(๑๒)โพธิธรรมทีปนี: พระบาลีสัตติสตสูตร

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 7 กรกฎาคม 2010.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    พระบาลีสัตติสตสูตร

    ดูกร เธอผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย! สมมติว่าบุรุษผู้มีอายุยืน ๑๐๐ ปี พึงกล่าวกับผู้มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปีอย่างนี้ว่า

    ดูกรพ่อผู้เจริญ! ขอท่านจงสดับความข้อนี้ด้วยดีเถิด คือว่าชนทั้งหลายจักพากันเอา
    - หอก ๑๐๐ เล่มทิ่มแทงท่านในเวลาเช้า
    - หอก ๑๐๐ เล่มที่แทงท่านในเวลาเที่ยง
    - หอก ๑๐๐ เล่มที่แทงท่านในเวลาเย็น
    ตัวท่านจะถูกเขาเอาหอก ๓๐๐ เล่มทิ่มแทงอยู่ทุกๆ วัน ดังนี้ ตลอดเวลาที่มีอายุ ๑๐๐ ปี แล้วจักมีโอกาสได้รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งอริยสัจ ๔ ที่ท่านยังไม่เคยได้รู้แจ้งแทงตลอดมาเลย หลังจาก ๑๐๐ ปีล่วงไปแล้ว....

    บุรุษผู้ได้สดับความนี้ เมื่อเป็นผู้ปัญญาเป็นไปตามอำนาจแห่งประโยชน์ ก็ควรจักยินดีรับเอาข้อเสนอนี้ด้วยความเต็มใจ

    เพระเหตุว่าดังฤา?
    เพราะเหตุว่า วัฏสงสารนี้มีเบื้องต้นและที่สุด อันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุดแห่งการประหารด้วยหอก ดาบ หลาว ขวาน ย่อมไม่ปรากฏเลย

    ก็เราตถาคตไม่กล่าวการรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งอริยสัจ ๔ ว่าเป็นสภาพที่มีทุกขโทมนัส แต่เราตถาคตกล่าวการรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งอริยสัจ ๔ ว่า เป็นสภาพที่เพียบพร้อมด้วยสุขโสมนัส

    อริยสัจ ๔ เป็นไฉน?
    อริยสัจ ๔ คือ
    ๑. ทุกขอริยสัจ
    ๒. ทุกขสมุทัยอริยสัจ
    ๓. ทุกขนิดรธอริยสัจ
    ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
    ดูกร เธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! ขอเธอทั้งหลายจงกระทำความเพียร เพื่อรู้แจ้งแทงตลอดตามความเป็นจริงว่า "นี่ทุกข์ นี่ทุกขสมุทัย นี่ทุกขนิโรธ นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา" ดังนี้

    พระพุทธฎีกาสูตรนี้มีใจความลึกซึ้งยิ่งนัก หากอ่านแต่พอผ่านๆ ไปรู้สึกว่าจะทำความเข้าใจยาก ฉะนั้นจึงขอโอกาสกล่าวย้ำเพื่อความเข้าใจง่ายอีกว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ปุถุชนผู้รู้สึกตนว่า ถูกอวิชชาเข้าครอบงำ ควรจะพยายามทำตนให้เป็นคนมีปัญญาด้วยการปฏิบัติให้รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งพระจตุราริยสัจ เพื่อประโยชน์อันประเสริฐคือการกำจัดอวิชชาให้หมดสิ้นไป แม้การปฏิบัติเพื่อเห็นแจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ นี้จะยากเย็นแสนเข็ญสักปานใด ก็ไม่ควรจะมีใจย่นย่อท้อถอย โดยมีอุปมาในกรณีนี้ว่า ถึงแม้จักถูกทิ่มแทงด้วยหอกวันละ ๓๐๐ เล่ม เป็นเวลานานถึง ๑๐๐ ปี หากว่าจักมีโอกาสได้เห็นแจ้งแทงตลอดซึ่งพระจตุราริยสัจแล้วไซร้ ก็ควรจักมีใจยินดีเอาความเจ็บปวดจากการถูกทิ่มแทงด้วยหอกเป็นเวลานานนั้น เข้าแลกกับการเห็นแจ้งแทงตลอดซึ่งพระจตุราริยสัจด้วยความเต็มใจ ทั้งนี้ก็เพราะทุกข์อันเกิดจากการที่จักต้องท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดไปในวัฏสงสาร ซึ่งมีเวลานานกำหนดนับไม่ได้นั้นเป็นทุกข์ภัยที่มากมายกว่าความเจ็บปวด ซึ่งเกิดจากการถูกทิ่มแทงด้วยหอกดังกล่าวนั้นอย่างเทียบกันไม่ได้เลย หากได้มีการรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งพระจตุราริยสัจแล้วเมื่อใด เมื่อนั้นทุกข์ภัยทั้งหลายย่อมจักถึงความระงับดับสูญไปอย่างเด็ดขาด เพราะการรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งพระจตุราริยสัจ เป็นการกำจัดอวิชชาซึ่งเป็นหัวหน้าหรือเป็นยอดแห่งอกุศลธรรม ที่เป็นเหตุนำให้ต้องได้ทุกข์ภัยอันเกิดจากเวียว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร ฉะนั้นจึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ผู้มีปัญญาซึ่งเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาน่าจักต้องพยายามปฏิบัติเพื่อให้เกิดดวงปัญญารู้แจ้งแทงตลอดพระจตุราริยสัจอันกวาดล้างอวิชชาซึ่งมีฤทธิ์ร้ายให้หมดไปจากดวงใจให้จงได้

    เห็นพูดวกไปเวียนมาอย่างน่ารำคาญ ท่านผู้อ่านบางคนน่าจะอึดอัดใจมานาน เลยตั้งปัญหาถามขึ้นมาว่า

    ก็รู้อยู่แล้วละว่า การกำจัดอวิชชาความโง่เขลาออกไปจากดวงใจได้นั้นเป็นของดีแน่ แต่ที่นี้อยากจะรู้ว่า การเห็นแจ้งแทงตลอดพระจตุราริยสัจ ซึ่งเ็ป็นการกำจัดอวิชชานั้น จักต้องทำอย่างไรบ้าง? บอกมาไวๆ ให้ทันใจสักหน่อยเถิด อย่าพูดอ้อมค้อมให้เสียเวลาอยู่เลย

    เมื่อมีผู้ขัดขึ้นมากลางคัน โดยการตั้งปัญหาถามดังนี้ ท่านผู้มีกำลังอรรถาธิบายเรื่องพระจตุราริยสัจนี้อยู่ ย่อมจะบังเกิดความเบาใจขึ้นเป็นอันมาก เพราะไม่ต้องลำบากในการที่จะ้องเทศน์อานิสงส์หน้าธรรมาสน์ให้เหน็ดเหนื่อยต่อไปอีก ด้วยรีบฉวยโอกาสรวบรัดอธิบายวิธีการปฏิบัติ เพื่อให้รู้แจ้งแทงตลอดพระจตุราริยสัจ ซึ่งเป็นการกำจัดอวิชชาได้อย่างเด็ดขาดเสียเลย โดยเริ่มวิสัชชาว่า...

    เอาละ... เมื่อท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายเกิดมีน้ำใจเกลียดชังอวิชชาปรารถนาจักรู้ทางปฏิบัติเพื่อเห็นแจ้งแทงตลอดพระจตุราริยสัจ เพื่อกำจัดอวิชชาให้หมดไป จากสันดานได้เช่นนี้ ก็เป็นการดีแล้ว ต่อจากนี้ไปขอจงทำใจให้ผ่องแผ้ว แล้วตั้งใจสดับตรับฟังถึงวิธีการปฏิบัติ เพื่อรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งพระจตุราริยสัจให้จงดี

    วิธีการหรือทางปฏิบัติบำเพ็ญเพื่อให้รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งพระจตุราริยสัจนี้ เป็นทางปฏิบัติอันลึกลับ สุดวิสัยที่มนุษย์หรือเทวดาสามัญจักปฏิบัติไปด้วยตนเองให้ถูกต้องได้ ฉะนั้นเมื่อเมื่อพวกเราทั้งหลายใคร่จักเดินทางไปให้เห็นพระจตุราริยสัจแล้ว กิจที่ควรกระทำก่อนอื่นก็คือตรวจดูหนทางพิจารณาดูให้ถี่ถ้วนว่า วิธีการปฏิบัติหรือหนทางปฏิบัติเพื่อให้ได้เห็นอริยสัจอย่างแท้จริงนั้น เราจักปฏิบัติการอย่างไร หรือพูดอีกทีก็ว่าเราจักดำเนินไปตามหนทางสายไหน จึงจักได้มีโอกาสรู้แจ้งเห็นจริงซึ่งพระจตุราริยสัจ? เมื่อตรวจไปตรวจมาในพระบาลี เราก็จะได้พบมรรคาหรือหนทางดำเนินไปเพื่อให้เห็นพระจตุราริยสัจที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณาชี้บอกเอาไว้ในพระบาลพระสูตรหนึ่ง ซึ่งเป็นหนทางปฏิบัติเพื่อให้เห็นพระจตุราริยสัจโดยตรง

    พระสูตรสำคัญ อันเป็นลายแทงบอกหนทางปฏิบัติเพื่อให้เห็นพระจตุราริยสัจ มีชื่อที่ควรจะจำได้ง่ายๆ ว่า "มรรคสูตร" ซึ่งถ้าจะแปลให้ได้ใจความเหมาะสมแก่กรณีนี้ ก็แปลว่าพระสูตรอันเป็นหนทางปฏิบัติไปเพื่อให้รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งพระจตุราริยสัจนั่นเอง ก็เนื้อความแห่งมรรคสูตรนั้น ปรากฏมีข้อความดังต่อไปนี้

    สูตรบอกหนทาง

    สมัยหนึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี พระองค์ได้ตรัสเรียกพระภิกษุสงฆ์ทั้งปวงมาประชุมพร้อมกันแล้ว จึงทรงมีพระมหากรุณาตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! ครั้งหนึ่งเมื่อแรกตรสรู้เราตถาคตอยู่ที่ควงไม้อชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ณ ตำบลอุรุเวลา เมื่อเราตถาคตหลีกเร้นอยู่ผุ้เดียวในที่่นั้น ได้เกิดความคิดขึ้นในใจอย่างนี้ว่า

    ทางนี้เป็นเอกายนมรรค คือเป็นมรรคาทางเป็นที่ไปอันเอก
    - เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
    - เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
    -เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
    - เพื่อบรรลุญายธรรม
    - เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง

    ทางที่เป็นไปอันเอกนี้ คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ
    สติปัฏฐาน ๔ ประการเป็นไฉน?
    สติปัฏฐาน ๔ ประการ คือ
    ๑. ผู้เห็นภัยในวัฏสงสารพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
    ๒. ผู้เห็นภัยในวัฏสงสารพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาั้งหลายอยู่
    ๓. ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร พิจารณาเห็นจิตใตจิตอยู่
    ๔. ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
    โดยเป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ เอกายนมรรคนี้ย่อมเป็นทางเป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกขโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง เอกายนมรรคนี้คือสติปัฏฐาน ๔ ดังนี้
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! ทีนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมรู้ความในใจของเราตถาคต จึงหายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏเบื้องหน้าเราในขณะนั้นทันที มีอุปมาดุจบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดเท่านั้น แล้วสหัมบดีพรหมก็กระทำผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่งประนมหัตถ์มาทางเราตถาคต แล้วได้มีพรหมวาทีว่า

    "ข้าแต่พระองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค! กรณีนี้ย่อมเป็นเช่นนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เอกายนมรรคนี้ เป็นทางเป็นไปที่อันเอกเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลายเพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้งจริงแล้ว พระเจ้าข้า" ดังนี้
    ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย มรรคสูตรนี้แหละเป็นลายแทงบอกหนทางปฏิบัติเพื่อให้รู้แจ้งเห็นจริงซึ่งพระจตุราริยสสัจ เมื่อผู้ใดปฏิบัติตามวิธีการที่ระบุไว้ในมรรคสูตรนี้แล้ว ผู้นั้นย่อมจักเกิดดวงปัญญาเห็นแจ้งแทงตลอดซึ่งพระจตุราริยสัจและสามารถกำจัดอวิชชา ได้บรรลุถึงพระนิพพานอันเป็นที่ดับความทุกข์ในวัฏสงสารได้อย่างแน่นอน

    เมื่อท่านผู้มีปัญญาได้ทราบว่า การที่จักรู้แจ้งเห็นจริงซึ่งพระจตุราริยสัจนั้น ต้องปฏิบัติตามวิธีการที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนไว้ในมรรคสูตรดังนี้แล้ว หากมีใจผ่องแผ้วใคร่จักลงมือปฏิบัติให้ได้ผลในบัดนี้ ก็เริ่มจับเอาวิธีการประเสริฐนั้นมาปฏิบัติในทันที โดยตั้งสติกำหนดพิจารณาสภาวธรรมที่่มีปรากฏในสติปัฏฐาน ๔ คือ
    ๑. กำหนดพิจารณากายในกาย
    ๒. กำหนดพิจารณาเวทนาในเวทนาั้ทั้งหลาย
    ๓. กำหนดพิจารณาจิตในจิต
    ๔. กำหนดพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย

    เมื่อตั้งสติกำหนดพิจารณาในสภาพธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ โดยวิธีการที่ถูกต้องแล้ว ต่อจากนั้นก็จะเกิดภาวนามยปัญญา คือปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา สามารถเห็นรูปนามแสดงอาการต่างๆ ไปตามอำนาจแห่งพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจลักษณ์ ๑ ทุกขลักษณ์ ๑ อนัตตลักษณ์ ๑ เห็นรูปนามหรือขันธ์ ๕ ซึ่งแสดงอาการต่างๆ ตามอำนาจแห่งพระไตรลักษณ์นี้ได้เป็นพิเศษด้วยภาวนามยปัญญา เพราะฉะนั้น ภาวนามยปัญญาซึ่งสามารถเห็นรูปนามแสดงอาการต่างๆ เป็นพิเศษนี้ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วิปัสสนา"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2010
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    อนุโมทนา สาธุ ๆ
    กับท่านทั้งหลายที่ได้เผยแพร่พระธรรม
    และสร้างบุญกุศลทุกอย่างด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     
  3. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    วิปัสสนา

    วเสเสน ปสฺสตีติ วิปสฺสนา
    ภาวนามยปัญญาใด สามารถเห็นรูปนามโดยอาการต่างๆ เป็นพิเศษ
    ภาวนามยปัญญานั้น เรียกชื่อว่า"วิปัสสนา"


    ผู้มีโชคดีเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาคนใด มีัปัญญาเห็นทุกข์ภัยในวัฏสงสาร พยายามปฏิบัติการตามพระโอวาทานุสาสนี ด้วยการปฏิบัติในสติปัฏฐานทั้ง ๔ จนเกิดภาวนามยปัญญา จนเห็นรูปนามเป็นไปตามอำนาจแห่งพระไตรลักษณ์เป็นพิเศษ ซึ่งเรียกว่า วิปัสสนานี้แล้ว ผู้นั้นย่อมได้นามว่าโยคีบุคคล ผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานนั้น มีความอุตสาหะพยายามตั้งสติกำหนดในบทวิปัสสนากรรมฐานอย่างขะมักเขม้น กระทำความเีพียรให้เป็นไปติดต่อโดยไม่ขาดสายแล้ว ผลก็ย่อมจะปรากฏออกมาให้เป็นที่ประจักษ์ นั่นคือสภาวะแห่งวิปัสสนาญาณ ย่อมจักบังเกิดขึ้นแก่เขาตามลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงปริโยสาน สภาวะแห่งวิปัสสนาญาณเหล่านี้ ย่อมจะเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นบันไดให้เขาไต่ขึ้นไปได้มีโอกาสเห็นซึ่งพระจตุราริยสัจอย่างแจ่มแจ้งเป็นที่สุด ก็สภาวะแห่งวิปัสสนาญาณอันเป็นบันไดสำหรับไต่ขึ้นไปให้เห็นพระจตุราริยสัจนั้นนับเป็นขั้นๆ ได้ ดังต่อไปนี้

    ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ

    วิปัสสนาญาณที่ ๑ นี้ มีชื่อว่า นามรูปปริจเฉทญาณ = ภาวนามยปัญญาที่สามารถกำหนดรู้นามและรูปได้

    หมายความว่า เมื่อผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานได้บรรลุถึงญาณนี้ย่อมสามารถเห็นรูปและนามตามความเป็นจริว่า รูปมีลักษณาการเป็นอย่างนั้น นามมีลักษณาการเป็นอย่างนั้น รูปและนามทั้งสองนี้ หาใช่เป็นอย่างเดียวกันไม่ โดยที่แท้เป็นสภาพแตกต่างกัน มีปัญญาแยกรูปนามออกจากกันได้โดยเด็ดขาด เห็นอย่างถนัดชัดเจนว่ารูปเป็นอย่างหนึ่ง นามเป็นอย่างหนึ่ง และในที่สุดย่อมจะเกิดทิฐิวิสุทธิ คือความเห็นอย่างถูกต้องถ่องแท้ขึ้นมาว่า การที่สมมติเรียกกันว่าเป็นสัตว์ เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพระพรหม ซึ่งต้องท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารอันมีอยู่มากมายหลายภูมินั้น เมื่อมองดูด้วยปัญญาธรรมดา ก็ย่อมจะมีอยู่มากมายหลายประเภท มีชีวิตความเป็นอยู่น่าสมเพชสงสาร และมีชีวิตอยู่อย่างเบิกบานน่าอภิรมย์ ตามสภาพแห่งภูมิชั้นแห่งตนๆ ซึ่งต่างก็มีอะไรต่อมิอะไรประกอบขึ้นเป็นตัวตนเป็นชีวิตอยู่เป็นอันมาก แต่เมื่อมองเห็นตามสภาวะที่เป็นจริงแล้ว เหล่าสัตว์ในอบายภูมิก็ดี มนุษย์ก็ดี เทวดาก็ดี พระพรหมก็ดี เหล่านี้ทั้งหมดล้วนแต่มีสิ่งประกอบเป็นชีวิตแท้ๆ อยู่ ๒ สิ่งเท่านั้น สิ่งประกอบที่ว่านี้ก็คือ รูป - นาม จึงเป็นอันว่าบรรดาสัตว์ทั้งหลายในจักรวาลนี้ เมื่อเพิกสมมติออกแล้วก็ไม่มี มีแต่รูปกับนามเท่านั้นจริงๆ

    การที่จะเกิดทิฐิวิสุทธิกล่าวคือความเห็นอย่างถูกต้องขึ้นมาเช่นนี้ก็เพราะค่าที่ตนเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนเกิดภาวานามยปัญญาสามารถเห็นรูปและนามปรากฏขึ้นแก่ตนอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งนั่นเอง ซึ่งแต่ก่อนนี้ในคราวที่ตนยังไม่บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ย่อมไม่มีโอกาสได้เคยเห็นและได้เคยรู้จักรูปนามมาก่อนเลย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ตนยังไม่มีภาวนามยปัญญา ยังถูกโมหะคืออวิชชาปกปิดดวงใจ ไม่ได้ตั้งสติกำหนดพิจารณาอย่างจริงจัง รูปนามจึงยังไม่ปรากฏให้เห็น เพิ่งจะมาปรากฏให้เห็นเอาอย่างแจ่มแจ้งก็ในตอนที่ได้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน และได้บรรลุถึงนามรูปปริจเฉทญาณนี่เอง

    ในกรณีแห่งนามรูปปริจเฉทญาณนี้ ใคร่จะชี้แจงให้ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายได้รับทราบไว้ เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดว่า "นามรูปปริจเฉทญาณ" ที่ว่าเป็นญาณเกิดปัญญากำหนดรูปนามรู้เห็นรูปและนามได้ ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น ต้องเข้าใจว่าเป็นการรู้เห็นด้วยปัญญาันเกิดจากภาวนาของตนจริงๆ มไ่ใช่ว่าสดับตรับฟังคำสั่งสอนของท่านผู้รู้ หรือได้ศึกษาพระปริยัติธรรม เห็นท่านอธิบายไว้ว่า รูปเป็นอย่างนั้น มีจำนวนเท่านั้น ๆ... นามเป็นอย่างนั้น มีจำนวนเท่านั้นๆ... แล้วก็ใช้ปัญญาคิดไปตามที่ท่านปาฐกถาเอาไว้ในตำรา เสร็จแล้วก็พยักหน้าร้องครางออกมาอย่างภาคภูมิใจว่า

    "อ๋อ... รูปเป็นอย่างนี้เอง นามเป็นอย่างนี้เอง เราเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในรูปนามแล้ว... ฮึ, เรานี้เกิดได้บรรลุนามรูปปริจเฉทญาณเข้าไปแล้วกระมังนี่..."

    อย่างนี้กลายเป็นสุตมยปัญญา คือปัญญาที่เกิดขึ้นจากการศึกษาและเป็นจินตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากจินตนาการไปเสียแล้ว เรียนรู้และนึกเห็นเอาเองอย่างนี้ ไม่ใช่ภาวนามยปัญญาคือปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา เมื่อไม่ใช่ภาวนามยปัญญาก็ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ กล่าวคือญาณที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสนากรรมฐาน ที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี่ เพราะฉะนั้นขอให้ท่านผูมีปัญญาทั้งหลาย จะเข้าใจให้เด็ดขาดเสียแต่ในตอนนี้ว่า ความรู้เห็นในเรื่องวิปัสสนานี้ทั้งหมด มันเป็นความรู้ความเห็ฯที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน อันเป็นภาวนามยปัญญาโดยเฉพาะ มิใช่ความรู้ความเห็นที่เกิดขึ้นจากภาวนามยปัญญาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องเท่านั้น จึงจะจัดว่าเป็นวิปัสสนาญาณ

    ๒.ปัจจยปริคคหญาณ


    วิปัสสนาญาณที่ ๒ นี้ มีชื่อว่่า ปัจจยปริคคหญาณ = ภาวนามยปัญญาที่สามารถกำหนดรู้ปัจจัยแห่งรูปนามได้

    หมายความว่า เมื่อผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ได้แลเห็ฯรูปนามตามความเป็นจริงว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร จนกระทั่งสามารถเห็นรูปนามแยกออกจากกันอย่างชัดเจน อันเป็นลักษณะของวิปัสสนาญาณขั้นที่หนึ่งแล้ว ต่อจากนั้น เมื่อพยายามจำเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไปอย่างไม่ลดละก็จะค่อยๆ เกิดภาวนามยปัญญา พาให้เห็นเหตุปัจจัยแห่งรูปนามโดยาสามารถเห็นอย่างแจ้งชัดว่า

    รูปมีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย?
    นามมีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย? หรือพูดให้ฟังกันง่ายๆ ก็ว่า

    รูปเกิดขึ้นมาจากอะไร?
    นามเกิดขึ้นมาจากอะไร?

    ปัญหาเหล่านี้ ย่อมจะถูกสลัดตัดทิ้งให้หมดออกไปจากดวงใจเพราะอำนาจแห่งวิปัสสนาญาณขั้นนี้ จะทำให้มีปีชาได้อย่างแจ้งชัดโดยนัยว่า
    - รูปเกิดขึ้นมาได้เพราะมีนาม
    - นามเกิดขึ้นมาได้เพราะมีรูป
    - รูปและนามทั้งสองนี้ ต่างก็เป็นเหตุปัจจัยแห่งกันและกัน อาศัยซึ่งกันและกัน และเป็นเหตุเป็นผลแห่งกันและกัน

    เมื่อได้รู้แจ้งสมุฏฐานแห่งรูปนามตามความเป็ฯจริง ดังนี้แล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ดับความสงสัยในรูปนามอันเป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต คือไม่มีความสงสัยในเรื่องชาติก่อน หรือชาติหน้าอีกต่อไป ปัญหาที่ค้างใจมานานว่า ชาติก่อนนี้มีจริงไหม? ชาติหน้าจะมีจริงหรือไม่? ย่อมจะหมดไปได้อย่างเด็ดขาด เพราะอำนาจแห่งญาณนี้ มีปกติให้ถึงความบริสุทธิ์ที่มีชื่อว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ = ความบริสุทธิ์เพราะบรรลุถึงญาณเครื่องข้ามพ้นความสงสัยเสียได้

    ผู้บรรลุถึงวิปัสสนาญาณที่ ๒ นี้ย่อมชื่อว่าไม่เสียทีี่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา เพราะได้ความเบาใจความอบอุ่นใจ ได้ที่พึ่งอย่างแท้จริงในพระศาสนา ได้รับการขนานนามว่า "จูฬโสดาบัน" คืพระโสดาบันน้อย หรือเรียกให้ฟังกันชัดๆ ก็ว่า เป็นผู้ทรงคุณวิเศษขนาดน้องของพระโสดาบันอริยบุคคลทีเดียว เพราะเป็นผู้มีคติเที่ยงแท้ คือหากว่าญาณนี้ไม่เสื่อมในขณะขาดใจตาย ก็จะได้ไปอุบัติเกิดในสุคติภูิมิ มีสวรรค์เทวโลกเป็นต้น ในชาติต่อไป (ชาติหน้า - ต่อจากชาตินี้) เป็นผู้ปิดอบายภูมิคือไม่ต้องไปเกิดเป็นอบายสัตว์ในอบายภูมิอย่างแ่น่นอน แต่ว่าในชาติต่อไปอีก (ชาติที่ ๓ คือชาติโน้นซึ่งต่อจากชาติหน้า) ปิดอบายภูมิได้ไม่แน่นอน อำนาจแห่งญานนี้มีอานิสงส์ปิดอบายภูมิได้อย่างเด็ดขาดแน่นอน แค่เพียงชาติที่ ๒ คือชาติหน้าซึ่งต่อจากชาตินี้เท่านั้น ถ้าต้องการปิดอบายภูมิให้ได้อย่างเด็ดขาดแน่นอนตลอดกาลจะต้องบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานต่อไปจนกระทั่งได้บรรลุถึงพระอริยมรรคพระอริยผลเห็นแจ้งแทงตลอดซึ่งพระจตุราริยสัจ ได้เห็นพระจตุราริยสัจแล้วเมื่อใดนั่นแล จึงจะสามารถปิดประตูอบายได้อย่างเด็ดขาด ส่วนการที่จักสามารถเห็นแจ้งในพระจตุราริยสัจในวิปัสสนาญาณขั้นใดนั้น ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายค่อยๆ ติดตามศึกษาอย่างใจเย็นเรื่อยไป ในไม่ช้าก็คงจักทราบ

    ๓. สัมมสนญาณ

    วิปัสสนาญาณที่ ๓ นี้ มีชื่อ สัมมสนญาณ = ภาวนามยปัญญาที่สามารถพิจารณากำหนดรูปรูปนาม โดยอาการที่ปรากฏเป็นพระไตรลักษณ์

    หมายความว่า เมื่อผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานมีภาวนามยปัญญากำหนดเหตุปัจจัยหรือสมุฏฐานแห่งรูปและนามได้อย่างแจ้งชัด ตัดความสงสัยไม่มีกังขาข้อข้องใจในปัญหาอันลึกลับซึ่งเกี่ยวกับรูปนามด้วยอำนาจแห่งปัจจยปริคคหญาณดังกล่าวมาแล้ว ต่อจากนั้น ครั้นพยายามตั้งสติกำหนดในบทพระกรรมฐานต่อไปๆ ก็จะเกิดปรีชาญาณเห็นความวิจิตรพิสดารของรูปนามหนักเข้าไปทุกที คือจะเห็นว่ารูปนามที่ตนตั้งสติกำหนดอยู่อย่างขะมักเขม้น ทุกเวลานาทีนั้น มันมีอาการดับไปเป็นระยะๆ
    - รูปนามที่เป็นอดีต ก็ดับในกาลที่เป็นอดีตนั่นเอง
    - รูปนามที่เป็นปัจจุบัน ก็ดับในกาลที่เป็นปัจจุบันนั่นเอง
    - รูปนามที่เป็นอนาคตก็ดับในกาลที่เป็นอนาคตนั่นเอง

    ตกลงว่ารูปนามนี้ มันมีอาการไม่คงที่เที่ยงแท้ ย่อมจะมีอันเป็นเปลี่ยนแปรอยู่เสมอ จะไปบังคับให้เป็นอยู่ตามสภาพเดิมไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระไตรลักษ์ที่เห็นได้ยากคือ
    - พระอนิจจลักษณ์
    - พระทุกขลักษณ์
    - พระอนัตตลักษณ์
    พระไตรลักษณ์นี้ ย่อมจะปรากฏโฉมหน้าให้ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาเห็นเป็นครั้งแรก และจะให้เห็นอยู่เรื่อยๆ ไป ตราบเท่าที่กำลังปฏิบัติอยู่ในสัมมสนญาณนี้ โดยเห็นพระไตรลักษณ์เข้าขยี้ขยำครอบงำรูปนามที่ตนกำหนดอยู่นั้นเป็นนิตย์ ไม่ว่าจะกำหนดลงไปครั้งใด เป็นต้องเห็นรูปนามตกอยู่ในอำนาจแห่งพระไตรลักษณ์ในครั้งนั้น รูปนามไม่สามารถที่จะหลีกพ้นจากอำนาจแห่งพระไตรลักษณ์ไปได้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเป็นเหตุให้ผู้ที่กำลังบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานเอาเสียดื้อๆ ในตอนนี้ก็ได้

    การที่สัมมสนญาณมีสภาวะทำให้ผู้ปฏิบัติได้ประสบการณ์มากมายไปด้วยทุกขเวทนา ก็เพื่อจะแสดงให้ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาเกิดภาวนามยปัญญาแลเห็นพระไตรลักษณ์อย่างชัดเจนนั่นเอง ยกตัวอย่าง เช่นเมื่อมีอาการเจ็บปวดขึ้น ก็จะได้เห็นรูปนามว่าเป็นทุกข์ คือตกอยู่ในทุกขลักษณ์ ครั้นตั้งสติกำหนดจนกความเจ็บปวดนั้นหายไปเอง ก็จะเห็นได้ว่ารูปนามเป็นอนิจจังคือตกอยู่ในอนิจจลักษณ์ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน แต่ก่อนเมื่อตะกี้นี้ยังเจ็บปวดอยู่ แต่บัดนี้เป็นอนิจจังคือหายเจ็บปวดแล้ว ต่อจากนั้นก็จะเกิดความรู้สึกขึ้นว่า ความเจ็บปวดอันเป็นทุกขเวทนาเหล่านี้ ตัวเราก็มิได้ปรารถนาแต่มันก็เกิดขึ้นเอง และเวลาที่จะหายมันก็หายไปเอง ตกว่ารูปนามนี้เป็นอนัตตาคือตกอยู่ในอนัตตลักษณ์ ใครจักไปบังคับบัญชให้เป็นไปตามอำนาจมิได้ การเห็นพระไตรลักษณ์อันปรากฏแก่รูปนามอย่างแจ้งชัดเช่นนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ เพราะเป็นการดำเนินการไปตามแนววิปัสสนาที่ถูกต้องตามกระแสพระพุทธฎีกา

    อ่านต่อ ๔. อุทยัพพยญาณ









     
  4. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ๔. อุทยัพพยญาณ

    วิปัสสนาญาณที่ ๔ นี้มีชื่อว่า อุทยัพพยญาณ = ภาวนามยปัญญาที่สามารถกำหนดรู้ความเกิดดับแห่งรูปนาม

    เมื่อผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งมีญาณอันบริสุทธิ์ผ่องใส ได้เห็นพระไตรลักษณ์ปากฏแก่รูปนามอย่างชัดเจนแล้ว ครั้นตั้งสติกำหนดในบทพระกรรมฐานต่อไปอย่างขะมักเขม้น ซึ่งเรียกว่า สาตจฺจกิริยา ถึงภาวะเป็นการกระทำติดต่อกันไปโดยไม่ขาดสาย ก็จะพบว่า รูปนามที่ตนตั้งสติกำหนดอยู่นั้นมีลักษณาการเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมหายไป และเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมหายไป... เมื่อเห็นรูปนามปรากฎลักษณาการเช่นนี้ ก็ย่อมแสดงว่าผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานนั้น มีวาสนาบารมีอันน่าชื่นชมยินดีเพราะสภาวะแห่งวิปัสสนาญาณของเขานี้ เริ่มเข้าสู่เขตห่งอุทยัพพยญาณแล้ว

    และมีกฏตายตัวอยู่ว่า เมื่อการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานได้ผ่านเข้ามาในเขตแห่งอุทยัพพยญาณใหม่ๆ นี้ ผู้ปฏิบัติย่อมจักมีประสบการณ์อันแปลกประหลาดมหัศจรรย์มากมาย ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ตนไม่เคยเห็นมาก่อนเลยในชีวิต ความแปลกประหลาดมหัศจรรย์ต่างๆ นี้ เกิดขึ้นเพราะฤทธิ์แห่งวิปัสสนูปกิเลส = ธรรมเป็นเครื่องเข้าไปทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง

    ก็วิปัสสนูปกิเลสนี้ มีอยู่่ทั้งหมด ๑๐ ประการ ซึ่งมีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้


    ๑.โอภาส ได้แก่วิปัสสโนภาส คือแสงส่ว่างที่เกิดขึ้นเพราะวิปัสสนา เช่น ในขณะที่ตั้งสติกำหนดอยู่นั้น อยู่ๆ ก็ให้มีเป็นอัศจรรย์ เกิดแสงสว่างขึ้นมาอย่างใหญ่หลวง ไม่ใช่เป็นแสงสว่างดวงเล็กๆ แต่สว่างไสวไปไกลสุดสายตา บางคนที่เกิดโอภาสขนาดหนัก ก็เห็นโลกทั้งหลายสว่างไสวไปหมด จำเดิมแต่พื้นแผ่นดินมนุษยโลกเรานี้ขึ้นไป จนจดพรหมโลกชั้นอกนิษฐ์ก็มี ดังนี้เป็นต้น

    ๒. ญาณ ได้แก่วิปัสสนาญาณ คือ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะวิปัสสนา เช่นอยู่ๆ ก็ให้มีอันเป็นเกิดความรู้ขึ้นมาอย่างกล้าหาญ ไม่ว่าจะคิดจะอ่านอะไรเรื่องอะไร ธรรมะข้อไหนก็ให้มีอันรู้ไปเสียหมด โดยเฉพาะเรื่องวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ยิ่งดูเหมือนว่าตนจะมีความรู้ยิ่งกว่าใครในโลก ให้มีอันเป็นอยากพูดอยากสอนผู้อื่นเป็นกำลัง เมื่อรู้ไปรู้มา ในที่สุดก็ให้สงสัยในตนเองเป็นกำลังว่า ตนเป็นผู้สำเร็จคือกลายเป็นพระอรหันต์ไปเสียแล้วกระมัง?

    ๓. ปิติ ได้แก่ปีติที่เกิดขึ้นเพราะอำนาจวิปัสสนา เช่นเมื่อตั้งสติกำหนดในบทพระกรรมฐานอยู่นั้น อยู่ๆ ก็ให้มีอันเป็นเกิดซาบซ๋านเยือกเย็นขึ้นอย่างบอกไม่ถูก บางทีก็เกิดขนลุกขนชันมีอาการซู่ซ่าไปหมดทั้งเนื้อทั้งตัว บางทีก็ทำให้ตัวเบาลอยขึ้นมาได้ รวมความว่าเกิดปีติขึ้นได้ทั้ง ๕ ประการคือ
    - ขุทฺทกาปีติ ให้ขนลุกขนพองสยองทั่วทั้งสรีระร่างกายตลอดจนปลายเกสาทุกเส้นก็ลุกชูชัน

    - ขณิกาปีติ ให้มีอาการแปลบปลาบไปทั่วสรีระร่างกายเปรียบเสมือนฟ้าแลบปรากฏอยู่ชั่วขณะหนึ่ง

    - โอกฺกนฺติกาปีติ ให้มีอาการรู้สึกเป็นคลื่นเป็นละลอกไปทั่วสรีระร่างกาย ครั้นแล้วก็หายไปเป็นระยะๆ เปรียบเสมือนละลอกคลื่นกระทบฝั่งมหาสมุทร แล้วทำลายหายไปฉะนั้น

    - อุพฺเพงฺคาปีติ ให้มีอาการรู้สึกประหนึ่งว่า ตัวลอยขึ้นไปเบื้องบน และถ้าปีติชนิดนี้เป็นไปอย่างแก้กล้าอย่างยิ่ง ก็จะทำให้ตัวลอยขึ้นไปเบื้องบนได้จริงๆ มีอาการเหมือนเหาะลอยไปในนภาลัยประเทศ เสมือนหนึ่งผู้ได้สำเร็จฌานอภิญญา ฉะนั้น

    - ผรณาปีติ ให้เกิดมีอาการน่ากลัว คือเมื่อปีติชนิดนี้บังเกิดขึ้นแล้ว ก็แผ่ซับซาบไปทั่วร่างกายจนเต็มอัดอั้นอยู่ประดุจดังลำไส้ที่อัดแน่นไปด้วยลม หรือมิฉะนั้นดุจภูกเขาถูกสายน้ำไหลเชี่ยวกรากมากระทบอยู่มิได้หยุดหย่อน บางทีให้รู้สึกอึดอัดแน่นในดวงใจ คล้ายบังเกิดในกลุ่มมาห่อหุ้มอยู่ในดวงหทัยวัตถุฉะนั้น
    ครั้นได้ประสบกับลักษณาการแห่งปีติเหล่านี้ ถ้ามนสิการคือกำหนดไว้ในดวงใจดี ก็ทำให้ผู้ที่กำลังบำเพ็ญวิปัสสนาอยู่นั้นเกิดความสำคัญผิดไป คือสำคัญว่าตนได้บรรลุธรรมวิเศษ ตนได้เป็นพระอรหันต์แล้ว เพราะประสบการณ์เช่นนี้ตนไม่เคยประสบพบเห็นมาก่อนเลย ฉะนั้นปีติจึงจัดเป็นวิปัสสนูปกิเลสประการหนึ่ง

    ๔. ปัสสัทธิ ได้แก่ความสงบซึ่งเกิดขึ้นเพราะอำนาจวิปัสสนา คือเมื่อตั้งสติกำหนดบทพระกรรมฐานอยู่นั้น ก็ให้มีอันเป็นรู้สึกว่าเกิดความสงบขึ้นมาทั้งร่างกยและจิตใจอย่างน่าแปลกประหลาดใจ ในส่วนร่างกายนั้นให้ปรากฏมีอาการเนื้อตัวเย็นสบายยิ่งนัก ตัวเบาอย่างน่าอัศจรรย์ ไม่หนักไม่แข็งกระด้าง อ่อนสลวยละเมียดละไม ทุกขเวทนาแม้แต่สักนิดหนึ่งก็ไม่มีเลย ในส่วนจิตใจก็แสนจะสงบเช่นเดียวกัน ไม่กระวนกระวาย เป็นจิตใจที่สงบนุ่มนวล ควรแก่การงานสะอาดหมดจด เป็นจิตเบาและเที่ยงตรงเป็นความสงบอย่างยิ่ง ผุ้บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาที่ถูกปัสสัทธินี้เข้าสิงแล้วย่อมจะมีใจผ่องแผ้วเสวยความยินดีอันไม่มีอยู่ในโลกมนุษย์! คือความหมายว่ามนุษย์ธรรมดาสามัญย่อมไม่มีโอกาสที่จะประสบความสงบอย่างยอดเยี่ยมเช่นนี้ได้ นอกจากท่านผู้มีศรัทธาเลื่อมใส แล้วได้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน จนกระทั่งบรรลุถึงอุทยัพพยญาณอย่างอ่อนนี้เท่านั้น

    ๕. สุข ได้แก่สุขซึ่งเกิดขึ้นเพราะอำนาจวิปัสสนา! คือว่าในขณะที่ตั้งสติกำหนดบทพระกรรมฐานอยู่นั้น ก็ให้มีอันเป็นเกิดความสุขสบายขึ้นมาอย่างน่าประหลาดมหัศจรรย์ มันเป็นความสุขอันประณีตอย่างล้นเหลือเกิดขึ้นท่วมท้นนองเนืองทั่วสรีระร่างกาย ความสุขชนิดนี้เป็นความสุขที่ละเมียดสุขุมเป็นอย่างยิ่ง ซึมซาบตลอดไปทั่วร่่างกาย เป็นความสุขท่วมท้นล้นหัวอกหัวใจอย่างไม่สามารถที่จะบรรยายให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นความสุขที่มีรสล้ำลึกแปลกประหลาด ซึ่งตนไม่เคยพบเคยเจอมาก่อนเลย เป็นความสุขอันประเสริฐล้ำเลิศยิ่งกว่าความสุขที่มนุษย์ทั้งหลายได้พบได้เจอกันอยู่ในทุกวันนี้ พูดอย่างรวบรัดอีกทีก็ว่า บรรดาสุขทั้งหลายทั้งหมดที่ปรากฏมีอยู่ในจักรวาลนี้ สุขใดจะมาเท่ากับความสุขซึ่งเกิดขึ้นจากอำนาจแห่งวิปัีสสนาในขณะนี้เป็นอันไม่มี ผู้ที่บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาพอได้ประสบกับความสุขชนิดนี้เข้า ย่อมเกิดความยินดีปรีดาพออกพอใจเป็นหนักหนา ถ้าไม่มีกัลยาณมิตรคือท่านผู้วิปัสสนาจารย์คอยเตือนให้สติก็จะหลงใหลใฝ่ฝันอยู่กับความสุขเช่นที่ว่านี้ ไม่สามารถที่จะบำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาต่อไปได้ เป็นอันติดความสุขตาย เพราะเข้าใจตนว่าได้บรรลุธรรมวิเศษอยู่เพียงแค่นี้

    ๖. อธิโมกข์ ได้แก่ศรัทธาที่เกิดขึ้นเพราะอำนาจวิปัสสนา! คือว่าเมื่อตั้งสติกำหนดบทพระกรรมฐานอยู่นั้น ก็ให้มีอันเป็นเกิดศรัทธาที่มีพลัอันแข็งแกร่งเป็นอย่างยิ่ง เพราะจิตและเจตสิกในตอนนี้เป็นคุณชาติผ่องใสยิ่งนัก ด้วยอำนาจแห่งศรัทธาซึ่งบังเกิดขึ้นมากผิดปกติ จึงทำให้บังเกิดความคิดความอ่านพลุ่งพล่านไปมากมาย เช่น คิดถึงคนทั้งหลายอยากให้เขาเหล่านั้นเข้ามาปฏิบัติวิัสสนากรรมฐานเหมือนกับตนบ้าง คิดถึงคนที่รักใคร่ชอบพอ อยากจะชักชวนให้เขามาปฏิบัติวิปัสสนาบ้าง ต่อจากนั้นก็คิดถึงบุคคลที่เป็นสัมพันธชนเกี่ยวข้องใกล้กับตนเข้ามา คือคิดถึงบิดามารดาพระอุปัชฌายาจารย์ เป็นต้น ใคร่จะให้ชนที่ตนเคารพนับถือย่างสูงสุดเหล่านี้ได้มีโอกาสเข้ามาปฏิบัิติวิปัสสนากรรมฐานเหมือนกับตนในขณะนี้บ้างเหลือเกิน ก็ศรัทธาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เป็นศรัทธาที่มีสภาวะรุนแรงเป็นอย่างยิ่ง รุนแรงขนาดที่ว่าแม้ผู้มีพระคุณแก่ตนเหล่านั้นจะได้ล้มหายตายจากโลกนี้ไปแล้ว ถึงกระนั้นก็ให้รู้สึกเสียดาย อยากจะให้ท่านกลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเหมือนกับตนบ้างทีเดียว

    นอกจากจะคิดเตลิดเปิดเปิงไป เพราะอำนาจแห่งศรัทธาดังกล่าวมาแล้ว ก็มีใจผ่องแผ้วนึกถึงคุณของท่านวิปัสสนาจารย์ผู้บอกกรรมฐาน นึกถึงคุณของพระบวรพุทธศาสนา เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าที่สุดที่จะพรรณนาให้หมดสิ้นได้ เมื่อจิตคิดเพริดไปด้วยอำนาจแห่งอธิโมกข์หรือศรัทธาเช่นนี้ ก็จะเป็นเหตุให้มีอันเป็นลืมมูลกรรมฐาน คือไม่ตั้งสติกำหนดรูปนามอันเป็นกิจของตน ทำให้กรรมฐานแห่งตนรั่วคือบกพร่องไป! ความจริงศรัทธาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ก็ล้วนแต่ดีๆ ทั้งนั้น ไม่ใช่ว่าไม่ดี เพราะเป็นศรัทธาที่เกิดขึ้นในขณะที่จิตบริสุทธิ์ผุดผ่อง ซึ่งคนธรรมดาสามัญจะเกิดศรัทธาชนิดนี้ขึ้นไม่ได้ แต่ที่ท่านบัญญัติศรัทธาชนิดนี้ไว้ว่าเป็นวิปัสสนูปกิเลสก็เพราะว่า เมื่อคิดเพริดไปด้วยอำนาจแห่งศรัทธาอย่างนี้แล้ว ก็จะทำให้ละทิ้งหน้าที่ของตน คือการกำหนดในบทกรรมฐาน อันเป็นเหตุให้เสียเวลาในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หากว่ามีมนสิการไม่ดีเพราะมีตัณหามานะ ทิฐิ เข้าผสมด้วยแล้ว ก็ยิ่งจะทำให้การเจริญวิปัสสนาชักช้ายิ่งขึ้น การปฏิบัติย่อมไม่เจริญก้าวหน้าไปเท่าที่ควร

    ๗. ปัคคาหะ ได้แก่วิริยะที่เกิดขึ้นเพราะอำนาจวิปัสสนา คือว่าเมื่อตั้งสติกำหนดบทพระกรรมฐานอยู่นั้น ก็ให้มีอันเป็นเกิดความขยันขันแข็งขึ้นมาอย่างผิดปกติ ขยันในการปฏิบัติวิปัสสนาอย่างไม่รู้จักเหน็ดรู้จักเหนื่อย ซึ่งแต่ก่อนนี้แม้ตนจะถูกแนะนำพร่ำสอนให้มีอุตสาหะพยายามบำเพ็ญสักเพียงใด ก็ให้รู้ว่ามันช่างยากเย็นแสนเข็ญเป็นนักหนา ให้รู้สึกว่าการงานอื่นใดในโลกี้ว่ายากและต้องทำอย่างเหน็ดเหนื่อยนั้น ที่จะเป้นการงานยากและเหน็ดเหนื่อยเท่ากันกับการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานนี้ เป็นไม่มีอีกแล้ว คิดจะเลิกปฏิบัติไปก็ตั้งหลายครั้งหลายหน ได้แต่เฝ้าบ่นอยู่ในใจว่า การที่ต้องปฏิบัิติวิปัสสนากรรมฐานนี้ มันเป็นการใช้หนี้เวรกรรมของตนอย่างหนึ่ง เฝ้าแต่รำพึงรำพันอยู่อย่างนี้เป็นเนืองนิตย์ แต่มาบัดนี้ความเหนื่อยหน่ายนั้นหายไปเป็นปลิดทิ้ง เกิดความขยันขันแข็งขึ้นมาเป็นพิเศษ ปฏิบัติตามบทกรรมฐานได้ไม่หยุดหย่อน ไม่อยากจะหลับจะนอนกันเอาเสียเลยทีเดียว ทำให้รู้สึกเฉลียวใจแปลกตนเองเป็นนักหนา

    "อา... นี่มันตัวเราหรือว่าใครกันหว่า ถ้าว่าเป็นตัวเราทำไมจึงมีวิริยะภาพสูงเยี่ยมยิ่งนัก ทำไมจึงไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า เกิดความอุตส่าห์พยายามน่าอัศจรรย์ ก็สันดานเราไม่เคยมีความขยันอย่างสูงเช่นนี้เลยนี่นา หรือว่าตัวเราได้บรรลุธรรมวิเศษแล้วกระมัง?"

    คิดพะว้าพะวังสงสัยตนเองไปดังนี้ ถ้ามนสิการกำหนดไว้ในใจไม่ดี วิปัสสนาวิธีของเขาก็ย่อมจะถึงภาวะไขว้เขวผิดทางและเกิดความเข้าใจผิดไปใหญ่โตก็ได้

    ๘.อุปปัฏฐาน ได้แก่สติที่เกิดขึ้นพิเศษ เพราะอำนาจวิปัสสนา! ตามธรรมดาการบำเพ็ญวิปัสสนาภาวนา ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายก็คงจะทราบอยู่แล้วว่า เป็นการบำเพ็ญตามมหาสติปัฏฐานทั้ง ๔ คือจะต้องใช้สติกำหนดในบทพระกรรมฐานเป็นการใหญ่ เพื่อให้มีพลังอันแข็งแกรงมากมายสำหรับใช้ปราบโมหะหรืออวิชชา ทีนี้สิ่งที่หนักอกหนักใจของผู้บำเพ็ญวิปัสสนาเป็นที่สุดในขณะที่ปฏิบัติอยู่ก็คือการขาดสตินั่นเอง ตั้งสติกำหนดมิค่อยจะได้ตลอด มักพลั้งเผลอกำหนดไม่ได้ละเอียดตามที่ปรารถนาพาให้กลุ้มใจและเบื่อหน่ายเป็นที่สุด ต้องฝืนใจตั้งสติกำหนดทุกสิ่งทุกอย่างแสนจะยากให้รู้สึกหนักอกหนักใจเป็นหนักหนา

    อา... แต่มาบัดนี้ เกิดอะไรขึ้นมาเล่านั่น เพราะเขาผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานนั้น เกิดมีสติขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์! กำหนดได้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งใดที่เคยกำหนดได้ยากหรือต้องฝืนใจกำหนดอย่างแสนเข็ญ บัดนี้กำหนดได้อย่างคล่องแคล่วเรียบร้อย สติของตนดูเหมือนว่าจะว่องไวและดีพร้อมไปหมดทุกอิริยาบถ เพราะเป็นสติที่ตั้งมั่น ไม่โยก ไม่คลอน ไม่หวั่น ไม่ไหว ไม่เผลอพลั้งและลืมหลง ซึ่งแต่ก่อนไม่เคยเป็นอย่างนี้เลย ถ้ามนสิการไม่ดีก็จะเกิดสงสัยทึกทักตนเองผิดไปก็ได้ว่า

    "เอ๊ะ! ตัวเราทำไมจึงมีสติดีขึ้นมาอย่างนี้ ไม่เคยเป็นเช่นนี้มาก่อนเลยนี่นา... ไม่ว่าจะกำหนดอะไรในอนุปัสสนาทั้ง ๔ คือ
    ๑. กายนุปัสสนา
    ๒. เวทนานุปัสสนา
    ๓. จิตตานุปัสสนา
    ๔. ธัมมานุปัสสนา

    ก็กำหนดได้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นที่น่าอัศจรรรย์แปลกประหลาดเป็นอันมาก หรือว่าบัดนี้ตัวเรามีวาสนาได้บรรลุธรรมวิเศษ ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาแล้วกระมังหนอ?"

    เกิดอัศจรรย์ในตัวเองไปดังนี้ เพราะเหตุที่อยู่ๆ ก็เกิดมีสติว่องไวกำหนดได้อย่างละเอียดลออขึ้นมาอย่างผิดคาด ซึ่งอาจทำให้เข้าใจตนผิดพลาดไปก็ได้

    ๙. อุเบกขา ได้แก่วิปัสสนูเปกขาคืออุเบกขาที่เกิดขึ้นเพราะอำนาจวิปัสสนา! หมายความว่าเกิดความวางเฉยในอารมณ์ทั้งปวง เฉยเมยอยู่ไม่ยินดียินร้ายในสังขารอารมณ์อะไรทั้งสิ้น เหมือนกับคนไม่มีกิเลส ไม่มีอาการสะดุ้งสะเทือนต่ออารมณ์ทุกชนิด มันเป็นอุเบกขาหรือความวางเฉยที่รุนแรงมาก มีอาการวางเฉยอย่างแรงกล้า ไม่ว่าจะมีอารมณ์ใดมากระทบก็ไม่วอกแวกไม่หวั่นไหว วางเฉยเสียได้ทุกประการ จนตัวของตัวเองก็ให้แสนจะอัศจรรย์ใจ ในภาวะที่ตนเปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้เป็นยิ่งนัก หากมีมนสิการไม่ดี ก็ย่อมจะทำให้บังเกิดความเข้าใจผิด อันเป็นเหตให้ตัณหา มานะ ทิฐิ เข้าแทรกในดวงใจได้ เช่นว่า

    "น่าแปลกใจนักหนา! อันตัวเรานี้่ ไฉนจึงมีอาการเปลี่ยนแปลงไปชอบกล รู้สึกเฉยๆ ไม่ยินดียินร้ายอะไรในโลกนี้เลย ฮี... ตัวเรากลายเป็นพระอรหันต์ไปเสียแล้วกระมังหนา? อ๋อ... อย่างนี้เอง คนหมดกิเลสได้มรรคได้ผล เป็นอย่างนี้เอง! ดีแท้ๆการหมดกิืเลส ไม่ยินดียินร้ายอะไรนี่ดีแท้ๆ" เห็นผิดไปเช่นนี้เรียกว่า มี "ทิฐิ" เข้าแทรกในดวงใจแล้ว

    "แหม! ตัวเรานี้ช่างมีบุญวาสนาแท้ๆ สร้างกุศลมาแต่ปางไหนกันเล่านี่ ดูเอาเถิด บำเพ็ญวิปัสสนากรรรมฐานมาได้ยังไม่ทันนานเท่าใดเลย ก็ได้บรรลุมรรคผลเอาง่ายๆ เสียแล้ว คนอื่นใคร่เล่าจะเหมือนเรา?" คิดยกย่องชมเชยตนเองอย่างนี้เพราะความสำคัญผิดคิดว่าตนประเสริฐกว่าใครๆ ปฏิบัติวิปัสสนาได้สำเร็จมรรคผลอย่างง่ายดาย เช่นนี้ เรียกว่า "มานะ" เข้ามาแทรกในดวงใจแล้ว

    "เราสบายแล้ว ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราไม่ยินดียินร้ายอะไรทั้งหมด เราจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างแสนสบายเป็นที่สุด ไม่ต้องรัก ไม่ต้องชัง ไม่ต้องดีใจเสียใจให้เกิดมีอันเป็นชุลมุนวุ่นวายเหมือนคนทั้งหลายในโลกนี้ หรือโลกไหน เออ.. ขอให้เราเป็นเช่นนี้ตลอดไปเถิด" คิดเพริดไปเพราะความชอบใจในภาวะที่ตนตั้งอยู่ในอุเบกขาเช่นนี้ เรียกวา "ตัณหา" เข้ามาแทรกในดวงใจแล้ว

    ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ความเข้าใจผิด ความติดใจพอใจในภาวะแห่งอุเบกขา อันเรียกว่า ตัณหา มานะ ทิฐิ ซึ่งสืบเนื่องมาจากวิปัสสนูปเบกขานี่ ย่ิอมเกิดมีแก่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาได้ไม่มากก็น้อย แต่จะอย่างไรก็ตาม อุเบกขาหรือความวางเฉยในสังขารอารมณ์ทั้งปวงนี้เป็นของดีแท้ แต่การที่ที่านบัญญัติว่าเป็นวิปัสสนูปกิเลส ก็เพราะเป็นเหตุให้ตัณหา มานะ ทิฐิ เข้ามาแทรกได้เท่านั้น


    ๑๐. นิกันติ ได้แก่วิปัสสนานิกันติ วิปัสสนานิกันตินี้หมายถึงว่า ความยินดี ความติดใจ ความชอบใจ ความปรรถนาในคุณวิเศษที่เกิดขึ้นเพราะอำนาจแห่งวิปัสสนาทั้ง ๙ ประการที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง บัดนี้ เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการที่จะต้องพลิกกลับไปดูว่ามีอะไรบ้าง จึงจะขอนำเอาคุณวิเศษทั้ง ๙ มาเรียงไว้ในที่นี้อีกทีหนึ่งดังนี้
    ๑. โอภาส
    ๒. ญาณ
    ๓. ปีติ
    ๔. ปัสสัทธิ
    ๕. สุข
    ๖. อธิโมกข์
    ๗. ปัคคาหะ
    ๘. อุปัฏฐานะ
    ๙. อุเบกขา

    ความติดใจยินดีในคุณวิเศษทั้ง๙ นี่เอง เรียกว่า "วิปัสสนานิกันติ" ความยินดีติดใจในคุณวิเศษที่เกิดขึ้นเพราะวิปัสสนา

    จึงเป็นอันรวมความได้ว่า ธรรมที่เป็นเครื่องเข้าไปทำวิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ ประการนี้ ย่อมจะเกิดขึ้นแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานที่ผ่านมาถึงอุทยัพพยญาณใหม่ๆ นี้อย่างแน่นอน เพื่อความเข้าใจดียิ่งขึ้นควรจำไว้ให้มั่นว่า

    ๑. พระอริยสาวกผู้ถึงปฏิเวธ คือท่านที่บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานผ่าน "โสฬสญาณ" ไปครั้งหนึ่งแล้ว อธิษฐานกลับลงมาถึงอุทยัพพยญาณนี้อีกก็ดี พระอริยสาวกผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานซึ่งทรงคุณวิเศษสูงขึ้นไปจนถึงพระอรหันตอริยบุคคลเป็นที่สุดก็ดี

    ๒. ผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานผิดทาง คือ ไม่ปฏิบัติตามวิปัสสนานุสาสนีแห่งองค์สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า

    ๓. ผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานเป็นสัมมาปฏิบัติ คือปฏิบัติถูกทางแล้ว แต่ว่าเป็นผู้เกียจคร้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมายังไม่ถึงอุทยัพพยญาณอย่างอ่อนๆ นี้

    บุคคลทั้ง ๓ จำพวกนี้ ย่อมไม่มีโอกาสที่จะได้พบได้เห็นวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้เลยเป็นอันขาด ส่วนผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นสัมมาปฏิบัติคือปฏิบัติถูกทง พยายามตั้งสติกำหนดรูปนามโดยไม่ท้อถอย จนเคลื่อนคล้อยเข้าเขตอุทยัพพยญาณอย่างอ่อนนี้ จำพวกเดียวเท่านั้น จึงประสบพบเห็นวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้แน่นอน อย่าสงสัยอะไรเลย ส่วนการที่ใครจะได้พบมากน้อยแค่ไหนนั่นก็สุดแต่วาสนาบารมีของผู้บำเพ็ญ บางคนก็พบมากมาย บางคนก็พบน้อย แต่จะอย่างไรก็ตาม หากพบกับวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้เข้าแล้ว ถ้ามัวแต่หลงใหลเข้าใจผิดหลงติดอยู่ การบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานก็จะถึงภาวะติดขัดอยู่เพียงแค่นี้ พระจตุราริยสัจที่ต้องการจะได้เห็นก็เลยไม่มีโอกาสได้เห็นกัน เพราะเดินทางขึ้นไปยังไม่ถึงขั้น

    แต่ถ้ามีมนสิการด้วยดี ตั้งสติกำหนดรูปนามอันเป็นมูลกรรมฐานต่อไป มีญาณผ่องใสโดยเห็นว่า

    วิปัสสนูปกิเลาเหล่านี้ มิใช่มรรคา! วิปัสสนาที่ปลอดจากอุปกิเลสเหล่านี้จึงจะเป็นมรรคาพาให้ไปเห็นพระจตุราริยสัจได้

    แล้วพยายามกำหนดบทพระกรรมฐานต่อไปอีกอย่างไม่ลดละ เมื่อสามารถถางรกชัฏ คือวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ให้หมดสิ้นไปแล้ว วิปัสสนาญาณก็จะถึงภาวะผ่องแผ้ว ดำเนินขึ้นสู่วิถีก้าวขึ้นสู่อุทยัพพยญาณอย่างแก่คือผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานจะมีโอกาสได้เห็นรูปนามที่ตนตั้งสติกำหนดอยู่นั้น มีอาการดับเร็วขึ้นๆ รูปนามที่เกิดขึ้นแล้วก็หายไปอย่างรวดเร็ว เป็นอยู่อย่างนี้บ่อยๆ การที่มีปรากฏการณ์เกิดขึ้นแก่รูปนามเช่นนี้ ก็เพื่อจะแสดงภาวะ "เกิดดับ" อันเป็นสัญลักษณ์ที่แท้จริงแห่งอุทยัพพยญาณ ผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานได้เห็นอย่างแจ้งชัดเป็นที่สุดนั่นเอง


    อ่านต่อ ๕. ภังคญาณ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 สิงหาคม 2010
  5. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641

    ๕. ภังคญาณ

    วิปัสสนาญาณที่ ๕ นี้มีชื่อว่า ภังคญาณ = ภาวนามยปัญญาที่สามารถกำหนดรู้ความแตกสลายไปแห่งรูปนาม

    เมื่อผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานซึ่งมีนามเรียกตามโวหารนิยมว่า "โยคีบุคคล" ได้รอดพ้นจากการเป็นเหยื่อของวิปัสสนูปกิเลส โดยสามารถปฏิบัติจนข้ามเขตแห่งอุทยัพพญาณอย่างอ่อนมาได้ เพราะว่าตั้งอกตั้งใจตั้งสติกำหนดบทพระกรรมฐานจนเห็นรูปนามมีอาการเกิดดับอย่างชัดเจนซึ่งเป็นลักษณะแห่งอุทยัพพยญาณอย่างแก่แล้ว ต่อจากนั้น เมื่ออุตสาหะจำเริญวิปัสสนากรรมฐานให้ยิ่งขึ้น ก็จะมีโอกาสก้าวขึ้นสู่วิปัสสนาญาณเบื้องสูงอันยิ่งใหญ่ต่อไปอีก คือจักเกิดมีปรีชาสามารถเห็นลักษณะอันแท้จริงแห่งรูปนามอย่างลึกซึ้ง ละเอียดลออเป็นอย่างยิ่ง อันเป็นปรมัตถสภาวะล้วนๆ นั่นคือได้บรรลุถึงภังคญาณ

    เมื่อผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานได้บรรลุถึงภังคญาณนี้แล้วย่อมจะเห็นรูปนามที่ตนตั้งสติกำหนดอยู่นั้น แสดงอาการมหัศจรรย์ให้ปรากฏเห็นหนักเข้าไปอีก คือจะเห็นรูปนามมีอาการค่อยๆ ดับหายไป แล้วในที่สุดก็จะดับหายวับไปกับตา! เห็นอยู่อย่างนี้บ่อยๆ เห็นอยู่อย่างซ้ำซาก โดยมีหลักฐานอธิบายลักษณะของญาณนี้ไว้าว่า ญาเณ ติกฺเข วหนฺเต เป็นอาทิ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า
    เมื่อสมาธิญาณแก่กล้า จนบรรลุถึงภังคญาณนี้ สังขารอารมณ์ทั้งหลาย ย่อมปรากฏแก่โยคีบุคคล โดยอาการที่หายไปๆ แม้เมื่อเวลาเกิดขึ้นและตั้งอยู่ก็ไม่ปรากฏเลย ถึงแม้สัตติ คือความสืบต่อและความเป็นไปก็ขาดตอน สัณฐานก็ปรากฏหายไป กำหนดไม่ได้เลย จะกำหนดได้ก็แต่นิโรธ ที่มีลักษณะสิ้นไปเสื่อมไป และแตกดับไปเท่านั้น
    คำว่า นิโรธ ซึ่งแปลว่าความดับนั้น มีอยู่ ๒ ประการคือ
    ๑. อุปฺปาทนิโรธ ได้แก่ความดับที่ยังมีการเกิดขึ้น
    ๒. อนุปฺปาทนิโรธ ได้แก่ความดับที่ไม่มีการเกิดขึ้น คือความดับที่เป็นมรรคนิโรธ ซึ่งเป็นความดับด้วยอำนาจแห่งมรรคและความดับแห่งพระอริยบุคคล ผู้เข้าผลสมาบัติ

    ก็ "นิโรธ" หรือความดับ ซึ่งปรากฏให้โยคีบุคคลผู้บำเพ็ญวิปัสสนาเห็นในภังคญาณนี้ เป็นเพียงนิดรธข้อที่ ๑ คือ อุปฺปาทนิโรธ ซึ่งได้แก่ความดับที่ยังมีการเกิดขึ้นเท่านั้น อย่าได้เข้าใจผิดคิดดีใจไปว่า นิโรธที่เห็นในภังคญาณนี้เป็น อนุปฺปาทนิโรธ ซึ่งเป็นตัวนิโรธที่แท้จริงเป็นอันขาดเพราะในวงการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติที่มีมนสิการไม่ดี เมื่อตนได้บรรลุถึงภังคญาณนี้ และได้เห็น อุปฺปาทนิโรธ ซึ่งยังเป็นความดับที่ไม่แท้จริงนี้แล้ว ก็เข้าใจผิดว่าตนได้บรรลุมรรคนิโรธแล้ว ครั้นมีความเข้าใจผิด ก็เลยเป็นเหตุให้หลงผิด หลงยินดีพอใจอยู่เพียงแค่อุปฺปาทนิโรธ เท่านั้นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ย่อมไม่โอกาสที่จะปฏิบัติไปให้ถึงมรรคนิโรธ อันเป็นนิโรธที่แท้จริงได้เลย เมื่อไม่ปฏิบัติไปให้ถึงมรรคนิโรธ อันเป็นนิโรธที่แท้จริงได้แล้่ว พระจตุราริยสัจที่ตนอยากจะเห็นเป็นนักหนา ก็เป็นอันไม่สามารถที่จักเห็นได้ เพราะยังปฏิบัติไปไม่ถึงโอกาสที่จะเห็น

    การที่จะมีอันเป็นเกิดมีความเข้าใจผิดในเรื่องของนิโรธขึ้นมาในญาณนี้ ก็เพราะว่าเมื่อโยคีผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้บรรลุถึงภังคญาณนี้ ย่อมจะมีจิตผ่องแผ้วเห็นสภาวะมหัศจรรย์อันเป็นสัญลักษณ์แห่งญาณนี้ ซึ่งมีลักษณะคล้ายสภาวะแห่งมรรคนิโรธ ซึ่งปรากฏใน "มรรคญาณ ผลญาณ" เป็นที่สุด เพราะฉะนั้นถ้ามีมนสิการไม่ดี ก็อาจจะเกิดมีการเข้าใจผิดในเรื่องอุปฺปาทนิโรธ และอนุปฺปาทนิดโรธนี้กันขึ้นก็ได้

    อ่านต่อ ๖.ภยญาณ
     
  6. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ๖. ภยญาณ

    วิปัสสนาญาณที่ ๖ นี้ มีชื่อว่า ภยญาณ = ภาวนามยปัญญาที่สามารถกำหนดเห็นรูปนามโดยความเป็นภัย คือเป็นสิ่งที่น่ากลัว

    เมื่อผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานได้รอดพ้นจากความเข้าใจผิดในเรื่องนิโรธดังกล่าวในภังคญาณแล้ว มีใจผ่องแผ้ว ใฝ่ใจกำหนดในบทพระกรรมฐาน เห็นความแตกสลายไปแห่งรูปนามอย่างเดียว ไม่เฉลียวใจคำนึงถึงอะไรทั้งนั้น ประพฤติตนประหนึ่งนายช่างเอกผู้ชาญฉลาด เมื่อเจาะแก้วมณีย่อมใส่ใจมองดูแต่ช่องแก้วมณีเท่านั้น ไม่วอกแวกคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมีสีของแก้วมณีเป็นต้นเลย ฉันใด นายช่างคือโยคีบุคคลผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ก็เหมือนกัน ย่อมมุ่งมั่นใฝ่ใจอยู่แต่ในบทพระกรรมฐาน เห็นแต่ความแตกสลายไปแห่งรูปนามตามลำดับอย่างเดียว ไม่เฉลียวใจถึงสังขารรูปนามอะไรอีกเลย เฝ้าแต่กำหนดพิจารณาเพิ่มพูนซึ่งภังคานุปัสสนา อันมีความสิ้น, ความเสื่อม, ความสลาย, ความดับไปแห่งสังขารรูปนามทั้งปวง เป็นอารมณ์อย่างนี้แล้ว คราทีนั้น สังขารรูปนามทั้งหลายอันมีความเสื่อมสลายอยู่ทุกขณะ ย่อมจะปรากฎให้เห็นภัยใหญ่เป็นของน่ากลัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งภยญาณ

    ผลที่ได้บรรลุถึงญาณนี้ ย่อมจะมีอาการแปลกประหลาดขึ้นอย่างหนึ่ง คือเกิดอาการหวาดกลัวต่อความเป็นไปของรูปนามที่แสดงออกมาในตอนนี้เอาดื้อๆ ชอบกล โดยหาเหตุผลให้แก่ตนมิได้ ประดุจบุรุษขลาด ต้องการจะมีชีวิตความสะดวกดาย ครั้นได้มาพบภัยใหญ่คือสิ่งที่น่ากลัวเช่น
    - พญาราชสีห์
    - เจ้าพยัคฆ์เสือใหญ่
    - หมีป่า
    - ยักษ์
    - ช้างดุกำลังซับมัน
    - งูดุ
    - ป่าช้าผีดิบ
    - สมรภูมิ
    - หลุมถ่านเพลิงที่กำลังลุกโชน

    เห็นสิ่งเหล่านี้ปรากฏขึ้นเฉพาะหน้าโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว ย่อมเกิดความสะดุ้งกลัวขึ้นมาฉันใด โยคีบุคคลผู้มีสัญชาติญาณรรักตัวกลัวตายมาแต่กำเนิดก็เป็นเช่นนั้น ครั้นเห็นรูปนามมีอาการแตกสลายหายไป หรือพูดให้ฟังกันง่ายๆ ก็ว่า เมื่อเห็นสิ่งที่ยึดถือว่าเป็นตัวเป็นตนนี้ มันมีทีท่าว่าจะตายลงไปท่าเดียว กำหนดลงไปทีไร ก็ให้มีอันเ็นทำท่าว่าจะตายลงไปทีนั้น อย่างนี้มีหรือที่จะไม่กลัว ก็ย่อมจะเกิดมีอาการตกใจกลัวขึ้นมาเป็นธรรมดา แต่ว่าใครจะกลัวมากหรือกลัวน้อยแค่ไหน นั่นก็สุดแต่ภาวะของภยญาณนี้จะปรากฎมีมากหรือน้อย เพราะผู้ปฏิบัติร้อยคนก็มีสภาวะร้อยอย่าง หามีสภาวะเหมือนกันและปรากฏเท่ากันไม่

    ในการปฏิบัติ พอบรรลุถึงญาณนี้ โยคีผู้ปฏิบัติบางคนจะเกิดมีอาการกลัวเอามากๆ หากจะถามว่ากลัวอะไร? ก็ตอบไม่ค่อยถูก จะว่ากลัวยักษ์กลัวผีเปรตอะไรก็ไม่ใช่ แต่ว่าให้รู้สึกกลัวนักหนา ไล่เลียงไปมาก็ได้สาเหตุว่า เห็นรูปนามที่แสดงออกมาโดยอาการน่ากลัวนั่นเอง เลยเป็นเหตุให้เกิดความหวาดกลัว บางโยคีถึงกับเตลิดเปิดเปิงหวาดระแวงไปว่า

    "อาตมานี่ เห็นจะต้องถึงแก่มรณา เอาชีวิตมาทิ้งเสียในขณะที่บำเพ็ญวิปัสสนา ณ ครั้งนี้แล้วเป็นแน่แท้ พ่อแม่ญาติพี่น้องคงไม่ต้องได้เห็นหน้ากันอีกต่อไปนี้ล่ะทีนี้ ตายแน่! อาตมานี้เห็นทีว่าจักต้องตายอย่างแน่ๆ..."

    รวมความว่า "ภยญาณ" นี้ มีการกำหนดเห็นรูปนามเป็นภัยปรากฏโดยความเป็นสิ่งที่น่ากลัวเป็นลักษณะ และในขณะบำเพ็ญนั้น โยคีบางคนก็พบภาวะแห่งญาณนี้หน่อยเดียว แทบจะไม่รู้สึกตัวด้วยซ้ำ เพราะภยญาณปรากฏแก่ตนรวดเร็วนักหนา แต่บางโยคีก็ปรากฏเห็นญาณนี้ช้านานเพราะการปฏิบัติบกพร่องสภาวญาณจึงติดอยู่ไม่ก้าวหน้าขึ้นไปสู่วิปัสสนาขั้นสูงเบื้องหน้า

    ๗. อาทีนวญาณ

    วิปัสสนาญาณที่ ๗ นี้ มีชื่อว่า อาทีนวญาณ = ภาวนามยปัญญาที่สามารถกำหนดเห็นโทษแห่งรูปนาม

    เมื่อผู้บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาสามารถเห็นรูปนามปรากฏเป็นภัยให้รู้สึกสะดุ้งกลัวดังกล่าวแล้วในญาณก่อน ทีนี้ ครั้นแข็งใจตั้งสติกำหนดบทพระกรรมฐานต่อไป ก็จะเกิดความเคยชิน มีอันให้เห็นอยู่ตามความเป็นจริงว่า
    - รูปนามที่เป็นอดีตก็ดับไปแล้ว
    - รูปนามที่เป็นปัจจุบันก็กำลังดับ
    - รูปนามที่เป็นอนาคตก็คงจักดับอีกเช่นเดียวกัน โดยไม่ต้องสงสัย
    เมื่อได้เห็นตามความเป็นจริงเช่นนี้ ก็เลยถึงความจนใจซึมเซ่อเฉยอยู่ไม่รู้จะแก้ไขประการใด ที่ให้หลงหวาดกลัวมาแต่ก่อนๆ ก็ชักจะหายไปครั้นตั้งสติกำหนดต่อไปอย่างไม่ลดละ โดยพยายามให้อินทรีย์ได้ส่วนสมดุลกันดีแล้ว สภาวญาณของโยคีบุคคลนั้น ย่อมจะพลันเลื่อนเข้าสู่ญาณชั้นสูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง คือเคลื่อนเข้าสู่เขตแห่งอาทีนวญาณ

    ผู้ที่บรรลุถึงอาทีนวญาณนี้ ย่อมจะเกิดมีอาการรู้สึกเห็นโทษของรูปนามที่ตนกำหนดอยู่นั้นเป็นกำลัง ไม่ว่าจะตั้งสติไปที่ไหน ก็ให้มีอันเป็นพบแต่ความขุ่นข้องหมองใจ เห็นว่าไม่ดีไม่งามเป็นอาทีนพโทษไปหมด เกิดความไม่พอใจในรูปนามสังขารทั้งหลายไปเสียทั้งนั้น พูดให้ฟังกันง่ายฟ ก็ว่า แต่ก่อนนี้ตนเคยเห็นรูปนามว่าเป็นสิ่งที่น่าชอบใจ เคยติดใจใหลหลงอยู่เพราะไม่รู้ความจริงมานานนักหนา แต่มาบัดนี้สิ ตนชักจะเกิดตาสว่างขึ้น เพราะบำเพ็ญวิปัสสนาภาวนา เกิดมีปรีชารู้เห็นตามเป็นจริงว่า รูปนามที่ตนหลงใหลรักใคร่อยู่นั้น ความจริงเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัวอยู่นักหนา อนึ่ง ท่านย่อมว่า "สิ่งใดน่ากลัว สิ่งนั้นชื่อว่าเป็นทุกข์"

    ฉะนั้น เมื่อเกิดมีปรีชาญาณเห็นรูปนามเป็นสิ่งที่น่ากลัว ก็ย่อมจะเห็นรูปนามประกอบไปด้วยทุกข์โทษติดตามกันไป เมื่อได้มารู้ตามความจริงด้วยภาวนามยปัญญา ซึ่งเกิดขึ้นกับตนเองอย่างแจ่มแจ้งเช่นนี้แล้ว จึงเกิดความรูปสึกเห็นอาทีนพโทษแห่งรูปนาม ในขณะนี้ ไม่ว่ารูปนามจะแสดงอาการอะไรออกมา ก็ให้มีอันเป็ฯเห็นว่าไม่เข้าท่า เป็นโทษ ไม่ดีไม่งามไปเสียทั้งสิ้น ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับคนที่เคยชอบพอรักใคร่กันมานานนักหนา ทีนี้พอมาโกรธเคือนกันขึ้น เพราะฝ่ายหนึ่งเป็นคนทรยศ คิดไม่ซื่อ ก็ย่อมทำให้อีกฝ่ายหนึ่งถือเป็นตัวทุกข์ตัวดทษ เกิดความเกลียดชัง ไม่ว่าเขาจะทำอะไรเป็นขวางหูขวางตาไปหมด แต่พอมองเห็นหน้าก็เกลียดหน้า เห็นหูเกลียดหู มองดูข้างๆ ก็เกลียดข้างๆ มองดูข้างหลังก็เกลียดมันที่ข้างหลังนั่นแหละ ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนบรรลุอาทีนวญาณนี้ก็เหมือนกัน แต่ก่อนนี้หลงรักใคร่พอใจในรูปนามเป็นนักหนา เห็นว่าเป็นของจริงของจัง ภายหลังได้ทราบตามความเป็นจริงว่า รูปนามเต็มไปด้วยอาทีนพโทษแล้ว ก็ย่อมจะเกิดความเกลียดชังไม่พอใจในรูปนาม นั้นเป็นธรรมดา


    อ่านตอ ๘. นิพพิทาญาณ


     
  7. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ๘.นิพพิทาญาณ

    วิปัสสนาญาณที่ ๘ มีชื่อว่า นิพพิทาญาณ = ภาวนามยปัญญา สามารถกำหนดรู้ความเบื่อยหน่ายในรูปนาม

    เมื่อผู้บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนา ตั้งสติกำหนดบทพระกรรมฐาน จนสมาธิญาณแก่กล้าสามารถเห็นอาทีนพโทษแห่งรูปนาม อันเป็นสภาวะแห่งอาทีนวญาณดังกล่าวมาแล้ว ต่อจากนั้น เมื่อได้มุ่งมั่นพยายามกำหนดในบทพระกรรมฐานให้อินทรีย์สม่ำเสมอได้ส่วนสมดุลกันเป็นอันดีแล้ว สภาวะแห่งวิปัสสนาญาณก็จะก้าวขึ้นไปสู่เบื้องสูงต่อไป ญาณใหม่ที่ได้บรรลึุถึงนี้คือนิพพิทาญาณ

    ผู้บรรลุถึงนิพพิทาญาณนี้ ย่อมจะมีความรู้สึกเหนื่อยหน่ายในรูปนามสังขารที่ตนตั้งสติกำหนดอยู่นั้นเป็นกำลัง ความเหนื่อยหน่ายในรูปนามที่ปรากฏขึ้นในขณะนี้ ถ้าจะมีเปรียบก็เหมือนกับความรู้สึกเบื่อหน่ายแห่งสัตว์เหล่านี้ คือ
    - สกุณชาติที่ถูกจับมาขังไว้ในกรง
    - พญาหงส์ทอง ซึ่งตามธรรมชาติวิสัยย่อมยินดีพอใจในเิชิงเขาคิชกูฏ แต่ถูกจับมามัดไว้ที่หลุมคูถใกล้บ้านคนจัณฑาล
    - พญาไกรสรสีหราช ซึ่งตามธรรมชาติวิสัยย่อมยินดีพอใจในป่าหิมพานต์ แต่ถูกจับมาขังไว้ในกรงใหญ่กลางเมือง
    - พญาช้างฉัททันต์ ซึ่งตามธรรมชาิตวิสัยย่อมยินดีพอใจในป่าชัฏใกล้สระใหญ่ ณ หิมวันตประเทศ แต่ถูกจับมามัดไว้ในที่ชุมชนกลางพระนคร

    สัตว์เหล่าีนี้ย่อมมีความเบื่อหน่ายในสภาพการณ์อันขัดกับธรรมดาวิสัยแห่งตนเป็นยิ่งนักฉันใด ผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานที่ได้บรรลุถึงญาณนี้ก็เป็นเช่นนั้น คือให้เกิดมีอาการเบื่อหน่าย ไม่ยินดีพอใจในรูปนามซึ่งมีโทษมีภัยที่ตนได้เห็นแล้วเกิดความรำคาญระอาใจ ในความเป็นไปแห่งรูปนามเสียเป็นที่สุด เมื่อเกิดความเบื่อหน่ายในรูปนามทั้งหลายดังนี้ก็ย่อมจักยังผลให้เกิดความเบื่อหน่ายในโลกท้งหลาย และเริ่มจะมีจิตน้อมไปในสันติบทคือพระนิพพานแล้ว

    ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ขณะที่นิพพิทาญาณนี้กำลังเป็นไปอยู่ ย่อมจะทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความเบื่อหน่ายในสังขารอารมณ์ทั้งหลายเป็นที่สุด ยากที่จะพรรณนาความเบื่อหน่ายนี้ให้ถูกต้องตรงกับสภาวะที่เป็นจริงได้ ใจคอเหี่ยวแห้งเต็มไปด้วยความเบื่อหน่าย อิดหนาระอาใจอย่างบอกไม่ถูก ความรู้สึกของโยคีบุคคลขณะนี้ จะปรากฏเป็นความรู้สึกที่หดหู่เหี่ยวแห้งอย่างเหลือหลาย เปรียบคล้ายๆ กับว่าความรู้สึกของบุคคงที่มองดูไฟป่าอันดุร้ายร้อนแรงซึ่งกำลังแผลงฤทธิ์ไหม้อรัญป่าใหญ่ในคิมหันตฤดูฉะนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้เลยเป็นเหตุให้เบื่อหน่ายต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นยิ่งนัก บางคนถึงกับหอบเสื่อหอบหมอนออกจากุฏีกรรมฐาน คิดจะเลิกปฏิบัติเอาเสียดื้อๆ ในตอนนี้ก็มี แต่ถึงคิดจะเลิกปฏิบัติด้วยอาการอันหุนหันพลันแล่นไปตามสภาวญาณ ไม่ช้าไม่นานก็มีจิตปรารถนาใคร่จะมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอีกต่อไป

    ในกรณีแห่งนิพพิทาญาณนี้มีข้อที่ควรทราบก็คือว่า โดยมากสภาวะแห่งนิพพิทาญาณนี้ ปรากฏแก่โยคีบุคคลผู้จำเริญวิปัสสนากรรมฐานชัดเจนกว่าสภาวะแห่งพยญาณและอาทีนวญาณ ฉะนั้นในการปฏิบัติวิปัสสนา หากว่าโยคีบุคคลจะเกิดมีภาวนามยปัญญาเห็นญาณทั้ง ๒ นั้นมิค่อยจะชัดเจน แต่สามารถเห็นนิพพิทาญาณนี้ชัดเจน ก็ย่อมเป็นอันใช้ได้แล้ว เพราะแสดงว่า ผู้ปฏิบัติได้ผ่านญาณเหล่านั้นมาด้วยดี แต่เจ้าตัวจำไม่ค่อยได้ โดยที่สภาวะแห่งวิปัสสนาญาณเหล่านั้นเป็นไปรวดเร็วมาก ถ้าหากไม่ผ่านแล้วจะมากถึงนิพพิทาญาณนี้ได้อย่างไร เปรียบเหมือนการขึ้นบันไดเมื่อมาถึงขั้น ๘ แล้ว ก็ไม่ต้องสงสัยว่า ได้ผ่านบันไดขั้นที่ ๖-๗ มาแล้วหรือเปล่า เพราะถ้าไม่ผ่านมาแล้วจะสามารถขึ้นมาถึงขั้นนี้ได้อย่างไรเล่า

    อีกประการหนึ่ง จะถือว่าญาณทั้ง ๓ นี้เป็นญาณเดียวกันก็ได้ โดยแบ่งเป็นตอนๆ ตามสภาวะดังต่อไปนี้
    ๑. ภยญาณ ได้แก่สภาวญาณอย่างอ่อน
    ๒. อาทีนวญาณ ได้แก่สภาวญาณอย่างกลาง
    ๓. นิพพิทาญาณ ได้แก่สภาวญาณอย่างแก่
    แต่ข้อความสำคัญที่ควรทราบให้แน่ชัดลงไปอย่างเด็ดขาดก็คือว่า เมื่อบรรลุถึงญาณนี้แล้ว จะต้องมีอาการเบื่อหน่ายในรูปนามเป็นลักษณะซึ่งต้องตามพระพุทธวจนะที่ว่า

    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ

    "เมื่อเห็นสังขารคือรูปนามไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ย่อมจะเกิดความเบื่อหน่าย นั่นเป็นทางบริสุทธิ์ กล่าวคือพระนิพพาน"



     
  8. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ


    วิปัสสนาญาณที่ ๙ มีชื่อ่ว่า มุญจิตุกัมยตาญาณ = ภาวนามยปัญญาคือญาณที่ปรารถนาใคร่จะหลุดพ้นออกจากรูปนาม

    เมื่อผู้บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนา ได้ประสบความเบื่อหน่ายอย่างรุนแรงในนิพพิทาญาณดังกล่าวมาแล้ว หากว่าไม่ละความพยายามอุตสาหะกำหนดในบทพระกรรมฐานต่อไป สภาวญาณก็จะก้าวหน้าขึ้นสูงไปอีก คือจะเกิดความรู้สึกปรารถนาจะพ้น ปรารถนาจะหลุดออกจาไปจากรูปนาม ซึ่งสภาวะเช่นนี้เป็นลักษณะแห่งมุญจิตุกัมยตาญาณ

    ความรู้สึกปรารถนาใคร่ที่จะหลุดพ้นออกไปจากสังขารรูปนามของโยคีบุคคลผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ในขณะที่บรรลุถึงมุญจิตุกัมยตาญาณนี้ ถ้าจะเปรียบกับความรู้สึกแห่งสัตว์บุคคลดังต่อไปนี้
    - มัจฉาชาติที่ติดอยู่ในข่าย
    - กบที่อยู่ในปากงู
    - ไก่ป่าที่ถูกขังไว้ในกรง
    - มฤคที่ติดอยู่ในบ่วง
    - งูที่อยู่ในมือของหมองู
    - ช้างที่กำลังติดหลุมลึก
    - พญานาคที่กำลังอยู่ในปากสุบรรณ
    - โยธาหารที่ถูกข้าศึกแวดล้อม
    สัตว์และบุคคลทั้งหลายที่ตกอยู่ในสภาพการณ์เช่นว่ามานี้ จะมีความรู้สึกเป็นอย่างไรเล่า ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ใช่แล้ว ต้องมีความรู้สึกปรารถนาที่จะพ้นออกไปจากวิกฤติกาลอันร้ายแรงนั้นเป็นธรรมดา แม้ว่าจิตของผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานที่บรรลุถึงมุญจิตุกัมยตาญาณนี้ก็เป็นเช่นนั้น ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปจากสังขารรูปนามซึ่งตนกำหนดเห็นว่าเป็นทุกขโทษแล้วเกิดความเบื่อหน่ายเป็นที่สุด ไม่มีความอาลัยใยดีในรูปนามนั้นอีกต่อไป

    ในการปฏิบัติ เมื่อบรรลุถึงญาณนี้ ผู้ปฏิบัติจักต้องประสบกับความทุกขเวทนาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้ประสบทุกขเวทนาอย่างหนักในสัมมสนญาณ คือญาณที่ ๓ มาแล้ว มีข้อพึงสังเกตก็คือว่า ทุกขเวทนาในสัมมสนญาณเป็นทุกขเทนาขั้นต่ำ มีอาการรุนแรงเกือบจะเป็นจะตาย แต่ทุกขเวทนาในมุญจิตุกัมยตาญาณนี้ เป็นทุกขเวทนาเบื้องสูง มีอาการไม่รุนแรงอะไรแต่ก่อให้เกิดความรำคาญใจเป็นหนักหนา เพราะสภาวญาณตอนนี้ละเอียดขึ้นมากแล้ว

    จึงเป็นอันว่า เมื่อผู้บำเพ็ญวิปัสสนาได้บรรลุถึงญาณนี้แล้ว จะมีจิตผ่องแผ้วขึ้นมา อยากจะออกไปจากไตรภพคือภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิ ก็มิปรารถนาใคร่จะอยู่เลยสักภูมิเดียว ไม่อยากได้รูปนามขันธ์ ๕ พูดให้ฟังกันง่ายๆ ก็ว่าชักจะปรารถนาพระนิพพานจริงๆ ขึ้นมาแล้ว ซึ่งแต่ก่อนนี้ ตนเคยทำบุญทำทานแล้วปรารถนาพระนิพพานไว้ก็ดี หรือได้ฟังพระธรรมเทศนาที่แสดงอานิสงส์พระนิพพานแล้ว คิดปรารถนาใคร่จักได้บรรลุพระนิพพานบ้างก็ดี ความปรารถนาดังว่ามานี้ มันเป็นเพียงความปรารถนาอย่างลมๆ แล้ง เป็นไปด้วยอำนาจแห่งสุตมยปัญญาหรือจินตามยปัญญา ไม่เป็นความปรารถนาที่แข็งแรงจริงจังอะไร เข้าลักษณะการที่ว่า "เมื่อท่านว่าดูดีก็ว่าดีบ้าง" แต่พอได้ปฏิบัติวิปัสสนาและย่างเข้าเขตแห่งมุญจิตุกัมยตาญาณปัญญาแล้ว ย่อมเป็นความปรารถนาที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจภาวนามยปัญญา เห็นอาทีนพโทษแห่งรูปนามแล้ว เกิดความเบื่อหน่ายใคร่จะหลุดพ้นไป จะไปไหนเล่า? สถานที่หลุดพ้นออกจากรูปนาม สถานที่ซึ่งไม่มีรูปนาม สถานที่ปราศจากรูปนามโดยสิ้นเชิง ก็มีอยู่แห่งเดียวเท่านั้นคือ พระนิพพาน ! เพราะฉะนั้นจึงต้องการจะไปพระนิพพานเอาจริงๆ ในตอนนี้เอง
     
  9. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ๑๐. ปฏิสังขาญาณ

    วิปัสสนาญาณที่ ๑๐ มีชื่อว่า ปฏิสังขาญาณ = ภาวนามยปัญญา คือญาณที่พิจารณารูปนามโดยอารมณ์พระไตรลักษณ์อีกครั้งหนึ่ง

    เมื่อผู้บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาได้บรรลุมุญจิตุกัมยตาญาณ มีความต้องการใคร่จะหลุดพ้นออกไปจากรูปนาม และมีจิตมุ่งมั่นปรารถนาพระนิพพานอย่างแท้จริงแล้ว ครั้นตั้งสติกำหนดในบทพระกรรมฐานต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง สภาวญาณก็จะอุบัติบังเกิดขึ้นตามแนววิปัสสนาวิถีสูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง วิปัสสนาญาณที่อุบัติขึ้นใหม่นี้มีชื่อว่า ปฏิสังขาญาณ

    คำว่า ปฏิสังขาญาณ นี้ เมื่อแยกศัพท์ออกเพื่อให้เห็นความหมายอย่างแจ่มชัดยิ่งขึ้น ก็จะได้ศัพท์ทั้งหลาย ดังนี้
    ปฏิ = อีกทีหนึ่ง
    สังขา = การพิจารณา
    ญาณ = ภาวนามยปัญญา
    เมื่อรวมกันเข้าแล้ว ก็ย่อมสำเร็จรูปเป็น "ปฏิสังขารญาณ" ซึ่งแปลว่า ภาวนามยปัญญาที่มีการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง พิจารณาอะไรกัน? ตอบว่า พิจารณาพระไตรลักษณ์

    ทำไมจึงต้องพิจารณาพระไตรลักษณ์?

    อ้าว! ก็เมื่ออยากจะเข้าไปสู่พระนิพพานแล้ว ก็ต้องหาทางเข้าไปสู่พระนิพพานเท่านั้นเอง ก็ทางเข้าสู่พระนิพพานอันประเสริฐนั้นมีอยู่ทางเดียว คือทางพระไตรลักษณ์นี่เอง ทางอื่นไม่ใช่ ขอให้จำไว้ให้ดีๆ ทีนี้เมื่อโยคีบุคคลผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต้องการจะเข้าไปสู่พระนิพพานเพื่อเห็นพระจตุราริยสัจในขณะนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จักต้องพิจารณาพระไตรลักษณ์ อันเป็นทางที่จักเข้าไปสู่พระนิพพาน

    พอจะเข้าใจแล้วว่า ทำไมจึงต้องพิจารณาพระไตรลักษณ์! แต่ทีนี้ให้สงสัยอยู่อีกนิดหนึ่งว่า คำว่า ปฏิสังขาญาณ ซึ่งแปลว่าภาวนาที่มีการพิจารณาอีกครั้งหนึ่งนั้น จะกล่าวแต่ว่าพิจารณาพระไตรลักษณ์อีกครั้งหนึ่งว่า คำว่า "อีกครั้งหนึ่ง" ซึ่งแปลออกมาจาก ปฏิ ศัพท์นั้น มีความหมายว่าอย่างไร?

    ที่ต้องมี ปฏิ ศัพท์ ซึ่งแปลว่า "อีกครั้งหนึ่ง" นั้น ก็เพราะว่า พระไตรลักษณ์นี้ ได้เคยปรากฏให้โยคีบุคคลผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเห็นมาครั้งหนึ่งแล้ว คือเมื่อครั้งที่ได้บรรลุกญาณที่ ๓ ซึ่งได้แก่สัมสนญาณโน่นน่ะ ท่านทั้งหลายยังจำได้ไหมเล่า กาลครั้งนั้นพระไตรลักษณ์ก็ปรากฏ แต่เป็นเพราะว่าสมาธิญาณยังอ่อน ภาวนามยปัญญายังไม่เจริญแกล้วกล้า จึงไม่สามารถที่จะรู้เห็นได้อย่างแจ่มแจ้ง ครั้นปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานผ่านญาณอะไรต่อมิอะไรมากมาย จนกระทั่งได้บรรลุถึงปฏิสังขาญาณนี้แล้ว ภาวนามยปัญญาย่อมผ่องแผ้วขึ้นอีกเป็นอันมาก จึงมีอันเป็นให้สามารถแลเห็นและพิจารณาพระไตรลักษณ์ที่ปรากกฏแก่รูปนามอีกครั้งหนึ่ง

    ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น ย่อมเป็นที่ทราบกันทั่วไว่า เมื่อพระไตรลักษณ์ปรากฏขึ้นในญาณใด ญาณนั้นทุกขเวทนาย่อมปรากฏขึ้นมาเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น เมื่อโยคีบุคคลบรรลุถึงปฏิสังขาญาณ ซึ่งเป็นญาณที่จะแสดงพระไตรลักษณ์ให้ปรากฏเห็นอย่างแจ่มแจ้งนี้ ก็ย่อมจะได้ประสบกับทุกขเวทนาอย่างรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง แต่จะเป็นทุกขเวทนาอย่างไรนั้น เป็นการจนใจเหลือเกินที่ไม่สามารถจะกล่าวไว้ในที่นี้ได้ จะบอกได้ก็แต่เพียงว่า ทุกขเวทนาในมุญจิตุกัมยตาญาณเป็นทุกขเวทนามากแห่งและไม่รุนแรง แต่ว่าก่อให้เกิดความรำคาญใจเป็นอย่ิงนัก ส่วนทุกขเวทนาในปฏิสังขาญานนี้ เป็นทุกเวทนาน้อยแห่งและรุนแรงกว่ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะพระไตรลักษณ์จะปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนที่สุดนั่นเอง

    ในขณะที่ปฏิบัติ ถึงแม้ว่าผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานจะได้้ประสบกับทุกขเวทนาอันรุนแรงเอาการอยู่บ้างก็จริง ถึงกระนั้นก็ไม่ทำให้ผู้ปฏบัติมีจิตใจท้อถอยในการกระทำความเพียรได้เท่าไรเลย ทั้งนี้ก็เพราะว่าสมาธิญาณของโยคีผู้ปฏิบัติสูงขึ้นมากแล้ว และจิตใจก็มองเห็นคุณค่าแห่งการปฏิบัติได้เป็นอย่างดีไม่มีจิตคิดเกเรเหมือนเมื่อยังปฏิบัติในญาณต่ำๆ ฉะนั้นโดยมากโยคีบุคคลผู้บรรลุถึงญาณนี้ จึงย่อมมีใจอาจหาญพยายามกำหนดในบทพระกรรมฐานต่อไปอย่างไม่ท้อถอย เมื่อพยายามบำเพ็ญเพียรโดยไม่ท้อถอย ในไม่ช้า ครั้นอินทรีย์ถึงความพร้อมเพรียงได้ส่วนสมดุลกันเป็นอันดีแล้ว ก็ย่อมจะหลุดพ้นจากญานนี้ ก้าวขึ้นสู่วิปัสสนาญาณเบื้องสูง ต่อไป
     
  10. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ๑๑. สังขารุเปกขาญาณ

    วิปัสสนาญาณที่ ๑๑ มีชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ = ภาวนามยปัญญาคือญาณที่สามารถวางเฉยเสียได้ในสังขารรูปนาม

    เมื่อบำเพ็ญวิปัสสนาภาวนา ตั้งสติกำหนดในบทพระกรรมฐานอย่างไม่ย่อท้อ กระทำความเพียรให้ติดต่อกันไปโดยไม่ขาดสาย และได้มีโอกาสเห็นรูปนามแสดงฤทธิ์ออกมาต่างๆ นานาน โดยเป็นไปตามอำนาจแห่งพระไตรลักษณ์ ซึ่งก็ล้วนแต่เป็นฤทธิ์ร้ายๆ ไม่น่าพึงใจไม่น่าปรารถนาทั้งสิ้น อันเป็นลักษณะแห่งปฏิสังขาญาณดังกล่าวมาแล้ว ต่อจากนั้นก็ย่อมจะเกิดความรู้สึกเห็นโทษแห่งรูปนามอย่างแจ้งชัดแก่ใจว่า รูปนามนี้ไม่มีอะไรที่จะยึดถือเอาเป็นที่พึ่ง ไม่มีอะไรที่จะเป็นสาระแก่นสาร มีแต่สิ่งที่ไม่น่าขอบใจ คือเป็นภัยและทุกข์โทษทั้งสิ้น เมื่อมารู้เห็นจริงด้วยภาวนามยปัญญาดังนี้แล้ว ก็ย่อมจักละความยินดีพอใจในรูปนามนั้นสีย ก็อาการที่ละความยินดีพอใจในรูปนามนี้ ถ้าจะพูดอีกทีก็คือว่า "ความวางเฉยในรูปนาม" นั่นเอง ก็ความวางเฉยในรูปนามนี่แหละ ย่อมเป็นสัญลักษณ์แห่งญาณใหม่ที่โยคีบุคคลได้บรรลุถึง ญาณใหม่ที่ว่านี้ก็๕ือ สังขารุเปกขาญาณ

    ในการปฏิบัติ พอโยคีบุคคลบรรลุถึงสังขารุเปกขาญาณนี้แล้ว ก็ย่อมจะมีจิตผ่องแผ้ว และให้บังเกิดความอัศจรรย์ขึ้นในทันใด ! นั่นคือ จะรู้สึกได้รับความสบายและสงบขึ้นมาทันที ทุกขเวทนาที่กำลังได้รับอยู่เมื่อสักครู่นี้ในขณะที่ปฏิสังขาญาณยังเป็นไป ก็จะเคลื่อนคลายหายไปหมดสิ้น การกำหนดในบทพระกรรมฐานก็มีอาการกำหนดได้คล่องแคล่วเป็นยิ่งนัก กำหนดได้นานๆ จิตใจก็สงบเงียบไม่วอกแวกฟุ้งซ่านเลย รวมความว่า สภาวญาณก้าวขึ้นไปสู่เหตุการณ์ที่ดี และดีกว่าสภาวญาณต่างๆ ที่ผ่านมาแล้วทั้งหมด จนเจ้าตัวผู้ตั้งสติกำหนดอยู่ก็ให้รู้สึกแปลกใจเป็นหนักหนา

    ครั้นพยายามกระทำความเีพียรต่อไป ซึ่งความจริงนั้นไซร้ ในขณะนี้ถึงไม่มีผู้บอกให้พยายามก็ไม่เป็นไร เพราะผู้บำเพ็ญวิปัสสนาเกิดความสงบอกสงบใจใคร่จะบำเพ็ญวิปัสสนาอย่างไม่ลดละอยู่แล้ว เพราะมีใจผ่องแผ้วเป็นหนักหนา มีสมาธิญาณอันสูงยิ่งนัก ฉะนั้น เมื่อได้กำหนดอย่างหนักแน่นในบทพระกรรมฐาน สังขารุเปกขาญาณนี้ก็ค่อยๆ แก่กล้าเข้าๆ และแล้วในที่สุดก็จักสำแดงสภาวะแห่งญาณนี้ออกมาครบบริบูรณ์ ๖ ประการคือ
    ๑. ไม่มีความยินดียินร้าย กำหนดรูปนามได้ง่ายที่สุด กำหนดได้สม่ำเสมอเรียบร้อย ปราศจากความขัีดข้องคืออุปสรรคทั้งปวง

    ๒. ดีใจก็ไม่มี เสียใจก็ไม่มี ตั้งสติกำหนดในบทพระกรรมฐานเฉยอยู่อย่างนั้นเอง

    ๓. วางเฉยอยู่ได้ในรูปนามสังขารทั้งปวง ความวางเฉยในกรณีนี้ต้องเข้าใจว่าเป็นความวางเฉยขั้นเอกอุ ซึ่งผู้ที่ไม่ได้บรรลุถึงญาณนี้แล้วจักทราบไม่ได้โดยอนุมาน

    ๔. รูปนามอันเป็นมูลกรรมฐาน ถึงภาวะอันละเอียดประณีตเป็นที่สุด กำหนดอยู่ได้นานๆ ความรู้สึกของผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานในขณะนี้ ไม่อยากไปไหน ไม่อยากพบกับใคร ไม่นึกถึงอะไรทั้งนั้น เพราะความฟุ้งซ่านไม่มี นิวรณธรรมทั้งหลายก็สงบ ไม่มีมารบกวน

    ๕. ยิ่งตั้งสติกำหนดไป รูปนามอันเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาภาวนาก็ยิ่งแสดงอาการสุขุมปรณีตเข้าทุกที ถึงภาวะที่ละเอียดเป็นอย่างยิ่ง แลเห็นไม่ค่อยชัดเจน แต่ว่าทำการกำหนดได้อย่างสบาย ในด้านจิตใจก็รู้สึกว่าสงบเป็นที่สุด

    ๖. ถึงภาวะที่เรียกว่า "มีธรรมเป็นอำนาจเต็มที่ " คือมีจิตใจแคบเข้ามา ความคิดไปนอกบทพระกรรมฐานน้อยที่สุด แทบจะเรียกว่าไม่มีเลยก็ว่าได้ ในขณะที่ทำการกำหนดอยู่นั้น แม้อารมณ์ภายใน กล่าวคือ มูลกรรมฐานก็แคบเข้ามา เพียงแต่กำหนดกรรมฐานบทต้นเท่านั้น จิตใจก็พลันสงบเสียแล้วไม่ต้องกำหนดบทพระกรรมฐานอื่นๆ ให้ยืดยาวไป ในกรณีนี้ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับยางที่ยืดไป แล้วกลับหดสั้นเข้ามาอีกเช่นนั้น ตอนนี้รู้สึกว่าจะอ่านยากสักหน่อย เพราะเป็นสภาวญาณชั้นสูงยิ่ง คนที่ไม่ได้ผ่านการบำเพ็ญวิปัสสนามาย่อมยากที่จะเข้าใจได้

    เมื่อบำเพ็ญวิปัสสนาภาวนา ได้บรรลุถึงสังขารุเปกขาญาณ อันประกอบไปด้วยองค์คุณ ๖ ประการ ดังกล่าวมานี้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว จะมีอะไรเกิดขึ้น?

    ต้องมีแน่! คือบางคนตั้งงอยู่ในสภาวญาณนี้เพียง ๔-๕ วันเท่านั้น วิปัสสนาญาณก็จะเลื่อนสูงขึ้นไปจนกระทั่งถึงญาณขั้นสูงสุด อันเป็นจดหมายปลายทางแห่งการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานขั้นต้น เพราะมีวาสนาบารมีเป็นบุคคลประเภทปฏิบัติสบายและรู้ได้ง่ายเร็วพลัน

    แต่บางโยคีบุคคลนั้น จะต้องอยู่ในสังขารุเปกขาญาณนี้นับได้หลายวันหลายเดือน บางทีนับได้เป็นปีๆ ก็มี โดยที่สภาวญาณไม่เปลี่ยนแปรคือไม่ขึ้นไม่ลง แต่โดยมากบางโยคีบุคคล สภาวะแห่งสังขารุเปกขาญาณนี้จะมีอาการขึ้นๆ ลงๆ เพราะค่าที่อินทรีย์ไม่ได้ส่วนสมดุลกัน หรือเป็นเพราะว่าเมื่อบรรลุถึงญาณนี้แล้ว จิตใจสงบขึ้น และตนก็มีความรู้ในด้านปริยัติศึกษามาก่อนบ้างแล้ว จึงทำให้เข้าใจเอาเองว่า ตนจวนจะได้มรรคผลแล้ว... ตนจวนจะได้เห็นพระจตุราริยสัจแล้ว... ก็เลยเป็นเหตุให้คอยจ้องอยู่ โดยอยากจะรู้เป็นหนักหนาว่า หน้าตาแห่งอริยมรรค - อริยผลที่จักเกิดขึึ้นแก่ตนนั้นเป็นอย่างไร? พระจตุราริยสัจอันเป็นธรรมวิเศษที่องค์สมเด็จพระโลกเชษฐสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้นั้นเป็นอย่างไร? คอยจ้องปรารถนาใคร่จะเห็นอยู่อย่างนี้ ก็ย่อมเป็นเหตุให้สภาวญาณตกลงมาลงขั้นต่ำ ครั้นทำความเพียรให้อินทรีย์สม่ำเสมอกันเป็นอัีนดีแล้ว สภาวญาณก็จะก้าวขึ้นมาสูงถึงขั้นนี้ แล้วทำให้คอยจ้องอยู่อีก สภาวะแห่งวิปัสสนาต้องเลื่อนขึ้นเลื่อนลงกลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้นานหนักหนา

    จึงเป็นอันว่า สังขารุเปกขาญาณนี้มีความเฉยในสังขารรูปนามเป็นลักษณะ เป็นญาณที่ยิ่งใหญ่สุดยอดในการปฏิบัติขั้นโลกิยญาณ ถ้ามีอุปสรรคความขัดข้องประการใดประการหนึ่ง เช่นเป็นผู้มีอกุศลกรรมที่ทำไว้หนาดหนักขั้นอนันตริยกรรมก็ดี หรือินทรีย์ไม่ถึงพร้อมไม่ได้ส่วนสมดุลกันก็ดีเช่นนี้เป็นต้น ก็ไม่สามารถที่จะปฏิบัติให้ผ่านพ้นสังขารุเปกขาญาณ เพื่อก้าวขึ้นไปสู่ญาณเบื้องสูงได้ แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้จำไว้ง่ายๆ ว่าผู้บำเพ็ญวิปัสสนาที่บรรลุถึงญาณนี้ ย่อมมีจิตใจที่สงบเย็นเป็นยิ่งนักและจักได้ประสบพบเห็นความประหลาดมหัศจรรย์ในพระโอวาทานุสาสนีแห่งองค์สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ตนเคยเชื่อบ้างและไม่เชื่อบ้างเป็นอันมาก หากท่านผู้ใดมีใจใคร่จักพิสูจน์ให้ได้ทราบความจริงแล้วก็จะเร่งปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานดูเถิด เมื่อปฏิบัติจนกระัทั่งได้บรรลุถึงสังขารุเปกขาญาณนี้แล้ว ก็ย่อมจะตระหนักแน่แก่ใจตนเองว่า ศาสนธรรมคำสั่งสอนแห่งองค์สมเด็จพระชินวรสัมมาสัมพุทธเจ้าแห่งเรานี้มีความวิเศษทรงไว้ซึ่งคุณค่าควรแก่การปฏิบัติตามเพียงใด









     
  11. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ๑๒. อนุโลมญาณ

    เมื่อสังขารุเปกขาญาณถึงความเป็นยอด คือแก่รอบเป็นที่สุดแล้วและเมื่อไม่มีอุปสรรคอันเป็นเครื่องกีดขวางต่อมรรคผลอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว วิปัสสนาญาณของผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานก็จะเริ่มดำเนินขึ้นไปสู่ญาณเบื้องสูงต่อไป ญาณที่มีโอกาสก้าวหน้าเข้ามาใหม่นี้มีชื่อว่า "อนุโลมญาณ"

    อนุโลมญาณ นี้เป็นญาณที่มีกิจเห็นพ้องต้องกับวิปัสสนาญาณเบื้องต้น นับตั้งแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นมา จนถึงสังขารุเปกขาญาณ รวมเป็น ๘ ญาณด้วยกัน! และเป็นวิปัสสนาญาณที่มีกิจอนุโลมตาม โพธิปักขิยธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่ทำให้บรรลุพระอริยมรรค-อริยผล โดยไม่ขัดกันเลย ถูกต้องตรงกันเผงทีเดียว! กล่าวอย่างนี้รู้สึกจะเข้าใจยากสักหน่อย ฉะนั้นต้องค่อยๆ พิจารณาอุปมาที่ท่านกล่าวไว้ ดังต่อไปนี้

    สมเด็จพระราชาธิบดี ผู้ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม มีพระราชหฤทัยปราศจากอคติใดๆ ทั้งสิ้น ขณะที่พระองค์ประทับ ณ ราชอาสน์ที่ศาลาวินิจฉัยคดี เมื่อได้ทรงสดับการวินิจฉัยคดีแห่งมหาอำมาตย์ผู้พิพากษา ๘ บัณฑิต ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาตัดสินคดีแล้ว พระองค์ทรงเห็นฟ้องต้องกับการตัดสินคดีนั้น ก็ย่อมจะทรงพยักพระพักตร์อย่างพอพระราชหฤทัยว่า "ฮีอ... ถูกต้องแล้ว เราเห็นด้วย" และการที่พระองค์ทรงเห็นด้วยนี้ ก็ไม่ใช่ว่าพระองค์เห็นด้วยไปตามพระอารมณ์ หรือทรงเห็นด้วยโดยปราศจากเหตุผล โดยที่แท้การที่พระองค์ทรงเห็นพ้องต้องกันกับการตัดสินคดีนั้น นอกจากจะเป็นการตัดสินที่ถูกต้องตามกระบวนการยุติธรรมแล้ว ยังถูกต้องกับพระราชธรรมดั้งเดิม คือ ระบอบกฏหมายแผ่นดินอย่างตรงเผงไม่ผิดเพี้ยนอีกด้วย ในกรณีนี้มีการเปรียบเทียบดังนี้

    อนุโลมญาณ เปรียบดุจสมเด็จพระราชาธิบดี ผู้ทรงชำนาญในกฎหมายของแผ่นดินและทรงทศพิธราชธรรม

    ญาณ ทั้ง ๘ คือ อุพยัพพยญาณ ๑ ภังคญาณ ๑ ภยญาณ ๑ อาทีนวญาณ ๑ นิพพิทาญาณ ๑ มุญจิตุกัมยตาญาณ ๑ ปฏิสังขาญาณ ๑ สังขารุเปกขาญาณ ๑ เปรียบดุจมหาอำมาตย์ผู้พิพากษา ๘ บัณฑิต

    โพธิปักขิยธรรม เปรียบดุจราชธรรมดั้งเดิม คือระบอบกฎหมายแผ่นดิน


    อนุโลมญาณ นี้ปรารภรูปนามด้วยอำนาจแห่งพระไตรลักษณ์แล้วเกิดขึ้น ย่อมเห็นพ้องต้องกันกับญาณทั้ง ๘ ที่เกิดขึ้นมาก่อน ก็จะไม่เห็นพ้องได้อย่างไรบ้าง? เพราะสภาวะที่วิปัสสนาญาณทั้ง ๘ เสนอมานั้นเป็นสภาวะที่แท้จริงทั้งสิ้น ถ้าเป็นสภาวะที่ไม่แท้จริง จึงจะว่ากันไปอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ถ้าสภาวะที่วิปัสสนาญาณทั้ง ๘ เสนอมานั้นไม่จริงแล้ว วิปัสสนาญาณทั้ง ๘ ก็ไม่ใช่วิปัสสนาญาณที่แท้จริง เป็นวิปัสสนาญาณเทียม ซึ่งใช้ไม่ได้ เมื่อเป็นวิปัสสนาญาณเทียมเช่นนี้แล้ว อนุโลมญาณนี้ก็ไม่เกิดขึ้น ถึงจะเข้าใจว่า อนุโลมญาณเกิดขึ้น อนุโลมญาณนั้นก็เป็นอนุโลมญาณเทียม ไม่ใช่อนุโลมญาณที่แท้จริงในพระพุทธศาสนา

    ฉะนั้น ท่านจึงว่า อนุโลมญาณนี้เป็นญาณที่มีกิจเห็นพ้องต้องกันกับวิปัสสนาญาณเบื้องต้น ดุจสมเด็จพระราชาธิบดีทรงเห็นพ้องต้องกับมหาอำมาตย์ ผู้พิพากษา ๘ บัณฑิต และการที่จะเห็นพ้องต้องกันนี้ ก็เพราะไม่ขัดกับโพธิปักขิยธรรมเบื้องบน อันเป็นธรรมที่จะนำให้บรรลุพระอริยมรรค พระอริยผลอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้อนุโลมญาณ จึงเป็นญาณที่มีกิจอนุโลมตามโพธิปัักขิยธรรม ดุจสมเด็จพระราชาธิบดี ทรงเห็นว่าการวินิจฉัยแห่งมหาอำมาตย์ทั้ง ๘ นายนั้น ถูกต้องแล้ว ไม่ขัดกับราชธรรมคือระบอบกฏหมายแผ่นดินดั้งเดิมเลย

    การอุบัติแห่งอนุโลมญาณนี้ มีอยู่ ๓ ขณะ คือ
    อนุโลมขณะที่ ๑ ซึ่งมีชื่อว่า "บริกรรม" มีหน้าที่ปราบปรามกิเลสก้อนหยาบหนา อันมีชื่อว่า "ถูลกิเลส" ให้หมดเรียบร้อย เพื่อเตรียมตัวรอคอยการอุบัติขึ้นแห่งพระอริยมรรค

    อนุโลมขณะที่ ๒ ซึ่งมีชื่อว่า "อุปจาร" มีหน้าที่ปราบปรามกิเลสอย่างกลาง อันมีชื่อว่า "มัชฌิมกิเลส" ให้หมดสิ้นเรียบร้อย เพื่อเตรียมตัวรอคอยการอุบัติขึ้นแห่งพระอริยมรรค

    อนุโลมขณะที่ ๓ ซึ่งมีชื่อตรงๆ ว่า "อนุโลม" มีหน้าที่ปราบปรามกิเลสก้อนละเอียดอันมีชื่อว่า "สุขุมกิเลส" ให้หมดสิ้นเรียบร้อยเพื่อเตรียมตัวรอคอยการอุบัติขึ้นแห่งพระอริยมรรค

    ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย! อนุโลมขณะทั้ง ๓ คือ บริกรรม ๑ อุปจาร ๑ อนุโลม ๑ เหล่านี้ เรียกว่า อนุโลมญาณ อนุโลมญาณนี้ อาจที่จะเห็นพระไตรลักษณ์และประหารโมหะ คืออวิชชาอันมีฤทธิ์ร้ายได้ แต่ไม่สามารถที่จะแลเห็นพระนิพพาน


     
  12. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ๑๓. โคตรภูญาณ

    เมื่ออนุโลมญาณเกิดขึ้นประหารอวิชชาซึ่งมีฤทธิ์ร้าย หรือที่เรียกว่า กิเลสอันปกปิดพระจตุราริยสัจไว้ ให้สูญสิ้นไปเป็นชั้นๆ ตามควรแก่กำลังดังกล่าวแล้ว ในระยะนี้จิตของโยคีบุคคลผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานย่อมไม่ขัดข้อง ไม่ติด ไม่เนื่องในสังขารรูปนามทั้งปวง ย่อมละเลย ย่อมงอกลับ ย่อมบ่ายกลับ ดุจอุทกวารีที่ตกจากดอกปทุมชาติ ต่อจากนั้นก็จะพลันก้าวล่วงเสียซึ่งโคตรปุถุชน ซึ่งภูมิแห่งปุถุชนแล้วย่างขึ้นสู่โคตรแห่งพระอริยะ สู่สมัญญาแห่งพระอริยะ สู่ภูมิแห่งพระอริยะ สภาวะตอนนี้เรียกชื่อว่าโคตรภูญาณ

    โคตรภูญาณ นี้เกิดขึ้นต่อจากอนุโลมญาณ มีหน้าที่ประหารโคตรปุุถุชนให้ขาดเด็ดแล้ว ยังเชื้อสายแห่งอริยโคตรให้เกิดขึ้น โคตรภูญาณนี้สามารถที่จะกระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ได้ แต่ไม่สามารถที่จะกำจัดอวิชชาความมืด กล่าวคือกิเลสซึ่งปกปิดพระจตุราริยสัจไว้ได้! ในกรณีนี้พึงทำความเข้าใจให้เด็ดขาดลงไปว่า

    อนุโลมญาณ ที่กล่าวมาก่อนแล้วนั้น สามารถที่จะกำจัดอวิชชา ความมืดคือกองกิเลสอันปกปิดพระจตุราริยสัจไว้ได้ แต่ไม่สามารถที่จะเห็นพระจตุราริยสัจ คือไม่สามารถที่จะกำจัดอวิชชาความมืดกล่าวคือกองกิเลสอันปกปิดพระจตุราริยสัจไว้ได้

    โคตรภูญาณ ที่เรากำลังกล่าวถึงกันอยู่นี้ สามารถที่จะทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ได้ แต่ไม่สามารถที่จะทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ได้

    ในเรื่องที่ค่อนข้างจะเข้าใจยากนี้ มีอุปมาที่ท่านกล่าวไว้เพื่อให้เข้าใจง่าย ตามที่ปรากฏในคัมภีร์ทั้งหลาย ดังต่อไปนี้

    ชายชมจันทร์

    ยังมีบุรุษตาดีคนหนึ่ง ซึ่งมีความปรารถนาใคร่จักแลดูนักขัตฤกษ์บนท้องฟ้า จึงออกจาเคหาแหงนหน้าดูพระจันทร์ในยามรัตติกาล แต่พระจันทร์เจ้าไม่ปรากฏให้เขาเห็นเลย เพราะในขณะนั้นมีเมฆมาปิดบังไว้เสีย ครั้นเขาเฝ้ามองไปมองมาอยู่อย่างนั้น ไม่นานเท่าใดนัก ก็มีลมบนก้อนหนึ่้งตั้งขึ้น แล้วพัดเมฆอันเป็นก้อนทึบให้กระจายไป แล้วมีลมอีกกองหนึ่งตั้งขึ้นมาพัดก้อนเมฆชนิดกลางให้กระจายไปอีก แล้วยังมีลมอีกกองหนึ่งค่อยตั้งขึ้นเคลื่อนมาพัดพาก้อนเมฆชนิดละเอียดให้กระจายหายไปหมดสิ้น คราที่นั้นบุรุษแหงนหน้าเพื่อมองหาฤกษ์จันทร์ ย่อมจะพลันเห็นดวงรัชนีอันมีรัศมีเยือกเย็นลอยเด่นอยู่กลางเวลหาไร้ราคีเพราะไม่มีเมฆหมอกมาปิดบังสามารถแลดูนักขันฤกษ์ได้ดังประสงค์ อุปมานี้ฉันใด

    อวิชชา ความมืด ซึ่งได้แก่กองกิเลสทั้ง ๓ คือ กองกิเลสอย่างหยาบ ซึ่งเรียกว่าถูลกิเลส ๑ กองกิเลสอย่างกลาง ซึ่งเรียกว่า มัชฌิมกิเลส ๑ กองกิเลสอย่างละเอียด ซึ่งเรียกว่า สุขุมกิเลส ๑ ที่ปกปิดพระจตุราริยสัจไว้เปรียบได้กับเมฆอันมืดมิด ๓ ชนิด ซึ่งปกปิดดวงจันทร์เจ้าเอาไว้

    อนุโลมญาณ ซึ่งได้แก่อนุโลมขณะทั้ง ๓ คือบริกรรม ๑ อุปจาร ๑ อนุโลม ๑ เปรียบได้กับลม ๓ กอง

    โคตรภูญาณ นี้เปรียบได้กับบุรุษโหรา ตาดี ผู้ต้องการดูนักขัตฤกษ์ หรือฤกษ์จันทร์

    พระนิพพาน หรือเรียกอีกทีเพื่อให้เหมาะสมแก่กรณีนี้ว่า "พระจตุราริยสัจ " เปรียบได้กับดวงจันทร์ อันมีรัศมีอ่อนเย็นตา


    - การกำจัดความมืดคือ กองกิเลส ๓ กอง ซึ่งปกปิดพระจตุริยสัจไว้แห่งอนุโลมขณะทั้ง ๓ เปรียบได้กับการกำจัดเมฆร้ายอันปกปิดดวงจันทร์เจ้าเอาไว้แห่งลม ๓ ชนิด

    - การเห็นพระนิพพานอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วแห่งโคตรภูญาณ ในเมื่อความมืดคือกองกิเลสอันปกปิดพระจตุราริยสัจไว้ได้ถูกทำลายลงไปแล้วด้วยอำนาจแห่งอนุโลมขณะทั้ง ๓ เปรียบได้กับการเห็นดวงรัชนี ซึ่งมีรัศมีนวลเย็นตาลอยเ่ด่นอยู่กลางเวหา แห่งบุรุษโหราตาดีต้องการดูนักขัตฤกษ์ ในเมื่อเมฆมืดดร้ายได้ถูกทลายลงไปตามลำดับแล้ว ด้วยอำนาจแห่งลม ๓ กอง

    ในกรณีีนี้ ท่านผุ้มีปัญญาคงจะเห็นแล้วว่า อนุโลมขณะทั้ง ๓ หรือที่รวมเรียกว่า "อนุโลมญาณ" นั้น สามารถที่จะกำจัดอวิชชาความมืด กล่าวคือกองกิเลสทั้งหลายอันปกปิดพระจตุราริยสัจไว้ได้อย่างเดียว แต่ไม่สามารถแลเห็นพระนิพพานได้เปรียบเสมือนลม ๓ ชนิดสามารถที่จะกำจัดเมฆร้ายอันปกปิดดวงจันทร์ไว้เท่านั้น แต่ไม่สามารถที่จะเห็นดวงจันทร์ได้ ก็จะไปเห็นได้อย่างไรเล่า เพราะลมไม่มีตาที่จะเห็น ส่วนโคตรภูญาณนั้นสามารถที่จะเห็นพระนิพพานได้ แต่ก็ไม่สามารถที่จะกำจัดความมืดกล่าวคือกองกิเลสอันปกปิดพระจตุราริยสัจไว้ได้ เปรียบเสมือนบุรุษตาดี ซึ่งแหงนหน้าชมจันทร์อยู่นั้น สามารถที่จะแลเห็นพระจันทร์ได้อย่างเดียว แต่ไม่สามารถที่จะทำลายก้อนเมฆที่มาบดบังดวงจันทร์ ทั้งนี้ก็เพราะเขาเป็นมนุษย์ธรรมดาซึ่งมีแต่ตาดีแต่ไม่มีฤทธิ์

    พึงจำได้ง่ายๆ ว่า โคตรภูญาณนี้เป็นญาณที่ข้ามโคตรปุถุชน ตัดโคตรปุถุชน ก้าวขึ้นสู่แดนอริยชน ตัดโลกิยารมณ์ทั้งหมด ตัดโคตรปุถุชนให้หมดสิ้นไปไม่มีเหลือ โคตรภูญาณนี้เป็นเขตแดนระหว่างปุถุชนกับอริยชนเป็นญาณที่อยู่ใกล้ชิดกับพระอริยมรรคเป็นที่สุด เพราะฉะนั้นญาณนี้จึเปรียบเสมือนไฟฉายส่องให้พระอริยมรรค หรือเป็นญาณที่ทำให้ "มรรคญาณ" ปรากฏ เพราะความใกล้ชิดกับพระอริยมรรคนี่เอง จึงมีปัญหาว่า

    โคตรภูญาณนี้ เป็นโลกยญาณ หรือเป็นโลกุตตรญาณ?
    วิสัชนาว่า ยังเป็นโลกิยญาณอยู่ หาใช่โลกุตรญาณไม่ เพื่อความเข้าใจดี พึงพิจารณาดูข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้

    ในขณะที่สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จไปในที่ไหนๆ ย่อมจะมีราชองครักษ์นำหน้าไปก่อน องค์สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จพระราชดำเนินตามมาติดๆ กัน คนทั้งหลายที่คอยเฝ้ารับเสด็จยังไม่เคยเห็นองค์สมเด็จพระราชาธิบดี แต่พอได้เห็นทหารราชองครักษ์ซึ่งแต่งกายเต็มยศครบครัน เดินนำหน้าสมเด็จพระราชาธิบดีมา ก็อาจจะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นองค์พระราชา แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะองค์สมเด็จพระราชาธิบดีเสด็จพระราชดำเนินตามมาข้างหลังต่างหาก อุปมานี้ฉันใด ในขบวนแห่งอริยะที่กำลังจะมาปรากฏแก่โยคีบุคคลผู้บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาในขณะนี้ก็เหมือนกัน คือ "โคตรภูญาณ" นี้เปรียบเสมือนเป็นทหารราชองครักษ์นำหน้ามรรคญาณมา ถึงแม้จะใกล้ชิดกับมรรคญาณเป็นที่สุด แต่ยังเ็นโลกียญาณ คือเป็นญาณฝ่ายโลกีย์อยู่ ส่วน "มรรคญาณ" ซึ่งจะกล่าวต่อจากนี้ไปนั้น ย่อมเปรียบเสมือนเป็นองค์สมเด็จพระราชาธิบดีที่เสด็จพระราชดำเนินตามหลังทหาราชองครักษ์ คือโคตรภูญาณ ย่อมมีอำนาจสมบูรณ์เสวยอารมณ์พระนิพพานได้เต็มที่ เพราะฉะนั้น "มรรคญาณ" จึงเป็นโลกุตรญาณคือเป็นญาณฝ่ายโลกุตระแท้


     
  13. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ๑๔.มรรคญาณ

    เห็นแล้ว... ได้เห็นแจ้งแทงตลอดซึ่งพระจตุราริยสัจแล้ว คือว่า เมื่อวิปัสสนาญาณของโยคีบุคคลผู้บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาแล่นเข้าเขตโคตรภูญาณ ตัดโคตรปุุถุฃนให้เด็ดขาดสูญสิ้นไปหมดแล้ว ต่อจากนั้นก็ล่วงพ้นจากโคตรภูญาณอันเป็นเขตสุดยอดแห่งญาณฝ่ายโลกีย์แล้ว ก็ก้าวเข้าเขตวิปัสสนาญาณอันเป็นเขตสุดยอดแห่งญาณฝ่ายโลกีย์แล้ว ก็ก้าวเข้าสู่เขตวิปัสสนาญาณอันสำคัญยิ่งซึ่งเป็นญาณฝ่ายโลกุตระ วิปัสสนาญาณอันสำคัญยิ่งยวดที่ว่านี้ก็คือ "มรรคญาณ"

    อันที่จริงสภาวะญาณตอนนี้ หากจะชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัดก็ว่า "โคตรภูญาณ" นั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เป็นเพียงวิปัสสนาญาณหนึ่งเท่านั้นเอง ไม่มีตัวตน แต่ถ้าจะเกณฑ์ให้พูดเพื่อให้มนุษย์อย่างเราท่านได้รู้เห็นเป็นภาพพจน์ถึงสภาวะในขณะนั้น ก็น่าที่โคตรภูญาณนั้น ย่อมจะกล่าวเชื้อเชิญให้สัญยาแก่มรรคญาณว่า
    "ข้าแต่ท่านมรรคญาณ! ขอพระเดชพระคุณจงอุบัติขึ้นเถิด"
    พูดได้เท่านั้น โคตรภูญาณผู้มีวาสนาน้อยก็ดับไป ฝ่ายมรรคญาณซึ่งมีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ก็ไม่ละคำเชื้อเชิญที่โคตรภูญาณนั้นให้ รีบอุบัติผุดขึ้นในทันทีทันใด ผุดขึ้นชำแรกทำลายกองโลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งติดแน่นอยู่ในสันดานมานานหนักหนา ให้ถึงภาวะกระจายไปเป็นครั้งแรก ก็ในกรณีที่โคตรภูญาณให้สัญญาเพื่อให้มรรคอุบัติขึ้นนี้ มีอุปมาที่ท่านไว้ดังต่อไปนี้

    ธนูศิลป์

    ดังได้สดับมา ยังมีนายธมังธนูนายหนึ่ง ปรารถนาเพื่อจะสำแดงซึ่งธนูศิลป์อันล้ำเลิศแห่งตน วันหนึ่งเขาจึงให้คนปักแผ่นกระดานแก่ประู่อันหนาตั้ง ๑๐๐ ชั้นไว้ให้ห่างพอสมควร แล้วเอาผ้าดำมาผูกตา ครั้นผูกสอดธนูคู่มือยืนอยู่เบื้องบนจักรยนต์ แล้วสั่งให้คนทั้งหลายหมุนจักรยนต์อย่างรวดเร็ว เมื่อใดแผ่นกระดานปรากฏอยู่ตรงหน้านายขมังธนู เมื่อนั้นจึงเคาะให้สัญยาแก่เขา นายธมังธนูผู้เชี่ยวชาญได้ยินเสียงเคาระสัญญาณ ก็ไม่ละสัญญาณนั้น ยิงลูกธนูไปทันที ผลปรากฏว่าลูกธนูที่เขายิงไปนั้นถูกเป้าหมายสมความตั้งใจ คือไปถูกเป้าหมายทะลุแผ่นกระดานแก่นประดู่ทั้ง ๑๐๐ แผ่นนั้นได้อย่างน่าชมเชยหนักหนา อุปมามีการเปรียบเทียบดังต่อไปนี้
    - โคตรภูญาณ เปรียบเสมือนสัญญาณเคาะไม้
    - มรรคญาณ เปรียบเสมือนนายขมังธนู
    - กิริยาที่มรรคญาณ ไม่ละสัญญาณที่โคตรภูญาณให้แล้ว ทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ อุบัติผุดขึ้นชำแรกทำลายกองโลภะ โทสะ โมหะ หรืออวิชชา ซึ่งปกปิดพระจตุราริยสัจไว้ สามารถเห็นแจ้งแทงตลอดซึ่งพระจตุราริยสัจได้ เปรียบเสมือนนายขมังธนูผู้ไม่ละสัญญาเคาระไม้ แล้วสามารถยิงทะลุแผ่นกระดานแก่นประดู่ซึ่งหนา ๑๐๐ แผ่นได้โดยไม่ผิดพลาด

    จึงเป็นอันว่า เมื่อมรรคญาณอันประเสริฐนี้อุบัติเกิดขึ้นแล้ว ย่อมทำให้ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนามีปัญญาผ่องแผ้ว สามารถรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งพระจตุราริยสัจได้อย่างแน่นอน แต่อาการที่รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งพระจตุราริยสัจ จะมีอรรถาธิบายเป็นประการใดบ้างนั้น ในตอนนี้ของดไว้คือ จักไม่กล่าวให้เอะอะไปก่อน เพราะเรายังมีพันธะติดค้างที่จะต้องติดตามวิปัสสนาญาณให้จบทั้ง ๑๖ ญาณเสียก่อน เมื่อติดตามไปจนจบวิปัสสนาญาณทั้งปวงแล้ว เราจึงย้อนกลับมาดูการเห็นแจ้งแทงตลอดซึ่งพระจตุราริยสัจที่ปรากฏในมรรคญาณนี้อีกที อย่างไรก็ดี ขอให้ท่านผู้มีปัญยาทั้งหลายจงจำไ้ว้ให้มั่นว่า ท่านผู้โชคดีได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา มีศรัทธาเลื่อมใสใคร่จักได้บรรลุธรรมวิเศษ ปรารถนาจักรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งพระจตุราริยสัจ จึงก้มหน้าอุตส่าห์ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนามาอย่างไม่ย่อท้อถอยนั้น การที่เขาจักได้มีโอกาสเห็นแจ้งแทงตลอดซึ่งจตุราริยสัจสมตามความปรารถนาเป็นครั้งแรกได้อย่างแท้จริง ก็ในตอนที่ได้บรรลุถึง "มรรคญาณ" นี่เอง ขอให้จำไว้อย่างนี้ดีๆ แค่นี้ก่อน


     
  14. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ๑๕. ผลญาณ

    เมื่อมรรคญาณอันประเสริฐปรากฏขึ้นแล้ว ชั่วขณะจิตเดียว "ผลญาณ" ซึ่งเป็นวิบากแห่งมรรคญาณนั้น ก็จะพลันปรากฏตามติดขึ้นมาทันที โดยไม่มีระหว่างกลางคั่นเลย ก็ผลญาณนี้ย่อมปรากฏมีตามประเภทแห่งโยคี บุคคลผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ๒ ประการคือ
    ๑. สำหรับมันทบุคคล คือคนที่มีปัญญาอ่อน ผลญาณปรากฏในขณะนี้ ๒ ครั้ง สมดังคำว่า มนฺทปุคฺคลสฺส ทวิกฺขตฺตุ ํ = คนปัญญาอ่อน ผลญาณปรากฎ ๒ ครั้ง เพื่อให้เข้าใจง่าย พึงดูแผนที่ตามมรรคชวนวิถี ๗ ขณะ ดังนี้
    ๑. ปริกรรม
    ๒. อุปจาร
    ๓. อนุโลม
    ๔. โคตรภูญาณ
    ๕. มรรคญาณ
    ๖.ผลญาณ
    ๗. ผลญาณ
    ๒. สำหรับติกขบุคคล คือคนที่มีปัญญาแก่กล้า ผลญาณปรากฏในขณะนี้ ๓ ครั้ง ดังคำว่า ติกฺขปุคฺคลสฺส ติกฺขตฺตุํ ํ = คนมีปัญญาแก่กล้า ผลญาณปรากฏ ๓ ครั้ง เพื่อให้เห็นได้ชั พึงดูแผนที่ในขณะที่ได้บรรลุมรรคผลแห่งติกขบุคคล ตามมรรคชวนวิถี ๗ ขณะดังนี้
    ๑. อุปจาร
    ๒. อนุโลม
    ๓. โคตรภูญาณ
    ๔.มรรคญาณ
    ๕. ผลญาณ
    ๖. ผลญาณ
    ๗. ผลญาณ
    บุคคลประเภทติกขบุคคลย่อมมีผลญาณปรากฏ ๓ ครั้งเป็นอย่างนี้ คือ ก้าวเข้าไปสู่พระอริยมรรค - อริยผลได้อย่างรวดเร็วกว่ามันทบุคคลโดยไม่ต้องมี "บริกรรม" ซึ่งเป็นอนุโลมขณะที่ ๑ เลย ต่อจากผลญาณ ๓ ครั้งก็มี "ภวังค์" มาคั่น ต่อจากนั้นก็ถึง "ปัจจเวกขณญาณ" อันเป็นวิปัสสนาญาณขั้นสุดท้ายเลยทีเดียว แต่ก่อนที่จะเลยไปถึงวิปัสสนาญาณขั้นสุดท้าย พวกเราควรจะทำความเข้าใจในเรื่องผลญาณนี้ โดยอุปมาอีกทีหนึ่ง ซึ่งท่านไว้เป็นเครื่องเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจง่าย ดังต่อไปนี้

    ยักษิณีแปลงกาย

    ดังได้สดับมา ยังมีกระทาชายนายหนึ่ง ได้ผูกสมัครรักใคร่เป็นสามีแห่งนางยักษิณี ซึ่งแปลงกายเป็นสาวโสภา โดยกระทาชายนายโง่นั้นสำคัญว่านางเป็นหญิงมนุษย์ มิได้รู้จักว่าเป็นนางยักษิณี ราตรีกาลคืนหนึ่ง นางยักษิณีให้รู้สึกหิวโหยอาหารนัก เมื่อเห็นสามีมนุษย์สุดที่รักหลับใหลลงแล้วจึงรีบไปสู่ป่าช้าผีดิบ เที่ยวหาเนื้อผีดิบกินอยู่ตามวิสัยแห่งตน ฝ่ายเจ้าคนหนุ่มผู้เป็นสามี เมื่อตื่นขึ้นไม่เห็นภรรยา จึงให้สงสัยว่า ภรรยาที่รักแห่งเรานี้ไปไหนหนอ? แล้วลุกขึ้นติดตามสะกดรอยออไป ในที่สุดก็ได้พบนางยักษิณีกำลังควักเนื้อผีกินอยู่ที่ป่าช้า จึงรู้ว่านางเป็นหญิงอมนุษย์ยักษิณีให้มีความสะดุ้งตกใจกลัวเป็นหนักหนา พลางคิดว่า

    "อหา! ตูข้ามิรู้เลยว่าหญิงนี้เป็นนายยักษิณี สำคัญเอาเป็นดิบเป็นดีว่าเธอเป็นมนุษย์ การที่จะอยู่สมัครสังวาสกับนางต่อไปนั้น เห็นจะไม่เป็นการ นานไปเบื้องหน้านางก็คงจะคิดกินอาตมาเสียวันหนึ่งเป็นมั่นคง หนี.. จำตูข้าจะต้องหนีนางไปให้โดยเร็วเสียแต่บัดนี้เถิด..."

    ครั้นดำริฉะนี้แล้ว เขาก็บ่ายหน้าออกจากสถานที่นั่น รีบวิ่งไปโดยเร็วพลันด้วยอารามตกใจ ตั้งหน้าวิ่งตะบึงไปโดยไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งมาถึงแดนมนุษย์ ซึ่งเป็นสถานที่ปลอดภัย โดยที่นางยักษิณีจะมาตามเอาตัวกลับมิได้แล้ว ก็หยุดยืนใจสั่นอยู่ด้วยความเหนื่อยหอบ แต่ก็ได้รับความเบาใจเป็นล้พ้นเพราะตนยืนอยุ่ในสถานที่อันเกษมปลอดภัยแล้ว

    ในกรณีนี้ มีการเปรียบเทียบว่าการยึดถือรูปนามคือขันธ์ ๕ ว่า "เรา" และ "ของเรา" แห่งปุถุชนคนโง่ทั้งหลาย เปรียบได้กับกระทาชายนายโง่นั้นเกิดความสำคัญผิดหลงรักใคร่อยู่ร่วมกับนางยักษิณีแปลงกาย
    - การได้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา สามารถแลเห็นพระไตรลักษณ์ รู้สภาวะแห่งรูปนามขันธ์ ๕ ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ตามสภาพที่เป็นจริงด้วยภาวนามยปัญญาอย่างแจ่มแจ้ง เปรียบได้กับกระทาชายนายนั้น เห็นนางยักษิณีกินเนื้อผีอยู่ในป่าช้ากับตาตน จึงได้ทราบตามความเป็นจริงว่า สาวโสภาภรรยาตนนั้นเป็นนางยักษิณี
    - ภยญาณ ที่เกิดขึ้นแก่โยคีผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเปรียบดุจเวลาที่เกิดอาการกลัวนางยักษิณี แห่งกระทาชายนายผู้เป็นสามีนั้น
    - มุญจิตุกัมยตาญาณ เปรียบดุจเวลาต้องการจะหนีไปให้พ้นนางยักษิณีแห่งกระทาชายนายสามีนั้น

    - โคตรภูญาณ เปรียบดุจเวลาที่หนีออกไปจากป่าช้าผีดิบแห่งกระทาชายผู้เป็นสามีนั้น

    - มรรคญาณ เปรียบดุจการวิ่งหนีไปโดยเร็วจนถึงถิ่นมนุษย์ แห่งกระทาชายผู้เป็นสามีนั้น

    - ผลญาณ เรียบดุจการมาถึงถิ่นมนุษย์อันเป็นแดนที่เกษมปลอดภัยแล้ว หยุดยืนอยู่ด้วยความเบาใจอุ่นใจ แห่งกระทาชายนายผู้เป็นสามี

    เท่าที่กล่าวมานี้ พอที่จะสรุปความเพื่อให้จำได้ง่ายๆ ว่า ผลญาณก็คือการที่โยคีบุคคลผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ ในการปฏิบัติมาได้ และมีโอกาสเข้าไปเสวยสัติสุขอยู่ในที่เกษมปลอดภัย ณ อมตมหานคร อันเป็นแดนโลกุตตระ ซึ่งมีพระนิพพานเป็นอารมณ์นั่นเอง



     
  15. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ

    ธรรมดาคนที่วิ่งไปด้วยกำลังเร็ว เมื่อไปตกหลุมหรือดินที่แตกระแหงโดยที่ยั้งไม่ทัน ครั้นเลยไปหน่อยหนึ่งแล้วก็ย่อมหันกลับมามองดู หรือมิฉะนั้นคนที่มีอันเป็นต้องจมลงไปในน้ำเป็นเ้วลานาน ครั้นพุ่งพรวดขึ้นมาเหนือน้ำได้ด้วยอารามตกใจสุดขีด ย่อมจะคิดนิดหนึ่งว่า "ฮี่! เราเป็นอะไรไป?" ดังนี้เป็นธรรมดา

    ในกรณีแห่งการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนี้ก็เป็นเช่นั้น คือเมื่อวิปัสสนาญาณแห่งโยคีบุคคล แล่นมาด้วยกำลังเร็วข้ามพ้นโคตรปุถุชนล่วงเข้าสู่แดนอริยชน ซึ่งได้แก่ตอนที่มรรคญาณอุบัติขึ้นชำแรกทำลายกองกิเลสคืออวิชชาให้กระจัดกระจาย แล้วเข้าไปสู่เขตแห่งผลญาณ เสวยอารมณ์พระนิพพานอยู่ชั่ว ๒-๓ ชณะ ตามประเภทแห่งโยคีบุคคลดังกล่าวมาแล้ว ต่อจากนั้นย่อมหยั่งลงสู่ภวังค์! คือมีภวังค์มาคั่น ต่อจากนั้นญาณสุดท้ายแห่งวิปัสสนา ซึ่งมีชื่อว่า "ัปัจจเวกขณญาณ" ก็ย่อมอุบัติขึ้นทันที

    ปัจจเวกขณญาณนี้เป็นญาณสุดท้าย เมื่อจะแปลให้ได้ความหมายคำว่า ปัจจเวกขณะญาณ นี้ก็แปลว่า "ญาณที่กำหนดหรือพิจารณาอีกทีหนึ่ง" ถ้าจะถามต่อไปว่า ที่ว่ากำหนดหรือพิจารณาอีกทีหนึ่งน่ะ พิจารณาอะไร?

    วิสัชนาว่า ก็พิจารณาสภาวะอันแสนประหลาดและประเสริฐล้ำเลศที่ตนเกิดมาไม่เคยพบเคยเห็น กล่าวคือสภาวะแห่งพระอริยมรรค - อริยผลที่ตนเพิ่งผ่านมาหยกๆ เมื่อตะกี้นี้นั่นเอง

    ปัจจเวกขณญาณ นี้มีกำหนดหรือพิจารณา ๕ ประการ คือ
    ๑. พิจารณาพระอริยมรรคที่ตนได้บรรลุแล้ว
    ๒. พิจารณาพระอริยผลที่ตนได้บรรลุแล้ว
    ๓. พิจารณาพระนิพพานที่ตนได้เห็นแล้ว
    ๔. พิจารณากิเลสที่ตนละแล้วประหารได้แล้ว
    ๕. พิจารณากิเลสที่ยังเหลือติดอยู่ในขันธสันดานซึ่งตนยังละไม่ได้

    สิริรวมเป็นปัจจเวกขณญาณ การพิจารณา ๕ ประการดังกล่าวมานี้เป็นการกล่าวอย่างอุกฤษฏ์ แต่ในการปฏิบัติ โยคีบุคคลอาจพิจารณาได้ไม่เท่ากัน คือบางท่านสามารถที่จะพิจารณาได้ครบทั้ง ๕ ประการ แต่บางท่านอาจพิจารณาได้เพียง ๓ ประการต้นเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ปัญญาของโยคีบุคคลผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาแตกต่างกัน สมกับคำที่ว่า
    อริยบัณฑิต ย่อมพิจารณามรรคผล - นิพพาน เฉพาะท่านที่มีปัญญา ย่อมพิจารณากิเลสที่ตนละได้และกิเลสที่ยังเหลืออยู่ ส่วนท่านที่ไม่ได้ศึกษาย่อมไม่พิจารณาเพราะตนไม่มีความร้ แต่ว่าทำการกำหนดในบทพระกรรมฐานต่อไป
    เพื่อความเข้าใจในสภาวะแห่งวิปัสสนาญาณขั้นสุดท้าย คือปัจจเวกขณญาณนี้ดียิ่งขึ้น ขอท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายพึงพิจารณาอุปมาเกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ที่ท่านพระโบราณาจารณ์กล่าวไว้ ดังต่อไปนี้


    ค้างคาวผิดหวัง

    ดังได้สดับมา ยังมีค้างคาวตัวหนึ่ง แอบอาศัยต้นมะซางซึ่งมีกิ่งใหญ่ ๕ กิ่ง ด้วยหมายใจว่า
    "ต้นไม้มะซางนี้ เห็นทีจะมีดอกมีผลสมบูรณ์หนักหนาเพลาราตรีนี้ ตัวเราเห็นทีจะได้บริโภคซึ่งดอกและผลอย่างอิ่มหนำสำราญเป็นแน่..."
    ดำริฉะนี้แล้ว พอย่างเข้ายามราตรี ก็มีใจผ่องแผ้วค่อยไต่จากลำต้นที่ตนจับอยู่ไปจับกิ่งๆ หนึ่ง แล้วพิจารณาดูไม่เห็นดอกและผลที่ตนควรจะถือเอาเป็นอาหารได้แม้แต่สักนิดหนึ่งเลย ค้างคาวมันไม่นิ่งเฉย อุตส่า์ไปสำรวจตรวจดูกิ่งที่ ๒ และกิ่งที่ ๓-๔-๕ ตรวจดูจนทั่งทุกกิ่งแล้ว ก็เห็นไม่เข้าท่าสักกิ่ง คือไม่พบดอกหรือผลมะซางที่ตนจะบริโภคให้อิ่มหนำสำราญดังคาดหวังไว้ จึงรำพึงรำพันด้วยความเสียใจว่า

    "อนิจจาเอ๋ย! ตัวเรานี้อุตส่าห์เฝ้าอยู่ที่ต้นไม้ีนี้วันยังค่ำ คิดว่าจะได้บริโภคดอกและผลอันใดอันหนึ่งได้เป็นสำราญในยามราตรี มิรู้เลยว่าจะ้องเฝ้าเล่นเปล่าๆ ให้เสียเวลา เพราะว่าต้นมะซางนี้ มันไม่มีดอกและผลจำเราจะไปสู่ต้นไม้อื่นที่มีผลจักดีกว่า... ลาก่อนละเว้ย... เจ้าต้นไม้จัญไรไม่มีผล!"

    เมื่อคิดเช่นนี้แล้ว ค้างคาวตัวผิดหวังนั้น จึงพลันไต่พรวดขึ้นไปที่กิ่งตรงยอด โผล่ศีรษะตรงระหว่างค่าคบ ชะเง้อคอดูเบื้องบนไปมา พอได้ท่าก็บินขึ้นไปในนภาลัยประเทศ แล้วไปจับอยู่ที่ต้นไม้ใหม่ซึ่งมีผลอันอุดมสมบูรณ์ และในขณะที่จับต้นไม้ใหม่นั้นแล้ว ย่อมไม่แคล้วที่จะเหลียวหลังสำรวจดูอาการที่ตนมาหน่อยหนึ่งตามธรรมดาวิสัย อุปมาที่่ว่านี้ มีการเปรียบเทียงว่า ดังนี้
    - โยคีบุคคลผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาเหรียบได้กับค้างคาว
    - รูปนามหรือขันธ์ทั้ง ๕ คือ
    ๑. รูปขันธ์
    ๒. เวทนาขันธ์
    ๓. สัญญาขันธ์
    ๔. สังขารขันธ์
    ๕. วิญญาณขันธ์
    ขันธ์ทั้ง ๕ เปรีบได้กับกิ่งมะซาง ๕ กิ่ง
    - การยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ หรือรูปนามแห่งโยคีบุคคลในขณะที่ตนยังเขลาอยู่ เพราะไม่รู้ตามสภาวะที่เป็นจริง เปรียบได้กับการยึดมั่นแอบแฝงต้นมะซางซึ่งมีกิ่ง ๕ กิ่ง ด้วยความสำคัญผิดแห่งค้างค้าว

    - ค้างคาวนั้น ครั้นจับกิ่งที่ ๑ สำรวจดูแล้ว ไม่เห็นอะไรที่ควรจะถือเอาเป็นอาหารได้ จึงไปจับกิ่งอื่นสำรวจดูต่อไปจนทั่วถึงกิ่งที่ ๒-๓-๔ และ ๕ เปรียบได้กับการที่โยคีบุคคลผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา พิจารณาขันธ์ที่ ๑ คือรูปขันธ์ลแ้ว ไม่เห็นสาระอะไรที่ควรจะถือเอาเป็นที่อาศัยได้ จึงหันไปพิจารณาขันธ์ ๒-๓-๔ และ ๕ ซึ่งได้แก่เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ต่อไป

    - การที่ค้างคาวนั้น รำพึงรำพันด้วยความผิดหวังสละความอาลัยในต้นมะซาง เพราะเห็นว่าเป็นต้นไม้ไม่มีผล เปรียบได้กับการที่โยคีบุคคลสละความอาลัยเกิดความเบื่อหน่าย เพราะได้มีปัญญาเห็นว่า ขันธ์ ๕ หาสาระแก่นสารมิได้ โดยที่เห็นพระไตรลักษณ์ คืออนิจจลักษณ์ - ทุกขลักษณ์ - อนัตตลักษณ์ ปรากฏแก่ขันธ์ ๕ แล้วเกิดความเบื่อหน่ายต้องการจะพ้นไป

    - การที่วิ่งไต่พรวดขึ้นไปโดยกิ่งตรงยอดไม้แห่งค้างคาวนั้น เปรียบได้กับอนุโลมญาณแห่งโยคีบุคคลผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน

    - การที่ยกศีรษะชะเง้่อคอแลดูเบื้องบนขยับจะบินไปในชั่เสี้ยวแห่งวินาทีนั้น เปรียบได้กับโคตรภูญาณแห่งโยคีบุคคลผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน

    - การบินไปในนภาลัยประเทศแห่งค้างคาวนั้น เปรียบได้กับมรรคญาณแห่งโยคีบุคคลผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน

    - การบินไปจับ ณ ต้นไม้อื่นที่มีผลอันประเสริฐอุดมสมบูรณ์แห่งค้าวคาวนั้น เปรียบได้กับผลญาณแห่งโยคีบุคคลผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน

    - การที่ค้างคาวนั้นบินไปจับต้นไม้ที่มีผลอันอุดมนั้นแล้ว ย่อมไม่แคล้วที่จะเหลียวหลังสำรวจดูอาการที่ตนมาหน่อยหนึ่งตามธรรมดาวิสัยเปรียบได้กับปัจจเวกขณญาณ แห่งโยคีบุคคลผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน

    จึงเป็นอันว่า วิปัสสนาญาณสุดท้าย คือปัจเจเวกขณญาน เมื่อว่าตามสภาวะก็ได้แก่การพิจารณามรรค - ผล - นิพพาน อันตนได้ผ่านมาเมื่อสักครู่นี้ ด้วยความแปลกประหลาดมหัศจรรย์ใจเป็นล้นพ้น เพราะค่าที่ตนไม่เคยประสบพบเห็นมาก่อนเลย เมื่อพูดถึงการปฏิบัติในขณะนี้ ถ้าหากโยคีบุคคลผู้มีวาสนามหาศาลได้ผ่านพ้นความเป็นปุถุชน ก้าวขึ้นสู่ความเป็นพระอริยชนมาใหม่ๆ ผู้นั้นจะตั้งสติมั่นกำหนดในบทพระกรรมฐานอีกต่อไปแล้ว สภาวะแห่งวิปัสสนาญาณก็จะพลันตกพรวดลงมาถึงญาณเบื้องต่ำคืออุทยัพพยญาณ (ญาณที่ ๔) อีกในทันทีทันใด! ทั้งนี้ก็เพราะว่า ท่านผู้นั้นได้อุตสาหะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมา จนบรรลุถึงวิปัสสนาญาณขั้นสูงสุดแห่งปฐมมรรคแล้ว ไม่มีญาณอื่นที่จะสูงขึ้นไปกว่านี้อีก สภาวญาณจึงตกลงมาสู่จุดเริ่มต้นไป เพื่อที่จะเดินทางไปสู่มรรคชั้นสูงกล่าวคือ ทุติยมรรคต่อไป ในกรณีนี้ ถ้าจะเปรียบกับการเดินทางด้วยรถไฟจากสถานีต้นทาง พอไปถึงสถานปลายทางแล้วก็ต้องหยุด เพราะไม่มีทางที่จะต่อไปอีกได้ แต่เมื่อมีความประสงค์ใคร่จะเดินทางเป็นเที่ยวที่ ๒ ก็ต้องกลับมาตั้งต้นกันใหม่ที่สถานีต้นทางอีก ฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย วิปัสนาญาณทั้ง ๑๖ ดังกล่าวมาแล้วนี้ ย่อมจะเปรียบเสมือนเป็นบันไดสำหรับไต่ขึ้นไปเพื่อจักได้มีโอกาสเห็นธรรมวิเศษสุด กล่าวคือพระจตุราริยสัจธรรม! บัดนี้เพื่อความสะดวกในการที่ท่านทั้งหลายจะได้ไม่ต้องพลิกไปให้เสียเวลาว่า วิปัสสนาญาณมีอะไรบ้าง จึงขอถือโอกาสนำวิปัสสนาญาณมาเรียบลำดับให้เห็นง่ายๆ ไว้ในที่นี้อีก
     
  16. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    อริยบัณฑิต ย่อมพิจารณามรรคผล - นิพพาน เฉพาะท่านที่มีปัญญา ย่อมพิจารณากิเลสที่ตนละได้และกิเลสที่ยังเหลืออยู่

    ส่วนท่านที่ไม่ได้ศึกษาย่อมไม่พิจารณาเพราะตนไม่มีความรู้ แต่ว่าทำการกำหนดในบทพระกรรมฐานต่อไป
     
  17. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    สูตรบอกหนทาง


    สมัยหนึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี พระองค์ได้ตรัสเรียกพระภิกษุสงฆ์ทั้งปวงมาประชุมพร้อมกันแล้ว จึงทรงมีพระมหากรุณาตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! ครั้งหนึ่งเมื่อแรกตรสรู้เราตถาคตอยู่ที่ควงไม้อชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ณ ตำบลอุรุเวลา เมื่อเราตถาคตหลีกเร้นอยู่ผุ้เดียวในที่่นั้น ได้เกิดความคิดขึ้นในใจอย่างนี้ว่า

    ทางนี้เป็นเอกายนมรรค คือเป็นมรรคาทางเป็นที่ไปอันเอก
    - เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
    - เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร
    -เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
    - เพื่อบรรลุญายธรรม
    - เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง

    ทางที่เป็นไปอันเอกนี้ คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ
    สติปัฏฐาน ๔ ประการเป็นไฉน?
    สติปัฏฐาน ๔ ประการ คือ
    ๑. ผู้เห็นภัยในวัฏสงสารพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
    ๒. ผู้เห็นภัยในวัฏสงสารพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาั้งหลายอยู่
    ๓. ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร พิจารณาเห็นจิตใตจิตอยู่
    ๔. ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
    โดยเป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ เอกายนมรรคนี้ย่อมเป็นทางเป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกขโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง เอกายนมรรคนี้คือสติปัฏฐาน ๔ ดังนี้
    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย! ทีนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมรู้ความในใจของเราตถาคต จึงหายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏเบื้องหน้าเราในขณะนั้นทันที มีอุปมาดุจบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดเท่านั้น แล้วสหัมบดีพรหมก็กระทำผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่งประนมหัตถ์มาทางเราตถาคต แล้วได้มีพรหมวาทีว่า

    "ข้าแต่พระองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค! กรณีนี้ย่อมเป็นเช่นนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เอกายนมรรคนี้ เป็นทางเป็นไปที่อันเอกเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลายเพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้งจริงแล้ว พระเจ้าข้า" ดังนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...