วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 17 กรกฎาคม 2006.

  1. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    การก้าวผ่านระดับและก้าวหน้า ของสมาธิจิตนั้น ตนเองเป็นผู้รู้เห็นได้ สัมผัสได้ด้วยตนเองครับ

    หลายท่าน นั้น "เคย" มีความก้าวหน้า แจ่มใส ทั้งจิต และญาณทัศนะ

    แต่กลับถอยกลับหย่อนลงไป

    จิตเคยมีเมตตาเต็มหัวใจ ก็กลับไม่อาจเปล่งประกายแห่งความดีงามในจิตใจได้ดังเดิมอีก


    ในวันนี้จึงอยากให้ทุกคน ได้มีโอกาส ได้ ดำริ ตริ ตรอง พิจารณาธรรม พิจารณาจิตด้วยความแยบคาย ในจิตอันเป็นอุเบกขารมณ์ อันเป็นห้องแห่งจิตใจเราที่พึงใช้พิจารณาธรรม โดย ปราศจาก โลกธรรม และอคติทั้งปวง อันเป็นเครื่องทำให้จิตเรามีความมลทินเศร้าหมอง

    เมื่อเรา เข้าสมาธิจิตให้หยุด ในฌานสี่ใช้งานแล้ว จิตนิ่งปราศจากการปรุงแต่งทั้งปวง

    เรากำหนดจิต กำหนดสติ ของเราต่อไปว่า เราจะเป็นผู้เตือนตน เตือนจิต ปรับจิตปรับใจของเราเองก่อน

    โดยมุ่งเน้นให้ใจเราปรับ ในทุกส่วนให้มีความพอเหมาะ พอสม ในทุกปัจจัย ที่ทำให้เกิดความสัปปายะในการปฏิบัติและความก้าวหน้าในธรรมอยู่เสมอ

    1. ปรับ ทิฐิ ของเราให้เป็นสัมมาทิฐิ มีความเคารพนอบน้อมในพระรัตนไตรอย่างถึงที่สุด จิตเชื่อเคารพในกรรมและผลแห่งกรรม ไม่ด่าว่าตัดพ้อน้อยใจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ยามพบเจออุปสรรค

    เมื่อเจอวิบากกรรม ข้อทดสอบ ทั้งทางโลก ทางธรรม เราหวั่นไหวไหม จิตตกไหม กล่าวโทษฟ้าดิน โทษ พระ โทษ หลวงพ่อว่าไม่ช่วยไหม

    ปรับใจให้มั่นคงในสัมมาทิฐิให้มีความตั้งมั่น ไม่พลิกจิต ทิ้งพระรัตนไตร ทิ้งพระพุทธเจ้า จนกลายเป็นมิจฉาทิฐิไปได้

    หากพลิกจิตไปแล้วก็พลิกจิตกลับมาสู่ความดี สู่ความมั่นคงในพระรัตนไตรให้ได้ ขอเป็นกำลังใจให้

    โดยน้อมจิตพิจารณาในพระคุณแห่งพระพุทธเจ้าให้มาก ให้บ่อย จนจิตเกิดความละเอียดซาบซึ้งเคารพพระพุทธเจ้าอย่างถึงที่สุด อย่างบอกไม่ถูก

    รักษาอารมณ์ใจตรงนี้จนทุกวาจาที่กล่าวพระนามพระพุทธองค์นั้นเรากล่าวด้วยความเคารพนอบน้อมอ่อนโยน

    ยามใช้กำลังทิพยจักษุญาณก็ยิ่งปรากฏว่ากายเรายิ่งเล็กจิ๋วเมื่อเทียบกับพระวรกายของพระประทีปแก้ว ยิ่งเล็ก มานะทิฐิยิ่งน้อย ยิ่งคลายตัวลง


    2.ปรับกาย ให้เกิด ความสบายให้จิตคลายปล่อยวางจากร่างกาย จนปราศจาก อาการเกร็ง ในกายในกล้ามเนื้อทุกส่วน

    อาการเกร็งเกิดจากความหนักของจิต เกิดจากการที่จิตเราไปเกาะไปยึดร่างกายหรือกังวลกับร่างกายจนกล้ามเนื้อเกิดการหดเก็ง

    ยิ่งจิตคลายปล่อยวางกายมากเท่าไร จิตยิ่งแยกจากกาย เข้าสู่สมาธิจิตได้ง่าย ได้เร็ว ได้ลึก มากขึ้นเท่านั้น

    หากไม่ปรับก็ทำให้จิตเผลอหนัก ใบหน้าเศร้าหมอง ปวดหัว ได้

    ร่างกายยิ่งคลาย จิตยิ่งสงบนิ่งลึก

    3.การปรับคลาย อารมณ์ใจ ให้จิตสบาย จิตเย็น ปรับระดับ อารมณ์ใจของเราให้ผ่องใส อยู่เสมอ ยามจิตเศร้าหมอง จิตตก เราต้องปรับระดับอารมณ์ใจเราอยู่ในภาวะที่จิตผ่องใสใจสบาย

    ปรับใจเราได้ด้วยตนเอง อย่าไปจมกับอารมณ์ ซึม ให้รู้ ว่าอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เราไม่ปรารถนา เราปฏิบัติธรรมเพื่อจิตเป็นสุข ปฏิบัติเพื่อพระนิพพาน


    นิพพานังปรนังสุขัง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง จิตเป็นสุข ยิ่งใกล้พระพระนิพพาน
     
  2. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ได้มีโอกาสไปกราบครูบาอาจารย์พระอริยะสงฆ์ท่านมา ท่านได้เมตตาสงเคราะห์เน้นย้ำในเรื่องของการใช้ญาณทัศนะ

    หากเราใช้ญาณเครื่องรู้ด้วยกำลังฌานของเราเองนั้นเป็น "โลกีย์ญาณ " มีความเสื่อม มีมานะ มีการสำคัญตนผิด

    หากเราขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านสงเคราะห์ เป็น"โลกุตรญาณทัศนะ" เพราะเราถามพระท่านที่ไหน

    บนพระนิพพาน

    ก่อนไปกราบท่านได้ เราต้องทำจิตให้ผ่องใสตัดกิเลสให้ใจสะอาดไหม

    ดังนั้นการที่เราถามพระท่าน ขอบารมีพระท่านเสมอ กรรมฐานที่เราได้ก็คือ

    1.พุทธานุสติกรรมฐาน

    2.อุปมานุสติกรรมฐาน ในอารมณ์พระนิพพาน

    ธรรมที่พึงเกิดเมื่อเราของบารมีพระพุทธเจ้าท่านก็คือ

    ไตรสรณะคมม์ที่มั่นคง

    พละศรัทธาที่ยิ่งทำให้เกิดกำลังใจเพิ่ม

    ตัดละวางมานะทิษฐิตัวเก่งของตนเองออกไป

    ใจเราแนบในพระนิพพาน

    และหากญาณทัศนะที่รู้ที่เห็นเรามีเจตนาอันเป็นกุศล ตั้งใจทำเพื่อส่วนรวม ทำเพื่อให้ผู้อื่นเข้าถึงความดีแล้ว

    ก็เกิดเมตตาธรรมอีกสถานหนึ่งด้วย


    "ขอท่านทั้งหลายเมื่อน้อมจิตพิจารณาอย่างแยบคายเห็นประโยชน์ เห็นอานิสงค์ เห็นธรรมที่งอกงามขึ้นในจิตในใจหากเราประพฤติธรรมแล้ว

    ก็ขอให้มีจิตเคารพแนบแน่นในพระพุทธเจ้า แนบในพระนิพพาน แนบใจในเมตตา จนจิตทรงตัวในพระนิพพานเป็นปกติตลอดไป ตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานตลอดไปด้วยเทอญ"
     
  3. หมอเป่า

    หมอเป่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    313
    ค่าพลัง:
    +687
    อย่าว่าเเต่พวกมหาอำนาจเลยพม่ายังสร้างเลยครับพี่น้อง
     
  4. หมอเป่า

    หมอเป่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    313
    ค่าพลัง:
    +687
    ช่วยขยายวิธีทำหน้ากากกรองสารกัมมันตภาพรังสีหน่อยได้ไหมครับ
     
  5. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    โพสต์โดย คุณชนะ สิริไพโรจน์

    สุดยอดแห่งธรรมชุดที่ ๑ - คำสอนสมเด็จองค์ปฐม<!-- google_ad_section_end -->



    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->[​IMG]
    สมเด็จองค์ปฐมทรงเครื่องพระเจ้าจักรพรรดิ
    [​IMG]

    ปกิณกะธรรม<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้<O:p></O:p>

    ๑. จงอาศัยการกระทบให้เป็นประโยชน์ของการตัดกิเลส เห็นทุกข์มากเท่าไหร่ ยิ่งเบื่อทุกข์มากขึ้นเท่านั้น จิตจักปล่อยวางทุกข์ลงได้ในที่สุด แต่ต้องอาศัยปัญญาพิจารณาประกอบไปด้วย มิฉะนั้น เห็นทุกข์ก็จักเกาะทุกข์ ก็ยิ่งทุกข์ใหญ่ ถ้าหากมีปัญญาก็จักปล่อยวาง เนื่องด้วยเห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง การที่จักพ้นทุกข์ได้จักต้องรู้จักพิจารณาใช้ปัญญาใคร่ครวญอยู่เสมอ จึงจักปล่อยวางได้
    <O:p></O:p>
    ๒. พิจารณาร่างกาย พิจารณาอารมณ์ ทุกอย่างเกิดขึ้น - ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป อย่าเอาความไม่เที่ยงมาเกาะติดอยู่ในจิตให้เป็นทุกข์ พยายามรักษาอารมณ์เกาะพระนิพพานให้มาก ๆ อย่าห่วงใคร อย่ากังวลกับเหตุการณ์ใด ๆ ทั้งปวง ตั้งใจทำทุกอย่างเพื่อพระศาสนา เพื่อพระนิพพานจุดเดียว ปล่อยวางเรื่องภายนองลงเสียบ้าง แม้ชั่วขณะหนึ่งก็ยังดี เพราะยังไม่ใช่พระอนาคามีผล การเจริญพระกรรมฐานให้หมั่นฝึกให้ได้ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าทำอะไรอยู่ก็ให้จิตจับมาเป็นกรรมฐานให้ได้ การเผลอนั้น ย่อมยังมีอยู่เป็นธรรมดา พยายามประคองจิตอย่าให้หวั่นไหวกับเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบมากนัก แล้วจักมีความสุขขึ้นในจิต
    <O:p></O:p>
    ๓. ร่างกายไม่ใช่สาระแก่นสารที่สำคัญก็จริงอยู่ แต่บุคคลใดจักพ้นไปจากร่างกายได้ ก็จักต้องพิจารณาให้เห็นความจริงของร่างกาย จักพูดแต่ปากหรือพูดเอาแต่สัญญานั่นย่อมไม่ได้ เพราะเท่ากับมีแต่ความจำ ไม่ช้าไม่นานก็ลืม ผิดกับคำว่าอธิปัญญา คือ เห็นอยู่ในความเป็นจริงตามปกติ บุคคลใดที่จักพ้นจากร่างกายได้ ตถาคตขอยืนยันว่าจักต้องพิจารณาร่างกายให้เห็นตามความเป็นจริง จนกระทั่งจิตเข้าถึงคำว่า เอกัตคตารมณ์ หมายความว่าเห็นจริงตามนั้นอยู่เป็นปกติ จึงจักพ้นจากร่างกายนี้ไปได้
    <O:p></O:p>
    ๔. มองเห็นร่างกายแล้ว ให้ดูอารมณ์ของจิตที่ยึดเกาะร่างกายในส่วนไหนบ้าง การมีอาการถูกกระทบกระทั่งใจ ก็เนื่องด้วยร่างกายเป็นเหตุ ใครจักเกลียด - จักโกรธ - จักแกล้ง - จักติ - จักชม ก็เนื่องด้วยร่างกายเป็นต้นเหตุทั้งสิ้น ดังนั้นการพิจารณารูปและนาม จักต้องย้อนไปย้อนมา จึงจักเกิดปัญญารู้เท่าทันรูป-นาม ตามความเป็นจริงได้ จงอย่าละความเพียรในการปฏิบัติ พึงเร่งรัดกำลังใจขอตนให้ตั้งมั่นอยู่ในการพิจารณารูป - นามอยู่เสมอ นั่นแหละคือหนทางที่จักไปพระนิพพานได้
    <O:p></O:p>
    ๕. การป้องกันคุณไสยทำร้ายกายและจิตไม่ให้สงบ จักต้องไม่มีอารมณ์ปฏิฆะหรือโกรธ เพราะการภาวนาคาถาต่าง ๆ เพียงเพื่อป้องกันเท่านั้น เจ้าไม่ได้ต่อสู้เพื่อทำร้ายเขา ให้ทำจิตให้สงบ ไม่คิดเป็นศัตรูกับใครเข้าไว้ อย่าโกรธ อย่าอาฆาต ภาวนาเพื่อต่อสู้ไปเพื่อป้องกันเท่านั้นเป็นพอ และจำไว้ อย่าใช้บารมีของตนเองในขณะที่ภาวนาต่อสู้ ให้กำหนดจิตขอบารมีพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ หรือพระอริยสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ จักทำให้เจ้าปลอดภัยจากอำนาจคุณไสยทั้งปวง และจงอย่าคิดว่าตนเองเก่ง ถ้าคิดว่าตนเองเก่งเมื่อไหร่ ดีเมื่อไหร่ พระทุกองค์ก็จักไม่ช่วยเจ้า
    <O:p></O:p>
    ๖. ร่างกายที่เห็นอยู่นี้เป็นสมบัติของโลก ไม่มีใครสามารถเอาไปได้ โลกนี้ทั้งโลกกอปรไปด้วยธาตุ ๔ ดิน - น้ำ - ลม - ไฟ มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเสื่อมไปในท่ามกลาง มีความสลายตัวไปในที่สุด เจ้าจักยึดถือร่างกายเป็นสรณะที่พึ่งก็ไม่ได้ จักยึดถืออะไรในโลกเป็นที่พึ่งก็ไม่ได้ พิจารณาถึงจุดนี้ ฝึกฝนจิตให้รู้จักกับคำว่าธรรมดาให้มาก และยอมรับคำว่าธรรมดาให้มาก และจงรู้จักคำว่าไม่เบียดเบียนร่างกายตนเองให้มากจนเกินไป และรู้จักเมตตาร่างกายตนเองด้วย เพื่อความอยู่เป็นสุขของจิต ผู้อาศัยอยู่ในร่างกายนี้ และอย่ากังวลกับสิ่งภายนอกให้มาก จงเป็นผู้มีธุระน้อย หาความพอดีให้กับกายและจิตให้มาก ๆ จึงจักพบกับความสุขอย่างแท้จริง
    <O:p></O:p>
    ๗. การอาศัยความกระทบกระทั่งของอารมณ์เป็นเครื่องวัดกำลังใจที่จักตัดกิเลส นั่นแหละเป็นของจริง ได้ก็รู้ ตกก็รู้ ใช้อริยสัจเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา อะไรที่เข้ามาในชีวิตก็จักต้องทนได้ เพราะต้องการที่จักไปพระนิพพาน ต้องทนได้กับทุก ๆ สภาวะ ให้ตรวจบารมี ๑๐ เข้าไว้ ขาดตัวใดตัวหนึ่งก็ต้องทำตัวนั้นให้เต็ม อย่าให้พร่องแม้แต่หนึ่งนาที แล้วการเจริญพระกรรมฐานก็จักคล่องตัวเอง ทำกำลังใจให้สงบ แล้วทุกสิ่งทุกอย่างจักดีขึ้นเองอย่าหวั่นไหวในการกระทบ สิ่งใดรู้ว่าแพ้ก็ให้แพ้ไป ตั้งกำลังใจกันใหม่ แผ่เมตตาให้มาก ๆ การปฏิบัติอย่าเครียด คือเอาจริงเอาจังเกินไป อารมณ์ต้องเบา ๆ สบาย ๆ จงอย่าสนใจกรรมหรือการกระทำของผู้อื่น ให้ดูแต่กรรมของตนเองเป็นที่ตั้ง ดูกาย-วาจา-ใจของตนเอง เพียรให้อยู่ในศีล-สมาธิ-ปัญญา เท่านั้น อารมณ์เผลอย่อมมีบ้างเป็นธรรมดา ได้สติก็ตั้งต้นดึงเข้ามาใหม่
    <O:p></O:p>
    ๘. เหตุการณ์บ้านเมืองเวลานี้ไม่ดี ไม่ต้องไปวิพากษ์วิจารณ์ว่าใครดีใครเลว เพราะกฎของกรรมเป็นของตายตัว จึงมิใช่ของแปลก เป็นเรื่องธรรมดาของกฎของกรรม นักปฏิบัติเพื่อต้องการพ้นทุกข์ จงเห็นกฎของธรรมดาเหล่านี้ให้มาก และยอมรับนับถือกฎของธรรมดาด้วย จิตจึงจักสงบเย็นลงไม่โทษเขาหรือโทษใคร ให้เห็นทุกอย่างตามความเป็นจริงไว้เสมอ และจงอย่าได้มีความประมาทในชีวิต พร้อมตายและซ้อมตาย เพื่อเอาจิตเข้าสู่พระนิพพานไว้ ด้วยความไม่ประมาท ให้จิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดาให้มาก แล้วจิตจักเป็นสุข<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>


    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com
    <O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p>
     
  6. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    " เราจะทำคุณประโยชน์ให้กับส่วนรวม มีความอยู่รอดของชาติ
    การสืบต่อพระบวรพุทธศาสนาให้ครบห้าพันปี
    ค้ำชูสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้คุ่แผ่นดินนี้ตลอดไป "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กรกฎาคม 2010
  7. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ไม่ว่าบุคคลใดก็ดี วัตถุสิ่งของ วาระ เหตุการณ์ใดก็ดี ไม่อาจทำให้เราเป็นทุกข์ได้

    และ

    ไม่ว่าบุคคลใดก็ดี วัตถุสิ่งของ วาระ เหตุการณ์ใดก็ดี ไม่อาจทำให้เราเป็นสุขไปได้เช่นกัน

    สุขทุกข์ เกิดจากใจ

    ดับทุกข์ ดับที่ใจ

    เมื่อจิตเราไม่ยึดเกาะเกี่ยว ในสุขตามมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ พรมสมบัติ อรูปพรหมสมบัติ แล้ว


    จิตเราเป็นสุข ตั้งมั่นจุดเดียวในพระไตรสรณะคมม์ อันเป็นสรณะที่ยึดเหนี่ยวจิตใจสูงสุด มีพระนิพพานสมบัติเป็นที่สุดเท่านั้น

    เมื่อจิตไม่ข้องแวะเกาะเกี่ยวในโลก อารมณ์ทางโลก

    กำหนดรู้ กำหนดอยู่ กำหนดใช้ ในร่างกาย ในวัตถุ ในทรัพย์เพื่อการสร้างความดี มีบารมีสามสิบทัศน์ และมรรคมีองค์แปดเป็นที่สุด

    หมั่นถามใจตนเองว่า
    -หากเราต้องตายจากร่างกายนี้เราปล่อยวางได้ไหม
    -หากเราต้องพลัดพรากจาก คนรัก ของรัก วัตถุทรัพย์ทั้งปวง เราปล่อยวางได้ไหม
    -หากบุคคลท่านหลายอันเป็นปุถุชนหนาแน่นด้วยกิเลสตำหนิ ติเตียนไปตามอารมณ์แห่งโลกธรรมแปด เราปล่อยวางได้ไหม ให้อภัยทานต่อเขาเหล่านั้นได้ไหม

    เมื่อจิตเราปราศจากการหวั่นไหวในกระแสแห่งโลก จิตเป็นสุข สงบเย็น ด้วยจิตเมตตาอันไม่มีประมาณ มั่นคงในพระนิพพานไม่หวั่นไหว

    จิตเราก็พบสุข ปราศจากความทุกข์ที่มาเกาะกุมหัวใจของเราให้เกิดปริเวทนา

    มีแต่ความสุข ความอิ่มใจ ความชุ่มเย็นของใจ อย่างที่สุด

    "ขอท่านทั้งหลาย จงรักษาใจให้เป็นสุข รักษาจิตให้เป็นกุศลผ่องแผ้วประภัสสรด้วยเมตตาจิตอันปรารถนาให้หมู่สรรพสัตว์ได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ"

    "นิพพานัง ปรมังสุขัง"
    พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    ขอทุกท่านจงทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ

    ขอจงเจริญในพระศาสนาแห่งพระจอมไตรศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงพระคุณมหากรุณาธิคุณต่อหมู่สรรพสัตว์อย่างที่สุดด้วยเทอญ
     
  8. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ในช่วงเข้าพรรษาปีนี้ที่กำลังมาถึง

    ขอให้ทุกท่านตั้งจิต ตั้งใจปฏิบัติธรรมอบรมอินทรีย์ ยังความเพียรอันชอบ

    ภัย ทั้งปวง ไม่ไกลจากลมหายใจของพวกเราทุกคน

    ความไม่เที่ยงเป็นปกติของ โลก

    ความไม่ประมาทใน ร่างกายขันธ์ห้า และชีวิตของเราทั้งหลายนั้น

    คือ "พระพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสฝากเอาไว้ให้ พวกเราเหล่าพุทธบริษัทสี่ ให้เร่งปฏิบัติเพื่อละจากการเวียนเกิดเวียนตายในวัฏฏ์"

    ธรรมใดที่ยัง ศรัทธาในไตรสรณะคมม์ มั่นคง จงทำให้เจริญให้ยิ่ง

    ธรรมใดที่เป็นไป เพื่อ ละ วาง ปล่อย คลาย ความเกาะเกี่ยวยึดมั่นถือมั่น จงทำให้ละวาง ปล่อยวางให้ยิ่งขึ้นไป

    ธรรมใดที่เป็นไป เพื่อความสงบเย็น จิตเป็นสุข จิตเกิดความนอบน้อมอ่อนโยน จงเจริญให้ละเอียดยิ่งขึ้นไป

    ธรรมใดที่เป็นไป เพื่อความเกื้อกูลเอ็นดู ต่อมวลสรรพสัตว์ทั้งปวง ด้วยจิตเมตตา จงเจริญให้ไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ

    ธรรมใดที่เป็นไปเพื่อความดับไม่เหลือเชื้อแห่งกิเลส ทั้งปวง จงเจริญให้แจ้งถึงซึ่งพระนิพพาน
     
  9. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ปฏิบัติแบบง่ายที่สุด

    ทำความดี เป็น นิจ ให้จิตเกาะอยู่กับความดี เกาะอยู่กับบุญกุศลเอาไว้

    โดยตั้งกำลังใจเอาว่า 1 วัน ในทุกๆวัน ที่ล่วงไป เราจะทำความดีวันละ 1อย่างไม่ขาด ไม่พร่อง

    ทำทานให้เงินขอทานก็ได้

    ช่วยคนชราข้ามถนนก็ได้

    ใส่บาตรก็ได้

    รักษาศีลก็ได้

    อะไรที่เป็นความดี จะในความดีพื้นฐาน หรือความดีที่อยู่ในเขตเนื้อนาบุญพระพุทธศาสนา ไม่เป็นไร เราทำอย่างน้อย 1 อย่างทุกวัน

    ซึ่งเรานำจุดนี้ มาสอนเด็กสอนลูก สอนหลาน หรือสอนให้คนผู้ใหม่ในธรรม ให้ก้าวเข้าสู่ เขตของความดีบุญกุศลได้โดยง่าย ไม่มีข้อจำกัด ทำความดีที่เขาพึงใจ พอใจ อิ่มใจเป็นสำคัญ ทำทุกวันเป็นนิจ

    เมื่อจิตเขาดีจนชินในความดี สุขจิตสุขใจในความดี มีบุญกุศลเป็นบุญหนุนนำแล้วก็ย่อมง่ายสู่ธรรมที่ละเอียดยิ่งขึ้นไป

    ครั้นใจละเอียดขึ้น ก็เสริมความดี ในพระพุทธศาสนาเข้า โดย จำแนกละเอียดตั้งแต่พื้นฐาน คือ

    ทาน - ใส่บาตรพระสงฆ์ทุกวัน หรือหากไม่สะดวก หากระปุกมาหยอดเงินหยอดเหรียญทุกวันไม่ขาด รวมไปทำสังฆทาน ตามวาระเช่นทุกอาทิตย์ ทุกเดือน เพื่อให้เกิด

    การทำทานเป็นนิจ จะมากจะน้อยไม่สำคัญ สำคัญที่เป็นการสร้างกุศลในทานเป็นนิจ

    ได้สร้างอธิฐานบารมี วิริยะบารมี ทานบารมี สัจจะบารมี เป็นหลักเด่น และบารมีอื่นเสริมขึ้น เจริญขึ้นตามลำดับ

    ศีล - ตั้งใจ รักษาศีลห้า เป็นพื้นฐาน เป็นเครื่องปิดอบายภูมิเอาไว้

    หากรักษา5 ข้อไม่ได้ก็อธิฐาน ข้อใดข้อหนึ่ง หรือ 2หรือ3 หรือ4 ข้อก็ยังดี

    หากไม่เช่นนั้น ก็พึงอธิฐานว่า เราจะรักษาศีล5 ให้บริสุทธิ์นับตั้งแต่หลับยันตื่น ในยามเช้า เป็นเจตนาตั้งใจรักษาศีล บุญอันเกิดจากเจตนาก็ปรากฏ

    การรักษาศีลนั้น สำคัญที่ กำลังใจที่มีความตั้งใจจะรักษาศีล อันเกิดคุณธรรมในหิริโอตัปปะ เสริมขึ้นอีก

    หากกำลังใจสูงพอที่จะรักษาศีลห้าให้สะอาดบริสุทธิ์ได้

    ก็จงยกระดับความดีที่ละเอียดขึ้นสู่การรักษากุศลกรรมบทสิบ และ

    ยกระดับจิตขึ้นสู่การทรงพรหมวิหารสี่อยู่เป็นนิจ

    -ภาวนา เริ่มจากเราตั้งจิตที่จะทรงสมาธิทุกวัน ทำสมาธิทุกวันไม่ขาด ทำได้มากบ้าง น้อยบ้างไม่เป็นไร เรามีกำลังใจทำทุกวัน

    ขั้นต่อมา สำหรับท่านที่ได้สมาธิแล้ว

    ทรงฌานสี่ในพุทธานุสติทุกวัน ในสภาวะอารมณ์ใจ สภาวะธรรมที่เหมาะสม ให้มากที่สุดในแต่ละวัน

    เจริญวิปัสนาญาณ โดยเฉพาะในมรณานุสติทุกวันไม่ขาด หากพิจารณาตัดสังโยชน์สิบทุกวันได้ยิ่งดี

    ท่านที่ได้วิชชาสามขึ้นไป พึงเจริญกรรมฐานใช้กำลังของอภิญญาขึ้นไปบนพระนิพพานทุกวันเพื่อขึ้นไปเจริญพระกรรมฐาน ในอารมณ์พุทธานุสติ ควบอุปมานุสติ ไม่ขาด ให้จิตเราชินกับอารมณ์พระนิพพาน

    การปฏิบัติเป็นนิจนี้ ภาษาธรรมเรียกว่า ข้อวัตรปฏิบัติ

    เราเองเมื่อใฝ่ในกุศลใฝ่ในธรรมปฏิบัติหวังมรรคผลพระนิพพานแล้วไซร้

    รักษาข้อวัตรในความดีเป็นนิจได้ ปฏิบัติจนเป็นปกติได้

    ผลอานิสงค์ก็ย่อมเกิดให้จิตของเราชินกับความดี ชินกับศีล ชินกับอารมณ์พระกรรมฐาน จนความดีนั้นเป็นเนื้อเดียวกับจิตกับใจของเราอย่างแท้จริง

    ปิดทองทุกวัน วันละแผ่น เพื่อให้เกิด "พระทองคำ"

    "ขอยังกำลังใจใฝ่ในความดีเป็นวัตร จงปรากฏเกิดแด่ทุกดวงจิต ทั้งมนุษย์ทั้งหลายก็ดี เทพพรมที่ท่านทรงความดีเป็นนิจก็ดี ให้ทุกดวงจิตเจริญในธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตาคุณ พระกรุณาธิคุณและพระบริสุทธิคุณด้วยเทอญ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2010
  10. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    รากฐานแห่งการปฏิบัติธรรมนั้น พระพุทธองค์ทรงสอนถึงมรรคมีองค์แปด อันเป็น กง แห่งธรรมจักร ที่จะขับเคลื่อน สู่ธรรมอันวิมุติหลุดพ้น มีพระนิพพานเป็นที่สุด


    สิ่งที่ย้ำที่ให้อธิษฐานกันนั้น ในเรื่องของ "สัมมาทิฐิ "

    ก็ด้วยเหตุแห่ง สัมมาทิฐินั้นเป็น ปฐมแห่งจิตที่ประกอบไปด้วยปัญญา ความคิด ความเข้าใจเป็นทิฐิอันประกอบไปด้วยกุศลเป็นสำคัญ

    เป็นเข็มทิศนำทางชีวิต เข้าสู่ เส้นทางแห่ง มรรคผลพระนิพพานในที่สุด

    สัมมา คือสิ่งที่ดี สิ่งที่ชอบ สิ่งที่ควรแล้ว สิ่งที่เป็นกุศล

    ทิฐิ คือความคิด ความเห็น ความเข้าใจ

    เมื่อคิดถูก คิดดี คิดได้


    ความเป็นสัมมาทิฐินั้นล่ะที่จะกลับมาเป็นหลักของใจเราให้มีความคิดดำริในความดีในทางแห่งความหลุดพ้น

    อย่างไร จึงจักเป็น "สัมมาทิฐิ" วิสัย

    ผู้มีสติและปัญญา ไตร่ตรองด้วยความละเอียดปราณีตแล้ว มีทิฐิความคิดประจักษ์แจ้งแก่ใจโดยปราศจากความลังเลสงสัยเป็นวิจิกิจฉาว่า


    การเวียนว่ายตายเกิด มีจริง
    สังสารวัฏฏ์ มีจริง เป็นทุกข์จริง สมควรพิจารณาเพื่อออกจากวัฏฏะนี้จริง
    ภพใหม่ภูมิใหม่ มีจริง การเสวยผลแห่งบุญและการเสวยผลแห่งบาปมีจริง
    กรรมและผลแห่งกรรม ทั้งกรรมดีกรรมชั่ว มีจริง มีผลจริง
    คุณแห่งพระพุทธเจ้า มีจริง เป็นสรณะที่พึ่งของจิตใจสูงสุดของเรา
    คุณแห่งพระธรรมเจ้า มีจริง เป็นสรณะที่พึ่งของจิตใจสูงสุดของเรา
    คุณแห่งพระอริยะเจ้า มีจริง เป็นสรณะที่พึ่งของจิตใจสูงสุดของเรา

    มรรคผลพระนิพพานมีจริง แม้ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ผู้ใดปฏิบัติผู้นั้นย่อมเข้าถึงธรรมนั้น ไม่ใช่โดยการอ้อนวอน ร้องขอ การเซ่นไหว้ แต่เป็นไปโดยการปฏิบัติขัดเกลาจิตใจเราจนสะอาดปราศจากกิเลส อุปทานทั้งปวง

    และที่สำคัญที่สุด คือ "พระนิพพาน" มีจริง กระจ่างแก่ใจเรา อย่างสิ้นสงสัย มั่นคงในพระนิพพาน อย่างไม่อาจหวั่นไหวสั่นคลอน หากเราปักใจว่าเราปรารถนาในพระนิพพานชาตินี้ เราก็ตั้งจิตมั่นในพระนิพพานได้อย่างเต็มกำลังใจของเรา

    เมื่อจิตประกอบไปด้วยสัมมาทิฐิ มั่นคงในจิตใจแล้ว

    ผลก็คือ

    เห็นโทษภัย เห็นทุกข์ เห็นความเบื่อหน่ายว่ายเวียนไม่สิ้นสุดในสังสารวัฏฏ์ ทำให้เกิด ดำริออกจากกาม ออกจากสังสารวัฏฏ์นี้อันเป็นสัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ

    เห็นกรรมและกฏของกรรม ยังหิริโอตัปปะให้เกิดขึ้น ยังความเคารพในกรรมและกฏของกรรม ทำให้ปล่อยวางเพราะรู้เหตุ รู้ผล ว่าเหตุกรรมนี้ทำให้เกิดผลแห่งกรรมเช่นนี้ เกิดปัญญาพิจารณาเห็นกรรมในอดีตยังเกิดผลกรรมในปัจจุบัน และกรรมที่ต่อเนื่องต่อไปในอนาคต

    เมื่อเห็นเหตุ ก็ย่อมดับเหตุแห่งกรรมนั้นได้

    กรรมใดอันทำให้เกิดอกุศลก็พึงดับเสีย

    กรรมใดอันทำให้เกิดกุศล ยังคุณประโยชน์ต่อส่วนรวมเราก็เจริญให้ยิ่งขึ้นไป เห็น รู้ในผลแห่งกุศลและอกุศลชัดแจ้งในใจ จนจิตเรา ดำรงในความดีปราศจากความหวั่นไหวในอคติ แลโลกธรรมแปดทั้งปวง

    เมื่อประจักษ์แจ้งในธรรมมากขึ้นละเอียดขึ้น เราก็ย่อมยังความดี อันได้แก่กตัญญูกตเวทิตาจิตต่อครูบาอาจารย์มีพระบรมครูคือสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ พระอริยะเจ้า พระอริยะสงฆ์ ผู้ทรงประทาน พระธรรมอันพิสุทธิ์สู่ใจหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณด้วย พระเมตตาธิคุณ พระกรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ จนจิตใจเรานอบน้อมยอมรับซาบซึ้งในพระคุณของพระรัตนไตรอย่างหาคำใดมาประมาณมิได้ เห็นแก้วมณีรัตนสามอันทรงคุณค่ายิ่งกว่า สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ทั้งหลาย และตั้งในไตรสรณะคมม์เป็นสรณะที่พึ่งอาศัยตลอดไปตราบเข้าเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน

    ดังจะเห็นได้ว่า สัมมาทิฐิมีความสำคัญในการปฏิบัติเพียงใด

    เรามาพิจารณาธรรมอันเป็นของคู่ ทวินิยมดูเพื่อเทียบเคียงเห็นประโยชน์เห็นโทษ ในธรรมอันเป็นเครื่องส่งเสริม ธรรมอันเป็นปรปักษ์กันบ้าง

    ธรรมอันเป็นเครื่องส่งเสริมให้ สัมมาทิฐิตั้งมั่นนั้น

    หิริโอตปะ ความเกรงกลัวและละอายต่อบาปด้วยการหมั่นพิจารณาในกรรมและผลแห่งกรรมเอาไว้เนืองๆ

    การทรงอารมณ์ใจแนบในไตรสรณ์คมม์ พิจารณาในพระคุณแห่งพระพุทธ พระธรรม พระอริยะสงฆ์ให้จิตประจักษ์แจ้งในความดีของท่าน

    การเจริญพระกรรมฐานในอุปมานุสติกรรมฐาน จนจิตแนบในอารมณ์พระนิพพาน ทรงในความรู้ตื่นถึง ความหมายของ "นิพพานังปรมังสุขขัง" ว่าพระนิพพานเป็นสุขเพียงใด สุขอย่างใด จิตย่อมทรงในความเป็นสัมมาทิฐิ มีที่สุดคือพระนิพพานได้โดยมั่นคง



    ส่วน



    ธรรมอันเป็นปรปักษ์ กับ ความเป็นสัมมาทิฐินั้นได้แก่

    มิจฉาทิฐิ ทิฐิอันเป็นโทษเป็นความสำคัญผิดอันทำให้ ทาง ให้ วิถีให้ทางเดินแห่งชีวิตในทางโลกและทางธรรมพลอย ผิด พลอยพลาด พลอยหลงด้วยอำนาจของโมหะครอบงำใจ

    ความสำคัญว่า โลกนี้โลกหน้าไม่มีจริง บุญบาปไม่มี กรรมและผลกรรมไม่มี เป็นทิฐิที่ทำให้เกิดความคิดว่า เมื่อโลกนี้โลกหน้าไม่มี เราทำตามอำเภอใจของเรา ทำตามความอยากของเรา กอบโกยทรัพย์สินเงินทองประเคนความสุข แก่ตน ใครจะทุกข์เศร้า ใครเดือดร้อนช่างเขา เราทำของเรา เมื่อนั้นใจตนก็ร้อนรุ่ม โลกร้อนรุ่ม เกิดการเบียดเบียนกัน เกิดการก่อกรรมต่อกัน ต่อวิบาก ต่อชาติ ก่อภพ ก่อเวร สร้างกรรมนายเวรไปไม่มีที่สิ้นสุด

    ทิฐิที่เข้าใจว่า พระพุทธเจ้าท่านไม่มีจริง พระธรรมไม่มีจริง พระอริยะสงฆ์หมดแล้วสิ้นแล้ว

    คุณแห่งพระพุทธ คุณแห่งพระธรรม คุณแห่งพระอริยะสงฆ์ที่ไม่มีประมาณนั้นไม่มีมีจริงไม่อาจปรากฏต่อใจผู้อื่นได้ และมรรคผลพระนิพพานไม่มีจริง สิ่งนั้นย่อมยังอกุศล การปรามาสในพระรัตนไตรให้เกิดขึ้น ทำลายพละศรัทธาในใจตนแล้วยังทำลายศรัทธาในพระรัตนไตรในจิตใจผู้อื่น อันเป็นกรรมใหญ่ในการทำลายกุศลจิตในใจบุคคลทั้งหลาย ทำลายความตั้งใจปฏิบัติเพื่อความดีของบุคคลทั้งหลาย รวมทั้งตนเองอีกด้วย ทางแห่งความดีของตนก็พลอยปิด มรรคผลพระนิพพานไปอย่างน่าเสียดาย

    มานะทิฐิ เอาความเห็นอันยังประกอบไปด้วยกิเลสของตนมา ตู่ธรรม ว่า น่าจะเป็นอย่างนี้ อย่างนั้น ธรรมของฉันจะเอาแบบนี้ ใครว่าอย่างไรฉันว่าแบบนี้ ไม่นำเอาหลักเอาธรรมที่พระพุทธองค์ทรงบรรญัติเป็นหลักเปรียบเทียบ มาใช้เพื่อให้จำแนกได้ว่า ธรรมใดยังกุศล ธรรมใดยังอกุศล ธรรมใดควรเจริญ ธรรมใดควรละ เมื่อนั้นทางธรรมย่อมผิดเพี้ยนฝั่นเฝือไป

    เหตุนี้จึงพึงยึดพระพุทธเจ้า แนบพระพุทธเจ้า แนบพระธรรมเป็นหลักว่า ธรรมที่เราปฏิบัตินั้นปรากฏในพระธรรมหรือไม่เป็นประการที่หนึ่ง

    เมื่อปฏิบัติแล้วยังอานิสงค์เกิดผลแห่งความดีขึ้นหรือไม่ จะเกิดผลดีอย่างไร
    พิจารณาตรองดูรู้ได้ด้วยตนเองเป็นปัจจัตตัง

    เมื่อเราเห็นคุณ เห็นประโยชน์เห็นโทษ พิจารณาในธรรมกระจ่างแล้ว

    ธรรมใดน้อมมาสู่ใจแล้วทำให้ กายเรา วาจาเรา จิตเรา สงบ เย็น ปล่อยวาง รู้แจ้งเห็นจริงในกฏพระไตรลักษณ์ เพื่อความมั่นคงในไตรสรณะคมม์ เพื่อความแนบเนื่องในพระนิพพาน

    เราทั้งหลายก็จงน้อมลงสู่ดวงจิตดวงใจ

    ละธรรมอันเป็นปรปักษ์ต่อความดี

    เจริญธรรมอันเป็นเครื่องส่งเสริมให้ความดีธรรมข้อนั้นเจริญยิ่งขึ้นไป

    ธรรมมะของพระพุทธองค์มีความสัมพันธ์ มีการสืบต่อเป็นสันตติ มีความเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน เป็นปฏิจจสมุปบาท

    ดังนั้นผู้มีปัญญาฉลาดในการพิจารณาธรรมย่อมพึงรำลึกนึกรู้ได้ด้วยตนเอง

    ดังจะได้สานเรียงร้อย มรรคทั้งแปดประการในมรรคมีองค์แปดมาประกอบรวมเป็นธรรมจักรวงล้อแห่งธรรมที่ขับเคลื่อนพาหมู่สัตว์ให้พ้นจากสังสารวัฏฏ์ตามพุทธประสงค์แห่งพระจอมไตรศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเทอญ

    "ขอท่านทั้งหลายพึงดำรงจิตไว้ในความเป็นสัมมาทิฐิ รักษาหลักแห่งใจเอาไว้ให้มั่นคงในพระรัตนไตร นำธรรม เป็นหลักในการจำแนกธรรม จำแนกบุคคล จำแนกเหตุ จำแนกกรรมและผลแห่งกรรม เพื่อที่พุทธิปัญญาจักได้เจริญงอกงามในใจของทุกๆท่าน ตราบเข้าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2010
  11. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เข้าพรรษานี้

    รักษาจิตให้ใส ยังกุศลให้ปรากฏแจ้งแก่ใจเราเป็นปกติ

    รักษากุศลกรรมบทสิบให้บริสุทธิ์ ปราศจากการเบียดเบียนต่อกัน ทาง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

    ทรงเมตตาพรหมวิหารสี่หล่อเลี้ยงใจให้ชุ่มชื่นเบิกบานในธรรมมารมณ์อันเป็นกุศลเอาไว้

    ตั้งมั่นในไตรสรณะคมม์มั่นคง ไม่แปรเปลี่ยน ไม่หวั่นไหว ในกระแส ทั้งปวง

    ขอให้ความดีตั้งมั่นและเจริญยิ่งขึ้นไปทุกๆท่านตลอดไปตราบจนถึงซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญ
     
  12. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ในช่วงการปฏิบัติในช่วงเข้าพรรษาปีนี้ ข้าพเจ้าขอกราบขมากรรมทั้งปวง ทางกาย วาจา ใจของข้าพเจ้า ทั้งต่อพระรัตนไตร บิดา มารดา ครู อุปัชฌาย์ ท่านผู้มีพระคุณ และท่านทั้งหลาย

    เพื่อความสะอาด บริสุทธิ์ ความเจริญในธรรม เจริญในพระบวรพุทธศาสนาของสมเด็จพระจอมไตรศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้ด้วยเทอญ

    ด้วยความนอบน้อม ด้วยความเคารพในธรรม ด้วยจิตอันสำนึกสำรวมระวัง และด้วยสัจจะวาจานี้ขอจงยังสวัสดิพัฒนมงคลยังชาวธรรมทุกท่านทุกดวงจิต และความดีงามในทุกดวงใจด้วยเทอญ
     
  13. พุทธาวตาร

    พุทธาวตาร "อีกเดี๋ยวมันก็จะผ่านไป..."

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +398
    กราบขอบพระคุณ อ.คณานันท์ เป็นอย่างสูงครับ

    ที่ได้ให้ธรรมทาน และแนวทางการปฏิบัติกรรมฐานที่ตรงกับจริตผมมากๆครับ

    ก่อนอื่นผมต้องแนะนำตัวก่อน อาจารย์อาจจะงงว่าผมเป็นใคร?
    ผมก็ยังไม่เคยเจออาจารย์ ไม่เคยเรียนกับอาจารย์ที่ไหนมาก่อนครับ
    แต่เรียนจากไฟล์ mp.3 จากกระทู้ในเวปนี่ได้ 4-5 เดือนแล้ว

    และเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมานี่เอง(22 ส.ค.)ผมได้มีโอกาสได้ไปรับการฝึก
    มโนมยิทธิ อย่างเป็นทางการที่ศูนย์พุทธศรัทธา สระบุรี กับอาจารย์ชนะ
    และครูฝึกประจำที่นั่นครับ จึงได้ทราบรู้จักชื่อและที่มาของไฟล์เสียงนั้น
    ว่าเป็นเสียงของอาจารย์ครับ

    และผลที่ได้ในวันนั้น ในเวลาแค่ 2 ชั่วโมง ในการฝึกแต่เป็นเป็นเวลาของ
    ประสบการณ์ชีวิตแรกที่ยิ่งใหญ่ในการฝึกกรรมฐานของผมเลยครับ ซึ่งได้ฝึกจริงๆ จัง
    มาตั้งแต่ต้นปีแล้วครับ ลองแทบจะทุกสายแล้วครับ

    ในวันนั้นสิ่งที่ผมไม่เคยคิดว่าตัวเองจะได้รู้...ก็ได้รู้ ไม่คิดว่าจะได้เห็น...ก็ได้เห็น
    ไม่คิดว่าจะได้สัมผัส...ก็ได้สัมผัส เป็นสิ่งที่ก่อนหน้านั้นคิดว่างมงาย มันเกินความจริง
    เกินความสามารถที่มนุษย์เดินดินจะพิสูจน์ได้ คิดว่ามันมีจริงเหรอ.. เป็นไปได้เหรอ
    (คงอาจจะเพราะก่อนหน้านี้ที่มองข้ามไปฝึกสายอื่นเพราะไม่เชื่อถือสายนี้มั้งครับ
    คิดว่าคงเป็นการสกดจิตโดยครูฝึกมากกว่า)
    ซึ่งผมคิดว่าถ้าไม่ได้มีการฝึกจิต ฝึกกรรมฐานที่บ้านกับไฟล์เสียงของท่านก่อน
    ผมก็คงไม่มีโอกาสที่สำคัญ่ของชีวิตในวันนั้นครับ

    เหนือสิ่งอื่นใด ต้องขอบพระคุณอาจารย์ชนะและครูฝึกในวันนั้นเป็นอย่างสูงด้วยครับ
    ถ้าไม่ได้บารมีและการถ่ายทอดภูมิธรรมของท่านก็คงไม่มีโอกาสเช่นกัน...

    ขออาราธนาอำนาจบารมีคุณแห่งพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
    พระโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันตเจ้า และพระอริยสงฆ์เจ้า ทั้งในอดีตและอนาคตกาล
    ที่มากมายจักสุดประมาณมิได้ โปรดบันดาลบุญกุศล บารมีทั้งหลายที่ข้าพเจ้าเคยสร้าง
    สั่งสมไว้ตั้งแต่อดีตชาติ ชาติใดๆ ก็ดี จนถึงกาลปัจจุบัน ขออุทิศให้แก่ครู อาจารย์
    ผู้มีพระคุณทุกท่านที่ได้อบรมสั่งสอน ถ่ายทอดภูมิธรรม ให้แก่ข้าพเจ้า ขอให้ทุกท่าน
    จงประสบแต่ความสุข ความเจริญสำเร็จสมหวัง สมความปรารถนาทุกประการทั้งทางโลก
    และทางธรรม ด้วยเทอญ...

    ปล.หากมีโอกาส และบุญบารมีพอผมคงมีโอกาสสร้างบารมีร่วมกับทุกท่านครับ
    ขอบคุณครับ
     
  14. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ขอโมทนาบุญกับธรรมและความดีที่คุณได้ตั้งใจปฏิบัติจนได้สัมผัสถึงซึ่งความดีครับ

    และขอให้ท่านทั้งหลายที่ได้ตั้งใจปฏิบัติได้สัมผัสธรรมนั้นด้วยครับ
     
  15. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ช่วงนี้ภาวะแห่งภัยพิบัติเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

    ท่านที่ปฏิบัติธรรมก็ขอให้ตั้งจิตให้มั่นคงไม่หวั่นไหวใน ความแปรปรวน แปรเปลี่ยน ความไม่เที่ยง เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปเหล่านี้

    พิจารณาให้เห็นสภาวะธรรมใต้กฏไตรลักษณ์ที่ชัดเจนขึ้น ตามลำดับ


    ยึดติดเป็นทุกข์ ปรุงแต่งเป็นทุกข์ คาดหวังเป็นทุกข์ ฝังใจก็เป็นทุกข์

    สละ ละ ปล่อยวาง รู้เท่าทัน ได้ทั้งร่างกาย วัตถุ จิตใจผู้คนหรือแม้แต่อารมณ์ใจของเราเองได้ นั่นจึงเป็นสุข

    เมื่อทุกข์น้อยลง สุขก็มากขึ้น

    เมื่อจิตละอกุศลได้มากขึ้น จิตก็มีแต่กุศลมากขึ้น

    เมื่อจิตเป็นกุศลมากขึ้น จิตก็พลอยผ่องแผ้วเบิกบานปภัสสรยิ่งขึ้นไปตามลำดับ

    เมื่อจิตประกอบด้วยเมตตา พรหมวิหารสี่ มีความละเอียดอ่อนโยนควรแก่การ ควรแก่การน้อมนำธรรมมะขั้นสูงขั้นละเอียดเข้ามาสู่ใจได้

    ความก้าวหน้า ความเบิกบานในธรรมก็ย่อมจำเริญขึ้นในจิตในใจของทุกดวงจิต

    ธรรมมะที่มีความละเอียดลึกซึ้งย่อมไม่อาจงอกงามในจิตใจอันหยาบกระด้าง มีมานะ มีอุปกิเลสและทิษฐิหนาแน่นได้

    เราจึงต้องน้อมนำจิตเราให้มีความนอบน้อมอ่อนโยนกตัญญูรู้คุณในพระรัตนไตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธเจ้าท่านอย่างถึงที่สุด

    หากใจเรายังตรึกลึกซึ้งถึงไตรสรณะคมม์ได้ไม่ถึงที่สุดก็ดี

    หากใจเรายังไม่อาจกตัญญูรู้คุณแห่งพระพุทธเจ้า คุณแห่งพระพุทธศาสนาได้ก็ดี

    หากใจเราไม่เกิดเมตตาอันละเอียดอ่อนจนใจเรานอบน้อมใจเราเย็น ใจเราอิ่มในธรรมจากภายในส่วนลึกของจิตได้ก็ดี

    ธรรมอันปราณีต ธรรมอันสะอาด ธรรมอันวิสุทธิ์ก็ย่อมไม่อาจ สว่างกระจ่างกลางใจของเราเองได้


    ขอเราทั้งหลายผู้ปรารถนาในกุศล ปรารถนาในความดี มุ่งประโยชน์ในธรรมมีมรรคผลพระนิพพานเป็นที่สุด ขอจงรักษาจิตตั้งกำลังใจในกุศล มีจิตอ่อนโยนนุ่มนวลด้วยเมตตาอันไม่มีประมาณ มีความนอบน้อมต่อพระพุทธองค์ มีพระไตรรัตน์มั่นคงประจำจิต รำลึกคิดถึงพระนิพพานเป็นที่สุด ด้วยจิตอันผ่องใสเป็นเพชรประกายแพรววาวระยิบระยับจับจิตจับใจในทุกลมหายใจเข้าออก

    เมื่อทรงจิตอันปราณีตไว้ควรแล้ว ก็ประคับประคองรักษาจิตนั้นเอาไว้ ด้วยแรงแห่งธรรมมีวิปัสสนาอันยังจิตให้บริสุทธิ์ แรงแห่งเมตตาอันยังจิตให้อ่อนโยนชุ่มเย็น แรงแห่งศรัทธาอันยังจิตให้ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว

    จน จิต เนื้อจิต แกนในของจิต ใสถ้วนล้วนเป็นเพชรปราศจากตำหนิอย่างสิ้นเชิง

    อกุศลทั้งปวง บาปทั้งปวง กิเลสและอุปกิเลสทั้งปวงไม่อาจแทรก ไม่อาจซึมสู่ในใจของเราได้

    ขอท่านทั้งหลายจงยังกุศลจิตอันผ่องใสให้สะอาดบริสุทธิ์จากภายในชำระใจด้วยธารแห่งธรรมอันพิสุทธิ์ใสเย็นจิตเย็นใจกันได้ทุกดวงจิตทั้ง มนุษย์ทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายและหมู่พรหมทั้งหลาย จงได้เข้าถึงธรรมพระประทีปแก้วบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้โดยง่าย โดยฉับพลันด้วยเทอญ
     
  16. neschu_01

    neschu_01 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2008
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +55
    กราบสวัสดี อ.คณานันท์ และ พี่ ธร และพี่ๆน้องๆ ทุกท่าน กระผมชื่อธเนศครับ หรือเรียก เนศ ก็ได้ครับ ผมพึ่งมีโอกาศ อ่านเวปบอร์ด เกี่ยวกับ ภัยพิบัติ และ การฝึกทำสมาธิ และ กรรมฐาน ก็ได้ความรู้ไปพอสมควร เกี่ยวกับ กรรมฐาน 40 ส่วนกระผมก็พึ่งเริ่มฝึกปฏิบัติ อานาปานสติ กสิณไปบ้างแล้ว และที่ยังฝึกปฏิบัติไม่จริงจัง ก็มี มโนมยิทธิ ถ้ามีโอกาศก็จะไปบ้านสายลมเพื่อฝึก เอาอารมณ์มโนม เต็มๆ ซักที จริงๆแล้วพี่ธรเคยฝึกให้ผมแล้ว ทางMSN แต่ผมปฏิบัติทั้งหมดที่ว่ามานี้ไม่ต่อเนื่องเอง อาจจะเป็น เพราะอะไรดลบรรดาล ไม่ทราบ จึงหยุดไปซะเฉยๆ ขาดความต่อเนื่อง จึงต้องขอรบกวน อ.คณานันท์ และ พี่ ธร ได้โปรดช่วยสอน หรือแนะแนวการปฏิบัติอีกครั้ง จริงๆขั้นตอนการทำอานาปา อ.คณานันท์ และ พี่ ธร ได้สอนไว้เยอะทีเดียว และผมก็อปไว้แล้วนำมารวมกัน ผสมกันในแบบของผมเองได้ 9 ขั้นตอน และผมก็ไล่ฝึกตาม แต่บางขั้นตอน ผมอาจจะยังไม่เข้าใจ และเรียงขั้นตอนไว้ไม่ทราบว่าถูกหรือปล่าว เพราะภูมิธรรมยังต่ำอยู่มาก ขอรบกวน อ.คณานันท์ได้โปรดชี้แนะ ว่าถูกต้องหรือไม่ จักเป็นพระคุณอย่างสูงครับ



    เริ่มการปฏิบัติอานาปานสติ กันเลยครับ<O:p</O:p

    1. เริ่มต้นที่จับลมสบายครับต่อด้วยระลึกถึงคุณพระรัตนไตย "ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมระลึกถึงและก้มกราบซึ่งพระบาทแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกๆ พระองค์ องค์พระธรรมองค์พระอริยสงฆ์ และครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆ กันมามีองค์หลวงปู่ปานและองค์หลวงพ่อฤาษี เป็นที่สุดข้าฯขอน้อมอาราธนาพระบารมีแห่งองค์พระรัตนตรัยมาเป็นที่พึ่งสูงสุดที่พึ่งอื่นใดที่จะประเสริฐไปกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว"<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ระลึกถึงศีล "ณ ขณะจิตนี้ข้าฯ ไม่ได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ได้ลักทรัพย์ใคร ไม่ได้ประพฤติผิดในกามไม่ได้พูดโกหกมดเท็จใดๆ ไม่ได้ ไม่ได้ดื่มสุราเมรัย และเล่นการพนัน..... (ไม่ได้ทานอาหารหลังเที่ยง, ไม่ได้ใช้เครื่องไล้ของหอม เว้นจากการฟ้อนรำ ดูสิ่งบันเทิงเริงรมย์ไม่ได้ใช้เครื่องประดับตกแต่งใดๆ, ไม่ได้นอนบนที่นอนสูงใหญ่)" ข้าฯ มีศีล 5 (ศีล 8) สมบูรณ์บริบูรณ์..
    .<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ระลึกถึงบุญความดี ระลึกถึงเมตตาพรหมวิหารสี่ ระลึกถึงวิปัสสนาญาณ 9 ตัดขันธ์ห้าให้ใจละเอียด เบาบางปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายของเราและของบุคคลอื่น
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    จากนั้นจับภาพพระให้ใสเป็นแก้วประกายพรึก เปร่งรัศมีสว่างไสวแพรวพราวขอบารมีพระท่านยกจิตอาทิสมานกายของเรา ขึ้นสู่พระนิพพาน ขึ้นไปกราบพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ และท่านผู้มีพระคุณทั้งหลายแยกกายออกไปกราบทุกท่านทุกพระองค์และน้อมถวายดอกบัวแก้วอันเกิดจากอำนาจบุญกุศลของเราน้อมถวายท่านทุกพระองค์ด้วยเทอญ.
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    2. เมื่อเสร็จแล้วเรามากราบขอขมาองค์พระรัตนตรัย
    "ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญหากข้าพระพุทธเจ้าได้เคยคิดประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อองค์พระรัตนตรัยไปด้วยกายกรรมก็ดี ด้วยวจีกรรมก็ดี ด้วยมโนกรรมก็ดี ในชาติปัจจุบันนี้ก็ดีหรือในชาติที่เป็นอดีตก็ดี ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดีหรือทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดีขอองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้านับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ"<O:p</O:p

    3.กราบขอบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ ขอให้จิตของข้าพเจ้าได้เข้าถึงอารมณ์สูงสุดของอานาปาณาและได้วสีความชำนาญในการเข้าณานด้วยเทอญต่อไปกราบขอบารมีพระท่านให้เมตตาปรากฏ ครูบาอาจารย์ของเราในอดีตชาติและท่านที่มีวาสนา เกี่ยวพันกันมารวมทั้งหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษีท่านได้โปรดเมตตามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราบนพระนิพพานนี้ และขอบารมีท่านโปรดช่วย ปกปักรักษา อาทิสมานกายที่อยู่บนพระนิพพาน และโปรดช่วยอบรมสั่งสอนสมาธิจิต ที่ถูกต้องตามแบบแผนและที่ลึกซึ้งพิสดารด้วยเทอญ
    <O:p</O:p</O:p
    4. หลังจากนั้นให้คุณน้อมนึกอโหสิกรรมให้แก่ผู้ที่เคยล่วงเกินคุณมา
    "- ข้าพเจ้าอโหสิกรรม ยกโทษให้แก่ พรหม-เทพเทวา สรรพสัตว์สิ่งมีชีวิตมนุษย์ อมนุษย์สัตว์เดรัจฉาน ภูติผีปีศาจดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลายที่เคยล่วงเกินข้าพเจ้ามาด้วยกายกรรมก็ดี วจีกรรมก็ดีมโนกรรมก็ดี... ในชาติปัจจุบันนี้ก็ดี ในชาติที่เป็นอดีตก็ดี... ด้วยเจตนาก็ดีไม่เจตนาก็ดี หรือทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี...
    - ข้าพเจ้าไม่ถือโทษโกรธเคืองใดๆ ทั้งสิ้นและขอให้พวกท่านทั้งหลายมีความสุขกาย สุขใจ พ้นจากความทุกข์ทั้งหลายทั้งมวลมีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงที่สุดแห่งธรรมและมีพระนิพพานเป็นที่สุดด้วยเทอญ"
    - และข้าพเจ้าขออโหสิกรรมต่อท่านเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินพวกท่านไปด้วยกายกรรมก็ดีวจีกรรมก็ดี มโนกรรมก็ดี... ในชาติปัจจุบันนี้ก็ดี หรือในชาติที่เป็นอดีตก็ดี...ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดีหรือทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี...
    - ขอให้พวกท่านทั้งหลายได้โปรดอโหสิกรรมทั้งหลายเหล่านั้นให้แก่ข้าพเจ้านับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานเทอญ"
    <O:p</O:p</O:p</O:p
    5. ลองจับลมหายใจ 1 ฐาน - (จมูก หน้าอก ท้อง) เอาจุดใดจุดหนึ่งเพียงจุดเดียวก่อนค่ะ...ลองจับทีละจุดแล้วดูสิว่าจุดไหนที่จับลมแล้ว เราเห็นลมมากระทบตรงนั้นชัดเจนที่สุดเมื่อทำได้แล้ว เขยิบขึ้นข้อต่อไปค่ะ

    - จับลม 3 ฐาน ทั้งลมเข้า และออก...จมูก อก ท้อง เข้า... ท้อง อก จมูก ออก

    - จับลมตลอดสาย นึกเห็นภาพเป็นเส้นเชือก หรือจะเป็นสายลมพริ้วไหว... ผ่านจากจมูกลงไปสู่ท้อง...และจากท้องพลิ้วไหวเป็นสายกลับออกมาทางจมูก จะจับคำภาวนา พุท-เข้า โธ-ออกไปด้วย
    <O:p</O:p</O:p
    - ค่อยๆถอนจิตออกจากสมาธิ โดยการ... ค่อยๆ หายใจ เข้า - ออก ช้าๆ สามครั้ง ครั้งที่ 1 ภาวนา พุท - โธ ครั้งที่ 2 ธัม - โม ครั้งที่ 3 สัง -โฆ
    <O:p</O:p</O:p
    6.จากนั้นให้ใช้จิตเข้าสู่สภาวะ เดิมที่มีอาการนิ่งลมหายใจแค่นิดเดียวหรือไม่หายใจ ในสภาพลืมตาและขอให้ทุกท่านจำอารมณ์ใจขณะนี้ไว้ ซึ่งต่อไปผมจะเรียกว่า"ลมสบาย"ครับมาจากลมหายใจที่มีอารมณ์จิตสบายแล้วให้อธิฐานในฌานว่า"ขอให้ข้าพเจ้าได้เข้าถึงซึ่งฌานนี้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกอิริยาบทที่ต้องการเป็นวสี ติดตัวข้าฯทุกชาติจนถึงซึ่งพระนิพพาน
    <O:p</O:p</O:p
    7. หลังจากนั้นให้นึกถึงคุณงามความดีทั้งหลายที่เราเคยปฏิบัติมาให้มารวมตัวกันแล้วจึงทำการอุทิศส่วนกุศล และแผ่เมตตาอัปปมาณฌาน(อ่านว่า อับ-ปะ-มา-นะ-ชาน ค่ะ) ไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายโดยไม่มีประมาณ....<O:p</O:p
    "ข้าพเจ้า ขอตั้งจิตระลึกถึง คุณงามความดี กุศลผลบุญทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้เคยกระทำมาดีแล้วตั้งแต่ต้นกัปต้นกัลป์ ที่กระทำในปัจจุบันนี้และที่จะกระทำต่อไปในอนาคต... ขอให้กุศลผลบุญทั้งหลายเหล่านั้นจงมารวมตัวกันกับเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และอภัยทาน ณ ดวงจิตของข้าฯ ณกาลบัดเดี๋ยวนี้ด้วยเถิด"
    "ข้าฯ ขอน้อมอุทิศ และแผ่ซึ่งกุศลผลบุญ อีกทั้งความปรารถนาดี พรหมวิหาร 4 และอภัยทานนี้ให้แก่ พ่อ แม่ พี่น้อง ปู่ย่า ตายาย เหล่าพรหม-เทพเทวา เทวดาอารักษ์ ท่านเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายสรรพสัตว์สิ่งมีชีวิต มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน ภูติผีปีศาจและเหล่าดวงจิตดวงวิญญาณทั้งหลายทั่วสากลจักรวาล อนันตจักรวาลนี้... ขอให้ทุกๆท่านมาร่วมกันอนุโมทนา และได้รับซึ่งกุศลผลบุญอีกทั้งความปรารถนาดีนี้เฉกเช่นเดียวกับที่ข้าฯจะพึงได้รับนับแต่บัดเดี๋ยวนี้เป็นต้นไปตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ"<O:p></O:p>
    <O:p</O:p</O:p
    8.แล้วก็ให้อธิฐานวสีอีก "ขอให้ข้าพเจ้าได้เข้าถึงซึ่งเมตตาอัปปมาณฌานนี้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกอิริยาบทที่ต้องการเป็นวสี ติดตัวข้าฯทุกชาติจนถึงซึ่งพระนิพพาน “<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    9. จากนั้นให้ทรงอารมณ์ใจนั้นเอาไว้ เสวยธรรมปิติจากเมตตาอัปปมาณฌาน<O:p></O:p>
    จึงค่อยๆ ถอนจิตออกจากสมาธิช้าๆ ตามขั้นตอนการออกฌานที่ถูกต้อง(กายทิพย์ไม่กระทบกระเทือน)<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2010
  17. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ครับ พยายามเรียบเรียงได้ดีครับ

    หากมีโอกาสอยากให้มาฝึกสมาธิด้วยกันครับ อยากให้จดจำอารมณ์สมาธิ อารมณ์จิต และบันทึกด้วยใจ ซึ่งจะต่างจากการจำ เป็นอย่างมากครับ

    ได้สมาธิแล้วจะ ก้าวหน้าในการปฏิบัติขึ้นอีกมากครับ
     
  18. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ครูบาอาจารย์ท่านเมตตาห่วงใย เตือนว่า "หลายท่านจะทำกรรมฐานได้ไม่ทัน การเกิดภัยพิบัติ"

    ดังนั้นขออนุญาต แนะนำสมาธิในกระทู้วิชชานี้ โดยเน้นไปที่การใช้กำลังฌาน กำลังสมาธิจิตเพื่อนำไปใช้จริงยามเกิดภัยพิบัติ ในสถานการณ์ต่างๆครับ

    "หากธรรมมะสมาธิจิตทั้งปวงอันเป็นวิชชาขององค์สมเด็จพระบรมสุคต นั้นพึงเป็นธรรมรัตนะอันทรงค่าแด่ดวงจิตดวงใด ไม่ว่าเป็นมนุษย์ เทพ พรหม ทั้งหลายในการยังประโยชน์สุข ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลางและในที่สุดคือพระนิพพาน ก็ขอให้ธรรมอันงามทั้งหลายนี้ พึงเจริญงอกงามกลางทุกดวงจิตผู้ดำรงในตนในความดีน้อมนำความเป็นสัมมาทิษฐิเข้าสู่ใจด้วยเทอญ"

    รากฐานของสมาธิมาจากการเจริญสมถะหรือการทำจิตให้สงบนิ่งจนเป็นเอกัคคตารมณ์ ตั้งมั่นให้ได้

    เป้าหมาย ของสมถะคือการเข้าถึงและการทรงฌานสี่ให้ได้ ไม่ว่า จะเป็นฌานสี่หยาบหรือฌานสี่ใช้งาน ไปจนถึง ฌานสี่ละเอียด

    คำว่า การ"ทรง" ฌาน นั้น หมายถึง การที่เราประคับประคอง จิตเราให้อยู่ในความสงบ

    กลายกับเรายืนทรงตัวบนเรือที่ลอยน้ำ มีการประคับประคองกายเราไม่ให้ล้ม ไม่ร่วงตกน้ำไปฉันนั้น

    ในพระธรรมภาษิต ที่ปรากฏในพระไตรปิฏกท่านสอนว่า "จงประคับประคองจิตดั่งประคองบาตรอันเต็มไปด้วยน้ำมัน"

    การทรงสมาธิ การทรงฌาน ก็คือการประคองใจเราไม่ให้นิวรณ์ห้าเข้ามารบกวนใจ ไม่ให้จิตตกหล่นจากฌาน สมาธินั้นเอง


    เหตุที่จิตหล่นหลุดจากสมาธิก็จาก การมีความคิดผุดขึ้นมาบ้าง ตัวสงสัยนั่นนี่รวมทั้งความไม่มั่นใจบ้าง จิตโงกง่วงหลับวูบบ้าง ความคิดปรุงแต่งในกิเลสความอยากเข้ามาปรุงบ้าง ภาพนิมิตรต่างๆแว่บเข้ามารบกวนจิตเราบ้าง ความกังวลใจต่างๆมาปรุงแต่งวุ่นวายใจบ้าง อันเป็นนิวรณ์ห้าประการอันเป็นเครื่องขัดขวางความดี

    การทำสมาธิ ทำฌานนั้น ท่านจึงใช้คำว่า การทรงคือการประคอง จิตในความสงบให้ทรงตัว ตั้งมั่นจนเป็นเอกกัคคตารมณ์ อารมณ์จิตที่ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว

    นึกภาพ เวลาที่เราฝึกยืนขาเดียว ใหม่ๆ ไม่เคยฝึกมาก่อน เเรกๆก็แกว่งขาแกว่งแขนประคองซ้าย ขยับขวาหรือเอาเท้าอีกข้างลงบ้าง

    ครั้นคล่องแล้ว เราก็ยืนนิ่งตั้งมั่นไม่ขยับได้นานๆ

    การทรงฌานก็เช่นนั้น เราประคองจิตในสมาธิ ในฌานสี่ อันประกอบด้วยจิตที่ตั้งมั่นในเอกกัตคตารมณ์ จิตที่เป็นอุเบกขารมณ์ปราศจากการปรุงแต่งไปในสิ่งที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    สงบนิ่งตั้งมั่น จิตหยุด(สงบ)จน ลมหายใจดับ

    แล้วเราจึงนำกำลังจิต กำลังสมาธินี้ ไปใช้

    การบ้าน วันนี้ สำหรับท่านที่ได้ฌานสี่ใช้งานจากที่ผมสอนมาเรียนด้วยกันแล้ว ขอให้ฝึกทรงฌานสมาธิในฌานสี่ให้นานที่สุดเท่าที่จะทรงประคองเอาไว้ได้

    เข้าสู่ที่(ทำสมาธิ)ให้เข้าฌานสี่ทันที หากหล่นมาฌานสาม บ้าง สองบ้าง ฝึกประคองจิตกลับสู่ฌานสี่ใหม่จนจิตชิน

    ทำด้วยจิตและอารมณ์สบาย จิตเป็นสุข มีธรรมฉันทะในการปฏิบัติครับ

    พรุ่งนี้มาฝึกต่อไปครับ
     
  19. Siranya

    Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ[​IMG]
     
  20. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,634
    ผมเคยทดลองวิ่งออกกำลังกายแล้วกำหนดว่า "ปฐวีกสิณัง" โดยกำหนดให้ปรากฏภาพเป็นแผ่นดินวงกลม สีอรุณ ก็ทรงภาพได้แต่ยังไม่ถึงขั้นใช้งานได้ หรือกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ขณะวิ่งทำให้ไม่ค่อยเหนื่อย แต่เหงื่อชุ่มตัวเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...