ข้าราชบริพาร ทหารในพระปิยมหาราชรายงานตัวกันหน่อยครับ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Natthakorn, 12 มกราคม 2010.

  1. Red Leaf

    Red Leaf เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +4,547
    [​IMG]

    ทุกข์นั้นมาแต่ไหน ทุกข์ก็มาจากเหตุที่เราเข้าไปเกาะเกี่ยวในอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง หนทางที่จะดับทุกข์ได้ก็คือการดับที่อารมณ์ โดยการไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ เรียกว่า การวางอารมณ์"

    ข้อธรรมเล็กๆ น้อยๆ..เก็บมาฝากจาก "ข้าราชบริพารในเสด็จ พ่อ ร.5"..ถ้าไม่เบื่อจะเอามาฝากเรื่อยๆ นะ
     
  2. Red Leaf

    Red Leaf เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +4,547
    ฟังเพลงเพราะๆ กันดีกว่า...ไม่แน่ใจว่าใช่เขมรไทรโยครึเปล่าอะนะ
    รอผู้รู้มาเฉลย... (แต่คิดว่าน่าจะใช่นะ)


    เพลงเขมรไทรโยค



    เป็นเพลงไทยเดิม พระนิพนธ์โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประพาสน้ำตกไทรโยคจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑

    สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์โดยได้เค้ามาจากเพลง "เขมรกล่อมลูก" ซึ่งเป็นเพลง ๒ ชั้น ดัดแปลงขึ้นใหม่เป็นเพลง ๓ ชั้น กับได้ทรงพระนิพนธ์บทร้องประกอบบรรยายถึงความงดงามของธรรมชาติ แล้วประทานนามว่า "เขมรไทรโยค" ออกแสดงครั้งแรกในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๑ ต่อมาถูกตัดทอนให้เป็นเพลงชั้นเดียว ใส่เนื้อร้องโดยนางจันทนา พิจิตรคุรุการ และขยายเป็นเพลง ๓ ชั้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ โดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) กลายเป็น "เพลงเถา" ขึ้นมา


    คำร้อง-ทำนอง: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

    บรรยายความตามไท้ เสด็จยาตร ยังไทรโยคประพาสพนาสัณฑ์

    น้องเอย...เจ้าไม่เคยเห็น ไม้ไร่หลายพันธ์ คละขึ้นปะปน

    ที่ชายชลเขาชะโงกเป็นโกรกธาร น้ำพุพุ่งซ่าน ไหลมาฉาดฉาน

    เห็นตระการ มันไหลจอกโครมจอกโครม มันดังจ้อกจ้อก จ้อกจ้อก โครมโครม

    น้ำใสไหลจนดู หมู่มัสยา กี่เหล่าหลายว่ายมา ก็เห็นโฉม

    น้องเอย เจ้าไม่เคยเห็น ยินปักษาซ้องเสียง เพียงประโคม

    เมื่อยามเย็นพยับโพยมร้องเรียกรัง เสียงนกยูงทอง มันร้องโด่งดัง

    หูเราฟังมันร้องดังกระโต้งฮง มันดังก้อก ก้อก ก้อกก้อก กระโต้งฮง


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.998984/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. angeltk229

    angeltk229 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,584
    ค่าพลัง:
    +6,912
    ขอบคุณมากค่ะพี่ใบไม้สำหรับเพลงเพราะๆและข้อธรรมดีๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มิถุนายน 2010
  4. Natthakorn

    Natthakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,003
    ค่าพลัง:
    +7,078
    ขอบคุณครับเฮีย ว่าแต่เป็นพญานาคสมัยรัชกาลที่ห้าหรือครับ ห้าๆ :cool:



     
  5. Red Leaf

    Red Leaf เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +4,547
    ปาฏิหาริย์ วาจาสิทธิ์ดั่งพระร่วง ของรัชกาลที่ 5



    [​IMG]
    เรื่องนี้มาจากคุณพิศาล สุริยศักดิ์(เทอญ บุญนาค) มหาดเล็กใกล้ชิดในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้เล่าว่า

    วันหนึ่ง ร.5 ทรงเสด็จตรวจการสร้างพระที่นั่งอนัตสมาคมพร้อมกับพระบรมวงศานุวงศ์ ครั้งนั้นพระองค์ทรงตรัสขึ้นมาว่า “ที่นี้แหละต่อไปในอนาคตจะกลายเป็นรัฐสภา”

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีความคิดที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ และใช้การปกครองระบบประชาธิปไตยให้กับคนไทยอยู่ก่อนแล้ว เพื่อที่จะให้เป็นไปตามแบบอังกฤษ แต่ที่ยังไม่ทรงพระราชทานนั้น เพราะทรงเห็นว่า ประชาชนคนไทยในช่วงเวลานั้นยังไม่พร้อมมีและความรู้ในเรื่องนี้น้อยนัก ถ้าพระราชทานไป คนไทยอาจจะยังไม่เข้าใจและปรับตัวไม่ทัน ที่สำคัญอำนาจที่จะเป็นของประชาชนนั้นจะกลายเป็นว่าตกอยู่ในมือคนกลุ่มเดียว

    ในวันนั้นมีผู้ติดตามเสด็จมากมาย รวมทั้งสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมงกุฎราชกุมาร และพระโอรสองค์เล็ก คือสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชฯกรมขุนสุโขทัยธรรมาธิราช

    ร.5 ทรงหันมาทางพระโอรสองค์เล็กแล้วตรัสว่า

    “ลูกเอียดน้อย ถ้าได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินขึ้นมาจะว่ากระไร”

    ทุกคนที่อยู่ในบริเวณนั้นก็พากันหัวเราะครึกครื้น เพราะแทบจะไม่มีความเป็นไปได้เลยที่พระโอรสองค์เล็กจะได้เป็นกษัตริย์ เพราะบรรดาพระบรมเชษฐาของพระองศ์อันทรงประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ ยังมีอีกหลายพระองค์เช่น

    1. สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ต่อมาได้เป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6
    2. สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ
    3. สมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชวุธ
    4. สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก
    5. สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชฯ พระโอรสองค์เล็กหรือ “ลูกเอียดน้อย” ตามที่ ร.5 ทรงเรียก

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคต ราชบัลลังก์ก็ตกมาเป็นของ “ลูกเอียดน้อย” ตามคำที่ ร.5 ทรงตรัสไว้ก่อนหน้านี้นานแล้ว เพราะพระบรมเชษฐาทั้งสามพระองค์ ซึ่งแต่ละพระองค์ล้วนแต่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยอย่างมากมาย (ไม่รวม ร.6) ทรงสวรรคตไปหมดแล้ว

    “ลูกเอียดน้อย” ได้เสด็จขึ้นเถลิงราชสมบัติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระนามว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 7 และพระที่นั่งอนันตสมาคมก็ได้กลายมาเป็นรัฐภาแห่งแรกของไทย ก่อนที่จะย้ายไปเป็นรัฐใหม่ในปัจจุบัน (และกำลังจะย้ายอีกในอนาคต) ที่สำคัญที่สุด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 7 ทรงเป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญและระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยให้กับ ประชาชนคนไทย




    ที่มา : สยามยุครัตนโกสินทร์ พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2534
    โดย : ชาลี กระเอี่ยมสินธุ์
    เรียบเรียง : วาทิน ศานติ์ สันติ<!-- google_ad_section_end -->

    ปาฏิหาริย์ วาจาสิทธิ์ดั่งพระร่วง ของรัชกาลที่ 5 :: hanako
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2010
  6. Red Leaf

    Red Leaf เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +4,547
    [​IMG]

    เมื่อยังเด็กมากๆ ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งซึ่งเกิดทันรัชสมัยของพระองค์เล่าให้ฟังว่า...ครั้งหนึ่งเกิดไฟไหม้ใหญ่ที่บางรัก ขณะที่เพลิงกำลังโหมอยู่นั้น ผู้ใหญ่ท่านนั้นซึ่งยังเป็นเด็กน้อยอยู่ ได้เห็นเสด็จพ่อ ร.5 เสด็จมาดับเพลิงด้วยพระองค์เอง...

    พระองค์ท่านทรงหยิบมาลาซึ่งสวมพระเศียรอยู่ ทรงบริกรรมคาถาครู่หนึ่ง แล้วร่อนพระมาลานั้นผ่านบ้านเรือนซึ่งเพลิงกำลังเผาผลาญ

    เพียงครู่เดียว..พระเพลิงก็มอดดับลงอย่างน่าอัศจรรย์ เรื่องนี้มิได้มีบันทึกไว้ที่ใดเลย มีแต่คำบอกเล่าของผู้ใหญ่เท่านั้น จึงนับเป็นความโชคดียิ่ง ที่ได้มีโอกาสรับรู้ถึงพระบารมีอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ท่าน
     
  7. bumbimnick

    bumbimnick เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +160
    โอว ได้ความรู้ประวัติศาสตร์อีกเพียบเลย


    ชอบๆๆๆค่ะ


    ขออีกๆๆๆๆ
     
  8. angeltk229

    angeltk229 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,584
    ค่าพลัง:
    +6,912
    เห็นภาพท่านทีไรรู้สึกสะท้อนในหัวอกทุกที:'(
     
  9. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    [​IMG]วันอังคารนี้(ผมเกิดวันอังคาร)ผมจะไปกราบพระองค์ท่านที่วันเบญจบพิตร...

    เคารพและศรัทธาในพระองค์ท่าน...ผมได้ข้อมูลมาจากผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่เป็นลูกเจ้าพระยาสมัยก่อน

    ท่านบอกว่า...พระองค์ท่านเป็นผู้ริเริ่มให้มีการออกฉโนดที่ดินครั้งแรกในประเทศไทย(ในสมัย

    พระองค์ท่านพ่อร.5)จึงมีอยู่ถึงทุกวันนี้...ท่านผู้ใหญ่ท่านนี้บอกว่าถ้าคนที่มีปัญหาเรื่องที่ดินไม่

    ต้องไปขอหรึอแก้บนกับใคร...ให้มาบอกพระองค์ท่านพ่อร.5...ก็จะสำเร็จทุกคน...ข้อมูลนี้

    ผมก็พึ่งรู้...วันที่ท่านผู้ใหญ่ท่านนี้เล่าให้ฟัง...ก็มีผมและโหราจารย์ระดับผู้ใหญ่...ท่านโหราจารย์ท่านบอก

    ติดเรื่องนี้มา20กว่าปีไม่รู้จะแก้ไขและแนะนำลูกศิษย์อย่างไรจึงจะได้ผล...เพราะมีลูกศิษย์มาถามและให้แก้เรื่องที่ดินตลอดแต่ไม่รู้จะแนะนำ

    อย่างไร...เพราะแนะนำไปส่วนมากจะค่อยไม่สำเร็จ...ทำให้รู้ข้อมูลว่าพระองค์ท่านพ่อร.5เป็นผู้พระราชทานที่ดินให้เราชาวไทยได้มีที่ดิน

    เป็นของตัวเอง...ก็เพราะพระองค์ท่านพ่อร.5ห่วงลูกหลาน(ชาวไทย)จะไม่มีที่อยุู่อาศัยและที่

    ทำกิน...เราชาวไทยต้องรักและปกป้อง...ชาติ,ศาสนา,พระมหากษัตริย์... ตราบเท่าชีวิต

    สวัสดีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2010
  10. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=tahoma11 vAlign=center width=710 align=middle>พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) </TD><TD width=33></TD></TR><TR><TD height=2573></TD><TD class=tahoma12 vAlign=top>
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระพุทธเจ้าหลวง ทรงเป็นรัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระบรมราชสมภพเมื่อ วันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. 2411) รวมสิริดำรงราชสมบัติ 42 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) ด้วยโรคพระวักกะ รวมพระชนมพรรษา 58 พรรษา
    พระองค์ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร ให้ร่มเย็นเป็นสุข ทรงโปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบถึงความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ทรงสนพระทัยในวิชาความรู้ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และนำมาใช้บริหารประเทศให้ เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยมหาราช และมีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน

    พระราชประวัติ
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ (ต่อมาภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระนามเจ้านายฝ่ายในให้ถูกต้องชัดเจนตามโบราณราชประเพณีนิยมยุคถัดมาเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร
    พระองค์ทรงมีพระขนิษฐาและพระอนุชารวม 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
    วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2404 สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ได้รับการสถาปนาให้ขึ้นทรงกรมเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ [1] และเมื่อ พ.ศ. 2409 พระองค์ทรงผนวชตามราชประเพณี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ภายหลังจากการทรงผนวช พระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ เมื่อปี พ.ศ. 2410 โดยทรงกำกับราชการกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมทหารบกวังหน้า [2]
    วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2410 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตภายหลังทรงเสด็จออกทอดพระเนตรสุริยุปราคา โดยก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคตนั้น ได้มีพระราชหัตถเลขาไว้ว่า "พระราชดำริทรงเห็นว่า เจ้านายซึ่งจะสืบพระราชวงศ์ต่อไปภายหน้า พระเจ้าน้องยาเธอก็ได้ พระเจ้าลูกยาเธอก็ได้ พระเจ้าหลานเธอก็ได้ ให้ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ปรึกษากันจงพร้อม สุดแล้วแต่จะเห็นดีพร้อมกันเถิด ท่านผู้ใดมีปรีชาควรจะรักษาแผ่นดินได้ก็ให้เลือกดูตามสมควร" ดังนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเสด็จสวรคต จึงได้มีการประชุมปรึกษาเรื่องการถวายสิริราชสมบัติแด่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ซึ่งในที่ประชุมนั้นประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และพระสงฆ์ โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ได้เสนอสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งที่ประชุมนั้นมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ ดังนั้น พระองค์จึงได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชบิดา [3] โดยในขณะนั้น ทรงมีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา ดังนั้น จึงได้แต่งตั้งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนกว่าพระองค์จะทรงมีพระชนมพรรษครบ 20 พรรษา โดยทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า
    " พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราชรวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทร มหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว" [2]
    เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา จึงทรงลาผนวชเป็นพระภิกษุ และได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ขึ้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยในครั้งนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า
    " พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราช รวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิต อรรคอุกฤษฏไพบูลย์ บุรพาดูลย์กฤษฎาภินิหาร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณต บาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขมาตยาภิรมย์ อุดมเดชาธิการ บริบูรณ์คุณสารสยามาทินครวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระวักกะ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เวลา 2.45 นาฬิกา รวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา



    พระมเหสี พระราชินี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมเหสี และ เจ้าจอม รวมทั้งหมด 92 พระองค์ โดย 36 พระองค์มีพระราชโอรส-ธิดา อีก 56 พระองค์ไม่มี และพระองค์ทรงมีพระราชโอรส-ธิดา รวมทั้งสิ้น 77 พระองค์



    พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
    พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ 5 ได้แก่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีเลิกทาส การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และจักรวรรดิอังกฤษ ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ โดยบุคคลศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามสามารถปฏิบัติการในศาสนาได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ได้มีมีการนำระบบจากทางยุโรปมาใช้ในประเทศไทย ได้แก่ระบบการใช้ธนบัตรและเหรียญบาท ใช้ระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น มณฑลเทศาภิบาล จังหวัดและอำเภอ และได้มีการสร้างรถไฟ สายแรก คือ กรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2433 นอกจากนี้ได้มีงานพระราชนิพนธ์ ที่สำคัญ


    การเสียดินแดนให้ฝรั่งเศส

    ครั้งที่ 1
    เสียแคว้นเขมร (เขมรส่วนนอก) เนื้อที่ประมาณ 123,050 ตารางกิโลเมตร และเกาะอีก 6 เกาะ วันที่ 15 กรกฎาคม 2410

    ครั้งที่ 2 เสียแคว้นสิบสองจุไท หัวพันห้าทั้งหก เมืองพวน แคว้นหลวงพระบาง แคว้นเวียงจันทน์ คำม่วน และแคว้นจำปาศักดิ์ฝั่งตะวันออก (หัวเมืองลาวทั้งหมด) โดยยึดเอาดินแดนสิบสองจุไทย และได้อ้างว่าดินแดนหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และนครจำปาศักดิ์ เคยเป็นประเทศราชของญวนและเขมรมาก่อน จึงบีบบังคับเอาดินแดนเพิ่มอีก เนื้อที่ประมาณ 321,000 ตารางกิโลเมตร วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2431 ฝรั่งเศสข่มเหงไทยอย่างรุนแรงโดยส่งเรือรบล่วงเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า ฝ่ายไทยยิงปืนไม่บรรจุกระสุน 3 นัดเพื่อเตือนให้ออกไป แต่ทางฝรั่งเศสกลับระดมยิงปืนใหญ่เข้ามาเป็นอันมาก เกิดการรบกันพักหนึ่ง ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสนำเรือรบมาทอดสมอ หน้าสถานทูตของตนในกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ (ทั้งนี้ประเทศอังกฤษ ได้ส่งเรือรบเข้ามาลอยลำอยู่ 2 ลำ ที่อ่าวไทยเช่นกัน แต่มิได้ช่วยปกป้องไทยแต่อย่างใด) ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทย 3 ข้อ ให้ตอบใน 48 ชั่วโมง เนื้อหา คือ
    ให้ไทยใช้ค่าเสียหายสามล้านแฟรงค์ โดยจ่ายเป็นเหรียญนกจากเงินถุงแดง พร้อมส่งเช็คให้สถานทูตฝรั่งเศสแถวบางรัก
    ให้ยกดินแดนบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและเกาะต่างๆ ในแม่น้ำด้วย
    ให้ถอนทัพไทยจากฝั่งแม่น้ำโขงออกให้หมดและไม่สร้างสถานที่สำหรับการทหาร ในระยะ 25 กิโลเมตร ทางฝ่ายไทยไม่ยอมรับในข้อ 2 ฝรั่งเศสจึงส่งกองทัพมาปิดอ่าวไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2436 และยึดเอาจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัดตราดไว้ เพื่อบังคับให้ไทยทำตาม

    [​IMG] ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ 50,000 ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 และฝรั่งเศสได้ยึดเอาจันทบุรีกับตราด ไว้ต่ออีก นานถึง 11 ปี (พ.ศ. 2436- พ.ศ. 2447)

    [​IMG] ปี พ.ศ. 2446 ไทยต้องทำสัญญายกดินแดนให้ฝรั่งเศสอีก คือ ยกจังหวัดตราดและเกาะใต้แหลมสิงห์ลงไป (มีเกาะช้างเป็นต้น) ไปถึง ประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) ดังนั้นฝรั่งเศสจึงถอนกำลังจากจันทบุรีไปตั้งที่ตราด ในปี พ.ศ. 2447

    [​IMG] วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 ไทยต้องยกดินแดนมณฑลบูรพา คือเขมรส่วนใน ได้แก่เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศสอีก ฝรั่งเศสจึงคืนจังหวัดตราดให้ไทย รวมถึงเกาะทั้งหลายจนถึงเกาะกูด
    รวมแล้วในคราวนี้ ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ 66,555 ตารางกิโลเมตร
    และไทยเสียดินแดนอีกครั้งทางด้านขวาของแม่น้ำโขง คืออาณาเขต ไซยะบูลี และ จำปาศักดิ์ตะวันตก ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450



    การเสียดินแดนให้อังกฤษ
    เสียดินแดน รัฐไทรบุรี รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู และรัฐปะลิส ให้อังกฤษ เมื่อ 10 มีนาคม พ.ศ. 2451 ( นับอย่างใหม่ พ.ศ. 2452) เพื่อขอกู้เงิน 4 ล้านปอนด์ทองคำอัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี มีเวลาชำระหนี้ 40 ปี



    พระราชปณิธาน
    พระราชบิดาของฉัน ได้ทรงสละเวลาเป็นส่วนใหญ่ ในการศึกษาและคุ้มครองศาสนาของชาติ ส่วนฉันได้ขึ้นครองราชย์ในขณะอายุยังน้อย จึงไม่มีเวลาที่จะเป็นนักศึกษาอย่างพ่อ ฉันเองมีความสนใจในการศึกษาหนังสือหลักธรรมต่างๆ สนใจที่จะคุ้มครองศาสนาของเรา และต้องการให้มหาชนทั่วไปมีความเข้าใจถูกต้อง
    ดูเหมือนว่า ถ้าชาวยุโรปเชื่อในคำสอนของคณะมิชชันนารีว่า ศาสนาของเราโง่งมงาย และชั่วทราม คนทั้งหลายก็จะต้องถือว่าพวกเราเป็นคนโง่งมงายและชั่วทรามไปด้วย ฉันจึงรู้สึกขอบคุณบรรดาบุคคล เช่น ท่านเป็นตัวอย่าง ที่สอนชาวยุโรปให้ความคารวะแก่ศาสนาของเรา

    พระราชนิพนธ์
    ทรงมีพระราชนิพนธ์ ทั้งหมด 10 เรื่อง
    1 ไกลบ้าน
    2 เงาะป่า
    3 นิทราชาคริต
    4 อาบูหะซัน
    5 พระราชพิธีสิบสองเดือน
    6 กาพย์เห่เรือ
    7 คำเจรจาละครเรื่องอิเหนา
    8 ตำรากับข้าวฝรั่ง
    9 พระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี
    10 โคลงบรรยายภาพรามเกียรติ์


    <HR>
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระบรมนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชวรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร
    ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
    ครองราชย์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2410
    ระยะครองราชย์ 42 ปี
    รัชกาลก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    รัชกาลถัดไป พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    วัดประจำรัชกาล วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
    ข้อมูลส่วนพระองค์
    พระราชสมภพ 20 กันยายน พ.ศ. 2396
    วันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู
    สวรรคต 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
    รวมพระชนมพรรษา 58 พรรษา
    พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระราชมารดา สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์
    พระมเหสี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
    พระราชโอรส/ธิดา 77 พระองค์

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>คนไทยไม่เคยลืม...รักและเคารพเทิดทูนพระองค์ท่านตลอดไป...สวัสดีครับ
     
  11. Red Leaf

    Red Leaf เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +4,547
    [​IMG]

    ชีวิตที่ผ่านมาเสมือนอยู่ใต้ร่มพระบารมีของพระองค์โดยตลอด โดยที่ตอนแรกก็มิได้รู้ตัวเลย...

    นับแต่เด็กมา อยู่ดีๆ ลูกชาวบ้านธรรมดาๆ ที่สุดอย่างเราก็ได้เข้าไปเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่ง โดยที่มิได้คาดหมาย มิได้ตั้งตัว แต่แล้วก็ได้รู้ว่า เพราะโรงเรียนแห่งนั้นเอง ที่ทำให้เรามีความสามารถพอที่จะเข้าไปศึกษาในสถาบันที่ใช้พระนามของพระองค์เป็นชื่อสถาบัน..ถ้าเรายังใช้ชีวิตอยู่ตามวิถีของเรา ก็คงยากนักที่จะได้ศึกษาในสถาบันแห่งนั้น สถานที่ซึ่งได้พบพระองค์ทุกวัน โดยพระบรมฉายาลักษณ์ขนาดใหญ่ที่บูชาไว้ภายใน

    เมื่อจบแล้วก็เหมือนต้องไปใช้ทุน..เพราะต้องไปทำงานในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หน้าที่หลักคือจัดระบบให้แก่ภาพถ่ายในรัชสมัยของพระองค์ ได้นั่งชมพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์อยู่ทุกวัน จนครบ 1 ปีก็ออกจากที่นั้นไป มีชีวิตเป็นของตนเองจวบจนปัจจุบัน แต่เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ยังเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่ใช้พระนามของพระองค์เป็นชื่ออยู่โดยตลอดคือโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์...
     
  12. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    <LI style="OVERFLOW: auto" class=margintop><LI class=margintop>
    คำบูชา...สมเด็จพระปิยะมหาราช




    นะโมตัสสะ ภะคะวาโต อะระโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3จบ)

    พระสยามะมินโท วะโร อัตตัง พุทธะสังมิอิติ อะระหัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ

    ปิโยเทวา มนุสานัง จงเป็นที่รักของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย

    ปิโยนาคะ สัมปันนานัง จงบังเกิดความรักที่มีอนุภาคสูงสุด

    ปิโยพรหม มานะมุตตะโม จงบังเกิดความรักกับผู้มีอำนาจท่านท้าวมหาพรหม เจ้าจอม อินทรา นาค ครุฆ และ คนธรรพ์

    ปินันทิยัง นะมามินัง ความรัก ความยินดี ความเมตตา จงบังเกิดในเรือนร่าง ข้าพเจ้า ทุกส่วนแม้ปลายเส้นผม



    ปิยะ มะมะ นะโมพุทธายะ (5จบ)

    (ขอพรท่านห้ามบน) ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท

    ข้าพระพุทธเจ้า (นาย นาง นางสาว) ชื่อ......................นามสกุล...................

    ต้องการให้พระองค์ท่านช่วยเรื่อง..................................................................

    *อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะ นาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ ปิยะมะมะ นะโมพุทธายะ (*3จบ)

    พระพุทธเจ้าขอรับด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะชอให้บุญบารมีขององค์เสด็จพ่อ ร.5 สูงยิ่ง ๆ ขึ้น และแกร่งกล้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป...

    <LI class=margintop>

    <LI class=margintop>สวัสดีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2010
  13. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    การบูชา ร.5 ด้วยวิสกี้

    พระพุทธเจ้า ท่านสอนให้เรารักษา ศีล 5 เพื่อความสุข ความเจริญ ......
    ฉะไหนเลย เราถึงเอาเหล้าไปบูชาพระ .... บางคน บอกว่า บูชาเหล้า
    แล้วกิจการเจริญรุ่งเรืองดี ทำมาค้าขึ้น แล้วคุณลองสังเกต หรือปล่าวว่า
    งานที่ว่าดีนั้น กว่ามันจะได้ดี มันเหนื่อยมากไหม มึนบ้างไหม
    เพราะอะไร ? .... และที่สำคัญ แทบทุกคนที่เอาเหล้าบูชา ร.5
    จะบอกเหมือน ๆ กันว่า " รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเสวยเหล้า "
    ไม่รู้ ว่ารู้ได้อย่างไรเหมือนกัน

    พูดกับใคร ว่า อย่าทำ ไม่ดี ก็ไม่มีคนเชื่อ " เราไม่มีหลักฐาน
    ยืนยันว่าไม่ดียังไง ใครเค้าจะมาเชื่อ ที่เราพูด เพราะเราเจตนาดี
    หวังดี เท่านั้นแหละ ไม่ได้คิดเป็นอย่างอื่น "

    เผอิญเมื่ออาทิตย์ก่อน ได้อ่าน หนังสือชีวิตในวังบางขุนพรหม ของ
    คุณกิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร มีตอนหนึ่งในหน้า 122 เขียนว่า

    " สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ไม่โปรดเสวยเหล้า ดังมีเรื่องเล่ากันว่า
    เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ในปี พ.ศ 2440
    ผู้จัดการรับเสด็จฯ ได้นำขวดเหล้าวิสกี้ มาตั้งไว้ภายในห้องพระบรรทม
    เมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นเข้าก็ กริ้วโกธร ด้วยพระองค์ท่านไม่ทรง
    โปรดเสวยเหล้า ทรงมีพระราชดำรัสว่า

    " จัดการกันอย่างนี้ ลูก ๆ ของข้าจะติดเหล้า และกลายเป็นคนขี้เมากันหมด "

    พอจะทราบข้อเท็จจริงแล้ว ว่า รัชกาลที่ 5 ท่านไม่ทรงโปรด
    เสวยน้ำจันท์(เหล้า) เราก็เปลี่ยนเป็นนำดอกไม้ พวงมาลัย ไปถวาย
    แทน เอาความเป็นสิริมงคล ให้กับตัวเอง จะดีกว่านะครับ...สวัสดีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2010
  14. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    [​IMG]
     
  15. ชานนคนไทย

    ชานนคนไทย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +3,128
    วัดเบญจมบพิตร เดิมเป็นวัดเก่าแก่เล็ก ๆ ชื่อว่า "วัดแหลม" เพราะอยู่ปลายแหลมที่สวนติดต่อกับทุ่งนา และมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดไทรทอง” เพราะมีต้นไทรทองปรากฏอยู่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๐ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภู-
    เบนทร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงตั้งกองทัพรับขบถเจ้าอนุวงศ์ที่วัดนี้ หลังเสร็จจากการ
    ปราบขบถเจ้าอนุวงศ์แล้ว ได้มีศรัทธาปฏิสังขรณ์วัดนี้ขึ้น โดยร่วมกับพระเจ้าน้องยาเธอและพระเจ้าน้องเธออีกสี่พระองค์ คือ
    ๑. กรมพระพิทักษ์เทเวศร์
    ๒. กรมหลวงภูวเนตรนรินฤทธิ์
    ๓. พระองค์เจ้าหญิงอินทนิล
    ๔. พระองค์เจ้าหญิงวงศ์
    การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ได้ซ่อมแซมเสนาสนะเดิมของวัดเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นได้ทรงสร้างพระเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ห้า
    องค์เรียงรายด้านหน้าวัดด้วย ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า
    “วัดเบญจบพิตร” หมายถึง "วัดของเจ้านาย ๕ พระองค์”

    สมัยรัชกาลที่ ๕ ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างสวนดุสิต พร้อมกับพระราชวัง
    ดุสิตขึ้นในที่ดินตอนเหนือของวัดเบญจบพิตร ทำให้สถานที่สร้างสวนดุสิตมีบริเวณกินเนื้อที่วัดดุสิตและวัดปากคลองร้าง ประ
    กอบกับวัดเบญจบพิตรกำลังทรุดโทรม พระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะสถาปนาขึ้นให้เป็นวัดใหญ่และให้มีความสวยสง่างาม
    ที่สุด จึงทรงสถาปนาวัดเบญจบพิตรขึ้นใหม่ โดยวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๔๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สม
    เด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นประธานออกแบบวางแผนผังและควบคุมดำเนินการก่อสร้าง
    วัดใหม่หมด พร้อมกับได้ขยายอาณาเขตวัดให้กว้างลงไปทางใต้เป็นการทดแทนผาติกรรมวัดทั้งสองวัดที่ถูกยุบไปและรวมเป็นเขตพระราชฐานด้วย พร้อมกับทรงเปลี่ยนนามวัดใหม่ว่า “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” หมายถึง “ วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๕"

    นอกจากความหมายของชื่อวัดแล้ว อีกประการหนึ่งที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่า วัดเบญจมบพิตรเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๕ ก็คือข้อมูลที่ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เชิญพระสรีรังคารพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาประดิษฐานในรัตนบัลลังก์พระพุทธชินราช พระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ในขณะที่พระพุทธอังคีรส พระประธาน
    ในพระอุโบสถวัดราชบพิธ เป็นที่ประดิษฐานพระสรีรังคารพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว*


    ส่วนประวัติวัดราชบพิธนั้น เป็นพระอารามหลวงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ


    <HR>
    * ใต้ฐานบัลลังก์กะไหล่ทองที่ประดิษฐานพระพุทธอังคีรส พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
    ได้บรรจุพระบรมอัฐิหกพระองค์ ซึ่งเป็นพระบรมอัฐิส่วนที่ทรงได้รับไว้ครอบครองส่วนพระองค์ คือ
    พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระบรมอัฐิสมเด็จพระศรีสุลาลัย
    และพระบรมอัฐิสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร

    ครั้นเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้ปรากฏว่าเจ้านายฝ้ายในหลายพระองค์ที่ได้รับส่วนแบ่งพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้ เกรงว่าจะไม่สามารถรักษาพระบรมอัฐิไว้ได้อย่างสมพระเกียรติ จึงได้พร้อมใจกันนำมาถวายไว้ที่วัดราชบพิธ และสมเด็จพระสังฆราช
    โปรดเกล้าฯ ให้บรรจุไว้ใต้ฐานบัลลังก์กะไหล่ทองนี้เช่นกัน


    ให้สร้างขึ้นในรัชกาลของพระองค์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๒ ตามโบราณราชประเพณีนิยมที่สมเด็จพระบรมราชบุพการีได้ทรงบำเพ็ญมา (รัชกาลที่ ๑ ทรงสร้างวัดพระเชตุพนฯ รัชกาลที่ ๒ ทรงสร้างวัดอรุณฯ รัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างวัดราชโอรสฯ รัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างวัดราชประดิษฐ์ฯ) จึงถือว่าวัดราชบพิธเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๕ และเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงสร้างวัดประจำรัชกาล เพราะทรงเห็นว่าวัดมีอยู่มากแล้วพระองค์จึงทรงรับพระราชปฏิสังขรณ์วัดนี้เสมือนเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์ด้วย ดังนั้นวัดราชบพิธจึงถือเป็นวัคประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งพระบรมราชวงศ์จักรีถึงสองพระองค์...วันนี้ผมได้ไปกราบรูปหล่อพระองค์ท่านพ่อร.5ที่อยู่หลังโบสถ์มีประวัติยาวนานมาก...มีคุณป้าที่ดูแลชื่อป้านงรักษ์ท่านให้ข้อมูลเยอะมากถ้าต้องการรู้ข้อมูล ละเอียดต้องไปกราบท่านที่วัดเบจฯเพราะที่นี้ศักดฺ์สิทธิ์มากครับ...สวัสดีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มิถุนายน 2010
  16. nunoiyja

    nunoiyja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2010
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +1,733
    ขอเสริมอีกนิด

    พระราชโอรส และ พระราชธิดา ในรัชกาลที่ ๕ เรียงตามพระประสูติการ

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมเหสี และ เจ้าจอม รวมทั้งหมด ๙๒ พระองค์ ๓๖ พระองค์มีพระราชโอรส-ธิดา อีก ๕๖ พระองค์ไม่มี และพระองค์ยังทรงมีพระราชโอรส-ธิดา ทั้งหมดรวม ๗๗ พระองค์

    1 พระภรรยาเจ้า
    1.1 สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
    1.1.1 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง

    1.2 สมเด็จพระบรมราชเทวี
    1.2.1 สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
    1.2.2 สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

    1.3 สมเด็จพระอัครราชเทวี
    1.3.1 สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี

    1.4 พระอรรคชายา
    1.4.1 พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา
    1.4.2 พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์
    1.4.3 พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา

    1.5 พระราชชายา
    1.5.1 พระราชชายา เจ้าดารารัศมี

    2 เจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม

    2.1 เจ้าจอมมารดา
    2.1.1 เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าจอมมารดาแพ)
    2.1.2 เจ้าจอมมารดาจันทร์
    2.1.3 เจ้าจอมมารดาชุ่ม
    2.1.4 เจ้าจอมมารดาแช่ม
    2.1.5 เจ้าจอมมารดาโหมด
    2.1.6 เจ้าจอมมารดาตลับ
    2.1.7 เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกษร ณ เชียงใหม่
    2.1.8 เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์ย้อย อิศรางกูร
    2.1.9 เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข พึ่งบุญ
    2.1.10 เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร สนิทวงศ์
    2.1.11 เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์
    2.1.12 เจ้าจอมมารดาทับทิม
    2.1.13 เจ้าจอมมารดาเรือน
    2.1.14 เจ้าจอมมารดาพร้อม
    2.1.15 เจ้าจอมมารดาวง
    2.1.16 เจ้าจอมมารดาวาด
    2.1.17 เจ้าจอมมารดาเลื่อน
    2.1.18 เจ้าจอมมารดาแส
    2.1.19 เจ้าจอมมารดาแสง
    2.1.20 เจ้าจอมมารดาสุด
    2.1.21 เจ้าจอมมารดามรกฎ
    2.1.22 เจ้าจอมมารดาเหม
    2.1.23 เจ้าจอมมารดาอ่วม
    2.1.24 เจ้าจอมมารดาอ่อน บุนนาค

    2.2 เจ้าจอม

    2.2.1 เจ้าจอมเอี่ยม บุนนาค
    2.2.2 เจ้าจอมเอิบ บุนนาค
    2.2.3 เจ้าจอมอาบ บุนนาค
    2.2.4 เจ้าจอมเอื้อน บุนนาค
    2.2.5 เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์
    2.2.6 เจ้าจอมกลีบ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
    2.2.7 เจ้าจอมลิ้นจี่ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
    2.2.8 เจ้าจอมฟักเหลือง เทพหัสดิน ณ อยุธยา

    พระภรรยาเจ้า

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระภรรยาเจ้าทั้งสิ้น ๙ พระองค์ โดยแบ่งออกเป็น ชั้นลูกหลวง ซึ่งหมายถึง ทรงเป็นพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ ๕ พระองค์ ได้แก่
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทักษิณชา นราธิราชบุตรี
    สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
    สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
    สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
    สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง
    และทรงมีพระภรรยาเจ้า ชั้นหลานหลวง ซึ่งหมายถึง ทรงเป็นพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์ อีก ๓ พระองค์ ได้แก่
    พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา
    พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์
    พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
    นอกจากนี้ ยังทรงมีพระภรรยาเจ้าที่ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดินเมืองเชียงใหม่อีก ๑ พระองค์ ได้แก่ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี
    โดยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น พระฐานันดรศักดิ์ของพระภรรยาเจ้านั้น สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

    สมเด็จพระบรมราชินีนาถ

    สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง

    สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง พระราชอิสริยยศสุดท้ายเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ คือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ(รัชกาลที่ ๕ ทรงออกพระนามเรียกโดยลำลองว่า "แม่เล็ก")

    เมื่อรัชกาลที่ ๖ เสวยราชย์แล้วจึงทรงเฉลิมพระนามาภิไธยพระราชชนนีเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

    สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ มีพระราชโอรส-ธิดา ทั้งหมด ๘ พระองค์ และตกพระครรภ์อีก หลายพระองค์ ได้แก่

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ก่อนเสวยราชย์ มีพระราชอิสริยยศที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร)
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
    จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
    สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย
    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ก่อนเสวยราชย์ มีพระราชอิสริยยศที่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา)
    สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง(สึ้นพระชนม์ในวันประสูติ)

    สมเด็จพระบรมราชเทวี

    สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี

    สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี หรือที่รู้จักกันในนาม พระนางเรือล่ม (รัชกาลที่ ๕ ทรงออกพระนามเรียกโดยลำลองว่า "แม่ใหญ่")

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ โสภางคทัศนียลักษณ์ อัครวรราชกุมารี (สิ้นพระชนม์พร้อมพระมารดา)

    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า (สิ้นพระชนม์ในพระครรภ์พร้อมพระมารดา)

    สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

    สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชอิสริยยศสุดท้ายในรัชกาลที่ ๕ คือ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี(รัชกาลที่ ๕ ทรงออกพระนามเรียกโดยลำลองว่า "แม่กลาง") ในรัชกาลที่ ๗ ทรงเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า ในรัชกาลที่ ๘ ทรงเฉลิมพระนามาภิไธยพระอัยยิกา (ย่า) เป็น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

    สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ มีพระราชโอรส-ธิดาทั้งหมด ๘ พระองค์เช่นเดียวกัน ดังนี้

    สมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์ (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
    สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
    สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์)
    สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาได้ ๔ วัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มิถุนายน 2010
  17. nunoiyja

    nunoiyja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2010
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +1,733
    ต่อๆๆๆๆ

    สมเด็จพระอัครราชเทวี

    สมเด็จพระอัครราชเทวี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีอยู่เพียง พระองค์เดียว คือ
    สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
    สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี มีพระนามเดิมว่า " พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงสุขุมาลมารศรี " เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าคุณจอมมารดาสำลีพระราชอิสริยยศสุดท้ายเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ คือ พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาขึ้นเป็น " สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี "
    สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีฯ มีพระราชโอรส-ธิดา รวม ๒ พระองค์ ได้แก่
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร ชาววังออกพระนามโดยลำลองว่า ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ชาววังออกพระนามโดยลำลองว่า ทูลกระหม่อมบริพัตร

    พระอรรคชายา

    ฐานันดรศักดิ์ พระอรรคชายา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มีอยู่ทั้งหมด ๓ พระองค์ ซึ่งทรงเป็นพี่น้องร่วมพระอุทรเดียวกัน ดังนี้

    พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา
    พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา (หม่อมเจ้าบัว ลดาวัลย์) ชาววังเอ่ยพระนามว่า พระอรรคชายาพระองค์ใหญ่ พระธิดาของพระองค์เจ้าลดาวัลย์ กับ เจ้าจอมมารดาจีน (หม่อมจีน) มีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี หรือ สมเด็จหญิงเล็ก
    พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์
    พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ (หม่อมเจ้าปิ๋ว ลดาวัลย์) ชาววังเอ่ยพระนามว่า พระอรรคชายาพระองค์กลาง มีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว เช่นเดียวกัน
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ หรือ สมเด็จหญิงใหญ่
    พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
    พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระราชอิสริยยศสุดท้ายเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ คือ พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ (หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์) ในรัชกาลที่ ๗ ทรงได้รับเฉลิมพระนามเป็น พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ชาววังเอ่ยพระนามว่า พระอรรคชายาพระองค์เล็ก
    มีพระราชโอรส-ธิดาทั้งหมด ๔ พระองค์
    พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ ชาววังเอ่ยพระนามว่า สมเด็จชาย
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา ชาววังเอ่ยพระนามว่า สมเด็จหญิงกลาง
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี ชาววังเอ่ยพระนามว่า สมเด็จหญิงน้อย
    หมายเหตุ พระอิสริยยศ " พระอรรคชายา " มีความหมายเดียวกับคำว่า " พระอัครชายา " เพียงแต่คำว่า พระอรรคชายา เป็นภาษาที่เขียนแบบโบราณ

    พระราชชายา
    ฐานันดรศักดิ์ไทย พระราชชายานั้น มีอยู่เพียงพระองค์เดียว คือ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี เป็นพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์ไทย ที่ทรงดำรงฐานันดรนี้
    พระราชชายา เจ้าดารารัศมี
    พระราชชายา เจ้าดารารัศมี มีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว คือ
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
    สำหรับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทักษิณชา นราธิราชบุตรี ซึ่งเป็นพระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวงอีกพระองค์นั้น หลังจากพระองค์มีพระประสูติการสมเด็จเจ้าฟ้าชายแต่สิ้นพระชนม์เมื่อแรกประสูติ ทำให้พระองค์เสียพระทัยมากจนประชวรและไม่ได้รับราชการในตำแหน่งพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกตราบจนสิ้นพระชนม์

    เจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม

    เจ้าจอม คือ พระภรรยาที่เป็นบุคคลสามัญชน เจ้าจอมนั้นมักเป็นธิดาของขุนนางหรือคหบดีผู้ใหญ่ที่นำมาถวายตัวแด่พระมหากษัตริย์ เช่น เจ้าจอมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น หลายท่านเป็นบุคคลในราชินิกุล บุนนาค ซึ่งมีสมาชิกในสกุลรับราชการเป็นขุนนางผู้ใหญ่หลายท่านในยุครัชกาลที่ ๓-๔

    เจ้าจอมมารดา

    เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าจอมมารดาแพ)
    เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ บุนนาค) เป็นธิดาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) และท่านผู้หญิงอิ่ม (ต้นสกุลมาแต่เชื้อจีน) เจ้าจอมมารดาแพ เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397 และการที่ท่านชื่อแพนั้นเพราะท่านเกิดในแพ จึงได้ชื่อว่าแพ เช่นเดียวกันพี่สาวของท่านคนหนึ่ง เกิดที่ฉางข้าว จึงชื่อว่า ฉาง เจ้าจอมมารดาแพ หรือ พระประยุรวงศ์ ถึงพิราลัยเมื่ออายุ 90 ปีหย่อน 4 เดือน (วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2486) ได้รัยพระราชทานโกศ ประกอบลองกุดั่นน้อยเป็นเกียรติยศเสมอศักดิ์สมเด็จเจ้าพระยา
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี (พระองค์เจ้าหญิงศรีวิลัยลักษณ์ สุนทรศักดิกัลยาวดี)
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุวพักตร์วิไลยพรรณ ประสูติวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2416
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัณฑวรรณวโรภาส ประสูติวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2418 สิ้นพระชนม์วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2435
    เจ้าจอมมารดาจันทร์
    เป็นธิดาพระยาราชสัมภารากร (เทศ) และท่านอ่ำ
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงประไพประสูติวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2424

    เจ้าจอมมารดาชุ่ม
    เจ้าจอมมารดาชุ่ม ไกรฤกษ์
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุจิตราภรณี
    เจ้าจอมมารดาแช่ม
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม กรมหลวงปราจิณกิติบดี
    เจ้าจอมมารดาโหมด
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรองค์อรรคยุพา (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
    เจ้าจอมมารดาตลับ
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
    เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกษร ณ เชียงใหม่
    เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกษร ณ เชียงใหม่ ทรงเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือ "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)" มีพระราชโอรสพระองค์เดียว
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี
    เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์ย้อย อิศรางกูร

    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค
    เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข พึ่งบุญ
    เจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์แข พึ่งบุญ เป็นเจ้าจอมคนแรกในพระพุทธเจ้าหลวง มีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพ
    เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร สนิทวงศ์
    เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร สนิทวงศ์ มีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรสิริประสาธน์ (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
    เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์
    เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์ มีพระราชโอรสและพระราชธิดา 2 พระองค์ คือ
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
    เจ้าจอมมารดาทับทิม
    เจ้าจอมมารดาทับทิม มีพระราชโอรส-ธิดา ทั้งหมด ๓ พระองค์
    จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเวศวรสมัย
    พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
    เจ้าจอมมารดาเรือน
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์
     
  18. nunoiyja

    nunoiyja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2010
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +1,733
    ต่ออีกนิด

    เ้จ้าจอมมารดาพร้อม
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย (แฝด)
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส (แฝด) (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสมัยวุฒิวโรดม (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร
    เจ้าจอมมารดาวง
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาล (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
    เจ้าจอมมารดาวาด
    เจ้าจอมมารดาวาด มีพระราชโอรสพระองค์เดียว
    พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
    เจ้าจอมมารดาเลื่อน
    เจ้าจอมมารดาเลื่อน มีพระธิดา 1 พระองค์ และพระโอรส 1 พระองค์
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์ (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช
    เจ้าจอมมารดาแส
    เจ้าจอมมารดาแส โรจนดิศ
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเขจรจิรประดิษฐ (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยาลังการ
    เจ้าจอมมารดาแสง
    เจ้าจอมมารดาแสง
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศรวงศ์วรราชกุมาร (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์ (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบีเอตริศภัทรายุวดี
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุ
    เจ้าจอมมารดาสุด
    เจ้าจอมมารดาสุด กุสุมลจันทร์ มีพระราชธิดาพระองค์เดียว
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรลักษณาวดี
    เจ้าจอมมารดามรกฎ
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุฑารัตนราชกุมารี
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี
    เจ้าจอมมารดาอ่วม
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
    เจ้าจอมมารดาอ่อน บุนนาค
    เจ้าจอมมารดาอ่อน บุนนาค มีพระราชธิดา ๒ พระองค์ และที่ทรงแท้งอีก ๒ พระองค์
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา
    เจ้าจอม
    เจ้าจอมเอี่ยม บุนนาค
    เจ้าจอมเอิบ บุนนาค
    เจ้าจอมอาบ บุนนาค
    เจ้าจอมเอื้อน บุนนาค
    เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์
    เจ้าจอมกลีบ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
    เจ้าจอมลิ้นจี่ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
    เจ้าจอมฟักเหลือง เทพหัสดิน ณ อยุธยา

    อ้างอิง

    ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
    จิรวัฒน์ อุตตมะกุล, สมเด็จพระภรรยาเจ้าและสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ ๕, สำนักพิมพ์มติชน, 2546 ISBN 974-322-964-7
    ******************************************
    อาจจะอ่านยากไปนิดนะผมว่า ลูกผมพึ่งเกิดได้ ๑ เดือน เลยไม่ค่อยมีเวลาทำให้สวยงาม ไว้มีเวลากว่านี้จะมาแก้ให้อ่่านได้ง่ายขึ้น หรือไม่ก็ทีมงามเวปฯ แก้ให้ผมที จะเป็นพระคุณต่อผม และทำให้ผู้อ่าน อ่านได้ง่ายขึ้น
    ******************************************
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มิถุนายน 2010
  19. Red Leaf

    Red Leaf เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +4,547
    เจ้าของบ้านหายไปไหนเอ่ย...แขกเริ่มเยอะแล้วเน้อ
     
  20. Red Leaf

    Red Leaf เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +4,547
    มาดูหนังเสด็จประพาสยุโรปกัน..

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=Aw3Ypqxk1aM&feature=related"]YouTube - รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป 1/2[/ame]
     

แชร์หน้านี้

Loading...