วิธีทำจิตให้บริสุทธิ์ : อ.วศิน อินทสระ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 18 ธันวาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    [FONT=Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif]วิธีทำจิตให้บริสุทธิ์[/FONT]
    [FONT=Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif]คำนำ[/FONT]​
    [FONT=Courier New, Courier, mono] คนเราประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ กายและจิต คนบริสุทธิ์เพราะจิตบริสุทธิ์ ไม่ใช่เพราะกาย กายนั้นโดยธรรมชาติเป็นสิ่งปฏิกูล โน้มไปในทางชำรุดทรุดโทรม จะแก้ไขอย่างไร บำรุงดีเท่าไร ในที่สุดก็ต้องแตกดับ เหมือนเลี้ยงไฟไว้ด้วยน้ำมัน พอน้ำมันหมดไฟก็ดับ ไม่เคยรู้สึกต่อผู้บำรุงเลี้ยงเลย[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ส่วนจิตนั้น เมื่อบำรุงรักษาดี ก็มีแต่เจริญรุ่งเรือง ผ่องแผ้ว บริสุทธิ์ ผ่องใส นำความสุขมาให้ผู้ฝึกฝนอบรม จนไม่มีทุกข์หลงเหลืออยู่เลย[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] หนังสือเล่มนี้ ว่าด้วยวิธีทำจิตให้บริสุทธิ์ ตามแนวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในสัพพาสวสังวรสูตร คัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎก (ฉบับบาลี) เล่มที่ 12[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ภาษาที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้ เป็นสำนวนพูด เพราะลูกศิษย์ได้ถอดจากเทปคำบรรยายออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง โดยที่ผู้พูดไม่ได้ตัดแต่งให้เป็นสำนวนภาษาหนังสือเลย[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ขอขอบใจคณะศิษย์ผู้มีฉันทะอุตสาหะในการทำให้หนังสือเล่มนี้ออกมาได้ อย่างที่ท่านเห็นอยู่นี้ ขอขอบคุณสำนักพิมพ์ที่เห็นคุณค่าในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และวิถีชีวิตอันดีงาม ขอขอบคุณท่านผู้อ่านที่ให้กำลังใจแก่ผู้เขียนเสมอมา[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ขอให้ทุกคนปราศจากเวรภัย โรคาพาธ อันตรายทั้งปวง มีความสุข ความเจริญในวิถีชีวิตอันถูกต้องดีงามตลอดไป[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono]ด้วยความปรารถนาดีอย่างยิ่ง[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono]วศิน อินทสระ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono]14 มิถุนายน 2545[/FONT]​
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT] ​
    [FONT=Courier New, Courier, mono]*******************************************[/FONT]​
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT] ​
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT] ​
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD width=101>[FONT=Courier New, Courier, mono][​IMG][/FONT]</TD><TD>[FONT=Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif]อารัมภบท[/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=Courier New, Courier, mono] [/FONT][FONT=Courier New, Courier, mono] วัสดีครับ ท่านผู้ฟังทุกท่านครับ นี่คือรายการธรรมะและทรรศนะชีวิต มาพบกับท่าน ผู้ฟังตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์นะครับ โดยผม วศิน อินทสระ จะได้นำธรรมะต่างๆ มาคุยกับท่าน ผู้ฟัง รวมทั้งทรรศนะชีวิตเท่าที่เห็นสมควรจะนำ มาคุยกัน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] วันนี้จะคุยกับท่านผู้ฟังเรื่องวิญญาณ วิญญาณนี้ตามตัวแปลว่า รู้แจ้ง คำว่า วิ แปลว่า แจ้ง หรือ ต่าง ส่วน ญาณ ก็แปลว่า รู้ ความรู้ ก็มีหลายอย่าง บางทีก็เรียกตามแหล่งที่เกิดของวิญญาณ เกิดทางตา ก็เรียกวิญญาณทางตา ก็คือความรู้ทางตา เช่น จักขุวิญญาณ เกิดทางหูก็เรียกว่า โสตวิญญาณ คือความรู้ทางหูนั่นเอง รู้อะไร ก็รู้รูปารมณ์ทางตา รู้สัททารมณ์คือเสียง ทางหู เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] วิญญาณอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ภวังค- วิญญาณ หรือวิญญาณที่เป็นส่วนที่เก็บกรรม กรรมดีหรือกรรมชั่วต่างๆ ก็รวมกันอยู่ในภวังค-วิญญาณเป็นอุปนิสัย เป็นนิสัย เป็นอัธยาศัย คือ สิ่งที่เราได้ทำแล้ว ได้คิดแล้ว ได้รู้สึกแล้ว บางทีเรานึกว่ามันหายไปแล้ว แต่ความจริงมันไม่ได้ หายไปไหน มันลงไปสะสมกันอยู่ในภวังควิญญาณ หรือเรียกว่า Unconcious mind หรือจิตใต้สำนึก[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ทีนี้ก็วิญญาณทางตา ทางหู เรียกว่า จักขุ-วิญญาณ โสตวิญญาณ ก็เป็นวิถีวิญญาณ วิญญาณความรู้แจ้งอารมณ์ที่ไปตามจักษุบ้าง ตามโสตคือหูบ้าง อาศัยสิ่งใดเกิดก็เรียกตามสิ่งที่อาศัยเกิด ที่ท่านเปรียบเหมือนไฟฟาง คือ ไฟที่เกิดจากฟาง ไฟที่เกิดจากแกลบก็เรียกไฟแกลบ เกิดจากไม้เรียกว่าไฟไม้ ก็ไฟนั่นแหละ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] มีคนสงสัยว่า คำว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง มีหลายชื่อเรียกเหมือนกันหรือต่างกัน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] มีคำกล่าวว่า จิตฺตํ มโนวิญฺญาณนฺติ อตฺถโต เอกํ คำว่า จิต มโน วิญญาณ มีความหมายอย่างเดียวกัน ด้วยใจความก็เป็นอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้นไม่ต้องแยก ไม่ต้องพยายามวิเคราะห์ศัพท์ แล้วตี ความหมายไปตามการวิเคราะห์ ไม่ต้องพยายามผ่าเส้นผม เอาว่าคำนี้ท่านเรียกจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง มนัสบ้าง เรียกได้หลายอย่าง[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    [FONT=Courier New, Courier, mono] บางคนเชื่อเรื่องตายแล้วไปเกิด อันนี้พูดเรื่องวิญญาณที่ไปเกิดมาเกิด ถามว่าคนที่เกิดในชาติก่อนมาเกิดในชาตินี้ หรือว่าตายแล้วไปเกิดในชาติใหม่ อะไรไปเกิดมาเกิด ตอบว่าวิญญาณนี่แหละไปเกิดมาเกิด[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] บางคนบอกว่า เมื่อก่อนนี้เคยเชื่อเรื่องตายแล้วเกิด หมายถึง 100% คือ ยังมีความสงสัยอยู่บ้าง ต่อมาก็เชื่อว่าตายแล้วเกิด 100% เหตุที่เชื่อก็ด้วยเหตุบางอย่าง คือเชื่อในสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้าทรงรับรองเรื่องนี้[/FONT]​
    </TD><TD vAlign=top>[FONT=Courier New, Courier, mono][​IMG][/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ประการที่ 2 ก็อาศัยสังเกตพิจารณาสิ่งต่างๆ โดยแยบคาย คือ โดยโยนิโสมนสิการ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ประการที่ 3 มีข้อความมากมายในตำราทั้งชั้นพระไตรปิฎก ทั้งชั้น อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา รวมทั้งปกรณ์พิเศษต่างๆ ก็ได้ระบุถึงวิญญาณได้ระบุถึงจิต คือ เรื่องตายแล้วเกิดเอาไว้มาก ก็เลยเชื่อ 100%[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] จริงอยู่นะครับในกาลามสูตร มีข้อความที่ว่า มาปิฏกสัมปทาเนนะ อย่าเชื่อโดยการอ้างตำรา แต่ก็คงไม่ได้หมายความว่าปฏิเสธตำราทั้งหมด เพียงแต่ว่าไม่ให้เชื่อตามตำราเท่านั้น คือว่าให้พิจารณาตำราบ้าง ตำราก็อาจ จะผิดได้เหมือนกัน เพราะว่าตำราก็มีคนแต่งขึ้น คนแต่งตำราก็มีโอกาสที่จะผิดพลาดได้ ไม่ใช่ว่าจะถูกต้องเสมอไป เพราะฉะนั้น ผู้อ่านก็ต้องพยายาม พินิจพิจารณาใช้ปัญญาของตนเองบ้างตามสมควร มิฉะนั้นแล้วเราจะศึกษา เล่าเรียนกันไปทำไมมากมาย ถ้าเผื่อว่าไม่ใช่เพื่อจะมีโอกาสได้ใช้ปัญญาของเราเองบ้างตามสมควร แต่ก็ไม่อวดดีเกินไปจนไม่ยอมเชื่อตำราใดๆ เสียเลย ตำรานั้นกว่าจะเป็นตำราขึ้นมาได้ ท่านผู้รู้ท่านก็คิดแล้วคิดอีก เรียบเรียงแล้วเรียบเรียงอีก ไตร่ตรองแล้วไตร่ตรองอีกกว่าจะออกมาเป็นตำราได้ แต่ก็นั่นแหละครับ มันก็มีตำราที่ใช้ได้บ้าง ใช้ไม่ได้บ้าง เราก็ใช้ปัญญาพิจารณาตำราอีกทีหนึ่ง[/FONT]​

    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เมื่อได้ตำราที่เป็นหลักฐานแล้ว ก็หมั่นตริตรองตำรานั้น โดยโยนิโส- มนสิการ ด้วยการนำมาสอบสวนพิจารณาความเป็นไปในชีวิตมนุษย์ ซึ่งมี ปกติขึ้นลงไม่เสมอกันด้วยประการต่างๆ ประการสำคัญก็คือว่า เราเชื่อใน พระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และเชื่อว่าเรื่องทำนองนี้พระพุทธเจ้าจะต้องตรัสไว้จริง ไม่มีประโยชน์อะไรที่พระองค์จะหลอกหรือว่าพูดไม่จริง[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ในพระไตรปิฎกบางแห่งได้กล่าวถึงพระอานนท์ทูลถามพระพุทธเจ้า ว่าที่เรียกว่าภพนั้นคืออย่างไร พระพุทธเจ้าก็ตรัสย้อนถามว่า อานนท์ หาก กรรมอันสำเร็จจากกามธาตุไม่มี กามภพจะมีหรือไม่ พระอานนท์ก็ทูลตอบว่า มีไม่ได้ พระพุทธเจ้าก็ตรัสย้ำว่า อิติ โข อานนฺท กมฺมํ เขตฺตํ วิญฺาณํ พีชํ ตณฺหาสิเนโห นี่แหละอานนท์ กรรมเป็นเหมือนเนื้อนา กรรมเป็นเหมือน เนื้อดิน วิญญาณเป็นเหมือนพืช ตัณหาเป็นเหมือนยางในพืช[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ขอสรุปลงว่า พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ยอมรับ เชื่อว่าวิญญาณหรือจิตเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง และมีอยู่ 2 อย่าง หรือ 2 ระดับ หรือ 2 ประเภทก็ได้ คือ วิญญาณที่บริสุทธิ์แล้ว หมายถึง วิญญาณของพระอรหันต์ ซึ่งเมื่อท่านสิ้นชีวิตไป วิญญาณก็จะดับครั้งสุดท้ายแล้วก็ไม่เกิดขึ้นอีก ประการที่ 2 ก็เรียกว่าที่ยังไม่บริสุทธิ์หรือวิญญาณของผู้ที่ยังมีกิเลส ยังต้องท่องเที่ยว ระหกระเหินอยู่ในสังสารวัฏฏ์ ประสบสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ใน พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย กล่าวถึงบุคคลหรือวิญญาณ 2 ประเภท อันนี้ก็ในกรณียเมตตสูตร ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ พระไตรปิฎก เล่มที่ 25 หน้าต้นๆ 2 ประเภท คือ ภูตาและสัมภเวสี[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ภูตา หมายถึง พระอรหันต์[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] สัมภเวสี หมายถึง วิญญาณหรือบุคคลที่ยังวนเวียนตายเกิดอยู่ ตั้งแต่พระอนาคามีลงมาจนถึงสัตว์ทั้งหลายทุกประเภท ทั้งหมดทุกภพ ทุกภูมิ นอกจาก พระอรหันต์ นอกนั้นเป็นสัมภเวสีหมด[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] คนที่คิดว่าสัมภเวสีคือวิญญาณที่เที่ยวแสวงหา ที่เกิด ถ้าในความหมายที่ว่ายังต้องเกิดอีก อันนี้ก็ถูก แต่ไม่ใช่เห็นผีและบอกว่านี่สัมภเวสี ไม่ใช่ อัน[/FONT]
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>[FONT=Courier New, Courier, mono]นั้นเขาเกิดแล้ว เกิดเป็นอย่างที่เราเห็นนั่นแหละ วิญญาณที่ยังแสวงหาภพที่เกิด ยังไม่หมดกรรม ต้องประสบสุขบ้างทุกข์บ้าง ต้องขอรับความช่วยเหลือจากมนุษย์บ้างเป็นครั้งคราวไป บางคราวมนุษย์ช่วยเหลือ เขาก็ได้รับความ สุขไป บางคราวก็คอย มนุษย์ไม่ได้ช่วยเหลือ เขาก็ต้องคอยต่อไป [/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] วิญญาณที่ยังไม่บริสุทธิ์ ยังระหกระเหิน สุขบ้าง ทุกข์บ้าง วนเวียน อยู่ในสังสารวัฏฏ์ วิญญาณที่อาศัยอยู่ในร่างของพวกเราก็มีเช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่ก็เป็นความทุกข์มากกว่าความสุข สัตว์ทั้งหลายที่มีวิญญาณยังหมักหมมอยู่ด้วยกิเลส ก็ต้องระหกระเหินไปในความทุกข์นานาประการ เมื่อใดที่วิญญาณบริสุทธิ์แล้ว เมื่อนั้นก็จะพบความสุขสงบก็สบาย[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT] ​
    </TD><TD vAlign=top>
    [FONT=Courier New, Courier, mono][​IMG][/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ทีนี้ถ้าจะตั้งคำถามว่าทำอย่างไรวิญญาณจึงจะบริสุทธิ์ วิญญาณนี้ หมายถึงจิต ทำอย่างไรจิตจึงจะบริสุทธิ์ ไม่ใช่วิญญาณในความหมายของ ชาวบ้านที่ว่าเร่ร่อนอะไรอย่างนั้น ทำอย่างไรวิญญาณหรือจิตจึงจะบริสุทธิ์ ก็จะมาถึงเรื่องวิธีที่จะพัฒนาวิญญาณ พัฒนาจิตไปสู่ความบริสุทธิ์[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ในพระสูตรบางพระสูตร เช่น สัพพาสวสังวรสูตร ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎก เล่มที่ 12 ได้กล่าวไว้ว่า วิธีที่จะทำให้จิตหรือวิญญาณบริสุทธิ์นั้น มี 7 วิธี ดังจะได้กล่าวต่อไป[/FONT]​
    <!-- </p>-->
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    [FONT=Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif]1. ทัสสนะ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ทัสสนะ คือ การได้ดูได้เห็นอะไร ต้องมี โยนิโสมนสิการ ให้พิจารณาอย่างแยบคาย พิจารณาโดยตลอดถึงต้นตอ ถึงเหตุเกิดเหตุดับ ไม่เพียงแต่ดูหรือ เห็นเฉยๆ มีผลในทางทำให้คลายความติดได้ เรียกว่า ดูเป็น การเห็นนี่สำคัญ เพราะวันหนึ่งๆ เราใช้ตาเยอะเลย เห็นสิ่งนั้นบ้างสิ่งนี้บ้าง เห็นแล้วทำให้เกิดบุญบ้าง เกิดบาปบ้าง เห็นแล้วทำให้เกิดโทสะบ้าง เห็นแล้วทำให้เกิดโลภะบ้าง เห็นแล้วทำให้เกิดเมตตาบ้าง เกิดปัญญาบ้าง อันนี้มันอยู่ที่โยนิโสมนสิการ อยู่ที่การรู้จักพิจารณา ว่าควรจะคิดอย่างไร คิดให้เป็น คนเห็นสิ่งเดียวกัน หรือว่าได้ฟังสิ่งเดียวกัน คนที่คิดเป็นได้ประโยชน์จากการเห็นการฟัง คนที่คิดไม่เป็นก็จะไม่ได้ประโยชน์จากการเห็นจากการฟัง คนที่คิดเป็นได้ประโยชน์หมด เอามา ใช้ประโยชน์ได้หมดไม่มีเหลือ [/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ลองคิดดูสิ่งที่เป็นรูปธรรมง่ายๆ ของที่เราใช้ แล้ว เวลาที่มันเสียแล้วซ่อมไม่เป็น เราก็ทิ้งมันไป คนที่เขาซ่อมเป็น ทำเป็น คิดเป็น เขาเอาไปซ่อมใช้ได้ หรือเขาไม่ซ่อม เขาเอาไปทำอย่างอื่น เอาไป[/FONT]

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    [FONT=Courier New, Courier, mono]ขายก็ยังได้เงิน เอาไปดัดแปลงทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ เขาทำเป็น คนที่ทำไม่เป็น ก็ทำไม่ได้ เหมือนๆ กัน ข้อนี้ฉันใด ข้อนั้นก็เหมือนกัน ถือว่าได้เห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว ได้รู้แล้ว มีเรื่องราวเกิดขึ้นในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด เขาเอามาคิดเป็นประโยชน์ได้หมด เหมือนคนซ่อมเก่ง ของที่คนอื่นใช้ไม่ได้ เขาเอาไปใช้ได้หมด มันดีครับ คือ ทุกข์ไม่เป็น มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น มีคนถามว่าเป็นยังไง คิดไหม กังวลไหม เป็นทุกข์ไหม ทุกข์ไม่เป็น ไม่รู้จะทุกข์ไปทำไม อย่างนี้ชีวิตก็จะเป็นชีวิตที่ดี[/FONT]​
    </TD><TD vAlign=top>
    [FONT=Courier New, Courier, mono][​IMG][/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    [FONT=Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif]2. สังวร[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] สังวร คือ สำรวมอินทรีย์ 6 สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้าย ไม่ให้อภิชฌา ความอยากได้ หรือโทมนัส ความเสียใจ เมื่อเห็นรูปด้วยตา เป็นต้น วางใจอยู่ในอุเบกขา ให้สักแต่ว่าเห็นหรือได้ยิน ไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยตัณหาอุปาทาน อย่างนี้เรียกว่า สังวร สำรวม[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ที่จริงในชีวิตประจำวันของเรา ก็ย่อมจะได้เห็น ได้ฟัง ได้สูดกลิ่น ได้ลิ้มรส ได้ถูกต้องสัมผัส หรือ โผฏฐัพพะ รู้อารมณ์ต่างๆ ซึ่งน่าพอใจบ้าง ไม่น่าพอใจบ้างเป็นธรรมดา แต่ว่าเป็นไปไม่ได้ที่เราจะได้เห็นได้ฟัง ได้สูดกลิ่น ได้ลิ้มรส ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะ หรือสัมผัส ที่น่าพอใจประการเดียว มันต้องมีที่ถูกใจบ้างไม่ถูกใจบ้าง เป็นที่พอใจบ้างไม่เป็นที่พอใจบ้าง เป็นธรรมดา เราห้าม ไม่ได้ และหวังไม่ได้ด้วยว่าขอให้เราได้เห็นแต่สิ่งที่ น่าปรารถนา น่าพอใจ ได้ฟังแต่คำหรือเรื่องราวที่น่าพอใจ ได้ดมกลิ่น ลิ้มรส ได้สัมผัสที่น่าปรารถนา น่าพอใจ แต่ประการเดียว ย่อมเป็นไปไม่ได้ แม้เราจะขอร้องวิงวอนอย่างไรก็เป็นไปไม่ได้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ที่สำคัญคือ เรามาแก้ไขเอาที่จิตใจของเรา คือ ถ้าเห็นว่ามันเป็นขยะมูลฝอย ก็เปลี่ยนให้เป็นปุ๋ยเสีย ถ้าเห็นว่ามันเป็นมะนาวเปรี้ยว ก็เหยาะน้ำตาลลงไป เพิ่มน้ำลงไป ให้มันเป็นมะนาวหวานเสีย มีวิธีทำอย่างนี้แหละครับ เรามาเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอาที่ใจ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ขอเปรียบให้ดูว่า โลกนี้เหมือนทะเลใหญ่ มันมีคลื่นอยู่ตลอดเวลา มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะไม่ถูกคลื่นของโลก ทางที่เราจะทำได้ก็คือว่า เราสร้าง เรือให้ใหญ่ ให้มั่นคง และเราเป็นต้นหนที่เฉลียวฉลาด เป็นนายเรือที่เก่ง รู้ทิศทางลม รู้อะไรสารพัดอย่าง และสามารถนำเรือของเราฝ่าคลื่นลมไปได้[/FONT]
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>[FONT=Courier New, Courier, mono][​IMG][/FONT]
    </TD><TD>[FONT=Courier New, Courier, mono]โดยปลอดภัย ไม่ให้อับปางลงระหว่างทาง [/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] อัตภาพนี้พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนเรือ สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ ดูก่อนภิกษุ เธอจงวิดเรือคืออัตภาพนี้ สิตฺตา เต ลหุเมสฺสติ เรือที่เธอวิดน้ำออกแล้วจักพลันถึงได้เร็ว[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ร่างกายของเราเปรียบเหมือนเรือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กายเปรียบเหมือนเรือ นายเรือก็คือใจของเรา เราต้องประคับประคองสิ่งเหล่านี้ ไปให้ดี ฝ่าคลื่นลมไปในทะเลใหญ่ คือ สังสารวัฏฏ์นี้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=Courier New, Courier, mono] การสำรวมอินทรีย์ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะพัฒนาจิตและวิญญาณเป็น ตบะอย่างหนึ่ง ในมังคลัตถทีปนี หรือในมงคล 38 ที่ว่าด้วยตปกถา กถาที่ว่าด้วยตบะ ท่านยกเอาการสำรวมอินทรีย์ขึ้นมาว่าเป็นตบะ ก็คือเผากิเลส หน้าที่ของเราก็คือว่า รักษาจิตไว้ให้เป็นปกติ เมื่อรักษาจิตเป็นปกติแล้ว ถึงจะได้พบได้เห็นได้ฟัง ได้อะไรที่น่าปรารถนาบ้างไม่น่าปรารถนาบ้าง มันก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] การสำรวมอินทรีย์ไม่ได้หมายความว่า ไม่ต้องดู ไม่ต้องเห็น ไม่ต้องสูดดม ไม่ต้องลิ้มรส ไม่ต้องถูกต้องโผฏฐัพพะ ก็ทำไปตามปกติ แต่ว่าทำโดยประการที่ไม่ให้บาปอกุศลรั่วไหลเข้าสู่จิต เพราะการเห็นการฟัง เป็นเหตุ ไม่ให้อภิชฌา โทมนัสเกิดขึ้น เพราะการได้เห็นได้ฟัง สามารถ จะควบคุมได้ นี่คือการสำรวมอินทรีย์เป็นการฝึกหรือการคุ้มครองอินทรีย์ ก็มีวิธีต่างๆ มากมายในการที่จะคุ้มครองอินทรีย์[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เคยคุยกับคนติดบุหรี่มาก่อน บอกท่านผู้นั้นว่าเลิกบุหรี่ไม่ยาก ไม่ต้องไปผ่อนเลิก ขอสูบวันละมวนก่อนหลังอาหาร ไม่ต้องอย่างนั้น คือเลิกก็เลิกไปเลย ท่านผู้นั้นเขาพูดน่าสงสาร ว่าพยายามเหลือเกินแล้วที่จะเลิกแต่ก็เลิกไม่ได้ บางคราวอดอาหารถึง 7 วัน เพื่อให้เลิก พอถึง 7 วันก็มาทานข้าว เขาก็เอาข้าวกับบุหรี่มาให้ ก็ขอสูบบุหรี่ก่อนแล้วจึงทานข้าว ไม่ใช่ของเลิกง่าย จะฝึกอย่างไรให้เลิกมันได้ ไม่ใช่ไม่รู้ว่ามันมีโทษ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ก็มีท่านผู้ใหญ่หลายท่านที่คุ้นเคยก็สิ้นชีวิต ไปกับบุหรี่ เป็นโรคถุงลมโป่งพอง นอนนั่งก็เหนื่อย สิ้นชีวิตไปด้วยอาการอย่างนั้น ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมเลิกไม่ได้ การฝึกใจให้มีความเข้มแข็ง แน่วแน่ว่าเมื่อจะทำสิ่งใดแล้วทำได้ เมื่อจะไม่ทำสิ่งใดก็ไม่ทำได้ นี่ก็ค่อนข้างจะยากหน่อย ต้องมีจิตใจเป็นมหัตมะ แปลว่า มีจิตใจอุดมด้วยคุณ สั่งสมอบรมจิตใจที่ประกอบด้วยคุณ เปี่ยมไปด้วยคุณต่างๆ ที่ฝึกดีแล้ว[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เคยทราบว่าเขาฝึกม้าสำหรับขี่ไปในที่ทุรกันดาร มันกระหายน้ำมาก พอเอาน้ำไปใกล้ๆ ปากแล้ว เขาตีกลองขึ้นมา มันเป็นม้าศึกก็ผละออกจากน้ำทันทีเลย แล้วก็วิ่งไปตามที่ผู้ขี่บังคับมันนี่คือม้าที่เขาฝึกดีแล้ว ยอมไม่ดื่มน้ำ [/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ในสมัยพุทธกาล มีช้างเชือกหนึ่งของพระเจ้าปเสนทิโกศลไปตกหล่มแล้วทำอย่างไรก็ไม่ขึ้น ก็มีนาย หัตถาจารย์ที่ฉลาดบอกว่า มันเป็นช้างศึก เพราะฉะนั้นต้องตีกลองศึก เขาก็ไปตีกลองศึกใกล้ๆ ให้ได้ยิน ช้างก็รวบรวมพลังทั้งหมดถอนตัวขึ้นมาจากหล่มได้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ภิกษุทั้งหลายไปบิณฑบาตแล้วก็ได้ทราบเรื่องนี้ ก็นำมากราบทูลพระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า เธอทั้งหลายจงถอนตนขึ้นจากหล่มด้วยความไม่ประมาท หล่มคือกิเลสต่างๆ เหมือนกับช้างตัวนั้น[/FONT]

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] นี่ก็อยู่ที่การฝึกที่จะทำอะไรหรือไม่ทำอะไร การฝึกอินทรีย์ อินทรีย์ ในโลกนี้มีทั้งคุณและโทษ ดีก็มี ไม่ดีก็มี มีประโยชน์ก็มี ไม่มีประโยชน์ก็มี อินฺทฺริยานิ มนุสฺสานํ อินทรีย์ของมนุษย์ในโลกนี้ หิตาย อหิตาย จ มีประโยชน์บ้างไม่มีประโยชน์บ้าง อรกฺขิตานิ อหิตาย ที่ไม่รักษาก็ไม่เป็นประโยชน์ รกฺขิตานิ หิตาย จ ที่รักษาก็เป็นประโยชน์[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ฉะนั้น อินทรีย์มันเป็นของกลางๆ ถ้าเราต้องการ จะให้มันเป็นประโยชน์ ก็ต้องรักษา ต้องคุ้มครอง ต้องฝึกเท่าที่จะฝึกได้ ให้เป็นไปตามที่ต้องการตาม ที่ปรารถนา แล้วก็จะได้ประโยชน์เป็นอันมาก เราต้องยินดีที่จะฝึก บางทีมันก็ต้องมีการเจ็บปวดบ้างเป็นธรรมดา แต่ก็ต้องอดทน ถ้าไม่อดทนก็ฝึกไม่ได้[/FONT]
    </TD><TD vAlign=top>
    [FONT=Courier New, Courier, mono][​IMG][/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    [FONT=Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif]3. ปฏิเสวนะ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ปฏิเสวนะ คือ การพิจารณาปัจจัย 4 ก่อน ก่อนที่เราจะบริโภคใช้สอย ปัจจัย 4 ก็คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ปัจจัย 4 ท่านสอนให้เราพิจารณาว่า เราบริโภค ใช้สอย ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อเมา ไม่ใช่เพื่อความ หรูหรา แต่ว่าบริโภคใช้สอยก็เพื่อให้ชีวิตนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อป้องกันหนาวร้อน เหลือบยุง ป้องกันอันตรายต่างๆ ที่จะพึงเกิดขึ้น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เรื่องอาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญกับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย สิ่งที่มีชีวิตทั้งปวง ต้องอาศัยอาหารเป็นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ กวฬิงการาหาร อาหาร คือ ข้าวและน้ำ หรือเรียกกพฬึงการาหารก็ได้ครับ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] นอกจากนี้แล้วก็มีผัสสาหาร อาหาร คือ ผัสสะ มโนสัญเจตนาหาร อาหาร คือ ความตั้งใจหรือความ จงใจ วิญญาณาหาร อาหาร คือ ความรู้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] อาหาร 4 นี้ ได้พูดไว้ในรายการอื่นอย่าง ละเอียด ในที่นี้ก็จะไม่พูดละเอียด[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ข้อ 1 อาหาร เป็นสิ่งสำคัญของสัตว์โลกทุกจำพวกทุกชนิดต้อง อาศัยอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 อย่าง อย่างมนุษย์เราและสัตว์โลก สัตว์เดรัจฉาน อาศัยอาหารที่สำคัญก็คือ ข้าว น้ำ เราขาดไม่ได้ ขาดอาหารได้หลายวัน แต่ขาดน้ำสัก 2 - 3 วัน ก็คงจะตายแล้ว เพราะร่างกายของเรานี้ ส่วนประกอบที่เป็นน้ำมีมาก ถ้ารีดเอาน้ำออกให้หมด ก็จะซีดตัวเบา บางคนก็ไปลดความอ้วน เขาก็ไปเอาน้ำออกแล้วก็ดูเหมือนจะลดได้ แต่พอออกจากสถานที่นั้นแล้วก็อ้วนเหมือนเดิม[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] การที่เราบริโภคอาหาร ท่านสอนว่าก็เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้ กินเพื่ออยู่ ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน กินอาหารเหมือนน้ำมันหยอดเพลา เพลาเกวียนเพลารถ พอให้รถมันไปได้ ร่างกายนี้ก็เป็นสรีรยนต์ ยนต์คือสรีระ ให้พอเป็นไปได้ ให้พอมีความสุขพอสมควร ให้พอทำงานทำการอะไรได้ ก็เป็นสัปปายะอย่างหนึ่งของมนุษย์ ท่านเรียกว่าเป็นอาหารสัปปายะ มีอาหารเป็นที่สบาย สัปปายะ แปลว่า สบาย สบายในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า ที่เราชอบ แต่ในที่นี้หมายความว่ามันเหมาะกับร่างกาย ไม่แสลงแก่โรค เรียกว่า อาหารสัปปายะ แต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน บางคนกินเผ็ดไม่ได้ก็ต้องงดไป บางคนกินเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เป็นโรคกระเพาะ ก็ต้องเว้นอาหารนั้น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เราถือหลักว่า ประหยัดในการกิน ประหยัดก็คือว่า ไม่ให้เสียเปล่า ไม่กินทิ้งกินขว้าง ไม่ให้อิ่มเกินไป ร่างกายก็จะเบาสบาย เหลืออีก 4 - 5 คำจะอิ่ม ก็ให้ดื่มน้ำแทน นี่เรียกว่ากินอาหารแต่พอดี ไม่ฟุ่มเฟือย แต่ไม่ถึงกับขาดแคลน ถ้าเรานึกจะฟุ่มเฟือยในเรื่องเสพอาหารเมื่อไหร่ ก็ให้นึกถึงคนที่เขาไม่มีจะกิน หรือเด็กที่ขาดแคลนอาหารอยู่เป็นจำนวนมาก จริงอยู่ เราซื้อด้วยเงินของเรา เรามีสิทธิ์ที่จะกินเท่าไหร่ก็ได้ แต่ว่ามันมีโทษอย่างน้อย 2 สถาน สถานที่ 1 คือ มีโทษแก่ร่างกายของเรา สถานที่ 2 ผลาญทรัพยากรของสังคม ผลาญทรัพยากรของมนุษย์ เพราะว่ามันเกินจำเป็น เรียกว่า อยู่เกิน กินเกิน นอกจากมันจะมาอยู่ในร่างกายของเราแล้ว มันก็เรียกว่าไปผลาญทรัพยากรของสังคมให้สิ้นไป ถ้าเรากินแต่พอประมาณ กินแต่พอดี ก็เหลืออยู่กับสังคม เป็นประโยชน์กับคนที่ขาดแคลน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    [FONT=Courier New, Courier, mono][​IMG][/FONT]​
    </TD><TD>[FONT=Courier New, Courier, mono] การระวังเรื่องอาหารก็เป็นการป้องกันโรคไปด้วยในตัว ว่าโรคที่ยังไม่เกิดก็จะไม่เกิดขึ้น หรือโรคที่เกิดขึ้นแล้วก็จะบรรเทาเบาบางลงไป มีโรคหลายอย่างที่เกิดขึ้นเพราะอาหาร หมอก็แนะนำให้คุมอาหาร ให้ระวังในเรื่องอาหาร ถ้าระวังได้ก็ลดโรคภัยลงได้เยอะ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] โรคภัยเข้าทางปาก คือ ถ้าเราไม่ระวังการกิน โรคภัยก็เกิดขึ้น เพราะอาหารเป็นเหตุ กินไม่เป็น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ทุกข์ภัยออกจากปาก ถ้าเราไม่ระวังปาก ทุกข์ภัยก็เกิดขึ้น ปากของ[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Courier New, Courier, mono]เราที่พูดออกไป พูดอะไรไม่ดี ก็นำทุกข์ภัยมาให้ตัว [/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] นี่เรื่องอาหารนะครับ ประหยัดในการกิน ใช้ปัจจัย 4 ข้อที่ 1 คือ กินอาหารอย่างประหยัด ประหยัด คือไม่ให้สูญเปล่า ไม่กินครึ่งทิ้งครึ่ง กินอยู่แต่พอดี ไม่ต้องอยู่ดีกินดี ไม่ต้องหาความสุขจากการกิน แต่ว่าหาความสุขจากการทำงาน จากการทำประโยชน์ จากการบำเพ็ญคุณงามความดี กินเพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้เพื่อ จะทำประโยชน์ได้[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ข้อ 2 เสื้อผ้า จุดประสงค์ในการใช้เสื้อผ้าต้องดูจุดประสงค์ในการใช้เสื้อผ้าให้เป็น primary need คือ เป็นความต้องการขั้นต้น ก็คือเพื่อต้องการปกปิดสิ่งที่ควรละอาย และเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยขึ้น ไม่เป็นที่รังเกียจของผู้อื่น ให้สะอาด ไม่ต้องราคาแพงก็ได้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เวลานี้ก็มีปัญหาเรื่องเด็กวัยรุ่นที่ใช้เสื้อผ้ากันที่ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันขึ้นในสังคมว่าเด็กของเราเป็นอะไรไปหรือ เขาเรียกแฟชั่น ค่านิยม ทำให้ใช้เสื้อผ้าไม่เหมาะสม บางส่วนที่ควรจะใช้มากก็ใช้น้อยเกินไป บางส่วนที่ควรจะใช้ให้น้อยลงเขาก็ใช้มาก เช่นว่า บางส่วนก็ยาวเกินไป บางส่วนก็ สั้นเกินไป ที่จริงมันทำให้พอดีได้ แต่มันเป็นแฟชั่น กลัวคนอื่นจะว่าล้าสมัย ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] วันหนึ่ง ผ่านหน้าโรงเรียนตอนบ่ายๆ เห็นเด็กลงจากรถทั้งผู้หญิง ผู้ชายใส่เสื้อยืดกางเกงยีนส์เหมือนกันหมดเลย แสดงว่าใครไม่ได้ใส่เสื้อยืดกางเกงยีนส์จะเข้าพวกไม่ได้ สมัยก่อนมีอีก ใส่รองเท้ายาง สะพายย่าม แต่ตอนหลังนี้หายไป เหลือแต่เสื้อยืดกางเกงยีนส์ นักศึกษาของเราเป็นผู้ใช้มันสมอง แต่ถ้าเขาใช้สมองไม่เป็น เป็นตัวของตัวเองไม่ได้ ผู้ใหญ่ก็ไม่แนะนำให้เขาเป็นตัวของตัวเอง เด็กก็ต้องไปตามประสาเด็ก[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ก็เคยมีบางคราว พวกศิลปินก็ไว้หนวดยาวไว้ผมยาว บางทีลูกเขาก็เป็นศิลปิน ก็ว่าทำไมต้องตามสังคม ทำไมเราไม่เป็นผู้นำ ลองดูว่าศิลปินที่ไม่ต้องไว้ผมยาวรุงรัง ตัดผมสั้น นุ่งห่มให้เรียบร้อย ลองดูว่าถ้าประสบความสำเร็จแล้ว คนเขาจะเอาอย่างไหม มันอยู่ที่ผลสำเร็จของเรา ทีนี้บังเอิญว่าคนที่ประสบผลสำเร็จ เขาไว้ผมยาวรุงรังไว้หนวดยาว ท่าทางเป็นคนสกปรก อะไรทำนองนั้น พอประสบความสำเร็จ คนก็เอาอย่าง แต่ไม่ได้หมายความว่าพอเอาอย่างแล้วตัวจะประสบผลสำเร็จอย่างเขา[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ทำไมเราจึงไม่หัดเป็นผู้นำที่ดีเสียบ้าง ก็ปรากฏว่าเด็กคนนั้นทำตามได้ เป็นศิลปินแต่สะอาด ไม่ต้องไว้ผมยาว ตัดผมสั้น โกนหนวด แต่งตัวเรียบร้อย ก็ได้รับความนิยมในหมู่นั้น แม้ในหมู่ครูบาอาจารย์เขาก็นิยม ว่าเป็นตัวของตัวเอง เป็นผู้นำไปอีกอย่างในความเรียบร้อย แต่บางทีเด็ก วัยรุ่นของเราขาดคนแนะนำ ก็ไม่มีใครแตกแถวออกมา[/FONT]
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>[FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] มีสมัยหนึ่ง 30 - 40 ปีมาแล้ว เขานุ่งกางเกงขาบาน บานมากๆ ก็ไปเดินตลาด กางเกงมันก็ขาดหมด แม้บางคนสภาพของตนไม่ควร ก็ไปทำตาม อย่างเขา คนที่เขามีตึกหรูหรา บ้านปูพรม เขาจะนุ่งลากสักเท่าไหร่ก็ได้ ทีนี้เราเดินตลาด ซึ่งมีแต่ขี้โคลนแล้วก็นุ่งกางเกงขาบานและยาวอย่างเขา มันต้องให้รองเท้าเหยียบมันถึงจะทันสมัย ริมกางเกงก็ขาดหมด มันโก้ตรงไหน ก็แปลว่าไม่ใช้มันสมองเลย ใช้แต่แฟชั่น ค่านิยมทำตามกันไป[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    </TD><TD vAlign=top>
    [FONT=Courier New, Courier, mono][​IMG][/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Courier New, Courier, mono] นักปราชญ์บอกว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล เป็น Reasonal Being เราก็ควรจะคิดอะไรด้วยเหตุผลว่าทำไมจึงต้องทำอย่างนั้น ทำไมจึงไม่ต้องทำอย่างนั้น คิดให้ได้ ไม่ใช่คนอื่นเขาทำอย่างไร ต้องทำอย่างคนอื่นเขาไป สติปัญญาเอาไปใช้อะไรหมด[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] ข้อ 3 เสนาสนะ แปลว่า ที่อยู่อาศัย ก็เป็นสิ่งจำเป็นของชีวิต สมัยก่อนเราอยู่ถ้ำ มนุษย์เรายังไม่รู้จักปลูกสร้างที่อยู่อาศัย ก็ได้อาศัยถ้ำ ตามธรรมชาติ หรืออยู่โคนไม้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ในนิสสัย 4 ของพระ นิสสัย คือ สิ่งที่ต้องพึ่งพาอาศัย ข้อที่ว่าด้วยที่อยู่อาศัย ท่านก็ใช้ว่า รุกฺขมูลเสนาสนํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุตฺสาโห กรณีโย บรรพชานี้อาศัยรุกขมูลเสนาสนะ เสนาสนะ คือ โคนต้นไม้ เธอพึงทำความอุตสาหะในเสนาสนะคือโคนไม้ตลอดชีวิต[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] และก็มีธุดงค์อยู่ข้อหนึ่ง สำหรับผู้ถือธุดงค์ คือ อยู่โคนไม้เป็นวัตร รุกขมูลที่ชาวบ้านเรียกสั้นๆ ว่า รุกขมูล หรือท้องถ้ำ ลอมฟาง แต่นั่นเป็นที่อยู่อาศัยของบรรพชิตผู้บำเพ็ญพรหมจรรย์ เพื่อความพ้นทุกข์ ถ้ามีอดิเรกลาภ คือ สิ่งที่มีผู้สร้างถวาย เช่น เป็นเพิง หรือบ้านเรือนก็ได้ เป็นเสนาสนะที่อยู่อาศัย แต่ก็ไม่ให้หรูหราเกินไป ให้เรียบง่ายสำหรับพระสงฆ์ ราคาไม่แพง สร้างง่าย อยู่ง่าย กินง่าย ความง่ายทำให้กิเลสเบาบาง ความยาก เป็นยาก กินอยู่ยาก อยู่ในเสนาสนะที่หรูหราฟุ่มเฟือย มันทำให้กิเลสพอกพูนขึ้น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] สำหรับชาวบ้านทั่วๆ ไป บ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัย เป็นปัจจัย 4 เป็นสิ่งเกื้อกูลแก่ชีวิต เพื่อป้องกันหนาวร้อน ลม แดด ถ้าอยู่กลางแจ้ง ถ้าหนาวก็หนาวจัด ไม่มีสิ่งป้องกัน ถ้าอยู่ในเรือน ก็ทำให้หนาวน้อย หรือกลางแดดร้อน ถ้าอยู่ในเรือนก็มีเรือนเป็นร่มเงาก็จะร้อนน้อย เป็นร้อนอากาศ ไม่ใช่ร้อนแดด ท่านสอนว่าสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม ที่อยู่อาศัยก็ให้พอประมาณ คือให้เป็นสัปปายะ ท่านเรียกว่า เสนาสนสัปปายะ มีเสนาสนะเป็นที่สบาย แต่คำว่าสบายไม่ได้ตรงความหมายคำว่าสบายในภาษาไทย สัปปายะ หมายความ ว่ามันเหมาะสมที่จะทำกิจที่ต้องการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เหมือนอาหารที่สัปปายะ ไม่ได้หมายความว่า อร่อย ราคาแพง แต่เป็นอาหารที่เหมาะแก่ผู้นั้นจะบำเพ็ญเพียร อาหารที่ไม่แสลงแก่โรค[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เสนาสนสัปปายะ ก็คือ เหมาะสม (suitable) เป็นสถานที่ที่เหมาะสมในการที่จะบำเพ็ญคุณงามความดี ที่จะทำประโยชน์หรือทำจิตให้บริสุทธิ์หมดจด เรียกว่า เสนาสนสัปปายะ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เราไม่ได้มีที่อยู่เพื่ออวดคน เพื่ออย่างอื่น แต่เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ทำประโยชน์ได้ ไม่ใช่อวดมั่งมีจนเป็นหนี้ แต่ถ้ามีกำลังจะทำได้ ก็ทำไปเถอะพอสมควรแก่ตน[/FONT]
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    [FONT=Courier New, Courier, mono][​IMG][/FONT]​
    </TD><TD>[FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] อย่างรถยนต์ก็เป็นเสนาสนะอย่างหนึ่ง เป็นที่อาศัย บ้านเรือนที่เคลื่อนที่ได้ มีพระรูปหนึ่งมีชาวบ้าน เอารถมาถวายราคาแพง ท่านว่าอย่าถวายเลย เอาไปซ่อมกุฏิเถอะ แต่ชาวบ้านต้องการจะถวายเสนาสนะที่เคลื่อนที่ได้ ก็ต้องให้เหมาะสมแก่ตน ว่าควรแค่ไหน ที่สำคัญต้องเป็นปฏิปทา ต้องเป็นจักษุของมหาชน ในคำบาลีท่านใช้คำนี้ คือ หมายความว่า เบิกตาของประชาชน ให้ดวงตาแก่มหาชนว่าเราจะอยู่อย่างไร จะกินอย่างไร จะใช้ชีวิตอย่างไรก็ให้เป็นตัวอย่าง เป็นทิฏฐานุคติ เป็นทางที่ให้มหาชนดำเนินตามได้ ไม่หรูหราฟุ่มเฟือยเกินไป ซึ่งมหาชนทำตามแล้ว ก็สร้างความเดือดร้อนเกินไป ขาดความเรียบง่าย โดยเฉพาะ[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Courier New, Courier, mono]อย่างยิ่งพระสงฆ์ซึ่งพระพุทธเจ้าต้องการให้มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย พระสงฆ์บางรูปก็น่าเลื่อมใสมากในเรื่องนี้ เขาถวายอะไรที่ราคาแพงเกินไป หรือว่ามันอยู่ในฐานะที่เป็นเศรษฐี เมื่อใช้แล้วคนมองว่าเป็นเศรษฐี ท่านก็ไม่ยอมรับ ท่านบอกว่าไม่สมควรแก่สมณะ [/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] สำหรับชาวบ้านก็เหมือนกัน พิจารณาที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมแก่ตน ไม่ถึงกับเดือดร้อน ไม่ถึงกับลำบากนักหนา บางคนมีโรคบางอย่าง เช่น ความดันสูง ซึ่งต้องการความสงบใจอยู่เสมอ ทีนี้ถ้าเผื่อว่าไปสร้าง เสนาสนะที่ใหญ่โตหรูหรา ต้องเป็นหนี้เป็นสินมาก ต้องผ่อนส่งมาก เครียด อาจจะตายเสียก่อนที่จะได้อยู่เสนาสนะอันนั้น ก็ต้องระวัง[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ปัจจัย 4 อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย ก็คือว่า ความพอประมาณนั้นดีที่สุด[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ข้อ 4 คิลานเภสัช คือ ยารักษาโรค เป็นปัจจัยเครื่องอาศัยของคน น้อยคนที่ไม่ต้องอาศัยยา อย่างน้อยตอนอยู่ในท้อง แม่ก็กินยาบำรุงครรภ์ตามหมอสั่ง และได้อาศัยยาแก้ปัญหาการเจ็บไข้ได้ป่วย ทำให้มีความผาสุกพอสมควร[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เรื่องยาเป็นเครื่องอาศัยทั้งของบรรพชิตและคฤหัสถ์ คนเราก็ต้อง มีเจ็บป่วยบ้าง แม้จะหายเองได้บ้าง พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องนี้เอาไว้ว่า โรคบางอย่างรักษาก็หายไม่รักษาก็หาย โรคบางอย่างรักษาหาย ไม่รักษาไม่หาย โรคบางอย่างไม่รักษาก็ไม่หาย รักษาก็ไม่หาย[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ทีนี้เรารักษาโรคเมื่อป่วยไข้ ก็ด้วยหวังว่ารักษาแล้วจะหาย แม้ไม่หายขาด ก็พอทุเลาหรือคุมไว้ได้ ไม่ให้กำเริบจนประสบทุกขเวทนาจนเกินไปนัก หรือว่ามันรบกวนจนรำคาญ รำคาญจนทำอะไรไม่ไหว เป็นเหตุให้เสียกำลังใจ เสียงาน เสียเวลา เสียอนาคต เสียนิสัย เสียเพื่อน เสียบุคลิกลักษณะ สารพัดที่จะเสีย เพราะมีโรค บางคนทำลายชีวิตตนเองก็มี เพราะว่าโรคเรื้อรังไม่อาจรักษาให้หายขาดได้ ทางพระก็มีฆ่าตัวตาย เพราะโรคเรื้อรังหลายรูป[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ว่ากันที่จริง ทุกอย่างในโลกก็มีของแก้กัน เพียงแต่เราไม่ค่อยรู้ว่าอะไรแก้อะไรเท่านั้น เวลานี้ที่ยังหายารักษาไม่ได้ก็คือ โรคเอดส์ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง มันระบาดกันอยู่ คนก็ไม่ค่อยกลัว รู้ว่าเอดส์มันเกิดจากอะไรก็ยังไปหาปัจจัยเสี่ยงที่จะให้มันเป็นโรค แล้วหมอก็ยังหายารักษาไม่ได้ มีแต่เพียงบางตัวที่ยังพอยับยั้งไว้ได้บ้าง แต่ก็ไม่สามารถจะทำลายมันได้ แล้วก็ถึงระยะที่ 2 ที่ 3 ก็มีหวังตายอย่างเดียว ควรจะเห็นโทษของมัน แล้วเว้นปัจจัยเสี่ยงเสีย มันไม่ได้เดินมา หาเรา ส่วนมากคนก็ไปหาโรคเอดส์เอง ถึงอย่างไรก็ป้องกันไว้ก่อนดีกว่า ยารักษาโรคเอดส์ก็แพงมาก[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] มาคุยเรื่องยาทั่วไปนะครับ ยาก็เหมือนมนุษย์ มันมีหมดอายุ ใช้แล้วก็ไม่มีประโยชน์ มีแต่โทษแก่ ร่างกาย การกินยาใช้ยาต้องเต็มไปด้วยความระมัดระวัง ดูแล้วดูอีก ปรึกษาแล้วปรึกษาอีกให้แน่ ที่ขวดยาที่กล่องยาหลายชนิด ท่านให้พิมพ์ว่ายาอันตราย นั่นคือ ต้องใช้อย่างระมัดระวัง มีกฎเกณฑ์ มีกำหนดเวลา อย่าเชื่อข้อความในฉลากยาที่ติดมากับขวดหรือกล่องให้มากเกินไป เพราะบริษัทยามุ่งจะขายยาให้ได้มากเท่าที่จะมากได้ โดยไม่คำนึงถึงสุขภาพของประชาชน ความ สิ้นเปลืองและความสูญเสียของประชาชน ผู้บริโภคจึงเสียเปรียบอยู่ทุกทางอยู่แล้ว ยาหมดอายุมีที่พอสังเกตได้ อยู่ 2 อย่าง คือ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 1. ดูที่ตัวยาเอง สีมันเปลี่ยนไป หรือยาเม็ดเคลือบ มีรอยเยิ้มออกมา ถ้าเป็นแคปซูลถอดออกได้ก็ลองถอดออกดู เช่น ยาเตรทตาไซคลิน ตัวยาภายในจะเป็นสีเหลืองอ่อน ถ้าเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทา แสดงว่า ยาหมดอายุแล้ว ไม่ควรกิน อันตรายมาก เช่น ทำให้ท่อไตเสีย เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ยาน้ำแขวนตะกอนตามปกติ เมื่อเขย่าขวด ตะกอนกับน้ำใสข้างบนจะเข้ากันสนิท ทีนี้ถ้าเขย่าแล้ว ตะกอนกับน้ำเข้ากันไม่สนิท แสดงว่ายาเสียหรือหมดอายุ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 2. สังเกตดูวันผลิตหรือวันหมดอายุ มียาหลายอย่างบอกวันหมดอายุไว้ที่ขวดหรือกล่อง เขาจะเขียนตัว Exp มาจากคำว่า Expiration แปลว่า หมดอายุ สมมุติว่า Exp 10 - 11 - 99 แปลว่า หมดอายุวันที่ 10 เดือน 11 ค.ศ. 1999 ทำนองนั้น ยาบางอย่างบอกเฉพาะวันผลิต แต่ไม่บอกวันหมดอายุ เช่น บอกวันผลิตว่า 8 - 9 - 99 หมายความว่า ผลิตในวันที่ 8 เดือน 9 ค.ศ. 1999 โดยปกติถ้าบอกวันผลิต จะไม่บอกวันหมดอายุ ถ้ายานั้นนับจากวันผลิตไป 5 ปี ก็หมดอายุ ไม่ควรบริโภค[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] แพทย์และเภสัชกรได้เขียนเรื่องพวกนี้เผยแพร่ไว้มาก หนังสือที่เกี่ยวกับโรคและยา เวลานี้หาอ่านได้ไม่ยาก ถ้าชาวบ้านเราเจียดเวลามาอ่านหนังสือเหล่านี้กันบ้าง ก็จะช่วยตัวเองได้มาก ราคาก็ไม่แพง ซื้อมาอ่านประดับความรู้และปฏิบัติ ไม่ใช่ที่บางคนพูดบอกว่าทฤษฎีเต็มร้อย แต่ปฏิบัติเป็นศูนย์ อย่างนั้นมันจะไม่ได้ผลเกี่ยวกับเรื่องยา เรื่องโภชนาการ มันช่วย ตัวเองได้มากเลย 10 ปี 20 ปี อาจจะไม่ต้องไปโรงพยาบาลเลย เพราะเรารู้ว่าควรจะทำอย่างไร เมื่อเหตุการณ์อย่างนั้นเกิดขึ้น และยังจะช่วยคนใน ครอบครัว คนใกล้เคียง ใกล้ชิด ได้ด้วย และยังลดภาระของแพทย์พยาบาลตามโรงพยาบาล ลดภาระของรัฐที่จะต้องสร้างโรงพยาบาลเพิ่ม ที่สำคัญที่สุด คือ ช่วยตัวเองได้พอสมควร[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] อันนี้มันเป็นสาธารณสุขมูลฐานที่เราจะป้องกัน เด็กท้องร่วงก็ตายไป เยอะครับ เพราะว่าไม่มีความรู้ เพียงท้องร่วงเท่านั้นเอง ไม่มีความรู้แม้แต่ จะทำน้ำเกลือชาวบ้านธรรมดา เอาน้ำตาลกับเกลือผสมกันเข้าได้สัดส่วนพอ สมควรใส่ลงไปในน้ำชา เป็นน้ำเกลือชาวบ้านธรรมดาๆ เวลาท้องร่วง ท้องเสีย กินแทนน้ำไปเรื่อยๆ วันเดียวก็หาย เกลือสักช้อนชาหนึ่ง น้ำตาลสัก 2 - 3 ช้อนแกง โดยประมาณ มันก็ช่วยได้เยอะ บางทีเด็กในชนบทก็ตายไปเยอะ เพราะไม่รู้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] นอกจากนี้แล้วยังชื่อว่าปฏิบัติตนตามหลักพระพุทธภาษิตที่ว่า ตนเป็นที่พึ่งของตน คนอื่นใครเล่าจักเป็นที่พึ่งได้หมือนกับพึ่งตนเอง บุคคลมีตนอันฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งได้โดยยาก ในกรณีที่เราช่วยตัวเองได้อยู่ หมอ ยา และอาหาร แม้จะเป็นสิ่งสำคัญ แต่จะช่วยเราไม่ได้เลย หรือช่วยไม่ได้มากนัก ถ้าเราปฏิบัติตนไม่เหมาะสมแก่โรคที่เราเป็น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ถ้ายังไม่เป็นโรคอะไร เมื่อปฏิบัติตนไม่ เหมาะสม ต่อไปก็จะเป็นโรคสารพัดอย่าง แต่ถ้าเราปฏิบัติตนได้เหมาะสม รู้จักประมาณในการกิน การอยู่ การออกกำลังกาย เว้นสิ่งที่เป็นเหตุให้ทำลายหรือบั่นทอน สุขภาพพลานามัยแล้ว เราจะพอช่วยตัวเองได้ แม้เป็นโรคอยู่แล้วก็จะทุเลาเบาบาง บางอย่างอาจหายไปเลย นี่คือหลักการพึ่งตนเอง ช่วยเหลือตนเอง เราจะพึ่ง ตนเองได้ก็โดยการฝึกฝนตน สิ่งที่เป็นเครื่องมือในการฝึกฝนก็คือ ธรรมะ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ธรรมะนี่มีความหมายหลายอย่าง ในที่นี้หมายถึง หลักการ กฎเกณฑ์ ที่ควรเว้นและควรประพฤติ ดำเนินชีวิตถูกต้องตามกฎธรรมชาติ ธรรมชาตินี่มันมีความเฉียบขาดอยู่ในตัว คือ ถ้ามีใครปฏิบัติถูกต้องตามกฎธรรมชาติ ธรรมชาติก็จะให้รางวัล ถ้าใครปฏิบัติผิดต่อกฎธรรมชาติ ธรรมชาติก็จะลงโทษเอง ถึงจะไม่มีใครลงโทษแต่ธรรมชาติจะลงโทษเอง[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] อย่างกรณีที่ผมพูดเรื่องบุหรี่ ไม่ต้องมีใครไปลงโทษเขา แต่ว่ากฎธรรมชาติจะลงโทษเอง ตนที่ฝึกดีแล้วก็จะเป็นที่พึ่งได้เหมือนกับช้าง ม้า วัว ควายที่พึ่งมันได้ ก็เพราะว่าเราฝึกมัน ช้าง ม้า วัว ควาย ที่ยังไม่ได้ฝึก พึ่งไม่ได้ เปลืองอาหารเปล่าๆ เลี้ยงดูมันก็เปลืองแรง เปลืองอาหาร มันช่วยอะไรไม่ได้เลย[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ตัวของเราเองก็เหมือนกัน ที่ยังฝึกไม่ได้ นอกจากพึ่งไม่ได้แล้ว ยังจะนำความพินาศวอดวายมาสู่ตนเสียอีกด้วย ในกรณีที่เราป่วยหนักจนช่วยตัวเองไม่ไหว ทำอะไรไม่ได้เองแล้ว จึงค่อยยอมมอบร่างกายให้กับหมอ ให้ช่วยวินิจฉัยเรื่องยาและอาหารโดยประการทั้งปวง คือ มอบให้เขาไปเลย[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ทำตนให้เป็นคนว่าง่าย สอนง่าย ก็จะได้ที่พึ่งอันสำคัญเหมือนกัน เพราะว่าโสวจัสสตา เป็นผู้ว่าง่าย เป็นธรรมข้อหนึ่งใน 10 ข้อ ที่เป็นเหตุให้ได้ที่พึ่งซึ่งได้โดยยาก เรียกว่า นาถกรณธรรม ธรรมอันเป็นที่พึ่ง [/FONT]
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>[FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ปัจจัย 4 สำหรับพระ บางทีท่านเรียกนิสสัย 4 นิสสัยก็คือ ปัจจัยที่บรรพชิตจะเข้าไปอาศัย ก็ 4 อย่างนี้ อาหารบิณฑบาต ผ้าบังสุกุลและจีวร รุกขมูลโคนไม้หรือเสนาสนะ ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่าก็คือยา ทั้งหมดที่กล่าวมาในหัวข้อปฏิเสวนะ คือ การเสพปัจจัยนี้ ก็อยู่ในกายภาวนา ในภาวนา 4[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] กายภาวนา แปลว่า การอบรมกาย การอบรมกายก็คือ การใช้ปัจจัย 4 เป็น ใช้ตามจุดมุ่งหมาย ก็เป็นภาวนาข้อหนึ่งใน 4 ข้อ คือ กายภาวนา สีลภาวนา จิตตภาวนา ปัญญาภาวนา[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    </TD><TD vAlign=top>
    [FONT=Courier New, Courier, mono][​IMG][/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Courier New, Courier, mono] วันนี้ก็มีคณะครูมาคุยด้วยที่บ้าน ก็ได้พูดกันถึงเรื่องพวกนี้ เลยบอกว่าในสังคมของเราจิตตภาวนามีน้อยเกินไป แม้แต่สีลภาวนาก็ยังมีน้อย ถ้าเราทำใจให้ตรงดีแล้ว คือ มีทิฏฐุชุกรรม ทำใจให้ตรงดีแล้ว สมาทานศีล ก็ดี การรักษาศีลก็ดี เกือบจะไม่จำเป็น เพราะว่ามีศีลอยู่ในตัวแล้ว ถ้าเป็นอย่างนี้ เรื่องการใช้ปัจจัย 4 ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ตรงตามจุดมุ่งหมาย ก็เป็นเรื่องเล็ก ทำได้โดยง่าย ที่ทำยาก เพราะว่าเราไม่ฝึกฝนตน ไม่ทำใจ ให้ตรง ไม่หมุนใจให้ตรง ถ้าหมุนใจให้ตรงแล้ว สิ่งเหล่านี้ทำได้ไม่ยาก เพราะเรารู้จุดมุ่งหมาย[/FONT]

    <!-- </p>-->
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    [FONT=Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif]4. อธิวาสนะ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] อธิวาสนะ แปลว่า อดทน การละกิเลสด้วย ความอดทน การพัฒนาจิตไปสู่ความบริสุทธิ์ด้วยความอดทน ความอดทนที่ท่านเรียกว่าขันตินี้ ท่านแบ่งเป็น 3 อย่าง คือ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 1. ธีติขันติ แปลว่า ทนต่อการตรากตรำลำบาก เหน็ดเหนื่อยด้วยการงาน การศึกษา การปฏิบัติธรรม หรืออะไรก็แล้วแต่ ถ้าต้องตรากตรำลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่เป็นฆราวาส ที่เรียกว่า ฆราวาสธรรม มีข้อหนึ่งเรียกว่า ขันติ อดทน ในพระบาลีท่านใช้คำว่า ธีติ ยกตัวอย่างเช่น ยสฺเส เต จตุโร ธมฺมา สทฺธสฺส ฆรเมสิโน สจฺจํ ทโม ธีติ จาโค สัจจะ ทมะ และในที่นี้ท่านใช้คำว่า ธีติ แทน ขันติ ทโมก็คือ ทมะ ธีติ ก็คือ ขันติ จาโค คือ จาคะ สเว เปจฺจ น โสจติ ผู้นั้น ล่วงลับไปแล้ว จะไม่เศร้าโศก ยสฺเส เต จตุโร ธมฺมา ธรรม 4 ประการนี้ มีอยู่แก่ท่านผู้ใด แก่ฆราวาสผู้ใด ผู้มีศรัทธาอยู่ครองเรือน คือ สัจจะ ทมะ ธีติ จาคะ ผู้นั้นล่วงลับไปแล้วจะไม่เศร้าโศก แม้มีชีวิตอยู่ก็ไม่ เศร้าโศก ไม่ต้องพูดถึงล่วงลับ เพราะเหตุที่มีธรรม เหล่านี้อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทมะ การฝึกอินทรีย์ การฝึกตน ก็ได้พูดมาบ้างแล้วในปัจจัย 4[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า อิงฺฆ อญฺเญปิ ปุจฺฉสฺสุ ปุถู สมณพฺราหฺมเณ ท่านลองไปถามสมณะ เหล่าอื่นดูบ้างเถิด ยทิ สจฺจา ทมา จาคา ขนฺตยาภิยฺโยธ วิชฺชติ จะมีธรรมอย่างอื่นบ้างไหมในโลกนี้ที่ประพฤติปฏิบัติดีแล้ว จะมีคุณค่ายิ่งไปกว่า สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ในที่นี้ท่านใช้ว่า ขันติ ขนฺตยาภิยฺโยธ วิชฺชติ จะยิ่งไปกว่าขันติ คำนี้ใช้แทนกันได้ บางทีก็ใช้ธีติ บางทีก็ใช้ขันติ แต่ถ้าใช้ธีติ ก็หมายความว่า อดทนต่อความลำบากตรากตรำ หนักเอาเบาสู้ ใฝ่รู้สู้สิ่งยาก ยิ่งยากยิ่งดี มีสุภาษิตประจำใจว่ายิ่งยากยิ่งดี ชอบหาสิ่งยากๆ อะไรง่ายๆ ให้คนอื่นเขาทำ เพราะว่ามันทำง่าย มีคนทำได้เยอะ ให้คนอื่น เขาทำ เราไม่ต้องทำ ก็พยายามหัดทำสิ่งที่ทำยาก ซึ่งมีคนทำได้น้อย และ จะได้รับผลที่ได้โดยยาก ทำสิ่งที่ทำได้ยาก ทนสิ่งที่ทนได้ยาก สละสิ่งที่สละได้ยาก เอาชนะสิ่งที่เอาชนะได้ยาก ก็จะได้รับผลที่ได้โดยยาก อันนี้อยู่ในฆราวาสธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบแก่ผู้ที่มาถาม[/FONT]
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>[FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ถามว่าสิ่งเหล่านี้บรรพชิตไม่ต้องทำหรือ ตอบว่ายิ่งต้องทำมากขึ้น เพราะขนาดฆราวาสยังต้องทำแล้ว ทำไมเล่าบรรพชิตซึ่งควรจะต้องปฏิบัติให้เข้มงวดกว่า ให้ประณีตกว่า ทำไมจะไม่ต้องทำ ก็ต้องทำ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เหมือนกับว่าสิ่งใดที่สามเณรต้องทำ สิ่งใดเป็นธรรมของสามเณร สิ่งนั้นก็ต้องเป็นธรรมของภิกษุไปด้วยในตัว แต่ว่าไม่ได้พูดถึง พูดถึงแต่ว่าอันนี้เป็นธรรมของสามเณร ไม่ได้หมายความว่าภิกษุ[/FONT]
    </TD><TD vAlign=top>[FONT=Courier New, Courier, mono][​IMG][/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Courier New, Courier, mono]ไม่ต้องทำ ภิกษุต้องทำให้มากขึ้น เพราะว่าอยู่ในภาวะที่ดีกว่า เป็นผู้ใหญ่กว่า อยู่ในฐานะที่สูงกว่า ก็ทำในสิ่งที่สามเณรทำ เมื่อสามเณรทำได้ ภิกษุทำไม่ได้ นั่นน่าละอาย สิ่งที่ฆราวาสทำได้ แต่พระทำไม่ได้ ก็เป็นสิ่งที่น่าละอาย มันต้องทำได้ ก็ต้องมี สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เหมือนกัน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ธีติขันติ คือ อดทนต่อความลำบากตรากตรำในการทำงาน ในการ ศึกษา ในการทำอะไรต่างๆ ยิ่งสมัยปัจจุบันดูแล้วก็ยิ่งน่าสงสาร ประชาชน เราต้องทำงานมากขึ้น หนักขึ้น ตรากตรำมากขึ้น ผลได้เป็นอย่างไร ลองหาคำตอบเอาเอง[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 2. อธิวาสนขันติ ที่เรียกว่า อธิวาสนะ อดทนต่อความเจ็บไข้ได้ป่วย เกิดมาแล้วไม่มีใครที่ไม่เจ็บไข้ ได้ป่วย เพราะว่าร่างกายนี้มันเป็นตัวโรคอยู่แล้ว ว่าความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง ท่านหมายถึงไม่มีโรคทางใจ แต่เราเอามาใช้ในความหมายว่าไม่มีโรคทางกาย ความไม่มีโรคทางกายมันเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าตัวร่างกายเองมันเป็นตัวโรคอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้นะครับ ในมาคัณฑิยสูตร มัชฌิมนิกาย ตรัสว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง ก็หมายถึงไม่มีโรคทางใจ ก็ทำให้ไม่มีโรคได้สำหรับใจ ก็ทำให้บรรเทาเบาบางลงไป ฝึกฝนไป แก้ไขไป ขัดเกลาไป ฝึกฝนไป โรคใจมันก็ค่อยๆ น้อยลง ด้วยความอดทน ในที่สุดก็จะไม่มีโรคทางใจเลย มีน้อยลงไป จนไม่มีเลย แต่ว่าโรคทางกาย ยิ่งเรา มีอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีโรคมากขึ้น เหมือนกับรถยนต์ เครื่องยนต์ต่างๆ ที่ใช้ไป ยิ่งนานปีก็ยิ่งทรุดโทร ยิ่งต้องแก้ไขมากปรับปรุงมากขึ้นเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] สำหรับทางใจ สิ่งที่ควรจะเป็นก็คือว่า ยิ่งอายุมากขึ้นเท่าไหร่ โรคทางใจก็ควรจะน้อยลงๆ ตามอายุที่มากขึ้น การแก้ไขทางจิตใจก็น้อยลง เพราะว่าได้แก้ไขหมดแล้ว มีประสบการณ์ชีวิตหลายด้าน อย่างนี้ก็เคยพบ อย่างนี้ก็เคยเจอมาแล้ว จิตใจจะค่อยๆ มองเห็นเป็นเรื่องธรรมดา[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] แต่สำหรับคนที่อยู่ในวัยต้น เด็กๆ มันจะ ตื่นเต้นไปหมด อันนั้นก็เรื่องแปลก อันนี้ก็เรื่องใหม่ อันนั้นก็น่าตื่นเต้น อันนี้ก็น่าโศก อันนั้นก็น่าโกรธ อันนั้นก็น่าหลง อะไรต่างๆ ทำนองนั้น พอวัยมากขึ้น สูงขึ้น มันก็ได้ผ่านอะไรต่างๆ มามาก จิตใจก็ค่อยๆ สงบเย็นลง มีความมั่นคงมากขึ้น จิตใจมั่นคง อ่านสิ่งต่างๆ ออกมากขึ้น ใช้ชีวิตสงบเย็นมากขึ้น สิ่งที่จะมาทำให้หวั่นไหวน้อยลง[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต เราก็ต้องอดทน พระพุทธเจ้าสอนให้พิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่สามารถจะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ เมื่อมันมาถึงเข้าตามวาระ ตามเวลา ตามโอกาส และก็มาเยี่ยมเราบ่อยๆ ก็คิดให้เป็นเพื่อนกัน เป็นกันเอง กับความพลัดพรากความผิดหวัง เจ็บไข้ได้ป่วย จนที่สุดถึงแก่ความตายพิจารณาบ่อยๆ นึกถึงบ่อยๆ จนถึงกับมีความรู้สึกเป็นกันเอง ความพลัดพราก ความผิดหวัง ความเจ็บป่วย ก็ไม่ใช่คนแปลกหน้า ก็ไม่ใช่ของแปลก บางคนมีชีวิตลำบากมาตั้งแต่เด็กต่อสู้ดิ้นรนมาด้วยความยากลำบาก มาจนเป็นผู้ใหญ่ก็ยังลำบากอยู่ มันก็เป็นกันเองกับสิ่งเหล่านั้น ก็ดูว่าเป็นคนมั่นคง สงบ แต่ที่จริงเขาก็ได้รับทุกข์จากสิ่งเหล่านั้นอยู่ แต่ด้วยความคุ้นเคยกับ สิ่งเหล่านั้นจนรู้สึกเป็นกันเอง เพราะว่ามันผิดหวังมาตั้งแต่เด็กๆ รับความ ผิดหวังพลั้งพลาด ไม่ค่อยได้อะไร ตามที่ใจหวัง ก็ถือว่าความผิดหวังเป็นเรื่องธรรมดา แต่อะไรที่ได้สมหวังเป็นเรื่องพิเศษ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] บางทีเรามีโรคบางอย่าง เป็นอยู่ตั้ง 20 - 30 ปี มันก็เป็นกันเองกับโรคอย่างนั้น เป็นเพื่อนตายกันไป ไม่ต้องไปเดือดร้อนกับมัน อย่างนี้เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>[FONT=Courier New, Courier, mono][​IMG][/FONT]
    </TD><TD>[FONT=Courier New, Courier, mono] นี่ก็เกี่ยวกับอธิวาสนขันติ ความอดทนเกี่ยวกับเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วย แม้พระพุทธเจ้าเองก็ต้องทรงอดทน อย่างในมหาปรินิพพานสูตร ที่พระ- คันถรจนาจารย์ได้เล่าเอาไว้ว่า ตตฺร สุทํ ภควา อาพาธํ อธิวาเสสิ ได้ยินว่าใน ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงอาพาธหนัก มรณนฺติกํ เหมือนกับว่าจะ คร่าชีวิตไป อาพาธหนักอย่างยิ่งเหมือนกับจะคร่าชีวิตไป อวิหญฺญมาโน ไม่ทรงเดือดร้อนกับอาพาธนั้น เป็นแบบอย่างให้เรารู้สึกว่าท่านมีบุญบารมี ได้บำเพ็ญมาแล้วบริบูรณ์ถึงอย่างนั้น ได้ทำประโยชน์แก่โลกถึงอย่างนั้น เป็นมหาบุรุษถึงอย่างนั้น แต่ก็ทนถึงอาพาธหนัก ประหนึ่งว่าจะคร่าชีวิตไป แต่ก็ทรงอดทน ไม่เดือดร้อน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] "ร่างกายของเรากระวนกระวายอยู่ แต่จิตใจไม่กระวนกระวาย"[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เคยพูดหลายครั้งแล้วว่า พระพุทธเจ้าในวันปรินิพพานก็ทรงอาพาธหนักอยู่ แต่ก็เสด็จดำเนินจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่งได้ไปถึงสาลวโนทยาน เมืองกุสินารา แล้วก็ประทับอาพาธ ก็ทรงทำงานประกาศศาสนาจนลมหายใจครั้งสุดท้าย นี่ก็เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ น่าจะเป็นแบบอย่างสำหรับพุทธสาวก ผู้ที่สืบสานเจตนารมณ์ของพระศาสดา ผู้มีความจงรักภักดีต่อ พระศาสดาว่า ที่ได้รับประโยชน์จากพระศาสดา ว่าท่านได้ทำมาอย่างไร และควรจะดำเนินต่อไปอย่างไร เพื่อประโยชน์และความสุขของประชาชนของมหาชน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono] 3. ตีติกขาขันติ อดทนต่อความลำบากทางใจ อดทนต่อความเจ็บใจ อดทนต่อคำด่าว่าเสียดสี อดทนต่อคำนินทาว่าร้าย อดทนต่อการบีบคั้นของกิเลสต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากภายในบ้าง มาจากภายนอกบ้าง ทำได้ก็เป็นตบะอย่างยิ่ง เรียกว่า ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ขันติ ประเภทตีติกขา อดกลั้นต่อกิเลส เป็นตบะอย่างยิ่ง บางทีพระพุทธเจ้าพระองค์ก็ถูกด่าว่าเสียดสี มีคนจ้างไปด่าหลายวัน พระอานนท์ทนไม่ไหว พระพุทธ- เจ้าตรัสบอกว่าอานนท์ เราเป็นเหมือนช้างศึกที่ลงสู่สงคราม จะต้องอดทนต่อลูกศรที่พุ่งมาจาก 4 ทิศ เพราะว่า คนส่วนมากเป็นคนชั่ว เพราะฉะนั้น เราจึงต้องอดทน ถ้ามีคนดีมากก็ไม่ต้องอดทนมาก[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ท่านอยู่ในที่ทำงาน อยู่ที่ไหนก็ตามที่มีคน ท่านก็ต้องอดทนต่อคน ถ้าไม่อดทนจะอยู่ไม่ได้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ทนฺตํ นยนฺติ สมิตึ ทนฺตํ ราชาภิรูหติ พระราชาย่อมขึ้นสู่ยานพาหนะที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม สัตว์พาหนะใดที่ไม่ฝึก เขาไม่ขี่ไปที่ประชุม เดี๋ยวมันตื่นคน แล้วก็วิ่งเตลิด ทำให้คนขี่ล้มหกคะเมนลงมาขาหัก เขาจะขี่ช้างหรือม้าหรือโคที่ฝึกแล้วไปที่ประชุม ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ โย ติวากฺยํ ติติกฺขติ ในหมู่มนุษย์ด้วยกัน มนุษย์ที่ฝึกตนแล้ว เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ฝึกให้อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่น โย ติวากฺยํ ติติกฺขติ ให้อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่น ผู้ที่อดทนต่อผู้ที่เสมอกัน เพราะเกรงว่าจะทะเลาะกัน ผู้อดทนต่อผู้ที่สูงกว่า เพราะความกลัว ผู้ที่อดทนต่อผู้ที่ต่ำกว่า ความอดทนของผู้นั้นเป็นความ อดทนที่สูงสุด พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ทีนี้ลองนึกดูว่า ในการอยู่ด้วยกันระหว่างผู้น้อยกับผู้ใหญ่ ผู้น้อย บางคนก็โง่ ทั้งโง่ทั้งเซ่อ ผู้ใหญ่จะต้องอดทนต่อความโง่ของเขาเท่าไหร่ เพื่อจะฝึกให้เขาเป็นคนดีขึ้นมาได้ กี่เดือนกี่ปีจนกว่าเขาจะฉลาดขึ้น ผู้ใหญ่บางคนเกรี้ยวกราด เอาแต่ใจตัว ผู้น้อยอยู่กับผู้ใหญ่เช่นนั้นจะต้องอดทน เท่าไหร่ เพื่อจะพะเน้าพนอเอาใจผู้ใหญ่ เราก็ต้องอดทน ไม่ว่าเขาจะอยู่ใน ฐานะอย่างไร ฐานะเป็นสามี เป็นลูก เป็นพ่อ เป็นเพื่อน เป็นลูกศิษย์ เป็นอาจารย์ เพื่อนร่วมงาน เป็นเรื่องที่เราต้องอดทนทั้งนั้น ขันติมันมาคู่กับโสรัจจะ มันต้องเป็นคู่แฝดกัน คือ อดทนอย่างสงบ โสรัจจะ คือ สงบ ไม่ใช่เขาไม่เจ็บปวด เขาเจ็บปวดเหมือนกัน แต่ว่าเขาสงบเป็น เขามีโสรัจจะ บางคนก็อดทนอย่างฮึดฮัด ไม่พูดไม่จา แต่ว่าอาการมันออกว่าทนเหมือนกัน แต่ว่าไม่พูด ไม่โต้เถียง ไม่ขัดแย้ง แต่อาการมันออกให้รู้ว่าไม่สงบ มันปั่นป่วน วุ่นวายอยู่ภายใน แต่คนที่มีโสรัจจะนี่มันดับได้ทันทีเลย เหมือนเอาน้ำ มาดับไฟ ก็ดับได้ ดับอารมณ์ที่มันกรุ่นอยู่ข้างใน ด้วยคาถาศักดิ์สิทธิ์ว่า "ช่างมันเถอะ" แล้วมันก็หายไปเอง เพราะทุกอย่างมันไม่เที่ยง มันเกิดขึ้นใหม่ๆ ทุกข์มันเกิดขึ้นมาก พออยู่ไปอารมณ์ต่างๆ มันคลายไป จางไป แล้วมันก็ดับไปหายไป[/FONT]
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    นี่ก็เรียกว่าอดทนต่อกิเลส อดทนต่อความ มุทะลุดุดัน อดทนต่อสิ่งที่มาเร้าให้เกิดโทสะบ้าง เกิดโลภะบ้าง เร้าให้เกิดกิเลสต่างๆ อันนี้แหละเป็น
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>ตบะ อย่างยิ่ง
    [FONT=Courier New, Courier, mono] พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้มากมายเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ ก็น่าสนใจมาก อย่างในกกจูปมสูตร มัชฌิมนิกาย พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้น่าสนใจมาก ที่ว่าคำที่ผู้อื่นจะพึงกล่าวต่อเธอ 5 ประการต่อไปนี้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 1. กล่าวในกาลอันสมควรหรือไม่สมควร[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 2. กล่าวเรื่องจริงหรือไม่จริง[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 3. กล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 4. กล่าวคำอ่อนหวานหรือหยาบคาย[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 5. กล่าวด้วยจิตเมตตาหรือกล่าวด้วยโทสะ[/FONT]
    </TD><TD vAlign=top>[FONT=Courier New, Courier, mono][​IMG][/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เขาจะกล่าวอย่างไรก็ตาม ภิกษุจะต้องทำใจ (ภิกษุ หมายถึง ผู้ปฏิบัติ คือ ทั้งฆราวาสด้วย) ไว้ว่าใจของเราจักไม่แปรปรวน คือ ทำจิตให้มั่นคง เราจักไม่ เปล่งวาจาชั่ว เราจักอนุเคราะห์เขาด้วยวาจาและสิ่งอัน เป็นประโยชน์ จักมีเมตตาต่อบุคคลนั้น จักแผ่เมตตาจิตไปทั่วทั้งโลก ทำจิต ให้เป็นเหมือนแผ่นดินที่ใครๆ จะขุดให้หมดไม่ได้ นั่นนัยหนึ่ง อีกนัยหนึ่ง แผ่นดินใครจะทิ้งของดีบ้าง ทิ้งของไม่ดีบ้าง ลงไปบนแผ่นดิน ทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ลงไปบนแผ่นดิน แผ่นดินก็คงรับได้ แผ่นดินนี่มีคุณลักษณะพิเศษที่ว่ามันทำของไม่ดีให้เป็นของดี ขยะต่างๆ นี่แผ่นดินทำเป็นปุ๋ยได้หมด ใบไม้ของไม่สะอาดอยู่ในแผ่นดิน แผ่นดินแปรให้มันดีได้ ทำขยะให้เป็นปุ๋ย[/FONT]

    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ทำจิตให้เหมือนอากาศที่ใครๆ เขียนหรือระบายสีให้ติดไม่ได้ ในชีวิตประจำวันคนเรามีการระบายสีกันเยอะ บางทีไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ใครมาระบายสีไว้ก็ไม่รู้ เราก็ไปคิดตามที่เขาระบาย มันก็สบายของคนระบายสี ก็อย่าเพิ่งเชื่อ ทำจิตให้เหมือนอากาศเอาไว้ก่อนว่าไม่รู้ความจริงเป็นอย่างไร เพราะความจริงเป็นสิ่งที่รู้ยากอย่างหนึ่ง ในบรรดาสิ่งที่รู้ยากหลายอย่าง เวลานี้มีคดีหลายอย่างเกิดขึ้น ก็ยังไม่รู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร สืบกันไปสืบกันมายังไม่รู้ความจริงเป็นอย่างไร[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ทำจิตให้เหมือนแม่น้ำ ที่ใครเอาคบเพลิงใดๆ ไปจุดให้ติดไม่ได้ คบเพลิงนั้นก็ดับไปเอง แม่น้ำไม่เป็นอะไร ไม่เป็นเชื้อ แต่ถ้าไปจ่อเข้ากับเชื้อก็ลุกขึ้นมาทันที[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ในคัมภีร์บอกว่า ทำจิตให้เหมือนถุงหนังแมวที่นายช่างฟอกดีแล้ว อ่อนนุ่มเหมือนสำลี ใครๆ จะตีให้ดังไม่ได้ ความที่มันนุ่มมันไม่ดัง พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเหมือนกังสดาลที่ปากขาดแล้ว ตีไม่ดัง[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] คนที่ทะเลาะกัน มีเป็นจำนวนมาก คนมาตีข้างโน้นที ตีข้างนี้ที เดี๋ยวก็ดัง เพราะปากมันไม่ขาด มันไม่เป็นถุงหนังแมว ก็เป็นข้อคิดที่พระพุทธเจ้าเตือนภิกษุทั้งหลายเอาไว้ในกกจูปมสูตรมีรายละเอียดมากมาย แต่นี่ดึงเอามาบางตอน ให้เห็นว่าท่านสอนให้มีความอดทนอย่างไร ให้มีความสงบเสงี่ยมอย่างไร[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ความอดทนกับความเพียรจะต้องเป็นของคู่กัน คือมีความเพียร ต้องประคับประคองความเพียรไว้ด้วยความอดทน ถ้าไม่มีความอดทนแล้ว ความเพียรมัน ตั้งไม่ได้ มันล้ม เดี๋ยวก็ท้อถอย เบื่อ มีเรื่องเข้ามาทำให้เบื่อเยอะแยะ ถ้าไม่มีความอดทนมาประคับประคอง ความเพียรมันอยู่ไม่ได้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ในนิทานชาดกก็มี สอนลูกให้อดทน ลูกก็มี ฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ลูกนาคมาเที่ยวในเมืองมนุษย์ พ่อก็สั่งว่าเมื่อไปในเมืองมนุษย์แล้ว ห้ามทำร้ายใคร เด็กก็มาแหย่เล่น จับเล่น ลูกนาคมีฤทธิ์มากจะพ่นพิษให้ตายหมดก็ได้ แต่ว่าเชื่อคำของพ่อว่าอย่าทำร้ายใคร ให้ใช้ความอดทน เพราะถ้าไม่มีความอดทน ลูกก็อยู่ไม่ได้ นี่เป็นเรื่องชาดก สอนลูกให้อดทน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] คนจะทำงานใหญ่ด้วยความพากเพียร อุปสรรคมันเยอะ อุปสรรคจากตัวงานเองบ้าง อุปสรรคจากเพื่อนฝูงบ้าง อุปสรรคจากเทวบุตรมารบ้าง คือผู้ใหญ่ ที่เขาไม่สนับสนุนงานนั้น ไม่ส่งเสริม บางทีก็ไม่ได้วางเฉย กีดกันเสียอีก อันนี้คือ เทวบุตรมาร มารคือเทพบุตร หรือเทวบุตรในความหมายหนึ่งนะครับ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ในกรณีอย่างนี้ ผู้ที่ทำความเพียรก็ต้องอดทน อดทนทำไปเท่าที่กำลังความสามารถของเรามีอยู่ ได้เท่าไหร่ ก็เท่านั้น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ทีนี้ก็ลองดูอีกอย่างหนึ่งในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันชนิดใด ยกตัวอย่างเช่น วิ่งแข่ง บางคนก็วิ่งได้เร็ว แต่ว่าความทนทานน้อย คือไม่ อดทน เป็นลมเสียก่อน วิ่งได้เร็วแต่ไม่ทน คนที่วิ่งไปอย่างช้าๆ ทีแรกก็ ดูเหมือนถูกทิ้งระยะไป คือถูกผู้อื่นนำไป ตัวก็อยู่ข้างหลัง แต่ก็รักษาระยะตลอดเวลา สม่ำเสมอ นั่นแหละจะชนะ คือต้องอาศัยความทนทาน นอกจากจะเร็วด้วยและทนทานด้วย ก็จะชนะในการแข่ง[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เคยเห็นเขาชกมวยกัน บางคนชกฝีมือดี ไหวพริบดี แต่ขาดความทนทาน ชกไปๆ หมดกำลังเสียก่อน คนที่มีกำลังดีก็ชนะ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ตอนผมเด็กๆ เคยเห็นเขาตีไก่ ไก่บางตัวมันตีเก่งมาก อีกตัวพอใช้ได้ มันยืนหยัดอยู่เฉยๆ ไม่วิ่งไม่หนี อีกตัวก็ตี ตีไปๆ ตัวที่ตีมันวิ่งหนีเสียเอง ไม่รู้มันคิดอย่างไร มันตีเสาหรืออย่างไร อีกตัวมันยืนหลับตาให้ตี[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] นี่เรียกว่าในการแข่งขัน คนที่มีความอดทนหรือทนทาน ยิ่งระยะไกลเท่าไหร่ก็ยิ่งอาศัยความทนทานมากเท่านั้น ท่านลองสังเกตดูคนที่ทำงาน ได้ยั่งยืนสม่ำเสมอ ก็ทำมาเป็นเวลา 10 ปี 20 ปี 30 ปี 40 ปี ทำงานมา 40 ปี 50 ปีก็มี ทำงานอยู่อย่างเดียว 50 ปี บางคน ก็ทำอยู่อย่างนั้น ไม่ใช่ไม่มีอุปสรรค ไม่ใช่ไม่มีปัญหา ไม่ใช่ไม่มีความรู้สึกเสียใจ ไม่ใช่ไม่มีความรู้สึกน้อยใจ แต่ว่าอาศัยความอดทน อุปสรรคต่างๆ มันก็ผ่านพ้นไป แล้วก็ได้ประสบความสำเร็จในการงานตามสมควรแก่งานที่เขาทำ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ขอสรุปว่า ในการแข่งขันก็ดี ในการทำงานก็ดี คุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ ความอดทนหรือความทนทาน ถ้าขาดอันนี้ เสียแล้ว เราจะแพ้เรื่อยไป ฉะนั้นก็ใช้ขันติคือความอดทน มีคุณค่า แต่ว่าเราต้องอดทนด้วยสติปัญญานะครับ ถ้าขาดสติปัญญา ก็อดทนไม่ได้ประโยชน์อะไร มันต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองดูแล้ว ว่าความอดทนนี้มีคุณค่ามีประโยชน์ นำมาซึ่งประโยชน์ทั้งแก่ตนแก่ผู้อื่น สามารถยังประโยชน์ให้สำเร็จทั้งแก่ตนและแก่ผู้อื่น อันนี้เราก็ควรจะอดทน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] มีพระพุทธภาษิตมากมายที่แสดงถึงคุณค่าของความอดทนผมจะกล่าวบ้างเล็กน้อย[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] สีลสมาธิคุณานํ ขนฺติปธานการณํ ขันติ คือ ความอดทน เป็นประธานของคุณทั้งหลาย คือ ศีลและสมาธิ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา ขนฺตยาเยว วฑฺฒนฺติ เต กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงย่อมเจริญเพราะขันติ คือ ความอดทน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เกวลานํปิ ปาปานํ ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ ขันติ คือ ความอดทนย่อมตัดเสียได้ซึ่งมูลรากของบาปทั้งปวง[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] กลหครหาทีนํ มูลํ ขนติ ขนฺติโก ผู้มีความ อดทนย่อมขุดเสียได้ซึ่งเหตุร้ายทั้งหลาย มีการติเตียนและการทะเลาะวิวาท เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ขนฺติ ธีรสฺสลงฺกาโร ขันติเป็นอลังการ เครื่องประดับของนักปราชญ์[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน ขันติเป็นตบะของผู้บำเพ็ญตบะ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ขนฺติ พลํ ว ยตีนํ ขันติเป็นกำลังของนักพรตทั้งหลาย[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ขนฺติ หิตสุขาวหา ขันตินำประโยชน์สุขมาให้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวา ผู้มีความอดทน เป็นผู้มีเมตตา[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] อันนี้ก็เป็นธรรมคู่แฝดเหมือนกัน ความอดทน กับความเมตตา ผู้มีความอดทน มีเมตตา ย่อมมีลาภ มียศ มีปกติอยู่เป็นสุข[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ปิโย เทวมนุสฺสานํ เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] มนาโป โหติ ขนฺติโก ผู้มีความอดทนย่อมเป็นที่รักที่พอใจของเทวดาและมนุษย์[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก ผู้มีความอดทนย่อมนำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนและแก่ผู้อื่น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก ผู้มีความอดทนย่อมขึ้นสู่ทางอันนำไปสู่สวรรค์และนิพพาน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] สตฺถุโน วจฺจโนวาทํ กโรติเยว ขนฺติโก ผู้มีความอดทนชื่อว่าได้ทำตามพระโอวาทของพระศาสดา[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ปรมาย จ ปูชาย ชินํ ปูเชติ ขนฺติโก ผู้มีความอดทนชื่อว่าได้บูชา พระชินะ คือ พระพุทธเจ้าด้วยการบูชาอย่างยิ่ง[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] นี่ก็เป็นช่วงหนึ่งของการพรรณนาอานิสงส์ของความอดทน เช่น กลหครหาทีนํ มูลํ ขนติ ขนฺติโก ผู้มีความอดทนย่อมขุดเสียได้ซึ่งมูลราก แห่งการติเตียนและการทะเลาะวิวาท ท่านสังเกตดูว่าในสังคมของเรามีบ่อยๆ ที่ติเตียนกันไปติเตียนกันมา แล้วก็ทะเลาะวิวาทกัน เพราะความไม่อดทน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] บางทีไปนั่งกินข้าวร้านเดียวกัน มองหน้ากันคนละทีสองที ก็ชักปืนมายิงกัน หรือเอาขวดตีกัน สายตาไม่กินกันและไม่อดทน ไม่มีเมตตา ทะเลาะวิวาทกัน ถ้าคนมีความอดทน มีความเมตตา มันก็ตัดมูลรากของ สิ่งเหล่านั้นเสียได้ ไม่มีปัญหา ส่วนมากคนที่เป็นนักเลงซึ่งไม่มีความอดทนนั้นเอง ก็จะไปเจอนักเลง นักเลงสื่อนักเลง ถ้าเราเป็นคนดี ก็มักจะไปเจอคนดี [/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] อีกข้อหนึ่งที่ว่า ความอดทนเป็นอลังการหรือเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ นักปราชญ์อาจเป็นพระหรือฆราวาสก็ตาม มีความอดทนเป็นเครื่องประดับ ถ้าขาดความอดทนเสียแล้ว แปลว่า ขาดเครื่องประดับ ไม่มีเครื่องประดับ และยังจะเป็นตบะของผู้บำเพ็ญตบะ อย่างนักพรตบำเพ็ญตบะ ก็ต้อง[/FONT]

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD>[FONT=Courier New, Courier, mono][​IMG][/FONT]</TD><TD vAlign=top>[FONT=Courier New, Courier, mono]เอาความอดทนนั้นแหละเป็นตบะ ต้องหนาวร้อน หิวกระหาย ต้องเจ็บปวด เจ็บป่วย อารมณ์ต่างๆ ที่มายั่วยวนให้เขาออกไปนอกทาง ฉะนั้น อาศัยขันติเป็นกำลังนักพรต แล้วก็จะนำประโยชน์สุขมาให้แก่ผู้บำเพ็ญ มีขันติ มีเมตตา ก็ทำให้ได้ลาภ ได้ยศ อยู่เป็นสุข เป็นที่รักของ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ต้องการของใครต่อใคร[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] โดยที่สุดก็จะนำไปสู่ทางที่จะนำไปสู่สวรรค์และนิพพาน ได้ชื่อว่าบูชาพระศาสดาด้วยการบูชาอย่างยิ่ง บูชาด้วยความอดทน เอาความอดทนเป็นเครื่องบูชาพระศาสดา ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรงยกย่องเรื่องนี้[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    [FONT=Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif]5. ปริวัชชนะ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ประการที่ 5 ปริวัชชนะ เว้นสิ่งที่ควรเว้น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ในชั้นพระพุทธพจน์ คือในพระไตรปิฎกได้พูดถึงเรื่องการเว้นอโคจร คือ ไม่ไปในที่ไม่ควรไป แล้วเว้นบุคคลที่ไม่ควรคบ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะภิกษุก่อน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ต่อไปนี้จากหนังสือวินัยมุข เล่ม 2 ตอนที่ว่าด้วยเรื่องอโคจร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระองค์ท่านได้ทรงพระนิพนธ์ ไว้อย่างนี้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] บุคคลก็ดี สถานที่ก็ดี อันภิกษุไม่ควรไปสู่ เรียกว่า อโคจร ท่านแสดงไว้ 6 ประเภท คือ หญิงแพศยา 1 หญิงม่าย 1 สาวเทื้อ 1 ภิกษุณี 1 บัณเฑาะก์ 1 ร้านสุรา 1 อันนี้เป็นอโคจร 6[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ท่านอธิบายไว้ว่า หญิงแพศยานั้นหมายเอาหญิงหากินในทางกาม ทุกชนิด แสดงอาการเปิดเผยก็ดี แสดงอาการซ่อนเร้นก็ดี อยู่เป็นโสดตามลำพัง ตนก็ดี อยู่ในหมู่ก็ดี นับเข้าในชื่อหญิงแพศยาทั้งนั้น คือ โสเภณีในปัจจุบันนะครับ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ภิกษุชอบพอไปมาหาสู่กันเนืองๆ กับหญิงแพศยาย่อมเป็นที่รังเกียจของสหธรรมิกด้วยกัน (คือ ผู้ประพฤติธรรมร่วมกันนะครับ) ทั้งหญิงแพศยาย่อมจะจูงไปสู่อำนาจ ดังมีเรื่องเล่าถึงพระเถระรูปหนึ่ง ชื่อ สุนทรสมุทร เป็นบุตรของสกุลผู้มั่งคั่ง มีศรัทธาออกบวช ทั้งยินดีใน พรหมจรรย์ มารดาบิดาหาอุบายจะให้ลาพรหมจรรย์ไม่สำเร็จ หญิงแพศยาคนหนึ่งรับอาสา ตามไปตั้งสำนักอยู่ในเมืองที่พระเถระอยู่[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>[FONT=Courier New, Courier, mono] ในเวลาแรกคอยถวายบิณฑบาตในเวลาที่ พระเถระออกภิกขาจาร พอคุ้นกันเข้าโดยฐานได้รับบาตรอยู่เนืองๆ คราวนี้นิมนต์ให้ฉันที่เรือน แต่แรกก็ให้ฉันในที่เปิดเผย[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ต่อมาหญิงนั้นหาอุบายให้เด็กมาเล่นบ้าง ทำรกบ้าง พออ้างเป็นเหตุ ให้พระเถระเข้าไปฉันในห้องเรือน แสดงอาการสนิทสนมเข้าทุกที ยั่วยวนพระเถระในทางกาม จนท่านรู้สึกตัว จึงได้หลีกไปเสีย ท่านเป็นผู้มีสติ และมั่นอยู่ในธรรมของภิกษุ จึงเอาตัวรอด[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]

    </TD><TD vAlign=top>
    [FONT=Courier New, Courier, mono][​IMG][/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Courier New, Courier, mono] แต่ว่ามีภิกษุที่เอาตัวไม่รอดเยอะเหมือนกัน คือ ถูกเข้าทำนองพระสุนทรสมุทรนี้ แต่สติไม่มั่นพอที่จะอยู่ในธรรมของภิกษุ และก็เอาตัวไม่รอด ต้องเป็นปาราชิก ไปก็มีไม่น้อย[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] สมเด็จฯ ได้ทรงพระนิพนธ์ต่อไปว่า[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] แต่มิใช่ว่าท่านสาปหญิงประเภทนี้เสียทีเดียว จะรับนิมนต์ไปเป็นกิจจะลักษณะได้ มีภิกษุรับนิมนต์แล้ว ไปทำภัตกิจที่เรือนของนางสิริมาเป็นตัวอย่าง แต่ควรตั้งสติระวังมิให้เสียสังวร[/FONT]


    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เรื่องทำนองนี้ ท่านอาจารย์พุทธทาสได้เขียนไว้เหมือนกันในหนังสือ "ตามรอยพระอรหันต์" ที่ว่าด้วยอินทรีย์สังวร สำหรับพระภิกษุท่านก็แนะนำว่า ถ้าเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง คือ อย่ากล้าเผชิญหน้ากับอารมณ์ที่คิดว่าอาจจะพ่ายแพ้ได้ ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องมีสติมั่นอยู่ในธรรมของภิกษุจริงๆ จึงจะเอาตัวรอดได้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ต่อไปพูดถึงหญิงม่าย เป็นอโคจรสำหรับภิกษุอย่างหนึ่งเหมือนกัน หญิงม่ายนั้นท่านหมายเอาทั้งหญิงที่สามีร้าง หย่าขาดจากกัน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] หญิงเทื้อ หมายเอาหญิงโสด หาสามีไม่ได้ อยู่ลำพังตน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ภิกษุคบหาสนิทสนมกับหญิง 2 ประเภทนี้ คือ หญิงม่าย หรือหญิงเทื้อ หญิงโสด ไปมาหาสู่ไม่เป็นกิจจะลักษณะ หรือผิดเวลา ย่อมจะเป็น ที่รังเกียจของสหธรรมิกด้วยกัน ทั้งล่อแหลมต่ออันตรายแห่งพรหมจรรย์ด้วย แต่มิใช่ว่าจะเป็นคนไม่ควรคบเสียเลย จะรู้จักหรือไปมาหาสู่กัน โดยเป็นกิจจะลักษณะได้อยู่ แม้จะรับบำรุงของเขาก็ได้ แต่ควรประพฤติพอดีพองาม[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ดังภิกษุรูปหนึ่งที่ไปพำนักอยู่ ณ บ้านมาสิกคาม แคว้นโกศล ได้รู้จักกันกับมารดาของนายบ้าน และได้รับบำรุงของเขา ได้ความสะดวก บำเพ็ญสมณธรรมจนสำเร็จ คบกันแต่พอดีพองาม เช่นนี้ไม่มีโทษ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] กล่าวถึงภิกษุณี เป็นอโคจรอย่างหนึ่งของภิกษุเหมือนกัน เป็นพรหมจาริณี คือ ผู้ที่ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน จัดว่าเป็นหญิงโสด แม้เป็น สหธรรมิกด้วยกัน ก็ยังสมควรจะคบกันแต่พอดีพองาม พระศาสดาได้ทรงบัญญัติสิกขาบท เนื่องด้วยการคบภิกษุณีไว้หลายมาตรา ก็เพื่อจะได้ตั้งอยู่ในความพอประมาณนั่นเอง[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] บัณเฑาะก์ หมายถึง บุรุษที่เขาตอนเสียแล้ว ได้ยินว่าในราชสำนักแห่งประเทศจีนและประเทศตุรกีในกาลก่อนแต่นี้ ได้ใช้พวกบัณเฑาะก์ชนิดนี้เป็นคนเข้าข้างในออกข้างนอกได้ ภาษาไทยที่เป็นคำพังเพย - เข้านอกออกใน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ในเมืองจีนเรียกว่า ขันที พวกบัณเฑาะก์นี้เป็นที่สวาทในหมู่บุรุษจึงเป็นที่รังเกียจของภิกษุ พึงเห็นในสิกขาบทสังฆาทิเสส เนื่องด้วยหญิง คงจัดบัณเฑาะก์เป็นวัตถุแห่งถุลลัจจัย คือ รองลงมาจากสังฆาทิเสส[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ในลำดับรองลงมาจากสังฆาทิเสส ภิกษุผู้คบหาสนิทสนมกับบัณเฑาะก์ย่อมเป็นที่รังเกียจของสหธรรมิก ด้วยกันในทางเล่นสวาท[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ร้านสุรา คือ ที่ขายสุรา เป็นที่อโคจร แม้โรงกลั่นสุรา ก็นับเข้าในชื่อนี้ ภิกษุเข้าไปในร้านสุรา เขาคงเข้าใจว่ามีความต้องการดื่ม อันการดื่มสุราย่อมเป็นอุปกิเลสหรือมลทินของสมณะ ย่อมจะเป็นที่รังเกียจของผู้ที่ได้เห็นหรือได้ยิน ร้านฝิ่น โรงฝิ่น อันเป็นของเกิดขึ้นในภายหลัง สงเคราะห์เข้าในสถานนี้ เป็นอโคจรของภิกษุเหมือนกัน ภิกษุผู้ไปสู่บุคคล ก็ดี สถานที่ก็ดี ดังกล่าวแล้ว ด้วยอาการไม่ดีไม่งาม เป็นที่รังเกียจ ได้ชื่อว่า โคจรวิปันโน แปลว่า มีโคจรวิบัติ โคจร คือ สถานที่ไปวิบัติ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ภิกษุผู้เว้นอโคจร 6 นี้ ไปหาใครหรือจะไป ที่ไหน เลือกบุคคล เลือกสถานที่อันสมควร ไปเป็นกิจจะลักษณะ เวลาอันควรไม่ไปพร่ำเพรื่อ กลับใน[/FONT]
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    [FONT=Courier New, Courier, mono][​IMG][/FONT]​
    </TD><TD>[FONT=Courier New, Courier, mono]เวลา ประพฤติตนไม่ให้เป็นที่รังเกียจของสหธรรมิก เพราะการไปเที่ยว ได้ชื่อว่า โคจรสัมปันโน แปลว่า ถึงพร้อมด้วยโคจร เป็นหลักคู่กับมารยาท ในสีลนิทเทส คือ หัวข้อที่อธิบายเรื่องศีล รวมเรียกว่า อาจารโคจรสัมปันโน แปลว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร เป็นคู่กับ คุณบทว่า สีลสัมปันโน ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร ย่อมประดับพระศาสนาให้รุ่งเรือง อันนี้เป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เรื่องอโคจร ปรากฏในวินัยมุข เล่ม 2 กัณฑ์ที่ 22 [/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] นี่สำหรับ ปริวัชชนะ การเว้นสถานที่ที่ควรเว้น บุคคลที่ควรเว้นสำหรับภิกษุ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Courier New, Courier, mono] สำหรับฆราวาสทั่วไป อโคจรของฆราวาส คือ สถานที่ที่ไม่ควรไปและบุคคลที่ไม่ควรคบ สถานที่ที่ไม่ควรไป เช่นว่า ร้านสุรา หรือโรงสุรา โรงฝิ่น สถานการพนัน สำนักโสเภณี ท่านดูอบายมุข 4 อบายมุข 6 ก็ได้ สถานที่สำหรับคนเที่ยวกลางคืน สถานที่ก่อให้เกิดอันตรายและปัญหามาก สิ้นเปลืองเงินทอง สถานที่ เล่นการพนัน มีอบายมุขทุกประการก็เป็นสถานที่อโคจรของฆราวาส[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] สำหรับบุคคลที่เป็นอโคจร ก็คือบุคคลที่ไม่ควรคบ ก็คือคนชั่ว หรือมิตรชั่ว ซึ่งเป็นอบายมุขข้อหนึ่งในอบายมุข 6 คือ การคบมิตรชั่ว เป็นอบายมุข ควรละเว้น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] สำหรับคนที่ไม่ควรคบ พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงไว้หลายจำพวก ดูจากพระไตรปิฎกว่าพระพุทธเจ้าตรัสอะไรไว้บ้างเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ ขอพูดเป็นตอนๆ ไปนะครับ[/FONT]


    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] บุคคล 3 จำพวก มีดังต่อไปนี้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 1. เป็นผู้มีจิตเหมือนแผล อรุกูปมจิตฺโต[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 2. บุคคลผู้มีจิตเหมือนสายฟ้า วิชฺชูปมจิตฺโต[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 3. บุคคลผู้มีจิตเหมือนเพชร วชิรูปมจิตฺโต[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] พวกที่ 1 หมายถึง ผู้มีจิตมักโกรธ เต็มไปด้วยความคับแค้น ใครว่ากล่าวนิดหน่อยก็โกรธ กระทบกระทั่งไม่ได้ คล้ายบุคคลที่เป็นแผลมาก่อน เนื้อเป็นแผลถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบกระแทกเพียงเล็กน้อย ก็เจ็บมาก บุคคลที่มีจิตเปรียบเหมือนเป็นแผล[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] พวกที่ 2 ทรงหมายถึงบุคคลผู้รู้อริยสัจตามความเป็นจริง คล้ายสายฟ้าที่แลบเพียงแวบเดียวในภาวะอันธกาล ทำให้เห็นรูปได้ สายฟ้าแวบเดียว ก็ทำให้เห็นอะไรได้เยอะเลย[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] พวกที่ 3 ทรงหมายถึงบุคคลผู้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ หาอาสวะมิได้ เจโตวิมุตติ คือ หลุดพ้นด้วยกำลังญาณ และก็มาต่อวิปัสสนา ทำให้เกิดปัญญาวิมุตติ ก็แปลว่า ได้ 2 อย่าง คือ ได้ทั้งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ คือ สิ้นกิเลส และก็เป็น อุภโตภาควิมุตติ เป็นผู้หลุดพ้นโดยส่วนทั้ง 2 คือ ทั้งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] บุคคลอีก 3 จำพวก มีดังนี้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 1. บุคคลที่ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 2. บุคคลที่ควรคบ ควรเข้าใกล้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 3. บุคคลที่ควรเข้าใกล้ ควรคบ และควรเคารพสักการะ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] พวกที่ 1 หมายถึง บุคคลผู้เลวกว่าเราทั้งโดยศีล ทั้งโดยสมาธิ ทั้งโดยปัญญา แต่ทรงมีข้อยกเว้นอยู่อย่างหนึ่งว่า หากจะคบหรือเข้าใกล้ ก็ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะอนุเคราะห์เขา เอ็นดูเขา เพื่อชักนำให้เขามีศีล สมาธิ และปัญญา ดีขึ้นอันนี้ทรงอนุญาตให้คบได้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] พวกที่ 2 หมายถึง บุคคลผู้เสมอกับเราทั้งโดยศีล สมาธิ และปัญญา ทรงอธิบายว่าทั้งนี้เพื่อจักได้สนทนากันด้วยเรื่องศีล สมาธิ และปัญญา[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] พวกที่ 3 หมายถึง บุคคลที่ยิ่งกว่าเราโดยศีล สมาธิ และปัญญา คบบุคคลเช่นนั้นไว้เพื่อจะยังศีล สมาธิ และปัญญา ที่ยังไม่สมบูรณ์ให้สมบูรณ์ พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องนี้เอาไว้ในตอนท้ายของพุทธพจน์ว่า บุคคลคบคนเลวก็จะเลวลง คบคนเสมอกันก็ไม่เสื่อม คบคนประเสริฐกว่าย่อมดีขึ้นโดยพลัน ฉะนั้นผู้มีปัญญาพึงคบคนที่ยิ่งกว่าตนโดยคุณธรรม[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ชุดที่ 3 บุคคลอีก 3 จำพวก มีดังนี้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 1. บุคคลที่ควรรังเกียจไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 2. บุคคลที่ควรวางเฉยไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 3. บุคคลที่ควรคบ ควรเข้าใกล้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] พวกที่ 1 หมายถึง บุคคลทุศีล มีธรรมอันทราม มีกรรมที่ต้องปกปิด ถ้าหากคบบุคคลเช่นนั้นเข้าอาจได้รับตัวอย่างไม่ดี หรือมิฉะนั้นก็จะมี ชื่อเสียงฟุ้งไปว่ามีมิตรเลวหรือสหายเลว เปรียบเหมือนงูที่ตกลงไปในหลุมคูถ เมื่อใครจับเข้าก็อาจจะกัดผู้นั้นถึงตาย หากไม่กัด มือของผู้นั้นก็ต้องเปื้อน คูถอย่างแน่นอน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] พวกที่ 2 หมายถึง ผู้มักโกรธ มากไปด้วยความคับแค้น ใครคบเข้าก็เดือดร้อนมาก เหมือนเอาไม้สั้นไปตีหลุมอุจจาระหรือหลุมคูถก็กระเด็นถูกคนตี[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] พวกที่ 3 หมายถึง บุคคลผู้มีศีลดี มีธรรมงาม ใครคบเข้าย่อมจะได้ตัวอย่างที่ดี หากมิได้ดำเนินตามตัวอย่างที่ดีนั้น ก็ยังมีชื่อเสียงอันดีฟุ้งว่ามีมิตร[/FONT]
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>[FONT=Courier New, Courier, mono]ดี มีสหายดี[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] นี่เป็นบุคคลที่ควรคบหรือไม่ควรคบอย่างใด เป็นปริวัชชนะ หรือควรจะเข้าไปคบหาสมาคม ก็มีบุคคลบางพวกที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลที่ควรเข้าใกล้ ควรคบ และควรเคารพสักการะด้วย ซึ่งทรงหมายถึงบุคคลที่มีศีล มีสมาธิ และมีปัญญาดี เมื่อคบแล้วก็ทำให้ศีล สมาธิ และปัญญา หรือคุณธรรมต่างๆ ของเราดีขึ้น บุคคลอย่างนี้ก็เป็นบุคคลที่ควรคบ เป็นโคจร ไม่ใช่เป็นอโคจร สำหรับเราควรเข้าไปหาด้วยความเคารพนับถือ เชื่อฟัง ทำให้ได้อะไรเยอะเลย ทำให้ได้ในสิ่งที่ไม่คิดว่าจะได้ จากการที่ได้คบคนดี เว้นคนชั่ว[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    </TD><TD vAlign=top>
    [FONT=Courier New, Courier, mono][​IMG][/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ในมงคลท่านก็ห้ามไม่ให้คบคนชั่ว ให้คบคนดี บูชาคนที่ควรบูชาตั้งแต่ชุดแรกของมงคล 38 ประการ 3 อย่างนั้นถือว่าเป็นมงคลอันสูงสุด[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ฉะนั้นก็ปริวัชชนะคือการเว้นสถานที่หรือ สิ่งที่ควรเว้น ไปในสถานที่ที่ควรไป และบุคคลที่ควรคบหา สมาคม ตามที่กล่าวมานี้ก็เป็นข้อหนึ่งใน 7 ข้อ ที่จะเป็นเหตุให้มีอาสวะน้อยลง เป็นไปเพื่อการละอาสวะ เป็นอุบายในการพัฒนาจิตหรือวิญญาณไปสู่ความบริสุทธิ์[/FONT]


    <!-- </p>-->
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    [FONT=Courier New, Courier, mono]6. วิโนทนะ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ประการที่ 6 วิโนทนะ แปลว่า บรรเทา[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] คำว่า บรรเทา ในที่นี้ พระพุทธองค์ได้ทรงอธิบายว่าหมายถึง การบรรเทาวิตก 3 ต่อไปนี้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 1. กามวิตก ความตรึกในเรื่องกาม[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 2. พยาบาทวิตก ตรึกในเรื่องพยาบาท[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 3. วิหิงสาวิตก ตรึกในเรื่องการเบียดเบียน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ให้บรรเทาความตรึกหรืออกุศลวิตกเหล่านี้เสีย เพื่อความบริสุทธิ์ แห่งจิต[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ข้อ 1 การบรรเทากามวิตก[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] กามวิตก คือ ความตรึกเรื่องกาม คำว่ากามในภาษาธรรมะมี ขอบเขตกว้างกว่าภาษาชาวบ้านทั่วไป ภาษาชาวบ้านพอพูดถึงเรื่องกามก็มักจะนึกถึงเรื่องทางเพศ เป็น Sexsual desire ความต้องการหรือความเพลิดเพลินในทางเพศ แต่คำว่ากามในความหมายทางธรรมะมี ความหมายกว้างกว่านั้นมาก คือ มีความหมายไปถึงสิ่งที่น่าใคร่ น่าปรารถนา ทั้งปวงในโลก ซึ่งปรากฏในทางสื่อ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ล้วนแต่เป็นกาม อิฏฐา ตัณหา มนาปา น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ รูปา สัทธา คันธา รสา โผฏฐัพพา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ อันใดในโลก อันนั้นคือกาม ซึ่งโดยทั่วไปก็จะกล่าวไว้ 2 อย่าง คือ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 1. วัตถุกาม หรือกามวัตถุ หรือที่ตั้งแห่งกาม วัตถุกาม ก็คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 2. กิเลสกาม คือ ตัวความใคร่นั่นเอง ซึ่งอยู่ที่ใจ อยู่ภายในใจอันนั้นเรียกกิเลสกามหรือกามกิเลส กามที่เป็นตัวกิเลส[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] วัตถุกามนั้นเป็นสื่อให้เกิด มันไม่ใช่ตัวกิเลสโดยตรง แต่เป็นสื่อให้เกิดกิเลสกามขึ้นมา[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ท่านสอนให้บรรเทากามวิตก ความตรึกเรื่องกาม คือโดยปกติจิตใจ ของคนมันก็จะเป็นไปในสิ่งที่น่าใคร่ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ยตฺถ กามนิปาตินํ มักจะตกไป ในอารมณ์ที่น่าใคร่ เมื่อเป็นอย่างนั้น ถ้าเผื่อไม่ต้องการ ก็บรรเทา มีวิธีการมากมายที่จะบรรเทา เช่น พิจารณาถึงโทษของมัน สิ่งใดที่ให้ความสุข ความรื่นรมย์กับเราได้ มันก็ให้ความทุกข์โทมนัสกับเราได้เหมือนกัน สุขโสมนัสอันใดเกิดจากกาม อันนั้นเรียกว่า คุณของกาม ทุกข์โทมนัสอันใดเกิดจากกาม อันนั้นก็เป็นโทษของกาม ให้มองเห็นทั้งด้านคุณและด้านโทษ การที่จะบรรเทาให้เบาบางลงไปก็จะทำได้ง่าย เมื่อพิจารณาเห็นโทษก็จะทำได้ง่าย ส่วนมากคนเรามักมองด้านเดียว ถ้าเห็นอะไรเป็นคุณก็มองแต่ด้านคุณ ไม่มองด้านโทษ ถ้ามองอะไรเป็นโทษ ก็มองแต่ด้านโทษ ไม่มองด้านคุณของมัน ที่จริงสิ่งในโลกนี้มันมีทั้งคุณและโทษปะปนกันอยู่ แล้วแต่เราจะมองในด้านใด มองในคุณก็มีคุณอยู่ มองในด้านโทษก็มีโทษอยู่[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เคยคุยกับเด็กนักศึกษาวัยรุ่นเกี่ยวกับความรัก เพราะเด็กในวัยนั้นมักจะหมกมุ่นอยู่กับความรัก ไม่ใช่น้อยทีเดียว แม้จะศึกษาเล่าเรียน แต่ จิตใจเขาแวะเวียนไป หรือตกไปในเรื่องของความรักความใคร่อยู่เสมอ เมื่อเขามาปรึกษาในเวลาที่ผิดหวังก็บอกว่าให้นึกถึงโทษว่า นี่คือโทษที่ปรากฏชัดเจนอยู่แล้ว ทำไมไม่พิจารณา ทำไมจึงไปมองทางอื่นเสีย นี่เห็นชัดๆ อยู่แล้ว[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] คือว่าบางคราวเขาก็ให้ความสุขแก่เรา บางคราว เขาก็ให้ความทุกข์แก่เรา ให้ความกังวลแก่เรา อะไรทำนองนี้ ก็แนะนำไป ให้ทำบัญชีดูว่าส่วนดีมีเท่าไหร่ ส่วนที่เป็นโทษมีเท่าไหร่ ทีนี้ถ้าเผื่อมันเท่ากัน อะไรก็เจ๊ากันไป เมื่อได้คบหาสมาคมกัน ก็ได้ประโยชน์ต่อกันไป ถ้าต้องพลัดพรากจากกันไป ส่วนที่เป็นโทษก็หายไปด้วย ส่วนที่เป็นคุณมันก็หายไป เขาเศร้าโศกเสียใจ เพราะมองแต่ที่เป็นคุณ แต่ว่าส่วนที่เป็นโทษก็มีอยู่ เมื่อหายไปก็หายไปทั้ง 2 ส่วน คือ ทั้งส่วนที่เป็นคุณและส่วนที่เป็นโทษ ถ้ามองเห็นทั้ง 2 ส่วนแบบนี้ เราก็สามารถที่จะ positive thinking ได้ คือ คิดไปในทางบวกได้ตลอดเวลาว่า เออ มันก็ดีเหมือนกัน ทำนองนั้น อะไรเกิดขึ้นในชีวิต เราก็มองส่วนดีได้ จิตใจก็จะสบาย คือ ปรับใจได้เร็ว บางคนก็พูดถึงว่า remote control คือ สามารถจะเปลี่ยนช่องได้ตามที่ต้องการ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ขอเล่าเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องเหล่านี้สักหน่อย พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องกามวิตกหรือกามคุณ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] คราวหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี พวกภิกษุเข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถีแต่เช้า เมื่อยังเช้าอยู่จึงแวะเข้าไปในอาราม ของปริพาชกเพื่อสนทนาด้วย หรือว่าเพื่อรอเวลาอันสมควรในการไปบิณฑบาต เมื่อสนทนาปราศรัยถามทุกข์สุขพอสมควรแล้ว พวกปริพาชกได้กล่าวว่า[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] พระสมณโคดม คือหมายถึงพระพุทธเจ้า ตรัสการกำหนดรู้รูป กำหนดรู้กาม กำหนดรู้เวทนา พวกเราก็กล่าวเช่นนั้นเหมือนกัน อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างของเรากับของพระสมณโคดม[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] คำว่า กำหนดรู้ ในที่นี้หมายถึง การทำความเข้าใจอย่างถูกต้อง เช่น ทำความเข้าใจในเรื่องโทษของ กาม เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ภิกษุเหล่านั้นไม่โต้ตอบด้วยกับปริพาชกเหล่านั้น คิดว่าจะกลับไปถามพระศาสดาดีกว่า เมื่อกลับจากบิณฑบาตแล้วจึงทูลถามพระศาสดาในเรื่องนี้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอควรจะถามปริพาชกเหล่านั้นว่า อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของกาม อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษของรูป ของเวทนา แล้วก็จะถ่ายถอนตนออกจากสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร คือว่าทำอย่างไรจึงไม่ติดไม่ยึดมั่นกับสิ่งเหล่านั้น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] พระพุทธเจ้าตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อถามอย่างนี้พวกปริพาชกจะต้องอึดอัดคับแค้นแน่นอน ตอบไม่ได้ เพราะว่าไม่ใช่วิสัยของพวกเขาที่จะตอบได้ แม้ใครๆ ในโลกก็ตอบไม่ได้ นอกจากพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต หรือผู้ที่ได้ยินได้ฟังจากทั้ง 2 แหล่งนี้เท่านั้น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ต่อจากนั้นก็ทรงแสดงคุณและโทษของกาม รูป และเวทนา พร้อมทั้งการถ่ายถอนตนออก อุบายวิธีในการสลัดตนออก มีใจความสำคัญ ดังนี้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] กาม กามคุณ คือ กลุ่มกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือสิ่งสัมผัสอันน่าใคร่น่าปรารถนา น่าพอใจ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด สุขโสมนัสอันใดเกิดเพราะอาศัยกามคุณ 5 สุขโสมนัสอันนั้นแหละเป็นคุณของกาม ท่านใช้คำว่า กามัสสาทะ หรือรสของกามคุณ อันนั้นแหละเป็นคุณของกาม อันนี้ขอให้ท่านผู้ฟังกำหนดให้ดีนะครับ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ส่วนโทษของกาม ที่เรียกว่า กามาทีนวะ นั้น ทรงแสดงไว้มาก แต่เมื่อกล่าวโดยสรุปก็คือว่า ทุกข์ โทมนัสอันใดเกิดจากกาม เกิดเพราะกามเป็นเหตุ นั้นถือว่าเป็นโทษของกาม[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ทุกข์ คือ ทุกข์ทางกาย โทมนัส คือ ทุกข์ทางใจ สุข คือ สุขทางกาย โสมนัส คือ สุขทางใจ สุขนี่ถ้ามาโดดๆ ไม่มีโสมนัสตามมาด้วย ให้หมายถึงสุขทั้งทางกายทางใจ แต่ถ้ามีโสมนัสตามมาด้วย สุขนั้นหมายถึง สุขทางกาย โสมนัส หมายถึง สุขทางใจ ทุกข์ก็เหมือนกัน ถ้ามาโดดๆ ไม่มีโทมนัสตามมาด้วย ทุกข์นั้นให้หมายถึง ทุกข์ทางกายและใจ แต่ถ้ามีโทมนัส ตามมาด้วย ทุกข์ให้หมายถึง ทุกข์กาย โทมนัส หมายถึง ทุกข์ใจ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ฉะนั้น ทุกข์โทมนัสอันใดเกิดขึ้นเพราะกาม อันนั้นถือว่าเป็นโทษของกาม เช่น ต้องตรากตรำทำงานหนัก เพราะทนต่อเหลือบยุง ลมแดด สัตว์เลื้อยคลานเป็นกองทุกข์ที่เห็นอยู่อย่างชัดแจ้ง นี่เพราะกรรมเป็นเหตุ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ถ้างานที่ทำนั้นไม่ได้ผลสำเร็จตามที่หวังไว้ บุคคลก็ย่อมจะเศร้าโศก ลำบาก คร่ำครวญรำพันว่า ความเพียรของเราสูญเปล่า ดังที่พระพุทธเจ้าเคยไปโปรดพราหมณ์คนหนึ่งที่นาล่ม คือ ทำงานด้วยความบากบั่นพากเพียร ตั้งแต่เตรียมดิน เตรียมพันธุ์ข้าว ไถ คราด หว่าน ดำ ข้าวกล้าก็เจริญ เติบโตพอสมควรแล้ว เกิดน้ำหลากนาล่มหมดเลย ร้องไห้คร่ำครวญเสียดายมาก พระพุทธเจ้าก็เสด็จไปเยี่ยม ตรัสปลอบใจ เพราะว่าเสด็จไปทำความ คุ้นเคยตั้งแต่เขาเริ่มทำนาแล้ว ทรงทราบว่าต่อไปข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ทรงปลอบให้เขาหายโศก[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ในอาชีพอื่นๆ ก็เหมือนกัน ไม่ใช่เฉพาะทำนา อาชีพอื่นๆ ก็ลงทุน ไปเยอะแยะและก็ล้มเหลว พวกเล่นหุ้นล้มเหลว กระโดดตึกตายไปก็มี พวกห้างร้านลงทุนไปมาก มีเหตุการณ์ต่างๆ ทำให้ผลงานไม่บังเกิด หรือว่าขาดทุนย่อยยับ ต้องฆ่าตัวตายบ้าง ไปฆ่าผู้อื่นบ้าง ที่คิดว่ากลั่นแกล้งให้ตัวได้รับความลำบาก เหล่านี้เป็นต้น ต้องตรากตรำทำงานหนัก บางทีก็เพื่อจะได้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่น่าพอใจ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] นักเรียนก็ต้องเรียนอย่างหนัก ก็เคยถามนักเรียนผู้หญิงว่า ทำไมต้องเรียนหนังสือมากมายขนาดนี้ เขาบอกว่าต่อไปเพื่อจะได้มีสามีดีๆ บางคนก็บอกว่า เพื่อจะได้งานทำดีๆ ถามว่า ได้งานทำเพื่ออะไร บอกว่าเพื่อจะได้เงินเยอะๆ ถามว่า หาเงินไปทำอะไร บอกว่าเพื่อไปได้กิน ไปได้ซื้อ ได้ทำนั่นทำนี่ตามต้องการ ก็รวมอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะทั้งนั้น สิ่งที่เขาต้องการก็รวมอยู่ในกามคุณหรือกามวัตถุ หรือวัตถุกามทั้งนั้น ฉะนั้นจึงต้องตรากตรำทำงานหนัก เพื่ออานิสงส์เป็นกามคุณ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] นักพรตบางพวกในสมัยพระพุทธเจ้า บำเพ็ญตบะต่างๆ พระพุทธเจ้าทรงถามว่าต้องการอะไร ก็บอก ว่าเพื่อไปเกิดบนสวรรค์ บนสวรรค์มีอะไร ก็มีรูป เสียง กลิ่น รสที่เป็นทิพย์ เอาเป็นว่าต้องการกามารมณ์ เป็นผล เป็นอานิสงส์นั่นเอง ที่ต้องบำเพ็ญตบะมากมายถึงขนาดนั้น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] บางทีแม้แต่ชาวบ้าน แม้แต่ในหมู่พระสงฆ์ที่ ทำอะไรต่ออะไรมากมาย บางคนนะครับไม่ใช่ทั้งหมดก็ เพื่ออานิสงส์เป็นวัตถุ เพื่อให้ได้วัตถุ เพื่อให้ได้ทรัพย์สิน เพื่อให้ได้อะไรต่างๆ มาสนองความต้องการ อันนี้ก็มองเห็นชัด มองด้วยปัญญาจักษุให้ดี ก็จะเห็นชัดมาก[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เมื่อตรากตรำทำงานหนัก ได้ทรัพย์มาแล้วก็เป็นทุกข์ด้วยการรักษาไม่ให้พินาศไปด้วยเหตุต่างๆ เช่นว่า โจรปล้น ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือทายาทอันไม่เป็นที่รักมาฉกฉวยไป ถ้าทายาทเป็นที่รักก็ไม่เป็นไร เต็มใจจะให้อยู่แล้ว เรื่องทายาทนี่ก็ยุ่งๆ เหมือนกัน ถ้าไม่มีสมบัติก็ไม่ยุ่ง เคยเห็นมาหลายราย พ่อแม่มีสมบัติมาก ลูกมีหลายคนแบ่งกันแล้วก็มักไม่เป็นที่พอใจของผู้ที่ได้รับ ถ้านึกเสียว่าท่านให้เรามาแต่ตัว ให้แต่ชีวิตมา ใครอยากได้อะไรอย่างอื่นก็เอาไป แต่มันก็ทำใจยาก ถ้าเผื่อมันมี มันล่ออยู่ข้างหน้า คนที่ไม่มีทรัพย์สินอะไรของพ่อแม่ ก็คงพูดได้ แต่ถ้าพอมีอะไรมายั่วอยู่ข้างหน้า มันเป็นกามคุณ เป็น อิฏฺฐา กนฺตา มนาปา น่าใคร่ น่าพอใจ ทรัพย์สินสมบัติต่างๆ มากมาย เขาคิดว่า เขาได้แล้วมันจะสบาย ทำนองนั้น พูดไปก็ไม่สิ้นสุดนะครับ แต่ว่าถ้าใครทำใจให้สันโดษได้ มีเท่าไหร่ก็เท่านั้น ยินดีเท่าที่ได้ ยินดีตามกำลัง ยินดีตามสมควร ทำใจสันโดษได้ ก็สงบสบาย ถ้าไม่ได้ ก็เดือดร้อนแย่งชิงกันไป และตามที่โบราณว่า สมบัติผลัดกันชม เราก็ชมอยู่ได้ไม่เท่าไหร่ เราก็ทิ้งไว้ให้คนอื่นชมต่อไป ยิ่งมีมากมันก็ยิ่งชมไม่หมด ต้องทิ้งให้คนอื่นชม[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] พระพุทธเจ้าตรัสต่อไป เพราะกามเป็นเหตุ พระราชาก็ทะเลาะกับ พระราชา มหาอำมาตย์ก็ทะเลาะกับมหาอำมาตย์ เสนาบดีทะเลาะกับเสนาบดี มารดาบิดากับบุตร พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิงแก่งแย่งทะเลาะวิวาทกัน ประหัตประหารกัน แย่งทรัพย์สินกัน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] สิ่งเหล่านี้เป็นวัตถุกาม การศึกษาของเราส่วนมากก็มีอานิสงส์ มีผลสำเร็จเป็นวัตถุ คือ ทำอย่างไรมันถึงจะได้วัตถุมาก เรื่องการที่จะทำงานเพื่อพัฒนาจิตใจ ก็ไม่ค่อยมี ส่วนมากก็จะมุ่งไปที่ความสำเร็จ ที่วัตถุว่าใครได้มากได้น้อยเท่าไหร่ ไม่ได้วัดความสำเร็จกันที่ความสงบสุข ก็น่าเสียดายที่ชีวิตขาดสิ่งสำคัญไป เพราะไปตั้งเข็มไว้ผิด ไปตั้งจิตไว้ผิด[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เพราะกามเป็นเหตุ มีการเข้าสู่สงครามด้วยการทำลายล้างต่างๆ ตายบ้าง บาดเจ็บบ้าง นี่ก็ดูสงคราม ที่มีอยู่ในประเทศต่างๆ ติมอร์ตะวันออก มีข่าวทุกวัน ไม่รู้ว่าเขาต้องการอะไร ต้องการครอบครองดินแดน ดินแดนนั่นมันมีอะไรเขาก็เลยต้องการ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] สมมติว่าเรามีเพชรติดตัวอยู่มากมาย เราก็ถูกฆ่า ไม่ใช่เขาฆ่าเพื่อจะเอาตัวเรา เขาฆ่าเพื่อจะเอาเพชร ถ้าไม่มีเพชรติดตัว เขาก็ไม่รู้จะเอาอะไร นอกจากเขาจะโกรธเรา เกลียดเรา นั่นก็คือวัตถุกามนั่นเอง คนก็ยอมทำทุจริตต่างๆ ก็เพื่อวัตถุกาม เข้าสู่สงคราม ทำลายล้างกันด้วยอาวุธต่างๆ ตายบ้าง บาดเจ็บบ้าง มากมาย นับไม่ไหว เพราะกามเป็นเหตุ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] มนุษย์จำนวนมากประพฤติทุจริต ด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อสิ้นชีพแล้วก็เข้าถึงนรก มนุษย์จำนวนมากทุจริตในหน้าที่ เพียงเพื่ออยากได้ทรัพย์ อยากได้ตำแหน่ง อยากได้อะไรต่ออะไร ก็คอร์รัปชั่นมากมาย เพียงเพื่อจะได้ทรัพย์ จะได้สิ่งที่นำมาบำรุงบำเรอ คิดดูแล้วก็น่าสังเวชในความเป็นไปในสังคมในชีวิตมนุษย์ บางพวกก็ร่ำรวยเหลือเกิน เพราะว่ามีโอกาสมาก แต่บางพวกที่นอนอยู่ตามถนน เที่ยวหากินตามกองขยะก็มี ก็คิดดูให้ดีว่าจะกอบโกยกันไปเท่าไหร่ ถ้าคิดถึงคนอื่นให้มาก เราก็กอบโกยมากไม่ได้ มันละอายที่จะทำอย่างนั้น มันนึกถึงเพื่อนมนุษย์ที่ลำบากอยู่มากมาย เราจะมีความสุขอยู่บนความทุกข์ของผู้อื่นอย่างไร หรือว่าเราจะผูกเปลบนกองไฟได้อย่างไร คงทำไม่ได้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] พระพุทธเจ้าทรงแสดงต่อไปว่า การถ่ายถอนกาม ก็คือ การกำจัดการละความพอใจ ความกำหนัด ฉันทะราคะในกามทั้งหลาย ท่านผู้ฟังโปรดขยายคำว่ากามออกไปให้ไกล ให้กว้างนะครับ ว่าหมายถึงสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่น่าใคร่น่าพอใจ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] สมณพราหมณ์เหล่าใดไม่รู้คุณและโทษของกาม ไม่รู้การถ่ายถอนตนออกจากกาม พวกนั้นนะหรือจะกำหนดรู้ได้ด้วยตนเอง หรือว่าจะสามารถชักจูงผู้อื่นเพื่อกำหนดรู้กามทั้งหลายได้ ย่อมเป็นไปไม่ได้ ส่วนสมณ-พราหมณ์เหล่าใดรู้คุณและโทษของกาม และรู้การถ่ายถอนตนออกจากกาม พวกเขาก็จะสามารถกำหนดรู้กามด้วยตนเอง และสามารถชักจูงผู้อื่นให้รู้เช่นนั้นด้วย[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ต่อจากนั้น พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงคุณและโทษของรูป โดยใจความสำคัญว่าเมื่ออยู่ในวัยหนุ่มสาว บุคคลก็จะมีรูปงามเป็นหลัก ความงามเปล่งปลั่งนั้นเองเป็นคุณของรูป แต่ต่อมาเมื่อความแก่ชราเข้าครอบงำ อายุ 80 - 90 ปี เป็นคนแก่มากมีซี่โครงคดงอ ถือไม้เท้ากระงกกระเงิ่น เดินไปกระสับกระส่าย ฟันหลุด ผมหงอก ศีรษะล้าน เนื้อเหี่ยว ตัวตกกระ นี่คือโทษของรูป หรือ 50 - 60 ปี ก็เห็นทุกข์ของรูปแล้ว ยิ่งแก่มากลงเท่าไหร่ รูปขันธ์มันก็แย่ลงเท่านั้น นามขันธ์อาจจะดีขึ้น พัฒนาจิต พัฒนาวิญญาณอาจจะดีขึ้น สะอาดขึ้น ผ่องใสขึ้น แต่สิ่งที่ต้องแย่ลงแน่ๆ ก็คือ รูปขันธ์ ร่างกาย[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] บางคนก็แย่มาตั้งแต่อายุน้อยๆ คนพิการก็ได้เห็นโทษของรูปมาแต่อายุยังน้อย[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] มันมีรสของรูปเล็กๆ น้อยๆ แฝงอยู่ ก็ทำให้ติดใจและหลงในรูป ก็ไม่ได้เห็นโทษของมัน ยิ่งไม่ได้สำเหนียกก็ยิ่งไม่เห็นโทษของมัน พยายาม จะหาอะไรมาปกปิด มาตกแต่ง มาทำให้เดือดร้อนมากขึ้น วันๆ ก็เดือดร้อนอยู่กับรูปกาย เป็นทาสของมัน เพียงแต่ไม่ต้องแต่งก็ยุ่งยากอยู่แล้วทั้งวัน นี่โทษของรูป ต้องให้กินให้ดื่ม ต้องเจ็บต้องปวดทั้งวัน ยิ่งอายุมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งเห็นมากเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ยิ่งกว่านั้น บางคราวเมื่อเจ็บป่วยหนักช่วยตัวเองไม่ได้ นอนซม อุจจาระปัสสาวะของตัวเหมือนเด็กอ่อน และต้องให้คนอื่นพยุงลุกพยุงนั่ง ต้องประคับประคองกัน นี่ก็เป็นโทษของรูป[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] วันนี้ก็มีลูกศิษย์คนหนึ่งมาเล่าให้ฟังว่า คุณย่า อายุ 101 ปี ตอนนี้ก็ลำบากมาก รูปขันธ์ลำบาก อายุมากก็เป็นไปตามนั้น มันจะให้ดีไม่ได้ ต้องทรุดโทรมไปตามเรื่องตามราว มันหมดสภาพที่จะใช้งาน เหมือนรถยนต์หมดสภาพก็แย่ไปเอง[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] อะไรเป็นคุณของเวทนา[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เมื่อใดจิตใจสงบ ปราศจากเรื่องความตรึกของกามหรืออกุศลต่างๆ เมื่อนั้นก็ไม่คิดทำลายผู้อื่น เวลานั้นบุคคลผู้นั้นย่อมจะเสวยเวทนาอันไม่มีความเบียดเบียนเลยทีเดียว นี่คือคุณของเวทนา[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] คุณของเวทนามีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง หมายความว่าความไม่เบียดเบียนเป็นความสุขอย่างยิ่ง เทียบพระพุทธภาษิตที่ว่า อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก ความไม่เบียดเบียนเป็นความสุขในโลก ในพระสูตรนี้พระพุทธเจ้าตรัสเป็นความสุขในฌาน 4 ว่าเป็นคุณของเวทนา คือ ได้เสวยสุขเวทนา อันเป็นความสุขจากความสงบในฌาน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ส่วนโทษทางเวทนาก็ตรัสว่า เวทนาเป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี่ก็คือโทษของเวทนา[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ในที่บางแห่งตรัสว่า ให้เห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ ให้เห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศรเสียบแทง และให้เห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยเป็นความ ไม่เที่ยง[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] การถ่ายถอนรูปและเวทนา[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นวิธีเดียวกันกับวิธีถ่ายถอนกาม คือ การกำจัดและการละฉันทะในรูปและเวทนานั้นเสีย คือ เฉยกับมันเสีย[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เมื่อพิจารณาดูให้ดี เรื่องกามเรื่องเวทนาก็เป็นเรื่องใหญ่ มันทำให้มนุษย์ต้องดิ้นรน เร่าร้อน รำพัน เหน็ดเหนื่อย ทุกข์ยาก ยุ่งเหยิงนานาประการ วัยหนุ่มสาวก็เป็นวัยที่กำหนัดในกามรุนแรง กามนั้นก็มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นเหยื่อล่อก่อให้เกิดสุขเวทนาเพียงเล็กน้อย แล้วก็ก่อให้เกิดทุกข์เกิดโทษมากมายยืดเยื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่ได้กำหนดรู้โทษของมัน มองเห็นแต่คุณของมันเพียงเล็กน้อย เหมือนปลาที่ติดเบ็ด เพราะเห็นแก่เหยื่อเล็กน้อยที่ติดอยู่กับเบ็ด พอติดเบ็ดแล้วก็มีความทุกข์มากมายจนถึงเสียชีวิต ก็มีปลาน้อยตัวนักที่ฉลาดกินแต่เหยื่อโดยไม่กลืนเบ็ดเข้าไป คนในโลกนี้ก็เหมือนกัน มีน้อยคนที่จะเกี่ยวข้องกับกามคุณโดยไม่เป็นทุกข์ หรือว่าเกี่ยวข้องโดยที่มีทุกข์น้อยที่สุด คือ เป็นผู้รู้เหมือนปลาที่ฉลาด ในการนี้ก็ต้องใช้คุณธรรมคือปัญญาเป็นหลัก ใช้สติ ใช้โยนิโสมนสิการเป็นเครื่องมือในการพิจารณา ใช้ความไม่ประมาทเป็นทางดำเนิน ถ้ายังเกี่ยวข้องอยู่กับกามคุณ ให้เกี่ยวข้องโดยมีทุกข์น้อยที่สุด[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ก็เป็นอย่างนี้ คือ มันมีความสุขเล็กๆ น้อยๆ อยู่ ก็ทำให้คนไม่รู้โทษของมันเท่าไหร่ ก็เพ่งเล็งแต่เรื่องคุณ ไม่ดูส่วนที่เป็นโทษ ก็ให้ดูทั้งสองอย่าง คือ ส่วนที่เป็นคุณและส่วนที่เป็นโทษ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] นี่คือการบรรเทากามวิตก[/FONT]
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    [FONT=Courier New, Courier, mono]7. ภาวนา[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ภาวนา คือ การอบรม ท่านหมายถึง การอบรมโพชฌงค์ 7[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] โพชฌงค์ แปลว่า องค์ธรรมเพื่อการตรัสรู้ หรือว่าองค์ธรรมเพื่อปัญญาที่เรียกว่า โพธิ โพชฌะ แปลว่า ปัญญา พุชฌะ ธาตุเดียวกับพุทธะ มาจาก รากศัพท์เดียวกับพุทธะ พุชฌะ โพธิ แล้วบวกด้วย อังคะ ก็คือ องค์ ถ้าเป็นบาลีก็จะเป็นโพชฌังโค มาเขียนเป็นไทยก็คือ โพชฌงค์ แปลว่า องค์แห่งปัญญา องค์แห่งธรรมที่ให้เกิดปัญญา องค์แห่งธรรมที่นำไปสู่โพธิ คือการตรัสรู้หรือความรู้แจ้งเห็นจริง โพชฌงค์นี่มีคุณลักษณะพิเศษอยู่อย่างหนึ่ง คือ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ในสมัยพุทธกาล มีเถระบางท่านที่ท่านเจ็บไข้ไม่สบาย แล้วก็เมื่อมีผู้ไปสวดโพชฌงค์ให้ฟังก็ปรากฏว่าหาย บางคราวพระพุทธเจ้าเองก็ทรงอาพาธ และรับสั่งให้สาวกมาสวดโพชฌงค์ให้ทรงสดับก็ทรงหายจาก อาพาธ ประวัติของอันนี้ก็เลยเป็นธรรมเนียมเป็น ประเพณี เป็นอะไรอย่างหนึ่งในสังคมไทยว่า เมื่อคนเจ็บหนักป่วยหนักก็มักจะนิมนต์พระไปสวดโพชฌงค์ ก็หายบ้าง ดีขึ้นบ้าง ตายบ้าง ไม่แน่นอน แต่ว่า พระอรหันต์แต่โบราณนั้นท่านหาย ที่ท่านหายก็เพราะว่าท่านมีคุณธรรมเหล่านี้อยู่พร้อมและท่านก็รู้เรื่อง[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ทีนี้คนธรรมดาฟังก็ไม่รู้เรื่อง คุณธรรมที่เป็นโพชฌงค์ 7 ประการนั้นก็มีบ้างไม่มีบ้าง บางคนก็ไม่รู้จักด้วยซ้ำไป เมื่อเป็นอย่างนี้ การสวดก็เลยไม่ค่อยได้ผล เพราะความไม่เข้าใจไม่รู้ ปีติมันไม่มี นอกจากว่าบางคนเขาอาจจะน้อมใจให้เลื่อมใสในคำสวดนั้น ก็พอไปได้ ถือเอาคำสวดนั้นเป็นอารมณ์ ถ้าเผื่อดับจิตในขณะนั้นก็อาจไปสุคติได้[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] หัวข้อของโพชฌงค์ก็คือ สติ ธัมมวิจยะหรือธัมมวิจัย วิริยะความเพียร ปีติความอิ่มใจ ปัสสัทธิความสงบหรือการผ่อนคลาย สมาธิความ ตั้งใจมั่น หรือจิตใจมั่นคง อุเบกขาความวางเฉย[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] โพชฌงค์ 3 ข้อ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ เป็นปฏิปักษ์ต่อความหดหู่ คือเมื่อใดจิตใจหดหู่ ก็ให้เจริญโพชฌงค์ทั้ง 3 ข้อ ธัมมวิจยะ คือ การเลือกเฟ้นธรรม การใคร่ครวญธรรม วิริยะความเพียร และปีติ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 3 ข้อหลังเป็นปฏิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่าน เมื่อใดเกิดความฟุ้งซ่านขึ้นมาก็ให้เจริญโพชฌงค์ 3 ข้อหลัง ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ส่วนสตินั้นเป็นอุปการะต่อโพชฌงค์ทุกข้อ[/FONT]
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    สรุป

    [FONT=Courier New, Courier, mono] สรุปหัวข้อ สัพพาสวสังวรสูตร สูตรที่ว่าด้วยการละกิเลสละอาสวะด้วยวิธีต่างๆ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 1. การละอาสวะวิธีที่ 1 คือ ละด้วยการเห็น ในที่นี้ท่านหมายถึงเห็นด้วยโยนิโสมนิการ คือ ความคิด ที่แยบคาย ละอโยนิโสมนสิการ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 2. สังวร หมายถึง การสำรวมระวัง ในที่นี้หมายถึง สำรวมระวังจิต ระวังอินทรีย์ทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกายและธรรมารมณ์ สิ่งที่คิดด้วยใจ ครอบงำได้ ดำรงตนเป็นอิสระ จากการครอบงำของ รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น เรียกว่า สังวร คือ สำรวมอินทรีย์ 6[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 3. ละอาสวะด้วยการเสพ หมายถึง การพิจารณาปัจจัย 4 แล้วจึงเสพ หรือบริโภคใช้สอย ไม่บริโภคใช้สอยเพื่อเล่นเพื่อเมา แต่บริโภคใช้สอยปัจจัย 4 ตรงตามจุดมุ่งหมาย คือ ใช้อาหาร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ใช้อาหาร บริโภคเพื่อร่างกายพออยู่ได้ ใช้เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เพื่อปกปิดร่างกายให้ดูเรียบร้อย ป้องกันหนาวร้อน บริโภคอาหารเพียงพอไม่ให้อึดอัด ไม่ให้ เวทนาใหม่เกิดขึ้น คืออึดอัดและบรรเทาเวทนาเก่าคือหิว พิจารณาเห็นโทษของอาหารที่มากเกินไปอยู่เสมอ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ใช้เสนาสนะที่อยู่อาศัย เพื่อป้องกันลมแดดเหลือบยุงสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] กินยาเพื่อบำบัดโรค ไม่ใช่เพื่อร่างกายสวยงาม เรียกว่า เสพปัจจัย 4 ด้วยเหตุผลบริสุทธิ์จริงๆ เพื่อความต้องการขั้นพื้นฐาน หรือขั้นปฐมภูมิเป็น primary need ไม่ใช่เพื่อความต้องการที่เกินจำเป็น ที่เป็น artifi-cial หรือ secondary need[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] อันนี้เป็นกายภาวนา ในภาวนา 4 คือ การอบรมกายให้ดี[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 4. ความอดทน ละอาสวะด้วยความอดทน เรียก อธิวาสนะ 3 อย่าง[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 1) อดทนต่อความหิวกระหาย อดทนหนาวร้อน เรียกธีติขันติ อดทนต่อถ้อยคำต่างๆ ของผู้อื่น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 2) อดทนต่อสิ่งยั่วยวนต่างๆ เรียกว่า ตีติกขา ขันติ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 3) อดทนต่อทุกขเวทนากล้าแข็ง ความเจ็บป่วย แม้จะเบาหรือหนักเพียงไร ก็มีความอดทน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 5. ปริวัชชนะ ละอาสวะด้วยการเว้น คือเว้นสถานที่ที่ไม่ควรไป เรียกว่า อโคจร และเว้นบุคคลที่ไม่ควรคบ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 6. ละอาสวะด้วยการบรรเทา ได้แก่ บรรเทากามวิตก ตรึกเรื่องกาม พยาบาทวิตก ความตรึกในเรื่องพยาบาท วิหิงสาวิตก ความตรึกในเรื่องการเบียดเบียน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] 7. ภาวนา ละอาสวะด้วยภาวนา คือ การอบรม อบรมโพชฌงค์ 7 คือ สติ ธรรมวิจัย การวิจัยธรรม วิริยะ ความเพียร ปีติ ความอิ่มใจ ปัสสัทธิ ความสงบกาย สงบใจ สมาธิ การที่มีจิตใจมั่นคง ตั้งมั่น อุเบกขา ความเฉยในสุขและทุกข์[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เมื่อมีวิธีการทั้ง 7 วิธีนี้อยู่ก็จะละอาสวะได้ด้วยวิธีนั้นๆ ตามสมควร จนสามารถจะละอาสวะได้ จนหมดสิ้น จนเป็นผู้สิ้นอาสวะ เรียกว่า ขีณาสโว หรือพระขีณาสพ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] นี่คือเรื่องการพัฒนาจิต พัฒนาวิญญาณหรือวิญญาณบริสุทธิ์ และวิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่วิญญาณบริสุทธิ์ โดยตามแนวธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ แต่บางทีฟังแล้วยังสูงอยู่[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ตอนนี้ผมจะผ่อนลงมาสักเล็กน้อย เพื่อคนที่ไม่ได้เข้าวัดเข้าวาหรืออยู่ตามบ้านเรือนต่างๆ พอจะนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] วิธีพัฒนาจิตหรือวิญญาณที่พอจะทำได้โดย ทั่วไปก็คือ ประกอบกรรมดีอยู่เสมอ เพื่อให้วิญญาณหรือจิตของเราได้รับอาหารที่บริสุทธิ์ อาหารที่ดีที่สุดของจิตก็คือ กุศลกรรม เป็นอาหารที่ไม่มีโทษ คนประกอบกรรมดีย่อมจะมีความสุขใจ มีกำลังใจดีกว่าคนทำชั่ว[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] พระพุทธเจ้าตรัสว่าคนทำชั่วหาความสุขได้ยาก พระพุทธพจน์มีว่า น หิ ตํ สุลภํ โหติ สุขํ ทุกฺกฏการินา แปลว่า ความสุขอันบุคคลผู้ทำชั่วหาได้โดยง่ายมิได้เลย นี่แปลโดยพยัญชนะนะครับ ความดีส่งคนให้ลอย ความชั่วกดคนให้จมลง ท่านลองนึกดูก็ได้ครับ ถ้าในสถานการณ์เดียวกัน ประสบปัญหาอย่างเดียวกัน ถ้าคนไหนที่ประกอบกรรมดีอยู่เสมอ เขาจะมีกำลังใจดีกว่าคนที่ไม่ได้ทำความดี หรือคนที่ทำความชั่ว มีความมั่นใจอยู่เสมอว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เขาจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี เขาไม่กลัวความเปลี่ยนแปลง เพราะเขาเชื่อผลของกรรมดีว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีแน่นอน[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ส่วนคนที่ไม่แน่ใจในการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วนั้นอาจเป็นเพราะว่าเขาทำดีน้อยเกินไป หรือทำดีนิดหน่อยแล้วก็หวังผลมากเกินไป หรือว่าเขาไม่ได้ละชั่วเสียก่อน แล้วก็ทำดี จึงทำดีไม่ค่อยขึ้น หรือบางคน ก็ทำดีไปด้วย ทำชั่วไปด้วย ความดีความชั่วจึงหักกลบลบกันไปหมด เหลือเป็นศูนย์ บางทีก็ติดลบเสียอีก เพราะความชั่วเห็นง่ายกว่าความดี[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ถ้าจะทำความดีให้ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย จงละความชั่วเสียก่อน ถ้ายังละความชั่วไม่ได้ ก็หวังความดีให้เต็มเม็ดเต็มหน่วยได้ยาก ต้องเตรียมตัวรับ ความผิดหวังไว้บ้าง เช่น ถ้าเราให้ของเด็กแต่ละครั้ง เราก็ด่าเขาให้เจ็บใจเสียก่อนทุกครั้งไป อย่างนี้ก็ได้ผลบ้างแต่ก็มีผลลบติดมาด้วย บางคนมีความรู้ดี แต่ก็มี ความประพฤติร้าย ความรู้นั้นก็ไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร ในหนังสือหิโตปเทศ กล่าวไว้ว่า สิริของคนผู้ดื้อด้าน มีแต่จะตกอับ สิรินี่คือมิ่งขวัญหรือบุญ หรือความดี มีแต่จะตกอับ ไมตรีของผู้กลับกลอก มีแต่จะวิบัติ ผลแห่งความรู้ของผู้ประพฤติร้ายมีแต่จะร่วงหล่น[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ฉะนั้น ถ้าเราทำดีให้เป็น มีความรู้แล้วใช้ให้ เป็นก็จะได้รับผล คุ้มเหนื่อย[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] มีพระพุทธภาษิตว่า ความรู้เกิดแก่คนพาล เพื่อความพินาศของคนพาลอย่างเดียว ความรู้นั้นจะฆ่าส่วนดีของคนพาลเสีย ทำปัญญาของเขาให้ตกไป[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] แต่ถ้าความรู้เกิดแก่คนดี ก็จะเป็นประโยชน์แก่คนดี ฉะนั้น โบราณท่านให้คนเรียนความดีก่อนแล้วค่อยเรียนความรู้ทีหลัง หรืออย่างน้อยก็ควบคู่กันไป แต่ว่าสมัยต่อมาดูเหมือนว่าเราจะไปเร่งเอาความรู้ให้มาก กอบโกยเอาความรู้ให้มาก แต่ละเลยระบบของความดีมากมาย ละเลยมากไป ความรู้เกิดขึ้นกับคนชั่ว มันก็พาไปสู่ความชั่วต่างๆ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ผมเคยนึกถึงคนที่เคยบวชเรียนมานานๆ ควรจะเป็นคนฉลาดในการทำความดี เพราะในคำสอนของพระพุทธเจ้ามีหลักในการทำความดีเยอะ แต่บางคนไม่ได้เป็นอย่างนั้น ไม่ฉลาดในการทำความดี แต่ไปฉลาดในการทำชั่วก็มี เพราะว่าเขาไม่ได้ตระหนักให้เห็นความสำคัญของระบบที่จะทำความดี ไม่ขัดเกลา มีความเห็นแก่ตัวมาก ไม่เอาส่วนที่ดีมาใช้ ที่จริงส่วน ที่ไม่ดี ท่านก็ไม่ได้สอน ทำเอาเอง[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] การพัฒนาจิตหรือวิญญาณให้ดียิ่งขึ้น คือเรา ต้องไม่วิตกต่อการเปลี่ยนแปลงในหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตอยู่เสมอว่า ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลง เราจะต้องเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ไม่ใช่เลวลง[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เรื่องนี้ทำให้เราสบายใจต่อการเปลี่ยนแปลง ได้ทุกๆ กรณี บางเรื่องบางทีสิ่งที่เราได้รับ ดูเหมือนจะเป็นข่าวร้ายสำหรับเรา แต่ว่าพอมองให้ดีจะต้องมีผลดี แอบแฝงในเหตุการณ์เหล่านั้นบ้างไม่มากก็น้อย อย่างน้อย ที่สุดเราก็มีกำไรสุทธิ คือการได้บทเรียนและได้ความรู้จากเหตุการณ์นั้นเอง แม้จะเป็นความผิดพลาดบกพร่องของเรา ก็เป็นประโยชน์และผลกำไรสำหรับใช้วิเคราะห์เหตุการณ์ ให้เรารักษากำลังใจเอาไว้ให้ดี และหมั่น ประกอบกรรมดีเอาไว้เสมอ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ศึกภายนอกเขาสู้กันด้วยกำลังอาวุธ เสบียง กำลังพล แต่ศึกภายในเราต้องสู้กันด้วยกำลังใจ ศึกชีวิต สงครามชีวิต ต้องสู้ด้วยกำลังใจ ถ้ามีกำลังใจอยู่ก็มีหวังชนะ เราจะแพ้ก็เมื่อหมดกำลังใจ บางทีสิ่งที่ดูเหมือนร้ายในเบื้องต้น จะดีในเบื้องปลายก็ได้ [/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ขออย่าได้กลัวความเปลี่ยนแปลงของชีวิต จะต้องนึกมั่นใจอยู่เสมอว่า เราจะต้องเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ใจของเราจะไม่เดือดร้อน เป็นการรักษาจิตอย่างดีที่สุด[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] อีกประการหนึ่ง ขอให้เราฝึกความคิดความสำนึก หรือฝึกจิตของเราให้คุ้นกับสิ่งที่เรียกว่า พหุลา-นุสาสนี คือ คำสอนที่พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนอยู่ เสมอว่า[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] "ทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์ ทนไม่ได้ และทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนที่จะยึดถือได้ บังคับบัญชาไม่ได้"[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] นี่ก็เป็นเรื่องเหนือจริยธรรมเหนือจริยศาสตร์ ก็มีหลักฐานจากคัมภีร์บางแห่งว่า น หิ สีลวตํ เหตุ อุปฺปชฺชนฺติ ตถาคตา อฏฺฐกฺขรา ตีณิ ปทา สมฺพุทฺเธน ปกาสิตา แปลว่า พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ไม่ได้อุบัติขึ้นเพื่อทรงสอนศีลธรรมเท่านั้น แต่ทรงอุบัติขึ้นเพื่อทรงประกาศ 3 บท 8 อักษร 3 บท ก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเอง 8 อักษร ก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ว่ามันออกเสียง อะ เมื่ออนิจจังก็ 3 แล้ว ทุกขังก็ 2 อนัตตา ก็ 3 เป็น 8 อักษร[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] การอบรมไตรลักษณ์ ทำให้จิตใจสบายอยู่เสมอ และเพิ่มพูนปัญญาในทางธรรมอย่างมาก นอกจากนี้ เราก็ควรจะสนใจศึกษาให้เข้าใจปฏิจจสมุปบาท คือ กลุ่มธรรมที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ทุกอย่างอยู่ในปฏิจจสมุปบาท มันเป็น cosmic law ครอบจักรวาล ทุกอย่างมันอาศัยกันเกิดขึ้น ไม่เป็นอิสระแก่ตัว ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ชีวิตมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ไม่ใช่สัตว์บุคคล ที่ว่ามันจะเป็นได้เองโดยไม่มีเหตุปัจจัยให้มันเกิดขึ้น มันต้องมีเหตุปัจจัยให้เกิด[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] แต่ในระดับสูง ท่านให้พิจารณาให้เห็นเป็นความว่างหรือสุญญตา เป็นเพียงกลุ่มธรรมล้วนๆ เป็นไปอยู่ อย่างสุภาษิตที่ท่านกล่าวไว้ อันนี้หมายถึงระดับสูงนะครับ ไม่ใช่ระดับจริยธรรม ถ้าระดับจริยธรรม ท่านต้องพูดอีกแบบหนึ่ง เช่นว่า กลฺยาณการี กลฺยาณํ ผู้ทำดีย่อมได้รับผลดี ปาปการี จ ปาปกํ ผู้ทำชั่วย่อม ได้รับผลชั่ว[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] แต่ว่าเหนือจริยธรรมขึ้นไป ในระดับของ สุญญตา ในระดับของปฏิจจสมุปบาท ท่านจะพูดใหม่ว่า ผู้กระทำกรรมไม่มี ผู้เสวยผลของกรรมไม่มี ธรรมล้วนๆ เป็นไปอยู่ นี่คือความเห็นที่ถูกต้อง เอเวตํ สมฺมทสฺสนํ นี่คือทัศนะที่ถูกต้อง[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] นี่ก็ในระดับปรมัตถธรรม หมายถึงว่า ธรรมที่ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งเอามาดับทุกข์ได้ คำว่า สุทธธัมมา หรือธรรมล้วนๆ หมายถึง กลุ่มปฏิจจสมุปบาท เป็น dependent origination หรือ The Law of causa-tion บางทีเรียกว่า The Law of dependent origina-tion อาศัยกันเกิดขึ้น เป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน คำสอนที่ว่ากรรมไม่มี ผู้เสวยผลของกรรมไม่มี เป็นต้น ก็เล็งถึงธรรมระดับสูงที่เป็นโลกุตตรธรรม เหนือบุญเหนือบาป ไม่ได้มุ่งให้ปฏิเสธเรื่องกฎแห่งกรรม หรือการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นั่นเป็นหลักจริยธรรมพื้นฐาน พระพุทธเจ้ามีพระประสงค์ที่จะทรงยกระดับพุทธสาวก ที่ทำจริยธรรมขั้นพื้นฐานสมบูรณ์แล้วให้ขึ้นไปอีกระดับหนึ่งซึ่งอยู่เหนือระดับศีลธรรม จึงทรงแสดงเรื่องกลุ่มธรรมหรือปฏิจจสมุปบาท ผู้ที่เข้าใจเรื่องอย่างนี้ดีก็จะสามารถถอนตัณหานุสัยหรือตัณหาอุปาทานได้ง่าย เป็นไป เพื่อความบริสุทธิ์ของจิตหรือวิญญาณ[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] เพราะฉะนั้น เราก็ควรจะตั้งจุดมุ่งหมายของชีวิตไว้ว่า เพื่อความบริสุทธิ์ของจิตหรือวิญญาณ จะเร็วจะช้ากว่ากันบ้างก็ตามเหตุปัจจัยนะครับ และก็แล้วแต่อุปนิสัยหรือบารมีของแต่ละคน แต่ในที่สุดก็ต้องขึ้น ให้ถึงความบริสุทธิ์ให้ได้ ซึ่งเป็นความต้องการสูงสุด เกี่ยวกับเรื่องนี้ พวกเราชาวพุทธต้องระลึกถึงพุทธคุณเอาไว้ให้มาก เพราะว่าท่ามกลางความมืดคืออวิชชา ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายเพราะตัณหาอุปาทานต่างๆ พระพุทธเจ้าได้ทรงเป็นพระศาสดาองค์แรกที่ได้นำจิตหรือวิญญาณมนุษย์ไปสู่แสงสว่าง[/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono][/FONT]
    [FONT=Courier New, Courier, mono] ก็ขอจบเพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อุปถัมภ์รายการ และท่านผู้ฟังโดยทั่วกัน สวัสดีครับ.[/FONT]


    http://www.ruendham.com
     
  11. พระมหากุลวัฒน์ธนะ

    พระมหากุลวัฒน์ธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    607
    ค่าพลัง:
    +3,589
    ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต ที่เห็นได้แสนยาก ละเอียด ยิ่งนัก
    มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่,
    (เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้
     
  12. ชวนชมพู

    ชวนชมพู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +69
    อนุโมทนาค่ะ

    แล้วขึ้นอยู่กับเราแล้วล่ะคะว่า จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเองให้มากแค่ไหน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 ธันวาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...