวเองจะต้องไปตายที่น้ำตกเขาเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี โดนฆ่าตาย นี่ขนาดนั่งยาว ๔๘ ชั่วโมง ระลึกชาติว่าชาติก่อนไปฆ่าเขาไว้ตรงนั้น ชาตินี้เขาต้องเอาตัวเองไปฆ่าตรงนั้นแน่นอน และโดนฆ่าไปแล้ว

    นี่แหละท่านผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย รู้กฎแห่งกรรมได้ตรงเวทนาถ้าท่านกำหนดได้ ถ้าท่านไม่กำหนด ผ่านไป ท่านจะไม่รู้อะไรเลย และจะมานั่งจิ้มๆจ้ำๆ ท่านจะรู้กฎแห่งกรรมได้ยังไง ท่านจะรู้จริงไหมล่ะ ท่านจะไม่รู้จริงเลยนะ ขอฝากไว้
     

แชร์หน้านี้

Loading...