OOสัมมาปฏิบัติวิชชาธรรมกายสายตรงจากหลวงปู่สดฯ/เพื่อพ้นทุกข์และส่วนพุทธภูมิOO

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ?????????, 18 มกราคม 2010.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]
     
  2. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    OO3 กุมภาพันธ์ วันคล้ายการมรณภาพหลวงปู่สด( วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ )OO

    [​IMG]
     
  3. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    ศูนย์ของภพต่างๆ ศูนย์ของเครื่องต่างๆ ที่เป็นเครื่องควบคุม
    ใหญ่ของภพ หรือเครื่องย่อยๆ ตลอดจนเครื่องย่อยที่ควบคุมอยู่
    ในธาตุธรรมทั่วกายมนุษย์ แต่ละคนก็มีศูนย์อยู่ตรงกัน (ดังนั้น
    ถ้าสามารถเข้าสู่ศูนย์กำเนิดเดิมของตัวเราเองได้ เราจะสามารถ
    เข้าสู่ศูนย์ของสิ่งต่าง ๆ ได้ จะสามารถรู้เห็นสรรพสิ่งนานา
    ตลอดไตรโลกธาตุนานาจักรวาลอนันตจักรวาลนี้ได้

    ความรู้เรื่องธาตุธรรม 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายขาว (บุญ) ฝ่ายกลาง
    ๆ และฝ่ายดำ (บาป), เรื่องการแย่งกันสอดวิชชาของฝ่าย
    ต่างๆ เข้าปนเป็นในธาตุธรรมของสัตว์โลก เพื่อแย่งกันปกครอง
    บังคับบัญชาสัตว์โลกให้เป็นไปตามปิฎกของตน, เรื่องของภพ
    และการปกครองภพ, เรื่องของเครื่องควบคุมภพ และควบคุม
    สัตว์ให้เป็นไปตามความประสงค์ของฝ่ายตน ตลอดจนเรื่อง
    ของการเกิดดับของสัตว์โลกในภูมิต่างๆ ทั่วไปทั้งหมด และ
    อื่นๆ อีกมากมายซึ่งเปรียบได้กับใบไม้ในป่าที่ได้เพิ่มเติมขึ้นไป
    อีก จากใบไม้ในกำมือ (ที่หมายถึง ข้อปฏิบัติสำหรับความจำ
    เป็นเพื่อการพ้นทุกข์)

    วิชชาที่จะชี้แนวทาง หรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้เราได้รู้เห็น และ
    เข้าถึงศูนย์กำเนิดเดิมของ มนุษย์คือตัวเราเองได้นั้นที่เห็น
    ชัดเจนที่สุดในขณะนี้ก็คือ วิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ที่
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำพระมงคลเทพมุนี (สด จัน
    ทสโร) ได้ค้นพบ และนำมาสั่งสอน ถ่ายทอดสืบกันมานั่นเอง
    วิชชานี้สอนให้ตั้งจิตในการทำสมาธิไว้ ณ ศูนย์กลางกายซึ่ง
    ตรงกับศูนย์กำเนิดเดิม เมื่อจิตหยุดนิ่ง และละเอียดพอก็จะ
    สามารถเห็นสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาได้ตามความสามารถในการ
    ปฏิบัติของเราเอง ที่สำคัญคือ ต้องสามารถทำจิตให้หยุด ให้
    เห็น จำ คิด รู้ ของเราหยุดนิ่งเป็นจุดเดียวกัน ณ ศูนย์กลางกาย
    ได้หยุดเป็นตัวสำเร็จ ต้องหยุดนิ่งได้ดีจึงจะสำเร็จ

    ในเบื้องต้นเมื่อจิตหยุดได้ถูกส่วนพอดีจะเห็นดวงธรรมที่
    หลวงพ่อเรียกว่าดวงปฐมมรรค หรือดวงธรรมของกายมนุษย์
    ถ้าจิตสามารถหยุดนิ่งได้ยิ่งขึ้น จิตละเอียดยิ่งขึ้นจะสามารถเห็น
    กายต่างๆ ผุดซ้อนกันขึ้นมาตามลำดับจนถึงกายธรรม หรือที่
    หลวงพ่อเรียกว่า “ธรรมกาย” ซึ่งพระเดชพระคุณท่านได้นำมา
    เป็นชื่อวิชชาธรรมกายนั่นเอง ถ้าสามารถปฏิบัติได้แค่ เพียง
    ระดับขั้นต้นนี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติได้อำนาจสมาธิที่เพียงพอที่จะ
    ปฏิบัติต่อทางวิปัสสนาได้เป็นอย่างดี หากปรารถนาเพียงแต่พ้น
    ทุกข์ได้เหมือนกับการฝึกสมาธิโดยวิธีการอื่นๆ เช่นการกำหนด
    กสิณ หรือการกำหนดลมหายใจเพื่อให้จิตเกิดสมาธิก่อนแล้วทำ
    วิปัสสนาในภายหลัง ไม่มีอะไรแตกต่างกัน ถ้าเราจะต้องการได้
    แค่ใบไม้เพียงกำมือเดียวเท่านั้น

    ที่แตกต่างกันคือ ในวิชชาธรรมกาย หลวงพ่อได้สอนและชี้
    ช่องทางวิธีที่จะไปเก็บใบไม้ในป่าไว้ให้อีก ในขั้นตอนวิธีการ
    ปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายระดับสูงๆ ขึ้นไป โดยการฝ่าย
    ทางศูนย์กลางกำเนิดเดิมนี้ไปสู่มหาหิมพานต์ เพื่อให้เราเก็บ
    ใบไม้ของความรู้ต่างๆ ของเรื่องราวในอนันตโลกธาตุไม่เพียง
    แต่ได้รู้เห็นเท่านั้น เราอาจที่จะเป็นผู้เข้าไปบังคับบัญชาควบคุม
    เครื่องบังคับต่างๆ เสียด้วยตัวเอง เพื่อให้เป็นไปตามความ
    ประสงค์ของตัวเราเองเป็นการแก้ไขเหตุของตัวเองด้วยตนเอง
    แต่จะสามารถทำได้เท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับบารมีของแต่ละคน เป็น
    หนทางที่ทำให้เราได้เห็นได้รู้เหตุ และผลที่อยู่เบื้องหลังของ
    เรื่องราวของสรรพสิ่ง ที่เราจะได้นำมาแก้ไขตนเองให้ดีถึงที่สุด
    ได้ต่อไป วิชชาธรรมกายจึงนับว่าเป็นสุดยอดวิชชาของพระ
    พุทธเจ้าฝ่ายขาวบริสุทธิ์วิชชาหนึ่ง ที่นอกจากจะช่วยให้เราหลุด
    พ้นจากการเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะทุกข์แล้ว ยังจะช่วยให้เราหลุด
    พ้นเป็นอิสระอย่างไพบูลย์ถึงที่สุดได้อีกด้วย รวมทั้งสามารถที่
    จะนำมาช่วยผู้อื่นที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายได้อย่างดี
    ยิ่ง

    <CENTER>
    มวลมนุษย์พึงสังวร สิ่งที่ได้ สิ่งที่เป็น
    ใครให้สมบัติ ใครให้อำนาจ ใครให้ฤทธิ์
    อายตนะต่ออายตนะ
    ภพต่อภพ
    เหตุต่อเหตุ
    คือขาว หรือกลาง หรือดำ
    </CENTER>
     
  4. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [MUSIC]http://www.dhammakaya.org/wma/wlps52050103.wma[/MUSIC]
     
  5. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    OO 3 กุมภาพันธ์ วันรำลึกพระคุณครู OO<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->ร่วมเจริญภาวนา<!-- google_ad_section_end -->
     
  6. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]
     
  7. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    OOจากชาวคริสต์ เข้าถึงพุทธ ที่สุดละเอียดOO

    ลอเรน รีด จอห์นสัน อายุ 24 ปี อาศัยอยู่ที่นอร์ธฮอลิวูด แคลิฟอร์เนีย เขาเป็นนักบำบัดด้วยการนวด เป็นครูสอนโยคะ และเป็นนักเรียนการแสดง


    ลอเรนฝึกโยคะซึ่งเรียนมาจากครูชาวอินเดียอยู่ทุกวันเป็นเวลานานถึง 5 ปี เขารู้สึกว่ารีชี่โยคะช่วยให้เขานั่งเจริญภาวนาได้ดี การฝึกโยคะนี้รวมถึงการจำกัดอาหารเหลือแค่ผลไม้และผักเท่านั้น


    ลอเรนและภรรยามาฮันนีมูนกันในประเทศไทยซึ่งเป็นบ้านเกิดของฝ่ายหญิง แล้วตระเวนไปตามวัดต่างๆ เพื่อหาผู้ที่สอนเจริญภาวนาเป็นภาษาอังกฤษได้ ด้วยเหตุนี้เองได้นำเขามาสู่วัดหลวงพ่อสดฯ เขาไม่รู้อะไรเกี่ยวกับธรรมกายเลย พระภาวนาวิสุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดจึงแนะนำให้เขามาร่วมกิจกรรมแบ่งกลุ่มเจริญภาวนาตอนเช้าวันอาทิตย์ ซึ่งทำให้ท่านรับรู้ถึงความสามารถอันพิเศษของลอเรน ท่านจึงให้รองอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาทำหน้าที่สอนเขาทุกๆ วัน หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ หลวงป๋าก็เริ่มสอนเขาเป็นการส่วนตัว แม้ลอเรนเรียนได้แค่ 2 สัปดาห์ แต่เขาก็ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ได้บันทึกการสัมภาษณ์ลอเรนมีความยาว 15 นาที



    ผู้สัมภาษณ์ของช่อง 9 : สวัสดีค่ะ ยินดีที่ได้พบคุณ. คุณได้เรียนรู้อะไรจากการเจริญภาวนา ?


    ลอเรน: อันดับแรก ผมได้เรียนวิธีการรวมใจหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกาย. หยุดนิ่งถูกส่วนตรงนั้น ศูนย์กลางขยายออกไปเป็นดวงใสรอบตัว เมื่อใจหยุดกลางของหยุดเรื่อยไปก็หยุดในหยุดกลางของหยุดเรื่อยๆ ไป ได้เข้าถึงกายละเอียดๆ ต่อๆ ไปจนสุดละเอียดจนถึงธรรมกาย


    คุณรู้สึกอย่างไร เมื่อคุณถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายในท้องของคุณ ?


    ผมรู้สึกสงบเยือกเย็นมาก อย่างล้ำลึก และความสุขที่แผ่ขยายออกมา


    เมื่อเจริญภาวนาถึง 18 กาย และถึงธรรมกายนั้น คุณรู้สึกอย่างไรบ้าง ?


    รู้สึกว่าแต่ละกายที่เข้าถึงนั้น [กิเลส]เบาบางลงตามลำดับ เริ่มตั้งแต่กายมนุษย์ซึ่งเป็นกายที่หยาบที่สุดและเป็นกายโลกิยะ ถึงกายมนุษย์ละเอียดต่อๆ ไปจนถึงสุดละเอียดได้ถึงธรรมกาย ซึ่งเป็นกายที่ทึบน้อยที่สุด. มันพ้นจากความรู้สึกยึดถือในความเป็นตัวตนใดๆ ทั้งสิ้น.


    คุณรู้สึกไหมว่า สิ่งที่คุณได้เห็นเป็นของจินตนาการหรือของจริง ?


    ใช้จินตนาการน้อยมาก [อาจใช้ในช่วงแรกๆ ในระดับขณิกสมาธิ]. แต่สิ่งที่เห็นนั้นปรากฏขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ. ผมเพียงแต่เพ่งไปที่กลางของกลาง แล้ว[ดวงและกายต่างๆ]ก็ปรากฏขึ้นเอง.



    คุณได้เห็นนรก-สวรรค์บ้างไหม

    เห็นครับ

    แล้วคุณเห็นอะไรที่นั่น


    ได้เห็นหลายอย่างครับ. ในนรก, เห็นการลงโทษที่แตกต่างกันหลายระดับมาก. เห็นผู้คน[สัตว์นรก]มากมายกำลังถูกสุนัขกัด มันดุร้ายและเกรี้ยวกราดมาก. พวกเขาพยายามวิ่งหนี - ปีนต้นไม้ที่มีหนามแหลม [ต้นงิ้ว]. ยังถูกสัตว์ที่คล้ายแร้งจิกทึ้งจนพลัดตกลงมาจากต้นงิ้ว แล้วก็ถูกสุนัขก็จะเข้ามาจัดการกับพวกเขา.


    ผมได้เพ่งดูที่ศูนย์กลางดวงธรรมของสัตว์นรกเหล่านี้ เห็นเป็นสีดำมืด. ผมได้มองเข้าไปในจุดศูนย์กลางกายของพวกเขาเพื่อดูว่าทำไมพวกเขาจึงต้องไปอยู่ในนั้น - เป็นเพราะประพฤติผิดในกาม. และผมได้เห็น[ว่าเขาทำ]สิ่งที่น่าละอาย ความผิด และสิ่งที่ชั่วร้ายต่อจิตใจ.


    ผมไปยังอีกระดับหนึ่ง [นรกอีกขุมหนึ่ง] เห็นผู้คน[สัตว์นรก]อยู่ในกระทะ[ทองแดง]ใหญ่ … ใหญ่มาก! ร้อน! มีสิ่งซึ่งดูเหมือนของเหลวร้อนหรือโลหะหลอมเหลว เหมือนตะกั่ว [หมายถึงน้ำทองแดงร้อนจัดที่สัตว์นรกต้องดื่ม]. มันแผดเผา[อวัยวะ]ภายใน. บางคนก็ต้องดื่มของเหลว ที่มีกลิ่นเหม็นมาก แย่มาก [หมายถึงน้ำทองแดงนั้นเอง].


    และผมได้เพ่งดูที่ศูนย์กลางดวงธรรมของสัตว์นรกเหล่านี้อีก ได้เห็นว่า [พวกเขาได้รับวิบากกรรมเช่นนี้ เป็นเพราะ]ดื่มแอลกอฮอล์กันเป็นส่วนมาก. รวมทั้งยาเสพติดอื่นๆ, แต่ส่วนมากเป็นแอลกอฮอล์ [เพราะเป็นสิ่งเสพติดที่ถูกกฎหมาย และโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้].


    และแล้ว, ในนรก, สิ่งที่ร้ายสาหัสที่สุดที่ผมเห็น - ลึกลงไปกว่าระดับ[นรกขุม]ที่ 8 - ลึกกว่านรกของพวกที่ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต พวกที่พูดโกหกหลอกลวง และพวกที่ขโมย โกง คอร์รัปชั่น ของผู้อื่น - ในนรกขุมนั้น ผมเห็นผู้ที่สอนผู้อื่นผิดๆ พวกเขาเหล่านี้ถูกปิดตาจนมืดมิด. พวกเขาไม่สามารถมองเห็นได้และต่างคนต่างวิ่งเข้าหากันด้วยความสับสนอลหม่าน และทุกข์ทรมานมาก. ร่างกายของพวกเขาถูกเผาไหม้จนดำเหมือนกับถูกลวกด้วยน้ำกรด มีกลิ่นเหม็นเหมือนซากศพ กลิ่นตลบอบอวลมาก.


    ผมได้เจริญภาวนาถึงธรรมกายที่สุดละเอียด ได้เห็นสวรรค์ซึ่งตรงข้ามกับนรก อย่างสิ้นเชิง. สว่างไสวมาก - สวยงามมาก. ศูนย์กลาง[กาย - ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย]ของเทพดาเหล่านี้ส่องรัศมีสว่างนัก. ในนรก สัตว์นรกมีศูนย์กลาง ดำมืดมัวมาก. ในสวรรค์ ผมเห็นเทพยดาบนสวรรค์มีรัศมีใสสว่างเป็นประกาย ประดุจดังแก้วผลึก. และผมสามารถดูไปที่ศูนย์กลางของเทพดาเหล่านี้ และรู้เห็นว่า ทำไมพวกเขาได้มาอยู่บนสวรรค์ - ก็เนื่องจากสิ่งที่เป็นบุญกุศลทั้งหมด, กรรมดีมากมายที่เขาได้ทำแก่[ตนและ]ผู้อื่น.


    เทวดาบางตนอยู่บนพื้นดิน; บางตนอยู่ในอากาศ และผมเห็นเทวดาอยู่ในต้นไม้ก็มาก.


    แต่, ความแตกต่างสำคัญระหว่างสวรรค์กับนรก ก็คือ สิ่งที่ผมเห็นที่ศูนย์กลางกายของสัตว์นรกและเทพดาเหล่านั้น - ไม่กรรมดีก็กรรมชั่ว อย่างใดอย่างหนึ่ง [สองอย่างนี้เท่านั้น ที่พวกเขาได้ทำลงไป เห็นปรากฏได้ที่ศูนย์กลางกาย - บุญกุศลนำให้มาเกิดเป็นเทวดา ส่วนบาปอกุศลนำให้ไปเกิดเป็นสัตว์นรก].


    คุณก็ได้เห็นทั้ง 2 ฝ่าย - ระหว่างสวรรค์กับนรก ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่ผู้คนพากันทำ. แล้วคุณได้เห็นพระนิพพานไหม ?


    ครับ, ผมเห็น. พระนิพพานอยู่นอกเหนือไปจากสิ่งที่เราคิดว่าเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ. ผมไม่เห็นธาตุทั้ง 4 เหล่านี้เลย. ผมได้เห็นพระนิพพานธาตุ นับไม่ถ้วน - เท่าที่ผมจะเห็นได้. และมีรัศมีเจิดจ้า สว่างไสว.


    คุณคิดว่าอะไร คือประสบการณ์ที่ดีที่คุณได้ปฏิบัติเข้าถึง ได้รู้ และได้เห็นจากการเจริญภาวนานี้ ?


    ผมรู้สึกว่า วิธีเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายนี้ มีความพิเศษ เป็นการปฏิบัติทางตรง ทำให้ผมได้มีประสบการณ์อย่างสูง.



    เมื่อคุณกลับไปสหรัฐอเมริกาแล้ว คุณจะทำอะไร ?


    ผมวางแผนไว้ว่า จะสอนวิชชาธรรมกาย. ผมมีลูกค้าซึ่งผมสอนโยคะ, การเจริญภาวนา และการนวดอยู่แล้ว และผมเชื่อว่าการแนะนำวิชาธรรมกายให้จะช่วยให้พวกเขาให้ช่วยตนเองได้.






    ลอเรน รีด


    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     
  8. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    ดร.บาร์ตัน เซนเซนิก
    เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ
    เคยมาบรรพชาอุปสมบทที่วัดหลวงพ่อสดฯ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
    จะมาทำงานที่ประเทศไทย เพื่อมีเวลาปฏิบัติภาวนาให้มากขึ้น



    ๑. โปรดแนะนำตัว.

    ผมเป็นผู้ปฏิบัติธรรมที่ “แปลก/ไกล” (far-out) ที่สุด ที่วัดหลวงพ่อสดฯ. ทุกๆ ปี ผมจะมาอบรมพระกัมมัฏฐานอย่างน้อย ๑ ครั้ง จากอีกซีกหนึ่งของโลก คือจากเมืองโปโตแมค, แมรี่แลนด์, สหรัฐอเมริกา, อยู่ห่างจากวอชิงตัน ดี.ซี.ไปหน่อย.


    ผมเป็นนักวิจัย (Researcher), ผมได้ค้นหา (Searching) และค้นหาใหม่ (Re-searching) ถึง “ความจริง/สัจจธรรม” มาตลอดชีวิตของผม.


    ผมจบการศึกษาด้าน ฟิสิคส์, วิศวกรรมไฟฟ้า และรัฐศาสตร์ ที่ MIT (สถาบันเทคโนโลยีแห่งเมสซาชูเซตส์), แล้วก็ สังคมศาสตร์ และจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยคอร์เนล.


    ผมยังเป็น “ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ” ด้วย. อาชีพของผมมุ่งเป้าไปที่การช่วยเหลือประชาชนที่ยากจนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแอฟริกา. ตอนนี้ผมอายุ ๖๕ ปี, กำลังอยู่ในขั้นตอนที่จะลดปริมาณการงานด้านพัฒนา เพื่อที่จะมุ่งมายังด้านปฏิบัติภาวนาให้มากขึ้น.




    ๒. คุณรู้จักวัดนี้ได้อย่างไร ?

    ในปี พ.ศ.๒๕๐๓ ผมได้ทำงานกับหลวงป๋าในสำนักงานวิจัยของ USIS (สำนักข่าวสารอเมริกัน), ในกรุงเทพฯ. เราได้เป็นเพื่อนสนิทกันมานานก่อนที่ทั้งผมและหลวงป๋า [ตอนที่เป็นคฤหัสถ์] จะเริ่มฝึกภาวนา. หลายปีที่ผ่านมา, ผมจะมาเยี่ยมหลวงป๋าทุกครั้งที่ผมมาเมืองไทย. ดังนั้นผมจึงได้รู้เกี่ยวกับวัดหลวงพ่อสดฯ จากหลวงป๋าโดยตรง. ผมรู้สึกเหมือนได้รับพรอย่างพิเศษและโชคดีอย่างยิ่งที่มีโอกาสได้เรียนรู้และฝึกวิชชาธรรมกาย.



    ๓. คุณฝึกภาวนามานานเท่าไรแล้ว ?

    ผมสนใจในพระพุทธศาสนาเมื่อ ๔๐ ปีก่อน และได้ฝึกภาวนามาตั้งแต่ ๒๐ ปีที่แล้ว.



    ๔. คุณคิดว่าวิธีใดดีที่สุดในการเรียนรู้การปฏิบัติภาวนา ?

    ผมพบว่า การอบรมกัมมัฏฐานประจำปี ณ วัดหลวงพ่อสดฯ เป็นวิธีที่ดีมากที่สุดที่จะเรียนรู้การฝึกภาวนา. เมื่อผมกลับไปที่สหรัฐอเมริกา, ผมนำเทปคัสเซทสอนภาวนาของหลวงป๋าไปด้วยหลายม้วน และฝึกจากเทปเหล่านั้น. ผมยังเข้าฝึกภาวนาที่วัดใกล้บ้านของผม คือวัดไทย ดี.ซี. สัปดาห์ละ ๓ ครั้ง. โดยปกติ ผมฝึกภาวนาที่บ้านทุกวัน.



    ๕. คุณมีคำแนะนำอย่างไรสำหรับคนอื่นๆ ที่ต้องการศึกษายิ่งขึ้นไปเกี่ยวกับการปฏิบัติภาวนา ?

    ผมสนับสนุนเต็มที่ให้มาฝึกภาวนาที่วัดหลวงพ่อสดฯ. ที่นี่มีการอบรมปีละ ๒ ครั้ง คือ รุ่น ๑-๑๔ พฤษภาคม และรุ่น ๑-๑๔ ธันวาคม.


    ผมพบว่าการเดินทางมาวัดหลวงพ่อสดฯ มีความอ่อนเพลียหลังจากเปลี่ยนเขตเวลา [Jet lag - เช่น ความอ่อนเพลียที่เกิดจากโดยสารเครื่องบินข้ามเขตเวลา] จากกรุงเทพฯ เท่าๆ กับที่มาจากสหรัฐอเมริกา. ผมต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์เพื่อพากเพียรปฏิบัติ ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบของวัด ที่จะทำใจให้สงบลง จนถึงจุดที่การปฏิบัติภาวนาได้ผลดีจริงๆ.



    ๖. “การฝึกภาวนาเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการทำให้คุณมีสมาธิกับทุกสิ่ง” จากประสบการณ์ของคุณ, โปรดยกตัวอย่างที่จะพิสูจน์คำพูดนี้.

    นักศึกษามหาวิทยาลัยทุกคนรู้ถึงความจำเป็นและประโยชน์ของของการใช้สมาธิเพื่อรวบรวมความคิดอย่างเงียบๆ ในการคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ. นี้เป็นวิธีการที่ได้รับการพิสูจน์แล้วสำหรับพัฒนาความสามารถในการมองให้ทะลุปัญหา และแก้ไขปัญหาที่ยากได้. ถ้าผมกำลังพยายามฝึกสมาธิอยู่, แต่ใจหมกมุ่นด้วยปัญหาจากการงาน, ผมจะปล่อยใจให้มุ่งไปที่ปัญหานั้นๆ. เมื่อถึงช่วงท้ายของการนั่งสมาธิ, ผมมักจะได้คำตอบพอดี.



    ๗. “การฝึกภาวนาเป็นวิธีที่ดีมากในการสร้างบุญกุศล” คุณเห็นด้วยหรือไม่ ?

    เรามักจะแปลคำว่า “ทำบุญ -- Earning merit” ว่า “ทำดี -- Doing good” (ตัวอย่างเช่น รักษาศีล), แต่อริยมรรคมีองค์ ๘ มีส่วนประกอบ ๓ ประการ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา. การฝึกภาวนาเป็นทั้งวิธีพัฒนาสมาธิและปัญญา. ดังนั้น มันจึงสำคัญมากที่จะ “ทำบุญ” ในความหมายที่กว้างขึ้น ให้ดำเนินไปในหนทางแห่งการตรัสรู้.



    ๘. ขอความเห็นสำหรับชาวต่างประเทศที่จะมาฝึกภาวนาในประเทศไทย.

    ติดต่อ พระใบฎีกาวอลเทอร์ อุตฺตมปญฺโญ . ในวัดหลวงพ่อสดฯ หลวงป๋าและพระใบฎีกาวอลเทอร์ ใช้ภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่วที่สุด. พระใบฎีกาวอลเทอร์ จะให้ข้อมูลได้มากกว่านี้ หรือช่วยคุณวางกำหนดการมาเยี่ยมหรือพักที่วัดได้.


    ๘ พฤษภาคม ๒๕๔๔






    ดร.บาร์ตัน เซนเซนิก
    เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ <!--MsgFile=6-->


    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#224422 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#224422 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  9. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    พระใบฎีกาวอลเทอร์ อุตฺตมปญฺโญ น.ธ.โท
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ราชบุรี




    ท่านเป็นอดีตนักเปียโน ชาวเดนมาร์ค เคยมาบรรพชาอุปสมบทที่วัดหลวงพ่อสดฯ เมื่อประมาณ ๑๐ ปีที่แล้ว แต่จำต้องลาสิกขาไปก่อนเพื่อแสดงดนตรีให้ครบตามสัญญาทางธุรกิจ เมื่อเสร็จสิ้นภาระผูกพันทางโลกแล้ว ท่านก็ได้กลับมาประเทศไทยเพื่อเรียนภาษาไทยที่ AUA จนจบชั้นประถม ๖ และได้บรรพชาอุปสมบทที่วัดหลวงพ่อสดฯ อีกครั้งหนึ่ง



    ท่านได้ทำประโยชน์ให้แก่พระศาสนาและแก่วัดหลวงพ่อสดฯ เป็นอย่างมาก เพราะได้ช่วยเหลือในกิจหลายอย่างที่สำคัญคือ ดูแลต้อนรับชาวต่างประเทศทั้งหมดที่มาเยี่ยมเยียน หรือมาอยู่ปฏิบัติธรรม หรือบรรพชาอุปสมบทที่วัด



    และยังได้ช่วยเผยแพร่พระศาสนา ด้วยการจัดทำเวบไซต์ของวัดในภาคภาษาอังกฤษ (Concentration.org - concentration Resources and Information.This website is for sale!)
    ซึ่งทำได้อย่างสวยงาม และเต็มไปด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์



    ปัจจุบันนี้ ท่านจบการศึกษาพระปริยัติธรรม ชั้นนักธรรมเอกแล้ว สำหรับชาวต่างประเทศ การเรียนนักธรรม ต้องใช้ความอดทนพยายามมากเป็น ๒-๓ เท่า ของนักเรียนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเนื้อหาธรรมะ เรื่องภาษา, ศัพท์ธรรมะ, ศัพท์วิชาการ ราชาศัพท์ต่างๆ อีกทั้งสำนวนภาษาในหนังสือเรียนส่วนใหญ่ก็ใช้สำนวนเก่าเมื่อร้อยปีมาแล้ว



    ด้านภาษาบาลี ท่านกำลังศึกษาอยู่ในชั้นประโยค ๑-๒ อย่างขมักเขม้น ในอนาคตเราอาจจะมีพระชาวต่างประเทศเป็นพระมหาเปรียญเกิดขึ้นในวัดหลวงพ่อสดฯ สักรูปหนึ่งก็เป็นได้...



    ๑. นิมนต์แนะนำตัวครับ.

    อาตมาชื่อพระใบฎีกาวอลเทอร์ อุตฺตมปญฺโญ (วอลเทอร์ โทรเอลเซน). งานที่อาตมาทำมาตลอดชีวิตคือเป็นนักแต่งเพลง/นักร้อง/นักเปียโน, ตระเวนแสดงไปทั่วโลก. หลังจากได้พบพระพุทธศาสนา อาตมาได้พิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะบวชเป็นพระ. อาตมาหยุดอาชีพศิลปินในปี ๒๕๓๙ และย้ายมาอยู่ประเทศไทยเพื่อศึกษาภาษาไทยที่ เอ.ยู.เอ.. ในปี ๒๕๔๑ อาตมาก็ได้รับวุฒิบัตรประถมศึกษาปีที่ ๖ จากรัฐบาลไทย. แล้วอาตมาก็ได้เดินทางไปนมัสการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนาที่ประเทศอินเดีย, และหลังจากกลับมาถึงประเทศไทยก็ได้บวชเป็นพระที่วัดหลวงพ่อสดฯ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๑.



    ๒. ท่านรู้จักวัดนี้ได้อย่างไร ?

    เมื่อเป็นคฤหัสถ์ ทุกที่ทั่วโลกที่อาตมาไปเปิดการแสดง อาตมาจะไปเข้าวัดด้วยบ่อยๆ. วันหนึ่ง อาตมาได้พบพระภิกษุจากวัดสระเกศ. ท่านพักอยู่ที่วัดไทยในสวีเดน. อาตมาได้เรียนท่านถึงแผนการของอาตมาที่จะมาบวชเป็นพระ. ท่านได้แนะนำอาตมาให้ติดต่อกับหลวงป๋า (หลวงพ่อพระภาวนาวิสุทธิคุณ) ที่วัดหลวงพ่อสดฯ, เพราะหลวงป๋าพูดอังกฤษได้ดีมาก. อาตมาจึงเขียนจดหมายไปเรียนหลวงป๋า, แล้วท่านก็ได้บอกให้อาตมามาบวชที่ประเทศไทย.



    ๓. ท่านฝึกภาวนามานานเท่าไรแล้ว ?

    อาตมาได้ฝึกวิชชาธรรมกายมาประมาณ ๙ ปี.



    ๔. ท่านคิดว่าวิธีใดดีที่สุดในการเรียนรู้การปฏิบัติภาวนา ?

    หนทางที่ดีที่สุดคือ โดยการมาที่วัดหลวงพ่อสดฯ และรับการสอนโดยตรงจากหลวงป๋า. ท่านสอนธรรมะทุกระดับแก่ทุกคน. หนังสือที่ท่านเขียนคือ “The Heart of Dhammakaya meditation” ยังเป็นคำแนะนำที่ดีที่สุดอีกด้วย. หนังสือนี้อธิบายธรรมปฏิบัติทุกระดับและมีรายละเอียดให้มาก. การฝึกภาวนาด้วยตนเองเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่ง, ตราบใดที่คุณสามารถติดต่อกับครูเป็นการส่วนตัวอย่างสม่ำเสมอ.



    ๕. ท่านมีคำแนะนำอย่างไรสำหรับคนอื่นๆ ที่ต้องการศึกษายิ่งขึ้นไปเกี่ยวกับการปฏิบัติภาวนา ?

    ควรมาฝึกภาวนาที่วัดในเดือนพฤษภาคมและธันวาคม, และมาวัดทุกๆ วันอาทิตย์. หลวงป๋าสอนทุกวันอาทิตย์ เวลา 9:30 น. ที่ศาลาสมเด็จพระพุฒาจารย์. หากมีชาวต่างประเทศมาฝึกภาวนา, ท่านจะสอนเป็นภาษาอังกฤษด้วย. ถ้าคุณอาศัยอยู่ห่างไกล, คุณสามารถศึกษาวิธีปฏิบัติภาวนาในเวบไซต์ของวัด (ไทย/อังกฤษ), และถามคำถามโดยอีเมล์ (หรือ ฟอร์มเมล์). ที่ศาลาอเนกประสงค์ที่วัดหลวงพ่อสดฯ ยังมีหนังสือและเทปเกี่ยวกับการปฏิบัติภาวนาด้วย.



    ๖. “การฝึกภาวนาเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการทำให้คุณมีสมาธิกับทุกสิ่ง” จากประสบการณ์ของท่าน, โปรดยกตัวอย่างที่จะพิสูจน์คำพูดนี้.

    อาตมาได้สังเกตว่า อาตมาได้มีสมาธิดีขึ้นมากในการเรียนพระปริยัติธรรม. ก่อนที่จะสอบนักธรรมโทปีที่แล้ว อาตมาจะนั่งภาวนาขณะที่การสอบจะเริ่ม. เมื่อถึงเวลาแจกข้อสอบ จิตใจของอาตมาสงบเย็นลง, และอาตมาพบว่ามันง่ายขึ้นในการนึกคำตอบของปัญหานั้นๆ.



    ๗. “การฝึกภาวนาเป็นวิธีที่ดีมากในการสร้างบุญกุศล” ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ?

    แน่นอน. แต่โชคไม่ดีที่ผู้คนมากมายในประเทศไทยคิดว่า การทำบุญคือการบริจาคเงินให้วัด [เท่านั้น] . มันเร็วและง่ายดี. อย่างไรก็ตาม, ไม่มีบุญอะไรยิ่งใหญ่ไปกว่าการพยายามทำใจของตนให้สงบและบริสุทธิ์ด้วยการฝึกภาวนา. บุคคลที่รักษาศีลอย่างน้อยศีล ๕, จะมีกายและวาจา สะอาดบริสุทธิ์, ซึ่งจำเป็นในการฝึกภาวนาอันเป็นปฏิบัติธรรมขั้นสูงขึ้นต่อไป. เมื่อใจสงบหยุดนิ่งเป็นจุดเดียว (เอกัคคตารมณ์) เขา/เธอจะสามารถเข้าถึงระดับของฌานที่สูงยิ่งๆ ขึ้นไป, และในไม่ช้า ปัญญาจะเริ่มพัฒนา. ปัญญาจะทำให้บุคคลสามารถเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามที่เป็นจริง, ตัดสังโยชน์ (กิเลสเครื่องผูกให้ติดอยู่กับโลก) ได้, และถึงพระนิพพาน... และจะมีอะไรเป็นบุญกุศลมากกว่านี้อีกเล่า ?



    ๘. ขอความเห็นสำหรับชาวต่างประเทศที่จะมาฝึกภาวนาในประเทศไทย.

    ถ้าคนนั้นสามารถพูดไทยได้, โอกาสนั้นมีมากมายนับไม่ถ้วน. ทุกวัดในประเทศไทยจะรับผู้คนที่สนใจในพระพุทธศาสนาและการฝึกภาวนา. ถ้าเขาไม่ได้พูดภาษาไทย, เขาสามารถติดต่อวัดฯ ได้ทางอีเมล์ที่ right@concentration.org และติดต่อวางกำหนดการที่จะมาที่วัด. นี้เป็นเรื่องสำคัญ, เพราะพระภิกษุที่พูดภาษาอังกฤษได้ดีอาจไม่อยู่วัดในช่วงนั้น.







    พระใบฎีกาวอลเทอร์ อุตฺตมปญฺโญ น.ธ.โท




    <CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#000000 vAlign=top rowSpan=2><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#224444><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD bgColor=#000000 colSpan=2 align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#224444><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  10. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    Phra Baitika Walter Uttamapanyo
    Friday, May 18, 2001

    1. Introduce yourself:
    I am Phra Baitika Walter Uttamapanyo (lay name: Walter Troelsen). I had a life long career as composer/song writer/singer/pianist, performing all over the world. After discovering Buddhism I started considering the possibility of becoming a monk. I finished my career in 2539 and moved to Thailand in order to study Thai language at the AUA. In 2541 I received the government P6 diploma. I then went on a pilgrimage to the holy Buddhist places in India, and after returning to Thailand I ordained as a monk at Wat Luang Phor Sodh on May 30, 2541.

    2. How did you come to know about this temple?
    As a layman I often went to Buddhist temples, wherever in the world I was performing. One day I met with a monk from Wat Saket. He was staying at the Thai temple in Sweden. I told him about my plans of becoming a monk. He recommended me to contact Luang Pa, the abbot at Wat Luang Phor Sodh, because Luang Pa speaks English very well. I wrote a letter to Luang Pa, who then invited me to come to Thailand to ordain.

    3. How long have you been practicing meditation?
    I have practiced Vijja Dhammakaya for about 9 years.

    4. What is the good way for you to learn how to meditate?
    The best way is by coming to Wat Luang Phor Sodh and being taught straight from Luang Pa. He is teaching all levels to everyone. Luang Pa’s book “The heart of Dhammakaya meditation” is also a good guideline. It explains all levels and is very detailed. Meditating on you own is very good, too, as long as you also have personal contact with the teacher at a regular basis.

    5. What is your recommendation for others who wish to learn more about meditation?
    Come to the retreats in May and December, and come to the wat on Sundays. Luang Pa is always teaching on Sundays at 9:30 at the new dining/meditation hall. If there are foreigners present, he will also teach in English. If you live far away, you can always study the meditation section on our website, and ask questions by email. Our information center at the wat also sells books and tapes with meditation instructions.

    6. “Meditation is one of the best ways to make your mind concentrate on everything.” - From your experiences, please give some samples that prove that statement.
    I have noticed that I have much higher concentration when studying. Before taking the final Nak Tham 2 exam last year I would sit and meditate while waiting for the exam to begin. By the time they distributed the questions my mind was already calm and peaceful, and I found it easier to remember the answers to the questions.

    7. “Meditation is a very good way for earning merit.” Do you agree?
    Definitely. Unfortunately a lot of people in Thailand think that making merit has something to do with making donations at the wat. It is quick and easy. However, there is nothing more meritorious than making an effort to purify one’s mind through meditation. A person who keeps at least 5 precepts, will already have pure body and speech, which is needed in order to go on to the next step, concentration of mind. When the mind is one-pointed he/she will be able to reach higher and higher absorption level, and soon Wisdom will start to develop. Wisdom will make a person capable of understanding the way things are, cutting all fetters, reaching Nirvana….. and what can be meritorious than that?

    8. Any ideas for foreigners to come to learn in Thailand?
    If they can speak Thai, the possibilities are countless. All temples in Thailand will receive people interested in Buddhism and meditation. If they don’t speak Thai, they can always contact us by email at
    right@concentration.org and schedule a visit. This is important, because the English-speaking monks at the wat are not always in residence.


    <CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#000000 vAlign=top rowSpan=2><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#224444><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD bgColor=#000000 colSpan=2 align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#224444><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER>
     
  11. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893

    ชาวคริสต์ผู้ปฏิบัติธรรมจริงจัง ก็ถึงธรรมกายได้


    โดย วิชชาธร


    ในการอบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นที่ ๓๒ มีชาวออสเตรเลียผู้นับถือศาสนาคริสต์ ๒ ท่าน ได้มาอยู่ฝึกปฏิบัติพระกัมมัฏฐานตามแนววิชชาธรรมกาย ที่วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม


    ท่านผู้เฒ่า Alan ปฏิบัติผลดีและรวดเร็วมาก เพียง ๒ วันเท่านั้นก็สามารถปฏิบัติได้ถึงธรรมกายแล้ว และได้รับการฝึกเจริญฌานสมาบัติ ตรวจภพ ตรวจจักรวาล ดูความเป็นไปของสัตว์โลกในภพ ๓ ได้เห็นตามเป็นจริงว่า “ทำดีก็บริสุทธิ์เอง” ทำชั่วก็มัวหมองเอง ได้ผลชั่วเอง ไม่มีใครช่วยใครได้ และเห็นว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นไปในภพ ๓ มีสภาพเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา


    ต่อเมื่อทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) ดับสมุทัย จนจิตละเอียด เป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์ล้วนๆ จนธรรมกายที่สุดละเอียดปรากฏในอายตนะนิพพาน ได้เห็นพระนิพพานธาตุ คือ ธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตขีณาสพที่ดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ สว่างไสวเต็มไปหมด มีสภาพเที่ยง เป็นสุขอย่างยิ่ง และสถิตยั่งยืนอยู่ในอายตนะนิพพานนั้น



    ผู้เฒ่า Alan ถึงกับน้ำตาไหลด้วยความปลื้มปีติที่ได้พบของจริงในพระพุทธศาสนา



    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#444422 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#444422 border=0><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  12. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]
     
  13. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Tam21.JPG
      Tam21.JPG
      ขนาดไฟล์:
      43.5 KB
      เปิดดู:
      365
  14. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]

    บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ

    บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ คือ สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ หรือกล่าวอย่างง่ายๆว่า การกระทำที่เกิดเป็นบุญ เป็นกุศล แก่ผู้กระทำดังต่อไปนี้
    1. บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน (ทานมัย) คือการเสียสละนับแต่ทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง ตลอดจนกำลังกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยส่วนรวม รวมถึงการละกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ออกจากจิตใจ จนถึงการสละชีวิตอันเป็นสิ่งมีค่าที่สุดเพื่อการปฏิบัติธรรม
    2. บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) คือการตั้งใจรักษาศีล และการปฏิบัติตนไม่ให้ละเมิดศีล ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกา ศีล ๑๐ ของสามเณร หรือ ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ เพื่อรักษากาย วาจา และใจ ให้บริสุทธิ์สะอาด พ้นจากกายทุจริต ๔ ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม และเสพสิ่งเสพติดมึนเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท วจีทุจริต ๔ ประการ คือไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดปด ไม่พูดเพ้อเจ้อ และไม่พูดคำหยาบ มโนทุจริต ๓ ประการ คือ ไม่หลงงมงาย ไม่พยาบาท ไม่หลงผิดจากทำนองคลองธรรม
    3. บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา (ภาวนามัย ) คือการอบรมจิตใจในการละกิเลส ตั้งแต่ขั้นหยาบไป จนถึงกิเลสอย่างละเอียด ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นโดยใช้สมาธิปัญญา รู้ทางเจริญและทางเสื่อม จนเข้าใจอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด
    4. บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ (อปจายนมัย) คือการให้ความเคารพ ผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ ๓ ประเภท คือ ผู้มี วัยวุฒิ ได้แก่พ่อแม่ ญาติพี่น้องและผู้สูงอายุ ผู้มี คุณวุฒิ หรือคุณสมบัติ ได้แก่ ครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ และผู้มี ชาติวุฒิ ได้แก่พระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์
    5. บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) คือ การกระทำสิ่งที่เป็นคุณงามความดี ที่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม โดยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา เช่น การชักนำบุคคลให้มาประพฤติปฏิบัติธรรม มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ในฝ่ายสัมมาทิฎฐิ
    6. บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) คือ การอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง การบอกให้ผู้อื่นได้ร่วมอนุโมทนาด้วย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ ได้ทราบข่าวการบุญการกุศลที่เราได้กระทำไป
    7. บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่น กล่าวว่า “สาธุ” เพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดี และขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำ ก็ขอให้ได้มีโอกาสได้แสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น ผลบุญก็จะเกิดแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาบุญนั้นเองด้วย
    8. บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย) คือ การตั้งใจฟังธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน หรือที่เคยฟังแล้วก็รับฟังเพื่อได้รับความกระจ่างมากขึ้น บรรเทาความสงสัยและทำความเห็นให้ถูกต้องยิ่งขึ้น จนเกิดปัญญาหรือความรู้ก็พยายามนำเอาความรู้และธรรมะนั้นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สู่หนทางเจริญต่อไป
    9. บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย) คือ การแสดงธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปของการกระทำ หรือการประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ในทางที่ชอบ ตามรอยบาทองค์พระศาสดา ให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น หรือการนำธรรมไปขัดเกลากิเลสอุปนิสัยเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา มาประพฤติปฏิบัติธรรมต่อไป
    10. บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐชุกัมม์) คือ ความเข้าใจในเรื่อง บาป บุญ คุณ โทษ สิ่งที่เป็นแก่นสารสาระหรือที่ไม่ใช่แก่นสารสาระ ทางเจริญทางเสื่อม สิ่งอันควรประพฤติสิ่งอันควรละเว้น ตลอดจนการกระทำความคิดความเห็นให้เป็นสัมมาทิฏฐิอยู่เสมอ
    บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้ ผู้ใดได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือยิ่งมากจนครบ ๑๐ ประการแล้ว ผลบุญย่อมเกิดแก่ผู้ได้กระทำมากตามบุญที่ได้กระทำ ยิ่งได้มีการเตรียมกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ตั้งใจจรดเข้าสู่ศูนย์กลางกาย หยุดในหยุด เข้าไปแล้วก็ยิ่งได้รับบุญมหาศาลตามความละเอียดประณีตที่เข้าถึงยิ่งๆ ขึ้นไป
    <TABLE border=0 width=776 background=../images/footer.jpg height=69><TBODY><TR><TD> </TD></TR><TR style="LINE-HEIGHT: 15px"><TD><!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1> page="dhamma";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://truehits1.gits.net.th/data/j0019008.js"></SCRIPT>[​IMG] <!-- END WEBSTAT CODE -->Powered by bythailand.com</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    "...แต่โชคไม่ดีที่ผู้คนมากมายในประเทศไทยคิดว่า การทำบุญคือการบริจาคเงินให้วัด [เท่านั้น] . มันเร็วและง่ายดี.


    อย่างไรก็ตาม, ไม่มีบุญอะไรยิ่งใหญ่ไปกว่าการพยายามทำใจของตนให้สงบและบริสุทธิ์ด้วยการฝึกภาวนา. บุคคลที่รักษาศีลอย่างน้อยศีล ๕, จะมีกายและวาจา สะอาดบริสุทธิ์.."



    [​IMG] พระใบฎีกาวอลเทอร์ อุตฺตมปญฺโญ น.ธ.โท
     
  16. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    พระธรรมเทศนา
    ของ
    พระเดชพระคุณ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)



    รตนตฺตยคมนปณามคาถา
    ๖ มีนาคม ๒๔๙๒



    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="65%"><TBODY><TR><TD width="30%"></TD><TD vAlign=top width="27%">อิจฺเจตํ รตนตฺตยํ
    นานาโหนฺตมฺปิ วตฺถุโต
    เอกิภูตมฺปนตฺถโต
    ธมฺโม สงฺเฆน ธาริโต
    </TD><TD vAlign=top width="43%">พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ จาติ
    อญฺญมญฺญาวิโยคาว
    พุทฺโธ ธมฺมสฺส โพเธตา
    สงฺโฆ จ สาวโก พุทฺธสฺส
    อิจฺเจกาพุทฺธเมวิทนฺติ.






    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    “ ผู้ที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องเอาใจของตนไปจรดอยู่ที่ศูนย์กลางกายของตนนั้น แล้วทำใจให้หยุด หยุดในหยุด หนักเข้าไปทุกทีไม่ให้คลายออก ทำไปจนใจไม่คลายออก ใจนั้นหยุดในหยุดหนักเข้าไปทุกที นี้เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ใช่ทางไปของปุถุชน ทางไปของปุถุชนไม่หยุด ออกนอกจากหยุด ออกจากทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์อยู่เสมอ จึงได้เจอะเจอพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ยากนัก

    อาตมาขอโอกาสแด่ท่านมหาชนทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตบรรดามีศาสนาเป็นภารกิจ หวังปฏิบัติให้ถูกสนิทตามศาสนาของตนๆ จึงได้อุตส่าห์พากันทรมานร่างกายในเวลาทำกิจทางศาสนา ทุกๆ ศาสนาล้วนแต่สอนให้ละความชั่วประพฤติความดีสิ้น ด้วยกันทุกชาติทุกภาษา
    ส่วนในทางพระพุทธศาสนา เวลาเช้าเวลาเย็นไหว้พระบูชาพระ และสวดสังเวคกถา ปสาทกถา ตามกาลเวลาเสร็จแล้ว ที่มีกิจเรียนคันถธุระก็เรียนไป ที่มีกิจเรียนวิปัสสนาธุระก็เรียนไป ฝ่ายพระเถรานุเถระก็เอาใจใส่ตักเตือนซึ่งกันและกันตามหน้าที่ เพื่อจะได้รักษาเนติแบบแผนอันดีของสาธุชนในพุทธศาสนาไว้ ให้เป็นตำรับตำราสืบสายพระศาสนาไป
    บัดนี้ขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย ฟังปณามคาถา ความนอบน้อมพระรัตนตรัยในอดีต อนาคต ปัจจุบัน และถึงเป็นที่พึ่ง โดยย่อ
    ความนอบน้อมมาจาก นโม “นโม” แปลว่า นอบน้อม เป็นบุคลาธิษฐาน คือ นอบน้อมด้วยกาย นอบน้อมด้วยวาจา นอบน้อมด้วยใจ นอบน้อมในพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์มีพระชนมายุอยู่ อุบาสกอุบาสิกาเข้าไปสู่ที่เฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ คือกราบพร้อมด้วยองค์ ๕ เข่าและศอกทั้ง ๒ ต่อกัน ฝ่ามือทั้ง ๒ วางลงให้เสมอกัน ก้มศีรษะลงให้หน้าจรดพื้นในระหว่างมือทั้ง ๒ นั้น หรือในระหว่างที่เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่นั้น คอยฟังพระโอวาทานุสาสนีของพระองค์ ไม่ส่งใจไปในที่อื่น ไม่เปล่งวาจาออกในระหว่างที่พระองค์ทรงรับสั่งอยู่ เป็นการรบกวนพระองค์ด้วยวาจา ให้เป็นที่ระแคะระคายพระทัย
    อนึ่ง เมื่อเข้าไปสู่ที่เฝ้า ไม่นั่งให้ไกลนัก จะเป็นการเบียดเบียนพระองค์ ด้วยต้องออกพระกำลังเสียงในเวลารับสั่ง ไม่นั่งให้ใกล้นัก จะเป็นการเบียดเบียนพระองค์ด้วยกายอันเป็นของปฏิกูล จะเป็นที่รำคาญพระนาสิกในเวลากลิ่นกายฟุ้งไป ไม่นั่งในที่เหนือลม ด้วยเคารพพระองค์ กลัวจะลมพัดเอากลิ่นกายที่ฟุ้งออกไปมากระทบพระนาสิกของพระองค์ ไม่นั่งในที่ตรงพระพักตร์นัก กลัวจะเป็นที่รำคาญพระเนตรทั้งสองของพระองค์ ไม่นั่งในที่เบื้องหลังนัก เกรงว่าพระองค์จะต้องหันพระพักตร์มากไปในเวลาจะทรงรับสั่ง ต้องนั่งในที่สมควรนอกจากที่ๆ แสดงมาแล้ว ในเวลาอยู่ในที่เฝ้า ไม่ส่งใจไปในที่อื่น ไม่เปล่งวาจาให้เป็นที่รำคาญพระทัยแด่พระองค์ ดังนี้แล นอบน้อมด้วยกายในพระองค์
    ในเมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ยังเหลือแต่เจดีย์ ๔ เหล่า คือ บริโภคเจดีย์ ธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์ อุทเทสิกเจดีย์ พุทธศาสนิกชนไปถึงที่เช่นนั้นเข้าแล้ว ในเมื่อกั้นร่ม ควรลดร่มลง ห่มผ้าปิด ๒ บ่า ควรลดออกเสียบ่าหนึ่ง ในเมื่อสวมรองเท้าเข้าไป ควรถอดรองเท้าเสีย และเข้าไปในที่นั้นไม่ควรแสดงอึงคะนึงและไม่เคารพ แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องแสดงเคารพอย่างจริงใจ ไม่ทิ้งของที่สกปรกลงไว้ เช่น ก้นบุหรี่ หรือชานหมาก น้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ ปัสสาวะ ในที่บริเวณนั้น เมื่อเข้าไปในที่นั้นเห็นรกปัดกวาดเสีย ถากถางเสีย เห็นไม่สะอาด ทำให้สะอาด เห็นผุพัง ควรแก้ไข ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ได้ก็ยิ่งดี ดังนี้เป็นความนอบน้อมพระผู้มีพระภาคด้วยกาย โดยบุคลาธิษฐาน
    อนึ่ง นำเรื่องของพระรัตนตรัยไปสรรเสริญในที่นั้น แก่บุคคลนั้นอยู่เนืองๆ ดังนี้ ก็ชื่อว่า นอบน้อมด้วยวาจา
    และคิดถึงพระรัตนตรัยอยู่เนืองๆ ไม่ยอมให้ใจไปจรดอยู่กับอารมณ์สิ่งอื่นมากนัก คอยบังคับใจให้จรดอยู่กับพระรัตนตรัยเนืองๆ ดังนี้ ชื่อว่า นอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยใจ
    ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระผู้มีพระภาคผู้เป็นองค์อรหันต์ ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ บรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลายต้องว่าดังนี้ ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายในเวลาทำศาสนกิจทุกครั้ง เช่น พระเถรานุเถระกระทำสังฆกรรม และอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายจะสมาทานศีล ก็ต้องว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” ถึง ๓ หน จะว่าแต่เพียงหนหนึ่งหรือสองไม่ได้ หรือได้เหมือนกันแต่ว่าไม่เต็มรัตนตรัยทั้ง ๓ กาล จะให้เต็มหรือถูกรัตนตรัยทั้ง ๓ กาลแล้ว ต้องว่าให้เต็ม ๓ หน หนที่ ๑ นอบน้อมพระรัตนตรัยในอดีต หนที่ ๒ นอบน้อมพระรัตนตรัยในปัจจุบัน หนที่ ๓ นอบน้อมพระรัตนตรัยในอนาคต ทั้งหมดต้องว่า ๓ หน จึงครบถ้วนถูกพระรัตนตรัยทั้ง ๓ กาล
    รัตนตรัยแบ่งออกเป็น ๒ คือ รัตนะ ๑ ตรัย ๑, รัตนะ แปลว่า แก้ว ตรัย แปลว่า ๓ รัตนตรัยรวมกันเข้า แปลว่า แก้ว ๓ พุทธรัตนะ แก้วคือพระพุทธ ธรรมรัตนะ แก้วคือพระธรรม สังฆรัตนะ แก้วคือพระสงฆ์ ทำไมจึงต้องเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มาเปรียบด้วยแก้ว ที่ต้องเปรียบด้วยแก้วนั้น เพราะแก้วเป็นวัตถุทำความยินดีให้บังเกิดแก่เจ้าของผู้ปกครองรักษา ถ้าผู้ใดมีแก้วมีเพชรไว้ในบ้านในเรือนมาก ผู้นั้นก็อิ่มใจ ดีใจ ด้วยคิดว่าเราไม่ใช่คนจน ปลื้มใจของตนด้วยความมั่งมี แม้คนอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของเล่า เห็นแก้วเห็นเพชรเข้าแล้ว ที่จะไม่ยินดีไม่ชอบนั่นเป็นอันไม่มี ต้องยินดีต้องชอบด้วยกันทั้งนั้น ฉันใด รัตนตรัยแก้ว ๓ ดวง คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทั้ง ๓ นี้ ก็เป็นที่ยินดีปลื้มใจของเทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย ฉันนั้น
    พระรัตนตรัยเป็นแก้วจริงๆ หรือเปรียบด้วยแก้ว ถ้าเป็นทางปริยัติเข้าใจตามอักขระแล้ว เป็นอันเปรียบด้วยแก้ว ถ้าเป็นทางปฏิบัติเข้าใจตามปฏิบัติแล้ว เป็นแก้วจริงๆ ซึ่งนับว่าประเสริฐ เลิศกว่าสวิญญาณกรัตนะและอวิญญาณกรัตนะ ซึ่งมีในไตรภพ ลบรัตนะในไตรภพทั้งหมดสิ้น
    จะกล่าวถึงรัตนะในทางปฏิบัติ “ปฏิปตฺติ”
    แปลว่า ถึงเฉพาะ ผู้ปฏิบัติถึงเฉพาะซึ่งพระรัตนตรัย การถึงรัตนตรัยของผู้ปฏิบัติในยุคนี้ต่างๆ กัน ผู้ไม่ได้เล่าเรียนศึกษาก็ถึงรูปพระปฏิมาในโบสถ์วิหารการเปรียญ ถึงพระธรรมในตู้ในใบลาน ถึงพระสงฆ์สมมติทุกวันนี้ ผู้ได้เล่าเรียนศึกษา รู้พุทธประวัติ ก็ถึงพระสิทธัตถราชกุมารที่ได้ตรัสรู้ใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ ที่ได้มาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ถึงพระธรรมก็คือปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร กับธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอนปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ให้ได้บรรลุมรรคผล ทั้งสิ้น ถึงพระสงฆ์ก็คือพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ จนถึงสุภัททภิกษุซึ่งเป็นปัจฉิมสาวกเวไนย
    ผู้มีสติปัญญา เป็นผู้เฒ่าเหล่าเมธา เล่าเรียนศึกษามาก การถึงรัตนตรัยของท่านลึกล้ำ ท่านคิดว่า “พุทธ” ก็แปลกันว่า ตรัสรู้ ตรัสรู้เป็นภาษาเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าท่านเป็นเจ้า จึงแปลว่า “ตรัสรู้” ภาษาสามัญก็แปลว่า “รู้” เท่านั้น ท่านก็ทำขึ้นในใจของท่านว่ารู้นั่นเอง เป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็ถึงความรู้ของท่านที่ถูกดี ถึงธรรมของท่านความดีไม่มีผิด ถึงสงฆ์ของท่าน “สงฺเฆน ธาริโต” พระสงฆ์ทรงไว้ ตัวของเรานี้เองที่รักษาความรู้ถูกรู้ดีไม่ให้หายไป เป็นสงฆ์
    การถึงพระรัตนตรัยดังแสดงมาแล้วนี้ก็ถูก เหมือนต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่กะเทาะ ก็ถูกต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่เปลือกก็ถูกต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่กระพี้ก็ถูกต้นไม้ ถูกแต่ กะเทาะ เปลือก กระพี้ เท่านั้น หาถูกแก่นของต้นไม้ไม่
    การถึงพระรัตนตรัย ต้องเอากาย วาจา ใจ ของเราที่ละเอียด จรดเข้าไปให้ถึงแก่นพระรัตนตรัยจริงๆ รัตนตรัยซึ่งแปลว่า แก้ว ๓ แก้วคือพระพุทธ ๑, แก้วคือพระธรรม ๑, แก้ว คือพระสงฆ์ ๑ ได้ในบทว่า สกฺกตฺวา พุทฺธรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือพุทธ สกฺกตฺวา ธมฺมรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือธรรม สกฺกตฺวา สงฺฆรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือสงฆ์
    การเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องใช้กายวาจาใจที่ละเอียด ที่หยาบเข้าไม่ถึง กายที่ละเอียดซึ่งได้กับกายสังขาร วาจาที่ละเอียดซึ่งได้กับวจีสังขาร ใจที่ละเอียดซึ่งได้กับจิตสังขาร กายสังขารคือลมหายใจเข้าออกซึ่งปรนเปรอกายให้เป็นอยู่ วจีสังขารคือความตรึกตรองที่จะพูด จิตสังขารคือความปรุงของจิตสำหรับใช้ทางใจ กายสังขารหยุด วจีสังขารก็หยุด จิตสังขารก็หยุด เป็นจุดเดียวกัน อยู่ที่ตรงศูนย์กลางของกายมนุษย์ มีธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสดังกระจกส่องเงาหน้า กายวาจาใจที่ละเอียดจรดลงที่ศูนย์กลางของธรรมนั้น ก็หยุดพร้อมทั้งกายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร นับว่าหยุดเป็นจุดเดียวกัน ได้ชื่อว่าสังขารสงบ การสงบสังขารชนิดนี้ เด็กในท้องมารดาก็สงบ จึงอยู่ในที่แคบเป็นอยู่ได้ เทวดาใน ๖ ชั้นทำได้ รูปพรหมและอรูปพรหมทำได้ เด็กในท้องก็นับว่าสังขารสงบ เทวดาก็นับว่าสังขารสงบได้ รูปพรหมและอรูปพรหมก็นับว่าสังขารสงบได้ การสงบสังขารเสียเป็นสุข สมด้วยคาถา ๔ บาท ในบาทเบื้องปลายว่า “เตสํ วูปสโม สุโข” สงบสังขารเหล่านั้นเสียได้ นำมาซึ่งความสุข นี้สงบสังขารได้ตามสมควร เป็นทางทำตนให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น ๑
    กายสังขารสงบคือลมหายใจหยุด วจีสังขารสงบคือความตรึกตรองหยุด จิตสังขารสงบคือใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ชื่อว่า สันติ ลมหยุดลงไป ในที่เดียวกันชื่อว่า อานาปาน ซึ่งแปลว่าลมหยุดนิ่งหรือไม่มี เมื่อสังขารทั้ง ๓ หยุดถูกส่วนเข้าแล้ว เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ด้วยส่วนหนึ่ง เมื่อสังขารสงบมีความสุขเกิดขึ้น เรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตคิดว่าเป็นสุขเรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในเมื่อสติปัฏฐานทั้ง ๓ ถูกส่วนพร้อมกันเข้า เกิดเป็นดวงใสขึ้นเท่าฟองไข่แดง หรือเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ใสบริสุทธิ์สนิทเหมือนกระจกส่องเงาหน้านั่นแหละ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงนี้บางท่านเรียกว่าพระธรรมดวงแก้ว โบราณท่านใช้แปลในมูลกัจจายน์ว่า “ปฐมมรรค” ธรรมดวง นี้แหละคือ ดวงศีล เพราะอยู่ในเหตุว่างของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ไม่มีราคี ตาของกายทิพย์เห็น ต้องเอาใจของตนจรดลงที่ตรงกลางของดวงศีลนั้น ทำใจให้หยุดนิ่ง แต่ พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไปเห็นดวงสมาธิ เอาใจหยุดนิ่ง ลงไปที่กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นดวงปัญญาที่อยู่ในกลางดวงสมาธินั้น แล้วเอาใจของตนจรดเข้าที่ศูนย์ กลางดวงปัญญา ทำให้ใจหยุดนิ่ง แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติ ก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะที่อยู่ในกลางดวงวิมุตตินั้น แล้วเอาใจของตนจรดเข้าที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ทำใจให้หยุดนิ่ง แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสะก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายมนุษย์ เห็นตัวของกายมนุษย์ฉะนั้น ที่ได้แสดงมาแล้วนี้ ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น ๑
    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ แต่พอถูก ส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป เห็นดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็ว่างออกไป ตาของกายรูปพรหมก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายทิพย์เห็นตนของกายทิพย์เองฉะนั้น ที่ได้แสดงมานี้ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น ๑
    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม แต่พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป เห็นดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดอยู่ในศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ว่างออกไป ตาของกายอรูปพรหมก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายรูปพรหมเห็นตนของกายรูปพรหมเองฉะนั้น ที่แสดงมานี้ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น ๑
    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม แต่พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป เห็นดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธิ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ว่างออกไป ตาของกายธรรมก็เห็นกายของพระองค์เองอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายอรูปพรหม เห็นตนของตนเองฉะนั้น ที่ได้แสดงมานี้เป็นวิธีที่ทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น ๑
    เมื่อทำมาถึงกายธรรมหรือธรรมกายดังนี้แล้ว ก็รู้จักตัวตนชัดเจนโดยไม่ต้องสงสัย เพราะกายทั้ง ๕ บอกตัวของตัวเอง กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ทั้ง ๔ กายนี้ บอกตัวเองอยู่ว่าไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวเป็นแต่สมมติเท่านั้น รู้ได้เองว่ากายมนุษย์มาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ชั่วคราวตามอายุขัยและวัย สิ้นปัจจัยคือบุญและบาปแล้วก็แตกสลายไป รู้ได้จริงๆ อย่างนี้ ไม่ใช่แต่รู้เห็นด้วยตาของตนทุกๆ คนด้วยกันทั้งนั้น
    ส่วนกายทิพย์ หรือ รูปพรหม อรูปพรหม สิ้นอำนาจของบุญกรรม และรูปฌาน อรูปฌานแล้ว ก็แปรไปเหมือนกายมนุษย์ ต่างกันแต่ช้าและเร็วเท่านั้น
    ส่วนกายธรรมหรือธรรมกายเป็นตัวยืนบอกความจริงว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นตัว ส่วนกาย ทั้ง ๔ เป็นตัวยืนบอกเท็จว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว เท็จต่อความจริงอย่างนี้ เมื่อไม่รู้เห็นจริง จะรู้เห็นเท็จได้อย่างไร ต้องรู้จริงเห็นจริงเสียก่อน จึงย้อนมารู้จักเท็จได้ดังนี้
    ธรรมกายนี้เองเป็นพุทธรัตนะ ซึ่งแปลว่าแก้วคือพุทธะ เมื่อรู้จักพุทธรัตนะแล้ว ก็ควรรู้จักธรรมรัตนะเสียทีเดียว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม อรูปพรหม เป็นธรรมรัตนะ แต่เป็นส่วนโลกีย์ ส่วนธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมนั้นเป็นโคตรภู ต่อเมื่อใด ธรรมกายเลื่อนขึ้นไปเป็นพระโสดาแล้ว ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดานั้นเองเป็นโลกุตตระ
    ส่วนศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ที่อยู่ในศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม แลกายอรูปพรหมเป็นโลกียมรรค เพราะกายทั้ง ๔ นั้นเป็นโลกีย์ ธรรมจึงเป็นโลกีย์ไปตามกาย ส่วนศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ที่อยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเป็นโลกุตตระ เพราะธรรมกายของพระโสดาเป็นโลกุตตระ ธรรมจึงเป็นโลกุตตระไปตามกาย ธรรมที่ทำให้เป็นกายต่างๆ นี้เอง เป็นธรรมรัตนะ ซึ่งแปลว่า แก้วคือธรรม เมื่อรู้จักธรรมรัตนะแล้วก็ควรรู้จักสังฆรัตนะเสียทีเดียว ธรรมกายหรือกายธรรมหมดทั้งสิ้น ยกธรรมกายของพระสัพพัญญู และธรรมกายของพระปัจเจกพุทธเจ้าออกเสีย นอกจากนั้นเป็นธรรมกายของสาวกพุทธทั้งสิ้น มีมากน้อยเท่าใดเป็นสังฆรัตนะ แก้วคือสงฆ์
    การที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยที่ถูกแท้นั้น ต้องเอาใจของตนจรดลงที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นดวงใสบริสุทธิ์เท่าๆ ฟองไข่แดงของไก่ ตั้งอยู่ศูนย์กลางของกายมนุษย์ มีเหมือนกันหมดทุกคน จำเดิมแต่อยู่ในท้องมารดา ใจของกุมารกุมารีจรดจี้หยุดนิ่งอยู่ตรงศูนย์กลางของดวงธรรมนั้นทุกคน ตรงศูนย์กลางของดวงธรรมมีว่างอยู่ประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร ใจของกุมารหรือกุมารีก็จรดอยู่ศูนย์กลางนั้น
    ผู้ที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องเอาใจของตนไปจรดอยู่ที่ศูนย์กลางกายของตนนั้น แล้วทำใจให้หยุด หยุดในหยุด หนักเข้าไปทุกทีไม่ให้คลายออก ทำไปจนใจไม่คลายออก ใจนั้นหยุดในหยุดหนักเข้าไปทุกที นี้เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ใช่ทางไปของปุถุชน ทางไปของปุถุชนไม่หยุด ออกนอกจากหยุด ออกจากทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์อยู่เสมอ จึงได้เจอะเจอพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ยากนัก ขอผู้จงรักภักดีต่อตนของตนที่แท้แล้ว จงตั้งใจแน่แน่ว ให้ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เถิดประเสริฐนัก พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน ไปทางเดียวเหมือนกันทั้งหมด
    เพราะฉะนั้นพวกเราที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย จึงต้องทำใจให้หยุดให้นิ่ง ให้ตรงต่อทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ จึงจะถูกหลักฐานในพุทธศาสนา ทั้งถูกตำราของสัตว์ผู้ไปเกิดมาเกิดด้วย สัตว์ผู้ไปเกิดมาเกิดเข้าสิบไม่ถูก ก็ไม่ตกศูนย์ เมื่อไม่ตกศูนย์ก็ไปเกิดมาเกิดไม่ได้ ธรรมดาของเกิดแลตาย ต้องมีสิบศูนย์เป็นเครื่องหมายเหมือนกันทั้งหมด ทั้งในภพ และนอกภพ การที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยก็เหมือนกัน ต้องเข้าสิบศูนย์เป็นชั้นๆ ไป จึงจะเข้าถึงพระรัตนตรัยได้ ดังแสดงมาตั้งแต่ต้นเป็นชั้นๆ มาแล้วทุกประการ
    รัตนะทั้ง ๓ นี้ เป็นแก้วจริงๆ จังๆ แก้วที่มีในไตรภพนี้มีคุณภาพไม่เทียมทัน ส่วนแก้วในไตรภพที่มนุษย์ใช้อยู่บัดนี้ เพชรเป็นสูงกว่า หรือแก้วที่มีรัศมีเป็นของหายาก ไม่มีใครจะใช้กันนัก แก้วชนิดอย่างนั้น มีสีต่างๆ ถ้าสีนั้นเขียว ใส่ลงไปในน้ำ น้ำก็เขียวไปตามสีแก้วนั้น ถ้าสีเหลือง น้ำก็เหลืองไปตาม ถ้าแดง น้ำก็แดงไปตามสีแก้ว ตกว่าแก้วสีอะไร น้ำก็เป็นไปตามสีแก้วนั้นๆ นี้เป็นรัตนะที่สูงในโลก สูงยิ่งกว่านี้ขึ้นไป ก็ต้องเป็นแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ์
    พระเจ้าจักรพรรดิ์มีแก้ว ๗ ประการคือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คหบดีแก้ว ปรินายกแก้ว แก้ว ๗ ประการนี้เกิดขึ้นในโลกกาลใด มนุษย์ในโลกได้รับความสุข ปราศจากการไถและหว่าน สำเร็จความเป็นอยู่ อาศัยแก้ว ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ให้เป็นอยู่ได้โดยตลอดชีวิต ไม่ต้องทำกิจการใดๆ ทั้งสิ้น พระเจ้าจักรพรรดิ์สอนให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ กรรมบถ ๑๐ ครั้นสิ้นชีพแล้ว ไปบังเกิดในสุคติโดยส่วนเดียว ไม่มีตกไปอยู่ในทุคตติเลย
    แก้วทั้งหลายในโลกพิเศษถึงเพียงนี้แล้ว ยังไม่มีพิเศษเท่าแก้ว คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ แก้วคือพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นั้น ถ้าผู้ใดเข้าไปได้เข้าไปถึงแล้ว ลืมแก้วลืมสวรรค์ลิบๆ ในโลกหมดทั้งสิ้น
    ผู้ที่จะเข้าไปได้ถึงแก้วทั้ง ๓ นี้ ต้องดำเนินไปตามต้น กาย วาจา ใจ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ดังแสดงมาแล้วในเบื้องต้น จนถึงธรรมกาย คือให้ดำเนินไปตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ตั้งต้นแต่ กาย เวทนา จิต ธรรม ไป แต่พอถึงธัมมานุปัสสนา ก็เห็นเป็นดวงใส ที่เรียกว่าดวงศีล ต่อแต่นั้นก็ถึงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งนับว่าเป็นที่รวมพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกรวมอยู่ในศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นี้ทั้งสิ้น เมื่อจับที่รวมของกายมนุษย์ได้แล้ว กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม กายธรรม ก็เหมือน กันดังแสดงมาแล้ว
    ที่ได้แสดงมาแล้วนี้ เป็นวิธีให้เข้าถึงรัตนะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ มีอาการต่างๆ กัน ในเมื่อจับหลักยังไม่ได้ ต่อเมื่อจับหลักคือธรรมกายเสียได้แล้ว จะเห็นว่าไม่ต่างกัน เนื่องเป็นอันเดียวกันแท้ๆ สมด้วยกระแสบาลีในเบื้องต้นว่า “หมวด ๓ ของรัตนะนี้ คือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ หรือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ” แม้ต่างกันโดยวัสดุ แต่เนื้อความเป็นอันเดียวกัน เป็นของเนื่องซึ่งกันและกัน พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรม พระธรรมพระสงฆ์ทรงไว้ พระสงฆ์เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เนื่องเป็นอันเดียวกันเป็นบรรทัดฐาน ดังแสดงทุกประการ พอสมควรแก่เวลา ด้วยประการฉะนี้.
     
  17. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    มงคลกถา
    การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ ความเป็นผู้มีบุญอันทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑
    ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๖


    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    ปฏิรูปเทสวาโส จ ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา
    อตฺตสมฺมาปณิธิ จ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมนฺติ.


    ... หยุดนั่นแหละถูกต้อง ร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนา ถ้าไม่หยุดละก้อ เลอะล่ะ แต่ถ้าพอหยุดได้แล้ว ก็อย่าออกจากหยุดหนา กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางหนักเข้าไปอย่าถอย ออก ถ้าถอยออกผิดความประสงค์ กลางของกลางเข้าไปนั่นแหละ ตั้งแต่ต้นจนถึงพระอรหัต ไม่ให้คลาดเคลื่อนความหยุดอันนี้ เมื่อเราไปพบประเทศอันสมควรเข้าเช่นนั้นแล้ว เราจะต้อง พึงปฏิบัติให้ถูกส่วน ประเทศที่สมควรเป็นประเทศกลาง กลางนั่นแหละที่ใจหยุดเป็นประเทศกลาง ...เหตุนี้แหละท่านทั้งหลายที่ได้มาประสบพบพระพุทธศาสนาต้องหยุดตรงนี้แหละ จับหลักอันนี้ให้ได้ ถ้าจับหลักตรงนี้ไม่ได้ก็ไม่ถูกร่องรอยทางพุทธศาสนา ถึงจะปฏิบัติศาสนา สัก ๕๐ พรรษา ๘๐-๙๐ พรรษา หรือแม้ว่าจะเป็นหญิงเป็นชายชนิดใดก็ช่าง เข้าทางนี้ไม่ถูก ก็เหลว ไม่ถูกต้องร่องรอยทางพุทธศาสนา...
    ” ​
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงมงคลกถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญ ดังนี้ เป็นข้อใหญ่ใจความ ในสากลโลกก็ต้องการความเจริญด้วยกันทั้งนั้น หลีกเลี่ยงหนีความเสื่อมสิ้นด้วยกันทั้งนั้น ความเสื่อมเป็นอนิฏฐผล ไม่เป็นที่ปรารถนาแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ความเจริญเล่าเป็นอิฏฐผล เป็นที่ปรารถนาแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่าดุจเดียวกัน เหตุนั้นเราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า ก็ต้องการเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญดุจเดียวกัน เมื่อเป็นดังนั้น จงมนสิการกำหนดไว้ในใจ ในเวลาที่สดับตรับฟังพระธรรมเทศนาสืบต่อไป ในสัปดาห์ก่อนโน้น ได้แสดงตามวาระพระบาลีว่า อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา ปูชา จ ปูชนียานํ การไม่คบคนพาล คบแต่บัณฑิต บูชาสิ่งที่ควรบูชา ๓ ข้อนี้เป็นเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญโดยแท้ ได้แสดงมาแล้ว
    วันนี้จะแสดงใน ปฏิรูปเทสวาโส เป็นลำดับไป การอยู่ในประเทศอันสมควร เรียกว่า ปฏิรูปเทสวาโส ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา ความเป็นผู้ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน อตฺตสมฺมาปณิธิ จ การตั้งตนไว้ชอบ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ๓ ข้อนี้เป็นเหตุเครื่องถึงความเจริญสูงสุด นี่ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป
    ปฏิรูปเทสวาโส การอยู่ในประเทศอันสมควรนั้น เราต้องรู้จักประเทศ คือประเทศที่เราอยู่ในบัดนี้เรียกว่าประเทศไทย มีประเทศอื่นอยู่รั้วรอบขอบชิด เรียกว่าประเทศใกล้ชิดติดกัน ประเทศอินโดจีนนี่ก็เป็นประเทศ ประเทศลาวก็เป็นประเทศ ประเทศพม่าก็เป็นประเทศ ต่อออกไปจากพม่าก็เป็นประเทศอินเดีย ประเทศลังกาต่อไปอีก ไปทางยุโรปมีมากประเทศทีเดียว ประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส กว้างออกไปอีกคือประเทศเยอรมัน และประเทศเยอรมันนั้นเป็นประเทศลอกแลก ตายแล้วกลับฟื้นขึ้น เวลานี้ฟื้นขึ้นแล้ว ฟื้นขึ้นครึ่งประเทศ ยังไม่ฟื้นหมดประเทศ แปลก ประเทศก็รู้จักเป็นรู้จักตายเหมือนกัน เมื่อรู้จักหลักอันนี้ ประเทศนั้นแหละเป็นหลักอันสำคัญ ถ้าว่ามนุษย์อยู่ในประเทศใดไม่มีพุทธศาสนา ประเทศนั้นเป็นประเทศเรียกว่าไม่มีศาสนาแน่นอน ประเทศเหล่านั้นเรียกว่าประเทศโยกคลอน เพราะศาสนาเป็นตัวสำคัญของประเทศนัก ถ้าประเทศใดมีพุทธศาสนาที่แน่นอน ประเทศนั้นก็เป็นหลักฐาน เป็นประเทศที่เป็นหลักเป็นประธานของโลกทีเดียว ในบัดนี้ประเทศต่างๆ พุทธศาสนาง่อนแง่นคลอนแคลน ในแหลมทองนี้มีอยู่ ๕ ประเทศ ประเทศลาว มอญ พม่า ประเทศเขมร และประเทศไทย ๕ ประเทศนี้เป็นประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา มีศาสนาที่แน่นแฟ้น ไม่ยักเยื้องแปรผันไปตามใคร พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีคำสอนเป็น นิยยานิกธรรมจริงๆ นำสัตว์ออกจากไตรภพแท้ๆ เรียกว่า กระแสพระพุทธฎีกาสืบลำดับของโลกของธรรมมา พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกก็ขนเวไนยสรรพสัตว์ให้พ้นจากไตรวัฏ ๒๔ อสงไขยเศษๆ ทุกๆ พระองค์มา
    บัดนี้เราเกิดมาเป็นไทย เราได้อยู่ในประเทศไทย มีศาสนาปรากฏอยู่ในประเทศไทยนี้ เรียกว่าพุทธศาสนา เราเป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ตั้งอยู่ในพุทธศาสนาด้วย นี้เป็นปฏิรูปเทส ไม่ใช่อื่น ตรงนี้เป็นปฏิรูปเทส เมื่อครั้งพุทธกาลโน้น อินเดียเป็นปฏิรูปเทสแล้ว ต่อมาลังกาเป็นปฏิรูปเทส บัดนี้อินเดียไม่เป็นปฏิรูปเทสเสียแล้ว เท่ากับมิลักขประเทศที่มีศาสนาฟั่นเฟือนหมดแล้ว เราไม่สมควรจะไปประพฤติปฏิบัติ เวลานี้พุทธศาสนารุ่งโรจน์อยู่ในประเทศไทยแห่งเดียว ประเทศพม่า ประเทศเขมร ประเทศลาว เขาก็พอใช้ เขาก็ดีเหมือนกัน แต่ว่าแน่นแฟ้นสำคัญไม่รู้จักแยกแตกสลายละก้อต้องประเทศไทย เพราะมีพระเจ้าแผ่นดินเป็นอัครศาสนูปถัมภ์ทีเดียว เรียกว่า อุปถัมภ์ศาสนาอย่างเลิศ พระเจ้าแผ่นดินเป็นศาสนูปถัมภ์ทีเดียว นี่เป็นปฏิรูปเทส ประเทศที่สมควรที่เราจะพึงประพฤติปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนาได้ ดังนี้เป็นปฏิรูปเทส เรามาอยู่ในประเทศเช่นนี้แล้ว เราสมควรที่จะดำเนินให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนา
    ที่จะดำเนินให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนาน่ะ จะดำเนินอย่างไร ต้องแก้ไขใจของเราให้หยุดเสียก่อน หยุดที่ไหน ต้องหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย กลางกั๊กนั่น ตรงนั้น เวลาเรามาเกิด ใจเราต้องหยุดตรงนั้น เวลาเราหลับ ใจต้องไปหยุดตรงนั้น เวลาเราตาย ใจต้องไปหยุดตรงนั้น เวลาเราตื่นก็ต้องตื่นตรงนั้นแหละ จุดนั้นแหละเป็นที่เกิด ที่ดับ ที่หลับ ที่ตื่น มีจุดเดียว ต้องเอาใจของเราไปจรดนิ่งอยู่ตรงนั้นแหละ ทำใจให้หยุด แก้ไขใจให้หยุด ใจหยุดขณะใด ขณะนั้นถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนา ถ้าใจไม่หยุดละก้อ ไม่ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ทางพุทธศาสนา ถ้าใจหยุดละก้อ ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนาแท้ ตรงกับกระแสพระโอษฐ์ของพระบรมศาสดาได้ทรงประทานให้นัยแก่องคุลิมาล จนองคุลิมาลละพยศ หมดพยศแล้ว ยอมจำนนแก่พระศาสดาแล้ว เปล่งวาจาว่า “สมณะหยุดๆ” พระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์มาแล้วตรัสว่า “สมณะหยุดแล้ว แต่ท่านไม่หยุด” นั่น หยุดอันนั้นเป็นกระแสพระดำรัสของพระบรมศาสดา หยุดนั่นแหละถูกต้อง ร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธศาสนา ถ้าไม่หยุดละก้อ เลอะล่ะ แต่ถ้าพอหยุดได้แล้ว ก็อย่าออกจากหยุดหนา กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางหนักเข้าไปอย่าถอยออก ถ้าถอยออกผิดความประสงค์ กลางของกลางเข้าไปนั่นแหละ ตั้งแต่ต้นจนถึงพระอรหัต ไม่ให้คลาดเคลื่อนความหยุดอันนี้ เมื่อเราไปพบประเทศอันสมควรเข้าเช่นนั้นแล้ว เราจะต้องพึงปฏิบัติให้ถูกส่วน ประเทศที่สมควรเป็นประเทศกลาง กลางนั่นแหละที่ใจหยุดเป็นประเทศกลาง
    ที่กล่าวมาแล้วเป็นประเทศข้างนอก ประเทศข้างในต้องหยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดตรงนั้น จึงจะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่สมควรทีเดียว หยุดตรงนั้นถูกมัชฌิมประเทศ ถูกมัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้งสองอย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค กับ อัตตกิลมถานุโยค เป็นมัชฌิมาปฏิปทาแท้
    เหตุนี้แหละท่านทั้งหลายที่ได้มาประสบพบพระพุทธศาสนาต้องหยุดตรงนี้แหละ จับหลักอันนี้ให้ได้ ถ้าจับหลักตรงนี้ไม่ได้ก็ไม่ถูกร่องรอยทางพุทธศาสนา ถึงจะปฏิบัติศาสนา สัก ๕๐ พรรษา ๘๐-๙๐ พรรษา หรือแม้ว่าจะเป็นหญิงเป็นชายชนิดใดก็ช่าง เข้าทางนี้ไม่ถูก ก็เหลว ไม่ถูกต้องร่องรอยทางพุทธศาสนา
    ที่จะถูกต้องร่องรอยทางพุทธศาสนาต้องอาศัย อตฺตสมฺมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ ตั้งตนไว้ถูก ตั้งตนไว้ชอบ ตั้งตนไว้ถูก ตั้งกันอย่างไร ต้องรู้จักตนเสียก่อนหนา ถ้าไม่รู้จักตน จะไปตั้งเลอะๆ เทอะๆ ที่เรียกว่า อตฺตสมฺมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบไว้ถูกนั่นอะไร สุขทุกฺขํ อทตีติ อตฺตา สภาพอันใดรับสุขรับทุกข์ สภาพอันนั้นชื่อว่าตน ก็บัดนี้กายมนุษย์รับสุขรับทุกข์อยู่ สุขมันก็รู้ ทุกข์มันก็รู้ เมื่อรับสุขรับทุกข์อยู่ต้องตั้งตนไว้ชอบ ตั้งตนไว้ชอบ ตั้งกันอย่างไร ขั้นต้น ต้องตั้งตนไว้ในทาน ตั้งตนไว้ในศีล ตั้งตนไว้ในการเจริญภาวนา นี่เป็นการตั้งตนไว้ชอบของกายมนุษย์หยาบ ส่วนการตั้งตนไว้ชอบของกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์ละเอียดคือกายที่ฝันออกไป เอากายมนุษย์ละเอียดมาหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายมนุษย์หยาบ ที่หยุดที่นิ่งนั่นแหละ เรียกว่า อตฺตสมฺมาปณิธิ แท้ เมื่อถูกหลักเช่นนี้แล้ว หยุดเป็นลำดับเข้าไป เมื่อกายมนุษย์ละเอียดหยุดนิ่ง ที่หยุดที่นิ่งนั่นแล้ว กายทิพย์ก็หยุดไปตามส่วนกัน กายทิพย์ละเอียดก็หยุดไปตามด้วย ตนของกายรูปพรหมก็ต้องหยุดให้ถูกส่วน ตนของกายรูปพรหมละเอียด ก็ต้องหยุดให้ถูกส่วน ตนของกายอรูปพรหมก็ต้องหยุดให้ถูกส่วน ตนของกายอรูปพรหมละเอียด ก็ต้องหยุดให้ถูกส่วนกัน กายรูปพรหม อรูปพรหม ต้องหยุดให้ถูกส่วนกันดังนี้ ตลอดจนกระทั่งถึงกายธรรม พอถึงกายธรรมก็ต้องหยุดให้ถูกจุด นิ่งที่จุดหยุดนั้น หยุดนิ่งจุดอื่นไม่เอา จนกระทั่งถึงกายธรรมละเอียด กายธรรมพระโสดา-พระโสดาละเอียด เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคา-พระสกทาคาละเอียด เข้าถึงกายพระอนาคา-พระอนาคาละเอียด เข้าถึงกายพระอรหัต-พระอรหัตละเอียด เมื่อเข้าถึงถูกต้องร่องรอยดังนี้ เรียกว่า อตฺตสมฺมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
    เมื่อตั้งตนไว้ชอบเช่นนี้ ทำอย่างไรจึงได้ชื่อว่า ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ความเป็นผู้ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน เพราะตนได้อบรมสั่งสมบารมีมาแล้วตั้งแต่อเนกชาติสมควร แล้วครบแสนกัปแล้ว มาพบพระพุทธศาสนาอาจได้สำเร็จมรรคผลทีเดียว เพราะบารมีพอแล้ว ทำอะไรที่เรียกว่าทำความดีน่ะ ที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์อย่างนี้น่ะ ชาติก่อนที่แล้วๆ มา ได้อุตส่าห์ให้ทานตามความสามารถและตามกำลังของตน ตามส่วนที่จะพึงให้ได้ บำเพ็ญทานไปดังนี้แหละ ของนอกกายมีเท่าไรๆ ให้ไปให้หมด ไม่เหลือไว้เลย ดังนี้ เรียกว่า ทานบารมี เนื้อและเลือดก็ให้ได้ เว้นแต่ชีวิตเท่านั้น ให้ดังนี้เรียกว่า ทานอุปบารมี ให้ชีวิตเป็นทานก็ได้ นี้เรียกว่า ทานปรมัตถบารมี เมื่อให้ของนอกกายได้ตลอดถึงชีวิตและเลือดเนื้อเช่นนี้ ได้ชื่อว่า ตนได้บำเพ็ญทานของตน ไม่ใช่แต่ให้เท่านั้น ให้สูงยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ครบปัญจมหาบริจาค ทานบารมี ทานอุปบารมี ทานปรมัตถบารมี ให้ได้เกินกว่านั้น เรียกว่า ปุตตบริจาค ให้ลูกเป็นทานก็ได้ ให้ผัวเป็นทานก็ได้ การให้อย่างนี้สูง ไม่ใช่ให้ง่ายๆ ไม่ใช่สละง่ายๆ สละยากนัก คนใจไม่มั่นหมายในทาน ให้ไม่ได้ ถ้ามั่นหมายในทานจึงจะให้ได้ เพราะฉะนั้น ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ต้องทำความดีไว้ในปางก่อน ต้องบำเพ็ญทานให้มั่นหมาย ไม่ใช่บำเพ็ญง่อนแง่นคลอนแคลน ให้ทานเป็นของนอกกาย ให้ตลอดจนชีวิตและเลือดเนื้อ อย่างนี้เรียกว่า ให้ทานจริงจัง คนที่สร้างบารมีต้องสร้างกันอย่างนี้ เรียกว่าทำความดีไว้ในชาติปางก่อน เรียกว่า ทานบารมี
    ศีลบารมีอีกดุจเดียวกัน การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่มีเศร้าหมองด่างพร้อยอย่างหนึ่งอย่างใด ศีลบริสุทธิ์แท้ๆ แน่วแน่ทีเดียว แม้สมบัตินอกกายจะวอดวายอย่างหนึ่งอย่างใด ไม่ยอมให้ศีลเป็นอันตราย เรียกว่า ศีลบารมี แม้เลือดเนื้อจะเป็นอันตรายไม่ยอมให้ศีลขาด เรียกว่า ศีลอุปบารมี แม้ชีวิตจะดับไปเดี๋ยวนี้ก็ไม่ยอมให้ศีลขาด เรียกว่า ศีลปรมัตถบารมี เมื่อสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยศีลเช่นนี้ เรียกว่า ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ความดีที่ทำไว้ในชาติก่อน
    เจริญภาวนาเล่า ก็ดุจเดียวกัน เสียสมบัติภายนอกกายเว้นไว้แต่ชีวิตและเลือดเนื้อ ไม่ยอมให้เสียทางภาวนา เนื้อและเลือดจะแห้งเหือดหมดไปก็ไม่ว่า ไม่ยอมให้เสียทางภาวนา แม้ชีวิตจะดับไปก็ไม่ยอมให้เสียทางภาวนา มั่นหมายในทางภาวนาทีเดียว อย่างนี้เรียกว่า ภาวนาบารมี ภาวนาอุปบารมี ภาวนาปรมัตถบารมี ดุจเดียวกัน บำเพ็ญให้มั่นหมายในขันธสันดาน เรียกว่า ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ความเป็นผู้ได้กระทำความดีไว้ในชาติปางก่อน
    อุทาหรณ์ที่จะชักให้เห็นนั้นมีมาก ดังท่านผู้ปกครองประเทศ เช่น พระเจ้าแผ่นดิน ทำไมจึงเกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ก็เพราะท่านเหล่านี้เป็นผู้ได้สั่งสมความดีไว้ในชาติปางก่อน การเกิดเป็นกษัตริย์หรือเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ไม่ใช่ของเกิดยาก ดังเช่นทุคคตบุรุษ บุรุษทำการรับจ้างของอนาถปิณฑิกเศรษฐีในเมืองสาวัตถี ในครั้งกระนั้นเวลาทุคคตบุรุษเสร็จจากการรับจ้างกลับมา เป็นเวลาเย็น เป็นวัน ๘ ค่ำ แม่ครัวเขาก็หุงข้าวไว้ให้ แล้วก็ยกมาให้ทุคคตบุรุษ ทุคคตบุรุษจึงถามว่า “ท่านเจ้าข้า คนในบ้านเป็นอันมากเคยเอิกเกริกโกลาหล หายไปไหนเล่า เงียบเชียบไปหมด” แม่ครัวเขาก็บอกว่า “คนในบ้านนี้เวลาวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ เขารักษาศีลกันทั้งหมดบ้าน เด็กเล็กก็ต้องรักษาศีลกันทั้งนั้น เขาไม่รับประทานอาหารเย็นกันดอก” ทุคคตบุรุษนึกแต่ในใจว่า “เอ๊ะ เรามาทำการรับจ้างในบ้านที่เขารักษาศีลกัน เราเป็นคนไม่รักษาศีล มันก็ขัดจังหวะกัน ไม่ได้นา ชอบกล ศีลก็เป็นของรักษาได้ยาก เขาเป็นคนมั่งมีถึงขนาดนี้ เขายังรักษาศีลกันทั้งบ้านทั้งช่อง เราจนถึงขนาดนี้ใจยังหยาบช้า กล้าแข็ง ไม่รักษาศีลกับเขาบ้างล่ะ” คิดดังนี้แล้วก็ถามแม่ครัวว่า “ฉันจะรักษาศีลบ้างได้ไหมล่ะ” แม่ครัวก็บอกว่า “ฉันจะไปถามนายดูก่อน” แม่ครัวก็รีบไปถามท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีว่า “บุรุษทำการรับจ้างเขาจะรักษาศีลบ้างได้ไหมเจ้าค่ะ” ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีก็บอกว่า “ได้ซี แต่ว่าเป็นอุโบสถครึ่งวันนะ ไม่ได้เต็มวัน เพราะมันจะค่ำเสียก่อน หมดวันเสียแล้ว กึ่งวัน เท่านั้น รักษาได้ก็สมาทานอุโบสถทีเดียว” เมื่อสมาทานอุโบสถเรียบร้อยแล้ว พอค่ำๆ ตอน ดึกๆ หน่อย เอ้า ปวดท้องเข้าแล้ว เพราะอ้ายท้องมันหิว เพราะทำงานเหนื่อยมาก มันแสบท้อง มันหิวเต็มที แม่ครัวก็ไปบอกท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีว่า บุรุษที่รักษาศีลปวดท้องเสียแล้วเพราะความหิว ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีก็บอกแก่แม่ครัวว่าทำน้ำอัฏฐบานให้ดื่มเสียซิ แม่ครัวก็จัดแจงทำน้ำอัฏฐบานมาให้ บุรุษนั้นไม่ยอมดื่ม แล้วกล่าวว่า “ท่านทำไม ไม่ดื่มบ้างล่ะ” “ฉันไม่ได้เป็นอะไรนี่ จะไปดื่มทำไมล่ะ” “ท่านเป็นโรค ดื่มน้ำอัฏฐบานเสียซี โรคปวดท้องจะได้หาย” บุรุษนั้นจะดื่ม ก็ศีลของตัวกึ่งวันเท่านั้น กลัวจะเป็นอันตรายแก่ศีล กลัวศีลจะไม่บริสุทธิ์ จึงพูดว่า “เมื่อท่านไม่ดื่ม ฉันก็ไม่ดื่ม ตายก็ตายไปเถิด เป็นอะไรก็เป็นไป ไม่ดื่มเหมือนกัน” ก็ทนต่อไป พอตกตอนดึกๆ เข้าก็ปวดท้องเต็มที พอรุ่งเช้าขึ้น เต็มทีจะตายอยู่แล้ว จวนตายเต็มที ก็พอดีพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จผ่านไปทางนั้น พอใกล้จะตายเห็นพระเจ้าปเสนทิโกศลนึกในใจว่า “ด้วยบุญกุศลของเราที่ได้รักษาศีลกึ่งวันนี้ ขอให้ได้ไปเกิดเป็นพระราชโอรสพระเจ้าปเสนทิโกศลเถิด” พออธิษฐานใจดังนั้นก็แตกกายทำลายขันธ์จากอัตภาพร่างกายเข้าไปอยู่ในศูนย์กลางกายของพระเจ้าปเสนทิโกศล ลูกไปเกิดในท้องพ่อ เข้าไปทางช่องจมูกขวา ไปอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล พอถึงเวลาพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ประกอบธาตุธรรมถูกส่วนอยู่ร่วมกับพระมเหสีถูกส่วนเข้า บังคับกายสัมภเวสีนั้นตกศูนย์ ก็ออกจากท้องพระเจ้าปเสนทิโกศลออกทางจมูกขวา เข้าทางจมูกซ้ายของมารดา ไปเป็นกลลรูปติดที่ขั้วมดลูกในท้องของพระมเหสี เหมือนกับอนาถปิณฑิกเศรษฐี อุ้มเด็กกุมารส่งให้ภรรยาเลี้ยงไว้ในท้อง พอเจริญครบ ๑๐ เดือน ก็ประสูติออกมาเป็นราชกุมารเป็นโอรสของพระเจ้าปเสนทิโกศล รักษาศีลกึ่งวันเท่านั้นได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ก็ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อจากพระเจ้าปเสนทิโกศล เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จสวรรคตแล้ว นี่เป็น ปุพฺเพ กตปุญฺญตา อย่างนี้ เขาทำความดีไว้ เขาได้รักษาศีลจริงๆ ศีลบริสุทธิ์จริงๆ ยอมตายเพื่อไม่ให้ศีลเป็นอันตราย นี่เขาเรียกว่า ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ทำความดีอย่างนี้ ก็ได้เกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ปรากฏอย่างนี้
    ไม่ใช่แต่เท่านั้น เหมือนดังลาชเทวธิดาเฝ้าไร่ข้าวสาลี เมื่อเห็นพระมหาอริยกัสสปะเดินทางมา มีศรัทธาเลื่อมใส เข้าไปในท้องนา ไปเอาข้าวตอกที่ตัวเตรียมออกไปไว้สำหรับรับประทานในกลางวัน เอาออกมาคอยอยู่ พอพระคุณเจ้าพระมหาอริยกัสสปะมาใกล้ “ติฏฺฐถ ภนฺเต นิมนต์โปรดก่อนเจ้าค่ะ” พระมหาอริยกัสสปะก็รออยู่ นางก็เอาข้าวตอกยกมือขึ้นทูนศีรษะแล้วขออาราธนาพระคุณเจ้าเปิดบาตร พระคุณเจ้าก็เปิดบาตร นางก็ใส่ข้าวตอกลงไปครึ่งขัน ท่านก็ปิดบาตร พอครึ่งขันก็ปิดบาตรเสียแล้ว นี่เขาเรียกว่ารู้จักประมาณในการรับ เขาให้ละก็รับเรื่อยเปื่อยไปมันก็เดือดร้อนนะซิ เขาก็รับประทานเหมือนกัน ให้เขาครึ่ง เอาครึ่ง เอาข้าวตอกครึ่งเดียวปิดบาตรทันทีเสียแล้ว นางนั้นนั่งลง ยกมือขึ้นไหว้ว่า “ปรโลกสงฺคหํ ขอนิมนต์พระคุณเจ้าโปรดฉันในโลกหน้าเถิด โลกนี้อย่าโปรดเลย โปรดโลกหน้าเถิด” พระมหาอริยกัสสปะก็เปิดบาตร นางก็ใส่เข้าตอกหมด ดีอกดีใจ ปลื้มอก ปลื้มใจ พระมหาอริยกัสสปะท่านรับข้าวตอกแล้วท่านก็เลยไป เดินทางไปตามคันนา นางก็ตามส่งพระผู้เป็นเจ้ามหาอริยกัสสปะไปถึงคันนาตอนหญ้ารกปกคลุม อสรพิษมันอยู่ในที่นั้น พระมหาอริยกัสสปะเดินไปข้างหน้า มันก็ไม่ได้กัด เมื่อนางเดินผ่านไป มันก็ออกจากปล่อง ขบเอาแข้งนางล้มลง ณ ที่นั้น สุตฺตปฺปพุทฺโธ วิย ราวกับว่าตื่นจากหลับ สุวณฺณวิมาเน นิพฺพตฺติ ก็บังเกิดในวิมานทอง ห้อยย้อยไปด้วยสายข้าวตอกในชายวิมานงดงามยิ่งนักหนา เมื่อลมทิพย์พัดมาอ่อนๆ ดังประหนึ่งปัญจางคดุริยางค์ดนตรีไพเราะเสนาะสนานประสานเสียง นางก็นึกแต่ในใจว่า โอ! เรามาเกิดนี้ด้วยกุศลอันใด ก็รู้ว่าได้ถวายข้าวตอกแก่พระมหาอริยกัสสปะ จึงได้มาเกิด งูกัดเข้าล้มตายอยู่ตรงนั้น ซากศพยังปรากฏอยู่นั่น เราจะต้องแก้ไขสมบัติของเราให้ตั้งมั่นต่อไป ทำบุญนิดหนึ่งเท่านี้ได้สมบัติมากมายขนาดนี้ กลัวจะไม่ตั้งมั่นสิ้นกาลนาน คิดดังนั้นแล้ว เวลารุ่งเช้าของมนุษย์โลก นางก็ถือเอาถาดทองกระเช้าทองลงมาสู่วิหารที่อยู่ของพระมหาอริยกัสสปะ มาปฏิบัติปัดกวาดปูลาดอาสนะ ตั้งน้ำใช้ น้ำฉันไว้เรียบร้อยสำหรับพระมหาอริยกัสสปะ พระมหาอริยกัสสปะกลับจากบิณฑบาต “เอ๊ะ นี่ใครมาปฏิบัติอยู่นี่ จะเป็นภิกษุหนุ่ม หรือสามเณรหนอ” รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง นางก็มาทำดังนั้นอีก ทำเสร็จแล้วก็กลับไป “เอ นี่จะเป็นภิกษุหนุ่ม หรือสามเณรหนอมาทำ” พอรุ่งขึ้น อีกวันหนึ่ง พระผู้เป็นเจ้าไปครึ่งเวลาเท่าที่เคยไป แล้วกลับมาดูที่วิหารมองไปในช่องดาน “โอ! สว่างโล่ง แสงสว่างอะไรน่ะ”
    นางลาชเทวธิดาตอบว่า “หม่อมฉันเอง พระเจ้าค่ะ” “หม่อมฉันเองน่ะ คือใครล่ะ”
    “หม่อมฉันคือลาชเทวธิดา ผู้เป็นอุปัฏฐากของพระคุณเจ้า” “อุปัฏฐากของเราไม่มีนะ ลาชเทวธิดา”
    พอเปิดประตูเข้าไป พระคุณเจ้าก็ไต่ถามว่า “วานนี้เจ้ามาทำหรือ ? วานซืนนี้เธอก็มาทำหรือ” นางก็ตอบรับตามตรงทุกสิ่งทุกอย่าง
    “ต่อแต่นี้ไปไม่ได้หนา เราอยู่ผู้เดียว เจ้าถึงจะเป็นกายทิพย์ก็เป็นผู้หญิง ผู้หญิงกับผู้ชาย ทางพุทธศาสนามีวินัยบัญญัติห้ามนัก ถ้าว่าปฏิบัติกันสองต่อสองเช่นนี้ละก็ นานต่อไปในภายภาคเบื้องหน้า พระธรรมสังคีติกาจารย์ขึ้นธรรมาสน์ ถือพัดวาลวีชนี จะยกกัสสปะนี้ขึ้นเป็นตัวอย่างว่าทำชั่วร้ายในศาสนาหนา ผิดธรรมผิดวินัย ท่านจงออกไปเสียเถิด อย่าปฏิบัติเราเลย”
    “พระคุณเจ้าขอได้กรุณาหม่อมฉันเถิด ขอให้สมบัติของหม่อมฉันตั้งมั่นต่อไป สมบัติที่ได้นั้นเพราะอาศัยบุญบารมีของพระคุณเจ้า”
    “ไม่ได้ ออกไปเสียเถอะ จะเป็นตัวอย่างเสียหายในทางพุทธศาสนา”
    นางก็อยู่ไม่ได้ ก็ร้องไห้ เสียงร้องไห้ได้ยินเข้าไปในโสตของพระบรมศาสดา พระองค์ทรงสงเคราะห์ แสดงพระกายให้ปรากฏต่อหน้านางลาชเทวธิดานั้น นางจะเหาะไปทางไหน พระองค์ก็เทศนาเรื่อยไปต่อหน้านาง นางก็ได้ยินเรื่อยไป กำลังเหาะนั่นแหละฟังเทศน์เรื่อยไป นางได้สำเร็จมรรคผล สมมาดปรารถนาด้วยความเลื่อมใสศรัทธา นี่เป็น ปุพฺเพ กตปุญฺญตา นางได้กระทำความดี ได้ถวายข้าวตอกแก่พระมหาอริยกัสสปะ แล้วงูกัดตาย ไปเกิดในดาวดึงส์เทวโลก ก็เพราะสำเร็จด้วยบุญที่ตัวได้กระทำในชาติก่อนภพก่อน อาศัยบุญที่ตัวได้กระทำไว้แล้วจึงได้ไปเป็นเทวธิดา ก็มุ่งมาดปรารถนาจะทำสมบัติให้ตั้งมั่น ก็ได้สมมาดปรารถนา อุตส่าห์ไปปฏิบัติพระมหาอริยกัสสปะ พระบรมศาสดาจึงได้ทรงอนุเคราะห์ให้ได้ สำเร็จมรรคผล สมปรารถนา
    ที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนาก็ต้องอาศัย ปุพฺเพ กตปุญฺญตา ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน จงอุตส่าห์พยายามทำความดีให้หนักขึ้นไป ให้เป็นบุญนิธิหนักขึ้นไป เมื่อจะทำได้ด้วยวิธีให้ทาน ก็ให้ทานหนักขึ้นไป เมื่อจะทำได้ด้วยวิธีรักษาศีล ก็รักษาศีลให้ หนักขึ้นไป เมื่อจะทำได้ด้วยวิธีการเจริญภาวนา ก็เจริญภาวนาให้หนักขึ้นไป จะทำได้ด้วยวิธีใด วิธีหนึ่งก็จงอุตส่าห์พยายามทำให้สุดความสามารถของตน สิ่งที่เป็นที่ตั้งกองการบำเพ็ญกุศล พระบรมทศพลได้ทรงตรัสเทศนาไว้เป็นอเนกประการว่า
    1. ทาน การให้ ก็ได้ชื่อ “ทานมัย” บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
    2. ศีล การรักษากายวาจา ได้ชื่อว่า “สีลมัย” บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
    3. ภาวนา การทำให้มีให้เป็น ก็ได้ชื่อว่า “ภาวนามัย” บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
    4. ประพฤติตกต่ำยำเกรงแก่ตระกูลผู้เจริญกว่า ก็ได้ชื่อว่า “อปจายนมัย” บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อม ตนต่อผู้ใหญ่หรือผู้เจริญกว่า
    5. การช่วยเหลือในกิจที่ชอบ เรียกว่า “เวยยาวัจจมัย” บุญสำเร็จ ด้วยการขวนขวายในกิจที่ชอบ
    6. การให้ความดีแก่ผู้อื่นได้ชื่อว่า “ปัตติทานมัย” บุญสำเร็จด้วย การให้ความดีแก่ผู้อื่น
    7. การอนุโมทนาความดี ไม่อิจฉาริษยาเขาที่เรียกว่า “ปัตตานุโมทนามัย” บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาบุญของผู้อื่น
    8. การสดับตรับฟังธรรมเทศนาของเราท่านในบัดนี้ เหมือนภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ที่ฟังอยู่ ณ บัดนี้ ได้ชื่อว่า “ธัมมัสสวนมัย” บุญ สำเร็จด้วยการสดับตรับฟังธรรมเทศนา
    9. บุญที่ได้ด้วยการแสดงธรรมให้แก่ ผู้อื่นฟังได้บุญกุศล เหมือนผู้เทศน์นี้ ได้ชื่อว่า “ธัมมเทสนามัย” บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรมให้แก่ผู้อื่น
    10. ทั้ง ๙ อย่าง ได้ชื่อว่าเป็น “ทิฏฐุชุกัมม์” เป็นการทำความเห็นให้ตรงถูกต้องร่องรอยตามความประสงค์ ของทางพุทธศาสนา เรียกว่า ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นของตนให้ตรง
    สิ่งเป็นที่ตั้งของการบำเพ็ญบุญมีถึง ๑๐ ประการ ในวันหนึ่งๆ เราบำเพ็ญหลายประการ เหมือนเราท่านในบัดนี้ได้บำเพ็ญหลายอย่างด้วยกัน
    1. ทานมัย ให้ทาน
    2. แล้วก็มารักษาศีล เรียกว่า สีลมัย
    3. รักษาศีลแล้วก็ไปเจริญภาวนา เรียกว่า ภาวนามัย
    4. แล้วไปอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เรียกว่า อปจายนมัย
    5. การช่วยทำครัวเลี้ยงพระเจ้าพระสงฆ์อย่างนี้ก็เรียกว่า เวยยาวัจจมัย ให้คนโน้นเขาประเคนบ้าง ให้คนนี้เขาประเคนบ้าง
    6. สิ่งของของตนให้คนอื่น เขาให้ทานบ้าง เรียกว่า ปัตติทานมัย
    7. เห็นเขาดีก็อนุโมทนาเขา นั้นเรียกว่า ปัตตานุโมทนามัย
    8. การสดับตรับฟังเช่นนี้ เรียกว่า ธัมมัสสวนมัย
    9. การแสดงธรรมให้บุคคลผู้อื่นฟัง จำได้เรื่องนั้น เรื่องนี้ก็นำไปแสดงให้ผู้อื่นฟังบ้าง เรียกว่า ธัมมเทสนามัย
    10. การทำความเห็นของตนให้ตรงต่อ ความประสงค์ทางพุทธศาสนา เรียกว่า ทิฏฐุชุกัมม์
    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาในมงคลคาถาทั้ง ๓ ข้อนี้ ข้อต้นว่า อยู่ในประเทศอันสมควร ข้อที่ ๒ ว่า ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน และข้อที่ ๓ ว่า ได้ตั้งตนไว้ชอบ ประกอบด้วยองค์คุณ ทั้ง ๓ ประการนี้ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เป็นเหตุเครื่องถึงซึ่งความเจริญอันสูงสุด นี้ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอเป็นเครื่องปฏิการประคับประคองสนองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่านพุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดาที่มาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา ด้วยอำนาจสัจจวาจาที่ได้อ้างธรรมเทศนาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดาที่มาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงแค่นี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  18. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    [​IMG]


    นำนั่งเบื้องต้น 55 นาที

    [MUSIC]http://www.dhammakaya.org/wma/wlps50120303.wma[/MUSIC]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2010
  19. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
    OO หลอกตัวเอง OO<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "pub-2576485761337625";/* 250x250, created 31/01/09 */google_ad_slot = "7252767143";google_ad_width = 250;google_ad_height = 250;//--> </SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"> </SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/expansion_embed.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><INS style="POSITION: relative; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; WIDTH: 250px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: inline-table; BORDER-TOP-STYLE: none; HEIGHT: 250px; VISIBILITY: visible; BORDER-LEFT-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px"><INS style="POSITION: relative; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; PADDING-BOTTOM: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; WIDTH: 250px; PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: block; BORDER-TOP-STYLE: none; HEIGHT: 250px; VISIBILITY: visible; BORDER-LEFT-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px"></INS></INS>
    หลวงปู่สด ท่านสอนไว้ว่า .....


    หลอกตัวเองเป็นอย่างไร ตัวอยากได้ความสุข แต่ไปประพฤติทุกข์เสีย มันก็หลอกตัวเองอยู่อย่างนี้ละซี ตัวเองอยากได้ความสุข แต่ความประพฤตินั่นหลอกตัวเองเสีย ไปทางทุกข์เสีย มันหลอกอยู่อย่างนี้นี่ ใครเข้าใกล้มันก็โกง โกงทุกเหลี่ยมนั่นแหละ ถ้าลองหลอกตัวเองได้มันก็โกงคนอื่นได้
    ไว้ใจไม่ได้ทีเดียว เหตุนี้พุทธศาสนาท่านตรง ตรงตามท่านล่ะ
    ก็มรรคผลไม่ไปไหน อยู่แค่เงื้อมมือ อยู่ในกำมือทีเดียว พุทธศาสนาท่านตรงแต่ผู้ปฏิบัติไม่ตรงตามพุทธศาสนา มันก็หลอกลวงตัวเองโกงคนอื่นเท่านั้น นี่หลักจริงเป็นอย่างนี้ ให้จำไว้ให้มั่น ฯ


    <!-- google_ad_section_end -->
     
  20. ?????????

    ????????? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2009
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +5,893
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...