illuminati อยู่เบื้องหลังยุให้ ไทย-กัมพูชา ฆ่ากันเอง เพื่อ... (หลายคนไม่รู้ความจริงนี้)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Premsuda (May), 13 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ก็แล้วแต่จะคิดนะ เอาข้อมูลจากวิกิฯ มาเพิ่มให้ ความเห็นของเราตอนนั้นฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจอยู่ถ้าเกิดข้อพิพาทเราก็เสียเปรียบตลอด อาจกลายเป็นชนวนสู้รบเพื่อล่าอาณานิคมในตอนนั้นก็ได้ ถ้าทำเฉยๆเสีย เขาจะประท้วงจะเรียกร้องอะไร เราก็อย่าไปเต้นตามเขา ดึงเกมดึงเวลาไว้ให้นานที่สุด หาข้ออ้างไม่ขึ้นศาลโลกได้ยิ่งดี ถ้าเอาตัวรอดไปจนสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปเรามีการคานถ่วงดุลย์ขั้วมหาอำนาจได้ บางทีผลลัพธ์อาจจะออกมาดีกว่านี้ แต่อะไรๆ มันก็อาจไม่ง่ายอย่างที่เราคิดก็ได้ บางทีในตอนนั้นคณะผู้แทนไทยอาจจะทำได้ดีที่สุดแล้วก็ได้ บางทีอาจเข้าข่ายเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย ก็ได้ อาจต้องยอมเสียอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต เรื่องการเมืองและผลประโยชน์ระหว่างประเทศมันอาจลึกลับซับซ้อนเกินกว่าคนธรรมดาอย่างเราจะเข้าใจง่ายๆ

    และถ้าในครั้งต่อมาเราเฉยๆเสีย ไม่ร่วมมือเรื่องการยื่นขอมรดกโลก หรือคัดค้านไปเลย ก็ไม่รู้จะมีเรื่องแบบวันนี้ไหม ก็เดาไม่ถูกอยู่ดีเนอะ อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิดอยู่ดี

    คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    [​IMG]
    แผนที่ฝรั่งเศส ฉบับที่กัมพูชาส่งให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศใช้พิจารณา


    คดีปราสาทเขาพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทย ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2502
    คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย ซึ่งเห็นว่าศาลโลกตัดสินคดีนี้อย่างไม่ยุติธรรม เนื่องจากศาลโลกยึดติดอยู่บนแผนที่ฉบับเดียว โดยที่ศาลโลกมิได้มีการตรวจสอบสถานที่อย่างจริงจังตามข้อตกลงไทย-ฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม การตัดสินคดีครั้งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องอาณาเขตทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ในบริเวณดังกล่าวให้หมดไป และยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังต่อมาจนถึงปัจจุบัน


    [แก้] ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาในสมัยนั้น

    หลังจากกัมพูชาเป็นเอกราช ในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ประเทศไทยได้เป็นประเทศแรกที่ได้ให้การรับรอง จนมีการตั้งสำนักผู้แทนทางการทูตขึ้นที่กรุงพนมเปญ และสัมพันธภาพก็เจริญมาด้วยดีโดยตลอด จนกระทั่ง พ.ศ. 2501 เอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำกรุงลอนดอน ซัมซารี ได้เขียนบทความเกี่ยวกับสิทธิเหนือปราสาทเขาพระวิหาร ลงในนิตยสาร "กัมพูชาวันนี้ (le Combodge d'aujourd'hui ) " มีเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุบว่า "ไทยอ้างสิทธิเหนือวิหารนี้ โดยการใช้กำลังทหารเข้ายึดเอาพระวิหาร-อันเป็นการกระทำแบบฮิตเลอร์"<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.AA.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B8.84.E0.B8.94.E0.B8.B5_0-0>[1]</SUP> จากนั้นมาวิทยุและหนังสือพิมพ์ของกัมพูชาก็ได้พูดถึงเรื่องสิทธิเหนือปราสาทเขาพระวิหารนี้อยู่เรื่อย ๆ จนเกิดกระแส "ทวงเขาพระวิหารคืนจากไทย"<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.AA.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B8.84.E0.B8.94.E0.B8.B5_0-1>[1]</SUP> แต่ยังไม่รุนแรงนัก นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ปล้นสะดมทางชายแดนไทย-กัมพูชาเสมอ ๆ ทำให้รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้เสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผสมเพื่อดำเนินการตรวจสอบเส้นเขตแดน แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลกัมพูชา ทำให้ความสัมพันธ์เริ่มทรุดลงอย่างรวดเร็ว
    วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ประเทศจีนได้ประกาศรับรองกัมพูชา และสมเด็จนโรดมสีหนุได้เสด็จไปเยือนปักกิ่ง ซึ่งในสมัยนั้นอยู่ในช่วงระวังการแทรกซึมจากคอมมิวนิสต์ รัฐบาลไทยจึงประกาศภาวะฉุกเฉินในเขตท้องที่จังหวัดตราด, จันทบุรี, ปราจีนบุรี, สุรินทร์, บุรีรัมย์, ศรีสะเกษ และอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี เหตุการณ์จึงตึงเครียดหนักขึ้น
    วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2501 มีการเจรจาเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาขึ้นที่กรุงเทพ แต่ไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ วันที่ 7 กันยายน ปีเดียวกัน ประเทศไทยได้เดินขบวนประท้วงประเทศกัมพูชา และอ้างถึงกรรมสิทธิ์ของไทยเหนือเขาพระวิหาร นอกจากนี้ยังมีการโจมตีระหว่างสื่อไทยและกัมพูชากันอยู่เนื่อง ๆ จนกระทั่งวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 รัฐบาลกัมพูชาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย และความสัมพันธ์ก็เลวร้ายลงจนไปสู่การฟ้องร้องต่อศาลโลก
    [แก้] รายละเอียดของคดี

    [​IMG]
    แผนที่ A มาตราส่วน 1:10,000 เป็นแผนที่ที่เป็นทางการของไทย แสดงแนวเส้นเขตแดนฝรั่งเศส-สยามปี 1907 (Line 1) ซึ่งไทยได้โต้แย้งต่อศาลโลกมาตั้งแต่ปี 2505 กับแนวเส้นเขตแดน (Line 2) ที่ไทยใช้หลักสากลยึดถือแนวสันปันน้ำเป็นหลักในการแบ่งเส้นเขตแดนและได้อ้างสิทธิอันชอบธรรมเหนืออาณาบริเวณพื้นที่สีเขียว การยกผืนดินที่ตั้งปราสาทพระวิหารให้แก่กัมพูชากำลังจะสร้างความยุ่งยากให้แก่การกล่าวอ้างอธิปไตยของไทย


    [​IMG]
    แผนที่ B มาตราส่วน 1:200,000 แสดงภาพรวมที่ตั้งปราสาทพระวิหารและแนวเส้นเขตแดนตามแผนที่ของฝรั่งเศสเมื่อ 100 ปีก่อน (Line 1) กับเส้นเขตแดนที่ไทยกล่าวอ้าง (Line 2) โดยยึดสันปันน้ำตามหลักสากล ไทยยืนยันการกล่าวอ้างในเรื่องนี้ตลอด 46 ปีที่ผ่านมา


    [​IMG]
    หลังจากศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชาในเดือน มิ.ย.2505 ในเดือนถัดมาไทยก็ได้ยื่นบันทึกต่อศาลโลกพร้อมแผนที่ฉบับนี้แสดงที่ตั้งของปราสาทพระวิหารกับบริเวณโดยรอบและเส้นเขตแดนตามแนวสันปันน้ำที่ไทยสงวนที่จะกล่าวอ้าง ภาพล่างซ้ายแสดงให้เห็นว่าไทยยอมรับให้พื้นที่แก่ปราสาทที่กว้างที่สุดเพียง 100 เมตรเท่านั้น อาณาบริเวณข้างนอกเส้นปรุเป็นพื้นที่เขตสันปันน้ำ


    คดีนี้มีข้อเท็จจริงอยู่ว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2447 ถึง พ.ศ. 2451 ประเทศฝรั่งเศสมีฐานะเป็นรัฐผู้อารักขากัมพูชา ได้ทำสัญญากับประเทศไทยอยู่หลายฉบับ แต่มีสัญญาอยู่ฉบับหนึ่งที่เป็นต้นเหตุของปัญหานี้ คือ สัญญาซึ่งลงในวันที่ 13 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2447 มีความตกลงอยู่ว่า พรมแดนที่เป็นปัญหาให้ถือเอาสันปันน้ำเป็นเกณฑ์ในการแบ่งเขตแดน และให้แต่งตั้งคณะกรรมการปักบันเขตแดน เพื่อได้ทำการสำรวจบริเวณพื้นที่แถบนั้น<SUP class=reference id=cite_ref-icj_1-0>[2]</SUP>
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 ทางการไทยได้ขอให้ทางฝรั่งเศสทำแผนที่พรมแดน ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ขึ้นจำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้นเป็นแผนที่ที่ฝรั่งเศสลากเส้นเอาเขาพระวิหาร ซึ่งอยู่ในความครอบครองของประเทศไทย ไปอยู่ในฝั่งเขตแดนกัมพูชาของทางฝรั่งเศสด้วย โดยมิได้ยึดแนวสันปันน้ำเป็นเกณฑ์ (แผนที่นี้ต่อมาเรียกว่า "แผนที่ผนวก 1" (Annex I map))
    แม้กระนั้น ทางไทยกลับไม่ได้คัดค้านแผนที่นั้นภายในเวลาอันสมควร คณะกรรมการฝ่ายไทยไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เลย แม้จะไม่ได้แสดงการยอมรับ แต่ก็ไม่ได้ทำการคัดค้านว่าแผนที่ฉบับที่มีปัญหานั้นไม่ถูกต้อง ท่านเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นคือ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ตรัสขอบใจราชทูตฝรั่งเศสผู้นำส่งแผนที่นั้น และผู้ว่าราชการจังหวัดก็มิได้ทำการทักท้วง<SUP class=reference id=cite_ref-icj_1-1>[2]</SUP>
    ต่อมา มีการประชุมคณะกรรมการที่กรุงเทพ ฯ ในปี พ.ศ. 2452 โดยใช้แผนที่ผนวก 1 นี้เป็นหลัก ก็ไม่มีผู้คัดค้าน
    ปี พ.ศ. 2468 มีการจัดทำสนธิสัญญาระหว่างไทย-ฝรั่งเศส โดยมีการอ้างอิงถึงเขตแดนดังกล่าว และในการเจรจาสนธิสัญญาระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ณ กรุงวอชิงตัน เมื่อปี พ.ศ. 2490 รัฐบาลไทยไม่ได้ประท้วงประเด็นดังกล่าว<SUP class=reference id=cite_ref-icj_1-2>[2]</SUP> นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2473 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จไปเขาพระวิหาร โดยมีผู้สำเร็จราชการฝรั่งเศสรับเสด็จในฐานะทรงเยือนจังหวัดหนึ่งของกัมพูชา<SUP class=reference id=cite_ref-icj_1-3>[2]</SUP> แม้ในระหว่าง พ.ศ. 2477-2478 มีการสำรวจพบว่ามีความแตกต่างระหว่างเส้นพรมแดนในแผนที่และแนวสันปันน้ำจริง และได้มีการทำแผนที่อื่น ๆ ซึ่งแสดงว่าปราสาทดังกล่าวอยู่ในประเทศไทย แต่ประเทศไทยก็ยังคงใช้และจัดพิมพ์แผนที่ที่แสดงว่าพระวิหารตั้งอยู่ในกัมพูชาต่อไป<SUP class=reference id=cite_ref-icj_1-4>[2]</SUP> เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิจารณาว่า รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้ยอมรับ (acquiese) ว่า ฝรั่งเศส มีอำนาจอธิปไตยเหนือเขาพระวิหารเป็นเวลายาวนานถึง 50 ปีมาแล้ว ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ว่าด้วยหลักกฎหมายปิดปาก (estoppel)
    ปี พ.ศ. 2501 หลังจากที่กัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส จึงเริ่มมีข้อขัดแย้งเรื่องเขตแดนรอยต่อระหว่างไทยกับกัมพูชา จนกระทั่ง เจ้านโรดมสีหนุ นายกรัฐมนตรีกัมพูชาขณะนั้น นำเรื่องขึ้นเสนอสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2502 โดยใช้แผนที่ผนวก 1 เป็นหลักฐานสำคัญ ซึ่งแม้เส้นเขตแดนบนแผนที่จะไม่ได้ใช้สันปันน้ำเป็นเกณฑ์ แต่แผนที่ฉบับนี้ไม่เคยถูกคัดค้านจากรัฐบาลไทยมาก่อน
    ดังนั้นในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จึงได้ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 นอกจากนั้นยังตัดสินด้วยคะแนนเสียง 7 ต่อ 5 ให้ประเทศไทยส่งคืนโบราณวัตถุที่นำออกมาจากปราสาทเขาพระวิหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยได้เข้ายึดครองพื้นที่ดังกล่าว<SUP class=reference id=cite_ref-icj_1-5>[2]</SUP> ต่อมาอีกราวยี่สิบกว่าวัน รัฐบาลไทยโดย ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก และสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต
    ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช นักกฎหมายชาวไทย ตั้งข้อสังเกตว่าการตัดสินคดีในศาลโลก ในคดีทำนองเดียวกันนี้ ทั้งก่อนหน้าและหลังคดีพระวิหาร มีเพียงคดีนี้เพียงคดีเดียวที่ผู้พิพากษาให้ความสำคัญกับแผนที่เหนือสนธิสัญญา<SUP class=reference id=cite_ref-prasit_2-0>[3]</SUP> ในคดีอื่นศาลจะให้น้ำหนักกับแผนที่ก็ต่อเมื่อเป็นแผนที่แนบท้ายสนธิสัญญา หรือเป็นแผนที่ที่ทำโดยฝ่ายที่เสียสิทธิ์ จะไม่ให้ความสำคัญกับแผนที่ฝ่ายเดียว ซึ่งถือเป็นพยานบอกเล่า<SUP class=reference id=cite_ref-prasit_2-1>[3]</SUP>
    [แก้] คำประท้วงของรัฐบาลไทยต่อคำพิพากษา





    <TABLE style="BACKGROUND-COLOR: transparent"><TBODY><TR><TD>Sarit Dhanarajata's statement on July 4, 1962</TD></TR><TR><TD><BUTTON title=เล่นเสียง style="WIDTH: 180px; TEXT-ALIGN: center" onclick="if (typeof(wgOggPlayer) != 'undefined') wgOggPlayer.init(false, {&quot;id&quot;: &quot;ogg_player_1&quot;, &quot;videoUrl&quot;: &quot;<a href=" target=" target=" http: palungjit.org _blank?>จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต่อประชาชนชาวไทย เรื่องปราสาทเขาพระวิหาร เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2505"</BUTTON></TD></TR></TBODY></TABLE>
    • หากไม่ได้ยินเสียง โปรดดูเพิ่มที่ media help
    วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว 20 กว่าวัน รัฐบาลไทยโดย ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลกโดยอ้างว่าคำพิพากษานั้นขัดต่อกฎหมายและความยุติธรรม นอกจากนี้ ยังสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคตด้วย
    โดยมีคำประท้วงดังนี้<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B9.84.E0.B8.97.E0.B8.A2.E0.B9.80.E0.B8.AA.E0.B8.B5.E0.B8.A2.E0.B8.94.E0.B8.B4.E0.B8.99.E0.B9.81.E0.B8.94.E0.B8.99.E0.B9.83.E0.B8.AB.E0.B9.89.E0.B9.80.E0.B8.82.E0.B8.A1.E0.B8.A3_3-0>[4]</SUP>
    ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่จะอ้างถึงคดีเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ซึ่งได้นำขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยคำร้องเริ่มคดีฝ่ายเดียวของกัมพูชา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502) และซึ่งศาลได้พิพากษา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) ยอมรับนับถืออธิปไตยของกัมพูชาเหนือซากของปราสาทพระวิหาร
    ในแถลงการณ์เป็นทางการลงวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประกาศต่อประชาชนแสดงความไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลที่กล่าวข้างต้น โดยมีเหตุผลว่า ตามความเห็นของรัฐบาล คำพิพากษาขัดต่อข้อกำหนดอันชัดแจ้งของบทที่เกี่ยวเนื่องของสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) และ ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) และขัดต่อหลักกฎหมาย และความยุติธรรม แต่อย่างไรก็ดีรัฐบาลก็ยังแถลงว่าในฐานะที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะปฏิบัติตามพันธกรณีที่ตนมีอยู่ตามคำพิพากษาดังกล่าว เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ตามข้อ 94 ของกฎบัตร
    ข้าพเจ้าใคร่จะแจ้งให้ท่านทราบว่า ในการตัดสินใจที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารนั้น รัฐบาล ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรารถนาที่จะตั้งข้อสงวนอันชัดแจ้งเกี่ยวกับสิทธิใด ๆ ที่ประเทศไทยมีหรืออาจมีในอนาคต เพื่อเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมา โดยอาศัยกระบวนการกฎหมายที่มีอยู่หรือที่จะพึงนำมาใช้ได้ในภายหลัง และตั้งข้อประท้วงต่อคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา”
    ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงรู้สึกเป็นเกียรติที่จะแจ้งข้อความข้างต้นให้ท่านทราบ พร้อมกับขอให้ท่านแจ้งข้อความในหนังสือฉบับนี้ให้สมาชิกทั้งปวงขององค์การนี้ทราบทั่วกันด้วย
    [แก้] คณะผู้พิพากษาและตัวแทนของทั้ง 2 ฝ่าย

    [​IMG]
    ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก ระหว่างการพิจารณาคดีเขาพระวิหาร


    [แก้] ผู้พิพากษาที่ร่วมการพิจารณา




    ผู้พิพากษามีทั้งหมด 15 ท่าน คะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ตัดสินว่าปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และ คะแนนเสียง 7 ต่อ 5 ตัดสินว่า ไทยต้องคืนวัตถุสิ่งประติมากรรม แผ่นศิลา ส่วนปรักหักพังของอนุสาวรีย์รูปหินทราย เครื่องปั้นดินเผาโบราณและปราสาทหรือบริเวณเขาพระวิหารให้แก่กัมพูชา<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.84.E0.B8.A7.E0.B8.B2.E0.B8.A1.E0.B9.80.E0.B8.A1.E0.B8.B7.E0.B8.AD.E0.B8.87_4-0>[5]</SUP>
    [แก้] คณะผู้แทนของประเทศกัมพูชา<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.84.E0.B8.A7.E0.B8.B2.E0.B8.A1.E0.B9.80.E0.B8.A1.E0.B8.B7.E0.B8.AD.E0.B8.87_4-1>[5]</SUP>

    • ฯพณฯ ตรวง กัง (Truong Cang) : สมาชิกสภาองคมนตรี เป็นตัวแทน
    [แก้] ทนาย

    • ฯพณฯ อุค ชุม (Ouk Chhoim) : อัครราชทูตที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศฝรั่งเศส
    • ดีน แอจิสัน (Dean Acheson) : เนติบัณฑิตประจำศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ สมัยประธาธิบดี ทรูแมน
    • โรเช่ ปินโต (Roger Pinto) : อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปารีส
    • โปล เรอแตร์ (Paul Reuter) : อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปารีส
    [แก้] ที่ปรึกษาทางกฎหมาย

    [แก้] ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

    • พันเอก งิน กาเรต (Ngin Karet) : อธิบดีกรมแผนที่ แห่งกองทัพกัมพูชา
    [แก้] เลขาธิการคณะผู้แทน

    • ชาญ ยูรัน (Chan Youran)
    [แก้] รองเลขาธิการคณะผู้แทน

    • เขม สงวน (Chem Snguon)
    [แก้] คณะผู้แทนของประเทศไทย<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.84.E0.B8.A7.E0.B8.B2.E0.B8.A1.E0.B9.80.E0.B8.A1.E0.B8.B7.E0.B8.AD.E0.B8.87_4-2>[5]</SUP>

    [​IMG]
    คณะผู้แทนฝ่ายไทย ในคดีเขาพระวิหาร


    [​IMG]
    คณะผู้แทนฝ่ายไทย


    [แก้] ทนาย

    • ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช: เนติบัณฑิต
    • อังรี โรแลง (Henry Rolin) : ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยบรัสเซลส์ และทนายความประจำศาลอุทธรณ์ กรุงบรัสเซลส์
    • เซอร์ แฟรงก์ ซอสคีส (Sir Frank Soskice) : อดีตแอททอร์นี เยเนราล ในคณะรัฐบาลอังกฤษ
    • เจมส์ เนวินส์ ไฮด์ (James Nevins Hyde) : เนติบัณฑิตแห่งรัฐนิวยอร์ก และทนายความประจำศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา
    • มาร์เซล สลูสนี (Marcel Slusny) : อาจารย์มหาวิทยาลัยบรัสเซลส์ และทนายความประจำศาลอุทธรณ์ กรุงบรัสเซลส์
    • เจ.จี. เลอ เคนส์ (J. G. Le Quesne) : เนติบัณฑิต
    [แก้] ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

    • พลโท บุศรินทร์ ภักดีกุล: เจ้ากรมแผนที่ กระทรวงกลาโหม
    • สุข เปรุนาวิน: รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
    • จินดา ณ สงขลา: รองเลขาธิการ ก.พ.
    • พันโท พูนพล อาสนจินดา: อาจารย์โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ กระทรวงกลาโหม
    [แก้] ที่ปรึกษาทางกฎหมาย

    • จาพิกรณ์ เศรษฐบุตร: หัวหน้ากองกฎหมาย กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงต่างประเทศ
    • เดวิด เอส ดาวนส์ (David S. Downs) : ทนายความประจำศาลสูง ประเทศอังกฤษ
    [แก้] ความเห็น

    ระหว่างและหลังการพิพากษาของศาลโลกบุคคลสำคัญของประเทศไทยหลายท่าน และผู้พิพากษา 3 ท่านที่ตัดสินให้ไทยชนะได้ออกมาให้ความเห็นต่าง ๆ ดังนี้<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B9.84.E0.B8.97.E0.B8.A2.E0.B9.80.E0.B8.AA.E0.B8.B5.E0.B8.A2.E0.B8.94.E0.B8.B4.E0.B8.99.E0.B9.81.E0.B8.94.E0.B8.99.E0.B9.83.E0.B8.AB.E0.B9.89.E0.B9.80.E0.B8.82.E0.B8.A1.E0.B8.A3_3-1>[4]</SUP>
    [แก้] ระหว่างการพิพากษา

    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; POSITION: relative; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20></TD><TD>
    ...เป็นที่ทราบกันทั่วไปในขณะนั้นว่าการประท้วงมีแต่จะเป็นทางให้ฝรั่งเศสยกเป็นข้อแก้ตัวที่จะยึดดินแดนมากขึ้น เหตุการณ์ต่าง ๆ ยังคงเป็นอยู่เหมือนเดิม ตั้งแต่ฝรั่งเศสได้นำเรือรบเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา และยึดเมืองจันทบุรี...
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20></TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 2em; FONT-SIZE: 90%; PADDING-BOTTOM: 5px; TEXT-ALIGN: right" vAlign=top colSpan=3>— หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [แก้] หลังการพิพากษา

    [แก้] บุคคลชาวไทย

    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; POSITION: relative; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20></TD><TD>
    ...ไม่เคยเห็นการวินิจฉัยกฎหมายระหว่างประเทศที่หละหลวม เช่นคำพิพากษานี้...
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20></TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 2em; FONT-SIZE: 90%; PADDING-BOTTOM: 5px; TEXT-ALIGN: right" vAlign=top colSpan=3>— ดร.ถนัด คอมันตร์ รมต.ต่างประเทศในสมัยนั้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; POSITION: relative; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20></TD><TD>
    ...คำพิพากษาศาลโลกผิดพลาดอย่างยิ่ง...แม้อีกร้อยสองร้อยปี คำพิพากษาของศาลโลกครั้งนี้จะไม่ทำให้นักกฎหมายคนใดในอนาคตเห็นด้วยเลย...
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20></TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 2em; FONT-SIZE: 90%; PADDING-BOTTOM: 5px; TEXT-ALIGN: right" vAlign=top colSpan=3>— ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ทนายฝ่ายไทย</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; POSITION: relative; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20></TD><TD>
    ...ด้วยเลือดและน้ำตา...สักวันหนึ่งเราจะต้องเอาเขาพระวิหารคืนมาให้จงได้...
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20></TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 2em; FONT-SIZE: 90%; PADDING-BOTTOM: 5px; TEXT-ALIGN: right" vAlign=top colSpan=3>— จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีไทยในสมัยนั้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; POSITION: relative; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20></TD><TD>
    ...เราคืนให้เฉพาะพื้นที่รองรับตัวปราสาทเขาพระวิหารเท่านั้น ส่วนเขมรจะขึ้นหรือเข้ามาทางไหนเราไม่รับรู้ เป็นเรื่องของเขมรเอง...
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20></TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 2em; FONT-SIZE: 90%; PADDING-BOTTOM: 5px; TEXT-ALIGN: right" vAlign=top colSpan=3>— พลเอก ถนอม กิตติขจร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยในสมัยนั้น<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.84.E0.B8.A7.E0.B8.B2.E0.B8.A1.E0.B9.80.E0.B8.A1.E0.B8.B7.E0.B8.AD.E0.B8.87_4-3>[5]</SUP></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; POSITION: relative; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20></TD><TD>
    ...มันไม่ใช่เป็นเรื่องให้ไม่ให้ เป็นเรื่องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาล...
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20></TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 2em; FONT-SIZE: 90%; PADDING-BOTTOM: 5px; TEXT-ALIGN: right" vAlign=top colSpan=3>— พลเอก ประภาส จารุเสถียร รมต.มหาดไทยในสมัยนั้น<SUP class=reference id=cite_ref-.E0.B8.84.E0.B8.A7.E0.B8.B2.E0.B8.A1.E0.B9.80.E0.B8.A1.E0.B8.B7.E0.B8.AD.E0.B8.87_4-4>[5]</SUP></TD></TR></TBODY></TABLE>



    [แก้] ผู้พิพากษาที่ตัดสินให้ไทยชนะ

    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; POSITION: relative; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20></TD><TD>
    ...สันปันน้ำไม่ใช่นามธรรมที่คิดขึ้นด้วยสติปัญญา สันปันน้ำเป็นผลอันเกิดขึ้นจากลักษณะของพื้นภูมิประเทศ และย่อมเป็นลักษณะของภูมิประเทศอยู่เสมอ สันเขา แนวชะง่อนผา หรือส่วนสูงของพื้นดินเหล่านี้ย่อมจะประกอบกันเป็นเส้นสันปันน้ำธรรมชาติ...
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20></TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 2em; FONT-SIZE: 90%; PADDING-BOTTOM: 5px; TEXT-ALIGN: right" vAlign=top colSpan=3>— ลูซิโอ มอเรโน กินตานา ผู้พิพากษาชาวอาร์เจนตินา</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; POSITION: relative; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20></TD><TD>
    ...ข้าพเจ้าคิดว่าฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ของตนเองเป็นสำคัญ
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20></TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 2em; FONT-SIZE: 90%; PADDING-BOTTOM: 5px; TEXT-ALIGN: right" vAlign=top colSpan=3>— เซอร์เพอร์ซี สเปนเดอร์ ผู้พิพากษาชาวออสเตรเลีย</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="BORDER-RIGHT: #cccccc 1px dotted; BORDER-TOP: #cccccc 1px dotted; BORDER-LEFT: #cccccc 1px dotted; WIDTH: auto; BORDER-BOTTOM: #cccccc 1px dotted; POSITION: relative; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=top width=20></TD><TD>
    ...การยอมรับโดยการนิ่งเฉยหลักกฎหมายโรมันที่ว่า "ใครที่นิ่งจะถูกถือว่ายินยอม ถ้าเขาสามารถพูดได้" นั้น ตามความเห็นของข้าพเจ้านำมาใช้ในคดีนี้มิได้
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 10px; PADDING-LEFT: 10px; PADDING-BOTTOM: 10px; PADDING-TOP: 10px" vAlign=bottom width=20></TD></TR><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 2em; FONT-SIZE: 90%; PADDING-BOTTOM: 5px; TEXT-ALIGN: right" vAlign=top colSpan=3>— เซอร์ เวลลิงตันคู ผู้พิพากษาและอดีตนายกรัฐมนตรีชาวจีน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [แก้] ผู้พิพากษาที่ตัดสินให้กัมพูชาชนะ

    ผู้พิพากษา 12 ท่าน 3 ท่าน ให้ไทยชนะคดี 9 ท่าน ให้เขมรชนะคดี

    คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 - วิกิพีเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กุมภาพันธ์ 2010
  2. pinitko

    pinitko เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    264
    ค่าพลัง:
    +291
    เรื่องนี้สมัยสงครามเขมรแดง ทหารไทยเรารู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ผมบอกไม่ได้ใบ้แค่นี้แหละ
     
  3. gun2555

    gun2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    701
    ค่าพลัง:
    +1,205
    ขอร่วมเห็นด้วยนะ ถ้าไทยรบกับเขมร เราเละแน่ๆ (แต่รัฐบาลไทยไม่กล้ารบหรือทหารไม่กล้ารบก็ไม่รู้) ถ้าเราดูอาวุธระหว่างไทยกับเขมร มันช่างต่างกันจริงทั้ง อาวุธ 3 เหล่าทัพ กำลังรบ 3 เหล่าทัพ ของไทยดูดีกว่าทั้งหมด ของเขมรเก่าๆ แต่การรบมันไม่ได้อยู่ที่อาวุธ มันอยู่ที่ใจ ดูอย่าง เวียตนาม กับเมริกา มาดูคิดเล่นๆ นะ (เคยอ่านบทวิเคราะห์ของใครก็ไม่รู้ ว่าถ้าไทยรบกับเขมรเราจะรบแบบพระเจ้าตากยึดเมืองจันทร์เริ่มบุก ค่อนรุ่งไปกินข้าวเช้าที่พนมเปน อ่านแล้วก็ได้แต่หัวเราะ ได้แต่คิดสวนไปว่า เริ่มบุกก็เริ่มตายนะซิ มันไม่ง่ายเหมือนไล่ฆ่าคนไม่มีอาวุธนะ) มาดู
    1. การรบไทยจะลงทุนสูงมาก ของไทยลงทุน 100 บาท เขมร ลงทุน 15 บาท
    2.ในอาเชี่ยน ไม่มีชาติไหนหนุนไทย
    3.เราจะถูกพม่า อาจจะรวมทั้งลาว(คนไทยที่ไปลาวเขาไม่ได้ว่าเราบ้านพี่เมืองน้องมีแต่ไทยคิดเอง) ตีกระหนาบ มาเลย์ด้วย สิงคโปร์ จะช่วยเขมรทั้งหมด
    4.อเมริกา ฝรั่งเศส จีน เกาหลีเหนือ เวียตนาม รัสเชีย จะส่งอาวุธช่วยเขมรฟรีๆ (ผลประโยชน์ที่จะได้จากเขมรมีมากน้ำมันมหาศาล)
    5.ถ้าเราเลิก MOU เราจะเสียเปรียบเขมรมาก เขมรจะใช้แผนที่ฝรั่งเศสทำไว้ทันที เราเสียเปรียบทันทีเหมือนกัน
    6.เวลายกทัพประชิดกัน อเมริกา ส่งอาวุธให้เขมรทันที และเรือรบฝรั่งเศสก็มาอยู่เขมรทันทีเหมือนกัน
    7.ถ้ารบกันนักบินไทยคงจะได้นั่งคานแห่ แบบเมืองลาวแน่ๆ เขมรมี จรวดแซม 7 รุ่นประทับบ่ายิงเครื่องบินมากมาย
    8. ไอ้พวกที่คิดว่าจะไปกินข้าวเช้าที่พนมเปนนะเลิกคิดได้แล้ว การคมนาคมมันไม่สดวก เราจะถูกชุ่มโจมตี ตายเรียบ ลูกปืนใหญ่ไทย ราคา ตั้ง ประมาณ 45000 บาท เขมร ฟรี จรวดคัดซูญ่า ของไทยยิงได้ 10 กม เขมร ยิงได้ 20 กม
    9. จีนจะขายอาวุธคุณภาพต่ำให้ไทย เขมรจะได้อาวุธจากจีนฟรี
    10. เขมรได้รับความช่วยเหลือในเรื่องเรือรบจากจีนและเวียตนาม ซึ่งจรวดสามารถใช้ยิงเรือไทยได้ทุกลำ จรวดไทยคงด้านหมดแล้ว และเรือจักรกรี นะ ออกทะเลใช้นำมันวันละ 5-6 หมื่นบาท เบี้ยเลี้ยงทหารอีก คงเป็นวันละหลายแสน เครื่องบินก็บินไม่ขึ้นสักลำ
    11.ที่สำคัญ ไทยชื้ออาวุธมาแล้วใช้ไม่ค่อยได้ เพราะโกงกันมาก ของเขมรเก่าแต่มันใช้ได้หมด
    .....แค่นี้ก่อนพิมพ์ไม่เก่ง
     
  4. Heureuse

    Heureuse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2008
    โพสต์:
    857
    ค่าพลัง:
    +3,446
  5. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,696
    ค่าพลัง:
    +51,932
    *** พยายามเข้าอกเข้าใจกัน ****

    คนเขมรเขาโกรธแค้นไทย มานานมาก
    จากประวิติศาสตร์ เรื่องไปตัดหัวกษัตริย์เขา เอาเลือดมาล้างเท้า
    คนไทยอาจจะไม่รู้เรื่องนี้กันเลย บางคนรู้แต่ไม่กล้าพูดความจริง
    แล้วเราควรจะแก้ไข ลบล้างความบาดหมางใจจากอดีต อย่างไรดี...

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  6. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,696
    ค่าพลัง:
    +51,932
    *** อันนี้ไม่มีในตำราใดๆ ****

    ใครจะไปเชื่อว่า
    สัจจะโลกุตตระ...คำสอนปลดนิสัยตนเอง
    จะสามารถช่วยประเทศชาติ ให้รอดพ้นกรรมได้

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  7. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,696
    ค่าพลัง:
    +51,932
    *** กรรมของประเทศ ****

    ถ้าคนไทย...ไม่มีสัจจะ
    กายวาจาใจ....ไม่ตรงกัน
    สิ่งศักดิ์สิทธิ์...ก็ช่วยอะไรไม่ได้

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  8. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,671
    สนุกดี พวกที่เขียนบทหนังไทย ควรเข้ามาอ่านเป็นอย่างยิ่ง

    เรื่องจะจบตรงไหน ?? พี่พรานพิเศษ (ขอโทษครับที่พาดพิง ด้วยความชอบล้วนๆ)

    ช้วยเขียนเรื่องนี้ให้จบด้วยนะครับ จะติดตามอ่าน
     
  9. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    อาจมีขุมทรัพย์ซ่อนอยู่ ???
     
  10. โบ๊ต

    โบ๊ต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    387
    ค่าพลัง:
    +847
    ก็บอกเเล้วน้ำมัน กัมพูชาเขาขายตัวให้เมกาอยู่เเล้ว

    จะมีก็เเต่เรานี่ล่ะ จะยอมให้มันลากเขตเเบ่งน้ำมันที่เป็นของเราไปถึงครึ่งหนึ่งหรือ?


    -------------------------------------------------

    เเล้วเรื่องน้ำมันในอ่าวไทยเขาพระวิหาร นี่ กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งในประเทศไทยเขารู้มา สอง-สามปีเเล้วครับ

    บางทีอาจจะนานกว่านั้น ตัวผมเองรู้มาประมาณ3ปีเเล้ว เรื่องเขาพระวิหารเนี่ยเลื่องลากเส้นในทะเลด้วย

    มันไม่ใช่เรื่องมั่วมันมีมูลเเละก็คอยดูเเล้วกันว่าจะเป็นอย่างไร

    ประเทศเรากำลังโดนรุมกินโต๊ะ ตื่นๆกันได้เเล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 สิงหาคม 2010
  11. Abdulkharim

    Abdulkharim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2009
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +201
    ถ้าวันหนึ่งไม่มีเขาพระวิหารให้แย่งยังกัดกันอยู่รึเปล่านะ

    อยู่กับปัจจุบันไม่เป็นเลยนะคนไทย งอแงจะเอาของที่เสียไปแล้ว

    ทำไมไม่ระเบิดทิ้งไปเลยล่ะ 555 ในเมื่อ ู ไม่ได้ ใครก็อย่าได้มันเลย
     
  12. กุญแจไขปริศนา

    กุญแจไขปริศนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2009
    โพสต์:
    903
    ค่าพลัง:
    +979
    ขอบใจเมย์ด้วยนะครับที่มาเล่าสู่กันฟัง
     
  13. แสงอุ่น

    แสงอุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    612
    ค่าพลัง:
    +1,036
    ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่2 จบไป แต่เกมส์การล่าอาณานิคมยังไม่จบ เพราะแฝงไว้ด้วยผลประโยชน์มหาศาล ในรูปแบบสงครามเย็น ถึงแม้การทำสงครามจะเปลี่ยนไป แต่จุดประสงค์ยังคงเหมือนเดิมเสมอ คือ การครอปครองทรัพย์สิน ดินแดน จากประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคมและยังคงรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ไว้อย่างเหนียวแน่น ประเทศมหาอำนาจเหล่านั้น ไม่ยอมให้เกิดการปลองดองเกิดขึ้น เพราะจะทำให้ตนเสียผลประโยชน์ และเสียอำนาจ จึงต้องสร้า้งปมปัญหา ไว้ให้ทะเลาะกัน เพื่อให้ขาดความสามัคคี เรียกว่า ชักใย อยู่เบื่องหลัง เพื่ออำนาจและผลประโยชน์ของตน จากประเทศเล็กๆ เหล่านี่ ที่เต็มไปด้วยทรัพย์การทางธรรมชาติอันมหาศาล เห็นด้วยกับพรานใหญ่ และเข้าใจว่าทำไม ไทยและกำพูชาจึงยังคงเล่นเกมส์ชักเยอ ดึงกันอยู่แบบนี้ เหตุเพราะดาปที่รอแทงอยู่ข้างหลังทั้งสองประเทศ ถ้าประเทศใดยอมก็ต้องเสียไป ไม่ใช่แค่ปราสาทเท่านั้น จะรวมถึงสิ่งต่างๆ ที่ต้องเสียตามมาอีก เราจะต้องเล่นเกมส์ชักเยอ แบบนี้ไปอีกนาน ด้วยสติและปัญญา
     
  14. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676

    อ๋อ...เป็นคนแบบนี้น่ะเอง :cool:

    ขอให้มันซื่อแบบนี้ในทุกๆนะพ่อคุณเอ้ย
    ใครไปรบกับหมอนี่ อย่าไปอยู่ใกล้รับรองมันหันปืนมายิงพวกเดียวกันแน่ๆ
     
  15. mamboo

    mamboo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +1,973
    ในอดีต ทุกคนมาจากที่แห่งเดียวกัน

    ทุกคนรักกัน

    ผู้ที่มีจิตใจเมตตา และ ดูเป็นผู้นำ จะเป็นผู้ให้การแนะนำแก่ผู้น้อย

    ไม่มีหัวหน้า ไม่มีลูกน้อง

    ทุกๆคน เท่าเทียมกัน และเป็นพี่น้องกัน!!

    จนกระทั่งมีผู้ที่ มักใหญ่ โลภมาก คิดอยากจะเป็นใหญ่ และทำตัวอยู่เหนือผู้อื่น

    คนพวกนี้้ใช้กำลัง ทำร้ายผู้อื่น และตั้งตนเป็น ผู้ปกครอง

    จาก 1 เผ่า ก็ไปรุกรานเผ่าอื่น..

    จาก 2 เผ่าน กลายเป็น 3 เผ่า

    ผู้นำหรือผู้ปกครอง บังคับให้ลูกน้อง ออกไปรบ...(ทั้งๆที่เขาไม่ต้องการ ใครๆก็อยากอยู่กับครอบครัว)

    การออกรบ มีคำสั่งโดยผู้น้ำที่โหดร้าย ละโมภโลภมาก..

    ถ้าใครรบได้ดี.. รบเก่ง ก็จะมีรางวัลตอบแทนให้ เป็นขวัญกำลังใจ อาจจะเป็นเงินบ้าง เป็นหญิงสาวบ้าง

    ทั่วทุกมุมโลก มีคนจรรไลเช่นนี้.. ไปรุกรานเผ่าอื่น..

    จาก 1 เป็น 2

    จาก 2 เป็น 3

    จาก 3 เป็น 4 ไปเรื่อยๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ....

    จนกระทั่ง กลุ่มคนเหล่านี้ มาเผชิญหน้ากัน

    จากที่เคยรังแกเผ่าที่อ่อนแอกว่า.. ก็ได้เจอ คู่แข่งที่สำคัญ...

    หลายกลุ่ม เริ่มมีชนชั้นการปกครองมากขึ้น

    จากที่มีแต่ผู้นำ ก็เริ่มมี ผู้ช่วยผู้นำ มีเลขา มีแม่ทัพ มีขุนนาง

    ชนกลุ่มไหน อยู่เงียบสงบ มักจะถูกรุกราน

    ความบ้าอำนาจ... ความโลภมาก.. ความกระหายเลือด.. ของคนสมัยก่อน ทำให้เกิดเป็นการปกครอง ที่แบ่งเป็น ประเทศ ประเทศ ในปัจจุบัน

    ทุกวันนี้ ไม่มีการรบ ไม่มีสงคราม แต่เราก็ยึดเอาเขตแดน จากการหยุดรบ ครั้งล่าสุด

    ...

    ^_^
     
  16. มาพบพระ

    มาพบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    643
    ค่าพลัง:
    +1,973
    ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าประสาทพระวิหารเป็นของใคร แต่เป็นประเด็นที่ว่าใครจะได้น้ำมันไปใช้มากกว่ากัน เป็นเช่นนั้นหรือเปล่า ประเด็นเรื่องน้ำมันเชื่อมโยงไปสู่การเกิดสงครามหรือไม่ ถ้าน้ำมันในแถบเอเชียตะวันออกร่อยหรอลงไป จำเป็นต้องแสวงหาดินแดนใหม่ เมื่อเกิดการย้ายแหล่งน้ำมัน แถบเอเชียกลางขาดเงินและไม่มีทรัพยากรหลัก เลยต้องทำสงครามเพื่อให้อยู่รอด แต่ประเด็นที่น่าใจอีกอย่าง ถ้าน้ำมันในประเทศไทยขึ้นมามากเท่าใด แสดงว่าสงครามใหญ่เดินใกล้เราเข้ามามากเท่านั้น
     
  17. มาพบพระ

    มาพบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    643
    ค่าพลัง:
    +1,973
    <TABLE id=post3637588 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_3637588 class=alt1>

    ข้อความเดิมจากคุณ KOKIM

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2>ถ้าวันหนึ่งไม่มีเขาพระวิหารให้แย่งยังกัดกันอยู่รึเปล่านะ

    อยู่กับปัจจุบันไม่เป็นเลยนะคนไทย งอแงจะเอาของที่เสียไปแล้ว

    ทำไมไม่ระเบิดทิ้งไปเลยล่ะ 555 ในเมื่อ ู ไม่ได้ ใครก็อย่าได้มันเลย<!-- google_ad_section_end -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ใจเย็นๆ ครับ จะทำให้เหมือนตอลีบันเลยเหรอ เดี๋ยวพี่เหมรเขาก็ระเบิดเองแหละครับ เราไม่ต้องเสียทรัพยากร เอาไว้เหมรระเบิดเสร็จแล้วเราค่อยเข้าไปเก็บเกี่ยวก็ยังไม่สายครัย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 สิงหาคม 2010
  18. mamboo

    mamboo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,129
    ค่าพลัง:
    +1,973
    ถือว่าคุณเป็นคนมองโลกได้ 2 มุม มากๆเลยค่ะ ^^

    พูดเรื่องนี้แล้ว mamboo จะร้องไห้ทุกทีเลย T-T

    หลายๆประเทศ สร้างหนังสร้างประวัติศาสตร์ออกมาให้ลูกหลานได้ภาคภูมิใจ

    แต่ประเทศไทยไม่มีเลย

    ประวัติศาสตร์ไทยคลุมเครือ... เรื่องคิดจะเอามาสร้างเป็นหนังหรือพูดกันให้กระฉ่อนนี่ ฝันไปเลย.. เพราะกฎหมายไม่อนุญาติ

    พวกเรา เหมือนกบในกะลาเลยนะคะ

    ถูกบังคับให้มองโลกแค่ด้านเดียว

    อยากให้ทุกคน ลองไปอ่าน เรื่องราวประเทศไทย จากทั่วทุกมุมโลก... หรือถ้าไม่รู้จะเริ่มจากที่ไหน

    ไปเปิดดูที่พงศาวดารไทยก็ได้ค่ะ

    ทำไม วิชาประวัติศาสตร์ไทย ถึงไม่เฟื่องฟู นักประวัติศาสตร์ไทย ไม่ค่อยได้รับการยอมรับ

    เอาแค่ในพงศาวดารไทยกับในหนังสือเรียน ก็ยังไม่เหมือนกันแล้ว

    ยิ่งได้ไปอ่านประวัติศาสตร์ไทยในต่างแดน ยิ่งแล้วใหญ่ ต่างกันมากมายกับในหนังสือเรียน

    ไม่ใช่ว่าในหนังสือเรียนไม่ถูกต้องนะคะ แต่.. เขาบอกเราไม่หมด

    คนดีไม่ได้รับการเชิดชู คนชนะเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์

    ถ้าใครสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ไทย.. ลองศึกษาดีๆ.. แล้วจะเข้าใจที่ mamboo พูด...

    ตอนนี้รู้สึกเฉยๆกับเรื่อง การแก่งแย่งแผ่นดิน.. ปล่อยให้คนที่มีหน้าที่นี้ เค้ารับผิดชอบไปละกัน..

    ส่วนถ้าจะทำสงครามกับเขมร.......

    ถ้ามีการเปิดสงครามกันจริงๆ mamboo คนนึงล่ะ ที่จะส่งหนังสือให้รัฐบาล

    บอกให้ ทหารที่จะไปรบ .. ขอเป็นอาสาสมัครล้วนๆ

    ใครคิดอยากปกป้องปราสาทเขาพระวิหาร ใครคิดอยากปกป้องแผ่นดินตรงนั้น.. ก็อาสาไปรบเลย..

    เลิกส่งทหารเกณฑ์ไปตายได้แล้ว... เขามีลูกเมียมีครอบครัว มีพ่อมีแม่

    ถ้าใครอยากเปิดศึกสงคราม ก็อาสาไปรบกันเลย..

    บรรดาผู้รักชาติทั้งหลาย.. ลองไปรักชาติในสนามรบกันบ้างสิ่ ><
     
  19. pasit_99

    pasit_99 การเวียนว่ายตายเกิดนั้นน่ากลัว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,673
    ค่าพลัง:
    +3,464
    รู้มา ว่าเขมรมีน้ำมันมหาศาลครับ
    แต่มันไม่เกี่ยวอะไรกับปราสาทเขาพระวิหาร นี่นา
     
  20. จิ-โป

    จิ-โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,196
    ในอดีตถ้าเราไม่ยึดแผนที่สันปันน้ำ บ้านร่มเกล้าก็จะเป็นของประเทศลาวครับ
    พี่ไทยเราเลยถือเอาแผนที่สันปันน้ำไปฟ้องศาลโลกเอาบ้านร่มเกล้ามาเป็นของไทย
    โดยลืมไปว่าถ้ายึดแผนที่สันปันน้ำ จะเสียประสาทเขาพระวิหารให้เขมร เขมรเลยได้
    ที ยึดเอาแผนที่สันปันน้ำฉบับเดียวกันที่ไทยฟ้องเอาบ้านร่มเกล้าจากลาวมาเป็นพื้นฐาน
    ยูเนสโกเลยเถียงไม่ออกครับ

    อนาคตเมื่อเขมรยึดภูเขาได้ จะสร้างป้อมปราการ ภายในมีกองทหาร ป้อมนี้สูง2ใน3
    ของปราสาท และทำสะพานเชื่อมจากป้อมมาที่เขานี้ มองจากภายนอก ป้อมทหารจะอยู่
    ภายในเขาเล็กๆลูกนี้ ชั้นบนสุดเป็นที่จอดรถและเครื่องบิน
     

แชร์หน้านี้

Loading...