หนึ่งคือสรรพสิ่ง ของสากลจักรวาล

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย โทสะ, 1 ธันวาคม 2010.

  1. โทสะ

    โทสะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +466
    ท่านเคยมองสิ่งรอบๆตัว บางครั้งสามารถสัมผัสถึง ความมีชีวิตของสิ่งเหล่านั้น หรือเขากำลังสื่อสารกับเรา ท่านเชื่อไหมว่า สิ่งที่เราสามารถสัมผัสได้นั้นมันคือเรื่องจริง<O:p</O:p
    เช่น ต้นไม้ สายน้ำ สายลม แสงแดดฯลฯ
    <O:p</O:pธาตุทั้ง ๔<O:p</O:p
    ในโลกเราล้วนประกอบขึ้นมาจากธาตุทั้ง ๔ <O:p</O:p
    - แกนกลางของโลกแมกม่า อันนี้ มันคือไฟ <O:p</O:p
    - มีดินห่อหุ้มเอาไว้ <O:p</O:p
    - มีน้ำปกคลุมดินเอาไว้ ทำให้เหลือดินเพียง หนึ่งในสี่ <O:p</O:p
    - ห่อหุ้มด้วยอากาศที่เมื่อมันเคลื่อนที่มันก็เกิดลม <O:p</O:p
    เมื่อโลกเราก็หมุนไปรอบดวงอาทิตย์ ตรงตำแหน่ง เดิมๆ วนไป หนึ่งรอบก็หนึ่งปี แต่ละตำแหน่งที่หมุนไปรอบดวงอาทิตย์ ก็จะเป็น ฤดูกาลต่างๆ บางตำแหน่งไฟก็มาก บางตำแหน่งน้ำก็มาก บางช่วงตำแหน่งลมก็มาก บางตำแหน่งก็ทำให้เหล่าธาตุดินเจริญเติบโตมาก<O:p</O:p
    ฤดูทั้ง ๔<O:p</O:p
    ฤดู ร้อน เป็นช่วงที่มีไฟมาก คือ มันร้อน ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน ช่วงนี้ การเคลื่อนที่ของโลกไปตรงจุด ตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์<O:p</O:p
    ฤดู ฝน เป็นช่วงที่มี น้ำมาก ช่วงเดือน มิถุนายน ถึง ตุลาคม บางครั้งเรียก ฤดูน้ำหลาก มากล้น เอ่อท่วม<O:p</O:p
    ฤดู หนาว เมื่ออากาศเคลื่อนที่ มากๆ ก็จะก่อให้เกิดลมมาก เช่น ช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือน มากราคม เมื่อโลกเคลื่อนห่างดวงอาทิตย์ออกไป ความหนาวเย็นก้เข้าปกคลุม<O:p</O:p
    ฤดู ใบไม้ผลิ ต่อ จากฤดู ร้อน เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ดินเจริญเติมโต เช่น ต้นไม่ ต้นหญ้า พืชพรรณต่างๆ ต่างผลิดอก ออกใบ เขียวชอุ่ม มองแล้วชื่นใจ ช่วงเดือนเมษายน ถึง เดือน พฤษภาคม <O:p</O:p
    แต่ตำแหน่งแต่ละที่บนผิวโลก ก็มีสนาม พลังงานไม่เท่ากัน ทำให้บางแห่งมี ไฟมาก บางแห่งมีน้ำมาก บางแห่งมีลมมาก และบางแห่งดินเจริญเติบโตมาก<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อะไรคือศูนย์กลางของระบบสุริยะจักวาลเรา ดวงอาทิตย์ ใช่หรือไม่ ดวงอาทิตย์นี้ คือ อะไร ไฟ ใช่หรือไม่ แล้วมีดวงดาวอื่นๆ ล้อมรอบทั้งดาวเล็ก ดาวใหญ่ ทั้งที่ถูกสมมติตั้งชื่อ หรือ ไม่มีชื่อ เต็มไปหมด
    <O:p</O:pเมื่อพิจารณาในสิ่งที่วิทยาศาสตร์กำลังพยายามอธิบาย ถึงองค์ประกอบของ อะตอม ในนี้มันมีอะไร ลองพิจารณาตาม ลองมองดูที่น้ำที่ท่านดื่มกินทุกวัน วิชาเคมี ทำให้เราทราบว่า น้ำเกิดจากการเกาะยึดกันระหว่างธาตุสองธาตุ นั่นคือ ไฮโดรเจน 2 อะตอม กับ ออกซิเจนหนึ่งอะตอม หรือ H2O พันธะการเกาะยึดด้วยแรงระหว่าง ธาตุทั้งสอง กระจายออกไป จนเห็น น้ำเต็มทะเล แม่น้ำลำคลอง<O:p</O:p
    เมื่อพิจารณา ถึงออกซิเจนอิสระ ที่ห่อหุ้มโลกเอาไว้นี้ นอกจากนั้นยังมีธาตุอิสระอื่นๆอีกมากมายแทรกอยู่ด้วยกัน ในที่นี้ลองพิจารณาเฉพาะออกซิเจน O2นี้เท่านั้น เมื่อเคลื่อนที่ไป มาสัมผัสเรา เราจึงรู้ว่ามันคือ ลม <O:p</O:p
    พิจารณาต่อไป ถึง อะตอม ของ ธาตุชนิดนี้ วิทยาศาสตร์ ในสาขาวิชา ฟิสิกส์ ทำให้เราเข้าใจว่า ในอะตอมนี้ ประกอบไปด้วย อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ไปรอบๆ นอกจากนั้นยังมีนิวตรอน และ โปรตรอน แต่เมื่อศึกษาลึกลงไปอีก ก็จะพบเพียงว่า มันเป็นเพียง กลุ่มก้อนพลังงานเล็กๆ ที่เกาะยึดกันอยู่เท่านั้น พลังงานที่อัดแน่นจนเมื่อนักวิทยาศาสตร์ทดลองยิงรังสีแกมม่าแผ่นแผ่นทองเกิดการเบี่ยงเบนของรังสี มันคืออะไร ผู้เขียน ขอเรียกมันว่า ไฟ <O:p</O:p
    จริงแล้วดวงอาทิตย์สาดแสงตลอดเวลา ที่มันมีกลางคืน ก็เพราะเงาของโลกบังอีกฝั่งหนึ่งเท่านั้น เมื่อดวงอาทิตย์สาดแสง ออกมาตลอด ลองสมมติว่า แสงแดดที่เราเห็น เป็นเม็ดแสงเล็กๆมากมายมหาศาลกระจายออก เชื่อมโยงกันเป็นสนามพลังงาน และมันคือชนิดเดียวกันที่อยู่ในอะตอมของทุกธาตุ เช่น อะตอมของออกซิเจนดังที่กล่าวมาแล้ว เมื่อเม็ดแสงที่แผ่ออกมา ไปเชื่อมโยง กระตุ้นอะตอมในธาตุ เช่นออกซิเจนอิสระที่ห่อหุ้มโลกเอาไว้จึงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ ทั้งดึงดูด และผลักกันไปมา สมมติว่ามันดึงดูด ผลักกันไป กลับไป กลับมา เกิดความสมดุลของธาตุสองชนิดขึ้นมา เกิดความแรงยึด ด้วยพันธะที่สมดุล เช่น ไฮโดรเจนกับออกซิเจนดังที่กล่าวมา มันจึงกลายเป็น น้ำ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ทีนี้ลองสมมติถึง การเกาะเกี่ยวที่เหนียวแน่นอย่างมากซึ่งอาจจะเกิดขึ้นมาพร้อมๆกับจุดเริ่มต้นแรงยึดที่มากมายมหาศาลนี้มีอยู่ในธาตุประเภทที่เรียกว่า ดิน เช่น ดิน หิน เพรช วิชาเคมีทำให้เราเข้าใจการเกาะเกี่ยวกันของธาตุพวกนี้อย่างเป็นระบบ เช่น การเกาะยึดของคาร์บอนกับ ไฮโดรเจน เป็นต้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    วิวัฒนาการที่นับเวลาจนจะหาจุดเริ่มต้นไม่เจอ มันเชื่อมโยงกันไฟในธาตุทั้งสี่ สัมพันธ์กันไปมา จากจุดกำเนิดเดียวกัน มันกระจายออกไป และออกไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เมื่อเรามองไปออกไปบนท้องฟ้ายามค่ำคืน มันทำให้เราอดที่จะคิดไม่ได้ว่าที่นอกโลกที่ไกลออกไปนั้น มันจะมีเพื่อนต่างดาวบ้างหรือไม่ วิชาดาราศาสตร์ สอนเราว่า ดาวฤกษ์ เป็นดาวที่มีแสงในตัวเอง ลองสมมติว่านั่นคือดวงอาทิตย์อีกดวงที่ไกลออกไปไม่รู้กี่ล้านปีแสง เมื่อเราจ้องดู เราจะเห็นแสงกระพริบๆ สลับไป สลับมา เป็นอีกหนึ่งสนามพลังงานเช่นกันกับดวงอาทิตย์ของระบบสุริยะจักวาลของเรา มันคงมีชีวิตต่างดาวที่มีสภาพไม่ต่างจากเรา ทั้งวิวัฒนาการที่ไม่สูง หรือทั้งที่วิวัฒนาการขั้นสูง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    วิวัฒนาการในมุมมองของคนทั่วไปคงเข้าใจเพียงว่า มีความก้าวหน้าเทคโนโลยีที่ทันสมัย ล้ำยุค ในมุมมองของผู้เขียนแล้ว หากจะมองถึงวิวัฒนาการนี้ ขอสนใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่ย้อนเข้ามาภายในนี้จะสำคัญยิ่งกว่า ซึ่งถือเป็นวิวัฒนาการที่แท้จริง แต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหากวิวัฒน์ถูกทางมันก็จะเชื่อมโยงและย้อนกลับมาเพื่อเกื้อหนุนให้มวลมนุษย์ทั้งดาวดวงนี้และดาวดวงอื่นเข้าถึงวิวัฒนาการภายในนี้เช่นเดิม ไม่ได้แยก แตกต่างไปที่ใดเลย<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ลองพิจารณาดูกระดูกพระอริยะเจ้าทำไมถึงเป็น คริสตอล แต่เราเรียกว่า พระธาตุ แล้วทำไมจิตที่หลุดพ้นดังกล่าวนี้จึงไม่มาเวียนเกิด เวียนตายอีก สมมติว่าจิตได้หลุดพ้นจากสนามพลังงานที่ว่านี้ไปเสียแล้ว<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    กายเนื้อ กายทิพย์ จิตเดิมแท้<O:p</O:p
    ผู้เขียนรู้ว่าสิ่งที่ประกอบมาเป็นตัวตนเรานี้ประกอบไปด้วย กายเนื้อ กายทิพย์ จิตเดิมแท้ เรียกว่า กาย 3 ชั้นก็คงจะไม่ผิด <O:p</O:p
    กายเนื้อ คงพอจะเชื่อมโยงได้ว่ามันประกอบมาจากธาตุดิน น้ำ ลม และไฟนี้เท่านั้น พุทธองค์ท่านสอนว่า กายนี้มันเป็นเพียงเป็นการประชุมของธาตุทั้ง ๔ นี้เช่นกัน เมื่อพิจารณาเห็นจริงตามนั้น ใช่หรือไม่ <O:p</O:p
    -ธาตุ ดิน คือ สัณฐานหลัก เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    -ธาตุน้ำ คือ ส่วนที่เอิบอาบ เช่น น้ำลาย น้ำปัสสาวะ น้ำเหงื่อ ฯลฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    -ธาตุลม คือ ส่วนที่พัดไหว เช่น ลมหายใจเข้า – ออก ลมในร่างกาย <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    -ธาตุไฟ คือ ส่วนที่อบอุ่น เผาผลาญ เช่น ความร้อน ความอบอุ่นในร่างกาย
    <O:p</O:pกายทิพย์ คือรูปแบบของจิตที่ห่อหุ้มไปด้วยพลังงานละเอียด หากเป็นประเภทสุขก็เรียกเทวดา หากเป็นประเภททุกข์ก็เป็นสัตว์นรก เปรต เป็นต้น สนามพลังงานนี้เกี่ยวข้องกันไปกับจุดกำเนิด และสนามพลังงานของโลก ซึ่งจริงๆ โลกก็เป็นเพียงสนามพลังงานขนาดใหญ่เท่านั้นที่มีทั้งรูปแบบพลังงานหยาบ และรูปแบบพลังงานละเอียด ห่อหุ้มเป็นชั้นๆ<O:p</O:p
    มีหลายเรื่องราวที่กล่าวถึงภูติ ผี เทวะบุตร เทวดา สมมติเรียกชื่อว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ก็คือ กายทิพย์ที่ว่านี้ ซึ่งเป็นรูปแบบพลังงานละเอียด ทั้งที่เชื่อมโยงกับพลังงานหยาบ(กายเนื้อ) เช่น ภูมิมนุษย์ และภูมิเดรัจฉาน หรืออยู่เป็นอิสระตามมิติของสนามพลังงานที่ต่างๆกันออกไป ทั้งรูปแบบกายทิพย์ที่สุข หรือรูปแบบกายทิพย์ที่ทุกข์ สนามพลังงานที่ห่อหุ้มโลกเป็นชั้นๆนี้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า นรก หรือ สวรรค์ บางคนไม่เชื่อว่า นรกมี สวรรค์มี อันนี้ขอให้พิจารณาอย่างละเอียด ถึงสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ หรือหากอยากรู้ ลองเพียรจนจิตตั้งมั่น คงจะสัมผัสได้ อย่าเป็นคนที่จะคอยแต่จะเชื่อในสิ่งที่ตาตนเองเห็น หรือหูได้ยินฯลฯ เท่านั้น เพราะมันไม่ได้เป็นไปเหมือนสิ่งที่ตาเห็นเท่านั้น หากเทียบ มิติระดับนี้ถือว่าเป็นระดับที่หยาบสุด มิได้ละเอียดอะไรเลย<O:p</O:p
    สมมติว่าสนามพลังงานที่ว่านี้คือภูมิ ของกายทิพย์เป็นชั้นๆ ต่างกันไป มีรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่พลังงานที่ห่อหุ้มจิตนี้ไว้มันจะไม่เสถียร มีขึ้น มีลง เพราะยังมิได้หลุดออกไป จึงเป็นเหตุให้มาเวียนเกิด เวียนตามไม่เลิก <O:p</O:p
    สนามพลังงานที่ซ้อนทับใกล้ผิวโลก ความเหลื่อมที่ใกล้กันเป็นเหตุให้เราเห็นได้ เช่น ภูมิเทวดา รุกขเทวดา เปรต หรือสัมภเวสี บางคนคิดว่า พญานาค คงเป็นตัวยาวๆ เหมือนงู ลอยน้ำไปมาเหมือนปลา ความจริงแล้วท่านเหล่านั้นมิได้เป็นเช่นนั้นเลย ท่านเหล่านี้เป็นเพียงรูปแบบพลังงานละเอียดห่อหุ้มจิตไว้เช่นกัน มิได้มีตัวตนเช่นใด มีเกิด มีตายเช่นกัน เพราะพลังงานไม่เสถียร กายทิพย์บางดวงมีอำนาจ บางดวงไม่มีอำนาจ อ่อนแอ การดึงดูดเข้ามิติพลังงานก็เป็นไปตามสนามพลังงานที่มีอยู่ จึงมีภพภูมิต่างๆ

    <O:p</O:pจิตเดิมแท้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว จิตเดิมแท้นี้มักจะถูกห่อหุ้มไปด้วยพลังงานละเอียด จนก่อรูปเป็นกายทิพย์ตามรูปแบบพลังงานที่สะสมมา<O:p</O:p
    การจะสลัดออกซึ่งพลังงานละเอียดพวกนี้ เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอนถึงการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึง แต่การที่จะสามารถเข้าถึงนี้ ก็มิใช่เรื่องง่าย
    <O:p</O:p
    แต่ก็ไม่เหลือวิสัยที่มนุษย์จะพึง บำเพ็ญเพียรให้เกิดได้

    <O:p</O:pPS.พึงทราบว่าสิ่งที่ผู้เขียนสมมติมาทั้งหมดนี้มันคือ เรื่องจริงทั้งนั้น<O:p></O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 ธันวาคม 2010
  2. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    หากกายทิพย์ห่อหุ้มด้วยพลังงานความสุขก็เหมือนกับจิตอยู่ในสวรรค์หรือเปล่าครับ
     
  3. โทสะ

    โทสะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +466
    พลังงานความสุขที่ว่า นี้ มันแผ่ออกจากภายใน

    เรียกว่า พลังงานบุญ หากเกิดขึ้น จากอารมณ์ แห่ง ปีติ สุข เช่น ปีติจากการให้ทาน หรือ ปีติ สุข จากสมาธิ แต่ ปีติ สุข จากสมาธินี่ กำลังจะมาก
    เรียกว่า พลังงาน บาป หาก ก่อเกิดจากอารมณ์ใจ แห่ง โลภ โกรธ หลง

    อนุโมทนาครับ
     
  4. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ขอบคุณค่ะ....................
     
  5. โทสะ

    โทสะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +466
    ในการฝึกจิตนั้น หากผู้ปฏิบัติรู้จักประคองจิต เพ่งจิต ปลอบจิต และปล่อยจิต โดยอาศัยหลักการกำหนดจิตไว้ ณ ฐานที่ตั้งของจิต ๙ แห่ง ก็จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติฝึกจิตมีสติอยู่กับกาย มองเห็นกายภายใน และภายนอก พัฒนาจิตของตนให้มีสติตั้งมั่นได้นาน ตามฐานที่ตั้งของจิต ดังนี้
    ๑) อัษฏากาศ คือ ด้านบนสุดของศีรษะ เป็นที่อดทนสงบเสงี่ยม เมื่อตั้งจิตทำความรู้สึก อยู่ที่กระหม่อมส่วนบนสุดของศีรษะ จะทำให้เกิดปิติ รู้สึกเย็น
    ๒) ทิพยสูญ คือ ระหว่างคิ้ว เป็นที่ประหารโทษทั้งปวง และเป็นตบะเดชะด้วย เมื่อตั้งจิตทำความรู้สึกที่ทิพยสูญแล้ว ปล่อยออกไปภายนอก จะทำให้เกิด “สูญตาสมาธิ
    ๓) มหาสูญ ระหว่างตา เป็นที่เกิดปัญญา เห็นโทษทั้งปวง เมื่อตั้งจิตทำความรู้สึกอยู่ที่มหาสูญ แล้วมองกายภายใน จะทำให้เกิด “ญาณ” เห็นความเกิดดับภายใน เมื่อทำความรู้สึกเข้าไปในทรวงอก ใต้ลิ้นปี่ จะทำให้จิตรวมตัวเกิดเป็นพลังงานความร้อนอบอุ่น และเห็นการเกิดดับ การทำงานของหัวใจ ถ้าผู้ปฏิบัติตั้งจิตทำความรู้สึกที่มหาสูญ และทรวงอกพร้อมกันเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ผู้ปฏิบัติเห็นการเกิดดับของจิต ทำให้จิตรวมตัวเกิดพลังงานทำให้จิตแจ่มใส เกิดปัญญาทำลายอวิชชาได้
    ๔) จุดสูญน้อย ปลายจมูก เป็นที่นำความยินดีทั้งปวง และนำปฏิสนธิแห่งสัตว์ด้วย เมื่อตั้งจิตทำความรู้สึกที่จุดสูญน้อยแล้ว ดูลมหายใจเข้าออก เรียกว่าการเจริญอานาปานสติ จะทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงความสงบใจ ได้ง่าย เกิดปีติ และความเยือกเย็นแห่งจิต
    ๕) โคตรถู ท้ายทอย เป็นที่หลบซ่อนทุกขเวทนาทั้งปวง ขากจากบาปธรรมเมื่อจะตาย เมื่อตั้งจิตทำความรู้สึกที่ท้ายทอยแล้วปล่อยให้จิตไหลลงในกาย จะเห็นความเกิดดับ ความสิ้น ความเสื่อมสลายภายใน เป็นการพิจารณาธรรมภายใน
    ๖) ห้องสมุดคอกลวง เป็น ที่หลับ ที่ขาดรส ที่ภังคะ และเป็นที่นิโรธสัจจะรวมกัน เวลาฉันอาหาร (รับประทานอาหาร) ถ้าหากตั้งจิต ทำความรู้สึกไว้จะทำให้ไม่รู้รสอาหาร และจะไม่สามารถกลืนอาหารได้ จะเป็นการบังคับให้การเคี้ยวอาหารละเอียดไปในตัวด้วย
    ๗) ห้องทหัยวัตถุ ทรวงอก เป็นที่ปฏิสนธิ แห่งกุศลและอกุศล สัมปยุตธาตุด้วย เมื่อจิตตั้งทำความรู้สึกที่ห้องทหัยวัตถุ จะทำให้จิตรวมตัวกัน และเกิดพลังงาน เมื่อตั้งจิตทำความรู้สึกในห้องทหัยวัตถุ จะทำให้จิตรวมตัวและเกิดพลังงาน มีอำนาจในการเผานิวรณ์ และทำลายล้างกิเลสได้ นอกจากนี้ยังเป็นจุดดับของธรรมารมณ์ต่างๆ จึงนับว่า เป็นจุดที่มีความสำคัญต่อการฝึกจิตมาก
    ๘) เหนือสะดือ ๒ นิ้ว (องคุลี) เป็นที่เกิดบาปกรรมทั้งปวง เป็นที่ประชุมธาตุ เมื่อตั้งจิตไว้ จะทำให้จิตลงสู่ภวังค์ง่าย และบางครั้งจะทำให้เกิดความรู้สึกว่าวาสลึกลงไปเหมือนกับลงเหว บางครั้งจะทำให้รู้สึกเวิ้งว้าง จับสภาวะไม่ได้
    ๙) อัษฏากาศเบื้องต่ำ เป็นที่กำหนดความรู้สึกได้ง่าย คือ เป็นจุดที่ผู้ปฏิบัติควรตั้งจิตทำความรู้สึกไว้ เมื่อเกิดความฟุ้งซ่านมาก และเป็นจุดแก้กรรมฐานสำหรับผู้ที่ปฏิบัติแล้วไม่เห็นสภาวธรรม ไม่สามารถกำหนดสภาวะทางกายได้ หรือ ผู้ที่เกิดปีติจากการปฏิบัติมากเกินไป รู้สึกกายเบาจิตเบามาก เมื่อกำหนดจิตทำความรู้สึกที่อัษฏากาศเบื้องต่ำ จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติมีจิตอยู่กับตัว เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของร่างกายได้ดี
    พิจารณาแล้ว เมื่อผู้บำเพ็ญเพียรที่ฉลาดในการฝึกสมาธิ ท่านเหล่านั้น จะเลือกจุดใด จุดหนึ่งที่ตนชอบใจ เพื่อวางจิตตนเองไว้ที่นั่น เป็นฐานที่ตั้ง วิธีการปฏิบัติแบบง่ายๆ คือ การเอาความรู้สึก นึกคิดไปจดจ่อไว้ที่ตั้งนั้น เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น<O:p</O:p
    ในกรรมฐาน ๔๐ ที่ถือเป็นแบบฝึกสมาธินี้ ก็เป็นวิธีการเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง กรรมฐานบางกองไปถึงขึ้นอรูปฌาน แต่บางกองไปได้แค่ สมาธิขั้นกลาง แต่ในสมาธิทุกกองนั้นมีหลักการที่สำคัญอยู่อย่างหนึ่งนั่นคือ พลังแห่งการจดจ่อ<O:p</O:p
    แล้วเรื่องนี้เกี่ยวกับ การเจริญสติอย่างไร การเจริญสติ นั้นเพื่อการ ระลึกรู้ให้มก และให้มากขึ้น เป็นบาทฐานของการทำให้ พลังงานละเอียด ที่กระจายทั่วไปตามร่างกาย รวมตัวเข้ามาในจุด ตำแหน่งที่วางเอาไว้<O:p</O:p
    การฝึกเจริญ สติขึ้นนี้ เพื่อรวมจิตให้ได้ก่อน หากไปฝึกสติ โดยระลึกรู้ ที่ขาดจุด ตำแหน่ง หรือหลักตั้งไว้แล้ว มันเป็นเพียงการโดดจากความคิดหนึ่ง ไปสู่อีกความคิดหนึ่งเท่านั้น เช่น หากการฝึกสติให้อยู่กับกาย เราต้องกำหนดอาริยาบทตั้งไว้เสียก่อน เช่น ตั้งไว้กับลมหายใจ แล้วค่อยออกระลึกรู้ อิริยาบถรองต่างๆ เช่น เคลื่อนไหว กิน ดื่ม เป็นต้น <O:p</O:p
    การฝึกขึ้นต้น โดยให้ สติ จ่ออยู่กำ จุด ตำแหน่ง หลักนั้นไว้ให้ต่อ เนื่อง เป็นเป็นตำแหน่งให้พลังงานละเอียดที่กระจายอยู่ทั่วร่างกายมา รวมกัน และ รวมกัน หากพัฒนาการต่อเนื่อง การรวมกันนี้จะไปถึงขั้นไม่ รับรู้ว่ามีร่างกายเนื้อด้วยซ้ำ<O:p</O:p
    หากเพียรในสมาธิจนจิตตั้งมั่นได้ ค่อยมาเจริญสติขั้นสูงเพื่อให้เกิด สติอัตโนมัติ แล้วใช้ปัญญาพิจารณาแยกแยะ ด้วยหนุนเนื่องจากกำลังสมาธิที่ส่งผลถึงจิตมีกำลัง จนเกิดปัญญาอัตโนมัติ จักได้ทะลุปรุโปร่งในเรื่องที่พิจารณา <O:p</O:p
    เมื่อนั้น จิตจะไม่ยอมยึด ถือ ปล่อยวางไปเอง ไม่ใช่ว่าจะมานั่งนึกคิดตามสัญญา อารมณ์ปล่อยวางเอาเอง ด้วยจิตยังมิได้รวมตัว ยังกระจัดกระจายไปตามอายตะต่างๆ ยังคละเคล้าไปด้วยอารมณ์ต่างๆ นานา ก็จะมีแต่ สัญญาสูญตา เท่านั้น<O:p</O:p

    ขออนุโมทนาในธรรม<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 ธันวาคม 2010
  6. iyawa

    iyawa สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบพระคุณค่ะ...:cool:
     
  7. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    มาอ่านต่อค่ะ..............
     
  8. โทสะ

    โทสะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +466
    การเพียรปฏิบัติเพื่อน้อมจิตให้ถึงสมาธิขั้น ฌาน
    <O:p</O:p


    <O:p</O:p

    มุ่งหวังเพื่อทำสมาธิให้ถึง ขั้น ฌาน ๔ ใจต้องเด็ดเดี่ยว แน่วแน่ ต้องถามก่อนว่า เป็นคนตกใจง่าย ขี้กลัวหรือไม่ หากเป็นคนที่มีนิสัยอย่างว่า ต้องฝึกเตรียมใจก่อน<O:p</O:p
    ๑. ต้องฝึกใจไม่ให้กลัวให้ได้ จะฝึกอยู่ที่คนเดียวในที่มืดๆ ที่คิดว่ามันน่ากลัว หรือไปดูสิ่งที่มันน่ากลัวเช่น ศพคนตายอะไรทำนองนั้น แล้วน้อมจิตให้มาอยู่กับตนเองไม่ให้แลบออกไปไหน ฝึกบ่อยๆ ให้ชิน แล้วจะเป็นคนที่ใจกล้า ไม่กลัว
    ๒. ขั้นต่อไปคือฝึกอยู่กับตนเองให้ได้นานที่สุด (ควบคุมความนึกคิดของตน) ในที่นี้คือ สติ หมายถึงว่าให้หาเครื่องผูกจิตไว้ จะด้วยอยู่กับลมหายใจ ที่เรียกอานาปานุสสติ หรือ คำบริกรรม พุท-โธ ที่เรียก พุทธานุสสติ อะไรก็ได้แล้วแต่ชอบ แล้วให้มีสติ เพื่อระลึกรู้ให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะคิดได้ แต่พอเวลาที่จะทำงาน หรือพูดคุยก็ทำเรื่องนั้นๆให้เสร็จ พอเสร็จแล้วก็กลับมาที่ตั้งแห่งฐานของจิตเดิม ทำให้ได้ทั้งวัน ทั้งคืนได้ การเข้าถึง ฌาน ๔ ก็เป็นของไม่ยาก<O:p></O:p>
    ๓.แรกๆ เมื่อฝึกใหม่ เมื่อจะเข้าสมาธิ อย่าพึ่งไปทำสมาธิเลยให้เหนี่ยวนำจิตก่อน อาจใช้บทสวดเป็นตัวนำเพื่อเหนี่ยวจิตให้ดิ่งไปกับบทสวด หรือจะใช้การเดินจงกรมก่อน หรือจะใช้การพิจารณาเพื่อปลงอสุภะ๑๐ เพื่อให้จิตคลายออกจากการยึดติดในกายตน อะไรก็ได้แล้วแต่ชอบ เพื่อน้อมให้จิตดิ่งไปกับสิ่งนั้นๆก่อน <O:p></O:p>
    ๔. หลังจากที่เหนี่ยวนำจิตแล้วก็เข้าสมาธิต่อไปเลย โดยให้มีสติอยู่กับสิ่งที่ตั้งไว้นั้นไปเรื่อยๆ เช่น หากระลึกรู้ลมหายใจก็ตามรู้ลมหายใจไปเรื่อยๆ หากคิดเรื่องอื่น ดึงมันกลับมาที่ลมหายใจไปเรื่อยๆ <O:p></O:p>
    ๕.หากจิตเริ่มสงบตัวลงจากนิวรณ์ ๕ อาการ ปีติ จะเริ่มแสดงออกมาทางกายให้ทราบ เช่น ขนลุกชัน น้ำตาไหล กายโยกโคลงจะเกิดแบบไหนก็แล้วแต่ ข้อแนะนำคือ ไม่ให้ไปสนใจ ให้อยู่กับฐานเดิมไปอย่างนั้นอย่างแน่วแน่<O:p></O:p>
    ๖. ตอนช่วงนี้ความสว่างจะเริ่มปรากฏ ( หากฝึกกสิณ ภาพกสิณจะเริ่มชัด ) มันจะสว่างคล้ายกับมีใครเอาไฟมาส่องที่หน้า ตอนนี้กายจะเริ่มเบา มีความสุขสงบ เหมือนนั่งอยู่ในป่าเปลี่ยว เงียบสงัด เบาสบาย หากไปถึงขั้นจิตตั้งมั่น เด่นดวงเป็นเอกัคคตาจิตเป็นหนึ่งเดียว แสดงว่า องค์ของสมาธิ ที่ว่า วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัตคตา ครบ ๕ อย่างที่แสดงออกมา นี่ก็แสดงว่า ท่านผู้ปฏิบัติได้เข้ามาแตะสมาธิขั้น ฌานแล้ว แต่เป็นเพียง ฌาน ๑ เท่านั้น<O:p></O:p>
    มาถึงขั้นนี้ นิมิตจะแห่กันมาเป็นว่าเล่น ภาพนิมิตจะผุดขึ้นอย่างรวดเร็ว หากสติตามไม่ทัน หรือไปสนใจตามดู จิตก็จะหลุดจากสมาธิ จริงๆแล้วภาพนิมิตที่เกิดขึ้นนั้นก็ขึ้นกับแต่ละคน ไม่เหมือนกัน บางคนเกิดขึ้นพร้อมๆกับอาการของปีติก็มี หรือบางคน เกิดพร้อมๆกับอารมณ์ สุขก็มี คล้ายกับดูหนังเป็นฉากๆ เป็นเรื่อง ข้อแนะนำคือ หากต้องการไปต่อ ให้ดึงจิตมาอยู่กับฐานที่ตั้งเดิมให้ได้ อย่าไปสนใจภาพพวกนั้น<O:p></O:p>
    ๗.ต่อไปก็ขึ้นกับท่านผู้ปฏิบัติแล้วว่าจะมีความเพียรขนาดไหน ที่จะไปต่อ ฌาน ๒ ฌาน ๓ ฌาน ๔ ได้ ซึ่งแรกๆอาจต้องใช้เวลาเข้าสมาธิ ๓-๔ ชั่วโมงก็เป็นได้ การไปต่อที่ว่าคือ จิตท่านผู้ปฏิบัติจะนิ่ง แน่ว แน่ขนาดไหน ประคองรักษาได้นานขนาดไหน หากเมื่อประคองความสงบนิ่งลึกไปเรื่อยๆ สิ่งที่เรียกว่า วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข จะเริ่มหายไปเองเรื่อยๆ จิตก็จะก้าวขึ้นสู่ฌานสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเหลือเพียงเอกัตคตาจิต แล้วอารมณ์แห่งอุเบกขาจะเกิดขึ้น นั่นก็แสดงว่าท่านผู้ปฏิบัติเข้าถึง ฌาน ๔แล้ว <O:p></O:p>
    ๘.สิ่งที่จะสังเกตเห็นได้กับอาการที่แสดงออกคือ<O:p></O:p>
    - ลมหายใจไม่มี (เพราะจิตแยกออกจากกาย) จริงๆกายเนื้อมันก็หายใจของมัน แต่จิตไม่รับรู้ <O:p></O:p>
    -กายเนื้อหายไป คือมันไม่รับรู้ถึงกายเนื้อ<O:p></O:p>
    - หูไม่ได้ยินอะไรเลย นอกจากเสียงดังวิ้งๆคล้ายกับเวลาที่ไปดำน้ำลึกๆ<O:p></O:p>
    - บางคนลูกตาจะคล้ายกับมองขึ้นข้างบน คล้ายตาเหลือก กระพริบถี่ยิบ แต่หลับตาอยู่<O:p></O:p>
    - ความรู้แปลกๆจะเกิดขึ้น แต่มันจะไม่ทรงตัวถ้าความชำนาญในการเข้า ฌานยังไม่เกิด<O:p></O:p>
    ๙. หากต้องการจะออกจากสมาธิให้ค่อยๆถอนออกมาทีละขั้นๆ ช้าๆ จำทางเข้าให้ได้ ( ข้อนี้สำคัญมาก เพราะจะทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าฌานได้ไวขึ้นเรื่อยๆในครั้งต่อไป เพราะจำทางเดิมได้ )<O:p></O:p>
    ๑๐.และประการสุดท้ายที่สำคัญยิ่ง คือ หากจะเข้าครั้งต่อไป ห้ามมีความอยากเกิดขึ้น จะเข้าได้ไม่ได้ก็เรื่องของมันเราเพียงทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ห้ามไปคาดถึงผลที่ตนเคยทำได้แล้วในครั้งก่อนมาเป็นอารมณ์ว่าจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ในการเข้าครั้งต่อไป การเข้า ฌาน ครั้งที่แล้วก็ครั้งที่แล้ว ไม่เกี่ยวกับครั้งนี้ขณะที่กำลังจะปฏิบัติ ครั้งที่เคยเข้าได้ผลของสมาธิสลัดทิ้งไปเลย จำเพราะวิธีการ หรือทางเดินของจิตที่จะไปถึงขั้น ฌาน เท่านั้น<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    แล้วท่านผู้ปฏิบัติก็จะเข้าฌาน ๔ ได้ตามประสงค์ แต่หากเมื่อเข้าได้แล้ว ควรเพียรให้เกิดความชำนาญ แล้วต้องมีคุณธรรม กำกับใจไว้ หากขาดคุณธรรม ฌานเสื่อมเร็วมาก หรือหากไปใช้ในทางที่ผิด จะมีบาปอย่างมหันต์ เพราะจิตที่เด่นดวง ั้งไว้นั้นไปเรื่อยๆ เช่น หากระลึกรู้ลมหายใพื่อปลงอสุภ<O:p></O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 ธันวาคม 2010
  9. โทสะ

    โทสะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +466
    เมื่อ่านเข้าฌานได้ตามประสงค์ เมื่อท่านผู้นั้นจะรู้ ก็จะได้รู้ เมื่ออยากเห็นจะได้เห็น
     
  10. โทสะ

    โทสะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +466
    มิติทางจิต มันล้ำลึก และเกี่ยวโยงกันไปหมดทั่วทั้งสากลจักวาล

    ทำไมจึงกล่าวเช่นนั้น ยกตัวอย่างเช่น ภาษา ที่มีมากมาย แตกต่างกันหลายภาษาในโลกสีน้ำเงินใบนี้ แต่ก่อนที่จะหลุดออกมาเป็นคำพูดที่แสดงถึงเสียงแตกต่างกัน มันมาจากต้นตอเดียวกัน คือ จิต ดังนั้น ภาษาของจิตมีเพียงภาษาเดียวในโลกนี้ และในสากลจักรวาล
     
  11. pub pub

    pub pub Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +34
    สาธุ ขอบคุณที่ให้ความรู้เพื่อเกิดความรู้แจ้งต่อไปในอนาตครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...