หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Specialized, 28 กรกฎาคม 2010.

  1. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,358
    วันนี้ขอมาเปิดกระทู้ของ หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด บ้างนะครับ เพราะเห็นรวมอยู่กับกระทู้ของ หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม ดูๆแล้วเดี๋ยวข้อมูลจะรวมกันมั่วซะเปล่าๆ บอกก่อนว่าผมก็ไม่เคยไปกราบหลวงปู่ท่านเลยครับ เป็นศิษย์ใหม่ที่ศรัทธาในองค์หลวงปู่อยากร่วมเผยแพร่ประวัติครูบาอาจารย์และวัตถุมงคลที่หลวงปู่ท่านได้เมตตาอธิษฐานไว้ครับ และขอเชิญเพื่อนๆทุกคนที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับวัตถุมงคลของหลวงปู่ แวะเวียนมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันนะครับ

    [​IMG]

    วัตถุมงคลที่หลวงปู่เมตตาอธิษฐานจิต
    ((((ทั้งในวัดและนอกวัด)))
    ภาพและข้อมูลที่ลงในกระทู้นี้ผมรวมให้ดูง่ายๆ จะได้ไม่ต้องไปไล่เปิดหาครับ

    - ข้อมูลการจัดสร้างเหรียญทำน้ำมนต์ หน้า 2
    - เหรียญทำน้ำมนต์เนื้อชนวนสมเด็จองค์ปฐม หน้า 2
    - แหวนปลอกมีดรุ่นแรก ปี 2551 หน้า 3
    - มีดเทพศาสตราเหล็กน้ำพี้ หน้า 3
    - รูปถ่ายหลังยันต์แดง หน้า 4
    - เหรียญน้ำมนต์พิมพ์เล็ก นะมหาเศรษฐี หน้า 4
    - เหรียญขวัญถุง หน้า 5
    - พระขรรค์ใหญ่รุ่นแรก ปี 51 หน้า 5
    - พระขรรค์เล็กรุ่นแรก ปี 51 หน้า 8
    - ยันต์ประจำองค์หลวงปู่ หน้า 9
    - พระผงโต๊ะหมู่ หน้า 9
    - รูปหล่อรุ่นสร้างบารมี (รุ่นสุดท้าย) หน้า 10
    - รูปหล่อรุ่นมหาชัยมงคล ปี 49 หน้า 10
    - เหรียญรูปเหมือนครึ่งองค์ ปี 52 หน้า 11
    - เหรียญรูปเหมือน ปี 38 บล็อค 2 หน้า 13-14
    - พระขรรค์เล็กรุ่นสอง ปี 52 หน้า 14
    - ลูกแก้วจักรพรรดิ หน้า 18
    - เหรียญทำน้ำมนต์รุ่น 4 (รุ่นสุดท้าย) หน้า 32
    - พระอุปคุตหล่อโบราณ + พระอุปคุตแบบบูชา หน้า 33
    - พระพุทธมหาจักรพรรดิ์ ด้านหลัง พระสยามเทวาธิราช หน้า 33

    - รูปหลวงปู่ศรี อุ้มบาตร ขนาด 1 นิ้ว (คุณไพรัฐสร้างถวาย) หน้า 37
    - พระสมเด็จปรกโพธิ์ รุ่นแรก หน้า 42
    - พระปิดตารุ่นสมหวังดังใจ หน้า 42

    - รูปถ่ายบูชาขนาดจัมโบ้ 4x6 หน้า 45

    _______________________________________~*

    ประวัติย่อ พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)
    วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด

    [​IMG]

    พระภิกษุสงฆ์ ในประเทศไทย สายอรัญวาสี หรือที่เรียกว่า " พระป่า พระธุดงคกรรมฐาน" นับตั้งแต่ ปีพุทธศักราช 2458 เป็นต้นมา ได้รับการอบรม วางหลักปักฐาน การเผยแผ่ ศาสนธรรม จากพระบุพพาจารย์ใหญ่ สายวิปัสสนากรรมฐาน คือท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    ด้วยปฏิปทาบารมีธรรม ของพระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น ทำให้บังเกิดกองทัพธรรมพระกรรมฐาน นำธงชัย แห่งพระพุทธศาสนา กระจายเผยแผ่อมตะธรรมไปทั่วสารทิศ และในบรรดาพระกรรมฐาน ลูกศิษย์ของท่าน ได้มีสมณะผู้ทรงศีลาจารวัตร เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา ของชาวพุทธกว้างไกล และนำพาซึ่งประโยชน์ แห่งการพระศาสนาอย่าง สัมฤทธิ์ผล ปรากฏชัด ณ ปัจจุบันกาล พระคุณเจ้ารูปนี้คือ

    พระราชสังวรอุดม ( หลวงปู่ศรี มหาวีโร ) วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด

    นามเดิมของท่านชื่อ ศรี เกิดในสกุลปักกะสีนัง เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2460 ตรงกับวันศุกร์ เดือนหก ปีมะเมีย ที่บ้านขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โยมบิดาชื่อนายอ่อนสี โยมมารดาชื่อนางทุม ปักกะสี

    ในช่วงปฐมวัย ท่านเข้าศึกษา ที่โรงเรียนประชาบาล วัดบ้านขามป้อม ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำท้องถิ่น จบชั้นประถมปีที่ 6 และได้ขวนขวาย เข้ามาเรียนต่อ ที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด จนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 เมื่อปี พ.ศ.2480

    การศึกษาของท่าน ในยุคสมัยนั้น นับว่าอยู่ในขั้นดี ท่านได้เข้ารับราชการ เป็นครูในปีรุ่งขึ้น หลังจากสำเร็จการศึกษา ชีวิตการเป็นครู ท่านเริ่มที่ โรงเรียนวัดบ้านชาด ตำบลหัวเรือ มหาสารคาม และต่อมาที่โรงเรียน บ้านสวนจิก ตำบลปอภาร ร้อยเอ็ด

    ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ท่านได้บรรพชาอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2488 ณ พัทธสีมาวัดราษฎร์รังสรรค์ บ้านป่ายาง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีพระโพธิญาณมุนี ( ดำ โพธิญาโณ) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (ธรรมยุต) เป็นอุปปัชฌาย์ ได้รับฉายา ทางพระพุทธศาสนา เป็นมคธว่า "มหาวีโร"

    พรรษาแรก ในชีวิตสมณะผู้ละวาง ท่านได้พำนักศึกษาปฏิบัติธรรม อยู่กับท่านพระอาจารย์คูณ อุตตโม วัดประชาบำรุง มหาสารคาม

    ปีต่อมา พ.ศ.2489 ท่านได้จาริกไปจำพรรษ ที่วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีโอกาสศึกษา ปฏิบัติธรรม เจริญวิปัสสนา กับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ซึ่งเป็นศิษย์สำคัญของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    เมื่อออกพรรษาแล้วพระศรี มหาวีโรในครั้งนั้นได้ออกจาริกแสวงธรรม ไปตามวนาป่าเขาราวไพร อาทิ ภูเก้า ภูผักกูด บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม ซึ่งที่ภูผักกูด หรือภูผากูดแห่งนี้ เป็นสัปปายะสถาน ที่พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น เคยธุดงค์จาริก มาพำนัก เป็นแหล่งเจริญธรรม ที่ผู้กล้าแห่งกองทัพธรรม ได้มาประพฤติธรรม บำเพ็ญเพียร ด้วยเป็นสถานที่อยู่ไกลจากชุมชน ขาดแคลนขัดสน ในปัจจัยสี่ แต่มีภูมิทัศน์ ที่เหมาะแก่การพัฒนา ภูมิธรรมสัมมาปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง

    ปี พ.ศ. 2490 หลวงปู่ศรี มหาวีโร ธุดงค์ไปพำนักที่ถ้ำพระเวส ครั้นเข้าพรรษา ได้ไปจำพรรษา ที่วัดบ้านนาแก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ซึ่งในยุคสมัยนั้น เป็นดินแดนที่ครุกรุ่นไปด้วยสถานะการณ์ แห่งความขัดแย้ง ด้านอุดมการณ์ทางการเมือง และสังคม แต่ท่านก็อยู่ด้วยความราบรื่น ปราศจากอันตราย จนกระทั่ง ออกพรรษา จึงจาริกไปยังจังหวัดสกลนคร และปี พ.ษ. 2491 เข้าจำพรรษา ที่วัดโนนนิเวสน์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นการเดินตามทางรอยธรรม พ่อแม่ครูอาจารย์ คือหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งเคยมาพำนักที่วัดแห่งนี้มาแต่ครั้งอดีต

    ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ในปฎิปทาบารมีธรรม ของท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระบุพพาจารย์ใหญ่ ด้านวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งขณะนั้น อยู่ในช่วงปัจฉิมวัย พำนักอยู่ที่สำนักป่า บ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

    พระอาจารย์ศรี มหาวีโร จึงเข้าไปกราบนมัสการ พระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่สำนักป่าบ้านหนองผือ ขออนุญาต พำนักจำพรรษา และศึกษาธรรมกับท่าน ซึ่งหลวงปู่มั่น ก็เมตตาอนุญาติ นับเป็นโอกาส อันเป็นมหามงคล ในชีวิตบรรพชิต ที่มีโอกาสศึกษาธรรม และอุปปัฎฐาก พระบุพพาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต รวมทั้งมีโอกาสเจริญธรรม กับสหธรรมิกร่วมสำนัก ร่วมครูอาจารย์เดียวกัน

    เมื่อหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อาพาธพระอาจารย์ศรี ก็มีโอกาสถวายการปฏิบัติ เมื่อท่านพระอาจารย์ใหญ่ถึงแก่มรณภาพ ก็นำความวิโยคอาดูร มาสู่ผู้เป็นศิษย์ ผู้เคารพศรัทธาครูอาจารย์ อย่างสุดจิต สุดใจ พระอาจารย์ศรี มหาวีโร ได้ถวายสักการะ สรีระ หลวงปู่มั่น เป็นครั้งสุดท้าย ในงานถวายเพลิง ฌาปนกิจ ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร

    ต่อมาปี พ.ศ.2493 พระอาจารย์ศรี มหาวีโร ไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนอง ผักตบ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดอุดรธานี และปีต่อมา ได้มีโอกาส ไปพำนัก จำพรรษาที่ วัดบ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ได้มีโอกาส ศึกษาธรรม กับท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ซึ่งเป็นประธานสงฆ์ในสำนักแห่งนี้

    ปี พ.ศ.2495 ได้ร่วมสร้างวัดป่าหนองแซง โดยบัญชาของท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี

    ท่านพระอาจารย์ศรี ได้ออกจาริกห่างถิ่นมหาสารคาม และร้อยเอ็ดไปนานหลายปี จนกระทั้งปี พ.ศ.2496 ท่านจาริกมายังวัดป่ากุง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ สร้างมาประมาณ 170 ปี ท่านเป็นผู้นำศรัทธา ในการพัฒนาวัดป่ากุง ให้เรืองรุ่งโดยลำดับ จนกระทั้งเป็น "วัดประชาคมวนาราม" ที่งามสง่า เป็นศาสนสถาน อันไพศาล สำหรับชาวพุทธ ผู้ศรัทธาในธรรมะ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า และดำเนินตามธรรมวิถีของพ่อแม่ครูอาจารย์

    หลวงปู่ศรี มหาวีโร จำพรรษาที่วัดประชาคมวนาราม หรือวัดป่ากุง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2507 เป็นต้นมา ท่านเป็นผู้นำ เป็นธุระในกิจการงาน พระศาสนา อย่างจริงจังและ มั่นคง สร้างคุณูปการและสาธารณประโยชน์ เป็นจำนวนมาก

    ที่เป็นงานยิ่งใหญ่อลังการคือการก่อสร้าง "พระมหาเจดีย์ชัยมงคล" ณ วัดผาน้ำทิพย์ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด

    พระมหาเจดีย์แห่งนี้ เป็นผลานิสงส์แห่งแรงศรัทธา ของชาวพุทธ ต่อพระบวรพุทธศาสนา ต่อพระสุปฏิปันโน ต่อบารมีธรรม ของพระราชสังวรอุดม เจ้าคุณหลวงปู่ศรี มหาวีโร ที่มุ่งเพื่อประโยชน์ ต่อสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อันเป็นหลักชัยหลักใจของชาวไทย หมายจรรโลงพระพุทธศาสนา สืบสานศิลปวัฒนธรรม งานพุทธศิลปให้สถิตสถาพรสืบไป

    รูปแบบอันวิจิตร เป็นศิลปผสมความยิ่งใหญ่ ของพระปฐมเจดีย์ กับความ โอฬารของพระธาตุพนม กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียว ประดิษฐานตระหง่าน ตระการตา ด้วยศิลปกรรม อันล้ำเลิศ ด้วยฝีมือลูกหลานไทย เป็นนฤมิตกรรมแห่งยุคสมัย ที่จะเป็นปูชนียสถานสำคัญ ของไทย และของโลกวัฒนา สืบต่อไปภายภาคหน้า

    ในยามเช้าผู้คนจากบ้านไกลเรือนไกล จากหลายถิ่น จะมารวมกัน ที่หน้าวัดประชาคมวนาราม เพื่อเตรียมถวายภัตตาหาร บิณฑบาตรพระคุณเจ้า เป็นโอกาสที่พุทธศาสนิกชน จะได้กราบนมัสการหลวงปู่ศรี อย่างใกล้ชิด บางรายบางท่าน ก็มาขอพึ่งบารมีธรรมของท่าน ซึ่งท่านก็เมตตาเสมอตลอดมา

    การบิณฑบาตร เป็นธุดงควัตรที่พระกรรมฐานประพฤติปฏิบัติ หลวงปู่ศรีจะตื่นแต่ดึก ออกเดินไปรอบ ๆ วัด จนถึงเวลาบิณฑบาตร ท่านเป็นผู้มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงแม้จะมีอายุกว่า 80 ปีแล้ว

    หลังจากบิณฑบาตรแล้ว สาธุชนจะร่วมกันถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านเป็นพระวิปัสนาจารย์กรรมฐาน ที่มีความสามารถอย่างสูงในการแจกแจงแสดงธรรม

    หลวงปู่ศรี มหาวีโร เป็นพระเถราจารย์ ผู้เปี่ยมด้วยพรหมวิหารธรรม เป็นเนื้อนาบุญ อันยิ่งใหญ่ ของพระพุทธศาสนา เป็นพระป่า พระกรรมฐาน ที่ศิษย์เคารพ ศรัทธา อย่างมหาศาล เป็นสมณะผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อย่างสิ้นสงสัย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_0012.jpg
      DSC_0012.jpg
      ขนาดไฟล์:
      123.6 KB
      เปิดดู:
      10,654
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2012
  2. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,358
    หลวงปู่ศรี หายตัวได้ ที่วัดป่าหนองแซง

    [​IMG]

    เรื่องราวอันอัศจรรย์ของพระมหาเถระรูปนี้ มีหลายเรื่อง
    เรื่องๆหนึ่ง ที่เห็นจะเป็นที่โดดเด่น คือ เรื่องการหายตัว


    [​IMG]

    ซึ่งเรื่องนี้ หลวงปู่เสน ปัญญาธโร
    ได้เล่าไว้ในหนังสือประวัติหลวงปู่ศรี ความว่า


    [​IMG]

    ทางเดินจงกลม ที่หลวงปู่ศรีใช้หายตัว ที่วัดป่าหนองแซง

    [​IMG]
     
  3. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,358
    เรื่องเล่าจาก พระที่ 12


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    ได้ฟังจากเพื่อนพระวัดป่าว่า...แม้น้ำปัสวะหลวงปู่ลูกศิษย์ขอไว้ทานเป็นยา ท่านปัสวะแล้วแบ่งใส่แก้วไว้ให้ที่ศาลา

    ปรากฎตอนเช้ากลายเป็นพระธาตุ ได้อย่างอัศจรรย์

    หลวงปู่ศรีเมตตาเล่าไว้เองว่าเมื่อปฎิบัติสมาธิไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้จึงกำหนดจิตดูทราบว่าตนได้ปรารถนาพุทธภูมิไว้จะได้เป็นพระพุทธเจ้าลำดับที่ 20 ไตร่ตรองดูเห็นว่านานเกินไปจึงลาพุทธภูมิ จึงบรรลุและจบกิจในพระศาสนา มีวัดสาขาเกือบ 300 วัดบารมีท่านมหาศาลด้วยพุทธภูมิ เช่นเดียวกับหลวงพ่อพระราชพรหมญาณ ของเรานั่นเอง


    [​IMG]
    เจดีย์หลวงปู่สร้างมูลค่าก่อสร้างตกแต่งเกิน 2000 ล้าน


    เจริญพร
    พระ12
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  4. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,358
    สมเด็จพระสังฆราชกล่าวถึงหลวงปู่ศรี

    [​IMG]

    "....พระเทพวิสุทธิกวี (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) เจ้าอาวาสวัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตำบลโพธิทอง อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ท่านเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นพระเถระผู้มั่นคงในพระรัตนตรัย ดำรงอยู่ในสมณเพศ เป็นพระนักปฏิบัติภาวนาและนักพัฒนารูปหนึ่ง ท่านได้บำเพ็ญตนอุทิศให้กับพระพุทธศาสนาและสังคมไทยมาตลอดชีวิต ท่านได้ก่อตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐาน ๑๕๔ สาขาวประเทศไทย ท่านจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้เข้าใจเรื่องชีวิต ได้อบรมสั่งสอนพุทธบริษัท อย่างสมำเสมอตลอดมา..."

    ส่วนหนึ่งใน พระวรธรรมคติ
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    ประทาน เนื่องในวันคล้ายวันเกิด พระเทพวิสุทธิกวี ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๙
     
  5. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,358
    หลวงตามหาบัว กล่าวยกย่องหลวงปู่ศรี

    [​IMG]

    "...ท่านอาจารย์ศรีมีลูกศิย์ลูกหามาก
    พระเจ้าพระสงฆ์ที่เป็นสาขาของท่านก็มีอยู่ทั่วไป
    นอกจากจังหวัดร้อยเอ็ดแล้ว ยังมีทั่วไปในประเทศไทย
    ท่านนับว่า เป็นผู้มีบุญวาสนากว้าขวางองค์หนึ่งที่หาได้ยาก
    เพราะคำว่าวาสนานี้ มิได้เกิดขึ้นอย่างลอยๆ
    หรือเสกสรรปั้นยอกันเกิดขึ้นได้
    แต่ต้องเกิดมาตามหลักธรรมชาติ
    แห่งบุญญาธิสมภารของท่านผู้สร้างบุญบารมีมา
    เมื่อสร้างมากขึ้นๆ ก้ยิ่งเพิ่มบารมีขึ้นเต็มหัวใจ เต็มนิสัยวาสนา
    ไปสถานที่ใดก็มีคนเคารพนับถือ
    จากนั้นก็มี เทวบุตร เทวดา อินทรื พรหม กราบไหว้บูชา
    เป็นขวัยตาขวัญใจ ไปได้ทุกแห่งทุกหน
    เพราะอำนาจแห่งเมตตาธรรมที่ท่านปฏิบัติมา บรรจุอยู่ในหัวใจเต็มไปหมด
    อำนาจแห่งเมตตาธรรมนี้เอง ทำความร่มเย็นให้แก่โลกที้งสาม
    คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก หรือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
    ทั้ง ๓ นี้ อยู่ใต้ร่มเงาแห่งเมตตาธรรมทั้งนั้น"
     
  6. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,358
    อลังการงานสร้าง..พระมหาเจดีย์ชัยมงคล จ.ร้อยเอ็ด

    [​IMG]

    พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่ในบริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม บนยอดภูเขาเขียว แนวเทือกเขาภูพาน อำเภอหนองพอก ใกล้กันมีหน้าผาสูงชันซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี ชาวบ้านเรียกว่า ผาน้ำย้อย

    พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ได้ รับการออกแบบให้เป็นศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลาง และภาคอีสาน เป็นการผสมผสานระหว่างพระปฐมเจดีย์ และพระธาตุพนม ออกแบบโดยกรมศิลปากร ตัวเจดีย์เป็นสีขาวตกแต่งลวดลาย ตระการตาด้วย สีทองเหลืองอร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศ ส่วนปลายยอดฉัตรทอง 9 ชั้น ใช้ทองคำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม เป็นพระเจดีย์ที่ใหญ่องค์หนึ่งของประเทศไทย มีความกว้าง 101 เมตร ความยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร สร้างในเนื้อที่ 101 ไร่ ใช้งบประมาณก่อสร้างจนถึงปัจจุบันกว่า 3,000 ล้านบาท ดำเนินการสร้างโดย “พระอาจารย์ศรี มหาวิโร” ซึ่งเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น สามารถขึ้นไปได้ถึงแค่ชั้น 5 ส่วนชั้นที่ 6 และชั้นที่ 7 เป็นองค์เจดีย์รูประฆัง และยอดฉัตรทอง ซึ่งแต่ละชั้นมีรายละเอียดดังนี้

    ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โอ่อ่า ผนังจารึกนามทานาธิบดีต่าง ๆ ใช้เป็นห้องประชุม บำเพ็ญบุญ มีรูปปั้นหลวงปู่ศรี มหาวีโร ผู้ก่อตั้ง

    ชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงโอ่อ่าเช่นกัน ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ ลวดลาย ไทยวิจิตรพิสดาร ใช้เป็นห้องประชุมสงฆ์ขนาดใหญ่ รองรับพระภิกษุสงฆ์ได้ 2,000-3,000 รูป

    ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานรูปพระณาจารย์ ปราชญ์ อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปัน โน 101 องค์

    ชั้นที่ 4 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัดวาอาราม สถานปฏิบัติสม ถะวิปัสสนา กรรมฐานที่หลวงปู่ศรี เคยบำเพ็ญธรรมม ด้านนอกจัดเป็นที่สามารถชมทัศนียภาพได้รอบทิศ

    ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

    ชั้นที่ 6 และ 7 เป็นองค์เจดีย์รูประฆังและยอดฉัตร ไม่สามารถขึ้นไปได้​

    ปฐมเหตุการสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล

    [​IMG]
    สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มกุฏราชกุมาร
    เสด็จพระราชดำเนินไป พระมหาเจดีย์ชัยมงคลและกราบนมัสการพระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)

    ในวันรวมกฐินสามัคคีที่วัดประชาคมวนาราม(วัดป่ากุง)ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๒ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ หลวงปู่ศรี มหาวีโรได้ปรารภท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์ว่า ท่านได้รับพระบรมสารีริกธาตุ มาเป็นกรณีย์พิเศษและท่านได้พิจารณาเห็นว่าครูบาอาจารย์สายอีสานผู้มีความรู้ระดับนักปราชญ์และปฏิบัติชอบระดับสัมมาปฏิบัติ ที่ได้ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติและพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นที่ภาคอีสานมีเป็นจำนวนมาก น่าจะสร้างถาวรวัตถุสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อัฐิธาตุ รูปเหมือนของครูบาอาจารย์เหล่านั้น เพื่อเป็นศูนย์กลางและแหล่งความรู้แก่พระภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชนผู้มาศึกษาปฏิบัติบำเพ็ญสมถวิปัสสนากรรมฐานแก่ที่มาจากทิศต่างๆให้ได้รับความสะดวกที่จะศึกษาหาความรู้และจัดเป็นสถานที่สักการบูชา บำเพ็ญบุญกุศลของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ต่อมาได้มีการประชุมพระสังฆาธิการภาค ๘-๙-๑๐-๑๑ (ธรรมยุต) โดยมีสมเด็จพระมหามุนีวงค์ (สนั่น จันทปชฺโชโต) เป็นองค์ประธาน หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้นำเรื่องที่ได้รับพระบรสารีริกธาตุ เข้าปรึกษาหารือในที่ประชุม ที่ประชุมได้มีมติให้หลวงปู่ศรี มหาวีโรเป็นผู้นำในการก่อสร้าง และได้ลงความเห็นร่วมกันว่า ควรจะก่อสร้างเจดีย์ที่ผาน้ำย้อย บนภูเขาเขียว ในเขตอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ประชุมมีเหตุผลร่วมกันว่า เมื่อมีการก่อสร้างเจดีย์ขึ้น หมู่คณะทั้งหมดในภาคอีสาน ๔ ภาค เจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาค และเจ้าอาวาสทุกวัดจะได้ใช้ประโยชน์จากสถานที่แห่งนี้ร่วมกัน ซึ่งมีความเห็นพร้อมให้เอาเจดีย์ที่ผาน้ำย้อยนี้เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาในภาคอีสาน เจดีย์นี้ก็เกิดขึ้นด้วยการลงมติของหมู่คณะสงฆ์ทั้งหมดในภาคอีสาน (หลวงปู่เองเคยปรารภไว้ว่า "คนคงไม่เข้าใจกันคงนึกว่าทางวัดสร้างเองแต่เรานั้นสร้างในนามของหมู่คณะนะ ไม่ทำเฉพาะในด้านพระพุทธศาสนาก็ทั่วกันไปหมด ใครได้สร้างประโยชน์ส่วนใหญ่ส่วนรวม จะเป็นบันไดหรือหนทางนำไปสู่ความสุขความเจริญ ผลของการกระทำทั้งหลายนี้มันจะกลับมาสู่ตัวเราทั้งนั้น ไม่ได้หนีไปทางอื่นทำให้คนอื่นจริงอยู่แต่มันจะกลับมาหาเรา การกระทำทุกอย่างก็เป็นผลประโยชน์แก่ตัวของเราเองนั่นแหละ ท่านไปอยู่ให้เกิดบุญกุศลเฉยๆ ฉะนั้นการกระทำเหล่านี้จะเป็นบันไดที่จะเดินไปสู่ความสุขชั้นสูง)

    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหามุณีวงศ์(สนั่น จันทปชฺโชโต)จึงนำความขึ้นกราบทูล สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกๆ ได้มีพระบัญชาให้หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) เป็นผู้นำในการหาสถานที่และการก่อสร้าง ในวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๓๐ ท่านได้ประชุมคณะกรรมการก่อสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานฝ่ายบรรพชิต และพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในการก่อสร้างเจดีย์และให้เรียกเจดีย์นี้ว่า"พระมหาเจดีย์ชัยมงคล" และได้มอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการออกแบบ กรมศิลปากรก็ได้ออกแบบมาให้ในลักษณะของศิลปผสมผสานของศิลปอีสานและศิลปไทยของภาคกลาง และได้เพิ่มเติมตามแนวคิดของ ดร.ภูเทพ สิทธิถาวร ซึ่งขณะนั้นยังบวชอยู่ว่าเจดีย์นี้ควรมีลักษณะภายในโล่งเพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ภายในองค์เจดียืได้ดังที่ได้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ สำหรับ ดร.ภูเทพ สิทธิถาวร ท่านนี้ คุณย่าจินตนา ไชยกูล ผู้เป็นมารดาซึ่งต่อมาได้เป็นมหาศรัทธานำพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่าร่วมกันถวายเงินสร้างองค์พระมหาเจดีย์ เป็นผู้นำมาบวชกับหลวงปู่ศรี มหาวีโร และดร. ภูเทพฯ ก็ได้เทศนาโปรดมารดา จนคุณย่าจินตนา ไชยกูล ได้มองเห็นธรรม และได้ถวายปัจจัยกับหลวงปู่ศรี มหาวีโร 200,000 บาท

    [​IMG]

    เพื่อเป็นการหาทุนในการก่อสร้างเบื้องต้น วัดต่างๆในสายธรรมยุตทั่วทั้งภาคอีสานจึงจัดให้มีการทอดผ้าป่าพระมหาเจดีย์ขึ้น โดยเป็นการร่วมใจของวัดและพุทธศาสนิกชนทั่วภาคอีสาน ๑๙ จังหวัด โดยจัดเป็นกองผ้าป่า ๘๔,๐๐๐ กองๆละ ๑,๐๐๐ บาท ได้ปัจจัยรวมทั้งสิ้น ๘๔ ล้านบาทเป็นทุนในการเริ่มต้นก่อสร้าง และได้จัดพิธีทอดผ้าป่าเป็นประเพณีตลอดมาทุกๆปี พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้าง โดยทำพิธีวางศิลาฤกษ์และลงเสาเอกในวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๑ พระมหาเจดีย์ชัยมงคลเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ มีความกว้าง ๑๐๑ เมตรยาว ๑๐๑ เมตร ความสูง ๑๐๙ เมตร สร้างในบริเวณเทือกเขาเขียวซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๑๒๔,๐๐๐ ไร่ โดยมีทางขึ้นอยู่ที่บ้านท่าสะอาด ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด เฉพาะวัดเจดีย์ชัยมงคล มีเนื้อที่ ๑๐๑ ไร่ แวดล้อมด้วยธรรมชาติที่สวยงาม บนหลังเขาซึ่งเป็นเทือกเขาเขียวมีสภาพเป็นป่าดงดิบ เต็มไปด้วยป่าไม้นานาพันธุ์ รอบภูเขามีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชันคล้ายกำแพงธรรมชาติโอบล้อมไว้ วัดเจดีย์ชัยมงคล มีกำแพงล้อมวัดยาว ๓,๕๐๐ เมตร ซึ่งสมควรเรียกว่ากำแพงแห่งศรัทธา เพราะเป็นกำแพงที่รวมศรัทธาของพุทธศาสนิกชนแทบจะทุกหมู่เหล่า มาร่วมแรงและร่วมใจกันก่อสร้างถวายบูชาคุณหลวงปู่ศรี มหาวีโรโดยมีพระครูปลัดทองอินทร์ กตปุญฺโญ (หลวงพ่ออินทร์) เป็นผู้นำในการดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งเริ่มลงมือก่อสร้างในปี พ.ศ.๒๕๔๐ และมาแล้วเสร็จในปีพ.ศ.๒๕๔๖ ลักษณะของกำแพงเป็นกำแพงซึ่งก่อด้วยอิฐมวลผสมซึ่งใช้หินลูกรังบดผสมกับปูนซีเมนต์อัดเป็นก้อนอิฐ โดยใช้แรงงานของและความคิดของพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้ผลิตก้อนอิฐทุกๆก้อน และพุทธศาสนิกชนซึ่งมีความศรัทธาในองค์หลวงปู่ศรี มหาวีโร เป็นผู้มีส่วนร่วมในการผลิตและร่วมในการก่อสร้างโดยไม่คิดค่าตอบแทนเลย เป็นพลังศรัทธาของมวลชนทุกหมู่เหล่าอย่างแท้จริง เมื่อดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างของอาคารภายนอกและภายในองค์พระมหาเจดีย์แล้วเสร็จ ก็ได้ทำพิธียกยอดฉัตรทองคำซึ่งมีน้ำหนักทองคำรวมทั้งสิ้น ๔,๗๕๐ บาทขึ้นประดิษฐานไว้บนยอดของพระมหาเจดีย์ ต่อมาเมื่อทำการตกแต่งภายในของพระมหาเจดีย์ชั้นที่ ๖ แล้วเสร็จ ก็ได้ทำพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ขึ้นประดิษฐานไว้ ณ ชั้นที่ ๖ ซึ่งพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานอยู่ ณ ชั้น ๖ นั้น มีถึง ๓ องค์ด้วยกัน องค์ที่ ๑ เป็นองค์ที่ พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) ได้รับมาเป็นกรณีย์พิเศษ องค์ที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราชของประเทศศรีลังกาได้มอบให้ โดยพระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) ได้เดินทางไปอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกาด้วยตัวของท่านเอง องค์ที่ ๓ สมเด็จพระสังฆราชของประเทศศรีลังกาได้อัญเชิญมามอบให้ด้วยพระองค์เอง ในวันที่มีการทำพิธีสมโภชพระบรมสารีริกธาตุที่วัดถ้ำผาน้ำทิพย์ (วัดผาน้ำย้อย) และอัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ ณ ชั้นที่ ๖ ด้วยพระองค์เองด้วย นอกจากพระบรมสารีริกธาตุทั้ง ๓ องค์แล้วยังได้อัญเชิญพระอัฐิธาตุของครูบาอาจารย์ซึ่งสำเร็จเป็นพระอรหันต์ กระดูกกลายเป็นพระธาตุเป็นแก้วใสสีต่างๆ ประดิษฐานไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้เคารพกราบไหว้เพื่อเป็นศิริมงคลกับชีวิตสืบต่อไปอีกนานเท่านาน องค์พระมหาเจดีย์ชัยมงคลเป็นเจดีย์องค์ใหญ่รายล้อมด้วยเจดีย์เล็กทั้ง ๘ ทิศ เรียงรายด้วยวิหารคดรอบองต์พระมหาเจดีย์ไว้อีกชั้นหนึ่ง รูปทรงพระมหาเจดีย์เป็นรูปทรง ๘ เหลี่ยมแบ่งเป็น ๖ ชั้นตามลำดับ ดังนี้ ชั้นที่ ๑ เป็นชั้นเอนกประสงค์มีรูปเหมือนองค์หลวงปู่ยืนเด่นเป็นประธานอยู่กลาง เป็นห้องโถง กว้างขวาง โอ่อ่า สำหรับการประชุมต่างๆ รอบฝาผนังด้านในจารึกนามผู้บริจาคสมทบทุนก่อสร้าง ชั้นที่ ๒ จัดเป็นห้องประชุมสัมมนาขนาดใหญ่สำหรับประชุมปฏิบัติธรรมพระสังฆาธิการ หรือกาประชุมสัมมนาทั่วไป ชั้นที่ ๓ เป็นอุโบสถสังฆกรรม ประชุมสงฆ์ เป็นที่ประดิษฐานพระประธาน พระคณาจารย์ ปราชญ์อีสานในอดีต ซึ่งเป็นรูปเหมือนสลักด้วยหินทราย ๑๐๑ องค์ ชั้นที่ ๔เป็นสถานที่ชมวิวรอบพระมหาเจดีย์ ด้านบนกรอบซุ้มหน้าต่างมีพระพุทธรูป ๔ปางยืนประจำทิศต่างๆ ชั้นที่ ๕ เป็นพิพิธภัณฑ์สถาน ไว้เก็บอัฏฐะบริขารของหลวงปู่ซึ่งขณะนี้กำลังรวบรวมอยู่ ชั้น ๖ อยู่เหนือสุดบันได ๑๑๙ ขั้น เป็นห้องโถงรูประฆังทองคำ ๘ เหลี่ยม ๘ทิศ ตรงกลางห้องเป็นเจดีย์เล็กเป็นที่ประดิษฐานองค์พระบรมสารีริกธาตุองค์มิ่งมหามงคลของเจดีย์

    [​IMG]

    ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ทางพระมหาเจดีย์ชัยมงคลได้รับอนุญาตให้ก่อตั้งวัดลงประกาศวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๘ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙ ณ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ การก่อสร้างพระมหาเจดีย์ลุล่วงไปกว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว และได้เปิดให้สาธารณชนเข้ามาสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุได้ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ เป็นต้นมาการก่อสร้างที่ผ่านๆมาได้ใช้งบประมาณไปหลายล้านบาท โดยได้รับมาจากการบริจาคตามจิตศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจากหลายประเทศ ปัจจุบันสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้มีคำสั่งแต่งตั้งพระครูปลัดทองอินทร์ กตปุญฺโญ (หลวงพ่ออินทร์) เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งขณะนี้ท่านเป็นผู้นำคณะศิษยานุศิษย์ในการก่อสร้างพระมหาเจดีย์แทนองค์หลวงปู่ให้แล้วเสร็จเพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา อาจาริยบูชา ตามเจตนารมณ์ขององค์หลวงปู่ที่พาดำเนินมา เวลานี้หลวงปู่เองยังอาพาธอยู่ด้วยโรคชราโดยคณะแพทย์ได้ถวายการรักษาธาตุขันธ์ท่านอยู่ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบันนี้ได้มีบุคคลบางกลุ่มแอบอ้างสร้างวัตถุมงคลเขียนชื่อของหลวงปู่ออกมามากมายว่าเป็นรุ่นนั้นรุ่นนี้ที่จริงแล้วไม่มีในปฏิปทาของครูบาอาจารย์กรรมฐานแต่เป็นการสร้างกันเอง

    หลวงปู่ไม่เคยอนุญาตให้สร้างวัตถุมงคลหรือสร้างรูปเหรียญของท่านออกมาเพื่อหาเงินมาสร้างเจดีย์แต่อย่างใดส่วนมากมักจะแอบอ้างว่าเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดท่านเป็นคนสร้างขึ้นมา กลุ่มผู้ที่อ้างตนเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่บางกลุ่มยังไม่หยุดการกระทำดังกล่าวแทนที่จะเร่งรีบประพฤติปฏิบัติตามปฏิปทาคำสอนของท่านกลับเร่งผลิตวัตถุมงคลออกมาดังกล่าว เพื่อรักษาระเบียบวัตรปฏิบัติปฏิปทาอันดีงามขององค์พ่อแม่ครูบาอาจารย์แล้ว หากใครที่ยังเคารพศรัทธาต่อองค์หลวงปู่ก็ขอให้หยุดการกระทำที่นำความเสื่อมเสียมาสู่คณะสงฆ์ส่วนใหญ่ดังกล่าวซึ่งที่ประชุมสงฆ์วัดประชาคมวนารามได้มีการประชุมใหญ่ในงานกฐินสามัคคีเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ก็ได้มีมติสั่งห้ามออกไปแล้วก็ขอให้ความเคารพต่อมติสงฆ์ด้วย เพื่อความสะดวกเรียบร้อยและถูกต้องหากผู้มีจิตศรัทธาต้องการบริจาคโปรดติดต่อที่เจ้าอาวาสวัดเจดีย์ชัยมงคลหรือใส่ที่ตู้บริจาคภายในบริเวณองค์พระมหาเจดีย์ชัยมงคลเท่านั้น และเพื่อป้องกันมิจฉาชีพที่จะแอบแฝงเข้ามา อย่าได้หลงเชื่อหากมีผู้แอบอ้างไปตั้งตู้บริจาคตามสถานที่ต่างๆหรือขอรับบริจาคโดยไม่มีการขออนุญาตจากทางวัดได้ เพราะทางกรรมการการก่อสร้างของวัดไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดหรือคณะใดออกไปตั้งตู้รับบริจาคหรือรับบริจาคนอกสถานที่ ส่วนการบริจาคที่ถูกต้องนั้นจะได้รับใบอนุโมทนาจากวัดพระเจดีย์ชัยมงคลที่มีลายเซ็นต์เจ้าอาวาสวัดซึ่งจะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามกฎหมายเท่านั้น หากมีผู้ใดกระทำการรับบริจาคโดยไม่ได้ขออนุญาตจากทางวัดดังกล่าว ทางกรรมการของวัดเจดีย์ชัยมงคลจะดำเนินการตามกฎหมายทันที

    ข้อปฏิบัติในการขึ้นไปนมัสการองค์พระมหาเจดีย์
    1. ถอดหมวก ถอดรองเท้า
    2. อย่าส่งเสียงดัง ห้ามนำสัตว์เลี้ยงขึ้นบนเจดีย์
    3. กรุณาอย่าจับต้องลวดลายต่าง ๆ
    4. ไม่นำอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ขึ้นไปรับประทานบนพระมหาเจดีย์
    5. กรุณาทิ้งขยะในที่เตรียมไว้ให้
    6. ห้ามจูดธูป-เทียนในองค์พระมหาเจดีย์
    7. กรุณาแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
    8. ห้ามสูบบุหรี่ และเสพของมึนเมา
    การเดินทาง

    วัดเจดีย์ชัยมงคล (พระมหาเจดีย์ชัยมงคล) ห่างจากตัวจังหวัดร้อยเอ็ด 62 ก.ม.ไปทางอำเภอโพนทองและอำเภอหนองพอก ต่อไปยังบ้านท่าสะอาด ตำบลผาน้ำย้อย และขึ้นเขาเขียวไปอีก 5 กม. ก็จะถึงวัดเจดีย์ชัยมงคลสถานที่ตั้งของ พระมหาเจดีย์ชัยมงคล

    ขอบคุณข้อมูลจาก .. ร้อยเอ็ด ดอท บิส - พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  7. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,358
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  8. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,358
    [​IMG]

    มหาเจดีย์ชัยมงคล จังหวัดร้อยเอ็ด กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างแต่ยิ่งใหญ่อลังการมาก ๆ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  9. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,358
    [​IMG]

    ลวดลายสถาปัตยกรรมงดงาม..แปลกตา

    [​IMG]

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  10. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,358
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  11. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,358
    บรรยากาศเมื่อมองลงมาด้านล่าง..

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  12. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,358
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  13. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,358
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  14. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,358
    ชั้นบนสุดเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุต่าง ๆ

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  15. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,358
  16. yommatood

    yommatood เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    624
    ค่าพลัง:
    +1,298
    อนุโมทนาสาธุ
    พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ช่างงดงามอลังการงานสร้าง หากบุญพาวาสนามี คงได้ไปกราบสักการะ
     
  17. เพพัง

    เพพัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,756
    ค่าพลัง:
    +8,250
    ในรูปยังขนาดนี้ ของจริงจะขนาดไหน มหาบารมีจริง ๆ อนุโมทนาครับ
     
  18. anoldman

    anoldman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    1,950
    ค่าพลัง:
    +4,558

    สาธุๆ


    งามจริงๆครับ ดูทางเน็ตยังไงก็ยังดูไม่ทั่วสักที สงสัยต้องไปดูที่ร้อยเอ็ด จะได้ทั่ว ^_^

    ขออนุโมทนาครับ __^/|^__


    ______________________________
    hello9
    กลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ สายอีสาน
    กลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ สายอีสาน มารายงานตัวกันหน่อยครับ

    โครงการถวายพระบรมสารีริกธาตุทั่วทุกวัดฯ ทั่วภาคเหนือตอนล่าง
    โครงการถวายพระบรมสารีริกธาตุทั่วทุกวัด สำนักสงฆ์สำนักปฏิบัิติธรรม ทั่วภาคเหนือตอนล่าง<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  19. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,358
    พระเจดีย์หินทราย (บรมพุทโธ เมืองไทย) ที่ร้อยเอ็ด

    [​IMG]

    ที่มาของการก่อสร้างเจดีย์หิน คราวเมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้ไปปฏิบัติศาสนกิจ จำพรรษาที่ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อ พ.ศ.2531 ได้ไปนมัสการเจดีย์โบโรโดร์(บรมพุทโธ) ที่เกาะชวาอินโดนีเซีย ได้เห็นความใหญ่โตมโหฬารงดงาม

    หลวงปู่เกิดความประทับใจมาก เมื่อกลับมาเมืองไทยก็ได้นำเรื่องราวที่ได้ไปพบมาเล่าให้ศิษยานุศิษย์ฟัง และดำริว่าจะสร้างไว้ที่เมืองไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2535 หลวงปู่ได้สั่งให้พระอาจารย์มานะอตุโลนำพระอาจารย์ศักดิ์ชัย อภิวัฒโน และนายอนุวัตร บูรณะกร(เป็ด) เดินทางไปดูรูปแบบเจดีย์โบโรโดร์(บรมพุทโธ) สถาปัตยกรรมชั้นนำ 1 ใน 7 ของโลก ซึ่งออกแบบสร้างสรรค์โดยช่างจากประเทศอินเดีย มีภาพแกะสลักที่แสดงถึงเหตุการณ์ต่างๆ ในสมัยพระพุทธองค์และแสดงเหตุการณ์เกี่ยวกับประวัติของพระพุทธเจ้าตั้งแต่ปางต่างๆ ในอดีตชาติ และภาพแกะสลักนูนสูง นูนต่ำที่แสดงตำนานทางศาสนาอย่างสมบูรณ์แบบด้วยฝีมือที่ประณีตละเอียดอ่อนมาก เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างในการก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2547

    นับเป็นพุทธสถานที่มีค่าสำหรับนักท่องเที่ยว และชาวพุทธที่จะมาชมเป็นบุญตา และกราบไหว้บูชา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง

    แหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ ข่าวสด วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5712
    คอลัมน์ สดจากหน้าพระ โดย ชัยสิทธิ์ ธนสีลังร หน้า 30
     
  20. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,358
    [​IMG]
    เจดีย์หินทราย วัดป่ากุง (บรมพุทโธร้อยเอ็ด)
    [​IMG] [​IMG]

    แรงบัดดาลใจจาก บรมพุทโธ มรดกโลกที่อินโดนีเซีย ทำให้หลวงปู่ศรี พระเกจิชื่อดังแห่งภาคอีสาน ได้สร้าง แบบจำลองความยิ่งใหญ่นี้ ไว้ที่วัดป่ากุง ร้อยเอ็ด โดยบรรดาศิษยานุศิษย์ ร่วมกันก่อสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ครบรอบ 90 ปี พรรษา 60 พระเทพวิสุทธิมงคล “หลวงปู่ศรี มหาวีโร” จำลองแบบจากเจดีย์โบโรบูโด(บรมพุทโธ) ที่เกาะชวา อินโดนีเซีย

    สร้างเป็นเจดีย์รูปทรงแปดเหลี่ยม กว้าง 101 เมตร ยาว101 เมตร(อันนี้คงกว้างxยาวตามชื่จังหวัด) สูง109 เมตร แบ่งเป็น7 ชั้น ตบแต่งด้วยหินทรายธรรมชาติ จากปากช่อง นครราชสีมา ดูคล้ายเมืองสวรรค์ ทั้ง 7 ชั้นตระการตา


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=383>[​IMG]
    [​IMG]




    </TD><TD>ชั้นที่ 1 เป็นภาพแกะสลักหินทรายเหลืองนูนต่ำ เล่าเรื่องราวซึ่งเป็นพระชาติสุดท้ายที่ พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญทานบารมี
    ชั้นที่ 2-3 เป็นภาพแกะสลักหินทรายเหลืองนูนต่ำ เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติพระพุทธเจ้า

    ชั้นที่ 4 ภาพแกะสลักหินทรายเหลืองนูนต่ำรูปชัยมงคลคาถา
    ชั้นที่ 5 ผนังทรงกลมฐานรององค์เจดีย์ เป็นภาพสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน
    ชั้นที่ 6 เป็นองค์เจดีย์ราย 8 องค์ และองค์เจดีย์ประธาน 1 องค์ และโดยเฉพาะ
    ชั้นที่ 7 ยอดเจดีย์ทองคำ น้ำหนักถึง 101 บาท ทำกายกยอดเจดีย์เมื่อ พ.ศ.2547
    มีพระรายล้อมเจดีย์ทั้งหมด 136 องค์ มาจากอินโดนีเซีย




    </TD></TR></TBODY></TABLE>ภายในเจดีย์สามารถเข้าชมได้แบ่งเป็น2ชั้น (ด้านใน) โดยชั้นแรก จะเป็นห้องโถงโล่ง ที่พังบอกเล่า ประวัติหลวงปู่ศรี มหาวีโร ชั้นที่สองเป็นที่ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่ประเทศศรีลังกาส่งมาให้หลวงปู่โดยตรง

    [​IMG] [​IMG]

    ที่มาของการก่อสร้างเจดีย์หิน

    คราว เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้ไปปฏิบัติศาสนกิจ จำพรรษาที่ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อ พ.ศ.2531 ได้ไปนมัสการเจดีย์โบโรโดร์(บรมพุทโธ) ที่เกาะชวาอินโดนีเซีย ได้เห็นความใหญ่โตมโหฬารงดงาม หลวงปู่เกิดความประทับใจมาก เมื่อกลับมาเมืองไทยก็ได้นำเรื่องราวที่ได้ไปพบ มาเล่าให้ศิษยานุศิษย์ฟังและดำริว่าจะสร้างไว้ที่เมืองไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2535 หลวงปู่ได้สั่งให้พระอาจารย์มานะอตุโลนำพระอาจารย์ศักดิ์ชัย อภิวัฒโน และนายอนุวัตร บูรณะกร(เป็ด)

    [​IMG] [​IMG]

    เดินทางไปดูรูปแบบเจดีย์โบโรโดร์(บรมพุทโธ) สถาปัตยกรรมชั้นนำ 1 ใน 7 ของโลก ซึ่งออกแบบสร้างสรรค์โดยช่างจากประเทศอินเดีย มีภาพแกะสลักที่แสดงถึงเหตุการณ์ต่างๆ ในสมัยพระพุทธองค์และแสดงเหตุการณ์เกี่ยวกับ ประวัติของพระพุทธเจ้าตั้งแต่ ปางต่างๆ ในอดีตชาติ และภาพแกะสลักนูนสูง นูนต่ำที่แสดงตำนานทางศาสนา อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยฝีมือที่ประณีตละเอียดอ่อน มาก เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างในการก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2547


    การเดินทาง

    สำหรับเจดีย์หินนี้ ตั้งอยู่ที่วัดป่ากุง อยู่ห่างจาก ตัวเมืองร้อยเอ็ดไปตามถนนสายร้อยเอ็ด-วาปีปทุม 20 กิโลเมตร เส้นทางจากตัวเมืองร้อยเอ็ด ตรงมาทางที่จะไปวาปีปทุม ประมาณ 7 -8 กม. เลยสถานีใบยาไทรงาม 2 (ขวามือ) จะมีทางเข้าไป ประมาณ 2 กิโลเมตร

    ชมภาพเพิ่มเติมที่ :
    http://www.muangthai.com/thaidata/ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ/ร้อยเอ็ด/บรมพุทโธร้อยเอ็ด<SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT>
    <SCRIPT>window.google_render_ad();</SCRIPT>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...