ทำไมต้องมีชื่อแบบนี้

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย สัญญา, 26 ตุลาคม 2010.

  1. สัญญา

    สัญญา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    163
    ค่าพลัง:
    +1,301
    พระมหาโพธิธรรมาจารย์ ภิกษุณีโพธิสัตต์ วรมัย กบิลสิงห์
    ***ใครรู้บอกด้วย...ทำไมตั้งชื่อแบบนี้
     
  2. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    หลวงแม่ภิกษุณีธรรมมนันทา เป็นสายเถรวาท
    บวชที่ศรีลังกา
    และมีที่เชียงใหม่ ยโสธร อีกหลายรูปที่ไปบวชที่ศรีลังกา
    แปลกใจอย่างเดียวว่า
    ทำไมเวลาผู้หญิงไปทำเรื่องดีๆ เช่นการบวชเป็นสามเณรีภิกษุณี
    กลับไม่ค่อยมีคนอนุโมทนา
    ทั้งที่เป็นเพศแม่ แม่ให้กำเนิดมนุษย์
    แม่อยากบรรลุธรรม
    แต่เมืองไทยไม่ยอมให้บวช ต้องไปถึงศรีลังกา..
     
  3. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    ประวัติ พระมหาโพธิธรรมาจารย์ (ภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์)
    ลูกหลานเรียกท่านว่า "หลวงย่า" หรือ ภิกษุณี วรมัย กบิลสิงห์ ถือกำเนิดที่ ต. หนองปลาดุก อ. บ้านโป่ง จ. ราชบุรี เมื่อ 6 เมษายน 2451 เป็นบุตรคนที่ 6 ในครอบครัวที่มีบุตรธิดา 6 คน มารดาชื่อส้มจีน ในบั้นปลายชีวิตซึ่งบวชเป็นแม่ชี และเสียชีวิตในผ้าขาว บิดาชื่อเตียง "หลวงย่า" ใช้สกุลกบิลสิงห์ ซึ่งเป็นสกุลพระราชทานแก่ นายฉัตร มหาดเล็กหลวง และเป็นลูกผู้พี่ของคุณยายส้มจีน เมื่อสามีตาย คุณยายส้มจีนอายุเพียง 36 ปี ถูกผู้มีอิทธิพลรังแก จึงอพยพลูกๆ เข้ากรุงเทพฯ
    "หลวงย่า" ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนมหาพฤฒาราม,อัสสัมชัญ คอนแวนต์ และเคยไปเรียนที่ปีนังในช่วงสั้นๆ และได้เข้าเรียนพลศึกษา เป็นครูพลศึกษาหญิงคนแรกของประเทศไทย มีความถนัดพิเศษทางดาบฝรั่ง ท่านพูดถึงอาจารย์ของท่าน คือ อาจารย์กิมเส็ง ทวีสิทธิ์ อาจารย์ทีม อติปรมานนท์ ฯลฯ
    ท่านสอบได้วุฒิทางการศึกษา (วุฒิ พ.ป.) เป็นครูสอนพลศึกษาที่ ร.ร. เบญจมราชาลัย กรุงเทพฯได้เคยเดินทางโดยจักรยานไปกับคณะลูกเสือไทยไปสิงคโปร์ ใช้เวลา 29 วัน เมื่อพ.ศ. 2475 เป็นสตรีไทยคนแรกที่ทำสถิตินี้ เป็นการยืนยันว่าความมานะอดทน ไม่จำกัดด้วยความแตกต่างทางเพศ
    นอกจากเป็นครูแล้ว ท่านยังเป็นนักเขียน ได้ใช้ชีวิตเป็นนักหนังสือพิมพ์อยู่หลายปี ในชีวิตส่วนตัว ท่านสมรสกับนายก่อเกียรติ ษัฏเสน สส. จังหวัดตรัง พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2485 มีลูกหลานโดยสายโลหิต คือธิดา ได้แก่ รศ.ดร. ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ซึ่งต่อมาบรรพชาเป็นสามเณรีธัมมนันทา (พ.ศ. 2544) มีหลานยาย 3 คน คือ นายเอกฉัตร นายวรฉัตร นายฉัตรฐากูร กบิลสิงห์ เหลนย่าทวด 2 คน คือ ด.ญ. นนท์ชนก กบิลสิงห์ และ ด.ช. ปารมี กบิลสิงห์
    การหักเหชีวิตเข้าสู่สมณเพศ ท่านเริ่มหันมาสนใจการทำสมาธิ และศึกษาธรรมะ เริ่มต้นจากวัดปากน้ำภาษีเจริญ หลวงพ่อลี วัดอโศการาม การทำกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุ ฯลฯ และเริ่มออกหนังสือวิปัสสนา บันเทิงสาร เป็นนิตยสารธรรมะรายเดือน ติดต่อกันนานถึง 32 ปี
    ท่านรับศีล 8 จากท่านเจ้าคุณพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) รองเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวรวิหาร เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2499 และต่อมาได้เดินทางไปรับการบรรพชาอุปสมบทจากไต้หวัน พ.ศ. 2514 เป็นภิกษุณีองค์แรกในประเทศไทย เริ่มก่อตั้งวัตรทรงธรรมกัลยาณีที่จังหวัดนครปฐม ตั้งแต่ พ.ศ. 2501 ดำเนินกิจการในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา อบรมสั่งสอนพุทธศาสนิกชน และทำงานด้านสังคมสังเคราะห์ ควบคู่กันมาตลอด
    พระมหาธรรมาจารย์มหาเถรี มีสามเณรีธัมมนันทา บุตรีโดยสายโลหิต และสายธรรม สืบสานการรับใช้พระศาสนาต่อมาจนปัจจุบัน
    แหล่งที่มาข้อมูล : วัตรทรงธรรมกัลยาณี เลขที่ 195 ถนนเพชรเกษม ต. พระประโทน อ. เมืองฯ จ. นครปฐม 73000
    โทร. (034) 258-270 โทรสาร (034) 284-315 E- mail : dhammananda99@hotmail.com

    ซึ่งตอนนี้หลวงย่าท่านได้มรณภาพไปแล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 84.jpg
      84.jpg
      ขนาดไฟล์:
      23.6 KB
      เปิดดู:
      328
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 ตุลาคม 2010
  4. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR width="100%"><TD colSpan=2>ภิกษุณีจะต้องบวชโดยมีอุปัชฌาเป็นภิกษุณี แต่ภายหลังไม่มีภิกษุณีแล้ว ในเมืองไทย จึงเป็นธรรมดาที่ท่านต้องไปบวชที่ไต้หวัน

    ภิกษุณีรับประพฤติครุธรรม ๘ จากพระผู้มีพระภาคโดยลำดับ
    คือ:-
    ๑. ภิกษุณีแม้อุปสมบทแล้วได้ ๑๐๐ พรรษา ก็พึงเคารพกราบไว้ พระภิกษุ แม้
    อุปสมบทได้วันเดียว
    ๒. ภิกษุณี จะอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีพระภิกษุนั้นไม่ได้ ต้องอยู่ในอาวาสที่มี
    พระภิกษุ
    ๓. ภิกษุณี จะต้องทำอุโบสถกรรม และรับฟังโอวาทจากสำนักภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน
    ๔. ภิกษุณี อยู่จำพรรษาแล้ว วันออกพรรษาต้องทำปวารณาในสำนักสงฆ์ทั้งสองฝ่าย
    (ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์)
    ๕. ภิกษุณี ถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส อยู่ปริวาสกรรม ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์สอง
    ฝ่าย
    ๖. ภิกษุณี ต้องอุปสมบทในสำนักสงฆ์สองฝ่าย หลังจากเป็นนางสิกขมานารักษา
    สิกขาบท ๖ ประการ คือ ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. เว้นจากการลักขโมย ๓. เว้น
    จากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ ๔.เว้นจากการพูดเท็จ ๕. เว้นจาการดื่มสุราเมรัย
    และของมึนเมา ๖. เว้นจากการรับประทานอาหารในเวลาวิกาล ทั้ง ๖ ประการนี้
    มิให้ขาดตกบกพร่องเป็นเวลา ๒ ปี ถ้าบกพร่องในระหว่าง ๒ ปี ต้องเริ่มปฏิบัติ
    ใหม่
    ๗. ภิกษุณี จะกล่าวอักโกสกถาคือ ด่าบริพาษภิกษุ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งมิได้
    ๘. ภิกษุณี ตั้งแต่วันอุปสมบทเป็นต้นไป พึงฟังโอวาทจากภิกษุเพียงฝ่ายเดียว จะให้
    โอวาทภิกษุมิได้
    </TD></TR><TR width="100%"><TD width="90%">อนุโมทนา.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ไม่ทราบนะ.....ได้ยินว่า ภิกษุณีสายเภรวาท สิ้นวงศ์ไปแล้ว....

    เพราะการบวชภิกษุณีทำได้ยากมาก.....เมื่อต้นสิ้นวงศ์......ถึงแม้ไปเอาจากมหายานมาต่อ......มันก็ไม่ถูกตามหลักพระธรรมวินัย......ก็ถือว่าสิ้นวงศ์........อันนี้คือสิ่งที่ผมได้ยินมานะ.....

    ส่วนความคิดในใจของผม....ณ. ปัจจุบัน ผมไม่เห็นว่าภิกษุณี จะต่างจากแม่ชีตรงใหน....หรือจะต่างก็ตรงเรียกร้องกันเรื่องสิทธิสตรีเพื่อสีผ้าที่ห่มเท่านั้น.........

    ความชินในใจเห็นว่า แม่ชีห่มขาวสงบเสงี่ยมสำรวมนะ ดูงามสอาดตา แต่ พอมาห่มเหลืองผมรู้สึกถึงเรื่องการต่อต้านการเรียกร้องอย่างไรไม่รู้.....

    อันนี้เป็นเพียงแค่ความรู้สึกในใจนะครับ......ไม่ได้พูดถึงความถูกผิด......
     
  6. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    หลวงย่า วรมัย บวชสายมหายาน ที่ไต้หวัน
    เป็นพระโพธิสัตต์

    ส่วนบุตรสาว อ.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ บวชสายเถรวาท โดยภิกษุณีจากศรีลังกา (อาจเป็นเพราะเจตนาบางประการของท่าน)
     

แชร์หน้านี้

Loading...