น่าเป็นห่วง หลักสูตรพุทธศาสนา จากบางอาจารย์ สอนตายแล้วสูญ ( หลักสูตร ม.1- ม.6)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 24 มกราคม 2006.

?
  1. ไม่เห็นด้วย (คิดว่าสอนผิด)

    0 vote(s)
    0.0%
  2. เห็นด้วย (คิดว่าสอนถูก)

    0 vote(s)
    0.0%
  1. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    สิ่งที่ท่านพิมพ์มา ท่านศึกษามาจากไหนเหรอครับ

    แล้วใครสอนว่า "อัตตาเข้ามาในพุทธศาสนา คนนั้นจัดว่าทำลายหัวใจพุทธศาสนาอย่างยิ่ง" อยากรู้จริง ๆ ครับ
     
  2. ดอนdon

    ดอนdon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,580
    ค่าพลัง:
    +3,291
    ผมว่าแล้ว...นอนไม่หลับเลย เดินลงมาเปิดเครื่องใหม่ คืองี้ครับที่ข้อความที่อาจารย์ยกมาน่ะ
    เริ่มต้นผมเขียนว่า "ขอลัดนะ"หรือผมอาจจะลืมเขียนเพราะว่ามันยาว ต้องกล่าวถึงจักรวาลเก่า และลงท้ายด้วย "ธาตุพันธุ์" หมายถึงธาตุรอง ไม่ใช่วิญญาณธาตุที่เกิดหลังธาตุผสม
    มันเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมนิเวศน์น่ะครับ ผมยังไม่ได้กล่าวต่อไปเลย อาจารย์ก็หยิบเอาไปเป็นโจทย์ใหม่ซะแล้ว
    แต่ถ้าถามว่าก่อนเกิดธาตุ ก็คือวิญญาณฑุติยฌานเสียส่วนใหญ่ส่วนน้อยจะอยู่รอบนอก (ส่วนอเวจีอยู่สุดจักรวาล) จึงไม่มีรูปลักษณะที่เป็นวิญญาณแต่เป็นธาตุเดียวกัน ทุกสิ่งเกิดขึ้นตามวาระที่ใกล้จะหมด
    วิญญาณเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่เกิดธาตุหลัก แต่ยังไม่ได้หมายถึงคนนะ
    นรกสวรรค์เริ่มเกิดขึ้นเมื่อเกิดธาตุรอง ธาตุผสม
    ขอลัดนะ วิญญาณธาตุจึงเกิดขึ้นโดย การมีรูปเป็นของตน การมีอายตนะเป็นของตน สังขาร สัญญา เวทนา จึงตามมา
    ไม่ต้องหาหรอกนะครับว่าเอามาจากไหน ไม่ใช่สาระสำคัญ ไม่ควรนำเก็บ
    ผมเพียงแค่จะกล่าวถึงธาตุให้อาจารย์ท่าน เพราะท่านมองลึก จนอาจจะมองข้าม อันที่จริงการสอนเด็กที่ไม่ค่อยรู้เรื่องธรรมถ้าบอกว่าไม่มีวิญญาณ ไม่มีนรกสวรรค์จะเป็นผลร้ายในอีกไม่เกินสิบปีเท่านั้นเอง ต้องขอโทษมากๆนะครับถ้าผมกลายเป็นประเด็น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2010
  3. ดอนdon

    ดอนdon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,580
    ค่าพลัง:
    +3,291
    คือผมเข้าใจทั้งสองท่านนะครับ จะคล้ายๆ กรณีเดียวกันของพระเกษมที่ห้ามไหว้พระ
    คือท่านมองเห็นแบบนั้น แต่คนศรัทธามองเห็นอีกแบบหนึ่ง
    ก็เลยไม่ลงลอยกัน
     
  4. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ที่ท่านกำลังกล่าวมาทั้งหมด มันจัดอยู่ในข่ายนิรัตตานะครับ ลองดูให้ดีเลย
    ถ้าอนัตตาคือไม่ใช่ตัวตนเที่ยงแท้ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
    ดูผังของธาตุให้ดีนะครับ ว่าธาตุทั้ง 4 หยาบกว่าอากาศธาตุ และอากาศหยาบกว่าวิญญาณธาตุนะครับ จะบอกว่าธาตุ 4 ให้กำเนิดวิญญาณธาตุนั้นไม่ถูกอย่างยิ่ง
    และไอ้ที่ใช้ปฏิสนธิภพภูมิเนี่ย มันคือจิตนะครับ ลึกกว่าวิญญาณธาตุอีก
    เพราะมีกระบวนการของจิตจึงมีการรับรู้ และปรุงแต่ง ให้มีอายตนะ มีขันธ์ อวิชชาครอบงำ
    สรุปแล้ว ธรรมเป็นให้กำเนิดจิตครับ หยาบกว่านี้ให้กำเนิดไม่ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2010
  5. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ใช่แล้ว ไม่มีอะไรเกิดมานอกจากทุกข์เลยจริงๆ มันปรุงแต่งทั้งนั้น
    ไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับ มีแต่ทุกข์ที่เกิด มีแต่ทุกข์ที่ดับ
    ที่เราเห็นๆกันอยู่ ที่เราเกิด-ตายเวียนว่ายกันอยู่ มันเป็นมายาทั้งสิ้น
    อวิชชาที่ปรุงแต่ง เราที่ยังโง่อยู่ก็ยังคล้อยตาม
    สรุปแล้ว ไม่มีเราเกิด ไม่มีเราตาย มีแต่โง่ที่เกิด มีแต่โง่ที่ตาย
    จิตหลงอยู่แท้ๆ จึงได้เวียนว่ายตายเกิดกันอยู่แท้ๆ
    ถ้าเข้าถึงอวิกัลปญาณ ก็จะเข้าใจได้ ว่าจริงๆแล้ว ไม่มีการแบ่งแยก เรา-เขา
    ไม่มีอะไรเกิด มีแต่ปรุงๆๆ มายาลวงหลอก เกิดภพเกิดชาติ เกิดสังสารวัฏ
    เกิดอวิชชา เกิดกิเลส จึงต้องมีมรรคาให้ดำเนินเพื่อพ้นการปรุงแต่ง
     
  6. ดอนdon

    ดอนdon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,580
    ค่าพลัง:
    +3,291
    คือผมกล่าวถึงเมื่อ โลกเก่าใกล้จะดับลง สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่มีระดับสูง ฝึกสมาธิได้ถึงขั้นพรหม เมื่อโลกดับ วิญญาณที่รวมตัวกันล่องลอยเรื่อยไปในจักรวาล
    ที่ท่านกล่าวมาก็ถูก อากาสธาตุก็รวมอยู่ในนั้นด้วย แต่ส่วนใหญ่อากาสธาตุนั้นจะหมายถึงความว่างที่มีเราทับอยู่เหมือนกระดาษ เปรียบเปรยน่ะครับ
     
  7. ดอนdon

    ดอนdon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,580
    ค่าพลัง:
    +3,291
    ส่วนวิญาณมาก่อนหรือว่าธาตุมาก่อน อันนี้ลองตรองดูนะครับว่า ครั้งแรกคงทน ต่อมาผุกร่อน นานไปผุพัง เหมือนน้ำเราเปิดเต็มโอ่งทิ้งไว้สักพักตะกอนเริ่มจับตัว สิ่งที่เบาลอยขึ้นสิ่งที่หนักตกลง มันเป็นเรื่องธรรมดา อีกทั้งผมยังไม่ได้กล่าวถึงวิญญาณธาตุมนุษย์เลย สิ่งที่เป็นปัจจัยคือสิ่งที่สร้างปัจจัย สิ่งที่สร้างปัจจัยคือสิ่งที่เป็นปัจจัย ตัวเรามันเหมือนเลขศูนย์ เอาศูนย์ออก เป็นกระดาษ เอากระดาษออก เป็นอากาศ เอาอากาศออกเป็นสุญญกาศ เอาสุญญกาศออกเป็นความว่าง เอาความว่างออกเป็นสิริสัมภาวะ เอาสิริสัมภาวะออกเป็นอายตนะ เอาอายตนะออกเป็นนิสสัย ฯลฯ มันวนไปเรื่อย แต่ผมก็ยังเชื่อว่า พระไตรฯดี ทำให้หยุดหมุน แล้วผมก็มองว่าวิทย์อยู่ข้างซ้ายธรรมอยู่ตรงกลางความเชื่ออยู่ข้างขวาแต่วิทย์ใกล้กว่าแต่ก็ไม่ใช่ มันเป็นทวิคตินิยม อย่างถ้ามีคนสองคนเดินไปหาพระเถียงกันใหญ่ คนนึงบอกจิตไม่มี อีกคนบอกกายไม่มี พระเลยถามว่า ก่อนมาถึงที่นี่ท่านใช้อะไรมา กาย อะไรคิดว่าต้องมา จิต จิตสั่งอะไร กาย มันวน คำถามคือคำตอบคำตอบคือคำถาม ท่านคิดว่ามีมันก็มี ท่านคิดว่าไม่มีมันก็ไม่มี แล้วอะไรคือความมี ไม่มี ? ความมีคือท่านทั้งสองไม่หยุด ความไม่มี คือพระท่านหยุด อันนี้มันขึ้นกับความเข้าใจของคนอีกนั่นแหละนะประเดี๋ยวจะสรุปว่าผมชอบความไม่มีอีก เอาเป็นว่า จุดหรือศูนย์น่ะไม่มีค่าแต่ก็มีรูป
    ถ้าหากว่าไม่เกิดประโยชน์ ช่วยบอกด้วยนะครับ จะลบน่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2010
  8. B5234T5

    B5234T5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2005
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +210
    อย่าคิดอะไรให้สุดขั้ว

    เพราะจะทำให้คิดไม่ออก เกิดอาการหน้ามืด ตามัว มึนงง ป้ำๆ เป๋อๆ (>o<)V
     
  9. พระนอกเมือง

    พระนอกเมือง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +29
    ตรรกะของท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ ดูเหมือนจะผิดหลักไปนะครับ จิตนึกคิดได้ เมื่อนึกคิดดับ คือจิตดับหรือไม่มี.. ผมว่าถ้าท่านจะใช้ตรรกะนี้ควรกล่าวว่า เมื่อความนึกคิดดับ คือ ความนึกคิดดับนะครับ เพราะความนึกคิด คนละอย่างกับจิต

    งงไปเลยครับ... เพิ่งรู้ว่า จิตเกิดจากการปรุงแต่งจากขันธ์ ๔ ด้วย ขอการอ้างอิงที่เชื่อถือได้ด้วยนะครับ แถมขันธ์ทั้ง ๔ ต้องอาศัยร่างกายมาปรุงแต่งอีก กระผมขอคัดค้าน

    ขันธ์ ๕ เป็นที่อาศัยครับ ไม่ใช่ที่สร้างจิต ประเด็นหนึ่งที่ท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ ต้องแยกให้ชัดก่อนคือ ท่านกล่าวถึง ความคิด หรือกล่าวถึงจิต เพราะท่านกำลังใช้คำว่าจิต แทนความหมายใน ๒ ความหมาย คือ ดวงจิต ๑ ความคิด ๑ กล่าวถึงจิต แต่สรุปด้วยความหมายของความคิด จะทำให้กระผมไม่เข้าใจท่านไปอีกนาน...

    --------------------------

    พระไตรปิฎกมีให้อ่านครับ แต่ท่านบอกว่าไม่เชื่อ แล้วจะขอหลักฐานอะไรอีก

    -------------------------

    ท่านเตชปญฺโญ ภิกขุทราบไหมครับ พละ ๕ เริ่มด้วยศรัทธา จึงก่อให้เกิดความเพียร เมื่อมีความเพียร มีความตั้งใจตั้งมั่นเกิดสติ เมื่อมีสติเกิดสมาธิ และสมาธิเป็นเครื่องยังปัญญาให้เกิด

    ส่วนคำว่าอนัตตา เคยตอบไปแล้วครับ ไม่เคยปฏิเสธเลยว่าไม่ใช่ตัวตน แต่ปฏิเสธคำว่า อนัตตา เท่ากับ ไม่มี ครับ จึงไม่ยอมรับตรรกะของท่าน ไม่เกี่ยวกับการใช้สิ่งวิเศษเหนือเหตุผลอะไรเลย ไม่ยอมรับ เพราะไม่เชื่อ

    -----------------------------

    สำหรับคำถามที่ท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ ได้ถามต่อไปเรื่องอ้างการปฏิบัตินั้น ต้องขออภัยจริง ๆ ก่อนหน้านั้นท่านถามอย่างหนึ่ง พอตอบไป ท่านว่าท่านถามเรื่องอื่น... จึงทำให้คำตอบเป็นอื่นไป

    ------------------------

    ท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ ถามว่า ยอมรับหรือไม่ว่า "ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ต้องมาจากเหตุปัจจัยเท่านั้น"?
    หรือ ยอมรับหรือไม่ว่า "แม้พระไตรปิฎก ก็อาจถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ผิดเพี้ยนมาก่อนได้"?

    ตอบ ๒ ข้อนี้มาใก้ได้ก่อน แล้วจึงค่อยมาสนทนากัน
    หรือไม่กล้าตอบ เพราะกลัวผิด จึงได้ไม่ยอมเข้ามาโต้ตอบกันในหลักการนี้


    ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นต้องมาจากเหตุปัจจัยเท่านั้น เป็นคำตอบที่ใช่ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด กรุณาอย่าถามถึงตัวอย่าง แต่ให้ย้อนกลับไปอ่านในสิ่งที่หลาย ๆ ท่านได้บอกกล่าวไปแล้ว โดยเฉพาะที่ท่านตอบกลับไปว่า ไม่เชื่อ, ไม่จริง และไม่มี คำตอบมีให้ท่านมากพอ (น้อยไปกว่าอย่างเดียวคือ คำว่า "ไม่เชื่อ"ของท่านเอง)

    แม้พระไตรปิฎกก็อาจถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ข้อนี้ยอมรับ ว่า "อาจจะ" ตราบเท่าที่ไม่มีหลักฐานว่าได้รับการเปลี่ยนแปลงจริง ไม่ขอ "ยอมรับ"

    ตราบใดที่ไม่มีหลักฐานเป็นได้แค่การคาดคะเนเท่านั้น ซึ่งสำหรับท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ ต้องการความจริงมากกว่าการคิดเอาว่า "น่าจะ" มีการเปลี่ยนแปลงไป ใช่หรือไหม

    ------------------------

    สำหรับคำถาม ๑๐ ข้อ ที่ท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ อ้างว่าเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาคำสอนระดับสูงของพระพุทธเจ้านั้น พระพุทธเจ้าตรัสถามและตอบไว้แล้ว หรือ เป็นคำถามที่พวกท่านแต่งขึ้นมาให้ตรงกับคำตอบที่ผ่านกระบวนการพิจารณาของพวกท่าน ถ้าอย่างไรขอหลักฐานด้วยครับ เพื่อเป็นการต่อยอดการศึกษาสำหรับทุกท่าน เพราะเห็นท่านเน้นย้ำว่า ถ้าไม่ยอมรับแปลว่าไม่รู้จัก หรือ ไม่เข้าใจคำสอนของพระองค์ จึงสงสัยว่า ท่านกล่าวเองจากการที่ได้ไตร่ตรองแล้ว หรือ มีพุทธพจน์ที่เป็นหลักฐาน

    -------------------------------------

    ถ้าอะไร ๆ ก็ไม่มี ท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ ไม่ต้องลำบากในการแก้ไขให้แก่ท่านผู้มืดบอดในที่นี้ก็ได้ครับ เพราะพวกประดาเหล่านี้ ไม่เกิน ๑๐๐ ปี ก็คงตายกันหมดไม่เหลือ พวกเขาก็จะสูญหายไปตลอดการตามที่ท่านบอกอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นเขารู้ตื่น หรือ รู้หลับ ท่านไม่ต้องกังวลไป ใ้ห้เขาทนลำบากไม่กี่ปีก็สบายกันหมดอยูดีนั่นแล

    ป.ล. ถ้าคำตอบทำให้ท่านใดหดหู่ต้องขออภัย อาจไม่เป็นประโยชน์สำหรับท่าน แต่เป็นประโยชน์ในการศึกษาสำหรับอาตมา :VO
     
  10. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ศึกษาแต่คันถะธุระก็เป็นอย่างนี้แหละครับ ^^
    จิตมีแน่นอนครับ แต่มันก็ไม่ใช่ตัวตนเที่ยงแท้ มันเกิด-ดับตลอดเวลา
    และสภาพของจิตต่างๆ 121 แบบนั้น ถ้ามองให้ทะลุ มันจะเป็นเอกภาพซึ่งกันและกัน
    ถ้าเกิดยังมองแบบแบ่งๆเป็นส่วนๆอยู่ ก็ไม่ต้องไปคิดเรื่องเหตุปัจจัยแล้ว
    เพราะถ้าจะลงลึกในเรื่องเหตุปัจจัย ต้องมองความสัมพันธ์เชิงลึกของสิ่งต่างๆให้ออก
    จึงจะสมควรเรียกว่าผู้เข้าใจในอิทัปปจยตา...

    ต้องยอมรับก่อนเลยว่า ทุกสิ่งล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยด้วยกันทั้งนั้น
    ถ้ามองว่าไม่มีเหตุแล้ว ย่อมเป็นเรื่องบังเอิญ เท่ากับว่า มีความเห็นแบบอเหตุทิฏฐิ
    ดังนั้น ควรระวังการมองแบบนี้ให้ดี แต่อย่าได้ยึดติดกับเหตุปัจจัยเสียเอง
    เพราะมันจะดักดานอยู่อย่างนั้น ไม่ก้าวหน้าทางภูมิจิตเลย

    อีกอย่างหนึ่งคือ จิตไม่ใช่ความคิดนะครับ ต้องแยกคำว่าจิตออกจากคำว่า Mind
    เพราะความหมายจริงๆไม่เหมือนกันเลย จิตระดับโลกียะนั้นเกิดจากปรุงแต่งทั้งสิ้น
    จะเรียกว่าไม่มีอารมณ์ไม่ได้เลย คือรู้สึกเฉยๆก็เป็นอารมณ์อุเบกขา
    ซึ่งยังเป็นอารมณ์ที่ปรุงแต่งอยู่ เพียงแต่ให้คนสัมผัสด้านคิดว่าไม่มีอารมณ์ ^^
    แต่จิตนั้นเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ตรงนี้แหละที่สัมพันธ์กับ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ก็ตรงที่จิตไม่เที่ยง(เปลี่ยนแปลงเสมอ) เป็นทุกข์(ยังไม่พ้นจากการปรุงแต่ง)
    อนัตตา(มิใช่ตัวตนเที่ยงแท้ เนื่องจากว่าเปลี่ยนแปลงเสมอ)

    จิตที่ยังติดในสังโยชน์๑๐ ยังไงก็ัยังมีคุณสมบัติเป็นจิตอยู่
    เนื่องจากภูมิจิตยังข้องอยู่กับภูมิจิตระดับโลกียะ ซึ่งแบ่งได้เป็น...
    จิตระดับกามาวจรภูมิ ๕๔- รูปภูมิ ๑๕- อรูปภูมิ ๑๒ (ยังคงปรุงแต่งอยู่ ด้วยความไม่รู้แจ้ง)
    แต่จิตที่สูงไปถึงระดับโลกุตตระแล้ว นั้นใกล้จะหมดการปรุงแต่งแล้ว
    ละสังโยชน์ได้ตั้งแต่ ๓ ข้อแรก ๕ ข้อ ถึงครบ ๑๐ ...
    บรรลุอรหัตตผลก็ดับการปรุงแต่งได้หมดจดแล้ว พอดับขันธ์ไป ก็ถึงนิพพาน
    ที่เรียกว่าเป็นจิตไม่ได้อีกแล้ว เพราะจะคุณสมบัติของจิตคือยังมีการปรุงแต่ง
    ละยังมีอวิชชาเกี่ยวพันอยู่... จิตคนเราไม่เคยว่างเว้นจากกิเลส ไม่เคยว่างเว้นจากอวิชชา
    เว้นแต่จะมองแบบหยาบๆ พอรู้สึกไม่อยากอะไร ก็คิดว่าช่วงนั้นปลอดกิเลส
    นั่นเป็นความคิดที่ผิดอย่างสิ้นเชิง กิเลสจริงๆแล้วละเอียดกว่านั้นเยอะ ^^
     
  11. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจ โดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    (เมื่อยอมรับก็อยากจะถามต่อว่า แล้วจิตหรือวิญญาณมันจะอาศัยอะไรเพื่อเกิดขึ้นมาเมื่อไม่มีร่างกายที่ยังไม่ตาย?)
    ผมขอตอบแบบโง่ ๆ ดูนะครับ
    ตอบ = กรรมเป็นตัวกำหนดการเกิดครับ

    --------------------------------------
    นี่เป็นการตอบแบบเดาตามความเชื่อที่มีอยู่ โดยไม่ศึกษาจากชีวิตจริงของตนเอง
    การศึกษาพุทธศาสนาจะต้องศึกษาจากสิ่งที่มีอยู่จริง ไม่ใช่เดาตามตำราหรือตามคนอื่น
    การศึกษาที่จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องไม่ผิดพลาด ก็ต้องศึกษาจากสิ่งที่มีอยู่จริง ถ้าศึกษาจากตำราหรือจากคนอื่นย มันเสี่ยงที่จะมีความผิดพลาดได้
    *********************
    ตอบ = นิพพาน คือ แดนของผู้ปราศจากทุกข์ และกิเลส
    ถาม = แล้วนิพพานของท่านเตฯ คืออะไรครับ
    ----------------------------------------
    คุณเข้าใจว่า นิพพาน เป็นสถานที่หรือ? เอามาจากไหน? สัมผัสได้หรือไม่?
    นิพพาน ก็คือ ความสงบเย็นของจิตเราเมื่อมันไม่มีทุกข์ อย่างนี้ใครๆก็สัมผ้สได้
    **************************
    (แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าพระไตรปิฎกไม่ว่าจะเวอร์ชั่วใด เป็นของจริงแท้ไม่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ผิดเพี้ยนมาก่อน?)
    ตอบ = ใช้ปัญญาของเราพิจารณาครับ โดยเอาไปลองทำดู ถ้าทำได้ก็เชื่อ ทำไม่ได้ก็วางไว้

    ถาม = แล้วท่านเตฯ ศึกษาเวอร์ชั่นไหนครับ
    ----------------------------------
    ใชัปัญญาอย่างไร? แล้วคุณเชื่อเรื่องดินแดนนิพพานเพราะทำได้แล้วหรือ? รวมทั้งเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด และนรก-สวรรค์?
    พระไตรปิฎกที่ใช้ศึกษาก็คือ ศึกษาจากจิตของตนเอง
    *************************
    ตอบ = ธรรม คือ ธรรมชาติ คงไม่ต้องลึกซึ้งอะไรมากครับ
    ถาม = ท่านเตฯ เป็น "พระ" หรือ "สมมติสงฆ์" ครับ (ไม่ควรถาม ถึงตอบไปใครจะรู้ว่าพูดจริงหรือไม่?)
    ---------------------------------------
    คำว่า สูญ นี้มีหลายความหมาย คือมีทั้ง สูญเปล่าไม่มีอะไรเลย, สูญจากตัวตน-อัตตา แล้วที่คุณว่าไม่สูญนั้นมันความหมายใด?
    ************************************
    ตอบ = ถ้าตายแล้วเกิด เป็นความเห็นผิด แสดงว่า ท่านเตฯ ปฏิเสธพระพุทธเจ้า เพราะท่านไม่เชื่อเรื่องทศชาติ
    ---------------------------------------
    อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุสักว่า มีตำราอ้างอิง
    ********************************
    ส่วน "สูญ" มาแล้วตั้งแต่ยังไม่ "ตาย" แล้วที่เรามาคุยกัน หมายความว่า อย่างไร
    ---------------------------------
    สูญในที่นี้หมายถึง มันสูญเปล่าจากความเป็นตัวตนอมตะ (อัตตา) มีแต่ตัวตนชั่วคราว (อนัตตา) เท่าที่ยังมีชีวิตอยู่
    ***********************************
    ถาม = อธิบายหน่อยครับ "อัตตา" กับ "อนัตตา" ในความหมายของท่านเตฯ
    -------------------------------
    สรุปสั้นๆ อัตตา คือสิ่งที่เป็นตัวตนของมันเองโดยไม่อาศัยสิ่งอื่นปรุงแต่งหรือสร้างขึ้นมา มีลักษณะ เที่ยงแท้ถาวร และไม่มีลักษณะของทุกข์(ต้องทน)
    อนัตตา เป็นการปฏิเสธหรือไม่ยอมรับว่าเป็นอัตตา(ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์) พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ทุกสิ่งเป็นอนัตตา" นี่แสดงถึงว่าไม่มีอะไรจะมาเป็นอัตตาได้เลย เรื่องอัตตานี้ศาสนาพราหมณ์สอนว่า จิตหรือวิญญาณของสิ่งที่มีชีวิตนี้เป็นอัตตา ที่สามาราถออกจากร่างกายที่ตายแล้วได้ และไปเกิดยังร่างกายใหม่ๆได้ แต่พุทธศาสนาไม่ยอมรับ
    พุทธศาสนาสอนว่า แม้วิญญาณ หรือ จิต ก็เป็นอนัตตา คือต้องอาศัยสิ่งอื่นเพื่อเกิดขึ้นมา ดังนั้นมันจึงมีลักษณะ ไม่เที่ยงแท้ถาวร และต้องทนอยู่(ไม่มากก็น้อย)
    **************************************
    สิ่งที่ท่านพิมพ์มา ท่านศึกษามาจากไหนเหรอครับ
    แล้วใครสอนว่า "อัตตาเข้ามาในพุทธศาสนา คนนั้นจัดว่าทำลายหัวใจพุทธศาสนาอย่างยิ่ง" อยากรู้จริง ๆ ครับ
    ------------------------------------
    เริ่มแรกก็ศึกษาจากตำราและคนอื่นมาก่อน แล้วมาศึกษาจากร่างกายและจิตใจของตนเอง แล้วจึงเกิดคำสอนนี้มา(ลองศึกษาจากหนังสือ"ฉันคืออะไร?")
    จุดที่ทำให้เข้าใจเรื่องอัตตา และ อนัตตา ก็คือ ดูจากจิตของเราเอง ว่า มันเที่ยงหรือไม่เที่ยง ถ้ามันเที่ยง มันจะต้องตั้งอยู่ตลอดเวลา จะไม่มีอาการดับหายไปเลยแม้สักวินาทีเดียว (จิตคือสิ่งที่รู้สึกนึกคิดได้ ถ้ามันไม่รู้สึกนึกคิด ก็แสดงว่ามันดับ)
     
  12. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจ โดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    ถ้าอนัตตาคือไม่ใช่ตัวตนเที่ยงแท้ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

    --------------------
    อัตตา คือตัวตนที่เที่ยงแท้ หรือเป็นอมตะ(ไม่ตายหรือดับหายไปอย่างเด็ดขาด)

    อนัตตา คือ เป็นการปฏิเสธหรือไม่ยอมรับว่าจะเป็นอัตตา

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ทุกสิ่งเป็นอนัตตา"

    ดังนั้นเรื่อธาตุ เรื่องวิญญาณ อะไรนั้น อย่าไปสนใจกับมันมาก สิ่งที่ควรสนใจก็คือ เพ่งพิจารณาดูว่า มันเที่ยง(ไม่ดับหายไปเลย)หรือไม่เที่ยง(มีการดับหายไป)

    เมื่อพบว่ามันเที่ยงหรือไม่เที่ยงแล้ว ก็สรุปได้เลยว่ามันเป็น อัตตา หรือ อนัตตา ก็จบ

    แต่ถ้าศึกษาจากตำรา หรือจากคนอื่น มันก็ไม่รู้จบสักที เพราะเป็นการคาดเดาเอาโดยไม่มีของจริงมายืนยัน
     
  13. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจ โดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    ตรรกะของท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ ดูเหมือนจะผิดหลักไปนะครับ จิตนึกคิดได้ เมื่อนึกคิดดับ คือจิตดับหรือไม่มี.. ผมว่าถ้าท่านจะใช้ตรรกะนี้ควรกล่าวว่า เมื่อความนึกคิดดับ คือ ความนึกคิดดับนะครับ เพราะความนึกคิด คนละอย่างกับจิต
    -----------------------
    นี่แสดงว่าคุณเชื่อว่า จิตไม่มีการดับ ใช่หรือไม่? (ถ้าเชื่ออย่างนี้ก็คงสนธนากันไม่รู้เรื่องเป็นแน่ เพราะคุณไม่ศึกษาจากสิ่งที่มีอยู่จริง แต่ใช้วิธีศึกษาจากตำราหรือจากคนอื่นแทน แล้วจะเห็นแจ้งหรือเข้าใจเรื่องจิตอย่างถูกต้องได้อย่างไร?)
    **************************
    งงไปเลยครับ... เพิ่งรู้ว่า จิตเกิดจากการปรุงแต่งจากขันธ์ ๔ ด้วย ขอการอ้างอิงที่เชื่อถือได้ด้วยนะครับ แถมขันธ์ทั้ง ๔ ต้องอาศัยร่างกายมาปรุงแต่งอีก กระผมขอคัดค้าน
    --------------------------
    ก็ดูจากจิตตัวเองซิ ถ้าไม่มีความทรงจำ(สัญญา) แล้วจะมีความคิด(สังขาร)ได้อย่างไร? หรือถ้าไม่มีเนื้อสมอง แล้วจะมีความทรงจำได้อย่างไร? และถ้าไม่มีร่างกายที่ยังเป็นๆ แล้วจะมีวิญญาณ(การรับรู้ตามระบบประสาทต่างๆของร่างกาย) ได้อย่างไร?

    *********************
    ท่านเตชปญฺโญ ภิกขุทราบไหมครับ พละ ๕ เริ่มด้วยศรัทธา จึงก่อให้เกิดความเพียร เมื่อมีความเพียร มีความตั้งใจตั้งมั่นเกิดสติ เมื่อมีสติเกิดสมาธิ และสมาธิเป็นเครื่องยังปัญญาให้เกิด
    ---------------------------------
    พละ เป็นหลักธรรมเพื่อใช้ในการปฏิบัติในส่วนของกำลัง(เร่ง) แต่การปฏิบัติก็ต้องเริ่มที่ปัญญาก่อน คือจากสัมมาทิฎฐิ (ความเห็นถูกต้อง) และสัมมาสังกัปปะเ(ความปรารถนาถูกต้อง) แล้วจึงไปเรื่องเรื่องศีล และสมาธิต่อไป
    แต่ถ้ามาเริ่มที่ศรัทธา(ความเชื่อ) ก่อน ถ้าเป็นศรัทธาที่ไม่มีปัญญานำ มันก็จะหลงทางได้ แล้วปัญญาที่มาทีหลังก็จะกลายเป็นความโง่ที่ลึกซึ้งโดยไม่รู้ตัว

    *******************************
    ถ้าอะไร ๆ ก็ไม่มี ท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ ไม่ต้องลำบากในการแก้ไขให้แก่ท่านผู้มืดบอดในที่นี้ก็ได้ครับ เพราะพวกประดาเหล่านี้ ไม่เกิน ๑๐๐ ปี ก็คงตายกันหมดไม่เหลือ พวกเขาก็จะสูญหายไปตลอดการตามที่ท่านบอกอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นเขารู้ตื่น หรือ รู้หลับ ท่านไม่ต้องกังวลไป ใ้ห้เขาทนลำบากไม่กี่ปีก็สบายกันหมดอยูดีนั่นแล
    ----------------------------
    เมื่อยังมีชีวิต ก็ต้องทำหน้าที่ ถ้าไม่ทำหน้าที่ ชีวิตก็จะเป็นทุกข์
    หน้าที่ของสมณะ ก็มีทั้งหมั่นกำจัดกิเลสและสั่งสอนผู้อื่น ถ้าไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตน(อยู่เฉยๆ) มันก็เป็นทุกข์
    หน้าที่คือธรรมะ ธรรมะคือหน้าที่
     
  14. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ผมเชื่อตามตำรา (พระไตรปิฎก) ครับ
    แล้วท่านศึกษาจากไหนเหรอครับ หรือ ว่านึกเอาเอง

    ท่านคงจะไม่เข้าใจพระนิพพานแน่ ๆ ครับ


    ผมเชื่อเรื่องนิพพานครับ ส่วนทำได้หรือไม่นั้น ไม่ขอตอบครับ
    ที่ท่านตอบว่า ศึกษาจากจิตตนเอง ผมก็พอรับได้
    แต่คงต้องใช้เวลาอีกนานครับ เพราะท่านปฏิเสธพระพุทธเจ้า (พระไตรปิฎก)

    ที่ผมตอบท่านไปก็ คือ อนัตตา แต่ท่านยังใช้ อัตตา ในการตอบกลับมา

    สรุปว่า ท่านปฏิเสธทศชาติ คือ ไม่เชื่อเรื่องอดีตชาตินะครับ

    งง

    โมทนาสำหรับความเห็นที่แลกเปลี่ยนกันนะครับ
     
  15. พระนอกเมือง

    พระนอกเมือง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +29
    คำตอบในเรื่องนี้กระผมได้เรียนท่านแล้ว ลองกลับไปอ่านดูนะครับ ไม่อย่างนั้นจะเป็นการถามตอบซ้ำไปเรื่อย

    **************************

    ได้บอกท่านแล้วว่า "จิต" กับ "ความคิด" คนละอย่างกัน สังขารที่ท่านกำลังกล่าวถึง คือ ความคิด ไม่ใช่ ดวงจิต

    ถ้าร่างกายปรุงแต่งขันธ์ ๔ แล้วจะแยกทำไม อุปาทินนกสังขาร (ร่างกายที่มีวิญญาณครอง) กับ อนุปาทินนกสังขาร (ร่างกายที่ไม่มีวิญญาณครอง) ถหากร่างกายเป็นผู้ปรุงแต่งขันธ์ ๔ ที่เหลือขึ้นมา ถ้าอย่างนั้น....เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ท่านใช้อยู่คงมีเวนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ด้วยกระมัง เพราะมันมีร่างกายแล้ว

    สงสัยท่านพุทธทาสเข้าใจผิดอะไรแน่ ๆ เลย เพราะท่านชอบกล่าวเรื่องอิทัปปัจจยตา อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ สฬายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ...

    *********************
    สาธุ กล่าวได้ตรงใจกระผมจริง ๆ "ศรัทธาที่ไม่มีปัญญานำ มันก็จะหลงทางได้ แล้วปัญญาที่มาทีหลังก็จะกลายเป็นความโง่ที่ลึกซึ้งโดยไม่รู้ตัว" ศรัทธา คือ ความเชื่อ ถ้าปัญญามีแต่เป็นทุปัญญา ผู้นั้นก็จะกลายเป็นเชื่อเรื่องผิด ๆ ที่คิดว่าถูก (กระผมคนหนึ่งล่ะ ที่ยังไม่เข้าใจตามที่ท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ แนะนำสักที)

    *******************************

    แล้วทำไมการฆ่าตัวตายถึงไม่เป็นที่สรรเสริญล่ะครับ

    เป็นวิธีพ้นทุกข์ตามแนวทางที่ท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ ได้ศึกษามาไม่ใช่หรือ ว่าตายแล้วก็หายไป ไปสบายกันหมด อย่างนั้นไม่ใช่ยิ่งตายเร็ววินาทีนี้ยิ่งดีหรอกหรือ ถ้าพิจารณาตามที่ท่านกล่าวมา (สงสัยครับว่า ถ้าเป็นอย่างท่านว่าตายแล้วสูญ อย่างนั้นทุกวันนี้พวกเราจะมีชีวิตอยู่ทำไม สูญช้าทุกข์นาน สูญเร็วยิ่งสุขเร็วสินะ... ถ้าผมเข้าใจสิ่งที่ท่านสอนมาผิด ๆ ช่วยแก้ไขด้วยครับ)
     
  16. ขุนกำแหง

    ขุนกำแหง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2010
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +71
    ไม่รู้ครับ ไม่กล้าพูดกลัวบาป
     
  17. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ไปศึกษาบาลีให้ดีครับ ^^
    อัตตา - ตัวตน ... อนัตตา - ไม่ใช่ตัวตน
    นิรัตตา - สูญจากตัวตน ต้องแยกให้ดีๆนะครับ
    มันคือหลุมพรางโดยแท้ อ กับ นิร เป็นคำอุปสรรค ประมาณว่าเป็น Prefix ที่จะนำไปใช้ในคำต่างๆ ดังนั้น จะตีความอะไร ควรเชี่ยวในภาษาเสียก่อนนะครับ
    ถ้าดับหายไปเลย เขาเรียกว่า นิรัตตา นะครับ
    ไม่เที่ยงในที่นี้ หมายถึงมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่สภาวะคงที่
    เช่น สสารต่างๆ พลังงานต่างๆ ไม่เที่่ยง ... ไม่ได้แปลว่า มันจะสลายนะครับ
    มันกลายสภาพไปเรื่อยๆ ไม่ได้สูญสลาย หายขาด
    ลองศึกษาตำราวิทยาศาสตร์ใหม่เทียบเคียงดูครับ
    อย่าได้ศึกษาวิทยาศาสตร์ยุคเต่าถุยนะครับ มันเก่าไปแล้ว
    เดวนี้เขายุค New-age science แล้วครับ
    ไม่ใช่ยุคเก่าที่มองว่าโปรตรอน นิวตรอน อิเล็กตรอน ยังมีสภาพแข็งๆทื่อๆอย่างนั้น
    แต่มันเกิดและดับอยู่เสมอ มันแปรเปลี่ยน ไม่เที่ยงแท้... ตรงมั้ยหละ
    เดี๋ยวนี้เขาไปกันไกลแล้วนะครับ .... มอ~

     
  18. น้ำเชี่ยว

    น้ำเชี่ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +318
    แบบนี้น่าจะร้องเรียนไปทาง http://www.1111.go.th ได้นะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2010
  19. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    เหอะๆ ท่านเตช มองว่าสมองควบคุมทุกอย่าง...
    เหมือนพวกนักจิตวิทยาสมัยก่อนๆเลยนะ ^^
    เดวนี้ เขามีการวิจัยเื่รื่องการทำงานนอกเหนือการควบคุมของเนื้อสมองแล้วครับ
    เรื่องจิตวิญญาณที่นอกเหนือจากกลไกของสมอง
    นักจิตวิทยาส่วนมากยังยอมรับแล้วเลย แต่ยังหาข้อสรุปชัดเจนมิได้
    เป็นนามธรรมที่ส่งผลจริง มันคือมโน และจิตตะ เป็นรากเหง้าของการควบคุมทั้งปวง
    จึงมีการค้นคว้าจนได้ SQ เชาวน์ทางจิตวิญญาณมาไงหละครับ

    ท่านเตช ไม่เคยยอมรับในอาทิสสมานกาย ก็เลิกพูดได้เลย
    เพราะมองแต่กายหยาบ กินแต่ของหยาบ มันก็วิเคราะห์ได้แบบหยาบๆหละครับ

    ท่านลืมมองไปนะครับ ว่าคนเราไม่เคยปลอดจากทุกข์
    แม้แต่อารมณ์อุเบกขา มันก็ยังมาจากการปรุงของจิต
    ดังนั้น เอาอะไรมาพูดว่าจิตดับ มันทำงานของมันเรื่อยๆไม่เคยหยุด
    แม้แต่ในฌานสมาบัติ มันก็ยังทำงานอยู่ มันไม่เคยหยุดปรุง
    มันก็ยังเป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น หรือท่านมองแค่สุข-อุเบกขา-ทุกข์ แบบหยาบๆหนอ
    มองกิเลสแบบหยาบๆ มัน็เป็นของกำจัดง่ายสิ หึหึ แต่จริงๆนั้นมันไม่ใช่เลย
    ลงลึกไปอีกมากโข จิตนั้นซับซ้อนยิ่งนัก ถ้าง่ายๆแบบที่ท่านพูด
    บอกตรงๆ ว่านักจิตวิทยาก็รับจ้างดับทุกข์ได้ เหอๆๆๆๆ
    เพราะมันลึกซึ้งกว่านั้นมากๆไงครับ จึงไม่มีใครรอดจากทุกข์ รอดจากอวิชชา (ปุถุชน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2010
  20. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจ โดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    1. ถ้าคุณยังเชื่อว่า จิต ไม่มีการเกิดดับ ก็คงสนทนากันไม่รู้เรื่องเป็นแน่ เพราะคุณศึกษาจากตำราหรือจากคนอื่น ไม่ได้ศึกษาจากจิตของตนเอง

    2. ถ้าคุณยังเชื่อว่าจะมีจิตได้โดยไม่ต้องมีร่างกาย ก็คงสนทนากันไม่รู้เรื่องเป็นแน่ เพราะคุณศึกษาจากตำราหรือจากคนอื่น ไม่ได้ศึกษาจากจิตของตนเอง

    3. ถ้าคุณยังเชื่อว่า จิตจะคิดนึกได้ โดยไม่ต้องอาศัยข้อมูลจากเนื้อสมอง ก็คงสนทนากันไม่รู้เรื่องเป็นแน่ เพราะคุณศึกษาจากตำราหรือจากคนอื่น ไม่ได้ศึกษาจากจิตของตนเอง

    4. ถ้าคุณยังเชื่อพุทธศาสนาสอนเรื่องตายแล้วเป็นอย่างไร ก็คงสนทนากันไม่รู้เรื่องเป็นแน่ เพราะคุณไม่ได้ศึกษาพุทธศาสนาเพื่อดับทุกข์

    5. ถ้าคุณยังเชื่อหรือยึดถือพระไตรปิกไม่ยอมวาง ก็คงสนทนากันไม่รู้เรื่องเป็นแน่ เพราะคุณไม่ยอมรับความจริงที่ว่าแม้พระไตรปิฎกก็อาจถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงมาแล้ว

    6. ถ้าคุณยังเชื่อว่านิพพานเป็นดินแดน ก็คงสนทนากันไม่รู้เรื่องเป็นแน่ เพราะคุณศึกษาจากตำราหรือจากคนอื่น ไม่ได้ศึกษาจากจิตของตนเอง

    7. ถ้าคุณยังเชื่อว่ามีอัตตา ก็คงสนทนากันไม่รู้เรื่องเป็นแน่ เพราะคุณศึกษาจากตำราหรือจากคนอื่น ไม่ได้ศึกษาจากจิตของตนเอง

    8. ถ้าคุณยังเชื่อว่าพระพุทธเจ้าสอนเรื่องอจินไตย ก็คงสนทนากันไม่รู้เรื่องเป็นแน่ เพราะคุณศึกษาจากตำราหรือจากคนอื่น ไม่ได้ศึกษาจากจิตของตนเอง

    ส่วนเรื่องการฆ่าตัวตายนั้น ฆ่าเพื่ออะไร? เพราะมันยึดถือว่ามีตัวตนมากเกินไปจนทนไม่ไหว (หรือโง่จนเกินไป) จึงได้ฆ่าตัวตาย พุทธศาสนาสอนเรื่องการดับทุกข์ เมื่อทุกข์มากจนถึงกับจะฆ่าตัวตาย ก็ต้องหาสาเหตุของมัน แล้วดับที่เหตุของมัน ซึ่งสาเหตุของมันก็คือ ความยึดถือว่ามีตนเอง ส่วนต้นเหตุของความยึดถือว่ามีตนเองนั้นก็คือ ความโง่สูงสุด(อวิชชา)ที่เชื่อว่ามีตนเอง(อัตตา)
     

แชร์หน้านี้

Loading...