ความแตกต่างระหว่างการฝึกแบบพระป่าและปัญญานำ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 25 เมษายน 2010.

  1. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    การฝึก แบบ พระป่าท่านผ่านเรื่อง ทัสนะ มาหมดครับ ดังจะเห็นได้ว่า หลวงตามหาบัวเอาไปถามหลวงปู่มั่นว่า เมื่อจิตรวม มันอัศจรรย์ แต่ทำไมต่อๆ มามันไม่อัศจรรย์อีก
    หลวงปู่มั่นท่านว่า ก็มันก็อัศจรรย์ทีแีรกเท่านั้นแหละ จะไปบ้ากับมันอีกทำไม

    ข้อนี้ ผมขอ วิสัจชนา ในเชิงปฏิจสมุบบาท ว่า จิตที่เป็นความอัศจรรย์ นั้น เกิดขึ้นเพราะมีเหตุคือ อวิชชา เพราะความไม่รู้ จึงทำให้จิตตื่นเต้น ดีใจ อัศจรรย์ใจ เหมือนเด็กเห็นช้างทีแรก ตื่นตาตื่นใจ แต่พอเห็นหลายๆ ครั้งเข้า ก็กลายเป็นธรรมดาลงไป

    การเห็น แล้ว ปล่อยให้สิ่งนั้นเป็นธรรมดา แล้วดำเนินวิปัสสนา ขัดเกลา จิตใจต่อ
    ให้ใจ ยอมรับธรรม ให้เข้าสู่ใจยิ่งๆ ขึ้นไป จะยิ่งทำให้ จิตนี้เป็นธรรม มากขึ้น ขจัดกิเลสออกไปมากขึ้น

    ให้เราสร้างภาพเลยว่า เมื่อใด ที่ต่อสู้ต่อต้าน กิเลส เมื่อนั้นมี ธรรมเข้าสู่ใจ

    เมื่อใด ที่ พิจารณาจนแจ่มแจ้ง ในความโง่ เมื่อนั้น ธรรมเข้าสู่ใจ ดังนั้น เรื่องราวต่างๆ ของชีวิต ให้หยิบขึ้นมาพิจารณา พอหยิบขึ้นมาพิจารณา บ่อยๆ มันจะเกิด ซึ้งในธรรมนั้น
    แล้ว พอทำไปบ่อยๆ เข้า เวลาเดินไป พบเจออะไร ธรรมเกิด พอธรรมเกิดนี้จะทำให้เรารู้สึกชัดเจน ใน ธรรมข้อนั้นๆ มันจะเกิดเองโดยที่เราไม่ได้ไปคิดอะไร ลักษณะของธรรมคือ
    ปัญญา ความจริง ที่ผุดขึ้นในใจ รับกันขณะที่เราได้เจอ เหตุการณ์ภายนอก
    นั่นแหละ ธรรมเกิด เมื่อเกิดแล้ว จะทำให้เรา อิ่มใจ ที่ได้เห็นความจริงในสิ่งนั้น โดยไม่ต้องไป เทียบเคียงกับ อะไร

    ยกตัวอย่างเช่น พระรูปหนึ่ง มองเห็นเม็ดฝนตก แล้วบรรลุพระอรหันต์

    บางรูป เอามือลูบผ้าขาว ท่องรโชหรณัง แล้วเห็นผ้่าหมองไป บรรลุพระอรหันต์

    ธรรมที่เกิดกับใจก็เช่นเดียวกัน เช่น มีอยู่วันหนึ่ง ผมมองเห็นธง สะบัดไปมา จิตรู้สึกรับกันทันที ว่า ธงสะบัด ไปมา สรรพสิ่งก็เช่นเดียวกัน ไหวไปมา แต่ใจเราเองที่เข้าไปรับรู้
    ให้ พอปัญญานี้เกิด ใจจะสะเทือนในข้อธรรมอันนั้น อย่างชัดเจน
    นี่ คือ ธรรมผุดขึ้น

    ธรรมผุดขึ้น แสดงว่า เราได้เจริญสติ เจริญวิปัสสนา มาดี จิตจะเห็นตามความเป็นจริง ยิ่งๆ ขึ้นไป

    แต่ทั้งหมด ฐานสมาธิ ฐานวิปัสสนา ฐานสติ เราต้องมีมาก

    ธรรมทั้งหลาย เกิดแล้วทิ้งไป จิตที่ย้อมด้วยธรรมนั้นจะทำให้เราไม่หลงไป อีก
    ทำให้บ่อย ทำให้ชำนาญ จน กิเลสค่อยๆ เลือนหายไป

    การจะทำให้ ธรรมปรากฎขนาดนั้น
    ศีล อันเป็นพื้นฐาน ของนิสัย นี่สำคัญมาก พระป่าจึงมีการให้นิสัย อย่างในหนังสือ ประวัติท่านพ่อลี นี่ท่านบอกเลยว่า ไปอยู่กับหลวงปู่มั่น ทำอะไรต้องละเอียดหมด ต้องดูว่า ท่านชอบอะไรไม่ชอบอะไร ในคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค ท่านสอนถึงกระทั่งว่า อาจารย์ชอบน้ำอุ่น หรือ น้ำเย็น ต้องคอยเตรียมให้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ ศิษย์ เป็นคนที่ ช่างสังเกตุ ไม่ทำตามกิเลส กดข่มให้กิเลส ลดน้อยถอยลงไป
    แต่ คนเดี๋ยวนี้มันอวดดี แุถมยังดูถูก ครูบาอาจารย์อีก นี่กิเลสขึ้นหัวไปนานแล้ว แต่คิดว่าตนดี

    นอกจากนี้ การ ตัดปลิโพธ ทั้งหมด ให้บ่อยๆ การอ่อนน้อมถ่อมตน การไม่ถือดี อวดดี

    สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐาน แต่ถ้าเราไม่ได้ใช้ ชีวิตอยุ่กับ อาจารย์ เราก็ต้อง คอยเตือนตนเอง ขัดเกลา ตนเอง ให้ละเอียด เป็นคนช่างสังเกตุตน ต้องขัดเกลา วิถีชีวิตตนให้มาก

    อะัไรยังไม่ละเอียด ก็ต้องเปลี่ยนแปลง ความขี้เกียจ นี่ตัวสำคัญ ความหลงในรูป ราคะ

    หรือ การชอบเอาใจไปจับ กับ เรื่องราวต่างๆ แล้ว เกิด ความรู้สึกขึ้น นี่สำคัญ ต้อง หมั่นละ ให้มาก

    เขาจึงเปรียบว่า พระศาสดา เป็นผู้ฝึกมนุษย์ และ เทวดา ก็เพราะต้อง ฝึก ต้องหัด ต้องดัด ทุกอย่าง ให้ มีนิสัย พร้อมที่จะ เข้าถึง อมตะธรรม
     
  2. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    สาธุ..มาอ่านต่อวันนี้ครับ นับว่าผมได้เปิดหูเปิดตา ในเรื่องการปฏิบัติต่อ ครูบาอาจารย์อีกเรื่องแล้วครับ
    คนสมัยใหม่ สังคมวัตถุที่ทำให้ใจผู้คนหวาดระแวง เหตุผลมาก ใจจึงยากจะรับได้กับการกระทำที่ตนเองไม่รู้ หรือมองไม่ออก เพราะคิดไม่ถึง ..ก่อนบวชจึงควรล้างใจให้เอี่ยมสักเดือนสองเดือนครับ..แล้วทุ่มปฏิบัติต่อครูอาจารย์
    สำหรับผมแล้วเวลาไปวัดไหน สำนักใด ผมไม่ค่อยชอบใกล้ชิดครูบาอาจารย์ท่านครับ แต่ผมคิดในใจเสมอเลย หากเราดีจริง ปฏิบัติดี ..ปฏิบัติชอบ..เดี๋ยวท่าน "มาหาเราเอง มาเมตตาสอนเราเองครับ "...
    สาธุ ผมมารออ่านต่อครับ
     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ประเด็นคือ ให้รู้จัก ขัดเกลา อัตตาตน
    การ ที่บอกว่า ทำดี เดี๋ยวเขามาเอง นั่นมันดีของเราเท่านั้น มันไม่ใช่ ดีที่แท้จริง
    และ เป็นการพอกพูน ทิฎฐิมานะ ของตน ให้มากขึ้นไป
    ไม่จำเป็น ต้องไปปรนนิบัติอาจารย์ อย่างประจบ แต่ให้ ฝึกสังเกตุ ให้ฝึกหัดตน
    อย่าตีความไปว่า การเข้าหาครูบาอาจารย์เป็นการ ประจบ

    ทีนี้ ถ้าหากว่า ไม่ต้องการเข้าหาครูบาอาจารย์ ก็ให้ ฝึกตน ฝึกกับพ่อแม่ ที่บ้านก็ได้
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    คุณ อย่าไปคาดเดาอะไรเอาเอง สิ่งต่างๆ ที่เจอเป็น ภายนอกทั้งสิ้น
    เมื่อภายนอกมันแปรปรวน มันเกี่ยวอะไรกับใจเราเสียที่ไหน

    ยกตัวอย่างที่ผมได้กล่าวไป เช่น เรามองธงสะบัด เอาธงมาผูกสัก สิบใบ ลมพัดธงสะบัดไปมา ถามใจตัวเองให้ได้ว่า จิตใจเรามองธงนั้น มันมีความทุกข์ปรากฎไหม มันมีอายตนะอะไรเกิดขึ้นให้ปรากฎเป็นทุกข์หรือไม่ ทุกคน ก็ตอบว่า ไม่รุ้สึกอะไรที่ใจเลย มองเห็นแต่ธงสะบัดไปมา
    สรรพสิ่งอื่นๆ ในชีวิตของคนก็เช่นเดียวกัน หมุนวน ซับซ้อน บางคนก็บ้าๆบอ เพี้ยนๆ บางคนก็เพ้อเจ้อ ก็เปรียบความเคลื่อนไหวเหล่านี้ กับ ธงนั่นแหละ ถ้าเราไม่ไปหมายให้ มันเป็นอะไร มันก็คืออาการเดียวกัน คือ ไหวไปไหวมา
    ถ้าเรามองมันเหมือนมองธงสะบัด ที่ใจเราก็ไม่รู้สึก และยิ่งกว่า นั้น คือ ถ้าเราไม่ได้เอาใจไปใส่กับมัน ก็เท่ากับ ไม่มีอะไรปรากฎขึ้นที่ใจ
    ทีนี้ คนหลายๆ คนมีตัวรู้ ตัววิญญาณ ไม่แม่นยำ มันก็ก่ออุปาทาน ให้ปรากฎ เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ที่ใจตนเอง
    แล้ว หมายไปเอง ว่า อากัปกิริยา แบบนั้น หมายถึงแบบนี้ อากัปกิริยาแบบนี้ หมายถึงสิ่งนั้น
    ปรุงแต่งไป ตามแต่ สังขารจะปรากฎเรื่องราวนั้น ในใจ

    เราเข้าใจทั้งหมดได้ แต่อย่า จริงจังกับมันมากนัก เพราะต้องเท่าทันว่า สิ่งทั้งหลาย ไม่เที่ยง จะให้มันจริงมันก็เหมือนธรรม
    มันเข้าใจไปตาม กาล เวลา สถานที่ อันเป็นตัวแปรเข้ามากำหนด ตัวรู้

    ยกตัวอย่างเช่น คนยิ้ม ถ้าขณะนั้น เรากำลังด่ามันอยู่ แล้วมันยิ้ม เราคงถีบหน้ามัน เพราะมันหมายถึง ยิ้มเยาะ ทั้งๆ ที่ยิ้มเป็นอาการที่น่าจะแปลได้ว่า เป็นสิ่งที่ดี
    นี่สรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่เป็น อกาลิโก เหมือนกับธรรม

    ดังนั้น ให้จับธรรมให้ถูก ไม่ใช่ จับอาการอื่นๆ ตามที่ กิเลส มันเคยฝังรากลึกในใจคนมันจะแสดงเดช

    และ การที่จะทำ ให้ ธรรมปรากฎ ให้เรามองอะไรก็เป็นธรรม นั้น เราจะต้องทำใจเราให้เป็นธรรมเสียก่อน

    จิตที่ เต็มไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ ถ้าไม่ขจัดให้เบาบางลงไปก่อน จะเป็นสังขารอยู่ในใจตลอด ชนิดที่เราไม่เห็นมัน แต่เป็นตัวเราทั้งก้อน เมื่อเอาจิตสังขารที่เต็มไปด้วยอวิชชา นั้น เข้ามารับรู้ วิพากษ์ หรือ สังเกตุอะไรก็ตาม ก็จะทำให้ เรารับรู้ หมายมั่นสิ่งต่างๆ
    บิดเบือนไปหมด
    ถ้าเรา มองเห็นทะลุปรุโปร่ง ไม่มีอะไรบิดเบือน ขันธ์ 5 ได้เรียกว่า เป็นผู้รู้แจ้ง
    ถ้าเรา เข้าใจว่ามันบิดเบือน แล้ว เราไม่ตาม ก็เรียกว่า เป็นผู้มีปัญญา
    แต่ ถ้าเรา เข้าใจแล้วเรายังหลงตามไป ก็เรียกว่า ผู้หลง
    แต่ ถ้าเราไม่รู้ตัวอะไรเลย ไม่สนใจอะไร เรียกว่า ผู้มืดบอด

    เดี๋ยวเอาไว้จะมาพูดให้ฟัง ต่อแล้วกัน
     
  5. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ไม่มีอะไรบิดเบือนขันธ์5...ได้ เรียกว่ารู้แจ้ง
    สาธุครับท่านขันธ์ มันไม่ง่ายเลยครับ มันไม่ง่ายเลย
     
  6. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    มานั่ง และเอาเปลมาด้วยครับ มีกาแฟร้อนๆปลาท่องโก๋ 2 คู่ มาติดกัณฑ์เทศน์ ท่านขันธ์ด้วยครับ... รออ่านต่อครับ ท่านขันธ์..!
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    อะไรที่ ปรากฎขึ้นเด่น ในใจ ให้เรารู้สึกทุกข์ใจ ให้เรามีสติสังเกตตัวนั้นทันที

    อย่าไปเป็น แบบ ผู้หญิงอกหัก คือ ฟูมฟาย ทุกใจจนใจจะขาด แต่ก็ปล่อยไป เหมือน ปลาตายไหลตามน้ำ

    แต่ นักปฏิบัติธรรม ต้องสังเกตุ อาการนั้นทันที ว่าทุกข์นี้เกิดกับเราแล้ว

    พอสังเกตุบ่อยๆ เมื่อตัณหาเกิด ความฟุ้งซ่านเกิด นิวรณ์ต่างๆ เกิด ให้เราฉุกคิดขึ้นทันทีว่า นี่ ทุกข์ เกิดกับเราแล้ว

    เตือนตัวเองแบบนี้บ่อยๆ เราจะเห็น อริยสัจตัว ทุกข์ ชัดเจนขึ้น

    คนส่วนมาก เขาทุกข์ เขารู้สึกแต่เขาไม่ฉุกสังเกตุ เขาปล่อยมันไป บ้างก็ไปหาทำสิ่งนั้นสิ่งนี้แก้ทุกข์ไป ตามแต่อารมณ์หรือความรู้สึกนึกคิดขณะนั้นจะพาไป
    เรียกว่า แม้จะแก้ไข ก็แก้ไขเพราะความรู้สึกนึกคิด ตามกิเลสตัณหา นั่นแหละ คือ ตัวสีลพตรปรามาส คือ ทำมันไปอย่างนั้นเอง ทำเพราะเชื่อมา ทำเพราะนึกขึ้นได้ว่าน่าจะใช่ทางแก้

    ย้อนกลับมาที่ คนที่ พิจารณาเห็นทุกข์ บ่อยๆ เข้า เอาตัวหยาบๆก่อน ที่มันทำให้ใจเราไม่สบาย ทำให้สติเราไม่ผ่องแผ้ว ให้หยิบจับตัวนั้นมา หาอุบายระงับ ให้บ่อย ซึ่งตามธรรมชาติของคน ถ้าทุกข์ตัวใดปรากฎขึ้น แสดงว่า มันจะต้องปรากฎขึ้นอีก หากว่าเรายังละมันไม่ได้ บางคน ทุกข์ หงุดหงิ ทั้งวัน บางคนกังวลเรื่องราวไร้สาระทั้งวัน

    นี่ ให้หยิบขึ้นมา พิจารณาทันที ขณะที่พิจารณา ให้พิจารณาหาความฉลาด เช่น

    จะกังวลกับมันทำไม มันยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น เราคิดไปเอง พิจารณาแบบนี้

    ทำให้บ่อยๆ มันจะค่อยๆ ตะล่อมจิตให้ยอมรับ กับความจริงที่ว่า ไร้สาระ

    เมื่อ จิตเริ่มละได้บ้าง แล้ว เราก็ค่อยๆ ดูว่า แท้จริง ทุกข์ทั้งหลาย นั้นเกิดจาก ตัณหา

    คือ อยาก กับ ไม่อยาก แล้วมันจะติดอยู่ในใจ เพราะมันไม่มีตัวตนนะ มันอยากอยู่อย่างนั้น

    ถามว่า มันอยากอะไร ตอบไม่ได้ มันทุกข์อะไร มันมีแรงผลักดัน อะไร บางทีตอบไม่ได้ เพราะมัน เป็น ภพติดอยู่ เป็นอวิชชาผลักดันต่อเนื่อง เพราะเป็น กรรมที่ผลักดัน จากนิสัยที่เคยชินบ้าง จากกรรมที่เราเคยทำมาบ้าง

    ให้พูดสามวันก็ไม่หมด เพราะมันละเอียดๆ ไปเรื่อยๆ

    ทีนี้ มาดูเวลาถอน เวลาถอนนี่ ให้จ่อกับ ทุกข์ที่ปรากฎ คลุกเคล้ากับมันเลย ว่า ตอนนี้ที่ ทุกข์ มันตั้งอยู่ มันตั้งอยู่ด้วยอะไร อย่าไปคิดว่า เดี๋ยวมันหายเอง
    พระศาสดา บอกว่า มันเป็นไตรลักษณ์ ซึ่งจริงๆแล้ว มันเกิดแล้วมันต้องดับทันใด แต่อะไรทำให้มันตั้งอยู่ใน ใจเรา จนค้างอยู่อย่างนั้น

    นี่หยิบมันขึ้นมา ตีสังขารและภพนั้นให้แตก พอพิจารณาไปเรื่อยๆ จะเห็นเองว่า จิตใจเรายึดเอาไว้เอง แต่เราไม่เคยที่จะฝึกจิตนั้นไปในทางที่ ปล่อยในสิ่งนั้น จิตก็ยึด
    พอ จิตไม่ยึดปั๊บ วางได้ทันที แล้วจะเห็นความโง่ ที่เราไปจับ ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ

    จน ขันธ์ ทั้ง 5 เกิดปั๊บ ดับไป อย่าไปวิพากษ์ก่อน ให้มองตามจริงไปเรื่อยๆ กับฝึกจิต
    ให้ มีกำลัง

    จะทำให้เรา ละ สังโยชน์ ได้

    มรรค มี สัมมาสมาธิ จะคอยช่วยเป็นฐานกำลังให้ปัญญา
     
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ให้จำเอาไว้ ว่า อย่าไปถามหาความอัศจรรย์

    เพราะนั่นคือ กิเลสของเรา ที่คาดไป และไปแยกเองระหว่างความปกติกับความอัศจรรย์

    ถ้าคนเรารู้สึก กับสิ่งใด แล้ว อัศจรรย์ ก็เพราะว่า สิ่งนั้นเราไม่เคยได้รับรส

    แต่ หากรับรสนั้นบ่อยๆ มันก็กลายเป็นปกติ

    ให้ ละแต่กิเลสอย่างเดียว ละ ทุกข์ ละสมุทัย นั่นแหละ จะทำให้เราเข้าใจ เองว่า

    อัศจรรย์ ในธรรม นั้นอยู่ที่ ปัญญามองเห็นกิเลส อันแยบยล ละเอียดไปเรื่อยๆ

    ไม่ใช่ ด้วย อายตนะหรือผัสสะ หรือ สุขเวทนา เพราะนั่นเป็นผลมาจากแค่อวิชชา

    แต่ ปัญญา เห็นธรรม อยู่เหนืออวิชชาไป

    ขอให้ มีดวงตาเห็นธรรม กันทุกคน
     
  9. ไข่น้อย

    ไข่น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +348
    กุ๊กๆๆๆๆๆๆ
    (มาต้อนไก่)
     
  10. บาราคูดา

    บาราคูดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +114
    ถามหน่อยครับ ผมเคยนั่งปฏิบัติแล้วระลึกให้รู้ตัว มีอยู่ช่วงนึงแม้แต่หลับอยู่ยังรู้ตัวว่านี่คือความฝันไม่ใช่ตื่นอยู่ แต่ช่วงนี้ไม่ค่อยได้ปฏิบัติเลยครับ รู้ตัวเลยว่าความขี้เกียจมันจับ ถือศีล5อย่างเดียว อยากถามว่าที่ผมเล่าว่ารู้ตัวตลอดแม้แต่กำลังนอนนั้นผมมาผิดทางหรือเปล่าครับ หรือก็ธรรมดาเฉยๆไม่เกี่ยวกับสมาธิเลยครับ?
     
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ไม่ผิดทางอะไรหรอกครับ และ ไม่ได้ถูกทางอะไร เป็นอาการภายนอก เหมือน ปวดขี้นั่นแหละครับ

    มันอาจจะมี เอฟเฟค กันบ้าง เพราะว่า เวลานั่งสมาธิ ฝึกสมาธิ จิตมีสติ ก็ระลึกได้ว่า เราฝัน

    บางที ที่คิดว่าระลึกได้นั้น แท้จริงกลับกลายเป็นว่า ฝันว่าระลึกได้ ก็ยังเรียกว่า ยังไม่ตื่นเหมือนกัน

    เพราะว่า ถ้าสติจริงๆ แล้วมันต้องตื่นครับ

    ตั้งใจปฏิบัติต่อไปครับ ทำไปทุกวันนั่นแหละครับ ได้ไม่ได้ ก็ช่างมัน มันจะเป็นอุปนิสัย เป็นปัจจัย ให้แก่เราเอง
     
  12. บาราคูดา

    บาราคูดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +114
    ถามคุณขันธ์ต่ออีกนิดครับ ช่วงที่นั่งสมาธิบ่อยๆ (ผมภาวนา ยุบหนอ-พองหนอ บ้างก็ พุทโธ แบบพื้นๆ) หูผมชอบแว่วๆได้ยินเสียงดัง "ตึ้ง" (ดังมากเหมือนของใหญ่ๆหล่น) อยู่บ่อยๆ ถามคนข้างๆก็ไม่มีใครได้ยิน บางทีนอนหลับก็ถึงกับตื่นขึ้นมาเลย อันตรายไหมครับ ผมกลัวเหมือนที่เขาว่ากันว่าฝึกเองแล้วจะเพี้ยนน่ะครับ พอไม่ได้นั่งก็ไม่เป็นเลยครับ
     
  13. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    สาธุ สาธุ สาธุ...ผมจะทำยังไง ว่นวายไปทั้งใจสติ สติ สติ ผมต้องเริ่มสร้างสติก่อนใช่ไหมครับ จึงจะมองตามจริงออก..ไม่ถูกสังขารกินเราทุกวินาที...!:':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)@
     
  14. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ก็ เป็นอาการ จิตตกภวังค์

    ไม่เป็นไรหรอก ถ้ากลัวจะเพี้ยน ให้เจริญสติให้มาก สตินี้คือ การไม่คล้อยตามไปกับเรื่องราวใดๆ ที่เราคิดขึ้นมา ไม่ว่าจะคิด รู้สึก นึก สัมผัสใดๆ ไม่คล้่อยตามทั้งสิ้น

    ให้เตือนตนเองว่า สิ่งเหล่านั้น ไม่จริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวใดๆ ให้เราสัมผัส ก็ไม่ต้องสนใจ

    ให้รู้จักการตั้งมั่น และ อดทน แล้วคอยสังเกตุดูว่า เมื่อผ่านเวลาฟุ้งซ่านไปสักพัก มันจะหายไป
    นั่นเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า ความรู้สึก นึกคิด และ ความปรุงแต่ง ไม่มีตัวตน ไม่จริง เป็นสิ่งหลอกลวงใจเรา ให้เป็นไปตามกระแสกรรม เท่านั้น
     
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    นิ่งให้เป็น

    ตั้งใจให้เป็น

    ฝึกสติ ปัญญา ให้ตั้งมั่น

    ฝืนทวนกระแส เอาใจออกจากกระแสแห่ง ความรู้สึกนึกคิดทั้งปวง ให้เป็น
     
  16. บาราคูดา

    บาราคูดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +114
    ขอบคุณครับ
     
  17. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    หลักการ ในการปฏิบัติ เหมือนกับ คนที่นิสัยไม่ดี แล้วฝึกแต่นิสัยที่ดี

    แล้ว ใช้ปัญญา นำทางเพื่อเห็นประโยชน์ของการฝึกตน และ เห็นโทษของ การปล่อยเนื้อปล่อยตัวตามกิเลส

    การฝึกโดยทั่วไป ที่ไม่ได้ใช้ปัญญาชี้นำ ก็ยังจะติดอยู่กับ ความเป็นมนุษย์ ก็ทำได้แค่เป็น คนที่ดี ที่เผลอได้ เมื่ออกุศลเติบโต เพราะธรรมชาติของเรานั้นมีความประมาท ติดกับจิตมาแต่ไหนแต่ไร ดังนั้น แม้ทำดีแค่ไหน แต่ไม่ใช้ปัญญาชี้นำ ไม่ใช้่ปัญญาใคร่ครวญ ก็เป็นได้แค่ คนดี

    ความรู้สึกทุกอย่างที่อยู่กับ ร่างกายมนุษย์นี้นั้น มันคืออาการหลง เราก็เลยคิดไปว่า สังขารคือร่างกายนี้เป็นเรา

    ทีนี้ พอจะคิด จะรู้สึก จะปวดจะเมื่อย มันก็เลยนึกว่า เป็นอาการของกายนี้เท่านั้น ที่ส่งผล

    แต่จริงๆ แล้ว จิต นี้ถ้าฝึกให้ดี ก็จะเพิกอาการเหล่านั้นได้ จิตที่สอดส่ายไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ก็ค่อยๆ หดเข้ามา กลายเป็น ปรากฎว่า รู้สึก ตรงนั้นที ตรงนี้ที
    ปรากฎว่า เดี๋ยวคิด เดี๋ยวนึก เดี๋ยวเข้าใจ เดี๋ยวรับรู้
    ปรากฎว่า เดี๋ยวได้กลิ่น เดี๋ยวได้ยิน

    สิ่งที่ปรากฎขึ้นนั้น เราเหมารวมด้วยอุปาทานว่า เราทั้งหมด แต่เมื่อทิ้งเราไป จะเห็นว่า

    การรับรู้เหล่านั้น เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ ถ้าหากว่า เราไม่หลงไปตามอุปาทาน เราจะเห็น การรับรู้ทั้งหลายเกิดแล้วดับไป

    นั่นแหละ ตามดับ สิ่งเหล่านั้น อย่าให้มันค้าง ในความรู้สึกที่อุปาทานว่าเป็นเรา

    ทำให้เห็น เป็นทัสนะตามความจริงให้ได้ ว่า ความรู้สึกที่เป็นเรานั้นเป็นอุปาทาน

    ย้อมความรู้สึกนี้ให้ติดกับใจ เพ่งพิจารณารูปนามให้บ่อย ทำสมาธิให้มั่นคง

    แล้ว มรรคจะแจ้ง ผลจะแจ้ง ให้เราได้ดับทุกข์ ได้ตามลำดับลำดา
     
  18. napak123

    napak123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +292
    อ่านตามทุกตัวอักษร ทุกประโยค ทุกบรรทัดตั้งแต่หน้า1-4 รุ้สึกปิติมาก ถูกจริตมาก กราบขอบพระคุณอนุโมทนาสาธุ การให้ธรรมทานนี้ด้วยค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...