ถามเรื่องสมาธิคับถ้าเราเจริญสติเราจะสามารถเกิดณานได้ปาวคับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย 123456, 28 ตุลาคม 2006.

  1. 123456

    123456 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +158
    ถ้าเรารู้ตัวตรอดเวลาเราสามารถเกิดณานได้ปาวคับ
    เวลาฝึกกรรมฐาน40 ณาน4 มีอารมเหมือนกันหมดปาวคับ
    เวลาเราฝึกอานาปาสามารถเกิดทิพย์จักขุได้ปาวคับ
     
  2. 12punna

    12punna เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +3,198

    ญาน จะก่อเกิดได้ เมื่อ สมาธิถึงขั้น ระดับหนึ่งในแต่
    ระดับ เมื่อ เรารู้สึกตัวตลอด ไม่ว่า จะ ลมหายใจ เข้าออก
    ก้าวเท้า ซ้าย ขวา หรือ อากัปกิริยา ทุกอย่าง ก็ถือว่า เรามี สติ
    อยู่ตลอด เมื่อมี สติแล้ว สมาธิก็จะ ยกระดับ ขึ้นไปเรื่อยๆๆๆ
    จนก่อเกิด ญาณ 1 2 3 4 ไปเรื่อยๆๆ
     
  3. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,803
    ค่าพลัง:
    +18,983
    แฮะๆ

    ไม่ทราบครับ อยากรู้เหมือนกัน

    แต่ว่า สติเนี่ยสำคัญนะครับตามตำราบอก ... เราต้องสังเกตเองเรื่อยๆ

    ผมว่าสตินี่แหละทำให้เรารู้แจ้งในฌานต่างๆได้
     
  4. ภาวนา

    ภาวนา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +49
    ฌาน คือ อารมณ์ ชินในกุศลธรรมค่ะ เราสามารถทรงฌานได้ทุกขณะ ไม่ต้องไปหลับตานั่งขัดสมาธิตั้งท่า สามารถทรงฌานได้ในกองกรรมฐานต่างๆ ตั้งแต่ อุปจารสมาธิ ถึง ฌาน 4 เพราะฉะนั้น ฌานสามารถเกิดขึ้นได้ในเวลาที่เรารุ้ตัวตลอดเวลา มีสติสัมปชัญญะ การเจริญสติตลอดเวลา ก็เป็นการ ทรงฌาณ ช่วยให้ เราก้าวไปในสมาธิในระดับต่างๆๆ อย่างรวดเร็วขึ้นเวลาหลับตานั่งสมาธิแบบลึก พี่แนะนำให้ จับรูปพระ องค์ที่ชอบใจ เป็นพุทธานุสติกรรมฐาน ไว้ตลอดเวลาค่ะ ขณะที่น้อง เจริญสติโดยกำหนดลมหายใจหรือรู้อากัปกิริยาไปด้วย มีอานิสงค์พิเศษค่ะ และ ช่วยในเรื่องของ ทิพย์จักขุด้วยค่ะ

    ในฝึกกรรมฐาน40 ตามที่ถามมา อานาปาสติ คือกรรมฐานพื้นฐานที่คลุมกรรมฐานกองอื่น และเป็นกองเดียวที่มีผลถึงฌาณ 4 จะปฎิบัตกรรมฐานกองอื่น จำเป็นต้องกำหนดลมหายใจก่อนค่ะ หรือ ฝึกอานาปาสติพร้อมๆ ไปกับการฝึกกรรมฐานกองอื่นไปด้วย เช่น กำหนดลมหายใจไปให้ถึงขั้นสมาธิสูงสุดที่สามารถทำได้ และถอยจิต มาพิจารณา กายคานุสสติกรรมฐาน หรือการพิพิจารณาว่า ร่างกายเรามีแต่ความโสโครก น่ารังเกียจ เป็นต้น เพราะฉะนั้น ฌาณ 4 ในกรรมฐาน มี อารมณ์เดียวเหมือนกันหมด คือเหลือแค่อารมณ์ เอกัคคตา หรือ อารมณ์ใจเป็นหนึ่งเดียว

    การฝึกทิพย์จักขุญาณ นั่น เราต้องฝึกอานาปาสติให้ได้ถึง ฌาน สี่ค่ะ
     
  5. มโหสถผู้เจริญ

    มโหสถผู้เจริญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2006
    โพสต์:
    251
    ค่าพลัง:
    +851

    การเข้าฌานมีคุณ ๒๘​
    สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงระลึกถึงคุณ ๒๘ นั้น ก็ทรงเข้าฌาน คุณแห่งการเข้าฌาน ๒๘ นั้น คือ
    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=7 width=547 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="50%">
    ๑. รักษาตัว ​
    </TD><TD vAlign=top width="50%">
    ๒. ทำให้อายุเจริญ ​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%">
    ๓. ให้เกิดกำลัง ​
    </TD><TD vAlign=top width="50%">
    ๔. ปิดเสียซึ่งโทษ ​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%">
    ๕. กำจัดเสียซึ่งสิ่งที่ไม่ใช่ยศ ​
    </TD><TD vAlign=top width="50%">
    ๖. ทำให้เกิดยศ ​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%">
    ๗. กำจัดเสียซึ่งความไม่ยินดีในธรรม ​
    </TD><TD vAlign=top width="50%">
    ๘. ทำให้เกิดความยินดีในธรรม ​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%">
    ๙. กำจัดเสียซึ่งภัย ​
    </TD><TD vAlign=top width="50%">
    ๑๐. กระทำให้เกิดความกล้าหาญ ​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%">
    ๑๑. กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน ​
    </TD><TD vAlign=top width="50%">
    ๑๒. ทำให้เกิดความเพียร ​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%">
    ๑๓. กำจัดเสียซึ่งราคะ ​
    </TD><TD vAlign=top width="50%">
    ๑๔. ระงับเสียซึ่งโทสะ​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%">
    ๑๕. กำจัดเสียซึ่งโมหะ ​
    </TD><TD vAlign=top width="50%">
    ๑๖. กำจัดเสียซึ่งมานะ ​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%">
    ๑๗. ทิ้งเสียซึ่งวิตก ​
    </TD><TD vAlign=top width="50%">
    ๑๘. ทำจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%">
    ๑๙. ทำให้จิตรักในที่สงัด ​
    </TD><TD vAlign=top width="50%">
    ๒๐. ทำให้เกิดร่าเริง ​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%">
    ๒๑. ทำให้เกิดปีติ ​
    </TD><TD vAlign=top width="50%">
    ๒๒. ทำให้เป็นที่เคารพ ​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%">
    ๒๓. ทำให้เกิดลาภ ​
    </TD><TD vAlign=top width="50%">
    ๒๔. ทำให้เป็นที่รักแก่ผู้อื่น ​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%">
    ๒๕. รักษาไว้ซึ่งความอดทน ​
    </TD><TD vAlign=top width="50%">
    ๒๖. กำจัดเสียซึ่งอาสวะแห่งสังขารทั้งหลาย ​
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="50%">
    ๒๗. เพิกถอนเสียซึ่งการเกิดในภพต่อไป ​
    </TD><TD vAlign=top width="50%">
    ๒๘. ให้ถึงซึ่งสามัญผลทั้งปวง​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  6. gun_sanguthai

    gun_sanguthai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +48
    เรื่องนี้ผมก็สงสัยเหมือนคุณนะครับ เท่าที่ผมศึกษา ได้ยิน มาจากครูอาจารย์ ท่านว่า
    ปัญญา เกิดจาก ฌาน (ไม่แน่ใจว่าญานหรือเปล่า ขออภัย) และ
    ฌานเกิดจาก สมาธิ และ
    สมาธิเกิดจากสติ
    สติเกิดจากการเพียรระลึกรู้สึกทางกาย หรือทางใจ สลับกันไปจนบอกไม่ได้ว่าวันหนึ่งเรามีสติระลึกได้กี่ครั้ง
    ความเพียรระลึกรู้สึกตัวทางกาย และใจ เกิดจากความเชื่อในคำสอน
    สติยิ่งแก่กล้า ก็ยิ่งทำให้เป็นสมาธิได้ง่าย
    ผมเองเวลานั่งสมาธิก็ไม่เอาไหนเลย เพราะมีสติในการควบคุมกาย และใจมีน้อย จิตจึงรวมและสงบได้ยาก
    กว่าจะรวมได้บางทีหลุด และหลงไปกับภาพต่างๆที่เป็นความจำ สัญญา และสิ่งที่กังวลใจในแต่ละวัน พอภาพเกิด การปรุงแต่งนึกคิดก็เกิด
    จิตก็ไม่รวม กว่าจะรวมได้ ก็รักษาไว้ให้สงบได้ไม่นาน นั่ง 10 ครั้งบางทีจะสงบ และรวมจิตได้เพียง2-3 ครั้งเท่านั้น ถ้าภาวนานะครับ
    แต่อาศัยการพิจารณาในธรรมข้อใดข้อหนึ่ง จิตจะรวมและสงบได้เร็วกว่ามาก เพราะการคิด เป็นเสมือนสติที่ให้เราระลึกตลอด
    แย่ตรงที่การพิจารณาในธรรมต่างๆ ไม่สามารถ
    ทำให้เกิดสมาธิขั้นสูงได้ แต่ผมก็คิดเสมอว่าได้น้อยดีกว่าไม่ได้
    เออ มีอีกอย่าง จากประสบการณ์ผมเลย สติคนเราจะแข็งแกร่งมาก หรือน้อย ให้ดูจากเรื่องที่เรากังวลในใจด้วยครับ
    เรื่องนี้มีพระองค์หนึ่งเคยบอกผมว่า มีเรื่องกังวลใจมาก ก็ทำสมาธิได้ยาก แล้วก็จริงครับ วันไหนกังวลมาก วันหนึ่งสติจะน้อย เพราะคอยคิดแต่เรื่องนั้น
    เผลอก็ออกไปเรื่องเดียวเรื่อยๆ
    มาลองคิดดู วันที่ผมทำสมาธิได้ดี จะมีแค่ 2 อารมณ์ คือ
    1. ใจไม่มีกังวลในงานที่ทำ หรืองานที่ทำไม่มีปัญญา
    2. เวลาโกรธ แล้ว เข้าสมาธิ จิตจะแรงมาก สามารถต่อคำภาวนาได้เป็นสายยาวไม่หลุด ไม่คิดฟุ้งก็ไม่ทราบว่าเป็นเพระาอะไรหมือนกัน
    เวลารวมจิตความโกรธหายไป และพอออกจากสมาธิโกรธต่อครับ แปลกมากๆ
    ท้ายนี้อะไรที่ผมเข้าใจผิด หรือเขียนคิดต้องขออภัย และขอโทษด้วยนะครับ
     
  7. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +1,937

    คนที่รู้ตัวตลอดเวลาได้ มีแต่ "พระอรหันต์" ครับ

    การรุ้ตัว หรือเจริญสติ ที่ถูกต้องนั้น เราไม่ต้องทำครับ แต่อาศัย "รู้" แทน

    จังหวะที่รู้ตัวนั้น จะเกิดสภาวะบางอย่างขึ้น ซึ่งแล้วแต่นักปฏิบัติจะเรียกมันว่าเป็นอะไรก็ได้
    เช่น "สะอาด สว่าง สงบ" "สติ" " รู้ตัว " " รู้สึกตัว " "พุทธะ" "หยุดปรุงแต่ง" ฯลฯ

    จำไว้เลยน่ะครับ วิปัสสนาของจริงๆแท้ๆของพระพุทธเจ้า ทำให้เกิดขึ้นไมได้น่ะครับ แต่เมื่อเราทำเหตุ-ปัจจัยที่เหมาะสมแล้ว วิปัสสนาจะเกิดขึ้นเอง ซึ่งถ้าเราทำวิปัสสนาให้มันเกิด เท่ากับว่าเราบังคับให้มันเกิดได้ ซึ่งตรงนี้ ขัดกับหลักอนัตตา

    ส่วนเรื่องการเจริญสติแล้วจะทำให้เกิดสภาวะของ ฌาณ นั้น สามารถเกิดขึ้นได้ครับ
     
  8. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +1,937
    สติเป็นเครื่องมือ ทีทำให้เราสามารถ "พ้นทุกข์" ครับ

    เรื่องที่น่าเศร้าเรื่องหนึ่ง....คือนักปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่มาไม่ถึงวิปัสสนา หรือการเจริญสติครับ
    เพราะสติตัวจริง ทำให้เกิดขึ้นไมได้ครับ มันนึกอยากจะเกิดก็เกิดขึ้นเอง ยิ่งเราเรียนรู้สภาวะธรรม"ตามจริง"ได้บ่อยๆ สติก็จะมีโอกาสเกิดขึ้นบ่อยตาม

    สมาธิ เราอาศัยการทำให้จิตใจเราตั้งมั่น ก็จะเกิดสภาวะของสมาธิตามกำลังแห่งความตั้งมั่น แต่สติทำไมได้เลย ต้องอาศัยการรู้ตามจริง ทิ้งการปรุงแต่งทุกอย่าง ก็จะเจอสติตัวจริงได้ครับ




    ส่วนเรื่องการรู้สภาวะธรรม หรือพวกฌาณต่างๆ ตรงนั้นถือเป็นของแถมเฉยๆ
     
  9. den_siam2523

    den_siam2523 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2006
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +2,267
    เหตุเกิด ปัจจัยย่อมเกิด ทำดีไปเถิดครับ เมื่อถึงจุดนึงท่านคงไม่อยากได้มัน หรือเปล่อยวางมัน...สาธุครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...