บวร ทำ"วัด"ให้เป็นที่พึ่งพิงจากภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 13 พฤษภาคม 2010.

  1. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    การทำงานเพื่อการช่วยคนหมู่มากจากภัยพิบัติ โดยการยึดแนวทางขององค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง บ ว ร
    การนำวัดเป็นจุดศูนย์กลางชุมชน ในการประสานกับ บ้านคือประชาชน เอกชน และราชการ หน่วยงานโครงการในพระราชดำริ

    มาประสานความร่วมมือกัน โดยน้อมนำการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการ

    1. เตรียมวัดให้เป็นที่พึ่งพิงในยามเกิดภัยพิบัติ (ซึ่งหลวงพ่อฤาษีเองท่านก็ได้เตรียมเอาไว้ล่วงหน้า สืบต่อมาถึงหลวงพี่อนันต์ ซึ่งท่านทำนาข้าว ยุ้ง คลังอาหาร คลังเทียน ซึ่งผมมีโอกาสได้เข้าไปดู อยู่ที่อาคารหลังพระยืนหลวงพ่อเงินไหลมาครับ) หากวัดจำนวนมากทั่วไทย ทราบ เตรียมพร้อม วัดจะช่วยชีวิตคนได้อีกมากมาย

    2. เยียวยา ช่วยเหลือ ประชาชนยามเกิดภัยพิบัติ อาหาร แหล่งอาหาร ยารักษาโรคจากสมุนไพร การสร้างงาน สร้างอาชีพด้วยเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับคนที่หมดเนื้อหมดตัว ดูง่ายๆจากภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งนี้

    3. การฟื้นฟูและพัฒนาไปพร้อมกัน จากสภาวะ สภาพบ้านเมืองแผ่นดินไทย ที่ประสบอยู่นี้ หากเพียงฟื้นฟูก็จัดว่าเป็นการซ่อมให้พอใช้ พอได้ แต่ไม่ดีขึ้น หากเราฟื้นฟูและพัฒนาโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงต่อไปจะไม่เพียงเป็นการตั้ง รับสถานการณ์

    แต่เป็นการรุกสู่การพัฒนาบ้านเมืองให้ดีขึ้น

    การพัฒนาโดยออกไปจากวัดนั้น

    ไม่เพียงปรากฏผลทางด้านวัตถุ ความเจริญ ความกินดีอยู่ดี

    แต่การพัฒนาที่ออกไปพร้อมกับวัดนั้นคือการพัฒนาจิตใจผู้คนทั้งผู้ให้ (พระสงฆ์)และผู้รับ(การช่วยเหลือเจือจุนเหล่านั้นให้มีการสำนึกรู้คุณ มีคุณธรรม มีศีล)
    นั่นคือสังคมจะค่อยๆดีขึ้น พระพุทธศาสนาเจริญขึ้น ประจักษ์ผลในความเป็นที่พึ่งของชาวโลก ของพระพุทธศาสนา ทั้งทางโลกและทางธรรม

    ถึงเวลานั้น ผู้คนผู้ได้รับผลแห่งความดีในพระพุทธศาสนาก็จะย้อนกลับมา ทำนุบำรุง พระบวรพุทธศาสนาให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองขึ้นนั่นเอง

    ผมเชื่อว่าเวบพลังจิตจะเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่ทำให้เกิดการประสานให้ เรื่อง บ ว ร สำเร็จได้

    และผมเองตั้งใจว่าเราเดินตามรอยพระบาทพระศาสดา เดินตามแนวทางหลวงพ่อฤาษี เดินตามเบื้องพระยุคลบาทองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    โดยทำให้ความพอเพียง การร่วมใจในการพัฒนา การรักษาสามสถาบันคือเครื่องบูชาความดี ความกตัญญูต่อแผ่นดินครับ



    ภัยพิบัติที่เกิดเรื่องน้ำท่วมนี้เพิ่งเริ่มต้น เราจะบริจาคได้ทั่วไทยให้คน สิบล้านคนมีข้าวกินสามมื้อทุกวันได้ไหม

    หากเกิดภัยพิบัติละลอกสอง ละลอกสามล่ะ

    หากผู้ให้บริจาคประสบภัยเองล่ะ

    ดังนั้นควรไหมที่จะต้องเตรียมพร้อมรับล่วงหน้า

    ช่วยกันทำ วัดให้เป็นที่พึ่งพิงยามเกิดภัยพิบัติ

    ทำวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชนในการพัฒนาชาติในการสร้างเศรษฐกิจพอเพียง ยามสงบ

    และเมื่อการพัฒนาเริ่มที่วัด ก็ย่อมเกิดอานิสงค์ในทาน ทั้ง วิหารทาน สังฆทาน เพิ่มอีกหลายชั้น

    เกิดประโยชน์ทั้งเบื้องต้น ยังไม่เกิดภัยพิบัติก็สนองพระราชดำริ ช่วยพัฒนาสร้างความกินดีอยู่ดีของประชาชน
    เกิดประโยชน์ในท่ามกลาง ยามเกิดภัยพิบัติ มีโรงทาน มีศาลาให้ซุกหัวนอน มีที่พึ่งพิงต่อจิตใจยามทุกข์ยาก
    เกิดประโยชน์ในที่สุด เป็นอานิสงค์ ที่ทำให้ไทยเราฟื้นฟูประเทศและพัฒนาฟื้นตัวเร็วกว่าประเทศอื่น.ในที่สุด
     
  2. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ขอกราบเรียนเชิญคุณลุงชัยมงคลด้วยครับ ตอนนี้เราเดินหน้าเต็มที่เเล้วครับ
     
  3. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    สำหรับแนวทางในการดำเนิฯ โครงการ บ ว ร นั้น

    - สร้างความตระหนักให้รู้ค่าและศักยภาพของทั้ง สามส่วน

    -การสร้างความมีส่วนร่วม ในจุดใดจุดหนึ่งอันเป็นการเชื่อมต่อเป็นเครือข่าย เพื่อให้เกิดผล ในการ แลกเปลี่ยนถ่ายทอด งาน ความรู้ ทรัพยากร

    -สร้างเสริมให้เกิดการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม โดยเริ่มจาก
    1.วัดหรือโครงการที่ประสบผลแล้้ว มาเชื่อมโยง สาธิต ทำเครือข่ายเพิ่ม เพื่อให้เกิด แรงผลักดันยังจุดอื่นต่อไป

    2.ส่งเสริม เข้าไปมีส่วนในการช่วยให้โครงการที่ใกล้เกิดผล ประสบผลสัมฤทธิ์ เติมเสริม ส่วนที่ขาดที่หายไปให้โครงการนั้นสมบูรณ์

    3.กระตุ้นให้วัดที่สนใจ ง่ายในการดำเนินการ โดยการจัดทำชุดองค์ความรู้ที่ย่อยให้ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติจริง

    4.ดึงทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมไม่ว่าจะมาก จะน้อยเพียงใด เพื่อให้เครือข่ายแห่งการพัฒนาเกิดขึ้น

    ต้องร่วมใจกันครับ
     
  4. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    สำหรับโครงการ บ ว ร นี้ ทางท่านเจ้าอาวาสวัดมงคลชัยพัฒนา วัดที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินงานเกษตรทฤษฏีใหม่ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นเป็นครั้งแรก

    ท่านเมตตาเป็นพระอาจารย์ที่ปรึกษา ของพวกเรา และ ท่านเมตตาให้ท่านที่สนใจ ไปดูงาน ไปศึกษา จากการทำงานของพระองค์ท่านครับ

    วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลเขาดินพัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี

    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1">
    [​IMG]

    โครงการ บ ว ร

    "...ให้วัด โรงเรียน ราชการ และมูลนิธิร่วมกัน โครงการนี้เป็นโครงการที่สามารถผนึกกำลัง
    ต้องไม่ลงทุนมากนัก ทำเหมือนชาวบ้านทำ ยอมให้เสียไปบ้าง ถ้าลงทุนทำมากไป
    หลวงจะทำได้ แต่ชาวบ้านทำไม่ได้…"

    พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๖

    คณะพลังจิตพิชิตภัยพิบัติได้นำโครงการศานติบุรีที่น้อมนำโครงการ บ ว ร
    ในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาสานต่อเพื่อประสานให้บ้านอันหมายถึง
    ประชาชน วัด และราชการต่าง ๆ ได้ทำงานร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในยามปกติ
    และในยามเกิดภัยพิบัติ

    วัดมงคลชัยพัฒนา เป็นวัดสำคัญในโครงการ บ ว ร ที่คณะเราเข้าไปเยี่ยมชม
    เพื่อเรียนปรึกษาในเรื่องข้อมูล และกราบเรียนเชิญเพื่อให้พระครูมงคลรัตนวัฒน์ และพระมหาสายชล เป็นที่ปรึกษาโครงการและเรียนขอคำแนะนำในด้านต่าง ๆ
    พร้อมทั้งถวายพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่วัดมงคลชัยพัฒนา

    [​IMG]


    [​IMG]

    ในพ.ศ. ๒๕๓๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้หน่วยงานต่างๆ
    ช่วยกันจัดทำโครงการพัฒนาตาม "ทฤษฎีใหม่" โดยเริ่มที่ “วัดมงคล” เป็นแห่งแรก
    ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม วัดมงคล ซึ่งเป็นต้นแบบของการพัฒนา
    แบบใหม่ตามพระราชดำริว่า วัดมงคลชัยพัฒนา เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2535 เป็นต้นมา

    เดิมสภาพพื้นที่บริเวณรอบ ๆ วัดเป็นท้องทุ่งกว้างที่ประสบปัญหาความแห้งแล้ง
    ขาดแคลนน้ำในการทำเกษตร ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา
    แต่ประสบปัญหาผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ทำนาโดยอาศัยน้ำฝนเพียงปีละ 1 ครั้ง
    ผลผลิตมีความแปรปรวน ในปีที่ฝนดี ได้ผลผลิตข้าวประมาณ 30-40 ถังต่อไร่
    ในปีที่ฝนแล้ง ได้ผลผลิตเพียง 3-4 ถังต่อไร่ เพราะเป็นพื้นที่แห้งแล้ง
    ขาดแคลนน้ำในระบบชลประทาน ประกอบกับดินขาดความอุดมสมบูรณ์
    เนื่องจากปลูกพืชชนิดเดียวกันมาเป็นระยะเวลานานปราศจากการปรับปรุงดิน
    และการจัดสรรน้ำเท่าที่ควร ทำให้การประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้ผลผลิตต่ำ
    ส่งผลให้ครอบครัวขาดรายได้ที่มั่นคง อันเป็นรากฐานของปัญหาอุปสรรคต่อการพัฒนา
    ประเทศ

    เมื่อปี พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกระแสให้กรรมการมูลนิธิ
    ชัยพัฒนา พิจารณาจัดซื้อที่ดินที่ติดกับวัดมงคล และมีผู้บริจาคที่ดินบริเวณดังกล่าวรวม
    32 - 0 - 47 ไร่ เพื่อนำมาพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่
    ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยให้ใช้สถานที่ดังกล่าวดำเนิน
    โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
    เพื่อให้เป็นศูนย์สาธิตการดำเนินเกษตรทฤษฎีใหม่อย่างเป็นรูปธรรม
    สามารถให้เกษตรกรนำไปประยุกต์ใช้ปฏิบัติในพื้นที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างพออยู่พอกิน
    นับเป็นจุดกำเนิดของเกษตรทฤษฎีใหม่แห่งแรกในประเทศไทย

    [​IMG]

    โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนา จึงได้ทดลองและให้ความรู้แก่ราษฎร
    รวมทั้งขยายผลสู่พื้นที่เกษตรกร ในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๓ โครงการได้จัดอบรม
    การจัดการที่ดินและน้ำตามแนว "ทฤษฎีใหม่" พร้อมทั้งส่งเสริมพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์
    และการขุดสระเก็บน้ำประจำไร่นา เพราะหากเกษตรกรมีแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง
    หรือระหว่างฝนทิ้งช่วง จะเป็นโอกาสให้ไม้ผลและไม้ยืนต้นมีน้ำหล่อเลี้ยงได้ตลอด
    รวมทั้งการปลูกพืชตระกูลถั่วสลับหมุนเวียนกับการปลูกข้าว เป็นการบำรุงให้ดินดีขึ้น

    [​IMG]


    จัดทำระบบส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาว มาเก็บกักในสระน้ำประจำไร่นา
    ช่วยทำให้พื้นดินมีความชุ่มชื้น ระดับน้ำใต้ดินก็สูงขึ้น ดังนั้น พืชสวนที่ให้ผลผลิตทั้งปี
    ส่งผลให้ผลผลิตข้าวสูงขึ้นมาก

    [​IMG]

    บนพื้นที่กว่า ๓๒ ไร่ ของโครงการเป็นแปลงเกษตรผสมผสานแะแปลงทฤษฎีใหม่
    ซึ่งสถานีทดลองพืชไร่พระพุทธบาทได้ปลูกพืชต่างๆ ทั้งไม้ยืนต้น ไม้ผล พืชไร่ พืชสวน
    สวนสมุนไพร และสวนพันธุ์ไม้หอม รวมทั้งการประมง และเลี้ยงสัตว์ ที่เน้นการปรับปรุงบำรุงดิน
    ทดลองและสาธิตการปลูกพืชชนิดต่างๆ อาทิ สวนพืชตระกูลมะ สวนสมุนไพร
    สวนไม้ผลในที่ดอน แปลงทดสอบการปลูกไม้ต่างระดับในสภาพยกร่องพร้อมกับปลูกหญ้าแฝก
    เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และอนุรักษ์ดินและน้ำ
    เพื่อให้เกษตรกรและผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษา และนำไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง

    [​IMG]

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานดำริให้ทำการทดลอง "ทฤษฎีใหม่"
    ในหลักการง่ายๆโดยเริ่มจากสภาพความจริงที่ว่าราษฎร หนึ่งครอบครัวมีที่ดินประมาณ
    10 - 15 ไร่ให้แบ่งที่ดินนั้นออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่ง ที่ดินร้อยละ 30 ให้ขุดเป็นสระน้ำ
    มีความลึก 4 เมตร ขนาดบรรจุน้ำได้โดยประมาณ 10,000 ม.

    ส่วนที่สอง ที่ดินร้อยละ 60 สำหรับพื้นที่ทำการเกษตร โดยปลูกข้าวร้อยละ 30
    และปลูกพืชไร่พืชสวนร้อยละ 30 ส่วนที่สามที่ดิน
    ร้อยละ 10 สำหรับสร้างที่อยู่อาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ 



    [​IMG]

    [​IMG]

    เกษตรอินทรีย์ และการจัดการน้ำและดินอย่างเหมาะสมทำให้ดินที่แปลงเกษตรทฤษฎีใหม่
    มีความชุ่มชื้น เราสามารถเห็นคราบของไส้เดือนทั่วบริเวณทางเดิน

    [​IMG]

    คุณอำนาจ เจ้าหน้าที่มูลนิธิชัยพัฒนาเมตตาให้ความรู้เรื่องต่าง ๆ
    พร้อมวาดภาพเทคนิคการขุดสระน้ำ ขุดตรงไหน ขุดอย่างไรให้พวกเราได้ฟังกัน
    จะนำเสนอรายละเอียดต่อไปค่ะ​
    <fieldset class="fieldset"> <legend>รูปขนาดเล็ก</legend> [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]
    </fieldset>
     
  5. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    งานประสานเครือข่าย บ ว ร ที่หลายท่านเสียสละทำงานกันอยู่นี้ ได้รับความร่วมมือจาก หลายเครือข่ายจิตอาสา รวมถึง แนวคิดและผลที่จะช่วยผู้คนได้อีกมากมาย ทั่วประเทศ

    ในเบื้องต้น เราได้วาง เป้าหมาย ที่จะพยายามจัดเตรียม แหล่งน้ำ เครื่องกรองน้ำสำหรับดื่ม ไปยังวัดต่างๆให้มากที่สุด

    ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตและการพึ่งพาตนเอง

    แหล่งอาหาร

    ยาสมุนไพร

    ยิ่งพร้อม ยิ่งเพิ่มโอกาสรอด

    เตรียมช้า เตรียมไม่ทัน ต้องอด ต้องอยาก ยามนั้นอีกหลายชีวิตครับ
     
  6. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    แนวทางของมูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภา)ยามยาก ก็เป็นลักษณะที่พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส

    ดึงผู้ประสบภัยพิบัติจนสิ้นเนื้อประดาตัวมาสู่โครงการเศรษฐกิจพอเพียงครับ

     
  7. Phusaard

    Phusaard เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    436
    ค่าพลัง:
    +349
    ขออนุโมทนา ด้วยครับ
    หากเกิดภัยพิบัติขึ้น วัดจะเป็นศูนย์รวมใจที่สำคัญแน่นอนครับ
     
  8. อารมณ์สุนทรีย์

    อารมณ์สุนทรีย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    522
    ค่าพลัง:
    +1,740
    ศานติบุรีสู่เพรชบูรณ์ เดินทางกลับทะยอยกันถึงที่พักแล้วครับ


     
  9. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    พักเหนื่อยกันก่อนครับ

    วันนี้ทีมที่ไปขอนแก่นได้มาเล่าให้ฟังถึงความคืบหน้า ในโครงการ บ ว ร ที่พระอาจารย์ท่านเป็นผู้นำครับ

    พืช พันธุ์อาหารอุดมสมบูรณ์จนน่าชื่นใจ

    พระอาจารย์ท่านเล่าว่า การนำเรื่องเมตตา เรื่องสมาธิมาใช้ร่วมกับการทำการเพาะปลูกมีผลดีมากๆครับ

    มีหลักฐานเป็นข้าวหอมมะลิ เต็มรวงสีทอง เมล็ดเต็ม ไม่ลีบ

    น่าดีัใจมากๆครับ หากเราช่วยกันเร่งสร้างความอุดมสมบูรณ์ กันให้มากๆ เร็วๆ ครอบคลุมทั่วประเทศไทยได้ยิ่งดีครับ

    เราลองมาดูกัน หน้าหนาว ปกติผักจะราคาถูก แต่ตอนนี้ผักหลายชนิดกิโลกรัมละ 200 บาทเข้าไปแล้ว


    ปีหน้าแล้งจัดๆ ชนิดไม่เคยพบเจอกันมาก่อนนี่ ข้าวปลาอาหารแพงแน่นอนครับ
     
  10. 1535

    1535 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +2,105
    โครงการบวร ลงพื้นที่วัดบึงศรีเทพรัตนาราม

    เมื่อวันที่ ๒๐ -๒๑ พฤศจิกายน ทีมงานพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ
    กลับไปติดตามงาน “บวร” ที่วัดบึงศรีเทพรัตนาราม อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

    [​IMG]

    ถวายสังฆทาน และผ้าห่ม

    [​IMG]

    วันเสาร์ที่ ๒๐ ที่ผ่านมาทางวัดมีงานฉลองรอยพระพุทธบาทจำลอง

    [​IMG]

    ฉลองพญานาคหินสลักรอบโบสถ์

    [​IMG]

    และยังเป็นวันคล้ายวันเกิดของท่านพระครูสีลพัชโรภาส เจ้าอาวาสด้วย

    [​IMG]

    วัดบึงศรีเทพรัตนาราม ตั้งอยู่ติดกับอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อันเป็นเมืองโบราณ
    เป็นที่ตั้งของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีลักษณะเป็นเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่
    ที่ตั้งของเมืองอยู่ในชุมทาง ที่สามารถติดต่อกับภาคอื่น ๆ ได้สะดวก
    จึงได้รับอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมจากอาณาจักรข้างเคียงมาผสมผสาน
    เช่น ศิลปะทวารวดี ศิลปะขอม เป็นต้น

    [​IMG]

    เมืองศรีเทพสร้างขึ้นในยุคของขอมเรืองอำนาจ ซึ่งคาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี
    โดยดูจากหลักฐานทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และวัฒนธรรมที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน
    ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความเจริญสูงสุดทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    สันนิษฐานว่าเจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16
    ก่อนที่จะกลายเป็นเมืองร้างด้วยโรคระบาด
    ตามตำนานเมืองศรีเทพ ที่หลายท่านคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0194.jpg
      IMG_0194.jpg
      ขนาดไฟล์:
      132.2 KB
      เปิดดู:
      1,001
    • IMG_0183.jpg
      IMG_0183.jpg
      ขนาดไฟล์:
      97.9 KB
      เปิดดู:
      953
    • IMG_0259.jpg
      IMG_0259.jpg
      ขนาดไฟล์:
      140 KB
      เปิดดู:
      930
    • IMG_0271.jpg
      IMG_0271.jpg
      ขนาดไฟล์:
      127.1 KB
      เปิดดู:
      970
    • IMG_0272.jpg
      IMG_0272.jpg
      ขนาดไฟล์:
      90.7 KB
      เปิดดู:
      915
    • IMG_0273.jpg
      IMG_0273.jpg
      ขนาดไฟล์:
      114.3 KB
      เปิดดู:
      910
    • IMG_0274.jpg
      IMG_0274.jpg
      ขนาดไฟล์:
      122.4 KB
      เปิดดู:
      1,025
    • IMG_0266.jpg
      IMG_0266.jpg
      ขนาดไฟล์:
      123.1 KB
      เปิดดู:
      1,078
    • IMG_0271-2.jpg
      IMG_0271-2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      120.3 KB
      เปิดดู:
      910
    • IMG_0270.jpg
      IMG_0270.jpg
      ขนาดไฟล์:
      93.8 KB
      เปิดดู:
      982
  11. 1535

    1535 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +2,105
    วัดบึงศรีเทพรัตนาราม มีความโดดเด่นในเรื่องของความร่วมมือที่เกิดขึ้น
    จากทั้ง บ้าน วัด โรงเรียน ตลอดจนหน่วยงานราชการ

    เนื่องด้วยวัดอยู่ใกล้กับอุทยาน ท่านเจ้าอาวาสซึ่งเป็นคนพื้นที่และได้อยู่จำพรรษามากว่า ๑๘ ปี เล็งเห็นว่าวัดบึงศรีเทพสามารถเป็นจุดท่องเที่ยวที่ส่งเสริมให้อุทยานศรีเทพมีความสมบูรณ์
    ในแง่สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาตร์ที่สมบูรณ์ครบองค์ประกอบมากยิ่งขึ้น
    เพราะนอกจากนักท่องเที่ยวจะสามารถเข้าชมบริเวณอุทยานได้แล้ว
    ยังสามารถเข้าวัดมาพักผ่อน ชมศิลปะทวารวดีที่สร้างขึ้นใหม่
    ร่วมทำบุญ หรือเข้าร่วมในงานกิจกรรมต่าง ๆ ของชาวบ้านได้อีกด้วย
    ท่านเจ้าอาวาสจึงขอร้องไปทางอุทยาน ให้ออกแบบพระอุโบสถให้กลมกลืนกับอุทยานศรีเทพ
    โดยทางวัดและชาวบ้านช่วยกันหาทุนในการจัดสร้างพระอุโบสถ
    และปรับภูมิทัศน์ให้สะอาดและพร้อมในการต้อนรับนักท่องเที่ยว
    และยังเกิดพื้นที่ที่ชาวบ้าน และนักเรียนสามารถเข้ามาทำกิจกรรมต่าง ๆ ในวัดได้


    วัดบึงศรีเทพรัตนารามได้ทำหน้าที่ในมิติของการปรับวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชนได้อย่างดี
    ชมรมผู้สูงอายุใช้พื้นที่วัดในการรำพลองเพื่อการออกกำลังกายในทุกวันพุธ
    ชาวบ้านเข้าวัดเป็นประจำทุกวัน และมากเป็นพิเศษในวันพระ
    บวชเนกขัมมะ ถืออุโบสถศีลกันในวันพระใหญ่ และวันสำคัญต่าง ๆ

    ช่วงที่เราไปนี้เป็นฤดูเก็บเกี่ยว แม้มีงานมาก
    แต่วันนี้เป็นวันพระ และยังเป็นวันลอยกระทง
    ทางวัด ผู้ใหญ่บ้าน ผู้อำนวยการโรงเรียน และคุณครูจัดให้มีกิจกรรมลอยกระทงที่วัด
    นักเรียนทั้งประถมและมัธยมต่างออกมาช่วยกันทำกระทงเพื่อหาเงินเข้าวัด
    มีการประกวดหนูน้อยนพมาศ และการแสดงต่าง ๆ เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม
    ในตอนค่ำมีการทำพิธีบูชา และขอขมาพระแม่คงคา
    พิธีสักการะแสดงความเคารพและขอบคุณบรรพบุรุษ
    ที่ได้สร้างบึงน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้ไว้ให้ทุกคนได้มีน้ำกินน้ำใช้

    ผู้ใหญ่บ้านได้จัดสร้างท่าน้ำไว้ให้ประชาชนได้ลอยกระทงในบึงน้ำโบราณหน้าวัด
    และยังจัดลูกปลาดุกให้ได้ปล่อยกันเพื่อให้ได้ทำบุญกันอีกด้วย

    ทีมงานของเราพูดคุยกับชาวบ้านและผู้นำชาวบ้านเพื่อเพิ่มเติมสิ่งที่ชุมชนสามารถทำได้เพื่อเติมเต็มให้เกิดความสมบูรณ์มากขึ้นในมิติต่าง ๆ

    อาทิ เรื่องความสำคัญของน้ำ การใช้สารเคมี การทำน้ำหมักชีวภาพ การปลูกสมุนไพร
    การตระเตรียมอาหารเพื่อใช้ในยามเกิดภัยพิบัติ และเรื่องอื่น ๆ
    พยายามผลักดันให้ โครงการบวรชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น

    ในขณะเดียวกันเราก็เก็บเกี่ยวสิ่งที่ดี ๆ จากชุมชนวัดบึงศรีเทพนี้ ไปใช้ในการลงพื้นที่อื่น ๆ
    สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากที่นี่ทำให้เรามองเห็นความงดงามของการร่วมมือร่วมใจกันทั้งสามส่วน
    บ้าน วัด และราชการ ทุกฝ่ายร่วมมือกันเพื่อผลักดันให้วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน
    โดยมีผู้นำชุมชน และชาวบ้านร่วมมือกันนั้น ทำให้เป้าหมายของการพัฒนานั้น
    เป็นการพัฒนาที่หวังผลได้ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
    ที่สำคัญเป้าหมายของการพัฒนานั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่วนรวม
    ซึ่งในท้ายที่สุดประโยชน์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะกลับมายังประชาชนทุกคนในชุมชนได้ในที่สุด


    ความสำเร็จของการร่วมมือกันทั้ง บ้าน วัด และโรงเรียนนั้น
    จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หาก ผู้นำทั้งสามส่วนไม่มีความสามารถในการนำ
    ไม่มีความเข้มแข็ง และไม่อุทิศตนเพื่อจุดมุ่งหมาย อันเป็นความเจริญยิ่ง ๆขึ้น ของชุมชน
    ท่านพระครูสีลพัชโรภาส นับเป็นพระหนุ่ม นักพัฒนาที่ทำงานทั้งรุกและรับ
    เข้าหาพูดคุยผู้นำชุมชน กรรมการวัด และชาวบ้าน
    เริ่มต้นจากการสร้างศรัทธาในกลุ่มผู้นำชุมชนท่านได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

    “เราต้องตั้งศรัทธานำให้เกิดการพัฒนา ทุกคนคิดดี และอยากมีผลงานอยู่แล้ว
    แต่ทำอย่างไรให้ไปในแนวทางเดียวกัน ปรับทิฏฐิให้ตรงกัน ให้มีศีล ทาน ความเห็น เสมอกัน”

    ด้วยความร่วมมือสามฝ่าย ทำให้วัดจัดมีกิจกรรมตลอดทั้งปี
    ชาวบ้านได้เข้าวัดทุกอาทิตย์ บ้างก็ทุกวันพระ
    เด็ก ๆ ได้เข้าวัด จนถือว่าการเข้าวัดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปในที่สุด

    และนี่คือสามประสาน บ้าน วัด ราชการ ที่วัดบึงศรีเทพรัตนาราม จังหวัดเพชรบูรณ์

    [​IMG]

    [​IMG]

    ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน พูดคุยกับชาวบ้านหลังถวายภัตตาหารเช้าในศาลาวัด

    [​IMG]

    คุยกับแม่ทองคำ วิเศษดี ผู้นำกลุ่มผู้สูงอายุ

    [​IMG]

    แจกตะไคร้หอม และเมล็ดพันธ์ุ ให้ชาวบ้าน

    [​IMG]

    ร่วมสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ ฝึกสอนโดยกลุ่มผู้สูงอายุ

    [​IMG]

    คณะออกกำลังกายด้วยการเซิ้งพลอง นอกจากออกกำลังกายแล้ว ยังสามารถแสดงโชว์แก่ผู้มาเยี่ยมเยือนอีกด้วย

    [​IMG]

    ร่วมด้วยช่วยกันทำกระทง ๑๕๐๐ ใบ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    สนทนากับกลุ่มผู้นำ สื่อสารมวลชน และท่านเจ้าอาวาส

    [​IMG]

    ท่านพระครูนำสวดขอบคุณผู้มาเยี่ยมเยือน และอุปถัมภ์วัด

    [​IMG]

    [​IMG]

    แถมท้ายด้วยมุมสวย ๆ บรรยากาศยามเช้า ข้่างวัด

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0195.jpg
      IMG_0195.jpg
      ขนาดไฟล์:
      129.4 KB
      เปิดดู:
      934
    • IMG_0196.jpg
      IMG_0196.jpg
      ขนาดไฟล์:
      133.9 KB
      เปิดดู:
      938
    • IMG_0218.jpg
      IMG_0218.jpg
      ขนาดไฟล์:
      115.2 KB
      เปิดดู:
      916
    • IMG_0249.jpg
      IMG_0249.jpg
      ขนาดไฟล์:
      158 KB
      เปิดดู:
      113
    • IMG_0265.jpg
      IMG_0265.jpg
      ขนาดไฟล์:
      164.9 KB
      เปิดดู:
      892
    • IMG_0268.jpg
      IMG_0268.jpg
      ขนาดไฟล์:
      144.8 KB
      เปิดดู:
      906
    • IMG_0313.jpg
      IMG_0313.jpg
      ขนาดไฟล์:
      156.7 KB
      เปิดดู:
      866
    • IMG_0336.jpg
      IMG_0336.jpg
      ขนาดไฟล์:
      109.9 KB
      เปิดดู:
      893
    • IMG_0346.jpg
      IMG_0346.jpg
      ขนาดไฟล์:
      101.8 KB
      เปิดดู:
      915
    • IMG_0348.jpg
      IMG_0348.jpg
      ขนาดไฟล์:
      138.1 KB
      เปิดดู:
      883
    • IMG_0361.jpg
      IMG_0361.jpg
      ขนาดไฟล์:
      160.5 KB
      เปิดดู:
      889
    • IMG_0363.jpg
      IMG_0363.jpg
      ขนาดไฟล์:
      128.7 KB
      เปิดดู:
      893
    • IMG_0364.jpg
      IMG_0364.jpg
      ขนาดไฟล์:
      122.4 KB
      เปิดดู:
      123
    • IMG_0366.jpg
      IMG_0366.jpg
      ขนาดไฟล์:
      92.4 KB
      เปิดดู:
      125
    • IMG_0373.jpg
      IMG_0373.jpg
      ขนาดไฟล์:
      111.6 KB
      เปิดดู:
      883
    • IMG_0393.jpg
      IMG_0393.jpg
      ขนาดไฟล์:
      103.7 KB
      เปิดดู:
      881
    • IMG_0447.jpg
      IMG_0447.jpg
      ขนาดไฟล์:
      122.9 KB
      เปิดดู:
      972
    • IMG_0455.jpg
      IMG_0455.jpg
      ขนาดไฟล์:
      81.6 KB
      เปิดดู:
      114
    • IMG_0459.jpg
      IMG_0459.jpg
      ขนาดไฟล์:
      154.1 KB
      เปิดดู:
      866
    • IMG_0461.jpg
      IMG_0461.jpg
      ขนาดไฟล์:
      95.6 KB
      เปิดดู:
      849
    • IMG_0463.jpg
      IMG_0463.jpg
      ขนาดไฟล์:
      129.7 KB
      เปิดดู:
      857
    • IMG_0470.jpg
      IMG_0470.jpg
      ขนาดไฟล์:
      108.4 KB
      เปิดดู:
      918
    • IMG_0471.jpg
      IMG_0471.jpg
      ขนาดไฟล์:
      138 KB
      เปิดดู:
      905
  12. watwa-aram

    watwa-aram เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    654
    ค่าพลัง:
    +974
    สาธุ อนุโมทามิ กับพี่เล็กและคณะด้วยนะคะ..ทำดีกันไม่หยุดหย่อนเลย..สาธุคะ
     
  13. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เป็นความดีของทุกๆคนครับ ทุกๆคนได้ทำความดีด้วยกันครับ

    ร่วมใจกัน ปลุกความดีในจิตใจของทุกๆคนให้รู้ตื่น เบิกบานขึ้นครับ

    ไม่ช้าผลแห่งความดีก็จะผลิบานขึ้นทั่ว เป็นความสุข สงบ รอยยิ้ม ความอุดมสมบูรณ์
     
  14. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    <table id="post4083031" class="tborder" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr valign="top"><td class="alt2" style="border-width: 0px 1px; border-style: none solid; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255);" width="175">กษม [​IMG]
    ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิตพิเศษ

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Nov 2004
    ข้อความ: 6,447
    Groans: 33
    Groaned at 188 Times in 130 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 20,278
    ได้รับอนุโมทนา 93,556 ครั้ง ใน 6,095 โพส
    พลังการให้คะแนน: 4666 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </td> <td class="alt1" id="td_post_4083031" style="border-right: 1px solid rgb(255, 255, 255);">
    เร่งสร้างอู่ข้าว อู่น้ำ กันเอาไว้

    [​IMG]

    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ kananun [​IMG]
    ยัง มีแนวโน้มที่จะเกิดความรุนแรงในคาบสมุทรเกาหลีอีกมาก เพราะยังมีการส่งกองเรือรบของสหรัฐเข้าไปอีก 75 ลำพร้อมเรือบรรทุกเครื่องบิน สถานการณ์ต้องจับตาดูการซ้อมรบร่วมของเกาหลีใต้และสหรัฐว่าจะกลายเป็นการ ยั่วยุ เกาหลีเหนือเพียงใด หากเหตุการณ์ลุกลามเป็นสงครามใหญ่ ก็น่าห่วงว่าจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจการเงินโลกแน่นอน เร่งสร้างอู่ข้าว อู่น้ำ กันเอาไว้
    </td> </tr> </tbody></table>
    เกษตรกรพอเพียง..
    ยวง เขียวนิล

    อาทิตย์นี้เราไปเที่ยวที่สวนเกษตรพอเพียงของคุณลุงใจดี ยวง เขียวนิล ซึ่งได้รับการแนะนำจากเจ้าหน้าที่ พิพิธภัณฑ์ดิน ซึ่ง เราไปกันเมื่ออาทิตย์ที่แล้วให้ไปเรียนรู้ต่อยอดกันที่นี่ สวนของคุณลุงนั้นเป็นไร่นาสวนผสม แบบเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริ และคุณลุงยังยึดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการดำรงชีวิต สวนคุณลุงอยู่ที่ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรีนี่เอง พอเราไปถึงคุณลุงก็ออกมารับแล้วพาไปที่ลานร่มรื่นด้านหน้าบ้าน

    [​IMG]

    คุณ ลุงแนะนำตัวว่า เคยทำงานรับราชการอยู่เกือบสิบปี แล้วก็ลาออกมาเปิดบริษัทเจอพิษเศรษฐกิจก็เลยหันมาทำไร่ทำนา แล้วก็หันไปกินเหล้าจนกระทั่งเป็นพิษสุราเรื้อรัง คุณลุงยังเอารูปเก่าๆซึ่งใส่กรอบอย่างดีมาให้เด็กๆดู เป็นรูปสมัยที่ลุงยวงนอนเมาข้างถนนมีเจ้าตูบมารุมดมแล้วภรรยาคุณลุงได้ถ่าย รูปไว้ แล้วก็สอนเด็กๆว่าทำอย่างนี้ไม่ดี ครูสุถามเด็กๆต่อว่า "กินเหล้านั้นผิดศีลข้ออะไร" เด็กๆตอบกันพร้อมเพรียงว่า "ข้อห้าครับ"

    [​IMG]

    สุด ท้ายลุงยวงก็เลิกเหล้าโดยไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล แล้วรักษาตัวอีกเป็นปี คุณลุงสอนเด็กๆว่า "จงทำมาหาเก็บ มิใช่ทำมาหากิน" คือไม่ใช่ว่าหามาแล้วใช้หมดไป แต่ให้เก็บไว้ด้วย คุณลุงได้ยินมาว่า ในหลวงท่านมีพระราชดำริ เรื่อง การทำเกษตรผสมผสานทฤษฏีใหม่ คุณลุงยวงสนใจเพราะถ้ามีคำว่าทฤษฏี แสดงว่าได้ผ่านการปฏิบัติมาแล้ว ทำให้คุณได้ลองปฏิบัติตามโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ โดยคุณลุงได้แบ่งพื้นที่เป็น แหล่งน้ำ 30%, ไม้ยืนต้นและต้นไม้ที่เก็บกินได้ 30%, นาข้าว 30% และที่อยู่อาศัย 10%

    [​IMG]

    ระหว่างทางคุณลุงเก็บเม็ดแมงเม่า หรือมะเม่าให้เด็กๆชิม รสเปรี้ยวๆ ชุ่มคอดีค่ะ

    [​IMG]

    ดู สิคะ..เด็กๆจดกันใหญ่เลย เด็กประถมหนึ่งที่ยังเขียนไม่คล่องก็คอยหันมาถามคุณครูถึงการสะกดคำต่างๆ เลยเป็นห้องเรียนภาษาไทยไปด้วยนะเนี่ย

    [​IMG]

    จากนั้นก็มาถึงการกลั่นตะไคร้ไล่ยุง ที่เห็นคุณลุงถืออยู่คือ ขวดน้ำตะไคร้ไล่ยุงค่ะ สีขาวๆขุ่นๆแต่กลิ่นหอมตะไคร้มาก

    [​IMG]

    เค้า จะต้มตะไคร้ในหม้อทรงกระบอกที่มีกระทะวางไว้ด้านบน พอไอน้ำตะไคร้ลอยขึ้นมากระทบกับความเย็นของก้นกระทะด้านบนซึ่งใส่น้ำ อุณหภูมิห้องเอาไว้ ไอน้ำก็จะควบแน่นเป็นหยดน้ำ คุณลุงใช้ตะหลิว(บิดให้ด้านแบนกลับไปอีกด้าน) รองไอน้ำไว้ น้ำก็ไหลมาตามด้ามตะหลิวทะลุออกไปลงขวดด้านนอก (เจาะรูด้านข้างหม้อสำหรับให้ตะหลิวทะลุออกมาได้) เป็นนวัตกรรมที่แม่ต้องร้อง..ว้าว! อุปกรณ์ง่ายๆอย่างตะหลิวก็สามารถดัดแปลงมากลั่นตะไคร้ไล่ยุงได้

    [​IMG]

    ต่อ มาคุณลุงพาเด็กๆไปดู เตาเผาถ่าน คุณลุงใช้ถังน้ำมันมานอนตะแคงทำเป็นเตา ใส่กิ่งไม้ที่เป็นเศษจากการตัดแต่งกิ่งต้นไม้ในสวนเนี่ยล่ะ แล้วก็เผาจนกระทั่งมันมอดเอง คุณลุงเล่าว่าการเผาถ่านทั่วไปจะขุดหลุมเผาถ่านไปพร้อมกับแกลบพอเสร็จแล้วก็ พรมน้ำ แต่วิธีของคุณลุงจะเป็นการเผาถ่านในอุณหภูมิที่สูงกว่าทำให้ได้ "ถ่านบริสุทธิ์" ซึ่งจะมีปริมาณน้ำมันดิน (Tar) ที่เป็นสารก่อมะเร็งลดลง

    [​IMG]

    ระหว่าง ที่เผาถ่าน ควันที่ออกมาก็ถูกดักให้ลอยผ่านกระบอกไม้ไผ่เจาะรูไว้ด้านล่าง ของเหลวที่ควบแน่นออกมาจะหยดลงกระป๋องที่รองเอาไว้ ของเหลวนี้จะต้องตั้งทิ้งเอาไว้ 3 เดือน เพื่อให้ของเหลวนั้นแยกตัวออกมาเป็น 3 ชั้น ชั้นบนจะเป็นน้ำมัน ชั้นล่างจะเป็นสาร Tar ส่วนตรงกลางจะเป็นน้ำวิเศษที่เรียกว่า น้ำส้มควันไม้ มีประโยชน์ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ช่วยเพิ่มผลผลิต ฟื้นฟูดินเสื่อม

    [​IMG]

    จากนั้นคุณลุงก็พาเด็กๆเดินไปดูนาข้าวที่คุณลุงหว่านไว้เมื่อเดือนก่อน ตอนนี้ต้นข้าว อ่อนๆชูดยอดสีเขียวขจีเต็มทุ่ง

    [​IMG]

    ระหว่าง ทางก็ยังได้เห็นพืชผักสวนครัวที่คุณลุงปลูกไว้ ทั้งพริก กระเพรา และโหระพา ใบงามๆทั้งนั้น และยังมีสมุนไพรอย่างฟ้าทะลายโจรด้วย แต่ที่ทำให้เด็กๆได้เพลิดเพลินที่สุดคือ เมล็ดต้อยติ่ง ก็ดอกสีม่วงบานเต็มสองข้างทาง คุณลุงบอกว่าตอนแรกจะถางต้นต้อยติ่งออกเพื่อให้เดินง่าย แต่เห็นว่าดอกสีสวยพรึ่บพรั่บอย่างนี้ เลยเก็บไว้อวดเด็กๆดีกว่า

    [​IMG]

    เด็กๆ พอเห็นเม็ดต้อยติ่งสีน้ำตาลเข้มชูช่อเต็มไปหมด อดใจไม่ไหว เก็บเม็ดต้อยติ่งกันใหญ่เลย จนไม่ยอมฟังคุณลุงยวงกันเลย จนครูเจนบอกว่า เก็บไปเยอะๆนะ เดี๋ยวจะได้ให้ทานกับข้าวเที่ยง โอ๊ะ..โอ..เด็กๆเลยชะงัก หยุดเก็บกันไปพักใหญ่ (อย่าว่าแต่เด็กๆเล้ย แม่อ้อยังต้องหักห้ามใจอย่างยากเย็นที่จะไม่เก็บเจ้าเม็ดต้อยติ่งสีน้ำตาล ที่อยู่กันเป็นทุ่งขนาดนั้น อิอิ)

    [​IMG]

    ระหว่าง ทางคุณลุงชี้ให้ดูรังนกกระจาบที่ทำรังอยู่บนต้นไม้ รังที่เห็นเป็นสีเขียวอยู่ด้านซ้ายล่างนั้นเป็นรังที่เพิ่งสร้างโดยนกกระจาบ ตัวผู้ แต่ถ้าเป็นรังที่สร้างมานานแล้วก็จะเป็นสีน้ำตาล ยิ่งถ้าคุณนกกระจาบตัวผู้สามารถหาคู่ได้ก็จะกลับมาต่อเติมรังเดิมให้มีส่วน ยื่นออกมาเผื่อต้องวางไข่ (รังสีน้ำตาลที่อยู่ด้านบนซ้าย) แล้วคุณลุงยังสอนเด็กๆให้ดูความเพียรพยายามของนกกระจาบเป็นตัวอย่างด้วย

    [​IMG]

    [​IMG]

    เรายังได้เห็นการเพาะเห็ดในโอ่งด้วย เห็ดดอกใหญ่มากค่ะ นึกว่าเป็นเห็ดยักษ์ซะอีก

    [​IMG]

    จาก นั้นคุณลุงก็บอกว่าจะแสดงให้เห็นถึงเกษตรพอเพียงว่าอยู่ได้อย่างไร แล้วคุณลุงก็คว้าเอาถุงพลาสติกมาเท สิ่งที่กองอยู่บนพื้นก็คือใบไม้ ซึ่งคุณลุงเก็บจากต้นไม้ระหว่างทางที่เราเดินผ่านมา

    [​IMG]

    แต่ ไม่ใช่ใบไม้ธรรมดาค่ะ คุณลุงค่อยๆหยิบขึ้นมาทีละกิ่ง แล้วอธิบายถึงว่าเราเอามาทำอะไรกินได้ และมีประโยชน์อย่างไร ทั้งตำลึง ยอดชะอม หน่อไม้หวาน ใบหม่อน ตะลิงปลิง ผักหนาม ใบมันปู ลูกฟักข้าว และอีกมากมาย เอาเป็นว่าคุณลุงไม่ต้องไปตลาดเพื่อหาซื้อผัก แค่เดินเข้าไปในสวนไม่มีอดแล้ว

    [​IMG]

    หลังจากได้ความรู้มากมายในช่วงเช้าแล้ว เราพักตั้งวงทานข้าวบนเสื่อ
    ท่ามกลางแมกไม้

    [​IMG]

    ใครอยากรู้ว่าเด็กๆเอาอะไรมากิน ก็ไปดูได้ที่อัลบั้มรูปนะคะ แม่อ้อขอลงรูป ข้าวกล่องยอดเยี่ยมของน้องมดตะนอยรูปเดียวค่ะ ดูซะก่อน..แม่แป้งของน้องมดตบแต่งข้าวเป็นรูปหน้าคนด้วย ! ลุงยวงยังใจดีเก็บมะม่วงสดๆจากสวนมาให้พวกเราทานกับ น้ำปลาหวานรสเด็ดของคุณลุงด้วยค่ะ

    [​IMG]

    หลัง จากอิ่มท้องก็มีกำลังเดินลุยสวนกันต่อ คราวนี้เดินกันรอบใหญ่ขึ้น ถึงแม้แดดจะแรงแต่ต้นไม้ใหญ่ก็ให้ความร่มรื่นแก่พวกเรา คุณลุงร้องถามว่า เดินกันไหวไหม? เด็กๆตะโกนแข่งกันว่า "ศรีทนได้.." ตามโฆษณาสียี่ห้อหนึ่ง แต่น้องมดตะนอยที่เดินรั้งท้ายกลับบอกว่า "ศรีทนไม้ได้้ค่ะ" ฮ่า..ฮ่า..

    [​IMG]

    ระหว่างทาง คุณลุงยังเก็บมะม่วงสุกมาปอกกันสดๆให้เด็กๆได้ทาน หวานอร่อยเหลือเกินค่ะ

    [​IMG]

    พอเดินมาถึงต้นกระท้อน ก็ได้กินกระท้อนเม็ดหวานฟูกันอีก

    [​IMG]

    ซัก พักคุณลุงก็ชวนเด็กๆมาปีนบ้านต้นไม้ธรรมชาติกัน ซึ่งจริงๆแล้วก็คือ ต้นไทรซึ่งแตกกิ่งก้านสาขาแน่นขนัด แต่ที่น่าตื่นเต้นเป็นเพราะมันยื่นเข้าไปในน้ำ ถ้าใครตกลงมาล่ะก็..โอว..ไม่อยากจะคิด แต่สุดท้ายเด็กๆก็ใช้สัญชาตญาณลิงเกาะกิ่งไม้กันอย่างเหนียวแน่น ไม่มีใครหล่น ท่ามกลางเสียงของลุงยวงที่ตะโกนว่า "อย่าถีบเพื่อนนะครับ!!"

    [​IMG]

    [​IMG]

    ทั้ง สวนนี้ คุณลุงลงแรงทำอยู่คนเดียวไม่ต้องไปจ้างใคร ถ่านก็เผาเอาเอง ยาฆ่าแมลงหรือปุ๋ยก็ไม่ต้องซื้อ ลุงยังบอกอีกว่า ถ้าเกิดสงครามขึ้นมาล่ะก็ ลุงน่ะอยู่ได้สบายๆไม่มีอดตาย แต่คนกรุงเทพฯอย่างพวกเราเนี่ย..ไม่รอดหรอก โอว..เห็นภาพเลยค่ะคุณลุง

    ตอนนี้คุณลุงยวงยังทำกิจกรรมเพื่อชุมชน โดยการเป็นครูพิเศษด้าน เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นวิทยากรอบรมด้านการเกษตรการเลี้ยงปลา การทำบัญชีรายรับ-จ่าย และเป็นหมอดินอาสาในการปรับปรุงดิน

    [​IMG]

    วันนี้ เด็กๆได้สนุก อิ่ม ตื่นเต้น และความรู้มากมายที่สวนลุงยวง นอกจากนั้นการได้สัมผัสวิถีการดำเนินชีวิตของลุงยวงที่ขยัน อดทน พอเพียง และทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นนั้น..ช่างเป็นบทเรียนที่ประเมิณค่ามิได้ของเด็กๆ กราบขอบพระคุณคุณลุงยวง เขียวนิล ค่ะ

    ข้อมูลลุงยวง : http://www.moac.go.th/builder/moac/a...ate.php?id=232
    <fieldset class="fieldset"> <legend>รูปขนาดเล็ก</legend> [​IMG]
    </fieldset>
    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> Last edited by เกษม; เมื่อวานนี้ at 10:35 AM.
    </td></tr></tbody></table>
     
  15. รัตติธรรม

    รัตติธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2009
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +1,235
    การไปศรีเทพครั้งนี้ต้องขอขอบคุณ ผู้ใหญ่บ้านสุภาพ ภารฤทธิ์ และครอบครัวที่กรุณาเอื้อเฟื้อบ้านให้พักด้วยค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0315.jpg
      IMG_0315.jpg
      ขนาดไฟล์:
      2.4 MB
      เปิดดู:
      130
  16. 1535

    1535 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +2,105
    วัดท่ายาง หมู่ที่ 4 อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร

    คณะของเราได้เดินทางไปยังวัดท่ายางใต้ ตำบลท่ายาง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
    เพื่อกราบพระครูวาทีธรรมโสภณ เจ้าอาวาสวัด
    ท่านพระครูมีความโดดเด่นในเรื่องขอการทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมศรัทธาของญาติโยม
    ท่านเจ้าอาวาสเป็นที่รักของประชาชนในท้องถิ่น
    ท่านมักจะนำทหาร และญาติโยมจำนวนมากไปทำบุญสร้างพระในจังหวัดต่าง ๆ
    ท่านเพิ่งกลับจากงานหล่อพระที่จังหวัดพัทลุง
    โดยนำปัจจัยไปช่วยงาน และนำพิมพ์หล่อพระของวัดใส่รถสิบล้อไป
    ร่วมกันกับชาวบ้านติดตามไปอีกหลายสิบคน
    ครั้งหนึ่งคณะของเราได้พบกับชาวบ้านจากจังหวัดชุมพรคณะนี้ที่จังหวัดกาญจนบุรี
    ในงานฉลองพระงานหนึ่ง ชาวบ้านมาเต็มรถบัส และรถตู้อีกหลายคัน
    มาค้างคืนที่วัดเพื่อเปิดโรงทานและมาร่วมทำบุญ
    หลวงพ่อทำหน้าที่เป็นผู้นำในการสร้างบุญ บารมีทั้งงานเล็กงานใหญ่มิได้ขาด
    ทำให้ญาติโยมได้บำเพ็ญ บุญ ศีล ทาน บารมี พุทธานุสสติ และสังฆานุสสติ
    มั่นคงในบุญบารมีที่ได้กระทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ

    ในวันนี้มีชาวบ้านมาพบท่านและกล่าวว่าจะไปปล่อยปลา
    ท่านว่าถ้าจะปล่อยอย่าปล่อย 3 ตัว 5 ตัว ต้องปล่อยทีละมาก ๆ
    จึงนำออกไปหาซื้อปลาดุกและเต่าด้วยตัวเอง
    แม้ปัจจัยได้ทำบุญในการสร้างพระที่พัทลุงไปจนหมด
    ท่านได้ใช้ปัจจัยที่มีโยมมาถวายเมื่อเช้าไปซื้อปลามาอีกหลายสิบโล
    ที่เหลือเงินไม่พอจ่ายขอติดไว้ก่อน
    คณะเราได้ทำบุญสมทบไป ท่านว่าพอดีกับที่ติดหนี้เขาไว้เลย
    และชักชวนเราไปปล่อยปลาดุก และเต่า ในที่ ๆ ท่านมาปล่อยสัตว์เป็นประจำ


    นั่นคือ ในโครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ สวนสาธารณะขนาดใหญ่
    ที่เชื่อมต่อโครงการแก้มลิงของในหลวง เกิดเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่
    ที่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในตัวเมืองชุมพรได้อย่างเด็ดขาด
    และยังเป็นที่จัดงานสำคัญ และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนชุมพรได้อย่างดีเยี่ยม​

    [​IMG]

    อนุโมทนาบุญด้วยกันค่ะ

    ขอให้ทุกท่าน ทุกดวงจิตดวงวิญญาณได้รับความสุขได้รับประโยชน์เช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าได้รับทุกประการเทอญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0901.jpg
      IMG_0901.jpg
      ขนาดไฟล์:
      293.5 KB
      เปิดดู:
      135
    • IMG_0903.jpg
      IMG_0903.jpg
      ขนาดไฟล์:
      301.1 KB
      เปิดดู:
      141
    • IMG_0904.jpg
      IMG_0904.jpg
      ขนาดไฟล์:
      301 KB
      เปิดดู:
      116
    • IMG_0905.jpg
      IMG_0905.jpg
      ขนาดไฟล์:
      393.6 KB
      เปิดดู:
      121
    • IMG_0907.jpg
      IMG_0907.jpg
      ขนาดไฟล์:
      460.5 KB
      เปิดดู:
      126
    • IMG_0919.jpg
      IMG_0919.jpg
      ขนาดไฟล์:
      494.1 KB
      เปิดดู:
      121
    • IMG_0926.jpg
      IMG_0926.jpg
      ขนาดไฟล์:
      365.2 KB
      เปิดดู:
      776
    • IMG_0928.jpg
      IMG_0928.jpg
      ขนาดไฟล์:
      561.5 KB
      เปิดดู:
      115
    • IMG_0935.jpg
      IMG_0935.jpg
      ขนาดไฟล์:
      517.7 KB
      เปิดดู:
      138
    • IMG_0938.jpg
      IMG_0938.jpg
      ขนาดไฟล์:
      631.2 KB
      เปิดดู:
      125
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2010
  17. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ขอให้ทุกท่านที่เล็งเห็น ประโยชน์ อานิสงค์ที่พึงเกิด ขึ้นจาก ความเมตตาต่อสรรพชีวิต

    พึงทำ พึงสร้าง ความอุดมสมบูรณ์ รองรับช่วงเวลาแห่งภัยพิบัติกันเอาไว้เป็นร่มเงา ต่อชีวิตให้หมู่ชนทั้งหลายด้วยเถิด


    ANUWART
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Jan 2008
    ข้อความ: 2,349
    Groans: 6
    Groaned at 12 Times in 10 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 31,436
    ได้รับอนุโมทนา 19,492 ครั้ง ใน 2,371 โพส
    พลังการให้คะแนน: 846 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    <center>กราบเรียนอาจารย์

    </center>
    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> กราบเรียนอาจารย์คณานันท์ ผมคิดว่าเรื่องที่เราช่วยกันอยู่หน้าจะเร็วขึ้นครับ เมื่อคืนพระท่านก็สั่งให้รีบปลูกผักกินได้ (สวนครัวและที่เป็นยา,เก็บน้ำฝึ้งไว้ใช้ผสมยา) อย่าลืมปลูกไว้กินเองด้วยครับ เมื่อถึงเวลานั้น อาหารก็หากินยาก ครับ หลายอย่างที่ท่านย้ำเตือน
    เพราะถ้าควมคิดของผม เรื่องธรรมท่านจะไม่ย้ำเตือนบ่อย แบบนี้ ลองพิจารณาดูนะครับ ท่านบอกว่าถ้าปลูกต้นปีหน้ายังทัน เรื่องโครงการ บวร ท่านทรงตรัสบอกให้ดำเนินการช่วยกัน
    ส่วนผมวันนี้ก็ได้ไปซื้อเมล็ดผักต่าง ๆ เพื่อมาทำเป็นแปลงสาธิต เผื่อโรงเรียนไหนจะมาขอดูงาน
    อันดับแรกผมและคณะปลูกไว้กินกันก่อน

    ปลูกตั้งแต่สับปะรส, กล้วย , ผักกินได้ และต้องหาพืชผักสมุนไพรที่ท่านโปรดสั่งเพิ่ม ต่อไปจะต้องช่วยเรื่องรักษาคนด้วยครับ

    เรื่องเกลือ, ด่างทับทิม ท่านก็ย้ำให้เก็บเพิ่ม

    ยาบางชนิดที่สูญหายไปนานท่านเมตตา ให้มาใช้อีก (ยาของพระฤาษีในป่า)
     
  18. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เรื่อง วัด ที่จะเป็นที่พึ่งพิงในยามเกิดภัยพิบัตินั้น

    จำแนกตามสถานภาพของวัดต่างๆได้ดังนี้


    1. วัดที่ครูบาอาจารย์ท่านทราบเรื่องภัยพิบัติ จะโดยจากญาณทัศนะก็ดี หรือทางใดทางหนึ่งก็ดี และท่าน มีเมตตา เอ็นดูต่อมวลหมู่สัตว์

    ได้จัดเตรียม วัด ถ้ำ สถานที่เอาไว้รองรับผู้คนชาวธรรมที่ยามเกิดภัยพิบัติก็หวังวัด หวังพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งอาศัย

    วัดในลักษณะนี้ ครูบาอาจารย์ท่านจัดเตรียมความพร้อมเอาไว้หลายอย่าง ทั้ง อาหาร น้ำสะอาด สถานที่ เกลือ สมุนไพร ยา เทียนไข

    และท่านรู้โดยญาณทัศนะว่าลูกศิษย์ท่านใครมาได้ หรือไม่ได้ มาพักพิงมากน้อยเท่าไร ท่านเมตตาบอกกล่าวกับลูกศิษย์ท่านเอาไว้

    บางวัด ต่อไปคนมาอาศัยเป็นร้อยบ้าง เป็นพันบ้าง เป็นหมื่นบ้าง หากเราช่วยกัน ร่วมใจกันเตรียม ก็จะบรรเทาและช่วยเหลือผู้คนได้อีกมาก

    เตรียมพร้อมมากเท่าไร ก็ยิ่งลำบากน้อยลง

    หากทุกคนมองว่าธุระไม่ใช่ ถึงเวลาก็ลำบากกันมากหน่อย

    เราเอง ในฐานะพุทธบริษัทสี่ เราสามารถช่วยกันเตรียมถวาย สิ่งของที่ท่านยังขาด ยังต้องการ จะมาก จะน้อย ก็ตาม ขอจงร่วมใจช่วยกัน

    เพื่อช่วยครูบาอาจารย์ไม่ให้ท่านลำบากมากจนเกินไป อาจจะในรูปผ้าป่า สังฆทาน และหรือโครงการอื่นๆ

    เช่น โครงการปลูกต้นไม้กินได้ เด็ดใบนอกรั้ววัดโดยรอบ เพื่อสร้างแหล่งอาหาร ปลูกป่าสมุนไพร

    สร้างถังเก็บน้ำ สร้างห้องน้ำ สร้างโรงทาน หรือของในโรงทาน

    ถวายเครื่องกรองน้ำดื่ม น้ำสะอาด

    ยามถวายได้อานิสงค์ผ้าป่า สังฆทาน ยามเกิดภัยพิบัติเกิดผลบรรเทาความเดือดร้อนของคนหมู่มาก

    อยากให้เน้นเรื่องการเร่งสร้างความอุดมสมบูรณ์และแหล่งอาหาร น้ำให้มากเพียงพอต่อยามอดอยาก

    "ทำ" ไม่ใช่เพื่อให้ตนเองรอด

    แต่ "ร่วมใจกันทำ " เพื่อให้ "ทุกคนรอด"

    ความสามัคคี เมตตา เสียสละ
     
  19. city

    city เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +627
    ในวันงานกฐินที่วัดป่าบ้านหาด หลังจากพระอาจารย์สุธรรมท่านรับกฐินและต้อนรับแขกรวมทั้งลูกศิษย์กลุ่มต่างๆเสร็จแล้ว ช่วงเย็นจึงได้ขออนุญาตท่านให้พาไปเยี่ยมชมนาข้าวและไร่มันสำปะหลังที่ท่านปลูกไว้ นาข้าวเพิ่งเก็บเกี่ยวเสร็จข้าวยังตากอยู่ในทุ่งนา ประมาณ 168 ไร่ ส่วนมันสำปะหลังประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงจะขุดได้ประมาณ 140 ไร่

    หากกลุ่มหรือคณะเราว่าง ถ้ามีโอกาสคงได้ไปช่วยงานท่านโครงการฯคงจะคืบหน้าไปได้มากเพราะพระอาจารย์ท่านทำไว้มากแล้ว เหลือในส่วนของชาวบ้านที่เราคงต้องเข้าไปทำความเข้าใจและทำให้ชาวบ้านได้ตระหนักถึงสิ่งที่ท่านทำตลอดจนมีจิตสำนึกต่อส่วนรวมร่วมกัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF2635.JPG
      DSCF2635.JPG
      ขนาดไฟล์:
      811.5 KB
      เปิดดู:
      154
    • DSCF2636.JPG
      DSCF2636.JPG
      ขนาดไฟล์:
      716.1 KB
      เปิดดู:
      136
    • DSCF2637.JPG
      DSCF2637.JPG
      ขนาดไฟล์:
      780.2 KB
      เปิดดู:
      127
    • DSCF2638.JPG
      DSCF2638.JPG
      ขนาดไฟล์:
      774.1 KB
      เปิดดู:
      138
    • DSCF2639.JPG
      DSCF2639.JPG
      ขนาดไฟล์:
      785.4 KB
      เปิดดู:
      146
    • DSCF2640.JPG
      DSCF2640.JPG
      ขนาดไฟล์:
      792.7 KB
      เปิดดู:
      132
    • DSCF2641.JPG
      DSCF2641.JPG
      ขนาดไฟล์:
      783.9 KB
      เปิดดู:
      141
    • DSCF2642.JPG
      DSCF2642.JPG
      ขนาดไฟล์:
      775 KB
      เปิดดู:
      128
    • DSCF2643.JPG
      DSCF2643.JPG
      ขนาดไฟล์:
      581.8 KB
      เปิดดู:
      120
    • DSCF2644.JPG
      DSCF2644.JPG
      ขนาดไฟล์:
      688.3 KB
      เปิดดู:
      129
    • DSCF2645.JPG
      DSCF2645.JPG
      ขนาดไฟล์:
      667.7 KB
      เปิดดู:
      136
    • DSCF2646.JPG
      DSCF2646.JPG
      ขนาดไฟล์:
      759.6 KB
      เปิดดู:
      135
    • DSCF2647.JPG
      DSCF2647.JPG
      ขนาดไฟล์:
      779.4 KB
      เปิดดู:
      132
    • DSCF2648.JPG
      DSCF2648.JPG
      ขนาดไฟล์:
      839.7 KB
      เปิดดู:
      140
    • DSCF2649.JPG
      DSCF2649.JPG
      ขนาดไฟล์:
      789.3 KB
      เปิดดู:
      151
    • DSCF2650.JPG
      DSCF2650.JPG
      ขนาดไฟล์:
      823.6 KB
      เปิดดู:
      132
    • DSCF2719.JPG
      DSCF2719.JPG
      ขนาดไฟล์:
      808.8 KB
      เปิดดู:
      139
    • DSCF2721.JPG
      DSCF2721.JPG
      ขนาดไฟล์:
      793.4 KB
      เปิดดู:
      125
    • DSCF2722.JPG
      DSCF2722.JPG
      ขนาดไฟล์:
      905.8 KB
      เปิดดู:
      130
    • DSCF2723.JPG
      DSCF2723.JPG
      ขนาดไฟล์:
      821.7 KB
      เปิดดู:
      141
    • DSCF2725.JPG
      DSCF2725.JPG
      ขนาดไฟล์:
      781.9 KB
      เปิดดู:
      134
    • DSCF2727.JPG
      DSCF2727.JPG
      ขนาดไฟล์:
      806.3 KB
      เปิดดู:
      141
    • DSCF2728.JPG
      DSCF2728.JPG
      ขนาดไฟล์:
      796.9 KB
      เปิดดู:
      114
    • DSCF2730.JPG
      DSCF2730.JPG
      ขนาดไฟล์:
      789.6 KB
      เปิดดู:
      141
    • DSCF2732.JPG
      DSCF2732.JPG
      ขนาดไฟล์:
      848.7 KB
      เปิดดู:
      134
    • DSCF2738.JPG
      DSCF2738.JPG
      ขนาดไฟล์:
      819.4 KB
      เปิดดู:
      148
    • DSCF2739.JPG
      DSCF2739.JPG
      ขนาดไฟล์:
      886.2 KB
      เปิดดู:
      131
    • DSCF2740.JPG
      DSCF2740.JPG
      ขนาดไฟล์:
      874.6 KB
      เปิดดู:
      148
    • DSCF2741.JPG
      DSCF2741.JPG
      ขนาดไฟล์:
      870.7 KB
      เปิดดู:
      137
    • DSCF2742.JPG
      DSCF2742.JPG
      ขนาดไฟล์:
      813.7 KB
      เปิดดู:
      138
    • DSCF2749.JPG
      DSCF2749.JPG
      ขนาดไฟล์:
      755.5 KB
      เปิดดู:
      134
    • DSCF2750.JPG
      DSCF2750.JPG
      ขนาดไฟล์:
      755.3 KB
      เปิดดู:
      122
    • DSCF2760.JPG
      DSCF2760.JPG
      ขนาดไฟล์:
      798.7 KB
      เปิดดู:
      130
    • DSCF2761.JPG
      DSCF2761.JPG
      ขนาดไฟล์:
      581.7 KB
      เปิดดู:
      143
    • DSCF2764.JPG
      DSCF2764.JPG
      ขนาดไฟล์:
      613.3 KB
      เปิดดู:
      142
    • DSCF2772.JPG
      DSCF2772.JPG
      ขนาดไฟล์:
      804.2 KB
      เปิดดู:
      124
    • DSCF2773.JPG
      DSCF2773.JPG
      ขนาดไฟล์:
      635.5 KB
      เปิดดู:
      160
    • DSCF2774.JPG
      DSCF2774.JPG
      ขนาดไฟล์:
      828.3 KB
      เปิดดู:
      144
    • DSCF2775.JPG
      DSCF2775.JPG
      ขนาดไฟล์:
      813.8 KB
      เปิดดู:
      155
    • DSCF2776.JPG
      DSCF2776.JPG
      ขนาดไฟล์:
      854.5 KB
      เปิดดู:
      131
    • DSCF2777.JPG
      DSCF2777.JPG
      ขนาดไฟล์:
      797.6 KB
      เปิดดู:
      131
    • DSCF2779.JPG
      DSCF2779.JPG
      ขนาดไฟล์:
      833.5 KB
      เปิดดู:
      138
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2010
  20. Mr.tom

    Mr.tom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2005
    โพสต์:
    269
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,185
    "หลวงพี่โต้ง" พระผู้สร้างป่าตามพระราชดำริในหลวง

    "หลวงพี่โต้ง" พระผู้สร้างป่าตามพระราชดำริในหลวง


    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG] ฝายแม้วฝีมือการสร้างของหลวงพี่โต้ง


    [​IMG] สภาพป่าภายในวัด


    [​IMG] วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม


    [​IMG]


    คมชัดลึก :"การปลูกป่าทดแทนจะต้องทำอย่างมีแผน โดยดำเนินการไปพร้อมกับการพัฒนาชาวเขา ในการนี้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ชลประทาน และฝ่ายเกษตรจะต้องร่วมกันสำรวจต้นน้ำและพัฒนาอาชีพราษฎรได้อย่างถูกต้อง สำหรับต้นไม้ที่จะปลูกทดแทนไม้ที่ถูกทำลายนั้น ควรใช้ต้นไม้โตเร็วที่มีประโยชน์หลายๆ ทางคละกันไป และควรปลูกพืชคลุมแนวร่องน้ำต่างๆ เพื่อยึดผิวดิน และให้เก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ นอกจากนั้นจะต้องสร้างฝายเล็กเพื่อหนุนน้ำส่งไปตามเหมืองเพื่อไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูก..."

    ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งของพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาราษฎรชาวไทยภูเขาที่อยู่บริเวณต้นน้ำลำธาร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๒๐ นอกจากนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่อป่าไม้อีกหลายครั้งหลายคราว

    พระราชดำริในการแก้ไขปัญหาราษฎรชาวไทยภูเขาที่อยู่บริเวณต้นน้ำลำธารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ได้นำไปกำหนดเป็นนโยบายหลัก ก่อนที่จะสู่ภาคปฏิบัติ
    นอกจากนี้แล้ว ยังมีพระและวัดอีกหลายแห่งได้น้อมนำพระราชดำริไปใช้กับชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้วัด เช่น ที่วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีพระครูธรรมคุต (พระอธิการสรยุทธ ชยปญฺโญ) หรือหลวงพี่โต้ง เป็นเจ้าอาวาส

    ทั้งนี้หลวงพี่โต้งได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียง วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำหลักพระพุทธศาสนา และเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้เป็นรูปธรรม โดยการทดลองใช้จริง เช่น การอนุรักษ์ดินและน้ำ การผลิตสารอินทรีย์ชีวภาพ ทดแทนการใช้สารเคมี การปลูกสตรอเบอร์รี่อินทรีย์ การบริหารจัดการขยะ เป็นต้น

    โดยได้น้อมนำแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง “บวร” ซึ่งหมายถึง บ้าน วัด โรงเรียน มาใช้เป็นหลักในการพัฒนา ทั้งได้อาศัยแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการพึ่งพาตนเองเป็นหลัก และได้ทำกิจกรรม ๔ ด้าน ได้แก่

    ๑.การอนุรักษ์ป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร ดำเนินการทำฝายแฝก ได้รับการสนับสนุนจากโครงการรณรงค์สร้างฝายต้นน้ำลำธาร และแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

    ๒.การพึ่งพาตนเองในด้านเกษตรอินทรีย์ จัดทำน้ำยาอเนกประสงค์ โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพและขยะวิทยา ได้ทำปุ๋ยหมัก น้ำยาฮอร์โมนต่างๆ ยาขับไล่แมลง และการจัดการแยกขยะอย่างถูกวิธี

    ๓.การอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ผลิตไบโอดีเซลจากเมล็ดทานตะวัน สบู่ดำ และ

    ๔.การจัดการศึกษารูปแบบใหม่ โดยการบูรณาการ ๘ สาระการเรียนรู้เข้าสู้สู่บริบทชุมชนของตนเอง ทั้งยังนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง และไอซีที มาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการศึกษาอย่างแท้จริง

    "เมื่อมองเห็นทุกข์เหล่านี้ จึงพยายามหาหนทางคลี่คลาย ทางหนึ่งที่นำมาให้ชาวบ้านเลือกเดินคือ มัชฌิมาปฏิปทา หรือเดินไปในเส้นทางสายกลาง วิถีแห่งความพอเพียง ให้หันกลับมาทำเกษตรอินทรีย์ พึ่งพาตนเองเป็นหลัก พอคิดอย่างนี้ก็เห็นว่า น้ำเป็นเรื่องสำคัญ เป็นทุนของชุมชน และการทำเกษตรไม่มีน้ำไม่ได้ จึงมีแนวคิดเรื่องป่าต้นน้ำตามมา เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างแหล่งน้ำ เราเริ่มทำตั้งแต่เรื่องฝาย เรื่องป่า ฉันพัฒนาวัด โดยยึดหลักแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง 'บวร' อันหมายถึง บ้าน วัด และโรงเรียน ฉันได้ก้าวลงจากยอดดอยสูงลงมา เพื่อร่วมกันพัฒนาอาชีพชาวบ้าน เปลี่ยนวิถีชีวิตจากการจมอยู่กับยาสารเคมี มาเป็นใช้ชีวิตร่วมกันกับอินทรียวัตถุ การสร้างสารเร่งจากธรรมชาติ แม้กระทั่งการผลิตน้ำยาล้างจานอินทรีย์ใช้เอง " นี่คือหลักการพัฒนาวัดของหลวงพี่โต้ง

    อย่างไรก็ตาม ในวันอาทิตย์ที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๓ ที่วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม จะมีงานหล่อหลวงพ่อพระเจ้าทันใจ หน้าตัก ๖ เมตร สูง ๙ เมตร ให้แล้วเสร็จใน ๑ วัน เป็นการเปิดโอกาสให้สาธุชนได้มาร่วมทำบุญตามกำลังที่มี

    สำหรับผู้ที่สนใจ ร่วมในกิจกรรมหล่อหลวงพ่อพระเจ้าทันใจ สามารถร่วมทำบุญได้ทางบัญชีธนาคาร ชื่อ วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม ธนาคารกรุงไทย สาขาแม่ริม เลขที่บัญชี ๕๑๕-๐-๒๒๑๒๘-๗ หรือร่วมงานบุญ ปฏิบัติธรรม และการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ได้ที่วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม ต.แม่สาบ/ยั้งเมิน อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ๕๐๒๕๐ ติดต่อ E-mail:doiphasom@gmail.com ใน กทม. ติดต่อคุณวรรณา ๐๘-๑๘๒๑-๓๙๑๔ หรือที่เชียงใหม่ คุณเอื้อง ๐๘-๔๓๗๘-๘๖๗๙

    ศรัทธาถวาย สปก. คืนป่า
    นายธงชัย เปาอินทร์ ข้าราชการบำนาญระดับ ๘ กรมป่าไม้ และเจ้าของเว็บไซต์ "www.thongthailand.com" บอกว่า วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม ตั้งอยู่บนยอดดอยผาส้ม สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ๑,๑๐๐ เมตร หน้าแล้งต้องผจญกับไฟป่า อันเนื่องมาจากพื้นที่ป่าโดยรอบเป็นป่าเต็งรังผลัดใบผสมกับป่าสนเขา จึงมีเชื้อไฟป่ามากมายตามฤดูกาล เป็นขุนต้นน้ำแม่ขาน และมีน้ำไหลฤดูฝนฤดูเดียว ขณะเดียวกันพื้นที่ป่าโดยรอบก็ถูกทำลายทั้งไฟป่าและการทำไร่ แต่เมื่อหลวงพี่โต้งมาจำพรรษา ณ วัดแห่งนี้ วัดก็มีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ รวมทั้งสภาพป่ารอบวัดก็ได้รับการฟื้นฟูชนิดที่เรียกว่า "จากหน้ามือเป็นหลังมือ" เลยทีเดียว

    จากประสบการณ์รับราชการที่กรมป่าไม้ หากไม่มีพระอย่างหลวงพี่โต้งมาเป็นเจ้าอาวาส ดอยผาส้มจะเป็นภูเขาหัวโล้นเช่นเดียวกับภูเขาอื่นๆ ที่ถูกแผ้วถางทำลาย เท่าที่ทราบสิ่งปลูกสร้างภายในวัด และต้นไม้ทุกต้น ล้วนมาจากน้ำพักน้ำแรงที่หลวงพี่โต้งลงมือปลูกด้วยตนเองเกือบทั้งหมด ท่านได้ปลูกป่าในบริเวณพื้นที่ของวัดและอุทยานแห่งชาติทับลาน ซึ่งอยู่ติดกัน เน้นการมีส่วนร่วมของชาวบ้านและหน่วยงานราชการ เช่น เจ้าหน้าที่อุทยาน โรงเรียนในบริเวณใกล้เคียง เข้าร่วม เช่น โรงเรียนบ้านยั้งเมิน โรงเรียนบ้านอมลอง เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าต้นน้ำของแม่น้ำปิง

    "ตลอดชีวิตรับราชการกรมป่าไม้ พื้นที่ป่าไม้มีแต่จะลดลงทุกปี แต่พื้นที่ป่าแห่งหนึ่งที่ไม่เคยลดลง และนับวันจะเพิ่มขึ้น ทั้งพื้นที่ป่าและความอุดมสมบูรณ์ คือพื้นที่ป่าที่อยู่ในบริเวณวัด พื้นที่ป่าที่อยู่ในความดูแลของพระ ด้วยเหตุนี้ จึงนำที่ ส.ป.ก.ของญาติที่ จ.เชียงราย มาถวายท่านประมาณ ๔๐ ไร่ โดยเชื่อว่า หลวงพี่โต้งจะสามารถนำที่ดิน ส.ป.ก.ผลิกเป็นผืนป่าคงเดิมได้" นายธงชัยกล่าว

    "ฉันพัฒนาวัด โดยยึดหลักแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง 'บวร' อันหมายถึง บ้าน วัด และโรงเรียน ฉันได้ก้าวลงจากยอดดอยสูงลงมา เพื่อร่วมกันพัฒนาอาชีพชาวบ้าน เปลี่ยนวิถีชีวิตจากการจมอยู่กับยาสารเคมี มาเป็นใช้ชีวิตร่วมกันกับอินทรียวัตถุ"

    เรื่อง... "ไตรเทพ ไกรงู"
    ภาพ... "กุลพันธ์ ศิริพิมพ์อัมพร"

    ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20101202/81402/หลวงพี่โต้งพระผู้สร้างป่าตามพระราชดำริในหลวง.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...