(๑๐)โพธิธรรมทีปนี: ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจธรรม

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 24 มีนาคม 2010.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจธรรม

    อริยสัจธรรมอันดับที่ ๔ ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย มีชื่อว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ซึ่งแปลว่าอริยสัจคือปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์

    การที่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ปรากฏมีเป็นอันดับสุดท้ายในบรรดาพระจตุราริยสัจธรรมนี้ ก็มีสาเหตุว่าหลังจากที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงทุกขอริยสัจ ประกาศให้ทราบถึงความทุกข์ต่างๆที่ครอบงำเบียดเบียนประชาสัตว์ เพื่อให้ทราบชัดเกิดความสังเวชสลดใจด้วยอริยสัจที่ ๑ คือ ทุกขอริยสัจอันกเป็นตัว "ผล" แล้ว ต่อจากนั้นได้ทรงแสดงเหตุแห่งความทุกข์ทั้งหลาย ด้วยอริยสัจที่ ๒ คือทุกขสมุทัยอริยสัจ อันเป็นตัว "เหตุ" ต่อจากนั้นเพื่อจะยังความเบาใจให้เกิดแก่ประชาสัตว์ผู้กำลังสลดใจอยู่โดยไม่รู้ตัว ว่าถูกความทุกข์ทั้งหลายเข้าครอบงำ โดยมีพระประสงค์จะทรงประกาศให้ทราบว่า ความดับทุกข์อย่างสิ้นเชิงมีอยู่จริงๆ จึงทรงแสดงอริยสัจที่ ๓ คือทุกขนิโรธอริยสัจอันเป็นตัว "ผล" ดังกล่าวมาแล้ว บัดนี้ มีพระพุทธประสงค์จักทรงแสดงอุบายอันเป็นเครื่องให้บรรลุถงทุกขนิโรธหรือพระนิพพานความดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิงนั้น จึงตรัสอริยสัจที่ ๔ คือทุขกนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจอันเป็นตัว "เหตุ" ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจหรือปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์อย่างสิ้นเชิงนี้ ได้แก่อะไร? ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์อย่างสิ้นเชิงนี้ ก็คือ "อัฏฐังคิกมรรค"

    อัฏฐังคิกมรรค

    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาหรือปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง ก็ได้แก่พระอัฏฐังคิกมรรค คือมรรคอันประกอบด้วยองค์ที่ ๘ อัฏฐังคิกมรรคนี่แหละเป็นเหตุให้ถึงความดับทุกข์ได้จริงๆ ขอให้รับทราบไว้ในเบื้องแรกอย่างนี้ให้ดี

    ที่ว่า อัฏฐังคิกมรรคๆ นั้นเป็นประการใด?
    อัฏฐังคิกมรรคหรือมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
    ๑. สัมมาทิฐิ = ความเห็นชอบ
    ๒. สัมมาสังกัปปะ = ความดำริชอบ
    ๓. สัมมาวาจา = วาจาชอบ
    ๔. สัมมากัมมันตะ = การงานชอบ
    ๕. สัมมาอาชีวะ = เลี้ยงชีพชอบ
    ๖. สัมมาวายามะ = เพียรชอบ
    ๗. สัมมาสติ = ตั้งสติชอบ
    ๘. สัมมาสมาธิ = มีสมาธิชอบ

    เพียงแต่แลดูรายชื่อองค์แห่งมรรคทั้ง ๘ องค์ ตามที่ได้ผ่านสายตามานี้ อาจจะมีบางท่านที่แอบคิดใคร่จักได้บรรลุทุกขนิโรธ เพราะอยากได้พระนิพพานอันเป็นยอดธรรมทางพระพุทธศาสนามานานหนักหนา จึงเฝ้าอุตส่าห์ติดตามมาด้วยใจจดจ้อง โดยประสงค์จะรู้ว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงทุกขนิโรธหรือพระนิพพานนั้น คือ การปฏิบัติเช่นใด? ครั้นได้มาเห็นรายชื่อองค์แห่งมรรคทั้ง ๘ ดังกล่าวมา ก็อาจจะนึกดูเอาง่ายๆ หรือมิฉะนั้นก็อาจจะนึกครึ้มใจอยู่คนเดียวก็เป็นได้ว่า

    อพิโธ่! นึกว่าอะไร เหตุที่จะให้ถึงพระนิพพานความดับทุกข์โดยสิ้นเชิงนั้น นึกว่าจะยากมากมาย โดยที่แท้ก็ของง่ายๆ เป็นสิ่งที่เราทำได้สิ้นและมรรคบางข้อนั้นก็ดูเหมือนว่ามันอัดแน่นอยู่ในตัวเรา คือเราได้ประพฤติปฏิบัติมานานแล้ว โดยไม่รู้สึกตัวเสียด้วยซ้ำ อ้าว! ถ้าไม่เชื่อจะลองนับดูให้แน่ใจอีกทีก็ได้

    - สัมมาทิฐิ คือความเห็นชอบ เราก็เห็นชอบมานานแล้ว ไม่ได้มีความเห็นผิดไปคิดกบฏทรยศต่อใครที่ไหน และก็ไม่ได้คิดฟุ้งซ๋านอะไรไปโดยปราศจากเหตุผล เพราะเรายังเป็นคนมีความคิดความอ่านดีเหมือนคนทั้งหลาย ยัีงไม่ได้เป็นโรคเส้นประสาท ฉะนั้น สัมมาทิฐิความเห็นชอบก็มีพร้อมบริบูรณ์อยู่แล้วในตัวเรา

    - สัมมาสังกัปปะ คือความดำริชอบ สัมมาวาจา คือเจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ คือการงานชอบ สัมมาอาชีวะ คือเลี้ยงชีพชอบ สัมมาวายามะ คือความเพียรชอบ ทั้ง ๕ ประการนี้ เราก็ประพฤติปฏิับัติอยู่เสมอ เพราะถ้าเราไม่มีคุณธรรมเหล่านี้อยู่ในตัวแล้ว ป่านนี้มิไปอยู่ในคุกเพราะทำผิดกฏหมายบ้านเมืองนานแล้วหรือ เพราะฉะนั้นธรรมเหล่านี้ก็มีพร้อมอยู่แล้วในตัวเรา

    - สัมมาสติ คือมีสติชอบ ตั้งแต่เกิดมาจนกระทั่งถึงเวลานี้ สติของเราก็ยังดีอยู่ ยังไม่ใช่สติวิปลาสคลาดเคลื่อนหรือสติบกพร่องคือเป็นบ้า ฉะนั้น สัมมาสตินี้ก็มีพร้อมแล้วในตัวเรา

    - สัมมาสมาธิ คือมีสมาธิชอบ สมาธินี้ได้ยินแว่วๆ จากท่านผู้รู้ว่า การทำจิตใจให้สงบ การทำให้จิตใจสงบเป็นชั่วครั้งชั่วคราวนั้น เราก็เคยได้ทำมาแล้วเหมือนกันนี่หนา ฉะนั้น สัมมาสมาธิก็น่าจะมีอยู่แล้วในตัวเราบ้างเหมือนกัน

    ก็ในเมื่อมรรคทั้ง ๘ นี้มีอยู่พ้อมแล้วในตัวเรา เพราะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ และเราก็ได้ประพฤติปฏิบัติมาจนครบทุกข้อแล้วเช่นนี้ เหตุไฉนเราจึงยังไม่ถึงทุกขนิโรธความดับทุกข์หรือพระนิพพานสักที ยังมีทุกข์มีสุขปะปนเช่นคนธรรมสามัญทั้งหลาย ยังไม่มีประสบการณ์อะไรที่จักเป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่าจะได้บรรลุพระนิพพานขึ้นมา หรือว่าจะต้องคอยวาสนาบารมี! ถ้าเช่นนั้น เราจะปฏิบัติในมรรคสัจเหล่านี้ทีละข้อสองข้อไปพลางๆ บางทีเมื่อวาสนาบารมีแก่กล้าแล้วก็อาจจะมีอันเป็นเอะอะโครมคราม พระนิพพานเกิดตกลงมาในเงื้อมมือ ให้เราได้ถือไว้ชมเล่าเป็นขวัญใจเข้าสักวันหนึ่งข้างหน้าบ้างกระมัง

    หากจะมีท่านใดเกิดมีความคิดความเข้าใจดังว่านี้ ก็มีความเสียใจที่จะบอกไว้ในที่นี้ว่า ความคิดเห็นซึ่งเป็นไปดังนั้น เป็นความคิดเห็นที่ออกมาจากความไม่เข้าใจในเรื่องพระอัฏฐังคิกมรรคดีพอ จึงก่อให้เกิดความคิดเห็นว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้เป็นสิ่งง่ายๆ ซึ่งยังเป็นความเห็นที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ยังเป็นความเห็นที่ใช้ไม่ได้ เพราะเป็นความเห็นที่ดูเบาในพระอัฏฐังคิกมรรคเกินไป ฉะั้นั้นจึงควรที่จะพิจารณาในเรื่องพระอัฏฐังคิกมรรคนี้ให้ดี ซึ่งจะขอนำมากล่าว อย่างย่อๆ ดังต่อไปนี้

    ในเรื่องพระอัฏฐังคิกมรรคนี้ ปัญหาที่เราควรจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาก่อนอื่นก็คือคำว่า "มรรค" เพื่อจักได้ความหมายว่า ที่ว่ามรรคๆ นั้นเป็นดังฤา?

    กิเสเส มาิเรนฺตา นิพฺพานํ
    คจฺฉนฺติ เอเตนาติ มคฺโค

    "พระโยคีบุคคลผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาย่อมฆ่ากิเลสทั้งหลาย เข้าถึงพระนิพพานได้ด้วยธรรมนั้น ฉะนั้นธรรมที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลสทั้งปลายให้ถึงพระนิพพานได้ จึงชื่อว่า "มรรค"

    อฏฺฐ องฺคานิ อสฺสาติ อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค
    "มรรคคือธรรมที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส และให้ถึงพระนิพพานได้นั้นต้องมีพร้อม ๘ องค์ ฉะนั้นจึงเรียกว่า "พระอัฏฐังคิกมรรค"


    ในพระคัมภีร์ สัมโมหวิโนทนี กล่าวไว้ว่า มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้ จักมีประสิทธิภาพฆ่ากิเลสทั้งหลาย และนำไปให้ถึงพระนิพพานได้นั้น จะต้องปรากฏมีพร้อมมูลบริบูรณ์ จักขาดไปแม้สักข้อหนึ่งประการใดไม่ได้อย่างเด็ดขาด เปรียบเหมือนเสนาย่อมประกอบไปด้วยองค์ ๔ และดุริยางคดนตรีย่อมประกอบไปด้วยองค์ ๕ จึงจักเข้าถึงภาวะที่สมบูรณ์มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ฉันใด แม้มรรคนี้ก็เป็นเช่นนั้น คือต้องประกอบไปด้วยองค์ ๘ ประการ จึงจักมีประสิทธิภาพฆ่ากิเลสให้ถึงพระนิพพานได้และในองค์ทั้ง ๘ ประการ แต่ละองค์ต้องประกอบไปด้วยคุณลักษณะดังต่อไปนี้

    ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ อันเป็นปฏิปทาให้ถึงมรรคผลนิพพานซึ่งเป็นองค์แห่งมรรคนั้น ได้แก่ปัญญาจักษุที่มีสภาพรื้อถอนอวิชชาและมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ของโยคี บุคคลผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เพื่อการเห็นแจ้งแทงตลอดในอริยสัจทั้ง ๔ คือ
    เห็นแจ้งในทุกขสัจ โดยปริญญากิจ
    เห็นแจ้งในสมุทัยสุจ โดยปหานกิจ
    เห็นแจ้งในนิโรธสัจ โดยสัจฉิกรณกิจ
    เห็นแจ้งในมรรคสัจ โดยภาวนากิจ

    ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ อันเป็นปฏิปทาให้ถึงมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นองค์แห่งมรรคนั้น ได้แก่ความปลงใจลงในพระนิพพานซึ่งห้ำหั่นความดำริผิดต่างๆ ของโยคีบุคคลผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา คือ
    ความดำริออกจากกามคุณอารมณ์
    ความดำริที่ประกอบด้วยความไม่พยาบาท
    ความดำริที่ประกอบด้วยกรุณา
    ๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ อันเป็นปฏิปทาให้ถึงมรรคผลนิพพานซึ่งเป็นองค์แห่งมรรคนั้น ได้แก่ความงดเว้นจากวจีทุจริต คือกำหนดไว้ไม่พูด อันสัมปยุตด้วยความดำริชอบของโยคีบุคคลผู้ปฏิบัติวิปัสนาภาวนาซึ่งงดเว้นอย่างเด็ดขาดจากวจีทุจริตเหล่านี้คือ
    การพูดเท็จ
    การพูดจาส่อเสียด
    การพูดคำหยาบ
    การพูดเพ้อเจ้อ
    ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ อันเป็นปฏิปทาให้ถึงมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นองค์แห่งมรรคนั้น ได้แก่ความงดเว้นจากการทุจริต คือ กำหนดไว้ไม่ทำของโยคีบุคคลผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ซึ่งงดเว้นอย่างเด็ดขาดจากกายทุจริตเหล่านี้คือ
    การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
    การลักขโมยทรัพย์
    การผิดพรหมจรรย์

    ๕. สัมมาอาชีวะ ความเป็นอยู่ชอบ อันเป็นปฏิปทาให้ถึงมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นองค์แห่งมรรคนั้น ได้แก่การงดเว้นจากมิจฉาชีพ ความเป็นอยู่ที่ไม่ถูกต้อง ของโยคีบุคคลผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ซึ่งมีลักษณะเว้นจากมิจฉาอาชีวะโดยเด็ดขาด

    ๖. สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ อันเป็นปฏิปทาให้ถึงมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นองค์แห่งมรรคนั้น ได้แก่ความเพียรที่ดำเนินไปตามสสัมมัปธาน ๔ ของโยคีบุคคลผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ซึ่งเป็นผู้มีความเพียรดังนี้ คือ
    เพียรไม่ให้บาปอกุศลเกิดขึ้น
    เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้น
    เพียรให้กุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
    เพียรผดุงกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
    ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ อันเป็นปฏิปทาให้ถึงมรรคผลนิพพานซึ่งเป็นองค์แห่งมรรคนั้น ได้แก่สติความระลึกชอบที่ดำเนินไปตามสติปัฏฐาน ๔ ของโยคีบุคคลผู้ปฏิบัิติวิปัสสนาภาวนา ซึ่งเป็นผู้จำต้องมีสติอันกว้างขวางยิ่งใหญ่ดังนี้ คือ
    มีสติกำหนดพิจารณาเห็นกายในกาย
    มีสติกำหนดพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
    มีสติกำหนดพิจารณาเห็นจิตในจิต
    มีสติกำหนดพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    ๘. สัมมาสมาธิ สมาธิชอบ อันเป็นปฏิปทาให้ถึงมรรคผลนิพพานซึ่งเป็นองค์แห่งมรรคนั้น ได้แก่สมาธิที่ดำรงมั่นในอารมณ์วิปัสสนากรรมฐาน ไม่ส่ายวอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน มีสภาวะสงบนิ่งยิ่งนัก มีอุปมาประหนึ่งน้ำแห่งจุณสำหรับอาบ เป็นความหยุดนิ่งแห่งใจ ประดุจความนิ่งแห่งเปลวประทีปในที่ลับของโยคีบุคคลผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ซึ่งเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นเพราะจิตของท่านได้ถูกสัมมาสติอันยอดเยี่ยมผดุงรักษาไว้เป็นอย่างดี โดยเป็นสมาธิที่ประกอบไปด้วยองค์คุณนี้ คือ
    สมาธิที่มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ
    สมาธิที่มีความตั้งมั่นเป็นรส
    สมาธิที่มีสภาพละมิจฉาสมาธิ

    ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย พระอัฏฐังคิกมรรคหรือมรรคอันประกอบไปด้วยองค์ทั้ง ๘ นั้น แต่ละองค์ย่อมประกอบด้วยคุณลักษณะดังกล่าวมานี้ ย่อมจะได้ชื่อว่าเป็นมรรคที่สมบูรณ์มีประสิทธิภาพฆ่ากิเลส และให้ถึงพระนิพพาน จึงจะนับว่าทุกขนโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจได้

    ก็ในกรณีแห่งทุกนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ มีข้อที่ควรจะทราบไว้อีกอย่างหนึ่ง ก็คือว่าบรรดาองค์แห่งมรรคทั้ง ๘ องค์นั้น อาจจะย่นย่อลงในขันธ์ทั้ง ๓ ได้ดังนี้

    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ทั้ง ๓ นี้เป็นสีลขันธ์

    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสติ ทั้ง ๓ นี้เป็นสมาธิขันธ์

    สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ ทั้ง ๒ นี้เป็น ปัญญาขันธ์

    จริงอยู่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ทั้ง ๓ องค์นี้เป็นองค์แห่งศีลที่บริสุทธิ์อย่างยิ่ง เป็นปฏิปทาแห่งศีลอันสมบูรณ์ที่สุด ฉะนั้นท่านจึงรวมองค์แห่งมรรคทั้ง ๓ นี้เข้าด้วยกันเป็น "สีลขันธ์"


    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ทั้ง ๓ องค์นี้ เมื่อรวมกันเข้าแล้วย่อมสำเร็จเป็นองค์สมาธิอย่างสมบูรณ์ที่สุด ควรแก่การที่จะเป็นปฏิปทาให้บรรลุถึงซึ่งพระนิพพานเป็นอย่างยิ่ง เพราะองค์แห่งมรรคทั้ง ๓ นี้มีกิจกรรมสัมพันธ์กัน จักขาดเสียอย่างใดอย่างหนึ่งมิได้ เพื่อความใจดีพึงดูอุปมาที่ท่านกล่าวถึงพฤติการณืร่วมกันแห่งองค์มรรคทั้ง ๓ ไว้ ดังต่อไปนี้
     
  2. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    หนุ่มเด็ดดอกจำปา

    ยังมีบุรุษหนุ่ม ๓ คนกำลังรุ่งดรุณวัย วันหนึ่งได้พากันเดินทางออกจากบ้านเพื่อไปเที่ยวงานนักขัตฤกษ์ให้สนุก ขณะที่เดินทางผ่านเข้าไปในสวนแห่งหนึ่ง สายตาเหลือบไปเห็นดอกจำปากำลังเบ่งบานอยู่บนต้นส่งกลิ่นหอมเป็นหนักหนา เจ้าบุรุษหนุ่มคนหนึ่ง จึงเอื้อมมือขึ้นไปหมายจะเด็ดดอกจำปาเอามาดอมดมให้สมกับความอยากได้ตามประสาคนหนุ่ม แม้จะเอื้อมมือเขย่งเท้าสักเท่่าใด ก็ไม่สามารถจะเด็ดดอกจำปาได้ เพราะดอกจำปานั้นมันอยู่สูงเกินไป เจ้าเพื่อนกันอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีใจอยากจะได้ดอกจำปาเหมือนกัน จึงลงทุนก้มตัวลงแล้วบอกให้เจ้าสหายรักขึ้นเหยียบหลังตน แม้เจ้าคนที่หนึ่งจะขึ้นเหยียบหลังเจ้าเพื่อนคนที่สองขึ้นไปเช่นนี้ ก็ยังไม่สามารถที่จะเด็ดดอกจำปาได้สำเร็จ เพราะมัวแต่มีอันเป็นขาสั่นริกๆ อยู่กลัวว่าจะตก! ขณะนั้นจึงเจ้าเพื่อนคนที่สามก็รีบเข้าไปยืนเคียงข้าง แล้วบอกให้เจ้าคนที่ยืนอยู่บนหลังเพื่อขาสั่นอยู่นั้น ให้เอามือข้างหนึ่งเกาะบ่าหรือหัวของตนก็ได จะได้เด็ดดอกจำปาให้เสร็จสิ้นไปเสียที เพราะสงสารเจ้าเพื่อนคนที่สองซึ่งมันอุตส่าห์ก้มหลังให้เหยียบมานานเต็มทีแล้ว หนุ่มคนที่หนึ่งผู้เป็นต้นเหตุในการเด็ดดอกจำปา ซึ่งขณะนี้เหยียบอยู่บนหลังของเพื่อนคนหนึ่ง และเอามือข้างซ้ายเกาะบ่าของเพื่อนอีกคนหนึ่ง จึงไม่มีอาการขาสั่นและเลือกเก็บมวลจำปาดอกงามๆ ได้พอแก่ความต้องการแล้วจึงลงมาจากหลัง และนำเอาดอกจำปาที่เก็บไ้ด้นั้น แบ่งปันกันประดับประดาร่างกายให้หอมกรุ่นเป็นที่สวยงามแล้ว ก็พากันเข้าไปเล่นงานนักขัตฤกษ์เป็นที่สนุกสนาน

    พฤติการณ์ของสามชาย ผู้เด็ดดอกจำปาในสวนดังกล่าวมาแล้ววันนี้ ย่อมเปรียบเทียบกันได้กับความเป็นไปแห่งองค์มรรคทั้ง ๓ ซึ่งจัดเป็น "สมาธิขันธ์" คือ

    องค์แห่งมรรค ๓ องค์ ซึ่งได้แก่สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ย่อมมีสภาวะเกิดขึ้นโดยความเป็นอันเดียวกัน จึงเปรียบได้กับ ๓ ชายหนุ่มผุ้เข้าไปสู่สวนพร้อมกัน อารมณ์แห่งวิปัสสนาภาวนาเปรียบไ้ด้กับดอกจำปาที่กำลังบานสะพร่ง "สัมมาสมาธิ" ไม่สามารถที่จะเข้าถึงอัปปนาแนบแน่นเป็นหนึ่งในอารมณ์ตามลำพังตนได้ เพราะในการบำเพ็ญวิปัสสนาภาวนา เพื่อให้สัมมาสมาธิถึงความสมบูรณ์ครบคุณลักษณะเป็นสัมมาสมาธิในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ มีกฏเกณฑ์ให้ใช่แต่เพียง "ขณิกสมาธิ" คือสมาธิชั่วขณะๆ เท่านั้น ไม่ใช่สมาธิขั้น "อุปจารสมาธิ" หรือ "อัปปนาสมาธิ" เพราะฉะนั้นสมาธิในขณะนี้จึงไม่มีพลังพอที่จะส่งให้ถึงอัปปนาได้

    สภาวะที่สมาธิไม่อาจเข้าถึงอัปปนาได้นี้ เปรียบเทียบได้กับสภาวะที่บุรุษหนุ่มคนที่หนึ่งไม่สามารถที่จะเอื้อมมือให้ถึงดอกจำปา แล้วเด็ดเอามาให้สมปรารถนาได้

    สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ เปรียบได้กับสหายผู้ลงทุนก้มต้ัวลงเพื่อให้เจ้าเพื่อนรักยืนหยียบบนหลังตน

    สัมมาสติย่อมเปรียบได้กับสหายผู้ยืนเคียงข้างให้เจ้าเพื่อนรักเกาะบ่า

    เมื่อสัมมาวายามะและสัมมาสติ มีกิริยาเข้าช่วยเหลือประคับประคองกันเป็นอันดีเช่นนี้ "สัมมาสมาธิ" ก็ย่อมมีกำลังเต็มที่สามารถเข้าถึงสภาพแน่วแน่ในอารมณ์ได้ ซึ่งเปรียบได้กับเมื่อเจ้าเพื่อนคนหนึ่งให้ยืนเหยียบบนหลังและเจ้าเพื่อนอีกคนหนึ่งให้เกาะบ่า ชายหนุ่มผู้ใคร่เด็ดดอกจำปาก็ย่อมสามารถเลือกเด็ดดอกจำปาได้ตามประสงค์โดยสะดวกดายฉันนั้น

    พฤติการณ์ขององค์แห่งมรรคทั้ง ๓ องค์ ย่อมเป็นไปร่วมกันเช่นว่ามานี้ เพราะฉะนั้นท่านจึงรวมองค์แห่งมรรคทั้ง ๓ นี้เข้าด้วยกันเป็น "สมาธิขันธ์"

    สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะทั้ง ๒ องค์แห่งมรรคนี้ เมื่อรวมกันเข้าแล้ว ย่อมสำเร็จเป็นองค์ปัญญาอย่างสมบูรณ์ที่สุด ควรแก่การที่จักเป็นปฏิปทาให้บรรลุถึงพระนิพพานเป็นอย่างยิ่ง เพราะองค์แห่งมรรคทั้ง ๒ นี้ย่อมมีกิจกรรมสัมพันธ์กัน จักขาดเสียอย่างใดอย่างหนึ่งมิได้ เพื่อความเข้าใจดี พึงทราบอุปมาที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้

    "นักดูเงิน" วางกหาปณะลงบนมือแล้ว แม้จะชำนาญในการดูเงินเพียงไร หากว่าแลดูด้วยตาเปล่าๆ อย่างเดียว โดยไม่พลิกไปพลิกมาตรวจพิจารณาดูทุกแง่ทุกมุมแล้ว ก็ย่อมมั่นใจไม่ได้ว่าการวินิจฉัยของตนจะผิดถูกประการใด ฉะนั้นเมื่อเขาต้องการจะพิจารณาให้ละเอียดทุกส่วนแห่งกหาปณะแล้ว ย่อมไม่สามารถจะใช้จักษุแห่งตนบันดาลให้กหาปณะนั้นพลิกกลับไปกลับมาเพื่อให้เขาพิจารณมาได้ เพราะเขาไม่ใช่ผู้วิเศษอะไรที่ไหน โดยที่แท้เขาต้องอาศัยนิ้วมือ คือใช้นิ้วมือหยิบกหาปณะนั้นพลิกกลับไปกลับมา จึงจะสามารถพิจารณาได้โดยละเอียดและวินิจฉัยได้อย่างมั่นใจ โดยไม่ผิดพลาด อุปมานี้ฉันใด ในกรณีแห่งสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะนี้ก็เหมือนกัน คือ

    ลำพังสัมมาทิฐิแท้ๆ ย่อมไม่สามารถที่จักวินิจฉัยอารมณ์แห่งวิปัสสนากรรมฐาน อันเป็นไปตามอำนาจแห่งพระไตรลักษณ์ คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ แต่เมื่อสัมมาสังกัปปะซึ่งมีหน้าที่ดำริใคร่ครวญไปมาหลายครั้งหลายหนแล้ว จึงอาจวินิจฉัยอารมณ์ได้อย่างถูกต้องถ่องแท้ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า สามารถที่จักรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งพระจตุราริยสัจได้อย่างแท้จริง เสมือนหนึ่งนักดูเงินสามารถวินิจฉัยกหาปณะได้อย่างมั่นใจ โดยไม่ผิดพลาดฉะนั้น พฤติการณ์ขององค์แห่งมรรคทั้ง ๒ องค์ย่อมเป็นไปร่วมกันดังว่ามานี้ เพราะฉะนั้นท่านจึงรวมองค์แห่งมรรคทั้ง ๒ นี้เข้าด้วยกันเป็น "ปัญญาขันธ์"

    จึงเป็นอันว่า บัดนี้เราก็ได้ทราบมาเป็นลำดับแล้วว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ ก็ได้แก่มรรคซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ และมรรคองค์ ๘ ประการนี้ เมื่อจะรวมลงในขันธ์ทั้ง ๓ เพื่อให้จำง่ายได้อย่างสั้นๆ ก้ย่อมครบองค์ขันธ์อย่างบริบูรณ์ คือสีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ ดังกล่าวมานั้น ที่นี้ปัญหาที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งอาจจะเกิดมีขึ้นเป็นบางท่าน ก็คือปัญหาที่อยากจะถามว่า

    ข้าแต่ท่านปาฐก! เรื่องที่ท่านพรรรณาว่าด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทามาเป็นคุ้งเป็นแควนั้น ข้าพเจ้าก็อุตส่าห์ติดตามฟังมาอย่างนั้นเองพเอเป็นกิริยา! แต่ก็ไม่เห็นท่านว่าอะไรให้เป็นที่เหมาะใจสักที คือข้าพเจ้ามีความสงสัยมานานนักหนาแล้วว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาคือ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งได้แก่พระอัฏฐังคิกมรรคนั้น พระอัฏฐังคิกมรรคชั้นไหนกันแน่ จึงจะถึงจุดเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปาทา พูดง่ายๆ ก็ว่า ข้าพเจ้าอยากจะให้ชี้ดูตัวทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ให้เด็ดขาดลงไปตัวเดียวก็พอเพราะในบรรดาอริยสัจทั้ง ๔ นั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือมรรค ๘ นี่สำคัญที่สุด เป็นจุดที่น่ารู้ที่สุด เพราะเป็นเหตุให้ถึงความดับทุกข์ คือพระนิพพาน อริยสัจข้ออื่นนั้นขอบอกตรงๆ ว่า ก็อย่างนั้นเอง คือไม่ตั้งอยู่ในความสนใจของข้าพเจ้่าเป็นอย่างมากเหมือนอริยสัจข้อนี้เลย ฉะนั้นจึงอยากจะให้ท่านชี้แจงให้แน่นอนลงไปว่า มรรคขั้นไหนกันแน่ที่เป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน ข้าพเจ้าต้องการทราบจุดสำคัญจุดนี้ เข้าใจไหมเล่า?

    คำวิสัชนาก็มีว่า ดูรา ท่านผู้อยากรู้จุดสำคัญแห่งมรรคอันเป็นตัวเหตุให้ถึงพระนิพพาน ! การที่ถามมาอย่างยืดยาวด้วยสำนวนอันกระท่อนกระแท่นย้ำไปย้ำมานั้น ก็นับว่าเป็นปัญหาสำคัญที่หนักเอาการอยู่ เอาเถิด...! เมื่ออยากจะรู้แน่นอนถึงจุดสำคัญที่ว่านั้นให้ได้ ก็จะได้ิวิสัชนาให้ฟัง ขอให้ตั้งใจฟังให้ดี คือว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ซึ่งเป้นอริยสัจอันเป็นปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์หรือพระนิพพานนั้น องค์ธรรมได้แก่ "มัคคังคเจตสิก"
     
  3. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    มัคคังคเจตสิก

    ก็มัคคังคเจตสิกนี้ มีอยู่ ๘ ดวง ตามจำนวนแห่งพระอัฏฐังคิกมรรค
    ๑. สัมมาทิฐิ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก
    ๒. สัมมาสังกัปปะ องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก
    ๓. สัมมาวาจา องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก
    ๔. สัมมากัมมันตะ องค์ธรรมได้แก่ สัมมากัมมันตเจตสิก
    ๕. สัมมาอาชีวะ องค์ธรรมได้แก่ สัมมามาอาชีวเจตสิก
    เจตสิกทั้ง ๓ ดวงคือ สัมมาวาจาเจตสิก ๑ สัมมากัมมันตเจตสิก ๑ สัมมาอาชีวเจตสิก ๑ เหล่านี้ จะเรียกอย่างรวมๆ กันว่า "วีรตีเจตสิก" ดังนี้ก็ได้
    ๖. สัมมาวายามะ องค์ธรรม ได้แก่ วิริยเจตสิก
    ๗. สัมมาสติ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก
    ๘. สัมมาสมาธิ องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก
    เจตสิกทั้ง ๘ ดวงนี้ เรียกชื่อว่า มัคคังคเจตสิก เป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกัน คือเกิดพร้อมกันกับมรรคจิค ซึ่งเป็นจติกำลังบรรลุถึงโลกุตตรภูมิ มัคคังคเจตสิกที่เกิดร่วมกันกับมรรคจิตนี่เอง เป็นตัวทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ! สมดังวจนะอันปรากฏมีใน อภิธัมมัตถสังคหบาลี ว่า ทุกฺขํ เตภูมิกํ วุฏฺฏํ เป็นอาทิ ซึ่งแปลความว่า
    "เตภูมิกวัฏจัดเป็นทุกขอริยสัจ, ตัณหาจัดเป็นสมุทัยอริยสัจ, นิพพานจัดเป็นทุกขนโรธอริยสัจ มัคคังคเจตสิก ที่เกิดร่วมกันกับมรรคจิตอันเป็นโลกุตระ จัีดเป็นทุกข์นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ"
    ข้อความที่อ่านมานี้ แม้รู้สึกว่าจะเป็นข้อความที่เข้าใจได้ยากอยู่สักหน่อยก็ตาม ถึงกระนั้นก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่นผู้มีปัญญาคงจักจับจุดสำคัญได้แล้วว่า ตัวทุกขนิโรธคามินีปฎิปทานี้ก็คือ "มัคคังคเจตนสิก" ซึ่งเกิดในขณเดียวกับที่มรรคจิตเกิดขึ้นนั้นเอง ฉะนั้นในเรื่องทุกขนิโรธคามินีปฎิปทาอริยสัจ ซึ่งเป็นอริยสัจอันเป็นปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์อย่างสิ้นเชิงนี้ เราควรจะศึกษาพิจารณาให้ถูกต้องถ่องแท้ด้วยดี โดยการทำความเข้าใจให้แน่นนอนเด็ดขาดลงไปดังนี้

    ผู้ที่ต้องการบรรลุถึงทุกขนิโรธเป็นหนักหนา พอแลเห็นตำราท่านบอกว่า ต้องปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นปฏิปทาแห่งความดับทุกข์ มีสัมมาทิฐิเป็นต้น และมีสัมมาสมาธิเป็นปริโยสาเน แล้วก็เริ่มปฏิบัติการทันที่ คือเริ่มตรวจดูองค์แห่งมรรคนั้นอย่างถ้วนถี่ ตรวจไปตรวจมาก็มีความเห็นว่าเป็นของง่ายๆ เป็นของที่เราทำได้ทั้งนั้น เช่น สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ดังนี้เป็นต้น เป็นของที่มีอยุ่ในตน เราทำได้ทั้งสิ้น เพียงแต่คอยระวังมลทิน คือ ความผิดๆ ที่เรียกว่า "มิจฉา" มาต่อข้างหน้าองค์แห่งมรรคแทนคำว่า "สัมมา" เสียก็แล้วกัน เช่นคำว่า สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ เราก็ควรระวังอย่าให้มิจฉาทิฐ ความเห็นผิดเสียเท่านั้นก็ใช้่ได้ ต่อจากนั้นก็คอยเรื่อยไป คอยดูอยู่่ว่าเมื่อไรทุกขนิโรธหรือพระนิพพานจะเอะอะโครมครามเกิดขึ้นมาในดวงจติของตนสักทีหนอ?

    ตายเปล่า? ขอบอกว่าตายเปล่าจริงๆ ถ้าลงได้ปฏิบัติไปด้วยความดูเบาอย่างใจเย็นแบบนี้ ต่อให้ปฏิบัติไปจนตายตั้งแสนชาติล้านชาติ ก็ไม่มีโอกาสที่จะถึงทุกขนิโรธหรือพระนิพพานได้เลย

    เพราะเหตุไร?

    เพราะปฏิบัติไม่สมกับเหตุ คือยังปฏิบัติไม่ถึงตัวทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา!

    ตัวทุกขนิโรธคมินีปฏิปทาคืออะไร? อ้าว! ลืมเสียแล้วหรือ ตัวทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาก็คือ "มัคคังคเจตสิก" อย่างไรเล่า เมื่อเขาต้องการทุกขนิโรธหรือพระนิพานอันเป็นผล แต่ปฏิบัติในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอันเป็นเหตุอย่างบกพร่องไม่ถูกต้อง โดยไม่สามารถที่จะยังมังคังคเจตสิกให้เกิดขึ้นได้เช่นนี้แล้ว ทุกขนิโรธหรือพระนิพพานอันเป้นผล ก็ย่อมจะปรากฏมีขึ้นไม่ได้เป็นธรรมดา

    ฝ่ายบุคคลผู้มีปัญญา แต่มารู้สึกว่าตนเป็นคนโง่ จึงโซซัดโซเซพาสังขารและใจ อันเต็มไปด้วยความปรารถนทุกขนิโรธคือพระนิพพาน เดินไปสู่สำนักแห่งท่านผู้มีความรู้ ขอความกรุณาให้ท่านช่วยแนะนำพร่ำสอนถึงวิธีการปฏิบัติเพื่อให้บรรลถึงวิธีการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงทุกขนิโรธนั้น เมื่อท่านแนะนำแล้วก็ปฏิบัติตามคำแนะนำสั่งสอน โดยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ยังวิปัสสนาญาณให้เกิดขึ้นตามลำดับ และเจริญขึ้นเรื่อยๆ ไปไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งญาณหนึ่งแห่งวิปัสสนา ซึ่งมีชื่อว่า "มรรคญาณ" อุบัติขึ้น ในขณะที่มรรคญาณอุบัติขึ้นนี้เงอ มรรคจิตก็ย่อมจะเกิดขึ้น! เมื่อมรรคจิตจะเกิดชึ้นนั้น มีอะไรเกิดขึ้นด้วยจำได้ไหมเล่า? ใช่แล้ว! มัคคังคเจตสิก ๘ ดวง อันเป็นตัวทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ย่อมจะถูกบังคับให้เกิดขึ้นพร้อมกับมรรคจิตด้วยอย่างแน่นอน นี่แหละจุดสำคัญแห่งมรรคมีองค์ ๘ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ซึ่งเป็นตัวเหตุให้ถึงทุกขนิโรธหรือพระนิพพาน ที่สงสัยกันมานานนนักหนาว่ามันอยู่ตรงไหนกันแน่ บัดนี้ได้ถูกแต่แผ่ออกมาให้เห็นเป็นที่ทราบกันอย่างเด็ขาดแล้วว่า อยู่ตรงที่ "มรรคจิต" เกิดขึ้นนี้เอง

    กถาที่กล่าวมานี้ หวังว่าท่านผุ้มีปัญญาทั้งหลายคงจะพอเข้าใจได้เป็นอย่างดี เมื่อเข้าใจได้เป็นอย่างดีเช่นนี้แล้ว การพรรณณาเรื่องทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริสัจ ก็สมควรที่จะยุติลงได้ด้วยประการฉะนี้



     
  4. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    สรุปอริยสัจ


    สมเด็จพระสรรเพชญสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐวิเศษ โดยได้ตรัสรู้โพธิธรรมวิเศษ คือพระจตุราริยสัจธรรม แล้วทรงนำเอาธรรมวิเศษนี้มาแสดงแก่ชาวโลกว่า อริยสัจธรรมอันเป็นธรรมวิเศษนี้ มีอยู่ ๔ ประการเท่านั้นคือ
    ทุกข์.......................................เป็นตัวผล
    ทุกขสมุทัย...............................เป็นตัวเหตุ
    ทุกขนิโรธ..................................เป็นตัวผล
    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.................เป็นตัวเหตุ

    ถ้่าสังเกตให้ดี ท่านผู้มีปัญญาก็คงจะทราบมานานแล้วว่า อริยสัจธรรมวิเศษที่องค์สมเด็จพระโลกเชษฐ์ที่ทรงแสดงไว้นี้ ย่อมเป็นธรรมที่เป็นเหตุและผลแห่งกันและกัน เพราะฉะนั้นจึงมีอุปมาที่พวกเราน่าจะทราบเอาไว้อีก ดังต่อไปนี้
    ทุกขอริยสัจ เปรียบประดุจภาระหนัก ซึ่งประชาสัตว์ต้องแบกไว้ตลอดกาล ตลอดเวลที่ยังต้อท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร
    ทุกขสมุทัยอริยสัจ เปรียบประดุจเหตุให้ต้องแบกภาระอันหนักนั้นตลอดไป โดยไม่หยุดหย่อน
    ทุกขนิโรธอริยสัจ เปรียบประดุจภาระอันหนักซึ่งต้อทนแบกมานานไมู่รู้ว่ากี่ภพกี่ชาตินั้น ได้ถูกปลงหมดสิ้นแล้ว
    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เปรียบประดุจอุบายในการที่จะปลงภาระอันหนักนั้น
    อีกอุปมาหนึ่งมีว่า...
    ทุกขอริยสัจ เปรียบเสมือนโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งเขาเบียดเบียนครอบงำประชาสัตว์ทั้งหลายให้ได้รับความเจ็บปวดทรมานอยู่เนืองนิตย์

    ทุกขสมุทัยอริยสัจ เปรียบเสมือนสมุฏฐานแห่งโรคภัยไข้เ้จ็บนั้น

    ทุกขนิโรธอริยสัจ เปรียบเสมือนโรคภัยไข้เจ็บที่ทรมานมานานนั้นได้หายไปเป็นปลิดทิ้งทั้งหมดแล้ว

    ทุกขนิโรธคามินีปฏิทาอริยสัจ เปรียบเสมือเภสัชวิเศษที่รักษาโรคคือความทุกข์ทั้งหลายได้อย่างเด็ดขาด

    อีกอุปมาหนึ่งมีว่า....
    ทุกขอริยสัจ เปรียบดุจต้นไม้มีพิษ

    ทุกขสมุัทัยอริยสัจ เปรียบดุจรากแห่งต้นไม้มีพิษนั้น

    ทุกขนิโรธอริยสัจ เปรียบดุจการตัดรากต้นไม้พิษนั้นหมดทุกราก

    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปาทอริยสัจ เป็นดุจอุบายเครื่องตัดรากต้นไม้มีพิษนั้น
    อีกอุปมาหนึ่งมีว่า....
    ทุกขอริยสัจ เปรียบดุจภัยคือสิ่งที่น่ากลัว

    ทุกขสมุทัยอริยสัจ เปรียบดุจเหตุแห่งภัยที่น่ากล้ว

    ทุกขนิโรธอริยสัจ เปรียบดุจความปลอดภัย

    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เปรียบดุจอุบายที่ให้ถึงความปลอดภัยนั้น

    อีกอุปมาหนึ่งมีว่า...
    ทุกขอริยสัจ เปรียบดุจฝั่ั่งแห่งผืนปฐพีนี้ ซึ่งมีทุกข์ภัยรอบด้าน

    ทุกขสมุทัยอริยสัจ เปรียบดุจห้วงน้ำใหญ่ ซึ่งเป็นเครื่องกางกั้นให้ติดอยู่แต่ที่ฝั่งแห่งผืนปฐพี อันมีทุกข์ภัยรอบด้าน

    ทุกขนิโรธอริยสัจ เปรียบดุจฝั่งแห่งผืนปฐพีโน้น ซึ่งเป็นสถานที่ๆ เต็มไปด้วยความสุข ปราศจากอุปัทวันตรายทั้งปวง

    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เปรียบดุจความพยายามอันเป็นอุบายเพื่อข้ามไปให้ถึงฝั่งแห่งผืนปฐพี ซึ่งมีแต่่สันติสุขปราศจากอุปัทวันตรายทั้งปวงนี้
    อุปมาทั้งปวงที่กล่าามาหลายประการนี้ ย่อมเป็นอุปมาที่ชี้ให้ท่านผู้มีปัญญาได้เห็นอย่างแจ้งชัดว่า พระจตุราริยสัจธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำมาแสดงแก่ชาวโลกทั้วงปวงนั้น ย่อมเป็นธรรมที่มีเหตุผลสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง เป็นธรรมที่มีเหตุผลถูกต้องสมบูรณ์เป็นที่สุด แต่มีข้อที่น่าเสียดายอย่างเหลือเกิน ก็ืคือว่า พระจตุราริยสัจธรรมนี้เป็นธรรมชั้นสูง คือธรรมของพระอริยสัจเจ้าทั้งหลาย สมกับนามที่ว่า พระจตุราริยสัจธรรม = สัจํรรมของพระอิริยเจ้าท ถ ประการ เพราะฉะนั้นบรรดาปุถุชนคนสามัญธรรมดา แม้จะเป็นผู้โชคดีโดยได้เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา และได้ยินได้ฟังการพูดการแสดงซึ่งพระจตุราริยสัจนี้อยู่เสมอ ๆ ก็ตาม ถึงกระนั้นก็ไม่สามารถที่จะเห็นแจ้งแทงตลอดตามสภาพที่มีเหตุผลโดยความเป็นจริงอย่างถ่องแท้ว่า
    ธรรมนี้เป็นทุกข์
    ธรรมนี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
    ธรรมนี้เป็นธรรมดับสนิทแห่งทุกข์
    ธรรมนี้เป็นเหตุให้ถึงความดับแห่งทุกข์
    ปุถุชนคนสามัญทั่วไป ย่อมไม่สามารถเห็นตามสภาพที่เป็นจริงในพระจตุราริยสัจอันมีเหตุผลทั้ง ๔ ประการนั้นได้อย่างลึกซึ้งมั่นคงเหมือนกับพระอริยสัจทั้งหลาย จะเห็นได้อย่างมากก็เพียงแค่สุตมยปัญญา คือการสดับตรังฟังหรือการศึกษาให้รู้พอผ่านๆ ไปเท่านั้นเอง หาได้เห็นแจ้งแทงตลอดอย่างลึกซึ้งแจ่มกระจ่างแก่ใจไม่ แต่อย่างไรก็ดี ขอให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายได้รับทราบเรื่องพระจตุราริยสัจในภาคศึกษานี้โดยสรุปอีกทีว่า

    พระจตุราริยสัจธรรม ย่อมเป็นธรรมที่ทรงไว้ึซึ่งความเป็นจริงไ่ม่เปลี่ยนแปลง สมกับชื่อที่ตั้งไว้จริงๆ คือ
    ธรรมที่ชื่อทุกขอริยสัจธรรมนั้น ย่อมเป็นธรรมที่มีสภาพทำให้สัตว์ทั้งหลายได้รับความทุกข์ความลำบากจริง สมกับชื่อที่ตั้งไว้

    ธรรมที่ชื่อว่า ทุกขสมุทัยอริสัจธรรมนั้น ย่อมเป็นธรรมที่มีสภาพเป็นเหตุให้ความทุกข์ความลำบากต่างๆ เกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลายได้จริงสมกับชื่อที่ตั้งไว้

    ธรรมที่ชื่อว่าทุกขนิโรธอริยสัจธรรมนั้น ย่อมเป็นธรรมที่มีสภาพทำให้สัตว์ทั้งหลายบรรลุถึงความดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิงเด็ดขาดจริง สมกับชื่อที่ตั้งไว้

    ธรรมที่มีชื่อว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้น ย่อมเป็นธรรมที่มีสภาพเป็นเหตุให้บรรลุถึงความดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิงเด็ดขาดจริงสมกับชื่อที่ตั้งไว้
    อนึ่ง ในบรรดาอริยสัจธรรมทั้ง ๔ นี้ สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสแนะนำตามสภาวะไว้เป็นข้อๆ ว่า ทุกขอริยสัจธรรมเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ ทุกขสมัยอริยสัจธรรมเป็นธรรมที่ควรละ ทุกขนิโรธอริยสัจธรรมเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจธรรมเป็นธรรมที่ควรภาวนา คือ เจริญให้เกิดมี ตามพระวจนะที่ปรากฏมีใน ปริญฺเญยฺยสูตร ดังต่อไปนี้
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! บรรดาอริยสัจธรรม ๔ ประการนี้ เป็นอริยสัจธรรมที่ควรกำหนดรู้ เป็นอริยสัจธรรมที่ควรละ เป็นอริยสัจธรรมที่ควรทำให้แจ้ง เป็นอริยสัจธรรมที่ควรเจริญให้เกิดมี...
    ทุกขอริยสัจธรรม ควรกำหนดรู้
    ทุกสมุทัยอริยสัจธรรม ควรละ
    ทุกขนิโรธอริยสัจธรรม ควรทำให้แจ้ง
    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจธรรม ควรให้เกิดมี


    ดูกร เธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! เพราะเหตุดังนี้ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี่ทุกข์, นี่ทุกขสมุทัย, นี่ทุกขนิโรธ , นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนี้
    พรรณาในพระอริยสัจภาคปรัยัติศึกษา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลงด้วยประการฉะนี้
     
  5. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    กิเสเส มาิเรนฺตา นิพฺพานํ
    คจฺฉนฺติ เอเตนาติ มคฺโค
    "พระโยคีบุคคลผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาย่อมฆ่ากิเลสทั้งหลาย เข้าถึงพระนิพพานได้ด้วยธรรมนั้น ฉะนั้นธรรมที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลสทั้งหลายให้ถึงพระนิพพานได้ จึงชื่อว่า "มรรค"


    อฏฺฐ องฺคานิ อสฺสาติ อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค
    "มรรคคือธรรมที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส และให้ถึงพระนิพพานได้นั้นต้องมีพร้อม ๘ องค์ ฉะนั้นจึงเรียกว่า "พระอัฏฐังคิกมรรค"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2010
  6. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! บรรดาอริยสัจธรรม ๔ ประการนี้ เป็นอริยสัจธรรมที่ควรกำหนดรู้ เป็นอริยสัจธรรมที่ควรละ เป็นอริยสัจธรรมที่ควรทำให้แจ้ง เป็นอริยสัจธรรมที่ควรเจริญให้เกิดมี...
    ทุกขอริยสัจธรรม ควรกำหนดรู้
    ทุกสมุทัยอริยสัจธรรม ควรละ
    ทุกขนิโรธอริยสัจธรรม ควรทำให้แจ้ง
    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจธรรม ควรให้เกิดมี

    ดูกร เธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! เพราะเหตุดังนี้ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี่ทุกข์, นี่ทุกขสมุทัย, นี่ทุกขนิโรธ , นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนี้
     
  7. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    ทุกขอริยสัจธรรม ควรกำหนดรู้


    ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต

    จะติดตามศึกษาอย่างใจจดใจจ่อเรื่อยๆไปเลยครับ สำหรับเรื่องนี้ โมทนาเป็นอย่างสูงเลยครับผม นี่ก็คือการสนับสนุนผมในด้านธรรมะ หาประมาณมิได้เลยครับ เพราะถูกจริตมากๆ
    แต่แม้ศึกษาทั้งหมดนี้อย่างละเอียดเพียงใดก็ตาม ก็ยังคงคือการจำได้หมายรู้ รู้ก็เพียงทฤษฏีอยู่ดี จะจำไปปฏิบัติ จนกระทั้งเห็นทุกข์ จนกระทั่้งเห็นธรรม จนกระทั้่งถึงที่สุดเเห่งทุกข์ คือพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ให้ได้เลยครับ เพื่อตัวเองจะได้พ้นทุกข์เสียที และเพื่อเป็นธรรมบรรณาการแก่ จขกท ด้วยครับ ขอบคุณมากๆจริงๆครับผม
     
  8. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    ทุกสมุทัยอริยสัจธรรม ควรละ

    อิทังโข ปนภิกขเว ทุกขสมุทโยอริยะสัจจัง
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ มีอยู่
    ยายัง ตัณหา นี้คือตัณหา
    โปโนพภวิกา อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก
    นันทิราคะ สหคตา อันประกอบด้วยความกำหนัดยินดี ด้วยอำนาจความเพลิน
    ตัตตะระ ตัตตะรา ภินันทินี อันเป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมฌ์นั้นๆ
    เสยฺย ถีทัง ได้แก่ตัณหาเหล่านี้คือ
    กามตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2010
  9. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    นันทิราคะ สะหะคะตา อันประกอบด้วยความกำหนัดยินดี ด้วยอำนาจความเพลิน

    ตัตตะระ ตัตตะรา ภินันทินี อันเป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมฌ์นั้นๆ

    จะให้ละ ไม่ง่ายเลยครับผม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2010
  10. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    อัฏฐังคิกมรรค

    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาหรือปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง ก็ได้แก่พระอัฏฐังคิกมรรค คือมรรคอันประกอบด้วยองค์ที่ ๘ อัฏฐังคิกมรรคนี่แหละเป็นเหตุให้ถึงความดับทุกข์ได้จริงๆ ขอให้รับทราบไว้ในเบื้องแรกอย่างนี้ให้ดี

    ที่ว่า อัฏฐังคิกมรรคๆ นั้นเป็นประการใด?
    อัฏฐังคิกมรรคหรือมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
    ๑. สัมมาทิฐิ = ความเห็นชอบ
    ๒. สัมมาสังกัปปะ = ความดำริชอบ
    ๓. สัมมาวาจา = วาจาชอบ
    ๔. สัมมากัมมันตะ = การงานชอบ
    ๕. สัมมาอาชีวะ = เลี้ยงชีพชอบ
    ๖. สัมมาวายามะ = เพียรชอบ
    ๗. สัมมาสติ = ตั้งสติชอบ
    ๘. สัมมาสมาธิ = มีสมาธิชอบ
     
  11. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    อัฏฐังคิกมรรค อริยมรรค มีองค์ ๘ สำนวนเดิม ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ ในมหาสติปัฏฐานสูตร หมวด ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน สัจจะปัพพัง

    (คัดมาให้อ่านเทียบเคียง กับสำนวนผู้รจนาหนังสือ โพธิธรรมทีปนี เฉพาะ บางส่วน ถ้ามีความประสงค์จะอ่านทั้งหมดให้หาอ่านในมหสติปัฏฐานสูตรในพระไตรปิฏกทุกๆฉบับ )
    ๑. สัมมาทิฐิ = ความเห็นชอบ
    กตมา จ ภิกฺขเว สมฺมาทิฏฺฐิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
    ยํ โข ภิกฺขเว ทุกฺเข ญา๊ณํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้ในทุกข์
    ทุกฺขสมุทเย ญาณํ ความรู้ในเหตุที่เกิดทุกข์
    ทุกฺขนิโรเธ ญาณํ ความรู้ในธรรมเป็นที่ดับทุกข์
    ทุกฺขนิโรธคามินิยา ปฏิปทาย ญาณํ ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงธรรม เป็นที่ดับทุกข์ฺ อันใดแล
    อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาทิฏฐิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่าสัมมาทิฏฐิ
     
  12. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    ๒. สัมมาสังกัปปะ = ความดำริชอบ ดำริ=คิดตรึกตรอง

    กตโม จ ภิกฺขโว สมฺมาสํกปฺโป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปโป เป็นไฉน?
    เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป ความดำริในการออกจากกามารมฌ์
    อพฺยาปาทสงฺกปฺโป ความดำริในความไม่พยาบาท
    อวิหึสาสงฺกปฺโป ความดำริในการไม่เบียดเบียน
    อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาสงฺกปฺโป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาสังกัปโป
     
  13. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    ๓. สัมมาวาจา = วาจาชอบ วาจา=คำพูด ถ้อยคำ

    กตโม จ ภิกฺขเว สมฺมาวาจา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจา เป็นไฉน?
    มุสาวาทา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองเว้นจากการกล่าวเท็จ
    ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เจตนาเป็นเครืองเว้นจากวาจา ส่อเสียด
    ผรุสาย วาจาย เวรมณี เจตนาเป็นเครืองเว้นจากวาจา หยาบคาย
    สมฺผปฺปลาปา เวรมณี เจตนาเป็นเครืองเว้นจากวาจา สำราก เพ้อเจ้อ
    อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาวาจา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาวาจา
     
  14. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    ๔. สัมมากัมมันตะ = การงานชอบ


    กตโม จ ภิกฺขเว สมฺมากมฺมนฺโต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน?
    ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่าสัตว์
    อทินาทานา เวรมณี เจตนาเป็นเครื่องเว้น จากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
    กาเมสุ มิจฺฉาจารา เวรมณี เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากความประพฤติผิดในกาม
    อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมากมฺมนฺโต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมากัมมันโต
     
  15. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    ๕. สัมมาอาชีวะ = เลี้ยงชีพชอบ


    กตโม จ ภิกฺขเว สมฺมาอาชีโว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน?
    อิธ ภิกฺขเว อริสาวโก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยะสาวกในธรรมวินัยนี้
    มิจฺฉาอาชีวํ ปหาย ละความเลี้ยงชีพผิดเสีย
    สมฺมาอาชีเวนํ ชีวิกํ อปฺเปติ ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพชอบ
    อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาอาชีโว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาอาชีวะ
     
  16. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    ๖. สัมมาวายามะ = เพียรชอบ

    กตโม จ ภิกฺขเว สมฺมาวายาโม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะ เป็นไฉน?
    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้


    อนุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ อกุสลานํ ธมฺมานํ อนุปาทาย เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาป ที่ยังไม่เกิดขึ้นไม่ให้เกิดขึ้น
    ฉนฺทํ ชเนติ ย่อมยังฉันทะความพอใจให้บังเกิด
    วายมติ ย่อมพยายาม
    วิริยํ อารภติ ย่อมปรารภความเพียร
    จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ปทหติ ย่อมประคองตั้งจิตไว้


    อุปปนฺนานํ ปาปกานํ อกุสลานํ เพื่อจะละอกุศลธรรมที่เป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว
    ฉนฺทํ ชเนติ ย่อมยังฉันทะความพอใจให้บังเกิด
    วายมติ ย่อมพยายาม
    วิริยํ อารภติ ย่อมปรารภความเพียร

    จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ปทหติ ย่อมประคองตั้งจิตไว้


    อนุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ธมฺมานํ อุปาทาย เพื่อจะยังกุสลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
    ฉนฺทํ ชเนติ ย่อมยังฉันทะความพอใจให้บังเกิด
    วายมติ ย่อมพยายาม
    วิริยํ อารภติ ย่อมปรารภความเพียร
    จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ปทหติ ย่อมประคองตั้งจิตไว้


    อุปฺปนฺนานํ กุสลานํ ธมฺมานํ ฐิติยา อสมฺโมสายภิยฺโญภาวาย เวปุลฺลาย ภาวนาย ปาริปูริยา เพื่อความตั้งอยู่ ไม่ให้สาบศูนย์ เจริญยิ่ง ไพบูลย์มีขึ้นเต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
    ฉนฺทํ ชเนติ ย่อมยังฉันทะความพอใจให้บังเกิด
    วายมติ ย่อมพยายาม
    วิริยํ อารภติ ย่อมปรารภความเพียร
    จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ปทหติ ย่อมประคองตั้งจิตไว้

    อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาอาชีโว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาวายามะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2010
  17. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    ๗. สัมมาสติ = ตั้งสติชอบ



    กตโม จ ภิกฺขเว สมฺมาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติ เป็นไฉน?
    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้


    กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ
    ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย เนืองๆอยู่
    อาตาปี สมฺปชาโน สติมา มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ
    วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ พึงนำอภิชเฌา(ความยินดี)และโทมนัส(ความยินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ


    เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ ย่อมเป็นผู้พิจารณา เห็นเวทนา ในเวทนา เนืองๆ อยู่
    อาตาปี สมฺปชาโน สติมา มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน
    มีสัมปชัญญะ มีสติ
    วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ พึงนำอภิชเฌา(ความยินดี)และโทมนัส(ความยินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ


    จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ ย่อมเป็นผู้พิจารณา เห็นจิตในจิต เนืองๆ อยู่
    อาตาปี สมฺปชาโน สติมา มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ
    วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ พึงนำอภิชเฌา(ความยินดี)และโทมนัส(ความยินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ


    ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็น ธรรมในธรรม เนืองๆ อยู่
    อาตาปี สมฺปชาโน สติมา มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ
    วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ พึงนำอภิชเฌา(ความยินดี)และโทมนัส(ความยินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ


    อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาสติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2010
  18. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    ๘. สัมมาสมาธิ = มีสมาธิชอบ


    กตโม จ ภิกฺขเว สมฺมาสมาธึ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิ เป็นไฉน?
    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้


    วิวิจฺเจว วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สงัดแล้วจากกามารมฌ์ สงัดแล้วจากธรรมที่เป็น อกุศล
    สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชมฺปีติสุขํ ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก และ วิจาร มีปีติ และ สุข อันเกิดจากวิเวก


    วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา เพราะความที่วิตก และ วิจาร ระงับลง
    อชฺฌชฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ สมาธึชมฺปีติสุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใจ ณ.ภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอก ผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ และ สุข อันเกิดจากสมาธิ


    ปีติยา จ วิราคา อนึ่ง เพราะความที่ ปีติวิราศไป
    อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน ย่อมเป็นผู้เพิกเฉยอยู่ และ มีสติ สัมปชัญญะ
    สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อจิกฺขนฺติ อุเบกฺขโก สติมา สุขวิหรีติ เสวยสุขด้วยกาย อาศัยคุณคือ อุเบกขา สติ สัมปชัญญะ และเสวยสุขอันใดเล่าเป็นเหตุ พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้น ว่าเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข


    ตติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ สุขสฺส จ ปหาน ทุกฺขสฺส จ ปหาน เข้าถึงตติยฌาน เพราะ ละสุขเสียได้ ละทุกข์เสียได้
    ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถํคมา เพราะความที่ โสมนัส และ โทมนัสในกาลก่อนอัศดงค์ดับไป
    อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ เข้าถึง จตุตฺถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา


    อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาสมาธึ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาสมาธิ
     
  19. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    สรุปคือว่า คำสอนของ ครูบาอาจารย์ี่ที่ เคารพเลื่อมใสแค่ไหน ถูกจริตเป็นที่สุดอย่างไร ก็อดนำเอาไปเปรียบเทียบกับ คำสอนดั่งเดิม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า(เท่าที่จะแสวงหาได้)ไม่ได้อยู่ดี
    กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ กรรมอันน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกิน ต่อคุณพระรัตนตรัย ต่อคุณบิดามารดา ต่อคุณครูบาอาจารย์ ต่อเทพพรหม เทวดาทั้งหลาย ต่อผุ้มีพระคุณทั้งหลาย ต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ตั้งแต่อเนกชาติที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน รู้แจ้งถี่แล้วได้กระทำก็ดี บ่รู้แจ้งถี่แล้วได้กระทำดั่งอั้นก็ดี ข้าพเจ้าก็กลัวเป็นโทษ ขอทุกๆพระองค์ ทุกๆท่าน ทุกๆคน จงโปรดเมตตา อดโทษอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่นี้เป็นต้นไปจนกว่าจะเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ด้วยเทอญ
     
  20. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    [​IMG]สาธุ อนุโมทนาค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...