การปฏิบัติธรรม4แบบหรือพระอรหันต์ 4 แบบ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 21 กันยายน 2004.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,019
    ความต้องการของอารมณ์ เรียกว่า อุดมคติ หรือแบบที่ผู้ให_่โบราณสักหน่อยเรียกว่า อัชฌาสัย หรืออุดมคติ อัชฌาสัยในการปฏิบัติมี ๔ อย่างด้วยกัน ตามแบบของคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ทั้งนี้การปฏิบัติทั้ง ๔ อย่างนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนว่าจะชอบปฏิบัติในอย่างไหน ซึ่งการปฏิบัตินั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้เน้นเพียงแบบเดียว ขึ้นอยู่ กับตามความต้องการของแต่ละคนจะต้องการปฏิบัติแบบไหน เพราะคนทุกคนไม่ได้เกิดมาเหมือนกันหมด ดังนั้นจึงมีลักษณะนิสัยที่มีความต้องการปฏิบัติแตกต่างกันไป ( อรหันต์มี 4 อย่างคือ )

    ๑. สุกขวิปัสสโก
    ๒. เตวิชโช
    ๓.ฉฬภิ_โ_
    ๔. ปฏิสัมภิทัปปัตโต

    ***************************************************
    กรรมฐาน ๔๐ นี่เป็นต้นแบบให_่ อย่าลืมว่ากรรมฐานไม่ได้มีแบบเดียวนะ แล้วแต่ละ ๔๐ แบบ แยกเอาการฝึกออกไปเป็นข้อปลีกย่อยได้เป็นพัน ๆ จะเป็นการฝึกข้อปลีกย่อยกี่พันแบบ หรือต้นฐาน ๔๐ แบบก็ตาม ก็ย่อเป็นกรรมฐาน ๔ หมวด ต้องเข้าหมวดใดหมวดหนึ่งให้ได้ ถ้าเข้าหมวดใดหมวดหนึ่งไม่ได้ นั่นคือ ไม่ใช่กรรมฐานของพระพุทธเจ้าที่สอนไว้
    หมวดที่ ๑ เรียกว่า " สุกขวิปัสสโก " บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายฝึกกันเป็นปกติ หมวดนี้ไม่มีความเป็นทิพย์ของจิต ไม่สามารถเห็นสวรรค์ เห็นเทวดา เห็นพรหมโลกได้ ไม่สามารถจะไปได้ แต่ว่ามีฌานสมาบัติได้ เป็นพระอริยเจ้าได้ ไปนิพพานได้

    หมวดที่ ๒ เรียกว่า " เตวิชโช " หมวดนี้พอจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิแล้ว แล้วก็ฝึก ทิพจักขุ_าณ เมื่อฝึกทิพจักขุ_าณได้แล้ว ต้องเข้าไปฝึก ปุพเพนิวาสานุสสติ_าณ คือ ระลึกชาติได้ เมื่อได้ทั้ง ๒ ประการแล้ว ใช้กำลัง_าณทั้ง ๒ ประการเข้าช่วยวิปัสสนา_าณเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ เรียกว่า " พระวิชชาสาม " หมวดนี้สามารถเห็นสวรรค์ นรก เห็นพรหมโลก หรืออะไรก็ได้ทั้งหมด แต่ไปไม่ได้ ได้แต่เห็นอย่างเดียว นั่งตรงนี้คุยกับเทวดาหรือพรหมก็ได้ นั่งตรงนี้คุยกับสัตว์นรกก็ได้ อย่างนี้เรียกว่า " วิชชาสาม "

    หมวดที่ ๓ เรียกว่า" อภิ__าหก หรือ ฉฬภิ_โ_" อภิ__าหกนี่เราไปไหนไปได้ตามใจชอบ จะไปสวรรค์ ไปพรหมโลก ไปนิพพาน ไปนรก เปรต อสุรกาย ไปได้หมด ประเทศต่าง ๆ ไกลแสนไกลแค่ไหน ประเทศในมนุษยโลกนี่มันไม่ไกลหรอก เราสามารถไปได้ ดวงดาวต่าง ๆ ที่ฝรั่งจะไปเราก็ไปได้ไม่ต้องลงทุน อย่างนี้เป็น " อภิ__าหก "

    หมวดที่ ๔ " ปฏิสัมภิทา_าณ " นี่มีความรู้ฉลาดมาก ปฏิสัมภิทา_าณมีความสามารถคลุมหมด คลุมสุกขวิปัสสโกด้วยเอาไว้ในตัว เอาวิชชาสามเข้าไว้ด้วย แล้วเอาอภิ__าหกเข้าไว้ด้วย แล้วก็ฉลาดมาก คือว่า ฉลาดในธรรมะขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกอย่าง เรียกว่า " ปฏิสัมภิทา_าณ "

    *********
    โดยหลวงพ่อ
     
  2. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,019
    ๑. อัชฌาสัยสุกขวิปัสสโก

    บางคนชอบแบบสุกเอาเผากิน เรื่องความละเอียดเรียบร้อย การรู้เล็กรู้น้อยแสดงฤทธิ์ อวดเดช
    เดชาอะไรนั้น ไม่มีความต้องการ หวังอย่างเดียวคือความบรรลุผล ท่านประเภทนี้พระพุทธเจ้ามีแบบ
    ปฏิบัติไว้ให้เรียกว่า สุกขวิปัสสโก คือปฏิบัติแบบสบาย เริ่มด้วยการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ เรื่องศีลนี้
    นักปฏิบัติต้องสนใจเป็นพิเศษ ถ้าหวังผลในการปฏิบัติแล้ว อย่าให้ศีลบกพร่องเป็นอันขาด แม้แต่
    ด่างพร้อยก็อย่าให้มี ถ้าท่านเห็นว่าศีลเป็นของเล็กน้อย ปฏิบัติยังขาด ๆ เกิน ๆ แล้ว ท่านไม่มีหวังใน
    มรรคผลแน่นอน เมื่อมีศีลครบถ้วนบริสุทธิ์ผุดผ่องดีแล้ว ท่านก็ให้เจริ_สมาธิ ตอนสมาธินี้ ท่านฝ่าย
    สุกขวิปัสสโกท่านไม่เอาดีทางฌานสมาบัติ พอมีสมาธิเล็กน้อยก็เจริ_วิปัสสนา_าณควบกันไปเลย
    คุมสมาธิบ้าง เจริ_วิปัสสนาบ้าง พอสมาธิที่รวบรวมได้ทีละเล็กละน้อย เมื่อสมาธิเข้าถึงปฐมฌาน
    วิปัสสนาก็มีกำลังตัดกิเลสได้ จะได้มรรคผลก็ตอนที่สมาธิเข้าถึงปฐมฌาน หากสมาธิยังไม่ถึงปฐมฌาน
    เพียงใด จะได้มรรคผลไม่ได้ นี้เป็นกฎตายตัว เพราะมรรคผลต้องมีฌานเป็นเครื่องรู้ ฌานนี้จะบังเกิด
    ขึ้นเมื่อจิตเข้าสู่อุปจารสมาธิ คือเกือบถึงปฐมฌาน ห่างกันระหว่างปฐมฌานกับอุปจารฌานนั้น เพียง
    เส้นผมเดียวเท่านั้น จิตเมื่อตั้งมั่นในอุปจารสมาธิแล้ว ก็จะเกิดทิพยจักษุฌาน คือเห็นสิ่งที่เป็นทิพย์
    และได้ยินเสียงที่เป็นทิพย์ได้ เพราะตามธรรมดาจิตนั้นเป็นทิพย์อยู่แล้ว ที่ต้องมาชำระกันใหม่ด้วยการ
    ฝึกสมาธิ ก็เพราะจิตถูกนิวรณ์ คืออกุศลหุ้มห่อไว้ ได้แก่ความโลภอยากได้ไม่มีขอบเขต ความผูกโกรธ
    คือพยาบาทจองล้างจองผลา_ ความง่วงเมื่อขณะปฏิบัติทำสมาธิ ความฟุ้งซ่านของอารมณ์ในขณะฝึก
    สมาธิ ความสงสัยในผลปฏิบัติโดยคิดว่าจะได้หรือ จะสำเร็จหรือ ทำอย่างนี้จะสำเร็จได้อย่างไร ความ
    สงสัย ไม่แน่ใจอย่างนี้ เป็นนิวรณ์กั้นฌานไม่ให้เกิด รวมความแล้ว ทั้งห้าอย่างนี้นั่นแหละ แม้เพียง
    อย่างเดียว ถ้าอารมณ์ของจิตยังข้องอยู่ฌานจะไม่เกิด จะคอยกีดกันไม่ให้จิตผ่องใส มีอารมณ์เป็นทิพย์
    ตามสภาพปกติได้ จิตเมื่อถูกอกุศลห้าอย่างนี้หุ้มห่อก็มีอารมณ์มืดมนท์รู้สิ่งที่เป็นทิพย์ไม่ได้เพราะ
    อำนาจอกุศลคือนิวรณ์ห้านี้จะพ้นจากจิตไปได้ก็ต่อเมื่อจิตทรงอารมณ์ของฌานไว้ได้เท่านั้น ถ้าจิตทรง
    อารมณ์ปฐม_านไม่ได้ จิตก็ต้องตกเป็นทาสของ นิวรณ์
    อารมณ์ปฐมฌานนั้นมี ๕ เหมือนกัน คือ
    ๑. วิตก คำนึงถึงองค์กรรมฐานที่ฝึกตลอดเวลา
    ๒. วิจาร ใคร่ครว_กำหนดรู้ตามในองค์กรรมฐานนั้น ๆ ไม่ให้บกพร่องตรวจตราพิจารณาให้
    ครบถ้วนอยู่เสมอๆ
    ๓. ปีติ มีความเอิบอิ่มรื่นเริงหรรษา ไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติพระกรรมฐาน
    ๔. สุข เกิดความ สุขสันต์หรรษาทางกายอย่างไม่เคยปรากฏมาในกาลก่อนมีความสุขสดชื่น
    บอกไม่ถูก
    ๕. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์มั่นคงในองค์กรรมฐาน จิตกำหนดตั้งมั่นไม่คลาดจากองค์
    กรรมฐานนั้นๆ

    ทั้งห้าอย่างนี้เป็นอารมณ์ของปฐมฌาน เมื่อเข้าถึงตอนนี้จิตก็เป็นทิพย์มาก สามารถกำหนดจิตรู้
    ในสิ่งที่เป็นทิพย์ได ้ก็ผลของวิปัสสนา คือมรรคผลนั้น การที่จะบรรลุถึงได้ต้องอาศัยทิพยจักษุ_าณ
    เป็นเครื่องชี้ ตามที่ท่านกล่าวไว้ว่าเมื่อภิกษุบรรลุแล้วก็มี_าณบอกว่ารู้แล้ว ที่พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้
    ก็ทรงหมายเอา_าณที่เป็นทิพยจักษุ_าณนี้ถ้าบรรลุอรหัตตผลแล้ว ท่านเรียกว่า วิมุตติ_าณทัสสนวิสุทธิ
    วิมุตติแปลว่า หลุดพ้น _าณ แปลว่า รู้ ทัสสนะ แปลว่า เห็น วิสุทธิ แปลว่า หมดจดอย่างวิเศษ คือ หมด
    ไม่เหลือ หรือสะอาดที่สุด ไม่มีอะไรสกปรก (บอกไว้เพื่อรู้)

    ฉะนั้น ท่านสุกขวิปัสสโก ถึงแม้ท่านจะรีบปฏิบัติแบบรวบรัดอย่างไรก็ตาม ท่านก็ต้องอาศัยฌาน
    ในสมถะจนได้ แต่ได้เพียงฌานเด็กๆ คือปฐมฌาน เป็นฌานกระจุ๋มกระจิ๋มเอาดีเอาเด่นในเรื่องฌาน
    ไม่แน่นอนนัก กล่าวโดยย่อ ก็คือ
    ๑. ท่านรักษาศีลบริสุทธิ์ ชนิดไม่ทำเอง ไม่ใช้ให้คนอื่นทำ และไม่ยินดีในเมื่อคนอื่นทำบาป
    ๒. ท่านเจริ_สมาธิควบกับวิปัสสนา จนสมาธิรวมตัวถึงปฐมฌานแล้ว ท่านจึงจะได้
    สำเร็จมรรคผล
    ท่านสุกขวิปัสสโก มีกฏปฏิบัติเพียงเท่านี้ ท่านจึงเรียกว่า สุกขวิปัสสโก แปลว่า บรรลุแบบ
    ง่ายๆ ท่านไม่มีฌานสูง ท่านไม่มี_าณพิเศษอย่างท่านวิชชาสาม ท่านไม่มีฤทธิ์ ท่านไม่มีความรู้พิเศษ
    อะไรทั้งสิ้น เป็นพระอรหันต์ประเภทรู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี ไม่มีคุณพิเศษอื่นนอกจากบรรลุมรรคผล
     
  3. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,019
    ๒. อัชฌาสัยเตวิชโช

    อัชฌาสัยเตวิชโช หมายถึงท่านที่มีอุดมคติในด้านวิชชาสาม คือทรงคุณสามประการ ใน
    ส่วนแห่งการปฏิบัติ ได้แก่คุณธรรมดังต่อไปนี้
    ๑. ปุเพนิวาสานุสสติ_าณ การระลึกชาติที่แล้วๆ มาได้
    ๒. จุตูปปาต_าณ รู้ว่าสัตว์ที่ตายไปแล้ว และเกิดมานี้ ตายแล้วไปไหน ก่อนเกิดมาจากไหน
    ๓. อาสวักขย_าณ รู้จักทำอาสวกิเลสให้สิ้นไป
    เมื่อพิจารณาตามคุณพิเศษสามประการนี้แล้ว แสดงให้เห็นว่าท่านที่มีอุดมคติในด้าน
    เตวิชโชนี้ ท่านเป็นคนอยากรู้อยากเห็น เมื่อพบเห็นอะไรเข้าก็เป็นเหตุให้คิดนึกถึงสมุฏฐานที่เกิด
    ว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เกิดมาจากอะไร เดิมก่อนจะเป็นอย่างนั้น เป็นอะไรมาก่อน เช่นเห็นของที่มีวัตถุปกปิด
    ก็อยากจะแก้วัตถุที่ปกปิดนั้นออก เพื่อสำรวจตรวจดูของภายใน เห็นของภายในว่าเป็นอะไรแล้ว ก็
    อยากจะรู้ต่อไปว่า ภายในของนั้นมีอะไรบ้าง ทำด้วยอะไร เมื่อรู้แล้วก็อยากรู้ต่อไปว่า สิ่งนั้น ๆ เกิดมา
    ได้อย่างไร อย่างนี้เป็นต้น
    ท่านประเภทเตวิชโชนี้ จะให้ท่านทำตนเป็นคนหวังผลอย่างเดียว โดยไม่ให้พิสูจน์ค้นคว้า
    เลยนั้น ท่านประเภทนี้ทนไม่ไหว เพราะอัชฌาสัยไม่ชอบประเภทคลุมหน้าเดินโดยที่ไม่ได้พิสูจน์ต้นทาง
    ปลายทางเสียก่อน ถ้าต้องทำแบบคลุมหน้าเดินอย่างท่านสุกขวิปัสสโกแล้วท่านก็ทนไม่ไหว รำคา_ใจ
    หยุดเอาเฉย ๆ คนประเภทนี้เคยพบมาในขณะสอนสมณธรรมมีจำนวนมาก ประเภทเตวิชโชนั้น ส่วน
    ให_่มักชอบรู้ชอบเห็นพอให้วิปัสสนาล้วนเธอเข้า เธอก็บ่นอู้อี้ว่าไม่รู้ไม่เห็นอะไรเลย ต่อเมื่อให้
    กรรมฐานประเภททิพยจักษุ_าณ หรือมโนมยิทธิ เธอก็พอใจ ทำได้อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย จะ
    ยากลำบากก็ทนทำจนสำเร็จผล ทางที่ได้พิสูจน์มาเป็นอย่างนี้

    แนวปฏิบัติสำหรับเตวิชโช
    ทราบแล้วว่า เตวิชโชมีอะไรบ้าง ขอนำแนวปฏิบัติมาเขียนไว้ เพื่อรู้แนวทาง หากท่านผู้อ่าน
    ประสงค์จะรู้หรือจะนำไปปฏิบัติก็จะสะดวกในการค้นคว้า เตวิชโชหรือท่านผู้ทรงวิชชาสาม มีปฏิปทา
    ในการปฏิบัติดังต่อไปนี้
    ๑. การรักษาศีลให้สะอาดหมดจด ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด
    ๒. ฝึกสมาธิในกรรมฐานที่มีอภิ__าเป็นบาท คือกสิณกองใดกองหนึ่งที่เป็นสมุฏฐาน
    ให้เกิดทิพยจักษุ_าณ กสิณที่เป็นสมุฏฐานให้เกิดทิพยจักษุ_าณนั้นมีอยู่สามกองด้วยกัน คือ
    ๑. เตโชกสิณ เพ่งไฟ
    ๒. อาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง
    ๓. โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว
    กสิณทั้งสามอย่างนี้ อย่างใดก็ตาม เป็นพื้นฐานให้ได้ทิพยจักษุ_าณทั้งสิ้น แต่ตามนัย
    วิสุทธิมรรคท่านกล่าวว่า ในบรรดากสิณทั้งสามอย่างนี้ อาโลกกสิณเป็นกสิณสร้างทิพยจักษุ_าณ
    โดยตรง ท่านว่าเจริ_อาโลกกสินั่นแหละเป็นการดี
     
  4. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,019
    ๓.อัชฌาสัยฉฬภิ_โ_

    อัชฌาสัยของท่านที่ชอบมีฤทธิ์มีเดช ทำอะไรต่ออะไรเกินกว่าสามั_ชนจะทำได้ เรียกว่า
    อัชฌาสัยของท่านผู้มีฤทธิ์ หรือท่านผู้ทรงอภิ__า ๖
    อภิ__า ๖ นี้ เป็นคุณธรรมพิเศษสำหรับนักปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้องฝึกฝนตนเป็นพิเศษ
    ให้ได้คุณธรรมห้าประการก่อนที่จะได้บรรลุมรรคผล หมายความว่าในระหว่างที่ทรงฌานโลกีย์นั้น ต้อง
    ฝึกฝนให้สามารถทรงคุณสมบัติห้าประการดังต่อไปนี้
    ๑. อิทธิฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
    ๒. ทิพยโสต มีหูเป็นทิพย์ สามารถฟังเสียงในที่ไกล หรือเสียงอมนุษย์ได้ยิน
    ๓. จุตูปปาต_าณ รู้การตายและการเกิดของคนและสัตว์
    ๔. เจโตปริย_าณ รู้ความรู้สึกในความในใจของคนและสัตว์
    ๕. ปุพเพนิวาสานุสสติ_าณ ระลึกชาติต่างๆ ที่ล่วงมาแล้วได้
    ทั้งห้าอย่างนี้ จะต้องฝึกให้ได้ในสมัยที่ทรงฌานโลกีย์ ต่อเมื่อฝึกฝนคุณธรรมหกประการนี้
    คล่องแคล่วว่องไวดีแล้ว จึงฝึกฝนอบรมในวิปัสสนา_าณต่อไป เพื่อให้ได้อภิ__าข้อที่ ๖ คือ
    อาสวักขย_าณ ได้แก่การทำอาสวะให้หมดสิ้นไป

    วิธีฝึกอภิ__า
    วิธีฝึกอภิ__านี้ หรือฝึกวิชชาสาม และปฏิสัมภิทา_าณ โปรดทราบว่า เอามาจากวิสุทธิมรรค
    ไม่ใช่ผู้เขียนเป็นผู้วิเศษทรงคุณพิเศษตามที่เขียน เพียงแต่ลอกมาจากวิสุทธิมรรค และดัดแปลง
    สำนวนเสียใหม่ให้อ่านง่ายเข้าใจเร็ว และใช้คำพูดเป็นภาษาตลาดที่พอจะรู้เรื่องสะดวกเท่านั้นเอง
    โปรดอย่าเข้าใจว่าผู้เขียนแอบเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทา_าณไปเสียแล้ว นรกจะเล่นงานผู้เขียนแย่
    ส่วนให_่ในข้อเขียนก็เอามาจากวิสุทธิมรรค และเก็บเล็กผสมน้อยคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์บ้าง
    ตามแต่จะจำได้ สำหรับอภิ__าข้อ ๓ ถึงข้อ ๕ ได้อธิบายมาแล้วในวิชชาสาม สำหรับในอภิ__านี้
    จะอธิบายเฉพาะข้อ ๑ กับข้อ ๒ เท่านั้น

    อิทธิฤทธิ์

    _าณข้อ ๑ ท่านสอนให้ฝึกการแสดงฤทธิ์ต่างๆ การแสดงฤทธิ์ทางพระพุทธศาสนานี้
    ท่านสอนให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
    ท่านให้เจริ_คือฝึกในกสิณแปดอย่างให้ชำนา_ กสิณแปดอย่างนั้นมีดังนี้
    ๑. ปฐวีกสิณ เพ่งธาตุดิน
    ๒. อาโปกสิณ เพ่งธาตุน้ำ
    ๓. เตโชกสิณ เพ่งไฟ
    ๔. วาโยกสิณ เพ่งลม
    ๕. ปีตกสิณ เพ่งสีเหลือง
    ๖. นีลกสิณ เพ่งสีเขียว
    ๗. โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง
    ๘. โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว
    เหลือกสิณอีกสองอย่างคือ อาโลกสิณ เพ่งแสงสว่าง และอากาสกสิณ เพ่งอากาศ ท่านให้เว้น
    เสีย ทั้งนี้จะเป็นเพราะอะไรท่านไม่ได้อธิบายไว้ แต่สำหรับท่านที่ทรงอภิ__าจริงๆ ที่เคยพบในสมัย
    ออกเดินธุดงค์ท่านบอกว่า ท่านไม่ได้เว้น ท่านทำหมดทุกอย่างครบ ๑๐ กอง ท่านกล่าวว่า กสิณนี้ถ้าได้
    กองแรกแล้ว กองต่อไปไม่มีอะไรมาก ทำต่อไปไม่เกิน ๗ วันก็ได้ กองยากจะใช้เวลานานอยู่กองแรก
    เท่านั้นเอง ต่อไปจะได้อธิบายในการปฏิบัติกสิณพอเป็นตัวอย่าง

    ปฐวีกสิณ

    กสิณนี้ท่านให้เพ่งดิน เอาดินมาทำเป็นรูปวงกลม โดยใช้สะดึงขึงผ้าให้ตึงแล้วเอาดินทา
    เลือกเฉพาะดินสีอรุณ แล้วท่านให้วางไว้ในที่พอเหมาะที่จะมองเห็นไม่ใกล้และไกลเกินไป เพ่งดูดิน
    ให้จำได้แล้วหลับตานึกถึงภาพดินนั้น ถ้าเลือนไปจากใจก็ลืมตาดูดินใหม่ จำได้ดีแล้วก็หลับตานึกถึง
    ภาพดินนั้น จนภาพนั้นติดตา ต่อไปไม่ต้องดูภาพดินภาพนั้นก็ติดตาติดใจจำได้อยู่เสมอ ภาพปรากฏ
    แก่ใจชัดเจน จนสามารถบังคับภาพนั้นให้เล็ก โต สูง ต่ำ ได้ตามความประสงค์อย่างนี้เรียกว่าอุคหนิมิต
    หยาบ ต่อมาภาพดินนั้นจะค่อยๆ เปลี่ยนสีไปที่ละน้อย จากสีเดิมไปเป็นสีขาวใส จนใสหมดก้อน และ
    เป็นประกายสวยสดงดงามคล้ายแก้วเจียระไน อย่างนี้เรียกว่าถึงอุปจารฌานละเอียด ต่อไปภาพนั้น
    จะสวยมากขึ้นจนมองดูระยิบระยับจับสามตา เป็นประกายหนาทึบ อารมณ์จิตตั้งมั่นเฉยต่ออารมณ์
    ภายนอกกายคล้ายไม่มีลมหายใจ อย่างนี้เป็นฌาน ๔ เรียกได้ว่าฌานปฐวีกสิณเต็มที่แล้ว
    เมื่อได้อย่างนี้แล้ว ท่านผู้ทรงอภิ__าท่านนั้นเล่าต่อไปว่า อย่าเพิ่งทำกสิณกองต่อไป เรา
    จะเอาอภิ__ากัน ไม่ใช่ทำพอได้ เรียกว่าจะทำแบบสุกเอาเผากินไม่ได้ต้องให้ได้เลยทุกอย่าง
    ได้อย่างดีทั้งหมด ถ้ายังบกพร่องแม้แต่นิดหนึ่งก็ไม่ยอมเว้น ต้องดีครบถ้วนเพื่อให้ได้ดีครบถ้วน
    ท่านว่าพอได้ตามนี้แล้ว ให้ฝึกฝนเข้าฌานออกฌาน คือเข้าฌาน ๑. ๒. ๓. ๔. แล้วเข้าฌาน ๔. ๓.
    ๒. ๑. แล้วเข้าฌานสลับฌาน คือ ๑. ๔. ๒. ๓. ๓. ๑. ๔. ๒. ๔. ๑. ๒. ๓. สลับกันไปสลับกันมา
    อย่างนี้จนคล่อง คิดว่าจะเข้าฌานระดับใดก็เมื่อใดก็ได้
    ต่อไปก็ฝึกนิรมิตก่อน ปฐวีกสิณเป็นธาตุดิน ตามคุณสมบัติท่านว่า สามารถทำของอ่อน
    ให้แข็งได้ สำหรับท่านที่ได้กสิณนี้ เมื่อเข้าฌานชำนา_แล้ว ก็ทดลองการนิรมิต ในตอนแรก
    ท่านหาน้ำใส่แก้วหรือภาชนะอย่างใดก็ได้ ที่ขังน้ำได้ก็แล้วกัน เมื่อได้มาครบแล้วจงเข้าฌาน ๔
    ในปฐวีกสิณ แล้วออกฌาน ๔ หยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน คือ พอมีอารมณ์นึกคิดได้
    ในขณะที่อยู่ในฌานนั้น นึกคิดไม่ได้ เมื่อถอยจิตมาหยุดอยู่ที่อุปจารฌานแล้วอธิษฐานว่า
    ขอน้ำตรงที่เอานิ้วจิ้มลงไปนั้น จงแข็งเหมือนดินที่แข็ง แล้วก็เข้าฌาน ๔ ใหม่
    ถอยออกจากฌาน ๔ หยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน ลองเอานิ้วมือจิ้มน้ำดู ถ้าแข็งก็ใช้ได้
    แล้วก็เล่นให้คล่องต่อไป ถ้ายังไม่แข็งต้องฝึกฝนฌานให้คล่องและมั่นคงกว่านั้น เมื่อขณะฝึก
    นิรมิต อย่าทำให้คนเห็น ต้องทำที่ลับเฉพาะเท่านั้น ถ้าทำให้คนเห็น พระพุทธเจ้าท่านปรับโทษไว้
    เราเป็นนักเจริ_ฌาน ต้องไม่หน้าด้านใจด้านจนกล้าฝ่าฝืนพระพุทธอาณัติ เมื่อเล่นน้ำในถ้วยสำเร็จ
    ผลแล้ว ก็คำว่าสำเร็จนั้น หมายความว่าพอคิดว่าเราจะให้น้ำแข็งละน้ำก็แข็งทันที โดยเสียเวลาไม่ถึง
    เสี้ยวนาที อย่างนี้ใช้ได้ ต่อไปก็ทดลองในแม่น้ำและอากาศ เดินบนน้ำ บนอากาศ ให้น้ำในแม่น้ำ
    และอากาศเหยียบไปนั้น แข็งเหมือนดินและหิน ชำนา_ดีแล้วก็เลื่อนไปฝึกกสิณอื่น ท่านว่าทำคล่อง
    อย่างนี้กสิณเดียว กสิณอื่นพอนึกขึ้นมาก็เป็นทันที อย่างเลวสุดก็เพียง ๗ วัน ได้กอง เสียเวลาฝึก
    อีก ๙ กองเพียงไม่เกินสามเดือนก็ได้หมด เมื่อฝึกครบหมดก็ฝึกเข้าฌานออกฌานดังกล่าวมาแล้ว
    และนิรมิตสิ่งต่างๆ ตามความประสงค์ อานุภาพของกสิณ จะเขียนไว้ตอนว่าด้วยกสิณ ๑๐


    ทิพยโสต_าณ
    _าณนี้เป็น_าณในอภิ__าหก เป็น_าณที่สองรองจากอิทธิฤทธิ_าณทิพยโสต_าณนี้
    เป็น_าณสร้างประสาทหูให้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าประสาทหูธรรมดา สามารถฟังเสียงจากที่ไกล เกิน
    หูสามั_จะได้ยินได้ เสียงเบาเสียงละเอียด เช่น เสียงอมนุษย์ เสียงเปรต เสียงอสุรกาย ที่นิยมเรียก
    กันว่าเสียงผี เสียงเทวดา เสียงพรหมและเสียงของท่านที่เข้าถึงจุดจบของพรหมจรรย์ ทิพยโสต_าณ
    ถ้าทำให้เกิดมีได้แล้ว จะฟังเสียงต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้วได้อย่างอัศจรรย์

    เสียงหยาบละเอียดไม่เสมอกัน

    เสียงต่างๆ ที่จะพึงฟังได้นั้น มีความหยาบละเอียดชัดเจนหนักเบาไม่เสมอกัน เสียงมนุษย์
    และสัตว์ที่ปรากฏร่างที่เห็นชัดเจน ย่อมมีเสียงดังมาก ฟังชัดเจน พวกมด ปลวก เล็น ไร ฟังเสียงเบา
    มาก แต่ก็ยังเป็นเสียงหยาบ ฟังง่ายและสะดวกกว่าเสียงอมนุษย์ เสียงเปรต อสุรกาย และพวกยักษ์
    กุมภัณฑ์ คนธรรพ์ นาค มีเสียงเบากว่าเสียงมนุษย์ และสัตว์ที่สามารถเห็นได้ด้วยตา และเห็นได้ด้วย
    การใช้กล้องขยายส่องเห็น แต่ถ้าจะเปรียบกับพวกอทิสมานกายด้วยกันแล้ว บรรดาเสียงเปรต อสุรกาย
    ยักษ์ กุมภัณฑ์ คนธรรพ์ นาค ก็จัดว่ามีเสียงหยาบมาก เสียงหนัก ดังมาก ได้ยินง่ายและชัดเจน เสียง
    ของเทวดาชั้นกามาวจร ที่เรียกว่าอากาศเทวดา ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต
    ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี รวมหกชั้นนี้ เรียกว่าเทวดาชั้นกามาวจร เพราะยังมีอารมณ์
    ท่องเที่ยว คือมีความใคร่ในกามารมณ์ เป็นภูมิชั้นของเทวดาที่ยังมีความเสน่หาในกาม ยังมีการครองคู่
    เป็นสามีภรรยากันเยี่ยงมนุษย์ เทวดาทั้งหกชั้นนี้มีเสียงละเอียดและเบากว่า พวกเปรต อสุรกาย ยักษ์
    กุมภัณฑ์ คนธรรพ์ นาค เสียงเทวดาชั้นกามาวจร ละเอียด เบาและไพเราะมาก ฟังแล้วรู้สึกนิ่มนวล
    สดชื่น แต่ทว่าเทวดาทั้งหกชั้นนี้ก็ยังมีเสียงหยาบกว่าเสียงพรหม พรหมมีเสียงละเอียดและเบามาก
    ฟังเสียงพรหมแล้ว ผู้ที่ได้ยินใหม่ๆ อาจจะเข้าใจว่า เป็นเสียงเด็กเล็กๆ หรือเสียงสตรี เสียงพรหม
    จะว่าแหลมคล้ายเสียงสตรีก็ไม่ใช่จะว่าเหมือนเสียงเด็กเล็กๆ ก็ไม่เชิง ฟังแล้วก้ำกึ่งกันอย่างไรชอบกล
    ทุกท่านที่ได้ยิน ใหม่ๆ อดสงสัยไม่ได้
    สำหรับเสียงท่านที่จบพรหมจรรย์นั้น เป็นเสียงที่ละเอียดและเบามาก ไม่ทราบว่าจะพรรณนา
    อย่างไรถึงจะตรงกับความเป็นจริง
    เรื่องของเสียงมีความหนักเบาแตกต่างกันอย่างนี้ แม้เสียงที่หยาบเป็นเสียงของมนุษย์และ
    สัตว์ที่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ถ้าอยู่ไกลสักหน่อย หูธรรมดาก็ไม่สามารถจะได้ยิน แต่ท่านที่ได้
    ทิพยโสต_าณ ท่านสามารถได้ยินเสียงได้ แม้ไกลกันคนละมุมโลก ท่านก็สามารถได้ยินเสียงพูดได้และ
    รู้เรื่องละเอียดทุกถ้อยคำ แม้แต่เสียงอมนุษย์ เทวดา พรหม และเสียงท่านผู้จบพรหมจรรย์ก็เช่น
    เดียวกัน ท่านสามารถจะพูดคุยกับ เทวดา พรหม ยักษ์ เปรต อสุรกาย และสัตว์นรก ตลอดจนท่านผู้จบ
    พรหมจรรย์ได้ทุกขณะที่ปรารถนาจะพูดคุยด้วย ท่านที่ได้ทิพยโสต_าณนี้ ดูเหมือนจะมีกำไรในส่วน
    ของการฟังมากเป็นพิเศษ

    วิธีฝึกทิพยโสต_าณ

    ทิพยโสต_าณจะมีขึ้นได้แก่นักปฏิบัติกรรมฐาน ก็ต้องอาศัยการฝึก สำหรับท่านที่เป็น
    อาทิกัมมิกบุคคล หมายถึงท่านที่ไม่เคยได้ทิพยโสต_าณมาในชาติก่อนๆ ตามนัยวิสุทธิมรรค
    ท่านให้ฝึกดังต่อไปนี้
    ท่านให้สร้างสมาธิในกสิณกองใดกองหนึ่ง จะเป็นกองใดก็ได้ตามใจชอบ จนได้ฌาน ๔ แล้ว
    ท่านให้เข้าฌาน ๔ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์เงียบสงัดจากอกุศลวิตก แล้วถอยหลังจิต คือค่อยๆ คลาย
    สมาธิมาหยุดอยู่เพียงอุปจารสมาธิ แล้วค่อยๆ กำหนดจิตฟังเสียงที่ดังๆ ในที่ไกลพอได้ยินได้ และเสียง
    ที่เบาลงไปเป็นลำดับ เช่น เสียงฆ้อง กลอง ระฆัง กำหนดฟังให้ชัดเจน แล้วค่อยๆ เลื่อนฟังเสียงที่เบา
    กว่านั้น ขณะที่กำหนดฟังอยู่นั้น ถ้าเห็นว่าอารมณ์จะฟุ้งซ่าน ก็เข้าฌาน ๔ เสียใหม่ เมื่อเห็นอารมณ์ใจ
    สงัดดีแล้ว จึงค่อยคลายสมาธิมาหยุดอยู่ที่อุปจารฌาน แล้วค่อยๆ กำหนดฟังเสียงที่เบาลงเป็นลำดับ
    จนเสียงเล็นเสียงไร เสียงที่อยู่ไกลคนละทวีป และเสียงผี เสียงเปรต เสียงยักษ์ กุมภัณฑ์ คนธรรพ์
    เสียงนาค เทวดาชั้นกามาวจร เสียงพรหม เสียงท่านที่จบพรหมจรรย์ค่อยเลื่อนขึ้นเป็นลำดับ แต่ทว่า
    การกำหนดฟังนั้น ต้องฟังให้ชัดเจนเป็นขั้นๆ ไป ถ้าฟังเสียงหยาบยังได้ยินไม่ชัดเจน ก็อย่าพยายาม
    ฟังเสียงที่ละเอียดกว่านั้น ต้องฟังเสียงอันดับใดอันดับหนึ่ง ให้ได้ยินชัดแจ่มใสเสียก่อน แล้วจึงเลื่อนไป
    ฟังเสียงที่ละเอียดกว่านั้น แล้วเข้าฌาน ๔ ออกฌาน ๔ ไว้เสมอๆ พยายามทำให้มากวันละหลายๆ ครั้ง
    ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ทำเป็นร้อยครั้งพันครั้ง ทำเสมอๆ อย่าเกียจคร้าน ถ้าได้แล้วก็อย่าละเลย
    ต้องทำไว้เสมอๆ จะได้เกิดความเคยชินคล่องแคล่วว่องไว จนกระทั่งคิดว่า จะต้องการฟังเสียงเมื่อไร
    ก็ได้ยินเมื่อนั้น ไม่ว่าเสียงระดับใด อย่างนี้เป็นอันใช้ได้

    ทิพยโสต_าณมีวิธีปฏิบัติตามที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคอย่างนี้ ขอนักปฏิบัติที่สนใจใน
    _าณนี้ จงตั้งจิตอุตสาหวิริยะเป็นอันดี ไม่ท้อถอยแล้ว เป็นมีหวังสำเร็จผลทุกราย
    ไม่มีอะไรที่ท่านผู้มีความวิริยะอุตสาหะจะทำไม่สำเร็จ เว้นไว้แต่จะคุยโวโม้แต่ปากแต่ไม่เอาจริงเท่านั้น
    สำหรับฉฬภิ_โ_ ขอเขียนไว้เพียงเท่านี้ _าณอื่นๆ นั้นได้เขียนไว้ในวิชชาสามครบถ้วนแล้ว


    (จบอิทธิฤทธิ์ไว้เพียงเท่านี้)
     
  5. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,019
    ๔. อัชฌาสัยปฏิสัมภิทัปปัตโต

    อัชฌาสัยของท่านผู้มีความต้องการในความรู้พิเศษ ที่มีความรู้รอบตัวยิ่งกว่าท่านผู้ทรง
    อภิ__า ๖ เรียกว่าอัชฌาสัยของท่านผู้ทรงปฏิสัมภิทัปปัตโต
    ท่านผู้ทรงปฏิสัมภิทัปปัตโตนี้ แปลว่ามีความรู้พร้อม คือท่านทรงคุณธรรมพิเศษกว่า
    ท่านเตวิชโช ฉฬภิ_โ_หลายประการ เช่น
    ๑. มีความสามารถทรงความรู้พร้อม ไม่บกพร่องในหัวข้อธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน
    ไว้ได้โดยครบถ้วน แม้ท่านจะย่างเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเพียงวันเดียว ทั้งๆ ที่ไม่เคยศึกษา
    คำสอนมาก่อนเลย ตามนัยที่ปรากฏในพระสูตรต่างๆ ที่มาในพระไตรปิฎกว่า มีมากท่านที่มีความ
    เลื่อมใสในสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วพอฟังเทศน์จบ ท่านก็ได้บรรลุอรหันต์ชั้นปฏิสัมภิทา_าณ
    ท่านทรงพระไตรปิฏก คือเข้าใจในข้อวัตรปฏิบัติครบถ้วนทุกประการได้ทันท่วงที
    ๒. มีความฉลาดในการขยายความในธรรมภาษิต ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้โดยย่อให้พิสดาร
    ได้อย่างถูกต้อง
    ๓. ย่อความในคำสอนที่พิสดารให้สั้นเข้า โดยไม่เสียใจความ
    ๔. สามารถเข้าใจ และพูดภาษาต่างๆ ได้ทุกภาษา ไม่ว่าภาษามนุษย์หรือภาษาสัตว์
    ตามข้อความในข้อ ๔ นี้ เคยพบพระองค์หนึ่งในสมัยปัจจุบันนี้ คือ พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๐๕
    ต่อกัน พระรูปนั้นมีชื่อว่า "พระสร้อย" ท่านบอกว่า ท่านเป็นชาวจังหวัดสระบุรี ไม่เคยเรียนหนังสือ
    มาก่อนเลย แม้หนังสือไทยนี้ ปกติท่านก็อ่านไม่ออก ท่านว่าเมื่อท่านอายุได้ ๗ ปี มีพระในถ้ำเขตสระบุรี
    ท่านหนึ่ง ไปเยี่ยมโยมท่านที่บ้าน ตัวท่านเองเมื่อเห็นพระรูปนั้นเข้าท่านก็เกิดความรักขึ้นมา เมื่อ
    พระรูปนั้นจะกลับถ้ำ ได้ออกปากชวนท่านไปอยู่ด้วย ท่านก็ขออนุ_าตโยมห_ิง - ชายจะไปอยู่กับ
    พระรูปนั้น โยมทั้งสองก็อนุ_าตด้วยความเต็มใจ ท่านเล่าให้ฟังว่า เมื่อไปอยู่กับพระรูปนั้นก็ไม่มีโอกาส
    ได้เรียนหนังสือ เพราะในถ้ำนั้นมีพระอยู่ ๒ - ๓ รูป ท่านบิณฑบาตกลับมาแล้ว ท่านฉันจังหันเสร็จ
    ต่างก็บูชาพระแล้วนั่งภาวนากันตลอดวันตลอดคืน ไม่ใคร่มีเวลาพูดคุยกัน ท่านก็สอนให้ท่านอาจารย์
    สร้อยภาวนาด้วย ทำอยู่อย่างนั้นจนครบบวช พระที่ท่านพาไปก็พาออกมาบวชที่บ้าน บวชแล้วก็พากลับ
    มาอยู่ถ้ำ นั่งภาวนาตามเดิม ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๐๔ ท่านป่วย ได้เดินธุดงค์มาปักกลดอยู่ที่
    บางกะปิ พระนคร ใครจะนิมนต์ท่านเข้าไปในชายคาบ้านท่านไม่ยอมเข้า ต่อมาพลเรือตรีสนิท
    จำนามสกุลไม่ได้ เจ้ากรมแพทย์ทหารเรือไปพบเข้ามีความเลื่อมใส นิมนต์ให้มารักษาตัวที่กรมแพทย์
    ทหารเรือ ให้พักอยู่ที่ตึก ๑ เป็นตึกคนไข้พิเศษ ปฏิปทาของท่านอาจารย์สร้อยที่มาอยู่ที่กรมแพทย์
    ทหารเรือก็คือ ตอนเช้าท่านจะต้องออกบิณฑบาตทุกวัน ท่านไม่ได้ไปไกล ออกจากตึก ๑ ไปที่ประตู
    กรมแพทย์ฯ ที่ตรงนั้นมีต้นมะฮอกกานีอยู่ต้นหนึ่ง เป็นต้นไม้ มีพุ่มไสว สาขาให_่มาก ท่านเอาบาตร
    ของท่านไปแขวนที่กิ่งมะฮอกกานี แล้วท่านก็ยืนหลับตาอยู่สักครู่ ไม่เกิน ๑๕ นาที ท่านก็ลืมตาขึ้นแล้ว
    เอาบาตรมา เดินกลับเข้าห้องพักคนป่วย ที่ท่านไปยืนอยู่นั้นเป็นทางผ่านเข้าออกของคนไปมาเป็นปกติ
    ไม่มีขาดระยะคนเดินผ่าน ทุกคนเห็นท่านยืนเฉยๆ ไม่เห็นใครเอาอะไรมาใส่ให้ แต่ทุกครั้งที่ท่าน
    เอาบาตรกลับมา จะต้องมีข้าวสุกสีเหลืองน้อยๆ และดอกไม้แปลกๆ ที่ไม่เคยเห็นในภพนี้ติดมาด้วย
    ๒ - ๓ ดอกทุกครั้ง สร้างความแปลกใจแก่ผู้พบเห็นเป็นประจำ บาตรที่ท่านจะเอาไปแขวนนั้น
    นายทหารเป็นคนจัดให้ นายทหารผู้นั้นยืนยันว่า ผมตรวจและทำความสะอาดทุกวัน ผมรับรองว่า
    บาตรว่างไม่มีอะไรจริงๆ เมื่อท่านเอาบาตรไปแขวนก็อยู่ในสายตาของพวกผมเพราะไปไม่ไกลห่าง
    จากตึก ๑ ประมาณไม่ถึง ๑๐ เมตร และติดกับยามประตูกรมแพทย์ หมายถึงที่ท่านไปยืนเอาบาตร
    แขวนต้นไม้ แต่แปลกที่พวกเราไม่เห็นว่าใครเอาของมาใส่เลย ทุกครั้งที่ท่านเอาบาตรมาส่งให้
    กลับมีข้าวและดอกไม้ทุกวัน ปกติท่านสอนเตือนให้คณะนายทหารละชั่วประพฤติดีทุกวัน ทำเอา
    นายทหารเลิกสุรายาเมาไปหลายคน


    รู้ภาษาต่างประเทศ
    วันหนึ่งผู้เขียนได้ไปที่กรมแพทย์ทหารเรือ พอไปถึงพวกนายทหารก็เล่าให้ฟังแล้วคิดในใจว่า
    ท่านผู้นี้อาจจะไม่ใช่ปุถุชนคนธรรมดา ประเภทไม่เป็นเรื่องเป็นราวอย่างผู้เขียน คิดว่าอย่างน้อยท่าน
    อาจจะได้ฌานโลกีย์ อย่างสูงอาจเป็นพระอริยะก็ได้ ที่คิดอย่างนั้นไม่ใช่หมายความว่าผู้เขียนมีฌานพิเศษ
    เป็นเครื่องรู้ ความจริงไม่มีอะไรนอกจากสนใจและสงสัยเท่านั้น จึงคุยกับบรรดานายทหารว่าเอาอย่างนี้
    ซิ เรามาลองท่านดูสักวิธีหนึ่ง คือลองพูดภาษาต่างๆ กับท่าน ถ้าท่านรู้เรื่องและพูดได้ทุกภาษาแล้ว
    ฉันคิดว่าพระองค์นี้เป็นพระอริยะขั้นปฏิสัมภิทา_าณ เพราะท่านผู้ได้ปฏิสัมภิทา_าณนั้นต้องเป็น
    พระอรหันต์ก่อน คุณสมบัติปฏิสัมภิทา_าณจึงปรากฏ ไม่เหมือนเตวิชโชและฉฬภิ_โ_ทั้งสองอย่างนี้
    ได้ตั้งแต่ฌานโลกีย์ จึงรวบรวมนายทหารที่พูดภาษาต่างประเทศได้ ๖ ภาษา คือ
    ๑. ภาษาอังกฤษ
    ๒. ภาษาฝรั่งเศส
    ๓. ภาษาเยอรมัน
    ๔. ภาษาสเปน
    ๕. ภาษา_ี่ปุ่น
    ๖. ภาษามลายู
    ได้ส่งนายทหารที่ชำนา_ภาษานั้น ๆ ไปพูดกับท่าน ท่านก็พูดด้วยได้ทุกภาษา และพูดได้
    อย่างเขาเหล่านั้น เล่นเอานายทหารชุดนั้นงงไปตาม ๆ กันเมื่อท่านถูกถามว่าท่านเรียนภาษาต่าง ๆ
    มาจากไหน ? ท่านตอบว่า ท่านไม่เคยเรียนมาก่อนเลย เห็นเขาพูดมาก็มีความเข้าใจ และพูดได้
    ตามต้องการ ท่านว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกับพูดภาษาไทย เมื่อพบเข้าอย่างนี้ทำให้คิดถึงตำรา คือ
    พระไตรปิฎก ว่าท่านผู้นี้อาจเป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิ_าณตามนัยที่ท่านอธิบายไว้ก็ได้ แต่ท่านจะเป็น
    พระอรหันต์หรือไม่ ผู้เขียนไม่รับรอง แต่ก็ต้องมานั่งคิดนอนตรองค้นคว้าหาหลักฐานเป็นการให_่
    แต่ละเล่มท่านก็เขียนว่า ท่านที่จะได้ปฏิสัมภิทา_าณมีการรู้ภาษาต่าง ๆ เป็นเครื่องสังเกตต้องเป็น
    พระอรหันต์ก่อน ท่านอาจารย์สร้อยท่านรู้ภาษาอย่างไม่จำกัดได้ ท่านจะเป็นพระอรหันต์ไหมหนอ
    โปรดช่วยกันค้นคว้าหาเหตุผล มายืนยันด้วย ใครพบเหตุผลหลักฐานก่อนกันก็ควรบอกกันต่อ ๆ ไป
    เพื่อความเข้าใจถูกในผลของการปฏิบัติสมณธรรม

    ปฏิสัมภิทา_าณปฏิบัติ

    ปฏิสัมภิทา_าณ หรือปฏิสัมภิทัปปัตโตนี้ เป็นระดับของท่านผู้ทรงคุณพิเศษครอบงำเตวิชโช
    และฉฬภิ_โ_ทั้งหมด เพราะเหตุนี้ ท่านผู้ทรงปฏิสัมภิทา_าณนี้ จึงต้องปฏิบัติในกสิณทั้งสิบได้ครบถ้วน
    ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในฉฬภิ_โ_ เมื่อชำนา_ในฉฬภิ_โ_คือชำนา_ในกสิณแล้ว ท่านเจริ_ใน
    อรูปฌานอีก ๔ คือ

    ๑. อากาสานั_จายตนะ

    ท่านเพ่งอากาศเป็นอารมณ์ โดยกำหนดหมายจิตคิดไว้เสมอว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรเป็นแท่งทึบ
    ไม่มีอะไรคงสภาพเป็นก้อนเป็นแท่งอยู่ตลอดกาลสมัย ไม่ช้านานเท่าใดก็ต้องอันตรธานสู_ไป
    คล้ายอากาศ ท่านไม่มีความนิยม ในรูปสังขารเห็นสังขารเป็นโทษ เพราะพิจารณาเห็นว่าสังขาร
    ทั้งหลายเป็นแหล่งของความทุกข์ และความชั่วช้าสารเลว สังขารเต็มไปด้วยความทุกข์อันเกิดจาก
    ความอยากไม่มีสิ้นสุด ความร้อน ความหนาว ความป่วยไข้ ทุกขเวทนาอย่างสาหัส จะพึงมีมาก็เพราะ
    สังขารเป็นปัจจัย ท่านมีความเกลียดชังในสังขารเป็นที่สุด กำหนดจิตคิดละสังขารในชาติต่อ ๆ ไป
    ไม่ต้องการสังขารอีกถือเป็นอากาศธาตุเป็นอารมณ์ คิดว่าสังขารนี้เรายอมเป็นทาสรับทุกข์ของสังขาร
    เพียงชาตินี้ชาติเดียว ชาติต่อ ๆ ไปเราไม่ต้องการสังขารอีก ความต้องการก็คือ หวังความว่างเปล่า
    จากสังขาร ต้องการมีสภาพเป็นอากาศเป็นปกติ
    การเจริ_อรูปกรรมฐานนี้ ทุกอย่างจะต้องยกเอากสิณอย่างใดอย่างหนึ่งมาเป็นอารมณ์ก่อน
    เสมอ คือเข้าฌานในกสิณนั้นๆ จนถึงฌาน ๔ แล้วเอานิมิตในกสิณนั้นมาเป็นอารมณ์ในอรูปกรรมฐาน
    เช่น อากาสานั_จายตนะนี้ท่านให้กำหนดนิมิตในรูปกสิณก่อน แล้วพิจารณารูปกสิณนั้นให้เห็นเป็นโทษ
    โดยกำหนดจิตคิดว่า หากเรายังต้องการรูปอยู่เพียงใด ความทุกข์อันเนื่องจากรูปย่อมปรากฏแก่เรา
    เสมอไปหากเราไม่มีรูปแล้วไซร้ทุกข์ภัยอันมีรูปเป็นเหตุก็จะไม่ปรากฏแก่เรา แล้วก็เพิกคืออธิษฐาน
    รูปกสิณนั้นให้เป็นอากาศ ยึดถืออากาศเป็นอารมณ์ ทำอย่างนี้จนจิตตั้งอยู่ในฌาน ๔ เป็นปกติชื่อว่าได้
    กรรมฐานกองนี้

    ๒. วิ__าณั_จายตนะ

    วิ__าณั_จายตนะนี้ เป็นอรูปฌานที่สอง ท่านผู้ปฏิบัติมุ่งหมายกำหนดเอาวิ__าณเป็นสำคั_
    คือพิจารณาเห็นโทษของรูป และมีความเบื่อหน่ายในรูปตามที่กล่าวมาแล้ว ในอากาสานั_จายตนะ
    ท่านกำหนดจิตคิดว่า เราไม่ต้องการมีรูปต่อไปอีก ต้องการแต่วิ__าณอย่างเดียว เพราะรูปเป็นทุกข์
    ์วิ__าณต้องรับทุกข์อย่างสาหัสก็เพราะมีรูปเป็นปัจจัย ถ้ารูปไม่มี มีแต่วิ__าณ ทุกข์ก็จะไม่มี
    มาเบียดเบียน เพราะทุกข์ต่างๆ ต้องมีสังขารจึงเกาะกุมได้ ถ้ามีแต่วิ__าณทุกข์ก็หมดโอกาส
    จะทรมานได้ แล้วท่านก็จับรูปกสิณเป็นอารมณ์ แล้วกำหนดวิ__าณเป็นสำคั_จนตั้งอารมณ์อยู่ใน
    ฌาน ๔ เป็นปกติ ท่านที่ได้ฌานนี้มีประโยชน์ในการตรวจสอบจิตวิ__าณของตนเอง และของผู้อื่น
    ได้อย่างชัดเจน

    ๓. อากิ_จั__ายตนะ

    อากิ_จั__ายตนะนี้ ท่านพิจารณาว่าไม่มีอะไรเลย หรือไม่มีอะไรเหลือต่างจากอากาสานั_--
    จายตนะ เพราะ อากาสานั_จายตนะยังมีการกำหนดว่ามีอากาศเป็นอารมณ์ อากิ_จั__ายตนะนี้ ท่าน
    ไม่กำหนดหมายอะไรเลย ไม่ต้องการอะไรทั้งสิ้น ไม่ต้องการรูปและแม้แต่มีวิ__าณ ด้วยท่านคิดว่า
    แม้รูปไม่มี วิ__าณยังมีอยู่ วิ__าณก็ยังรับสุข รับทุกข์ทางด้านอารมณ์ เพื่อตัดให้สิ้นไปท่านไม่ต้องการ
    อะไรเลยแม้แต่ความหวังในอารมณ์ ปล่อยอารมณ์จากความหวังใดๆ ทั้งหมด โดยกำหนดจิตจับอารมณ์
    ในรูปกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งในรูปฌานแล้วต่อไปก็เพิกรูปกสิณนั้นเสีย กำหนดจิตให้ว่างเปล่าจากอารมณ์
    เป็นปกติ จนอารมณ์จิตตั้งอยู่ในฌาน ๔ เป็นปกติ

    ๔. เนวสั__านาสั__ายตนะ

    ฌานนี้ท่านว่า มีวิ__าณก็ไม่ใช่ หรือจะว่าไม่มีวิ__าณก็ไม่ใช่ สร้างความรู้สึกเหมือนคน
    ไม่มีวิ__าณ คือไม่ยอมรับรู้อะไรทั้งหมด ใครจะชม หรือนินทาว่าร้าย เอาของดีของเลวมาให้
    หรือนำไป หนาว ร้อน หิว กระหาย เจ็บ ป่วย รวมความว่าเหตุของความทุกข์ความสุขใดๆ ไม่มีความ
    ต้องการรับรู้ ทำเสมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น แบบในสมัยนี้เคยพบ อาจารย์กบ วัดเขาสาริกา
    องค์หนึ่ง ท่านเจริ_แบบนี้ วิ__าณท่านมี ท่านรู้หนาวรู้ร้อน แต่ท่านทำเหมือนไม่รู้ ฝนตกฟ้าร้อง
    ท่านก็นอนเฉย ลมหนาวพัดมาท่านไม่มีผ้าห่ม ท่านก็นอนเฉย ใครไปใครมาท่านก็เฉย ทำไม่รู้เสีย
    บางรายไปนอนเฝ้าตั้งสามวันสามคืน ท่านไม่ยอมพูดด้วย ถึงเวลาออกมาจากกุฎี ท่านก็คว้าฆ้องตี
    โหม่งๆ ปากก็ร้องว่า ทองหนึ่งๆๆๆ แล้วท่านก็นอนของท่านต่อไป คนเลื่อมใสมากถึงกับตั้งสำนักศิษย์
    หลวงพ่อกบขึ้น เดี๋ยวนี้คณะศิษย์หลวงพ่อกบมากมาย สามัคคีกันดีเสียด้วย ทำอะไรก็พร้อมเพรียงกันทำ
    น่าสรรเสริ_ ก่อนที่จะกำหนดจิตคิดว่าไม่มีอะไรเป็นจุดหมายของจิต ท่านก็ต้องยกรูปกสิณ จับนิมิต
    ในรูปกสิณเป็นอารมณ์ก่อนเหมือนกัน การเจริ_ในอรูปฌานนี้ ท่านผู้อ่านที่ยังไม่เคยได้รูปฌานในกสิณ
    คงจะคิดว่ายากมาก ความจริงถ้าได้ฌานในรูปกสิณแล้วไม่ยากเลย เพราะอารมณ์สมาธิก็ทรงอยู่
    ขั้นฌาน ๔ เท่านั้นเอง เพราะช่ำชองมาในกสิณสิบแล้ว มาจับทำเข้าจริงๆ ก็จะเข้าถึงจุดภายในสามวัน
    เจ็ดวันเท่านั้น
    เมื่อทรงอรูปฌานได้ครบถ้วนแล้ว ก็ฝึกเข้าฌานออกฌาน ตั้งแต่กสิณมา แล้วเลยเข้าอรูปฌาน
    ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในบทว่าด้วยอภิ__าหก สำหรับอภิ__าหรือ_าณในวิชชาสามย่อมใช้ให้เป็น
    ประโยชน์ได้ตั้งแต่ทรงฌานโลกีย์ สำหรับปฏิสัมภิทา_าณคือคุณพิเศษ ๔ ข้อในปฏิสัมภิทา_าณนี้
    จะได้ก็ต่อเมื่อสำเร็จอรหัตตผลแล้ว ในขณะที่ทรงฌานโลกีย์อยู่ คุณพิเศษ ๔ อย่างนั้นยังไม่ปรากฏ
    ปฏิสัมภิทา_าณแปลกจากเตวิชโชและฉฬภิ_โ_ตรงนี้
     
  6. ploy

    ploy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2005
    โพสต์:
    137
    ค่าพลัง:
    +113
    อ๋อแบบนี้นี่เอง ขอบคุณค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...