คู่มือการเตรียมตัวหลบภัยและเตรียมการอพยพ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย เกษม, 21 ธันวาคม 2010.

  1. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    [​IMG]

    เนื่องจากผมได้รับเอกสาร "คู่มือการเตรียมตัวหลบภัยและเตรียมการอพยพ" จากคุณมนตรี ชัยชาติ ในวันที่ผมไปรับฟังการอบรมสัมนาเรื่อง"เจาะลึกภัยพิบัติ พลิกวิกฤติให้เป็นทางรอด" เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมานี้ ผมเห็นว่ามีเนื้อหาที่น่าสนใจและจะมีประโยชน์อย่างมากกับบุคคลทั่วไป เมื่อยามที่เกิดภัยพิบัติ คนที่กำลังตื่นตระหนกตกใจและสับสน ไม่รู้จะทำอย่างไรดี จะได้ใช้คู่มือนี้เป็นแนวทางในการเอาชีวิตรอดในเบื้องต้นได้ทันที

    ท่านใดที่ได้อ่านคู่มือนี้แล้ว หากเห็นว่าดีมีคุณประโยชน์ก็สามารถคัดลอกเอาไปใช้ได้เลย เพราะคุณมนตรี ชัยชาติ ต้องการให้นำมาเผยแพร่เป็นวิทยาทานครับ หรือหากท่านใดมีจิตใจอยากช่วยเหลือผู้อื่นด้วย ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้ทันที และจะเกิดเป็นบุญกุศลกับตัวท่านและครอบครับของท่านสืบต่อไปในภายภาคหน้าด้วยครับ

    เกษม ลฆุโภชน์

    *****************************************************************
    คำนำ

    การยังชีวิตในภาวะคับขัน โดยไม่รู้ล่วงหน้าว่าจะอยู่ในสภาวะใดต้องมีการเตรียมอุปกรณ์สิ่งของพื้นฐานให้พร้อม คุณอาจพบตัวเองอยู่คนเดียวในสถานที่ห่างไกลและมีขีดจำกัดในสิ่งที่เตรียมไว้ คู่มือนี้จะอธิบายถึงเทคนิคพื้นฐานเพื่อให้คุณยังชีพได้เมื่อตกในภาวะคับขันในแบบต่างๆ

    ถ้าคุณเคยได้รับการฝึกค่ายลูกเสือหรือยุวกาชาดมาบ้าง คู่มือนี้จะช่วยฟื้นฟูความสามารถที่เคยฝึกมา และช่วยปรับให้เข้ากับภาวะคับขันแบบต่างๆ การฝึกจะทำให้คุณและสมาชิกเพิ่มทักษะมากขึ้นและสร้างความแตกต่างให้กับตัวเองระหว่าง "รอดและอยู่ได้" กับ "รอดแต่ไม่สามารถอยู่ได้"

    มนตรี ชัยชาติ

    สารบัญ
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=673><TBODY><TR><TD height=5 width="10%">
    บทที่ 1
    </TD><TD height=5 width="90%">
    บทแนะนำ
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    บทที่ 2
    </TD><TD height=5 width="90%">
    จิตวิทยาเพื่อการยังชีพ
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    บทที่ 3
    </TD><TD height=5 width="90%">
    การวางแผนเพื่อการยังชีพและอุปกรณ์ยังชีพ
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    บทที่ 4
    </TD><TD height=5 width="90%">
    พื้นฐานสุขอนามัยในการยังขีพ
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    บทที่ 5
    </TD><TD height=5 width="90%">
    ที่กำบัง
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    บทที่ 6
    </TD><TD height=5 width="90%">
    การหาน้ำ
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    บทที่ 7
    </TD><TD height=5 width="90%">
    การก่อไฟ
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    บทที่ 8
    </TD><TD height=5 width="90%">
    พืชเพื่อการยังชีพ
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    บทที่ 9
    </TD><TD height=5 width="90%">
    พืชที่มีพิษ
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    บทที่ 10
    </TD><TD height=5 width="90%">
    สัตว์ร้าย
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    บทที่ 11
    </TD><TD height=5 width="90%">
    การทำเครื่องมือและอุปกรณ์ในการยังชีพจากธรรมชาติ
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    บทที่ 12
    </TD><TD height=5 width="90%">
    การยังชีพในที่แห้งแล้ง
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    บทที่ 13
    </TD><TD height=5 width="90%">
    การยังชีพในเขตป่าร้อนชื้น
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    บทที่ 14
    </TD><TD height=5 width="90%">
    การยังชีพในสภาพอากาศหนาวเย็น
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    บทที่ 15
    </TD><TD height=5 width="90%">
    การยังชีพในทะเล
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    บทที่ 16
    </TD><TD height=5 width="90%">
    การข้ามลำน้ำ
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    บทที่ 17
    </TD><TD height=5 width="90%">
    การหาทิศ
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    บทที่ 18
    </TD><TD height=5 width="90%">
    เทคนิคการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    บทที่ 19
    </TD><TD height=5 width="90%">
    การยังชีพจากอันตรายที่เกิดจากมนุษย์
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    แนบท้าย 1
    </TD><TD height=5 width="90%">
    ถุงยังชีพ
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    แนบท้าย 2
    </TD><TD height=5 width="90%">
    เชือกและเงื่อน
    </TD></TR><TR><TD height=5 width="10%"></TD><TD height=5 width="90%"></TD></TR><TR><TD height=5 width="10%">
    แนบท้าย 3
    </TD><TD height=5 width="90%">
    การตรวจสภาพอากาศจากชนิดของเมฆ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • m142039.jpg
      m142039.jpg
      ขนาดไฟล์:
      57.9 KB
      เปิดดู:
      8,915
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2010
  2. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=686><TBODY><TR><TD height=4>
    บทแนะนำ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    คู่มือนี้จะเน้นที่ปัจจัยพื้นฐานของการยังชีพซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญของการอยู่รอด ถ้าคุณสามารถระลึกได้ถึงพื้นฐานสำคัญนี้ก็จะช่วยต่อยอดให้คุณได้เรียนรู้และฝึกฝนตัวเองต่อได้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    การปฏิบัติเพื่อการยังชีพ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ควรศึกษาและจดจำพื้นฐานการยังชีพดังต่อไปนี้ วันหนึ่งมันจะช่วยให้คุณคิดได้ว่าเมื่อคุณรอดแล้วจะทำอย่างไรต่อไปจึงจะอยู่ได้ ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    - ​
    ประเมินสถานการณ์ - ตรวจสอบภาวะฉุกเฉินให้ทราบแน่นอนว่าเกิดจากอะไร แล้วคำนึงถึงความปลอดภัยของชีวิตจากเหตุนั้นๆเป็นจุดสำคัญอันดับแรก
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    - ​
    สภาพแวดล้อม - สำรวจพื้นที่และสภาพแวดล้อมรอบตัวคุณ ใช้ประสาทสัมผัสที่มีอยู่ทั้งหมดให้เป็นประโยชน์ บางพื้นที่อาจเป็นเมือง ป่า ภูเขา น้ำท่วม รวมทั้งสังเกตชนิดและอาการของสัตว์ต่างๆ เช่น นก แมลง สุนัข
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    - ​
    สภาพร่างกายของคุณ - ในเวลาที่เกิดเหตุฉุกเฉินอาจทำให้คุณมองข้ามบาดแผลบนร่างกายอันเกิดจากการหลบภัย ตรวจสอบร่างกายคุณแล้วปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อไม่ให้บาดเจ็บเพิ่ม ดูแลรักษาตัวคุณให้อยู่ในความปลอดภัย ทานน้ำให้เพียงพอและห่มเสื้อผ้าให้เหมาะสมเพื่อรักษาความอบอุ่นของร่างกาย
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    - ​
    อุปกรณ์ยังชีพ - อุปกรณ์ที่คุณเตรียมไว้ในยามฉุกเฉินนั้นอาจสูญหายในขณะหลบภัยยามฉุกเฉิน ให้ตรวจสอบว่าคุณมีอุปกรณ์อะไรเหลือติดตัวอยู่ และ มันยังสามารถใช้งานได้หรือไม่
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    - ​
    วางแผนการยังชีพ - เมื่อคุณประเมินสถานการณ์เรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม สภาพร่างกาย อุปกรณ์ยังชีพ ถึงตอนนี้คุณพร้อมแล้วที่จะวางแผนยังชีพโดยคิดเสมอว่าร่างกายคุณต้องการน้ำ อาหาร และที่กำบังเพื่อยังชีพ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=18>
    - ​
    ใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดให้เป็นประโยชน์อย่างใจเย็น - คุณอาจพลาดถ้าใจร้อนทำบางอย่างโดยไม่คิดและขาดการวางแผน พิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไป ความใจร้อนจะทำให้คุณลืมและสร้างความสับสนให้กับตัวเอง วางแผนว่าคุณจะไปทางไหนแล้วปลอดภัย ใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดที่คุณมีทั้งรูป รส กลิ่นและเสียงเพื่อตรวจสอบอันตราย เช่น กลิ่นแก๊สรั่ว ความร้อน เสียงดังจากการแตกร้าวตกหล่น อาการสั่นสะเทือน หรือความเคลื่อนไหวของสิ่งรอบตัว
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=24>
    - ​
    จำให้ได้ว่าคุณอยู่ที่ไหน - จดจำตำแหน่งคุณจากแผนที่หรือจุดอ้างอิงที่เด่นชัดรอบตัวคุณ ถ้ามีสมาชิกอยู่ด้วยสมาชิกแต่ละคนจะต้องจดจำตำแหน่งของตัวเอง ชื่อและจำนวนคนในกลุ่มด้วย หากมีใครในกลุ่มสูญเสียไประหว่างหลบภัยคุณควรเอาสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการยังชีพของเขามาด้วยเช่นเข็มทิศ แผนที่ เป็นต้น คุณต้องตรวจสอบให้ดีว่าอยู่ที่ไหนและกำลังจะไปไหน ต้องมีความมั่นใจในตัวเองอีกทั้งยังต้องตัดสินใจในสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อคนอื่นเสมอไป นอกจากนี้ควรสังเกตตำแหน่งของเราว่าเป็นสถานที่ประเภทไหนเพื่อนำมาใช้เป็นจุดอ้างอิงซึ่งสถานที่นั้นควรสัมพันธ์กับสิ่งต่อไปนี้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ++ สถานที่อันตราย เช่น โรงงาน คลังอาวุธ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ++ สถานที่ปลอดภัย เช่น ลานกว้าง สนาม ที่ราบสูง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ++ แหล่งน้ำ แหล่งอาหาร​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ++ สถานที่ควรแก่การหลบภัย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    หลักการดังจะกล่าวต่อไปจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีขึ้นระหว่างการยังชีพหรือหนีอันตราย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=19>
    - จงเอาชนะความกลัวและความตระหนกตกใจ - สิ่งที่เป็นอุปสรรคมากที่สุดในการยังชีพและหนีอันตรายนั่นคือความกลัว ความประหม่าและความแตกตื่น ถ้าคุณควบคุมไม่ได้มันจะทำลายความสามารถในการตัดสินใจของคุณ มันทำให้คุณมีการตอบสนองจากความรู้สึกและจินตนาการมากกว่าการใช้เหตุผล ความรู้สึกนี้จะทำให้คุณหมดแรง อารมณ์เสียและคิดในด้านลบ การฝึกฝนและความมั่นใจในตัวเองเท่านั้นที่จะทำให้เราเอาชนะความกลัว ความประหม่าและความตื่นตระหนกได้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=47>
    - ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่อย่างสูงสุด - ​
    โลกปัจจุบันตกอยู่ภายใต้กระแสบริโภคนิยม เราสามารถจับจ่ายใช้สอยอย่างฟุ่มเฟือยเพื่อแลกกับสิ่งที่ต้องการอย่างง่ายดาย สิ่งที่มีอยู่แล้วเราก็ยังใช้ได้ไม่คุ้มค่า ทักษะในการทำเองใช้เองในตัวจึงหายไป ดังนั้นเราต้องเรียนรู้และฝึกฝนวิธีการใช้ประโยชน์จากสิ่งต่างๆให้ได้สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นอาหาร น้ำ ยา เครื่องใช้ และเครื่องนุ่มห่ม เพราะหากวันนึงที่เงินไม่สามารถซื้อสิ่งต่างๆให้เราได้ เหลือแต่เพียงความสามารถของคุณเท่านั้นต้องนำมาใช้ดัดแปลงอุปกรณ์หรือสิ่งของต่างๆที่มีอยู่รอบตัวให้เกิดประโยชน์สูงสุด ถึงตรงนี้ทำให้ผมหยุดคิดถึงในหลวงพ่อของเราชาวไทยทุกคน ผู้ทรงสั่งสอนลูกๆของท่านให้รู้จักคำว่า "พอเพียง" มาตลอด อีกทั้งทรงทำตัวเป็นแบบอย่าง ไม่น่าเชื่อว่าคำง่ายๆคำนี้เพียงคำเดียวกลับมีความหมายลึกซึ้งในเชิงปฏิบัติและสามารถนำมาใช้ได้ในทุกๆเรื่องของชีวิตอย่างมีคุณค่าและให้ประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการรู้จักหา รู้จักมี รู้จักใช้ รู้จักเก็บแบบไม่เกินตัวเกินแรง การนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นทางรอด ถ้าเราสามารถย้อนเวลากลับไปได้ซัก 10-15 ปีโดยมีคนทุกคนในโลก รู้ เข้า
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    - เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวให้สามารถดัดแปลงมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆได้ เช่นหินใช้แทนฆ้อน ไม่สำคัญว่าถุงยังชีพที่เตรียมพร้อมมาจะดีแค่ไหนเพราะสักวันหนึ่งต้องมีของที่หมดหรือสลายไปตามกาลเวลา ในเวลานั้นจินตนาการและความคิดสร้างสรรในการดัดแปลงสิ่งต่างๆจะเป็นถุงยังชีพอันใหม่ของคุณเพื่อทดแทนของเดิมที่เสียไป​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=24>
    - คุณค่าของการมีชีวิตอยู่ - การต่อสู้เพื่อความอยู่รอดเป็นธรรมชาติของทุกๆชีวิตแต่มนุษย์เป็นเผ่าพันธุ์ที่อ่อนแอลงด้วยธรรมชาติที่มีนิสัยรักสบาย จะเกิดอะไรขึ้นหากวันนึงคุณต้องดำรงชีวิตในภาวะที่ลำบากและเผชิญหน้ากับความกดดัน ในช่วงเวลานั้นเองคุณจะทราบว่าคุณค่าของการได้มีชีวิตอยู่เป็นอย่างไร ความรู้และประสบการณ์ที่คุณสะสมมาตลอดชีวิตจะต้องนำมาปรับใช้ให้เกิดคุณค่ามากที่สุด ตราบใดที่คุณมีความปรารถนาที่จะอยู่ จงรักษาความปรารถนานั้นไว้อย่าให้อุปสรรคความยากลำบากทำให้ใจคุณอ่อนแอและบั่นทอนกำลังที่จะยังชีพให้ยืนยาวต่อไป​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    - ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม - คุณต้องรู้จักการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เช่น ฝึกสังเกต ลองทำตามคนท้องถิ่นรอบๆว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร ตื่นและนอนเวลาใด การปรับตัวนี้เป็นสิ่งสำคัญเพราะจะทำให้คุณสามารถอยู่ได้แม้ในสภาวะไม่คุ้นเคย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    - สัตว์บางชนิดมีอันตรายเพราะมันต่างก็ต้องดำรงชีพให้อยู่รอดเช่นเดียวกับคุณ มันต้องการอาหาร น้ำ ที่หลบภัย แต่ในบางครั้งการสังเกตสัตว์ต่างๆเป็นก็สามารถช่วยเราได้เหมือนกัน เช่น เรื่องแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    คำเตือน​
    - อาหารหรือน้ำที่สัตว์บางชนิดกินได้ มนุษย์อาจกินไม่ได้ สัตว์บางชนิดสามารถกินพืชที่ทำอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ได้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ปฏิกิริยาบางชนิดของสัตว์เป็นสิ่งเตือนภัยให้กับมนุษย์ได้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    - ถ้าคุณมีโอกาสได้ใช้ชีวิตในสถานที่ที่แตกต่างกันออกไป ใช้โอกาสนั้นให้มีค่าสูงสุดในการเรียนรู้ความเป็นอยู่จากคนท้องถิ่นนั้นๆ เช่นมีอุปกรณ์เครื่องมือและการหาอาหารและหาน้ำอย่างไร ​
    ถ้าคุณได้เรียนรู้บางสิ่งบางอย่างจากใครสักคนก็เท่ากับคุณเรียนรู้ที่จะเคารพเขาไปในตัว ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด คือ คุณต้องนำเอาความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับตัวเองให้ได้เพื่อเพิ่มโอกาสการยังชีพเมื่อตกอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    - จงใช้ความสามารถในการคิดอย่างชาญฉลาดเพื่อการตัดสินใจอย่างถูกต้องรวดเร็วและแม่นยำ การเรียนรู้และเพิ่มทักษะให้กับตัวเองคือสิ่งที่คุณต้องทำ ณ บัดนี้ - โอกาสที่คุณรอดแล้วสามารถอยู่ได้จะน้อยลง ถ้าคุณขาดการฝึกฝนในทักษะพื้นฐานเพื่อการยังชีพ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    - เริ่มเรียนรู้และฝึกฝนเสียแต่ตอนนี้ ความพร้อมคือตัวตัดสินว่าคุณรอดแล้วจะอยู่ได้หรือไม่ สร้างจินตนาการว่าคุณได้อยู่ในสถานการณ์ลำบากต่างๆ แล้วฝึกทักษะให้กับตัวเองว่าถ้าเป็นเช่นนั้นคุณจะทำอย่างไร​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    - เข้าอบรมในหลักสูตรต่างๆที่ช่วยในการพัฒนาทักษะในการยังชีพให้กับคุณ นอกจากจะให้ความรู้เพื่อใช้ในชีวิตคุณได้อย่างตรงๆแล้ว มันจะช่วยลดความกลัว เพิ่มความมั่นใจ รวมไปถึงสอนให้คุณอยู่ได้ด้วยการคิดอย่างชาญฉลาดและตัดสินใจถูกต้องอย่างรวดเร็ว​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    รูปแบบในการยังชีพ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ปรับรูปแบบการยังชีพให้ตรงกับสภาพแวดล้อมของคุณให้รวมถึงการหาอาหาร น้ำ ที่กำบัง ไฟ การปฐมพยาบาลและสัญญานติดต่อขอความช่วยเหลือฉุกเฉินเช่น ในที่อากาศหนาวคุณต้องจุดไฟเพื่อให้อุ่น สร้างที่กำบังความหนาว ลม ฝน การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่คุณต้องเรียนรู้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ปรับรูปแบบการฝึกยังชีพของคุณโดยใช้ความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมรอบๆเป็นตัวกำหนด เช่น ฤดูกาลที่เปลี่ยนไป สภาพเปลี่ยนแปลงของธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลมและไฟ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=652><TBODY><TR><TD height=4>
    จิตวิทยาเพื่อการยังชีพ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=25>
    การมีความรู้และทักษะในการยังชีพ เช่น การสร้างที่กำบัง การหาอาหาร น้ำ การก่อไฟ และการเดินทางโดยไม่มีเครื่องมือช่วยนำทาง เป็นต้น ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญ แต่ก็ยังมีสิ่งที่สำคัญกว่านั้น นั่นคือ ​
    "ความสามารถในการควบคุมจิตใจและสร้างกำลังใจให้ตัวเองเพื่อการอยู่รอด" ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการยังชีพในทุกสภาวะ หากคุณขาดสิ่งเหล่านี้ไปความรู้และทักษะที่คุณสะสมมาก็ไร้ค่า การที่คนบางคนผ่านการฝึกฝนการยังชีพเพียงเล็กน้อยหรือไม่ได้ฝึกฝนเลยกลับสามารถจัดการและยังชีพได้ในภาวะที่เลวร้าย ขณะที่บางคนได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีแต่ไม่ได้ใช้ทักษะที่ได้มาให้เกิดประโยชน์ นั่นเป็นเพราะความแตกต่างของการมีหรือไม่มีความสามารถในการควบคุมจิตใจและสร้างกำลังใจให้ตัวของแต่ละคน จงอย่าท้อถอยที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=21>
    คุณจะพบปัจจัยมากมายในสภาพแวดล้อมระหว่างการยังชีพที่ก่อให้เกิดความเครียด มีปัจจัยมากมายที่ส่งผลต่อความคิดและอารมณ์ของคุณ แม้แต่ผู้ที่ได้รับการฝึกและมีทักษะอย่างดีเยี่ยม หากขาดความเข้าใจต่อปัจจัยเหล่านี้มันย่อมส่งผลต่อความมั่นใจในตัวเอง การตัดสินใจและท้ายสุดคือความสามารถในการยังชีพ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นสำหรับคุณที่จะต้องเข้าใจปัจจัยเหล่านี้เพื่อที่จะเป็นผู้ที่มีความระมัดระวังในการตอบสนองต่อปัจจัยที่มากระทบคุณ ในบทนี้จะอธิบายถึงธรรมชาติของความเครียด รวมทั้งธรรมชาติการตอบสนองภายในของคุณต่อเหตุและปัจจัยบนโลกแห่งความเป็นจริง ความรู้ที่คุณจะได้จากบทนี้และบทต่อไปจะช่วยให้คุณสามารถเตรียมตัว เผชิญหน้าและผ่านพ้นในช่วงเวลาที่ลำบากที่สุดของชีวิตได้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    พิจารณาความเครียด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=8>
    ก่อนทำความเข้าใจจิตวิทยาในการยังชีพ เรามาทำความรู้จักกันถึงเรื่องความเครียดและสิ่งที่ตามมาเมื่อเครียดก่อน ความเครียดไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่มันคือสภาวะหรือปฏิกิริยาตอบสนองของเราต่อความกดดันอันจะส่งผลต่อร่างกาย จิตใจและอารมณ์เหมือนโยนหินลงในน้ำแล้วน้ำนั้นกระจายออกเป็นคลื่น​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ประโยชน์ของความเครียด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=28>
    ในอีกมุมมองหนึ่งของการยังชีพหรือในชีวิตการทำงาน ​
    ความเครียดก็มีประโยชน์เพราะมันให้ผลทางบวกแก่คุณมากมาย ความเครียดสร้างความท้าทายให้กับเรา ความเครียดให้โอกาสเราที่จะเรียนรู้ว่าเรามีค่าและความแข็งแกร่งเพียงใด ความเครียดเปิดโอกาสให้เราแสดงความสามารถว่าจะรับมือกับความกดดันอย่างไรโดยไม่แตกหัก และเป็นตัวทดสอบความสามารถในการปรับตัวและยืดหยุ่นของตัวคุณ มันเปรียบเสมือนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เราทำในสิ่งที่ดีที่สุดในเวลาที่จำกัด ความเครียดจะไม่เกิดถ้าคุณไม่เห็นความสำคัญในเหตุการณ์นั้นๆ แต่เมื่อใดก็ตามที่มีเหตุการณ์เกี่ยวข้องกับตัวเรา ระดับความเครียดจะเป็นเข็มชี้วัดที่บอกว่าเหตุการณ์นั้นๆมีความสำคัญต่อคุณมากน้อยเพียงใด
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=12>
    ความเครียดต้องมีบ้างในชีวิตแต่สิ่งใดก็ตามที่มีมากเกินไปย่อมส่งผลเสียตามมา เป้าหมายของบทนี้คือมีได้แต่อย่าให้มากเกินไป ​
    การสร้างความเครียดเกินไปมีแต่จะทำร้ายคุณและองค์กรของคุณทั้งยังต้อนคุณเข้าสู่มุมจนอับ ความเครียดเกินไปทำให้เรารู้สึกไม่สบาย แล้วพยายามที่จะหนี หลีกเลี่ยง ตัวอย่างเล็กน้อยดังต่อไปนี้เป็นสัญญาณว่าคุณกำลังจนมุมจากความเครียดที่เกินขอบเขต
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ลำบากที่จะตัดสินใจ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - โกรธ ระเบิดอารมณ์​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - หลงลืม​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อ่อนแรง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ห่วงกังวลไม่จบสิ้น วิตกจริต​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ทำผิดบ่อย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - คิดสั้น​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - สร้างความเดือดร้อนให้กับตัวเองและผู้อื่น​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ตัดตัวเองออกจากสังคม​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ปกปิด หลีกเลี่ยง ความรับผิดชอบของตัวเอง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ขาดความใส่ใจ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=17>
    ถึงจุดนี้คุณได้เห็นแล้วว่าความเครียดเป็นทั้งตัวสร้างและตัวทำลาย เป็นทั้งตัวเพิ่มและบั่นทอนกำลังใจ ทำให้เราเข้าใกล้หรือออกห่างจากความสูญเสีย ทำให้ชีวิตคุณมีความหมายหรือไร้คุณค่า ทำให้คุณประสบความสำเร็จในการยังชีพด้วยประสิทธิภาพสูงสุดหรือทำให้คุณตกอยู่ในอาการกระต่ายตื่นตูมจนลืมทุกสิ่งที่คุณฝึกฝนมาทั้งหมด ​
    หลักของการยังชีพก็คือว่าคุณมีความสามารถเพียงใดในการจัดการความเครียดที่ต้องพบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คนที่ยังชีพได้คือคนที่จัดการกับความเครียดได้ ไม่ใช่คนที่ปล่อยให้ความเครียดเป็นผู้จัดการตัวเอง
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ปัจจัยต้นเหตุของความเครียด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=21>
    ทุกคนล้วนมีประสบการณ์จากความเครียดมาด้วยกันทั้งนั้น ​
    และบ่อยครั้งมาจากปัจจัยหลายๆอย่างที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน เมื่อร่างกายจดจำปัจจัยนั้นๆได้ ทันทีที่ปัจจัยนั้นปรากฏ ธรรมชาติจะทำให้ร่างกายตอบสนองเพื่อป้องกันตัวเอง การตอบสนองของร่างกายมี 2 อย่างคือเตรียมสู้หรือเตรียมหนี การเตรียมเสมือนสัญญาณเตือนภัยที่ส่งไปตามร่างกายแล้วร่างกายทำการตอบสนองโดย
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ปลดปล่อยพลังงานสะสม(น้ำตาลและไขมัน) เป็นพลังงานฉุกเฉิน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อัตราการหายใจเร็วขึ้นเพื่อเพิ่มอ๊อกซิเจนให้กับเลือด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - กล้ามเนื้อเกร็งเพื่อเตรียมตัวทำหน้าที่​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ระบบเลือดแข็งตัวทำงานเพื่อลดการสูญเสียเลือดจากบาดแผลที่อาจเกิดขึ้น​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ประสาทสัมผัสตื่นตัวและทำงานมากขึ้นทั้งตา หู จมูก เพื่อเพิ่มตวามระมัดระวังรอบด้านดังยามเฝ้าประตู​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตสูงขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=8>
    นี่คือระบบป้องกันตัวเองของร่างกาย(สัญชาตญาณ)เพื่อให้คุณได้สู้กับภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามมันไม่สามารถรักษาระดับและคงอยู่ได้ตลอดไป​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=21>
    ปัจจัยความเครียดไม่มีระบบ เมื่อปัจจัยหนึ่งเกิดขึ้นมากระทบยังไม่จางดีอาจจะมีปัจจัยอื่นๆมาเสริมได้ ผลกระทบจากปัจจัยเล็กๆน้อยๆสามารถสะสมและขยายเป็นเรื่องคอขาดบาดตายได้เมื่อมีปัจจัยเสริมเพิ่มเติมในเวลาใกล้เคียงกัน แรงต่อต้านความเครียดของร่างกายและจิตใจคุณจะถูกบั่นทอนลงเมื่อมีความเครียดต่อเนื่องหรือเพิ่มขึ้นจนคุณรู้สึกอ่อนล้าในที่สุด เมื่อถึงจุดนี้ความสามารถของคุณที่จะใช้ความเครียดในด้านบวกจะลดน้อยลงและหมดไปแต่จะมีอาการจนมุมตกอับส่งสัญญาณเข้ามาแทนที่ การเรียนรู้เท่าทันปัจจัยความเครียดที่คาดว่าจะมากระทบพร้อมการพัฒนาตัวเองที่จะรับมือกับมันคือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณจัดการบริหารความเครียดได้ ปัจจัยหรือสาเหตุของความเครียดในระหว่างการยังชีพมีดังนี้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    บาดเจ็บ ป่วย หรือตาย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=12>
    ความเจ็บป่วยล้มตายเป็นสัจจธรรมของชีวิตที่ไม่มีใครหนีพ้น บางทีอาจไม่มีอะไรที่ทำให้คุณเครียดมากไปกว่าการที่ต้องมาเจ็บป่วยล้มตายอย่างเดียวดายในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย การไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวและความเจ็บปวดทำให้ความสามารถในการเคลื่อนไหว การบริโภคอาหาร น้ำ ทำที่กำบัง รวมทั้งการป้องกันตัวเองลดน้อยลง ทำให้ความเครียดคุณเพิ่มขึ้น ​
    ความกล้าหาญที่จะยังชีพอยู่ให้ได้เท่านั้นคือสิ่งที่จะจัดการกับความเครียดชนิดนี้ได้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ความไม่แน่นอนและการไร้ความควบคุม​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=8>
    บางคนต้องเครียดในสภาพแวดล้อมที่หาความแน่นอนไม่ได้ ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นและอะไรกำลังจะตามมา สิ่งที่ประกันความอยู่รอดของคุณในภาวะความเครียดเช่นนี้คือให้ระลึกไว้ว่า ​
    "สิ่งที่แน่นอนคือสิ่งที่ไม่แน่นอน" และความเจ็บป่วยล้มตายก็เป็นหนึ่งในนั้นที่คุณต้องคิดและทำใจไว้ล่วงหน้า
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    สภาพแวดล้อม​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=12>
    ในสถานการณ์ที่เด่นชัดและรู้ว่าอะไรกำลังตามมาแต่เพิ่มความรุนแรงและน่ากลัวจากสภาพแวดล้อมเข้าไป เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง พายุถล่มทลาย หนาว ร้อน แมลง สัตว์มีพิษ สัตว์ร้ายต่างๆ ที่รอพบคุณในระหว่างการยังชีพ การจัดการกับความเครียดชนิดนี้ขึ้นอยู่ว่า​
    คุณสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมนั้นๆได้ดีเพียงใด ขอให้รวมการหาอาหาร ที่กำบัง และสิ่งที่นำไปสู่การเจ็บป่วยล้มตายไว้กับการปรับตัวของคุณด้วย
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    หิว กระหาย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=14>
    ขาดอาหารและน้ำทำให้คุณอ่อนแอลงและตายในที่สุด ฉะนั้นการเก็บรักษาอาหารและน้ำให้มีใช้ตลอดรอดฝั่งของการยังชีพจึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากว่าเราคุ้นเคยกับอาหารจากเมนูเป็นหลัก การที่จะต้องหาอาหารเองในระหว่างการยังชีพจึงเป็นความเครียดใหญ่ ​
    เมื่อมีแล้วเหลือคุณต้องรู้จักรักษาไว้เพื่อใช้ในวันข้างหน้า
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ความเหนื่อยล้า​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=19>
    เพียงแค่การตื่นตลอดเวลาไม่ได้พักไม่ได้ผ่อนก็สร้างความเครียดให้คุณได้มากพอแล้ว ยิ่งในภาวะถูกบังคับให้ยังชีพในระยะต่อเนื่องยาวนานเพียงใด ความเหนื่อยล้าก็เพิ่มขึ้นมากเท่านั้น บางคนเรียกว่า "หมดแม๊ก" ​
    จงใช้ใจเป็นตัวนำอย่าถอดใจแล้วเรียกพลังกลับคืนมา ให้คิดว่าในทุกๆนาที ชั่วโมง วัน เดือน ปี ที่กำลังผ่านเข้ามาเป็นเหมือนกับการเริ่มต้นชีวิตใหม่ของคุณ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    การอยู่โดยลำพัง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=37>
    การร่วมกิจกรรมเป็นกลุ่มก้อนมีประโยชน์ที่ทำให้เรารู้ว่าการทำงานเป็นทีมดีอย่างไรและเราจะฝังตัวเป็นหนึ่งในทีมด้วยทักษะที่เราถนัดได้ตรงไหน​
    เราจะคุ้นเคยกับคำแนะนำพร้อมวิธีการปฏิบัติอย่างเด่นชัดก่อนลงมือทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาสับสน เราคุ้นเคยกับการติดต่อกับผู้คนเพราะเป็นสิ่งหนึ่งทำให้อุ่นใจว่ายังมีใครคอยช่วยอยู่ยามมีปัญหา อย่างไรก็ตามปัจจัยความเครียดอย่างหนึ่งที่คุณต้องเจอบ่อยๆคือความโดดเดี่ยวที่คุณจะต้องตัดสินใจและยืนบนขาของคุณเองให้ได้ ในโลกตะวันออกมีวิธีการเลี้ยงดูเด็กให้รู้จักช่วยเหลือตัวเองเพื่อเตรียมตัวที่จะ "บินเดี่ยว" ได้เมื่อถึงเวลา ซึ่งแตกต่างจากของเรา สิ่งนี้ใช่ว่าจะให้ใครเป็นได้ในช่วงข้ามคืน ต้องใช้เวลาปลูกฝังบ่มเพาะ เว้นแต่ว่าเกิดเหตุการณ์หักศอกเปลี่ยนแปลงชีวิตกะทันหัน ถ้าคุณบินเดี่ยวได้คุณก็สามารถเป็นผู้นำฝูงบินได้เช่นกัน แต่ถ้าคุณต้องยืมมือยืมไม้คนอื่นตลอดเวลาจนขาดมันไม่ได้คุณก็เป็นได้เพียงผู้โดยสารชั้นล่างสุดของครื่องที่ฝากชีวิตไว้ในมือของคนอื่นโดยไม่สามารถที่จะคิดได้หรือทำได้ด้วยตัวเองเลย
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=19>
    ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาอาจส่งผลต่อคุณและหลายคนแต่ไม่ทุกคน จำไว้ว่าในปัจจัยเดียวกันอาจไม่มีผลเลยกับใครบางคน ประสบการณ์ การฝึกฝน มุมมองชีวิต สภาพร่างกายและจิตใจ และความมั่นใจในตัวเองเป็นตัวแปรว่าปัจจัยใดจะก่อความเครียดให้ใครมากน้อยเพียงใด วัตถุประสงค์คือไม่ได้แนะวิธีการหลีกเลี่ยงความเครียดแต่เพื่อให้คุณได้บริหารจัดการปัจจัยต่างๆของความเครียดให้เป็นประโยชน์กับตัวเอง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ถึงจุดนี้เรามีความรู้กว้างๆแล้วเกี่ยวกับความเครียดและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด ต่อไปคือปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อคุณต้องกระทบกับปัจจัยนั้นๆ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ปฏิกิริยาตอบสนองทางธรรมชาติ (สัญชาตญาณ)​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=10>
    มนุษย์สามารถยังชีพมาได้หลายช่วงหลายศตวรรษ ต้องปรับทั้งกายและใจในขณะที่โลกเปลี่ยนแปลงไปและสัตว์หลายชนิดก็สูญพันธ์ลงไปเรื่อยๆ คนส่วนใหญ่มีสัญชาตญาณในการยังชีพอยู่แล้ว สัญชาตญาณต่างๆนั้นมีดังนี้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ความกลัว​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=21>
    ความกลัวเป็นอารมณ์ตอบสนองต่ออันตรายที่เราเชื่อว่ามันจะนำเราไปสู่ความล้มเหลว ความเจ็บป่วยและการเสียชีวิต ความกลัวทำลายคุณทั้งร่างกายและจิตใจ ถ้าคุณต้องการมีชีวิตอยู่​
    ความกลัวนี้จะป็นแรงผลักดันทางบวกให้เรามีความระมัดระวังและสุขุม ในทางกลับกันผลเสียก็คือความกลัวจะทำให้คุณหยุดนิ่งอยู่ในมุมมืด ไม่กล้าที่จะดำเนินต่อไปเพราะกลัวจะล้มเหลว คนส่วนใหญ่กลัวเมื่อต้องอยู่ในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยในระหว่างเกิดเหตุการณ์เลวร้าย จงอย่าอายที่จะกลัว แต่จงฝึกฝนตัวคุณอย่าให้มันชนะคุณ คุณต้องฝึกในสนามจริงเพื่อนำความรู้และทักษะมาเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง และเมื่อนั้นคุณจะสามารถจัดการกับความกลัวได้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ความกังวล​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=17>
    สิ่งที่ตามมาเมื่อเกิดความกลัวคือความกังวล ​
    ในทางบวกความกังวลจะเตือนให้คุณทำอะไรให้จบที่เราเรียกว่าเช็กบิลหรือปิดไฟล์ ถ้าคุณไม่มีความกังวลเลยในชีวิต ชีวิตของคุณก็แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในการยังชีพคุณสามารถลดความกังวลได้โดยการทำบางอย่างให้เสร็จและมั่นใจว่ามันจะอยู่กับคุณได้ตลอดการยังชีพ ในทางกลับกันความกังวลทำให้คุณสับสนและคิดไม่ออก ส่งผลถึงการตัดสินใจของคุณ ในการยังชีพคุณต้องฝึกเรียนรู้เทคนิคเพื่อลดความกังวลเพื่อรักษามันในระดับที่มันจะช่วยแต่ไม่ทำร้ายคุณ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ความโกรธ หงุดหงิด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=17>
    ยามใดที่ไม่ได้ดังใจคุณจะหงุดหงิด เป้าหมายของการยังชีพคือคุณต้องอยู่ให้ได้จนกว่าจะได้รับความช่วยเหลือ ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้และบางครั้งเกินกว่าการควบคุมของคุณ ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจทำให้ชีวิตคุณแขวนอยู่บนเส้นด้าย คุณต้องควบคุมอารมณ์นี้ให้ได้เพราะ​
    ดอกผลของความหงุดหงิดคือความโกรธ และมันจะทำให้คุณหลงลืมและขาดสติ รวมถึงพาคุณและคนอื่นๆไปสู่อันตรายและปัญหาอีกมากมาย ควบคุมอารมณ์โกรธและหงุดหงิดให้ได้จะช่วยให้คุณมีพลังงานเหลือเพื่อสร้างโอกาสเพิ่มในการยังชีพตั้งทั้งต่อตัวคุณและคนรอบข้าง
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ความซึมเศร้า ไร้ความหวัง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=37>
    ใครคนนั้นคงใจหินมากถ้าไม่เคยเศร้าเสียใจเลยในชีวิต ​
    ในยามที่เสียใจอย่างรุนแรง ความเศร้าซึมจะถามหาคุณและมันมีความใกล้ชิดอย่างดีกับความโกรธและความหงุดหงิด คุณหงุดหงิดเพราะไม่ได้ดั่งใจจนโกรธเป็นแล้วเป็นเล่าจนมันกัดกินสภาพร่างกายจิตใจอารมณ์ไม่เหลือความหวังให้คุณอีกแล้ว ในยามนั้นคุณจะถึงจุดที่เรียกว่า "ถอดใจ" จากที่คุณเคยคิดว่าจะสามารถทำอะไรได้กลายเป็นว่าไม่มีอะไรที่คุณสามารถทำได้เลย นั่นคือความซึมเศร้ารู้สึกหมดหวัง หมดอาลัยตายอยาก คุณเศร้าได้แต่เป็นครั้งคราว อย่าให้มันเกาะกินใจจนเป็นคนสิ้นหวัง เรามีสองขาเหมือนกัน ทุกคนล้มได้และก็เคยล้มมาแล้วด้วยกันทั้งสิ้นแต่ความแตกต่างอยู่ที่คุณล้มแล้วใช้เวลานานแค่ไหนกว่าจะลุกขึ้นมาตั้งตัวได้อีก อย่าเสียเวลานอนกลิ้งเกลือก เสียดายกับความหลังที่ผ่านไปแล้ว จงสลัดมันทิ้งเสียแล้วรีบลุกขึ้นมาสู้เป็นคุณคนเดิม นึกถึงคนที่คุณรักเพื่อสร้างกำลังใจที่จะฝ่าฟันต่อไปและเรียกพลังกลับคืนมา เหนือสิ่งอื่นใดจงมีความหวังที่จะอยู่ต่อไป
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ความโดดเดี่ยวและเบื่อหน่าย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=17>
    มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่รักที่จะอยู่เป็นกลุ่ม มีน้อยคนที่กลับชอบใช้ชีวิตสันโดษและมันก็เป็นไปได้สูงที่คุณต้องอยู่คนเดียวในการยังชีพ ​
    ความสันโดษไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเพราะยามใดที่คุณต้องอยู่เช่นนั้นคุณจะพบความสามารถบางอย่างที่มันซ่อนอยู่ในตัวคุณ แต่ในทางกลับกันความโดดเดี่ยวและเบื่อหน่ายจะทำให้คุณซึมเศร้า ถ้าคุณต้องยังชีพคนเดียวหรือยังชีพกับผู้อื่นให้พยายามใช้สมองและความคิดทำงานในทางบวกอยู่เสมอ และพยายามพัฒนาระดับความสามารถที่จะอยู่ได้บนขาของตัวเองและให้เชื่อมั่นในตัวเองว่าคุณสามารถทำได้จริงๆ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ความรู้สึกผิด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=23>
    เมื่อเกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตคนมากมาย คุณอาจยืนอยู่และพบว่ามีคุณคนเดียวที่รอดมาได้ ​
    จงอย่ารู้สึกผิดหากแม้กรรมและธรรมชาติเปิดโอกาสให้คุณอยู่ต่อในขณะที่คนอื่นๆไม่ได้รับโอกาสนั้น อย่ามัวคร่ำครวญในโชคชะตาแต่จงคิดทางบวกว่าคุณได้โอกาสนั้นแล้ว จงพยายามต่อไปให้มากขึ้นเพื่อยังชีพให้ได้อยู่ต่อไป บางคนต้องการที่จะอยู่ต่อเพื่อใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ให้ความช่วยเหลือต่อผู้ที่มีความลำบากมากกว่าไม่ว่าคุณจะมีเหตุผลอะไรจงอย่าเลิกคิดที่จะมีชีวิตอยู่ ความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการทิ้งโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ จงใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ให้มีคุณค่าทั้งต่อตัวคุณและส่วนรวม
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    จงเตรียมพร้อม​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=21>
    เป้าหมายของการยังชีพคือการมีชีวิตอยู่ ​
    สติเป็นตัวควบคุมอารมณ์และนั่นคือโอกาสเพิ่มให้คุณสามารถยังชีพได้ การเจริญสติด้วยธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นหนึ่งที่คุณต้องเริ่มปฏิบัติหรือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง หากยามใดคุณไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพร้อมโลดแล่นทั่วทิศไปกับมัน โอกาสในการยังชีพก็จะเหลือน้อยลง ทุกสิ่งมีบวกมีลบดังกล่าวข้างต้นการดึงด้านบวกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้คุณต้องตวบคุมมันให้ได้ก่อนเพื่อที่ใช้มันให้เราได้อยู่ แต่อย่าอยู่โดยที่มันเป็นผู้ใช้เรา
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=15>
    คุณภาพของการยังชีพขึ้นอยู่กับการเตรียมพร้อม​
    เตรียมตัวของคุณเพื่อใช้ปฏิกิริยาตอบสนองในทางสร้างสรรไม่ใช่ทำลาย ความท้าทายในการยังชีพสร้างคุณค่าให้กับมนุษย์มากมายจากความกล้าหาญเสียสละ ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำเล็กน้อยเพื่อช่วยคุณเตรียมพร้อมด้านจิตวิทยาในการยังชีพ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    รู้จักตัวคุณเอง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=8>
    ฝึกฝนกับครอบครัวหรือกับเพื่อนสมาชิกคุณเพื่อค้นหาว่าตัวตนที่แท้จริงภายในของคุณเป็นใคร แล้วเสริมมันให้แกร่งยิ่งขึ้นไปในมุมที่คุณคิดว่าจำเป็นในการยังชีพ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    คุณกลัวอะไร​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=14>
    จงอย่าโกหกตัวเองว่าคุณไม่มีความกลัวให้ยอมรับความจริงแล้วลองคิดว่าคุณกลัวอะไรมากที่สุดในยามที่ต้องยังชีพคนเดียวแล้วฝึกฝนจากจุดนั้น ​
    เป้าหมายไม่ใช่ขจัดความกลัวแต่เป็นการสร้างความสามารถและมั่นใจที่จะสู้กับความกลัวในใจคุณให้ได้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ยอมรับความเป็นจริง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=24>
    จงยอมรับความจริงในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คุณจะรู้สึกขมขื่นและผิดหวังมากถ้าคุณต้องยังชีพในสภาพที่ยอมรับความจริงไม่ได้ เมื่อยอมรับแล้ว​
    จงสร้างความหวังในสิ่งที่ดีที่สุด และเตรียมตัวพร้อมเพื่อเผชิญกับสิ่งที่เลวร้ายที่สุด มันจะง่ายมากขึ้นถ้าคุณระลึกไว้ว่าคุณยังมีกรรมดีคอยสนับสนุนให้คุณมีชีวิตอยู่มากกว่าจะปล่อยตัวตามบุญตามกรรมแล้วแต่จะนำพา เริ่มสร้างกรรมดีนับแต่วันนี้แล้วเอาจิตเหนี่ยวนำมันไว้เพื่อสร้างเกราะแก้วแห่งพระรัตนไตรให้คุ้มครองกายใจคุณไว้ตลอดไป
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    คิดบวก​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=8>
    ให้คิดบวกมองบวกในทุกสิ่งที่ผ่านมาและผ่านไป สิ่งนี้ไม่เพียงจะยกระดับจิตใจของคุณให้สูงขึ้นเพียงอย่างเดียว มันยังเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมที่จะช่วยให้คุณเกิดจินตนาการและมีความคิดสร้างสรรดีๆ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    อย่าประมาท จงหมั่นเตือนตนเอง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=8>
    ความประมาทพาไปสู่ความล้มเหลวเพราะขาดการเตรียมตัวเตรียมใจล่วงหน้าทำให้เกิดอาการซึมเศร้า เสียความมั่นใจ ตัดสินใจผิดพลาดและถอดใจ จะส่งผลให้คุณและคนอื่นที่คุณต้องดูแลล้มเหลวไปด้วย อย่าประมาทและจงหมั่นเตือนตัวเองด้วยตัวเองเสมอ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    การฝึกฝน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=8>
    เรียนรู้ให้เข้าใจถึงภาวะจิตใจในสภาวะต่างๆเพื่อให้รู้ทันมัน ​
    การฝึกเจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นหนึ่งเดียวที่จะทำให้คุณเข้าถึงความจริงของจิตได้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    เรียนรู้เทคนิคการจัดการกับความเครียด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=24>
    คนเรามีแนวโน้มที่จะตื่นกลัวในยามเกิดความเครียด ​
    บ่อยครั้งที่คุณไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ในระหว่างการยังชีพได้แต่คุณมีความสามารถที่จะควบคุมตัวเองเพื่อตอบสนองต่อสถานะการณ์นั้นๆได้ การเรียนรู้เทคนิคเพื่อจัดการความเครียดจะช่วยให้คุณเย็นลงและจดจ้องกับสิ่งที่คุณทำเพื่อช่วยตัวเองและผู้อื่นให้อยู่รอดได้ เทคนิคดีๆบางอย่างเช่นทักษะในการผ่อนคลาย การบริหารเวลา ความเป็นผู้นำ การประเมินสถานการณ์ การรู้จักมองเหตุการณ์ในภาพรวมเป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้ สุดท้ายจำไว้ว่าถ้าคุณมีความปรารถนาที่จะอยู่เท่ากับว่าคุณปฏิเสธที่จะยอมแพ้แล้ว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=686><TBODY><TR><TD height=4>
    การวางแผนเพื่อการยังชีพและอุปกรณ์ยังชีพ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    การวางเพื่อการยังชีพแบ่งเป็น 3 ส่วน และมีความสำคัญเท่าๆกัน นั่นคือการวางแผน, การจัดเตรียม และการฝึกฝน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    1. ​
    การวางแผน
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=22>
    การวางแผนเพื่อการยังชีพคือการตระหนักถึงสถานการณ์ฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นและทำให้เราต้องอยู่ในภาวะที่ต้องยังชีพอยู่ให้ได้ และจากจุดนั้นคุณต้องเริ่มเรียนรู้เพื่อเพิ่มความสามารถและโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ สถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆจะเกิดกับใคร ที่ไหน หรือเวลาใดก็ได้ พึงจำไว้เสมอว่าหากไม่มีการวางแผนล่วงหน้าย่อมนำไปสู่ความล้มเหลวในการยังชีพ ​
    การเตรียมแผนประกอบด้วยหลักใหญ่ๆคือ เตรียมเพื่อให้รอดและเมื่อรอดแล้วต่อไปคือเตรียมเพื่อให้อยู่ได้ โดยจะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ สภาพอากาศและความเปลี่ยนแปลงของอากาศ รวมทั้งฐานที่มั่นที่คุณคิดว่ารอดแล้วจะอยู่ที่นั่นได้อย่างปลอดภัย เหตุนี้จึงจำเป็นต้องรวมถึงการวางเส้นทางโดยใช้แผนที่ อุปกรณ์นำทาง สื่อต่างๆรวมทั้งความจำของคุณเอง
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    2. ​
    การจัดเตรียม
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=24>
    การจัดเตรียมคือการเตรียมตัวของคุณเองและอุปกรณ์ยังชีพสำหรับแผนการยังชีพในสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ​
    การมีแผนเขียนในกระดาษโดยที่ไม่มีการจัดเตรียมไม่สามารถทำให้คุณรอดได้ อย่างแรกทำตัวคุณให้พร้อมและแข็งแรง ได้รับการฉีดวัคซีนและตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ(รวมทั้งการทำฟัน) เตรียมเครื่องนุ่งห่มที่จะใช้ในยามฉุกเฉิน อุปกรณ์ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ อาหาร น้ำ ศึกษาสภาพภูมิศาสตร์รอบๆตัวคุณและความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทบทวนแผนและแก้ไขให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อเพิ่มโอกาสในการยังชีพ เช่นทางหนีทีไล่
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    3. ​
    การฝึกฝน
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ลองฝึกฝนตามขั้นตอนแผนที่คุณทำไว้กับอุปกรณ์ยังชีพที่คุณเตรียมไว้ ​
    ตรวจสอบอุปกรณ์ยังชีพว่ามันยังทำงานได้ดีและคุณมีความคุ้นเคยกับการใช้งานมันเป็นอย่างดี
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    หลักสำคัญของการวางแผน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    ทำรายละเอียดขั้นตอนของแผนตามลำดับความสำคัญในสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆโดยให้พิจารณาว่าทำอย่างไรคุณจึงจะมีโอกาสรอด ตัวอย่างเช่นถ้าคุณกำลังอยู่ในบริเวณที่คับแคบสิ่งต่างๆที่คุณนำติดตัวไปได้ย่อมจำกัดลง จากนั้นเตรียมถุงใส่อุปกรณ์ยังชีพของคุณให้เหมาะสมแล้ววางในบริเวณที่คุณสามารถหยิบฉวยได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    จุดสำคัญอีกจุดหนึ่งคือการเตรียมอุปกรณ์และยายามฉุกเฉิน คุณต้องมั่นใจว่าคุณไม่มีปัญหาสุขภาพฟันและร่างกาย รวมทั้งได้รับการฉีดวัคซีนตามเวลาจะช่วยให้คุณไม่ป่วยในขณะที่รอดได้ ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณรอดได้แต่สุขภาพฟันของคุณไม่อำนวยให้คุณกินเพื่ออยู่ได้จะกลายเป็นเรื่องที่ลำบากเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว หรือถ้าคุณป่วยและไม่แข็งแรงจะให้คุณลำบากยิ่งขึ้นในสภาพแวดล้อมที่ลำบาก​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    เตรียมอุปกรณ์ยังชีพที่สำคัญเพียงพอเพื่อยังชีพอย่างเหมาะสมกับภาวะแวดล้อม เช่นสภาพแวดล้อมเปียกแฉะ น้ำท่วม ความร้อนสูง หนาว คุณต้องรู้ว่าคุณเก็บถุงอุปกรณ์ยังชีพไว้ที่ไหนและบรรจุอะไรไว้บ้าง ​
    ควรเตรียมถุงยังชีพด้วยตัวของคุณเองเพราะนอกจากอุปกรณ์พื้นฐานแล้วคุณอาจต้องการบางอย่างเพิ่มเติมซึ่งในขณะที่บางคนอาจไม่ต้องการ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    ในถุงยังชีพที่แม้มีขนาดเล็กแต่ถ้ามีการจัดเตรียมอย่างเหมาะสมจะกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าแก่ชีวิตคุณอย่างสูงในขณะที่มีปัญหาในการยังชีพ ​
    อย่างไรก็ตามก่อนที่คุณจะเลือกขนาดของถุงยังชีพให้พิจารณาถึงภาวะฉุกเฉิน สภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์ และยานพาหนะที่คุณจะใช้ในการเคลื่อนย้าย
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ถุงยังชีพ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=29>
    การจัดเตรียมถุงยังชีพต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยหลัก ​
    ขนาดและจำนวนของที่อยู่ในถุงขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเดินทางด้วยวิธีไหน ถ้าเป็นการเดินทางด้วยเท้าขนาดของกระเป๋าก็ย่อมมีขนาดเล็กกว่าการเดินทางด้วยรถ จัดอุปกรณ์ต่างๆใส่กระเป๋าอย่างเป็นระเบียบ โดยมีอุปกรณ์สำคัญ เช่นแผนที่ มีดพก เข็มทิศ เป็นต้น ควรจะพกติดตัวไว้ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะจัดระเป๋า 3 ใบ(ขนาดเล็ก, กลางและใหญ่) เพื่อเดินทางด้วยรถยนต์ กระเป๋าขนาดเล็กควรเก็บสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการยังชีพและคุณจำเป็นต้องพกติดตัวไว้ตลอดเวลา กระเป๋าขนาดกลาง เป็นสิ่งของหรืออุปกรณ์ที่สำคัญต่อการดำรงชีพรองลงมา และกระเป๋าขนาดใหญ่เพื่อใส่สิ่งของต่างๆที่มีขนาดใหญ่
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    การเตรียมถุงยังชีพนั้น ให้เลือกถุงยังชีพที่สารพัดประโยชน์ ขนาดพอเหมาะ น้ำหนักเบา กันน้ำ ทนทานและใช้งานได้ดี ถุงยังชีพที่ดูดี สวยงามและน่าใช้งานแต่ไม่สามารถใช้งานได้ครบตามวัตถุประสงค์ของคุณก็ไม่ควรนำมาใช้​
    ทั้งนี้ทั้งนั้นควรจัดเรียงอุปกรณ์สิ่งของต่างๆให้สะดวกและสอดคล้องกับการใช้งานด้วย
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ถุงยังชีพที่เลือกใช้ควรเลือกที่เหมาะสมกับการใช้งานและสามารถใส่อุปกรณ์ต่างๆได้อย่างครบถ้วน โดยทั่วไปแล้วถุงยังชีพควรมีลักษณะดังนี้ ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - กันน้ำ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - สามารถหิ้วติดตัวได้หรือเหมาะสมต่อการเคลื่อนย้าย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - มีขนาดเหมาะสมกับสิ่งของที่ต้องบรรจุภายใน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - มีความทนทาน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ถุงยังชีพควรจัดแบ่งประเภทของสิ่งที่บรรจุภายในดังนี้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ของเหลว, น้ำดื่ม​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อุปกรณ์ช่วยในการจุดไฟ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อุปกรณ์กำบัง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อาหาร​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ยา​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อุปกรณ์ติดต่อสื่อสารและส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เบ็ดเตล็ด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ในแต่ละประเภทของสิ่งที่จะบรรจุลงในถุงยังชีพควรเลือกเฉพาะสิ่งที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น เช่น น้ำ ควรมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัก ดูด ซับและที่ใช้ในการกักน้ำฝนและน้ำจากธรรมชาติ ภาชนะบรรจุน้ำและอุปกรณ์ที่ใช้ทำให้น้ำสะอาด ยกตัวอย่างพอสังเขปเช่น​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    น้ำ​
    - ยาฆ่าเชื้อ ถุงยางอนามัย(ไม่มีสารหล่อลื่น)เพื่อบรรจุน้ำ ฟองน้ำ สายยางขนาดเล็ก ถุงใส่น้ำ ขวดน้ำ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ไฟ​
    - ไฟแชค ไม้ขีดกันน้ำ เทียน แว่นขยาย
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ที่กำบัง​
    - เชือกร่ม มีดขนาดใหญ่ ถุงนอน มุ้งสนาม เปลสนาม เต้นท์สนาม ยากันแมลง
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    อาหาร​
    - มีด อุปกรณ์และภาขนะเตรียมอาหาร อาหารแห้ง
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ยา​
    - ยาแก้ท้องเสีย แก้ปวด ปฏิชีวนะ ยาทา ยาล้างแผล ที่ใส่แผลสด ผ้าก๊อต สำลี ชุดเย็บแผลสด อุปกรณ์ใช้ตกแต่งแผล
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ที่ส่งสัญญาณฉุกเฉิน​
    - กระจกเงา นกหวีด ไฟฉาย
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    เบ็ดเตล็ด​
    - เข็มทิศ เข็มและด้าย เงิน แว่นสายตาสำรอง ที่รับมีด คู่มือการยังชีพ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    ให้พิจารณาถึงสภาพแวดล้อมรอบๆคุณแล้วจัดเตรียมถุงยังชีพด้วยสิ่งของที่มีความคงทน สารพัดประโยชน์ น้ำหนักเบา ให้ตัดใจนึกถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่แต่สามารถแทนที่ด้วยสิ่งที่มีขนาดเล็กกว่าและจำเป็นยิ่งกว่าในการยังชีพที่จะสร้างความแตกต่างให้คุณเองระหว่างรอดและอยู่ได้หรือรอดแต่อยู่ไม่ได้ ​
    (บทความที่ 2 กล่าวถึงรายการจัดเตรียมไว้)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=686><TBODY><TR><TD height=4>
    พื้นฐานสุขอนามัยในการยังชีพ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    สุขภาพเป็นปัญหาสำคัญในการยังชีพถ้าไม่มีการเตรียมตัวและมีเหตุการณ์ฉุกเฉินปัจจุบันทันด่วน การขาดความรู้เรื่องปฐมพยาบาลยังทำให้ลำบากเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้และสูญเสียในที่สุด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=19>
    ผมแนะนำให้คุณขวนขวายหาความรู้ให้มากที่สุดและควรเข้ารับอบรมเมื่อมีโอกาส เช่นการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การใช้ยา ยาพื้นบ้านสมุนไพรจากภูมิปัญญาชาวบ้านเหล่านี้เป็นเรื่องใกล้ตัวแต่ไกลจากความสนใจ มันเป็นความรู้ที่คุณได้มาเพื่อตัวคุณจริงๆ ความรู้ในบทนี้เป็นเพียงเมล็ดรอให้คุณรดน้ำและแตกยอดกิ่งก้านด้วยความขวนขวายของคุณเอง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=11>
    เพียงคนหนึ่งคนที่มีความรู้ระดับพอใช้เรื่องสุขศึกษาและการปฐมพยาบาลจะสามารถช่วยและเปลี่ยนแปลงชีวิตให้กับคนอีกมากมายหลายคน แต่ในยามที่ไม่มีคนๆนั้น คุณคนเดียวเท่านั้นที่จะต้องรู้ว่าควรทำอย่างไรเพื่อดูแลรักษาตัวเอง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    สิ่งที่ร่างกายต้องการ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    คุณต้องการน้ำ อาหาร ที่มีความสะอาดในการยังชีพ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    น้ำ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    ร่างกายสูญเสียน้ำจากเหงื่อ ปัสสาวะ ระบบขจัดของเสียออกจากร่างกาย ในวันหนึ่งที่อุณหภูมิ 20 องศา ผู้ใหญ่ต้องการน้ำ 2-3 ลิตรต่อวันเพื่อทดแทนน้ำที่เสียไป ตัวแปรการสูญเสียน้ำของร่างกายคือ ความร้อน หนาว ความสูง บาดแผลและการเจ็บป่วย อาการขาดน้ำเกิดจากร่างกายไม่มีน้ำเพียงพอเพื่อทดแทนกับจำนวนที่เสียไปและอาจเป็นเหตุทำให้เกิดอาการช๊อคในที่สุด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ถ้าคุณเสียน้ำ 5% จะมีอาการกระหาย คลื่นไส้ อ่อนแอ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ถ้าคุณเสียน้ำ 10% จะมีอาการเวียนหัว ปวดหัว เดินไม่ได้ ปวดแขนขา​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ถ้าคุณเสียน้ำ 15% จะมีอาการตาลาย เจ็บเมื่อยามปัสสาวะ ลิ้นบวม หูอื้อ ร่างกายไม่มีความรู้สึก​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ถ้าคุณเสียน้ำเกินกว่า 15% ถึงแก่ชีวิต​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    อาการของคนขาดน้ำ ได้แก่​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ปัสสาวะสีเข้ม มีกลิ่นฉุน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ปัสสาวะน้อย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ขอบตาดำลึก​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - หมดแรง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อารมณ์ไม่มั่นคง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ผิวหนังแห้ง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เส้นเลือดฝอยที่ปลายนิ้วส่งเลือดช้าลง (เมื่อกดแล้วปล่อยจะเห็นว่าสีผิวกลายเป็นสีชมพูช้าลง)​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - กระหาย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=22>
    คุณต้องทดแทนน้ำในร่างกายที่เสียไปด้วยปริมาณที่เหมาะสม ​
    ความกระหายน้ำไม่ได้เป็นตัวชี้บอกว่าคุณต้องการน้ำเท่าไหน บางคนดื่มน้ำครั้งละ 1 ลิตรไม่ได้ ฉะนั้นแม้ในยามที่คุณไม่กระหายน้ำให้จิบทีละนิดอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการขาดน้ำ ในยามที่ทั้งกายและใจคุณเครียด คุณจะต้องการน้ำมากกว่าปกติ ในยามขาดแคลนอาหารพยายามดื่มน้ำให้ได้ 6-8 ลิตรต่อวัน ในบริเวณที่อากาศแห้งจัด ร่างกายเสียน้ำ 2.5-3.5 ลิตรต้อชั่วโมง ยิ่งในสภาพเช่นนั้นคุณต้องดื่มน้ำ 8-12 แก้วในทุก 30 นาที การตรวจสอบการสูญเสียน้ำของร่างกายคุณจะช่วยป้องกันอาการขาดน้ำ อย่าลืมว่าการเสียน้ำทำให้เสียเกลือแร่ในร่างกายด้วย คุณต้องกินคาร์โบไฮเดรตและเกลือแร่เสริม
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    วิธีป้องกันอาการขาดน้ำ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ทานอาหารและดื่มน้ำมากๆ​
    น้ำในร่างกายจะถูกดึงออกมาช่วยย่อยอาหาร คุณทานอาหารอย่างเดียวแต่ไม่ทานน้ำจะทำให้เกิดอาการขาดน้ำได้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    หลีกเลี่ยงกิจกรรมทำให้เสียเหงื่อ ​
    เป็นการประหยัดน้ำในร่างกายคุณจนกว่าคุณจะพบแหล่งน้ำในการบริโภค อีกนัยหนึ่งคือรู้จักประหยัดเหงื่อของคุณ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    คุณสามารถประมาณการเสียน้ำในร่างกายได้ ยกตัวอย่างเช่นถ้าเสื้อคุณชุ่มไปด้วยเหงื่อแสดงว่าน้ำประมาณ 0.5-0.75 ลิตรสูญเสียจากร่างกายคุณแล้ว นอกจากนี้อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจช่วยคุณประมาณการเสียน้ำในร่างกายได้ด้วย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    อัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 100 ครั้งต่อนาที การหายใจ 12-20 ครั้งต่อนาที อัตราเสียน้ำประมาณ 0.75 ลิตร​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    อัตราการเต้นของหัวใจ 100-120 ครั้งต่อนาที การหายใจ 20-30 ครั้งต่อนาที อัตราเสียน้ำประมาณ 0.75-1.5 ลิตร​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    อัตราการเต้นของหัวใจ 120-140 ครั้งต่อนาที หายใจ 30-40 ครั้งต่อนาที อัตราเสียน้ำประมาณ 1.5-2 ลิตร​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    สรุป......​
    ยิ่งคุณตื่นเต้น หายใจเร็วมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้คุณเสียน้ำมากขึ้นเท่านั้น
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    อาหาร​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    อาหารทำให้คุณมีชีวิตอยู่และที่สำคัญกว่านั้นยังทำให้คุณอยากที่จะอยู่ต่อไป แหล่งอาหารหลักของคุณคือจากพืช สัตว์และอาหารที่คุณเก็บรักษาไว้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    พืช​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    พืชเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญที่สุดและหาง่ายที่สุด นอกจากคุณต้องรู้ว่าอะไรกินได้หรือไม่แล้วควรรู้วิธีถนอมอาหารเพื่อใช้ในวันต่อไป ​
    ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นครูตัวจริงในเรื่องนี้ ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ใครสักคนเพื่อใช้ความรู้ต่อชีวิตคุณเมื่อเวลามาถึง อาหารจากพืชนั้นให้ทั้งแป้ง น้ำตาล และโปรตีน ส่วนถั่วและเมล็ดธัญญพืชให้สารโปรตีนและไขมันซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    สัตว์​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ผมไม่ขอออกความเห็นในเรื่องนี้เนื่องจากในยามที่เราเดือดร้อนสัตว์ต่างๆก็ย่อมเดือดร้อนจากความหิวโหยเช่นกันให้คุณใช้เป็นตัวเลือกเอาเอง ​
    ถ้าเราไม่เบียดเบียนเขาให้เดือดร้อนตำแหน่งผู้ล่าและผู้ถูกล่าจะหมดไป กลายเป็นผู้ร่วมโลกที่มีศักดิ์ศรีที่จะอยู่เท่าเทียมกัน
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ความสะอาดของร่างกาย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    การรักษาความสะอาดของร่างกายป้องกันการเกิดโรคและเพิ่มโอกาสให้คุณในการยังชีพ ดังนั้นจึงควรอาบน้ำอย่างน้อยวันละครั้ง ถ้าทำไม่ได้ให้เช็ดตัวให้สะอาดด้วยผ้าชุบสบู่โดยเฉพาะเท้า รักแร้ ขาหนีบ มือ ผม ซึ่งถือเป็นจุดติดเชื้อโรคได้ง่าย ถ้าไม่มีน้ำให้อาบลมด้วยการถอดเสื้อผ้าออกให้มากที่สุดแล้วผึ่งตัวคุณกับแสงแดดและสายลมอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ระวังอย่าให้ผิวไหม้ และถ้าไม่มีสบู่ให้ใช้ขี้เถ้าหรือทรายแทน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    รักษามือให้สะอาด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    มือคือตัวนำเชื้อโรคสู่อาหาร บาดแผลและร่างกายคุณ ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดมือทุกครั้งหลังจากคุณทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    รักษาผมให้สะอาด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    เพื่อป้องกันเชื้อราและตัวกินเลือด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    รักษาเครื่องนุ่งห่มให้สะอาด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    เพื่อป้องกันโรคผิวหนัง เปลี่ยนชุดชั้นในและถุงเท้าทุกวัน ถ้าไม่มีน้ำให้สะบัดเพื่อผึ่งแดดผึ่งลม 2 ชั่วโมงและถ้าคุณมีถุงนอนให้กลับด้านและทำเหมือนกัน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    รักษาฟันให้สะอาด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละครั้ง ถ้าไม่มีแปรงสีฟันให้ใช้กิ่งไม้เล็กยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 เซ็นติเมตร แล้วใช้ฟันเคี้ยวที่ปลายไม้จนมันคลี่ออกจึงใช้แทนแปรงสีฟันหรือใช้ผ้าพันนิ้วมือแล้วถูฟัน ส่วนเกลือสามารถใช้แทนยาสีฟันและทำเป็นน้ำยาบ้วนปาก ใช้เชือกเล็กแทนไหมขัดฟัน ถ้าฟันคุณเป็นรูคุณสามารถรักษาชั่วคราวได้โดยการแคะเศษอาหารออกให้หมดและอุดรูด้วยเทียนไข ใบยาสูบ พริกไทยหรือยาสีฟันผง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    รักษาความสะอาดเท้า​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=22>
    ถ้าคุณมีหน้าขาวใสเด้งแต่เท้าเหม็นแสดงว่าคุณอาจมีปัญหาใหญ่ในการยังชีพแล้ว​
    ทหารรักษาดูแลเท้ายิ่งกว่าใบหน้าเพราะเท้าช่วยให้คุณได้ก้าวต่อไปและทำกิจกรรมอื่นได้ ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดเท้าทุกวัน รวมทั้งตัดเล็บ ทาแป้ง และตรวจสอบบาดแผลทุกวัน ถ้าเท้ามีปุ่มหรือพองอย่าตัดหนังออกเพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ ให้ปิดพลาสเตอร์แทนเพื่อลดแรงกดทับจนกว่ามันจะแตกแล้วจึงตัดหนังออกจากนั้นจึงทำการรักษาต่อไป ถ้าเป็นปุ่มหรือพองขนาดใหญ่ให้ใช้ด้ายร้อยเข็มที่สะอาดแล้วแทงร้อยผ่านไป เอาเข็มออกโดยให้ปลายด้ายทั้งสองคารูอยู่ มันจะเป็นตัวดูดซับน้ำออก วิธีนี้จะเป็นการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อจากการเปิดช่องแผลแต่อย่าลืมปิดพลาสเตอร์
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    พักผ่อนให้เพียงพอ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    คุณต้องพักบ้างโดยวางแผนการพักผ่อนอย่างน้อย 10 นาทีต่อชั่วโมงในระหว่างทำกิจกรรมประจำวันและควรฝึกให้เป็นคนนอนง่ายในทุกๆที่ มันจะทำให้แบตในตัวคุณมีใช้เรื่อยๆและไม่หมดง่ายๆ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    รักษาความสะอาดที่พัก​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    อย่าขับถ่ายของเสียในที่พักหรือบริเวณใกล้เคียง ถ้าไม่มีทางเลือกให้ใช้วิธีของแมวที่ขุดหย่อนแล้วกลบแต่อย่าทำบริเวณต้นน้ำที่คุณใช้บริโภค​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    การพยาบาลฉุกเฉิน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=10>
    ศึกษาหาความรู้ เข้าคอร์สอบรม ฝึกฝนในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฐมพยาบาล​
    ในเรื่องต่อไปนี้ ซึ่งผมจะกล่าวถึงอาการน่าสนใจใหญ่ๆเพื่อให้คุณศึกษาต่อเอาเอง จะมีรูปประกอบเล็กน้อยเพื่อจำไว้ใช้ในยามจำเป็น
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อาการและสาเหตุของการหายใจติดขัด การผายปอด ตามรูป 4-1​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    รูป 4-1​
    [​IMG]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=686><TBODY><TR><TD height=4>
    - อาการเสียเลือดมาก การห้ามเลือด ตามรูป 4-2 ถึง 4-4​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    เสียเลือด 1 ลิตร จะมีอาการเริ่มต้นช๊อก ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    เสียเลือด 2 ลิตร ช๊อกอย่างรุนแรง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    เสียเลือด 3 ลิตร เสียชีวิต ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    รูป 4-2
    [​IMG]

    รูป 4-3
    [​IMG]

    รูป 4-4
    [​IMG]

    รูป 4-5
    [​IMG]
    - อาการช็อก ตามรูป 4-5

    รูป 4-6
    [​IMG]
    - อาการบาดเจ็บที่กระดูกและข้อต่อ และการเข้าเฝือก ตามรูป 4-6

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=686><TBODY><TR><TD height=4>
    - อาการกระดูกเคลื่อนตัว​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อาการเคล็ด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อาการที่เกิดจากแมลงกัดต่อยและพาหะของโรค​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อาการที่เกิดจากงูพิษกัด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อาการที่เกิดเป็นบาดแผลชนิดต่างๆ ตามรูป 4-7​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    รูป 4-7
    [​IMG]

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=686><TBODY><TR><TD height=4>
    - อาการจากผิวหนังที่ติดเชื้อ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อาการจากแผลไฟไหม้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อาการเจ็บป่วยจากสภาพแวดล้อม​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อาการเป็นลม​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อาการไฮโปเทอเมีย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อาการท้องร่วง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อาการที่เกิดจากพยาธิในลำไส้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ส่งท้ายด้วยเรื่องของ "ยาสมุนไพร" (ภูมิปัญญาชาวบ้าน)​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=26>[COLOR=#ff0000][LEFT]ประเทศเรามีสมุนไพรมีค่ามากมายแต่เราเห็นมันตอนที่กลายเป็นเม็ดเสียแล้ว ถ้าคุณคลำย้อนกลับไปได้ถึงดอก ผล ยอด ใบ ต้นจนถึงราก ก็เหมือนกับคุณได้พบขุมทรัพย์ในดินสินในน้ำที่ธรรมชาติเก็บรักษาไว้ให้คุณพร้อมเพื่อใช้เสมอโดยไม่ต้องพึ่งเทคโนโลยีใดๆเลย สุดท้ายจริงๆผมขอแนะนำให้คุณหาซื้อคู่มือดีๆสักเล่มเกี่ยวกับเรื่องสมุนไพร การใช้ยาแผนปัจจุบันและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ศึกษาและเก็บมันไว้ให้ดีรวมไว้กับถุงยังชีพของคุณที่เปิดแล้วสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้เลย[/LEFT][/COLOR][LEFT][/left]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 4.1.JPG
      4.1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      29 KB
      เปิดดู:
      4,745
    • 4.2.JPG
      4.2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      32.9 KB
      เปิดดู:
      4,784
    • 4.3.JPG
      4.3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      15.8 KB
      เปิดดู:
      4,754
    • 4.4.JPG
      4.4.JPG
      ขนาดไฟล์:
      28.7 KB
      เปิดดู:
      4,736
    • 4.5.JPG
      4.5.JPG
      ขนาดไฟล์:
      37.9 KB
      เปิดดู:
      4,728
    • 4.6.JPG
      4.6.JPG
      ขนาดไฟล์:
      13.6 KB
      เปิดดู:
      4,711
    • 4.7.JPG
      4.7.JPG
      ขนาดไฟล์:
      6 KB
      เปิดดู:
      4,699
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ธันวาคม 2010
  6. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=686><TBODY><TR><TD height=4>
    ที่กำบัง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ที่กำบังช่วยป้องกันคุณจากแสงแดด ลม ฝน แมลง ความหนาวเย็น เป็นที่ที่ทำให้คุณรู้สึกว่าดีพอที่จะยังชีพได้และไม่ใกล้ไม่ไกลจากแหล่งอาหารและแหล่งน้ำ ถ้าคุณโตมากับธรรมชาติ เป็นคนลุยๆและซุกซนพอสมควร ประสบการณ์วันนั้นจะช่วยคุณได้ในวันนี้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    การดัดแปลงที่กำบังจากธรรมชาติช่วยคุณทุ่นแรงได้อย่างมาก ต้องมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรและดัดแปลง ขนาดที่กำบังไม่ควรใหญ่หรือเล็กจนเกินไปแต่ต้องเพียงพอในการคุ้มกันและให้ความอบอุ่นกับคุณได้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ที่กำบังอันดับแรก คือเสื้อผ้าของคุณเองซึ่งต้องเหมาะสมกับสภาพอากาศ หนาว ร้อน เปียกแฉะ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    การเลือกสถานที่ - ​
    สถานที่เหมาะสมโดยคำนึงถึง
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อุปกรณ์ของคุณในการทำที่กำบัง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ขนาดของที่กำบังต้องใหญ่เพียงพอสำหรับการนอนราบได้สบายๆ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ต้องมีทางหนีทีไล่ที่ดี​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เป็นที่เด่นชัดเพื่อเข้าถึงการช่วยเหลือ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ไม่มีอันตรายจากสัตว์หรือการล่วงตกหล่นของก้อนหิน ต้นไม้ กิ่งไม้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ไม่มีแมลง สัตว์เลื้อยคลาน ต้นไม้มีพิษ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ไม่ใช่บริเวณตีนเขาที่น้ำอาจท่วมฉับพลัน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - มีความสูงจากระดับน้ำสูงสุด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - มีแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เหมาะกับฤดูกาล หนาว ร้อน ฝน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ชนิดของที่กำบัง - ​
    คุณต้องพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้ก่อนที่จะสร้างที่กำบังให้ตัวเอง
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - คุณมีเวลาและพยายามมากแค่ไหน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - คุณมีเครื่องมือ อุปกรณ์ และทักษะในการดัดแปลงแค่ไหนg​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - คุณมีวัสดุอะไร​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ปัจจุบันมีอุปกรณ์ยังชีพมากมายสำหรับใช้แคมปิ้ง รวมทั้งเต้น ถุงนอน มุ้ง เปล ผ้าใบ ทุกอย่างสำเร็จรูปหมด แต่ถ้าคุณไม่มีอะไรเลยหรือมีจำกัด รูปภาพด้านล่างพอที่จะทำให้คุณมีแนวคิดเพื่อนำมาประยุกต์การทำที่กำบังจากธรรมชาติได้​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    รูปภาพ 5-1
    [​IMG]

    รูปภาพ 5-2
    [​IMG]

    รูปภาพ 5-3
    [​IMG]


    [SIZE=2][SIZE=3]รูปภาพ 5-4[/SIZE][/SIZE]
    [FONT=Arial][SIZE=3][IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1284588/[/IMG][/SIZE][/FONT]


    [FONT=Arial][B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=3]รูปภาพ 5-5[/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]
    [B][FONT=Arial][SIZE=3][IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1284589/[/IMG][/SIZE][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT]
    [FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]

    [CENTER][B][FONT=Arial][B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=3]รูปภาพ 5-6[/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]
    [B][FONT=Arial][SIZE=3][IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1284590/[/IMG][/SIZE][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT][/B][/CENTER][B][FONT=Arial][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]

    [CENTER][B][FONT=Arial][B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=3]รูปภาพ 5-7[/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]
    [B][FONT=Arial][SIZE=3][IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1284591/[/IMG][/SIZE][/FONT][/B]
    [B][FONT=Arial][B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=3][/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][/FONT][/B]
    [B][FONT=Arial][B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=3]รูปภาพ 5-8 การสร้างที่กำบังเหนือพื้น[/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]
    [B][FONT=Arial][SIZE=3][IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1284592/[/IMG][/SIZE][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT][/B][/CENTER][B][FONT=Arial][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2][B][FONT=Arial][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]

    [CENTER][B][FONT=Arial][B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=3][/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][/FONT][/B]
    [B][FONT=Arial][B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=3]รูปภาพ 5-9 การสร้างที่กำบังเพื่อพักและก่อไฟ[/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]
    [B][FONT=Arial][SIZE=3][IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1284593/[/IMG][/SIZE][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT][/B][/CENTER][B][FONT=Arial][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]

    [CENTER][B][FONT=Arial][B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=3][/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][/FONT][/B]
    [B][FONT=Arial][B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=3]รูปภาพ 5-10 การสร้างที่กำบังในที่แฉะ[/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]
    [B][FONT=Arial][SIZE=3][IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1284594/[/IMG][/SIZE][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT][/B][/CENTER][B][FONT=Arial][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]

    [CENTER][B][FONT=Arial][B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=3][/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][/FONT][/B]
    [B][FONT=Arial][B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=3]รูปภาพ 5-11 การสร้างที่กำบังจากเศษกิ่งไม้[/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]
    [B][FONT=Arial][SIZE=3][IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1284595/[/IMG][/SIZE][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT][/B][/CENTER][B][FONT=Arial][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]

    [CENTER][B][FONT=Arial][B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=3][/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][/FONT][/B]
    [B][FONT=Arial][B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=3]รูปภาพ 5-12 การสร้างที่กำบังในหิมะ[/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]
    [B][FONT=Arial][SIZE=3][IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1284596/[/IMG][/SIZE][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT][/B][/CENTER][B][FONT=Arial][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]

    [CENTER][B][FONT=Arial][B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=3][/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][/FONT][/B]
    [B][FONT=Arial][B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=3]รูปภาพ 5-13 การสร้างที่กำบังบริเวณหาดทราย[/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]
    [B][FONT=Arial][SIZE=3][IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1284597/[/IMG][/SIZE][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT][/B][/CENTER][B][FONT=Arial][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]

    [CENTER][B][FONT=Arial][B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=3][/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][/FONT][/B]
    [B][FONT=Arial][B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=3]รูปภาพ 5-14 การสร้างที่กำบังในทะเลทราย (ใต้พื้น) [/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]
    [B][FONT=Arial][SIZE=3][IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1284598/[/IMG][/SIZE][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT][/B][/CENTER][B][FONT=Arial][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]

    [CENTER][B][FONT=Arial][B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=3][/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][/FONT][/B]
    [B][FONT=Arial][B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=3]รูปภาพ 5-15 การสร้างที่กำบังในทะเลทราย (บนพื้น)[/SIZE][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]
    [B][FONT=Arial][IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1284599/[/IMG][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT][/B][/CENTER][B][FONT=Arial][FONT=Arial][SIZE=2][SIZE=2]
    [/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT][/FONT][/B][/SIZE][/SIZE][/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 5-1.JPG
      5-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      19.2 KB
      เปิดดู:
      4,586
    • 5-2.JPG
      5-2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      17.6 KB
      เปิดดู:
      4,608
    • 5-3.JPG
      5-3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      22 KB
      เปิดดู:
      4,581
    • 5-4.JPG
      5-4.JPG
      ขนาดไฟล์:
      35.2 KB
      เปิดดู:
      4,113
    • 5-5.JPG
      5-5.JPG
      ขนาดไฟล์:
      10.7 KB
      เปิดดู:
      4,119
    • 5-6.JPG
      5-6.JPG
      ขนาดไฟล์:
      18.3 KB
      เปิดดู:
      4,090
    • 5-7.JPG
      5-7.JPG
      ขนาดไฟล์:
      13 KB
      เปิดดู:
      4,094
    • 5-8.JPG
      5-8.JPG
      ขนาดไฟล์:
      44.1 KB
      เปิดดู:
      4,084
    • 5--9.JPG
      5--9.JPG
      ขนาดไฟล์:
      22.6 KB
      เปิดดู:
      4,081
    • 5-10.JPG
      5-10.JPG
      ขนาดไฟล์:
      18.9 KB
      เปิดดู:
      4,079
    • 5-11.JPG
      5-11.JPG
      ขนาดไฟล์:
      36.3 KB
      เปิดดู:
      4,070
    • 5-12.JPG
      5-12.JPG
      ขนาดไฟล์:
      32.6 KB
      เปิดดู:
      4,069
    • 5-13.JPG
      5-13.JPG
      ขนาดไฟล์:
      16.6 KB
      เปิดดู:
      4,060
    • 5-14.JPG
      5-14.JPG
      ขนาดไฟล์:
      44 KB
      เปิดดู:
      4,046
    • 5-15.JPG
      5-15.JPG
      ขนาดไฟล์:
      25.7 KB
      เปิดดู:
      4,049
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2010
  7. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    การหาน้ำ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=18>
    แม้ในที่ที่มีอากาศหนาวเย็นเรายังต้องการน้ำอย่างน้อย 2 ลิตรต่อวันเพื่อรักษาร่างกายให้ปกติ ส่วนในที่อากาศร้อนร่างกายจะสูญเสียน้ำทางเหงื่อมากกว่าปกติ ร่างกายอยู่ได้ไม่นานถ้าขาดน้ำ มันจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นต่อการยังชีพของคุณ ร่างกายประกอบด้วยน้ำมากกว่าสามในสี่และสูญเสียน้ำออกจากร่างกายเนื่องจากความร้อน หนาว เครียดและการตรากตรำทำงาน หลักง่ายๆคือคุณต้องทดแทนน้ำในร่างกายที่เสียไปอย่างสมดุลย์ ​
    ประตูชัยอันดับต้นๆของการยังชีพคือการหาน้ำให้ได้พอเพียงต่อความต้องการของร่างกาย
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    แหล่งน้ำ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    น้ำมีอยุ่ในสภาพแวดล้อมส่วนใหญ่ จะมากหรือน้อยแล้วแต่สภาพในที่นั้นๆ คุณสามารถหาน้ำได้จากสภาพแวดล้อมต่างๆดังนี้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    หมายเหตุ​
    : ถ้าคุณไม่มีภาชนะใส่ รองน้ำ ใช้พลาสติกหรือผ้าใบดัดแปลงแทน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    [​IMG]
    [​IMG]

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    อย่าดื่มสิ่งต่อไปนี้แทนน้ำ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะทำให้ร่างกายเกิดอาการขาดน้ำและอาจถึงแก่ชีวิต​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ปัสสาวะเพราะมีของเสียที่ร่างกายขับออกมามีเกลือ 2%​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เลือดถือเป็นอาหารที่ต้องการย่อยซึ่งร่างกายจะขับน้ำออกมาช่วยย่อยทำให้ยิ่งสูญเสียน้ำมากยิ่งขึ้นและอาจนำไปสู่การติดเชื้อถ้าเลือดไม่สะอาด​
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    - น้ำทะเลมีเกลือ 4% ถ้าคุณดื่มน้ำทะเล 1 ลิตร ร่างกายจะต้องเสียน้ำ 2 ลิตรเพื่อขจัดของเสียออก ฉะนั้นยิ่งคุณดื่มน้ำทะเลคุณยิ่งเสียน้ำในร่างกายและนำไปสู่การเสียชีวิตได้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ถ้าแหล่งน้ำที่พบไม่น่าไว้วางใจอย่าพึ่งถอดใจ ให้รอเวลาที่เหมาะสมแล้วธรรมชาติจะช่วยคุณ ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    - น้ำค้างคือน้ำใช้ดื่มได้ โดยให้ใช้ผ้าพันรอบเข่าและเดินบนหญ้าที่มีน้ำค้างเกาะก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ผ้าจะซับน้ำให้บิดน้ำใส่ภาชนะเก็บไว้ใช้ ทำไปเรื่อยๆจนน้ำค้างหมดไป ชนพื้นเมืองชาวออสเตรเลียเก็บน้ำจากวิธีนี้ได้ถึง 1 ลิตรต่อชั่วโมง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - โพรงไม้ที่มีผึ้งและมดเข้าไปแสดงว่ามีน้ำขังอยู่ ใช้สายยางทำกาลักน้ำหรือใช้ผ้าชุบและบิดน้ำเก็บไว้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - บางครั้งคุณจะพบน้ำขังตามซอก กิ่งไม้ หรือซอกหิน สามารถใช้วิธีเดียวกับข้างบน หรือสังเกตนกที่บินเข้าออกตามซอกหินแสดงว่ามีน้ำขังอยู่​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ต้นไผ่ เป็นแหล่งน้ำที่ดีเยี่ยมเพราะสะอาดและไม่มีกลิ่น ทำตามรูป น้ำจะไหลลงมาเวลากลางคืน​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    รูป 6-1​
    [​IMG]

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    - ต้นกล้วย ตัดต้นกล้วยให้สูงจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตรและเจาะเป็นหลุมดังรูปเพื่อดักน้ำ คุณจะได้น้ำในทันทีจนเต็มหลุม 3 ครั้งแรกจะมีรสขมแต่หลังจากนั้นจะรับได้ มันจะให้น้ำคุณใช้ได้ถึง 4 วัน ในระหว่างนั้นให้ใช้ผ้าคลุมเพื่อป้องกันแมลงหรือสิ่งแปลกปลอมตกลงไป​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    รูป 6-2
    [​IMG]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    - ต้นมะพร้าว ต้นตาลหรืออื่นๆเช่นสัปปะรด ผลไม้นานาชนิด เป็นพืชที่คนไทยคุ้นเคยอยู่แล้ว ทั้งนี้อยู่ที่ว่าคุณจะกินมันได้อย่างไรและสามารถให้มันอยู่เพื่อรับใช้คุณได้นานแค่ไหน​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    รูป 6-3
    [​IMG]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    - ตามซอกใบไม้เช่นก้านกล้วย ก้านมะพร้าวเป็นที่กักน้ำฝนตามธรรมชาติ อย่าลืมทำให้สะอาดก่อนดื่ม​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ข้อระวัง - ​
    น้ำผลไม้ถ้าเก็บไว้เกิน 24 ชั่วโมง มันจะหมักตัวเองกลายเป็นแอลกอฮอล์
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    กับดักน้ำ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    คุณสามารถทำกับดักน้ำได้ทุกที่ในโลกนี้ หลักการคือดักเอาความชื้นจากพื้นดินหรือใบไม้แล้วเปลี่ยนให้เป็นหยดน้ำ คุณต้องอดทนรอใน 24 ชั่วโมง แล้วคุณจะกักน้ำได้ 0.5-1 ลิตรด้วยวิธีนี้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    กับดักน้ำบนพื้น​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    นำใบไม้ใส่ถุงพลาสติกประมาณเศษสามส่วนสี่ แล้วใส่ก้อนหินลงไป เป่าถุงให้พอง เอาสายยางมาสอดที่ปากถุงแล้วรัดให้แน่น สายยางต้องปิดที่ปลายเพื่อกันความชื้นและอากาศรั่วออก อย่าให้ถุงขาดเพราะความชื้นจะรั่วออกไป วางถุงบนพื้นลาดเอียงตากแดดให้ปากถุงและหินในถุงอยู่ในที่ต่ำ ไอน้ำจากใบไม้เมื่อกระทบความเย็นของหินจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำและสะสมบริเวณปากถุง เอาน้ำออกจากถุงโดยผ่านทางสายยางที่ปากถุง หลังจากนั้นมัดสายยางให้แน่นเหมือนเดิม​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ข้อระวัง - ​
    อย่าเอาใบไม้ที่มีพิษใส่ลงไป เปลี่ยนใบไม้ในถุงเมื่อได้น้ำน้อยลง ตามรูป 6-4
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    รูป 6-4
    [​IMG]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=18>
    หลักการเดียวกันแต่วิธีนี้คุณใช้ถุงพลาสติกคลุมกิ่งไม้ที่มีใบหนาแล้วรัดให้แน่นกันความชื้นและอากาศรั่วออก ตามรูป 6-5 โน้มกิ่งให้ต่ำลงมาเพื่อให้สะดวกในการเก็บน้ำที่สะสมอยู่ที่ก้นถุง อย่าลืมใส่ก้อนหินลงในถุงเพื่อช่วยการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำและเจาะสอดสายยางที่ก้นถุงเพื่อใช้ในการถ่ายน้ำออก เมื่อคุณเก็บน้ำแต่ละครั้งอย่าลืมมัดสายยางให้แน่นเพื่อกันอากาศและความชื้นรั่วออก วิธีนี้ใช้ได้ 3-5 วัน โดยต้นไม้ไม่เสียหาย มันจะคืนสภาพเองในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเมื่อคุณเอาถุงออกแล้วเปลี่ยนกิ่งใหม่ไปเรื่อยๆ เลือกกิ่งที่มีใบหนาดก​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    รูป 6-5​
    [​IMG]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    กับดักน้ำใต้ดิน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    อุปกรณ์ที่ใช้มีแผ่นพลาสติกใส ที่รองน้ำ สายยาง ที่ขุดดิน โดยเลือกบริเวณที่ดินชุ่มน้ำ เป็นที่ลุ่มต่ำ ผิวดินขุดง่ายและแสงอาทิตย์ส่องถึงได้ตลอดวัน วิธีทำ ตามรูป 6-6​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    รูป 6-6​
    [​IMG]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    - ขุดหลุมกว้าง 1 เมตร ลึก 60 เซนติเมตร ส่วนที่ก้นหลุมขนาดขึ้นอยู่กับภาชนะที่คุณมีไว้ใช้รองน้ำและเป็นที่ตั้งที่มั่นคงไม่ให้ล้ม​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - หย่อนสายยางลงที่ก้นภาชนะให้ปลายอีกข้างพ้นเหนือหลุมขึ้นมา ปิดปลายนี้เพื่อไม่ให้สิ่งแปลกปลอมตกลงไปและไม่ให้ความชื้นรั่วไหลออก​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - คลุมหลุมด้วยแผ่นพลาสติก ใช้ดินยาขอบรอบๆ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - วางหินลงบนกลางพลาสติก​
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    - ปล่อยพลาสติกให้หย่อนลงไปในหลุมประมาณ 40 เซนติเมตรเป็นลักษณะรูปกรวยที่มีหินเป็นจุดต่ำสุดและตรงเป็นแนวดิ่งกับภาชนะรองน้ำ อย่าให้ส่วนที่เป็นรูปกรวยแตะข้างหลุมไม่เช่นนั้นน้ำจะซึมลงดินแทนที่จะไหลมารวมกันที่ปลายสุดและตกลงภาชนะ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ใช้ดินยารอบขอบให้แน่นหนาเพื่อกันพลาสตกหลุดและไม่ให้เสียความชื้นออกนอกระบบ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ความชื้นจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเกาะพลาสติกและไหลมารวมกันตกไปในภาชนะที่รองไว้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ดูดน้ำกินจากสายยางแล้วอุดปลายดังเดิม ไม่ต้องรื้อเอาพลาสติกออก​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ถ้าต้องการเพิ่มปริมาณน้ำให้ขุดหลุมให้กว้างขึ้นด้านข้างๆแล้วใส่ใบไม้ลงไป จากนั้นทำเหมือนดังกล่าวข้างบน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    ถ้าคุณหาใบไม้ไม่ได้ มีแต่น้ำเสียใกล้ๆ คุณสามารถเพิ่มความชื้นให้กับดักน้ำได้โดยขุดหลุมเล็กอีกหนึ่งหลุม ห่างจากขอบพลาสติก 25 เซนติเมตร ลึก 25เซนติเมตร กว้าง 8 เซนติเมตร ดังรูป 6-7 แล้วเทน้ำเสียลงในหลุมแต่อย่าให้ล้นจนถึงขอบด้านที่ทับรอบๆพลาสติก หลุมนี้จะช่วยกรองน้ำเสียก่อนซึมไปหากับดักน้ำ ระเหยเป็นความชื้นแล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำที่ผิวพลาสติก และไหลรวมกันลงสู่ภาชนะกรอง วิธีนี้ใช้ได้เป็นอย่างดีเมื่อรอบๆคุณมีแต่น้ำทะเล ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    รูป 6-7​
    [​IMG]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    คุณต้องทำกับดักน้ำอย่างน้อย 3 แห่งเพื่อให้ได้น้ำเพียงพอกับความต้องการของร่างกายเทียบกับวิธีต่างๆแล้ววิธีตามรูป 6.4, 6.5 จะให้ผลดีที่สุด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    การทำน้ำให้สะอาด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    น้ำที่ได้จากต้นไม้สามารถใช้ดื่มได้แต่น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติอื่นๆเช่นทะเลสาบ คลอง หนอง บึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใกล้กับถิ่นฐานมนุษย์ต้องทำให้สะอาดก่อน ถ้าทำได้ให้คุณนำน้ำที่ได้จากกับดักน้ำทำให้บริสุทธิ์ก่อนโดยการต้ม ใช้ไอโอดีนหรือคลอรีน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    วิธีทำน้ำให้สะอาด​
    มีหลายวิธีดังต่อไปนี้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    1. ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน 2% 5 หยดสำหรับน้ำใส 10 หยดถ้าน้ำเย็นหรือขุ่น จากนั้นทิ้งไว้ 30 นาทีก่อนดื่ม​
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    2. ใช้โปไวดอนไอโอดีน 10% หรือไตรเตทโปไลดอนไอโอดีน 1% 2 หยด จากนั้นทิ้งไว้ 30 นาที ถ้าน้ำเย็นหรือขุ่นให้ทิ้งไว้ 60 นาที ถ้าเย็นมากและขุ่นมากใช้ 4 หยดและทิ้งไว้ 60 นาที​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    3. คลอรีน(5.25% โซเดียมไฮโปคลอไรด์) 2 หยด จากนั้นทิ้งไว้ 30 นาที ถ้าน้ำเย็นหรือขุ่นทิ้งไว้ 60 นาที​
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    4. ใช้โปแตสเซียมเปอร์แมงกานีส(ด่างทับทิม) สำหรับทำความสะอาดทั่วไปรวมทั้งฆ่าเชื้อโรคในน้ำเวลาฉุกเฉิน ขนาดที่ใช้ให้สังเกตจากสีของน้ำ ใส่ 3 เกล็ดต่อน้ำ 1 ลิตรทิ้งไว้ 30 นาที ถ้าน้ำเป็นสีชมพูใสถือว่าใช้ได้แต่ถ้าน้ำเป็นสีชมพูเข้มแสดงว่าใส่มากไปจะไม่สามารถดื่มได้จะต้องเจือจางโดยเพิ่มน้ำลงไปอีก นอกจากนี้โปแตสเซียมเปอร์แมงกานีส(ด่างทับทิม)ยังใช้เป็นยาฆ่าเชื้อได้ด้วย ถ้าสีของน้ำแดงเข้มก็ยิ่งดื่มไม่ได้แต่คุณใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคได้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    5. ต้มน้ำให้เดือดคือวิธีที่ปลอดภัยมากที่สุด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    การดื่มน้ำไม่สะอาดทำให้ท้องเสีย การใช้สารเคมีดังกล่าวข้างต้นไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ 100% ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการต้มน้ำให้เดือด และคุณควรมีมีกระติกน้ำติดตัวไว้ใช้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    อาการติดเชื้อจากน้ำดื่ม​
    ได้แก่ ถ่ายเป็นเลือด ไข้ขึ้น หมดแรง ถ่ายเป็นน้ำ อาเจียน ขาเป็นตะคริว ปวดศรีษะ ไม่อยากอาหารและปวดท้อง นอกจากนี้ยังมีพวกพยาธิ ทาส ปลิงที่จะทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกายได้อีกด้วย
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    เครื่องกรองน้ำ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ถ้าน้ำที่หาได้เป็นโคลนและมีกลิ่น ก่อนต้มควรกรองก่อนโดยใส่ในภาชนะให้ตกตะกอน 12 ชั่วโมง แล้วรินน้ำใส่เครื่องกรองน้ำ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    รูป 6-8 สาธิตการทำเครื่องกรองน้ำด้วยตัวเองด้วยการใช้สารกรองจากธรรมชาติวางเป็นชั้นๆเช่น ทราย เศษหิน ถ่าน ใยไผ่ เศษผ้า​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    รูป 6-8​
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • untitled.JPG
      untitled.JPG
      ขนาดไฟล์:
      36.1 KB
      เปิดดู:
      4,552
    • untitled2.JPG
      untitled2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      19.9 KB
      เปิดดู:
      4,449
    • 6-1.JPG
      6-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      23.5 KB
      เปิดดู:
      4,469
    • 6-2.JPG
      6-2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      32.6 KB
      เปิดดู:
      4,404
    • 6-3.JPG
      6-3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      19.8 KB
      เปิดดู:
      4,423
    • 6-4.JPG
      6-4.JPG
      ขนาดไฟล์:
      31.7 KB
      เปิดดู:
      4,452
    • 6-5.JPG
      6-5.JPG
      ขนาดไฟล์:
      25.1 KB
      เปิดดู:
      4,442
    • 6-6.JPG
      6-6.JPG
      ขนาดไฟล์:
      25.4 KB
      เปิดดู:
      4,408
    • 6-7.JPG
      6-7.JPG
      ขนาดไฟล์:
      22.5 KB
      เปิดดู:
      4,421
    • 6-8.JPG
      6-8.JPG
      ขนาดไฟล์:
      20.8 KB
      เปิดดู:
      4,408
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2010
  8. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    การก่อไฟ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=20>
    ในหลายสถานการณ์ของการยังชีพความสามารถในการก่อไฟเป็นตัวตัดสินความเป็นความตายของคุณ นอกจากไฟจะใช้ปรุงอาหารและให้ความอบอุ่นแล้วยังช่วยคุณประหยัดพลังงานในร่างกาย ใช้ต้มน้ำดื่ม ฆ่าเชื้อโรค ทำสัญญาณขอความช่วยเหลือ ป้องกันสัตว์ร้ายและใช้ทำเครื่องมือต่างๆ รวมทั้ง​
    มีผลต่อจิตใจคุณในคืนที่มืดมิดเพราะไฟทำให้คุณลดความกลัวและรู้สึกอบอุ่นสงบทางใจ แต่การก่อไฟก็สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นกันจากความร้อนและก๊าซพิษซึ่งหมายถึงก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์นั่นเอง
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    สามเหลี่ยมไฟ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    คือเชื้อเพลิง อากาศ และความร้อนด้วยสัดส่วนที่เหมาะสม ไฟจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไป สัดส่วนที่เหมาะสมอย่างไรคุณจะทราบได้ก็ต่อเมื่อลงมือฝึกฝนและปฏิบัติด้วยตนเอง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    การเลือกสถานที่และเตรียมการก่อไฟ - ​
    ให้พิจารณาถึงเรื่องต่างๆดังต่อไปนี้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - สภาพแวดล้อม (ฝน ฟ้า ลม)​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - วัสดุอุปกรณ์ติดตัว​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ความถี่ในการใช้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เหตุผลที่ต้องใช้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ความปลอดภัย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - บริเวณป้องลม​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - มีความเหมาะสมกับที่กำบังคุณหรือไม่​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ทั้งนี้ควรตรวจสอบเชื้อเพลิงจากธรรมชาติที่คุณหาได้และเคลียพื้นที่เพื่อป้องกันไฟลุกลามก่อนก่อไฟ ยิ่งถ้าหากมีเวลาสร้างกำแพงไฟเพื่อใช้บังลมซึ่งอาจทำเป็นแบบตรงหรือเป็นตัวแอล ตามรูป 7-1 ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    รูป 7-1
    [​IMG]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    เตาหลุม​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    เป็นหนึ่งในวิธีการก่อไฟที่มีประโยชน์มาก นอกจากใช้หุงอาหารแล้วยังสามารถป้องกันการลุกลามของไฟได้ด้วย วิธีทำดังนี้(ตามรูป 7-2)​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ขุดหลุมเตา​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ขุดท่อลมด้านเหนือของลมเตา ท่อนี้จะเป็นตัวดักลมให้เข้าเตา​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    รูป 7-2
    [​IMG]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ถ้าคุณอยู่ในที่ชื้อแฉะให้ทำฐานบนพื้นก่อนแล้วค่อยก่อไฟ ดังรูป 7-3​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    รูป 7-3
    [​IMG]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    เชื้อเพลิงจากธรรมชาติ ​
    ได้แก่
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - หญ้าแห้ง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เศษไม้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - กิ่งไม้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ไขมัน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ถ่านไม้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    เชื้อเพลิงที่ใช้มี 3 ระดับตามความยากง่ายในการติดไฟ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ระดับที่ 1 - ง่ายต่อการติดไฟด้วยประกายไฟเพียงเล็กน้อย เช่นนุ่น เศษไม้เล็กๆ เยื่อไม้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ระดับที่ 2 - ง่ายต่อการติดไฟรองจากระดับที่ 1 ควรเป็นวัสดุแห้ง เผาไหม้เร็ว เช่น เศษไม้แห้งเล็กๆ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ระดับที่ 3 - ง่ายต่อการติดไฟรองจากระดับที่ 2 จะเผาไหม้ช้าและนานเพื่อให้ความร้อนต่อเนื่อง เช่นท่อนฟืน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [CENTER][SIZE=3]รูป 7-4[/SIZE]
    [IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1284984/[/IMG]
    [IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1284985/[/IMG][/CENTER]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]การก่อไฟ - [/LEFT][/FONT][/FONT][/B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][FONT=Arial][FONT=Arial]มีการก่อไฟหลายวิธีและมีประโยชน์ที่แตกต่างกันไปตาม ดังรูป 7-5[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [SIZE=3][/SIZE]
    [B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][CENTER][SIZE=3]รูป 7-5[/SIZE]
    [IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1284986/[/IMG][/CENTER]
    [SIZE=3][/SIZE]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][U][FONT=Arial][FONT=Arial]แบบที่ 1[/FONT][/FONT][/U][FONT=Arial][FONT=Arial][/FONT][/FONT][FONT=Arial][FONT=Arial] - ใช้จุดไฟจากตรงกลางข้างในฟืนจะล้มเข้าตรงกลางทำให้ไฟติดตลอดเวลา วิธีนี้ใช้ได้แม้เป็นฟืนที่เป็นไม้สด[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][U][FONT=Arial][FONT=Arial]แบบที่ 2[/FONT][/FONT][/U][FONT=Arial][FONT=Arial][/FONT][/FONT][FONT=Arial][FONT=Arial] - ฝังไม้สดด้านในโดยทำมุม 30 องศา โดยให้ปลายชี้ไปทางที่ทวนลม เวลาจุดไฟให้จุดจากด้านในสุด[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][U][FONT=Arial][FONT=Arial]แบบที่ 3[/FONT][/FONT][/U][FONT=Arial][FONT=Arial][/FONT][/FONT][FONT=Arial][FONT=Arial] - ขุดรางเป็นรูปกากบาทยาวด้านละ 30 เซนติเมตร ลึก 7.5 เซนติเมตรแล้วก่อไฟที่ตรงกลาง รางนี้เป็นช่องอากาศช่วยในการลุกไหม้[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][U][FONT=Arial][FONT=Arial]แบบที่ 4[/FONT][/FONT][/U][FONT=Arial][FONT=Arial][/FONT][/FONT][FONT=Arial][FONT=Arial] - เรียงฝืนตามรูปและให้จุดไฟให้ไหม้จากข้างบน ไฟจะค่อยๆลามจากข้างบนลงข้างล่าง ใช้เวลานอนเพราะไม่ต้องสุมฟืนตลอดเวลา[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]นอกจากวิธีที่ได้กล่าวไปแล้วยังมีวิธีก่อไฟอีกหลายแบบตามแต่ภูมิปัญญาของแต่ละที่แต่ละคน สามารถนำเป็นแบบอย่างและทดลองปฏิบัติเพื่อเป็นประสบการณ์ให้ตัวคุณเอง[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]การจุดไฟ - [/LEFT][/FONT][/FONT][/B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][FONT=Arial][FONT=Arial]ให้ทำที่เหนือลม โดยอุปกรณ์จุดไฟได้แก่ ไม้ขีด ไฟแช็ค เลนส์นูน[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]เลนส์นูน[/LEFT][/FONT][/FONT][/U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][FONT=Arial][FONT=Arial] - ได้จากกล้องส่องทางไกล กล้องถ่ายรูป แว่นตา แว่นขยาย เป็นอุปกรณ์จุดไฟที่ไม่สิ้นเปลืองแต่ใช้ได้เฉพาะเวลาที่มีแสงอาทิตย์ (ดูรูป 7-6)[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [SIZE=3][/SIZE]
    [B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][CENTER][SIZE=3]รูป 7-6[/SIZE]
    [IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1284987/[/IMG][/CENTER]
    [SIZE=3][/SIZE]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>[U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]แบตเตอรี่[/LEFT][/FONT][/FONT][/U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][FONT=Arial][FONT=Arial] - โดยการต่อสายลัดวงจรให้เป็นประกายไฟ[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ไม้ขีด ไฟแช็ค[/LEFT][/FONT][/FONT][/U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][FONT=Arial][FONT=Arial] - เป็นของสิ้นเปลืองในยามที่มีอยู่จำกัด แต่คุณต้องรู้จักใช้และรักษาให้ดี เช่นเก็บในถุงกันน้ำเพื่อใช้ในเวลาที่เลนส์นูนใช้ติดไฟไม่ได้[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[B][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][LEFT]การยังชีพที่ดีต้องมีการบริหารที่ดีทั้งวัสดุ อุปกรณ์ ของใช้และของบริโภคต่างๆต้องมีการวางแผนและมีระเบียบวินัยต่อตัวเองสูง[/LEFT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/B][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][LEFT][/left][/COLOR][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/COLOR][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/COLOR][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]การจุดไฟแบบโบราณ - [/LEFT][/FONT][/FONT][/B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][FONT=Arial][FONT=Arial]คุณสามารถทำได้เพียงแต่ต้องใช้เวลาและความอดทน รวมถึงการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความมั่นใจ[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- [/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][U][FONT=Arial][FONT=Arial]หินเหล็กไฟ[/FONT][/FONT][/U][FONT=Arial][FONT=Arial][/FONT][/FONT][FONT=Arial][FONT=Arial] ใช้หินเหล็กไฟตีกับเหล็กทำให้เกิดประกาย คุณต้องจัดเชื้อเพลิงที่ง่ายต่อการติดไฟระดับที่ 1 จากนั้นจึงให้ไหม้ต่อที่ระดับ 2 และ 3 ต่อไป[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- [/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][U][FONT=Arial][FONT=Arial]แบบการเสียดสี[/FONT][/FONT][/U][FONT=Arial][FONT=Arial][/FONT][/FONT][FONT=Arial][FONT=Arial] เลือกใช้ไม้เนื้ออ่อนและแห้งแซะให้เป็นร่องแล้วใช้ไม้เนื้อแข็ง ปลายทู่และไม่แหลมไสขึ้นลง ทำให้เศษไม้เล็กๆหลุดออกมาระหว่างการไส จากนั้นออกแรงมากขึ้นในแต่ละครั้ง แรงเสียดสีจะทำให้เศษไม้เล็กๆติดลุกเป็นไฟ ตามรูป 7-7[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [SIZE=3][/SIZE]
    [B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][CENTER][SIZE=3]รูป 7-7[/SIZE]
    [SIZE=3][IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1284988/[/IMG][/SIZE][/CENTER]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=29>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- [/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][U][FONT=Arial][FONT=Arial]แบบศรธนู[/FONT][/FONT][/U][FONT=Arial][FONT=Arial][/FONT][/FONT][FONT=Arial][FONT=Arial] เป็นวิธีง่ายแต่คุณต้องมีความพยายามและความอดทนอย่างคงที่ ส่วนประกอบคือที่รองมือจะเป็นหินหรือไม้ก็ได้ที่มีรูสำหรับให้มือกดและรองลูกธนูได้ ลูกศรต้องเป็นไม้เนื้อแข็ง เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร ยาว 10 เซนติเมตร ปลายบนมน-ปลายล่างแหลมทู่ แผ่นไฟควรเป็นไม้เนื้ออ่อนหนา 2.5 เซนติเมตร กว้าง 10 เซนติเมตร ให้ตัดให้เป็นหลุมประมาณ 2 เซนติเมตร จากขอบข้างใดข้างหนึ่งและข้างล่างตัดเป็นรูปตัววีจากขอบไม้จนถึงหลุม ธนูให้ทำจากไม้และขึงเชือกธนูให้ดึง ตามรูป 7-8 วิธีการจุดไฟให้วางเชื้อเพลิงระดับที่ 1 ใต้รอยตัดตัววี พันลูกศรเข้ากับธนูแล้วปั่นบนหลุมที่แผ่นไฟ เมื่อทุกอย่างทำได้ราบรื่นให้คุณเพิ่มแรงกดบนที่รองมือและปั่นให้เร็วขึ้น แรงเสียดสีทำให้เกิดความร้อนจนทำให้เชื้อเพลิงติดไฟ [/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [SIZE=3][/SIZE]
    [B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][CENTER][SIZE=3]รูป 7-8[/SIZE]
    [IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1284989/[/IMG][/CENTER]
    [/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 7-1.JPG
      7-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      29.3 KB
      เปิดดู:
      4,360
    • 7-2.JPG
      7-2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      34.1 KB
      เปิดดู:
      4,381
    • 7-3.JPG
      7-3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      11.2 KB
      เปิดดู:
      4,356
    • 7-4.JPG
      7-4.JPG
      ขนาดไฟล์:
      25.9 KB
      เปิดดู:
      3,906
    • 7-5.JPG
      7-5.JPG
      ขนาดไฟล์:
      24.2 KB
      เปิดดู:
      3,881
    • 7-5...JPG
      7-5...JPG
      ขนาดไฟล์:
      29.1 KB
      เปิดดู:
      3,887
    • 7-6.JPG
      7-6.JPG
      ขนาดไฟล์:
      10.4 KB
      เปิดดู:
      3,880
    • 7-7.JPG
      7-7.JPG
      ขนาดไฟล์:
      23.5 KB
      เปิดดู:
      3,865
    • 7-8.JPG
      7-8.JPG
      ขนาดไฟล์:
      24 KB
      เปิดดู:
      3,892
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2010
  9. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    พืชเพื่อการยังชีพ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=18>
    หลังจากคุณหาน้ำและสร้างที่กำบังได้แล้วต่อไปก็คือการหาอาหาร ​
    เมืองไทยเป็นประเทศกสิกรรมมีผลหมากรากไม้และอาหารอุดมสมบูรณ์ ตราบใดที่เรารักษาคุณค่านี้ไว้ตราบนั้นผมเชื่อว่าเราไม่มีวันอดตาย คุณอยู่โดยไม่มีเทคโนโลยีได้แต่คุณอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีอาหาร พืชจึงถือเป็นแหล่งอาหารที่หาได้ง่ายและใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากพืชสวน ไร่และนายังมีอย่างอื่นอีกมากมายที่เราสามารถนำมาเป็นอาหารได้จากพืชโดยเฉพาะขณะยังชีพในช่วงที่อาหารขัดสนและคุณต้องกินเพื่ออยู่
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    มีพืชหลายชนิดมากมายที่เราไม่รู้ว่ากินได้ จาก​
    ภูมิปัญญาชาวบ้านและการศึกษาหาความรู้มากเท่าที่จะมากได้คุณจะได้ทราบถึงประโยชน์มหาศาลว่านอกจากพืชใช้เป็นอาหารแล้วบางชนิดยังสามารถนำมาใช้รักษาโรค ใช้เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ยังชีพได้อีกด้วย และในทางตรงกันข้ามก็มีโทษคือพืขที่เป็นพิษหากไม่รู้จริงหรือคาดการณ์ไม่ถึง
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    พืชที่ทานได้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    คำเตือน​
    - จุดสำคัญคือต้องรู้แน่ชัดและมั่นใจก่อนว่าอะไรทานได้และอะไรทานไม่ได้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    มีพืชนานับชนิดที่ทานได้จนไม่สามารถบรรยายได้หมด แต่ในยามที่คุณจนอับจริงๆไม่รู้ว่าอะไรคืออะไร ต่อไปนี้คือวิธีที่จะช่วยให้คุณทดสอบ พิจารณาและตัดสินว่าชนิดไหนทานได้หรือไม่และชนิดไหนควรหลีกเลี่ยง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ข้อพิจารณา​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ให้สัณนิษฐานว่าพืชผลที่ขึ้นตามบ้าน ข้างถนนมียาฆ่าแมลงจะต้องล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนบริโภค​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - พืชผลที่ขึ้นในน้ำเน่าเสียจะมีเชื้อโรคเกาะอยู่ตามก้านและใบ จะต้องต้มให้สะอาดก่อนบริโภค เช่นสาหร่าย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อย่าทานพืชผลที่มีร่องรอยของเชื้อราหรือเน่าเสีย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    คำเตือน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - บางคนอาจจะมีกรดในกระเพาะสูงจากการทานพืชผลบางอย่าง ในขณะที่บางคนสามารถทานได้ปกติ​
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    - เห็ดบางชนิดมีพิษต่อร่างกายที่ระบบประสาท และบางครั้งจะออกฤทธิ์หลังจากรับประทานอาหารไปหลายวัน คุณจึงต้องแน่ใจจริงๆก่อนจึงจะเลือกรับประทาน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    รูปดังต่อไปนี้จะบอกถึงวิธีการจดจำต้นไม้ชนิดต่างๆโดยการสังเกตรูปร่างของใบและราก ช่วยให้คุณสามารถจำแนกออกและจดจำได้ง่ายยิ่งขึ้นว่าพืชชนิดใดทานได้ เป็นยา มีพิษ หรือควรหลีกเลี่ยง​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    การทดสอบ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    พืชบางชนิดเพียงทานเข้าไปเล็กน้อยก็อาจสร้างความเจ็บป่วยอย่างรุนแรงกับร่างกาย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากที่คุณต้องแน่ใจก่อนจะรับประทาน หากยังไม่มั่นใจและไม่แน่ใจให้ลองใช้วิธีการทดสอบดังนี้ (ก่อนทำการทดสอบคิดให้ดีก่อนว่ามันคุ้มค่าไหมกับเวลาที่คุณต้องเสียไปในการทดสอบ เช่นถ้าพืชผลนั้นมีจำนวนเล็กน้อยก็ไม่คุ้มค่าที่จะทำ และจำไว้ว่าการทานพืชผลทีละมากๆตอนกระเพาะว่างอาจทำให้ท้องเสีย คลื่นไส้ ดังนั้นจึงควรทานแต่พอดีๆ)​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    คำเตือน​
    - การดมเพียงอย่างเดียวไม่สามารถจะตัดสินได้ว่าพืชผลนั้นสามารถรับประทานได้หรือไม่ได้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เตรียมน้ำดื่มไว้มากๆใกล้ตัวคุณ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อย่าทานอาหารใดๆทั้งสิ้น 8 ชั่วโมงก่อนการทดสอบ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ในระหว่างการทดสอบทานได้เฉพาะน้ำสะอาดและพืชที่ทำการทดสอบ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เตรียมพืชผลเป็นชิ้นเล็กๆเหมือนคุณกำลังเตรียมจะทานมัน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เริ่มทดสอบด้วยการป้ายที่ข้อมือหรือข้อศอกแล้วรอ 15 นาที ว่ารู้สึกอย่างไร ถ้ายังปกติดีอยู่ก็ทดสอบขั้นต่อไป​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - นำชิ้นพืชนั้นมาแตะที่ริมฝีปากเล็กน้อย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - รอ 3 นาที ถ้าไม่รู้สึกอะไรให้วางบนลิ้นและอมไว้ 15 นาที​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ถ้าไม่รู้สึกอะไรให้เคี้ยว (อย่ากลืน) แล้วอมไว้ 15 นาที​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ถ้าไม่รู้สึกแสบ คัน ชา ระคายเคือง ให้กลืนลงไป​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - รอ 8 ชั่วโมง ถ้าคุณมีอาการไม่ดีเช่นอาเจียน ให้ทานน้ำมากๆ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - หลัง 8 ชั่วโมง ถ้าคุณยังปกติดีให้ทานเพียงหนึ่งในสี่ของถ้วยแล้วรออีก 8 ชั่วโมง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ถ้าทุกอย่างปกติดีคุณสามารถทานพืชผลนั้นได้อน่างปลอดภัย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ข้อควรระวัง​
    - ทำการทดสอบทุกส่วนของพืชผลนั้นถ้าคุณจะกินส่วนอื่นด้วยเพราะพืชบางชนิดบางส่วนทานได้แต่บางส่วนมีพิษ ถึงแม้ว่าทานพืชผลได้เมื่อมันสุกแต่ไม่ได้หมายความว่ามันทานได้แบบดิบๆ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    สมุนไพร​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    ผมไม่มีความสามารถพอที่จะครอบคลุมความสำคัญของหัวข้อนี้ได้ เพียงได้แต่แนะนำให้คุณหาซื้อหนังสือดีๆสักเล่มติดตัวไว้ให้มีทั้งรูปและคำบรรยายสรรพคุณพร้อมวิธีทำ ความรู้เหล่านี้มีคุณค่าต่อการศึกษาและเก็บรักษาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งตัวคุณและลูกหลานในภายภาคหน้าบนพื้นฐานของความพอเพียง อีกนั่นแหละไม้พ้น​
    ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นเรื่องที่คุณหนีไม่พ้นและต้องใฝ่หาความรู้เพื่อประโยชน์ในการยังชีพ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ประโยชน์อื่นๆของพืช​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    พืชประกอบขึ้นมาจากธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ถือเป็นแม่ผู้ให้กำเนิดชีวิตทั้งปวงในโลก ในวันที่เราต้องตายจากกันไปก็ไม่เหลืออะไรติดตัวไปได้ แถมยังต้องคืนธาตุ 4 เหล่านี้กลับสู่ธรรมชาติ ทั้งเนื้อทั้งตัวของเราไม่มีอะไรเลยจริงๆที่เป็นของเรา ยิ่งคุณเข้าใจธรรมชาติได้ดีและลึกซึ้งเท่าไหร่คุณก็สามารถสร้างประโยชน์ให้กับการยังชีพได้ดีเท่านั้น ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    พืชนอกจากใช้เป็นอาหารใช้เป็นยาแล้วเรายังสามารถนำมาใช้ทำประโยชน์อื่นๆได้อีก เช่นเป็นเครื่องใช้ อุปกรณ์เช่นเชือก ยาป้องกันแมลง ที่พักอาศัย ให้อากาศบริสุทธิ์และอื่นๆอีกมากมาย และ​
    คุณก็ไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้หากไม่มีพืชคอยเลี้ยงดูคุณ พวกเรามีแต่ทำร้ายเขาขณะที่เขาไม่โต้ตอบแต่มีแต่คำว่าให้เสมอจนกว่าวงจรชีวิตเค้าจะหาไม่
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 8-1.JPG
      8-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      19 KB
      เปิดดู:
      4,276
    • 8-2.JPG
      8-2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      29.3 KB
      เปิดดู:
      4,301
    • 8-3.JPG
      8-3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      22.1 KB
      เปิดดู:
      4,322
    • 8-4.JPG
      8-4.JPG
      ขนาดไฟล์:
      32.1 KB
      เปิดดู:
      4,314
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2010
  10. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=703><TBODY><TR><TD height=4>
    พืชที่มีพิษ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    มีบวกก็มีลบเป็นธรรมดาของโลก ถ้าคุณรู้เท่าทันทั้งสองด้านคุณก็อยู่ได้อย่างมีความสุข​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    พืชมีพิษต่อคุณอย่างไร​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - จากการสัมผัส ทำให้คัน ปวดแสบ ปวดร้อน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - จากการย่อยสลายจากการกิน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - จากการดม หรือซึมผ่านทางผิวหนัง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    การใช้ระดับความสัมผัสส่วนบุคคลบางครั้งใช้ไม่ได้ เช่นบางคนอาจจะแพ้แต่คุณไม่ มีความคิดเห็นผิดๆหลายๆอย่างที่อาจทำให้คุณพลาดได้ เช่น​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - สัตว์กินได้ ไม่แน่เสมอไปว่ามนุษย์จะกินได้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - การต้มสุกไม่ได้ทำให้อาหารนั้นปลอดพิษเสมอไป​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ทานตอนสุกได้ ไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถทานมันทั้งดิบๆ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ทานตอนมันยังอ่อนได้ ไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถทานมันได้ตอนมันแก่​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    การป้องกันพิษจากพืช​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ใช้วิธีการทดสอบดังที่กล่าวไปแล้วในบทก่อนหน้า​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือแตะต้องถ้าไม่จำเป็น​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    สัตว์ร้าย
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    สัตว์ร้ายได้แก่สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ล่าเนื้อ แมลง สัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์มีปีก สัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่ที่สามารถทำให้เราบาดเจ็บ ติดเชื้อ ระคายเคืองหรือมีอาการแพ้จนถึงแก่ชีวิตในที่สุด ​
    มนุษย์คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่ร้ายกว่าสัตว์ชนิดใดๆในโลก เพราะมีมันสมองที่เจริญและซับซ้อนกว่า ความสามารถและกลวิธีในการทำลายล้างจึงมีประสิทธิภาพและมีความแยบยลสูง จะเห็นว่าสัตว์หลายชนิดสูญพันธ์จากน้ำมือมนุษย์แต่ว่ามนุษย์ยังคงอยู่
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=27>
    ในภาวะที่เราต้องยังชีพพวกสัตว์ต่างๆก็ต้องยังชีพไม่ต่างจากเราทั้งรักชีวิตตัวเอง ทั้งเป็นผู้หิวโหย และต้องปกป้องตัวเองให้มีชีวิตยืนยาวต่อไปแม้เพียงหนึ่งวันหรือเพียงหนึ่งนาที เมื่อวันที่คุณจนอับจริงๆวันนั้นคุณอาจจะได้พบสัจจธรรมว่าแท้จริงแล้วเราและสัตว์ร่วมโลกทั้งหลายก็ไม่ได้มีความแตกต่างมากไปกว่ากันเลย การแผ่เมตตาและการไม่เบียดเบียนซึ่งกันละกันเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดของการอยู่ร่วมกันของทุกชีวิตในโลกนี้ ถ้าวันหนึ่งเราสามารถพัฒนาระบบประสาทสัมผัสจนเข้าใจและสื่อสารภาษาของสรรพสัตว์ทั้งหลายได้ก็คงจะดีไม่น้อย เช่นในยามที่คุณกลับถึงบ้านและมีสุนัขตัวน้อยรออยู่พร้อมแสดงความดีใจอย่างออกนอกหน้า ถ้ามันสามารถพูดให้คุณเข้าใจได้มันอาจจะเป็นคำพูดที่ตรงไปตรงมาและซาบซึ้งอย่างที่คุณคาดไม่ถึง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    สัตว์มีการแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อมและซับซ้อนเหมือนมนุษย์เช่นยามหิว โกรธ ดีใจ หรือช่วงมีอารมณ์ทางเพศ การเรียนรู้พฤติกรรมและธรรมชาติของสัตว์ชนิดต่างๆจึงมีประโยชน์อย่างมากต่อการยังชีพ แต่ถึงแม้ว่าคุณจะมีความรู้เกี่ยวกับสัตว์มากเพียงใดแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่คุณต้องมีและต้องนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์คือ ​
    "สามัญสำนึก" หมองูยังตายได้เพราะงูแล้วนับประสาอะไรกับคนธรรมดาอย่างเราๆ ตัวอย่างการมีสามัญสำนึกในการหลีกเลี่ยงสัตว์ร้าย เช่น
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ไม่ทิ้งเศษอาหารใกล้ที่พัก​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - การรักษาความสะอาดความเป็นระเบียบของที่พัก​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - การใส่ใจสังเกตสภาพแวดล้อม​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - การตรวจสอบเก็บรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้ก่อนและหลังการใช้เช่น เคาะรองเท้าก่อนสวม ไม่ทิ้งเสื้อผ้าไว้บนพื้นดิน สำรวจที่นอนผ้าห่มก่อนนอน ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ความระมัดระวัง ไม่ประมาท​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เตรียมยา สารป้องกันสัตว์หรือแมลง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    สุดท้ายคือความรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งทำมาใช้สร้างเป็นการป้องกัน การต่อต้าน การบรรเทาและการรักษา ประโยคนี้ทำให้ผมได้คิดและยกนำมาแทบทุกบท บรรยายยากเพราะคุณประโยชน์มากมายมหาศาลไม่มีขอบเขต ​
    ถ้าคุณเป็นสุดยอดของผู้มีความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้าน ผมเชื่อว่าไม่ว่าคุณจะเหยียบไปที่ไหนบนผืนแผ่นดินนี้คุณก็จะเป็นผู้ยังชีพได้โดยไม่ต้องยังชีพเลย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=702><TBODY><TR><TD height=4>
    การทำเครื่องมือ และอุปกรณ์ในการยังชีพจากธรรมชาติ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=8>
    ความรู้ของบทนี้ผมขอสงวนไว้เพื่อสันติภาพทั้งต่อคุณต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ร่วมโลกเพราะผมไม่สนับสนุนให้เบียดเบียนชีวิตซึ่งกันและกันแต่แรกแล้ว ​
    เวลาจัดเตรียมอุปกรณ์ลงถุงยังชีพของคุณให้ถามตัวเองทุกๆครั้งว่าสิ่งที่จะจัดใส่ลงในถุงยังชีพแต่ละชิ้นนั้นมันจำเป็นจริงๆหรือว่าคุณต้องการมีไว้เพียงเพื่อให้รู้สึกดีเท่านั้น
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=12>
    มีด ​
    คืออุปกรณ์ยังชีพที่คุณค่ามากที่สุด ขอให้คุณคิดถึงมันเป็นสิ่งแรกที่จะนำมาเพื่อยังชีพและขอให้เป็นสิ่งสุดท้ายที่คุณจะเหลือติดตัวเพื่อยังชีพเช่นกัน
    แน่นอนว่าประโยชน์ของมีดคือความคมดังนั้นจึงจำเป็นต้องรักษามีดให้คมตลอดเวลาเพื่อให้พร้อมใช้ในทุกสถานการณ์ นอกจากนี้มีดยังใช้ทำอุปกรณ์อื่นเพิ่มเติมได้อีกมากมายโดยขึ้นอยู่กับทักษะและความรู้ของตัวคุณเอง
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=8>
    ไม้พลอง ​
    ใช้เป็นตัวช่วยในการเดินเท้าขึ้นลงที่ลาดชัน ใช้หยั่งความลึกก่อนที่จะก้าวเดิน ใช้เคาะเพื่อป้องกันงู ใช้ป้องกันสัตว์ร้ายก่อนถึงตัว ใช้ยื่นให้กันเพื่อช่วยเหลือ ขนาดของไม้ควรมีความสูงไม่ต่ำกว่าตาคุณ นอกจากนี้ไม้พลองควรเป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกที่คุณสามารถหาได้จากธรรมชาติ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    การทำเครื่องมือจากวัสดุธรรมชาติ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ให้คุณดูรูปตัวอย่างด้านล่างเพื่อเป็นแนวคิดในการดัดแปลงรูปแบบอื่นๆและให้ศึกษาการทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆจากภูมิปัญญาชาวบ้าน​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=702><TBODY><TR><TD height=4>
    วัสดุธรรมชาติ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ​
    กระดูกสัตว์ ดัดแปลงเป็นเครื่องมือเจาะ ขุดและทุบ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ​
    เปลือกหอย ดัดแปลงเป็นภาชนะหุงต้มอาหาร
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ต้นไม้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=8>
    ไม้ไผ่เป็นไม้สารพัดประโยชน์ซึ่งสามารถใช้ดัดแปลงเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆนับไม่ถ้วน เปลือกมีความคมแข็งสามารถใช้แทนมีดได้ด้วยการนำมาลนไฟเพื่อให้แข็งและยังสามารถนำมาลับมีดให้คมได้ด้วย หญ้าบางชนิดก็มีความเหนียวสามารถใช้แทนเชือกได้ กะลามะพร้าวก็สามารถนำมาใช้แทนภาชนะต่างๆได้เช่นกัน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    อื่นๆ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    เศษเหล็ก โลหะ เศษแก้ว เศษพลาสติก​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1-1.JPG
      1-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      35.2 KB
      เปิดดู:
      4,258
    • 1-2.JPG
      1-2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      18.4 KB
      เปิดดู:
      4,262
    • 1-3.JPG
      1-3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      36.1 KB
      เปิดดู:
      4,298
    • 1-4.JPG
      1-4.JPG
      ขนาดไฟล์:
      7.6 KB
      เปิดดู:
      4,263
    • 1-5.JPG
      1-5.JPG
      ขนาดไฟล์:
      10.1 KB
      เปิดดู:
      4,218
    • 1-6.JPG
      1-6.JPG
      ขนาดไฟล์:
      17.1 KB
      เปิดดู:
      4,359
    • 1-7.JPG
      1-7.JPG
      ขนาดไฟล์:
      26.8 KB
      เปิดดู:
      4,242
    • 1-8.JPG
      1-8.JPG
      ขนาดไฟล์:
      16.7 KB
      เปิดดู:
      4,234
    • 1-9.JPG
      1-9.JPG
      ขนาดไฟล์:
      12.1 KB
      เปิดดู:
      4,230
    • 1-10.JPG
      1-10.JPG
      ขนาดไฟล์:
      40.1 KB
      เปิดดู:
      4,222
    • 1-11.JPG
      1-11.JPG
      ขนาดไฟล์:
      22.2 KB
      เปิดดู:
      4,222
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2010
  13. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=707><TBODY><TR><TD height=4>
    การยังชีพในที่แห้งแล้ง
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    การยังชีพที่แห้งแล้งขึ้นอยู่กับว่ามีคุณมีความรู้และความคุ้นเคยในสภาพภูมิศาสตร์นั้นๆเป็นอย่างไร และคุณเตรียมการไว้มากหรือน้อยเพียงใดเพื่อจะรับกับสภาพเช่นนั้น สิ่งที่ต้องคิดถึงอันดับแรกคือปริมาณน้ำที่คุณมีอยู่และแหล่งน้ำ พื้นที่ที่จัดว่าแห้งแล้งได้แก่​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เป็นพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนตกน้อย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เป็นพื้นที่ที่มีแดดจัด มีความร้อนสูง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เป็นพื้นที่ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมาก​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เป็นพื้นที่ที่มีต้นไม้น้อย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เป็นพื้นที่ที่ผิวดินมีรอยแตกแห้งและสะสมแร่ธาตุสูง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เป็นพื้นที่ที่มีพายุ ฝุ่นหรือทะเลทราย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เป็นพื้นที่ที่มีพยับแดด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - พื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนตกน้อย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    พื้นที่ที่มีแดดจัดและมีความร้อนสูง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    เวลากลางวันนอกจากคุณจะได้รับความร้อนจากแดดโดยตรงแล้วคุณยังได้รับความร้อนที่คายจากผิวดินเพิ่มอีก(ตามรูป 12-1) ผลคือจะทำให้ร่างกายต้องการน้ำมากกว่าปกติ คุณต้องรักษาน้ำในร่างกายให้สูญเสียน้อยที่สุด รักษาพลังงาน และหาที่กำบังจากความร้อน การหลีกเลี่ยงกิจกรรมเวลากลางวันมาทำตอนกลางคืนช่วยลดการเสียน้ำในร่างกาย (อุปกรณ์อิเลคโทรนิคอาจเสียและไม่ทำงานเนื่องจากมีความร้อนสูง)​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    รูป 12-1
    [​IMG]

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=707><TBODY><TR><TD height=4>
    พื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมาก​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    บางพื้นที่จะร้อนจัดในเวลากลางวันและหนาวจัดในเวลากลางคืน อย่าลืมที่จะเตรียมชุดกันหนาวไว้ด้วย เวลาก่อนพระอาทิตย์ตกดินและตอนกลางคืนจะเป็นเวลาที่ดีที่สุดในการทำกิจกรรมต่างๆ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    พื้นที่ที่มีต้นไม้น้อย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ปัญหาที่คุณเจอคือไม่สามารถหาที่กำบังทางธรรมชาติจากต้นไม้ได้ การอาศัยหลบเงาของโหดหินหรือพุ่มไม้จะพอช่วยได้ ถ้าเป็นพื้นที่โล่งกว้างคุณจะมีปัญหาในการกะระยะทางด้วยสายตาที่ไกลแต่ดูเหมือนใกล้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    พื้นที่ที่มีผิวดินแตกแห้งและสะสมแร่ธาตุสูง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    พื้นที่บางแห่งมีการสะสมแร่ธาตุต่างๆมากโดยเฉพาะบริเวณพื้นผิวและมีฤทธิ์เป็นกรดหรือด่างต่างกันไป ทำให้อุปกรณ์ของคุณถูกกัดและเสื่อมเร็ว น้ำที่ได้จากพื้นที่นี้จะทานไม่ได้หรือแม้แต่นำมาเช็ดตัวก็ไม่ได้เพราะน้ำนี้อาจทำให้ผิวคุณแพ้หรือถูกกัดเป็นแผลเป็นผื่นได้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    พื้นที่ที่มีฝุ่น, ทราย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    คุณต้องมีแว่นหรือผ้าไว้เพื่อคลุมป้องกันตา หู จมูกและปาก อุปกรณ์สื่อสารทางวิทยุจะไม่ทำงานได้ดีในพื้นที่นี้ คุณต้องมีอุปกรณ์อื่นทดแทน เช่นกระจกเงาสะท้อนแสงเพื่อขอความช่วยเหลือ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    พื้นที่ที่มีพยับแดด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=18>
    พยับแดดเป็นปรากฏการณ์ทางสายตาอันเกิดจากการสะท้อนแสงของไอความร้อนที่พวยพุ่งออกจากผิวดิน ทำให้คุณเห็นวัตถุต่างๆที่ห่างออกไปประมาณ 1.5 กิโลเมตรเต้นระบำได้ ผลของพยับแดดคือทำให้คุณมองเห็นได้ไม่ชัดเจน กะระยะผิดพลาด ในบางครั้งพยับแดดก็เป็นเหมือนภาพลวงตาซึ่งเสมือนว่ามีน้ำล้อมรอบคุณ(เหมือนติดอยู่บนเกาะ) ถ้าคุณปีนขึ้นไปบนที่สูงหรือเหนือพื้นประมาณ 3 เมตรหรือมากกว่านั้นปรากฏการณ์นี้จะหายไป การสำรวจพื้นที่ควรทำในเวลาก่อนพระอาทิตย์ตกดินหรือคืนพระจันทร์เต็มดวง เป็นอีกวิธีหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดจากปรากฏการณ์นี้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ความต้องการน้ำ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=18>
    หลักที่สำคัญที่สุดในการที่จะสามารถยังชีพในที่แห้งแล้งนั่นคือคุณต้องมีความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของร่างกาย อุณหภูมิอากาศ และการดื่มน้ำทดแทนได้เป็นอย่างดีว่ามีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร หลักการคือร่างกายคุณจะต้องการน้ำในปริมาณแตกต่างกัน ในกิจกรรมที่แตกต่างกันและในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณทำงานหนักกลางแจ้งในวันที่มีอุณหภูมิเฉลี่ย 43 องศา คุณต้องดื่มน้ำทดแทน 19 ลิตรต่อวันเพื่อรักษาร่างกายให้สมดุลและปกติ แต่ถ้าคุณทำงานเบาลงที่อุณหภูมิอากาศต่ำกว่า น้ำที่คุณต้องการดื่มเพื่อทดแทนจะน้อยลง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=18>
    คนปกติมีอุณหภูมิร่างกายที่ 36.9 องศา ถ้าร่างกายมีความร้อนมากขึ้นเช่นจากการออกกำลังกาย ทำงาน หรือเพราะอุณหภูมิอากาศ ความร้อนจะถูกระบายออกโดยการขับเหงื่อ ยิ่งร่างกายร้อนมากเท่าใดเหงื่อจะถูกขับออกมามากตามไปด้วย ยิ่งเหงื่อคุณออกมามากเพียงใดคุณก็ยิ่งสูญเสียน้ำในร่างกายมากขึ้นเท่านั้น เหงื่อจึงเป็นสาเหตุหลักของการเสียน้ำในร่างกาย ในยามใดที่ร่างกายคุณร้อนและร่างกายไม่สามารถขับเหงื่อออกมาเพื่อเป็นการระบายความร้อนออกจากตัวได้คุณจะมีอาการเป็นลมแดดและต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ในรูป 12-2 แสดงถึงปริมาณน้ำที่ร่างกายต้องการต่อวันที่กิจกรรมในระดับต่างๆที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศในวันนั้นๆ ทำความเข้าใจให้ดีจะ​
    ช่วยให้คุณสามารถวางมาตรการการจัดหาน้ำจากข้างนอกและบริหารจัดการน้ำในร่างกายได้อย่างถูกต้องและพอเพียง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    รูป 12-2
    [​IMG]

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=707><TBODY><TR><TD height=9>
    ยกตัวอย่างจากรูป​
    ถ้าคุณทำงานหนักกลางแจ้งเป็นเวลา 8 ชั่วโมง ในอุณหภูมิเฉลี่ยของวันนั้นที่ 50 องศา คุณต้องดื่มน้ำประมาณ 25 ลิตรต่อวันเพื่อรักษาร่างกายให้ปกติ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=27>
    การป้องกันการเกิดลมแดดได้แก่ให้อยู่ภายในร่มเงา ปูพื้นเพื่อรองและนั่ง(อย่านั่งหรือนอนบนพื้น) จำกัดการเคลื่อนไหวและกิจกรรมต่างๆของร่างกาย ให้รู้จักประหยัดเหงื่อ สวมเสื้อผ้าที่ปกคลุมมิดชิดเช่นแขนยาว ปกปิดหัวและคอ เป็นต้น เพื่อไม่ให้ร่างกายปะทะกับแดดหรือลมร้อนจากภายนอก เสื้อผ้าของคุณเป็นตัวซับเหงื่อ ความชื้นจะค่อยๆระเหยออกไปช่วยให้คุณรู้สึกเย็นลง เนื้อผ้าควรเป็นผ้าฝ้ายที่ใส่สบายและซับเหงื่อได้ดี ใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด พูดคุยให้น้อยที่สุด หายใจทางจมูก(อย่าใช้ปากหายใจ) ช่วยให้คุณเสียน้ำในร่างกายน้อยลงและความต้องทดแทนน้ำของร่างกายก็จะลดลงด้วย ​
    ถ้าคุณมีน้ำเหลือน้อยให้งดอาหารเพราะระบบย่อยอาหารจะดึงน้ำในร่างกายออกมาเพื่อช่วยย่อยทำให้ร่างกายมีน้ำน้อยลง ระบบการทำงานของร่างกายคุณก็ลดลงตามไปด้วย
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    อาการคอแห้ง(กระหายน้ำ)​
    ไม่ได้บอกว่าร่างกายคุณกำลังขาดน้ำเสมอไปทำให้บางคนดื่มน้ำน้อยกว่าปกติและนำไปสู่การขาดน้ำ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ที่อุณหภูมิอากาศเฉลี่ย 38 องศา คุณต้องดื่มน้ำ 0.5 ลิตรต่อชั่วโมง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ที่อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยมากกว่า 38 องศา คุณต้องดื่มน้ำ 1 ลิตรต่อชั่วโมง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    การจิบน้ำบ่อยๆช่วยทำให้ร่างกายของคุณเย็นลงและลดการเหงื่อออก ถ้าคุณมีน้ำเหลือติดตัวน้อยให้จิบทีละนิดบ่อยๆ ให้ประหยัดน้ำในร่างกายโดยหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่างๆที่ไม่จำเป็นโดยเฉพาะในเวลาที่อากาศร้อนแต่อย่าอดน้ำเป็นอันขาดเพราะมันเป็นต้นเหตุของการป่วยจากความร้อนอันได้แก่​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ตะคริว - ​
    เกิดจากการเสียเกลือแร่ที่ถูกขับออกมากับเหงื่อทำให้มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ให้คุณหยุดกิจกรรมทุกอย่าง หาที่กำบังในร่มและดื่มน้ำ วิธีการรักษาให้ดูที่อาการเพลียแดด
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    เพลียแดด - ​
    เกิดจากร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่จำนวนมาก มีอาการปวดหัว ความคิดสับสน กังวล เหงื่อออกมากกว่าปกติ หมดแรง เวียนหัว ตะคริว หน้าซีด ตัวเย็น ให้นำผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้เข้าที่ร่มแล้วให้นอนราบบนที่ที่มีที่รองพื้น ปลดเสื้อผ้าให้หลวม พ่นน้ำและคอยพัดให้ ให้ผู้ป่วยจิบน้ำทีละน้อยๆทุกๆ 3 นาทีและให้พักผ่อนมากๆ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=18>
    ลมแดด​
    - เกิดจากการที่ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่มากจนเกินไปทำให้ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ ผู้ป่วยอาจถึงตายได้หากไม่สามารถทำให้ร่างกายเย็นลง อาการคือไม่มีเหงื่อ ผิวแห้งและร้อน ปวดหัว เวียนหัว ชีพจรเต้นเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน ความคิดสับสนและหมดสติในที่สุด ให้นำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม นอนราบบนที่ที่มีที่รองพื้น ปลดเสื้อผ้าให้หลวม ราดน้ำลงบนร่างกาย(ถึงแม้น้ำนั้นจะสกปรกก็สามารถนำมาใช้ได้) และพัดวีให้เย็น ให้นวดแขนนวดขาตามร่างกาย ถ้าผู้ป่วยเริ่มฟื้นจากอาการหมดสติให้จิบน้ำทีละน้อยๆทุกๆ 3 นาที
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=18>
    ข้อควรระวัง​
    - ยาเป็นสิ่งที่หายากในพื้นที่ที่แห้งแล้งดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือต้องดูแลรักษาและป้องกันตนเอง รวมไปถึงปรับปรุงกิจกรรมให้เหมาะสม เช่นพักผ่อนเวลากลางวันและทำกิจกรรมในตอนเย็นหรือกลางคืนแทน ถ้าคุณมีเพื่อนอยู่ด้วยก็ให้ช่วยกันดูแลซึ่งกันและกัน เช่นให้บอกกันก่อนว่าจะไปไหน นานเท่าไหร่ คอยสังเกตอาการของร่างกาย เช่นถ้าเพื่อนบ่นว่าเหนื่อย เพลีย เวียนหัว ก็ควรเตือนให้ดื่มน้ำอย่างน้อย 1 ครั้งต่อชั่วโมง หาที่ร่มพัก อย่านอนตากแดดหรือนอนบนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรองก่อน อย่าถอดเสื้อผ้าออกตอนกลางวัน สังเกตสีของปัสสาวะ ถ้าสีจางก็ใช้ได้แต่ถ้าสีเข้มแสดงว่าคุณต้องดื่มน้ำให้มากยิ่งขึ้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 2-2.JPG
      2-2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      33.8 KB
      เปิดดู:
      4,198
    • 2-3.JPG
      2-3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      34.9 KB
      เปิดดู:
      4,218
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2010
  14. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    การยังชีพในเขตป่าร้อนชื้น
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=18>
    ประเทศไทยเราถือว่าอยู่ในบริเวณอากาศชนิดนี้ รูปแบบสภาพอากาศแบบนี้คือมีอุณหภูมิสูง มีฝนและมีความชื้นสูง ความรู้จากนวนิยายอมตะ "เพชรพระอุมา" ของ “พนมเทียน” ใช้เวทีนี้เป็นที่แสดง สำหรับคนเมืองคงจะทำได้แค่เพียงจินตนาการตามแต่สำหรับคนป่าคนเขาจะรู้ว่าแง่มุมของการยังชีพของตัวละครในนิยายเรื่องนี้ไม่เกินความจริงมากเท่าใดนัก ผมจะถือว่าคุณอยู่ในสภาพแวดล้อมนี้เช่นเดียวกันกับผม มีความคุ้นเคยและสามารถที่จะหาข้อมูลรอบตัวได้ไม่ยาก ผมจึงเสนอเพียงบางจุดที่มีความน่าสนใจเท่านั้น​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    การเดินป่า - ​
    เครื่องแต่งกายควรรัดกุมเช่นใส่เสื้อแขนยาวกางเกงขายาวเพื่อป้องกันการบาดเจ็บเล็กๆน้อยๆ และปลุกสัญชาตญาณการรับรู้ให้ตื่นตัวตลอดเวลา สามัญสำนึกคือสิ่งที่คุณต้องมีและใช้ให้มากที่สุด
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ถ้าคุณเป็นผู้รอดจากเครื่องบินตก - ​
    สิ่งสำคัญที่ต้องนำติดตัวมาด้วยคือมีด เข็มทิศ อุปกรณ์ยา ผ้าร่มชูชีพ วัสดุที่ใช้ทำที่กำบังและมุ้งกันยุง ให้คำนึงถึงการสร้างที่กำบังที่ต้องกันยุงได้ด้วยเพราะยุงนั้นถือเป็นพาหะของโรคร้ายเช่นมาลาเรีย และไข้เลือดออก
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    การหาแหล่งน้ำ​
    ไม่ยากเหมือนที่อื่นๆแต่อย่าลืมว่าต้องทำน้ำให้สะอาดก่อนทุกครั้ง
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    รอยสัตว์​
    - บ่อยครั้งรอยสัตว์จะนำคุณไปยังแหล่งน้ำได้ แต่มีสัตว์กินเนื้อบางชนิดที่อยู่ได้โดยไม่ต้องกินน้ำเป็นเวลานานๆเพราะมันได้น้ำจากเหยื่อที่มันล่าได้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=18>
    นก​
    - บางครั้งจะนำคุณไปยังแหล่งน้ำได้ นกที่กินเมล็ดพืชเป็นอาหารเช่นนกกระจอก นกพิราบจะอยู่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำ มันจะดื่มน้ำตอนพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ถ้ามันบินต่ำและเป็นเส้นตรงแสดงว่ามันกำลังมุ่งหน้าสู่แหล่งน้ำ หลังจากนั้นตอนกลับเมื่อน้ำเต็มกระเพาะและหนักมันจะบินจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปเกาะที่ต้นไม้อีกต้นหนึ่งและพักบ่อยๆ แต่ถ้าเป็นนกน้ำเราจะใช้วิธีนี้ไม่ได้เพราะมันจะบินเป็นระยะไกลๆโดยไม่หยุดพัก ส่วนนกเหยี่ยว นกอินทรีย์และนกล่าเนื้อใช้วิธีนี้ไม่ได้เช่นกันเพราะมันจะได้น้ำจากเหยื่อที่ล่าได้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    แมลง​
    - เช่นผึ้งก็เป็นจุดชี้แหล่งน้ำได้ ผึ้งจะหากินเต็มที่ประมาณ 6 กิโลเมตรจากรังของมันซึ่งมันจะต้องมีแหล่งน้ำของมันอยู่ในระยะที่มันออกหากินนี้ด้วย มดที่เดินเป็นแถวขึ้นต้นไม้ก็แสดงว่ามันพบแหล่งน้ำที่ขังตามซอกไม้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    รอยเท้าคน​
    - สามารถเป็นตัวบ่งบอกแหล่งน้ำได้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    การหาน้ำจากพืชได้กล่าวแล้วในบทก่อนหน้านี้ การหารากไม้เพื่อให้ได้น้ำบางทียังหายากกว่าการทำกับดักน้ำด้วยการดักความชื้นจากต้นไม้แล้วให้กลั่นตัวเป็นหยดน้ำ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    อาหาร​
    </TD></TR><TR><TD height=18>
    อาหารในสภาพอากาศแบบนี้จะหาได้ง่ายกว่าในบริเวณอื่นๆอยู่ที่ว่าความรู้ของคุณมีมากน้อยแค่ไหนว่าอะไรกินได้และอะไรกินไม่ได้ พยายามเปิดตัวเองจากเมนูอาหารแล้วหาสิ่งใหม่ๆทานบ้างเช่นตามข้างทาง ต่างจังหวัด เตรียมหาความรู้ด้วยการถามจากชาวบ้านเ​
    พื่อสะสมความรู้และปลูกถ่ายภูมิปัญญาชาวบ้านให้กลายมาเป็นภูมิปัญญาของตัวคุณเอง ประเทศไทยเป็นอู่ข้างอู่น้ำแต่ไม่ได้มีแต่ข้าวเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่เลี้ยงชีวิตเราได้ ยังมีพวกผลไม้ รากไม้และใบไม้อีกมากมายที่อุดมสมบูรณ์รอการลิ้มชิมรสจากคุณอยู่
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=709><TBODY><TR><TD height=4>
    การยังชีพในสภาพอากาศหนาวเย็น​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ถือเป็นการยังชีพในสภาพที่ยากมากที่สุด ถ้าคุณขาดความรู้และการเตรียมตัวที่ดีจะทำให้คุณตกอยู่ในสภาพที่ยิ่งแย่ลงไปอีก ความหนาวจะลดความสามารถในการคิดและใช้สมองของคุณเพราะคุณจะคิดแต่เพียงอย่างเดียวว่าทำอย่างไรจึงจะอุ่นขึ้น​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    อากาศหนาว​
    แบ่งเป็น 2 ชนิดคือแบบเปียกและแบบแห้ง
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    1. ​
    อากาศหนาวเปียก ในที่ๆมีอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยต่อวัน -10 องศาหรืออุ่นหรือสูงกว่า คุณต้องเผชิญทั้งความหนาว ความเปียกแฉะและจากฝนกับหิมะ การเตรียมตัวต้องพร้อมทั้งกันเปียกและกันหนาว
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    2. ​
    อากาศหนาวแห้ง ในที่ๆอุณหภูมิเฉลี่ยต่อวัน -10 องศาหรือหนาวกว่า คุณต้องมีชุดกันหนาวที่มากกว่าปกติ ถ้ามีลมมาเสริมจะยิ่งทำให้เลวร้ายลงอีก
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ลมเย็น​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ฟังดูแล้วชื่นใจแต่ในสภาพที่อากาศหนาวและมีลมเสริมเข้าไปจะยิ่งทำให้อุณหภูมิลดลงอีก ให้คุณศึกษาจากรูป 14-1​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    รูป 14-1 อุณหภูมิอากาศ (ฟาเรนไฮน์)

    [​IMG]

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=709><TBODY><TR><TD height=4>
    หลักการยังชีพในสภาพอากาศหนาว​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=18>
    ไม่ว่าเรื่องอาหาร น้ำ ที่กำบัง จะยากกว่าการยังชีพในที่ร้อน คุณต้องมีชุดกันหนาวที่หุ้มห่อทั้งร่างกายจิตใจอันเข้มแข็งและยังความปรารถนาที่จะอยู่รอดต่อไป เสื้อผ้าควรกันได้ทั้งความหนาวและกันลมและต้องสวมใส่ให้ได้ประโยชน์สูงสุดทุกส่วนของร่างกายโดยเฉพาะศรีษะ ​
    ร่างกายคุณจะเสียความร้อน 40-45% ของร่างกายถ้าศรีษะและคอไม่มีเครื่องกันหนาว สมองจะทนความเย็นได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้นเนื่องจากมันต้องการเลือดไปเลี้ยงสมองจำนวนมากจะยิ่งทำให้คุณเสียความร้อนของร่างกายเร็วขึ้นถ้าไม่คลุมหัวให้อบอุ่น
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    หลัก 6 อุ่น
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    1) รักษาเสื้อผ้าให้สะอาดเพื่อคงคุณสมบัติฉนวนกันความร้อน​
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    2) อย่าให้ร้อนเกินไป จะทำให้เหงื่อออกและถูกซับโดยชุดกันหนาวทำให้คุณสมบัติฉนวนกันความร้อนน้อยลง และการระเหยของเหงื่อทำให้หนาวยิ่งขึ้น ฉะนั้นต้องปรับเสื้อผ้าให้พอดีไม่ร้อนจนเหงื่อออก​
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    3) ใส่ให้หลวมและหลายๆชั้น ถ้าคุณสวมเสื้อผ้าฟิตเกินไปจะทำให้การหมุนเวียนเลือดติดขัดและมีปัญหาภายหลังได้ อากาศที่ขังอยู่ในแต่ละชั้นของเสื้อผ้าจะเป็นเสมือนฉนวนกันความร้อนฉะนั้นการห่มด้วยเสื้อผ้าบางๆหลายๆชั้นจะดีกว่าใส่เสื้อหนาๆเพียงชั้นเดียว คุณสามารถถอดเสื้อผ้าออกทีละชิ้นเพื่อปรับสภาพให้เหมาะสมกรณีมีเหงื่อออกหรือจะเพิ่มก็ได้เพื่อความอุ่นยิ่งขึ้น​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    4) รักษาเสื้อผ้าให้แห้ง ถ้าเป็นบริเวณหนาวและเปียก เสื้อชั้นนอกควรเป็นแบบกันน้ำ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    5) ซ่อมปะเมื่อเสียหาย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    6) แปะเสริมก่อนขาด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ถุงนอน​
    มีค่ามากในการยังชีพต้องรักษาให้แห้งตลอดเวลา ถ้าเปียกจะทำให้คุณสมบัติของฉนวนความร้อนเสื่อมลง ถ้าไม่มีให้คุณทำจากวัสดุที่หาได้ เช่นใช้ผ้าพับครึ่งและตรงกลางใส่วัสดุกันความร้อนเช่นหนังสือพิมพ์ ใบไม้แห้ง ฟางแห้ง
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ความสะอาด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    คุณต้องรู้สึกลำบากแน่ๆที่ต้องอาบน้ำท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นแต่มันเป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อไม่ให้ผิวหนังติดเชื้อโดยเฉพาะจุดอับชื้นของร่างกายที่สะสมเหงื่อ เช่นซอกรักแร้ ซอกขา เสร็จแล้วต้องเช็ดตัวให้แห้ง นอกจากนี้คุณต้องล้างเท้าทุกวัน ถุงเท้าต้องแห้งเสมอ และควรเปลี่ยนชุดชั้นในอย่างน้อยที่สุด 2 ครั้งใน 1 อาทิตย์ ถ้าเปลี่ยนชุดชั้นในไม่ได้ให้ถอดสะบัดแล้วตากอากาศ 1-2 ชั่วโมง (หิมะสามารถใช้ถูเพื่อล้างตัวได้)​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ระบบควบคุมความร้อนของร่างกาย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ในยามที่คุณสุขภาพดีร่างกายจะรักษาอุณหภูมิไว้ที่ 37 องศาคงที่แต่แขน ขา หัวเป็นส่วนที่มีเนื้อเยื่อปกคลุมน้อยจึงมีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงได้และอาจต่ำกว่าอุณหภูมิร่างกาย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    ร่างกายของคุณมีระบบควบคุมอยู่ 3 อย่างเพื่อตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิภายนอกที่สูงกว่าหรือต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกาย นั่นคือการรักษาความสมดุลย์ของร่างกาย ได้แก่ 1) การสร้างความร้อนในร่างกาย 2) การเสียความร้อนของร่างกาย 3) การระเหยของความชื้นจากร่างกาย ร่างกายคุณสามารถกำจัดความร้อนที่เกินมาได้ง่ายกว่าการสร้างความร้อน เหงื่อเป็นตัวลดความร้อนของร่างกาย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    อาการสั่นเป็นการเพิ่มความร้อนให้กับร่างกายแต่การสั่นนานๆทำให้อ่อนล้าได้และในที่สุดนำไปสู่การลดอุณหภูมิของร่างกาย ลมมีส่วนทำให้คุณเสียความร้อนของร่างกาย ที่อุณหภูมิ 0 องศาในสภาพแวดล้อมที่ลมสงบถ้าคุณแก้ผ้าแล้วสั่นให้สุดๆ คุณจะสามารถรักษาสมดุลย์ของความร้อนในร่างกายได้ อย่างไรก็ตามคุณไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ตลอดเวลา​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    การป่วยจากความเย็น​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    วิธีที่ดีที่สุดคือป้องกันและรักษาตัวเองอย่าให้ป่วย ถ้าคุณป่วยในสภาพอากาศที่เลวร้ายมันจะยิ่งเพิ่มความลำบากให้กับคุณอีกหลายสิบเท่า ​
    ถ้าคุณมีเพื่อนตายอยู่ด้วยให้พึ่งพาซึ่งกันและกันและแลกเปลี่ยนความรู้กัน ถ้าคุณรู้คนเดียวโดยไม่ถ่ายทอดความรู้ออกไป ความรู้นั้นก็จะไม่มีประโยชน์เลยหากในยามที่คุณเจ็บป่วยแต่เพื่อนของคุณไม่สามารถช่วยเหลือคุณได้ การป่วยจากความเย็นได้แก่
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    1. ​
    โฮโปเทอเมีย เกิดจากร่างกายเสียความร้อนเร็วกว่าสร้างความร้อนทำให้เกิดการเสียสมดุลย์ สาเหตุอาจเกิดจากการตกน้ำโดยทันทีทันใด อาการเริ่มต้นคือสั่นอาจจะสั่นมากจนถึงขนาดไม่สามารถควบคุมตัวเองและช่วยตัวเองได้เลย
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เมื่ออุณหภูมิร่างกายลดลงประมาณ 35.5 องศา มีอาการสั่น ควบคุมและช่วยตัวเองได้น้อยลง ​
    </TD></TR><TR><TD height=7>
    - เมื่ออุณหภูมิร่างกายลดลงอยู่ที่ 35 - 32 องศา มีความคิดช้าลง ไม่มีเหตุผล ระบบสัมผัสความร้อนของร่างกายผิดจากความเป็นจริง ​
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    - เมื่ออุณหภูมิร่างกายลดลงอยู่ที่ 32 - 30 องศา หรือต่ำกว่านั้น กล้ามเนื้อแข็งตัว ควบคุมไม่ได้ หมดสติ ผู้ป่วยที่อยู่ในขั้นนี้จะตรวจสอบได้ยากว่าเข้ายังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เมื่ออุณหภูมิร่างกายลดลงถึง 25 องศา หรือต่ำกว่านั้น ค่อนข้างจะแน่นอนว่าเสียชีวิตแล้ว​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    หลักการรักษาผู้ป่วยประเภทนี้คือต้องให้ความอบอุ่นต่อร่างกาย ถ้าเป็นไปได้ให้ผู้ป่วยแช่น้ำอุ่น 37.7-43.3 องศา แต่ต้องมีความรู้และอุปกรณ์แพทย์เสริมด้วยเพราะอาจทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการมีปัญหาเส้นเลือดหัวใจและอาจทำให้ผู้ป่วยช๊อคได้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    วิธีที่เร็วที่สุดคือการให้ผู้ป่วยดื่มน้ำอุ่นเพราะจะเป็นการให้ความร้อนเข้าสู่ร่างกายโดยตรง แต่ถ้าสถานการณ์ไม่อำนวยให้ห่อผู้ป่วยและผู้ช่วยชีวิตด้วยถุงนอนโดยให้ทั้งคู่เปลือยกายออกเพื่อเป็นการถ่ายทอดความร้อนสู่กัน เมื่อผู้ป่วยฟื้นให้จิบเครื่องดื่มร้อนที่ให้พลังงานและดูดซึมได้เร็ว เช่น น้ำผึ้ง น้ำเชื่อม โกโก้ (ถ้ายังไม่มีสติ อย่าพยายามให้ดื่มอะไรทั้งสิ้น)
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    อันตราย​
    จากการเพิ่มความร้อนให้ผู้ป่วยเร็วเกินไปคือจะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดมีปัญหาและนำไปสู่การหัวใจวายได้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    2. ​
    เย็นกัด เกิดจากเนื้อเยื่อของร่างกายได้รับความเย็นคล้ายการถูกแช่แข็งทำให้เลือดไม่สามารถหมุนเวียนในบริเวณนั้นได้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อาการแบบเบาๆหรือเริ่มต้น ผิวหนังจะขาวซีด ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อาการหนักเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังจะแข็งและเคลื่อนไหวไม่ได้ (เหมือนเนื้อที่คุณแช่แข็งไว้ในช่องฟรีตของตู้เย็น)​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    จุดเสี่ยงของร่างกาย​
    ต่อการบาดเจ็บแบบนี้ได้แก่ มือ หู เท้าและใบหน้า ถ้าคุณมีเพื่อนอยู่ด้วยให้หมั่นสังเกตใบหน้าซึ่งกันและกัน รวมถึงต้องช่วยกันดูแล
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    การรักษาอาการ "เย็นกัด" แบบเริ่มต้นในกรณีที่มีเสื้อผ้าจำกัดโดยการทำให้เลือดหมุนเวียนด้วยการนวดหรือเคลื่อนไหว
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ใบหน้า : ใช้มือลูบทั่วใบหน้า ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - หู : ใช้มือลูบนวดไปมา​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - มือ : ล้วงกระเป๋า ซุกให้แนบกับลำตัวใต้ซอกรักแร้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เท้า : ใส่รองเท้า หมั่นขยับนิ้วเท้าและเท้า หรือวางฝ่าเท้าเปล่าบนท้องของเพื่อนคุณ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    ถ้าคุณไม่มีความรู้สึกชั่วคราวไม่ว่าจะเป็นในส่วนของมือ เท้า หู หรือใบหน้า นั้นเป็นอาการบ่งบอกของอาการเบื้องต้นให้ปฏิบัติดังกล่าวข้างบน แต่ถ้าเป็นนานๆให้สัณนิษฐานว่าคุณอยู่ในอาการหนักแล้วถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง การปฏิบัติเมื่อถึงจุดนี้จะต้องให้ผู้มีความรู้รักษาเท่านั้นเพราะการรักษาแบบผิดๆจะเพิ่มขยายอาการบาดเจ็บมากยิ่งขึ้น สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำเมื่อเกิดอาการบาดเจ็บจากเย็นกัด มีดังนี้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    สิ่งที่ควรทำ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ตรวจสอบตัวเองเสมอว่ามีอาการเย็นกัดหรือไม่​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - เมื่อเกิดอาการเย็นกัดให้ทำบริเวณที่เป็นอุ่นขึ้น​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อย่าให้ร่างกายส่วนที่บาดเจ็บได้ความเย็นเพิ่ม​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    สิ่งที่ไม่ควรทำ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - อย่าถูบริเวณที่บาดเจ็บด้วยหิมะ น้ำเย็น หรือ น้ำแข็ง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ถ้าบาดเจ็บแบบรุนแรงต้องรอให้ผู้มีความรู้รักษา​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=18>
    3. ​
    เท้าโดนกัด เกิดจากการที่แช่เท้าในบริเวณที่ชื้นแฉะและเย็นเป็นเวลานานๆ อาการเหมือนโดนเข็มตำ ฝ่าเท้าชาและปวด ระยะแรกๆเท้าจะชื้น นุ่ม ซีด เย็นและเหี่ยว ระยะต่อไปจะแดง บวม หรือเปลี่ยนเป็นสีดำและผิวมีลักษณะเป็นมัน คุณจะเดินลำบากเหมือนเท้าหนักและชาอันเป็นผลจากปลายเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเสียหาย และอาจนำไปสู่เท้าเน่าได้ในที่สุดจนถึงต้องตัดเท้าทิ้งถ้ามีอาการรุนแรง วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือรักษาเท้าให้แห้ง ใช้ถุงเท้าที่แห้งและสะอาดผลัดเปลี่ยนอยู่เสมอ ทำความสะอาดเท้า ถ้าถุงเท้าแห้งไม่ทันใช้วิธีผึ่งโดยวางไว้บนอกหรือหลังคุณ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    4. ​
    ขาดน้ำ ร่างกายคุณต้องการน้ำเหมือนเช่นการยังชีพในที่ร้อน ร่างกายสูญเสียน้ำในสภาพอากาศเย็นจากเหงื่อเนื่องจากการสวมใส่ชุดกันหนาวหลายๆชั้น วิธีตรวจว่าร่างกายคุณขาดน้ำหรือไม่คือการสังเกตสีของปัสสาวะ ถ้าเข้มแสดงว่าร่างกายกำลังขาดน้ำให้คุณดื่มน้ำทดแทนทันที และในอากาศหนาวคุณจะปัสสาวะเพิ่มมากขึ้นให้ทดแทนน้ำที่เสียไปในส่วนนี้ด้วย
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    5. ​
    แดดเผา ถึงแม้อากาศหนาวแต่คุณก็ถูกแดดเผาได้ ให้ใช้ครีมกันแดดทาเพื่อปกป้องผิวหนัง
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    6. ​
    ตาเจ็บ ในบริเวณที่มีหิมะตกจะมีการสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์เข้าตามากขึ้นจนอาจทำให้ตาเสียหายได้ ป้องกันได้โดยการสวมแว่นกันแดด ถ้าไม่มีให้ใช้วัสดุต่างๆดัดแปลงตามรูป 14-2 เพื่อช่วยจำกัดแสงที่สะท้อนเข้าตาคุณ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    รูป 14-2
    [​IMG]

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=709><TBODY><TR><TD height=9>
    7. ​
    ท้องผูก ขับถ่ายให้เป็นเวลาเหมือนที่คุณเคยปฏิบัติ อย่าอั้นหรือกลั้นไว้เพราะกลัวหนาวจนหด ดื่มน้ำและผลไม้ที่มีกากใยเพื่อช่วยในการขับถ่าย คุณจะรู้สึกสบายยื่งขึ้นหลังจากเสร็จภาระกิจในแต่ละครั้ง
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ที่กำบัง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    อย่านั่งหรือนอนบนพื้นที่ที่ไม่มีที่รองเพื่อป้องกันไม่ให้พื้นดูดความร้อนจากตัวคุณไป หาที่รองเช่นหญ้า ใบไม้ เสื้อหรือผ้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน ถ้าก่อกองไฟอยู่ในที่ที่มีการระบายอากาศได้น้อย ​
    อย่าลืมดับไฟก่อนนอนเพราะก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์จะทำให้คุณหมดสติและเสียชีวิตได้ ตามรูป 14-3, 14-4 เป็นวิธีการสร้างที่กำบังแบบง่ายๆจากต้นไม้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    รูป 14-3
    [​IMG]
    [CENTER][SIZE=3]รูป 14-4[/SIZE]
    [SIZE=3][IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1285177/[/IMG][/SIZE][/CENTER]
    [SIZE=3][/SIZE]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=709><TBODY><TR><TD height=4>[B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ไฟ[/LEFT][/FONT][/FONT][/B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]มีความสำคัญและจำเป็นในการยังชีพในที่ที่มีอากาศหนาวเย็นพร้อมทั้งยังสามารถให้ความอบอุ่น ปรุงอาหาร และส่งผลต่อจิตวิทยาทางบวกของคุณอีกด้วย เทคนิคการก่อไฟได้กล่าวไปแล้วในบทที่ 7 ควันไฟจะลอยสูงในที่อากาศเย็นและลมสงัด[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]รูป 14-5 สาธิตการก่อไฟแบบง่ายเพื่อใช้ในการหุงต้มอาหาร[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [SIZE=3][/SIZE]
    [B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][CENTER][SIZE=3]รูป 14-5[/SIZE]
    [SIZE=3][IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1285178/[/IMG][/SIZE][/CENTER]
    [SIZE=3][/SIZE]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=709><TBODY><TR><TD height=4>[B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]น้ำ[/LEFT][/FONT][/FONT][/B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ทำน้ำให้สะอาดทุกครั้งก่อนจะดื่ม [/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][I][FONT=Arial][FONT=Arial]ถ้าวันหนึ่งประเทศไทยมีหิมะตกและน้ำในแม่น้ำลำคลองเป็นน้ำแข็ง คุณต้องทำให้มันละลายก่อนใส่ปากเพื่อไม่ให้เสียความร้อนในร่างกายและไม่ให้เกิดการบาดเจ็บจากความเย็น[/FONT][/FONT][/I][FONT=Arial][FONT=Arial][/FONT][/FONT][FONT=Arial][FONT=Arial] น้ำที่ได้จากการละลายน้ำแข็งจะมากกว่าหิมะแต่ถ้าคุณมีแหล่งน้ำดื่มอื่นๆก็อย่าไปเสียเวลากับมัน[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 14-1.JPG
      14-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      42.7 KB
      เปิดดู:
      4,190
    • 14-2.JPG
      14-2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      21.5 KB
      เปิดดู:
      4,194
    • 14-3.JPG
      14-3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      20.9 KB
      เปิดดู:
      4,168
    • 14-4.JPG
      14-4.JPG
      ขนาดไฟล์:
      20.8 KB
      เปิดดู:
      3,761
    • 14-5.JPG
      14-5.JPG
      ขนาดไฟล์:
      20.8 KB
      เปิดดู:
      3,742
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2010
  16. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    การยังชีพในทะเล
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    โลกประกอบด้วยน้ำ 75% โดยที่ 70%ของน้ำในโลกเป็นน้ำในมหาสมุทรและทะเล ลองคิดดูถึงความเป็นไปได้ว่าคุณมีโอกาสมากน้อยแค่ไหนในการรอดชีวิตถ้าหากวันนึงคุณต้องยังชีพในทะเล ​
    การยังชีพในทะเลจึงอาจจะถือได้ว่าเป็นการยังชีพที่ยากที่สุด คุณจะยังชีพได้นานแค่ไหนขึ้นอยู่กับอาหาร อุปกรณ์ และทักษะในการยังชีพของคุณ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ทะเลเปิด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ไหนจะต้องสู้กับคลื่นลม ยังมีเรื่องความร้อนจัด หนาวจัดและเรื่องปากท้องนั่นคือเรื่องน้ำและอาหาร ถ้าคุณจะเอาชนะมันได้ก็จะเป็นการต่อความหวังของการอยู่รอดให้คุณต่อไป​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    เวลาขึ้นเรือหรือเครื่องบินให้คุณสังเกตอุปกรณ์ยังชีพว่ามีจำนวนเท่าไหร่ เก็บที่ไหน มีอะไรบ้าง มีอาหารและยามากน้อยเพียงใดและเพียงพอต่อคนกี่คน ถ้าคุณต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของคนในเรือลำเดียวกัน คุณต้องรู้ว่าเขาอยู่ตรงไหนและเขาก็ต้องรู้เช่นกันว่าคุณอยู่ตรงไหน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    การตกทะเล​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ถ้าคุณรอดจากเครื่องบินตกให้ว่ายน้ำอยู่ที่บริเวณเหนือลมของเครื่องบินจนกว่าเครื่องบินจะจม และให้หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีคราบน้ำมันลอยอยู่ถ้ามีการระเบิดและไหม้ไฟของน้ำมัน​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    รูป 15-1 สาธิตวิธีการช่วยเหลือชีวิตทางทะเล

    [​IMG]
    [​IMG]

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=16>
    การช่วยเหลือคนจมน้ำต้องกระทำโดยผู้ชำนาญไม่เช่นนั้นอาจทำให้สูญเสียทั้งผู้ช่วยและผู้ถูกช่วย ข้อสำคัญคุณต้องช่วยตัวเองให้ได้ก่อนก่อนที่คุณจะช่วยคนอื่น ยิ่งถ้าคุณมีแรงจำกัดก็ให้รักษาพลังงานนั้นไว้เพื่อต่อเวลาและชีวิตให้กับตัวเอง และทำใจให้ได้ถ้าเห็นการสูญเสียต่อหน้าต่อตาโดยคุณไม่สามารถทำอะไรได้เลย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ถ้ามีแพให้เกาะแพ ถ้าไม่มีให้หาสิ่งลอยน้ำเกาะเพื่อพยุงตัวไว้ ถ้าไม่มีเครื่องช่วยพยุงให้ลอยตัวไว้ โดยธรรมชาติของร่างกายเราลอยน้ำได้โดยมีหัวส่วนบนพ้นน้ำ คุณต้องใช้มือ เท้าช่วยบ้างเพื่อให้จมูกพ้นน้ำสามารถหายใจได้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    การลอยตัวแบบหงายท้องจะช่วยให้คุณรักษาพลังงานได้ด้วยการกางแขนกางขาและแอ่นหลัง ด้วยการควบคุมการหายใจเข้าออกจะทำให้หน้าคุณอยู่เหนือน้ำและหายใจได้ คุณสามารถนอนพักผ่อนได้ในท่านี้เป็นเวลาสั้นๆ ถ้าคุณลอยตัวด้วยวิธีนี้ไม่ได้เพราะคลื่นลมแรงให้คุณลองใช้วิธีการตามรูป 15-2​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    รูป 15-2
    [​IMG]

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    1. ลอยตัวขึ้นหายใจให้ลึกๆ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    2. ก้มหน้าใต้น้ำ (ปิดปาก) วางแขนให้ลอยน้ำไปข้างหน้า​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    3. อยู่ในท่านี้เฉยๆจนกว่าคุณต้องการหายใจอีกครั้ง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    4. เงยหัวขึ้นบนน้ำ หายใจออกและเข้า​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=13>
    ท่าว่ายน้ำที่ดีที่สุดสำหรับคุณต้องเป็นท่าที่ใช้พลังงานน้อยที่สุด ถ้าบริเวณผิวน้ำมีไฟไหม้ให้คุณทิ้งเสื้อชูชีพ ถอดรองเท้าออก ให้ปิดปาก จมูก ตา แล้วดำน้ำว่ายใต้น้ำไปให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก่อนจะโผล่เหนือน้ำเพื่อหายใจ ให้ใช้มือผลักผิวน้ำที่กำลังไฟไหม้อยู่จนไม่เห็นเปลวไฟ รีบขึ้นมาหายใจโดยหันหน้าไปทางใต้ลมแล้วว่ายน้ำต่อไปจนกว่าจะพ้นเขตไฟไหม้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ถ้าคุณอยู่ในน้ำที่มีผิวน้ำมันแต่ไม่มีไฟไหม้ คุณต้องให้ศรีษะพ้นน้ำสูงๆเพื่อกันไม่ให้น้ำมันเข้าตา​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=10>
    ถ้าคุณมีเสื้อชูชีพให้ลอยตัวดังรูป 15-3 เป็นท่าที่จะช่วยให้สูญเสียความร้อนจากร่างกายน้อยที่สุด ​
    อย่าลืมว่าความร้อนของร่างกายสูญเสียทางศรีษะ 50% คุณต้องมีที่คลุมหัวและคอไว้ด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    รูป 15-3
    [​IMG]

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=9>
    ถ้าทำได้พยายามเก็บกู้สิ่งที่ลอยน้ำไว้เช่น อาหารกระป๋อง เสื้อผ้า เบาะนั่ง อะไรก็ได้ที่มีประโยชน์ต่อการยังชีพของคุณต่อไป จากนั้นผูกรัดให้เรียบร้อยและให้ระวังของมีคมที่อาจทำให้แพคุณรั่วขาดและจมได้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    เตรียมเครื่องส่งสัญญาณช่วยชีวิตไว้ให้พร้อมใช้ทุกอย่างที่มีเช่น วิทยุ กระจกเงา พลุสัญญาณ เศษผ้านำมาใช้เป็นธงโบก เป็นต้น​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=22>
    ถ้าคุณอยู่ในแพช่วยชีวิต ให้ตรวจสอบการบาดเจ็บซึ่งกันและกันและให้การปฐมพยาบาล ถ้ามียาแก้เมาคลื่นและถึงเวลาที่ต้องใช้มันให้วางยาไว้ใต้ลิ้นแล้วให้มันละลายเอง ควรกินยาดักไว้ก่อนเพราะการอาเจียนจากการเมาคลื่นนั้นทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและอาจนำไปสู่อาการขาดน้ำได้ ถ้ามีแพช่วยชีวิตลำอื่นอยู่ด้วยให้ผูกรวมเข้าด้วยกันเว้นระยะประมาณ 7.5 เมตร ทำให้ง่ายต่อการสังเกตเมื่อเครื่องบินช่วยชีวิตมาถึง ตรวจสอบการลอยของแพอย่างสม่ำเสมอ เช็กรอยรั่ว ถ้าอากาศร้อนมากอากาศในแพจะขยายตัวให้ปล่อยลมออกบ้าง ถ้าอากาศเย็นลงให้สูบอากาศเพิ่มเข้าไป จำไว้ว่าน้ำมันจะทำให้แพเสื่อมสภาพเช่นบริเวณรอยต่อกาวจะแตกออกเมื่อโดนน้ำมัน​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    สมอทะเลเป็นอุปกรณ์ช่วยให้แพไม่ลอยตามกระแสน้ำอย่างเร็ว เป็นตัวถ่วงเวลาให้แพของคุณอยู่ในสถานที่ที่เกิดเหตุเพื่อรอการช่วยเหลือต่อไป นอกจากนั้นสมอทะเลยังช่วยบังคับให้แพคุณหันหัวเข้าสู้คลื่นลมตลอดเวลา ช่วยลดความเสี่ยงในการพลิกคว่ำ และขณะเดียวกันยังช่วยให้คุณลอยตามกระแสน้ำนี้ได้เร็วยิ่งขึ้น ดูรูป 15-4 ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [CENTER][SIZE=3]รูป 15-4 [/SIZE]
    [SIZE=3][IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1285248/[/IMG][/SIZE][/CENTER]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]คุณต้องปรับระยะระหว่างแพกับสมอทะเลให้อยู่ในระยะยอดคลื่นและท้องคลื่นจึงจะได้ผลดี ดูรูป 15-5[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [SIZE=3][/SIZE]
    [B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][CENTER][SIZE=3]รูป 15-5[/SIZE]
    [IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1285249/[/IMG][/CENTER]
    [SIZE=3][/SIZE]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=18>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ถ้ามีคลื่นลมแรงให้กางผ้ากันลม(ถ้ามี) รักษาแพให้แห้งตลอดเวลา รักษาความสมดุลย์ของแพ คนที่ตัวหนักสุดควรนั่งอยู่ตรงกลาง เมื่ออยู่บนเรือลำเดียวกันแล้วนั่นหมายความว่าจะต้องร่วมหัวจมท้ายด้วยกัน สำรวจอาหาร น้ำ เครื่องมือและทุกอย่างที่มีแล้วจัดแบ่งหน้าที่ของแต่ละคน เช่นคอยรองน้ำ สำรวจรอบๆ ให้สัญญาณขอความช่วยเหลือ คอยตักน้ำออกจากแพ คอยจัดจ่ายอาหารตามเวลา คอยสลับหน้าที่กันตามเวลาอันสมควร และมีสมุดจดช่วยความจำเช่นเวลา สถานที่ที่เกิดเหตุ ชื่อและสภาพบาดเจ็บของแต่ละคน ทิศทางคลื่นและลม เวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นและตกดิน เป็นต้น[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ถ้ามีอากาศหนาวให้สวมใส่เสื้อผ้าเพิ่มเติม เบียดตัวมาใกล้ๆกันเพื่อเพิ่มความอบอุ่น เคลื่อนไหวร่างกายบ้างเพื่อให้ระบบหมุนเวียนเลือดทำงาน ใช้ผ้าใบคลุมคนทั้งหมดเข้าด้วยกัน ให้อาหารเพิ่มสำหรับคนที่มีอาการเจ็บป่วยจากตวามเย็น อย่าให้หัวหรือคอโดนน้ำ และให้มีอุปกรณ์กันหนาวคลุมไว้ อย่าลืมว่าคุณสามารถเสียความร้อน 50% ของร่างกายจากหัวและคอของคุณ[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>[B][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][LEFT]ข้อควรระวังอย่างยิ่งถ้าคุณลอยตัวอยู่ในน้ำเย็นอาจทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็วจากอาการไฮโปรเทอร์เมียเพราะว่าร่างกายจะเสียความร้อนเร็วกว่าปกติถึง 25 เท่า ตามตาราง 15-6 บอกว่าคุณจะลอยตัวอยู่ในน้ำเย็นได้นานเท่าใด ณ ที่อุณหภูมิน้ำทะเลแตกต่างกัน[/LEFT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/B][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][LEFT][/left][/COLOR][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/COLOR][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/COLOR][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [SIZE=3][/SIZE]
    [B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][CENTER][SIZE=3]ตาราง 15-6[/SIZE]
    [SIZE=3][IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1285250/[/IMG][/SIZE]
    [SIZE=3][/SIZE] [/CENTER]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ถ้าอยู่ในอากาศร้อนให้ป้องกันตัวเองจากการเผาไหม้จากแสงแดดด้วยการคลุมผ้าใบหรือใช้ครีมกันแดด[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]น้ำ[/LEFT][/FONT][/FONT][/B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>[B][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][LEFT]คุณจะสามารถอยู่ได้นานถึง 10 วันหรือมากกว่านั้นด้วยน้ำเพียงอย่างเดียว[/LEFT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/B][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][LEFT][/left][/COLOR][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/COLOR][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/COLOR][LEFT][/left][/FONT][LEFT][FONT=Arial][FONT=Arial] แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีความปรารถนาที่จะมีชีวิตอยู่นานแค่ไหน ทุกครั้งที่ดื่มน้ำควรทำให้ริมฝีปาก ลิ้นและคอคุณชุ่มก่อนกลืน[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]กรณีมีน้ำจำกัด[/LEFT][/FONT][/FONT][/U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ให้ประหยัดเหงื่อของคุณให้มากๆ อยู่ในที่ร่ม ถ้าร้อนจัดใช้น้ำทะเลทำให้เสื้อผ้าเปียกพอหมาดๆ ป้องกันน้ำจืดที่เหลืออยู่ไม่ให้ไปผสมปนกับน้ำทะเล วางแผนการใช้น้ำแต่ละวันจากจำนวนน้ำที่คุณเหลืออยู่ ผ่อนคลายและนอนพักผ่อน เอาเสื้อผ้าชับน้ำทะเลแล้วบิดให้หมาดก่อนใส่จะเป็นการลดการเสียน้ำของร่างกาย แต่ถ้าคุณทำมากและบ่อยเกินไปอาจทำให้คุณเกิดอาการน้ำทะเลกัดได้[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=15>[B][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][LEFT]ถ้าคุณไม่มีน้ำเหลืออยู่แต่ยังมีอาหาร อย่าทานอาหาร ถ้าคุณเหลือน้ำดื่มประมาณ 2 ลิตรต่อวันให้ทานอาหารได้แต่อย่าทานอาหารในระหว่างเมาคลื่นเพราะคุณจะอาเจียนออกมาเป็นอาหารปลาซึ่งถือว่าเป็นการเสียของโดยเปล่าประโยชน์ ให้พักและผ่อนคลายและดื่มเฉพาะน้ำเท่านั้น รวมไปถึงดื่มเฉพาะน้ำเท่านั้น[/LEFT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT][/B][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][FONT=Arial][COLOR=#ff0000][LEFT][/left][/COLOR][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/COLOR][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/COLOR][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]เตรียมผ้าใบให้พร้อมเพื่อนำมารองน้ำฝน ถ้าผ้าใบมีคราบเกลือติดอยู่ให้ล้างด้วยน้ำทะเลก่อน เมื่อได้น้ำจากฝนให้คุณดื่มมากเท่าที่จะดื่มได้และรองใส่ภาชนะสำรองไว้[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ในทางทหารมีเครื่องมือทำน้ำทะเลให้เป็นน้ำดื่ม แต่สำหรับคนธรรมดาอย่างเราๆคงไม่สามารถที่จะหามาใช้ได้[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ข้อห้าม[/LEFT][/FONT][/FONT][/U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- อย่าดื่มน้ำทะเล[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- อย่าดื่มน้ำปัสสาวะ[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- อย่าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- งดสูบบุหรี่[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- จะกินอาหารได้ก็ต่อเมื่อคุณมีน้ำที่เพียงพอแล้วเท่านั้น อย่ากินอาหารเมื่อคุณมีน้ำจำกัด[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]การนอนพักเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะไม่ให้คุณเสียน้ำในร่างกายและยังประหยัดทั้งอาหารและน้ำดื่ม เพียงแต่ว่าจะต้องนอนในที่ร่มเงาและพยายามพักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ปลาคืออาหารในทะเลซึ่งคุณสามารถหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตัวเองได้ ดังนั้นผมจึงไม่ขอกล่าวต่อในที่นี้[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]การเจ็บป่วยในทะเล[/LEFT][/FONT][/FONT][/B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]นอกจากการเมาคลื่นและน้ำทะเลกัดแล้วคุณอาจพบปัญหาเหมือนกับการยังชีพบนบกอีกนั่นคือ อาการขาดน้ำ ไฮโปเทอร์เมียและแสงแดดเผา[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]เมาคลื่น [/LEFT][/FONT][/FONT][/U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][FONT=Arial][FONT=Arial]มีการเวียนหัว อาเจียน ทำให้เกิดผลที่ตามมาคือ[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- ร่างกายเสียน้ำ[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- ท้อแท้ หมดกำลังใจที่จะยังชีพต่อไป[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- ทำให้คนอื่นๆเมาคลื่นตาม[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- ดึงดูดความสนใจต่อปลาฉลาม[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- ทำให้สกปรก[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[I][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]วิธีการปฏิบัติ[/LEFT][/FONT][/FONT][/I][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][FONT=Arial][FONT=Arial]คือ[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- ล้างตัวของผู้ป่วยและแพช่วยชีวิตให้สะอาด[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- งดอาหารจนกว่าผู้ป่วยจะหายเวียนหัว[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- ให้ผู้ป่วยนอนพัก[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- ให้ยาแก้เมาคลื่น(ถ้ามี) แต่ต้องให้ทานก่อนเกิดอาการเมา(กินดักไว้) ถ้าคุณมีอาการเมาไปแล้วอย่ากินเพราะจะทำให้อาการที่เกิดขึ้นแล้วนั้นแย่ลง[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- บางคนให้มองขอบฟ้าหรือก้อนเมฆ บางคนให้ว่ายน้ำรอบๆจะช่วยให้อาการเมาคลื่นลดลง ถ้าคุณมีใครสักคนที่คุณรักมากๆให้คิดถึงและตั้งความหวังไว้ที่จะอยู่ต่อไปเพื่อที่จะได้พบกันอีกสักครั้งในวันข้างหน้า[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]น้ำทะเลกัด[/LEFT][/FONT][/FONT][/U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][FONT=Arial][FONT=Arial] เกิดที่บริเวณข้อพับของร่างกายที่สัมผัสน้ำทะเลนานๆ ให้ล้างบริเวณที่เจ็บด้วยน้ำจืดแล้วปล่อยให้แห้งแล้วทายาฆ่าเชื้อ[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]น้ำกัดเท้า เย็นกัด ไฮโปเทอร์เมีย[/LEFT][/FONT][/FONT][/U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][FONT=Arial][FONT=Arial] วิธีการดูแลรักษาได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 14[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ตา[/LEFT][/FONT][/FONT][/U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][FONT=Arial][FONT=Arial] ปกป้องตาคุณโดยสวมแว่นกันแดดอยู่เสมอ[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ท้องผูก[/LEFT][/FONT][/FONT][/U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][FONT=Arial][FONT=Arial] เป็นปัญหาปกติของผู้ใช้ชีวิตบนแพชูชีพ อย่ากินยาถ่ายเพราะจะทำให้คุณเสียน้ำ ให้ใช้วิธีออกกำลังกายบ้างและดื่มน้ำเท่าที่มี[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ปัสสาวะขัด[/LEFT][/FONT][/FONT][/U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][FONT=Arial][FONT=Arial] ถ้าคุณขาดน้ำ ปัสสาวะก็จะน้อยตามไปด้วยทำให้เกิดการปัสสาวะขัด[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>[U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ผิวไหม้[/LEFT][/FONT][/FONT][/U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][FONT=Arial][FONT=Arial] เป็นปัญหาใหญ่ในการยังชีพในทะเล ควรให้ตัวเองอยู่ในร่มเงาและมีผ้าคลุมหัวและคอไว้เสมอ ใช้ครีมกันแดดเท่าที่มีทาป้องกันการถูกแดดเผาไหม้ นอกจากนี้แสงสะท้อนจากผิวน้ำทำให้คุณผิวไหม้ได้เช่นกัน[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ปลาฉลาม[/LEFT][/FONT][/FONT][/B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=18>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ถ้าคุณอยู่ในน้ำไม่ว่าจะเป็นบนเรือหรือว่าบนแพคุณอาจจะเห็นสัตว์ทะเลรอบๆคุณตลอดเวลาทั้งที่สวยงาม ทานได้หรือแม้แต่มีพิษ แต่โดยทั่วไปแล้วฉลามถือเป็นสัตว์ที่อันตรายที่สุดในบรรดาสัตว์ต่างๆที่คุณเห็นในทะเลทั้งหลาย สัตว์อย่างอื่นเช่นปลาวาฬและปลาโลมาอาจจะดูน่ากลัวแต่จริงๆแล้วไม่ได้อันตรายเท่าใดต่อเรา ฉลามมีหลายร้อยชนิดแต่มีเพียง 20 ชนิดเท่านั้นที่มีอันตรายต่อเรา ฉลามขาว ฉลามหัวฆ้อนและฉลามเสือจะมีอันตรายมากที่สุด ถ้าคุณแยกไม่ออกก็ให้ถือว่าฉลามตัวที่มีความยาวมากกว่า 1 เมตรเป็นฉลามที่มีอันตรายทั้งหมด[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=18>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ฉลามมีในทุกๆท้องสมุทรและทะเล มีทั้งหากินในน้ำลึกและหากินที่ผิวน้ำ(สังเกตได้จากกระโดงที่โผล่ขึ้นมาเหนือผิวน้ำ) ซึ่งฉลามที่หากินที่ผิวน้ำนี้เป็นชนิดที่คุณจะพบได้บ่อยที่สุด ฉลามกินทุกอย่างที่มีชีวิตและขวางหน้ามัน บอกได้เลยว่าฉลามถือเป็นสัตว์ช่างกินตัวจริง มันจะเลือกจู่โจมเหยื่อที่บาดเจ็บก่อนโดยใช้การมอง กลิ่นและเสียงเป็นตัวนำทาง ฉลามมีความสามารถในการดมสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลิ่นเลือดซึ่งจะยิ่งเพิ่มให้ฉลามนั้นดุดันมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้มันยังมีความไวสูงต่อแรงสั่นหรือกระเพื่อมของน้ำฉะนั้นสัตว์ที่บาดเจ็บ นักว่ายน้ำ การระเบิดใต้น้ำหรือแม้แต่ปลาที่ติดเบ็ดล้วนแล้วแต่สร้างความสนใจให้กับมันได้ทั้งนั้น[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ฉลามสามารถกัดได้ในทุกๆตำแหน่งเพราะมีกรามที่กว้างมาก มันมักจะล่าเหยื่อตามลำพัง แต่ถ้าเป็นฉลามตัวเล็กมันจะเดินทางเป็นกลุ่มและรุมจู่โจมเหยื่อพร้อมๆกัน ถ้าฉลามตัวหนึ่งพบเหยื่อ ตัวอื่นๆจะเข้ามาสมทบอย่างรวดเร็ว มันกินแม้แต่กระทั่งพวกของมันเองถ้าตัวใดตัวหนึ่งเกิดบาดเจ็บ ฉลามกินเหยื่อตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน รายงานส่วนใหญ่พบว่าคนโดนฉลามทำร้ายในเวลากลางวันโดยเฉพาะช่วงบ่ายๆ[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[I][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]กรณีที่ถูกปลาฉลามจู่โจม[/LEFT][/FONT][/FONT][/I][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]++ ถ้าคุณอยู่ในน้ำและกำลังถูกฉลามเข้าจู่โจมให้ตีน้ำและตะโกนดังๆเพื่อให้ฉลามตกใจและถอยห่างออกไป[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]++ ถ้าคุณกำลังถูกจู่โจมให้เตะและทุบ ถ้าเป็นไปได้ให้โดนที่เหงือกหรือตามัน อย่าทำบริเวณจมูกเพราะอาจพลาดโดนฟันมันได้[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]++ ถ้าคุณอยู่ในแพและกำลังจะถูกฉลามจู่โจมให้ตีมันด้วยทุกอย่างที่คุณมี ยกเว้นสิ่งหนึ่งที่คุณห้ามน้ำมาใช้นั่นคือ "มือเปล่าๆ" [/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]กรณีถ้าคุณอยู่บนแพและเห็นฉลามอยู่ใกล้ๆ อย่าตกปลาแต่ถ้าปลาติดเบ็ดอยู่ให้ปล่อยมันไปก่อน อย่าล้างปลาในน้ำ อย่าทิ้งขยะลงน้ำ อย่าจุ่มแขนหรือขาลงไปในน้ำ ให้อยู่เงียบๆและไม่เคลื่อนไหว[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[I][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]มาตการป้องกันฉลามมีดังนี้[/LEFT][/FONT][/FONT][/I][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- ถ้าคุณอยู่ในน้ำให้คุณให้เกาะกลุ่มกันไว้และช่วยกันสังเกตรอบๆเป็นมุม 360 องศา[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- คอยระวังดู สวมสื้อผ้าและรองเท้าไว้ ตามบันทึกที่ผ่านมาพบว่าฉลามจะเลือกจู่โจมคนที่ไม่มีเสื้อผ้าก่อนและโดยมากจะเป็นในบริเวณขา เสื้อผ้ายังช่วยป้องกันผิวคุณถลอกเมื่อฉลามว่ายเฉียดคุณไปด้วย[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- อย่าปัสสาวะแต่ถ้าปวดให้ถ่ายออกทีละน้อย ถ้าปวดหนักก็ให้ทำทีละน้อยเช่นกันและพยายามขว้างให้ไปไกลๆ ทำเช่นเดียวกันกับเศษอาเจียนของคุณ[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]เห็นฝั่ง [/LEFT][/FONT][/FONT][/B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][FONT=Arial][FONT=Arial]คุณต้องคอยตรวจตราหาฝั่งใกล้ๆ โดยอาจสังเกตได้จากสิ่งต่างๆต่อไปนี้[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]++ จุดที่เห็นเมฆก้อนใหญ่ๆอยู่กับที่ในวันที่ฟ้าปลอดโปร่งขณะที่เมฆก้อนอื่นๆเคลื่อนที่ พอจะสันนิษฐานได้ว่าเป็นจุดบนเกาะหรือมีเกาะอยู่ใกล้ๆบริเวณเหนือลมของเมฆก้อนนั้น[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]++ สีน้ำทะเลที่เขียวเข้มหรือน้ำเงินเข้มแสดงถึงการอยู่ในเขตน้ำลึก สีที่จางลงแสดงว่าตื้นลงและอาจเข้าใกล้ฝั่งหรือเกาะ[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]++ บางครั้งคุณจะได้กลิ่นดินโคลนหรือเสียงจากบนฝั่งโดยเฉพาะคืนที่มีหมอกหรือฝนตก ทิศทางของเสียงคลื่นกระทบฝั่งและเสียงนกทะเลที่ร้องต่อเนื่อง สันนิษฐานได้ว่าคุณเข้ามาใกล้ฝั่งแล้ว[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]++ โดยปกตินกจะอยู่กันหนาแน่นที่ชายฝั่งมากกว่าในทะเลเปิด ทิศทางของฝูงนกที่บินในยามพระอาทิตย์ขึ้นและตกดินอาจชี้ถึงทิศทางของชายฝั่ง เวลากลางวันนกจะออกหากินหลายทิศทาง ดังนั้นทิศทางการบินของมันจะนำมาใช้พิจารณาไม่ได้[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[I][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]โปรดระวัง.....[/LEFT][/FONT][/FONT][/I][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][FONT=Arial][FONT=Arial].พยับแดดเป็นปรากฏการณ์ทางสายตา บางครั้งลวงตาให้นึกว่าเป็นฝั่ง ถ้าคุณสามารถขยับตัวให้สูงขึ้นไปอีกภาพลวงตาจะหายไป[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]คุณสามารถสังเกตหาชายฝั่งจากคลื่นทะเล ดังรูป 15-7 คลื่นจะมีการสะท้อนและหักเหเมื่อกระทบกับเกาะ ถ้าคุณสังเกตและจับลักษณะได้ เส้นทางตามเครื่องหมาย X จะนำคุณเข้าหาเกาะ[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [SIZE=3][/SIZE]
    [B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][CENTER][SIZE=3]รูป 15-7[/SIZE]
    [IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1285251/[/IMG][/CENTER]
    [SIZE=3][/SIZE]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>[B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]การขึ้นฝั่ง[/LEFT][/FONT][/FONT][/B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=18>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]เมื่อเห็นฝั่งแล้วก็ต้องขึ้นฝั่งให้ได้ด้วยความปลอดภัย ใส่เสื้อผ้าและสวมรองเท้ารัดกุมเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ ถ้าคุณอยู่ในแพควรขึ้นฝั่งในด้านที่คลื่นลมไม่แรง ระวังคลื่นพัดคุณเข้าฝั่งกระทบกับโขดหินจนบาดเจ็บ เลือกเวลากลางวันและทิศทางที่แสงอาทิตย์ไม่ส่องเข้าตาคุณ หลีกเลี่ยงกลุ่มปะการังและโขดหิน ที่บริเวณปากแม่น้ำจะมีกระแสน้ำพัดแรงและอาจพัดคุณออกนอกเกาะได้ ให้เลือกบริเวณที่เป็นชายหาดที่มีความลาดเอียงต่ำและมีคลื่นเบาๆ ไม่เช่นนั้นให้คุณอยู่ในแพคอยหรืออยู่ใกล้ๆเกาะคอยให้สัญญาณขอความช่วยเหลือจากบนฝั่ง[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]มีเทคนิคทางทหารในการนำแพเข้าฝั่ง ในกรณีที่มีคลื่นแรงซึ่งผมไม่ขอกล่าวในที่นี้[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ว่ายน้ำเข้าฝั่ง[/LEFT][/FONT][/FONT][/B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]++ ถ้าคุณนำแพเข้าฝั่งไม่ได้ก็ต้องว่ายน้ำไปที่ฝั่งแต่ให้สวมใส่เสื้อผ้าและรองเท้าด้วย เพราะคุณไม่รู้ว่าจะมีอะไรอยู่ในน้ำ เช่นหินที่คม หอยเม่นและซากประการัง[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]++ ถ้าบนฝั่งไม่มีคนช่วยคุณ คุณต้องหาวิธียังชีพบนฝั่งต่อจนกว่าจะได้รับความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร น้ำ หรือที่กำบัง จะหาได้ง่ายกว่าอยู่ในทะเล[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]++ คุณผ่านความยากลำบากแบบหินสุดๆมาแล้วถึงตอนนี้ย่อมไม่เหนือบ่ากว่าแรงที่ความสามารถคุณจะยังชีพต่อไปให้ได้ การเดินทางและหลบหาที่กำบังบริเวณชายหาดย่อมจะดีกว่าเดินตรงเข้าไปในกลางเกาะเพราะถ้าคุณไม่คุ้นเคยอาจได้รับอันตรายได้ [/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]++ ถ้าคุณสำรวจพบร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์บนเกาะจึงค่อยตัดสินใจแกะรอยเพื่อเข้าไปขอความช่วยเหลือ อย่าลืมสำรวจอันตรายที่อาจเกิดรอบๆเช่นสัตว์ร้าย จรเข้ ปลาที่มีพิษ ระดับน้ำขึ้น-ลง หอยเม่น ฉลาม แมงกระพรุนไฟ งูทะเลและซากปะการังที่แหลมคม[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ได้รับความช่วยเหลือ[/LEFT][/FONT][/FONT][/B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]ถ้าคุณเห็นความช่วยเหลือเข้ามาใกล้ในระหว่างที่อยู่บนแพไม่ว่าทางเรือหรือเครื่องบินให้เคลียร์เชือกและอุปกรณ์ต่างๆที่อาจพันกันหรือเกะกะในระหว่างที่ได้รับการช่วยเหลือ ใส่เสื้อผ้าให้รัดกุมพร้อมหมวกกันกระแทก(ถ้ามี) แล้วรอรับคำสั่งจากผู้ช่วยชีวิต[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 15-1.JPG
      15-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      45.7 KB
      เปิดดู:
      4,148
    • 15-1...JPG
      15-1...JPG
      ขนาดไฟล์:
      22.6 KB
      เปิดดู:
      4,121
    • 15-2.JPG
      15-2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      37.1 KB
      เปิดดู:
      4,110
    • 15-3.JPG
      15-3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      26 KB
      เปิดดู:
      4,119
    • 15-4.JPG
      15-4.JPG
      ขนาดไฟล์:
      18.7 KB
      เปิดดู:
      3,691
    • 15-5.JPG
      15-5.JPG
      ขนาดไฟล์:
      12.2 KB
      เปิดดู:
      3,705
    • 15-6.JPG
      15-6.JPG
      ขนาดไฟล์:
      19.6 KB
      เปิดดู:
      3,691
    • 15-7.JPG
      15-7.JPG
      ขนาดไฟล์:
      29.1 KB
      เปิดดู:
      3,695
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2010
  17. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    การข้ามลำน้ำ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=10>
    ระหว่างยังชีพ บางครั้งคุณจำเป็นต้องข้ามลำน้ำ แม่น้ำ ทะเลสาบหรือบริเวณน้ำไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลันไม่ว่าจะสร้างความลำบากให้คุณเพียงใด คุณต้องรู้วิธีที่จะข้ามมันให้ได้ด้วยความปลอดภัย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ลำน้ำและกระแสน้ำ​
    ก่อนตัดสินใจข้ามลำน้ำใดๆ ให้วางแผนก่อนดังนี้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ++ ให้ขึ้นไปที่สูงหรือปีนต้นไม้แล้วมองลงมาที่ลำน้ำเพื่อเลือกบริเวณที่จะข้าม บริเวณที่คุณเลือกควรจะมีลักษณะคือเลือกบริเวณที่ลำน้ำแยกสายออกไป บริเวณที่มีที่ตื้นหรือสันดอน ถ้าเป็นไปได้ให้เลือกข้ามจากบริเวณเหนือลำน้ำเพื่อให้กระแสน้ำช่วยส่งคุณ เส้นทางตัดข้ามจะเป็นมุม 45 องศา​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ++ คุณต้องดูฝั่งตรงข้ามที่คุณจะไปด้วยว่ามีอุปกรณ์และเป็นชัยภูมิที่ปลอดภัยที่จะเข้าถึงหรือไม่​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ++ หลีกเลี่ยงข้ามลำน้ำที่ลึก แคบและมีน้ำเชี่ยว รวมทั้งที่มีแก่งหินเพราะอาจทำให้คุณบาดเจ็บและลื่นไถลได้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ++ หลีกเลี่ยงข้ามบริเวณที่เป็นน้ำวนเพราะมันจะฉุดคุณลงใต้ผิวน้ำ​
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ++ ใส่เสื้อผ้าและรองเท้าให้รัดกุมในระหว่างข้ามลำน้ำ อย่าข้ามในเวลาที่หนาวเย็น หาวิธีทำทุ่นลอยน้ำเพื่อใช้ช่วยพยุงอุปกรณ์ต่างๆ ถ้าเป็นไปได้ให้ร่างกายเปียกน้ำน้อยที่สุด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=7>
    น้ำเชี่ยวกราก​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ถ้าจำเป็นและเชื่อมั่นในตัวเองคุณจะสามารถว่ายน้ำข้ามน้ำที่เชี่ยวกรากได้แต่ให้เลือกว่ายตามน้ำ อย่าว่ายทวนน้ำ ให้หลีกเลี่ยงบริเวณน้ำวน ถ้าเป็นลำน้ำเชี่ยวกรากที่คุณพอจะเดินข้ามได้ให้ทำดังนี้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    - ถอดเสื้อและกางเกงออกเพื่อลดแรงฉุดของน้ำแต่ต้องใส่รองเท้าและผูกเชือกให้แน่นหนา รวบรวมเสื้อผ้าใส่เป้ให้เป็นแพ็คเดียวกัน กรณีที่มันหลุดลอยไปจะได้ง่ายต่อการค้นหาและดีกว่าปล่อยให้มันกระจัดกระจายออกไป​
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    - เป้สะพายหลังต้องง่ายต่อการปลดออกในทันทีที่คุณไม่สามารถต้านแรงน้ำได้ ในการข้ามแบบทีละคนให้หาท่อนไม้ที่แข็งแรงและเหมาะมือไว้สักอัน เส้นผ่าศูนย์กลาง 7.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.1-2.4 เมตรเพื่อช่วยเดินในน้ำ ไม้นี้จะช่วยในการแตกแยกความเร็วของกระแสน้ำออกและทำให้เท้าคุณไม่หลุดจากพื้นและก้าวได้ดียิ่งขึ้น ดูรูป 16-1 ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    รูป 16-1
    [​IMG]

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=18>
    - จับไม้ให้แน่น เดินตะแคง ใช้ปลายไม้อีกด้านจุ่มลงในน้ำ ค่อยๆก้าวด้วยความมั่นคงพร้อมๆกับไม้โดยให้ปลายไม้ที่จุ่มในน้ำอยู่ด้านเหนือกระแสน้ำของคุณตลอดเวลา แต่ละก้าวของคุณให้รักษาตำแหน่งเท้าไว้ด้านล่างของไม้ รักษามุมของไม้ให้เคลื่อนในแนวเอียงเพื่อให้มีแรงต้านให้ไม้อีกด้านพาดอยู่แนบอกคุณตลอดเวลา ให้เลือกข้ามลำน้ำตามกระแสน้ำและตัดกับกระแสน้ำเป็นมุม 45 องศา ไม่ต้องห่วงน้ำหนักเป้ที่อยู่บนหลังคุณเพราะมันช่วยให้คุณก้าวได้มั่นคงขึ้น วิธีนี้ช่วยให้คุณเดินข้ามลำน้ำที่เชียวกรากได้ในขณะที่บางคนไม่ทราบวิธีจะไม่สามารถแม้แต่จะยืนต้านความแรงของน้ำได้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    หมายเหตุ​
    : สารภาพตามตรงว่าผมก็ไม่เคยมีประสบการณ์แบบนี้มาก่อน อาศัยแปลโดยใช้สามัญสำนึกช่วย ถ้าคุณมีโอกาสให้ลองฝึกฝนดูด้วยหลักการดังที่กล่าวมาแล้ว
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=22>
    ดูรูป 16-2 ในสถานการณ์เดียวกันแต่ต้องข้ามลำน้ำเป็นกลุ่ม ให้มั่นใจก่อนว่าทุกคนแพ็คของบนหลังเรียบร้อย ถอดเสื้อและกางเกงเหลือแต่รองเท้าเหมือนการข้ามลำน้ำคนเดียว หาไม้ที่แข็งแรงมีขนาดยาวเพียงพอที่จะยึดเกาะให้ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน จัดแถวจับไม้โดยให้คนที่ตัวหนักที่สุดอยู่ด้านใต้น้ำและคนที่ตัวเบาที่สุดอยู่ด้านเหนือของน้ำ จัดทิศทางการข้ามให้เป็นไปในแนวตามทิศทางกระแสน้ำแต่ตัดกระแสน้ำเป็นมุม 45 องศา ด้วยวิธีนี้คนที่อยู่ลำดับเหนือน้ำขึ้นไปจะเป็นตัวแตกแยกความแรงของกระแสน้ำนี้ออก ทำให้คนที่อยู่ลำดับใต้น้ำลงไปสามารถเคลื่อนที่ได้ง่ายขึ้นในบริเวณตำแหน่งน้ำวนที่ก่อตัวจากคนที่อยู่เหนือน้ำ ถ้าคนที่อยู่เหนือน้ำเกิดลื่นเท้าหลุดออกจากพื้นเขาจะสามารถตั้งหลักใหม่ได้โดยคนที่อยู่ถัดไปไม่เสียกระบวน​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    รูป 16-2
    [​IMG]

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    กรณีที่คุณมีเชือกและมีคนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป คุณสามารถใช้เทคนิคจากรูป 16-3 โดยเชือกจะต้องยาว 3 เท่าของความกว้างล้ำน้ำ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    รูป 16-3
    [​IMG]

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    คนแข็งแรงที่สุดต้องข้ามก่อนโดยผูกเชือกไว้รอบอก คนที่ 2 และคนที่ 3​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ไม่ต้องผูกเชือกกับตัว แต่ทำหน้าที่ปล่อยเชือกตามและดึงเชือกเมื่อคนที่ 1 ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    เสียหลักเพื่อไม้ให้น้ำพัดพาไป​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    เมื่อคนที่ 1 ถึงฝั่งแล้วให้ปลดเชือกออกจากตัว หลังจากนั้นให้คนที่ 2​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ผูกเชือกรอบอกแล้วข้ามโดยให้คนที่ 1 และคนที่ 2 เป็นคนดึงและ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ปล่อยเชือก ถ้ามีคนมากกว่านี้ก็ใช้วิธีเดียวกันจนเหลือคนสุดท้าย​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    เมื่อทุกคนถึงฝั่งเหลือคนสุดท้าย คนที่ 3 ให้ผูกเชือกรอบอก​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    โดยจัดให้คนแข็งแรงที่สุด คนที่ 1 ช่วยดึง คนที่ 2​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ไม่ต้องทำอะไรแต่จับเชือกเตรียมพร้อมเสมอในกรณีฉุกเฉิน​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    แพลอยน้ำ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=18>
    ถ้าคุณมีผ้าร่มกันน้ำ ผ้าใบกันน้ำ หรือสิ่งลอยน้ำเช่นขอนไม้ เศษไม้แห้ง คุณสามารถทำแพเองได้เพื่อช่วยคุณและอุปกรณ์ในการลอยน้ำจนสามารถข้ามลำน้ำที่ไหลช้าหรือนิ่งได้ ให้ดูรูป 16-4 ถึง 16-8 เพื่อใช้เป็นแนวความคิด ​
    คุณสามารถดัดแปลงวัสดุไร้ค่าจากธรรมชาติและเพิ่มคุณค่าให้มันเป็นสิ่งที่ช่วยชีวิตคุณได้ อย่าปล่อยให้ถึงจุดสำคัญของชีวิตมาถึงโดยที่ต้องคว้าฟางเส้นสุดท้ายเพื่อเอาตัวรอด คุณทำเองได้โดยไม่ต้องรอ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกครั้งควรทดสอบก่อนว่ามันดีพอต่อการใช้งาน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    รูป 16-4
    [​IMG]
    รูป 16-5
    [​IMG]
    รูป 16-6
    [​IMG]
    [CENTER][SIZE=3]รูป 16-7[/SIZE]
    [SIZE=3][IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1285361/[/IMG][/SIZE]
    [SIZE=3][/SIZE] [/CENTER]
    [B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][CENTER][SIZE=3]รูป 16-8[/SIZE]
    [IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1285362/[/IMG][/CENTER]
    [SIZE=3][/SIZE]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>[B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]อุปสรรคอื่นๆในการข้ามลำน้ำ [/LEFT][/FONT][/FONT][/B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][FONT=Arial][FONT=Arial]ได้แก่โคลน ทรายดูด [/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]++ ให้คุณหลีกเลี่ยงแต่ถ้าตกลงไปแล้วและคุณพยายามยกขาขึ้นมาขณะตัวตรงจะยิ่งทำให้คุณจมลึกยิ่งขึ้น ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ทำสะพานข้ามโดยใช้ขอนไม้ กิ่งไม้และใบไม้[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]++ ถ้าคุณตกลงไปในโคลนลึกๆให้คว่ำหน้า กางแขนกางขาออก ใช้วัตถุลอยหรือทำเสื้อผ้าคุณให้ขังอากาศไว้ จากนั้นค่อยๆตะกายไปโดยทำตัวให้อยู่ในแนวนอนตลอดเวลา[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]++ ในหนองน้ำบางที่จะมีพืชลอยน้ำเช่นผักตบชวาซึ่งสามารถรองรับน้ำหนักคุณได้บางส่วน ถ้าเราเอาไม้พาดลงไปบางครั้งเราสามารถเดินบนไม้ได้เลยโดยไม่ต้องว่ายน้ำ[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]++ ทรายดูด เป็นน้ำกับทรายผสมกันและมีความลื่นไหลและมีความลึกแตกต่างกัน ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าเป็นทรายดูดหรือไม่ให้ทดสอบโดยการปาหินลงไปหินจะจมหายไปอย่างรวดเร็ว ทรายดูดจะมีแรงดูดมากกว่าโคลนแต่ถ้าจำเป็นคุณก็สามารถข้ามไปได้โดยใช้วิธีเดียวกันกับการตกลงไปในโคลน[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 16-1.JPG
      16-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      13.9 KB
      เปิดดู:
      4,103
    • 16-2.JPG
      16-2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      34.7 KB
      เปิดดู:
      4,071
    • 16-3.JPG
      16-3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      37.1 KB
      เปิดดู:
      4,061
    • 16-4.JPG
      16-4.JPG
      ขนาดไฟล์:
      22.3 KB
      เปิดดู:
      4,063
    • 16-5.JPG
      16-5.JPG
      ขนาดไฟล์:
      23 KB
      เปิดดู:
      4,070
    • 16-6.JPG
      16-6.JPG
      ขนาดไฟล์:
      29.5 KB
      เปิดดู:
      4,087
    • 16-7.JPG
      16-7.JPG
      ขนาดไฟล์:
      30.7 KB
      เปิดดู:
      3,670
    • 16-8.JPG
      16-8.JPG
      ขนาดไฟล์:
      24.9 KB
      เปิดดู:
      3,676
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2010
  18. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    การหาทิศ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=18>
    ใช้ชีวิตไปวันๆอย่างไร้จุดหมายเหมือนขาดเข็มทิศชีวิตนำทาง คุณอาจเคยได้ยินประโยคเหล่านี้หรือไม่ก็รู้สึกได้ด้วยตนเองในเวลาที่เดือดร้อนแต่ก็ไม่รู้ว่าจะหาที่พึ่งทางใจได้จากใคร (บ่อยครั้งผมก็มีความรู้สึกเช่นนี้เหมือนกันและทุกๆครั้งผมจะใช้ธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นเข็มทิศนำทางให้รอดตัวไปได้ทุกครั้ง) ​
    ในชีวิตจริงของการยังชีพก็ไม่ต่างกันถ้าคุณรู้ทิศแต่ไม่มีเป้าหมายก็ไร้ประโยชน์ ถ้าคุณรู้เป้าหมายแต่ไม่รู้ว่าจะไปทางทิศไหนก็แย่พอกัน มีเป้าหมายก็ต้องมีทิศทางเป็นของคู่กันให้สำเร็จได้ดังใจหมาย
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    ในการยังชีพถ้าคุณมีเข็มทิศและแผนที่พร้อมความรู้และทักษะที่จะใช้ให้เป็นประโยชน์ก็ถือว่าโชคเข้าข้างคุณบ้างแล้วเพื่อที่จะทำให้คุณสามารถเคลื่อนที่เข้าหาความช่วยเหลือหรือไปยังตำแหน่งที่ดีกว่าต่อการยังชีพ ​
    ความรู้ด้านภูมิศาสตร์ประกอบกับทักษะในการอ่านแผนที่และใช้เข็มทิศจะสร้างประโยชน์ให้กับคุณรวมทั้งผู้อื่นที่ฝากชีวิตไว้กับคุณที่เสมือนเข็มทิศนำทางชีวิตให้กับพวกเขา
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    แต่ในกรณีที่คุณไม่มีเข็มทิศหรืออุปกรณ์เดินทาง(GPS) ต่อไปนี้จะบอกวิธีการหาทิศโดยธรรมชาติ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    ใช้เงาจากดวงอาทิตย์​
    พระอาทิตย์ขึ้นในทิศตะวันออกและตกในทิศตะวันตกแต่ไม่ได้เป๊ะ มีคลาดเคลื่อนเนื่องจากการแกว่งของแกนโลกเป็นมุมกับพระอาทิตย์ระหว่างโคจรเงาจะเกิดและเคลื่อนที่ในด้านตรงข้ามของพระอาทิตย์เสมอ ประเทศไทยอยู่ในซีกโลกเหนือดังนั้นเงาจะเคลื่อนที่จากตะวันตกไปตะวันออกและชี้ขึ้นทิศเหนือเวลาเที่ยง (ถ้าอยู่ในซีกโลกใต้จะชี้ทิศใต้) คุณสามารถใช้เงาในการหาทิศและบอกเวลาได้ด้วยวิธีดังนี้
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    1. หาท่อนไม้ยาว ตรงและเรียบประมาณ 1 เมตร ปักไว้ในที่แจ้ง เรียบและเห็นเงาชัดเจน ให้วางหินบนตำแหน่งปลายเงาครั้งแรก จุดนี้คือทิศตะวันตกเสมอ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    2. รอประมาณ 10-15 นาที เงาจะเคลื่อนที่ ให้คุณวางหินอีกก้อนบนตำแหน่งปลายเงา จุดนี้คือทิศตะวันออก​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    3. ลากเส้นตรงเชื่อมระหว่างจุด 2 จุด เส้นนี้เป็นเส้นแทนทิศตะวันออกและตะวันตก (โดยประมาณ)​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    4. ถ้าคุณยืนขนานกับเส้นโดยให้ขาซ้ายอยู่ทิศตะวันตกและขาขวาอยู่ทิศตะวันออก ขณะนี้คุณกำลังหันหน้าไปทางทิศเหนือและข้างหลังคุณเป็นทิศใต้​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    วิธีนี้ใช้ได้ในทุกที่ของโลก คุณสามารถแบ่งซอยด้วยเส้นฉากก็จะได้หน้าปัดเข็มทิศรอบ 360 องศา ถ้าต้องการให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้นก็ต้องใช้เวลามากหน่อยโดยการวางจุดเงาครั้งตอนเช้าจากนั้นวาดวงกลมโดยใช้ไม้ปักเป็นจุดศูนย์กลางให้ส่วนโค้งผ่านจุดนี้ เมื่อถึงเวลาเที่ยงเงาจะหดและหายไป จากนั้นตอนบ่ายเงาจะยาวขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งปลายเงาแตะกับส่วนโค้งที่วาดไว้ ลากเส้นเชื่อมระหว่างสองจุดคุณก็จะได้เส้นที่ชี้ตะวันออกและตะวันตกที่แม่นยำขึ้นมาอีก ดังรูป 17-1​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    รูป 17-1
    [​IMG]

    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=9>
    ดูวัตถุท้องฟ้า ​
    ในเวลากลางคืนคุณสามารถหาทิศหยาบๆได้จากการสังเกตวัตถุบนท้องฟ้า วัตถุบนท้องฟ้าจะขึ้นในทิศตะวันออกและตกในทิศตะวันตก ถ้าคุณจับทิศการเคลื่อนที่จากแกนหมุนของมันได้คุณก็สามารถจับทิศตะวันออกและตะวันตกได้โดยไม่ต้องรู้ชื่อดวงดาว
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ถ้าคุณเลือกสังเกตวัตถุบนท้องฟ้าที่ขึ้นผ่านหัวคุณแล้วตกก็จะง่ายยิ่งขึ้นในการจับแกนตะวันออกและตะวันตก เช่นเลือกกลุ่มดาวที่มีกลุ่มใสสว่าง ดาวพระศุกร์ พระจันทร์ ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=18>
    ดาวเหนือจะเป็นดาวที่ชี้แกนขั้วโลกเหนือตลอดเวลา(มันจะชี้ทิศเหนือให้คุณตลอดเวลาไม่ว่าคุณจะสังเกตดาวนี้เมื่อเวลาใดก็ตาม) คุณสามารถหาดาวเหนือได้โดยใช้กลุ่มดาวหมีใหญ่เป็นตัวชี้ ดังรูป 17-2 กลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆที่คุณเห็นบนท้องฟ้าจะมีขนาดคงที่ ไม่หดไม่ขยาย และมีสัดส่วนระยะห่างระหว่างกันคงที่ ถ้าคุณเป็นคนช่างสังเกตและใช้การกะระยะด้วยสายตาบวกกับเรขาคณิตและมุมสัมพันธ์กันระหว่างดวงดาว คุณก็จะสามารถไล่ทิศได้หรือหาทิศเหนือได้โดยไม่ต้องเห็นดาวเหนือแต่ใช้กลุ่มดาวอื่นๆเป็นตัวชี้หรืออ้างอิง ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    ที่ทิศใต้จะมีกลุ่มดาวกางเขนใต้ ดังรูป 17-3 ใช้ในการหาทิศใต้ ถ้าคุณมีโอกาสไปเที่ยวป่าหรือทะเลในยามค่ำคืนที่โปร่งใสและเห็นดวงดาวเต็มท้องฟ้า ให้ลองสมมุติสถานการณ์ว่าคุณกำลังหลงทางอยู่แล้วลองหาคำตอบจากท้องฟ้าดูแล้วเปรียบเทียบกับเข็มทิศหรือจุดอ้างอิงที่คุณทราบทิศอยู่แล้วว่ามันถูกต้องไหม​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    รูป 17-2
    [​IMG]
    รูป 17-3
    [​IMG]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    การทำเข็มทิศแม่เหล็ก​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=22>
    คุณสามารถทำเข็มทิศแม่เหล็กเองได้ด้วยการเหนี่ยวนำวัตถุที่มีธาตุเหล็กให้เป็นแม่เหล็ก เช่นเข็ม ใบมีดโกนสองคมแล้วแขวนด้วยผมหรือเส้นด้าย หรือให้มันลอยน้ำด้วยการฝนวัตถุนั้นช้าๆในทิศทางเดียวกันบนผ้าไหมหรือในผมคุณหรือบนก้อนแม่เหล็ก ถ้าคุณมีถ่านไฟอย่างน้อย 2 โวลต์และสายไฟแบบมีฉนวน (ถ้าเป็นสายเปลือยให้ใช้กระดาษหรือใบไม้หุ้มเป็นฉนวนแทน) ทำสายไฟให้เป็นขดแล้วต่อปลายกับถ่านไฟจากนั้นให้สอดวัตถุที่ต้องการเหนี่ยวนำผ่านขดลวดเข้าและออกในทิศเดียวกันตลอดหลายๆครั้ง เมื่อคุณนำวัตถุที่เหนี่ยวนำจนกลายเป็นแม่เหล็กมาแขวนบนเชือก (ที่ไม่มีปฏิกิริยาต่ออำนาจแม่เหล็ก) หรือลอยบนเศษไม้ในน้ำ หรือวางบนใบไม้ที่ลอยน้ำ มันจะหันตัวเองเป็นแนวขนานกับเส้นแม่เหล็กโลกหรือแกนเหนือใต้ของแม่เหล็กโลกนั่นเอง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    วิธีอื่นๆ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ดอกทานตะวันจะหันสู่พระอาทิตย์ตลอดเวลาตั้งแต่ขึ้นจนตกดิน​
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    - ไม้ยืนต้นที่มีอายุมากๆ ในลำต้นจะเป็นแหวนชั้นๆซึ่งแหวนเหล่านี้จะชิดกันในด้านที่เป็นแกนขั้วเหนือ-ใต้และจะห่างกันในด้านที่เป็นแกนขั้วตะวันออก-ตะวันตก (ต้นไม้จะเติบโตขยายลำต้นในแกนตะวันออก-ตะวันตกมากกว่าแกนเหนือ-ใต้)​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ลมประจำฤดูที่มีทิศทางประจำ ช่วยให้คุณหาทิศได้ถ้าคุณรู้ว่ามันเป็นมาอย่างไร​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    หมายเหตุ​
    : แต่ละบทที่ผ่านไปยิ่งมากขึ้นเพีงใดผมยิ่งมีความรู้สึกลึกและซึ้งมากขึ้นทุกทีๆถึงคุณค่าของธรรมชาติ ยิ่งคนใกล้และเข้าใจธรรมชาติมากเพียงใด ก็ยิ่งเหมือนกับการที่ได้ขึ้นสูงสุดแล้วกลับสู่อ้อมอกของความสามัญ การยังชีพที่ดูเหมือนเป้นเรื่องคอขาดบาดตายกลับกลายเป็นธรรมดาถ้าคุณทำตัวเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1-1.JPG
      1-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      28 KB
      เปิดดู:
      4,025
    • 1-2.JPG
      1-2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      25.3 KB
      เปิดดู:
      4,033
    • 1-3.JPG
      1-3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      35.5 KB
      เปิดดู:
      4,053
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2010
  19. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    เทคนิคการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    มีสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับคุณเป็นอันดับแรกเลยสำหรับการยังชีพนั่นคือการติดต่อสื่อสารภายในกลุ่มหรือนอกกลุ่มเพื่อขอความช่วยเหลือ ​
    การสื่อสารจะมีทั้งการให้ข้อมูลและการรับข้อมูลให้เป็นที่เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่ายโดยที่ใช้ภาพ แสง สี เสียงและการเคลื่อนไหวเป็นสัญญาณ ไม่ว่าจะเป็นสัญลักษณ์รูปเรขาคณิต ไฟ ควัน เสียงปืน นกหวีด เสียงแตร แสงสะท้อน หรือการเคลื่อนไหวที่เป็นจังหวะ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=22>
    จุดส่งสัญญาณ ​
    ควรเป็นที่ราบกว้าง อยู่ในที่สูงและสามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัด ให้คุณลองฝึก ลองทดสอบและดัดแปลงการส่งสัญญาณด้วยวิธีต่างๆให้เข้ากับสถานการณ์หลากหลายรูปแบบที่อาจเกิดขึ้น ความคุ้นเคยจากการฝึกนี้จะช่วยให้คุณมีโอกาสที่จะรอดได้มากขึ้น ไม่ว่าคุณจะใช้การส่งสัญญาณแบบไหน สิ่งสำคัญคือต้องเตรียมให้พร้อมใช้งานได้ด้วยระยะเวลาที่สั้น อย่าลืมคิดถึงความปลอดภัยด้วย เช่นถ้าคุณใช้ไฟเป็นสัญญาณก็ควรจะระวังอันตรายที่อาจเกิดจากไฟ การใช้วิทยุสื่อสารถือเป็นการติดต่อที่ดีและรวดเร็วที่สุด ถ้าคุณมีให้คุณเรียนรู้การใช้และเตรียมให้พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแบตเตอรี่และแบตเตอรี่สำรองด้วย
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    อุปกรณ์ใช้ส่งสัญญาณ ​
    เราสามารถส่งสัญญาณได้ทั้งทางภาพและเสียง ต่อไปนี้จะอธิบายถึงการสร้างภาพและเสียงจากอุปกรณ์ที่คุณมีอยู่ สัญญาณจะต้องแตกต่างจากธรรมชาติทั่วๆไปเพื่อให้เป็นจุดสังเกตโดยเราจะใช้"สาม"เป็นหลักเพราะอะไรก็ตามที่เป็น"สาม"ย่อมเป็นการจงใจให้เกิดจากมนุษย์และไม่ได้เกิดเองตามธรรมชาติ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    สัญญาณทางภาพ​
    ได้แก่ไฟ ควัน พลุและอื่นๆอีกมากมาย
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    1. ​
    ไฟ เป็นจุดสังเกตในเวลาค่ำมืด การทำสัญญาณไฟขอความช่วยเหลือทางอากาศแบบสากลโดยการก่อไฟ"สาม" จุดให้เป็นสามเหลี่ยมจำนวน 3 จุด หรือเรียงเป็นเส้นตรงโดยทิ้งระยะห่างกันประมาณ 25 เมตร คุณต้องดูแลให้กองไฟแห้งและพร้อมจุดได้ตลอดเวลา แต่ถ้าไม่สามารถทำได้เพราะอยู่คนเดียว ซึ่งถ้าหากคุณอยู่คนเดียวให้ก่อไฟกองเดียวแทนโดยเลือกสถานที่ที่คิดว่าจะเห็นได้ชัดเจนทางอากาศ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ถ้ามีต้นไม้และไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น คุณสามารถใช้มันเป็นเชื้อเพลิงได้แต่ต้องแน่ใจว่าเป็นต้นไม้เดี่ยวและไม่สามารถลุกลามเป็นไฟป่าได้ ดังรูป 18-1 ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    รูป 18-1
    [​IMG]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>
    2. ​
    ควัน การสุมควันโดยการควบคุมการไหม้ให้เป็นไปอย่างช้าๆ เช่นใช้ใบไม้สดคลุม ดังรูป 18-2 สัญญาณขอความช่วยเหลือสากลคือคุณต้องก่อควัน 3 กอง ให้เลือกสถานที่ที่สามารถมองสังเกตได้ง่ายจากทางอากาศคือให้สีควันตัดกับสีของพื้นที่รอบๆ ควันจากยางรถหรือผ้าชุบน้ำมันจะมีสีดำ ควันจากต้นไม้ใบไม้จะมีสีขาว สัญญาณควันใช้ได้ดีในที่ที่มีอากาศนิ่งและแจ่มใส
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    รูป 18-2
    [​IMG]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=22>
    3. ​
    กระจกเงา เวลากลางวันแดดแจ้ง กระจกเงาคืออุปกรณ์ให้สัญญาณชั้นเยี่ยม ซึ่งคุณสามารถใช้วัสดุอื่นแทนได้เช่นฝากระป๋อง หัวเข็มขัดหรือสิ่งอื่นใดที่สามารถสะท้อนแสงได้ ลองฝึกเล่นๆโดยให้แสงกระทบกับวัตถุที่ต้องการ มีวิธีการดังรูป 18-3 ถึง 18-5 อย่ารีรอให้ถึงวันที่คุณต้องการใช้มันจริงๆเท่านั้น เตรียมกระจกและทำเป็นที่คล้องคอคุณได้เพื่อพร้อมใช้ในทุกเวลาเมื่อมีความช่วยเหลือใกล้เข้ามา มีรายงานว่านำร่องเครื่องบินสามารถเห็นแสงสะท้อนของผู้ขอความช่วยเหลือได้ไกลถึง 160 กิโลเมตร ในบางครั้งถ้าคุณอยู่ในที่รกก็จะสังเกตเห็นลำบากให้คุณขึ้นสู่ที่สูง ถ้าคุณมองไม่เห็นเครื่องบินให้กวาดแสงสะท้อนไปยังทิศทางที่คุณได้ยินเสียงเครื่องบิน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    รูป 18-3

    [​IMG]
    [CENTER][SIZE=3]รูป 18-4[/SIZE]
    [SIZE=3][IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1285405/[/IMG][/SIZE]
    [SIZE=3][/SIZE] [/CENTER]
    [B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][CENTER][SIZE=3]รูป 18-5[/SIZE]
    [SIZE=3][IMG]http://palungjit.org/attachments/a.1285406/[/IMG][/SIZE]
    [/CENTER]
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]4. [/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][I][FONT=Arial][FONT=Arial]ไฟฉาย[/FONT][/FONT][/I][FONT=Arial][FONT=Arial][/FONT][/FONT][FONT=Arial][FONT=Arial] คุณสามารถใช้ไฟฉายได้ในตอนกลางคืนเพื่อส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ "SOS" ประกอบด้วยการกระพริบไฟเป็นจังหวะต่อเนื่องด้วยไฟวับ 3 ครั้ง ไฟวาบ 3 ครั้ง ไฟวับ 3 ครั้ง เมื่อครบให้เว้นช่วงแล้วจึงส่งใหม่ต่อไปเรื่อยๆ[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]5. [/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][I][FONT=Arial][FONT=Arial]ไฟเลเซอร์[/FONT][/FONT][/I][FONT=Arial][FONT=Arial][/FONT][/FONT][FONT=Arial][FONT=Arial] ใช้ได้เช่นกันและสามารถเห็นได้ชัดเจน[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]6. [/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][I][FONT=Arial][FONT=Arial]ผ้า[/FONT][/FONT][/I][FONT=Arial][FONT=Arial][/FONT][/FONT][FONT=Arial][FONT=Arial] คุณสามารถใช้ผ้าปูพื้น แขวนบนยอดไม้ โดยเลือกบริเวณที่สีตัดกัน ถ้าเป็นไปได้ทำให้เป็นรูปทรงเรขาคณิตจะทำให้ดึงดูดความสนใจได้ดีกว่า[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]7. [/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][I][FONT=Arial][FONT=Arial]วัสดุธรรมชาติ [/FONT][/FONT][/I][FONT=Arial][FONT=Arial][/FONT][/FONT][FONT=Arial][FONT=Arial]ถ้าคุณไม่มีอุปกรณ์ใดๆเลยติดตัว ให้สร้างสัญญาณขอความช่วยเหลือจากธรรมชาติเช่นก้อนหินและเศษไม้ ทำให้เห็นเด่นชัดและจัดวางให้อยู่ในแนวเหนือใต้เพื่อไม่ให้มีเงาบังจนทำให้การมองเห็นจากอากาศลดน้อยลง[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]8.[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][I][FONT=Arial][FONT=Arial] สีย้อม [/FONT][/FONT][/I][FONT=Arial][FONT=Arial][/FONT][/FONT][FONT=Arial][FONT=Arial]ใช้สีย้อมในน้ำทะเลหรือบนที่ที่เห็นชัดเป็นสัญลักษณ์ขอความช่วยเหลือ[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]สัญญาณทางเสียง[/LEFT][/FONT][/FONT][/U][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][FONT=Arial][FONT=Arial] ได้แก่วิทยุสื่อสาร นกหวีด เสียงปืนและวิธีอื่นๆเช่นการเคาะ การตี[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=13>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]1. [/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][I][FONT=Arial][FONT=Arial]วิทยุสื่อสาร [/FONT][/FONT][/I][FONT=Arial][FONT=Arial][/FONT][/FONT][FONT=Arial][FONT=Arial]ระยะทำการจะแตกต่างกันออกไปตามกำลังส่งและการรับ พื้นที่เช่นที่โล่งแจ้ง บริเวณที่มีที่กำบังก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ระยะทำการแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆอีก เช่นสภาพอากาศ กำลังของแบตเตอรี่ ชนิดของวิทยุและปริมาณคลื่นรบกวน บนเรือเดินทะเลจะต้องติดอุปกรณ์วิทยุส่งสัญญาณถึงดาวเทียมเพื่อค้นหาตำแหน่งเวลาฉุกเฉินแต่เราคงไม่มีโอกาสได้ใช้มัน การใช้วิทยุสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมีดังนี้[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- ทำการติดต่อทันทีเมื่อมีสัญญาณชัดเจน[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- ยืดเสาอากาศให้สูงสุด ถ้าคุณติดต่อกับเครื่องบินให้ตั้งเสาวิทยุเป็นมุมฉากกับเครื่องบิน (จะไม่มีสัญญาณส่งออกจากปลายเสา)[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- อย่าให้เสาอากาศถูกต้องตัวคุณ พื้นเพราะมันจะลดกำลังส่งลง[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- ให้รักษาแบตเตอรี่ไว้ใช้นานๆปิดวิทยุเมื่อไม่จะเป็น[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]- ถ้าอยู่ในอากาศหนาวให้ถอดแบตเตอรี่เก็บใส่กระเป๋าไว้เพราะความหนาวทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว อย่าตากอุปกรณ์วิทยุและแบตเตอรี่ในที่ร้อนเพราะมันจะทำให้ระเบิดได้และควรรักษาอุปกรณ์ให้แห้งตลอดเวลา[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]2. [/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][I][FONT=Arial][FONT=Arial]นกหวีด [/FONT][/FONT][/I][FONT=Arial][FONT=Arial][/FONT][/FONT][FONT=Arial][FONT=Arial]เป็นอุปกรณ์ใช้ส่งสัญญาณระยะใกล้ที่ดีที่สุด มีรายงานว่าสามารถได้ยินเสียงเป็นระยะถึง 1.6 กิโลเมตร ถ้าคุณมีติดตัวไว้สักอันจะดีกว่าใช้เป่าปากและตะโกนด้วยเสียงหลายเท่า[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]3. [/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][I][FONT=Arial][FONT=Arial]เสียงปืน [/FONT][/FONT][/I][FONT=Arial][FONT=Arial][/FONT][/FONT][FONT=Arial][FONT=Arial]ถ้าคุณมีใช้ให้ยิง 3 ครั้งเป็นช่วงๆเป็นการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ[/FONT][/FONT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>[B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]สัญลักษณ์สัญญาณขอความช่วยเหลือ[/LEFT][/FONT][/FONT][/B][FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=22>[FONT=Arial][FONT=Arial][LEFT]คุณรู้วิธีส่งสัญญาณทางภาพและเสียงแล้วต่อไปคือต้องรู้สัญญลักษณ์ขอความช่วยเหลือซึ่งป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปในการค้นหาเพื่อช่วยชีวิตนั่นคือ "SOS" ซึ่งคุณสามารถใช้วิธีเขียนหรือประดิษฐ์เป็นตัวหนังสือ หรือใช้ส่งรหัสมอสจากไฟฉาย อุปกรณ์วิทยุ นกหวีด รหัสมอสประกอบด้วยจังหวะสั้น 3 ครั้ง (S) จังหวะยาว 3 ครั้ง (O) จังหวะสั้น 3 ครั้ง (S) ถ้าใช้ไฟฉายจะเป็นไฟวับ 3 ครั้ง ไฟวาบ 3 ครั้ง ไฟวับ 3 ครั้ง แต่ละจังหวะไม่ควรห่างกันมากกว่า 0.5 วินาที และเมื่อครบแล้วให้เว้นเวลาประมาณ 0.5 นาที แล้วจึงส่งรอบใหม่ด้วยจังหวะและระยะเว้นช่วงที่สม่ำเสมอ ถ้าใช้นกหวีดจะเป็นเสียง "ปี๊ด 3 ครั้ง ปี้ 3 ครั้ง ปี๊ด 3 ครั้ง" สำหรับคำพูดผมไม่เคยได้ยินใครใช้ออกเสียง "เอส โอ เอส" แต่จะใช้คำว่า "MAYDAY (เมย์เดย์)" สามครั้งก่อนทำการแจ้งขอความช่วยเหลือ[/LEFT][/FONT][LEFT][/left][/FONT][LEFT][/LEFT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT][/B][FONT=Arial][SIZE=2][FONT=Arial][SIZE=2][/SIZE][/FONT][/SIZE][/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 2-1.JPG
      2-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      29.2 KB
      เปิดดู:
      4,040
    • 2-2.JPG
      2-2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      39.4 KB
      เปิดดู:
      4,026
    • 2-3.JPG
      2-3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      44.7 KB
      เปิดดู:
      4,046
    • 2-4.JPG
      2-4.JPG
      ขนาดไฟล์:
      14.8 KB
      เปิดดู:
      3,635
    • 2-5.JPG
      2-5.JPG
      ขนาดไฟล์:
      17 KB
      เปิดดู:
      3,621
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2010
  20. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,193
    <TABLE dir=ltr border=1 cellSpacing=0 borderColor=#000000 cellPadding=2 width=739><TBODY><TR><TD height=4>
    การยังชีพจากอันตรายที่เกิดจากมนุษย์
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=27>
    มนุษย์มีสมองอันชาญฉลาดและคิดซับซ้อน ยิ่งฉลาดและโหดร้ายมากเพียงใดการคิดค้นและสร้างสรรเครื่องมือมาห้ำหั่นกันก็ยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น หากเราต้องยังชีพจากภัยธรรมชาติแล้วต้องคอยหลบหนีอันตรายจากมนุษย์ด้วยกันเองอีก วันนั้นคงไม่ต่างจากวันพินาศของโลกเราจากกรรมที่ก่อขึ้นมาจากน้ำมือมนุษย์ล้วนๆ ถ้าคุณหยุดเบียดเบียนชีวิตเล็กๆได้เช่นมด แมลง ด้วยการให้คุณค่าของการมีสิทธิ์ที่จะมีชีวิตอยู่อย่างเท่าเทียมเสมอกันก็เท่ากับว่าคุณสามารถรักษากายและใจคุณให้อยู่ในกรอบของศีลข้อที่ 1 สบายๆได้ตลอดชีวิต การฆ่ากันได้มันต้องเริ่มมาจากสิ่งเล็กๆก่อนเช่นกระทบกระแทก ด่าว่า ทะเลาะ ตบตีและหมายเอาชีวิตกันในที่สุด เริ่มจากชีวิตเล็กๆแล้วเพิ่มเป็นสิ่งที่ใหญ่ขึ้น จากที่ต้องทำใจนานหน่อยกลายเป็นทำได้ด้วยการตัดสินใจเพียงแวบเดียว จากหนึ่งเป็นสองเป็นสามเป็นสี่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆแล้วเกิดเป็นความชาชินในที่สุด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ระเบิดนิวเคลียร์​
    ถ้ามนุษย์จะฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กัน อาวุธที่ใช้คงจะเป้นระเบิดนิวเคลียร์ คุณจะยังชีพอย่างไรเมื่อวันนั้นมาถึง
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ผลกระทบจากระเบิดนิวเคลียร์​
    มี 2 ระยะด้วยกันคือระยะแรกและระยะสุดท้าย
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ระยะแรกเกิดภายใน 1 นาทีหลังระเบิด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ระยะสุดท้าย ต่อจาก 1 นาทีหลังระเบิดและมีผลต่อเนื่องเป็นวัน เดือน ปี หรือจนหมดลมหายใจ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ผลจากระเบิดนิวเคลียร์ระยะแรก ได้แก่​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    1. ​
    แรงกระแทก จะมีแรงกระแทกอากาศมหาศาลทำให้อวัยวะภายในของคุณเสียหาย มีบาดแผล ฉีก ขาดหรือหักด้วย
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    2.​
    ความร้อน เกิดจากการแผ่รังสีของแสงที่มองเห็นและมองไม่เห็นทำให้เนื้อไหม้และตาบอด
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    3. ​
    รังสีนิวเคลียร์ แบ่งเป็น 2 ระยะคือระยะแรกและระยะสุดท้าย
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    - ระยะแรก (1 นาทีหลังระเบิด) ประกอบด้วยรังสีเข้มข้นของรังสีแกรมม่าและนิวตรอน ทั้งยังมีอันตรายต่อเซลล์ของร่างกายในทุกๆส่วนซึ่งอาจทำให้คุณมีอาการปวดหัว อาเจียน เวียนหัว ท้องร่วงหรือตายในที่สุด ซึ่งอาการเหล่านี้ขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - ระยะสุดท้าย (หลังจาก 1 นาทีของการระเบิด) จะมีรังสีทุกชนิดซึ่งมีฤทธิ์การทำลายล้างสูงกว่าระยะแรก​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ชนิดของระเบิดนิวเคลียร์​
    มี 3 ชนิดได้แก่ใต้ดิน บนอากาศและพื้นผิว
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - แบบใต้ดินมีอันตรายน้อยสุด เว้นเสียแต่ว่าคุณบังเอิญไปอยู่บริเวณนั้น​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - แบบบนอากาศ ทำให้การแผ่รังสีไปได้ไกลสูงสุด ​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    - แบบผิวพื้น(ดิน,น้ำ) มีอันตรายมากที่สุด​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    การบาดเจ็บจากนิวเคลียร์​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    1. ​
    การบาดเจ็บจากแรงกระแทก วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการหาจุดกำบังและให้อยู่ห่างจากจุดระเบิดให้มากที่สุด
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    2. ​
    การบาดเจ็บจากความร้อน นอกจากผิวเนื้อไหม้แล้วยังจะทำให้ตาบอดชั่วคราวหรือบางครั้งอาจจะเป็นตาบอดถาวรได้ ให้ป้องกันโดยหาจุดกำบังที่ห่างจากจุดระเบิดให้มากที่สุด ใส่เสื้อผ้าคลุมทุกส่วนของร่างกายก่อนจะเกิดระเบิด และใช้วิธีการปฐมพยาบาลหากได้รับการบาดเจ็บ
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=9>
    3. ​
    การบาดเจ็บจากรังสีนิวเคลียร์ รังสีนิวตรอน รังสีแกมม่า รังสีแอลฟ่าและรังสีเบต้าสามารถทำให้บาดเจ็บได้ รังสีนิวตรอนมีความทะลุทะลวงสูงเช่นเดียวกับรังสีแกมม่า รังสีเบต้าและรังสีแอลฟ่าจะผสมปนกับซากปรักหักพังและฝุ่นหลังเกิดการระเบิด
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    ปฏิกิริยาของร่างกายต่อรังสีนิวเคลียร์​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    มีปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้มากมายและอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานนับปี ซึ่งอาการบ่งบอกได้แก่การเวียนศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน ไม่มีแรงและผมร่วง​
    </TD></TR><TR><TD height=4>
    </TD></TR><TR><TD height=25>
    หมายเหตุ​
    : เมื่อมาถึงบทนี้ผมรู้สึกทั้งเหนื่อยและท้อถอยอย่างบอกไม่ถูกทั้งๆที่ยังเหลืออีกเป็นสิบหน้ากว่าจะจบหัวข้อนี้ ผมจะขอหยุดเพียงเท่านี้เพราะเท่าที่ผ่านมาแต่ละย่อหน้าได้สร้างมโนภาพที่แสนน่ากลัวจนทำให้ผมอดคิดไม่ได้ว่าทำไมหนอมนุษย์เราช่างทำกับมนุษย์ด้วยกันได้ถึงเพียงนี้ ผมคิดว่าถ้าเราร่วมด้วยช่วยกันคิดและพลิกสมองเพื่อนำมาใช้แต่ในทางที่เป็นบวกในทางที่เป็นกุศล โลกของเราก็จะเปรียบเสมือนหนึ่งสวรรค์ดีๆที่เราสามารถจับต้องได้ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนโลกนี้ก็จะสามารถคุยกันได้ด้วยภาษาเดียวกันนั่นคือ "ภาษาแห่งความรักและเมตตาซึ่งกันและกัน"
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...